ความรักคือการให้..ให้เติบโต


รักคือการให้..คำนี้ข้าพเจ้าได้ยินมานาน 
แล้วเกิดคำถาม การให้โดยไม่มีเงื่อนไข คือรักจริงหรือ?
เหตุใด เด็กที่ได้ทุกอย่างจากพ่อแม่ จึงบอกว่า"โดนรังแก"
...
ตอนข้าพเจ้าเป็นอาจารย์ใหม่ๆ
ก็บอกใครๆ ว่าข้าพเจ้า รักการสอน  รักนักเรียน 
ก่อนชั่วโมงสอน มีการเตรียมสไลด์/วีดีโอ/เนื้อหาอยู่หลายวัน
แต่แล้วความสุขในชีวิตเป็นอาจารย์ก็่ค่อยๆ หมดไป
เมื่อเห็นนักเรียนบางส่วนหลับในห้อง,นั่งเล่นโทรศัพท์  
และ.."อยากให้ผมตอบแบบที่คิด หรือแบบที่ถูกใจอาจารย์ครับ" !!
เมื่อนำไปเล่า ก็ได้รับความเห็นใจ ว่าเป็นที่ตัวนักศึกษา
ยังเด็ก ขาดวุฒิภาวะ
...
จริงหรือ? 
หรือเพราะข้าพเจ้าไม่ได้รักนักเรียนจริง..แต่รัก "ego" ของตัวเองต่างหาก
ฉันต้องเป็นคนสำคัญ เพราะฉันคือผู้ให้ความรู้ (นะ)
..
จึงขอพิสูจน์สมมติฐาน วุฒิภาวะไม่ขึ้นกับอายุ  แต่..
หากเรามองเขาเป็นเด็ก เขาก็เป็นเด็ก
หากเรามองเขาเป็นผู้ใหญ่ เขาก็เป็นผู้ใหญ่...
"Maturity doesn't come with age. It begins with the acceptance of responsibility.
 Sometimes age comes alone”
 John C.Maxwell

###
ในกระบวนวิชา Palliative care ที่รับผิดชอบ
ข้าพเจ้าจึงยกเลิกการ lecture ลงลึกเนื้อหา
เลิกหาวีดีโอให้เขาดู  เลิกอภิปรายเคสแห้ง
แล้ว "ปรึกษา" นักศึกษาว่า ต้องการคลิปวีดีโอเผยแพร่ทัศนคติที่ถูกต้องแก่ประชาชน
แบ่งกลุ่มละกี่คน? ใช้เวลาเท่าไหร่? เทคนิคถ่ายทำอย่างไร? ไม่รู้หละ ไปคิดทำเอาเอง
มีเกณฑ์การตัดสิน โดยให้เพื่อนช่วยให้คะแนนและ มีง่ายๆ ดังนี้
1. Connect : ประเด็นที่เลือกมา ใกล้ตัวในชีวิตคนทั่วไป                                               5 คะแนน
2. Convey : ใช้เทคนิคนำเสนอน่าสนใจ และเล่าเรื่องได้เข้าใจ                                      5  คะแนน
3. Convince : สมเหตุสมผล ชวนนำไปสู่การคิดต่อหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง   10 คะแนน
.
.
ตัวอย่างผลงานของนักศึกษาแพทย์คะ ความยาว 8 นาทีคะ

 

ผู้กำกับวีดีโอนี้ให้สัมภาษณ์ว่า ได้แรงบันดาลใจจากชีวิตจริงรุ่นพี่  ผสานกับหลักการที่ไปค้นคว้า
- Palliative care ไม่ใช่เรื่องคนสูงวัย (ที่ไกลตัวเขา) เท่านั้น
- หมอไม่ต้องเป็นพระเอกฮีโร่เบื้องหน้า เป็นเบื้องหลังความสำเร็จของพลังรักครอบครัวก็ได้
- เป็นเรื่องสากล ไม่ต้องใช้คำพูดก็เข้าใจได้
โปรดสังเกต
-ตอนท้ายยังแฝงซนๆ ตามประสา 
- เสียงเพลงที่ใส่ประกอบ โดน youtube ให้เอาออก (ได้บทเรียนเรื่องลิขสิทธิ์ไปในตัว หุๆ)
   ต้องนำไปไว้ที่ Dailymotion แทน


###

นักศึกษาได้อะไรมากไหม..ไม่แน่ใจ
เพียงเห็นรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ น้ำตา ห้องเรียนที่มีชีวิต 
และเห็น "ผู้ใหญ่" ในชุดนักศึกษา
ข้าพเจ้าก็รู้สึกสุขใจอย่างบอกไม่ถูก
นี่คือการให้หรือเปล่า.. นี่คือรักหรือเปล่า..?

=====

update 12 กุมภาพันธ์ 2556  "ดอกไม้และก้อนอิฐ"
ได้อ่าน feedback นักศึกษา
บางส่วนบอกอยากให้สอน lecture เยอะกว่านี้ 
บ้างบอกอยากเจอเห็นวิธีคุยกับคนไข้จริงๆ
น้อมรับฟัง..และนับไปปรับปรุงคะ

หมายเลขบันทึก: 518450เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2013 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2013 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ชื่นชอบครับหมอ  เป็นงานที่สื่อให้เห็นกำลังใจ คุณหมอเป็นนัก"ยอน" โดยการกระทำ

วิธีการสอนของคุณหมอบางเวลานั้น "เด็ด" ครับ ;)...

ชื่นชม ๆ ;)...

ชื่นชมแนวคิดกับทุกท่านที่เกี่ยวข้องครับ

ได้อะไรจากคลิปจากเรื่องราวมากมายครับ

โดยเฉพาะการทำงานของบุคลากรด้านสุขภาพ

ที่มีความลึกซึ้งและ(พยายามเข้าใจ) ชีวิตของผู้ที่ให้การดูแล

อดชื่นชมแนวคิดความชาญฉลาดของผู้กำกับ

กับ...รองเท้า...การสอนเล่นเกมส์ให้พ่อ...ท้องฟ้า...เข็มนาฬิกา...

ชอบมากครับอาจารย์หมอครับ



จากบททิ้งท้ายของอาจารย์หมอป. "นักศึกษาได้อะไรมากไหม..ไม่แน่ใจ เพียงเห็นรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ น้ำตา ห้องเรียนที่มีชีวิต และเห็น "ผู้ใหญ่" ในชุดนักศึกษา ข้าพเจ้าก็รู้สึกสุขใจอย่างบอกไม่ถูก นี่คือการให้หรือเปล่า.. นี่คือรักหรือเปล่า..?"

ยายไอดิน (ครูเกษียณ) ขอแลกเปลี่ยนนะคะ...

1) ตรงกับประสบการณ์ของยายไอดิน...ที่พบว่า นักศึกษามักจะสนใจเรียนรู้จากการที่ตนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง (Active Learning) มากกว่าการรับความรู้ที่ครูอาจารย์นำมาถ่ายทอดให้ (Passive Learning)

2) ตรงกับประสบการณ์ของยายไอดิน...ที่พบว่า การเรียนรู้จากสื่อการเรียนรู้ที่เพื่อนๆ ผลิตและนำเสนอ จะสร้างความสนใจให้กับนักศึกษามากกว่า สื่อสำเร็จรูปที่อาจารย์นำเสนอ เพราะพวกเขาต้องการดูว่า ฝีมือของเพื่อนกลุ่มอื่นๆ จะประมาณไหนเมื่อเทียบกับกลุ่มของตัวเอง (Content, Connect, Convey, Convince) และสื่อประเภทคลิบวีดีโอที่เพื่อนๆ เป็นผู้แสดงบทบาท จะเร้าความสนใจได้มาก เพราะเป็นบุคคลใกล้ตัว จึงอยากดูฝีมือการแสดงของเพื่อนๆ

3) จากที่อาจารย์หมอป.เล่ามา ยายไอดินสรุปว่า สิ่งที่อาจารย์หมอป.รัก คือ "การเรียนรู้ของผู้เรียน"  เพราะอาจารย์หมอป. มีความสุขเมื่อเห็นบรรยากาศการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นไปในลักษณะที่พึงประสงค์ คือ เป็นการเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา เป็น "ห้องเรียนที่มีชีวิต"

ขอบคุณบทความประทับใจนี้..พี่ใหญ่ขอฝากบันทึกสองเรื่อง ที่ได้เขียนไว้นานแล้ว มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วยนะคะ..

1. ชัยชนะของความรัก ...สมุด : อยู่อย่างรู้เท่าทัน

2. ก่อนเตียงจะหัก        ...สมุด : อยู่อย่างรู้เท่าทัน



ขอบคุณบัง ที่กระตุ้นให้เรียนรู้ภาษาใต้วันละคำคะ :)

ยอน แปลว่า ยุยง หรือเปล่าคะ 


ขอบคุณคะอาจารย์วัส และขอบคุณนักเรียนที่ให้บทเรียนมีค่าคะ

ขอบคุณคะ ประทับใจคุณหมออดิเรกทีสละเวลาดูผลงานนักศึกษาอย่างเอาใจใส่..ในโลกที่หมุนเร็วจี๋อย่างปัจจุบัน "ความเอาใจใส่" ในสิ่งที่ผู้อื่นทำ ในสิ่งที่ผู้อื่นคิด เป็นเรื่องยาก และมีคุณค่ายิ่งคะ

  • ขอบคุณมากคะ เห็นอาจารย์เปลี่ยนชื่อเป็น "ไอดิน กลิ่นไม้" ฟังแล้วมีความสุขดีจังคะ
  • อ่านความเห็นของอาจารย์แล้ว นึกได้ว่าควรเพิ่มคะแนน "content" เข้าไปด้วย เป็นการย้ำโจทย์ว่า คนดูต้องได้สาระ
  • ปล.อยากเรียนด้วยใจจริงว่า ประทับใจวิธีแลกเปลี่ยนความเห็นของอาจารย์คะ ที่อ่านแล้ว "convince" น่านำไปคิดต่อ และปรับปรุงให้ดีขึ้น...ขอบคุณที่เป็นตัวอย่าง ผู้เกษียณอย่างมีคุณค่า..เพราะคุณค่าไม่ได้ติดอยู่ที่หัวโขน คุณค่าอยู่ที่ตัวตนของอาจารย์จริงๆ คะ

ขอบคุณคะพี่ใหญ่ อ่านบทความที่แนะนำแล้ว ได้ข้อคิดโดยเฉพาะ "รักอย่างจริงใจ"...เพราะตนเองเป็นลักษณ์สาม = Performer จึงได้บทเรียนดังที่พี่ใหญ่เขียนคะ

แวะมาชื่นชมกระบวนการสอนให้นศ.เรียนรู้ความรักแห่งชีวิตที่ดีครับ

ขอบคุณคะอาจารย์ป๊อป  วันนี้ก็ได้รับสิ่งดีๆ จากบันทึก gotoknow นี้บันทึก gotoknow นี้ สรุปเป็นแนววิเคราะห์ข้อสอบให้กับ นศพ.และแพทย์ประจำบ้านคะ

กลับมาอ่านอีกครั้งค่ะอาจารย์พบว่าเจอปัญหาเดียวกันค่ะ ดิฉันพบว่าการ flip classroom ของคนไทยนั้น flip ทีเดียวเยอะๆ ยังไม่ได้ค่ะ และที่สำคัญอีกอย่างคือ การแสดงให้ผู้เรียนเห็นคะแนนสะสมเป็นระยะจะช่วยให้เขามีกำลังใจและเห็นประโยชน์จากการ flip classroom ค่ะ

ขอบคุณคะอาจารย์จัน ที่เสนอวิธีแก้ปัญหา ด้วยการสะสมคะแนนตามชิ้นงาน
ตอนนี้ลองน้อมนำการ quiz เป็นมาตรการให้เด็กดูวีดีโอ กับอ่านมาก่อนคะ
ปีนี้เป็นโอกาสหลังจากได้รับผิดชอบกระบวนวิชาเต็มตัว ทำให้ขยับขยายง่ายขึ้นคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท