มหาวิทยาลัยกับการฟื้นฟูสุขภาวะชุมชนอำเภอพุทธมณฑล​หลังอุทกภัย


พาคุย เก็บข้อมูล แลกเปลี่ยน และพาทำ

จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยกับชาวพุทธมณฑล ภารกิจของมหาวิทยาลัยมหิดล กับการช่วยเหลือเกื้อหนุนให้กับชุมชนโดยรอบ ทั้งการเปิดศูนย์พักพิง (ชั่วคราว) และการช่วยเหลือในการเป็นศูนย์แจกจ่ายถุงยังชีพ อาหาร น้ำ ต่างๆ อีกทั้งยังมีหน่วยแพทย์เคลื่อนที่มหิดล ที่เป็นความร่วมมือแบบสหสาขาของมหาวิทยาลัย แพทย์ สัตวแพทย์ ฑันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบำบัด นักวิจัย นักวิชาการศึกษา ฯลฯ ทั้งดูแลรักษา พร้อมให้ข้อมูล และเก็บข้อมูลเพื่อเป็นฐานข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือหลังน้ำลดให้กับชุมชนโดยรอบ โดยเฉพาะกับชาวพุทธมณฑลทั้ง ๓ ตำบล มหาสวัสดิ์ คลองโยง และศาลายา ..

              

การจัดเวทีถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนข้อมูลความต้องการทั้งกลุ่มเล็ก กลุ่มย่อย ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ กับชาวพุทธมณฑล ตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๕๕ นำโดยกลุ่มภารกิจวิจัยชุมชน ซึ่งเป็นภารกิจหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหิดลที่เกิดจากการรวมตัวกันทำงานเพื่อชุมชนของหลายคณะ หลายสถาบันฯ ของมหาวิทยาลัย โดยมี สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน และสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย เป็นผู้ดูแลภาพรวม ..

จุดเริ่มต้น พาคุย เก็บข้อมูล แลกเปลี่ยน พาทำ ..

              

              

              

ข้อมูลความต้องการของชุมชนที่หลากหลายกันไปตามบริบทและความต้องการจริงๆ ของชาวบ้าน จึงเกิดเจ้าภาพของงาน(ตำบล)ไปตามเนื้องานที่เกิดขึ้น อาทิ พื้นที่ต.มหาสวัสดิ์ ที่ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และชุมชนใหม่กับความเสียหายจากมหาอุทกภัย ๑๐๐% ความต้องการของชาวบ้านจึงมีทั้งเรื่องของเมล็ดพันธุ์พืช พันธุ์ผัก และปัญหาของขยะมูลฝอยหลังน้ำลด .. เจ้าภาพของงาน จึงเป็นสถาบันโภชนาการ และคณะสิ่งแวดล้อม .. พื้นที่ ต.คลองโยง เป็นด้านสุขภาพ และกิจกรรมเชิงกระบวนการเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับน้ำรอบต่อไป เจ้าภาพหลัก คณะเทคนิคการแพทย์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ .. พื้นที่ต.ศาลายา ซึ่งเป็นพื้นที่ติดเมืองหลวง และมีความเป็นเมืองสูงสุดทั้งเชิงพื้นที่และกลุ่มคนที่พักอาศัย สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน รับเป็นเจ้าภาพหลัก ในการดูแลชุมชน ทั้ง พาคุย เก็บข้อมูล แลกเปลี่ยน และพาทำ จนเกิดกิจกรรมเชิงพัฒนาร่วมกันของชุมชนพุทธมณฑลและมหาวิทยาลัยมหิดล ..

---------------------------------------------
เรื่องราว : ณัฐพัชร์ ทองคำ
ภาพ : ณัฐพัชร์ ทองคำ และภารกิจวิจัยชมชน

 

หมายเลขบันทึก: 482317เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2012 05:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เป็นการร่วมใจกันเรียนรู้จากวิกฤตชีวิต เพื่อพลิกเป็นโอกาสในการเตรียมพร้อมในอนาคตค่ะ

ภาพจากสายบริหารงานสื่อสารองค์กร SCB

สวัสดีอาจารย์ ณัฐพัชร์ ...

(พาคุย เก็บข้อมูล แลกเปลี่ยน พาทำ ) เป็นการรับใช้ชุมชน เรียนรู้อดีต มาปรับใช้กับปัจจุบัน และวางแผนอนาคต กำหนดทิศทางร่วมกัน

  • สวัสดีค่ะพี่ใหญ่
  • เป็นการร่วมแรงร่วมใจของทุกคน ทุกฝ่าย คนไทยไม่ทิ้งกัน จริงๆ
  • ขอบพระคุณพี่ใหญ่ และชาว SCB ทุกท่านค่ะ ^^
  • ขอบคุณค่ะบัง
  • นั่นคือสิ่งที่ชุมชนทุกชุมชนควรทำ ทำก็เพื่อชุมชนของตัวเองแหละค่ะ เรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาร่วมกัน ^^
  • เรียนเชิญทุกท่านที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับชุมชนศาลายานะคะ
  • แล้วพบกันค่ะ ^^

    

ขอร่วมเป็นแรงใจการถอดบทเรียนของมหาวิทยาลัยกับชุมชนครั้งนี้ด้วยครับ

  • สวัสดีครับ อาจารย์
  • เสียหายระดับ ๑๐๐% (โห้! เศร้าเลยครับ)
  • มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชนโดยแท้เลยครับ
  • ใช้แขนงวิชาความรู้พัฒนาสังคมให้น่าอยู่และพึ่งพาอาศัยกัน
  • ขอกบอกเลยว่า "สวดยอด ลูกพี่!!!" (ฮ่าๆ สุดยอดไปเลยครับ)
  • ขอบพระคุณค่ะอาจารย์วิรัตน์
  • เวทีในลักษณะนี้ ชาวมหิดล ชาวประชาคมพุทธมณฑล คิดถึงอาจารย์นะคะ แวะมาเยี่ยมยามพวกเราบ้างนะคะ แล้วมีประเด็นอะไรดีๆ จะมาเล่าสู่กันฟังค่ะ
  • ขอให้มีความสุขในการทำงานแบบไม่มีการเกษียนอายุราชการค่ะ
  • สวัสดีครับวศิน
  • การเสียหายของชาวมหาสวัสดิ์ ๑๐๐% คือเรื่องของพืชผัก นั่นเพราะอะไรทางมหาวิทยาลัย และเครือข่ายจึงต้องระดมสรรพกำลังในการเยียวยาเท่าที่เราจะทำได้ แต่ความโชคดี คือเรื่องราวถึงพระกรรณ์ของสมเด็จพระเทพฯ พระองค์ท่านจึงมอบเมล็ดพันธุ์ส่งมาให้ไม่เฉพาะชาวมาสวัสดิ์ แต่เป็นอำเภอพุทธมณฑล ซึ่งสร้างความปลาบปลื้มแกพวกเราเป็นอย่างยิ่งนะครับ
  • สุดยอดเลยใช่ไหมล๊าาา ^^
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท