ชีวิตที่พอเพียง 3368. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๑๔) พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ



บันทึกที่ ๑   บันทึกที่ ๒   บันทึกที่ ๓    บันทึกที่ ๔    บันทึกที่ ๕  

บันทึกที่ ๖ บันทึกที่ ๗   บันทึกที่ ๘     บันทึกที่ ๙    

บันทึกที่ ๑๐    บันทึกที่ ๑๑   บันทึกที่ ๑๒     บันทึกที่ ๑๓



เช้าวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๒ ผมไปร่วมประชุมปรึกษาหารือความร่วมมือระหว่างโครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียน กับโครงการเขตพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา    เป็นการประชุมเพื่อสร้าง creativity ในการเปลี่ยนระบบการศึกษา

การประชุมนี้ เป็นการรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินการที่ผ่านมา    โดยมีการฝึก ศน. และครูแกนนำ ในโรงเรียนในโครงการ ซึ่งเลือกโรงเรียนขนาดกลาง ในพื้นที่ต่างจังหวัด    คือเน้นโรงเรียนที่เด็กค่อนข้างด้อยโอกาส    แล้วมีการดำเนินการในโรงเรียน   ตามด้วยการวัดผล โดยที่มี pre-test ไว้ก่อนแล้ว    หลักการดำเนินการอยู่ในรูปที่ ๑ - ๑๐ 

จะเห็นว่า หลักการจริงๆ แล้ว เพื่อให้ชั้นเรียนเป็นชั้นเรียนคุณภาพสูง ให้ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ลึกและเชื่อมโยง (รูปที่ ๑)    โดยที่นักเรียนเรียนแบบ PDCA (Plan, Do, Check/Reflect, Act/สร้างความรู้ใส่ตัว) (รูปที่ ๗)   

ในขั้นตอน Plan ว่าจะเรียนอะไร  ครูมีเครื่องมือช่วย ดังในรูปที่ ๕ และ ๖ เพื่อให้นักเรียนเป็นเจ้าของโจทย์การเรียน    และเมื่อเรียนแล้วนักเรียนประเมินผลของตนด้วย (รูปที่ ๘)    โดยมีครูมีเครื่องมือช่วยให้ตนตั้งคำถามหลายระดับของการคิด (รูปที่ ๙ และ ๑๐)  

ผมนั่งประชุมไปก็คิดไป   ว่านี่แหละสภาพชั้นเรียนที่ต้องการ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย    จะได้ผลที่การเรียนรู้เพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ในภาพรวม   ไม่ใช่แค่ความคิดสร้างสรรค์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณเท่านั้น  

 ผมคิดต่อว่า ควรเชื่อมโยงคณะศึกษาศาสตร์ครุศาสตร์เข้ามาเรียนรู้    เพื่อจัดการเรียนารสอนนักศึกษาครูตามแบบนี้    เมื่อเขาจบออกไปเป็นครู จะได้นำวิธีการเรียนรู้แบบนี้ไปใช้กับศิษย์ 

วิจารณ์ พานิช

๔ ก.พ. ๖๒



1 high performing classroom

2 เครื่องมือเสริมสร้างทักษะการคิดในชั้นเรียน

3 เครื่องมือทดสอบทักษะการคิดในชั้นเรียน

4 ขั้นตอนการสอน

5 เครื่องมือทำให้ นร. เป็นเจ้าของบทเรียน



6 เครื่องมือช่วยการเขียนแผนการเรียน

8 เครื่องมือประเมินตนเอง

9 หลักการตั้งตำถาม

10 SCAMMER Technique ในการตั้งคำถาม

หมายเลขบันทึก: 659873เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I see that ‘teachers’ have a lot more to learn - by the terminology and language in these pictures. Even experienced teachers may have problems mapping ‘definition/concept’ to ‘real life’.

And I hope we don’t force our children to learn (high level) ‘terminology’ and (unnatural) language expressed in these pictures. We need savvy people to translate them into simple exercises that are practical and leading into understanding (at least committing to memory) of the ‘deep thoughts’.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท