อาหารพื้นบ้าน ภูมิปัญญาเพื่อการอยู่


อาหารพื้นบ้านจึงเป็นมากกว่า อาหารที่กินแล้วอิ่มท้องและต่อชีวิต

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมได้รับการติดต่อจาก คณะอาจารย์จาก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต กรุงเทพ เพื่อจะขอเข้ามาเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ อาหารพื้นบ้าน ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นกิจกรรมในเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมได้ประสานงานผู้รู้ด้านอาหาร ทั้ง จีนยูนนาน ไทใหญ่ และกระเหรี่ยง ในพื้นที่อำเภอปาย และจัดช่วงเวลาให้ทุกอย่างสอดคล้องประสานไปด้วยดี เพราะเวลาการเข้ามาเก็บข้อมูลของอาจารย์ค่อนข้างจำกัด</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมสามารถเข้าร่วมเก็บข้อมูลกับทีมได้เพียงจุดเดียวคือที่ บ้านกระเหรี่ยงแม่ปิง อ.ปาย เพราะมีภารกิจที่ต้องทำต่อเนื่องที่เชียงใหม่ และที่บ้านแม่ปิงนี่เอง ผมเห็นความยิ่งใหญ่และความเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ผ่าน อาหารพื้นบ้าน ของพวกเขา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ช่วงบ่ายหลังจากที่นัดแนะกับผู้ประสานงานในพื้นที่แล้ว ทางคณะและผมได้เดินทางมายังหมู่บ้าน แม่บ้านกระเหรี่ยงค่อยๆทยอยกันมาเพื่อที่จะสาธิตการทำอาหาร และให้ข้อมูลคณะวิจัย </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ภาพของแม่บ้านที่สวมชุดกระเหรี่ยงดูน่ารัก ยิ้มละไมด้วยไมตรีจิต เพียงเท่านี้ สายใยแห่งมิตรภาพก็เริ่มสานสายใย เริ่มแนะนำตัวอย่างเป็นกันเอง ว่าคณะเป็นใครมาจากไหน มาทำอะไร บรรยากาศสนุกสนานผ่อนคลาย ทางหมู่บ้านได้เตรียมวัตถุดิบไว้พร้อมแล้ว และเมื่อพร้อมก็สามารถจะปรุงอาหารได้เลย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">วันนี้มีเมนูที่ผมไม่คุ้นชื่อ ๓ เมนู ได้แก่ ข้าวเบ๊อะ ,แกงเย็น,และ หลามเนื้อ  แม่บ้านก็พูดไป ทำไป คณะเก็บข้อมูลก็สอบถามไปมาอย่างสนุกสนานเคล้าเสียงหัวเราะ …</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">บรรยากาศดีจริงๆ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมไม่ขอลงในรายละเอียดว่า อาหารแต่ละเมนู ชื่อแปลกๆเหล่านี้ทำอย่างไรบ้าง แต่จะขอมอง อาหารพื้นบ้าน ในเชิงวัฒนธรรมดังนี้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อาหารพื้นบ้าน ในฐานะเป็น</p><ul>

  • ในฐานะเป็น องค์ความรู้ท้องถิ่น  เป็นภูมิปัญญาในการสืบทอดผ่านรุ่นสู่รุ่น และเป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าของชุมชน มีลักษณะเฉพาะถิ่น เฉพาะกลุ่ม  และมีความเป็นพลวัตร เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีลักษณะของการยกระดับความรู้ท้องถิ่น
  • ในฐานะเป็น ความเชื่อ อาหารแต่ละอย่างของชุมชนมีความเชื่อที่แฝงอยู่ ดังนั้นอาหารที่ปรุงไม่เฉพาะเป็นของกินเพื่อการอยู่ของชีวิตเท่านั้น
  • ในฐานะเป็น ศิลปะ กระบวนการกว่าจะเป็นอาหาร ล้วนเป็นศิลปะ ที่แทรกวิธีคิด การคัดสรร การประดิษฐ์  ตกแต่ง เทคนิค เคล็ดลับ ตลอดจนกระบวนการ การปรุงเพื่อให้ได้อาหารมารับประทาน  
  • ในฐานะ เป็นการแสดง ตัวตน อาหารเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงรสนิยมของกลุ่มใดๆ ว่าเป็นอย่างไร และชอบอาหารแบบไหน เป็นสื่อที่บอกให้รู้ว่าเป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรม ในขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่นำความภาคภูมิใจมาสู่กลุ่มชนด้วย
  • </ul><p> จึงไม่แปลกใจที่เห็นแม่บ้านกระเหรี่ยง สวมเสื้อผ้าชนเผ่าที่สวยงาม และพิถีพิถันบรรจงปรุงอาหารในเวทีการเก็บข้อมูลในวันนี้ </p><p></p><p> อาหารพื้นบ้านจึงเป็นมากกว่า อาหารที่กินแล้วอิ่มท้องและต่อชีวิต</p><p></p>

    หมายเลขบันทึก: 73756เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2007 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (22)
    • อาหารพื้นบ้านเป็นชุดความรู้ในท้องถิ่น ที่ผูกพันกับชุมชนมากที่สุด  ผ่านการถ่ายทอด  สืบทอด อย่างระมัดระวัง 
    • ชุดความรู้อาหารพื้นบ้าน เป็นชุดความรู้ที่ต้านกระแสภายนอกชุมชนได้ดีกว่าชุดความรู้อื่น
    • ในแนวคิดผม การคืนสู่รากเหง้า ที่พวกเรากำลังช่วยกันคิด  อาหารพื้นบ้าน น่าจะเป็นเส้นทางหนึ่งที่มีคุณภาพ ครับ
    จะมีพืชสมุนไพรเฉพาะถิ่นที่เป็นประโยชน์อยู่รึเปล่าพี่  เผื่อเป็นประโยชน์ต่อไป

    อาจารย์ เม็กดำ 1

    น่าสนใจมากครับ สำหรับ "ชุดความรู้ท้องถิ่น" ที่เกี่ยวข้องเฉพาะประเด็น "อาหารพื้นบ้าน" สามารถนำไปสู่การวิเคราะห์สังเคราะห์ตัวตนของท้องถิ่นได้

    สามารถนำไปเป็น"หลักสูตรท้องถิ่น" ได้เป็นอย่างดี ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อการจัดการความรู้ระดับท้องถิ่น

    ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ครับ ในการศึกษา วิจัยอาหารพื้นบ้านเพื่อเสริมความเข้มแข็งของชุมชน

    แปลกใจที่ในขณะที่มหาวิทยาลัยใกล้บ้านยังไม่ลงมาเรียนรู้ (ในเชิงลึกของกลุ่มชาติพันธุ์)แต่มหาวิทยาลัยในกรุงเทพสนใจและมาก่อน หรือ มหาวิทยาลัยใกล้บ้านอาจศึกษา วิจัยแล้วก็ได้ผมไม่ทราบ แต่ในพื้นที่ผม และที่ผมค้นหากลับไม่เจอ

     

    น้องเก่ง ปริวัตร เขื่อนแก้ว

    พืชท้องถิ่น พืชพื้นบ้านที่ใช้เป็นอาหารล้วนแล้วแต่เป็นสมุนไพรครับ ...

    อย่างที่บอกว่า อาหารแฝงด้วยความเชื่อ

    ผมเคยศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอาหารหลังคลอดของหญิงชาวไทยภูเขาเผ่าลีซู (Lisu postpartum)น่าสนใจมากครับ เพราะมีการดูแลสุขภาพตนเอง(Self health care)โดยการรับประทานอาหาร หาอ่านเพิ่มเติมใน Thesis ได้ในหอสมุด มช.ครับ

    สวัสดีค่ะอาจารย์

    หนูเชื่อว่า อาหารพื้นบ้านแต่ละท้องถิ่นถึงแม้เป็นอาหารที่ชื่อเหมือนกัน แต่การปรุงแต่ง วิธีการทำ และรสชาติก็ไม่เหมือน  คือ ความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นที่น่าสนใจและน่าภาคภูมิใจเช่นกันค่ะ

    หนูชอบอาหารพื้นบ้านโดยเฉพาะ "แกงส้มใส่ดอกแคมากๆๆเลยค่ะ" อาจารย์เคยรับประทานไหม? ค่ะ อร่อยมากค่ะ

     

    คุณจตุพรคะ...

    คิดว่ามหาวิทยาลัยใกล้ๆคงจะไม่มองข้ามภูมิปัญญาเหล่านี้หรอกนะคะ  เหมือนจะคุ้นๆว่ามีคนศึกษาอยู่

    สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

     เรื่องที่คนไทยควรให้ความสำคัญ คือไม้ผักยืนต้น ในชนบทเรามีนับ100 ชนิด หลายชนิดรับประทานได้ที่ดอก ยอด ผล ใบ ในแต่ละฤดูกาล ผักยืนต้นจะทะยอยหมุนเวียนให้เราเก็บมาประกอบอาหาร บางชนิดสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของอากาศ ชาวบ้านนำมาปรุงอาหาร  นอกจากอิ่มท้อง อร่อย แล้วยังเป็นการเสริมภูมิคุมกันอีกด้วย

    ไม่ผักยืนต้นไม่ต้องฉีดยา ไม่ต้องรดน้ำ เพียงแต่นำมาปลูกรอบบ้านสัก 20-30 ขนิด ก็มีผักสดให้เก็บหมุนเวียนได้ทุกเดือน เดือนละ 7-8 ชนิด ก็จะทำอาหารได้ไม่ซ้ำตลอดสัปดาห์

    ผักพวกนี้มีคุณสมบัติมากกว่าอาหารธรรมดา ประหยัดรายจ่าย ปลอดภัยอีกต่างหาก เข้ากัยยุคเศรษฐกิจพอเพียง เด็กๆมาเรียน

    • ทำตารางช่วงออกดอกออกผล
    • ตารางคุณสมบัติ
    • ตารางชนิดและประเภทของอาหาร
    • ตารางฤดูปลูก
    • ตารางเก็บเมล็ดมาเพาะ
    • ตารางธาตุ สารอาหาร

      ส่วนมากคนเมืองวิจัย แบบรู้ไว้ใช้ว่า..ถ้ามีการนำผลวิจัยไปขยายผลให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์ เราก็จะได้ประโยชฯจากการค้นคว้าเต็มเม็ดเต็มหน่วย

      อยากให้ช่วยเขียนกระตุ้นอีก น่าสนใจมาก เพราะแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ชื่อเรียกก็ต่างกัน บางทีการประกอบอาหารก็ต่างกัน ความต่างคือเสน่ห์ของการศึกษาไม่ใช่หรือหนุ่ม

    คุณ Chah

    มีมวลมิตรจาก สงขลา นำของฝาก เช่นน้ำบูดู มาฝากผมและผมก็ชอบครับ

    ผมใช้น้ำบูดูเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงรสแกงแค ทำให้น้ำแกงแคของผมอร่อยกลมกล่อม อย่าบอกใคร

    ผมใช้น้ำบูดูที่เคี่ยวสะอาด สุก ราดบนส้มโอ และผสมพริกป่น ลงไป เป็นยำส้มโอที่รสชาติอร่อย เปรี้ยว เผ็ด เค็ม กำลังดี

    อาหารท้องถิ่นจึงเป็นสื่อมิตรภาพได้ นะครับ :)

    อาหารเมืองใต้ ที่เด่นและผมชิมแล้วก็ร้องให้เพราะอร่อยมาก (เผ็ด) คือ แกงไตปลา แต่ก็ชอบครับ เข้มข้นดี โดยเฉพาะกับข้าวสวยร้อนๆ

    มีโอกาสไปกระบี่ ได้ทานขนมจีนที่มากด้วยผักที่ใช้ทานด้วยหลากหลาย ผมเพลินในการกิน มีความสุขมากครับ

     

    อาจารย์อ.ลูกหว้า

    ในช่วงเวลาที่ชุมชนต้องพึ่งตนเองทุกวัน และปัญหาที่ซับซ้อนขึ้น ต้องอาศัยนักวิชาการจากสถาบัน เรากลับพบว่า น้อยนักที่นักวิชาการเหล่านั้นจะมาร่วมคิด ร่วมแก้ไขปัญหาชุมชนอย่างแท้จริง

    และใช้ชื่อ มหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่น เชิงรุกเปิดหลักสูตร กินด่วนๆ ค่าเทอมแพงมากๆ บอกว่า "ให้โอกาส" แต่คนในพื้นที่จริงๆเรียนไม่ได้ครับ มันแพงเกินเหตุ การเรียนก็ขอให้จบให้ได้ใบปริญญา เรียนแบบภาคไม่ปกติ(ภาคพิเศษ) แล้วก็สอบ...จบ

    ร้อยทั้งร้อยที่ไปเรียนผมได้ฟังคำนี้จากปากคนไปเรียนจริงๆ ว่าเขาอยากได้แค่ใบปริญญา

    ดังนั้นผมเห็นด้วยว่า มหาวิทยาลัยใกล้บ้าน ต้องอยู่รอด แต่มีใครคิดบ้างไหมว่าประเทศไทยเราละครับ ต้องอยู่รอดด้วยไหม!!!

    น่าสงสารประเทศไทยเรานะครับ

    เรียนท่านครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

    กระผมเห็นด้วยครับ

    เรื่องขององค์ความรู้ที่มีคุณค่าของท้องถิ่น การจัดการเรียนรู้ระดับท้องถิ่นเป็นทางเลือก ทางรอดของชุมชนยามวิกฤติเลยทีเดียว เพราะคำว่า "พึ่งตนเอง" เป็นคำพูดที่พยายามบอกให้เราต้องอาศัยตนเอง ซึ่งก็ถูกต้อง ว่าเราต้องคิดแบบนี้ แต่การพึ่งตนเองในนิยามนี้ ก็หมายถึงการบูรณาการหลายๆสิ่งเข้าด้วยกัน คนนอกชุมชนก็ใช่จะทิ้งชุมชนให้พึ่งตนเองอย่างโดดเดี่ยว...(ตามที่ผมเขียนข้อคิดเห็นด้านบน)

    ความรู้ สร้างและใช้ ในชุมชน เรามีความรู้ที่มีคุณค่าในชุมชน เด็กๆเยาวชน ควรได้ศึกษา เรียนรู้พร้อมไปกับผู้รู้ท้องถิ่น สถาบันระดับท้องถิ่นควรมีบทบาทเอื้ออำนวยในการจัดการเรียนรู้เหล่านั้น

    เรื่องของ "อาหารพื้นบ้าน" เป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่า มีเสน่ห์ อยู่ในฐานะตามที่ผมเขียนบันทึก

    งานศึกษาลักษณะนี้ต้องทำต่อเนื่อง ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม และเอื้อต่อการสืบทอด อนุรักษ์ด้วย

    ขอบพระคุณท่านครูบา...ครับผม

    อยากให้ทุกชุมชนได้มีการถ่ายทอดความรู้เรื่องอาหารพื้นบ้านครับ เสียดายแย่เลยถ้าอาหารในแต่ละชุมชนจะหายไปเพราะผมว่าอร่อยทุกที่เลยครับ :>

    น่าสนใจดีน่ะค่ะ ยังไม่เคยไปเที่ยวหมู่บ้านแบบนี้แบบตัวเป็นๆเลยค่ะ เห็นแต่ทางสื่อต่างๆ อยากไปเห็นด้วยตา บ้างจังเลย
    สวัสดีค่ะ...คุณจตุพร... ขอบคุณค่ะที่เล่าอะไรดีๆให้พวกเราฟังค่ะ.....ความงดงามของความเป็นจริง....ในธรรมชาติ

    อาจารย์ Kae

    อาหารที่เห็นและได้ลิ้มรส ในแต่ละท้องถิ่นต่างเป็นภูมิปัญญาที่สืบสานต่อมาจากรุ่นสู่รุ่นครับ

    เป็นองค์ความรู้ที่น่าศึกษาและต้องได้รับการสืบสานต่อ

    ดังนั้นแล้วงานวิจัยที่ดีๆเกี่ยวกับชุมชน ช่วยกันผลักดันให้เกิดการจัดการความรู้โดยต่อเนื่องครับ

     

    คุณ Wannaporn

    ช่วงหลังมีการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ กิจกรรมหนึ่งที่เรียนรู้ร่วมกัย ระหว่างเจ้าของบ้านและนักท่องเที่ยวก็คือ การทำอาหารรับประทานด้วยกัน

    หากสนใจ ก็มีหลายๆชุมชนที่มีการท่องเที่ยวลักษณะนี้ครับ

    ลองเข้าไปชมที่ http://www.communitytourism.net/

     

     

    พี่กฤษณา สำเร็จ

    ขอเป็นตัวแทนชุมชนในการสื่อสารระหว่างชุมชนกับคนใน Gotoknow ครับผม

    ขอบคุณครับ

     

     

    • ถ้าแม้นคนไทยมีสำนวนเกี่ยวกับอาหารว่า "กินปลาเป็นหลัก  กินผักเป็นพื้น"
    • แล้วทางโน้นมีสำนวนเกี่ยวกับอาหารการกินอะไรบ้างครับ..
    • การกิน เป็นวัฒนธรรมพื้นถิ่นของแต่ละกลุ่มคน และมีคติชนที่น่าศึกษา  เหมือนในอดีตผมจำได้แม่นว่า  กว่าจะได้กินต้มไก่แต่ละครั้งต้องนานมาก...บางที เดือนละครั้งก็แทบจะไม่มี
    • หากแต่เมื่อมีแขกมาเยี่ยมเยียน วันนั้นต้มไก่คืออาหารรับรองชั้นเยี่ยม  และผมจะพลอยโชคดีได้กินตับไก่ที่แม่มักจะจัดเก็บและแยกออกมาให้..
    • ส่วนไตไก่  แม่ไม่ให้ทาน  บอกว่าเดี๋ยวโตขึ้นจะเป็นเด็กดื้อ เด็กหยาบกร้าน...
    • และอื่น ๆ อีกมากมาย....
    • ขอชื่นชมนะครับพลังเครือข่ายที่คุณเอกมีอยู่ในวิถีชุมชน  สามารถเชื่อมประสานกระบวนงานได้อย่างดียิ่ง

    ผมมาสายนิดหนึ่งครับ ภาระกิจรัดตัวเหลือเกิน

    สวัสดีครับ คุณแผ่นดิน

    แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์สิ่งที่เราเก็บข้อมูลบริบทชุมชน เราไม่ลืมที่จะกล่าวถึง "ภูมิปัญญาทางด้านอาหาร"

    อาหารในฐานะที่เป็นอาหาร เป็นยา และสืบสานความเชื่อ และการแบ่งชั้นของอาหาร

    คนเหนือถือว่า "ลาบ" เป็นอาหารชั้นเลิศ ในการรับแขกที่มาเยี่ยม ดังนั้นงานสำคัญๆจึงต้องมีลาบเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ

    "กิ๋นไต๋ ขี้หลับ กิ๋นตับขี้ไฮ้"

    ผู้ใหญ่พร่ำบอกว่า เด็กๆไม่ควรกินไต และตับไก่ เพราะว่าจะชอบหลับ ส่วนกินตับจะชอบร้องไห้ ...ผู้ใหญ่ไม่ไห้เด็กกิน ผู้ใหญ่กินเองครับ

    ต่อมาผมก็ใช้ภาษิตนี้กับเด็กๆเวลาต้มไก่ ...แล้วผมก็กินเองครับ ^__^

     

     

    • ผมว่าไตถ้าไม่ให้เด็กกินก็ไม่เท่าไหร่...แต่นี่ตับ เคี้ยวง่าย ของชอบสำหรับเด็ก ๆ...ทุกวันนี้ผมยังชอบกินปิ๊งตับไก่อยู่เลยนะครับ
    • แต่สำหรับคุณเอก..โชคดีจังกินทั้งไต ทั้งตับ..ฮา
    • ผมเห็นชาวเขาชอบเลี้ยงหมู  ในภาพยนตร์หลายเรื่องก็พบบ่อยครั้ง..เช่น "วิถีคนกล้า" (เรื่องนี้ชอบมาก)  รักจัง หรือแม้แต่เรื่องอะไรสักอย่างที่คุณมนตรีเล่นไว้นานแล้ว  ก็พบหมูเป็นตัวละครหนึ่งในนั้น
    • ปกติชาวเขาเขาจะบริโภคหมูกันตอนไหนครับ..

     คุณ แผ่นดิน

    จะว่าไป "หมู" เป็นสัตว์ที่น่าสงสารเมื่ออยู่บนดอย เพราะหมูจะถูกเป็นสิ่งเซ่นสังเวยตามพิธีกรรมความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์เกือบทุกกลุ่ม

    ปีใหม่ลีซูที่จะถึงนี้ (วันตรุษจีน) ที่บนดอยสูง หรือที่หมู่บ้านลีซูทุกๆหมู่บ้าน บ้านลาหู่(มูเซอ)ด้วย ทุกครัวเรือนก็จะเชือดหมูตัวน้อยใหญ่ ตามแต่ฐานะและจำนวนสมาชิก เพื่อเลี้ยงผี และใช้เนื้อหมูประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ

    บ้านกึ้ดสามสิบ ซึ่งผมเคยไปทำงานวิจัยอยู่ มีหลังคาเรือนทั้งหมด ๒๐๐ กว่าหลัง เช้าวันปีใหม่ หมูถูกเชือดทั้งหมด ๒๐๐ กว่าตัว ประชากรหมูในหมู่บ้านลดจำนวนลงทันทีเมื่อเช้าวันนั้น

    ปีใหม่จะสนุกสนานตามวิถีของลีซู ๗ วัน ๗ คืน เต้นรำแบบ nun stop ครับ

    ปีใหม่ปีนี้ ผมคิดวางแผนที่จะไปเยี่ยมพี่น้องบนดอยสูงที่อำเภอปางมะผ้า หากคุณแผ่นดิน ว่างเว้นจากงาน ผมขอชวนมาเที่ยวกับผมนะครับ

    ผมจะพาย้อนรอย "รักจัง" และ ไปสัมผัสวิถีชีวิตชาวเขาแบบเข้มข้น

    คิดว่าจะออกเดินทางจากเชียงใหม่ก่อนตรุษจีน สักวันสองวันเพื่อขึ้นภูเขาไปงานปีใหม่ลีซูที่แม่ฮ่องสอน

    สนใจและมีเวลามาสมทบกับผมที่เชียงใหม่และเริ่มต้นเดินทางไปด้วยกันครับผม

    โอกาสดีๆมิได้มีบ่อยๆนะครับ

    • ยินดีและเป็นเกียรติในคำเชิญนั้นนะครับ...
    • ผมยังกระหายไปในที่ ๆ ยังไม่เคยไป  และปรารถนาเรียนรู้ในสิ่งที่ยังไม่เคยพบพานเสมอ..
    • ขอบคุณทั้งคำเชิญ และสาระวิถีชีวิตชาวเขาสั้น ๆ แต่ชัดเจนครับ
    • ประชากรหมูในหมู่บ้านลดจำนวนลงทันทีเมื่อเช้าวันนั้น (ฟัง ๆ ดูเหมือนตายหมู่, ประมาณนั้นเลย)

    คุณ  แผ่นดิน

    แสดงว่า ไม่มีเวลาใช่มั้ยครับ...เพราะเห็นว่า งานภาระที่ทำเยอะแยะมากมาย

    ยังไงก็แจ้งผมมาได้ครับ

    บางจุด บางที่ Unseen จนคนข้างนอกคิดไม่ถึงว่าจะมี

    ประชากรหมูตายหมู่แน่นอนครับ...

    ผมเคยจัดงานปลูกป่าลีซู บนดอย เห็นพ่อเฒ่าลีซูเชือดหมู เลี้ยงผีป่า ผมยังใจหายจนถึงวันนี้เลยครับ

    สวัสดีค่ะ ดิฉันกำลังทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับอาหารพื้นบ้านของชาวภูไท ตอนนี้กำลังหาข้อมูลและบังเอิญโชคดีที่เจอบล็อคของคุณจตุพล จึงขอคำแนะนำเกี่ยวกับประสบการณ์การวิจัยครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท