ชุมชนแนวปฏิบัติ..เกษตรยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม


คือทุกส่วนจะทำงานร่วมกัน และจะสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน ตลอดจนการหาเวทีเพื่อนำผลการทำงานมา ลปรร.กันเป็นระยะๆ

         ผลจากการเข้าร่วมสัมมนาการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ภายใต้โครงการเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม  ระหว่าง 27 กพ. - 1 มีค. 49  ณ งค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเกี๋ยน  กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน  นักส่งเสริมการเกษตรและภาคีต่างๆ ที่เข้าร่วมสัมมนา ประมาณ 40 กว่าท่าน ได้สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกำหนดแนวปฏิบัติต่อไป คือการร่วมเป็นเครือข่ายในการนำกระบวนการวิจัยชุมชน ไปเป็นเครื่องมือในการทำงานเพื่อพัฒนาท้องถิ่น/ชุมชนที่ปฏิบัติงานอยู่ให้มีความยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคม  และสิ่งแวดล้อม โดยมีการเกษตรยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนนำร่องก่อน

          ในระหว่างการสัมมนา ได้เกิดการ ลปรร.ประสบการณ์และแนวคิดในการที่จะกลับไปทำงานของตนเองในแต่ละจังหวัด  และในวันที่ 1 มีนาคม  ได้ให้ตัวแทนของทุกส่วนสรุปว่า "ภาคีจะหนุนเสริมการเกษตรยั่งยืนได้อย่างไร"   โดยมีตัวแทนจากมูนิธิฮักเมืองน่าน  โครงการเกษตรยั่งยืน สำนักวิจัยและพัฒนาฯที่1(กรมวิชาการเกษตร)   กรมส่งเสริมการเกษตร และอาจารย์จาก ม.ราชภัฎ ได้ให้ข้อคิดและเสนอแนวทางในการหนุนเสริมการทำงานเกษตรยั่งยืนฯ  ซึ่งข้อสรุปในเบื้องต้น ก็คือทุกส่วนจะทำงานร่วมกัน และจะสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน ตลอดจนการหาเวทีเพื่อนำผลการทำงานมา ลปรร.กันเป็นระยะๆ 

   ตัวแทนชุมชนฯ    ชุมชนแนวปฏิบัติ...ชุมชนวิจัยฯ

   คุณดนัย และน้องออ จากกรมส่งเสริมฯ    

   คุณพยอม จ.น่าน และคุณสมควรจาก จ.แพร่  

                                   จากกำแพงเพชร

          เป็นภาพส่วนหนึ่งของกิจกรรมระหว่างการสัมมนาฯ และเครือข่ายจากหลายส่วนที่สนใจและจะนำกระบวนการทำงานที่เข้าไปทำงานและเรียนรู้ร่วมกับชาวบ้าน ส่งเสริมให้ชาวบ้านวิจัย โดยการก้าวข้ามกรอบแนวคิดของการทำงานตามสั่ง ทำงานตามกรอบของงานตนเอง มาเป็นการทำงานความต้องการของชุมชน/เกษตรกร ซึ่งอาจจะหลากหลายและซ้อนทับกันระหว่างหน้าที่ของแตะละส่วน และโยงใยกันไปในทุกส่วนงาน

          ผมคิดว่าขณะนี้ได้เกิดชุมชนแนวปฏิบัติ..งานวิจัยชุมชน/PAR หรืออะไรก็แล้วแต่เกิดขึ้นแล้ว โดยมีโครงการเกษตรยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นตัวจุดประกายความคิดและสร้างแนวปฏิบัติ  จุดเริ่มต้นของชุมชนนี้เป็นการเริ่มต้นของชุมชนแบบธรรมชาติ คือหลายๆ คนหรือส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัว  แต่ทุกคน(โดยเฉพาะนักส่งเสริมการเกษตร) ต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่าชอบ ถูกจริต และจะทำงานในลักษณะนี้ในพิ้นที่ของตนเอง และคิดว่าสามารถนำกระบวนการต่างๆ ที่ได้ ลปรร.กลับไปประยุกต์และพัฒนากระบวนการทำงานของตนเองได้

          ทีมงานของจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งขณะนี้เราได้มีหน่วยงานด้านการศึกษา คือ มรภ.กำแพงเพชรที่จะร่วมกันทำงานโดยใช้กระบวนการให้ชาวบ้านวิจัย    ก้าวต่อไปข้างหน้าก็จะต้องมีการประสานงานและร่วมกันทำงานสร้างและขยายผลในพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชร อาจเริ่มต้นที่การพัฒนาและสร้างทีมทำงานจากนักส่งเสริมการเกษตรก่อน เพื่อสนับสนุนการทำงานอาหารปลอดภัย / เกษตรแบบยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม  และหากเป็นไปได้ในอนาคต(หากมีพลังหนุนเสริม)ก็จะขยายแนวคิดสู่หน่วยงาน-องค์กรอื่นๆในพื้นที่ ให้มาร่วมกันทำงานเพื่อการพัฒนาในภาพใหญ่ของจังหวัดต่อไป

บันทึกมาเพื่อ ลปรร. ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก

 

 

หมายเลขบันทึก: 17423เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2006 06:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท