จิตวิญญาณประเมินอย่างไร...เล่าสู่กันฟัง


เรื่องเล่า ประเมินจิตวิญญาณ ประเมินอย่างไร

เห็นอาจารย์หมอเต็ม ชวนเขียนบันทึก Pal2know มาอีกระลอก อดใจไม่ไหวที่จะมี่ส่วนร่วมเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็ก็น้อย เพราะฉันเองเริ่มสนใจงานในมิติจิตวิญญาณ ตั้งแต่ยังมีความเข้าใจว่า จิตวิญาณ คือ ศาสนา เพียงอย่างเดียว แต่พอได้ค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติม ทำให้ทราบว่าจิตวิญญาณ แท้จริงเป้นอย่างไร แต่ก่อนที่เราจะทราบว่าประเมินจิตวิญญาณประเมินอย่างไร เราควรจะทราบก่อนว่า “จิตวิญญาณ" หรือ spirituality คืออะไร จิตวิญญาณ เป็นคำที่มีความสำคัญใช้แทนกันได้ด้วยคำว่า “จิตวิญญาณ"เป็นคำทีแปลมาจากภาษาอังกฤษ Spirituality โดยมีกรกศัพท์ จากภาษาลาตินผู้เชียวชาญหลายท่านได้ให้ความหมาย ว่า “ลมหายใจ" (รศ.ทัศนีย์ ทองประทีป) ต้องเรียนว่า ท่านอาจารย์เป็นครูพยาบาลที่สอนฉันให้เข้าใจความหมายของ จิตวิญาณ เมื่อจิตวิญญาณ คือลมหายใจ ย่อมมีผลต่อการใช้ชีวิต มีผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิต จิตวิญญาณเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงตัวตนของบุคคลนั้น ในผู้ป่วยระยะท้าย เราต้องประเมินจิตวิญญาณอย่างละเอียดลึกซึ้ง ซึมซับรับรู้เรื่องราวของผู้ป่วยและคอบครัวให้ไมมากที่สุด

องค์ประกอบของจิตวิญญาณที่เราจะต้องทราบ ก่อนที่เราจะไปประเมินจิตวิญญาณ 1.ความผาสุกทางด้านจิตวิญญาณ(spiritual well – being )สิ่งที่บอกได้ว่าผู้ป่วยมี (spiritual . well – being ) คือพุทธที่เรามีความสมบูรณ์พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจมีความสุขในการมีชีวิตตลอดเวลา พึงพอใจกับธรรมชาติความจริงของชีวิต สามารถดำเนินชีวิต ในสังคมได้เป็นอย่างดี พอใจในศาสนาที่ตัวเองนับถือ การที่เรามีความผาสุกทางจิตวิญญาณ จะแสดงออกถึงความหวัง แค่หวังก็สุข มีกำลังใจที่เข็มแข็งสีหน้าสดชื่น สมหวัง รู้สึกมีคุณค่า ถูมิใจในตัวเอง 2.ความทุกข์ทางจิตวิญญาณ (spiritual distress ) ความทุกข์มีความหมายในตัวเอง ทุกข์ทางจิตวิญญาณก็คือ การที่คนเรามีความรู้สึกไม่ปลอดภัย หวาดหวั่น ท้อแท้ สิ้นหวังน้อยใจ ฝันร้าย ไม่พอใจในสิ่งที่มีอยู่ ไม่มีความภูมิใจในตัวเอง มองโลกในแง่ร้าย แยกตัว 3.ความต้องการจิตวิญญาณ 1.ด้านความรัก ( love and connected ) ต้องการได้รับและให้ความรัก จากคนที่เขารัก 2.การขออโหสิกรรมหรือการให้อภัย ( forgiveness)ขอโทษในสิ่งที่เคยทำผิด 3.ความเชื่อ (Need for religion ) ด้านศาสนา และวัฒนธรรม 4.ความหวัง( hope ) มีความหวังขอเพียงได้หวังขอเพียงได้หวัง 5.ความหมายของชีวิต / ความหมายของการเจ็บป่วย ( Meaning of life t. Meaning of illness ) เรื่องราวเรื่องเล่าประทับใจที่เราสามารถประเมินด้านจิตวิญญาณได้สำเร็จโดยเฉพาะประเมินค้นหาความต้องการจิตวิญาณ แล้วเราสนับสนุนให้การตอบสนองความต้องการจิตวิญญาณ เมื่อนั้นผู้ป่วยของเรา มีความผาสุก ทางจิตวิญญาณ อิ่มเอม เต็มเต็มสิ่งที่หายไปในเวลาสุดท้ายที่เหลืออยู่

ฉันมีโอกาสได้ดูแลผู้ป่วยเด็กทารกแรกเกิดระยะท้ายที่อยู่ใน ICU Case นี้มีปัญหาซับซ้อน มีความผิดปกติที่รุนแรง ใส่ท่อช่วยหายใจใน NICU วันแรกที่ทีมได้รับปรึกษา เมื่อได้ทำความรู้จักและพูดคุยคำถามสุดท้ายที่ถามคุณแม่ “สิ่งที่คุณแม่อยากให้ทีมเราช่วยตอนนี้คืออะไรคะ คุณแม่ตอบว่า “อยากอุ้มลูก" “ตั้งแต่หนูคลอดลูก ลูกก็ใส่ท่อช่วยหายใจเข้า IUC หนูยังไม่มีโอกาสได้อุ้มลูกหนูยังไม่เคยให้ให้นมลูก สุดท้ายเมื่อเราประเมินได้ เราเห็นแล้วว่านี่คือเป็นจิตวิญญาณของแม่คนหนึ่ง spiritual need ทีมสุขภาพ ประกอบไปด้วยหมอเด็ก และทีมการพยาบาล ก็การดูแลจัดเก้าอี้และเตรียมการให้อุ้มน้อง น้องชื่อน้องรัก แม่ตั้งชี่อให้ลูกทันที่ที่ได้อุ้ม น้องรัก น้ำตาแห่งความปิติของคนเป็นแม่ค่อยๆไหล จิตวิญญาณความเป็นแม่เกิดขึ้นโดยสัญชาติญาณ ขณะมือซ้ายประคองลูก มือขวาแม่ก็บีบน้ำนม ขณะที่น้อง ยังใส่ท่อช่วยหายใจและไม่รอช้า ฉันรีบรัวชัตเตอร์ เพื่อเก็บภาพประทับใจและจากนั้น 1 วันต่อมาน้องก็จากไปอย่างสงบ ภาพที่ถ่ายวันนั้นจึงกลายเป็นความทรงจำสุดท้ายเก็บไว้ให้แม่พ่อหนูโดยทีมส่งไปรษณีย์ไปให้ถึงบ้าน 1 เดือนผ่านไปคุณติดตามทางโทรศัพท์คุณแม่เสียงใสบอกว่าขอบคุณทีมที่ช่วยทำให้เค้ามีความทรงจำผ่านภาพถ่าย “หนูกำลังจะทำบุญอุทิศให้ลูก ขอบคุณที่ดูแลหนูในช่วงที่อยู่โรงพยาบาล" ส่วนอีกเรื่องราว เป็นเรื่องของคุณลุงคุณป้า ชื่อลุงปุ๊กกับป้าแจ๋วเรื่องราวนี้ฉันได้รับโอกาสจากนิตยสาร Secret ตีพิมพ์ ลงวารสาร ฉบับเดือน กันยายน 2555 ลุงปุ๊กกับป้าแจ๋วเป็นคู่แต่งงานที่รักกันยาวนานมา กว่า 40 ปี ลุงปุ๊กเป็นช่างซ่อมรถป้าแจ๋วเป็นผู้ใหญ่บ้านสมัยอยู่ด้วยกันก็มีทะเลาะกันบ้านรุนแรงถึงขั้นเอาปืนไล่ยิ่งป้าแจ๋ว หรือมีอยู่ครั้งหนึ่งเอาชุดผู้ใหญ่บ้านไปเผา แต่ลิ้นกับฟันเป็นธรรมดาปละเมื่อลุงปุ๊กป่วยด้วยโรคมะเร็งร้ายและอยู่ในระยะที่ทีมศูนย์การุณรักษ์ได้เข้ามาร่วมดูแล เมื่อจัดการอาการได้ดีแล้วเราได้ใช้เวลาในการสื่อสาร พูดคุยอยู่เป็นเพื่อน คุยกันไปมาป้าแจ๋วมีอะไรที่อยากจะทำหรือลุงอยากจะทำในช่วงเวลานี้ป้าแจ๋วบอกอยากขอขมากันและกัน ไม่รอช้าเรานัดหมายและจัดเตรียมขัน 5 (เทียน 5 คู่ ดอกไม้ 5 คู่ สำหรับทำพิธีขอขมาในที่สุดป้าแจ๋วกับลุงปุ๊กก็ได้ปลดเปลื้องสิ่งค้างคอใจและฝากรอยจุมพิตสุดท้ายไว้ให้กันและกันวันที่ลุงปุ๊กจากไป ลุงจากไปพร้อมรอยยิ้มคนอีสาน เรียกว่า “ตายยิ้ม" นี่เป็นส่วนเสี้ยวของงานการดูแลในมิตจิตวิญญาณ ที่ฉันคิดว่า ทำไม จิตวิญญาณจึงมีความสำคัญไม่แพ้มิติอื่่นขององค์รวม ยิ่งโดยเฉพาะในงานด้าน palliative care การดูแลด้านมิติจิตวิญญาณทำให้เห็นความเป็น MODERN PALLIATIVE CARE ที่ชัดเจน เพราะงานที่มีคุณค่า ได้ถูกเติมเต็มจากผู้ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณที่พร้อมจะช่วยเหลือ และพร้อมที่จะให้

หมายเลขบันทึก: 575307เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2014 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มกราคม 2015 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อ่านแล้วเห็นตัวอย่างชัดเจน ทั้งการตั้งคำถาม การเชื่อมโยงกับความต้องการของคนไข้ และรู้สึกถึงหัวใจของคนทำงานในแง่มิติจิตวิญญาณเลยค่ะ
ทีมงานขออนญาตนำบทความไปรวมไว้ ที่นี่ นะคะ คุณกุ้ง

ลุงจากไปพร้อมรอยยิ้มคนอีสาน เรียกว่า “ตายยิ้ม”

เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่า ทั้งคนอยู่และคนไปมีความสุขครับ

ขอเชิญชวนทุกท่านไปสัมผัสด้วยตนเอง!!

ภาพยนตร์การกุศล Fault in our Star(ดาวบันดาล) 2.05ชม.

ฉายวันเสาร์ที่ 27 กันยายน 57

โรงหนังสกาล่า สยามสแควร์ ซอย 1

เวลา 09:00 - 12:00 น.

บัตรการกุศล ราคา 200 บาททุกที่นั่ง

โอนเข้าบัญชีมูลนิธิกัลยาณการุณย์ palliative care

ธนาคารกรุงเทพ สาขาซิลลิคเฮาส์

บัญชีสะสมทรัพย์เลขที่ 8600166220

ส่งหลักฐานการโอนพร้อมชื่อทางอีเมล์ไปที่

[email protected]

รับตั๋วหนังหน้าโรงหนังก่อนเวลา หรือ แจ้งที่อยู่เพื่อจัดส่งตั๋ว

โปรดระบุหากต้องการบริจาคเงินอย่างเดียวและไม่รับตั๋วหนัง

ตายยิ้ม

ถือว่ามีความสุข

ขอบคุณมากๆครับ

หายไปนานเลยครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท