ปัจจุบันคนเราอ่านมากขึ้น แต่ อ่านน้อยลง


จากการวิเคราะห์  ด้วยสมอของข้าพเจ้า พบว่า  ปัจจุบันคนเราอ่านมากขึ้น  แต่อ่านน้อยลง  เหตุผลที่ข้าพเจ้ารู้สึกแบบนี้เนื่องจาก ข้าพเจ้าสงเกตว่า เครือข่ายของสังคมออนไลน์นั้น ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ผู้คนจำนวนมากนิยมการติดต่อสื่อสารผ่านโลกอินเตอร์เนตมากขึ้น การใช้โทรศัพท์ ในการพูดคุย กันนั้นน้อยลง  แต่จะใช้โทรศัพท์ ในการส่ง SMS มาขึ้น  อีกทั้งการใช้  สื่อ social net work นั้นคนมักใช้ โหมดการ post ข้อความ หรือรูปภาพ  มากกว่าการใช้ โหมด VDO จึงเป็นที่มาของการบอกว่าคนเราอ่านมากขึ้น  แต่ที่อ่านน้อยลงนั้นคือ ชอบอ่านข้อความสั้นๆ มากกว่า บทความยาวๆ ซึ่งข้าพเจ้าสังเกต เวลาที่ ข้าพเจ้า โพสต์ ข้อความสั้นๆ ที่โดนใจใน FB นั้น  ข้าพเจ้าจะได้รับการ กดlike และการแสดงความคิดเห็นอย่างล้นหลาม  แต่เมื่อไหร่ที่ ข้าพเจ้าโพสต์บทความยาวๆ ถึงแม้บทความนั้นจะมี่สาระเพียงใด  นั้น จำนวนคนที่ กด like ก็ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง  ความคิดเห็นก็น้อย  แถมมีความคิดเห็นว่า “ยาวจริงๆ”  ยิ่งถ้ามีแต่ตัวหนังสือไม่มีรูปภาพเลยนะ โห คนอ่านน้อยมาก 

  มาให้คิด ว่า เกิดอะไรขึ้นใน  สังคมปัจจุบัน  ปัจจัยอะไร ที่ทำให้ เกิดการ เปลี่ยนแปลงในรูปแบบสื่อสารกันในปัจจุบัน ข้าพเจ้าว่าอาจถึงขั้นเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเลยทีเดียว  ขอยกตัวอย่าง

  การกล่าวทักทาย กัน จาก  สวัสดีค่ะ  เหลือ หวัดดี  หรือ ดีค่ะ  หรือ ดี 

  การขอบคุณ จาก  ขอบคุณค่ะ เหลือ  thank  , Tk  u  ,Tk

  การกล่าวลา  จา ก  ลาก่อนค่ะ  เหลือ   บาย 

  ข้าพเจ้าว่า ต่อไป คงเปลี่ยน วัฒนธรรมการไหว้ โดยการยกมือพนมสองมือ  ก้มศีรษะลง  เป็นยกมือข้างเดียวแล้ว ยักคิ้วกระมัง

  น่าเป็นห่วง  ตรงที่ เราอ่านมากขึ้นแต่อ่านเฉพาะข้อความสั้นๆ ซึ่งข้อความเหล่านั้น มันไม่ได้อธิบายความหมายให้เราเข้าใจ ในวัตถุประสงค์ หรือความหมายโดยแท้ของข้อความนั้น  แต่ความหมายมันเกิดจากการคิดปรุงแต่งในจิตของเราจากการอ่านแล้วนำมาตีความ ซึ่งอาจตรงหรือไม่ตรง  ความหมายในนัยยะ ก็ได้  อยู่ที่ภูมิหลัง  สิ่งแวดล้อม สิ่งกระทบของแต่ละบุคคล 

  อย่างข้าพเจ้า conference  case  congestive  heart failure ( หัวใจล้มเหลว )กับนักศึกษาพยาบาล  นั้น ว่ามี typical sign อย่างไร  โห ตอบได้หมด เลย 1  2  3  4 แต่พอ ถามว่า  ทำไม ถึงเกิด 1 …. 2 ….3 …. 4  แล้วอะไรเกิดก่อนอะไร ตอบไม่ได้  นั่นคือ  ที่ตอบได้เพราะอ่านมาแบบสรุปสั้นๆ  ท่องมาเป็นนกแก้ว  แต่ไม่ได้เข้าใจในพยาธิสภาพของโรค  จึงตอบคำถามต่อมาไม่ได้ นี่เป็นปัญหาในการเรียนพยาบาลมาก

  ข้าพเจ้ากำลังคิดว่า  จะใช้ประโยชน์อย่างไรจากการอ่านที่มากขึ้น แต่อ่านน้อยลง ของคนเรา ให้เกิดประโยชน์ ทั้งในการเรียน  การดูแลสุขภาพของคนเราได้

  น่าจะท้าทาย 

ชลัญธร 


หมายเลขบันทึก: 519571เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2013 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2013 12:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ทักษะการฟังพูดอ่านเขียนของเยาวชนไทยควรได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง ละเลยไม่ได้เด็ดขาดเพียงเพราะคิดว่าคือภาษาที่เราใช้มาแต่กำเนิดค่ะ

ขอบคุณบันทึกนี้นะคะ :)

นั่นเป็นความเจริญทางปัญญา ;)...

คนที่มีโอกาสในชีวิตที่ดีกว่าคนอื่นคือคนที่อ่านดีเขียนดี เป็นความจริงตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบันและต่อไปในอนาคตแน่ๆ ครับ แต่สมัยโบราณนั้นจะได้อ่านจะได้เขียนไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะเครื่องมือไม่พร้อม แต่ปัจจุบันนั้นความพร้อมมีอยู่มากมายโดยไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบกันมากนัก ที่เหลืออยู่ก็คือความตั้งใจของแต่ละคนเท่านั้นเองครับ

เด็กยุคใหม่นี้เขียนและอ่านกันแย่มากๆ อย่างไม่น่าเชื่อครับ

คนเราสื่อสารกันมากขึ้น (หลายช่องทาง,หลายสื่อ หลายเครื่องมือ) แต่อ่านน้อยลง (จริง)


  • อ่าน (จำนวน) มากขึ้น แต่อ่าน (ทำความเข้าใจ) น้อยลง
  • สังเกตตัวเองก็เป็นคะ อย่างบันทึกใน G2K พอมีเวลาจำกัด ก็มีสองทางคือ อ่านจำนวนเท่าเดิมแต่ทำความเข้าใจน้อยลง คือ อ่านแบบปาด :)  หรือ ทำความเข้าใจเท่าเดิม แต่อ่านจำนวนน้อยลง หรืออ่านแบบจุ่ม :)

ผมว่าค่าใช้อิเทอร์เน็ต โทรศัพท์ไร้มือถือ อาจจะมีส่วน  เพราะต้องเสียเงิน ซื้อเวลา  ตอนไปใช้เมืองไทย ช้าก็ช้า เลยไม่ค่อยอยากจะใช้  บางคนยังไม่มีอีเมลเลย  ถ้าจะใช้ต้องขอลูกใช้  เพื่อนบางคนบอกว่าไม่ดูวีดีโอ จากมือถือเพราะมันแพง

ตอนนี้คนใช้ภาพแทนสื่อมากขึ้น  มีทั้งภาพมีทั้งข้อความอยากจะสื่อสาร  ซึ่งผมว่าได้ผลมาก ซึ่งคุณชลัญธร ก็ใช้เอยู่แล้ว  พวกคุณผู้หญิงชอบมาก มีทั้งรูปมีทั้งตัวหนังสือ


บันทึกส่วนมากอ่านเสร็จแล้ว  ลองถามตัวเองว่าได้อะไรกลับมาคิด หรืออย่างน้อยก็แอบยิ้มในตอนอ่าน หรืออ่านเอาสนุกๆ ผมส่วนมากส่งบันทึกที่เขียนไปทางอีเมลให้เพื่อนอ่าน  กลับไปเมืองไทยบางคนบอกว่า เธอส่งมามากเหลือเกิน ไม่อ่านแล้ว  (คนประเภทนี้ โดนตัดออกจากการสื่อสาร)  แต่คนบางคนพอผมไปเมืองไทยหรือไม่สบาย ส่งข้อความสั้นๆ  ว่าเป็นอะไร  ไม่ส่งข่าวมาเหมือนเมื่อก่อน  อย่างคุณศิลา เขียนไว้แหล่ะครับ

 การทักทาย ก็เพื่อเคารพการมีตัวตน
เขียนไปให้อ่านมาสองปี  ไม่ยอมทิ้งข้อความกลับมาสักบรรทัด แล้วคุณจะให้คิดอย่างไร


ขออนุญาตส่งบันทึกของคุณชลัญธรที่ถูกใจไปให้เพื่อนๆ  หลายคนชอบมาก

เพียงลมพัดผ่าน

อย่าถาม ..เพราะรักไม่มีเหตุผล

อ่านแล้วมันซาบซึ้งใจ  ถูกใจจริงๆ  อ่านเมื่อไร ก็ยิ้มให้กับตัวเอง

คนอะไรเขียนได้ดีขนาดนี้

เป็นเรื่องที่น่าคิดมากครับ...น่าท้าทายมากครับ

  • จริงครับ..เดี๋ยวนี้ ผมก็ชักจะอ่านแบบ..สุกๆดิบๆ มากขึ้น
  • จะเป็นพยาธิไม๊ครับ

..คิดว่า..ตัวเองคงเป็นโรคสมาธิสั้น..อ่านอะไรยาวๆไม่ได้เลย..แถม..ตาก็เริ่มฝ้าฟาง...แต่..ตั้งแต่แก่..ยกมือไหว้ได้..ท่วมหัว..จรดใจ..มือไม้อ่อนกว่าตอนเป็นเด็กเยอะเลย..๕๕๕..อย่าว่าแต่เด็กแก่ก็เป็น..อิอิ..มันกลับตาลปัตรอ้ะะๆๆ...ยายธี

สวัสดีครับ

ต้องยอมรับว่า การอ่านตัวหนังสือบนจอสนุกน้อยกว่าอ่านตัวหนังสือบนกระดาษ

ผมเองในฐานะคนเขียนหนังสือ ทำหนังสือ อ่านหนังสือ สอนหนังสือ เจอบทความยาวๆ ในเว็บก็อ่านไม่ค่อยจบเหมือนกันครับ แต่ถ้า่เป็นกระดาษอ่านได้สบายๆ มากกว่าหลายเท่าตัว

บัีนทึกนี้โดนใจ เพราะครุ่นคิดถึงประเด็นนี้อยู่เหมือนกันค่ะ

ส่วนตัวเป็นคนหนึ่งที่สมาธิสั้น ตอนเรียนหากอาจารย์พูดช้าๆ เนิบๆ จะหลุดความสนใจ เรื่องยาวๆ อ่านได้ แต่คล้าย อ.ธ.วัชชัย คือมักจะเป็นในหนังสือ ส่วนในเน็ต หากยาว ตัวหนังสือเป็นพรืด ไม่ค่อยเว้ันวรรค ไม่ขึ้นย่อหน้าใหม่ จะไม่ค่อยอ่าน (ปวดตา) นอกจากเรื่องที่สนใจจริงๆค่ะ

หากมองในแง่การทำงานของสมอง ก็พอจะอธิบายได้ว่า 

สมองชอบ "ภาพ" มากกว่าตัวหนังสือ ชอบสีสันมากกว่าขาวดำ สมองชอบเสพสิ่งแปลกใหม่ ตื่นเต้น ดังนั้นไม่น่าแปลกใจว่าหากต้องการดึงความสนใจ (ของสมอง) เราต้องใช้ ภาพ สีั ความแปลก เข้ามาช่วย

คิดอีกแง่มุมหนึ่ง... ปัญหา "อ่านมาก แต่อ่านน้ัอย" ที่ว่านี้ ก็เป็น โจทย์ ของคนเขียนบล็อก ทำหนังสือ ว่า ทำอย่างไร จะดึง สร้าง กระตุ้น ความสนใจ ของผู้อ่านในอยู่กับข้อความของเราได้ (เมื่อมั่นใจว่าเรื่องที่เขียนนั้นมีสาระพอ)

ขอบคุณทุกท่านมากค่ะที่มาร่วมแสดงความคิดเห็น และ มองดอกไม้ในบันทึกนี้  

ชลัญกำลังมีแนวคิดที่จะใช้ประโยชน์ จากการอ่านแบบกรวด ของคนเราอย่างไรที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้มากที่สุด ทั้งใน นศ.ฝึกงานที่ำลังดูแลอยู่  และกับผู้ป่วยที่มารับบริการ เพราะชลัญเคยแจกใบความรู้ในการปฏิบัติตัวไป คนที่ไม่อ่านนี่ไม่ใช่ คนแก่ ที่อ่านหนังสือม่ออกนะค่ะ  คนเหล่านั้นส่วนใหญ่พยายามให้ลูกหลายอ่านให้ฟังเพราะอยากรู้ว่า หมอเขาว่ายังไง  แต่คนที่ไม่อ่านนี่ลับเป็นคนที่ทีความรู้อย่าง้ราๆนี่แหล่ะ  ด้วยเหตุผลว่า ไม่มีเวลาอ่าน แก้ตัวทั้งนั้น 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท