คำศัพท์คอมพิวเตอร์ที่คนไทยนิยมเขียน แต่ไม่ถูกหลักการแปล (CAI, OA และ Portal Web)


จากหัวข้อ "คำศัพท์คอมพิวเตอร์ที่คนไทยนิยมเขียน แต่ไม่ถูกหลักการแปล"

ราชบัณฑิตยสถาน ให้แนวคิดไว้ว่า ...

"...มีคำศํพท์ทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศหลายคำที่ถูกแปลขึ้นมาใช้ก่อนที่ทางราชบัณฑิตยสถานจะบัญญัติศัพท์ขึ้นมา และมีการใช้กันในวงกว้างจนหลาย ๆ คนเข้าใจว่า เป็นคำแปลที่ถูกต้อง แต่จริง ๆ แล้วเป็นคำที่แปลออกมาอย่างผิดหลักการแปลโดยสิ้นเชิง..."

 

ในบันทึกนี้จะยกตัวอย่าง คำศัพท์  3 คำ

 

คำแรก ... คำว่า Computer Assisted Instrucation หรือ CAI

 

ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้ว่า การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย แต่คนกลับนิยมใช้คำว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งเป็นการแปลอย่างตรงตัวตามคำแต่ละคำและใช้กันอย่างกว้างขวางในแวดวงการศึกษา

อาจจะเป็นคำพูดที่พูดเข้าใจง่าย และเห็นภาพ จึงทำให้สถาบันการศึกษาทั่วไปใช้คำ ๆ นี้กันจนติดปาก แต่ถ้าคำนึงถึงหลักการแปลและหลักความจริงแล้ว ถือว่า ผิดหลักเป็นอย่างยิ่ง

เพราะคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ไม่สามารถจะช่วยสอนได้ คอมพิวเตอร์เป็นเพียงอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่บรรจุความรู้ บรรจุบทเรียนที่ผู้สอนถ่ายทอดมายังผู้เรียน คอมพิวเตอร์จึงเป็นเพียงสื่อตัวหนึ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอนระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนเท่านั้น

 

 

คำที่สอง ... คำว่า Office Automation หรือ OA

ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้ว่า การทำสำนักงานให้เป็นอัตโนมัติ แต่คนนิยมใช้คำว่า สำนักงานอัตโนมัติ

ถ้าแปลว่า สำนักงานอัตโนมัติ ก็จะหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างในสำนักงานล้วนแต่เป็นอัตโนมัติ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความเป็นอัตโนมัติที่กำลังกล่าวถึง หมายถึง งานที่จัดสร้างให้มีความเป็นอัตโนมัติ อันได้แก่ งานเอกสาร งานสื่อสาร งานสนับสนุนผู้ปฏิบัติงาน เช่น การประชุมนัดหมาย การกำหนดตารางเวลานัดหมาย เวลาทำงาน

 

 

คำที่สาม ... คำว่า Portal Web

ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้ว่า เว็บศูนย์รวม แต่คนนิยมใช้คำว่า เว็บท่า

และปรากฎว่า มีคนใช้ตามกันจำนวนมาก ความจริงแล้ว Portal แปลว่า ประตูใหญ่ แต่คำว่า ท่า ในภาษาไทย จะหมายถึง ท่าเรือ ท่าน้ำ หรือ ท่ารถ เฉพาะคำว่า ท่าเรือ เท่านั้นที่มีความหมายตรงกับ Port แต่ท่าน้ำและท่ารถไม่ได้ใช้คำนี้ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใหม่โดยใช้คำว่า เว็บศูนย์รวม แทน

 

จากคำศัพท์ 3 คำนี้ได้มีการใช้กระจัดกระจายในวงการต่าง ๆ กันอย่างมากมาย และมีคนเข้าใจผิดกันค่อนข้างเยอะ ดังนั้น จึงขอใช้บันทึกนี้เป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ให้ท่านทั้งหลายทราบทั่วกันครับ

 

ขอบคุณครับ :)

 

 

แหล่งอ้างอิง

รุ่งกานต์ มูสโกภาส.  "ผิด ๆ ถูก ๆ ใช้ศัพท์คอมพิวเตอร์" , วารสาร Internet Magazine. 8, 86 (กันยายน 2546) : หน้า 77 - 82.

เอกสารประกอบการอภิปราย เรื่อง การบัญญัติศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ของราชบัณฑิตยสถาน

เว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถาน.  http://www.royin.go.th (11 มิ.ย.2551).

 

 

รายชื่อคณะกรรมการบัญญัติศัพท์เทคโนโลยีสารสนเทศ

ลำดับ รายชื่อ ตำแหน่ง
1. ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ ประธานกรรมการ
2. นาย บุญเกิด ธรรมวาสี กรรมการ
3. ผศ.ดร.สุดาพร ลักษณียนาวิน กรรมการ
4. รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง กรรมการ
5. ผศ.ดร.ยุพาพรรณ หุ่นจำลอง กรรมการ
6. นาย สุธีระ อริยะวนกิจ กรรมการ
7. นาย พลากร จิรโสภณ กรรมการ
8. ผู้แทนบริษัท ทศท คอร์ปเรชั่น จำกัด (มหาชน)
(นาย สมศักดิ์ มงคลลาภกิจ, นางสาว วิไล ปัญจขจรศักดิ์)
กรรมการ
9. ผู้แทนกระทรวงคมนาคม
(นาง ภาวสุทธิ์ จึงอนุวัตร, นางสาว อัมพร ชาตบุษยมาส)
กรรมการ
10. ผู้แทนการสื่อสารแห่งประเทศไทย
(นาย กิตติพงษ์ เมฆวิจิตรแสง, นายสมเกียรติ กุลธรรมโยธิน, นายธนา ตั้งสิทธิ์ภักดี
กรรมการ
11. ผู้แทนสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย
(รศ.ดร.ประสิทธิ์ ฑีฆพุฒิ)
กรรมการ
12. ผู้แทนสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ
(นาง สุวคนธ์ ศิริวงศ์วรวัฒน์, ดร.บุญเรือง เนียมหอม)
กรรมการ
13. ผู้แทนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(นางสาว ประดิษฐ์ ศิริพันธ์, ดร.ประณต บุญไชยอภิสิทธิ์)
กรรมการ

 

 

บันทึกที่เกี่ยวข้องกัน

 

หมายเลขบันทึก: 188053เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2008 16:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • รับทราบค่ะอาจารย์ ขอบคุณนะคะ
  • เราใช้กันผิดๆจริงๆด้วย

ขอบคุณครับ อาจารย์ naree suwan :) ... ช่วย ๆ กันนะครับ

                       ขอบคุณค่ะ............

                        

 

  • ขอบคุณมากๆเลยค่ะ
  • ใน Frame เขียน ราชบัณฑิตสถาน น่ะค่ะ

ขอบคุณมากๆครับ

บันทึก ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ (สมอง)ครับ

อ๋อครับ อาจารย์ ศิริพร  ... จริง ๆ ผมได้แก้ไขไฟล์ภาพนี้ไปแล้วนะครับ แต่ยังคงใช้ชื่อเดิม ซึ่งก็มีปัญหาที่พบประจำ ก็คือ มันไม่อัพเดท ถ้ายังยืนยันชื่อไฟล์เดิมครับ

เดี๋ยวผมจะต้องไปเปลี่ยนชื่อไฟล์ภาพใหม่ก่อน แล้วจึงจะอัพไฟล์ภาพขึ้นอีกครั้งหนึ่งก่อนนะครับ

ขอบคุณครับ :)

ขอบคุณครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร  ก็คงจะมาเรื่อย ๆ นะครับ สำหรับเรื่องนี้ :)

อยากแนะหลักภาษาง่ายๆ ครับ

ภาษาอังกฤษ วางคำหลักไว้ข้างหลัง แต่ภาษาไทยวางคำหลักไว้ข้างหน้า เช่น red rose คือ กุหลาบสีแดง

ดังนั้น

  • Computer assisted instruction --> การสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
  • Office automation --> การทำให้สำนักงานเป็นอัตโนมัติ

แจ้งอาจารย์ ศิริพร ... ผมได้ทำการนำไฟล์ภาพขึ้นใหม่ ชื่อไฟล์ใหม่ เรียบร้อยแล้วครับ (แก้ 3 ครั้งพอดีเลย)

ขอบคุณครับ

ขอบคุณ คุณ Conductor สำหรับคำแนะนำดี ๆ ครับ

ดีจังครับ...ได้ความรู้...ผมเอง..สอนภาษาไทยแท้..ยังพลาดบ่อยๆ..ผิดเป็นครู..ครับ..ถูกเป็น..คศ...๔ ครับ

สวัสดีครับ อาจารย์ พิสูจน์  :)

ถ้าอาจารย์ยังไม่ได้ ค.ศ.๔ .. ผมขออวยพรให้อาจารย์ได้ ค.ศ.๔ ไว ๆ ครับ :)

ขอบคุณครับ

ใช้ผิดซะสองในสาม

เกือบทำ hat-trick ซะแล้ว : )

อ๋อ ครับ คุณ มโนมัย .. เป็นเรื่องปกติครับ คนส่วนใหญ่ก็ยังเขียนผิดอยู่ครับ แต่ที่น่าหนักใจก็คือ ผิดผ่านสื่อมวลชนชนิดต่าง ๆ นี่แหละ :)

ครูอ้อย มาอ่านได้รับความรู้กลับออกไปทุกทีเลย

ขอบคุณมากๆค่ะ

ยินดีครับ พี่ ครูอ้อย แซ่เฮ :) ... พี่ได้ประโยชน์ ลูกศิษย์พี่ก็ต้องประโยชน์เช่นกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท