การสัมมนาเรื่อง การเฝ้าระวังและเตรียมการเพื่อรองรับภัยพิบัติ


สึนามิ

เมื่อหลายวันก่อนได้ไปสัมมนาทางิวชาการ เรื่อง การเฝ้าระวังและเตรียมการเพื่อรองรับภัยพิบัติสึนามิ ของ ม.ราชภัฎภูเก็ต ซึ่งประทับในในหัวข้อการช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิของประเทศญี่ปุ่น ทำให้เห็นว่าการช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยไม่สามารถสำเร็จได้ ถ้าไม่มีความร่วมมือของประชาชนซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ประสบภัย ในลักษณะการช่วยเหลือซึ่งกันและกันและการเป็นเครือข่ายความร่วมมือ นอกจากนี้ อาสาสมัครก็เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ประเด็นที่น่าสนใจ

            1. สร้างความตระหนักและสร้างจิตสำนึกในการระวังภัย ต้องมองภัยทุกด้านไม่เฉพาะสึนามิอย่างเดียว ซึ่งอาจเป็นกำหนดในหลักสูตรการศึกษา การฝึกอบรมที่เหมือนจริง(ปีละครั้ง)

             2. การให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อม เพื่อป้องกันภัย โดยกำหนดให้วันที่ประสบภัยเป็นวันฝึกซ้อมใหญ่ นอกจากนี้ต้องเตรียมความพร้อมทั้งทางด้าน Software และ Hardware ในทุกระดับทั้งในระดับประเทศ จังหวัด เขต หมู่บ้าน และท้องถิ่น โดยมีการกำกับควบคุมและสั่งการอย่างเป็นระบบ และอำนาจการสั่งการและวางแผนจะอยู่ที่จังหวัด ส่วนกลางจะให้การช่วยเหลือ โดยมีการเตรียมความพร้อมเรื่องของระบบความเข้มแข็งของภัยพิบัติ การช่วยผู้ประสบภัย การวางแผนป้องกันภัย การสร้างระบบข้อมูลป้องกันภัย การจัดตั้งเครือข่ายการประสานงาน

             3. สร้างชุมชนร่วมป้องกัน

             4. การสร้างสภาพเมืองพร้อมรับภัยพิบัติ  

                  ทำให้หันมามองที่บ้านเรา ว่าได้ตระหนักถึงภัยพิบัติต่าง ๆ มากน้อยแค่ไหน สร้างความรู้ให้กับประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญญาในยามฉุกเฉินมากแค่ไหน หรือแม่แต่หลักสูตรทางการศึกษาชุมชนได้มีโอกาสกำหนดหรือไม่ เพราะองค์ความรู้ของคนในชุมชนจะหายไปเพราะใช้ความรู้ที่ส่งตรงจากส่วนกลาง จุดเล็กน้อยของการหนีภัย เช่น การสังเกตุอาการของสัตว์อะไรต่าง ๆ เหล่านี้นักวิชาการนำมาแทรกเป็นความรู้หรือเปล่า อย่าปล่อยให้ทุกอย่างหายไปกับความทรงจำ ควรมีการบันทึกเป็นประวัติศาสตร์สำหรับการค้นคว้าเพื่อในอีก 50 ปีข้างหน้าอาจเกิดขึ้นจะได้มีการเฝ้าระวังและป้องกันได้ทัน

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17562เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2006 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท