กระบวนทัศน์ของการพัฒนาการเรียนรู้ด้านอาชีวศึกษา


การพัฒนาการเรียนรู้ด้านอาชีวศึกษาเน้นคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา มุ่งเน้นพัฒนาโครงสร้างทางปัญญา เพื่อสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งสู่สังคมแห่งปัญญา

ความเป็นมาสถาบันการอาชีวศึกษา

 

ปัจจุบันโลกก้าวมาสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ความต้องการกำลังคนในการพัฒนาประเทศ ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เปลี่ยนแปลงมาสู่การใช้ความรู้เป็นฐาน(Knowledge Based)ในการพัฒนา และมีลักษณะเป็น Multi Skill โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการกำลังคนระดับช่างฝีมือ ระดับช่างเทคนิค และนักเทคโนโลยี ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสถานศึกษาในสังกัด มีภารกิจโดยตรงในการผลิตกำลังคนดังกล่าว และสืบเนื่องจากพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา 2550 เปิดโอกาสให้การดำเนินการจัดการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษา สามารถรวมสถานศึกษา เพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา โดยการสร้างความเข้มแข็ง และคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิชาชีพ จากการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมด้วยหลักธรรมาภิบาล โดยสภาสถาบัน เป็นนิติบุคลและมีอิสระในการดำเนินการ ซึ่งมีการสรรหาผู้อำนวยการสถาบัน จากผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีวิสัยทัศน์ และมีภาวะผู้นำ เปิดโอกาสให้ผู้อำนวยการสถาบันสามารถเลือกทีมบริหารงานเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพในการบริหารสถาบันการอาชีวศึกษา ทั้งนี้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถพึ่งพาและเสริมจุดแข็ง จุดอ่อนซึ่งกันและกันจากทรัพยากรของสถานศึกษา ทั้งด้านบุคลากร สินทรัพย์ อาคารสถานที่ และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันจากทุกภาคส่วน เพื่อนำพาสถาบันการอาชีวศึกษาไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ตามปรัชญาของการอาชีวศึกษามุ่งเน้นการผลิตผู้สำเร็จการศึกษาที่มีปริมาณและคุณภาพ มีสมรรถนะ ทักษะฝีมือเป็นที่ยอมรับของสถานประกอบการ และกลุ่มอุตสาหกรรม สอดคล้องความต้องการกำลังคนด้านอาชีวศึกษา ทั้งในระดับพื้นที่และระดับประเทศ ทั้งนี้การดำเนินการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาในปัจจุบันได้ดำเนินการตาม หลักเกณฑ์ ใน มาตรา 13  มาตรา 14 ของ พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา ซึ่งมี 2 แนวทางคือ การยึดหลักภูมิศาสตร์ (Area Based) โดยรวมกลุ่มจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียงมาจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ส่วนอีกแนวทางหนึ่งคือการรวมกลุ่มวิทยาลัยที่มีลักษณะการจัดการเรียนแบบเดียวกัน (Excellent Based)มาจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา

 

การเรียนรู้ด้านอาชีวศึกษา

 

สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ได้ดำเนินการัดการเรียนการสอนออกเป็น  2 ระดับ คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)  และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา เปิดโอกาสให้มีการรวมตัวของสถานศึกษา เปิดการเรียนการสอนได้ถึงระดับปริญญาตรี  ซึ่งเป็นปริญญาตรีสายเทคโนโลยี ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการพัฒนาสมรรถนะและศักยภาพของนักศึกษา ตั้งแต่ระดับฝีมือ  ระดับเทคนิคและนักเทคโนโลยี  ซึ่งในการดำเนินการจัดการเรียนการสอน มีการจัดหลักสูตรฐานสมรรถนะตอบสนองความต้องการกำลังคนระดับกลาง ในระดับ ปวช. และปวส.  จำนวน  6 ประเภทวิชาได้แก่ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ประเภทวิชาพาณิชกรรม/บริหารธุรกิจ  ประเภทวิชาคหกรรม ประเภทวิชาศิลปกรรม ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และ ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ยกเว้นประเภทวิชาเกษตรกรรม ที่มีการแยกดำเนินการจัดการเรียนการสอนเป็นเอกเทศต่างหาก ซึ่งรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาเฉพาะทาง สำหรับการเปิดหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยี นั้นเป็นการตอบสนองตามความต้องการกำลังคนระดับนักเทคโนโลยี ซึ่งมีการจัดการศึกษาในระบบทวิภาคีที่เน้นการปฏิบัติจริงในสถานประกอบการ เป็นการเรียนต่อเนื่องจากระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง อีก  2 ปี โดยเรียนในสถาบันการอาชีวศึกษา  1 ปี และฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ อีก 1 ปี

                               

                                                     แผนภูมิแสดงองค์ประกอบการเรียนรู้ด้านอาชีวศึกษา   (ฉัตรชัย  เรืองมณี ,2551)

 

จากแผนภูมิแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบคุณภาพการจัดการเรียนรู้ด้านอาชีวศึกษา ที่ต้องการปัจจัยก็คือศักยภาพของผู้เรียน คุณภาพครูผู้สอน งบประมาณการลงทุนตลอดจนอาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติการ ครุภัณฑ์ และวัสดุฝึก  ขณะเดียวกัน กระบวนการจัดการเรียนรู้ การบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะก็เป็นสิ่งจำเป็นรวมทั้งการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ และระบบควบคุมคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลผลิตต่อจำนวนช่างฝีมือ  ช่างเทคนิคและนักเทคโนโลยี  ที่มีผลสัมฤทธิ์ต่อคุณภาพและสมรรถนะผู้สำเร็จการศึกษาสายปฏิบัติการและผลลัพท์สุดท้ายคือ ความพึงพอใจของสถานประกอบการ และความ

เพียงพอต่อความต้องการกำลังคนของท้องถิ่นและประเทศ

 

กระบวนทัศน์ในการพัฒนาการอาชีวศึกษา

 

ดังกล่าวข้างต้นองค์ประกอบคุณภาพการจัดการเรียนรู้ด้านอาชีวศึกษา ต้องการปัจจัย  และกระบวนการเพื่อส่งผลที่ได้รับ บรรลุตามวัตถุประสงค์ จำเป็นจะต้องปรับกระบวนทัศน์ เพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษา ไปสู่จุดหมายปลายทางที่วางไว้ คือ

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา(Intellectual Infra-Structure Development)  เพื่อสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ(Vocational Learning Organization) มุ่งสู่สังคมแห่งปัญญา(Wisdom Society)

 

                                                แผนภูมิกระบวนทัศน์ในการพัฒนาการอาชีวศึกษา   (ฉัตรชัย  เรืองมณี ,2551)

 

1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา(Intellectual Infra-Structure)

1.1 การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการจัดการอาชีวศึกษา

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามแนวทาง ยุทธศาสตร์อิเลคทรอนิคส์( e-Strategy ) มาสนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษา ทั้งการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ เช่นการจัดหาและพัฒนาระบบ Virtual Classroom การจัดระบบ Learning System Management: LMS โดยการจัดการเรียนการสอน บนชุมชนอวกาศ (Cyber Community) ผ่านเครือข่ายระบบอินเตอร์เน็ต  จัดการเรียนการสอน e-Learning การเรียนการสอนบนเว็บ (WBI) การฝึกอบรมบนเว็บ (WBT) การส่งเสริมการเรียนการสอนบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ การจัดตั้งห้องปฏิบัติการ Cyber ปลายทางในทุกสถานศึกษา จัดหาและพัฒนา สื่อ ICT เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้ครอบคลุมสาขาวิชาชีพหลัก  จัดหาและพัฒนา e-Book,  e-Library, Self Access Learning จัดหาและพัฒนา Internet Mobile เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนและหลักสูตรแกนวิชาชีพระดับมัธยมศึกษา การจัดทำระบบ   e-Office จัดหาระบบ VDO Conference

1.2 พัฒนาคุณภาพการอาชีวศึกษาเพื่อการแข่งขันของประเทศ

จัดหาและพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ และชุดฝึกทันสมัยในสาขาวิชาที่สอดคล้อง กับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ จัดหาและพัฒนาห้องเรียนจำลองและห้องปฏิบัติการทันสมัย จัดหาครุภัณฑ์ยานพาหนะสนับสนุนการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี  และการส่งเสริม  การพัฒนาอาชีพแก่ประชาชนในท้องถิ่น  พัฒนาสถานศึกษาที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางเพื่อสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ พัฒนาระบบบริหารจัดการอาชีวศึกษาแบบมีส่วนร่วมและหลักบูรณาการ 

1.3 พัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง ด้วยรูปแบบวิธีการทันสมัย

พัฒนาศักยภาพบุคลากรร่วมกับสถานประกอบการทั้งในและต่างประเทศพัฒนาต่อยอดและเพิ่มคุณวุฒิครูรองรับการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสายปฏิบัติการ  พัฒนาระบบ e-Training เพื่อการฝึกอบรมพัฒนาครูและผู้บริหาร

1.4 พัฒนาองค์ความรู้เทคโนโลยีวิชาชีพเชื่อมโยงภูมิปัญญาท้องถิ่น

พัฒนาขีดความ สามารถด้านการวิจัยและพัฒนา การสร้างสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมและสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ด้านวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ส่งเสริมความเป็นเลิศในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ที่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศรวมทั้งการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้วิชาชีพ

 

2. การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ(Vocational Learning Organization)

2.1 พัฒนามาตรฐานการอาชีวศึกษาและการเรียนรู้ด้านวิชาชีพตลอดชีวิต

พัฒนามาตรฐานอาชีพ พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะหลักสูตรวิชาชีพเฉพาะทาง หลักสูตรวิชาชีพทั้งในและนอกระบบให้มีความหลากหลาย เชื่อมโยงกับระบบคุณวุฒิวิชาชีพและการพัฒนาคุณภาพอาชีวศึกษา  บ่มเพาะให้เยาวชนใฝ่หาความรู้ มีค่านิยมให้มุ่งสู่การเรียนสายอาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้น เสริมสร้างให้เยาวชนมีสมรรถนะ ด้านการสื่อสาร ภาษา IT  การคิดวิเคราะห์ ทักษะอาชีพ รองรับการแข่งขันด้านเศรษฐกิจของประเทศ มีคุณธรรม  จริยธรรม     มีจิตสาธารณะ มีศีลธรรม และวุฒิภาวะทางอารมณ์

2.2 พัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ดานวิชาชีพของเยาวชนและประชาชน

สร้างระบบการเรียนรู้อาชีวศึกษาส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้วิชาชีพตลอดชีวิตและวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่เยาวชนและประชาชน เพื่อการมีงานทำ การสร้างผู้ประกอบการใหม่สอดคล้องกับภูมิสังคมอาชีพ

2.3 สร้างเครือข่ายชุมชนความรู้ด้านวิชาชีพ

พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิชาชีพในชุมชน ร่วมกับ สถานประกอบการ ชุมชน บ้าน สถาบันศาสนาและสถานศึกษา

               

                3. การสร้างสังคมแห่งปัญญา(Wisdom Society)

3.1 สถานศึกษามีศักยภาพและความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพโดยใช้นวัตกรรมใหม่ การวิจัยพัฒนาและการจัดการความรู้

3.2 ผลิตกำลังคนที่เพียงพอและมีสมรรถนะมีคุณธรรม จริยธรรม ตรงกับความต้องการตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้กำลังคน

3.3 สถานประกอบการและสังคมให้การยอมรับ คุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษา

3.4 เพิ่มความเข้มแข็งของชุมชนจากการพัฒนาอาชีพตามภูมิสังคมอาชีพ

3.5 เพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ สร้างความมั่นคง มั่งคั่งในสังคมอุดมปัญญา

หมายเลขบันทึก: 231714เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2008 18:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เยอะจังคะ   อ่านจนตาลายเลยคะ  อิอิ

 

สำหรับนิว ๆ คิดว่า..การปรับกระบวนทัศน์ต่างๆ  เหล่านี้คงไม่ใช่เรื่องใหม่เท่าไหร่  แต่ "คนเริ่มที่จะลงมือทำ  กับคนที่จะทำตามและตามให้ทันต่างหาก" ที่จะทำให้มันสำเร็จได้หรือเปล่า 

 

เป็นกำลังใจให้อาจารย์และนักศึกษาอาชีวะทุก ๆ คนนะคะ

 

จาก...อดีต เด็กอาชีวะ  คะ  (คนพันธุ์  R  )  

 

อาจารย์สุทธิพงค์ นันทเกษตร

    อาชีวศึกษา มีคนที่มีความสามารถมากมาย แต่เรารวมกันไม่ได้ เพราะพวกเราไม่ชอบทำงานเป็นทีม และยังไม่สะสม ระดมสมองมาช่วยกันคิด ไม่เตรียมความพร้อมในเรื่องพื้นฐาน เช่น ๔ เอ็ม

๑.คน ๒.วัสดุอุปกรณ์ ๓.เงิน ๔.การจัดการที่มีระบบ หรือ ๕.อื่นๆ

เรายังไม่มีอะไรพร้อมเลย แต่จะเปิด ปริญญาตรี  คนในองค์กรมัวแต่ทะเลาะกัน แย่งกันเป็น....... หมดยุคก็เปลี่ยนแนวการพัฒนาใหม่อีกแล้ว ผมว่ายังมีอุปสรรค์อีกเยอะ ทำวิจัยแล้วมิได้นำมาแก้ไขในบริบทจริงๆเงินทองรั่วไหลไปมากมาย น่าเสียดายนะครับ

      แต่ก็เป็นกำลังใจให้พี่น้องอาชีวะฯ ได้เปิด ป.ตรีนะครับ

       ผมศิษย์อาชีวศึกษา เทคโนไทย-เยอรมัน(ขอนแก่น)

เรียนท่านรอง

ขอชื่นชมความรู้ ความสามารถของท่าน หลักทฤษฏีกับการปฏิบัตินั้น บุคลากรทางอาชีวคงมีคุณภาพเยี่ยมทุกคน ขอให้กำลังใจ ถ้าเขารู้ว่าเขามีผู้นำที่ดีเลิศอย่างท่าน

ด้วยความเคารพ

ใบบัว

หากจะพัฒนาอาชีวศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นเป้าหมาย โดยให้สถานศึกษามีโอกาสทำโครงการโดยตรงน่าจะสนับสนุนในประเด็น หรือ เรื่องอะไรดีครับ

สวัสดีค่ะ..อาจารย์ไม่ได้เขียนบันทึกนานจัง..อยากติดตามการเปิดสายอาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษา นะคะ ..นำภาพอดีต ปี2528 อดีต วอศ.แพร่ มาย้อนรอยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท