ต่อจากตอนที่แล้ว ...1… , …2… และ ...3... เมื่อได้คิดจะทำอะไร ย่อมเป็นธรรมดาที่จะต้องคาดหวัง วาดหวังไว้อย่างสวยหรู การที่จะให้ได้ตามที่คาดหรือไม่ก็กลับไปดูที่ขบวนการขับเคลื่อน (ในบันทึกตอนที่ 3) แล้วจะรู้อย่างไรว่าได้อะไรจริงหรือไม่ ก็ใช้การประเมินเอา ในบันทึกนี้จะได้กล่าวต่อท้ายไว้ ว่า ศูนย์วิจัย รพ.ยโสธร คาดหวังอะไร และจะประเมินอย่างไร การประเมินนี่ผมเติมเต็มเข้าไปเยอะนิดนึง เพราะวาดหวังว่าจะเป็นเครื่องมือให้รู้ทิศทางและตำแหน่งตัวเองให้ชัดเจน โดยเน้นที่การประเมินกระบวนการ
รพ.ยโสธร คาดหวังว่า...จะมีทิศทางและกรอบการวิจัยแบบ R2R ที่ชัดเจน และนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพบริการ ตลอดจนบุคลากรมีการตื่นตัวในการเรียนรู้และพัฒนางานอยู่เสมอ ระบบรายงานข้อมูลต่าง ๆ จะมีการพัฒนาคุณภาพของข้อมูลมากขึ้น เพราะมีการนำมาใช้ประโยชน์เอง และผู้จัดทำมองเห็นคุณค่าของรบบรายงาน มีการทบทวนกิจกรรมจากงานปกติที่สามารถพัฒนาได้โดยใช้ผลการวิจัยที่พบในเบื้องต้น เกิดกระบวนการพัฒนาคุณภาพในงานประจำจนเป็นนิสัย เกิดความภาคภูมิใจ และมีการขยายเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง และมีการจัดประชุมวิชาการประจำปีในปีต่อ ๆ ไป
โดยกำหนดว่าจะมีการการประเมินผลใน 3 ด้าน
คือ
ด้านปัจจัยนำเข้า
โดยการเปรียบเทียบจากงบประมาณที่ใช้กับงบประมาณที่ได้รับอนุมัติตามโครงการ
ด้านกระบวนการ โดยการสังเกตกระบวนการมีส่วนร่วมของทีม R2R
ประเมินความก้าวหน้าในการทำวิจัยเปรียบเทียบกับ Roadmap
ในแต่ละขั้นตอน ประเมินความครอบคลุมของประเด็นโจทย์วิจัยย่อย
ในระบบบริการสาธารณสุขของ รพ.ยโสธร ประเมินจากความพึงพอใจของทีม R2R
ในแต่ละครั้งที่มีเวทีการ ลปรร. ประเมินความครบถ้วน สมบูรณ์ของ
รายงานผล AAR ในแต่ละครั้ง มีความสม่ำเสมอในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน
Blog GotoKnow.org ของทีม R2R และ Facilator
ด้านผลลัพธ์
ด้วยการนับจำนวนทีม R2R ในโรงพยาบาลยโสธร
และเครือข่ายที่สามารถขยายผลการดำเนินงานไปได้
นับจำนวนรายงานวิจัยจากทีม R2R ในโรงพยาบาลยโสธรนับจำนวนรายงาน AAR 5
ฉบับ นับชุมชน R2R โรงพยาบาลยโสธร ใน Blog GotoKnow.org 1 ชุมชน
นับจำนวนครั้งที่มีการจัดตลาดนัด R2R รพ.ยโสธร (Present
งานวิจัยแก่ผู้สนใจ)
โครงการนี้ผ่านความเห็นชอบในหลักการจาก นพ.วิทยา วัฒนเรืองโกวิทย์ ประธานศูนย์วิจัยโรงพยาบาลยโสธร และ นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ แล้ว รอเพียงการตรวจทานเพื่อเห็นชอบจากคุณยุทธชัย ตรีสกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และคุณอรพินท์ วงศ์อนันต์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล และการอนุมัติจาก นพ.พิเชฐ อังศุวัชรากร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยโสธร เท่านั้น
ที่ผมได้มีส่วนร่วม ปลรร. ก็มีอีกประเด็นคือการแนะนำให้คุณนิภาพร (Dr.Ka-poom) ใช้เอกสารเชิงหลักการในการพัฒาโครงการ และขอความเห็นหลังการใช้ด้วย (ซึ่งเคยเขียนไว้ในบันทึก..เครื่องมือในการขออนุมัติเชิงหลักการ..แล้ว) ลองดาวน์โหลดไปดูได้ครับ นี่เป็นตัวอย่างจากของจริง (R2RYasothonH.pdf)
เรียน คุณวุธ
หากจะมีข้อเสนอแนะอย่างไร กรุณาเข้ามาเสนอไว้ด้วยจะยินดีมากนะครับ
ประเด็นนี้น่าสนใจตรงที่คุณสานฝันถามคือจะทำ R2R โดยไม่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยมาก่อน พิจารณาจากการทำวิจัยคือการลงมือศึกษาหาคำตอบในสิ่งที่ไม่รู้ให้รู้ขึ้นมา ต่อด้วยในงานประจำ ก็แสดงว่ารู้เพื่อไปพัฒนางานประจำ ฉะนั้นเมื่อได้อย่างนี้แล้วอย่างอื่นไม่น่ากลัวอะไรครับ ผมเชื่อมั่นในเครือข่ายการทำงานเป็นทีม ฉะนั้นลองมองไปยัง สสอ./สอ./รพท./สสจ. หรืออาจจะเป็นหน่วยงานใกล้เคียง ผมเชื่อว่า "คนทุกคนมีศักยภาพ" แต่ต้องขุด ดึง หรือวิธีอื่นใด เอาขึ้นมาให้ได้ มั่นใจครับว่าหาก รพช.คิดจะทำ R2R เพื่อพัฒนางาน ต้องทำได้ ใน GotoKnow.org แห่งนี้ก็เป็นเวทีเสมือน ที่คุณและทีมงานสามารถเข้ามา ลปรร.กับผู้รู้อีกมากมายได้ตลอดเวลา โดยไม่มีเงื่อนไขอะไร
อนึ่งเคยได้ยิน "นักวิจัยชาวบ้าน" ไหมครับ สื้บค้นดูจาก สกว.ท้องถิ่น จะเห็นศักยภาพของคนเหล่านี้ น่าทึ่งมาก อยากเป็นกำลังใจให้ครับ ลองดูสักตั้งก่อนไหม
ความ...คืบหน้า
วันนี้โทรหาคุณอำนวย (พี่แอน) พูดคุยกันเดินเรื่อง
ขออนุมัติโครงการ R2R ทราบว่าตอนนี้อยู่ที่เสนอเห็นชอบ
จากท่าน นพ.ยุทธชัย ตรีสกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
คาดว่า (คาดกันเองค่ะ)..ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร...
เพราะพี่เล็กและพี่จิ๋ว (พรส.) รับรองคะ (ยิ้ม)