วิถีการจัดการความรู้วัฒนธรรมชุมชนปกาเกอญอ ดอยอินทนนท์


เดินทางขึ้นเหนือสัมผัสความหนาวที่ดอยอินทนนท์ ...ท่ามกลางความวุ่นวายที่เมืองกรุง แม้เครื่องบินไม่สามารถบินได้ ทางเจ้าภาพได้จัดรถเตรียมไว้ให้พร้อมสรรพ์  ผมจึงเดินทางขึ้นเหนือแบบมีทางเลือก...อาจจะเดินทางใช้ระยะเวลายาวนานไปบ้าง แต่การแวะชมสถานที่ท่องเที่ยวรายทางก็เพลิดเพลินไม่น้อยครับ

แวะรายทาง...ที่อุทยานสวรรค์ จ.นครสวรรค์

กาแฟ...รายทาง กับวันที่สดใสของคนทำงาน

ที่อินทนนท์ กิจกรรมที่ผมต้องมาช่วย น้อง นศ.ปริญญาโท ม.ธรรมศาสตร์ ทำกระบวนการในหมู่บ้านผาหมอนที่อยู่บนดอยสูงอินทนนท์  เกี่ยวข้องกับประเด็น การจัดการความรู้ การท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่ชุมชนนี้ทำมาระยะหนึ่งแล้ว ใน Thesis ที่น้องให้ผมดูบ่อยๆ สรุปความได้ว่า อยากเรียนรู้กระบวนการจัดการความรู้ของชุมชน ด้านการบริหารวัฒนธรรม (สาขาที่น้องเรียนอยู่) ครั้งนี้ มาจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อดูว่า ชุมชนปกาเกอญอที่นี่ มีกระบวนการจัดการความรู้อย่างไร...

นับว่านักศึกษาท่านนี้ทำงาน Thesis ด้วยใจเกินร้อยทีเดียว ผมเห็นความตั้งใจ เห็นความพยายามในการเรียนรู้ แม้ว่าสถานที่ทำวิจัยอยู่ไกล ทุรกันดาร ก็ไม่ย่อท้อ...เหตุผลเหล่านี้ผมจึงมาเพื่อเป็นกำลังใจให้และช่วยในกระบวนการที่เราคิดไว้ในชุมชนด้วย

ชุมชนผาหมอนเป็นชุมชนปกาเกอญอ ที่มีอัตลักษณ์ มีทุนทางกายภาพ (Physical Capital) และทุนทางสังคม (Social Capital) โดยเฉพาะในช่วงหลังชุมชนได้ค้นหาตนเอง และกำหนดการพัฒนาชุมชนโดยใช้จุดแข็งของการท่องเที่ยว มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน

ระบบการจัดการทางวัฒนธรรม ที่น่าสนใจของชุมชนที่นำมาใช้ในกิจกรรมท่องเที่ยว มีทั้งหมด ๗ ประเด็น

-           ประวัติศาสตร์ชุมชน

-           การเกษตร

-           ประเพณี วัฒนธรรม

-           ป่านิเวศน์ศึกษา

-           สมุนไพรชุมชน

-           การจักสาน

-           การทอผ้า

ทั้ง ๗ ประเด็นเป็นทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่เป็น “จุดแข็ง” และ “จุดขาย” ของชุมชนปกาเกอญอ สิ่งที่น่าสนใจต่อจากกิจกรรมนี้คือ “ชุมชนมีกระบวนการจัดการความรู้เหล่านี้อย่างไร”

ที่พักของเราในคืนที่ผ่านมา

 Img_0027 Img_9939 Img_9934 Img_9931 Img_9927  Img_0031    
   

ทาง คุณกนกวรรณ (นศ.ป.โทธรรมศาสตร์) ที่ทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ เธอได้ Review literature ไว้ค่อนข้างดี พร้อมกับข้อมูลของงานวิจัยที่ชุมชนทำกับ สกว.มาก่อน ข้อมูลค่อนข้างครบถ้วน การเริ่มต้นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็เป็นเส้นทางลัดได้พอสมควร อย่างไรก็ตามผมก็ยังเป็นห่วงว่า นศ.ยังไม่ได้ลุ่มลึกกับข้อมูลที่ได้มาอย่างแท้จริง ...เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะเป็น “คนนอก” รวมถึงระยะเวลาการศึกษาที่น้อย แต่ด้วยประเด็นการถอดองค์ความรู้ที่เธอสนใจ ก็เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาของชุมชนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ อย่างไรก็ตาม งาน Thesis ครั้งนี้ อาจไม่ลึกถึงขนาดสร้างงาน Action ที่เป็นวิจัยแบบมีส่วนร่วม แต่หากเป็นการถอดกระบวนการจัดการความรู้ที่มีอยู่เดิม และแลกเปลี่ยนกับชุมชนต่อเนื่องว่า กระบวนการจัดการความรู้ใหม่ๆที่จะนำองค์ความรู้มาใช้ประโยชน์ได้สูงสุด น่าจะมีรูปแบบอย่างไร?ผมคิดว่า วิทยานิพนธ์ฉบับบนี้น่าจะเกิดประโยชน์อย่างมาก ในแวดวงการพัฒนาชุมชน ด้านการจัดการความรู้ และ การท่องเที่ยวโดยชุมชน

 

เรากำลังจะเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ ๒ กลุ่ม คือ กลุ่ม เยาวชน และกลุ่มผู้นำ ในอีกชั่วโมงข้างหน้าครับ

ในส่วนของกระบวนการใน ๑ วัน ผมและ อ.ธันยาพร ก็จะทำหน้าสร้างแรงบันดาลใจ และจุดประกายความคิดบางอย่างให้กับชุมชนก่อน โดยผมจะเล่าเรื่องผ่านภาพ การจัดการท่องเที่ยวที่แม่ฮ่องสอน ส่วน อ.ธันยาพร ก็เล่าเรื่อง การท่องเที่ยวที่อัมพวา สมุทรสงคราม ให้ชุมชนผาหมอนเห็นรูปแบบที่หลากหลาย ให้ชุมชนได้เรียนรู้การจัดการท่องเที่ยวที่อื่น และมาเปรียบเทียบกับที่หมู่บ้านผาหมอน

กระบวนการในช่วงบ่าย เป็นการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีประเด็นการพูดคุยเจาะลึก กระบวนการจัดการความรู้ของชุมชนเป็นประเด็นใหญ่

-           ในอดีต ชาวปกาเกอญอมีกระบวนการจัดการความรู้อย่างไร

-           ในปัจจุบันเราได้พัฒนากระบวนการเหล่านั่นอย่างไร

-           ผลของการจัดการความรู้ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว

-           รูปแบบการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับศักยภาพชุมชน ในอนาคต

 

ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผมจะนำมาเสนอในบันทึกต่อไปครับ

Img_9939

อากาศวันนี้ที่บ้านผาหมอน ประมาณ ๑๐ องศา หนาวเย็นใช้ได้เลยครับ บรรยากาศดี ดอกไม้สวย กาแฟยามเช้าละมุมลิ้นกว่าที่เคย...

วิถีของผมก็ยังเพลิดเพลินกับการถ่ายรูป และพบเจอผู้คนมากมายเช่นเคย อาจต้องนอนขดใต้ผ้าห่มอันอบอุ่นภายในบ้านพักโฮมสเตย์ต่ออีกคืน แม้เครื่องบินจะบินกลับ กทม.ไม่ได้ เรายังมีรถตู้ที่จะพาเรากลับได้ และยังได้แวะเที่ยวรายทางขากลับ กทม.อีกครับ


 

 

บ้านผาหมอน

ดอยอินทนนท์,อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

หมายเลขบันทึก: 226316เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2008 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (50)
  • ทันทีที่เจอคำว่า ปกากะญอ
  • ก็รีบตามมา
  • ไม่ได้ตามน้องไปปาย
  • มีงานประชุมวิชาการมหาวิทยาลัย
  • ผมนำเสนอเรื่อง การอบรมครูภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการจัดการความรู้
  • เลยอดไปเหนือเลย
  • มาให้กำลังใจก่อน
  • ร้านกาแฟน่ากินมากๆๆๆ

อ.ดร.ขจิต

จะกินร้านกาแฟเลยเหรอครับ :

รออ่านบันทึกรายละเอียดนะครับ

ที่พักสวยจังค่ะ

แวะมาทักทาย

มีความสุขในการทำงาน  นะคะ

เดินทางปลอดภัย  ในทุกๆ ที่ นะคะ

  • กินกาแฟพอ
  • ร้านเอาไว้ก่อนครับ
  • อิอิๆๆ
  • แต่ร้านคนขายเสื้อแดงน่ารัก
  • ไม่แน่นะ
  • ฮ่าๆๆๆ

ห้องนอน อันอบอุ่นท่ามกลางทุ่งนาที่แม่กลางหลวง

เห็นการทำงานของพี่แล้ว อยากทำงานแบบนี้มากเลยครับ อยากทำงานกับชุมชนบ้างครับ ได้ผ่อนคลาย ได้องค์ความรู้ เก็บเกี่ยวประสบการณ์รายทาง ชีวิตที่มากกว่าชีวิตมันมีอะไรอีกมากที่น่าค้นหาครับ

   เห็นที่พักก็อยากหลับสักสามวัน...เหนื่อยกับการทำงานมากครับพี่

สวัสดีครับ ... คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร :)

แหม ผ่านหน้าบ้านผมสัก 100 กว่ากิโล นะครับ :)

อากาศพื้นราบก็หนาวใช่เล่นครับ เมื่อคืน 11 - 12 องศาเหมือนกัน

ที่พักน่าไปพักหนาวครับ น่าสนใจเนอะ

ว่าไป นี่คือชีวิตคุณเอกนะครับ ไม่ได้ทำงานลักษณะ เป็นคุณเอกตัวปลอมแน่ ๆ

เดินทางไป-กลับ ปลอดภัยครับ

สวัสดีค่ะพี่เอก

แวะมาทักทายค่ะ พี่เอกสบายดีนะค่ะ อิอิ

  • สวัสดีครับคุณจตุพร
  • ตามมาดูการทำงานอันมีคุณภาพของคุณจตุพรกับน้องนักศึกษาปริญญาโท
  • ขอให้งานสำเร็จลุล่วงตามเป้าประสงค์นะครับ...
  • เพื่อชาวปกาเกอญอ จะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถดำรงวิถีชีวิตอยู่ได้ด้วยพลังของพวกเขาเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาคนนอกมากนัก

ที่พักดูดีนะ พี่กำลังเตรียมตัวและเตรียมกายให้แข็งแรง เพื่อพร้อมเดินทางหมื่นลี้ ถึงปาย

พี่ต้องนำผ้าห่มไปด้วยไหมนี่ เพราะช่วงนี้ขอนแก่นก็หนาวมาก ต้องซุกตัวใต้ผ้าห่ม

     

ชอบภาพนี้เพราะเป็นคนชอบ"เปล" นอนแบบนี้มาก....หวนคิดถึงวันหนึ่งซึ่งเคยนอนหลับในเปลในสวน...(อืม ต้องหาซื้อเปลแบบนี้บ้าง)

ส่วนภาพอื่น ๆ เป็นกำลังใจให้ค่ะ คร่ำเคร่งทำงานภายใต้ความหนาว.....

สวัสดีค่ะ พี่เอก

แวะมาทักทายคะ สบายดีนะค่ะ

สวัสดีค่ะ

แวะมารับลมหนาวด้วยคน

เพิ่งกลับจากแม่ฮ่องสอน

แต่อากาศไม่หนาวเลยอดโต้ลมหนาว

เสียดาย...

บรรยากาศที่พักน่านอนและไปพักผ่อน

สวยมาก ๆคะ

แบบนี้คนทำงาน มีความสุขมาก ๆ

แวะมาเรียนรู้พร้อมลูก และหาข้อมูลที่ๆเราจะไปกันค่ะ

วิธีหนึ่งที่จะช่วยลดช่องว่างระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับกลุ่มคนชายขอบ ก็คือ สถาบันเหล่านั้นต้องมีโควต้าเรียนต่อให้กับเด็กๆเหล่านั้นให้มากขึ้นนะครับ

อย่างธรรมศาสตร์จุฬานี่ เดี๋ยวนี้มีแต่ลูกคนมีเงิน ก็ไม่ผิดอะไร แต่ถ้าจะให้เกิดการเรียนรู้ในหมู่นักศึกษามากขึ้น ก็ควรจะมีโควต้าพิเศษให้กลุ่มชาติพันธุ์เข้าไปทำวิทยานิพนธ์กันเยอะๆ

ถ้าผมเป็น "พ่อหลวง" เวลามหาวิทยาลัยมาขออนุญาตให้นักศึกษามาเก็บข้อมูล ผมจะขอโควต้าให้เด็กๆได้เรียนต่อในสาขานั้นๆ ได้ไม่ได้ก็น่าจะลองดู

นักศึกษาและมหาวิทยาลัยต้องตอบให้ได้ครับ ว่าคุณจะให้อะไรกับชุมชนที่ช่วยเหลือพวกคุณ

ในขณะเดียวกัน ชุมชนต้องรู้จักทวงสิทธิที่ตนเองควรจะได้ด้วยนะครับ

แล้วทั้งสองฝ่ายต่างจะเติบโตไปด้วยกัน แบบ win-win

ฝากเอกช่วยเป็นปากเสียงแทนชาวบ้านด้วย

ช่วงนี้ ผมหายไปหลายเดือน มีความเปลี่ยนแปลงเรื่องงานหลายอย่าง ไว้คอยติดตามนะครับ

อิจฉาจัง ไปก็ไม่บอกกล่าวกันเลย พักแบมบูพิงค์ด้วย อิอิ

สวัสดีค่ะ คุณหมอเอก...

พออ่านบทความ ทั้ง 2 บทความ จบ น้ำตาซึม ขนลุก...เพราะ ไม่น่าเชื่อว่า จากการโต้ตอบเมื่อต้นปี 51 เพียงไม่กี่บรรทัด ..จะทำให้เบียร์ได้ผลักดันงานตัวเองออกมาได้...ด้วยคำเตือนสติของคุณหมอว่า "มันใช้พลังเยอะนะคุณเบียร์"...

มาวันนี้ทราบเลยว่า พลังกาย พลังใจ พลังสมอง และการตั้งรับสถานการณ์ต่างๆ ที่เราควบคุมไม่ได้ มันเป็นอย่างไร แรงกดดันในงานชิ้นนี้มากมาย ...ท้อถอยหลายหน..

แต่ในที่สุด "ธรรมจัดสรร" อย่างที่คุณหมอบอก ทำให้เบียร์รู้ว่า "กัลญาณมิตร" เป็นอย่างไร ...คุณค่าของงานอยู่ตรงไหน

จากวันนั้นถึงวันนี้...คุณหมอ เป็นเสมอ "เข็มทิศแห่งการเรียนรู้" ให้เบียร์เสมอ ขอบคุณคุณหมอมากๆ นะคะ

เดินทางไปจีนราบรื่นนะคะ ..รักษาสุขภาพด้วยนะคะ :D

คุณเบียร์ครับ เป็น "ธรรมจัดสรร" ครับ

 

สวัสดีครับ คุณสายธาร

ขอบคุณมากครับที่มาเพิ่มกำลังใจให้คนเดินทางตลอดเวลา...มีความสุขกับการทำงานในวันทำงานนะครับ

น้องชายที่รักครับ...

ฟูอ้าจ

หากเหนื่อย...ก็พักบ้างนะครับ มีเรี่ยวแรง แล้วค่อยเดินทางต่อก็ได้ ผมเป็นกำลังใจให้เสมอครับ

อ.   Wasawat Deemarn

นี่คือชีวิตผมเลยครับ...ผมคงต้องทำงานนี้ไปอีกนาน เพราะรัก เพราะสนใจเรื่องราวของผู้คนครับ

มีโอกาสเราคงได้ร่วมเวที ทำงานร่วมกันครับ :)

และ ขอบคุณ   อ.Was  สำหรับ การเป็น "กัลยาณมิตร" ที่คอยให้กำลังใจกันเสมอมานะครับ

น้องสาว กล้วยแขก~natadee~natachoei♥.•°♥

พี่เอกสบายดีครับ...เดินทางเรื่อยๆ เหนื่อยแต่มีกำลังใจเกินร้อยครับผม

ขอบคุณครับ พี่liverbird

งานชุมชน เป็นงานที่ท้าทายครับ โจทย์ปัญหาเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เราเองในบทบาทนักเรียนรู้ ก็ต้องรูเท่าทัน และ เปิดกระบวนการให้เกิดการแลกเปลี่ยนตลอดเวลาครับ

ขอบคุณครับ...ที่มาเพิ่มกำลังใจให้คนทำงาน

  • สวัสดีค่ะ
  • โฮมสเตย์น่าพักนะคะ
  • ไม่ค่อยได้เห็นแบบที่ดูดีแบบนี้
  • ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านจริง ๆ (โฮมสเตย์จริง ๆ)
  • การดำเนินชีวิตน่าจะมีความสุขดีนะคะ
  • ช่วงปีใหม่กะกว่าจะขึ้นเหนือเหมือนกันค่ะ
  • กะว่าจะไปปายและห้วยน้ำดังด้วย
  • ขอบคุณนะคะ

พี่แก้วครับ

ขอบคุณมากครับ...สำหรับการเป้นส่วนหนึ่งของ จิตอาสาgotoknow นะครับ

พี่หมอเล็ก ครับ

ดูอาจคร่ำเคร่งในคืนหนาว ...แต่อบอุ่นมากครับ ต้องขอบคุณสำหรับผ้าพันคอสวยๆที่มอบให้ผมครับ

ขอบคุณมากๆครับผม :)

น้องสาว คนสวย ♥°.•.♥•~ kittyjump♥เลขา♥natadee~.•.♥.•°♥

พี่เอกสบายดีครับ..ขอบคุณที่มาทักทายนะครับ

พี่เอกค่ะ ..อิอิ...ร้านกาแฟ ร้านนี้ไม่รู้จักมาก่อนเลยค่ะพี่

"ร้านกาแฟรายทาง" อร่อยเหมือน กาลาโต้ ไหมคะพี่ เหอๆๆๆ

คุณadd

ตอนนี้ที่ ปายหนาวมากครับ...แต่คนเยอะ

มีโอกาสไปช่วงนี้ ได้โต้ลมหนาวสมใจแน่ๆครับ :)

แวะมาเรียนรู้วิถีงาน คนทำงาน ขอบคุณน้องเอกค่ะ สบายดีนะคะ งานยังยุ่งเหมือนเดิมไหม ตลาดนัดองค์ความรู้ ที่นี่ จัดเวลาเรียนรูกันอย่างไรค่ะ กิจกรรมที่ทำมีอะไรบ้างค่ะ ครูต้อยอยากเรียนรู้ ไว้ เมื่อลาจากราชการ ชีวิตมีอิสระ จะได้ทำสิ่งที่ตัวเองฝันกับเขาบ้างค่ะ

ขอบคุณมากครับ พี่  ประกาย~natachoei  ที่ผมไปทำเวทีเป้นหมู่บ้านท่องเที่ยวครับ เราจัดการท่องเที่ยวที่นี่เป้นแบบ การท่องเที่ยวทางเลือก มีบ้านพักไว้รองรับนักท่องเที่ยว...บรรยากาศ ดีมากครับ น่าพัก เหมาะสำหรับการพักผ่อนอย่างแท้จริง :)

กาแฟ ยามเช้า ก็เป็นสุนทรียะของชีวิตอย่างหนึ่งครับ...
ทุกเช้า...กับงาน กับ เรื่องราวดีๆที่เข้ามาให้พานพบ
ผมมีพลังที่จะก้าวเดินต่อไปในวันใหม่เสมอครับ...

สวัสดีค่ะ เข้ามาเยี่ยมชม

วิถีการจัดการความรู้วัฒนธรรมชุมชนปกาเกอญอ ดอยอินทนนท์

รูปสวยจังค่ะ เด็กๆน่ารัก

ยามเช้าสดใส...ของน้องๆที่ทำงานด้วยกัน
เขามีความสุข กับธรรมชาติที่รังสรรค์
ขอบคุณ น้องๆที่ร่วมด้วยช่วยกัน
ขอบคุณชาวบ้านผาหมอนทุกท่านครับ
ประสบการณ์ครั้งนี้...น่าประทับใจ
------------
โจทย์ที่เราร่วมกันคิด
ว่า
"เราจะสืบสานองค์ความรู้ดีๆของชุมชนได้อย่างไร?"
ความเห็นที่ระดมกันอย่างมีชีวิต มีผลต่ออนาคตของวิถีคนที่นี่มาก
  • สวัสดีค่ะคุณจตุพร P
  • เข้ามาทักทายยามเช้าค่ะ
  • น่าท่านจังเลยค่ะ

คุณ ต้อม(พรรณิการ์) นศ.ป.เอก มมส. หากมาอ่านบันทึกขอความกรุณาติดต่อผมอีกที..เพราะผมส่งอีเมลแล้วตีกลับ..

สวัสดีครับ คุณ nuch

ยินดีที่ได้รู้จักนะครับ

เรียนเรื่องการจัดการความรู้มา อาจารย์แนะนำให้เข้ามาที่เว็บgotoknow.org. ที่เป็นแหล่งของการจัดการความรู้ที่ดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆ

เคยเข้ามาหาข้อมูลบ่อย ๆ แต่ไม่ทราบที่มาของเว็บนี้ พอดีกำลังเรียนป.เอก ยังไม่ได้หัวข้อ แต่สนใจเรื่องชุมชนกับการท่องเทียว

อยากได้คำแนะนำค่ะ

ยินดีครับ เขียน email มาคุยกันครับ เรียนที่ไหนครับ???

porn [IP: 114.128.248.238]

จริงๆแล้ว การท่องเที่ยวกับชุมชน มีเเง่มุมในการทำงานวิชาการขั้นสูง หลายประเด็นเลยครับ และชุมชน รวมถึงหน่วยงานที่ทำด้าน CBT.เองก็ต้องการนักวิจัยที่ทำงานเชิงลึก เพื่อตอบโจทย์บางอย่าง

ผมอยากให้เกิดงานวิจัยที่มีแรงผลัก ขับเคลื่อน การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างจริงจัง

สนใจมาคุยกันครับ...

 

  • สวัสดีค่ะ  
  • เผื่อจะนำแบบอย่างเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปใช้กับชาวตลาด  (งานตลาดสด น่าซื้อ)  ตามประเด็นใหญ่ 4 ประเด็น  คือในอดีต...ปัจจุบัน..ผล..และรูปแบบของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับศักยภาพของตลาดในอนาคต  จะใช้ได้ไหมคะ?
  • พอดีมีตลาดที่ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากพ่อค้าแม่ค้า  เทศบาลเคยจัดประชุมก็ไม่ค่อยมาเพราะห่วงขายของ  จึงอยากจะจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ตลาด

nana งาน พสว.ศอ.8

ผมคิดว่า เราต้องหาช่วงเวลาที่เขา ว่างเว้นจากการขายของจะเหมาะกว่า ... ปากท้องยังไงก็สำคัญกว่าเสมอในวิถีชาวบ้านครับ หากทำให้ดีๆ มีพลังมากเลยนะครับ ให้กำลังใจนะครับผม

 

โอ้โห ตรงไหนของดอยอิน คะเนี่ย ปกาเกอญอหมู่บ้านนี้ยังอยู่ในสภาพที่ดีมากเลยนะคะ

ไม่เหมือนกับที่เคยไป สุดๆ ทุกอย่างจริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท