ความรู้ หรือ ความคิดเห็น


การถ่ายทอดความรู้ที่เป็น Tacit จึงมักจะออกมาพร้อมๆ กับส่วนที่เป็นอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งแต่ก่อนผมเข้าใจผิดคิดว่าต้องเป็นการถ่ายทอดผ่าน “คำพูด” เท่านั้น แต่ตอนนี้ก็ได้เห็นชัดเจนแล้วว่าสามารถถ่ายทอดผ่านการเขียน เช่นการเขียน blog นี้ได้เช่นกัน

เมื่อเที่ยงวันนี้ ในขณะที่ทานอาหารกลางวันกันที่ สคส.    เราได้พูดกันถึง blog ใน “GotoKnow.org” ซึ่งตอนนี้คึกคักมาก มีคนเขียน blog เพิ่มขึ้นทุกวันวันละหลายสิบคน ในระหว่างที่คุยกันนั้น ผมก็ได้ลองโยนประเด็น (ไม่ใช่เพื่อให้ “วงแตก” แต่เพื่อให้ได้ “ขบคิด” กันครับ) ไปว่า ที่เขียนๆ กันมานี้ แน่ใจหรือว่าเป็น “ความรู้” หรือว่าเป็น “ความคิดเห็น” กันแน่ !

ผมว่าความรู้ที่เป็น Tacit นั้น มันมักจะมีส่วนที่เป็นบริบท (Context) เกาะเกี่ยวอยู่ด้วยอย่างแนบแน่นไม่เหมือนกับความรู้ในแบบที่เป็น Explicit ซึ่งมักจะถูก “ตีความ” ผ่านกระบวนการ “วิเคราะห์” “สังเคราะห์” มาบ้างแล้ว (ไม่มากก็น้อย) การถ่ายทอดความรู้ที่เป็น Tacit จึงมักจะออกมาพร้อมๆ กับส่วนที่เป็นอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งแต่ก่อนผมเข้าใจผิดคิดว่าต้องเป็นการถ่ายทอดผ่าน “คำพูด” เท่านั้น แต่ตอนนี้ก็ได้เห็นชัดเจนแล้วว่าสามารถถ่ายทอดผ่านการเขียน เช่นการเขียน blog นี้ได้เช่นกัน ในหลายๆกรณีการที่เราพยายามจะแยกแยะให้ชัดลงไปว่า สิ่งนี้ คือ “Tacit Knowledge” หรือว่ามันเป็น “ความคิดเห็น” จึงไม่ง่ายนัก !

ก่อนที่เราจะทานข้าวกันเสร็จ ได้ก็มีผู้ตั้งคำถามขึ้นมาว่า “แล้วที่ครูสอนนักเรียนอยู่ทุกวันนี้ คิดว่าว่ามันเป็นความรู้ หรือว่าเป็นความคิดเห็นของครูกันแน่?”  ผมได้ให้แง่คิดไปว่า “ถ้าสิ่งที่กำลังฟังอยู่นั้น ฟังแล้วค่อนข้างน่าเบื่อ ผมสันนิฐานว่านั่นน่าจะเป็นส่วนของ “ความรู้” (ส่วนที่เป็น Explicit Knowledge) แต่ถ้าฟังแล้วรู้สึกสนุกสนาน น่าสนใจ ผมเดาว่าน่าจะเป็น “ความคิดเห็น” (หรือ Tacit Knowledge) มากกว่า . . . ผมไม่ได้บอกว่า ความคิดเห็น = Tacit Knowledge นะครับ   เพียงแต่บอกว่ามันมีส่วนที่สัมพันธ์กันค่อนข้างมาก . . . ท่านมี “ความรู้” หรือ “ความคิดเห็น” ในเรื่องนี้อย่างไร  Comment กันเข้ามาได้เลยครับ

คำสำคัญ (Tags): #สคส
หมายเลขบันทึก: 763เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2005 08:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)

บางครั้งความรู้ก็ถูกทำให้สนุกสนานได้ และความคิดเห็นบางครั้งก็ทำให้น่าเบื่อได้ค่ะ

อันนี้เป็นข้อสังเกตุตัวผมเองว่าเป็นอย่างนี้ครับ

- ผมเขียน blog หรือสื่ออื่นๆ เพื่อเปิดโอกาสให้คนอื่นรู้ในสิ่งที่ผมรู้+คิดเห็น

- ความคิดเห็นของผมที่เขียน/เล่าของผม
  ที่จริงแล้วบางอันอาจถือได้ว่าเป็นความรู้จากประสบการณ์ของตัวผมเอง
  โดยที่ผมก็ยังไม่รู้ตัวว่านั่นคือความรู้
  ยังเข้าใจว่าเป็นเพียงแค่ความคิดเห็น+ประสบการณ์+ความทรงจำ

- การมีโอกาสเข้าถึงคลังข้อมูลให้สืบค้นเป็นเรื่องที่ดี ถึงตอนประยุกต์ใช้งานจริง
  ต้องมีการกลั่นกรองความรู้+ความคิดเห็นเสียก่อน
  ตัวอย่างเช่นผมนิยมสืบค้นจาก google แต่ต้องกลั่นกรองก่อนใช้งานอีกทีครับ

 

 

ผมเห็นว่า ต้องตามไปดูวิวัฒนาการของความรู้กันแล้วละ เท่าที่เข้าใจ เจ้าความรู้ในความหมายที่เข้าใจกันว่าเป็น EK นั้น มันมีที่มาจากการเถลิงอำนาจของวิทยาศาสตร์โดยความอัศจรรย์ของประยุกต์วิทยาที่เรียกว่าเทคโนโลยี ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ไม่มี"กาย ใจ วิญญาณ"ของมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย คงจำการทดลองเพื่อพิสูจน์ว่าประสาทสัมผัสเชื่อถือไม่ได้โดยใช้มือจุ่มน้ำร้อนข้างหนึ่ง น้ำเย็นข้างหนึ่ง แล้วมาจับน้ำปกติได้นะครับ สรุปคือวิทยาศาสตร์ครอบงำทุกศาสตร์ด้วยภาษาสากลคือคณิตศาสตร์ที่เที่ยงตรง มีความบรรสานสอดคล้องซึ่งนำมาใช้เป็นแบบจำลองของธรรมชาติตามที่นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่เชื่อกัน ทุกศาสตร์จึงพยายามใช้คณิตศาสตร์อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งทางธรรมชาติและสังคม นั่นแหละคือEKที่พ่วงมากับวาทกรรมวิทยาศาสตร์

แต่วิทยาศาสตร์เองก็ค้นพบเรื่อย ๆว่าปรากฏการณ์ธรรมชาติสัมพันธ์กับคนโดยพื้นฐานเลยเชียวคือ คนที่สังเกตุธรรมชาติเป็นตัวแปรให้ธรรมชาติปรากฏโฉมอย่างที่เห็น

คำถามคือ แล้วธรรมชาติจริง ๆเป็นอย่างไร?

คำตอบคือ มีก็เหมือนไม่มีเพราะจะรู้ว่ามีหรือเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร หากไม่สามารถสังเกตุมันได้ เป็นข้อถกเถียงโลกแตก แต่ทั้งสองฝ่ายก็ยังคงเชื่อถือคณิตศาสตร์ที่ใช้อธิบายธรรมชาติ

ความเห็นนั้นเกี่ยวข้องกับคนแน่นอน และอะไรที่เกี่ยวกับคนย่อมหลีกหนีความเห็นไปไม่พ้น และเนื่องจากที่มาของความเห็นคือความเชื่อซึ่งค่อย ๆสร้างสมมายาวนาน ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ EK เมื่อถึงที่สุดแล้วก็มีรากจากความเชื่อซึ่งเป็นเหตุให้คนที่มีความรู้เถียงกันไม่รู้จบ

ไอนสไตน์ยังเถียงกับบอร์จนตายจากกันเลย (แต่เถียงกันอย่างสร้างสรรค์เพราะไม่ได้ต้องการเอาชนะ)

ผมเห็นว่า ความรู้ฝังลึกที่เราสนใจ ส่วนหนึ่งเป็นทักษะที่ทำให้ใครคนนั้นประสบผลสำเร็จในงานที่ตนเองทำที่อาจจะถ่ายทอดให้คนอื่นได้ แต่เนื่องจากเป็นคนจึงต้องมีองค์ประกอบเรื่องใจและวิญญาณเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ดังนั้น ความรู้สำคัญในการจัดการความรู้คือ ความรู้เรื่อง"คน" ครับ

ภีม

นึกว่าอาจารย์จะไม่ตามมาเขียนที่นี่ซะอีก

(อันนี้ถือเป็นความคิดเห็น หรือ ความรู้ ครับ?)

ถ้าการถ่ายทอดความรู้ที่เป็น Tacit แสดงออกมาพร้อมๆกับอารมณ์ไม่เพียงแต่คำพูด แต่อาจเป็นการเขียนเช่นนั้นแล้ว  อยากถามสักนิดว่า  แล้วการแสดงออกโดยไม่มีคำพูดแต่เป็นอากับกิริยาในอิริยาบถต่างๆ จะเรียกว่าเป็น Tacit Knowledge ด้วยหรือไม่และเป็นแบบใด  เช่น  แม่กำลังทำกับข้าวโดยมีลูกสาวยืนดู   พยาบาลกำลังปฐมพยาบาลคนไข้โดยมีญาติคนไข้ยืนดู  เป็นต้น

ผมว่า (ความคิดเห็น??) จะเป็น TK หรือ EK ก็อย่าไปปวดหัวกับมันมากนัก ถ้าเป็นสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ ก็เอาไว้ก่อนละกัน

  • การเขียนblog
  • น่าจะมีทั้งความรู้และความคิดเห็นประกอบกันไป

 

P

สวัสดีค่ะ

ความเห็นของดิฉันค่ะ

1.การเขียนบล็อก  เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์จริง+ความรู้ อาจจะเป็นความสำเร็จหรือ ผิดพลาด หรือข้อคิด ข้อเตือนใจ

คนอื่นจะได้อ่านเป็นตัวอย่าง ถ้าไม่มีประสบการณ์จริง ไม่น่าเชื่อถือ  แต่แน่นอน ต้องมีความรู้สึกปนมาด้วย คนอ่านคงต้องกรองด้วยตัวเองค่ะ

2.บางทีเราไปหาความรู้ หรืออ่านพบจากแหล่งที่เชื่อถือ ได้ และเห็นว่าดี ก็เอามาเผยแพร่ได้

3.ความเห็นส่วนตัว ไม่น่าเขียน เป็นวิชาการเพียวๆ ดูขรึมไป ไม่ค่อยน่าอ่าน แต่ก็ไม่ควรเป็นน้ำๆมากไปค่ะ

4.มีรูปหน่อย ดูน่าอ่านค่ะ หนังสือสมัยใหม่ น่าอ่านกว่าสมัยเก่า

5.บางที วิชาการกับ เอามาทำจริง ไม่เหมือนกัน ผิดจากที่คาดอย่างมากๆ ดังนั้น ถ้าไม่ได้ลงมือจริงบ้าง ก็ดูลอยๆไปค่ะ ไม่มีบทพิสูจน์

6.การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทำให้ได้มุมมองใหม่ๆ บางที เราก็ไม่ได้คิดอย่างนี้มาก่อน

ขอบคุณค่ะ

              ผมเข้าใจว่า "ความคิดนั้น"  เวลาเล่าสู่กันฟังจะต้องพูดไปคิดไป  หรือพูดไปเขียนไป  มันไม่ค่อยจะคล่องตัวนัก  แต่ "ความรู้นั้น"  เวลาเล่าสู่กันฟังมันจะหลั่งไหลออกมาเองอย่างคล่องแคล่วเหมือนกับว่าไม่จำเป็นต้องคิดอะไรในขณะนั้น  เล่าไปอย่างมีจังหวะ  มีความเร็วต่าง ๆ  มีเสียงสูงต่ำต่าง ๆ ซึ่งเป็นไปอย่างอัตโนมัติโดยไม่ต้องใช้ความพยายามใด  และทำอย่างผ่อนคลายด้วย

ไม่ว่าแสดงความคิดเห็นหรือความรู้ เมื่อมันมากๆ เข้า ก็อ่านไม่ไหว ถ้าความรู้ที่มีประโยชน์อยู่หน้าที่500จะอ่านพบหรือเปล่า สุดท้ายก็กลายเป็นขยะความรู้/ความคิดเห็น คุณอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าโอกาสได้พบความรู้ที่ดีที่สุดอยู่ที่บล็อกหน้าที่ 500  สุดท้ายปัญหาทั้งหมดก็กลับ มาที่ information flood เหมือนเดิม ไม่อยากเรียกมันว่า knowledge flood เพราะตราบใดที่มันยังไม่ได้มีประโยชน์กับผู้ที่ต้องการ แม้เป็น knowledge ของไอส์ไตน์ก็ไม่ใช่ knowledge ของแม่ค้าขายปลาทูค่ะ

สวัสดีครับ

  • ขอคุยเรื่องบล็อกก่อนครับ ผมคิดว่า บล็อกน่าจะเขียนประสบการณ์อะไรก็แล้วแต่ แล้วผู้อ่านจะได้กลั่นกรองเอาความรู้ ตัวอย่าง หรือข้อคิดไป ถ้าเป็นบล็อกสำหรับเขียนความรู้แล้ว เราไปเขียนสารานุกรมออนไลน์ไม่ดีกว่าหรือ อย่าง วิกิพีเดีย เขียนโดยไม่ใส่อารมณ์ ความรู้สึก และต้องมีอ้างอิงด้วย
  • ค่อนข้างเห็นด้วย ว่าส่วนน่าเบื่อ มักจะเป็นความรู้ ส่วนที่สนุกเป็นความคิดเห็น
  • เท่าที่อ่านๆ มา พบเจอทั้งความรู้ และความคิดเห็นครับ บางท่านเขียนความรู้ล้วนๆ แยกบล็อกหนึ่ง ความเห็น ประสบการณ์ล้วนๆ บล็อกหนึ่งเลย ถือว่าอ่านสนุก อ่านเพลิน แถมให้ความรู้ครับ ;)
  • อยากเห็นบล็อกที่มีสาระมากกว่าบล็อกแสดงความคิดเห็น 
  • บล็อกที่เขียนโดยอาศัยฐานความรู้ จะทำให้คนอ่านรู้สึกไม่เสียเวลาที่อ่าน
  • ความรู้ที่อาศัยการเล่าที่เร้าใจ จะทำให้บล็อกน่าสนใจ
  • การแสดงความคิดเห็นตอบโต้กันไปมาระหว่างกลุ่มโดยไม่แตกประเด็นความรู้หรือความคิด ไม่ต่างอะไรกับเวปบอร์ดทั่วไป

แล้วทำไมต้องแยกด้วยล่ะครับ...

บางคนเขียนเพราะอยากให้ความรู้

บางคนเขียนเพราะอยากบันทึกความทรงจำ

บางคนเขียนเพราะอยากจะเขียน

ผมว่าเราเปิดให้กับทุกคนที่อยากจะเขียนนะครับ

สุดท้าย Blog ก็คงเหมือนหนังสือในร้านหนังสือแหล่ะครับ

จะขายดีหรือไม่ ก็คงต้องมีหลายปัจจัยช่วย...

แต่ตอนนี้หนังสือผมยังขายไม่ค่อยได้เลยครับ...ฮือ ฮือ

 

เป็นการสนทนาด้วยสื่อตัวหนังสือที่น่าทึ่งจริงๆครับ  ผมอ่านแล้วก็เกิด"ความคิด"เหมือนกันครับ  แต่จะเป็นความคิดเห็น  หรือความรู้  ผมไม่ฟันธงนะครับ

(๑) ผมคิดว่า"ความรู้" หมายถึงสิ่งที่ผ่านสนามสัมผัสในเวลาหนึ่ง แล้ว สิ่งนั้นยังคงอยู่ในระบบความจำ  ทั้งในขณะที่สิ่งนั้นยังไม่หายไปจากสนามสัมผัส  หรือว่ามันได้หายไปจากสนามสัมผัสแล้ว เมื่อเวลาผ่านไป

เช่นขณะนี้คุณอ่านตัวหนังสือนี้อยู่  ก็เรียกว่ามันยังอยู่ในสนามสัมผัส  คือสนามสัมผัสของตา  นับจากวินาทีแรกจนอ่านเสร็จ  หน้านี้ยังไม่หายไปไหน และ"มันยังอยู่ในระบบความจำในช่วงนับจากนาทีแรกจนนาทีนี้  เราถือว่าเป็น "ความจำ" แต่จำระยะสั้มากๆ

คราวนี้ท่านปิดหน้านี้คือเปลี่ยนไปเป็นหน้าอื่น  ก็เรียกว่า มันได้หายไปจากสนามสัมผัสของท่านแล้ว  คราวนี้หากท่านยัง"ระลึก"ได้บ้างว่าท่านเคยเห็นอะไรเมื่อนาทีก่อน  ก็เรียกว่า  ท่านจำได้  วัดได้ด้วยการระลึก ดังนี้ ผมถือว่าเป็น"ความจำ" ครับ และความจำนี้ก็คือ "ความรู้" ครับ  ความรู้นี้อาจจะคงอยู่ได้นานเท่าไร  เมื่อเวลาผ่านไป  ผมไม่รู้  ลองให้ผ่านไปสัก ๑ ชม. แล้วระลึกดู  หากยังได้อยู่แม้ไม่มาก  ก็เรียกว่า "ความรู้"เหมือนกัน

นี่คือความหมายของความรู้  เพราะหากเราไม่คุยกันเรื่องความหมายก่อน  ก็คงจะพูดกันยากหน่อย  อย่างไรก็ตาม  เมื่อได้พูดกันไปเรื่อยๆ (ไมต่อยกันก่อนนะ) จนหมดไส้หมดพุง  และไปสิ้นสุดที่ได้ข้อสรุปเสียด้วย และมีความสุข  และยอมรับกัน  ผลอันนั้นแหละ "เป็นความรู้" ตามที่คุณหมอวิจารณ์พยายามแนะนำ  คือเป็นความหมายหนึ่งของ KM  ที่แท้ ความ"คิดเห็น" ก่อนก่อนถึงสรุป  ก็ล้วนแต่เป็นความรู้เหมือนกัน (ตามคำนิยามนี้) แต่ "ยังไม่ใช่องค์ความรู้" ครับ และความรู้สุดท้ายที่เป็น"ผล" ก็เป็นความรู้จากแนวคิดของ KM

(๒) คราวนี้มาถึงปัญหาของ "องค์ความรู้"  ถ้าสิ่งที่ถกกันนั้นได้ผลทั้ง "ข้อเท็จจริง(Facts)",  "หลัก(Principles)", "กฎ(Rules)".  "กฎ(Descriptive laws, Prescriptive Laws)", และ "ทฤษฎี(Empirical Theory/Theory ประเภทแบบแผน)"  แล้ว  ผมคิดว่า  เราก็พูดกันถึง "องค์ความรู้ของสาขานั้นๆ"แล้วละครับ

ถ้าสิ่งที่เราพูดกันภายใต้กระบวนการของแนวคิด KM ก็จริง  แต่ถ้าการสนทนานั้น "ไม่มีองค์ความรู้ดังกล่าวแล้ว  คำอภิปรายเหล่านั้นก็เป็นเพียง -- ความรู้/จำ " ธรรมดาๆเท่านั้นเองครับ

ผมก็ได้ทำประโยชน์ให้กับวงสนทนาเหมือนกันนิ -- แฮๆๆๆ

  • เห็นได้ว่า มีทั้งความรู้  และความคิดเห็น และมีอีกคือเหมือนมีแห่อะไรสักอย่าง
  • ชัดๆ ขึ้นมาคือ  เขียนอะไรมาตามความระสึกสั้น ๆ แล้วจะมีชมรมคนคุ้นกัน  ตามตลอด  พอเปิดตามอ่าน ดูกุ๊กกิ๊กสุขใจของใครของใคร
  • นึกถึงแผ่นเขียนในห้องลับตา  ที่คนชอบขีดเขียน  เข้าไปแล้วก็เขียน ๆ แล้วมีความสุข
  • ก็ถือว่าทุกอย่างมาอยู่ด้วยกันได้  ไปทางไหนมากอาจน่าเบื่อ
  • เพราะจุดมุ่งหมายคือเอาทั้งคน  และสาะระ หรือเปล่า?

ความรู้ก่อให้เกิดความคิดเห็น และเช่นกันความคิดเห็นก่อให้เกิดความรู้

ทุกประโยคเขียนมาจาก "คน" และเช่นกัน "คน" เป็นผู้อ่านและทำความเข้าใจและถ่ายทอดออกมาโดยการสื่อสารต่อไปยังผู้อื่นโดยการสังเคราะห์และ/หรือวิเคราะห์ อาจทั้งสองกระบวนการหรือกระบวนการใด กระบวนการหนึ่ง

ข้อมูลที่ผู้อ่านได้รับมา ก็จะผ่านกระบวนการสังเคราะห์และ/หรือการวิเคราะห์ของผู้อ่าน ซึ่งได้ผ่านการเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ มาแล้วหรือไม่ก็ตาม  ก็ย่อมจะนำไปประกอบกับสิ่งที่ตนเองได้มีการเรียนรู้มา (บางครั้ง อาจารย์สองคนก็สอนไม่เหมือนกัน...หุหุหุ)

ดังนั้นองค์ความรู้ใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้ควรต้องมีทั้งความรู้และความคิดเห็นประกอบเข้าด้วยกันครับ  (ความคิดเห็นส่วนตัว)

ที่เหลือคือ "คน" ที่ได้รับข้อมูลมาจะสามารถนำไปใช้ให้เกิด "องค์ความรู้ใหม่" ได้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคนแล้วหล่ะครับ

 สวัสดีค่ะ

             เห็นด้วยค่ะ  แล้วแต่ผู้อ่านจัดข้อมูลให้อยู่ใน ประเภทไหน ส่วนมาก Tacit มักถูกปรุงแต่ง เพื่อสร้างความสนใจไม่ให้น่าเบื่อ จึงออกมาได้หลายรูปแบบ

อ่านของอาจารย์แล้วต้องมาทบทวนสิ่งที่ตัวเองเขียนว่า เป็น ความรู้  หรือ  ความคิดเห็น

แต่สิ่งที่เขียนคือสิ่งที่ได้ปฏิบัติแล้วประสบความสำเร็จ   แล้วมาเล่าสู่กันฟัง / อ่าน  เพื่อให้ผู้อ่านได้นำไปปฏิบัติ

แต่สิ่งที่อยากเห็น   คือ  ท่านใดนำไปปฏิบัติแล้วได้ผลอย่างไร  ควรรายงานผลให้ทราบด้วย

ผมว่ายากครับ หากจะแยก ความรู้แบบนั้น เพราะจริงๆแยกกันยาก

อะไรคือ ความรู้แฝง??

อะไรคือ ความรู้ภายนอก??

ทุกอย่างมันเชื่อมกันไปหมดเหมือนดินเป็นชั้นๆถูกเชื่อมด้วยน้ำ ด้วยเลนเละๆ ถามว่ายากกันโดยเด็ดขาดมั้ย...คำตอบคือ ไม่ใช่

ดังนั้น การเขียน บลอก ไม่อยากให้ซีเรียสมากครับ เขียนเถอะหากอยากเขียน เพราะทุกอย่างล้วนเป็นความรู้ อยู่ที่คนอ่านจะวิเคราะห์ สังเคราะห์เอาเอง

บลอกมีหลากหลาย รูปแบบการเขียนก็หลากหลาย   มีชีวิตชีวามาก แล้วแต่ผู้เสพคสามรู้ ท่านชอบแบบไหน จริตตรงกับเรื่องแบบไหนก็เสพกันไป..ทุนของแต่ละคนแตกต่างกัน ขออย่างเดียวให้ เปิดใจให้กว้าง ครับผม

ธรรมชาติการเรียนรู้ ตามอัธยาศัยก็แบบนี้ หากเข้าใจตามนี้ การเรียนรู้ก็ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป

หากตั้งกรอบเล็กๆไว้ในใจ เกิดอคติทันที อ่านเรื่องสนุกแค่ไหนก็น่าเบื่อครับ

 

  • ต้นไม้ มีทั้งกระพี้ และ แก่น
  • ถ้ามีแก่นอย่างเดียว เขาเรียกว่าต้นไม้ยืนตายพาก
  • คนที่เข้ามาในBlog มีวุฒิภาวะพอที่จะเลือกอ่าน เราต้องให้เกียรติกันตรงนี้
  • สนามเรียนรู้สาธารณะเช่นนี้ ต้องการความมีอิสระทางความคิดความรู้ จะเพิ่งอ่านออกเขียนได้ หรือเป็นนักวิชาการเลิศประเสริฐศรี ก็มาแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ในสไตล์ของแต่ละคน
  • G2K เหมือนสนามทุ่งหญ้า ปล่อยให้สัตว์เดินไปเลาะเล็มอาหารได้ในทุ่งกว้างอย่างในบางประเทศ
  • ถ้ามีทุ่งหญ้า แล้วเอาลวดหนามไปขึงไว้ ติดป้าย "ห้ามเดินผ่าน" ก็น่าเสียดาย ที่จะไปลดพื้นที่เรียนรู้แห่งชาติ แห่งนี้
  • เราไม่อยากเห็นวัฒนธรรมเรียนรู้แบบใหม่ๆ ที่เกิดจากศักยภาพของคนไทยเราเองรึครับ
  • ขอบคุณทุกความเห็น ที่ให้ได้เรียนด้วยอย่างสนุก
  • ขอบคุณอาจารย์ประพนธ์ด้วยที่"ฉุกให้ชวนคิด"
  • เราอยู่ในระหว่างการค้นหา วิธีเรียนรู้ภาคประชาคม ไม่ทราบว่าผมเข้าใจผิดรึเปล่านะ

ก่อนอื่นผมขอขอบคุณ ท่าน ดร.ประพนธ์ ที่เปิดมุมให้ได้แสดงความคิดเห็น

 

มีบลอกเกอร์ที่ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง เข้ามาให้ข้อคิดเห็นผิดหวังในบันทึกของผมว่า บันทึกผมไม่เห็นมีสาระอะไรเลย ตามชื่อบลอก Community based Research เขาคาดหวังความรู้ที่ฝานออกมาเป็นชิ้นๆ กล่องๆ ให้ได้เสพแบบที่เคย แต่ผมดันเขียนเรื่องราวฟุ้งไปหมด ผมเคยคิดเขียนความรู้เป็นกล่องๆนั้นออกมาเหมือนกันครับ มันไม่เวิร์กเลยครับ ความคิดผมก็วนเวียนอยู่กับความคิดเดิมๆ ผมจึงคิดใหม่...ผมหยิบเอาประเด็นเรื่องราวต่างๆมาเขียน และให้มองในมุมกว้าง ให้เชื่อมกัน ผมมีความสุขในการเขียนมากกว่า และประเด็นที่เขียนก็โลดแล่น เป็นธรรมชาติ ผมเขียนถึง การเติบโตของดอกไม้ดอกเล็กๆข้างทางเดินไม่มีใครสนใจ  เพื่อนำไปเชื่อมกับศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของนักทฤษฎี  ให้รู้ว่ามันคือเรื่องเดียวกัน

นี่คือตัวอย่างของวิธีคิด ผลผลิตที่เป็นโศกนาฎกรรมการเรียนรู้ที่เราคุ้นชินมาโดยตลอด

- - -เพราะทุกอย่างในโลกมันเชื่อมโยงไปหมด นี่เป็นมิติคิดที่ผมคิดต่อจากเขียนมาระยะหนึ่ง

ผมขอมองในมุมที่ต่างออกไปว่าการเรียนรู้นั้นมันกว้างใหญ่ไพศาลมากนัก เกินกว่าจะจำกัดขอบเขตความคิด เพราะเราต่างกัน หลากหลาย ทั้งทุนความคิด ความรู้ ประสบการณ์

 

การแบ่งความรู้ออกเป็นชั้นๆนั้นยากลำบากมากเช่นกันเพราะเราไม่ทราบขอบเขตว่า สิ่งไหนคือ ฝังลึก แฝงเร้น หรือ ภายนอก

 

สิ่งที่ผมได้เรียนรู้ใหม่  คือ สิ่งมหัศจรรย์ยิ่ง ของผม ไม่ว่าจะเป็นความรู้ประเภทใด(แฝง หรือ ไม่แฝง)  ผมนำสิ่งที่ได้เรียนรู้นั้นมาเชื่อมโยงกับความรู้เดิมของผม ให้เข้าใจเป็นภาพที่เห็นชัด เป็นผลึกผลทางปัญญาของผม

 

 

ผมชอบคำว่า การเรียนรู้ตามอัธยาศัย การเรียนรู้ตามความชอบ จริตที่ทุกคนมีรูปแบบเฉพาะ  ไร้ขอบเขตใครกำหนด ใครใคร่รู้ก็ได้รู้ ใครใคร่เรียนก็ได้เรียน อิสระเสรีตามอารมณ์ตามธรรมชาติ ที่สอดคล้องกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์อย่างเราดังนั้นการเปิดโอกาสให้มนุษย์ทุกผู้ทุกนามเป็นเรื่องสำคัญ นั่นคือ การยอมรับศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

ผมตื่นเต้นกับการเรียนรู้ที่ไร้พรมแดนแบบนี้ และแน่นอนว่าความรู้ ความเห็น ทุกเรื่องทุกราวมีความหมายต่อผมมาก การเขียนบลอกก็เหมือนกันครับ...เป็นวิถีธรรมชาติของคนรักการแลกเปลี่ยน การยอมรับที่เป็นส่วนหนึ่งของวิธีคิด วิถีของสัตว์สังคม

 

หากให้มีชีวิต และ ชีวา เอามันทั้ง แก่น และ กระพี้ ปล่อยให้คนเข้ามาอ่านเลือกเอง ตามใจชอบ สิ่งหนึ่งที่ดูเหมือนไม่มีค่า ไร้สาระกับอีกท่านหนึ่ง แต่เป็นขุมทรัพย์ของอีกคนที่เพิ่งค้นพบเลยทีเดียว

 

ขอให้โลกของการเรียนรู้นี้สนุก มีความสุข มีชีวิต ชีวา เปิดใจให้กว้างและยอมรับความหลากหลายที่เราพบเจอได้เรื่อยๆ

 

ที่ผ่านมาระบบการศึกษาเราล้มเหลวมาโดยตลอดเพราะการรัดตรึงด้วยความคิด ติดกรอบนี่หละครับ เรากำลังค้นหากันอยู่ว่า กระบวนการ ปลดปล่อยเพื่อการเรียนรู้ พัฒนามนุษย์ นั้น เป็นอย่างไร???

 

เปิดใจ  ก็เหมือนเปิดโลก เห็นจักรวาลที่ยิ่งใหญ่ไม่มีสิ้นสุด

 

 

 

 

 

การที่ครูคนหนึ่งคนใดจะสอน,เลคเชอร์หรือแสดงความรู้ของตัวเอง ในวิชาที่ตัวเองชำนาญการ โดยไม่สอดแทรกความคิดเห็นส่วนตัว หรือประสบการณ์ส่วนตัว..หรือพูดอีกแบบว่า สอน เลคเชอร์ แสดงความรู้อย่างเป็นกลางที่สุด..ย่อมมี แต่น้อย..ความคิดเห็นส่วนตัวค่ะ

“การจัดตั้งธนาคารข้าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้เกษตรกร พ้นจากการเป็นหนี้และทรงนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงให้พสกนิกรชาวไทยได้ปฏิบัติซึ่งเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นเกล้าหาที่สุดมิได้”

อย่าได้ไปตีความมันเลย มันเป็นแค่ภาษา

ยิ่งตีความ ยิ่งมีเหตุผล ยิ่งปวดหัว

ลองใช้ความรู้สึกสิครับ เข้าใจง่ายกว่ากันเยอะ

ที่บ้านผมเป็นร้านขายของน่ะครับ

มีคนหูหนวกตั้งแต่เกิดที่เป็นชาวบ้านเดียวกันมาซื้อของน่ะครับ

กว่าจะรู้ว่าเขามาซื้ออะไรนี่เป็นสนุกสนานมาก

คนที่หูหนวกตั้งแต่เกิดเขาจะพูดได้แต่ไม่เป็นภาษา

เอ่อๆ อ่าๆ ทำท่าทำทาง ใช้สายตา มือ แขน ขา

พยายามให้เราเข้าใจ 555+

บางทีผมหยิบของแต่ละอย่างมาให้ดู ว่าใช่ที่ต้องการหรือป่าว

บางที กว่าจะรู้ว่าเขาอยากได้อะไร สุ่มของมาให้ดูตั้งเกือบ 30 อย่างอ่ะ

แต่ก็ประทับใจดี!

ชาญศักดิ์ ชุมะศารทูล

ผมมีความคิดเห็นว่าการเสนอความคิดเห็นต่าง ๆ อย่าไปใช้ภาษาประเภทที่จะต้องมา

แปลจากไทยเป็นไทยให้เสียเวลา คนที่ชอบแสดงความคิดเห็นโดยต้องมาแปลจาก

ไทยเป็นไทยมีมากมาย การแสดงความคิดเห็นแบบตรงไปตรงมาลงไปที่ความถูกต้อง

เป็นสิ่งที่ดีที่สุด เข้าเรื่องเสียที กระผมขอแสดงความคิดเห็นซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อ

สังคมส่วนใหญ่ เรื่องการให้ทุนการศึกษาแก่เด็กที่เรียนดี เด็กที่เรียนดีมีทั้งเด็กที่ร่ำรวย

และเด็กที่ยากจน แต่การที่เด็กได้รับทุนซึ่งจะต้องเป็นเด้กที่เรียนเก่งได้เกรดสูง ๆ แต่

ความเป็นจริงแล้วนั้น เด็กคนนั้นเมื่อโตขึ้นไปแล้วใช่ว่าจะเป็นเด็กดีเสมอไป หน่วยงาน

ของราชการเอกชนควรให้ความสำคัญและให้ทุนแก่เด็กที่เป็นเด็กที่ดีจริง ๆ ซึ่งเขาเหล่านั้นอาจจะเป็นเด็กที่เรียนไม่เก่ง แต่เป็นเด็กที่มีความประพฤติดี มีคุณธรรม มีจริยะธรรม

ซึ่งบุคคลเหล่านี้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ก็จะเป็นคนดีของสังคมต่อไปของประเทศไม่ก่อปัญหา

ให้กับบุคคลอื่น และก่อปัญหาให้กับประเทศชาติ โดยผมขอเสนอว่าควรจะเป็นโอกาสให้

เด็กที่เป็นเด็กที่ดีได้มีโอกาสได้รับทุนการศึกษาบ้าง โดยระบุคุณสมบัติอย่างง่าย ๆ ไม่

ได้ยากเย็นอะไร โดยจัดให้มีสำนักธรรม หรือวัดไหนก็ได้ที่ได้รับการยอมรับจากมหาชน

ทั่วไปว่าเป็นสถานที่ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สามารถกลั่นกรองเด็กออกมาให้เป็นคนดีใน

สังคมได้ โดยเปิดโอกาสให้เด็กสามารถเข้าร่วมปฏิบัติธรรม สมาธิ กรรมฐาน และเมื่อ

จบหลักสูตรในระดับหนึ่งแล้ว ให้ทางวัด หรือสำนักวิปัสสนานั้น ๆ ออกใบรับรองเป็นทาง

การว่าได้จนหลักสูตรในระดับที่สามารถรับรองได้แล้วว่าเด็กคนนั้นได้ผ่านการทดสอบ

ทางด้านความประพฤติและทางด้านอารมย์กรรมฐานได้ในระดับหนึ่งแล้ว จึงออกใบ

รับรองให้ แล้วจึงนำใบรับรองนั้นไปขอรับทุนจากหน่วยงาน ซึ่งถ้าประเทศเราสามารถ

ทำอย่างนี้ได้จริง ๆ ผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศไทยอย่างมหาศาล เพราะเด็ก

ที่โตขึ้นจะเป็นเด็กที่ดีจริง ๆ ถ้าเก่งก็จะเป็นเด็กที่ทั้งเก่งทั้งดีเพราะได้รับการฝึกฝนทาง

ด้านคุณธรรมมาเป็นอย่างดี ส่วนเด็กที่ไม่เก่งก็สามารถเป็นเด็กดีได้เหมือนกัน งบประมาณที่ใช้ในการให้ทุนนี้ก็ไม่ได้มากมายอะไร แต่ประโยชน์ที่ได้รับมันมากมาย

เหลือเกินกว่าที่จะคิดเป็นตัวเงินขึ้นมาได้ ต่อไปประเทศไทยก็จะมีแต่เด็กดี ๆ เมื่อโต

เป็นผู้ใหญ่ก็จะเป็นคนดีต่อไปอย่างแน่นอน

สวัสดีค่ะ

ในหลวงพระองค์ทรงงาน หนักและเหนื่อย เพื่อราษฎรของพระองค์ให้เป็นสุข

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท