สวัสดิการชุมชนคืออะไร


สวัสดิการชุมชนคืออะไร

สวัสดิการชุมชน คือการสร้างหลักประกันเพื่อความมั่นใจแก่คนในชุมชน ซึ่งหมายความรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้คนในชุมชนดีขึ้น อาจอยู่ในรูปสิ่งของ เงินทอง น้ำใจ การช่วยเหลือเกื้อกูล เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ผลของการจัดสวัสดิการชุมชนที่สำคัญ เช่น ก่อให้เกิดการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย เกิดความสัมพันธ์/มิตรไมตรีที่ดีของคนในชุมชน รู้สึกมั่นคง ภาคภูมิใจ อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี และมีความสุข

ใครควรเป็นผู้จัดสวัสดิการชุมชน
สวัสดิการชุมชนมิใช่เรื่องทีทำไปเพื่อสร้างสวัสดิการภาพและไม่เน้นเรื่องตัวเงินแบบสงเคราะห์ แต่มุ่งสร้างความมั่นใจอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและมีความสุข จึงเป็นเรื่องที่ชาวชุมชนจะเป็นผู้ร่วมกันสร้างให้เป็นของชุมชนและเพื่อชาวชุมชนเอง ชุมชนจึงควรเป็นผู้จัดการเอง โดยรัฐหรือองค์กรภายนอก
หนุนเสริมแบบเคียงบ่าเคียงไหล่ (ไม่ใช่สัมพันธ์กันแบบผู้ให้กับผู้รับ) ทั้งนี้ การจัดสวัสดิการของชุมชนสามารถสอดแทรกไว้ได้ในทุกกิจกรม ริเริ่มแล้วต่อยอดกันเรื่อยไป ภายใต้ความพร้อมและความเห็นชอบร่วมกันของชาวชุมชนเอง

สวัสดิการชุมชนจะเกิดประโยชน์กับใครบ้าง
ผู้ที่ได้ประโยชน์จากสวัสดิการชุมชน ได้แก่ทุกคนในชุมชน รวมทั้งคนในสังคม โดยผู้ด้อยโอกาสจะได้รับการช่วยเหลือให้มีโอกาสมีส่วนร่วมและสามารถเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับอย่างมีศักดิ์ศรี ผู้ที่อยู่ในภาวะปกติได้รับการป้องกัน ช่วยเหลือเกื้อกูล มีส่วนร่วมคิดร่วมทำ ส่วนผู้ที่มีความพร้อมทางการเงิน
จะได้รับความอบอุ่น น้ำใจไมตรี มีส่วนร่วมเป็นผู้ให้ทุนสนับสนุน


 

หลักสำคัญในการจัดสวัสดิการชุมชน
จากบทเรียนการจัดระบบสวัสดิการชุมชนที่ชุมชนดำเนินการกันเองในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ตำบลนาหว้า จังหวัดสงขลา อำเภอไพสาลี จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ฯลฯ พบว่าการจัดสวัสดิการชุมชนมีหลักการที่สำคัญ ดังนี้
1.ทำจากสิ่งที่เป็นจริง ถ้าตั้งใจไม่สำเร็จ สวัสดิการชุมชนต้องสอดคล้องกับวิถีของแต่ละพื้นที่ ตั้งใจทำโดยลอกเลียนแบบกันไม่ได้ เช่น เห็นชุมชนอื่นให้สวัสดิการผู้สูงอายุเดือนละ 300.- บาท ก็ให้บ้าง อาจไปไม่รอดเพราะเงินไม่พอ ต้องดูว่าคนที่นี่คิดอย่างไร กลุ่มเรามีเงินอยู่เท่าไร เริ่มจากจุดนั้น ควรรู้ก่อนว่าตอนนี้บ้านเราเป็นอย่างไร มีรากเง่า มีกลไกอย่างไร แล้วจึงกำหนดอนาคตต่อไปว่าบ้านเราจะเป็นอย่างไร ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของเราเอง เพื่อประโยชน์แก่ผู้ด้อยโอกาส
2.เริ่มจากเล็กไปใหญ่ ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เหมือนต้นไม้ที่แตกทีละ 2 ใบ ต่อไปก็เติบโตเป็นพุ่มใหญ่ หากคิดจัดสวัสดิการแบบรวดเร็วเกินไป โดยที่คนไม่พร้อม ไม่มีส่วนร่วม ไม่รู้สึกเป็นเจ้าของก็จะเหมือนการใส่ปุ๋ยมากเกินไป ต้นไม้อาจจะตายได้เพราะเกินกำลัง ไม่เกิดสวัสดิการที่เป็นของคนในชุมชน
3.เงินเป็นเพียงเครื่องมือไม่ใช่เป้าหมาย ใช้เงินสร้างเงื่อนไข ทำให้คนอยากทำงานอยากทำดี เช่น ใครทำงานเพิ่ม จ่ายเงินสมทบให้ ใครบริหารเงินให้งอกเงยขึ้นมาจะจ่ายสมทบให้ สิ่งสำคัญคือ การให้ความคิด ทำให้คนคิดพึ่งตนเอง ทำความดี ทำงานสร้างเม็ดเงิน หากมีเงินสนับสนุน ควรให้ตามความจำเป็นและพอดี ไม่ใช่ใช้เงินเป็นเป้าหมายหรือหาเงินมาแจกจ่าย
4.ระบบสวัสดิการที่ดีต้องช่วยเหลือแบบไม่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกในชุมชน ควรให้ทุกคนได้ แต่มุ่งเน้นคนยากจนและด้อยโอกาส ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมโดยตกลงกติกาและใช้ร่วมกัน
5.เป็นองค์รวมที่ทุกอย่างเชื่อมโยงเข้าหากัน กิจกรรมทุกอย่างสามารถก่อให้เกิดสวัสดิการได้ทุกเรื่อง ตั้งแต่เกิดจนตาย กับคนทุกเพศทุกวัย การสร้างสวัสดิการจะเริ่มจากเรื่องใดก็ได้ โดยจัดสรรผลกำไรส่วนหนึ่งมาทำสวัสดิการ เช่น
-เชื่อมโยงกิจกรรม เช่น เริ่มจากกองทุนเลี้ยงโคกองทุนเต๊นก์ กองทุนโต๊ะเก้าอี้ หีบศพชุดน้ำสังข์รวมกันซื้อสินค้าราคาถูก ค่ารักษาพยาบาลทำขวัญเด็กแรกเกิด ผู้ติดเชื้อ ผู้สูงอายุ
เบี้ยประชุมผู้นำ ฯลฯ
- เชื่อมโยงคน 3 วัย คือ ผู้สูงอายุ พ่อบ้าน แม่บ้าน เยาวชน ให้เป็นข่ายเดียวกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นกลุ่มเดียวกัน เพราะทั้งหมดคือมาจากคน ๆ เดียวกัน เพียงแต่
ต่างเวลา โดยสร้างกิจกรรมร่วมกัน สร้างเงื่อนไขการช่วยเหลือเกื้อกูล เอื้ออาทรต่อกัน
- เชื่อมโยงกลุ่มคนในชุมชนเข้าด้วยกัน เช่น ในหมู่บ้านมีคน 4 จำพวก คือ 1) กำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน 2) อบต. 3) ประชาคม 4) คนหัวหมอ กิจกรรมจะสร้างให้เชื่อมโยงไว้
ทั้งหมด ทำให้มาทำงานร่วมกัน พึ่งพาอาศัยกันได้ ร่วมมือร่วมใจกัน
- เชื่อมโยงคนกับธรรมชาติ คนสามารถเรียนรู้อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้ เช่น การอนุรักษ์ป่า ปุ๋ยชีวภาพ
6.ต้องเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ คนในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการต้องเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับเสมอ (ไม่ใช่ฝ่ายหนึ่งหามาให้ อีกฝ่ายหนึ่งรอรับ) จึงเป็นความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกัน และมีศักดิ์ศรี เช่น จัดเงื่อนไขที่ทุกคนมีส่วนร่วมจ่ายสมทบ กันเงินบางส่วนเติมเข้ากองทุน นำดอกผลกองทุนบางส่วนขยายกิจกรรมต่อ ทำให้ทุกคนในกลุ่ม/ชุมชนสามารถเป็นเข้าของทุนและได้รับสวัสดิการไปในเวลาเดียวกัน
7.ต้องทำด้วยความรักและอดทน โดยจะต้องมีความศรัทธาเชื่อมั่นว่าชาวบ้านสามารถสร้างสวัสดิการของตนเองได้ รักที่จะทำงานเพื่อชุมชน เพื่อส่วนรวม อดทนต่อความคิดความเห็นที่ไม่ตรงกัน ยอมรับการคิดค้น ตำหนิ โดยถือว่าเป็นครู เป็นบทเรียนที่จะก่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาทำให้เขาฉลาดขึ้น ทำงานได้ดีขึ้น

แนวทางส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชนควรทำอย่างไร
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า สวัสดิการชุมชนไม่สามารถเกิดได้โดยการ ?ให้? ?ลอกเลียนแบบ? หรือโดย ?ตั้งใจ? แต่เป็นสิ่งที่ต้องก่อเกิดจากเนื้อในของชุมชนตามความสอดคล้องเหมาะสมกับวิถีชีวิต การให้คุณค่า ภูมิปัญญา และความเห็นพ้องร่วมกันของคนในท้องถิ่น ดังนั้น การส่งเสริมสนับสนุน จึงควรเป็นไปดังนี้
1.ให้ความคิด โดยสนับสนุนงบประมาณตามความจำเป็น เริ่มจากสิ่งที่ชุมชนอยากทำ ส่งเสริมความเข้าใจ ความคิดอยากจะสร้างสวัสดิการของตนเอง ความเชื่อมั่นในความสามารถของชุมชน เข้าใจหลักการสำคัญ และค้นหาสิ่งที่เหมาะสมด้วยตนเอง โดยเห็นเงินเป็นเพียงเครื่องมือคิดแล้วลงมือทำจากกิจกรรมที่ 1 แล้วกิจกรรมที่ 2,3,4 จะตามมาเอง โดยแต่ละพื้นที่ต้องประยุกต์อย่างเหมาะสม
2.ส่งเสริมพัฒนาด้านการจัดการ โดยส่งเสริมสนับสนุนให้มีการบริหารจัดการที่ทำให้เพิ่มมูลค่า และการทำให้คน ?ใช้เงินเป็น? แทนการ ?ใช้เงินให้หมด? รู้วิธีการหมุนเงินให้เพิ่มมูลค่าในท้องถิ่น สามารถต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่ได้ โยงทุกเรื่องสู่ชุมชนได้ ขยายสู่ความเป็นประชาธิปไตยได้
3.ส่งเสริมชุมชนให้สร้างสถาบันการเงิน สร้างงานให้ชาวบ้าน และสร้างตลาดชุมชน โดยวางแผน กำหนดกิจกรรม และทำหลักสูตรให้เกิด 3 เรื่องนี้ในชุมชน คือ
-สถาบันการเงินของชุมชนถ้าชุมชนมีเงินของตนเอง จะทำอะไรก็สะดวก คล่องตัว(ถ้าไม่มีเงินทำอะไรไม่ได้สักอย่าง)
-สร้างงานให้ชาวบ้านใช้เงื่อนไขทำให้คนเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ ปลูกผัก มีอาหาร
กินเอง มีรายได้เพิ่มขึ้น
-สร้างตลาดของชุมชนโดยชุมชนต้องดูแลจัดการเพื่อรักษาผลผลิตของชุมชน
4.สนับสนุนการพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชนในพื้นที่นำร่อง โดยเฉพาะในจังหวัดสิ่งที่ดำเนินการอยู่แแล้ว(มีกิจกรรมมีคนทำงานด้านนี้อยู่แล้ว) แล้ววิจัยสร้างองค์ความรู้ จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันในแนวลึกเพื่อต่อยอด ขยายผล
5.หนุนเสริมผ่านกลไกการพัฒนาต่าง ๆ ที่มีอยู่ โดยสอดแทรกแนวคิดและกิจกรรมจากสิ่งที่มีอยู่เดิม เช่น ผ่านกลุ่มออมทรัพย์ในชุมชน โดยส่งเสริมให้การออมเป็นสื่อ มีการกันเงินบางส่วนเป็นกองทุนสวัสดิการ นำดอกเบี้ยที่ได้ไปขยายผลต่อ หรือผ่านกลุ่มอาชีพโดยกันรายได้ส่วนหนึ่งไว้เป็นกองทุน หรือโดยการสร้างเงื่อนไขให้ใช้กองทุนหมู่บ้านเป็นโอกาส โดยเสริมแรงจูงใจหากมีการบริหารจัดการดี สามารถทำให้กองทุนเพิ่มขึ้น ทางราชการควรสมทบให้อีกหนึ่งเท่าอย่างต่อเนื่อง

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17557เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2006 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้รับความรู้ดีค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท