ทึ่ง! (ร่าง) R2R ที่ รพ.ยโสธร (ต่อ) --> เขาคิดอย่างไร ถึงได้ทึ่ง


หากไม่ทำโครงการนี้ องค์กรของเราจะเสียโอกาสอะไรไปบ้าง โอกาสนั้นจะได้รับการชดเชย หรือทดแทนด้วยอะไรที่มีแล้วในองค์กรหรือไม่อย่างไร

     ต่อจาก (ตอนแรก) เวลาที่ทำโครงการเสนอผู้บริหารเพื่อขออนุมัติ ผมให้ความสำคัญมาก ในทุก ๆ ส่วน ที่เป็นองค์ประกอบ โดยมีหลักคิดว่าโครงการที่ดีคือโครงการที่หากว่าผู้รับผิดชอบโครงการไม่ได้ทำต่อ คนที่จะรับช่วงต้องอ่านแล้วเข้าใจได้ รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อ หรือเขียนให้คนอื่นทำได้โดยไม่ต้องอธิบายอะไรมากนัก เป็นหลักคิดแรก ในส่วนหลักคิดอีกอันหนึ่งคือ เขียนให้ผู้บริหารอนุมัติ ต้องตอบคำถามว่า “หากไม่ทำโครงการนี้ องค์กรของเราจะเสียโอกาสอะไรไปบ้าง โอกาสนั้นจะได้รับการชดเชย หรือทดแทนด้วยอะไรที่มีแล้วในองค์กรหรือไม่อย่างไร” แล้วลงมือเขียนเพื่อให้เห็นความจำเป็นตามที่ตั้งคำถามไว้ ฉะนั้นหลังจากได้ ลปรร.กันกับคุณนิภาพร ลครวงศ์ หรือ Dr.Ka-poom แล้ว เขา Get ออกมาได้ดังนี้ในส่วนเหตุผลและความจำเป็นครับ

     การทำงานประจำเพื่อพัฒนาสู่กระบวนการวิจัย (Routine to Research: R2R) จนเป็นนิสัยปกติ เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนบุคคลากรได้เกิดการเรียนรู้ และเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กร จนเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่เร่งให้เกิดกระบวนการพัฒนาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO) ได้ ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องเป็นพลวัตรต่อในการช่วยให้บุคลากรสามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา เกิดความรู้ใหม่ ความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานตามเป้าหมายของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีคิดจากแบบเดิมที่เน้นแยกส่วน มาเป็นคิดแบบเชื่อมโยง บูรณาการ และรอบด้าน (Comprehensive) เกิดการเรียนรู้ เห็นผลลัพธ์ และเห็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Factor Success: KFS) ของการทำงานเป็นทีมมากขึ้น ซึ่งสอดรับกับแนวคิดในการพัฒนาองค์การว่าต้องเน้นการพัฒนาที่ “คน”

     กระบวนการที่มุ่งการทำงานวิจัยจากงานประจำ แล้วเอาผลงานวิจัยกลับไปปรับปรุงงานประจำอีกที (Routine to Research: R2R) นั้นเป็นทั้งกลยุทธ (Stratigy) และเครื่องมือ (Tools) ที่จะช่วยสานสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่มีการนำปัญหา (Problem Base) มาเป็นฐานกำหนดเป้าหมาย และใช้กระบวนการวิจัยมาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน เพื่อการแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนากระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง พร้อมเปลี่ยนแปลง “ระบบบริการสุขภาพ” (Health care delivery system) ให้เป็นมากกว่าการทำงานตามปกติ (Routine) แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ของการทำงาน ที่มุ่งเน้นให้เกิดกระบวนการคุณภาพและการเข้าถึงอย่างแท้จริง โดยเน้นที่การนำหลักการ “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้” มาใช้ในการดำเนินงานซึ่งจะไม่กระทบต่อการดำเนินงานประจำ แต่มุ่งเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพควบคู่กันไปด้วยเลย มีการเอื้ออำนวยจากผู้เชี่ยวชาญในฐานะพี่เลี้ยง (Facilitator) ที่เปรียบเสมือนเป็นบุคคลผู้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากหน่วยงานเทียบเคียง (Benchmarking) ที่จะคอยช่วยเหลือให้เกิดการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่วางไว้

     จะเห็นได้ว่าหากได้มีการดำเนินงานตามหลักการ R2R ในโรงพยาบาลยโสธรแล้ว จะสามารถผลักดันให้เกิดกระบวนการนำไปสู่ความเป็นสังคมที่มีฐานแห่งความรู้ (Knowledge – based Society) เป็นการเพิ่มขีดความสามารถ และโอกาสในการเรียนรู้ มีการพัฒนาคนเพื่อการปรับปรุงทักษะอย่างต่อเนื่อง หรือที่เรียกอีกนัยหนึ่งว่า สังคมฐานความรู้ ส่งผลให้โลกของการทำงานเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย (New World of Work) นั่นคือ สภาพแวดล้อมการทำงานได้เปลี่ยนแปลงไปจากงานไร้ทักษะ เปลี่ยนเป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ การทำงานที่ซ้ำซากจำเจเปลี่ยนเป็นงานสร้างสรรค์ งานใครงานมันเปลี่ยนเป็นทีมงาน งานตามหน้าที่เปลี่ยนเป็นงานตามโครงการ งานที่ใช้ทักษะอย่างเดียวเปลี่ยนเป็นงานที่ใช้ทักษะหลากหลาย เป็นต้น และเกิดการขยายผลการทำงานจากกลุ่มแกนนำ (R2R Team) ซึ่งเป็น Master Node ไปสู่หน่วยย่อยต่าง ๆ ในโรงพยาบาล (Node) จนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรแนวใหม่ในการปฏิบัติงานแบบ R2R ในที่สุด

     อ่านต่อที่บันทึกต่อไปครับในประเด็นขบวนการขับเคลื่อนให้เกิด R2R ในองค์กรของ รพ.ยโสธร ขึ้น

หมายเลขบันทึก: 17558เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2006 10:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
คำว่า " Facilator"จริงๆแล้วเขียนว่า" Facilitator" รึเปล่าคะ ... หรือว่ามีความหมายที่แตกต่างกัน
     ขอบคุณเพื่อน(ปอม)เอ๋ย จะแก้เลยไม่ชักช้า ขอบคุณที่เข้ามา ข้าฯผิดไปไยจะเฉยอยู่...
จับตามมองอยู่ค่ะอยากรู้ว่าจะได้ผลลัพธ์อย่างไร
เยี่ยมมากครับเยี่ยมมาก ผมติดตาม Blog ของคุณชายขอบมานานแล้วครับ ขอชื่นชมจริงๆครับว่า น่าทึ่งมาก คุณชายขอบเชื่อในเรื่องพัฒนาคนจริงๆเพราะผมได้มีโอกาสติดตามและศึกษา โครงการไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน มาตลอดครับ และที่สำคัญตอนนี้ที่ผมเรียนอยู่ก็มีการพูดถึง New Health System ผมมองว่าที่ รพ.ยโสธร กำลังทำนี่น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องพัฒนาระบบสุขภาพตามแนวคิดใหม่ (New Health System)โดยเริ่มจากกระบวนการพัฒนาการทำงานก่อน วันหลังคงต้องขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากคุณชายขอบในประเด็นนี้บ้างนะครับ
     คุณจอยลองประสานกับ คุณนิภาพร ศูนย์วิจัย รพ.ยโสธร ดูก่อนนะครับ ก่อนที่ผมจะสืบค้นเรื่อง R2R มาฝากไว้ให้
     ขอบคุณคุณวุธที่ติดตามเรื่องราวต่าง ๆ และด้วยความยินดีครับ
"ทึ่ง! (ร่าง) R2R ที่ รพ.ยโสธร (ต่อ) --> เขาคิดอย่างไร ถึงได้ทึ่ง" "...หากไม่ทำโครงการนี้ องค์กรของเราจะเสียโอกาสอะไรไปบ้าง โอกาสนั้นจะได้รับการชดเชย หรือทดแทนด้วยอะไรที่มีแล้ว ในองค์กรหรือไม่อย่างไร..."....คือ..ประเด็นที่เรา...(คุณชายขอบและดิฉัน) ได้ ลปรร. โดยเฉพาะ...ใช้ฐานคิดทั้งทางด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ด้านบริหาร...ด้านวิจัยและพัฒนาระบบสาธารณสุข...และอีกหลายๆ...ศาสตร์ ... ทำให้ได้คำตอบว่า..."คุ้ม" และ.."กำไร"
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท