ล้างจานเพื่อล้างจาน
ผู้เขียนเข้าใจ(เอาเอง)ว่า การที่ชาวพุทธเราส่วนใหญ่ไปฝึกปฏิบัติธรรมตามคอร์สต่างๆ นั้น ก็เพื่อฝึก “สติ” หรือฝึก “การรู้สึกตัว” ซึ่งนั่นเป็นแนวทางในการฝึกวิปัสสนากรรมฐาน ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าเป็นทางตรงและทางเดียว ที่จะมุ่งสู่พระนิพพาน
หากแต่การฝึกวิปัสสนาตามคอร์สต่างๆ นั้น ก็เพื่อไปเอาวิธีฝึกปฏิบัติมาใช้ในชีวิตประจำวัน ปัญหาก็มีอยู่ว่าที่เราไปฝึกมานั้นจะนำมาใช้ได้จริงหรือไม่ ผู้เขียนมีความเห็นว่าถ้าสำนักใดสอนให้เรานำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ก็น่าจะเป็นทางที่ถูกที่ควร แต่ก็เคยได้ยินว่าบางสำนักบอกให้ไปปฏิบัติที่สำนักเท่านั้นถึงจะได้บุญ ถ้าปฏิบัติข้างนอก(สำนัก) จะไม่ได้บุญ ถ้าเป็นแบบนี้ผู้เขียนกล้าฟันธงได้เลยว่าไม่ถูกต้องแน่นอน
ที่ผู้เขียนบอกแบบนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า การปฏิบัติธรรมจะต้องเข้าฝึกตามสำนักต่างๆ เท่านั้น หามิได้ เราสามารถปฏิบัติธรรมได้ทั้งๆ ที่ไม่ต้องเข้าสำนักใดๆ เลยก็ได้ เพียงแต่การฝึกที่สำนักต่างๆ นั้นจะทำให้เราปฏิบัติได้เร็วขึ้น ไม่มัวหลงทิศหลงทางอยู่ ทำให้เสียเวลาอาจจะทั้งชีวิตเลยก็ได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความจริงแท้แห่งสำนักนั้นๆ ด้วย
ที่เกริ่นมาทั้งหมดนี้ก็เพียงแต่อยากนำบางบทจากหนังสือที่ชื่อ “ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ” ของภิกษุชาวเวียดนามที่มีนามว่า ติช นัท ฮันห์ มาเสนอให้อ่านกัน เนื้อหาแทบทั้งหมดของหนังสือเพื่อเน้นให้เรามีสติกับชีวิตประจำวันในทุกกรณี ซึ่งถ้าหากได้สัมผัสงานเขียนของท่านอย่างถ่องแท้ และสามารถนำปฏิบัติได้จริง ก็ไม่จำเป็นที่เราจะต้องเข้าคอร์สปฏิบัติธรรมก็ได้ แต่ผู้เขียนก็อยากแนะนำว่าถ้าเรามีครูบาอาจารย์จะปลอดภัยกว่าครับแม้ท่าน ติช นัท ฮันห์ จะไม่ใช่ภิกษุนิกายเถรวาทอย่างที่ชาวไทยส่วนใหญ่นับถือกัน แต่เมื่อได้สัมผัสงานเขียนของท่านแล้ว ผู้เขียนเห็นว่าแทบไม่ต่างอะไรเลยกับงานเขียนของ ท่านพุทธทาสภิกขุ หลวงปู่ดูลย์ หรือแม้แต่หลวงปู่ชา ก็ตาม มิหนำซ้ำท่านยังประยุกต์การปฏิบัติให้คนรุ่นใหม่ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างน่าสนใจทีเดียว
นี่แหละหนา ชื่อว่าเป็นศิษย์ตถาคต ไม่ว่าเริ่มต้นที่ทางสายไหน สุดท้ายก็มีจุดหมายเดียวกัน เปรียบเหมือนกับทุกแม่น้ำที่ต่างก็มีทางเชื่อมต่อสู่ทะเลเดียวกัน ผู้ใดที่มีอคติว่านิกายตนดีกว่าเหนือกว่านิกายอื่นๆ โปรดหยุดคิดเสียเถิดครับ แล้วหันมาศึกษาจุดเด่นจุดด้อยของแต่ละนิกาย แล้วนำมาปรับใช้ด้วยกัน เพื่อผลประโยชน์แด่มนุษยชาติ และเพื่อช่วยยืดอายุพุทธศาสนาไปในตัวงานเขียนของท่าน ติช นัท ฮันท์ ชิ้นนี้ผู้เขียนเชื่อว่าท่านผู้อ่านส่วนใหญ่คงจะเคยอ่านหรือได้ยินมาบ้างแล้ว แต่ที่นำมาให้อ่านกันก็เพื่อเป็นการทบทวนสำหรับผู้ที่เคยอ่านแล้ว และเป็นการทำความรู้จักสำหรับสมาชิกหน้าใหม่
ผู้เขียนคิดว่าจะนำมาเสนอสักสองสามบท แต่ละบทจะคัดเฉพาะส่วนที่ผู้เขียนคิดว่าน่าสนใจเท่านั้น เพื่อจะย่นไม่ให้บทความยาวจนเกินไป ส่วนผู้ใดอยากอ่านฉบับเต็มก็ลองหาตามร้านหนังสือทั่วไปนะครับ
บทนี้มีชื่อว่า “ล้างจานเพื่อล้างจาน” เชิญทัศนาครับ
…ที่สหรัฐอเมริกา ครูมีเพื่อนคนหนึ่ง ชื่อ จิม ฟอเรสท์ ครูรู้จักเขาหลายปีมาแล้ว ตอนที่เขาทำงานอยู่กับกลุ่มคาทอลิกสัมพันธ์เพื่อสันติภาพ (Catholic Peace Fellowship) จิมได้เผาหมายเกณฑ์ทหารเพื่อต่อต้านสงครามเวียดนาม ผลก็คือเขาต้องติดคุกปีกว่า เมื่อรู้ข่าว ครูรู้สึกเป็นห่วงไม่น้อย เพราะเขาเป็นคนกระตือรือร้นและอุทิศตนต่องานอย่างมากคนหนึ่ง และครูเกรงว่าเขาจะเผชิญกับกำแพงสี่ด้านของคุกไม่ไหว ครูเลยเขียนจดหมายสั้นๆ ฉบับหนึ่ง เตือนให้เขาระลึกถึงกลีบส้มที่เราเคยแบ่งกันกินว่า “การอยู่ในคุกของเธอ ก็เหมือนกับกลีบส้มนั้น กินมันและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับมัน วันพรุ่งนี้มันก็จะไม่มีอีกแล้ว” ครูไม่แปลกใจเลยเมื่อมารู้ภายหลังว่าจดหมายสั้นๆ นั้นได้ผลจริงๆ ๓ ปีต่อมา จิมเขียนมาว่า “จดหมายของอาจารย์ช่วยผมได้มากเหลือเกิน ผมได้พบความสงบและวิธีจะอยู่อย่างแจ่มใสในคุก ช่วงเวลาในคุกกลับที่มีประโยชน์ต่อผมมาก” จิมได้พบอิสรภาพในคุก และได้ใช้เวลาและชีวิตในนั้นอย่างคุ้มค่า นับว่าเขาทำได้ไม่เลวเลยนะควง
เมื่อหน้าหนาวที่ผ่านมา จิมแวะมาเยี่ยมครู ธรรมดาครูเป็นคนล้างถ้วยชามหลังอาหารเย็น ก่อนที่จะไปร่วมวงดื่มน้ำชากับทุกๆ คน ค่ำวันหนึ่งจิมมาขอทำงานนี้แทน
ครูบอกว่า “เอาเลย แต่ถ้าเธอจะล้างถ้วยชามละก็ เธอจะต้องเรียนรู้วิธีล้างจานก่อนนะ”
จิมตอบว่า “ครับ อาจารย์ช่วยสอนผมที”
ครูจึงอธิบายว่า “การล้างจานมี ๒ แบบ วิธีแรก ล้างเพื่อทำความสะอาดถ้วยชาม วิธีที่สอง ล้างถ้วยชามเพื่อที่จะล้างถ้วยชาม”
จิมบอกว่าเขาขอเลือกวิธีที่สอง ล้างถ้วยชามเพื่อที่จะล้างถ้วยชาม เป็นอันว่าจิมรู้จักวิธีล้างจานแต่นั้นมา ครูเลยมอบความรับผิดชอบให้เขาตลอดอาทิตย์นั้น หลังจากนั้นเขาก็เลยโฆษณาชวนเชื่อการล้างจานเพื่อล้างจานเป็นการใหญ่ ดูเหมือนจะเขียนไปลงนิตยสารตั้งหลายฉบับ เวลาอยู่ที่บ้านเขาก็พูดเรื่องนั้นบ่อยมากเช่นกัน จนถึงขนาดรอล่าพูดหยอกเอาว่า “ถ้าคุณชอบที่จะล้างจานเพื่อที่จะล้างจานมากจริงๆ ละก็ ในครัวมีจานสะอาดเต็มตู้เลย ทำไมคุณไม่เอามาล้างล่ะ” ...
แล้วคุณล่ะครับ ล้างจานเพื่ออะไร?
ธรรมะสวัสดีครับต้องรู้จักชาม น้ำ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกันด้วยระหว่างล้างชาม ส่วนตัวผมเรียกว่า ใช้สติ (STEE) System Task Event Entity
"ทุกสิ่งในโลกล้วนเป็นไปตามเหตุและปัจจัย"
ผมลองฝึกดูแล้วช่วยให้สติอยู่กับตัวมากขึ้น
แบ่งปันๆๆ.....
ธรรมะสวัสดีครับ
สวัสดีค่ะ
เห็นด้วยค่ะ
สติต้องมีอยู่ตลอด เมื่อวาน มัวแต่คิดอะไรเพลินไป เกือบขับรถไปชนรถแล้ว ดีว่าหักหลบทัน ขอบคุณ มาเตือนอีกค่ะ
![]() |
สวัสดีค่ะคุณธรรมาวุธ
ราณียกมือเห็นด้วยค่ะ (สองมือเลยค่ะ อิ อิ) "ไม่ว่าเริ่มต้นที่ทางสายไหน สุดท้ายก็มีจุดหมายเดียวกัน เปรียบเหมือนกับทุกแม่น้ำที่ต่างก็มีทางเชื่อมต่อสู่ทะเลเดียวกัน " เพราะทุกศาสนา สอนให้คนมีสติ สอนคนให้เป็น คน และคนนั้นต้องคิดดี ทำดี และให้ถึงดี ถึงแม้จะทำได้ไม่เต็มดีก็ตาม ขอบคุณค่ะที่ได้อ่านบันทึกดี ๆ ก่อนนอนค่ะ
![]() |
ธรรมะสวัสดีครับ
55555
![]() |
ธรรมะสวัสดีครับ
การล้างจานมันง่ายแต่การล้างใจมันยาก...
ถึงเราล้างจานเพื่อล้างจาน แต่อย่างน้อยเราก็ยังได้ล้างครับ...
ขอบคุณครับ...
![]() |
ธรรมะสวัสดีครับ
แอบมาเสริมว่า แปรงฟัน เพื่ิิอ แปรงฟัน ก็ทำได้ทุกวันวันละ 2 เวลาเลยค่ะ : )
มาเชียร์หนังสือเล่มนี้้เช่นกันค่ะ
2 เรื่องจากบันทึกเก่าของพี่บ่าว ก็อาจพอเข้ากันได้บ้างนะครับ ..
1. http://gotoknow.org/blog/handyman/23088
2. http://gotoknow.org/blog/handyman/28663
สวัสดีครับ.
![]() |
![]() |
สวัสดีค่ะ คุณธรรมาวุธ
ชอบประโยคที่ว่า "จิมพบอิสรภาพในคุก" มากเลยค่ะ
บางคนเสียอีกที่อยู่ข้างนอกคุก แต่ติดคุกสังคม เป็นคุกในใจ ติดคุกหัวโขนต่างๆ นาๆ ประมาณนี้ค่ะ
ขอบคุณนะคะ ที่นำเรื่องดีๆ อย่างนี้มาเล่าสู่กันฟัง ; )
![]() |
![]() |
ธรรมะสวัสดีครับ
![]() |
ธรรมะสวัสดีครับ
![]() |
ตอนเด็กๆ มีพี่น้องอยู่สี่คน จะผลัดเวรกันล้างจาน สลับกันไป พี่มีวิธีล้างจานให้มีความสุขด้วยการ เปิดน้ำให้เต็มกะลามัง แล้วเอามือหนุมน้ำเร็วๆ ให้เกิดเป็นก้นกะทะ เหมือนสะดือทะเล แล้วก็เอาจานวาง จากนั้นจานก็จะหมุนแล้วน้ำก็จะดูดลงไป เป็นความสุขแบบเด็กๆ แต่ก็เกิดข้อสงสัยอยู่บ่อยๆ ว่า ทำไมน้ำมันถึงเป็นหลุมตรงกลางเมื่อเราหมุนมันเร็ว ๆ .....(แต่ก่อนยังไม่มีน้ำยาล้างจานยังใช้ผงซักฟอกอยู่เลย...)
![]() |
![]() |
แวะมาอ่านครับ...สติเป็นสิ่งสำคัญที่เดี๋ยวนี้คนไม่ค่อยมีกัน...
โอชกร
![]() |
ธรรมะสวัสดีครับ
สวัสดีครับคุณ
![]() |
ตามมาจากบันทึกของคุณเอก (จตุพร) ครับ
ขอร่วมซักฟอกจิตใจด้วยคนนะครับ...รอด้วยครับ
ขอบคุณมากครับสำหรับบันทึกนี้
![]() |
สวัสดีครับ
![]() |
![]() |
ธรรมะสวัสดีครับ
ชอบงานเขียนและวิธีการคิดของท่านติช นัท ฮันห์ เช่นกันค่ะ และเห็นด้วยกับคุณ ธรรมาวุธ เป็นอย่างยิ่งเลยค่ะว่าเป็นแนวทางเดียวกับท่านพุทธทาส ท่านหลวงปู่ชา อ่านครั้งใดก็ช่วยให้เราค้นพบความสุขกับสิ่งรอบตัวได้อย่างง่ายดายเสมอ
ความรับรู้สมัยที่อ่านงานของท่านทั้งหลายเหล่านี้ในวัยเยาว์ ต่างกันมากกับเมื่อมาอ่านในปัจจุบัน แต่คิดว่าผลจากการอ่านหนังสือคำสอนดีๆเหล่านี้ ซึมเข้าไปในตัวเราแม้จะรับรู้ได้ไม่มากมายในวัยนั้น เป็นสิ่งที่ควรเผยแพร่ให้กว้างขวางจริงๆค่ะ ขอบคุณคุณธรรมาวุธ ที่นำมาเขียนอีกครั้งค่ะ
สวัสดีครับ
เพิ่งจะมีโอกาสได้อ่านบทความนี้เป็นครั้งแรก เกิดความสงสัยรบกวนขอความรู้ค่ะ ปกติการล้างจานก็คือการทำความสะอาดจานจึงเรียกว่าการล้างจาน แต่ในบทความนี้ให้ล้างจานเพื่อล้างจานจริงๆแล้วหมายถึงอะไรคะ เพื่อให้สติอยู่กับการล้างจานแล้ววัตถุประสงค์ของการล้างคือการทำความสะอาด? งงจังค่