การจัดการเรียนรู้สายอาชีพในมัธยมศึกษา


ไม่มีอะไรที่จะเป็นข่าวดีไปกว่าการได้รับรู้ว่าทางผู้บริหารของโรงเรียนมีความสนใจในการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนรอบนอกเมืองที่กำลังสับสนในตัวเองทางด้านการเรียนรู้ที่เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคต ....ท่านได้ประสานสัมพันธ์กับวิทยาลัยอาชีวศึกาาของจังหวัดโดยการทำสัญญาการเปิดหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ( ปวช. ) เมื่อเรียนจบ ม. 6 ได้วุฒิ ทางสายอาชีพด้วย จึงเป็นสิ่งที่จะยืนยันให้กับนักเรียนที่เรียนจบไปว่าตนเองนั้นมีอาชีพและพร้อมจะมุ่งเดินทางสายอาชีพนั้นๆได้อย่างมั่นใจ ต่อจากนั้นคงต้องมีแหล่งประกอบการที่เป็น "ทวิภาคี" กับวิทยาลัยอาชีวศึกษาอีกทีว่าการฝึกงานฝึกปฏิบัตินั้นๆจะสร้างประสบการณ์ตรงได้อย่างเต้มที่ และสามารถที่นำไปประกอบอาชีพไดอย่างสมบูรณ์ การหางานทำด้านตลาดแรงงานของกลุ่มอาเซียนย่อมได้รับการส่งเสริมในการทำงานระดับหัวหน้าและผู้จัดการบริหารงานอาชีพประเภทต่างๆได้ จึงขออ้างการพัฒนาด้านอาชีวศึกษาตามที่ท่านอาจารยืฉัตรชัย เรืองมณีได้เขียนไว้ที่นี่ https://www.gotoknow.org/posts/231714 และนอกจากนี้ท่านศาตราจารย์ ดร. วิจารณ์ พานิช เขียนไว้ที่นี่ https://www.gotoknow.org/posts/553119

จึงอยากให้เกิดขึ้นจริงๆ..และพัฒนาห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์ในการฝึกปฏิบัติอย่างเต็มหลักสูตร อยากเห็นนักเรียนรุ่นแรกที่เดินออกไปด้วยความมั่นใจในการมุ่งสู่โลกอาชีพที่ตนเองใฝ่ฝันอยากจะเป็น "นักจัดการด้านบริการ"

ขอบคุณที่ปัจจุบันนี้ได้รอง รมต. ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ยังสำเร็จการศึกษาหลังปริญญาเอก ได้รับประกาศนียบัตรหลังปริญญาเอก Cert. Alternative Energy จาก มหาวิทยาลัยฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้มอบปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้แก่ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกรอีกด้วย[2] เริ่มรับราชการที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และได้เลื่อนตำแหน่งก้าวหน้าเรื่อยมา อาทิ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ประธานสายวิชาเทคโนโลยีวัสดุ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณบดีคณะพลังงานและวัสดุ รักษาการคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

นอกจากนี้ยังได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นๆ นอกเหนือจากในมหาวิทยาลัยอีกหลายตำแหน่ง เช่น รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (พ.ศ. 2529 - 2541) ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา[3]

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา[4] และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรรมการบริหารสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร[5]

ที่มาของเนื้อหา http://th.wikipedia.org/wiki/

ขอชื่นชมท่านมากๆค่ะ เชื่อมั่นในการจัดการศึกษาในยุค ICT

หมายเลขบันทึก: 586930เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2015 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2015 15:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

มาส่งกำลังใจให้คุณครูค่ะ

จ้าน้องสาว พี่นานๆมาเขียนค่ะ... ขอบคุณมาเป็นคนแรกเน้อเจ้า

ตามมาเชียร์การสอนของพี่ครู

ถ้านักเรียนได้วุฒิอาชีวะด้วยและสามารถไปทำงานได้ก็ดีนะครับ

ขอบคุณมากๆครับ

สวัสดีค่ะ....คิดถึงนะคะ

ความก้าวหน้าสายอาชีพทางโรงเรียนได้เปิดสายคหกรรมขึ้นมา ตอบสนองที่ครูไม่มีคาบสอน นักเรียนจบไปเรียนต่อสายอาชีพเยอะขึ้น และที่สำคัญต้องเปิดสายอาชีพให้ทันเหตุการณ์ในยุคนี้ปีแรกครูก็ยังเฉลี่ยคาบสอนกันคนละ 12 คาบ แต่งานพิเศษสุดยอดไม่ว่างหนักค่ะ งานพัสดุ งานห้องสมุด งานโรงอาหาร บริการทุกคน หูชา บางเวลา

ตามมาเชียร์ให้สู้ๆครับ

ขอบคุณอาจารย์น้องขจิตมากค่ะที่มาให้กำลังใจเสมอมา

คืนสู่เหย้าพวกเรามาพบกันอีกครั้งหลังจากจบ ป. 6 แยกย้ายกันไปเรียนคนละที่กลับบ้านเกิดจึงพบกันย้อนยุคแต่งชุดประถมได้ใจเพื่อนๆมากมาย นะ นายเจริญ สุทธไชย นายห้างจำหน่ายนาฬิกา แห่งหนึ่งในเชียงใหม่

ขอบคุณพี่ครูทิพย์ พี่มหา ที่เคารพ ค่ะ มิตรภาพในบ้านหลังนี้ช่างมีความสุขค่ะ นำภาพนักเรียนรักษ์ความสะอาดมาฝากค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท