โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง


โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ภาคใต้
ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ
                       1)            ด้านรายได้ครัวเรือน  ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ นั้นครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยปีละ 150,554 บาท แต่หลังจากเข้าร่วมโครงการฯ แล้วมีรายได้โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 163,280 บาท เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 8.5  ซึ่งการที่รายได้เพิ่มขึ้นนั้นสืบเนื่องมาจากผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนมากนำเงินที่ได้จากกองทุนไปทำอาชีพเสริม และไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนในอาชีพหลักเพิ่มขึ้น
2)            ด้านรายจ่ายครัวเรือน  ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนมีรายจ่ายเฉลี่ยปีละ 106,980 บาท คิดเป็นร้อยละ 71.1 ของรายได้รวม หลังเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนใช้จ่ายเฉลี่ยต่อปี  119,413 บาท คิดเป็นร้อยละ 73.1 ของรายได้รวม ครัวเรือนใช้จ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เนื่องจากครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น  การใช้จ่ายของครัวเรือนจำแนกออกเป็น
1.          รายจ่ายเพื่อการบริโภค ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนบริโภคเฉลี่ย 41,564 บาทต่อปี คิดเป็นร้อยละ  38.9  ของรายจ่ายทั้งหมด โดยจ่ายซื้อสินค้าจำเป็น 35,994 บาท คิดเป็นร้อยละ 86.6 ของการบริโภครวม ซื้อสินค้าคงทน 5,570 บาท คิดเป็นร้อยละ 13.4 ของการบริโภครวม  หลังจากเข้าร่วมโครงการฯ  ครัวเรือนจ่ายเพื่อการบริโภค   เป็นจำนวนเงิน 56,778 บาท เพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าร่วมโครงการ 15,214 บาทหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.6 โดยส่วนใหญ่มีสัดส่วนการบริโภคสินค้าคงทนเพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 13.4 เป็นร้อยละ 17.9 ของการบริโภครวม
^Top Bottom
1.          รายจ่ายเพื่อการลงทุน ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนใช้จ่ายในการผลิตเฉลี่ยต่อปี 47,563 บาท ส่วนใหญ่จ่ายเป็นค่าวัตถุดิบร้อยละ 62.1 รองลงมาคือ ค่าจ้างแรงงาน ร้อยละ  21.6 ที่เหลือร้อยละ 16.3 เป็นการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าทุนและอื่นๆ  หลังเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนจ่ายเงินเพื่อการลงทุนเพิ่มเป็น 49,729 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับก่อนมีโครงการฯ
3)            ด้านการชำระเงินกู้ ก่อนเข้าร่วมโครงการครัวเรือนมีหนี้สินเฉลี่ยครัวเรือนละ 17,853 บาท แหล่งเงินกู้ที่สำคัญของครัวเรือนคือแหล่งเงินกู้ในระบบ โดยกู้จากกองทุนแก้ไขความยากจน  กองทุนออมทรัพย์หมู่บ้าน และ ธ.ก.ส.  หลักประกันในการกู้ยืมได้แก่  โฉนดที่ดิน บุคคลค้ำประกันหรือกลุ่มค้ำประกันอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่อปี 9.4  ครัวเรือนชำระคืนเงินกู้ที่กู้ยืมมาทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยหลังจากที่ขายผลผลิตแล้ว  และจะทำการกู้ใหม่ในรอบปีต่อไปเพื่อนำมาใช้จ่ายในการผลิต หมุนเวียนในลักษณะนี้ทุกปี  นอกจากนี้มีครัวเรือนเพียงส่วนน้อยที่กู้จากแหล่งเงินกู้นอกระบบ  เช่นนายทุนเงินกู้ในหมู่บ้าน พ่อค้า เป็นต้น โดยเสียดอกเบี้ยต่อปีร้อยละ 240  ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน แต่หลังจากเข้าร่วมกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแล้ว หนี้สินโดยเฉลี่ยลดลงเหลือ 12,906 บาท     
                                4)            ด้านเงินออมครัวเรือน   ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ  ครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ยต่อปี 43,574  บาท  คิดเป็นร้อยละ 28.9 ของรายได้รวม  หลังจากเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ย 43,867 บาท  เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 0.7  ทั้งนี้เนื่องจากการกู้ยืมเงินจากกองทุนฯ ทำให้ครัวเรือนนำเงินไปใช้จ่ายลงทุนทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จึงมีความสามารถในการออมเพิ่มขึ้น  ครัวเรือนส่วนใหญ่จะฝากเงินออมไว้ที่ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน  เพื่อจะได้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล แต่บางครัวเรือนเก็บเงินออมไว้เอง
^Top Bottom
ตารางเปรียบเทียบโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของภาคใต้
                                                                             หน่วย : บาท/ปี
รายการ
ก่อน
หลัง
มูลค่าเปลี่ยน
อัตราการเปลี่ยนแปลง
1.รายได้
150,554
163,280
12,726
8.5
2.เงินออม
43,574
43,867
293
0.7
3.รายจ่าย
106,980
119,413
12,433
11.6
3.1  บริโภค
41,564
56,778
15,214
36.6
1.       สินค้าจำเป็น
35,994
46,614
10,620
29.5
2.       สินค้าคงทน
5,570
10,163
4,594
82.5
  3.2 การลงทุน
47,563
49,729
2,166
4.6
3.       วัตถุดิบ
29,537
32,075
2,539
8.6
4.       ค่าแรง
10,274
11,487
1,214
11.8
5.       สินค้าทุนและอื่นๆ
7,753
6,166
-1,586
-20.5
3.3  ชำระเงินกู้
17,853
12,906
-4,947
-22.7
6.       ในระบบ
10,015
6,737
-3,278
-32.7
7.       นอกระบบ
7,837
6,169
-1,668
-21.3
ที่มา : จากการสำรวจภาคสนาม
^Top Bottom

ผังเปรียบเทียบโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของภาคใต้

                                                                                   

รายได้ 100.0%

รายจ่าย 71.1%
เงินออม 28.9%
ชำระเงินกู้ 16.7%
การลงทุน 44.5%
บริโภค 38.9%
แหล่งเงินกู้ในระบบ 56.1%
แหล่งเงินกู้นอกระบบ 43.9%
วัตถุดิบ 62.1%
ค่าจ้าง 21.6%
สินค้าทุนและอื่นๆ
16.3%
สินค้าจำเป็น86.6%
สินค้าคงทน13.4%
รายได้ 100.0%
รายจ่าย 73.1%
เงินออม 26.9%
ชำระเงินกู้ 10.8%
การลงทุน 41.6%
บริโภค 47.5%
แหล่งเงินกู้ในระบบ 52.2%
แหล่งเงินกู้
นอกระบบ 47.8 %
วัตถุดิบ 64.5%
ค่าจ้าง 23.1%
สินค้าทุนและอื่นๆ 12.4%
สินค้าจำเป็น82.1%
สินค้าคงทน17.9%
ก่อนเข้าโครงการฯ
หลังเข้าโครงการฯ

              
     
   
   
   
 
  
  
  
  
  
  
 
 
              
     
   
   
   
 
  
  
  
  
                                                
^Top
โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17555เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2006 09:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท