ถอดบทเรียนคืออะไร ทำไมถึงต้อง"ถอด"


พอล ฟายเออราเบนด์(Paul Feyerabend) นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ผู้เขียนหนังสือ" Against Method" กล่าวว่า "การยึดติดในวิธีวิทยาอย่างใดอย่างหนึ่งจะเป็นตัวขัดขวางความก้าวหน้าในการพัฒนาองค์ความรู้ "


เพิ่มเติมข้อมูล 30/7/2560


"ถอดบทเรียนอย่างไร...ไม่ยาก"

พบกับชุดบันทึกเรื่องราวการถอดบทเรียนอย่างเป็นระบบ เเละไม่ยาก จากชุดบันทึก "การถอดบทเรียน...ไม่ยาก" ซึ่งเรียงเรียงขึ้นมาใหม่ผ่านประสบการณ์ของผู้เขียนเอง ตาม LINK ดังนี้ครับ


ตอนที่ 1 ถอดบทเรียนคืออะไร?

ตอนที่ 2 ทำไมต้องถอดบทเรียน?

ตอนที่ 3บทเรียนมาจากไหน ? เเละ ข้อควรตระหนักก่อนถอดบทเรียน

ตอนที่ 4 ทักษะอะไรบ้างที่นักถอดบทเรียนต้องพัฒนาตนเอง

ตอนที่ 5การเตรียมตัวถอดบทเรียน ...จะเตรียมอะไรบ้าง?

ตอนที่ 6วิธีการถอดบทเรียน...ทำอย่างไร ไม่ยาก

ตอนที่ 7ขั้นตอนเเละคำถามการดำเนินการถอดบทเรียน

ตอนที่ 8การบันทึกเเละจัดการข้อมูลถอดบทเรียน

ตอนที่ 9การเขียน "บทเรียน" จากการถอดบทเรียน



ท่านสามารถ Download เอกสารชุดความรู้ถอดบทเรียนฉบับย่อ "ถอดบทเรียน...ไม่ยาก" จาก QR Code นี้

..............................................................

สามารถเเลกเปลี่ยน พูดคุยกับผู้เขียนได้โดยตรงที่

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

e-mail : [email protected]

LINE : thaicoach


เนื้อหาเดิมบันทึกนี้


มีหลายท่านที่สนใจกระบวนการถอดบทเรียนบางครั้งศัพท์แสงทางวิชาการทำให้เรามึนงงกันไปบ้างเพราะอันที่จริงคุยกันแบบลูกทุ่งก็ได้แต่ใช้ศัพท์วิชาการมากก็เกิดอาการ "งง" และ "มึน"ทำให้เสียบรรยากาศของการเรียนรู้ไปครับ

แต่ผมจะบอกว่าอย่างเพิ่งเบื่อเลยครับ เพราะเราจะต้องอ่านงานวิชาการหรือข่าวสารต่างๆล้วนแต่มีศัพท์ยากๆให้เราขบคิดอยู่เรื่อยไปการเรียนรู้นั้นอยู่ที่ใจหากใจรักที่จะเรียนเรื่องยากนั้นก็กลายเป็นเรื่องที่ง่ายได้

"การถอดบทเรียน"เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการจัดการความรู้(KM) ผมเข้าใจว่ามีหลายท่านใน gotoknowเขียนมาบ้างแล้ว แต่ผมจะเขียนในมุมของผมอีกทีครับเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ยึดติดในเครื่องมือนะครับ  


พอลฟายเออราเบนด์(Paul Feyerabend)นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ผู้เขียนหนังสือ" Against Method" กล่าวว่า

"การยึดติดในวิธีวิทยาอย่างใดอย่างหนึ่งจะเป็นตัวขัดขวางความก้าวหน้าในการพัฒนาองค์ความรู้"

ดังนั้นการไม่ยึดติดก็หมายถึงการไร้กระบวนท่า แต่ลีลายุทธ งดงามกระบวนการต่างๆที่ผมใช้ในเวทีเรียนรู้ผมใช้วิธีการถอดบทเรียนนี้ในชีวิตประจำวันตลอดเวลาแต่ถอดบทเรียนเล็กใหญ่ก็แล้วแต่กิจกรรมครับ

ถอดบทเรียน ประกอบด้วย ๒ คำ

คือ "ถอด" + "บทเรียน"

คำว่า "ถอด"ก็แปลความหมายได้โดยตรงครับ

ส่วน "บทเรียน" (LessonLearned) คือ "ถ้า...จะเกิดอะไรขึ้น" (เช่นเราไม่อ่านหนังสือสอบ เราก็สอบตก ,ถ้าเราไม่เอาใจแฟนแฟนก็น้อยใจ)  บทเรียนจะอธิบายเหตุการณ์และเงื่อนไขที่เกิดขึ้นและคำอธิบายนั้นต้องมีคุณค่าในการนำไปปฏิบัติซึ่งคำอธิบายที่ชัดเจนจะต้องมีตัวชี้วัดที่ดีที่สะท้อนว่าเกิดอะไรขึ้น และเกิดการเรียนรู้ในกระบวนการนั้น(http://www.mande.co.uk/dose/lesson.htm)

บทเรียนจะต้องระบุว่า "อะไรใหม่" (What) หรือ "อะไรคือข้อมูลใหม่"บทเรียนต้องมิใช่การเล่าเรื่องในอดีตเท่านั้น

ลักษณะบทเรียนอาจจำแนกได้ ๒ แบบ ครับ

  • บทเรียนที่เกิดขึ้นทันทีเมื่อจบเหตุการณ์(Active process)
  • บทเรียนที่เก็บสะสมข้อมูลในอดีต (Passive process)

สำหรับแนวทางการถอดบทเรียน นั้น มีมากกว่าการตั้งคำถามว่า"ได้บทเรียนอะไรจากการทำงานในปีที่ผ่านมา" เราควรพิจารณาสิ่งต่อไปนี้

¤ การเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นหากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไม่ควรไปแสวงหาคำตอบว่าได้บทเรียนอะไร

¤หากมีผลสืบเนื่องที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงคล้ายๆกันต้องพยายามตอบให้ได้ว่า"อะไรสำคัญที่สุด" และ"ทำไมจึงสำคัญ"

¤ บทเรียน มิใช่ความแตกต่างที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งที่คาดหมายกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเพราะสิ่งนั้นคือสมมุติฐานแต่หากมีสิ่งที่ไม่ได้คาดหมายเกิดขึ้นแสดงว่ามีอะไรทำให้เกิดความแตกต่างและ "อะไร"ที่ทำให้เกิดความแตกต่างนั้นก่อให้เกิดผลต่อพฤติกรรมอย่างไรสิ่งนั้นคือบทเรียน

ผมขอยกเอาบทหนึ่งของหนังสือที่ผมเขียนมาอธิบายวงจรการถอดบทเรียนครับ


 "...การจัดเวทีย่อยๆที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในชุมชนเป็นโอกาสให้นักวิจัยชาวบ้านเข้ามาร่วมพูดคุย และนำข้อมูลมานั่งคุยกันตลอดจนทราบปัญหาและวิธีการแก้ไขแบบทันท่วงที

 

สิ่งที่นักวิจัยแต่ละหมู่บ้านในชุดโครงการทำทุกครั้งหลังการทำงานคือกระบวนการ วิเคราะห์หลังปฏิบัติการ (After ActionReview: AAR) เครื่องมือที่ใช้ในการถอดบทเรียน(Lesson Learned)เป็นเครื่องมือที่พวกเราใช้พัฒนาการเรียนรู้ในทุกขั้นตอนของวงจรโครงการทั้งเพื่อการจัดการในขั้นตอนที่เรียกว่า ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ (up-stream, mid-stream, down-stream management)โดยการตั้งชุดคำถามเหล่านี้

 

  • เราวางแผนกันอย่างไรอะไรคือจุดหมายของการปฏิบัติการ
  • เมื่อเราดำเนินการกิจกรรมไปได้ระยะหนึ่งแล้วสิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งใดไม่เป็นไปตามแผนที่วางแผนไว้/ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
  • สิ่งใดเป็นไปตามที่วางแผนไว้/ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
  • เรามีปัญหาอะไรบ้าง
  • เราน่าจะทำสิ่งใดให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้บ้าง
  • ในการดำเนินงานครั้งต่อไปสิ่งใดที่เราจะปฏิบัติแตกต่างจากครั้งที่ผ่านๆ มา
  • เรื่องทั่วๆ ไปที่เราพบเจอในระหว่างกิจกรรมครั้งนั้นๆ

พ.ท.ปิยวุฒิ โลสุยะ หัวหน้าโครงการวิจัยที่บ้านรุ่งอรุณผู้เชี่ยวชาญยุทธการทางการทหาร ให้ความเห็นต่อการถอดบทเรียนแบบนี้ว่าเปรียบเสมือน 

“การตีเหล็กที่กำลังร้อนเป็นการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ระหว่างกัน ระหว่างทหารชั้นยศต่ำสามารถตั้งคำถามเพื่อการเรียนรู้จากนายทหารชั้นยศสูงที่ในระบบทหารของประเทศไทยไม่ค่อยมีภาพแบบนี้สักเท่าไหร่”

กระบวนการศึกษาวิจัยสามารถใช้วัฒนธรรมการเรียนรู้แบบนี้ได้อย่างเต็มรูปแบบด้วยสุนทรียะสนทนา (Dialogue) ในสังคมบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน (Equalbasis) โดยมีพี่เลี้ยงที่เป็นคนนอกเป็นผู้ให้การสนับสนุน(facilitator) เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆให้ดีขึ้น..."

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

บางส่วนจากหนังสือ"กระบวนการเรียนรู้สู่เส้นทางสีขาว"โดย จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ,กันยายน ๒๕๕๐

สนับสนุนโดย   สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย(สกว.)สำนักงานภาค 

 


ส่วนวิธีการ -กระบวนการที่เราใช้มีหลากหลาย เช่น

 

  • การเรียนรู้จากเพื่อน (Peer Assist- PA) พื้นฐานการเรียนรู้จากเพื่อน ได้รับการพัฒนามาจากบริษัทBP Amaco ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันของประเทศอังกฤษ เป็นการเชิญทีมภายนอก(ทีมเยือน) มาแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ให้กับทีมเจ้าของบ้าน(ทีมเหย้า)
  • และมีศัพท์ที่เราคุ้นๆกันบ่อยๆ AARมาจาก (After Action review)ตามที่ผมยกเอาส่วนหนึ่งของหนังสือมาเขียนข้างบน แต่อยากไว้ว่าหัวใจของAAR คือ การ"เปิดใจ" และ "ความมุ่งมั่นร่วม"ที่จะเรียนรู้มากกว่าวิพากษ์วิจารณ์
  • การถอดบทเรียนที่มีรายละเอียดลึกซึ้งมากว่า AAR คือ การเรียนรู้หลังการดำเนินงาน (Retrospect)นัยยะคือ ได้บทเรียนที่นำไปใช้ในโรงการต่อไปมิใช่เพื่อให้ทีมบรรลุเป้าหมายของงานเดิม
  • ที่เราใช้กันบ่อยๆในแวดวงการจัดการความรู้ ก็คือการเรียนรู้จากบทเรียนที่ดีหรือการปฏิบัติที่ดี(Good/Better/Best Practice) บทเรียนที่ดี = การปฏิบัติที่ดี (Best Practice) หลายๆครั้งที่เราจัดเวทีให้องค์กร หรือชาวบ้านมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ฟังบทเรียนเป็นการแบ่งปันการเรียนรู้เพื่อขยายสิ่งดีๆให้เกิดการต่อยอดยิ่งๆขึ้นไป
  • อีกวิธีการหนึ่ง ที่เราเรียกว่าแผนที่ผลลัพธ์(Outcome mapping) ใช้ในการติดตามและประเมินผล โดยที่ "แผนที่ผลลัพธ์"ให้ความสนใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้องในแผนงานพัฒนานั่นคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความสัมพันธ์ กิจกรรม หรือการกำทำของคนกลุ่มคน หรือองค์ซึ่งร่วมกันทำงาน

บางเครื่องมือที่ใช้ในการถอดบทเรียนอาจฟังดูยาก ไม่เข้าใจผมได้นำLink ที่เกี่ยวข้องมาให้อ่านเพิ่มเติมครับ

อาจจะสามารถหาอ่านได้จากเอกสารวิชาการอื่นๆแต่ผมก็ขอนำมาบันทึกเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีกครั้งครับ

 


หมายเลขบันทึก: 169036เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2008 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2018 08:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

ใน Blog ของผมที่เขียนเกี่ยวกับเครื่องมือต่างๆในการทำงานชุมชน

การเรียนรู้ร่วมกับชุมชน : เครื่องมือวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์

 

การถอดบทเรียน

 

ดาวน์โหลด lesson learned.doc

เอกสารการถอดบทเรียนที่น่าสนใจที่นี่ครับ
  • ตามมาดูและยิ้มอย่างอารมณ์ดี
  • พี่เห็นว่าการที่เราติดระบบมากเกินไป อยู่ในกรอบมากเกินไปก็ไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์
  • มีประเด็น 2 ประเด็นคือ เรื่องของ1.)ความ ริเริ่มสร้างสรรค์(Creativity) ที่มีอยู่เองตามธรรมชาติ ในตัวมนุษย์ทุกคน
  • อีกอันหนึ่งคือ 2) เรื่องของ CBS หรือ (Creativity-based Society) หมายถึงสังคมที่มีวิธีการ มีระบบเพื่อใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ของคนในสังคม 
  • ข้อแรกพี่ใช้ว่า ริเริ่มสร้างสรรค์  ย้ำนะครับ ริเริ่มสร้างสรรค์คือ คิดและทำ ไม่ใช่คิดอย่างเดียว คิดเฉยๆๆไม่ทำอะไร
  • พี่มองว่า ถ้าการถอดบทเรียน มีกฎเกณฑ์มากเกินไป มันจะป็นกฏเกณฑ์ กติการที่ขาดความยืดหยุ่น และเป็นวัฒนธรรมอำนาจ ทำให้พวกเราขาดความเป็นอิสระ
  • ขาดโอกาสความคิดสร้างสรรค์ของเราเอง
  • ไม่อย่างนั้น
  • คงไม่เกิดบันทึกนี้
  • http://gotoknow.org/blog/thaikm/168995
  • อิอิอิอิอิอิๆ
  • ด้วยความเคารพครับผม

ถอดบทเรียนเริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้ว

เรื่องถอด(หัว)ใจ สองหนุ่ม ทำไงดี

กวนๆๆๆๆ

สวัสดีครับพี่ขจิต ฝอยทอง

ส่วนที่เขียนบางครั้งดูเป็น ลอ กอ ครับ ลอ กอ (หลักการ)  นำไปใช้จริงต้องประยุกต์ให้เป็นธรรมชาติครับ รู้หลักไว้นะครับ  :)

ย้ำ....

พอล ฟายเออราเบนด์(Paul Feyerabend) นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ผู้เขียนหนังสือ" Against Method" กล่าวว่า "การยึดติดในวิธีวิทยาอย่างใดอย่างหนึ่งจะเป็นตัวขัดขวางความก้าวหน้าในการพัฒนาองค์ความรู้ "

เห็นด้วยตามที่พี่ให้ข้อเสนอแนะครับผม

 

น้าอึ่งอ๊อบ แซ่เฮ ครับ

เรื่องถอดหัวใจหนุ่มปายนั้นไม่ยากครับ ถึงเวลาจะถอดออกมาแบให้เห็นเลยครับ

ตอนนี้กำลังซ่อมแซมครับ :-P

สวัสดีค่ะคุณเอก

... อ่านแล้วใช่เลยค่ะ เพิ่งจบจากการสัมมนาก็จะมีการถอดบทเรียนทุกครั้งไป

... อ่านบทความคุณเอกแล้ว เหมือนได้บทสรุปอีกรอบ ขอบคุณค่ะ

... ขอเสริมอีกนิดนะคะ ... การถอดบทเรียนไม่ได้จำกัด จินตนาการ นะคะ ...

... เป็นเพียงการกำหนดกรอบ เพื่อกำหนดกรอบให้ชัดเจน เราสามารถเติม เสริมความคิดสร้างสรรค์ ได้ตลอด

... การถอดบทเรียนทุกๆ ครั้ง facilitator ต้องเป็นผู้คอยกระตุ้น จูงใจให้ สมาชิกทุกท่านได้มีส่วนร่วม เพือทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

มีความสุขนะคะ

สวัสดีครับ

แจ่มมากๆครับ เหมือนตอบโจทย์ในบางเรื่องที่เคยสงสัย และตอกย้ำบางเรื่องที่เคยเชื่อและเคยทำมา

แค่การถอดบทเรียนนี้ก็รวมหลายศาสตร์ทางด้าน soft side management ไว้เพียบเลยนะครับ

ขอบคุณมากครับ

 

คุณปูpoo ครับ

ตามจริงจะเขียนสั้นๆ ไหงยาวมากไปก็ไม่ทราบ แต่ก็ให้เห็น รายละเอียดของ วิธีวิทยาครับ ซึ่งก็มีหลากเครื่องมือเลยทีเดียว การนำไปใช้ก็คงตามสะดวก ตามสถานการณ์ แต่ผมมองว่า ให้เป็นธรรมชาติเนียนๆจะได้ผลที่ดี

เพราะเส้นทางของ KM คือ

คน-ความรู้-ธรรมชาติ และ ปัญญา ครับ

ดังนั้นความเป็นธรรมชาติทำให้เรา "เปิดหัวใจ" ได้ง่ายๆ

ขอบคุณครับ:)

ยังอยู่ที่ลาวหรือเปล่าครับ..............

ขอบคุณครับ คุณกบข้ามสีทันดร

หากบันทึกนี้ช่วยให้ชัดเจนขึ้นบ้าง เนื่องจากผมเห็น ป้าแดง สอบถามในบันทึกคุณกะปุ๋มครับ คิดว่ามีหลายๆท่านยัง "งง" กับศัพท์บางคำ

ตามจริง ท่าน หมอวิจารณ์ท่านก็ได้เขียนบ้างแล้ว ในบันทึกเก่าๆ

เอาของเก่ามาเล่าใหม่ครับผม

------------

ขอบคุณครับ :)

สวัสดีครับ น้องเอก

จั่วหัวนี่น่าสนใจมากครับ   ถอดบทเรียนคืออะไร ทำไมถึงต้อง"ถอด"   

ทำให้คิดถึงชาติพันธุ์ของมนุษย์  การผูกพันกับการถอดบทเรียนแท้จริงแล้วผมอยากจะหมายถึง ด้วยว่าเป็นการสรุปบทเรียน แล้วเรียบเรียง

ความหมายคลุมไปทั่ว  แต่จะความหมายของเอกคงเน้นเฉพาะปฏิบัติการของเหตุการใดเหตุการหนึ่ง

คำพังเพยที่ว่า    เจ็บแล้วไม่จำ  คงพอจะเป็นประสบการณ์หนึ่งๆที่ต้องจดจำ

  • สิ่งใดเป็นไปตามที่วางแผนไว้/ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
  • เรามีปัญหาอะไรบ้าง
  • อ.ขจิต         

  • พี่มองว่า ถ้าการถอดบทเรียน มีกฎเกณฑ์มากเกินไป มันจะป็นกฏเกณฑ์ กติการที่ขาดความยืดหยุ่น และเป็นวัฒนธรรมอำนาจ ทำให้พวกเราขาดความเป็นอิสระ
  • ขาดโอกาสความคิดสร้างสรรค์ของเราเอง 
  • สรุปแล้วมันคงเป็นขบวนการจัดการ

    ถ้าจะให้มันถึงที่สุด มันจะรวมถึงการศึกษาเล่าเรียน  เพียรอ่านให้มาก  รับฟังความคิดเห็น  แล้วประยุกต์เข้ากับความจริงที่ได้ประสบ

    นี่เป็นความเข้าใจส่วนตัว

    ขอบคุณมากครับ                 

    น่าสนใจมากครับ แต่เวลามีจำกัด แล้วจะกลับมาศึกษาใหม่อย่างละเอียดอีกทีหนึ่ง

    ขอบคุณค่ะ...คุณเอก..

    ไม่มีเวลาอธิบายป้าแดงเลยค่ะ...

    .......

    แต่จริงๆ...แล้วเราได้เรียนรู้อะไร...ที่เกิดขึ้นกับเรา..

    แล้วก็เขียนบันทึกเก็บไว้...เป็นวิทยาทาน..

    เท่านั้นเองค่ะ...ความหมายของกะปุ๋ม

    (^_____^)

    จะขอเข้ามาศึกษาอีกนะค่ะ  ขอบคุณสำหรับความรู้

    ลุงเกทำงานกับฝรั่ง 5-6 ปี ได้เรียนรู้วัฒนธรรมในการทำงานของเขา (ที่จริงเราก็ปรับตัวไปด้วย)มีความเห็นว่า ฝรั่งเขาให้ความสำคัญในเรื่องของการถอดบทเรียนมาก รวมทั้งการทำ AAR มันเข้ากับวิถีชีวิตของเขา พอนำมาใช้กับคนไทย มันขัดๆเขินๆอย่างไรชอบกล ต้องใช้เวลาปรับตัวนานจนเกิดเป็นความเคยชิน อยากให้ปรับใช้โดยไม่ยึดติดรูปแบบมากจนเกินไป เพราะขัดกับวัฒนธรรมและวิถีไทย

    อยากให้คุณเอกสะท้อนประสบการณ์ในเรื่องนี้มากๆจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมคน KM ของสพท.มส. เขต 1 ซึ่งหลายคนติดตามงานของคุณเอกอยู่ ซึ่งมีประโยชน์มากๆต่อการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานของโรงเรียนในโครงการ KM

    ขอบคุณมาก

    ลุงเก

    สวัสดีครับ พี่สิทธิรักษ์

    ผมขอยืมคำครูบาสุทธินันท์ มาใช้ครับ

    "หลักการมีไว้ดู  หลักกูมีไว้พริ้ว"

    ผมเขียนเป็นหลักการให้อ่านไว้เพื่อเป็นการทำความเข้าใจเบื้องต้นครับ และหากเอามาใช้กับการทำงานจริงๆแน่นอนว่า ต้องเนียนกับวิถีของกลุ่ม ต้องสอดคล้องกับธรรมชาติของกลุ่ม

    หากเราสามารถทำได้โดยไม่รู้ว่านี่คือ การถอดบทเรียนนั้น จะดีมาก

    ผมย้ำอีกครั้งตามประโยคของ พอล ฟายเออราเบนด์(Paul Feyerabend) นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ผู้เขียนหนังสือ" Against Method" กล่าวว่า "การยึดติดในวิธีวิทยาอย่างใดอย่างหนึ่งจะเป็นตัวขัดขวางความก้าวหน้าในการพัฒนาองค์ความรู้ "

    สวัสดีครับอ. จารุวัจน์  ครับ

    ยินดีครับ หากจะต่อยอดหรือเพิ่มเติมสิ่งใดก็เรียนเชิญครับ

    ----------------------------------

    สวัสดีครับ ดร.กะปุ๋ม

    "แต่จริงๆ...แล้วเราได้เรียนรู้อะไร...ที่เกิดขึ้นกับเรา..

    แล้วก็เขียนบันทึกเก็บไว้...เป็นวิทยาทาน..

    เท่านั้นเองค่ะ...ความหมายของกะปุ๋ม"

    เห็นด้วยครับ นั่นเป็นการสรุปบทเรียนง่ายๆ ใช้ในวิถีประจำวัน

    หลังจากอ่านบันทึกคุณกะปุ๋มแล้วผมก็มานั่งเรียบเรียงเพื่อนำเสนอในอีกมุมที่เชิงวิชาการแบบลูกทุ่ง(ของผม) ในการใช้จริงๆก็ให้ง่ายๆเข้าไว้ครับ ไม่ติดเครื่องมือ...ที่สำคัญได้บทเรียนจากการ"ถอด" แบบเนียนๆ น่าสนใจมาก

    แลกเปลี่ยนกันนะครับ

     

     

    คุณครูชนิสร ครับ

    ยินดีต้อนรับสู่สาวเมืองเพชรสู่เมืองสามหมอกนะครับ...ขอให้ครูมีความสุขกับชีวิตเรียบง่ายที่นี่

    บันทึกนนี้ผมตั้งใจเขียนเพื่อขยายความให้กับหลายๆท่านที่สงสัย ว่า "ถอดบทเรียน" คืออะไร หากไม่กระจ่าง หรือ สงสัย สอบถาม หรือหากแลกเปลี่ยนประสบการณ์ก็ยินดีมากๆครับ

     

    สวัสดีครับ ลุง อ.เก

    ยินดีมากครับ ที่ทราบว่าหลายๆท่านใน สพท.มส.เขต ๑ ติดตามอ่านบันทึกของผมอยู่ ผมมีกำลังใจขึ้นมากครับ มีแรงจะสร้างสรรค์เรื่องราวดีๆผ่านบันทึกเพื่อประโยชน์ของเมืองแม่ฮ่องสอนเรา รวมถึงประเทศเราด้วย

    การเขียนบันทึกถือว่าเป็นวิทยาทานอย่างหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วเป็นปรสบการณ์ของผมเองที่ถ่ายทอดออกมาให้อ่านง่ายๆ เข้าใจง่ายๆ บางครั้งก็มีศัพท์แสงที่เข้าใจยาก หากไม่เข้าใจหรือไม่คุ้นชิย เรามาแลกเปลี่ยนกันได้

    อย่างที่ผมบอกนะครับว่า เราต้องสนุกที่จะเรียนรู้ ...แล้วการเรียนรู้นั้นเป็นสิ่งที่ท้านทาย ทำให้เรากระหายความรู้ตลอดเวลา

    เมื่อเดินออกไปในโลกกว้าง ผมมักพบว่า ผมยังไม่รู้อะไรอีกมาก ผมเปรยๆกับเพื่อเสมอๆว่า ทำไมหนอ ผมถึงรู้สึกว่าตัวเองโง่มาก อยากจะรู้ทุกเรื่องแต่ก็ถูกจำกัด จำเป็นต้องพัฒนาตัวเองเรื่อยๆค่อยๆเรียนรู้ไป

    เรื่อง รูปแบบ  กับ ความเป็นจริง นั้น ผมเห็นด้วยครับลุงเก ว่า หาก เป็นทางการมากเรามักล้มเหลวในเวที ผมเชื่อในความเป็นธรรมชาติ ความรู้สึกอบอุ่น เป็นพวกเดียวกัน ความสุข บรรยากาศแห่งมิตร ทำให้กระบวนการเรียนรู้ต่างๆมีประสิทธิภาพมากๆ ใน สพท.มส.เช่นกันครับ ผมก็คิดว่าวัฒนธรรมคนแม่ฮ่องสอน เป็นคนใจดี ใจเย็น คุยสนุก หากเราเปิดเวทีที่เอาวัฒนธรรมเป็นฐาน จะรวมใจคนได้มาก ได้ดี เหมือนอย่างที่ลุงเกทำอยู่ครับ

    หลักการก็เป็นหลักการ ส่วนจะประยุกต์ใช้อย่างไรนั้น เรามาเรียนรู้ไปกับการปฏิบัติแล้ว "ถอดบทเรียน" กันเถอะครับ

    KM แบบแม่ฮ่องสอน(สพท.มส.๑) เป็นอย่างไร ...รูปแบบใด ได้องค์ความรู้อย่างไร พัฒนา ยกระดับ รวมถึงเป็นนวัตกรรมได้อย่างไร ล้วนแล้วแต่เป็นโจทย์ที่น่าสนใจครับ...องค์ความรู้เหล่านี้เป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ที่จะพัฒนาบ้านเราต่อไป

    พัฒนาบนฐานองค์ความรู้ การมีส่วนร่วม ความสุข และ วัฒนธรรมครับ

    ขอบคุณลุงเกมากครับที่ให้โอกาส และให้พลังแรงใจให้ผมครับ

     

     

    สวัสดีครับหมอเอก..

    ขอบคุณสำหรับความรู้ที่มอบให้นะครับ ... เดี๋ยวจะก๊อปไปอ่านให้เข้าใจ(อย่างถ่องแท้) อีกที วิวที่เวทีประชุมสวยมากเลยนะครับ คุ้น ๆ อยู่ จะใช่แถวทางไปอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนหรือเปล่าครับ

    สวัสดีครับครูสุ 

    สถานที่ คือ บ้านรุ่งอรุณ (แม่สุยะจีน) อ.เมือง แม่ฮ่องสอน ครับ สมาชิก บ้านเวียงแหง ส่วนหนึ่งเคยไปเยี่ยมแล้วครับผม

    มือใหม่เรื่องการถอดบทเรียนค่ะ

    เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่แล้ว มีประสบการณ์ มีข้อปฏิบัติที่ดีที่ค้นพบด้วยตนเอง

    แต่เขียนไม่เป็น พวกเราอยากทำรวมเล่มประสบการณ์นั้น ๆมารวมเล่ม

    เพื่อว่าเนื้อหาจะเป็นประโยชน์กับรุ่นน้อง ๆ ที่จะเข้ามาในอาชีพนี้

    และแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างเพื่อนร่วมอาชีพ

    อยากเรียนถามว่ามีสิ่งใดที่พวกเราควรทำให้การถอดฯ ง่ายขึ้นหรือไม่

    เป็นเทคนิคนะค่ะ

    เท่าที่อ่านดูจากเว็บ บลอก ต่าง ๆ จะทำกันด้วยการสัมภาษณ์ เจอหน้ากันเป็นกลุ่ม

    หรือหลังจากมีการจัดกิจกรรมร่วมกัน

    แต่สำหรับกลุ่มของพวกเรา อยู่ห่างกัน ไม่ได้จัดกิจกรรมร่วมกัน

    แต่เป็นนักปฏิบัติในอาชีพเดียวกันค่ะ แล้วก็ไม่ค่อยมีทักษะในการเขียนเรื่อง

    แล้วเราเลือกที่จะต่างคนต่างเขียน ในประเด็นที่เราร่วมกันกำหนดขึ้นมาค่ะ

    แต่ก็ยังเป็นห่วงว่าเราจะเขียนกันได้หรือไม่ แต่ก็ยังแอบอ่านบลอกของคนที่

    เคยทำแล้ว แล้วก็หวังเล็ก ๆ ว่าจะทำตามแนว ๆนั้น ได้บ้างค่ะ

    การมีเจ้าหน้าที่ตรงกลางที่ช่วยประสานงาน ให้กำลังใจ หรือสอบถามในประเด็นที่เป็นประโยชน์ในการเขียนเรื่อง ควรทำอย่างใดก่อนหลัง

    หรือว่าที่ผ่านมา การทำแบบนี้ ประสบความสำเร็จหรือไม่

    แนะนำด้วยนะคะ ขอบพระคุณค่ะ

    ใช้กับเด็ก ๆ ได้ไหมครับ

    ยอดเยี่ยมเลยครับ

    ค่อนข้างหนัก แต่มีประโยชน์

    บทความมีประโยชน์มากค่ะ ได้รับผิดชอบให้ถอดบทเรียน แต่แปลกๆ ตรงที่นายจ้างให้ทำคนเดียว เลยไม่แน่ใจว่าการถอดบทเรียนโดยการวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นจะใช้แนวทาง " Against Method" ได้หรือเปล่า หรือถ้าแตกต่างขอคำแนะนำด้วยนะค่ะ

    ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ และขอสวัสดีปีใหม่ด้วยค่ะ

    ปิยะฉัตร

    เข้ามาอ่านแบบไม่ได้ตั้งใจ อ่านจนจบ เขียนได้เข้าใจง่าย ย้อนนึกถึงตอน อ เอก มาถอดบทเรียนให้ ดูเรียบลื่น ง่ายๆ เกิดสาระ คิดถึงนะค่

    พัฒนาความคิดนำมาปรับปรุงแก้ไขเข้ากับสภาวะปัจจุบัน

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท