การเข้าสู่ชุมชน/การเตรียมชุมชน :ขั้นตอนการพัฒนาชุมชนที่ต้องปราณีต


เกษตรยังมีเกษตรปราณีต...งานพัฒนาก็ถึงคราวต้องมีการพัฒนาปราณีต

การเข้าสู่ชุมชน/การเตรียมชุมชน ถือเป็นกระบวนการและขั้นตอนที่ควรให้ความสำคัญไม่น้อยกว่าขั้นตอนการสร้างกระบวนการเรียนรู้....การเข้าสู่ชุมชนมีหลายไสตล์ตามความถนัดหรือตามวัฒนธรรมองค์กรที่สั่งสมมา...เข้าหาผู้นำชุมชน นัดประชุม ชี้แจงโครงการ ดำเนินโครงการ ฯลฯ..ซึ่งอาจจะมีลักษณะไม่ต่างกันมากนัก...เพียงแต่ระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนหรือรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้นที่ต่างกัน...โดยเฉพาะขั้นตอนของการเข้าสู่ชุมชน/เตรียมชุมชน...บางหน่วยงานอาจให้ความสำคัญน้อยเพราะเร่งรีบทำผลงานหรืออาจจะคิดว่าไม่จำเป็นหรืออาจจะไม่คิดด้วยซ้ำ...ขอให้ดำเนินการตามขั้นตอนเป็นพอ...พอที่จะเขียนรายงานเล่มหนาหนาได้ซักกิโล...จนดูเหมือนชุมชนเป็นเพียงฝ่ายถูกกระทำ(ชำเรา)...แม้ชุมชนจะไม่ค่อยเข้าใจว่าสิ่งที่หน่วยงานนั้นพาทำมันจะส่งผลอะไรต่อการอยู่การกินของชุมชนบ้าง...แต่ชุมชนก็เชื่อว่าสิ่งที่หน่วยงานนั้นหยิบยื่นให้น่าจะเป็นสิ่งดี...ท่วงทำนองของ"การมีส่วนร่วมของชุมชน"ที่พยายามค้นหามาจึงมักออกมาในทำนอง "ให้ความร่วมมือ" แม้จะมีการพยายามเขียนรายงานว่า "มีส่วนร่วมก็ตาม" การใช้เวลาในการเข้าสู่ชุมชน/การเตรียมชุมชน จึงมีความสำคัญในฐานะที่อย่างน้อยก็ทำให้ชุมชนเข้าใจมากขึ้นว่า ใคร จะทำอะไร เพื่ออะไร ที่ไหน อย่างไร...ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับศาสตร์และศิลป์ของหน่วยงานหรือลักษณะของโครงการที่จะประเมินว่าควรทำอย่างไรถึงเมื่อไร...การเข้าสู่ชุมชนหรือการเตรียมชุมชนจึงกระตุ้นการมีส่วนร่วมได้ยิ่งขึ้น...การเยี่ยมยาม การร่วมกิจกรรม การกินการอยู่...การทำงานกับชุมชนแม้จะมีข้อจำกัด/เงื่อนไขของแต่ละหน่วยงาน...แต่ถ้าไม่ควรละเลยหรือให้ความสำคัญกับการเข้าสู่ชุมชน/การเตรียมชุมชน...เกษตรยังมีเกษตรปราณีต...งานพัฒนาก็ถึงคราวต้องมีการพัฒนาปราณีตเหมือนกัน

คำสำคัญ (Tags): #การพัฒนาชุมชน
หมายเลขบันทึก: 80596เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2007 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ  ชอลิ้วเฮียง

แหม....นึกถึงสมัยอยู่ที่บอร์ดคณะมนุษย์เลย

เห็นท่านในBlog แล้วก็ตื่นเต้น

เหมือนเจอญาติผู้ใหญ่ที่ไม่ได้เจอกันนาน

ขอคารวะท่านอีกครั้ง.......

จะติดตามท่านต่อไปนะคะ

โอ้..มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นตั้ง 1 คน ยินดีต้อนรับหมีน้อย...เดี๋ยวนี้เปลี่ยนเป็นหมูน้อยแล้วเหรอ..

ตอนนี้เป็นหมูแล้วค๊า

รูปนี้ดูผอมลงนะค่ะท่านชอลิ้วเฮียง

 นักพัฒนาไม่หยุดที่จะคิดพัฒนา

นับถือค่ะ

 

  • หลักการและทฤษฎีมีมากมาย เป็นสิ่งที่ควรศึกษาควรเรียนรู้ตลอดเวลา แต่การนำหลักการมาปฏิบัติเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย
  • เพราะหลักการ หรือทฤษฎีไม่ได้พูดอยู่บนปัญหาอุปสรรคต่างๆที่มีอยู่ในแต่ละพื้นที่ แต่ละช่วงเวลา แต่ละวิถีปฏิบัติ แต่ละเงื่อนไขทั้งของชุมชนเองและของผู้ทำงาน
  • คนทำงานพัฒนาคือคนที่เอาหลักการ เอาทฤษฎีไปปฏิบัติ ย่อมต้องใช้ศักยภาพส่วนตัวอีกหลายอย่างมาประกอบในการปฏิบัติการ
  • และหลักการและทฤษฎีต่างๆนั้นก็ไม่ได้อธิบายว่าผู้ที่จะเอาหลักการนี้ ทฤษฎีนี้ไปใช้จะต้องมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างไรบ้าง
  • หลักการเดียวกัน ทฤษฎีเดียวกัน เอาคนที่เรียนจบพัฒนาชุมชนมาเอาหลักการนี้ ทฤษฎีนี้ไปปฏิบัติก็ย่อมจะใช้อย่างแตกต่างกัน
ศาสตร์การพัฒนาชุมชนก็เหมือนกับศาสตร์อื่น ๆ ที่จะเป็นรูปธรรมมากเพียงใด...ขึ้นอยู่ศิลป์ของผู้นำไปใช้...ตามข้อจำกัดหลายอย่างของหลักการ/ทฤษฎีที่พี่บางทรายว่ามา...เพียงแต่คาดหวังว่า...บุคคล/หน่วยงานที่ได้เข้ามาอ่าน จะได้กลับมาคิดถึงกระบวนการทำงาน เช่น การเข้าสู่ชุมชน หรือ การเตีรยมชุมชนของหน่วยงานตัวเองว่า...ปราณีตเพียงใด...ซึ่งคงระบุชัดไม่ได้...ตามข้อจำกัดหลายอย่างที่พี่บางทรายว่ามา...แต่ผมเชื่อว่าการทำอะไรที่ปราณีต หรือ พยายามที่จะปราณีตก็ยังดีกว่า...ไม่คิดที่จะปราณีตเลย

เห็นด้วยกับเนื้อหาที่ยกมาครับ...

การเตรียมชุมชน ประเมินสถานการณ์ของชุมชน และค้นหาผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) ก่อนดำเนินการโครงการเป็นหัวใจสำคัญ ยิ่งไปกว่านั้นหากสามารถกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนได้ตั้งแต่กระบวนการทั้งมหดที่ว่ามานั้นตั้งเริ่มต้น นอกจากกระให้โครงการพัฒนากับชุมชนแล้ว ยังให้ "กระบวนการ" ในการพัฒนากับชุมชนเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่องด้วยชุมชนเองด้วย

ด้วยรัก

  • เห็นด้วยครับ ในงานพัฒนาควรคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย
  • การสร้างกระบวนการส่วนร่วมในงานพัฒนา จะเห็นได้จากหลายที่ว่า ถ้าเริ่มจากให้ชุมชนคิดเอง จะมีความยั่งยืนมากกว่ามีใครมาคิดแทนหรือหยิบยื่นให้

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท