ครูอาสาสู่ชนบท (ปิดเรื่อง) : ค่ายความทรงจำไม่รู้จบ ... กฎค่ายที่ผมไม่ค่อยคุ้นชิน


การอาบน้ำถ้าเป็นไปได้ให้อาบที่ลำธาร เพราะที่บ้านพ่อฮักแม่ฮักก็ตักน้ำมาจากที่นั่นเหมือนกัน

บ่อยครั้งที่สังคมได้บอกกล่าวว่า ค่ายสร้าง  ดูจะล้าสมัย  ไม่สอดรับกับสภาพปัจจุบันทางสังคมเท่าใดนัก   แต่สำหรับผมกลับมองว่า   พื้นที่ที่เราเลือกออกค่ายต่างหาก  คือ  คำตอบที่แท้จริงว่าค่ายสร้างยังมีความจำเป็นและร่วมสมัยอยู่หรือไม่    

 

เหตุที่ผมมองอย่างหยาบ ๆ  หรือกว้าง ๆ  เช่นนั้น   เพียงเพราะผมยึดชุมชนหรือพื้นที่เป็นคำตอบหลัก  กล่าวคือ    บางชุมชนยังคงมีความต้องการให้นิสิตนักศึกษาช่วยเหลือในรูปของการ  "สร้างโน่น สร้างนี่"  อยู่เหมือนเคย   เพราะลำพังโรงเรียนและชุมชน   ก็ยังไม่สามารถสรรหางบประมาณใด ๆ  มาก่อสร้างได้อย่างเป็นรูปธรรม 

และถ้าจะให้รอคอยตามยะถากรรม  ก็ยิ่งดูเหมือนว่ากระบวนการพัฒนาชีวิตบางอย่างก็ย่อมชะงักงัน  หรือไม่ก็เคลื่อนตัวได้ช้าอย่างน่าทุกข์ทรมานใจเป็นที่สุด

    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สำคัญอยู่ที่ว่านิสิตนักศึกษาต้องตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนให้ชัดเจน  ว่าชุมชนต้องการสิ่งใดเป็นสำคัญ  มิใช่ไปออกค่าย  แต่ไม่ได้สำรวจความต้องการของชุมชนเสียก่อน  วิถีที่เกิดขึ้น  จึงเหมือนการยัดเยียดในสิ่งที่ไม่จำเป็นให้กับชาวบ้าน   ซึ่งนั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงการไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา  หรือผ่อนเบาภาวะอันเดือดร้อนของชุมชนลงได้เลย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>     </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ค่ายครูอาสาสู่ชนบท ครั้งที่  5  ถือเป็นอีกค่ายที่ยืนยันในมิติทางความคิดของนิสิตที่เกี่ยวโยงกับความต้องการของชุมชนอย่างชัดเจน   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กิจกรรมต่าง ๆ  ที่นิสิตจัดขึ้นภายในค่ายครั้งนี้ล้วนเกิดจากการสำรวจ สอบถาม  ร่วมคิดร่วมสังเคราะห์กับชุมชนมาแล้วอย่างชัดเจน   ทั้งห้องสมุด ,  สื่อการเรียนการสอน,  เป็นต้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>หากแต่บันทึกนี้ผมคงไม่กล่าวย้ำถึงเรื่องดังกล่าวนั้น   เพียงเพราะต้องการที่จะสื่อสารถึงบางสิ่งบางอย่างที่ชาวค่ายได้ร่วมกันกำหนดขึ้นมา  นั่นก็คือ  ข้อห้าม  หรือ กฎค่าย  ที่ดูเหมือนจะแตกต่างไปจากค่ายอื่น ๆ อย่างสิ้นเชิง   ดังว่า    </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">   (1)  น้ำที่โรงเรียนห้ามใช้อาบ   ใช้เฉพาะล้างจาน  ทำ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กับข้าว  น้ำดื่มและห้องน้ำเท่านั้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">   (2)   การอาบน้ำถ้าเป็นไปได้ให้อาบที่ลำธาร  เพราะที่</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">บ้านพ่อฮักแม่ฮักก็ตักน้ำมาจากที่นั่นเหมือนกัน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>     </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ข้อความข้างต้นนี้  ดูเหมือนจะเป็นกฎกติกาที่ฉาบไปด้วยถ้อยคำที่ปนอารมณ์ขันอยู่ไม่น้อย   แต่ความเป็นจริงกลับสะท้อนภาพภาวะความจำเป็นของชุมชนในเรื่องน้ำอย่างหนักหน่วง   ซึ่งผมมองว่าการไปค่ายครั้งนี้   นิสิตจะได้เรียนรู้และเข้าใจถึงรสชาติของความแร้นแค้นนั้นอย่างเต็มที่</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">และการเผชิญกับภาวะเช่นนั้นจะสอนให้นิสิตได้เข้าใจโลกและชีวิตมากขึ้น   ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ไม่อาจค้นพบได้เลยในห้องเรียนของมหาวิทยาลัย…  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> 

หมายเลขบันทึก: 94195เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2007 23:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)
  • ดีจังเลยครับ
  • ดูนิสิตน่ารักดี
  • โอยอยากไปแกค่ายบ้างแล้วละ
  • ไม่ติดสอบหนีไปแล้วเหมือนกัน
  • ฮือๆๆๆ
สวัสดีตอนเช้า ครับ อ.ขจิต
P
  • ทุกวันนี้มีแหล่งทุนจำนวนมากให้การสนับสนุนเรื่องค่ายของนิสิตนักศึกษา
  • ต่างจากอดีตที่ต้องวิ่งเต้นหางบประมาณกันเองอย่างบ้าคลั่ง
  • แต่ก็ยังพบว่านิสิตส่วนน้อยเท่านั้นที่ยังสนใจเข้าร่วมกิจกรรมทำนองดังกล่าว
  • มันเป็นปัญหาประวัติศาสตร์ที่เป็นมาในทุกยุคทุกสมัย
  • แต่เฉพาะคนที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนา  ถึงจะมีน้อยแต่ก็มีพลังอย่างน่าทึ่ง
  • ว่าไหมครับ....

 

สวัสดีครับ อ.แพนด้า
P

ผมเองก็อยากมีโอกาสไปร่วม UKM  10  เหมือนกัน  แต่ก็ไม่รู้ว่าจะได้ไปหรือเปล่า  ก็คงขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่แหละครับ   เกรงแต่ว่าช่วงนั้นงานจะเยอะ ,  ใกล้เปิดเรียน  อาจมองว่ามีภารกิจที่สำคัญยิ่งยวดให้ต้องรับผิดชอบ

แต่ยังไงก็พร้อม "อยู่ - พร้อมไป"  ในทุกสถานการณ์  แต่ถ้ามีโอกาสได้ไปร่วมจริงก็คงดีไม่น้อย  จะได้เรียนรู้อะไร ต่อมิอะไรอีกเยอะ ๆ

ขอบพระคุณครับ

  • บรรยากาศแบบนี้เป็นความทรงจำตอนเรียนมหาวิทยาลัย ที่มักมีค่ายโน้น ชมรมนี้บ่อย ๆ
  • ตอนนี้ไม่ได้มีโอกาสไปเลยค่ะ ได้แต่ชมภาพบรรยากาศจาก บันทึกของคุณแผ่นดิน

ผมไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้เลยครับคุณแผ่นดิน

ถ้าพูดกันตรงๆ คือผมคิดมาตลอดว่าค่ายสร้างนั้นล้าสมัย ไม่ได้ฉุกคิดว่าต้องมองที่ผู้รับ

ครั้งหนึ่งที่คณะเคยไปสร้างโรงอาหารให้โรงเรียนบนดอย อีกครั้งหนึ่งไปสร้างบ้านพักเด็กที่ต้องเดินทางมาเรียนไกลๆ โรงอาหารนั้น ผมไม่ได้ยินว่าภายหลังใช้เป็นอะไร แต่บ้านพักเด็กกลายเป็นห้องเก็บของไปเรียบร้อย

การไปสำรวจค่ายน่าจะเป็นสิ่งที่จำเป็นจริงๆ ครับ และคงต้องทำอย่างระมัดระวัง ซึ่งอันนี้น่าสนับสนุนมากครับ จะทำให้นิสิตได้รู้จักโลกอีกใบอย่างลึกซึ้ง และตระหนักถึงความแตกต่างทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของโลกนั้น

แต่พูดกันตรงๆ (อีกที) แล้ว ผมไม่ค่อยหวังว่าชาวบ้านจะได้อะไรมากจากการออกค่ายครั้งเดียว เรื่องแบบนี้ต้องทำต่อเนื่องและยั่งยืนโดยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง 

การทำเป็นครั้งคราวแบบการออกค่ายนั้น ผมมองประโยชน์ของผู้มาเยือนมากกว่าครับ ตลอดระยะเวลาที่ผมใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ทราบว่ามีรุ่นพี่คนหนึ่งตัดสินใจเป็น NGO ช่วยงานชาวเขาจากความประทับใจในประสบการณ์ค่าย แบบนี้คงเป็นสุดยอดผลพวงจากการออกค่าย แต่ผมไม่ได้หวังว่าทุกคนต้องทำแบบนั้น นิสิตที่มีพื้นฐานเป็นคนเมืองไม่ต้องละทิ้งทุกอย่างไปอยู่กับชาวเขา ขอแค่ล้างรถแบบประหยัดน้ำ ใช้ถุงพลาสติกน้อยลง ขึ้นรถเมล์บ้างเมื่อโอกาสอำนวย คือรู้ว่าตัวเองต้องทำอะไรในสังคมที่ตนอยู่ การกระทำเล็กๆ เหล่านี้ ถ้าเกิดขึ้นจากการไปเห็นโลกกว้างก็นับว่าคุ้มเกินคุ้มแล้วครับ คุณแผ่นดินว่าไหม?

ขอบคุณครับพี่พนัส

ใครๆฟังคำว่าค่าย นั้นก็คงจะพูดที่สิ่งที่ตั้งขึ้นเพื่อการบางอย่าง ในเวลาที่มีที่กำหนด เช่น ค่ายผู้อพยพ ค่าผู้ลี้ภัย (ยกเว้นค่ายมวย ค่าอาร์เอส)

สิ่งที่ผมมักพบเห็นเมื่อเพื่อนๆไปออกค่ายกัน ก็มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ

  • ระดมทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทั้งจากการออกกัน ทั้งขอรับบริจาค เพื่อไปสร้างอะไรซักอย่างให้ชุมชนที่ยังขาด เช่น หอสมุด ห้องน้ำ
  • ระดมความรู้ เพื่อนำไปถ่ายทอดให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตสูงขึ้น

สรุปคือ มีไปเพื่อสร้าง กับ ไปเพื่อสอน

ขอบคุณครับ

สร้างแบบเรียนรู้ ก็ไม่มีปัญหาครับ ผมก็เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาชมรมอาสาตานี เข้าไปดูได้ที่ www.rsatanee.net บางครั้งผมคิดว่า มหาวิทยาลัยต่างๆ โดยเฉพาะชมรมที่ทำงานเกี่ยวกับอาสาพัฒนาสังคม ชุมชน น่าจะจัดเวทีเสวนากัน เปิดประเด็นเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาของค่ายอาสา นักศึกษาไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะทำในแต่ละพื้นที่ของใครของมัน แต่ในระดับภูมิภาคยังไม่เคยมีใครทำน่ะครับ น่าลองโดยใช้ gotoknow เป็นสื่อกลางน่ะครับ
มาแลกเปลี่ยนในมุมมองทางวัฒนธรรมนะครับ "ค่ายสร้าง" ไม่ได้มีแค่วัตถุที่สร้างขึ้นมา แต่ยังสร้าง/ผลิตซ้ำวัฒนธรรมหลายๆอย่าง มากบ้าง น้อยบ้าง ซึ่งผมคิดว่าเป็นมิติที่สำคัญ คือการสร้างวัฒนธรรม (ในอุดมคติ) อาทิ การเรียนรู้และถ่อมตนต่อคนยากจน ความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย การผลิตซ้ำทางศีลธรรมอื่นๆ เช่น ศีลห้า เหล่านี้ ไม่อาจบอกได้ว่าถูกหรือผิด แต่เป็นแนวคิดการทำค่ายที่ผมเห็นว่าสืบเนื่องมาจากอดีตนะครับ หลายๆครั้ง นักออกแบบค่ายก็หลงอยู่ในอุดมคติมาก ลืมไปว่าคนไม่ใช่เทวดา เพราะยากเหลือเกินที่จะหาใครมาเป็นโมเดลลิ่งได้ขนาดนั้น พอชาวค่ายไม่เป็นไปดังหวัง เราก็พลอยตบะแตก ยังไงก็ตาม ในมุมมองของชาวค่าย (ซึ่งไม่จำเป็นต้องตรงกับผู้ออกแบบค่าย) เขาก็ย่อมตีความโจทย์ต่างกันออกไป ความแตกต่างทางความคิดนี่แหละ ในมุมของการวิจัยมันคือขุมความรู้ครับ เช่น นักศึกษาคนหนึ่งอาจมองว่า การไปค่ายเป็นการฝึกให้ตัวเองรู้จักสังคมกว้างขึ้น อีกคนอาจจะมองว่าไปเพราะว่าเบื่อเรียน บางคนไปเพราะไม่มีเงินใช้ (ไปค่าย อย่างน้อยก็ได้กินข้าว)บางคนไปเพราะอยากไปจีบสาว บางคนไปเพราะเหงา บางคนไปแสวงหาตัวเอง บางคนไปเพราะไม่มีที่จะไป(หมายถึงชีวิตนี้ หมดอาลัยตายอยาก อาจจะอกหัก หรือสอบตก หรือมีปัญหาชีวิตอื่นๆ)บางคนไปเพราะมีจิตอาสาจริงๆ การวางระเบียบค่ายนั้นจำเป็นครับ เพราะอยู่กันหมู่มาก และอาจจะไปสร้างความลำบากให้หมู่บ้านได้ อย่างไรก็ตาม มุมมองที่แตกต่างของพวกเขา ไม่ใช่ปัญหา แต่มันสะท้อนอะไรบางอย่าง ที่งานพัฒนานักศึกษา สามารถนำไปใช้ได้อย่างต่อเนื่องครับ
  • สวัสดีครับ
  • สำหรับมุมมองในการนำเสนอ เรื่องราวของค่ายอาสาพัฒนา อย่างน้อยก็ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนได้อีกเยอะครับ
  • โดยส่วนตัวผมก็เติบโตจากค่าย ครับ ทั้งค่ายอาสา ค่ายอนุรักษ์ และอีกหลายค่าย เท่าที่จะสามารถไปเรียนรู้ไปค้นพบ เมื่อสิบกว่าปีก่อน
  • แต่เดิม ผมก็เชื่อว่า ค่ายสร้าง มันเป็นสิ่งที่ล้าสมัย เป็นเพียงเปลือกและกรอบให้คนเข้าใจ ไปแล้วก็ไปอีก สร้างจนไม่รู้จะสร้างอะไร
  • แต่พอชีวิตเริ่มผ่านคำตอบของคนอื่นมา ผ่านคำตอบของตัวเองบ้าง ก็พอจะเข้าใจคนอื่นได้บ้าง
  • เพื่อนผมหลายคนที่เติบโต จากค่ายอาสา บางคนเป็นอาจารย์ก็ยังกลับมาเป็นที่ปรึกษาให้น้องๆในชมรม ชุมนุม
  • บ้างคนก็สร้างแรงบันดาลใจกับตัวเอง จนลงไปลุยงานในพื้นที่ ฝังตัวเอง และสร้างความจริงให้เกิดขึ้น
  • ทุกวันนี้ ผมก็เชื่อว่า ประโยชน์ของค่ายสร้าง น่าจะเป็นเรื่องราวของการสร้างคนครับ
  • วัตถุ สถานที่ ดูจะไม่มีประโยชน์ ถ้าไม่ใช่ความต้องการของชาวบ้านจริงๆ หรือเป็นความต้องการของชาวบ้าน แต่ไม่มีกระบวนการสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วม ดูทิ้งร้างไว้ ก็เปล่าประโยชน์อยู่มากมาย
  • แต่สิ่งที่สำคัญ ที่ค่ายสร้าง ได้สร้างขึ้น คือสร้างคำตอบในใจของคนที่ไปค่าย
  • เกิดแรงบันดาลใจ เกิดความเชื่อมั่น เกิดความใฝ่ฝัน เกิดความปรารถนาดีให้กับผู้อื่น ให้กับสังคม
  • ดีครับ มีเรื่องราวงดงาม ที่เขียนถึงชีวิตอีกนะครับ
  • จะติดตามอ่านครับ
สวัสดีครับ
P

ผมเพิ่งได้มีโอกาสไปอวยพรวันคล้ายวันเกิด (ย้อนหลัง)  คุณพิชชามาไม่นาน - ไม่ว่ากันนะครับ

อันที่จริงตอนเรียนมหาวิทยาลัย  ผมก็ไม่ค่อยมีโอกาสได้ไปค่ายบ่อยนัก..และถ้าไปก็ไปไม่จบกับเชาซะที  เพราะทำงานองค์การนิสิตติดต่อกันตั้งแต่ปี 2 - 4  จึงจำต้องอยู่เหย้าเฝ้าองค์การเป็นหลัก...

กระนั้นก็เป็นแฟนคลับของค่ายอาสาและค่ายอื่น ๆ เสมอ  ซึ่งหมายถึง  การเกาะติดและติดตามความเคลื่อนไหวของแต่ละชมรมอย่างไม่ลดละ  จนมีข้อมูลกิจกรรมอยู่กับตนเองมากพอสมควร  กระทั่งนิสิตบางคนแซวว่าผมเป็น "ตู้วรรณกรรม (กิจกรรม) เคลื่อนที่"

ขอบคุณมากครับ...

สวัสดีครับ
P

ขอบคุณในทัศนะทุกมุมคิดที่ล้วนเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของผมและนิสิตอย่างยิ่งยวด 

ทุกครั้งที่นิสิตไปทำค่ายสร้าง..ผมจะมองว่าสิ่งปลูกสร้างเป็นเพียง "เครื่องมือ"  ที่นำนิสิตไปสู่การเรียนรู้อันหลากหลาย  ทั้งการเรียนรู้วิถีคิด วิธีทำงานและความรัก ความอาทรของชาวค่าย  รวมถึงการเรียนรู้และแบ่งปันสิ่งต่าง ๆ  ต่อชุมชน  โดยมุ่งให้ค่ายนั้นเป็นค่าย "สหกิจกรรม"  หรือบูรณาการ  แต่ต้องมีชุมชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่จัดขึ้น

ค่ายสร้างของ มมส ...เป็นวัฒนธรรมที่ปฏิบัติกันเอง  กล่าวคือ  อย่างน้อยจะไปจัดกิจกรรมต่อเนื่องหลังค่ายเสร็จสิ้นลง   บางปีเรากลับไปต่อเติมสิ่งเหล่านั้นถึง 2  ครั้ง ... แต่เป็นการร่วมด้วยช่วยกันกับชาวบ้าน  ซึ่งถือเป็นพื้นที่ตัวอย่างของการศึกษาที่สะท้อนให้เห็นความมีส่วนร่วมของ "ชาวบ้าน"  ที่มีต่อการเป็น "เจ้าของ"  ในสิ่งที่เราสร้างให้

....

พื้นที่ของแต่ละภูมิภาคเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดรูปแบบค่ายเหมือนกัน   แต่จะเป็นค่ายสร้าง หรือค่ายสอน  ผมก็ยังให้น้ำหนักเรื่องการเรียนรู้ "ชุมชนและหลักการทำงานร่วมกัน"  เป็นอันดับต้น ๆ

....

ตอนนี้สนใจทำค่ายเกี่ยวกับการ "สอนคน"  มากขึ้น .. จึงกำลังหาชมรมมาเป็นแกนนำในเรื่องเหล่านี้ 

อีกทั้งอยากทำหนังสือเรียนชุมชนในลักษณะของหนังสืออ่านเล่น, การ์ตูน  หรือ "หนังสือท้องถิ่นของเรา"  ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดเป็นเรื่องราวของชุมชนนั้น ๆ  โดยมาจากกระบวนการเก็บข้อมูลและร่วมสังเคราะห์วัตถุดิบร่วมกันระหว่างชาวค่ายกับชาวบ้าน  เสร็จแล้วก็นำข้อมูลเหล่านั้นมาผลิตในรูปวรรณกรรม  มอบเป็นสมบัติชุมชนเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนรู้.....

.....

ผมยังมีความฝันมากมายที่ยังไม่ได้ทำ  แต่ก็ไม่เคยสิ้นหวังที่จะทำ..

....ขอบคุณครับ  และเป็นกำลังใจให้เช่นกันนะครับ

สวัสดีครับ 
P

โดยปกติ  ค่ายก็มี 2  ลักษณะใหญ่  ๆ  คือ ค่ายสร้างและค่ายสอน  แต่ทุกวันนี้ค่ายมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป  ส่วนใหญ่เป็นลักษณะ "สหกิจกรรม"  มากขึ้น  ซึ่งหมายถึงมีกระบวนการเรียนรู้และให้บริการต่อสังคมที่หลากหลายขึ้น

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ
P

ขอบคุณอาจารย์นิเวศน์ ฯ  มากครับ ...ผมเห็นด้วยกับแนวคิดที่อาจารย์เสนอมาก   แต่จะให้ดีทำยังไงถึงจะมีเวทีสาธารณะของเหล่าบรรดานิสิตร่วมกันบ้าง   

5 ปีที่แล้วผมเคยผลักดันให้ชมรมอาสาพัฒนาเป็นแกนกลางขับเคลื่อนเวทีเหล่านี้ ...แต่ก็ไม่บรรลุผล   ส่วนใหญ่นิสิตชอบลงมือทำภาคสนามมากกว่าการแลกเปลี่ยนด้วยวาทกรรม...

ผมเห็นด้วย  และยินดีร่วมเป็นหนึ่งในกระบวนการที่อาจารย์เสนอ

ขอบคุณมากครับ

P

ผมเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ชมรมฯ  ตามที่อาจารย์ แนะนำแล้วนะครับ ... และประทับใจในเว็บไซต์นั้นมาก 

ในส่วนของ มมส ... เว็บไซต์ชมรมอาสาพัฒนาเพิ่งปิดปรับปรุงในเดือนนี้   ถ้าเสร็จสิ้นแล้ว จะส่งข่าวอาจารย์อีกครั้ง นะครับ

 

  • เรื่องอยากเล่าครับ
  • ครั้งหนึ่งสมัยตอนที่ผมเรียนอยู่ระดับปริญญาตรี ที่ ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล(คลองหก) สมัยนั้นผมได้ทำกิจกรรมต่อเนื่องมาจากตั้งแต่อยู่ที่ วข.ขอนแก่น
  • ในฐานะประธานชมรมอาสาฯของที่นั่น(คลองหก)ในขณะนั้น  ผมได้มีโอกาสพาเพื่อนสมาชิกชมรมไปสร้างอาคารเรียนที่ จ.เชียงราย เป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างไกล อยู่บนภูเขา วัสดุทุกชิ้นที่ใช้ในการก่อสร้างและใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของชาวค่ายนั้น ส่วนใหญ่ต้องใช้แรงงานคนช่วยกันขนขึ้นมาบนดอยเกือบทั้งหมด
  • เรื่องประทับใจอีกเรื่องหนึ่งในการออกค่ายครั้งนั้น คือ เย็นวันหนึ่ง ขณะที่พวกเราชาวค่ายกำลังขมักเขม้นช่วยกันทำงานตามหน้าที่กันอยู่ มีคุณยายแก่ ๆ ชาวเขาคนหนึ่งเดินหลังโก่ง ๆ ค่อม ๆ ของแกเข้ามาที่ค่ายฯ มือแกถือมะละกอสุกอยู่ลูกหนึ่ง หลังจากที่ผมเข้าไปซักถาม ซึ่งพอจะรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้างเพราะยายแกส่วนใหญ่จะพูดภาษาชาวเขา พอสรุปได้จากผู้ใหญ่บ้านที่แปลให้ฟัง สิ่งที่ยายแกพูดก็คือ " เห็นชาวบ้านแถวนี้บอกว่า มีคนเมืองล่างมาสร้างโรงเรียนให้เด็ก ๆ ยายก็ดีใจ จึงเอามะละกอสุกที่ยายปลูกไว้มาฝาก อยากให้กินกันทุกคน แต่ยายมีแรงถือมาได้แค่ลูกเดียว ถ้ารู้ว่ามากันเยอะขนาดนี้ยายคงจะเอามาให้กินกันเยอะ ๆ "
  • ตอนนั้นเริ่มจะค่ำแล้วผมและสมาชิกอีกสามคนจึงอาสาเดินกลับไปส่งยายที่บ้าน
  • สิ่งที่ผมรู้ในขณะนั้นคือว่า ระยะทางจากบ้านของยายมาถึงที่โรงเรียนนั้นไม่ใกล้อย่างที่คิดครับ เดินขึ้นลงดอยอยู่ประมาณเกือบสองชั่วโมง รวมขากลับก็ประมาณเกือบสี่ชั่วโมง  พอไปถึงบ้านยายนั้น บ้านยายเป็นกระท่อมเก่า ๆ ฝาบ้านมีอยู่แค่สองด้านเป็นไม้ไผ่สานขัดกันไปมาพอแค่กันลมหนาวได้เท่านั้น 
  • พอผมกลับมาถึงค่ายฯ ผมประกาศให้สมาชิกทุกคนหยุดพักงานกันชั่วคราวแล้วเรียกประชุมสมาชิกทั้งหมด เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ฟัง สมาชิกทั้งหมด  ผมสังเกตุได้ว่าสิ่งที่ผมเล่าทำให้พวกเขาน้ำตาคลอ
  • ผมแบ่งมะละกอสุกลูกนั้นเป็นชิ้น ๆ ชิ้นละน้อย ๆพอคำ แล้วให้สมาชิกทุกคนลิ้มรสชาดของความเอื้ออาทรจากยายที่อยู่ห่างไกลที่มีต่อชาวค่ายฯทุกคน
  • หลังจากนั้นทุกคนก็กลับไปทำงานของตนเองต่ออย่างขมักเขม้น
  • สิ่งที่ผมรู้สึกได้จากเหตุการณ์นี้คือ ผมคิดว่ามีเมล็ดพันธ์ของความสุขได้แตกหน่อขึ้นในใจของชาวค่ายของผมแล้วครับ

                                    ......นายสายลม.......

สวัสดีครับ
P

ขอบคุณมากครับ ...ทุกถ้อยคำ ...คม ชัด ลึก  ทั้งรูปลักษณ์และเนื้อหาอันเป็นประโยชน์ต่อชาวค่ายอย่างมาก

ในบริบทกิจกรรมเดียวกัน  ต่างคนต่างอาจจะมีโจทย์การศึกษาที่ต่างกัน   ซึ่งผลผลิตของโจทย์คือความรู้และประสบการณ์ชีวิตที่แต่ละคนจะได้รับเป็นการส่วนตัวและรวมถึงการแบ่งปันการเรียนรู้ไปสู่คนอื่น ๆ  ด้วยเช่นกัน

ความแตกต่างทางความคิด  เป็นความงดงามของมนุษย์เสมอ  ...ซึ่งผมเชื่อเช่นนั้นเสมอมา

 นักออกแบบค่ายก็หลงอยู่ในอุดมคติมาก ลืมไปว่าคนไม่ใช่เทวดา เพราะยากเหลือเกินที่จะหาใครมาเป็นโมเดลลิ่งได้ขนาดนั้น พอชาวค่ายไม่เป็นไปดังหวัง เราก็พลอยตบะแตก ยังไงก็ตาม ในมุมมองของชาวค่าย (ซึ่งไม่จำเป็นต้องตรงกับผู้ออกแบบค่าย) เขาก็ย่อมตีความโจทย์ต่างกันออกไป ความแตกต่างทางความคิดนี่แหละ ในมุมของการวิจัยมันคือขุมความรู้

ขอบคุณมากครับ

 

สวัสดีครับ
P

ขอบคุณมากครับที่แวะมาให้ข้อเสนอแนะและมุมคิดที่งดงาม  ซึ่งเต็มไปด้วยพลังทางความคิด

ไม่ว่ายุคสมัยใดก็ตาม  สิ่งหนึ่งที่เราค้นพบจากค่าย  นั่นก็คือ  ค่ายเป็นแหล่งบ่มเพาะแรงบันดาลใจให้คนหนุ่มสาวมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม...(ได้ไม่น้อย) 

ค่าย  เป็นบ่อเกิดของการค้นหาตัวเองของนิสิตนักศึกษา 

และค่าย  คือ    เวทีการเรียนรู้การให้และการรับอย่างเป็นธรรมชาติ

....

ทุกวันนี้ ผมก็เชื่อว่า ประโยชน์ของค่ายสร้าง น่าจะเป็นเรื่องราวของการสร้างคน

  • วัตถุ สถานที่ ดูจะไม่มีประโยชน์ ถ้าไม่ใช่ความต้องการของชาวบ้านจริงๆ หรือเป็นความต้องการของชาวบ้าน แต่ไม่มีกระบวนการสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วม ดูทิ้งร้างไว้ ก็เปล่าประโยชน์อยู่มากมาย
  • แต่สิ่งที่สำคัญ ที่ค่ายสร้าง ได้สร้างขึ้น คือสร้างคำตอบในใจของคนที่ไปค่าย
  • เกิดแรงบันดาลใจ เกิดความเชื่อมั่น เกิดความใฝ่ฝัน เกิดความปรารถนาดีให้กับผู้อื่น ให้กับสังคม
  • .....

    ขอบคุณครับ

    สวัสดีครับ..
    P

    ข้ามวัน ข้ามคืนเชียวแหละ  ถึงจะใจเย็นพอที่จะเข้าระบบมาสู่บล็อกได้..

    ....

    เรื่องที่น้องสายลมเล่าผ่านบันทึกนั้น ..ต้องยอมรับว่าสะท้อนและสะเทือนใจเป็นอย่างมาก ...

    ในหมู่บ้านที่ห่างไกลจากความเจริญในทางวัตถุ  มักพบเห็นมิตรภาพและน้ำใจอย่างไม่ยากเย็น ...  การไปเยือนของนิสิตกลายเป็น "บุคคลสำคัญ"  ของชาวบ้าน  และชาวบ้านก็ยินดีที่จะต้อนรับอย่างเต็มกำลังเสมอ   บางที, หรือแม้แต่บ่อยครั้ง  ชาวค่ายอาจได้กินในสิ่งที่ชาวบ้านไม่ค่อยได้กินเลยก็ได้...

    สิ่งเหล่านี้ คือ การยืนยันความงดงามของหมู่บ้านและชาวบ้านที่ควรค่าต่อการยกย่อง  รวมถึงการเชิดชูหัวจิตหัวใจของนักศึกษาที่เต็มไปด้วยพลังแห่งการสร้างสรรค์สังคม...

    ขอบคุณเรื่องดี ๆ  ..ที่นำมาประดับบันทึกของพี่  นะครับ

    • เข้ามาอ่านเพื่อเติมพลังของความฝันครับ

    น้องสายลมครับ...

    P

    ยังไงก็ขอให้มีความสุขกับการเดินทางตามเส้นทางความฝันของตนเองนะครับ

    สำคัญ, อย่าลืมดูแลความฝันให้ดี ๆ ... เพื่อให้ความฝันเติบโตและมีลมหายใจ นะครับน้องรัก

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท