ทึ่ง! (ร่าง) R2R ที่ รพ.ยโสธร


การพัฒนาคนผ่านงานและงานวิจัย โดยใช้การวิจัยในงานประจำ หรือ R2R: Routine to Research เป็นตัวเดินเรื่อง

     เมื่อตะกี้นี้เอง (3 มี.ค. 2549 เวลา 22.00 น.โดยประมาณ) ที่ผมเพิ่งจะส่งกลับ (ร่าง) “โครงการพัฒนาเครือข่ายการทำงานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research: R2R)” ที่ปรับแก้ในบางส่วน ซึ่งคุณนิภาพร ลครวงศ์ หรือ Dr.Ka-poom ในฐานะกรรมการและเลขานุการศูนย์วิจัย รพ.ยโสธร เป็นผู้ส่งมาขอความเห็นและขอให้ผมได้ร่วม ลปรร.ด้วย สิ่งแรกที่แสดงออกมาเมื่อเปิดไฟล์คือ ทึ่ง! ครับ ทึ่งในแนวคิดที่จะดำเนินการตามร่างเดิมที่ส่งมาให้

     Dr.Ka-poom เป็นผู้ที่เข้ามาต่อยอดความรู้ในบันทึกให้ผมอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จนเป็น “เพื่อนที่รักที่ดีคนหนึ่ง” หลังจากที่ได้ ลปรร.กันมาโดยตลอดและใช้วิธีการสื่อสารในหลาย ๆ รูปแบบ จนทุกวันนี้กลายมาเป็นนักวิจัยร่วมในทีมน้ำ (H2O) ภายใต้เครือข่าย “ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน” ที่พัทลุง เรื่องหนึ่งในหลาย ๆ เรื่องที่พูดคุยกันมาหลายครั้งแล้ว จนวันนี้ได้ยกเป็นรูปและก่อเป็นร่างขึ้นมา คือ “การพัฒนาคนผ่านงานและงานวิจัย”

     การพัฒนาคนผ่านงานและงานวิจัย โดยใช้การวิจัยในงานประจำ หรือ R2R: Routine to Research เป็นตัวเดินเรื่อง ใช้รูปแบบของ KM เป็นแรงหนุนเสริมเพื่อเร่งปฏิกิริยา (catalyst) ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเชื่อว่า “ทุกคนมีความสามารถมีศักยภาพในตัวตนของตัวเอง” อยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะต้องช่วยจัดกระบวนการคิด และช่วยให้เขาดึงศักยภาพเขาออกมาเองให้ได้

     เครื่องมือคือ เวทีพูดคุยกันฉันท์มิตร และ Blog ของ Gotoknow.org ซึ่งตรงนี้แหละที่ทึ่งมากเพราะเป็นวิธีการที่มีต้นทุกถูกสุดในการที่จะได้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการถ่ายโอนความรู้ไปมาระหว่างกัน เมื่อนับ (ประมาณเอา) จากผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น อีกทั้งพร้อม ๆ กันก็ยังเป็นการเอื้อ-ให้ แก่คนอื่นที่เข้ามาร่วมอ่าน ร่วมเสดงความคิดเห็นด้วย ในตอนท้ายก็มีการคิดถึงการขยายผล เสวงหาเครือข่ายเพิ่มขึ้น โดยการจัดตลาดนัด R2R ใน รพ.ยโสธร ขึ้น

     มาดูว่าเขาคิดอะไร มีกระบวนการเดินเรื่องอย่างไร และคาดหวังต่อผลลัพธ์ต่อครับว่ามีอะไรบ้าง ผมขอเพิ่มเติมเข้าไปในบางส่วนเพื่อความสมบูรณ์แบบเพิ่มขึ้นแล้วด้วย ทีนี้เมื่อได้คุยกันอีกรอบเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบสาธารณสุข ก็เห็นพ้องว่าน่าจะได้เผยแพร่แบ่งปัน รวมทั้งอยากรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมอีกบ้าง จึงคิดถึงการนำมาบันทึกไว้ที่ Blog อ่านต่อที่ เขาคิดอย่างไรผมถึงได้ทึ่ง บันทึกต่อไปครับ

หมายเลขบันทึก: 17556เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2006 09:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
เป็นเรื่องที่น่าทึ่งมาก และสนใจอยากทำเหมือนกัน หารายละเอียดอ่านได้ที่ไหนค่ะ
กำลังศึกษาเรื่อง KM และเรื่องคุณภาพครับ และพบว่า R2R เป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ในวัฒนธรรมองค์กรครับ น่าสนใจและชื่นชมโรงพยาบาลยโสธรจริงๆครับที่มองการณ์ไกลในการพัฒนาคนครับ

เรียนคุณจอย

     เรื่องนี้ "R2R" ผมเคยทราบว่ามีการดำเนินการอยู่ที่ รพ.ราชวิถี (หากจำไม่ผิด) แล้วผมจะลองค้นดู และนำมาแจ้งไว้ทางนี้นะครับ

เคยเข้าไปเจอ R2R ที่รพ.ศิริราชทำน่าสนใจเหมือนกันนะคะ แต่น่าจะเป็นการทำที่เป็นแบบ Mega ก็น่าสนใจอีกบริบทหนึ่งนะคะ
     R2R ผมมองเป็นเรื่องปกติขององค์กร แต่คนในองค์กรนั้นต้องมีทัศนคติต่อการวิจัยในเชิงบวกก่อน ตรงนี้ต้องใช้พลังในการเริ่มต้นนิดนึง การเลือกที่หน่วยเล็ก ๆ ก่อน แล้วค่อย ๆ แพร่(ระบาด) ออกไป จึงน่าจะเป็นหนทางที่ดีและประหยัดที่สุดครับ คุณสานฝัน น่าจะได้ร่วม ลปรร.ต่ออีกนะครับ
(ยิ้มรับ)..."ทึ่ง! (ร่าง) R2R ที่ รพ.ยโสธร" บันทึกนี้คิดไตร่ตรองอยู่นานว่าจะเข้ามาให้ความเห็น...ดีมั๊ย รู้สึกเขิลๆ..อย่างไรไม่ทราบ...ที่เข้ามาพบว่า "คุณชายขอบ" ขึ้นต้นบันทึก..ว่า.."ทึ่ง! (ร่าง) R2R ที่ รพ.ยโสธร" ต้องขอขอบพระคุณ...คุณชายขอบ...เป็นอย่างยิ่งนะคะ... สำหรับ...การเข้ามาช่วยเป็นที่ปรึกษา (Facilitator) ให้กับโครงการ R2R ...ตั้งแต่เริ่มให้ข้อคิดเห็น..มุมมอง และ...ความรู้ในประเด็นที่ได้ ลปรร. กันมาตลอด ...คาดหวัง..เลยค่ะว่า... อยากให้ รพ.ยโสธรนี้...เป็น Role Model..ให้กับหน่วยงาน หรือองค์กรต่างๆ...ให้ลุกขึ้นมาที่จะกล้าคิดกล้าทำ... และบูรณาการ..ความรู้ต่างๆ...ที่มีอยู่... มาเชื่อมโยงกับ...สิ่งที่บางครั้งเรามองว่า..เป็นเรื่องใหม่ ขอแค่เพียงความเชื่อและศรัทธา...ในสิ่งที่เราทำ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท