​หลักสูตร พัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รุ่นที่ 12 (EADP12) (ช่วงที่ 2: 14-16 มีนาคม 2559)


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ EADP รุ่น 12 ทุกท่าน

ในระหว่างวันที่ 14-16 มีนาคม 2559 จะเป็นช่วงที่ 2 ของหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รุ่นที่ 12 (ปี 2559) หรือ EGAT ASSISTANT DIRECTOR DEVELOPMENT PROGRAM : EADP 2016

แม้ว่าจะเป็นการทำงานต่อเนื่องเรื่องคนให้กับ กฟผ. มาปีนี้เป็นปีที่ 12 แต่ผมก็ยังรู้สึกตื่นเต้น และพยายามจะแสวงหาความรู้ที่สด และทันสมัยมาแบ่งปันกับลูกศิษย์ของผมเสมอ

จากการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารของ กฟผ. ในระดับผู้อำนวยการ 3 รุ่น และในระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายอีก 8 รุ่นที่ผ่านมา ผมมีความภาคภูมิใจในลูกศิษย์ของผมที่วันนี้หลายคนเติบโต และเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพของสังคม

"ทุนมนุษย์" ใน กฟผ. นั้นเข้มแข็งและมีศักยภาพอยู่แล้ว ผมเป็นเพียงผู้ที่จะช่วยทำหน้าที่จุดประกาย สร้าง Inspiration ให้พวกเขามีพลัง มี Ideas ใหม่ ๆ มีความเข้าใจสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกและพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จ รวมทั้งการทิ้งผลงานหรือสิ่งที่มีคุณค่าไว้สำหรับสังคมไทยของเรา

สำหรับการพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 12 ในปีนี้ ผมก็หวังว่าจะมีสิ่งที่เราจะได้เรียนรู้ร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการทำงานของ กฟผ. และเป็นการสร้างที่สร้างความสุขให้แก่คนไทยต่อไป และผมขอให้ทุกท่านใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ของพวกเรา และแบ่งปันความรู้เหล่านี้ไปสู่สังคมของเราครับ

ติดตามและส่งความคิดเห็นได้ที่ Blog นี้ครับ


โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://www.gotoknow.org/posts/603295

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 12-26 มีนาคม 2559

http://www.gotoknow.org/posts/604250

ที่มา:FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 29 มีนาคม-12 เมษายน 2559


สรุปประชุมผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ : ผู้นำและการสร้างความเป็นเลิศ

วันที่ 14 มีนาคม 2559

การบรรยายพิเศษ

หัวข้อ เส้นทางสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจของจีน

โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ)เจริญ วรรธนะสิน

ตัวอย่างเด่น ๆ ที่เมืองจีน เช่น มีที่ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า 2,000 แห่ง

ในเรื่อง 3 ก๊ก เป็นเรื่องสติปัญญา ชั้นเชิง การแก้ปัญหาวิกฤติเฉพาะหน้า ถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมจีนที่คลาสสิกที่สุด การรู้ถึงความคิดและวรรณกรรมของอาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ และยาขอบ ก็มีที่เอามาจากเดวิด เครเลอร์

โจผีสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นกษัตริย์

เส้นทางไปสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจของโลก ประเทศจีนมีวัฒนธรรมเก่าแก่หลายพันปี จีนมีความภูมิใจในของตัวเองมาก และมีความหยิ่งในตัวเองที่ทั่วโลกจะต้องมาเรียนจากจีน

ค.ศ. 1830 ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

ค.ศ. 1830 ปฏิวัติทางอุตสาหกรรมในอังกฤษ ความต้องการวัตถุดิบนำไปสู่อาณานิคมล่าเมืองขึ้น แต่ละมหาอำนาจ (สเปน ฝรั่งเศส ฮอลแลนด์ โปรตุเกส อังกฤษ) ต้องการขยายตลาด

- อังกฤษซื้อใบชาจากจีนจำนวนมาก เสียดุลทางการค้า แก้ปัญหาด้วยการนำฝิ่นมาขาย ให้จีน ขน เงินออก 3-4 ร้อยล้านหยวนต่อปีขนกลับประเทศ

- โลกคิดเครื่องจักรไอน้ำขึ้นมา และมีการขายสบู่ซันไลน์ มีการการันตีความพึงพอใจคืนเงิน ถือได้ว่าเป็นความการทำการตลาดขั้นแรก สังเกตได้ว่าจีนมีความต้องการวัตถุดิบมากขึ้น

สงครามฝิ่นค.ศ. 1840

ค.ศ. 1840 สงครามฝิ่น อังกฤษ vs. จีน

- อินเดียตกเป็นเมืองขึ้นอังกฤษ ทำให้จีนสูญเสียผลประโยชน์ จีนห้ามฝิ่นเข้าประเทศ คือสาเหตุสงคราม

- ฝ่ายค้านในรัฐสภาอังกฤษค้านการทำสงคราม แต่ไม่เป็นผล (นักการเมืองดี พ่ายแพ้ทุนสามานย์)

- ทัพเรือจีนแพ้อังกฤษย่อยยับ เสียค่าปฏิมากรรมสงคราม 2 ล้านหยวน เสียเกาะฮ่องกงตามสนธิสัญญานานจิง อัปยศอดสูแก่จีนทั้งชาติ

- สมัยราชวงศ์ฉิน มีการออกกฎหมายไม่ให้มีการค้าฝิ่น ตอนนั้นอินเดียตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษทำให้จีนเสียประโยชน์ จึงมีการออกกฎหมายไม่นำเข้าฝิ่น

ธุรกิจทุนสามาลย์ เกิดสงครามฝิ่น และเสียค่าประติมากรรมทางสงคราม

ฟ้าหลังพายุลืมฟ้าร้อง

1. ผู้นำยุคต้าชิงไม่สำนึกถึงภัยที่มาต่างชาติ

- ขุนนางกับราชสำนักต้าชิงกลับสู่สภาพหลงระเริง แก่งแย่งชิงอำนาจกันภายในแบบเดิม

- เหตุการณ์รบแพ้อังกฤษร้ายแรงของชาติ ยังไม่สามารถปลุกจิตสำนึกข้าราชการที่เห็นแก่ตัวให้ ตื่นได้

- ทางการยังปิดประกาศห้ามวิจารณ์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (บริหารบ้านเมืองแบบนกกระจอกเทศ)

- คนดีสังคมผู้นำต่อต้านอังกฤษนายหลินเจ๋อฉี ถูกกดดัน และถูกปลดออกจากราชการ

2. ค.ศ. 1851 เกิดกบฏไถ้หลิง

- อุดมการณ์ต่อต้านรัฐบาลต้าชิง กับการรุกรานของชาติตะวันตก

ค.ศ. 1860 สองโจรสลัด (ฝรั่งเศส-อังกฤษ)บุกเผาราชวังหยวนหมิงหยวน ( ค.ศ.1707 สมัยคังซี 3.5 ตร.กม.)

  • ชาติตะวันตกเริ่มก่อตั้งศาลของตนเองขึ้นในแผ่นดินจีน (รุกล้ำอธิปไตยจีนโดยตรง บีบสภาพให้จีนตกเป็นกึ่งเมืองขึ้น)
  • สองโจรสลัด (อังกฤษกับฝรั่งเศส บุกเผาพระราชวังหยวนหมิงหยวน กลางกรุงปักกิ่ง)
  • จีนเริ่มเปลี่ยนความคิด ละทิ้งความหยิ่ง เรียนรู้ ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

ฝรั่งเศสเข้าปล้นแล้วเอาสมบัติของหวังหมิงหยวน 3.5 ตารางกม. และมีอังกฤษเข้าไปเผาต่ออังกฤษเนื่องจากแค้นสมัยสงครามฝิ่นระหว่างอังกฤษและอินเดีย

ต่อมาจีนเริ่มเปลี่ยนความคิด ส่งคนไปเรียนต่างประเทศ

ญี่ปุ่นชนะรัสเซีย- รุกรานจีน

- ค.ศ. 1894 ญี่ปุ่นสร้างกำลังทหารขึ้นป้องกันตนเอง รบชนะรัสเซีย เมื่อเยอรมนีบุกยุโรป ญี่ปุ่นบุกและชนะสงครามกับจีน (2.3 ล้านหยวน เท่ากับรายได้เก็บภาษีของจีน 3 ปี และเป็นรายได้ 4 ปีของรัฐบาลเมจิ)

- (ความพินาศแล้วยิ่งโง่ ยิ่งโง่ก็ยิ่งพินาศ - หลู่ซิ่น)

- จีนให้อังกฤษมาสร้างทางรถไฟ และซื้อหัวรถจักร แต่ทางการสั่งยกเลิก

ค.ศ. 1911 ดร.ซุนจงซานล้มราชวงศ์ชิง

ดร.ซุนจงซาน หรือ ดร.ซุนยัดเซน เป็นคนที่รักชาติมาก ได้กล่าวว่าสิ่งที่ท่านกำลังได้รับผลประโยชน์ในขณะนี้กำลังทำลายอนาคตลูกหลานของท่านเอง ถือได้ว่าเป็นประโยคอมตะ

  • แนวคิดการปกครองลัทธิไตรราษฎร์ของ ดร.ซุนจงซาน
  • “พวกท่านคิดหรือไม่ว่า สิ่งที่ทุกคนได้รับผลประโยชน์ขณะนี้ กำลังทำลายอนาคตของลูกหลานของท่านเอง....” (ดร.ซุนยัดเซนกล่าวกับนายทหารสายอำนาจ)

ดร.ซุนจงซาน โค่นแมนจูได้ แต่คนจีนยังไม่เข้าใจ คนจีนมีจำนวนมากที่ไม่รู้หนังสือ

หยวนซือข่าย นายพลท๊อปบูธ อำนาจใหม่จีน

  • ค.ศ. 1912 ดร.ซุนจงซานหลีกเลี่ยงสงครามกลางเมือง(มีระบบ มีรัฐสภา มีกฎหมาย มีพรรคการเมือง แต่ในความเป็นจริง หยวนซือข่ายกับกองทหารเป่ยหยางเป็นกลุ่มที่ยึดครองอำนาจการปกครองจีนไว้ในขณะนั้น และถูกนายทุนธุรกิจสามานย์ซื้อ ผู้นำทำตัวเป็นองค์จักรพรรดิเสียเอง)

หงวนซื่อข่ายเป็นกลุ่มที่ยึดครองราชย์คนจีน เลี่ยงสงครามกลางเมืองให้หยวนซื่อไข่เป็นประธานาธิบดี แต่หงวนซื่อข่าย ให้ลูก ๆ แปลงระบบเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือฮ่องเต้

ญี่ปุ่นชนะรัสเซีย-รุกรานจีน

  • ค.ศ. 1894 ญี่ปุ่นสร้างกำลังทหารขึ้นป้องกันตนเอง รบชนะรัสเซีย เมื่อเยอรมนีบุกยุโรป ญี่ปุ่นบุกและชนะสงครามกับจีน (2.3 ล้านหยวน เท่ากับรายได้เก็บภาษีของจีน 3 ปี และเป็นรายได้ 4 ปีของรัฐบาลเมจิ)
  • (ความพินาศแล้วยิ่งโง่ ยิ่งโง่ก็ยิ่งพินาศ)
  • จีนให้อังกฤษมาสร้างทางรถไฟ และซื้อหัวรถจักร แต่ทางการสั่งยกเลิกรถไฟ

(เหตุผล - รถไฟรบบกวนดวงวิญญาณของบรรพกษัตริย์)

สิ้น ดร.ซุนจงซาน จีนยังสับสนไร้ทิศทาง

ซุนยัดเซนถึงแก่อนิจกรรม ค.ศ.1925

  • หยวนซือข่ายลงนามรับเงื่อนไขญี่ปุ่น 21 ข้อ ทำให้การปฏิวัติกลายเป็นภาพลวงตา

หลู่ซิ่น – ประเทศจีนตื่นแล้ว แต่ความทุกข์ที่เจ็บปวดที่สุดของมนุษย์ คือ พอตื่นขึ้นจากฝัน กลับพบแต่ทางเดินที่ตีบตัน

อำนาจแท้จริงยังอยู่ในกำมือทหารของหงวนซื่อข่าย

สื่อที่ไม่เป็นโสเภณี

คำคมของหลื่อซิ่น คือประเทศจีนตื่นแล้ว แต่พบกับทางเดินที่ตีบตันของมนุษย์

14 ปีหลังจากนั้นทำอะไรไม่ได้ แต่เป็นการเปิดช่องให้เห็นว่ามีเรื่องของฮ่องเต้ และเรื่องอื่นด้วย

สงครามกลางเมืองในจีน

- ค.ศ. 1917 ปฏิวัติโบเชวิคในรัสเซีย

- จีนเริ่มสนใจลัทธิสังคมนิยม

- สงครามกลางเมือง เจียงไคเช็ค vs. เหมาเจ๋อตง

- ค.ศ. 1927 สังหารพลพรรคคอมมิวนิสต์ 20000 คน และประชาชน 300,000 คน

- ค.ศ. 1929 The Great Depression – สภาวะเศรษฐกิจโลกทรุดหนัก ปชช.ในสหรัฐยุโรปต่างยากไร้ ว่างงาน – เลวร้ายถึงกับอดตาย ทำให้ชาวจีนชนชั้นปกครองเห็นจุดอ่อนของทุนนิยม ทำให้จีนเริ่มให้ความเชื่อถือระบบสังคมนิยมแบบโซเวียดรัสเซียมากขึ้น (รัฐบาลโซเวียด 1931)

ปัจจัยที่ทำให้รัฐบาลก๊กมินตั๋งล่มสลาย

- ชาวจีนเริ่มตื่นจากความเฉยเมย ตื่นจากความอึมครึมของความคิด

- ประชาชนเริ่มรู้ทันนักการเมืองที่แฝงมาในหลายรูปแบบของคำว่ารักชาติ รักประชาชนแต่ทุจริตคอร์รัปชั่น ขายชาติขายแผ่นดินขายผลประโยชน์

- โฉมหน้าข้าราชการส่วนใหญ่ยุคนั้นคือนายทุน หรือลูกมือนักธุรกิจทุนสามานย์ ในขณะที่ประชากรมากถึง 85% เป็นชาวนา/กรรมการผู้ยากไร้

- ปี ค.ศ. 1935 เมื่อคนชั้นกลางเห็นความเหลวแหละของสังคมชั้นผู้นำ เบื่อหน่ายที่ถูกต่างชาติดูถูกข่มหงรังแกชาติจีน จึงเอนเอียงมาสนับสนุนชนชั้นกรรมาชีพ พรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงเข้มแข็งยิ่งขึ้น

- ปรมาณู 2 ลูกทำให้ญี่ปุ่นยอมจำนน การต่อสู้ของจีนที่มีต่อญี่ปุ่นอย่างทรหดเสียชีวิตชาวจีนมากถึง 35 ล้านคน ทำให้พันธมิตรกับนานาชาติเห็นใจและนับถือชนชาติจีน สงครามโลก 2 จึงมีส่วนช่วยกู้ศักดิ์ศรีจีนในสายตาชาวโลกเป็นครั้งแรก และยึดเกาะไต้หวันคืนจากญี่ปุ่น

- ตุลาคม 1945 พรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนลงนามในข้อตกลงสงบศึกเพื่อสร้างชาติ แต่ไม่ถึงปี ก๊กมินตั๋งได้รับการสนับสนุนจากพี่เบิ้มสหรัฐอเมริกาทางการเงิน-อาวุธ เปิดฉากการรบเพื่อปราบปรามคอมมิวนิสต์ หักหลังผิดสัญญาข้อตกลงอย่างหน้าตาเฉย

- รัฐบาลก๊กมินตั๋งปราบปรามคนกลุ่มใหญ่รุนแรงมากเท่าใด ผู้คนส่วนใหญ่ก็ยิ่งโน้มเอียงไปทางพรรคคอมมิวนิสต์มากขึ้น ชาวจีนไม่พอใจงานเขียนของเจียง ชะตากรรมของประเทศจีน ที่เขียนล่วงหน้าก่อนลงนามสงบศึก 2 ปี

- สงครามกลางเมืองของจีนแตกหักขั้นสุดท้ายที่เมืองเหลียนเสิ่น ผิงจิน กวั๊วไห่ กำลังพลก๊กมินตั๋งที่มีมากถึง 1.54 ล้านคน รบกันนาน 19 วัน ก็พบกับความพ่ายแพ้เมื่อกองทัพปชช

- ยึดที่ตั้งรัฐบาลก๊กมินตั๋งที่นานจิงได้ ยุติการบริหารประเทศ 22 ปีของพรรคก๊กมินตั๋ง นายพลเจียงไคเช็คยกสมบัติและพาพลพรรคหนีไปปักหลักเกาะไต้หวัน

พรรคคอมมิวนิสต์จีน สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน

-1949 กำเนิดสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เทียนอันเหมิน

  • -ค.ศ. 1959 The Great Leap Forward
  • ค.ศ. 1966 - 1977 ปฏิวัติทางวัฒนธรรม

- แก๊ง 4 คน (Gang of Four)

- เรดการ์ด สมุดปกแดง The Red Book

- ทำลายนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม

ปฏิบัติทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์อัปลักษณ์

- ยุคการเมืองอุบาทที่สร้างความเสียหายชาติอย่างมหาศาล

ประเทศจีนเสียหายมาก โดยทำลายวัดวาอารามและโดนทำลายหนังสือต่าง ๆ

-หลายส่วนของประเทศจีนตกต่ำมาก

จุดจบของ Gang of Four – ปฏิวัติวัฒนธรรมเริ่มจาง

  • 10 ปีแห่งความวิกฤติอลหม่าน 10 years of turmoil
  • แก๊ง 4 คน ประกอบด้วย นางเจียงชิง จางชุนเฉียว เหย้าเหวินหยวน หวางหงเหวิน

-หนังสือที่เขียนโดยเติ้งเสี่ยวผิง เขียนเรื่องปลดอำนาจ มีการปรับแกงค์ 4 คน

เติ้งเสี่ยวผิง – ผู้นำจีนรุ่น 2

  • เติ้งเสี่ยวผิง ถูกโค่นล้ม 3 ครั้ง

- ถูกข้อหาพยายามรื้อฟื้นปลุกระบบนายทุน Revisionist

- สื่อตะวันตกบอกว่า เติ้งถูกควบคุมตัวด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ

  • ค.ศ. 1978 เติ้งกลับมามีอำนาจบริหารประเทศ

(เหมาเจ๋อตงเป็นคน ไม่ใช่เป็นเทวดา - เติ้งเสี่ยวผิง)

- เติ้งกลับมาในขณะที่ประเทศจีนเหมือนยืนอยู่บนทาง 3 แพร่ง ไม่รู้ว่าจะเดินไปทางไหนดี

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Session นี้ได้ประโยชน์อะไรต่อตัวเอง ต่อ EGAT ต่อประเทศ รุ่นนี้เปิดใจกว้าง ทำให้รู้ว่าข้อดีของเขาคือมีจุดยืน เกิดมาต้องการมีประโยชน์ต่อประเทศ

ทักษิณเป็นตัวอย่างของทุนนิยมสามาลย์ สมัยยิ่งลักษณ์มีการเซ็น Graph Electric ได้รับโจทย์ไปทำโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทั้งที่เทพา และกระบี่

รุ่นนี้ไม่ได้เรียนแค่เทคนิคแต่เป็นการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อปกป้อง EGAT ต่อการใช้ไฟฟ้า

ให้เห็นว่าค.ศ. 1949 -2016 จีนเข้าไปสู่ในเหตุการณ์ต่าง ๆ

ท่านเจริญได้ยกตัวอย่างผู้นำในยุคเก่าที่สร้างปัญหาต่อจีน และแน่นอนที่อาจมีผลกระทบต่อประเทศไทย

มองสิจิ้นผิงว่ายุคต่อไปจะเป็นผู้นำของโลก

ประเทศไทยรอดพ้นจากจักรวรรดินิยม แม้กระทั่งมาเลเซียและฟิลิปปินส์ก็เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ

ศ.เจริญ วรรธนะสิน

ได้กล่าวถึงการนำวินัยมาทำงาน ใช้ Common sense ในการเล่นกีฬา หาความผิดพลาดก่อน อย่าทำของดีเป็นของเสีย ตัวอย่างตอนทำงานที่ยูนิลีเวอร์ มีการทำแบบแบ่งเกรดของลูกค้า A B C D

การทำงานที่ดีต้อง

1. ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต มีการรักษาผลประโยชน์ทั้งผู้ถือหุ้นรายย่อยและรายใหญ่ด้วย มนุษย์ทุกคนต้องระวัง

- ความเป็นเลิศของ EGAT ที่สะสมมา 50 ปี ทำอย่างไรคนข้างนอกถึงเข้าใจ ว่ามีความโปร่งใส และมีการตรวจสอบกันเอง

- ทำความดีไม่ต้องประกาศ เพราะในที่สุดความดีจะเปร่งแสงมาเอง

- การทำความดีอย่างไปเป่าแตรนำหน้าขบวน

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. อาจารย์เจริญจะเน้นเรื่องความจริงที่เข้ามาส่งผลกระทบถึงปัจจุบัน ซึ่งเข้ามาสู่ทฤษฎี 2R’s ของ ดร.จีระ อีกเรื่องคือเป็นเรื่อง Leadership Role ที่ตรงคือ Rhythm and Speed ถ้าก้าวผิดทิศผิดทางจะเกิดความล้มเหลว แต่ถ้าก้าวมาถูกทางก็จะพอดี

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ให้ระวังเรื่องการเมืองด้วยอย่ากระพริบตา แม้ว่ามีทหารมาดูแลเรา แต่ถ้าทหารอยู่ไปนาน ๆ อาจเกิดปัญหาได้

มีเจ้าของบทความหนึ่งเขียนว่าประเทศไทยตอนนี้เหมือนสามก๊ก คือก๊กประวิทย์ ก๊กป๋าเปรม และก๊กทักษิณ

ศ.เจริญ กล่าวถึงเรื่องสามก๊กให้ไปอ่านตอนอ้องอ้วน เอี่ยวเสี่ยน ตั๊งโต๊ะ ตอนนั้นอ้องอ้วนปกครองบ้านเมืองไม่เป็น บางครั้งถึงเวลาแข็งต้องแข็งเป็นอ่อนต้องอ่อนเป็น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวถึงว่า CIA ชอบควบคุมการเมืองที่ใช้เงิน และเวลาพูดถึงจีนไม่เคยเคารพเลย ทั้ง ๆ ที่จีนมีวัฒนธรรมมากกว่าอเมริกากว่า 5,000 ปี

ศ.เจริญ วรรธนะสิน

สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ล่มสลายการเปลี่ยนแปลงในยุโรป

  • ค.ศ. 1989 โปแลนด์เปลี่ยนแปลง ไม่ยอมรับระบบสังคมนิยม
  • ค.ศ. 1990 เยอรมนีรวมชาติเป็นหนึ่งเดียว
  • ค.ศ. 1991 สหภาพโซเวียดล่มสลาย แตกแยกออกไปเป็นอิสระหลายประเทศ
  • โลกจับตาดูสังคมนิยมในจีนจะไปทิศทางใด?
  • ค.ศ. 1989 – นักศึกษาประท้วงเทียนอันเหมิน ทดสอบสังคมนิยมที่สำคัญของจีน

“ทุนนิยมพัฒนามาหลายร้อยปีแล้ว เราเพิ่งใช้สังคมนิยมมาเพียงไม่กี่ปี ถูกแทรกแซงมาโดยตลอดไม่มีสังคมนิยม เราก็ไม่มีการปฏิวัติ ไม่มีโอกาสขยายเศรษฐกิจ ไม่มีการยกระดับชีวิตประชาชน เรามีแต่ตายกับตายลูกเดียว” (เติ้งเสี่ยวผิง)

“แผนนโยบายกับการตลาดหาใช่ความแตกต่างของสังคมทุนนิยมกับสังคมนิยมไม่ ทุกอย่างนำมาใช้กับระบบสังคมนิยมได้ดีเท่ากับที่ใช้กับสังคมทุนนิยม” (เติ้งเสี่ยวผิง)

การเป็นผู้นำแต่ละองค์กร แต่ละ Segment ของงาน

การคุม Sale Cost การคุมฝ่ายขาย สิ่งแรกที่คุมคือ Cost per core ต้องทำให้เป็น Cost per effective core เราต้องคิดถึงความคิดที่ถูกต้องก่อน ก่อนที่จะออกคำสั่งไป แต่ต้องมีการคำนวณความเสี่ยงแล้ว คือ Calculate Risk อย่าบอกว่าเอาอันเก่า

สถิติการเติบใหญ่เศรษฐกิจจีน(โดยสังเขป)

  • ค.ศ. 1978 จีนเป็นประเทศส่งออกอันดับ 33 ของโลก มีเงินคงคลัง 3 แสนหยวน

ค.ศ. 1997 จีนเป็นประเทศส่งออกอันดับ 10 ของโลก มีเงินคงคลัง 7 ล้านล้านหยวน

ค.ศ. 1998 จีนเป็นประเทศนำเข้าอันดับ 12 ของโลก เป็นตลาดใหญ่ที่มีพลเมือง 1.3 พันล้านคน พร้อมกำลังซื้อที่ทั่วโลกพิศมัยอยากจะเข้ามาค้าขายด้วย

  • จาก ค.ศ. 1980 – 1990 GDP per Capita ของจีนเพิ่ม 10% ติดต่อกัน – ทำให้จีนกลายเป็นประ เทศมหาอำนาจเศรษฐกิจอันดับ 4 ของโลก
  • ค.ศ. 1978 คนจีนทำงานให้ตัวเอง 1.5 แสนคน ปี ค.ศ. 2007 มีกิจการของตัวเอง 127.5 ล้านคน
  • ค.ศ. 1997 อังกฤษคืนเกาะฮ่องกง - ค.ศ.1999 โปรตุเกสคืนเกาะมาเก๊าให้แก่จีน

แนวคิดของเติ้งเสี่ยวผิง

สังคมนิยมให้มีกิจการตัวเอง อะไรทุกอย่างต้องเป็นของรัฐหมด ประเทศจีน พรรคและประเทศต่างคนต่างเดินไปคนละทิศละทาง ทำให้สะดุดตัวเอง พรรคจบ ประเทศชาติจบ ต้องปรับรูปแบบของสังคมนิยม

สังคมนิยมที่มีสีสันพิเศษ ทำให้ความคิดสังคมนิยมในเมืองจีนเปลี่ยนแปลง สิ่งที่พูดวันนี้ บรรพบุรุษไม่มีพูด เขียนไม่ดีจะถูกตั้งข้อหาว่าแหกคอกอีกด้วย

ถ้าจับหนูไม่จำเป็นต้องใช้แมวขาว หรือแมวดำแต่ขอให้จับหนูได้

สังคมนิยมโดดเด่น ไม่มีใครในโลกที่กล้าทำ เพราะต่างต้องนอนสะดุ้งในหลุมฝังศพ เพราะแก้จดหมายสำคัญ ใช้กลไกการตลาดยุคใหม่ เปิดโอกาสให้ทุนนิยมต่างประเทศเข้ามา

ค.ศ. 1982 เติ้งเสี่ยวผิงถูกกุมอำนาจได้มากขึ้น การปฏิวัติทางวัฒนธรรมให้เศรษฐกิจกับกฎหมายของประเทศเสียหายยับเยิน มีการก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์ เซี่ยงไฮ้ มีการแก้กฎหมายให้ปัจเจกบุคคลสามารถครอบครองทรัพย์สินได้

ผลของ 3 ผู้แทนทางการเมือง

ดร.ซุนยัดเซนเป็นคนเปิดแนวคิดของประเทศจีนว่าไม่จำเป็นต้องปกครองด้วยโอรสของสวรรค์

ประเทศจีน เป็นมหาอำนาจเพราะเติ้งเสี่ยวผิง

แนวคิดเรื่องคอรัปชั่นของเติ้งเสี่ยวผิง บุญคุณที่ช่วย ไม่ลืม หากต้องการอะไรยินดีตอบสนอง ประเทศไม่อาจตอบแทนบุญคุณส่วนตัวของชาติได้

เมื่อเติ้งเสี่ยวผิงเสียชีวิต ประชาชนเสียใจทั้งประเทศ

จีนมหาอำนาจเศรษฐกิจโลกล่าสุด

เปรียบเทียบ 1840 ตอนสงครามฝิ่น ปัจจุบันเปลี่ยนไป

มิติใหม่ของการแข่งขัน

ปี 2516 Asean Free Trade เราต้องไปค้าขายจาก 10,000 ชิ้นเป็น 80,000 ชิ้น

การเลือกเฟ้นผู้นำรุ่นใหม่ของจีน

  • จากบทเรียนอันเจ็บปวดของเติ้งเสี่ยวผิง – ผู้นำจีนเห็นความสำคัญของ Successors ทางการเมือง
  • Hierarchy ทางการเมือง – ผู้ว่าการเซี่ยงไฮ้ ผู้ว่าการกรุงปักกิ่ง หรือหัวเมืองใหญ่อื่น ๆ
  • นายหลี่เผิง – (1987-1998) นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีนคนที่ 4

ทุกวันนี้ยึดถือเป็นบทบัญญัติทุก 10 ปี นอกจาก Exceptional หลายคนถูกจับคอรัปชั่นมาก

จูหลงจี นายกรัฐมนตรีเหล็กมือสะอาด

  • จูหรงจี – นายกรัฐมนตรี คนที่ 5 ของจีน
  • จูหรงจี – เติบโตจากสถานเด็กกำพร้า
  • รอบรู้ สุขุม เฉียบขาด มือสะอาด ยุติธรรม
  • นายก รมต.ที่ปราบคอรัปชั่นอย่างเฉียบขาด

“การปฏิรูปมักต้องขัดผลประโยชน์ของใครบางคนเสมอ”

“ขุนนางที่ไม่ออกหน้าแทนประชาชน ควรลาออกไปขายเผือกขายมันที่บ้านเกิด”

หัวหน้ากองตรวจสอบพฤติกรรมข้ารัฐการเมืองเซี่ยงไฮ้ “เตรียมใจหลุดจากตำแหน่ง”

จูหลงจีปลอบว่า “เอาตาทั้งสองข้างของคุณสอดส่องข้ารัฐการ 506 ตำแหน่ง ตราบเท่าที่คุณไม่กลัวที่จะท้าทายอำนาจบนเส้นทางปราบทุจริต ผมรับประกันคุ้มครองตำแหน่งให้คุณ หากผมทำไม่ได้ ผมก็พร้อมที่จะออกจากตำแหน่งไปเป็นเพื่อนคุณ...”

สูตรการปราบคอรัปชั่นของจูหลงจี

ซุนกวนเป็นตัวอย่างของการทำอย่างไรให้คนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่าทำงานอย่างประสานได้

  • “อย่ารับเลี้ยงจากใครง่าย ๆ คนเลี้ยงมีหรือไม่ต้องการผลประโยชน์ การรับเลี้ยงมีแต่จะเพิ่มไขมัน ขอให้ทุกท่านลดไขมัน และเพิ่มกระดูกในตัวให้มากขึ้น...” จูหรงจี
  • “ปราบทุจริตคอรัปชั่น ต้องจัดการกับพวกตัวการระดับใหญ่ ๆ ก่อน แล้วค่อยจัดการกับระดับรอง ๆ ลงไป...”
  • “ให้เตรียมโลงศพไว้ 100 โลง ในจำนวนนั้นให้ผม 1 โลง จะได้กอดคอตายไปพร้อม ๆ กับพวกโกงกิน เพื่อแลกมาซึ่งความสงบสุขยั่งยืนของประเทศชาติ”

ข้อหนักใจของผู้นำจีนรุ่นใหม่

  • สิ่งที่น่าหนักใจสำหรับผู้นำจีนรุ่นใหม่ คือวิธีการแก้ไขปัญหาจะใช้แบบเดิม ๆ ที่เคยใช้มาแล้วในอดีตไม่ได้ เพราะสภาพแวดล้อมของผู้คน สังคม วัฒนธรรม วิทยาการที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วทั้งภายในกับภายนอก ได้เปลี่ยนโฉมไปมากมายในระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่ประธานเหมาเจ๋อตง หรือเติ้งเสี่ยวผิงเคยใช้ อาจจะใช้ไม่ได้สำหรับผู้นำในยุคศตวรรษที่ 21

ผู้นำจีนรุ่นใหม่

1. ต้องมีวัฒนธรรมของตนเอง ระบบสังคมนิยมจะมีค่าได้ต้องเป็นสังคมนิยมที่มีชีวิตจิตใจ ชาติที่เจริญรุ่งเรืองอย่างแท้จริงต้องเห็นคุณค่าของตัวเองก่อน และวัฒนธรรมของตัวเองก่อน ถึงแบ่งให้คนอื่น

2. สังคมนิยมต้องมีเมตตาธรรม อย่างประชาธิปไตย ถ้าใช้อำนาจบาตรใหญ่

คสช. เหมือนกับ Disnature

ผู้นำจีนรุ่นที่ 3 และ 4

  • ศ.ตู้ยุ่ยหมิง – นอกจากกฎหมายที่เข้มแข็งแล้ว ยังต้องมีวัฒนธรรมของตัวเอง ระบบสังคมนิยมจะมีคุณค่าได้ ต้องเป้นสังคมนิยมที่มีชีวิตและจิตใจ ชาติที่เจริญรุ่งเรืองอย่างแท้จริง ต้องเริ่มที่วัฒน ธรรม ต้องสร้างจิตสำนึกในวัฒนธรรมของตนเอง ต้องเห็นคุณค่าในสิ่งที่เรามีก่อน แล้วทำสิ่งนั้นแบ่งเสนอต่อชาวโลก
  • Benevolent Socialist Dictatorship - สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ที่มีเมตตาธรรม

รถไฟความเร็วสูงของจีน Shinkansen

  • เริ่มจาก Zero ในปี ค.ศ. 1990 – กลางปี 2011 มีรถไฟความเร็วสูง เฉลี่ย 200 กม/ชม. มีระยะทางยาวถึง 9,676 กม. (ในรูปแบบเดียวกับ Shinkansen – Bullet Train ของญี่ปุ่น)
  • และในอัตราความเร็ว 300 กม/ชม. ระยะทางยาวอีก 3,515 กม.
  • เป็นสายรถไฟที่มีระยะทางยาวที่สุดในโลก (BBC รายงาน by 2012 จีนจะมีระยะทางวิ่งของรถไฟความเร็วสูง More than the rest of the world combined)
  • Daily Ridership 2007: 237,000 2008: 492,000 2009: 796,000
  • ปักกิ่ง – เซี่ยงไฮ้ เปิด มิย. 2011 ระยะทาง 1,318 กม. ใช้เวลาวิ่งไม่ถึง 5 ชม. (ความเร็ว 300 กม./ชม.)

การสร้าง BTS หรือ Sky Train อยู่ที่ Relationship

ปัญหาคอรัปชั่นในจีน

  • Transparency International จัดอันดับจีนไว้ที่ 79 จาก 178 ชาติ (ไทย 80)
  • เกาหลีปราบคอรัปชั่นอย่างมีผล

- ประธานาธิบดีฆ่าตัวตาย – ประธานกรรมการบริหารฮุนไดถูกศาลตัดสินจำคุก 3 ปี (จาก 6 ปี)

  • การปราบการฉ้อราษฎร์บังหลวงในจีน

- มีการตัดสินให้ประหารชีวิต และจำคุกในคดีคอรัปชั่นในจีน

- กพ. 2011 รัฐมนตรีการรถไฟ Liu Zhejun หลิวจื้อจุน ถูกปลด มีข้อหารับสินบน 1 พันล้านหยวน (จากการสอบสวนพบความผิดเพียง 3 ร้อยล้านหยวน)

- เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการรถไฟ Zhang Shuguang ถูกปลดจากหน้าที่ในข้อหาคอรัปชั่น

- ปลดผู้ว่าฉงชิ่ง กรรมการกลางพรรค ป๋อซีไหล Bo Xilai ข้อหาใช้อำนาจโดยมิชอบ รับสินบน

ผู้นำจีนรุ่น 5 – แถลงนโยบายใหม่ของจีน

นายสีจิ้นผิง – ประธานาธิบดี:- (18 มีค. 2013)

1. จะฟื้นฟูประเทศขนานใหญ่

2. การเปลี่ยนแปลงระบบ “ค่ายแรงงาน” ให้อำนาจรัฐบาลกักตัว

ผู้มีแนวความคิดต่อต้านรัฐบาลไ ด้นาน 4 ปีโดยไม่ต้องมีการ

พิจารณาคดี

3. ลดจำนวนเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็น “แรงงานแฝง”

4. เพิ่มศักยภาพกองทัพให้เข้มแข็งเพื่อปกป้องอธิปไตยและความมั่นคงของชาติ

นายหลี่เค่อเฉียง(จัดงานแถลงข่าว)

- ตอบโต้ปฏิเสธข้อกล่าวหาของสหรัฐฯ ที่กล่าวหาว่าจีนแฮคข้อมูลอินเตอร์เน็ตของสหรัฐฯ

ปัญหาที่ผู้นำจีนรุ่นที่ 5 ต้องเผชิญและแก้ไข

  • การชะลอตัวของเศรษกิจ
  • ปราบคอร์รัปชั่น (ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ครอบครัวของผู้บริหารประเทศของจีนหลายคน รวมทั้งนายสีจิ้นผิง ถูกกล่าวหาว่าใช้อำนาจสร้างความร่ำรวยให้กับเครือญาติ และพรรคพวกของตัวเอง ทำให้ชาวจีนสเอมศรัทธาในตัวผู้นำประเทศ)
  • ลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน ระหว่างเมืองกับชนบท
  • การแก้ไขสภาวะแวดล้อม อากาศในเมืองใหญ่ ๆ เป็นพิษ
  • การสานต่อโครงการใหญ่ต่าง ๆ จากผู้นำชุดก่อน รถไฟความเร็วสูง ฯลฯ
  • แก้ไขข้อพิพาทขัดแย้งเรื่องดินแดน หมู่เกาะ เตี้ยวหวี กับญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์
  • สร้างสมกำลังเพื่อป้องกันประเทศ และผลประโยชน์การลงทุนทั่วโลก

ความปรกติที่ไม่ปรกติของระบบการเงินโลก

  • ประเทศที่ล้มละลายทางการเงิน เช่น กรีซ อาร์เยนตินา (รวมทั้งไทย ต้มยำกุ้ง 2540) และอีกหลายประเทศ ต้องยืมเงินจาก IMF หรือ ธนาคารโลก World Bank
  • สหรัฐอเมริกา แก้ปัญหาเศรษฐกิจการเงินด้วย QE Quantitative Easing
  • วางรูปแบบสวยๆ ให้ธนาคารกลางผลักดันให้เศรษฐกิจขยายตัว โดยให้ปชช.มีเงินใช้จ่ายมากขึ้น โดยธนาคารลดอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดๆ และที่เนียนสุด คือ:-

The central bank buys assets, usually government bonds, with money it has "printed" –or, more accurately, created electronically. ภาษาชาวบ้านพูดและฟังกันง่ายๆ ก็คือ

ธนาคารกลางออกมาซื้อทรัพย์สิน หรือพันธบัตรรัฐด้วย “เงินที่พิมพ์” ขึ้นใหม่

  • ที่สหรัฐทำอย่างนี้ได้ เพราะเงินดอลลาร์ที่เป็นเชื่อถือและยอมรับกันทั่วโลก

(ในขณะที่ กรีซ สเปน ฝรั่งเศส หรือ อิตาลี ฯลฯ ทำไม่ได้)

Chronology of Events เส้นทางวิบากกรรมของจีน

  • ค.ศ. 1840 ประเทศจีนถูกคุกคาม แพ้สงครามฝิ่น เสียเกาะฮ่องกง มาเก๊า
  • ค.ศ. 1860 ฝรั่งเศสกับอังกฤษ บุกเผาพระราชวังหยวนหมิงหยวนกลางกรุงปักกิ่ง
  • ค.ศ. 1894 ทัพเรือจีนแพ้ญี่ปุ่น เสียเกาะไต้หวันแก่ญี่ปุ่น และปฏิมากรสงคราม
  • ค.ศ. 1911 ดร.ซุนยัดเซน โค่นล้มระบบจักรพรรดิแมนจูได้สำเร็จ
  • ค.ศ. 1949 ประธานเหมาเจ๋อตง ประกาศสถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • ค.ศ. 1959 The Great Leap Forward
  • ค.ศ. 1966-1976 ปฏิวัติทางวัฒนธรรม ยุค “แก๊ง 4 คน”
  • ค.ศ. 1987 เติ้งเสี่ยวผิงเริ่มทดลองทฤษฎี 1 ประเทศ 2 ระบบ
  • ค.ศ. 1989 ระบบสังคมนิยมโปแลนด์ล่ม 1991 สหภาพโซเวียดรัสเซียล่มสลาย
  • ค.ศ. 2001 จีนเป็นสมาชิก WTO
  • ค.ศ. 1990-2011 สังคมนิยมโดดเด่น (สวนทางกับแนวสังคมนิคมเลนิน-มาร์กซ์)
  • ค.ศ. 2010-2013 มหาอำนาจเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา

การสร้างเขี้ยวเล็บของจีน - แสนยานุภาพของจีน

  • สิ่งที่พึงระวังในอนาคต (อย่าให้ประวัติศาสตร์จีน ยุค ค.ศ. 1840 กลับคืนมาอีก)
  • จีนถือคติ “แม้หวังตั้งสงบ จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ” – อะไรจะเกิดขึ้นถ้ามหาอำนาจของโลกถังแตก ระบบอาณานิคมล่าเมืองขึ้นในรูปแบบใหม่จะกลับมาอีก?

ค.ศ.2003 จีนประเทศนิวเคลียร์ใหม่ และเป็นประเทศที่ 3 ของโลกที่ส่งมนุษย์ Yang Liwei ขึ้นสู่ห้วงอวกาศ

สรุป สิ่งที่ทำให้จีนเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจของโลกเพราะความขยัน และนโยบายเติ้งเสี่ยวผิง

การทำอะไรก็ตามอย่าทำแบบสุ่มสี่สุ่มห้า ให้ทำโดยมีเป้าหมายชัดเจน ทำโดยต้องมีนวัตกรรม และต้องมีการฝึกฝน ฝันได้ แต่อย่าเพ้อ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Competency ที่คนไทยอ่อนมากคือ Global Competency เราไม่ได้ดูข่าวต่างประเทศ การทำงานต้องมี Macro สอดคล้องเสมอ องค์กรจะได้รับการกระทบจากภายนอกด้วย

Donald Trump ถ้าไม่มีการพูดโต้ตอบจะเป็นลักษณะดูถูกคน

โลกมีนโยบาย 2 อย่างด้านเศรษฐกิจของประเทศคือ Monetary Policy และ Physical Policy อย่างอเมริกากระตุ้นเศรษฐกิจจะออก Bond ในยุคทักษิณ ใช้นโยบายการคลัง ผลเสียคือกระทบ Real Sector แต่นโยบายการเงิน แต่ก่อนต้องใช้ Gold Standard และต่อมาใช้เงินดอลล่าร์เป็นเงินสำรอง ถ้าดอลล่าร์ลง การเงินของโลกจะปั่นป่วนเพราะทุกประเทศปริ้นเงินสำรองระหว่างประเทศ

อยากให้นำบทเรียนผู้นำในจีนมา Apply กับปัญหาของ EGAT ได้มากที่สุดและอย่าลืมว่านโยบายในอนาคตมีความเสี่ยง และในอนาคตอาจเข้าตลาดหุ้นได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ทำให้ทราบยุคต่าง ๆ ของผู้นำจีน มีทั้งยุคที่เจ็บปวด และยุคที่เปลี่ยนแปลง เปรียบเทียบกับ กฟผ. จะมีเรื่องการเปลี่ยนแปลงด้านปฏิวัติพลังงาน จะมีเรื่องการนำ 3 V มาใช้คือ Value Added , Value Creativity , Value Diversity

ดร.จีระ หยิบนำประวัติศาสตร์ของจีนมาเป็นตัวอย่างในการเอาชนะของ EGAT อยากให้รวมพลังเพื่อเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ เกิดขึ้น คิดว่าบทเรียนอันแรกถูก เราทำเพื่อประโยชน์ของชุมชนหรือไม่

2. การคิดโครงสร้างในการบริหารใหม่ ๆ แต่ละยุค ใช้ Leadership อันไหนให้เหมาะกับตัว Leader ตอนหลังเริ่มมีการปรับพนักงาน และไปใช้มากขึ้น อย่าง EGAT มี Culture ที่ดีพอสมควร

ดร.จีระ บอกว่าของจีนสามารถ Overcome Difficulty ได้ อย่างของ EGAT เรื่องความโปร่งใส เรื่องเทคนิคและการทำงานยังไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงของ EGAT การมีส่วนร่วมของชุมชนอาจละเลยสิ่งเหล่านี้ไป

สิ่งที่สำคัญคืออยากให้อ่านหนังสือให้มากขึ้น Self Learning

ศ.เจริญ แต่ก่อนตื่นเช้ามาอ่าน 4-5 ฉบับ และอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษเพื่อฝึกภาษาอังกฤษของตัวเอง ข่าวแต่ละข่าวสามารถวิจารณ์ได้ว่าเบื้องหลังคืออะไร หนังสือพิมพ์ไทยก็อ่านไทยรัฐ The Nation คมชัดลึก คนจีนมีคำคมว่าคนใดที่เกิดมาแล้วขายวิญญาณตัวเองคนนั้นชั่วช้ามาก อย่าคิดว่าความสว่างอยู่ได้ตลอด เพราะความมืดมาเงาตัวเองยังหายไป

ดร.จีระ เสริมว่าอยากให้ทุกคนในห้องจบจากในห้องมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ อยากให้คนใฝ่รู้มากขึ้น

3. ส่วนที่ศ.เจริญได้นำเสนอมาตอนแรก จะเจอวงจรแบบนี้ด้วยตัวเอง เพียงแต่เหตุการณ์คนละแบบกัน มีหลายจุดที่กระตุ้นให้พวกเราหรือในประเทศไทยและกฟผ.คือ ฟ้าหลังพายุและลืมฟ้าร้อง คล้ายสังคมไทยคือสบายสะจนลืมนึกถึงความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน สิ่งที่คำนึงถึงคือโลกอยู่ในสภาพการเปลี่ยนแปลง ที่มาเร็วและเราต้องยอมรับมากขึ้น

คนอื่นที่มีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงต้องมองถึงประเด็นตรงนั้นชัดเจน ต้องมีมาตรการเปลี่ยนแปลงอย่างเร็วและตลอดเวลาถึงรองรับได้

ดร.จีระ กล่าวว่าที่จีนมีการวางแผนผู้นำล่วงหน้า หวังว่าวันนึง EGAT น่าจะมีผู้นำที่นานหน่อย ทุกคนอาจช่วยสร้างผู้นำรุ่นใหม่ เอาข้อมูลเหล่านี้แบ่งปันกับเด็กอายุ 30-40 ปี อาจให้มียูเนี่ยนมานั่งข้างหลังและสัมผัสด้วย

Inspiration คือการมี Deep Feeling อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับเอา EGAT ไปรอดในวิกฤติในอนาคตหรือไม่

4. ได้เห็น Key Success ของการบริหารประเทศคือการเลือกผู้นำ แต่สิ่งที่ขาดคือไม่รู้เลือกอย่างไรถึงได้ผู้นำที่ดี

ศ.เจริญ รุ่น 2-3 ส่วนใหญ่จะมาจากผู้ว่าการฯ ของเมืองใหญ่ ๆ และมี Committee คอยดู อย่างจวนซื่อไหล ภรรยาทำไม่ถูกไปฆ่าฝรั่ง คนกวางโจวไม่ได้เลือกมาจาก Party List ใช้ Proof Success สรุปคือดูจากผลงานและความจริงจัง อย่างเติ้งเสี่ยวผิง มีการวางแผนการแม่นมาก ถ้ามีคนที่มีธรรมาภิบาลจะได้ทั้งนั้น

ขณะนี้อเมริกา มีวิกฤติของผู้นำ แต่ละคนไม่มี Charisma พอที่โลกจะสรรเสริญ อย่างคลินตันมี และเหมือนเหล้าเก่าในขวดใหม่

เลือกทำสิ่งที่ถนัด ถ้าไม่ถนัดจะเลือกคนอื่นมาทำ และถ้าโชคดีงานถนัดเป็นงานที่ชอบจะสนุก

ดร.จีระ อย่าง EGAT เลือกผู้นำเอง และเลือกวิศวะที่เก่ง แต่ปัญหาคืออยู่ไม่ได้นาน ผู้นำจีนแต่ละคนไม่ได้กระจอก คือ 1.ต้องมีความโปร่งใส ธรรมาภิบาล 2. มีความเป็นมืออาชีพ แต่ของ EGAT อยู่ที่ Engineering Culture มากไป

EGAT น่าจะทำหลักสูตรพลังงานเพื่อสังคม สังคมไทยเล็ก ๆ น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีว่าเราได้อะไร


Panel Discussion & Workshop

หัวข้อ EGAT and Change Management

โดย อาจารย์ประกาย ชลหาญ

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปรายโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์ประกาย ชลหาญ

ไม่มีอะไรถาวร ไม่มีอะไรยั่งยืนทุกอย่างต้องเปลี่ยนแปลง

เพื่อจัดการการเปลี่ยนแปลงที่ดีสำคัญที่สุดคือ

1. เปลี่ยน Paradigm คือการปรับเปลี่ยนที่สมอง ที่แนวคิด (You are what you think)

- Time for a Paradigm Shift?

- ถ้าเราไม่ปรับเปลี่ยนจะถูกทำลาย เช่น You are what you eat

“It’s not the Strongest of the species that survive, not the most

เราต้องตอบสนองการเปลี่ยนแปลง

Managing Changes

“Change before you are forced to change” Jack Welch

คุณต้องเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน

Change Escalation Process

อาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ยกตัวอย่าง ในการสัมมนาผู้บริหารของ Jack Welch พูดว่า บริษัทเราเป็นบริษัท Grade A ดังนั้นสิ่งที่อยากให้ทุกคนทำคือดูแลพนักงานและพัฒนาพนักงานให้เป็นพนักงาน Grade A และถ้าพัฒนาแล้วลูกน้องยังพัฒนาเป็น Grade A ไม่ได้ ให้ลูกน้อง Grade C ไปอยู่ในบริษัท Grade C เพราะเราต้องการพัฒนาลูกน้องเป็น Grade A

อาจารย์ประกาย ชลหาญ

Force Ranking ฟังดูแล้วเหมือนเป็นเรื่องแปลก แต่ลองดูว่าตั้งแต่เด็ก ๆมีการจัด Rankingตลอดเวลา

การบริหารพนักงาน การ Train พนักงานเป็นหน้าที่ของหัวหน้าที่ต้องสอนลูกน้องให้ดีให้ได้ ถ้าสอนลูกน้องให้ดีไม่ได้ หัวหน้าต้องถูกประเมิน

ผู้นำต้องไปสอนพนักงานคนเก่งเรื่องอะไรก็จะมา Share

Jack Welch เขาต้องมาสอนเรื่องบริหารด้วยตัวเอง

การให้เวลากับลูกน้อง คนที่เรารับผิดชอบเป็นเรื่องสำคัญ อย่างเช่น พนักงาน ลูก ต้องให้เวลา ไม่เช่นนั้นจะสายเกินไปเพราะเราไม่ได้ให้ Quality กับสิ่งสำคัญที่สุด เรื่องที่สำคัญที่สุด

กฎ 10 % คือ จะเอาคนที่ 10% ต่ำสุดจะเปิดโอกาสให้พนักงานปรับปรุงตัวเอง แล้วแต่สายงาน ให้หัวหน้าเข้าไปดูในแต่ละสาย ไปทำแผนในการปรับปรุงคนเหล่านั้น ถ้าปรับปรุงไม่ได้ มี 2 ฝ่าย คือ 1. ย้ายแผนก 2. ขอให้ออกเลย ซึ่งในชีวิตจริง คนที่ออกไปอาจไปเจริญในบริษัทอื่นมากกว่าเจริญในบริษัท GE ด้วยซ้ำ

เรื่องระบบการบริหารจัดการของแต่ละบริษัทนั้นไม่เหมือนกัน ต้องดูวัฒนธรรม ดูการบริหารจัดการ

เรื่องการบริหารจัดการไม่มีผิด มีถูกแต่ขึ้นอยู่กับว่าเหมาะหรือไม่เหมาะว่าเราจะไปใช้อะไร

เจตนาเดิม Competency ต้องมี Superior Performance

1. คนที่ประสบความสำเร็จสูงสุดเพราะอะไร

คนที่มี Superior performance คือคนที่มี Competency ที่ดี อย่างประเทศไทยเวลานำมาใช้ชอบเอาของตะวันตกมาใช้ แต่ใช้ไม่หมด และอิงไม่ถูกต้องเป็น Competency Based Human Resource Management โดยเป็นการประเมิน KPI แต่ความจริงที่นำมาประเมินเป็นแค่ความรู้สึก ซึ่งจะเป็นประเด็นที่มีการประเมินแบบต้องการให้ลูกน้องดี ประเทศไทยนำมาใช้ในการประเมินเพื่อให้คะแนน ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ ควรเป็นการประเมินเพื่อพัฒนาคน

สิ่งที่นำมาประเมินในปัจจุบันคือการประเมิน Core Value เพราะเป็นภาพสะท้อนของพฤติกรรมความเป็นจริงแล้วเขียนออกมา ค่านิยมขององค์กรสะท้อนถึงแบรนด์ขององค์กร และก็มีอีกหลายองค์กรเปลี่ยนแล้วไม่ประเมิน Core Competency แล้ว สิ่งที่องค์กรต้องทำคือ เอา Core Competency ไปประเมินเพื่ออะไร เพราะเน้นที่การให้คะแนนพนักงานทุกคนเก่งหมด แต่ผลรวมด้านผลประกอบการไม่ใช่

อาจารย์ประกาย กล่าวถึง Core Value ในภาษาจีนว่าเป็น DNA ขององค์กร อย่าง GE ใน 3 วันแรก ไม่ได้ทำความเข้าใจถึง Value ขององค์กร

Customer Centric ต้องนำลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ถ้าคนในห้องสนใจก็จะพูดต่อ ไม่สนใจก็เบรคเป็นต้น

Core Value ต้องเป็นสิ่งที่คิด สิ่งที่ปฏิบัติอย่างแท้จริง

Force of Change

- Increasing Globalization ทำไมเราถึงต้อง Globalization

- Emergence of new competitors ทำธุรกิจแข่งกับพลังงานทางเลือก จะมี Competitor ใหม่ ๆ เข้ามาแข่งกับเราตลอดเวลา

- Changing Customer Demand ต้องเรียนรู้ที่ Anticipate Demand ของลูกค้า คือการอ่าน การคิด การเดาให้ได้ 2-5 ปี จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

- Shortened product life cycleผลิตภัณฑ์วงจรสั้นลงเรื่อย ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ตัวอย่าง สิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลงของ กฟผ. คือการตื่นตัวของการรักษาสิ่งแวดล้อม วิธีคิดต้องเปลี่ยนไปนอกจากสร้างโรงไฟฟ้าใหม่แล้วต้องมีวิธีอื่นที่ไม่ใช่วิธีเดิม

การเปลี่ยนแปลงจะถูกผลักดันจากภายนอกส่วนหนึ่งเช่นกระแสสังคม ระบบ Environmental Change และจากข้างในเราเอง Force มีเยอะมากไปหมด

ให้ Change before you force to change

ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดคือเรื่อง สึนามิ ไม่ได้เตรียมพร้อม ไม่ได้ Anticipate ความเสียหายจะไม่เท่าของเดิม แล้วผลของการเปลี่ยนแปลงเกิดอะไรขึ้น 1.เปลี่ยนแล้วดีขึ้น 2. เปลี่ยนแล้วแย่ลง

หน้าที่คือเพื่อให้ดี ดีมากกว่าที่ควรเป็นและถ้าเสียให้เสียหายน้อยกว่าที่ควรเป็น เราจะจัดการอย่างไรให้สึนามิเกิดและมีผลดี

อะไรสำคัญที่สุดในการบริหารการเปลี่ยนแปลง

1. เวลาทำงานเราทะเลาะกันแค่ 2 เรื่องคือ

- งานนี้ผมควรมาได้ทำแต่คุณควรแย่งผมทำ

- งานนี้ผมไม่ควรได้ทำแต่คุณมาให้ผมทำ

สรุป สิ่งที่ควรทำคือให้คิดถึงองค์กรมากกว่าแผนกผม แผนกคุณ ต้องทำแบบ Boundaries less

2. ยอมรับความเป็นมืออาชีพของผู้บริหาร หน้าที่คือแก้ปัญหา ไม่ใช่เพิ่มปัญหาให้ผู้บริหาร เพราะผู้บริหารมีปัญหาพอแล้ว ให้เริ่มต้นที่ทางแก้ปัญหา Start ที่ Solution

Some of Key Success Factor

1. ต้องขจัด Source of Complacency คือ ภูมิใจในสิ่งที่สำเร็จแล้วในที่สุดจะล้มเหลว เป็นเหยื่อของความสำเร็จตัวเอง เพราะเย่อหยิ่ง ไม่เรียนรู้ ไม่ปรับปรุง

2. ต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกคนที่เกี่ยวข้อง

3. Commitment เห็นแนวทางเดียวกัน ไปด้วยกัน ล้มด้วยกัน ก้าวหน้าด้วยกัน

4. Quick win

5. การทำ Road map

6. เปลี่ยนโครงสร้างระบบเพื่อความยั่งยืน

Change Management Skills

1. การปรับตัว (Adaptabilities)

2. Strategic Focus

3. Results

4. เรียนรู้

GE Change Model : Change Acceleration Process

1. ก่อนการเปลี่ยนแปลง

2. หลังการเปลี่ยนแปลง

ช่วงที่สำคัญคือ Transition คือก่อนการเปลี่ยนแปลงถึงหลังเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับเรื่องที่นึกถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลง ตรงนี้สำคัญที่สุด

อะไรที่ดีให้ดีขึ้น อะไรที่แย่ให้แย่กว่าเดิมน้อยหน่อย

1. ต้องมีเจ้าภาพ - แต่ละเรื่องมีคนนำการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ คนนำการเปลี่ยนแปลงคือใคร

2. ต้องสร้างให้เกิดความต้องการร่วมกันให้ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมาก ผู้บริหารที่ดีต้องทำสิ่งนั้นให้ได้ สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน

3. ให้ทุกคนทำงานร่วมกัน

4. ให้มี Commitment

5. Monitoring Progress หน้าที่บริหารอย่าปล่อยอะไรให้เกิดขึ้นตามบุญตามกรรม ต้อง Manageตลอดเวลา

6. Make Change Last ทำให้ยั่งยืน ถาวร นาน ๆ สิ่งที่ทำก็คือ Change System & Structure

สรุป ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงไม่เกิดปัญหา และต้องจัดการได้ อย่างไรการเปลี่ยนแปลงไม่จำเป็นต้องดีขึ้นทั้งหมด ทุกการเปลี่ยนแปลง ให้เขาเห็นว่าเขาจะได้อะไร

Are we ready to change ?

ถ้าเปลี่ยนคนอื่นไม่ได้ให้เปลี่ยนตัวเอง

การทำงานให้ประสบความสำเร็จ

1. Energy - ต้องมีพลังในตัว

2. Energize- สามารถสร้างพลังให้คนอื่นให้ได้

3. Edge – ต้องมีความเก่งหรือความได้เปรียบมากกว่าคนอื่น

4. Execution - ต้องทำให้เกิดประโยชน์กับคนอื่น

5. Ethics ต้องมีจริยธรรม ต้องยุติธรรม ต้องมีเหตุผลเพียงพอ

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

สิ่งที่องค์กรต้องสร้างคือวิสัยทัศน์ชัดหรือไม่

วัฒนธรรมองค์กรกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง

ค่านิยมของ กฟผ.

Fairness – ความเป็นธรรม

Integrity – ความซื่อสัตย์สุจริต

Responsibility- ความรับผิดชอบ

Mutual Respect – การให้เกียรติ

Continuous Improvement and Teamwork – การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และทำงานเป็นทีม

กระบวนการเปลี่ยน Mindset

1. ผู้นำยุคใหม่ที่นำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงคือ Collaborative Leadership คือสร้างความร่วมมือและร่วมใจในองค์กร

2. ต้องสร้าง Environment of Trust

3. ทำอย่างไรให้คนเดินไปพร้อมกันเพราะเราเป็นหนึ่งเดียว

ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับ

Contribute fully and openly to achieving collective goals

1. Environment of trust

2. Mutual respect

3. Shared aspiration

Through high quality conversation

4. Focus on relationships

5. Results Delivery

การสร้างสัมพันธภาพกับผู้นำทุกระดับ

การโค้ชคือบทสนทนา ผู้นำที่ดีต้องใช้กระบวนการพูดคุย การสนทนา การสร้างความเข้าใจ

องค์กรในไทยนอกจากระบบอาวุโสแรง อีกเรื่องคือความเกรงใจสูง เพราะความเกรงใจทำให้ไม่พูดความจริง รักษาหน้า หลีกเลี่ยงการขัดแย้ง เป็นลักษณะ Thai Philosophy ทำให้กระบวนการเรียนรู้น้อยมากเพราะเราไม่พูดคุยกัน แต่กระบวนการ Coach จะใช้กระบวนการที่ Dynamic Conversation สิ่งที่ผู้นำจะแทรกไปคือ Learning เขาจะ Happy จากความมั่นคง แต่ที่พนักงานไม่ Happy คือ Leadership คือหัวหน้างานที่ Bias อคติ และไม่เป็นธรรม เพราะการเปลี่ยนแปลงยาก

กระบวนการสิ่งที่ต้องเปลี่ยนมาก ๆ คือเรื่อง ทัศนคติ สิ่งที่ต้องเปลี่ยนมากคือหัวหน้าต้องเปลี่ยน หัวหน้าจะรู้ว่าเราเป็นคน Type ไหน

เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาผู้นำ

ตัวอย่างค่านิยม Jack Welch เช่น Simplicity and Speed

ค่านิยมต้องเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยน Mindset

ค่านิยมต้องนำสู่ปฏิบัติ

ตัวอย่าง

Speed and Accuracy – ริเริ่มทำก่อนคนอื่นและมีคุณภาพ

คืออะไร ทำไมค่านิยมมีความสำคัญต่อองค์กร พฤติกรรมเชิงบวก พฤติกรรมเชิงลบ ความขัดแย้ง

Workshop ให้แต่ละกลุ่มเขียนการนำค่านิยมสู่การปฏิบัติ

ตัวอย่าง

1. ค่านิยม (Value) – รวดเร็วและแม่นยำ

2. คืออะไร (What is it?) – ริเริ่ม ทำก่อนคนอื่น และทำอย่างมีคุณภาพ

3. ทำไมจึงมีความสำคัญต่อองค์กร (Why is it important to your organization) - ธุรกิจเปลี่ยนเร็ว และความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและหลากหลาย ดังนั้นเพื่อ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เราต้องทำงานให้เร็วขึ้น เรียนรู้ปัญหาและแก้ไขอย่างรวดเร็ว เพื่อโอกาสของความสำเร็จ

4. พฤติกรรมเชิงบวก (Positive Behavior) – กล้าตัดสินใจ ใส่ใจคุณภาพให้มีมาตรฐาน เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา กล้าคิด คาดการณ์แนวโน้มในอนาคต

5. พฤติกรรมเชิงลบ (Negative Behavior) – ตัดสินใจช้า / ไม่ตัดสินใจ กลัวความผิดพลาด มีข้ออ้าง ไม่เริ่มทำ ไม่มองภาพรวม

6. ความขัดแย้ง (ที่ลงตัว) (Paradox) – ทำงานเร็วและมีคุณภาพ ทำได้ยาก หากตั้งใจและทำเต็มความสามารถจะประสบความสำเร็จได้มากกว่า

ให้แต่ละกลุ่มคัดเลือกค่านิยมของ กฟผ. กลุ่มละ 1 ข้อ เขียนค่านิยมสู่การปฏิบัติ

Fairness – ความเป็นธรรม

Integrity – ความซื่อสัตย์สุจริต

Responsibility- ความรับผิดชอบ

Mutual Respect – การให้เกียรติ

Continuous Improvement and Teamwork – การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และทำงานเป็นทีม

กลุ่มที่ 4 ค่านิยม Mutual Respect

1. ค่านิยม (Value) – Mutual Respect

2. คืออะไร (What is it?) – ต้องมีความเข้าใจผู้อื่น ให้เกียรติผู้อื่น ให้การเคารพซึ่งกันและกัน

3. ทำไมจึงมีความสำคัญต่อองค์กร (Why is it important to your organization) – เป็นองค์กรเกี่ยวกับคน ดังนั้นการทำให้งานสามารถสืบทอดภารกิจต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีคนหลากหลายอาชีพ ในขณะเดียวกันคือมีหลาย Generation ดังนั้น Gen Y ต้องสืบทอดภารกิจได้ต้องคุยกันรู้เรื่อง รักองค์การ มุ่งการเลิศ เทิดคุณธรรม ดังนั้นสามารถบริหารความหลากหลายของอาชีพทำให้สืบทอดได้ต่อเนื่อง

4. พฤติกรรมเชิงบวก (Positive Behavior) – มีการรับฟังความคิดเห็นหรือ Open mind เป็นการรับฟังความคิดเห็นคนต่าง Generation การกล้าที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลง และการ Share need เป็นส่วนที่สำคัญ

5. พฤติกรรมเชิงลบ (Negative Behavior) – ปิดกั้นความคิดเห็นของผู้อื่น การติดในกับดักความสำเร็จ อาจเป็น Ego ของกฟผ. การดูถูกความคิดเห็นผู้อื่น

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ กล่าวว่า...เราต้องดูที่ตัว Structure ว่าต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่ มีกระบวนการที่ชัดเจนหรือไม่ ถ้าเปลี่ยนตรงนี้ ตรงนี้ควรจะปรับ อย่างเช่น เรากำลังปลูกฝังและให้เกียรติคนของกฟผ.

กลุ่มที่ 2 Continuous Improvement

1. ค่านิยม (Value) – Continuous Improvement

2. คืออะไร (What is it?) – เป็นการปรับปรุงการทำงานและมุ่งมั่นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

3. ทำไมจึงมีความสำคัญต่อองค์กร (Why is it important to your organization) – ถ้าองค์กรไม่มีการพัฒนาจะล้าหลัง ดังนั้นเราจึงต้องการความยั่งยืน และสร้างประสิทธิภาพในการแข่งขัน

4. พฤติกรรมเชิงบวก (Positive Behavior) – คนต้องใฝ่รู้ เรียนรู้ตลอดเวลา อย่าหยุดนิ่ง และเมื่อรู้แล้วก็นำมาแบ่งปันในองค์กร มองหาโอกาสใหม่ ๆ คิดสร้างสรรค์ อย่าหยุดแต่องค์กรเดิม ไม่ปิดกั้นตนเองจากความรู้ใหม่ที่เข้ามา

อาจารย์ศิริลักษณ์กล่าวว่า...คนที่ทำให้ลูกน้องหวาดกลัว มีพฤติกรรมแปลก ๆ ก็คือหัวหน้า บางทีคนติดกับดักอะไรบ้างเช่น Success Failure ความเชื่อ

กลุ่ม 5 ค่านิยม Fairness

1. ค่านิยม (Value) – Fairness

2. คืออะไร (What is it?) – ให้ความเป็นธรรม เท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่สองมาตรฐาน

3. ทำไมจึงมีความสำคัญต่อองค์กร (Why is it important to your organization) – ทำให้คนรู้สึกความเท่าเทียมกันทั้งในและนอกองค์กร แสดงถึงความเป็นหน่วยงานธรรมาภิบาล

4. พฤติกรรมเชิงบวก (Positive Behavior) – การให้บริการตามลำดับก่อนหลัง ปฏิบัติเหมือนกันทุกครั้ง มีวิธีการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน หน่วยงานภายนอกมีความรู้สึกว่าไม่เอาเปรียบ มีความโปร่งใสและไม่ปกปิดข้อมูล

5. พฤติกรรมเชิงลบ (Negative Behavior) – มีการมองว่าเล่นพรรค เล่นพวก ลำเอียงเกิดขึ้นหรือไม่ มีความยุ่งยากต่าง ๆ ตามมา

6. ความขัดแย้ง (ที่ลงตัว) (Paradox) – ขั้นตอนและรายละเอียดมีการส่งผลให้การใช้เวลาบางกระบวนการมากขึ้น ทำให้ทุกอย่างสามารถจัดการได้ด้วยตัวเอง ความเป็นธรรม คนที่ได้ประโยชน์คือเป็นธรรม ไม่ได้ประโยชน์คือไม่เป็นธรรม แต่ต้องอธิบายได้คือ Fairness

กลุ่มที่ 6 Teamwork

1. ค่านิยม (Value) – Teamwork

2. คืออะไร (What is it?) – การทำงานร่วมกัน มุ่งเน้นผลประโยชน์ร่วมกัน (เป้าหมายเดียวกัน)

3. ทำไมจึงมีความสำคัญต่อองค์กร (Why is it important to your organization) – เป็นตัวขับเคลื่อน เป็นแรงผลักดันทำให้มีพลังมากขึ้น ความรู้ความสามารถหลากหลาย

4. พฤติกรรมเชิงบวก (Positive Behavior) – มีการรับฟัง (Listening) การตั้งคำถามร่วมกัน (Questioning ,Dare to speak) การเชิญชวน (Persuading) การเคารพซึ่งกันและกัน (Respecting) การช่วยเหลือ (Helping) การแบ่งปัน (Sharing) และการมีส่วนร่วม (Participating)

5. พฤติกรรมเชิงลบ (Negative Behavior) – การแบ่งตามระดับอาวุโส (Seniority) ความเกรงใจ ความมั่นใจในตัวเองสูง การไม่รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น Dictator

กลุ่มที่ 3 Responsibility

1. ค่านิยม (Value) – Responsibility

2. คืออะไร (What is it?) – จะมี Accountability คือมีความสำนึกในหน้าที่และรับผิดชอบ

3. ทำไมจึงมีความสำคัญต่อองค์กร (Why is it important to your organization) –การบรรลุภารกิจของกฟผ. ผลิตและส่งไฟฟ้า จะต้องรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย

4. พฤติกรรมเชิงบวก (Positive Behavior) – ต้องเป็น High efficiency Technology ที่จะส่งผลให้เกิดน้อยที่สุดอย่าง Clean coal technology ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ EHIA CSR เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมมากที่สุด

5. พฤติกรรมเชิงลบ (Negative Behavior) – การโยนงาน “ไม่ใช่ของฉัน” ระบบ Silo การสื่อสารกับชุมชนใช้ภาษาเข้าใจยาก ไม่สามารถสร้าง CSR ได้อย่างแม่นยำ พฤติกรรมในอดีตจะเป็นสีเทาไม่สามารถเข้าชุมชนได้อย่างแนบเนียน

กลุ่มที่ 2 ค่านิยม Integrity

1. ค่านิยม (Value) – Integrity

2. คืออะไร (What is it?) – การยึดมั่นในคุณธรรม คือทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทำอย่างซื่อสัตย์สุจริต

3. ทำไมจึงมีความสำคัญต่อองค์กร (Why is it important to your organization) –ทำให้ องค์กรโปร่งใส มีธรรมาภิบาล มีภาพลักษณ์ที่ดี ทำให้องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์ การปฏิบัติตามค่านิยมจะช่วยส่งเสริมให้องค์กรบรรลุเป้าหมายตามแผนงานได้

4. พฤติกรรมเชิงบวก (Positive Behavior) – ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา เปิดเผย ตรวจสอบได้

5. พฤติกรรมเชิงลบ (Negative Behavior) – ทุจริต ไม่รับผิดชอบ ไม่มีระเบียบวินัย ไม่ตรงต่อเวลา ปิดบัง ซ่อนเร้น

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ กล่าวเสริมเรื่องการสร้างค่านิยม วัฒนธรรมที่เข้าใจง่าย

การบรรยายพิเศษ

หัวข้อ ประสบการณ์ของผู้นำ กฟผ.ในการแสวงหาโอกาส-บริหารวิกฤติ/ความเสี่ยงและการตัดสินใจ

โดยคุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ยังจำได้ที่ท่านสุทัศน์เขียนถึง ดร.จีระ ทำให้งานมีคุณค่ามากขึ้น ได้ไปที่ออสเตรเลีย คุณสุทัศน์ได้ไปพูดที่รัฐบาลกลาง

เรื่องคนถ้าทำจริง ทำให้เกิดประโยชน์คนจะเรียนรู้กันเอง

ความเป็นผู้นำของสุทัศน์ เป็นคนมองกว้าง อย่างในวันนี้เป็นภาพของ Macro ภาพใหญ่ Global Leadership

คุณพิชญ์ภูรี

ผู้นำมีการบริหารด้วยภาวะปกติและวิกฤติ อย่างคุณสุทัศน์ มีการบริหารในช่วงวิกฤติ ได้มีแนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยง และโอกาสของ กฟผ.อย่างไร

คุณสุทัศน์

1. การไปออสเตรเลียได้ไปพบรัฐบาลกลาง ผู้ลงทุน รัฐบาลท้องถิ่น เกิดกระบวนการในการเรียนรู้

2. แต่ก่อนอาจเป็นด้านการบริหารงานอย่างลึกซึ้งแต่ต่อไปต้องมองให้กว้างขวาง สร้างวิสัยทัศน์ของการเรียนรู้ มีมุมมองที่กว้าง ฝากไว้ว่าการนั่งตำแหน่งอะไรให้ใส่หมวกให้มากกว่า 1 เบอร์ ให้มองถึงการบริหาร

การบริหารในช่วงวิกฤติ มีการประท้วง สร้างกรรมการ

กรณีที่ 1กรณีที่เขื่อนศรีนครินทร์ มีการลุกล้ำการสร้าง

กรณีที่ 2 คือเรื่องน้ำท่วมปี 2554 ได้ผ่านวิกฤติมาเยอะ

กรณีที่ 3 คือ Case หนีไฟจากภาคใต้

กรณีน้ำท่วม มีขอกลับก่อน บ้านเข้าไม่ได้ อยู่ Condo มีการประชุมแบ่งงานรับผิดชอบ มีการมอบหมายให้ท่านรองธนารับผิดชอบ มีการทำ Research ที่บางโรงอาจถูกน้ำท่วมทำให้เสียหาย ที่โรงไฟฟ้าวังน้อยก็น่ากลัว ให้คนที่มีอยู่หาทางที่จะ Maintain โครงสร้างเพื่อเอาอยู่ ไม่ให้เสียหาย

จำเป็นต้องเหนื่อย เพื่อไม่ให้โรงไฟฟ้าเสียหาย เราต้องช่วยเหลือเพื่อนบ้านและสังคม บทบาทที่ช่วยเหลือเยียวยาสังคมเป็นบทบาทที่สำคัญมาก เป็นองค์การที่ต้องร่วมกับอาชีวะในการเผยแพร่

ด้านการรักษาบ้านเมืองมีการดูแลที่ต่าง ๆ ลักษณะการป้องกันที่นี่ยากมาก เราสร้างความพร้อม และให้เตรียมการรับมือในโรงไฟฟ้าบางปะกงได้ด้วย

อีกเรื่องคือเรื่องการสื่อสาร

มีการทำความเข้าใจในสถานการณ์ต่าง ๆ มีการสังเคราะห์ข้อมูลทางการศึกษา

การสื่อสารในช่วงวิกฤติ

ประเทศไทยมีข้อเสียเรื่องการพยากรณ์ที่เป็นของตัวเองในภูมิภาคทำให้การพยากรณ์ไม่แม่นเท่าที่ควร ดังนั้นการบริหารมีความเสี่ยง บางครั้งการไม่เปิดประตู และระบายน้ำตามระยะเวลาอาจเกิดปัญหาได้

ข้อมูลที่ส่งถึงประชาชนต้องระมัดระวัง

ในช่วงวิกฤติที่ผ่านมาจะพบว่า กฟผ.ผ่านมาได้อย่างดี ไม่มีความเสียหายเลย

ต้องมีกระบวนการในการประเมินความเสี่ยงที่ต้องทำทุกวัน

มีเรื่องการพยากรณ์น้ำ การบริหารน้ำ การจ่ายไฟ การรักษาบ้าน ฯลฯ

เรื่องของการเผชิญวิกฤติ

เราควรทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดวิกฤติ ถ้าเราทำได้ดีเราจะสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาได้ทุกเรื่อง เช่นเรื่องเขื่อนศรีนครินทร์ ต้องมีการบริหารความเสี่ยงตลอดเวลา ต้องวิเคราะห์ว่าความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง ต้องมี Action Plan ต้องมีการใช้ CSR in process ถ้าเรามีเหมือนกระบวนการ Business Stakeholder มาใส่ในกระบวนการของกฟผ.แล้ว ดังนั้นในความคิดเห็นของคุณสุทัศน์ ทุกคนมีสิทธิ์เผชิญกับปัญหาวิกฤติ ต้องเรียนรู้วิธีการบริหารความเสี่ยง เมื่อเกิดขึ้นจะทำอย่างไร จะสื่อสารอย่างไร ภาพลักษณ์เป็นอย่างไร และจะจัดการอย่างไร

การติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงคลื่นใต้น้ำ

สรุปคือให้บริหารความเสี่ยง แล้วเอากระบวนการ CSR in process เข้าไปจับ ดูทิศทางน้ำไปทางไหน มีกระบวนการแจ้งชาวบ้านให้รับรู้

สิ่งที่ กฟผ.ทำ

1.การขาดคน ขาด Generation

2. การขาดแผนเตรียมการผู้นำ ต้องมีกระบวนการรับ กระบวนการ Train มากขึ้น ปัจจุบัน กฟผ. เริ่มเห็นความสำคัญ

3. ต้องแสวงหาการเรียนรู้

4. ต้องมองในมุมที่กว้างขึ้น ยิ่งโตขึ้นเท่าไหร่เราต้องรู้จะทำอย่างไร

5. การแสวงหาโอกาส
การประชุมที่แม่เมาะครั้งแรก ให้แม่เมาะศึกษาเปรียบเทียบว่าถ้าจะทำโรงไฟฟ้าทดแทนจะเป็นอย่างไรได้บ้าง จนได้ศึกษา 5-6 แห่งใช้ศาสตร์ที่มีอยู่ทำการสอนต่อเช่นการลดคาร์บอนเครดิต

ถ่านที่แม่เมาะ ยิ่งขุดลึกไปจะมีหินปูนมาก มีคาร์บอนไดออกไซด์มาก

มีการแก้ปรับปรุงแนวคิดการทำแม่เมาะใหม่ มีการให้ NGOs ช่วยทำการศึกษาใน Concept..ใหม่

เราต้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันรับผิดชอบ ใส่บุคลากรที่มี Concept ที่ดี

การมีบริษัทในเครือ หรือขยายธุรกิจออกไปต่าง ๆ เป็นโอกาสที่ดี เช่น ตัวอย่างที่โรงไฟฟ้าหงสา เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจมาก 1. กฟผ. มีรายได้เพิ่ม 2. ได้เรียนรู้ ยุคลากรเกิดคามชำนาญ หลายคนอาจจะรู้สึกว่าลำบากในการต้องไปอยู่ที่ไกล ๆ หรือตปท. แต่อยากให้ทุกคนมองประโยชน์ขององค์กร

เราต้องระวังในการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับเครือข่ายของเรา และองค์กรอื่น ๆ เพราะมีความสำคัญ เราต้องเข้าสังคมมากขึ้น

ตัวอย่างวิธีการเอาชนะใจคน กฟผ.ช่วยคนในเรื่องน้ำท่วม ทำให้เขารู้สึกว่าการมีกฟผ. ช่วยให้เขาทำงานให้สำเร็จ เป็นรายต้น ๆ ในการแก้ไขปัญหาชาวบ้าน ได้คะแนนจากชาวบ้านมาก คนของเราเอาข้าวกล่องไปแจก ไปสัมผัสกับเขาได้ใจ

สิ่งที่ได้ในเรื่องความเกรงใจ ฝากไว้เรื่องการแสวงหาโอกาส ต้องมีการเตรียมตัวและเตรียมความพร้อมตลอดเวลา

สรุปคือผู้บริหารยิ่งโต ต้องเลือกหาให้ได้ว่าจะทำอะไร ต้องมีแผนสำรองสำหรับกรณีอื่น ๆ ด้วย ให้มองจากกระทรวงฯ ชาวบ้าน มองจาก Outside in ส่วนเรื่องโอกาส อะไรทำแล้วเป็นโอกาสขององค์กรระยะยาว

ให้เรียนรู้ เติบโต

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

อยากให้ใส่เรื่องการศึกษาดูงานในต่างประเทศ ไปด้วย เป็นกรณีศึกษาในการ Pass ชั้น เลือกในสิ่งที่จำเป็นต้องเลือก เลือกในสิ่งที่ถูกต้อง จะเลือกอย่างไรถึงถูกต้อง

1. ต้องนอนเยอะ พักผ่อนให้มาก

2. ต้องใช้ปัญญา

ใช้ทักษะประสบการณ์ที่ทุกท่านเรียนรู้อยู่แล้ว

3. ใช้ศิลปะการบริหารจัดการทั้งจากภายในและภายนอก ใช้คำว่าพอดี

4. โอกาสในการจัดการกับภาวะวิกฤติ ใช้องค์ความรู้กว้างขวาง และองค์ความรู้ที่ทันสมัย

5. ต้องมี Mindset และทัศนคติที่ดี เอาความรู้มาปรับเป็นมุมมองที่กว้าง

การประเมินความเสี่ยง ต้องมีการทำทุกวันเช่นกรณีศึกษาน้ำท่วม ต้องมีการประเมินว่าโรงไฟฟ้าไหนต้องปิด โดยก่อนอื่นต้องมีการประเมินข้อมูล ไฟฟ้าสำรองมีใข้หรือไม่ สายส่ง มีหรือไม่ ข้อมูลภายในภายนอก

6. เลือกใช้สิ่งที่จำเป็น

7. มี Action Plan

8. การทำนายอนาคต ต้องมีข้อมูลที่แม่นยำ

9. ใช้พันธมิตรในการศึกษา

10. เน้นเรื่องการสื่อสารในภาวะวิกฤติ

- เลือกข้อมูลที่จะส่งลงไป

- ส่งให้ใคร

- เลือกวิธีการ

- เลือกช่องทางที่จะใช้ เพราะเวลาสำคัญมาก

11. การหลีกเลี่ยงวิกฤติ

- บริหารความเสี่ยงตลอดเวลา

- บริหารข้อมูลตลอดเวลา

- ใส่ CSR เข้าไป

12. การหาโอกาส การหาอะไรใหม่ ๆ การลงทุนในบริษัทในเครือคือการทำอะไรที่ล้อมเข้ามา

การติดตาม คือการวิเคราะห์หาข้อมูล และการต่อเนื่องคือการตอกย้ำ ผนึกให้แน่นและยั่งยืน นำมาสู่องค์ความรู้และปัญญา

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ในวันนี้ตรงประเด็น คนที่ผ่านกฟผ. จะทำอะไรที่มีประโยชน์และมีกรณีที่น่าสนใจสม่ำเสมอ ต้องมีการ Explore และ Networking อย่างงานสังคม กฟผ.ทำแล้ว แต่ระดับล่าง ยังมี Social Skill ที่ยังอ่อน

โดยสรุป การที่ได้ผ่านความต่อเนื่อง ได้ผ่านการฉกฉวยโอกาสต่าง ๆ เหล่านั้น มีเรื่องการทำ Research เน้นเฉพาะเรื่องที่สำคัญ

วันแรกสำหรับ 3 วันที่ผ่านมาได้ให้ทำโจทย์ว่า 1. ได้อะไรกับตัวเอง ค้นหาตัวเอง และ 2. การสร้าง Networking และ 3. จะทำอะไรให้กับ กฟผ. 4. ทำอะไรให้กฟผ.มี Contributionในระดับประเทศ ในระดับชาติ

อยากให้เอาธรรมาภิบาล ความโปร่งใส จริยธรรม และ Social Trust การยอมรับในสังคม

คนที่จะขึ้นไปเป็นผู้ว่าฯ ต้อง Beyond Engineering มีการเมือง การเงิน ระหว่างประเทศ และ Human Touch

ในการประชุมวันนี้รู้สึกมีความภูมิใจและหวังว่าลูกศิษย์ในรุ่นนี้ ได้มีการปะทะคนเก่งทุกวัน อะไรที่มีประสบการณ์จะคืนมาให้กับพวกเรา

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ท่านผู้ว่าฯ กล่าวเรื่องการบริหารความเสี่ยง จะมีวิธีการเช็คหรือตรวจสอบว่าครอบคลุมแล้ว

ตอบ ที่เราใช้ใน กฟผ.ค่อนข้างครอบคลุมพอสมควร อยากให้ดูในวิกฤติการณ์ที่วางไว้ ไม่ว่าจะเป็น Operation Asset คน ในเรื่องระบบของกฟผ.ใช้ได้ไม่น่าห่วง แต่อยู่ที่เรามี Perspective ในการมองชัดหรือไม่ ที่ห่วงคือการอยู่กับงานแต่ไม่ได้ทำการบริหารความเสี่ยงของเราเลย สิ่งนี้จะน่าเป็นห่วงมากกว่า ถ้าเราวิเคราะห์ได้ จะทำแผนรองรับได้ หรือทำแผนรองรับความเสี่ยงได้ เรื่อง How to ไม่ใช่เรื่องยาก ต้องมีการวางแผนให้พร้อม ตัวอย่างเช่นญี่ปุ่นมีปัญหาเรื่องสึนามิ แล้วเกิดปัญหาน้ำท่วม กระแสไฟฟ้าไม่พอ มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 40% สภาพโตเกียวที่อยู่อาศัย ทุกที่ที่อยู่อาศัยต้องเวียนกันดับ 2 ชั่วโมงทุกวัน แล้วแต่ละวันจะเผชิญทั่วไหน จะเผชิญไปช่วย และได้มีการติดต่อหา Distributor ไปช่วย อย่างมิตซูบิชิ ได้ติดต่อโรงไฟฟ้าที่หนองจอก มีการติดต่อระเบียบของข้าราชการ มีวิธีการขออนุมัติบอร์ดเพื่อขอความเห็นชอบ มีโรงไฟฟ้าจากประเทศไทยจากกฟผ.ไปช่วยคนที่โตเกียวได้ 2 จุด ใช้อำนาจ ครม. ในการช่วยเหลือ งานนี้ช่วยสร้างความรู้สึกซาบซึ้งและประทับใจจากเด็กจากโตเกียวแก๊ซอย่างดี เป็นการทำภาพคนไทยและประเทศไทยว่าเป็นประเทศที่น่ารัก

2. คิดว่ามีความเสี่ยงด้านบุคลากรในกฟผ.หรือไม่

ตอบ ในช่วงเวลาที่เข้า Class ได้วิเคราะห์ความเห็นของ HR เห็นถึง 2 ปัญหา และเมื่อขึ้นมาเรื่อย ๆ พบว่ากฟผ.ต้องการคนอย่างไร และในช่วงนั้น มีคนที่ต้องการหรือไม่ มีการให้อัตราจ้างใหม่ 20% เป็นปัญหาที่จำนวน ซึ่งพบว่าสมัยนั้นท่านผู้ว่าฯไกรสีห์ยอม กฟผ.เป็นลักษณะปลาวาฬ เราใช้ Strategy เดิมในการบริหารคน แต่ข้อดีคือมีโรงเรียนที่ใหญ่ คนไม่ต้องเก่งมากแต่ถ้าขยันเรียนก็จะได้

ทำเรื่องการสร้างคนรุ่นใหม่ และการคัดคน ใช้ CSR in process ใส่เข้าไป ทำอย่างไรได้คนเก่งมาอยู่กับกฟผ. สมัยก่อนใช้ข้อเขียน 50% เวลาสัมภาษณ์ ไม่สามารถสัมภาษณ์ได้หมด มีการปรับกระบวนการใหม่ ไปหาเด็กเก่งจากมหาวิทยาลัย ส่งเสริมให้ได้เรียนต่อ ให้โอกาสเข้า สร้าง Generation ใหม่ และคนรุ่นใหม่

เรื่องที่สองคือเรื่องผู้นำในยุคที่ทำอยู่ทำได้แค่ Top level คนแบบนี้ไม่ได้รับการคัดเลือกได้อย่างไร มีการเข้าโครงการฯ มีเส้นทางลัด มีโอกาสได้ทำ Scan และทำ Assessment มีการพิจารณาเรื่องแต่งตั้งและโยกย้าย มีการโยกฝ่ายจากอีกฝ่ายไปอีกฝ่าย บางครั้งระบบของ กฟผ. ไม่ค่อยสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนกลาง ทำอย่างไรเด็กเข้ามา ต้องมีเส้นทางเร็วให้เขา ถ้าพบคนที่เก่งที่ใช่ จะมีเส้นทางให้เขาหรือไม่ ต้องมีการลงทุน ทำเรื่องขออนุมัติ สร้างมุมมองที่กว้างขึ้น อยากให้ดูถึงกระบวนการเติบโต และกระบวนการคัดเลือกสู่ตำแหน่งผู้บริหาร ต้องมีกระบวนการทางลัดให้ได้ ต้องทำระบบให้มีการยอมรับด้วย ถ้าเจอคนที่ใช้ต้องวางเส้นทางให้เขา ต้องไม่มีว่าใครสายใคร

การสร้างคนที่เป็น Talent ของกลุ่มบางทีโตในสายตนเองไม่ได้เนื่องจากเป็นอาวุโส ดังนั้นต้องให้เขาไปอีกสายหนึ่ง ต้องให้เขาปรับตัวให้ได้

กระบวนการในช่วงต้น ๆ กลาง ๆ จะไม่มี

ทางฝ่าย HR ได้กล่าวถึงการวางแนวทางตามที่ท่านผู้ว่าฯ วางไว้ตั้งแต่รับเข้าทำงาน



สรุปประชุมผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ : ทัศนคติและกรอบความคิดของนักบริหารในบริบทการเปลี่ยนแปลง

วันที่ 15 มีนาคม 2559

การบรรยายพิเศษ

หัวข้อ Attitude-Mindset of EGAT Leaders

โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิชา มหาคุณ

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

Mindset คือกรอบความคิด เมื่อเราเติบโตมาประเด็นที่สำคัญที่สุดต้องตั้งสติถามตัวเองตลอดเวลาว่าคุณเป็นใคร มีฐานะที่อยู่ในโลกนี้อย่างไร

เราต้องใช้ความแปลกเพื่อ Extend ตัวเรา อย่างเช่นคุณหญิงทิพาวดี เป็นผู้หญิง เอาความเป็นคน ความฉลาด สมอง เอาตัวตนของความเป็นคนออกมา ทำให้คนทำงานลืมว่าคุณหญิงทิพาวดี เป็นผู้หญิง ทุกคนจะยอมรับในฐานะที่ท่านเป็นคน ๆ หนึ่ง สิ่งนี้เป็นกลยุทธ์ในการสู้จนสำเร็จ

Mindset

1. การรับราชการ วิถีชีวิตทำให้รับราชการ ก.พ. การทำอะไรต่าง ๆ จะไม่ตกหลุมเป็นคนโกง จนก็จน แต่จะไม่โกง

2. การเป็นราชการต้องทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมต่อไป

การเป็นพนักงานของรัฐจะอยู่ใน Unit ของเราเป็นองค์กรใหญ่ แต่จะห่อหุ้มองค์กรของเราคือสังคมโดยรวม เราจะทะลุจากกองต่าง ๆ ออกไปก็ต้องมีการปะทะขึ้นไป ผ่านเส้นทางต่าง ๆ หมดแล้ว แต่อย่างไรก็ตามจะไม่ลืมสังคมโดยรวมเพราะสังคมคือสิ่งที่โอบอุ้มเราอยู่

ข่าวประจำวันต้องรู้ และต้องไม่สนใจ Gossip ฟังผ่าน แต่เราจะฟังเรื่องอื่นที่เป็นสาระ แล้วสมองจะชินในการฝึกที่จะรับสิ่งที่เป็นประโยชน์

- เริ่มต้นแต่ระวังโดยการรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ ว่าเกิดอะไรขึ้น รู้บริบทของโลก สิ่งที่ตามมาคือการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีต่าง ๆ

- การทำอะไรก็ตามต้องมีแผนตลอด จะจำได้ว่าแต่ละจุดมีรถคันไหน และเข้าใจธรรมชาติ เช่น คนบางคนไม่เคยแก้ปัญหา ขับรถแบบเดิมตลอด แต่เราต้องเรียนรู้ในการผ่านจุดต่าง ๆ เช่น ขอเป็นสุดท้ายของไฟเขียว ไม่ใช่คันหน้าของไฟแดง ดังนั้นแผนต้องมีตลอดเวลา เวลาเกิดปัญหาขึ้นจะรู้ว่าแก้อย่างไร ให้แก้อย่างเป็นระบบ และไม่ซี้ซั้ว ให้พึงระลึกว่าเราไม่ธรรมดา ดังนั้นการแก้ปัญหาต้องไม่ธรรมดา ให้มีการทำแผนระยะสั้น กลาง ยาว และมีแผนซ้อนแผน ดังนั้นนักบริหารที่ประสบความสำเร็จต้องเก่งในการวางแผน แม้แต่ความสำเร็จก็ต้องวางแผนตลอด

ในฐานะผู้บริหารไม่ว่างานขนาดไหน งานเรา เราต้องทำเองได้หมด ไม่ใช่ให้คนอื่นทำแทนเรา ให้ลูกน้องช่วยเราทำ และเราต้องร่วมมือกับเขา

3. Mindset ไม่ยอมแพ้ ต้องทำเพื่อส่วนรวม ต้องเรียนรู้วิธีการต่อรอง

4. เรียนรู้ที่จะพัฒนาลูกน้อง

สรุปคือสิ่งเล็กจะนำไปสู่สิ่งใหญ่ ต้องเรียนรู้ในการบริหาร Detail ก่อน ต้องรู้รายละเอียดลึกถึงเข้าใจจิตใจเขา

5. การทำงานต้องบรรลุผลสำเร็จ

หน้าที่ของผู้บริหาร

1. กำหนดเป้าหมายของงาน

2. กำหนดกิจกรรม

3. กำหนดตารางเวลา

4. กำหนดคนและทรัพยากร

5. ออกแบบการทำงาน

6. สื่อสารทำความเข้าใจผู้เกี่ยวข้อง

7. วางแผนละเอียด งาน เงิน คน เวลา อุปกรณ์ และทรัพยากรอื่น ๆ

8. วางแผนควบคุม กำกับติดตาม

9. วางแผนสำรอง สำหรับข้อ 7.

10. สื่อสารทำความเข้าใจ และซ้อมปฏิบัติการ

11. ลงมือปฏิบัติการ

12. ควบคุม กำกับ

13. แก้ปัญหา หรือใช้แผนสำรอง

14. บรรลุผลสำเร็จ

15. ประชาสัมพันธ์ / ประเมินผล

ความรับผิดชอบของผู้บริหาร

1. บรรลุเป้าหมาย ต้องทำให้สำเร็จก่อน มีศิลปะในการต่อรอง

2. บริหารทีมงาน / ทรัพยากร – เราอยู่กับเจ้านายคนไหนต้องให้เจ้านายพึ่งเรา ถ้าไม่พึ่งเราถือว่าไม่แน่จริง

3. ตัดสินใจ / แก้ปัญหา

4. พัฒนาบุคลากร

5. รับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้น

กลยุทธ์ของผู้บริหาร

1. ขี่คลื่น / มืออาชีพในงานของตน

เราต้องลอยอยู่บนกระแสการเปลี่ยนแปลงให้ได้ ต้องมองการเปลี่ยนแปลงก่อนมา

2. รู้จักและเข้าใจธรรมชาติงาน (กติกา เทคโนโลยี)

3. มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหา

4. มีสติ / แก้ปัญหาทันการณ์

5. รู้ฝีมือของทีม / รู้สถานการณ์

6. ยึดมั่นคุณธรรม

หลักการพัฒนาคน

1.ความรู้ ทัศนคติ

2. ความชำนาญ

3. ความสามารถ

4. คุณธรรม

ผู้บริหารต้องสะสมทุนทางปัญญา

ต้องฝึกวิธีคิด รู้จักจิตว่าวิ่งไปทางไหน จะเจอตรงไหน และเลือกจิตที่ดี จิตที่ถูกต้อง วิเคราะห์ให้เป็น สร้างคุณค่าเพิ่ม

1.ความคิด

2. การวิเคราะห์

3. สร้างมูลค่าเพิ่ม

4. คุณธรรม จริยธรรม

วิธีการพัฒนาปัญญา

1. เรียนรู้วิธีการ

2. เรียนรู้สภาพแวดล้อม

3. เรียนรู้โอกาส

4. เรียนรู้ชุมชน

5. เรียนรู้บุคคล

6. เรียนรู้ตนเอง

จุดล้มเหลวของนักบริหาร

1. ไม่เข้าใจสถานการณ์

2. ไม่เข้าใจคนที่เกี่ยวข้อง

3. ตัดสินใจผิด

4. แก้ไขไม่ทันการณ์

5. ไม่มีคนช่วย

6. ประมาท

Attitude & Mindset of EGAT People

ศาสตราจารย์วิชา มหาคุณ

โลกต้องเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงหมายถึงเปลี่ยนแปลงตัวเราเองด้วย การเปลี่ยน เป็นการเปลี่ยนตามระบบความคิดสากล ไม่ใช่เปลี่ยนตามอำเภอใจหรือของเราเอง

ธรรมะเป็นอกาลิโก คือไม่มีการเวลา สามารถเคลื่อนไหวได้ ดำรงความยิ่งใหญ่ เป็นพลังงานที่ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างในโลก หมายความว่าโลกนี้ไม่สามารถฝืนความเปลี่ยนแปลงในโลกได้เลย เป็นไปไม่ได้

ท่านอยู่ในท่ามกลางการบริหารแบบคลาสสิค ระบบราชการคือต้องมีขั้นตอน มีกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ หมายถึงถ้าเราอยู่แล้วไม่มีอะไรใหม่เลยก็จะถูกกลืน

ระบบที่ Conservative ที่สุดคือศาล และที่สุดของที่สุดคือตุลาการ และถ้าถามว่าเราจะอยู่ในองค์กรอย่างนี้ได้อย่างไร

EGAT ดำรงความสำคัญลงน้อยลง เพราะอะไร เพราะเอกชนกำลังเข้ามา แล้วใช้พลังงานชีวมวล แล้ว EGAT จะทำอย่างไร จะไปแข่งกับเอกชนก็อาจจะเสียเปล่าเพราะเอกชนมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มีการตอบสนองของชุมชนเป็นหลัก ส่วน EGAT ต้องการให้รัฐได้รับพลังงาน

ดังนั้น ต้องรักษาความเป็นที่พึ่งสุดท้ายของพลังงานเอาไว้ เป็นสิ่งที่สังคมอุ่นใจ ขอให้เชื่อว่ามี EGAT เมื่อไหร่ พลังงานจะไม่ขาดแคลน ถ้าทำตรงนี้ได้ EGAT จะอยู่ได้ตรงนี้นิรันดร

ทำไมไม่สนับสนุนการใช้ไฟฟ้าให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น หรือชุมชน สร้างโรงไฟฟ้า เน้นการสนับสนุนให้ธุรกิจสำรองขึ้นมา แล้วต้องมีไฟฟ้าสำรองไว้เสมอ เช่นถ้าธุรกิจดับแล้วเราเปิด เป็นแนวทางการเปลี่ยนแปลงแนวใหม่ ตัวอย่างมากาเร็ต เทรเชอร์ กระจายรัฐเป็นของเอกชน เรียกว่าทำแบบ Privatization

จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน จะกินต้องเตรียมอาหาร จะพัฒนาต้องเตรียมคน จะพัฒนาตนต้องพัฒนาที่ใจก่อน ก็คือ Mindset ต้องตั้งก่อน หมายถึงถ้าติดกระดุมผิดเม็ดแรก ก็จะผิดไปเรื่อย

พลังงานที่เราใช้ ที่สิ้นเปลืองหมดไปเพราะเราทำงานหนัก ต้องให้ความรักกับธรรมชาติมากขึ้น

เราต้องเข้าใจต่อประชาชนเป็นอันดับแรก

การทำให้ประชาชนเห็นความสำคัญ ต้องเข้าใจประชาชนก่อนเป็นอันดับแรก

เอาคนที่ร่วมมือ ร่วมใจกับชุมชน ต้องปรับ Mindset แบบ Idealism คือต้องเป็นอุดมการณ์ หมายถึงความดีสูงสุด เพื่อให้ไปสู่อุดมการณ์สูงสุด อย่าทำแค่ผ่านไปวัน ๆ

การทำอะไรก็ตามต้องทำแบบเป็น Professionalism คือทำงานอย่างเป็นระบบ เน้นการมองอะไรอย่างเป็นบูรณาการ องค์รวมเช่น มองครอบครัวต้องมองปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ลูกหลาน ทำตรงนี้ จะกระทบตรงนั้น ต้องแก้ปัญหาตรงนั้นไว้ด้วย คือให้ร่วมคิด ร่วมใจกันทำงาน แต่ผลเสียคือเคลื่อนที่ช้า นั้นคือให้ทำเป็นระบบย่อยและใช้วิธีเคลื่อนที่แบบไม่เป็นทางการ ต้องนึกถึงประชาชนเป็นหลัก และประโยชน์สุขของประชาชนเป็นใหญ่ อย่าทำอะไรแบบเชื่องช้า

ต้องมี Core Group คือการบริหารแบบไม่เป็นทางการ อย่างอังกฤษจะมีคณะรัฐมนตรีแบบจุดเล็ก เคลื่อนที่เร็ว แก้ปัญหาชุดนี้ ชุดนั้น มีหลายชุดได้ เพราะทำแบบไม่เป็นทางการ แล้วเน้นเรื่องการบริการเป็นใหญ่ ให้นึกถึงในแง่ของ Service Mind (My life is service : การรับใช้ประชาชนคืองานที่ 1) งานที่หนึ่งมาก่อนเสมอ ทำอะไรต้องนึกถึงประชาชนก่อนเป็นอันดับแรก) อย่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระราชบิดาการเสียสละเพื่อคนอื่นเป็นภารกิจอันดับหนึ่งแม้พระองค์ท่านทรงไม่แข็งแรงท่านก็เลือกเรียนแพทย์เพื่อมาช่วยเหลือประชาชน

การวางแผนกลยุทธ์

1. สร้างการทำงานเป็นทีมให้ได้- ตัวอย่างการกรรเชียงเรือ ต้องคิดเป็นทีมเดียวกันถึงสามารถเอาชนะกรรเชียงเรือได้

2. มีเป้าหมายของหน่วยงานอย่างชัดเจน

3. ใส่ใจในลูกค้า

4. มีศักดิ์ศรี มีความจงรักภักดีต่อหน่วยงาน

5. ทำงานในแบบเปิด

6. ตรวจสอบผู้บริหารได้ - จริยธรรมของผู้บริหารคือ ตำหนิได้ ตักเตือนได้ และขอให้ชมเชยด้วยอย่าตำหนิอย่างเดียว

7. ผู้นำทำตนเป็นตัวอย่าง - ทุกคนต้องการกำลังใจ เราต้องทำตนเป็นตัวอย่าง หรือเรียกว่า Role model เขาจะดูแบบแผนของเรา เด็กสมัยนี้ที่ขาดแคลนคือ ขาดแคลนตัวอย่างที่ดี

8. มีการฝึกอบรม เปลี่ยนทัศนคติ

9. มีการแข่งขัน มีทางเลือก

10. กำหนดมาตรฐาน การใช้จ่ายคุ้มค่าเงิน

11. สุภาพอ่อนน้อม

12. เต็มใจช่วยเหลือกัน

13. การให้ข่าวสาร

14. การบริหารจัดการเรื่องคุณภาพ (TQM)

การบริหารแนวใหม่ สู่การบริหารจัดการ สู่การบริการ

การบริการ ต้องมีการกำหนดเป้าหมาย แสดงผลกระทบที่น่าจะเกิดขึ้น การจัดทำแผน การนำแผนไปปฏิบัติ การสร้างวัฒนธรรมใหม่

การสร้างวัฒนธรรมใหม่

- มีความคิดริเริ่ม

- มีคุณภาพ

- มีความเป็นหนึ่งเดียว

- มีความท้าทาย

- พฤติกรรมของบุคคลแตกต่างกันได้

- เรียนรู้ความผิดพลาด

สรุปคือ ต้องคิดว่าจะเกิดปัญหาอะไรเกิดขึ้น อย่างเช่น ปัญหาของการบริหารบ้านเมืองคือไม่รู้ทิศทางที่แน่นอน ทำไปเรื่อย ๆ ดังนั้นพฤติกรรมบุคคล ต้องสร้างวัฒนธรรมใหม่ แม้แต่ ครม.

ต้องพบประเด็นปัญหา รัฐมนตรีต้องเป็นผู้รับผิดชอบตามแต่กรณีไป ดังนั้นการทำอะไรก็ตาม ต้องรับทั้งผิดทั้งชอบ ให้คิดวางแผนร่วมหน้าในการแก้ไขปัญหาให้คิดถึงอนาคตด้วย

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. แนวคิดการทำงานของกฟผ.เป็นการบริหารแบบดั้งเดิม ได้บอกว่า กฟผ.ควรทำ Privatization จะเป็นแบบใดถึงเหมาะสมกับสถานการณ์

ศาสตราจารย์วิชา ที่พูดถึง Privatization นั้นเป็นการยกตัวอย่างของอังกฤษในสมัยคุณมาร์กาเร็ท เทรเชอร์ที่ต้องทำให้ได้ เป็นการเปลี่ยนแปลงตามแนวนโยบายของโลกเรื่องกระแสของการที่ไม่ใช่เอารัฐเป็นตัวตั้งได้เปลี่ยนแปลงเป็นทั่วโลก

ที่กฟผ. ทำได้แตกตัวเป็นบริษัทต่าง ๆ ที่จะไปทำร่วมกับคนอื่นด้วย เพียงแค่ผู้บริหารที่แตกตัวไปคิดในเชิงนโยบายแบบเดียวกันหรือไม่ ถ้ายังคิดแบบรัฐอยู่ ไม่ได้คิดถึงความคล่องตัวและสอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน แต่คิดถึงกฎระเบียบเดิม ดังนั้นเวลาที่จะนำเสนอ การจัดซื้อจัดจ้างในภาคเอกชน ต้องลงไปสู้เขาในลักษณะการแข่งขันที่เรียกว่า Competitiveness ที่ให้รัฐเป็นตัวตั้ง เป็นการเรียนรู้การบริหารจัดการในรูปแบบจริง ๆ ผู้บริหารข้างบนต้องคิดในรูปแบบเดียวกัน ในรูปแบบของภาคเอกชน ต้อง Open data หมายความว่า หน่วยงานรัฐทำอย่างนี้หมด หมายถึงความไว้วางใจและเชื่อถือศรัทธา ต้องการให้ประชาชนได้ยอมรับในฐานะที่เราเป็นภาคเอกชน ไม่ใช่ยอมรับในฐานะที่เป็นคนของรัฐคือสั่งอย่างไรต้องเป็นอย่างนั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าทำโดยทันที ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ในขณะเดียวกันต้องเปลี่ยนการสร้างคนใหม่ด้วย การทำความเข้าใจในฐานะเอกชน จะแก้อย่างไร จะปรับเปลี่ยนอย่างไร

2. การแปรรูปเปลี่ยนจากรัฐ เป็นภาคเอกชน จะมีวิธีการบริหารจัดการอย่างไร

ศาสตราจารย์วิชา ตัวอย่างของญี่ปุ่นเช่น Privatization แต่ยังคงกิจการของรัฐอยู่ และยอมที่จะขาดทุน มีสายอื่นที่เป็นของเอกชน แต่ต้องมีสายของรัฐช่วยจัดการอยู่ และคงอยู่แบบมั่นคงด้วย ยังคงบริการอย่างดีเพื่อให้ประชาชนอุ่นใจ แต่หยุดไม่เป็นไร เพราะหยุดแล้วยังวิ่งโดยสายของรัฐได้ เช่น Japan Airline สายรัฐเป็นสายที่คงไว้ตลอดจนกว่าประเทศญี่ปุ่นจะสิ้นสลาย ใครหยุดบริการไม่เป็นไร แต่ของรัฐยังหยุดบริการไม่ได้

3. อยากทราบแนวคิดหรือวิธีการบริหารจัดการคนรุ่นใหม่ให้ทำงานกับคนรุ่นเก่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ คน กฟผ.มีคนรุ่นใหม่เข้ามาเยอะ ความคิดแตกต่างระหว่าง Generation มีปัญหาทำอย่างไรให้ผูกพันกับองค์กรจนกระทั่งเกษียณ

คุณหญิงทิพาวดีกล่าวว่า เรื่อง Generation Gap เป็นเรื่องธรรมชาติ สังเกตว่าสมัยเด็กเราก็ยังเบื่อคนมีอายุ ดังนั้น การย้อนกลับที่ Mindset ที่ถูกต้องคือยอมรับเด็กตามที่เป็นอย่ามาบังคับตามที่เราเป็น ขนาดลูกเรายังบังคับไม่ได้ วิธีการคือให้เอาคนใกล้เคียงกับเขาเป็นหัวหน้าเขา โดยส่วนตัวของคุณหญิงทิพาวดี จะชอบทำงานกับเด็กรุ่นใหม่ เพราะทำให้เปิดสมองเราและทำให้เข้าใจสังคมใหม่ ทุกวันจะคุยกับลูกน้องมี Morning Talk เอาวัฒนธรรมนี้มาจากญี่ปุ่น อย่างญี่ปุ่นมีช่วงที่หัวหน้าพูดกับลูกน้อง มีการพูดกันทุกวัน ไม่ค่อยมี Gap กับลูกน้อง มีประเพณีต้อนรับน้องใหม่ เพื่อให้เกิด Sense of Belonging ชอบมากที่เด็กกล้าพูดกับเรา ให้ Encourage และให้มีความเข้าใจ ตัวอย่างมีเด็กผู้หญิงคนนึงทำงานแต่ชอบเดินเท้าเปล่าเนื่องจากติดจากปฏิบัติธรรมมา แต่มีวันนึงที่เปลี่ยนเนื่องจากไปติดต่อกรม จึงขอให้ใส่รองเท้า ต่อมา เด็กคนนี้เปลี่ยนไปเป็นแต่งตัวมากขึ้น จึงอยากให้เข้าใจในธรรมชาติของเขา และพูดถึงกติกาแบบนิ่มนวล

เรื่อง Privatization สหรัฐฯ เป็น Model ที่ประเทศอื่น ๆ Copy ยากมาก

มลรัฐของรัฐส่วนใหญ่ Outsource หมดเลย ดังนั้นข้าราชการของรัฐต้องเก่งในการเขียน Spec ในการควบคุม

คุณเทรเชอร์ นักการเมืองประกาศเป้าหมายและยอมเสี่ยงเพื่อลดพนักงานของรัฐ (ไม่มีที่มาแต่มาจากตัวเลขกลม ๆ ในสมองเท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องระวัง)

New publish management รัฐจะทำในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น คนอื่นทำไม่ได้ เช่น ระบบขนส่งมวลชน สาธารณูปโภค คุก ดังนั้นบทบาทของรัฐ แต่ละประเทศต้องคิดเอง สรุปแนวความคิด Privatization รัฐจะต้องเป็น Regulator ที่ยุติธรรม ฉลาด และให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย สรุปคือ

1. รัฐจะเป็น Regulator ทำที่รัฐจำเป็นต้องทำเท่านั้น

2. สิ่งที่รัฐไม่จำเป็นต้องทำก็ให้ประชาชนทำ

อย่างไรก็ตาม เอกชนเวลาเป็นเชิงธุรกิจ จะมีสิทธิ์เป็นธุรกิจได้ มีการคำนวณต้นทุน กำไรชัดเจน แต่ถ้าเป็นธุรกิจขาดทุนไม่ได้ ต้องอยู่ได้ด้วยกำไรคือต้อง Survive แต่รัฐไม่ต้องส่วนใหญ่จะเป็นฝ่ายอุ้มตลอด ดังนั้นกระแสเรื่อง Privatization จะแรง สามารถช่วยเรื่องคอรัปชั่นและสามารถวัด Efficiency ได้ด้วย

ถ้ารัฐจะเป็น Regulator จริง ถ้าไม่ปฏิรูปประเทศและมีมาตรการในการตรวจสอบ หรือถ่วงดุลการใช้อำนาจที่เข้มแข็งจะเข้าสู่รูปแบบเดิม

4. วิธีปรับ Mindset ให้กระตุ้นคนให้มีความกระตือรือร้นในการทำงานจะทำอย่างไร เวลากระตุ้นจะกระตุ้นที่กอง แต่ถ้าจะไปถึงข้างล่างจะทำอย่างไร

ศาสตราจารย์วิชา เห็นว่าทุกหน่วยงานมีปัญหานี้ตลอดคือ ช่องว่างระหว่างวัย โตไม่ทัน และมีปัญหาเรื่องผู้ใหญ่ที่ไม่อยากจะเปลี่ยน ได้ยกตัวอย่างลูกชาย เป็นเด็กที่หัวไวมากและเก่งเรื่อง IT เห็นว่าทำเร็วอย่างนี้อยากให้ดึงให้อยู่ในระบบราชการคือดึงให้ช้าลง เพราะเวลาเด็กคนนี้จะทำอะไรจะทำแบบ Freelance รับงาน รับจ็อบ แม้ว่าสอบข้าราชการได้แต่ไม่เอา และจับกลุ่มกับเด็กที่เก่งทั้งนั้น และมองระบบอย่างเหยียดหยาม มีให้ไปอยู่ในองค์กรส่งเสริมการลงทุน บอกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย ไม่มีการคิดหรือวางแผนต่อ คิดว่าทำแบบตัวเองแล้วมีความสุขกว่า สรุปคือเราจะปรับตัวอย่างไรกับคนที่ทำงาน และไม่ถึงกับ Dead wood

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การค้นหาศักยภาพของตัวเอง ต้องหาความถนัดให้ งานบางอย่างเขาทำได้ แต่งานบางอย่างเขาถนัดและมีจิตดีงาม บางคนไม่รู้ศักยภาพหรือถูกจริตว่าเขาเป็นอะไร เช่นบางคนเก่งการพูดจา อาจจับเข้าระบบประชาสัมพันธ์ การสอนคน การสร้างระบบ ระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ต้องมีผู้ใหญ่ที่สอน เช่นเอาคนที่คุยเก่งเรื่องโจ๊ก ไปเข้ากลุ่มสัมมนาเพื่อสร้างบรรยากาศ หรือกระตุ้นและละลายพฤติกรรมเพราะเป็นคนที่มีความสนุกสนานในตัว มีอารมณ์ครึกครื้น หรือคนทำงานอยู่กับโต๊ะ ก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง ดังนั้นให้หาศักยภาพให้เจอเพื่อทำงานร่วมกันได้ ให้มองในแง่ของชุมชนมนุษย์ นอกเหนือจากเป็นครอบครัวเดียวกัน ชุมชนมนุษย์จะมีที่มาหลากหลาย หาสิ่งที่เหมาะกับแต่ละคน เป็นเรื่องของผู้บริหาร

5. เรียนถามคุณหญิงทิพาวดีระหว่างการทำงานหน่วยงานที่มีกฎระเบียบมากมายกับเอกชน มีความยากง่ายต่างกันอย่างไร

เอกชนมีกำไรขาดทุนตลอด และอีกเรื่องคือความเร็ว อย่างตอนที่ทำอยู่ที่ ก.พ. ได้เรียนเชิญคุณพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา และคุณสมภพ มาทำงานที่ ก.พ. ซึ่งคุณพารณ ได้กล่าวถึงเรื่องการรับรองรายงานการประชุมที่ต้องมีการรับรอง และต้องแก้ นึกว่าทำงานเลย

แสดงว่า เอกชนและราชการมี Nature ต่างกัน อย่าง ก.พ. ที่ทำเป็นเรื่องของวินัย เป็นเรื่องกฎระเบียบ เงื่อนไขอยู่ ส่วนธุรกิจช้าไม่ได้ เพราะจะไม่ทันคู่แข่ง แต่ในขณะเดียวกัน ธุรกิจต้องซื่อตรง และให้ตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูลที่เพียงพอ เอกชนจะตัดสินใจลวก ๆ ไม่ได้ ราชการเอกสารสู่การพิจารณาของบอร์ดสูงมาก

เอกชนต้องมีความรอบคอบอย่างหนึ่งเหมือนกัน สรุปคืออยู่ที่ Nature of work ก็ต้องอยู่กันต่อไป อย่าง EGAT เห็น Trend เรื่อง Solar Cell มาแน่ ๆ สิ่งที่ต้องให้ความสนใจอีกเรื่องคือสิ่งแวดล้อม ถ้า EGAT ไม่เป็นหน่วยงานกระตุ้นเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปด้วย คนอื่นจะทำลาย

การทำงานต้องทำแบบถูกต้อง ยุคปฏิรูปต้องมีความหวัง เรื่องเด็กรุ่นใหม่เป็นปัญหามากกว่ายุคเราตอนที่เราเป็นเด็ก เพราะโลกเราเป็น Globalizeไปแล้ว ในยุคปัจจุบันไม่มีความอดทน แต่ยุคเก่า ๆ มีบ้าง เราต้องยอมรับในความเห็นของเรา ในฐานะ Older ต้องเข้าใจเขา สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เข้มแข็ง ใครก็ตามที่อยู่ในองค์กรต้องถูก Blend เข้า เรื่อง Turn Over สั้นมาก ดังนั้นเรื่องระบบ Training ต้องเข้มแข็งและความถี่ของการอบรมต้องมาตลอด วิธีการคือต้องจับเอา Core Value ให้อยู่ เมื่อเข้ามาต้องเข้าสู่องค์กรให้ได้ ต้องสร้างบรรยากาศ ในการอบรมและเรียนรู้ ให้เกิดความสนุกเพื่อดึงเขาอยู่ ในขณะเดียวกันต้องให้เกียรติเขาด้วย มีการดึง Older Generation มามีส่วนร่วมด้วย และถ้าเคี่ยวเข็ญเด็กมากเกินไป เด็กจะออกไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อองค์กร ต้องมีโปรแกรม Mentor เป็นที่ปรึกษาขององค์กร ปัญหานี้เป็นปัญหาจริง ดังนั้นต้อง Capture เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา

6. ในระบบของกฟผ. เน้นเรื่องราคา

ศาสตราจารย์วิชากล่าวว่า ในระบบราชการเน้นที่ราคาต่ำสุด ซึ่งผิดเข้าใจระเบียบบริหารพัสดุผิด ไม่ใช่ราคาต่ำถึงจะเอา แต่เพียงแค่เกรงกลัวว่าจะถูกกล่าวหาว่ามีเอี่ยว และหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบเรื่องทุจริตเอาราคาต่ำไว้ก่อน จัดได้ว่าเป็นผู้บริหารที่ไม่คำนึงถึงราคาของสิ่งของและคุณภาพด้วย มีการเปรียบเทียบว่าบริษัทใดมั่นคงกว่า ไม่ใช่มีการ Weight ตามใจตัวเอง แต่ควรดูประวัติ และตรวจสอบด้วย

พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างโครงการใหญ่ จะมีกระบวนการต่าง ๆ ช่วยทำงานให้ดีขึ้น มีการทำสัญญาคุณธรรม ระหว่างบริษัทที่มากับผู้ที่พิจารณา ไม่มีการทุจริตเป็นอันขาด ต้องมีผู้ที่สังเกตการณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิต้องช่วยตรวจสอบด้วย ผู้ที่ดูแลเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างต้องช่วยดูเรื่อง Integrity Pack ด้วย คือบริษัทต้องทำอะไรที่โปร่งใส และไม่ให้ถูกตัดด้วย

7. ผู้บริหารแต่ละท่านมี Concept ต่างกันจะมีการปรับให้สอดคล้องกับทิศทางองค์กรอย่างไร และเรื่องกลุ่มก็มี Mindset แตกต่างกันจะทำอย่างไร

คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่าไม่ใช่ผู้นำคนเดียวจะทำงานให้องค์กรได้ แต่ผู้นำเป็นสัญลักษณ์ขององค์กร อย่างการมาพูด Mindset ในวันนี้ คืออยากให้ทุกคนเข้าใจว่าโลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

Mindset ของเราในฐานะผู้บริหารต้องมองให้กว้าง มองให้กว้างกว่าที่องค์กรบอกว่าจะไป ตัวอย่างที่ วปอ.ต้องไปทุกจังหวัด มีการดูตัวเลขของจังหวัด เช่นไปแม่เมาะ พบว่าที่จังหวัดมีผู้ป่วยโรคปอด ได้ถามว่ามีมาตรการในการดูแลผู้ป่วยอย่างไรบ้าง แต่คำตอบที่ได้รับผิดหวัง หมายถึงการ Challenge มาตรฐานทางวิศวกรรม แต่ที่ตอบมาคือบอกว่าไม่มีผู้ป่วย และปลอดภัยแล้วทั้งที่ความจริงไม่ สรุปคือสิ่งที่ควรคือต้องคิดถึงสิ่งแวดล้อม คิดถึงความปลอดภัย แต่ขณะเดียวกัน ผู้บริหารคนเดียวก็ไม่สามารถทำได้

ยกตัวอย่างท่านสัญญา ธรรมศักดิ์ นึกถึงท่านเกษม จาติกวนิชย์ ทำประโยชน์ให้กับประเทศและสังคมมาก ได้รับเหรียญดุษฎีมาลา คุณหญิงทิพาวดีเลยไปศึกษาค้นหาความจริงว่าจริงหรือไม่ ความจริงแล้ว Mindset คือความคิด การทำงานมีระยะยาว เบอร์หนึ่งต้องวางแผน 20 ปี และไม่ว่าอยู่จุดไหนก็ตาม การทำงานต้องมองระยะยาว ต้องมองอนาคตของชาติ ของส่วนรวม ต้องหาจุดที่เป็นผลลัพธ์ของเรา Input –process-outcome

อย่างเช่นถ้าไม่เอาลิกไนต์จะเอาอะไร โทษของลิกไนต์มีอะไร แก้ไขได้อย่างไร สรุปคือ Mindset เป็นเรื่องของทุกคน ต้องคิดกว้าง คิดไกล ไม่ยอมแพ้และทำเรื่องของเราดีที่สุด

ศาสตราจารย์วิชา กล่าวว่าการต่อสู้ความคิดของคน ตัวเราต้องเปลี่ยน เราต้องเปลี่ยนในสิ่งที่ใกล้ตัวเราก่อนและค่อย ๆ ขยายไป เริ่มจากครอบครัว ต้องยอมให้ลูกโต้เถียงได้ บางคนไม่ยอม เรายอมรับได้หรือไม่ในการเปลี่ยนแปลง และชุมชนที่อยู่รอบข้างเรา ให้คิดถึงองค์กรที่ทำงานอยู่ ให้คิดว่าเราคิดได้ว่าถ้าอยู่ในตำแหน่งนั้นจะทำอะไร โดยเฉพาะเข้าไปสู่ตำแหน่งบริหาร อย่างผู้ช่วย ต้องช่วยนาย อย่างศาลฎีกา จะมีผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา มีหน้าที่ตรวจสอบ ความจริงเป็นตำแหน่งผู้ช่วยประธานศาลฎีกา แต่เขาไม่ใช้อย่างนั้น ตรวจอย่างไรต้องยอมรับเพราะประธานเป็นคนคัดเลือกมา ต้องมีการตรวจอย่างละเอียด และจะเห็นภาพของการทำงานว่าถ้าเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาเองจะไม่ทำแย่ ๆ อย่างนั้น หรือทำดีอย่างนั้น อย่างสุดยอดเลย เป็นต้น ในที่สุดเมื่อเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา เราต้องยอมรับการปรับเปลี่ยน เราบอกว่าไม่เอาไม่ได้ ไม่เช่นนั้นเขาเปลี่ยนตัวคนเขียน เพราะเขาต้องการเป็นระบบที่เป็นบรรทัดฐาน แต่ถ้าจะทู้ซี้หมายถึงเราต้องมีอะไรที่หนักแน่น เพื่อนำไปสู่ที่ประชุมใหญ่ให้ผู้ทรงคุณวุฒิมาโต้แย้ง โต้เถียงกัน และให้ได้บทสรุป เพราะการทำงานต้องเป็นการทำงานร่วมกันไม่ใช่ Mindset ของคนใด คนนึง แต่ต้องเป็นการยอมรับในระบบร่วมกัน การที่คนไม่เห็นด้วยเป็นการแสดงความเป็นตัวของตัวเองอย่างยิ่ง ไม่ใช่เพราะการเกรงใจกัน

คุณหญิงทิพาวดี กล่าวถึงการอ่านหนังสือเรื่องล้มยักษ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเรื่อง Mindset เดวิดเป็นชาวเมืองของอิสราเอล ฟิลเลเซียมีโกไลแอนท์ คิดว่าต้องชนะแน่เลย จึงให้อิสราเอลส่งตัวแทนมารบ ในที่สุดมีเด็กเลี้ยงแกะเดวิด ตัวเล็กนิดเดียวขออาสามารบกับโกไลแอนท์ เรื่องมีอยู่ว่า โกไลแอนท์ ตัวใหญ่และมีอาวุธครบมือ แต่เดวิดไม่มีอะไร มีเพียงแค่เอาก้อนหิน 5 ก้อนใส่กระเป๋า พอเดินลงไปปุ๊บ โกไลแอนท์โกรธมาก บอกว่าไม่เป็นการสู้รบในลักษณะที่ใกล้เคียงกันมา แต่เดวิดไม่พูดอะไรทั้งสิ้น ใช้เพียงก้อนหินเขวี้ยงไปที่หน้าผากของโกไลแอทน์ล้มลงทันที เดวิดกระชากดาบฆ่าทันที สรุปนิทานเรื่องนี้สอนว่าไม่มี Convention เดวิดเป็นเสมือนตัวอ๊อดที่ใครคาดไม่ถึง เหตุเกิดจาก โกไลแอนท์ประมาณ แต่ถ้ามี Mindset แบบ The winner จะไม่เป็นอย่างนี้ แต่ โกไลแอนท์เลือกเปิดจุดอ่อน สิ่งที่เดวิดมีจุดแข็งอันเดียวคือก้อนหิน คือเอา Strength สู้กับ Weakness แล้วชนะ จึงอย่าหลงสู่กับดักเดิม Mindset พร้อมที่จะเปลี่ยน และเข้าใจสถานการณ์ ใช้กลยุทธ์แก้สถานการณ์ แต่ไม่ใช่ Pattern เดียวที่ใช้แก้ตลอดไป

8. ในอนาคตคิดว่าไอ.ที.จะเป็นตัวนำของทุกระบบและจะใช้ไอ.ที.ทำงานราชการเพิ่มขึ้น ที่มองคือที่มีข่าวไม่นาน มีการโจมตีไอ.ที.เข้ามาใช้ประเด็นคือเป็นศาสตร์ที่เข้าถึงได้ อนาคตจะมีระบบที่คิดป้องกันปัญหาในสิ่งที่เลวร้ายกว่าที่เป็น ส่วนอีกเรื่องอยากให้เปิดกว้างในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง จะควบคุมการจัดซื้อจัดจ้าง Volume เยอะ ๆ จะทำอย่างไร เราสามารถเข้าไปครอบคลุมดูแลได้อย่างไร เราน่าจะมีข้อมูลอะไรเพิ่มเติม น่าจะมีอะไรเพิ่มเติมเพื่อช่วยป้องกันเพราะระบบภาษีก็ถูกปรับไปด้านนี้มาก อีกเรื่องคือเรายังรู้ไม่เท่าทันทางระบบเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เข้ามา เช่นระบบในการคำนวณได้ถูกใช้จนช่ำชองจากผู้มีอำนาจแล้ว และตนเองสามารถเข้าถึงข้อมูลการเผยแพร่ตรงนี้ได้

9. เรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง รถไฟฟ้าอาจมีปัญหาเรื่องผู้สังเกตการณ์

ศาสตารจารย์วิชา กล่าวว่าปัญหาเรื่องไอ.ที. เท่าที่ฟังเหมือนกังวลว่าเราจะไม่มีความรู้จริง รู้ไม่พอ และเท่าที่สัมผัสกับผู้มีความรู้ กั้นไม่ได้เด็ดขาด แต่สิ่งที่เราจำเป็นอย่างยิ่งคือเราต้องเรียนรู้ว่าจะใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างไร แต่โดยมากคนไทยใช้ประโยชน์จากการเล่นไลน์ Social Media ต่าง ๆ แต่การจะรู้มากกว่าปกติ คนไทยยังน้อย E-Library จะเป็นเสมือนขุมทรัพย์ทางความรู้ที่ดี และรู้สึกอัศจรรย์มาก สิ่งที่เราจะเอาชนะเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ สิงคโปร์สามารถที่จะรู้เท่าทันคือ เป็นระบบ Open data เขาจะเปิดให้ทุกคนชิมหมด ทุกอย่างอยู่ใน Website และต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง แต่ละหน่วยงานมีการควบคุมอย่างไร ต้องรู้หมด แล้วประชาชนจะศรัทธาและไว้วางใจอย่างยิ่ง

ที่จีนมีการถอดซอฟต์แวร์ทุกชิ้นแล้วมีทีมศึกษาโดยเฉพาะ มีการตรวจรถไฟที่ทำโดย Siemen ให้เป็น Chinese Train โดยเฉพาะ ทำให้ได้ชัยชนะตรงนี้เนื้อกว่า แม้ว่าความจริงแล้วกินเวลามาก แต่ได้ผลมา ตัวอย่างรถไฟฟ้าคีรี สาย BTS ทำแบบจีนและยึดครองสายรถไฟฟ้าทั้งหมด สรุปคือ เมื่อได้เทคโนโลยีมาแล้วต้องเอาคนที่เก่งเทคโนโลยีนั้น ๆ ร่วมด้วย ความจริงแล้วญี่ปุ่นเป็นต้นแบบแนวคิดนี้อันดับแรกก่อนจีนในการทำสายรถไฟชิงคันเซน

เราต้องให้ความรู้กับผู้สังเกตการณ์อย่างยิ่งคือต้องมีผู้อบรมก่อน มีการจัดระบบการอบรมกับผู้สังเกตการณ์ ต้องรูว่าบริษัทที่เสนอมีเทคนิคลึกลับซับซ้อนอย่างไรบ้าง มีแกนวิทยากรที่คลุกคลีการจัดซื้อจัดจ้างมาอบรมเป็นรุ่น ๆ

คุณหญิงทิพาวดีบอกว่าเรื่องไอทีมีปัญหาเรื่องกำลังคนคือไม่มีกำลังคนที่มีความรู้ ความสามารถมากพอ ภาครัฐต้องมีบุคลากรที่เหนือกว่าเอกชน ไม่เช่นนั้นจะคุมเอกชนไม่อยู่ อย่างน้อยต้องเท่า ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถเป็น Regulator ได้ ซึ่งปัญหารัฐบาลที่มีคือการรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพ คือต้องให้เงินเดือนไม่ด้อยกว่าคู่แข่งที่อยู่ข้างนอก

สิงคโปร์ที่ชนะ รวมถึงญี่ปุ่นด้วย ทำทั้ง internal survey และ external survey ด้วย ประเทศสิงคโปร์เงินเดือนภาครัฐ Percentile ที่ 120 ขอแค่ราชการไทย Percentile อยู่ที่ 75 แต่ปัจจุบันอยู่แค่ 25 เรื่องนี้จึงเป็นปัญหาที่บุคลากรทุก Sector ได้รับการดูแล

ต่อมาจะมีการประกาศนโยบายเป็น Digital Economy มีการปรับปรุง Upgrade ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คิดว่าจะเป็นความหวังใหม่ที่ดีขึ้น อีกเรื่องคือ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างได้ส่งกลับคืนมา เรื่อง Integrity Pack ตาม พ.ร.บ.ใหม่ที่มุ่งเน้นเรื่อง Efficiency เป็นพ.ร.บ.ที่เกิดจากความคิดที่ว่าราชการโกง จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการนำคนภายนอกเป็นสักขีพยานเพื่อเปิดความโปร่งใส ให้มีการเชิญ Observer เข้ามา ใน Model นี้จะมีตัวอย่าง รูปแบบที่ไม่ใช่คิดมาลอย ๆ ทุกอย่างไม่มีอะไรน่ากลัว และเราต้องเป็นคนรับผลในสิ่งที่ไม่ดี ไม่มีอะไรที่เป็น Short cut และถ้าเราทำอะไรตามกฎเกณฑ์ กติกา จะเป็นหน้าที่ในการศึกษา กลไก ระเบียบต่าง ๆ ที่อาจต้องใช้เวลา และแลกเพื่อให้เกิดความโปร่งใส หวังว่า Next Generation จะทำได้ดี

การบ้าน

ท่านได้อะไรจากวันนี้และจะปรับใช้กับ กฟผ.อย่างไร ส่งใน Blog


สรุปประชุมผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ : แนวคิดและกลยุทธ์ทางการตลาดปรับใช้กับการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

วันที่ 15 มีนาคม 2559

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

การตลาดจะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวหรือใกล้ตัวก็ได้ จะทำอย่างไรให้การตลาดเนียน ๆ

องค์กรทุกองค์กรมี 5 ฟังก์ชั่น ตัวอย่างงานของ EGAT จะมีอยู่ 5 หน้าที่ จะมีหน้าที่หนึ่งเรียกว่าการตลาดซึ่งขอเป็นพระเอกในวันนี้

1. การตลาด

การตลาดคือองค์กรที่ขายของเป็น องค์กรยุคอาจารย์ไกรฤทธิ์ เป็นองค์กรยุคการผลิตเป็นใหญ่เนื่องจากเป็นการสร้างความมั่งคั่ง

2. การผลิต

ยุคที่หนึ่งเป็นยุคเกษตร - ยุคเกษตรอย่างที่อิรักปัจจุบันจะมีแม่น้ำ 2 สายเรียกอาณาจักรเมโสโปเตเมีย มีปากน้ำโพธิ์เป็นยุคเกษตร อย่างในยุคแรกยุคเมโสโปเตเมียมีเมืองแบกแดดเป็นเมืองหลวง ต่อมาเป็นยุคเกษตร มนุษย์เริ่มเลี้ยงสัตว์ มีการทำกสิกรรม มีสัตวบาลเกิดขึ้น แต่มาในปัจจุบันเป็นลักษณะเกษตรรับจ้าง หรือ Contract Farming (เกษตรตามสัญญา)

ยุคที่สองเป็นยุคการผลิต - ปัจจัยการผลิตมีที่ดิน อย่างรุ่นพ่ออาจารย์ไกรฤทธิ์ทำโรงสี เลือกที่ริมน้ำเชิงสะพานเดชาติวงศ์ ดังนั้นเรามีที่ดิน มีโรงเรียน มีเพื่อน มีปัจจัยยุค 2

ยุคที่สามที่เข้ามาเป็นยุคบริการ

การเกษตรคนพึ่งพาเกษตรไม่น้อยเลย และการบริการยังมีอยู่ด้วย

ยุคที่สี่เป็นยุคเทคโนโลยี –

ปัจจุบันประเทศไทยมี เกษตร 30 % โรงงาน 30% บริการ 30% เทคโนโลยี 10 %

Info Micro Nano เทคโนโลยีจะเป็นแบบไหน

3. การเงิน

มีสองเรื่องคือ Source of fund และ Costs

4. คน / บุคลากร คือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เรียกว่า HRD ดังนั้นยางอะไหล่ที่ EGAT มี อยู่ในตัวมนุษย์ และแต่ละฝ่ายจะทำอย่างไร

EGAT เป็น Pioneer ระดับโลกเรื่องถอดประสบการณ์และนำไปใช้ได้ด้วย ทุกคนผ่าน KM ทุกคน จัดได้ว่า Asset ของ EGAT ด้าน KM มีค่ามากกว่าเขื่อนใด ๆ

5. Infrastructure

EGAT จะมี Power แรงสูงและมี Right of way ญี่ปุ่นแนะนำเรื่องการสร้างรถไฟความเร็วสูงว่าสิ่งที่ควรทำคือการสร้างรถไฟความเร็วสูงใต้ Power line จะถือได้ว่าเป็นเจ้าของประเทศนี้

EGAT สามารถเข้าตลาดได้แต่การเซ็นสัญญาจะไม่เหมือนกันเพราะ EGAT มี Asset ที่มี Infrastructure ชั้นนำระดับโลก

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 มีแนวคิดในการสร้างเด็ก 12 ปี

Business

Business แปลว่าธุระเฉย ๆ

Interest แปลว่าผลประโยชน์หรือความสนใจ

คนเก่งไปทำอะไรต่อก็ได้

ทำไมคนไทยไม่ทำการตลาด

Economic – พูดเรื่อง Demand และ Supply ถ้าความต้องการสอดคล้องกันตัดกันจะได้ราคา Price

จะทำให้ EGAT เป็น Demand focus ได้อย่างไร แต่ตอนนี้เป็น Aggregate Demand ปัญหาคือเราไม่ค่อยคุย Demand focus เท่าไหร่

Demand focus นับหนึ่งที่ Consumer ผู้บริโภคคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย EGAT ต้องเช็คว่าผู้ที่ทำให้ EGAT ไปได้หรือไม่คือเช็ค Stakeholder ถ้าเราคิด Supply Side คิดถึงโรงงาน บ้านกรูด บ่อนอก ศรีสไลย

Stakeholder ของกฟผ. มี 7 กลุ่ม

1. Government คือคนที่ค้ำประกันเงินกู้ ต้อง Manage เขาไม่ฉะนั้นเขาจะ Manage เรา

2. General Public ให้คิดแผนก PR เขาคือใครและจะ Handle เขาอย่างไร

3. Media ผู้สื่อข่าว ส่วนใหญ่จะเป็นเพื่อนกับ General Public แต่คนละขั้วกับ Government

เมืองไทย หนังสือพิมพ์เป็น Entertain ที่ถูกที่สุดในโลก

4. NGOs เป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย เป็นคนเก่งที่ไม่มีเส้น เป็นลูกค้ารายใหญ่ ถ้ารู้จักใช้ให้เป็นจะดีมาก เพราะรู้จักชาวบ้านและรู้จักการสลายม็อบ

5. Finance

- Non Government Finance ต้องมีการ Take Asset นอกบัญชี ลองคิดดูว่าทำไมต้องไปลงทุน Real Estate

- Finance ปัจจุบันเป็นเสมือนลูก กฟผ.

- High Finance

- ก่อนเป็นประเทศมหาอำนาจต้องผ่าน Hyper Inflation คือผ่าน Middle Income Trap

- Finance ที่เป็น International Source เราจะมีหน้าที่ส่งผู้ว่าฯ อย่างไร

6. PEERs ความเห็นของ PEERs คือเพื่อนซี้ หมายถึงคนรุ่นเดียวกัน

7. Union สหภาพ

เครื่องมือทางการตลาด

1. Marketing life Cycle แปลว่า วัฎจักรชีวิต ธุรกิจหรือสินค้า

- ยุคแรกคือยุคบุกเบิก ต้องทำทุกอย่าง

- ยุคที่สองเป็นยุคเติบโต รวมราชมงคล ราชภัฏ ฯลฯ

- ยุคที่สามเป็นยุคอิ่มตัวคล้าย ๆ กับ EGAT

- ยุคที่สี่ Decline

- ยุคที่ห้า Turn Around จะซ่อม จะขาย หรือจะเลิก หรือทำให้ดีกว่าเดิม วิธีการคือการลอกคราบตนเอง

2. People Portfolio คน

EGAT เป็น People Company มองว่าคนสำคัญ

- คนที่ใช้งานในปัจจุบัน Today People อยู่แผนกอะไร

- Tomorrow People

- Yesterday People คือต้องมีคนที่เป็นประสบการณ์คือปูชนียบุคคล

- Genius /Idiot เป็นพวกที่ถามว่าทำไปทำไม พูดอะไรจะเถียง

ให้ลองไป List คนในแผนกของแต่ละคน ใครเป็น Today People ,Tomorrow People, Yesterday People , Genius/Idiot

3. Value Chain

EGAT ต้องไล่ใหม่ตั้งแต่ฐาน

4. พลังทั้ง 5 ของการเป็นผู้ยิ่งใหญ่ทางการตลาด

แต่ละแห่งต้องมี Principle อยู่ หมายถึงว่าต้องรู้ว่าสิ่งที่สำคัญอยู่ที่ไหน

1. Who are they ? - EGAT ต้องเริ่มเล่นในส่วนที่ถามว่าใครจะเป็น Electrical Engineering แห่งที่สองของเรา ถ้าผู้ช่วยผู้ว่าฯ EGAT ไปเปิดสายส่ง จะเป็นอย่างไร

2. Supplier เช่น ปตท.ส่งให้ใคร ต้องมี CFO ที่สุดยอดมาก

3. FORCES Michael Porter เป็นคนคิดให้เกาหลีใต้เรื่องการทำหนังแดจังกึม และนักร้องเคป๊อบ คอมพิวเตอร์คลัสเตอร์

4. New Comers มาเพื่อจะดูจังหวะ

5. Substitute เช่น Space Technology อย่างน้อง EGAT ต้องมี Better we

EGAT ต้อง Define the role ว่าจะอยู่ตรงไหนได้ เราอาจทำ Total value chain ได้หมดแต่ต้อง Weight ดี ๆ



สรุปประชุมผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ : วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของ กฟผ.ในยุคที่โลกเปลี่ยน

วันที่ 15 มีนาคม 2559

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ร่วมดำเนินการอภิปรายโดย ผศ.กิตติ ชยางคกุล

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

การมองโครงการจะมองเป็น Problem Based Approach หรือ Opportunities Based Approach ก็ได้

แต่ละ Session จะมีประเด็นที่นำมาใช้ในโครงการฯ

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของ กฟผ.ในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดย ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

เรื่องไฟฟ้าความจริงแล้วไม่ได้ไกลตัว ถ้าพูดถึงจะพูดในแง่การลงทุนในแง่ของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ หรือ AEC ตรงประเด็น

ความท้าทายหมายถึงความแข่งขัน คือต้องเปรียบเทียบ แต่จะไม่ชอบกับคำที่ว่าแข่งกับตัวเอง สิ่งที่ทำให้เปลี่ยนไม่ใช่แค่ตัวเราเอง

Environment เปลี่ยน คู่แข่งก็เปลี่ยนหมด

หลายท่านเกษียณจากกฟผ. แล้วไปนั่งเป็นบอร์ดที่อื่นก็มี ดังนั้นบริบทเลยเปลี่ยน

กฟผ.

1. อยู่ในกลุ่มธุรกิจในสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้ในอนาคต วิธีคิดกับภาระงบประมาณได้นำไปใส่ใน Social , ประกันสังคม , การศึกษา , สุขภาพ ซึ่งบริบท EGAT ได้มองคือ CAT กับ TOT

แต่การตัดสินใจด้วยรัฐบาลเพียงจุดเดียวอาจทำให้มีการเปลี่ยนได้ ถือเป็นภัยคุกคามกับรัฐวิสาหกิจเช่นเดียวกัน เช่นรัฐบาลไม่อยากรับรองหนี้ อยากให้คนอื่นมาร่วมทุน เช่นภาคเอกชนเป็นต้น

นำรายงานมาจากกฟผ. EGCO แผนแม่บทพลังงาน

พบว่าอัตราการใช้ไฟ 2.68 ถือว่าเป็นธุรกิจโตอยู่ แต่ไม่ได้โตเหมือนในอดีต หมายถึงยังมีโอกาสโตอยู่เรื่อย ๆ

- ถ้า GDP โต ไฟฟ้าโต GDP ไม่โต ไฟฟ้าไม่โต

- การใช้ไฟฟ้าแปรผันตามธุรกิจ

- ถามว่าการใช้ไฟฟ้าอยู่ใน Maturity หรือยัง คำตอบคือ ธุรกิจโตแต่ไม่โตหวือหวาเหมือนในอดีต สิ่งที่รับคือ ธุรกิจที่รองรับ ผิดกับต่างประเทศเช่น พม่า อินโดนีเซียที่ไม่มีไฟใช้พอเพียง

- การเติบโตไม่จำเป็นเหมือนในอดีตที่เราต้องลงทุนเยอะเหมือนในอดีต

2. การสูญเสียการตลาดให้กับภาคเอกชน กฟผ.สูญเสียส่วนแบ่งการตลาดไปเรื่อย ๆ ปริมาณการใช้ไฟเราเป็นผู้ผลิต มีจ่ายให้กับนครหลวง และภูมิภาค เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ เราไม่สามารถลงทุนอย่างที่ลงทุนได้ รวมทั้งการเมืองและนโยบายด้วย

กำลังการผลิตอยู่ที่ 46% ของ Market Share ทำให้เห็นว่าจากเดิมส่วนแบ่งการตลาด 46% ก็ประมาณ 39% ที่เหลือเป็น IPP และ SAP และ VSAP คือดีสำหรับ Area ส่วนตัว แต่ไม่ดีสำหรับบริษัทแม่อย่าง กฟผ. มีการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน มีปัญหาเรื่องสมองไหล ในปี 2557 สูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดเหลือ 43% แสดงว่ากฟผ.อาจไม่ Relevance หรือ Significance มากพอที่จะมาคุยกับเรา มีการตั้งชื่อสมาคมไฟฟ้าอิสระ เป็นต้น

ส่วนที่เพิ่มคือ IPP เพิ่มขึ้นจาก 39% เป็น 40% กฟผ.มีกำลังผลิตโตจริงแต่ด้อยกว่าคนอื่นเขา

อยากถามว่าสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันหรือไม่ หมายถึงคนของกฟผ.อาจลาออกก่อนที่ควรจะเป็น บางครั้งอาจไปอยู่บริษัทคู่แข่ง ให้ลองคิดดูว่าใช่หรือไม่

กฟผ.ในปี 2557 ประมาณ 612 เมกะวัตต์ ถือแค่ 41.2 % หมายความว่าถ้าเอกชนรวมตัวทั้งหมดจากมากกว่า กฟผ. และอาจเป็นประเด็นขึ้นมา เปรียบเทียบได้จากตัวเลขปี 2550

ระบบของกฟผ. มี 34,000 ถ้าไปเรื่อย ๆ และขายตรงได้หมายความว่าไม่ขายผ่านเรา หมายถึง 34,600 จะไม่โตเยอะจะโตที่ SAP กับ VSAP

3. พลังงานที่ใช้ 60% ใช้พลังงานจากก๊าซมาก ซึ่งนับวันยิ่งหมดไป ส่วนเวียดนามกับอินโดนีเซียไปใช้ถ่านหิน เพราะถ่านหินเขามี และคนของประเทศอื่นไม่มี Anti และเทคโนโลยีประเทศเขาไปไกลกว่า สำหรับประเทศไทย มี NGOs มาก ไม่สามารถทำถ่านหิน หรือนิวเคลียร์ได้

ไทยใช้พลังงานความร้อนเป็นหลัก ในปี 2515 ใช้ถ่านหิน 18.7 เปอร์เซ็นต์ ซื้อจากต่างประเทศ 7% และน้ำ แสดงให้เห็นว่าพึ่งพาก๊าซน้อยลง ใช้พลังงานหมุนเวียน 8% ใช้ถ่านหินมากขึ้น

ปตท. ลืมเรื่องค้าปลีก ปล่อยให้ Jet และ Jiffy มีค้าปลีกเต็ม ท้ายที่สุด ปตท.ก็ซื้อเปลี่ยนเป็น ปตท. Jet แต่ก็อยู่ที่เราว่าจะทำอย่างไร

กฟผ. 41.2 % เป็นพลังงานไฟฟ้าร่วม และมี 81% ใช้พลังงานไฟฟ้าความร้อนร่วมกับร้อนเป็นหลัก พลังงานแบบนี้ IPP และ SAP ไปยึดไว้เต็มไปหมด

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ในส่วนพลังหมุนเวียนไม่ได้เป็นภารกิจหลักของ กฟผ. ส่วนวิจัยจะเป็นการให้เอกชนเอาไปทำต่อ ส่วนโรงไฟฟ้าจะเป็นพลังความร้อนเป็นอยู่แล้ว

ดร.พงศ์ชัย เสนอให้ลองดูที่ CAT หรือ TOT แล้วมองให้เอกชน

โมเดลเรายังล้าสมัยอยู่ และถ้าวันหนึ่ง TDRI เกิดบอกว่า กฟผ. Monopoly ทุกอย่างเข้าไปใน Loop เดิมในโครงสร้างพื้นฐานอื่น และเปิดเสรีเป็นอาเซียนรวมกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร กฟผ.จะกลายเป็นแค่ผู้เล่น 1 คน ใครเป็นคนทำ คือ KPMG เอามาจากอเมริกา จากยุโรป

ไฟฟ้าในต่างประเทศ เรียนที่อเมริกา ยุโรป และไฟล่วงหน้า อยากให้ดูว่าพลังงานคือพลังงาน อย่าหยุดที่แค่นี้ เพราะในอนาคตคือเราต้องทำ

อีกอย่างหนึ่งที่ต้องทำคือรถไฟฟ้า จะไปเติมพลังที่ไหน แทนที่จะเป็นของกฟผ. แต่กฟผ.ไม่ทำ

…………………………………………………..

4. อนาคตความต้องการพลังงานกับความสามารถของ EGAT

สิ่งที่พบคือกำลังไฟฟ้าใหม่คือ 58-79 จะเป็นอย่างไร จะไปเป็นพลังงานถ่านหินนิดเดียว เป็นพลังงานหมุนเวียน 21,000 แต่ความจริงมีอยู่ในมือเท่าไหร่ 40-50% ไม่ได้ Rely on ความสามารถของเรา หมายถึงสิ่งที่ประสบความสำเร็จในอดีตถึงปัจจุบันไม่สามารถพาไปสู่ความสำเร็จในอนาคตได้เลย พลังงานต่าง ๆ เหล่านี้ไปออกที่ STP กับ VSTP คือสามารถขายตรงกับคนที่ซื้อไฟฟ้าจากกฟผ.ได้

5. การใช้ประโยชน์กับบริษัทใหม่ในบริษัทลูกของ EGAT

พลังงานแสดงอาทิตย์และพลังงานต่าง ๆ จะมากขึ้น ตัวอย่างน้ำตาลมิตรผล สิ่งที่ได้นอกจากน้ำตาล คือกากน้ำตาล สามารถขายเป็นพลังงานไฟฟ้า ปัจจุบันกลายเป็น Major Product แล้ว เกษตรกรได้งานทำ ได้ไฟฟ้าสูงขึ้น แต่ใครรับภาระ ก็คือ กฟผ. ดังนั้นต้องพิจารณาว่าสิ่งที่จะทำแผนในอนาคตอยู่ตรงนี้หรือไม่ จากพลังงานลิกไนต์ พลังงานหมุนเวียน คนทำแผนยังไม่กล้าเสนอเร็ว สิ่งที่โตจริง ๆ คือพลังงานจากน้ำ จากต่างประเทศ ถ่านหินจะดูทรง ๆ พลังงานหมุนเวียนจะโตเยอะ สังเกตเห็นว่า Tendency ไม่เข้าทาง แต่ไปอีกทาง

การประกอบธุรกิจ กฟผ. แบ่งเป็นผลิตไฟฟ้า รับซื้อไฟฟ้า ส่งไฟฟ้า อยากถามว่าสิ่งที่กฟผ.รับซื้อมากไปหรือไม่ ถ้ารับซื้อมากไปส่วนแบ่งการตลาดลดลง มีบริษัทลูกคือ ราชบุรีโฮลดิ้ง EGCO EGAT International DCAP EGAT Diamond เป็นต้น ในลูกของกฟผ.เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ปัจจุบันถือว่าล้าสมัยแล้ว พันธกิจเปลี่ยนแล้ว พันธกิจสามารถเปลี่ยนแปลงเรื่องราวเต็มไปหมด

อย่าง PTTEP เป็นลูกของ PTT ดังนั้น ปตท.เปลี่ยนเป็น PTTEP กับ TOP ถือแทน อยากให้ดูว่าบริษัทลูกเก่าหรือไม่ ก็ลองดู

ผู้ผลิต มี IPP มี SPP มี VSPP ด้วย ถ้าเป็น ดร.พงษ์ชัยจะถือหุ้นหมดเลย

สิ่งที่กลัวคือ กฟผ.ไปลงทุนที่อื่นอีกได้หรือไม่ อย่างที่สองคือเขา Bypass เรา ส่วนของสายส่ง ส่วนของผลิตให้แยกมาหนึ่งอันเป็นไปได้หรือไม่ ตอบไม่ได้ถ้าวิ่งผ่านตรงจบเลย

VSPP กับ SPP อาจไปส่งตรงไม่ทัน เป็นตัวอย่างของ EGCO

รายได้ของ EGCO 68 % เสมือนขณะนี้ กฟผ.กำลังบริหารตะกร้าพลังงานอยู่

6. ประเด็นอนาคต ท้าทาย AEC กับตลาดพลังงานไฟฟ้าในอาเซียน

พอเปิดเสรีอาเซียนหมายถึงเป็นโอกาส กฟผ.ต้องหาโอกาสจากข้างนอกด้วย

ศาสตราจารย์ภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

เครื่องมือ STP

1. Segmentation – เรื่องการแยกเป้าทางการตลาด คือแบ่งตลาดชนชั้นบน ชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง อย่าง C- Class เป็นพวกไม่คิดว่ามิเตอร์ว่ากี่ตังก์ แต่ถ้าคิดว่า สมัยก่อนการแบ่งชนชั้นจะเป็นเหมือนนาฬิกาทราย ต่อมาเหมือนรูปเจดีย์ แต่ปัจจุบันเป็นเหมือนรูปอัลมอนต์คือมีชนชั้นกลางมาก คือกลุ่ม C เป็นกลุ่มคนที่หลอกยาก แต่ไม่รวยเหมือน A เถ้าแก่ และสุดท้ายจะเป็นเหมือนหมูอ้วน

ทำไมไม่ส่งคนไป CLMV หมดเลย เน้นการทำ Production and Wholesale หมายถึงให้ซอยละเอียดอย่าตัดกางเกงโหล

2. Target Market 1.ใครเป็น Age Group 2. ใครตัดสิน เช่นลูกเป็น Teenage /Elders สังคมในประเทศไทย คนแก่ 1ใน 4 คน ต้องคิด 3.การศึกษาอยู่ตรงไหน 4. Family Size

3. Product Positioning นักการตลาดจะใช้ 4 P’s

สิ่งที่ EGAT มี Corporate culture The symbols ให้ดูสัญลักษณ์

1. Heroes ฮีโร คือรู้ว่าใครเป็นใครและจะไปฟ้องใคร

2. RITES จัดงานเล็ก

3. RITUALS จัดงานใหญ่

4. Gossips ข่าวลือ

5. CABALS มีแต่ละก๊วน ก๊วนเล่นอะไรกัน จะสังเกตได้ว่าส่วนใหญ่ EGAT ไม่ค่อยเดินคนเดียว

6. Hospitality การต้อนรับคนแปลกหน้า

7. Communication การสื่อสารภายใน EGAT จะพอตัวไม่เวอร์

วัฒนธรรมองค์กรมี 5 Types

1. Work hard /Play hard ได้แก่พวกอยู่หน้าเตา

2. Bet the Company รอก่อนชนะนาน

3. Macho Culture ทำอะไรต้องชนะ

4. Process Culture เน้นกระบวนการ

5. Mix Culture EGAT เหมือนสิงคโปร์ คือมาจากหลายที่แต่ก็รักกันได้

สรุปคือรักษา Culture ให้ได้อย่ายอมแลกอะไรระยะสั้น

ข้อดีของประเทศไทยที่ Michael Porter กล่าวว่า

1. สามารถทำอาหารเลี้ยงชาวโลกได้

2. ไม่มีรถยนต์ยี่ห้อไหนไม่ได้ทำในประเทศไทย 37% Made in Thailand เมืองไทยมีผู้ผลิตรถยนต์หนาแน่นที่สุดในโลกมี 27 ยี่ห้อ

3. เมืองไทยเป็น The right side country

ตัวอย่างเช่น ฝรั่งเศสมี 500,000 ตารางกิโลเมตร มีพลเมือง 64 ล้านคน ขนาดพอ ๆ กับประเทศไทย

4. มีอาหารทาน 24 ชั่วโมง

5. คนไปทำงานที่เมืองนอกดี ๆ ก็กลับมาตายรังที่เมืองไทย

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่คลื่นลูกที่สี่ ขอถามว่าลักษณะโครงสร้างทางการตลาดจะมีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง

เมืองไทยมีภาคการลงทุนในภาคเกษตร 30 %อุตสาหกรรม 30 %บริการ 30 % และเทคโนโลยี 10 % และมีตลาดอยู่ 5 ตลาด อาทิ ยุโรป อาเซียน อเมริกา ญี่ปุ่น จีน เป็นต้น เปรียบเสมือนประเทศไทยมีทุกอย่างแต่ไม่ได้เก่งอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ แต่ผลรวมแล้วดีกว่าเปรียบเสมือนนักกีฬาที่ได้ถ้วยรวม อย่าง EGAT

บางทีเรามีอะไรดี ๆ มากแต่ไม่ค่อยเห็นอะไร แต่เมื่อมองมาจากข้างนอกมองเข้ามาจะภูมิใจมากที่เราเป็นคนในและจะเห็นอะไรที่ถูกใจไปหมด อยากให้ลองดูว่า Hidden Asset มีอะไรบ้าง แต่เมื่อ Identify จะทำอย่างไรให้จากรุ่นสู่รุ่นแล้วถ่ายทอดไปสู่รุ่นน้องได้

2. อยากทราบเรื่องการปรับโครงสร้างของ ปตท. มีการถือ Cross กันอยากถามว่าเป็นอย่างไร บ้าง

แต่เดิมปตท.แม่เป็นคนถือ แล้วกฤษฎีกาตีความบริษัทลูกที่แม่เป็นวิสาหกิจแล้วถือเกิน 50% ต้องปฏิบัติตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้าง ปตท. เป็นบริษัทแม่ ถือรวมเคมีและอโรเมติกรวมกัน มีเอกชน และประชาชนถือด้วย นำตรงนั้นมาถือบริษัทลูกด้วยก็ไม่ใช้เป็นปตท.ถือตรง เป็นลักษณะเอาลูกของปตท.ไปถือแทน ก็ไม่นับว่าเกิน 50% เลยตีความว่าทำได้คือนำลูกของ ปตท.ไปถือ ไม่ได้นับเหมือน Nominee คือไม่ให้แม่ไปถือลูกโต อย่าง กฟผ.ให้เอาราชบุรีไปถือบริษัทลูกแทนเราได้ เป็นต้น

กรณี ปตท.น่าสนใจมากเพราะตัวแม่ไม่ได้ออกก่อน แต่ตัวลูกออกก่อน

อยากให้กฟผ.ศึกษา Product ของ Nokia และ Kodak ที่แต่ก่อนเคยสุดยอดอยู่แล้ว แต่พฤติกรรมของคนเปลี่ยนแปลงไป

กระต่ายแพ้เต่าเพราะกระต่ายเลินเล่อ ทำให้แพ้เต่า แค่กระต่ายย่อง ๆ วิ่งกลับไปกลับมา เรื่องนี้ก็ไม่ทำให้แพ้เต่า ดังนั้นส่วนใหญ่องค์กรที่วันนึงเดินต่อไปไม่ได้หรือสะพานขาดคือถึงจังหวะที่ Execute ไม่ Execute แต่ถึงเวลาแล้วช้าเกินไป และเมื่อชนะแล้วจะอยากได้แชมป์ไปตลอดจะทำอย่างไร

โลกการค้าเสรีจะมองรัฐวิสาหกิจเป็น Monopoly นักการเมืองอาจนำมาเป็น Agenda คือภายนอกมองไปเห็นด้วยแบบนี้แล้วจะผลักเราจนมุม


สรุปประชุมผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ : CEO-HR-Non HR-Stakeholders and EGAT’s new values

วันที่ 16 มีนาคม 2559

การบรรยายพิเศษ

โดย คุณจันทนา สุขุมานนท์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Workshop

  • EGAT CEO ทำหน้าที่ HR ได้ดีแล้วยัง ถ้ายังต้องปรับปรุงด้านใดบ้าง ในอดีตถึงปัจจุบันมี CEO คนไหนสนใจ เรื่อง HR อย่างจริงจัง
  • ฝ่าย HR ของ EGAT มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร อธิบาย ต้องปรับปรุง ด้านใด
  • ยกตัวอย่างเป็นรูปธรรมที่ Non HR ใน EGAT ทำงานสำเร็จ เรื่อง HR 2 เรื่อง
  • Non – HR คือ พลังสำคัญที่สุดของ EGAT ในเรื่อง HR จะพัฒนาอย่างไร ให้มีบทบาทสูงขึ้นในอนาคต และหลักสูตรนี้จะช่วยอย่างไร?
  • บทบาทของ HR จะช่วยพัฒนาสังคมการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสร้าง Trust ให้ กฟผ.อย่างไร?
  • ยก Case ที่ CEO/HR/Non HR/ Stakeholders ทำสำเร็จ 2 เรื่อง และไม่สำเร็จ 2 เรื่อง

คุณจันทนา สุขุมานนท์

คุณจันทนาได้กล่าวถึงการเรียนรู้จากสิ่งที่ลงทุนไปของ บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง และได้กล่าวถึงสัดส่วนการทำงานของคนในองค์กรที่ว่าแม้มีผู้หญิงเป็น Minorities แต่ก็เก่ง ส่วนผู้ชายส่วนใหญ่จะเป็นจบทางด้านวิศวกร และมีจำนวนมาก

ด้านการบริหาร HR ในส่วนตัวคิดว่าคนที่เป็น HR ที่ดีต้องมาจาก Line เนื่องจากรู้ว่าสิ่งที่ได้คืออะไร รู้วิธีการทำงานของฝ่าย

CEO จะเป็น Support function

CEO ถ้าเปรียบกับวงออร์เคสตร้า จะเปรียบเสมือนคอนดักเตอร์ คือจะรู้ว่าเล่นเพลงอะไร และจะนำวงไปแบบไหน

ส่วนใหญ่เวลาสอบแบบสอบถาม 360 องศา HR คนจะตก People Skill

สิ่งที่อยากฝากไว้คืออยากให้ลองถามตัวเองว่าอยากทำงานได้ดีทำไมไม่ต้องการมี Coach เน้นเพื่อการพัฒนาตนเองให้ได้ ให้ได้เกรด A ก่อน

เราต้องรู้ว่า Roadmap ถึงสิ้นปีเป็นแบบไหน

กฎ 5 D เพื่อการทำงานประสบความสำเร็จ

1. Desire ชอบในสิ่งที่เราทำ

2. Discipline มีวินัย

3. Development – พัฒนาได้

4. Determination – สามารถกำหนดตัวเองได้

5. Duck เคยเห็นเป็นว่ายน้ำหรือไม่ เป็ดไม่หยุด เป็ดลอยเหนือน้ำ หมายถึงต้องอยู่เหนือปัญหา

ติดตามได้ที่ Blog ชื่อจันทนา สุขุมานนท์

สิ่งที่สำคัญของทุกคนคืออยากให้ใช้เวลาที่มีประโยชน์ให้มากที่สุด

Landmark Forum

ทุกคนคิดมองคนแต่ข้างนอก โดยไม่ได้มองข้างในว่าเป็นอย่างไร คิดดีก็ดี คิดไม่ดีก็เป็นคนไม่ดีแล้ว

โค้ช เปรียบเสมือนกระจกให้คนมองเห็นโลก

CEO-HR-Non HR-Stakeholders and EGAT’s new values

ถ้า Willing ที่จะ Change ไม่มีอะไรที่สายเกินไป ต้องเปลี่ยนจาก Good to Great

ทรัพยากรมนุษย์คือปัจจัยความสำเร็จขององค์กร

ภาษาอังกฤษสำคัญเพราะเราจะสามารถอ่านหนังสือหรือพัฒนาอะไรก็ได้ เราต้องพยายามเรียนรู้ด้วยตัวเราเอง

สิ่งสำคัญอันแรกคือการเปลี่ยนตัวเองให้ได้ก่อน

แผนงานหลักงานทรัพยากรมนุษย์

1. Self Realization ต้องมีการพัฒนาตนเอง Self Development ของตัวเอง มีการไปทำ Self Assessment ของตัวเอง มีการทำ Gap Analysis มีการเขียนสิ่งที่สร้างขึ้นมาอย่างเช่นภาษาอังกฤษได้ 500 แต่มีคนได้ 600 Mean 550 แต่อยากได้ 600 จะทำอย่างไร มี HR Goal , Master Plan ต่าง ๆ คนเรียนเก่งกว่าเยอะมาก

2. Defining ได้แก่ Brainstorming Workshop , Gap-Analysis

3. Planning - Team and Time

4. Implementing – Lauching Activities , Follow-up

5. Evaluation – Reviewing , Learning Summary

ทำไมต้องทำการเปลี่ยนแปลง

โลกเปลี่ยนแปลงเนื่องจากมีผลกระทบกับองค์กร ในปัจจุบันนี้เป็น Digital Economy เป็น SPP Hana บริษัททุกอย่างเป็น Paperless เป็น E-people E-order ทุกอย่างใช้การ์ดหมดเลย

ธุรกิจคาดหวังอะไรจาก HR

- คนที่ถูก Blame มากสุดคือ HR และจะทำอย่างไรให้สอดคล้องกับธุรกิจ เช่นอยากซื้อธุรกิจเพิ่มแต่ซื้อไม่ได้เพราะไม่มี CEO ไปดำเนินการดังนั้น Succession Planning สำคัญมาก

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ

- ทำไมไม่พยายามทำให้เป็นคนทันสมัย

- การออกแบบรูปลักษณ์ใหม่สามารถเพิ่มราคาได้

การปรับกลยุทธ์ขององค์กร

- เราต้องเปลี่ยน Strategy ของเรา ต้องปรับปรุงการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพของคน ยึดหลัก Customer Centric Organization

- เราต้องทำอะไรบ้าง

- ปรับองค์กร Change Culture ตัวอย่างที่ปูนซีเมนต์นครหลวงใช้การเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น 15 ปี ทุกคนต้องใช้ภาษาอังกฤษ และเพิ่มทำ Culture ใหม่

ปัจจัยความสำเร็จคือ “บุคลากร”

Intangible Asset สำคัญกว่า Tangible Asset

การปรับวิธีการผลิตเปลี่ยนจาก Inside out เป็น Outside In

- ทุกสิ่งมาตามที่ลูกค้าต้องการเนื่องจาก เขา Request แบบนั้น

- HR ต้องรู้ว่าธุรกิจไปทางไหน เพราะ HR คือบทบาทที่ลูกค้าคาดหวัง

- Start Up คือการตั้งกิจการขึ้นมา โทรศัพท์ที่ใหม่ที่สุดมี Note ใหม่สุด สามารถสั่งอาหารได้ล่วงหน้า Check in ก่อน

Right People : Right Seat

Only the right employee is the best asset

Am I the right people to sit in this bus

HR กับประสิทธิภาพขององค์กร

- ถ้าทำให้ ROI สูงขึ้นต้องปรับให้ HR ดีขึ้น

- HR เสมือน Business Partner

- HR เป็นส่วนทำให้ Line Manager ดีขึ้น

- ต้องตอบโจทย์ธุรกิจให้ได้ ต้อง

- HR ต้องเป็น Trust Worthy

- HR ต้องเป็น Pro Active คือรู้ว่าจะเรียนอะไร

- ต้องรู้ว่าอันไหนต้อง Outsource

- คนต้องเปลี่ยนไป

- การทำงานที่ลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลาง Customer Centric ต้องมี HR Partner จะทำอย่างไร ต้องมี Plant HR สิ่งที่ปูนนครหลวงทำคือ IDP

- HR ต้องทำกับ Line คือ Net Promoter Scholl เพราะต้องการเป็น Customer Centric Organization

- Be not perfect but be fast

หน้าที่ของ HR

HR ความจริงแล้วเป็นหน้าที่ของ Leader ทุกแผนกที่จะทำการ Support ว่าจะทำตรงไหน พัฒนาตรงไหน

- ทุกคนประสบความสำเร็จเพราะอะไร

- HR มีหน้าที่ Support

- ต้องมีการประเมินคนว่า Exceed /Middle/Below

- คนใหม่กับคนเก่าจะมีการ Adjust อย่างไร (คนได้เงินเดือนเท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องยุติธรรม)

- เราได้ตำแหน่งดีขึ้นเพราะเขาตั้งใจทำงาน เราต้อง Support คนที่ช่วยให้เราตำแหน่งดีขึ้น

- เราอยากเป็นอะไรเราต้องพัฒนาให้เป็นอย่างนั้น

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ที่ กฟผ.มี HRM กับ HRD ในโลกปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงบุคลากร ดังนั้นจะเป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่ที่จะมี HRS ที่ดูแลโดยเฉพาะใกล้เคียงกับ CEO

หน้าที่ของ CEO แท้จริงคือดูแลเรื่องคนและจูงมือคู่กับ HR Manager ถ้าคนดีแล้วองค์กรดีหมด

อย่าง HRS ก็มาจาก HR ทั้งหมด มาจาก Vision ของ CEO หมายถึงตัว CEO ต้อง Drive แล้วมาทำแผน HR ให้ได้ อย่างน้อยคนที่เป็น HR ได้ดีต้องรู้ทฤษฎี HR คือมีกี่ Level และ SBU ขนาดไหน ต้องฟัง Line Manager ด้วย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เราต้องกลับมาดูพื้นฐานของเรา ใน HR มีปลูกคือ HRD แต่เราต้องมีเก็บเกี่ยว อย่าง กฟผ. ต้องมีเกียรติและศักดิ์ศรีคือ Respect and Dignity บางเรื่องอาจเป็น Harvesting แต่ผลประกอบการของเราไม่ Maximum มีอะไรที่ Relevance กับ กฟผ.

Where are we ? Where do we want to go? How to do it?

เวลาทำ Workshop ให้พิจารณา CEO หรือ Non HR ด้วย และทั้งหมดนี้เป็น Line Manager เนื่องจากมีลูกน้อง และเป็นคนทำงานที่รู้จริง ให้ Case IRPC ที่เป็น วีดิโอไปดู

CEO ต้องเป็นคน Set Policy คือ Right people are the most important

HR จะทำหน้าที่สร้างสังคมการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริงหรือไม่ ต้องมีหน้าที่เอาชนะอุปสรรค ให้กฟผ. Sustainable เพราะมีปัญหาเรื่องความยั่งยืนในชุมชน

HR ต้องมีท่าทีในการดึงความเป็นเลิศของ Non-HR มา

HR ต้องเป็นคนที่ Networking มี Collaboration เก่ง

Stakeholder จะเป็นตัวแปรที่สำคัญ กฟผ.ต้องดูตัวละครให้ดี เวลาวิจารณ์ HR ต้องทำความเข้าใจด้วย ต้องเป็นตัวที่เป็น Pro-Active คือเล่นเป็นและให้คนอื่นเล่นด้วย

คุณจันทนา สุขุมานนท์

ก่อนทำอยากให้ดู EGAT Core Value คืออะไร ต้องเข้าใจว่าแก่นของเราคืออะไร ปกติของคนชอบสร้าง Silo จะทำอย่างไรให้แต่ละ Silo Align กันได้ Mission คืออะไร

Value Creation

Core Value

Value Proposition – เราจะถนอมเขาได้อย่างไร

คืออะไร เพราะอะไร

ต้องเปรียบเทียบว่าทำไมต้องซื้อสินค้าเรา

Stakeholder คืออะไร คือผู้มีส่วนได้เสียใช่หรือไม่ Stakeholder ของ กฟผ.คือใคร เช่น Supplier , Investor ,Committee, Business Partner , Customer

ก่อนอื่นต้อง Identify Stakeholder ก่อน ต้องสนองความต้องการให้ได้ ทุกคนต้องไปถึงตรงนั้นให้ได้

ต้อง Distance Need ให้ได้ว่าต้องการอะไร

ตรงกลางคือ Value Creation ต้อง Identify ให้ได้ว่าคืออะไร

Enterprise Value คืออะไร ชุมชนต้องการอะไร ชุมชนต้องการว่าเราต้อง Care กับเขาอย่างไร Business Partner ต้องการอะไร ต้องการเป็น Strategic Partner เป็นคู่ค้าของเราตลอดเวลา เราต้อง Identify ของเราว่าเราจะทำแบบไหน ให้ Identify Need ของ Stakeholder แล้ว ให้มองว่าจะ Achieve อะไร

ทุกคนควรเป็น HR ในตัวเองว่าจะทำอะไร

Workshop

1. EGAT CEO ทำหน้าที่ HR ได้ดีแล้วยัง ถ้ายังต้องปรับปรุงด้านใดบ้าง ในอดีตถึงปัจจุบันมี CEO คนไหนสนใจ เรื่อง HR อย่างจริงจัง

2. ฝ่าย HR ของ EGAT มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร อธิบาย ต้องปรับปรุง ด้านใด

3. ยกตัวอย่างเป็นรูปธรรมที่ Non HR ใน EGAT ทำงานสำเร็จ เรื่อง HR 2 เรื่อง

4. Non – HR คือ พลังสำคัญที่สุดของ EGAT ในเรื่อง HR จะพัฒนาอย่างไร ให้มีบทบาทสูงขึ้นในอนาคต และหลักสูตรนี้จะช่วยอย่างไร?

5. บทบาทของ HR จะช่วยพัฒนาสังคมการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสร้าง Trust ให้ กฟผ.อย่างไร?

6. ยก Case ที่ CEO/HR/Non HR/ Stakeholders ทำสำเร็จ 2 เรื่อง และไม่สำเร็จ 2 เรื่อง

กลุ่มที่ 2

4. Non – HR คือ พลังสำคัญที่สุดของ EGAT ในเรื่อง HR จะพัฒนาอย่างไร ให้มีบทบาทสูงขึ้นในอนาคต และหลักสูตรนี้จะช่วยอย่างไร?

- ทุกคนคือ Non-HR ทุกคนต้องเข้าใจก่อนว่าทุกคนมีความเป็น HR ในตัวอยู่แล้ว ทุกคนมีหน้าที่นี้ในตัวเอง แต่เราจะทำอย่างไร สิ่งที่มองได้ง่ายสุดคือเพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หัวหน้า จะทำอย่างไรให้เกิดปฏิสัมพันธ์ในลักษณะ Teamwork ทำอย่างไรให้มีคุณค่ากับทีมของเรา ต้องให้การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สร้าง Culture ให้เกิดขึ้น มีการเรียนรู้ การถ่ายทอด และสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา เราอาจสร้างสัมมนาที่เป็น Informal ที่ส่งเสริมให้ทุกคนกล้าพูด กล้าแชร์ เป็นการกระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ และมองว่าตัวเราเป็นสื่อกลางในการ Implement สู่หน่วยงาน ปลูกฝัง Value เช่นค่านิยมเข้าไป

- สร้างและกระตุ้นพัฒนาคนได้ตลอดเวลาให้ทุกคนรับหน้าที่จากแต่ละฝ่ายไปแล้วจะขึ้นสู่องค์กรใหญ่เอง

- ให้ทุกคนตระหนักในคุณค่าของตัวเอง เพื่อส่งเสริมศักยภาพของคนให้เกิดมาได้อย่างแท้จริง หน่วยงาน HR เป็นเสมือน Tool หน่วยงานเห็นจุดอ่อน ปิดจุดอ่อน และเพิ่มจุดแข็งเรื่อย ๆ จะดีมาก

คุณจันทนา สุขุมานนท์

ชอบที่ว่าทุกคนต้องเป็น HR ของตัวเอง หน่วยงาน HR เป็นเพียง Support เราควรเป็น HR ในแผนกของเรา

เรื่อง Informal better than formal

กลุ่มที่ 3

1. EGAT CEO ทำหน้าที่ HR ได้ดีแล้วยัง ถ้ายังต้องปรับปรุงด้านใดบ้าง ในอดีตถึงปัจจุบันมี CEO คนไหนสนใจ เรื่อง HR อย่างจริงจัง

ได้มองถึง CEO มีความสนใจเรื่อง HR ได้ดี

สิ่งที่เห็นได้ชัดสมัยผู้ว่าฯ สมบัติ คือการเลื่อนระดับให้เด็กรุ่นใหม่ได้เป็นผู้บริหารได้เร็วขึ้น มีการให้ทุนมากขึ้น 10ทุนต่อปี

ผู้ว่าฯ สุทัศน์ มีการคัดเลือกคนเก่ง คนดี เข้าไปหาในมหาวิทยาลัย และมีการสร้าง Successor ในผู้บริหารระดับสูงเตรียมพร้อมกับตำแหน่งผู้ว่าการ ฯ

กลุ่มที่ 6

2. ฝ่าย HR ของ EGAT มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร อธิบาย ต้องปรับปรุง ด้านใด

- HR มีจุดแข็งคือมีฐานข้อมูลบุคลากรดีมาก องค์ความรู้ดี มีการวางแผนด้านทิศทางฝ่ายสู่ระดับล่างแล้ว การรับบุคลากรมีการรับภาษาอังกฤษ 550 และเรียกสอบสัมภาษณ์หมด มีการปฐมนิเทศที่ยาวมาก

- จุดอ่อนคือไม่มองเชิงรุก และขาดการวางแผนระยะยาว มีช่วงรับเยอะ หยุดรับ และรับเยอะอีกที

- เส้นทางความก้าวหน้าไม่ชัดเจน มุมมอง Inside-Outside ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ ขาดการประสานระหว่างฝ่ายฝึกอบรม HRD กับฝ่าย HRM

วิธีการคือควรให้มีการประสานมากขึ้น ให้เน้นเรื่องคน อย่าเน้นเรื่องระบบมาก

กลุ่มที่ 1

3. ยกตัวอย่างเป็นรูปธรรมที่ Non HR ใน EGAT ทำงานสำเร็จ เรื่อง HR 2 เรื่อง

การคัดเลือกบุคคลทำงานใน EGAT รูปแบบคือให้ทางกองไปตัดสินใจคัดเลือกคนจะได้คนตรงตามที่แต่ละกองไปใช้งานและทำให้ใช้งานได้เกิดประสิทธิผลโดยทันที เรื่องการอบรมประจำปี ส่วนใหญ่จะเน้นทางเครื่องกลไฟฟ้า การบำรุงรักษา การเดินเครื่อง แต่ฝ่ายโยธามีหลักสูตรน้อยมาก

วิธีการแก้ไขปัญหาของ Non HR คือจาก on the job หรือ KM และส่งต่อให้น้อง ๆ ได้รับทราบ ทำแล้วได้ผล

กลุ่มที่ 5

5. บทบาทของ HR จะช่วยพัฒนาสังคมการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสร้าง Trust ให้ กฟผ.อย่างไร?

หลักการในภาพของกฟผ. จะปรับในเรื่อง CSR เป็น CSV คือเป็นการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างชุมชนกับ กฟผ.

นโยบายของคนในท้องถิ่น

การส่งเสริมคุณภาพชีวิต

การดำเนินการ มีการยกระดับนักศึกษาฝึกงาน กฟผ.อาจเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่ไม่สำคัญ แต่การทำ CSV ให้นักศึกษาฝึกงานมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการฝึกงานไปแล้ว มีการพัฒนาหัวใจช่าง มีคนที่มีทักษะ ฝึกงาน เอาความรู้ต่าง ๆ ให้ชุมชน รับรู้ทักษะต่าง ๆ สร้างให้คนมีอาชีพได้ 3. มีการพัฒนาสินค้าชุมชน ใช้ความรู้ลงชุมชน มีการประสานหลายภาคส่วนร่วมถึงข้าราชการ 4. มีการนำภารกิจราชการไปช่วยชุมชนด้วย 5. มีการจ้างงานในชุมชน

กลุ่มที่ 4

6. ยก Case ที่ CEO/HR/Non HR/ Stakeholders ทำสำเร็จ 2 เรื่อง และไม่สำเร็จ 2 เรื่อง

กรณีที่สำเร็จ

1. ช่วงวิกฤติน้ำท่วมปี 2554 ทุกคนที่เกี่ยวข้องได้ร่วมบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนด้วยความทุ่มเทที่สร้างให้พี่น้องได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ตัว R เป็น Responsibility เกิดจากจิตวิญญาณที่ต้องการช่วยเหลือประชาชนอย่างแท้จริง และประชาชนเกิดความซาบซึ้ง

2. โครงการจิตอาสาของแม่เมาะ เบื้องหลังแนวคิดมาจากปูนซีเมนต์ ที่แม่เมาะมี 5 ตำบลและแต่ละกองรับผิดชอบ 1 หมู่บ้าน มีจิตอาสาทำงานร่วมกับชุมชน แต่ละ Line Function มีการเสนอโครงการให้ผู้บริหาร และคิดว่าสำเร็จพอสมควร ปัจจุบันมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนโดยส่วนใหญ่

กรณีที่ไม่สำเร็จ

1. ไม่สามารถรักษาสัดส่วนกำลังผลิตไว้ที่ ร้อยละ 50 เพราะต้องออกแรงเยอะต่อสู้กับสหภาพ มีหลายคนพูดว่าดี ถูก แต่อย่ามาสร้างที่นี่ และการสร้างโรงไฟฟ้าเว้นช่วงมานาน การจะทำที่เก่าก็มีปัญหา การมองจาก Inside-Out คิดว่าจะทำได้ แต่ทำไม่ได้เพราะสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปเนื่องจากชุมชนอยู่เป็นสิ่งท้าทายที่จะต้องทำต่อไป

2. เมื่อ 30 ปีที่แล้วจะมุ่งสู่ HPO เราไม่รู้ว่า Broadbrand ดีกว่าอย่างไร ไม่ว่าจะเป็น CEO หรือผู้บริหารเข้าใจว่าต้องเปลี่ยนแต่การสื่อสารไม่ชัดเจน และมี Silo ที่คิดว่าจะมีผลกระทบต่อตนเอง จำเป็นต้องมีพื้นฐานทาง Engineering และสร้างผู้เชี่ยวชาญขึ้นมา และอีกฝ่ายมองเรื่องผลตอบแทนมากกว่า ตอนนี้ยังมีปัญหาของระบบ PC อยู่ โครงสร้างคนเป็นลักษณะหัวปลาวาฬ ยังมีส่วนไม่ได้ขึ้นอีกมากมาย

คุณจันทนา สุขุมานนท์

สิ่งที่ภูมิใจมากที่ทำกับ EGAT เมื่อ 33 ปีที่แล้วเป็นคนทำเขื่อนเชี่ยวหลาน และสนามกอล์ฟ ภูมิใจที่แต่ละคนมีความคิดเห็นและมีความสามารถ ชอบ ที่เปลี่ยน CSR เป็น CSV และตอนนี้เขาจะเริ่มเปลี่ยนเป็น SD : Sustainable Development

สิ่งที่ยังไม่ประสบความสำเร็จเรียกว่าเป็น Challenge อย่างเช่น การสร้างโรงปูนและสร้างเขื่อนเขาแหลม และในตอนนั้น มีวัดที่เป็นที่เคารพรัก สักการะมาก ต้องมีการคุยกับชุมชนตลอดเวลา อยู่ที่ว่าเราจะนำใครไปพูดกับชุมชน ขึ้นอยู่กับเราจะวาดภาพให้ชุมชนเห็นว่าอย่างไร เราจะทำอย่างไรให้มีเขื่อนได้ ต้องคุยกับชุมชนให้ได้ ให้นำ The right person ให้คนของเขามาคุยกับเราและให้คนของเขาพูดเอง

HR ของ EGAT มีจุดอ่อน คือ HRD กับ HRM ยังไม่ Align กันแล้วจะไป Align คนอื่นได้อย่างไร จริง ๆ ต้องมีคนที่จับ 2 อันให้ Align ให้ได้ HR ต้องไปอยู่กับ CEO ด้วย เพื่อการสื่อสารไปฝ่ายต่าง ๆ ให้พัฒนาได้ ให้นำจุดอ่อนไปจุดแข็งเพื่อให้มีการพัฒนามากขึ้น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เทียบกับทุกรุ่นลงมาในประเด็นใกล้เคียงความจริงมากขึ้นอย่าง ความสำเร็จของหลักสูตรนี้วัดที่ Value Added ยังไม่ได้ไป Value Creation

1. การดูแลทั้ง 4 ตัวละครน่าจะเลือก Flagship อะไรสำเร็จ อะไรไม่สำเร็จ

2. เรื่องคนต้องไปสู่ 3 V อยากให้กระเด้งไปสู่ความเป็นเลิศ

3. การมีความสัมพันธ์ร่วมกันในรุ่นที่ 12 น่าจะเป็นพลังสำคัญคือ Informal Network ถ้ามีประธานเข้มแข็งจะดีมาก อยากให้มีประธานที่รวมพลังเชื่อมรุ่น 12 ใกล้ชิดและแบ่งปันความรู้กัน

4. อยากให้มีการรวมตัวละครที่เป็น Intangible Asset มากขึ้น ลงทุนได้จะเป็นประโยชน์ ในข้อ 5 อาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญามี Stakeholderที่เป็นชุมชน เราอาจทำชุมชนการเรียนรู้ในทุกจุดแล้วนำปราชญ์ชาวบ้านมาทำ และ กฟผ.อยู่เบื้องหลังโดยไม่มุ่งที่สร้างโรงไฟฟ้าอย่างเดียว การทำงานของ กฟผ.จะง่ายขึ้น

สิ่งที่ดร.จีระทำอยู่แล้วมี ข้าราชการ นักวิชาการ นักธุรกิจ ชุมชน ในแต่ละคลัสเตอร์เป็นการทำอย่างต่อเนื่อง แต่ของ EGAT เป็นการแก้ปัญหา

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

จาก Workshop หรือที่คุณจันทนา วิเคราะห์ เห็นผู้นำ สองแบบคือผู้นำที่เป็น Non HR ในขณะเดียวกันจะเห็นบทบาทของ HR ใน Non HR ทุกท่านจะพบว่า HR อยู่ใน DNA ขององค์กรไม่ว่าจะรู้จักตัวเองหรือไม่ เพราะศักยภาพ HR ซ่อนอยู่

สิ่งที่ EGAT มี คือมีฐานข้อมูล ฐานองค์ความรู้ ทิศทางเรื่องคน HR อยู่ใน DNA ของทุกท่านคือ EGAT มีทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ต้นน้ำ HR มีบทบาทมากเพราะต้องสัมภาษณ์ จากต้นน้ำมาจะสั้น แม้จะปฐมนิเทศยาว แต่มาอยู่กลางน้ำ จะมาอยู่ที่ Non HR ฝึกเขา On the job training อยู่ในมือของทุกคน เพื่อส่งไปอยู่ปลายน้ำคือส่งไปเป็นผู้นำขององค์กร

โอกาสที่ผู้นำพูดถึงส่วนใหญ่จะมาจากตอนอยู่ช่วงกลางน้ำ เป็นช่วงที่ต้องสะสม

ช่วงปลายน้ำ มีบทบาทซ้อนอยู่คือเป็น Top Down ถ้า Aware HR จะเน้นในการนำองค์กรไปข้างหน้า ต้องมีการฝึกอบรมในเรื่องที่สำคัญขององค์กร ถ้าเอาบทบาท HR ไปใช้จะทำให้ประสบความสำเร็จ

บทบาทของ HR ทำอะไรกับกลุ่มปลายน้ำ คือเอาคนที่มีความรู้ความสามารถจากข้างนอกมาให้ความรู้เรื่อง HR เพราะ EGAT ต้องการความแตกต่าง

สรุปคือ เราจะ Change ไป Transformation แบบมีตัวตนอยู่ด้วย จะได้ผสมกันในส่วนที่เหมาะสม

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จุดอ่อนคือไป Link กับ ฝ่าย Academy น้อย กฟผ.ควร Invest เรื่องวิชาการตั้งแต่เด็ก Stakeholder นอกจากสื่อมวลชน อยากให้ มองไปที่นักวิชาการต่าง ๆ และปราชญ์ชาวบ้านที่มีความสำคัญด้วย

เสนอว่ารุ่นนี้ควรเขียนบทความ 3-4 เรื่อง แล้วนำไปตีพิมพ์ ต้องมีบารมี รอบรู้ และเข้าใจ ถ้าเราใฝ่รู้และเข้าใจจะดีมาก

ต้องระมัดระวังเรื่องการให้เกียรติ ความเป็นเจ้าชอง

สรุปประชุมผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ : วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือเล่มที่ 1 เรื่อง Entrepreneurship for the rest of us และสรุปการบ้าน 3 หัวข้อสำหรับสมาชิกใหม่ของ EADP 12

วันที่ 16 มีนาคม 2559

การบรรยายพิเศษ

โดย คุณจันทนา สุขุมานนท์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กลุ่มที่ 4 Chapter 2 How the Best Entrepreneurs Think

เป็นเรื่องของการทำ Salsa ซึ่งเป็นชิ้น ๆ ของมะเขือเทศ แต่มีรสเข้มกว่า ต้องการที่จะทำขึ้นมาเพื่อแทน Ketchup

H. Harriet Harrisonแต่เดิมเป็น Brand Manager ที่ Kraft ได้ตัดสินใจลาออกจากบริษัท แล้วคิดจะไปทำธุรกิจตัวเอง จึงได้มีการค้นหาไอเดียที่ดีที่สุดเพื่อมาทำธุรกิจตัวเอง

ใช้เวลาคิด (Think)เป็นระยะเวลา 6 เดือน มีการไปคุยกับที่ต่าง ๆ เพื่อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง และวันหนึ่งก็ได้แรงบันดาลใจที่จะเอา Salsa มาแทน Ketchup ให้ได้ โดยคิดว่าน่าจะมีส่วนแบ่งการตลาดที่ดี เพราะคิดว่าน่าจะมีรสชาติที่ดีกว่า มีการปรับปรุงสูตรให้ดีขึ้น โดยใช้เวลาคิดประมาณ 6 เดือน ต่อมาได้ลองทำสูตร 720 สูตร และคัดเลือกได้มา 1 สูตรที่ลองทำการตลาด และภายในระยะเวลา 3 ปีก็สามารถเข้าตลาดหุ้นได้เลย

ในเวลา 2 ปีต่อมาได้มีการขายวันต่อวัน และพบว่า 6 เดือนแรกเริ่มดีขึ้น ต่อมาเริ่มมีการ Sub Contract ให้กับบริษัทอื่นขายด้วย และต่อมาได้มีการเข้าตลาดหุ้น ขายส่วนแบ่งไป 59 % รวมใช้ระยะเวลาในสิ่งที่คิดทั้งหมด 3 ปี

สิ่งที่เรียนรู้คือ สิ่งที่ผู้ประกอบการคิดกับ EGAT คิด

1. ผู้ประกอบการมุ่งเน้น Idea แค่ 1 อย่างคือ เอา Salsa แทน Ketchup และสร้างแบรนด์ขึ้นมา ส่วน EGAT มุ่งเน้นที่ Vision และ Mission มากกว่า สังเกตได้ว่ากว่าจะมาสู่การปฏิบัติต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ มากมาย

2. ผู้ประกอบการหาแหล่งเงินกู้ด้วยตนเองไม่พึ่งพาใครง่าย ๆ ส่วน EGAT เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจมี Budget รายปีเป็นรอบ ๆ อยู่แล้ว และบางครั้งต้องใช้สถาบันการเงินช่วยในบางโอกาส

3. ผู้ประกอบการจะอยู่ในตัว Process ด้วยตัวเอง มีการทดลองทำเรื่อย ๆ จนกว่าจะขายได้ ส่วน EGAT เป็นเรื่องรักองค์กร มุ่งงานเลิศ เทิดคุณธรรม

4. ความคิดผู้ประกอบการเป็นการค้นหาโอกาส และทำ มีการปฏิบัติการทันที ไม่รอ เป็นการทำตามแผน แต่ กฟผ.ต้องถามก่อนว่าเป็นไปได้หรือไม่ มีมูลค่าหรือไม่ และอยากทำหรือไม่

ในกระบวนการที่คิด คือ ทำ เรียนรู้ ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม

5. ผู้ประกอบการจะหาสิ่งที่ใหม่และหาโอกาส เช่นจะทำ Salsa แทน Ketchup เป็นเรื่อง Innovative และ Creativity

6. ผู้ประกอบการมีการ Survey ก่อน

7. มีการ Action และรับฟัง Feedback เพื่อการพัฒนาด้วย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ได้เลือกหนังสือที่หลุดจากการทำงานของ กฟผ. มาให้อ่านเพราะคิดว่าในยุคต่อไปจะมี Opportunities ใหม่ ๆ เกิดขึ้น ดังนั้นในรุ่น กฟผ.ไม่ว่ารุ่นนี้หรือรุ่นน้องต้องมีจิตวิญญาณในการแสวงหาโอกาสต่าง ๆ เหล่านี้ ในอนาคตข้างหน้าเพื่อแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ เกิดขึ้น ดั้งนั้นหน้าที่ของคนกฟผ.คือต้องแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ

กลุ่มที่ 3 Chapter 7 Building the Team

การสร้างทีมเนื้อหาโดยรวมจะกล่าวถึงความจำเป็น วิธีการเขียนจะใช้วิธีการเล่า สัมภาษณ์และสรุปเป็นเนื้อหาเล่าให้ฟัง

ความจำเป็นในการสร้างทีม พบว่า 1 ปีที่ผ่านมาการสร้างทีมจะล้มเหลว ดังนั้นเนื้อหานี้จะเป็นแนวคิดสร้างทีมทำอย่างไรได้ทีมมา และรักษาทีมไว้ได้อย่างไร

1. ผู้ประกอบการแม้เก่งอย่างไรก็ไม่สามารถทำงานด้วยคนเดียวต้องหาคนช่วยทำงาน

2. การจัดการคนเรื่องยาก แต่เรื่องทีมยากกว่า

3. มีหลายคนบริหารทีมขนาดใหญ่ได้แสดงว่ามีเทคนิคดี ๆ อะไร

4. การจัดการทีมที่ดีต้องหาคนที่เก่งในองค์กร เมื่อก่อนเราเป็นที่หนึ่งแต่ถ้าไม่สามารถหาคนเก่งมาอยู่ในทีมได้ ความเป็นที่หนึ่งอาจจะหลุดออกไป

5. หาคนเก่งมาแก้ปัญหาไม่ใช่เอาตัวเองไปแก้ปัญหาทั้งหมด ไม่เช่นนั้นจะไม่มีเวลาทำเรื่องอื่น

6. การสร้างทีมแม้เป็นเรื่องยาก แต่อย่ารีรอ ให้เริ่มเลย เพราะเมื่อเจอปัญหาจะสายไปและไม่ทัน และเมื่อได้ทีมมาแล้วจะเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ให้ทำในสิ่งที่เขาสนใจ ทำในลักษณะอาสาสมัคร และเราต้องมีความจริงใจให้เขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร สำเร็จแล้วได้อะไร และส่วนที่สามคือมอบหมายงานให้ทำ คือให้เขาต่อสู้กับงานที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

7. ต้องมีการมอบหมายอำนาจ หรือ Function ให้ไปทำงานได้

8. เครือข่ายทางธุรกิจก็สามารถนำเป็นทีมงานหรือช่วยเหลือเราได้ทุกโอกาส

9. เรียนรู้จากคู่แข่งว่าดีอย่างไร มีจุดแข็งตรงไหน นำจุดดีของเขามาปรับปรุงเพื่อให้ทีมแข็งแกร่ง

10. การตัดสินว่าจะจัดการอย่างไรกับทีมให้ใช้มโนธรรมตัดสินบนพื้นฐานความยุติธรรม

11. Percent Rule ของ Jack Welch ได้มีการนำ 10 % ล่างสุดขององค์กร อย่าเพิ่งไล่ออก แต่ให้มาพัฒนาให้มีประสิทธิภาพจะทำให้องค์กรได้คนเก่ง ได้รักษาคน ทำให้ทีมงานมีกำลังใจ ยกเว้นพัฒนาไม่ขึ้นก็หาคนมาทดแทน

12. Diversity เป้าหมายมีหลายกลยุทธ์ ในทีมควรยอมรับในความต่าง

บทสรุปคือ ให้รีบสร้างทีมก่อนสถานการณ์บังคับให้เราสร้าง มองหาคนมีศักยภาพทำงานแทนเรา และมอบหมายหน้าที่ให้ชัดเจนเพื่อให้องค์กรเติบโตต่อไป

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวเสริมเรื่อง Free Agent ทุกอย่าง on line ไม่มี full time เป็นไปได้ว่าทีมอันนี้อาจมีการ Outside หรือ Outsource จากที่อื่น และในยุคใหม่อาจเป็น Freedom ไม่มีงานประจำ Trend อันนี้สำคัญที่สุด และกฟผ.รุ่นนี้อาจต้องมีการ Outside กับ Expert หรือ Free Agent

2 ประเด็นคือ Outside Expert สามารถนำมาเป็นทีมเดียวกัน อย่า Turn ความหลายหลายเป็น Conflict ประเด็นสุดท้ายคือถึงแม้คิดไม่เหมือนกัน หรืออาจเคยเป็นคู่แข่งกัน ให้ลองนำศัตรูมาเป็นมิตร และวันหนึ่งเขาอาจเป็นพันธมิตรกับเราได้

สุดท้ายปัญหาของทีมคือ Ego แม้กระทั่ง EGAT จะมี Conflict มากกว่าความสำเร็จ และในอนาคตข้างหน้าถ้าแสดงให้เห็นว่าทีมบางทีม Work จะเห็นว่าบริหารทีมได้อย่างไร

การเรียนต้องมี Passion Purpose และมีความหมาย

กลุ่มที่ 2 Chapter 8 How the most successful people turn Obstacles into Asset

ทำไมปัญหาอุปสรรคเป็น Asset ได้อย่างไร

Concept หนังสือเล่มนี้คือ How to คิดว่าทุกคนสามารถ Start ได้ สิ่งนี้คือ Mindset ของคนที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ แต่เราจะปรับ Mindset อย่างไร

เรื่อง Model : Act – Learn- Build Repeat Model

1. Find out your idea Start right away คือคิดอะไรให้ทำทันที และแนวความคิดจะไม่มีจำกัดเลย และเริ่มเร็วจะมีประโยชน์

2. Focus on Market Need ทำอะไรที่ลูกค้าต้องการ

3. Minimum Time & Losses เริ่มเร็วจะช่วยได้

4. Quick response Competition Barrier มี Lab Scale แล้วความรู้ที่ได้ จะเป็น Barrier

5. True Evidence Asset unseen opportunitiesวิธีการ Assess คือจะมี Evidence

Large Company – The safest thing in the world คล้าย EGAT

Idea Person and One who turns those Ideas into reality

งานทั่วไปจะเหมือนหยินกับหยาง เช่น Steve Job คิด Idea แต่ไม่รู้เรื่อง Hardware จึงหาเพื่อนมาช่วย

Mindset ของนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ

1. Learn it ACAP ยิ่งเรียนรู้เร็วยิ่งดี

2. Digging Deeper สนใจอย่างบ้าคลั่ง ดร.จีระ เสริมว่าให้ลงลึก
3. Never Complain

4. Just get job done – เมื่อมี idea ให้ปฏิบัติเลย

Plan B can be good?

- มองว่าวิกฤติเหมือนโอกาส เช่น Post it ของ 3M

- Negative Surprise is barrier to Competition / Gift / Opportunities

- Problems = Advantage

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวถึงหลักสูตรนี้ว่าอยู่ที่การปะทะกันทางปัญหาคือหัวใจของหลักสูตรนี้ และพออ่านไม่ใช่อ่านเพื่อสอบ ทำไมเลือกหนังสือเล่มนี้ไม่เลือกเรื่องเกี่ยวกับพลังงาน เพราะเป็นการกระตุ้นให้คนรู้สึกว่าแปลกและเกิดการเรียนรู้ ประโยชน์คือเรื่องความแตกฉาน การเป็น Entrepreneur ที่ต้องระวังคือความเสี่ยง

กลุ่มที่ 1 Chapter 9 Getting Motivated and Staying Motivated for the Log Haul

ดูว่าสิ่งที่บรรลุเป้าหมายคืออะไร เรื่อง Action เป็นสิ่งที่สรุปได้ทุกอย่าง การเรียนรู้ที่ผ่านมาได้อย่างหนึ่งว่าการเรียนรู้สมัยนี้ไม่ใช่การ อ่านเลคเชอร์ เท่านั้น แต่เป็นเรื่อง Motivation ที่ผู้เขียนพยายามมองอีกมุมหนึ่ง

1. Necessity ค้นหาความสนใจ การหา Quotes หาคำคมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ

2. Personal Pride ความภูมิใจส่วนตัว

3. A mission to Changeเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่

- Support group เปิดกว้างกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย Supplyและคู่แข่ง

- They have a chip on their shoulder (NGOsช่วยเรา อย่ามองเป็นศัตรู)

- A legacy (เป็นตำนาน)

- Momentum (แยกเป้าหมายให้เล็ก เสร็จทีละประเด็น)

- A diagnosis

4. Visualization การมองการณ์ไกล มีวิสัยทัศน์แต่อย่าละโอกาสระหว่างทาง ให้มีการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ

5. Staying out of your own way อยู่ในวิถีทางที่ตั้งไว้

6. A running score ระบบติดตามที่ดี ดูและติดตามตลอด – A mantra (สร้างเอง ไม่นั่งฝัน)

การเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด

- ศึกษาจากตนเอง

- ลูกค้าคือผู้ตัดสิน

- เข้าใจปัญหา จะได้ไม่ผิดซ้ำ

- ความผิดพลาดเป็นแรงผลักดัน

- เรียนรู้และแก้ไข

- มองความผิดพลาดเป็นเพื่อน

หลัก Simply

- ทำให้สะดวก / ง่าย

- ทำในสิ่งที่ไม่สำคัญให้เร็วกว่าคนอื่น

- ทำสิ่งเฉพาะที่ต้องการ ไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด

กระบวนการบริหารกลยุทธ์

เปรียบเทียบกับกฟผ. มีเรื่องของการคิดการร้อยเรียงเป็นแผนไม่ชัด คนรับต่อไม่ชัด การรายงานต่อก็ไม่ชัด KPI ไม่ดี ก็จะจ่ายผิด ๆ ต่อไป

ไม่ค่อยมี Bottom up ขึ้นมา ส่วนใหญ่กฟผ.เป็นระดับ Top down ลงไป

Attitude and Mindset เป็นเรื่องยุ่งยาก นิดนึง เรื่องแนวคิดและ Open mind คน กฟผ.จะไม่ค่อยชอบกระทรวงแรงงานเท่าไหร่ ไม่ค่อยชอบตัวชี้วัดเท่าไหร่ มีการเอาระบบ Quantity มาวัด ตัว Performance ไม่ได้สอดคล้องกับ Quality

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวเสริมว่า Trend โลกคือ Do what you know และ Do the best again.มีหนังสือน่าสนใจคือ Self Management , Self Awareness Self Control

คนที่รับใช้ต้องทำตามที่กระทรวงการคลังต้องการไม่ใช่ที่ กฟผ.ต้องการ

อาจารย์ทำนอง ดาศรี กล่าวว่า ให้คะแนน A+ ทุกกลุ่ม อ่านหนังสือที่ Mr.Brown เขียน มีการศึกษามาอย่างดี อย่าอ่านหนังสือเพราะมีตัวหนังสือ

กลุ่มที่ 2 มีแนวคิดที่บวก คิดสิ่งที่ถูกจากสิ่งที่ทำผิดถือว่าทำยาก เรื่องทีมสร้างยาก ทำไม่ได้เพราะยาก หรือยากแต่ทำได้ชอบอันไหน เป็นความสามารถพิเศษของผู้นำ

Jack Welch มาจากครอบครัวแตกแยก ปรัชญาแรงมาก GE บอกว่าถ้าของไม่เป็นอันดับหนึ่งห้ามขาย Jack Welch จะเดินไปทุกห้องทุกวัน ใครเถียงได้ตำแหน่งเลย แต่ถ้าไม่มีผลงานให้ออกเลย

Ego มี 2 Stage คือเด็กจะฝันอยากได้ทุกอย่าง แต่ผู้ใหญ่จะเป็นลักษณะมีเหตุผลของตัวเอง

ในบทที่ 8 Idea จะเกิดจากการคิดได้เอง เรื่อง ดร.อาจอง คิดไม่ออกว่าทำอย่างไร

เรื่อง Outside –in ต้องดูจากความต้องการของลูกค้าเรียกว่า Blue Ocean รุ่นใหม่อยากได้อะไรก่อนค่อยทำทีหลัง ตัวอย่างน้ำมัน Jet ขายความสุข เครื่องสำอางขายอะไร ขายความสวยเท่านั้น ให้ดูว่าสิ่งสุดท้ายได้อะไร

เรื่อง Mindset ทัศนคติ เอา A-Z มารวมกัน ทัศนคติจะเป็นตัวใหญ่ มีความมุ่งมั่นมาก

บทที่ 9 มาจากทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ให้เริ่มจากทำจากเล็กแล้วไปใหญ่ ไม่ต้องรอ


สรุปประชุมผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ : การกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและประสิทธิภาพการทำงานของ กฟผ.

วันที่ 16 มีนาคม 2559

การบรรยายพิเศษ

โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ

ความเป็นมาของการประกอบกิจการพลังงาน ประเทศอังกฤษเริ่มตอนที่ มาร์กาเร็ต เทรเชอร์จะขายรัฐวิสาหกิจ มีการแยกนโยบายออกจากงานกำกับ

ประเทศไทยของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเป็น Single Buyer แต่อังกฤษ หรือสิงคโปร์จะเป็นแบบ Power Pool คือมีเจ้าไฟมากกว่า 1 เจ้า มีแผนไปซื้อเฉย ๆ บริษัทใดสนใจลงทุนจะมีเปิดปิดตลอดเวลา มีหน่วยงานกลางคอย Manage ถ้าเปิด AEC จะเป็น Bilateral อยู่ ต้องมี Regulator ดูแล Code ตัว พ.ร.บ. ประกาศใช้ 11 ธันวาคม โครงสร้างจะเกี่ยวข้องกับใบอนุญาตด้วย มี SPP และ VSPP มี IPP บิดเข้ามา มีการเสนอขายไฟที่ราคาถูกที่สุด ระบบการจัดการอยู่ที่ EGAT

สายส่งน่าจะเป็นของ EGAT คนที่ดูแลสายส่งจะเป็นการผูกขาดโดยธรรมชาติ ปัจจุบันราคาของ EGAT โดนควบคุมโดย ROIC EGAT จะกี่เปอร์เซ็นต์ ได้มากสุด จะมี Generation , Operation และ System Operation มีระบบจำหน่ายเรื่องการออกบิลต่าง ๆ

กิจการก๊าซธรรมชาติ

ส่วนมากเป็นของ ปตท. เรื่อง LNG จะมีความสามารถ 5 ล้านตัน ต้องมีการซื้อก๊าซ Import จากเมืองนอก เป็น Liquid Natural Gas เกิดความเย็น แล้วถึงส่งมาที่ตัว Terminal ทำให้เกิดวิกฤติก๊าซ เป็นใบอนุญาตของ LNG เอาความเย็นไปดู สนามบินฮ๊อกไกโดจะได้พลังงานความเย็นที่ผลิตไฟฟ้าได้ ตัวทำความเย็น และความร้อน มีโรงไฟฟ้า มีการขายส่ง ระบบท่อแก๊ซ มี NGD ของ ปตท. เป็น Distribution line อย่างไรก็ตามที่คิดเรื่องก๊าซไม่ได้บังคับให้ปตท.ทำอย่างเดียว ใครอยากจะมาแข่งกับปตท.ก็ได้ แต่ไม่คุ้มลงทุน Regulator เลยทำให้เกิดการแข่งขันโดย Third Party Asset ในแง่ขายไฟผ่านสายได้ ในแง่ของการขุดเจาะ

พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ทำอะไรบ้าง

ประกอบด้วย

วัตถุประสงค์ของกฎหมาย

  • ส่งเสริมให้มีบริการด้านพลังงานอย่างเพียงพอ มีความมั่นคง และมีความเป็นธรรมต่อผู้ใช้พลังงานและผู้รับใบอนุญาต
  • ปกป้องผลประโยชน์ของผู้ใช้พลังงานทั้งทางด้านอัตราค่าบริการและคุณภาพการให้บริการ
  • ส่งเสริมการแข่งขันในกิจการพลังงาน และป้องกันการใช้อำนาจในทางมิชอบในการประกอบกิจการพลังงาน
  • ส่งเสริมให้การบริการของระบบโครงข่ายพลังงานเป็นไปด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส และไม่มีการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
  • ส่งเสริมให้การประกอบกิจการพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นธรรมต่อผู้รับใบอนุญาตและผู้ใช้พลังงาน
  • ปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้พลังงาน ชุมชนท้องถิ่น ประชาชน และผู้รับใบอนุญาตในการมีส่วนร่วม เข้าถึง ใช้ และจัดการด้านพลังงาน ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
  • ส่งเสริมการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากรในการประกอบกิจการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ
  • ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในการประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย

การอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน

  • ให้ใบอนุญาตการประกอบกิจการไฟฟ้าและกิจการก๊าซธรรมชาติที่ไม่ได้รับการยกเว้นตาม พรฎ. กำหนดประเภท ขนาด และลักษณะของกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต
  • การปลูกสร้างอาคาร หรือการตั้งโรงงานเพื่อประกอบกิจการพลังงานต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง กฎหมายว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ให้การอนุญาตตามกฎหมายข้างต้นเป็นอำนาจหน้าที่ของ กกพ. โดย กกพ. ต้องขอความเห็นจากหน่วยงานข้างต้นเพื่อประกอบการพิจารณา ทั้งนี้ หน่วยงานดังกล่าวต้องแจ้งความเห็น พร้อมทั้งจำนวนค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บตามกฎหมายนั้นๆ

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานเป็นของใคร แต่ก่อนยื่นตรงกับกรมโรงงาน แต่ตอนหลังไปยื่นที่ กฟภ. แล้วส่งไปที่กรมโรงงาน และกลับมาที่ กฟภ.อีก การอนุญาตไปอยู่ที่ กฟภ.

ตอบ - ยังเป็นของกรมโรงงานดังเดิม ความรับผิดชอบตอนเซ็นอยู่ที่ กฟภ. แต่ก่อนคิดว่าจะทำหมดแล้ว แต่เรื่องระยะเวลาไม่ได้แตกต่างกันเนื่องจากมีกำหนดเท่าเดิม

- เรื่องการบริการ มาตรฐานความปลอดภัย ศูนย์ควบคุมพลังงาน ปัจจุบันยังไม่ได้แข่งขันกันมากมีการประมูล VSPP ด้วย

การกำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงาน

  • การกำกับการแข่งขัน
  • การกำกับอัตราค่าบริการ
  • การกำกับมาตรฐานและความปลอดภัยในการประกอบกิจการ
  • การกำกับดูแลการใช้หรือการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน
  • กำกับดูแลการดำเนินการของศูนย์ควบคุมระบบโครงข่ายพลังงาน
  • การกำกับดูแลมาตรฐานการให้บริการ

การกำกับการแข่งขัน

  • กกพ. ออกระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อป้องกันการใช้อำนาจผูกขาด ลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในการให้บริการพลังงาน
    • สั่งให้ผู้รับใบอนุญาตหยุดหรือปรับปรุงการกระทำอันเป็นการผูกขาด ลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขัน

•เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใบอนุญาต

การกำกับอัตราค่าบริการ

  • กกพ. กำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการของผู้รับใบอนุญาตแต่ละประเภท
  • หลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการ (ต่อ)
  • กำกับดูแลอัตราค่าบริการให้เป็นไปตามนโยบายและแนวทางที่ได้รับความเห็นชอบจาก กพช. และสามารถทบทวนอัตราค่าบริการหากสภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงไปภายใต้กรอบนโยบายดังกล่าว

การกำกับมาตรฐานและความปลอดภัยในการประกอบกิจการ

  • ตรวจสอบการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบอนุญาต ตลอดจนตรวจสอบและรับรองผลการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยในการประกอบกิจการพลังงานตามที่ กกพ. กำหนด

การกำกับดูแลการใช้หรือการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน

  • ผู้รับใบอนุญาตที่มีระบบโครงข่ายพลังงานต้อง
  • กกพ. จะเป็นผู้ทบทวนข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้หรือเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงานข้างต้นให้เป็นไปตามหลักการที่กำหนดในกฎหมาย
  • ผู้ประกอบกิจการพลังงานที่ประสงค์จะใช้หรือเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงานเห็นว่าข้อกำหนดการเชื่อมต่อ หรือการใช้ หรือการปฏิบัติระบบโครงข่ายพลังงานไม่เป็นไปตามหลักการกฎหมายกำหนดสามารถยื่นคำร้องต่อ กกพ. ได้

- จัดให้มีบริการตามที่กำหนดในแผนขยายระบบโครงข่ายพลังงาน

- ประกาศข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน ข้อกำหนดการใช้บริการระบบโครงข่าย และข้อกำหนดการปฏิบัติการระบบโครงข่ายพลังงาน

ถาม-ตอบ

1. มีการควบคุมค่าไฟฟ้าของภาคเอกชนของ SPP กับ VSPP อย่างไร

กฟภ.ไม่สามารถตรวจสอบได้ คนที่มีความทุกข์สามารถเรียกร้องได้ตลอดเวลา ถ้าการไกล่เกลี่ย Happy จะจบไป แต่ถ้าไม่ Happy จะไปฟ้องศาล

ข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน

หลักการในการจัดทำข้อกำหนดฯ (ตามมาตรา ๘๑ วรรคสอง)

  • ไม่กระทบต่อความมั่นคง ความปลอดภัย และคุณภาพของระบบพลังงาน
  • ไม่ทำให้ผู้ใช้พลังงานและส่วนรวมเสียประโยชน์
  • ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม หรือกีดกันผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ประกอบกิจการพลังงานรายอื่น
  • ข้อกำหนดทางเทคนิค ณ จุดที่มีการใช้หรือเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงานต้องชัดเจน มีความเป็นไปได้ทางเทคนิค และไม่ก่อให้เกิดภาระแก่ผู้ขอใช้หรือเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงานเกินสมควร
  • มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขอใช้หรือเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน และผู้ให้ใช้หรือเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงานที่ชัดเจน
  • ลักษณะอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ทั้งนี้ ข้อกำหนดจะต้องไม่ทำให้ผู้รับใบอนุญาตที่มีระบบโครงข่ายพลังงานเสียประโยชน์หรือเกิดความเสียเปรียบในการแข่งขันกับผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ประกอบกิจการพลังงานรายอื่น

การกำกับดูแลการดำเนินการของศูนย์ควบคุมระบบโครงข่ายพลังงาน

  • ผู้รับใบอนุญาตที่มีศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า สั่งให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าดำเนินการผลิตไฟฟ้า อย่างเป็นธรรมและจะเลือกปฏิบัติไม่ได้
  • กกพ. จะเป็นผู้วินิจฉัยคำร้องเกี่ยวกับการสั่งการที่ไม่เป็นธรรม และเลือกปฏิบัติของผู้รับใบอนุญาตที่มีศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า
  • ผู้ประกอบกิจการระบบโครงข่ายไฟฟ้าที่มีศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าต้องแยกบัญชีและงบดุลการประกอบกิจการระบบโครงข่ายไฟฟ้า และศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าออกจากการประกอบกิจการประเภทอื่นอย่างชัดเจน

การกำกับดูแลมาตรฐานการให้บริการ

  • ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีบริการพลังงานตามมาตรฐานทางวิชาการ วิศวกรรมและมาตรฐานคุณภาพการให้บริการ รวมทั้งต้องรายงานคุณภาพการให้บริการต่อ กกพ.
  • กกพ. อาจกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีบริการด้านพลังงานในท้องที่ๆ ยังไม่มีผู้ให้บริการหรือมีแต่ไม่ทั่วถึง เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐมนตรีกำหนด
  • แบบสัญญาเกี่ยวกับการให้บริการต้องเปิดเผย ณ ที่ทำการของผู้รับใบอนุญาตเพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถตรวจสอบได้ อย่างเช่น สลัมจะไม่มีขอใช้พื้นที่เนื่องจากไม่มีบ้านเลขที่ เวลาใช้ไฟจะแพงเนื่องจากต้องไปจ่อที่มิเตอร์ใหญ่ แล้วแยก ๆ ไป

การคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน

เสมือนเอางานของ กฟภ.มาทำ ในตัวกฎหมายให้กรรมการกำกับดูแลมาทำ ประเภท ก.มี 5 กิโลรอบโรงไฟฟ้า

  • การจัดตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
  • การจัดตั้งคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต

กองทุนพัฒนาไฟฟ้า

  • เงินของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ประกอบด้วย
    • เงินที่ได้รับจากผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า
    • เงินค่าปรับจากผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าที่ฝ่าฝืนคำสั่ง กกพ.
    • เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
    • ดอกหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่เกิดจากทรัพย์สินของกองทุน
  • วัตถุประสงค์ของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า

oเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุน

คกก. ผู้ใช้พลังงานประจำเขต

  • แต่งตั้ง คกก. ผู้ใช้พลังงานประจำเขต ประกอบด้วย ประธาน ๑ คน และกรรมการ (ผู้แทนผู้ใช้พลังงาน) ไม่เกิน ๑๐ คน
  • อำนาจหน้าที่ของ คกก. ผู้ใช้พลังงานประจำเขต
    • ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้พลังงานและให้คำแนะนำแก่ผู้ใช้พลังงานตามที่คณะกรรมการกำหนด
    • ให้คำปรึกษาแก่ กกพ. ในด้านการคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน
    • เสนอมาตรการแก้ไขและปรับปรุงการให้บริการพลังงาน

•ประสานงานกับผู้ประกอบกิจการพลังงานเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการร้องเรียนของผู้ใช้พลังงานเพื่อปรับปรุงคุณภาพบริการและแก้ไขเรื่องร้องเรียน

คำถาม

1. ช่วงระหว่างก่อสร้างปัญหาคือไม่สามารถส่งได้เนื่องจาก กฟภ.บอกว่าต้องได้รับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าก่อน ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถส่งได้ ขอถามว่าใบอนุญาตขอเมื่อไหร่

ต้องมีกองทุนก่อนถึงดำเนินการได้

การกำหนดเขตโครงข่ายพลังงาน

มีการรับเรื่องและส่งเรื่องเสนอต่อกฟภ.ให้ประกาศ แก้และให้ความเห็นชอบ

การกำหนดราคาค่าทดแทน

ต้องไปที่จังหวัด มีการแต่งตั้งคณะทำงานประชุม พิจารณาราคาที่ดิน แจ้งผู้รับอนุญาตทราบเรื่องรับราคาที่ดิน บางที่ไม่ได้รับแต่งตั้งเลย

การพิจารณาอุทธรณ์ค่าทดแทนสามารถทำเรื่องได้ ส่งไปที่แสวงหาข้อเท็จจริง

2. ปัญหาคือทำให้ที่ดินเสื่อมสภาพราคา ปัญหาการร้องเรียน การไม่พอใจมากขึ้นเรื่อย ๆ การจ่ายให้ 90 ราคาที่กำหนดค่าทดแทนบางที่จ่าย 2-3 เท่าของราคาประเมินที่ดิน แต่ก็มีการคัดค้านอยู่เหมือนเดิม

3. พระราชบัญญัติประกอบพลังงานปี 2550 สายส่งเก่าปลูกอ้อยได้ สายส่งใหม่ปลูกอ้อยไม่ได้ ก็ไม่ได้

สรุปปัญหาทุกอย่างเสนอได้หมดให้ไปบอกคนรับผิดชอบที่ประสานงาน ซึ่งทางคณะกรรมการจะรับฟัง

การพิจารณาข้อพิพาทและการอุทธรณ์

  • กกพ. จะไม่ดำเนินการระงับข้อพิพาท ในกรณี ที่สัญญามีข้อกำหนดเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทและการอุทธรณ์แล้ว
  • กกพ. จะดำเนินการระงับข้อพิพาท
    • ระหว่างผู้ใช้พลังงานกับผู้รับใบอนุญาต
    • ระหว่างผู้รับใบอนุญาตด้วยกัน
  • ให้สิทธิผู้ใช้พลังงาน ผู้รับใบอนุญาต หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียซึ่งไม่พอใจคำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกำหนดใดๆ ของ กกพ. ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อ กกพ. ภายใน ๓๐ นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

บทกำหนดโทษ

โทษทางปกครอง

  • กกพ. มีอำนาจพิจารณากำหนดค่าปรับทางปกครอง เมื่อผู้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ กกพ. เช่น
    • ขาดคุณสมบัติหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบการขอรับใบอนุญาต
    • ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการห้ามกระทำการอันเป็นการผูกขาด ลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในการให้บริการพลังงาน
    • ไม่ปรับปรุงการให้บริการที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบ หรือเครื่องจักรของผู้ใช้พลังงานหรือผู้ประกอบรายอื่นภายในระยะเวลาที่ กกพ. กำหนด
    • ไม่ปรับปรุงหรือแก้ไขให้การประกอบกิจการเป็นไปตามมาตรฐานทางวิศวกรรมและความปลอดภัยที่ กกพ. กำหนด
    • ไม่ปรับปรุงหรือแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับการเชื่อมต่อ การใช้ หรือการปฏิบัติการระบบโครงข่ายพลังงานให้เป็นไปตามหลักการตามกฎหมาย
    • ไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยคำร้องเรื่องการปฏิเสธไม่ให้ใช้หรือเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงานของ กกพ.
    • ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งของ กกพ.
  • กกพ. มีอำนาจสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตได้แล้วแต่กรณี (กรณียังเพิกเฉยไม่ปฏิบัติการให้ถูกต้อง หรือฝ่าฝืนคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต)

โทษอาญา

  • ผู้เข้าข่ายต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงานแล้วไม่ขอใบอนุญาตฯ
  • ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าที่ฝ่าฝืนคำสั่งทางปกครองของ กกพ. โดยไม่นำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1เดือน หรือปรับวันละไม่เกิน 20,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนฯลฯ

ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า

ถือว่าดี และลดลงเรื่อย ๆ ถ้ามากหรือความพร้อมมากก็ดี

การบำรุงรักษาถ้ายิ่งน้อยยิ่งดี เปอร์เซ็นต์จะน้อยลง

สรุปโดยภาพรวมถือว่าดี

รายงานผลการเงิน

ปี 2555-2557 รายได้เพิ่มขึ้น แต่ทุนก็เพิ่มขึ้นด้วย บริษัทในตลาดจะดูกำไรสุทธิและผลตอบแทนต่อทรัพย์สินรวม

EGAT ใช้ระบบ SEPA (State Enterprise Performance Appraisal)

EGAT ได้รางวัล พัฒนาสิ่งแวดล้อมดีเด่น ถ้ามีระบบจะทำให้การพัฒนาดีขึ้นเรื่อย ๆ

มีการทำ PMQA

บทเฉพาะกาล

  • การดำเนินการในปัจจุบัน
    • ผอ.สนพ. ปฏิบัติหน้าที่ของเลขาธิการ สกพ. และให้ สนพ. ปฏิบัติหน้าที่ของ สกพ. จนกว่าจะมีการแต่งตั้งเลขาธิการและจัดตั้งสำนักงานตามพระราชบัญญัตินี้
    • นับแต่วันที่ พรบ. มีผลใช้บังคับ ให้ กฟผ. กฟน. กฟภ. และ บมจ.ปตท. ประกอบกิจการพลังงานได้ต่อไปจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตตาม พรบ. ฉบับนี้ โดยต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย กฟผ. กฎหมายว่าด้วย กฟน. กฎหมายว่าด้วย กฟภ. และ พรฎ. กำหนดอำนาจ สิทธิและประโยชน์ของ บมจ. ปตท. แล้วแต่กรณี
หมายเลขบันทึก: 603296เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2016 19:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2016 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (46)
เสริมพงศ์ วิชิตเนตินัย

14 มีนาคม 2559 การอบรมวันแรกของช่วงที่สอง,

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เจริญ วรรธนะสิน เรื่องเส้นทางสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจของจีน

ผมโชคดีที่ได้เคยฟังท่านอาจารย์ มาบรรยายเรื่องสามก๊กฉบับนักบริหาร ที่ กฟผ.เมื่อปลายปี 2558 เข้าใจว่ามีเพื่อนๆ EADP.12 ได้เข้าฟังด้วยหลายคน ครั้งนี้จึงเป็นการต่อยอดจากครั้งก่อน ท่านอาจารย์เป็นผู้ที่มีความรู้ประสบการณ์ และน่าเคารพนับถือมาก ประวัติศาสตร์ของจีนได้ถูกนำไปเป็นบทเรียนในหลายๆประเทศ เนื่องจากเป็นประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน เกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมาก และจีนเองยังเป็นต้นทางเชื้อสายของประเทศต่างๆในเอเชียด้วย

สิ่งที่ได้ฟังจากท่านอาจารย์เจริญที่น่าสนใจ

  • สัจจะ: ความจริง: Reality เป็นสิ่งที่ต้องปะทะ ไม่อาจหลีกเลี่นงได้
  • หนึ่งเป้าหมายมีหลายกลยุทธ์ ผู้นำอย่าลงไปลึกในรายละเอียดมาก (กรณีแมวดำ-แมวขาว)
  • 1 ประเทศ 2 ระบบ กฎระเบียบไม่ใช่เรื่องตายตัว ต้องปรับแก้ได้ตามสถานการณ์ที่เป็นจริง
  • บริหารความเสี่ยงตลอดเวลา
  • ใช้ CSR in Process

และในช่วงเย็นได้รับพลังจากท่านกรรมการบอร์ด กฟผ.และอดีต ผวก. คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ มาเล่าให้ฟังเรื่องประสบการณ์ผู้นำ กฟผ.ในการแสวงหาโอกาส บริหารวิกฤติ ความเสี่ยงและการตัดสินใจ ด้วยความที่ท่านเป็นประธาน EADP. รุ่นที่ 2 จึงเข้าใจความรู้สึกของน้องๆ ว่าต้องการเรียนรู้เรื่องอะไรเพื่อนำไปพัฒนาตนเอง ท่านได้เล่าถึงการจัดการเหตุการณ์ในภาวะวิกฤติหลายเหตุการณ์ เช่น เมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ภาคกลางเมื่อปี 2554 การเกิดเหตุการณ์ไฟดับที่ภูเก็ต และที่ภาคใต้ ทำให้ได้ทราบว่าผู้นำองค์กรนั้นนอกจากจะกว้าง (รู้จักคนเยอะ) ลึก (วิเคราะห์จับประเด็นสรุปเนื้อหาได้เร็ว) แล้วยังต้องรู้จักสื่อสารให้ดีด้วย ข้อสรุปเรื่องนี้คือ สิ่งที่ดีกว่าการบริหารสภาวะวิกฤติก็คือ จะทำยังไงจะไม่ให้เกิดวิกฤติ ซึ่งแนะนำให้ทำ 2 อย่างคือ

ตอนท้านท่านผู้ว่าสุทัศน์ยังให้คำแนะนำว่า ผู้บริหารระดับกลางจะต้องรู้ว่าต้องทำอย่างไร แต่ผู้บริหารระดับสูงต้องมองให้ออกว่าจะต้องทำอะไร และต้องรู้จักสร้างความสัมพันธ์เพื่อประโยชน์ต่อองค์กร

  1. อย่าทำให้เค้ากลัว แต่ทำให้เค้าเกรงใจ
  2. ให้เค้ารู้สึกว่าการมีเราอยู่ช่วยทำให้งานเค้าสำเร็จ
  3. ไม่ใกล้เกินไป ไม่ไกลเกินไป

ช่วงแรกขอสรุปเท่านี้ก่อนนะครับ แล้วค่อยมาว่ากันต่อในตอนต่อไป

นายพิพัทต์ คงสินทวีสุข

เรียน อ.จีระ หงส์ลดารมณ์

ศาสตราภิชานไกรฤทธ์ บุญยเกียรติ ได้ให้ความรู้ในเรื่องแนวคิดและกลยุทธ์ทางการตลาด จึงขอเรียนเสนอสรุปสาระสำคัญและการนำมาปรับใช้ใน กฟผ.

รัฐวิสาหกิจ คิดว่าไม่ต้องทำการตลาดก็ได้ เราจะรอให้คนอื่นมารู้ความเก่ง ความดี ความสามารถ ของเราเองคงไม่ได้ จึงต้องมีการอวดสรรพคุณ หรือสิ่งที่เรามีดีให้คนนอกได้รับรู้ การที่จะทำให้คนอื่นรู้สิ่งเหล่านี้ก็ใช้แนวทางและกลยุทธ์ทางการตลาดแม้แต่จะขายข้าวเหนียวส้มตำ ขายกาแฟ ยังต้องทำการตลาด

งานในองค์กร กฟผ. เปรียบเสมือนรถยนต์ ที่มี 4 ล้อ และล้ออะหลั่ยอีก 1 ล้อ รวมเป็น 5 ล้อ คือ

1.การผลิต

2.การตลาด

3.การเงิน

4.บุคลากร

5.องค์ความรู้ประสบการณ์ เป็น Asset ทุนทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้ยังมี Infrastructure ที่คิดในทางบัญชีไม่ได้ เช่น แนว right of way เสาส่งแรงสูง ที่สามารถใช้เดินสาย fiber optic ได้

การตลาดที่ดี ต้อง demand focus ไม่ใช่ดูที่ supply side

การตลาด basic marketing ประกอบด้วย 4 P product/ price /place /promotion

กฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจ อาจจะคิดว่าไม่จำเป็นต้องทำการตลาด เพราะอย่างไรลูกค้าของเรา คือ กฟภ. กับ กฟน. และลูกค้ารายใหญ่ที่ซื้อตรงจาก กฟผ. ก็ต้องซื้อไฟฟ้าจาก กฟผ. วันยังค่ำ แต่จากการได้เรียนรู้จากท่านอาจารย์ จึงทราบว่าวันนี้เราไม่ทำการตลาดคงจะไม่ได้ แต่ การผลิตและส่งไฟฟ้า เราจะไปโฆษณาหรือทำการตลาดให้ขายไฟฟ้าให้ได้มากๆ นั่นหมายถึง ชาวบ้านต้องใช้ไฟฟ้าให้มากๆ จึงไม่ใช่การตลาดของ กฟผ. แต่เราจะใช้แนวทางการทำให้ชาวบ้านรู้จัก กฟผ. เข้าใจและไว้วางใจ กฟผ. รวมทั้งการสร้างภาพลักษณ์ กฟผ.



หลักสูตรฉบับEADP12ตกรุ่นวันที่ 8มีค อยู่ระหว่างปรับตัว รับแนวทางการอบรมแบบ ดร.จิระ เปิดความคิดอิสระ คำถามที่มีกับคำตอบจากกลุ่มซึ่งบ่ายเหลือสองคน มันมาก สามารถเปดประเด็นถกกันได้

วันที่14มีค เสียดายมาเข้าได้ตอนสี่โมงเย็น ต้องไปร่วมซ้อมภาวะวิกฤตพลังงานที่กระทรวงพลังงาน สมมติ ซาอุทะเลาะอิหร่าน ไม่ให้ส่งน้ำมันผ่านคาดการณ์สี่เดือน รวมกับก๊าซพม่าแท่นเจาะมีปัญหา จะจัดการอย่างไร ซึ่งมาทันฟัง ผวก.สุทัศน์ พูดประสบการณ์การเผชิญความเสี่ยงด้านต่างๆ ทำให้นึกถึงถังเก็บน้ำมันที่แม่เมาะ กำลังจะยกเลิกการใช้บางส่วน แต่ถ้าวิกฤตตามสมมติจริง ถังที่แม่เมาะจะสำรองเพื่อผลิตไฟหรือใช้การขนส่งให้กับชาวลำปางได้ คงต้องกลับไปหารือกับผู้บริหารต่อ ผวก.สอนให้คิดนอกกรอบ ทำให่้ต้องคิดว่าเราไม่ใช่มีหน้าที่ควบคุมการผลิต เท่านั่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะเก่า4-7จะทำประโยชน์อะไรได้ก็ควรจะคิดต่อด้วย

วันที่ 15 เนื้อหาแน่นมาก แต่ก็สาระเต็มและโน๊ตได้สี่หน้า ในเรื่องทัศนคติ เป็นส่วนสำคัญเมื่อโลกมีการเปลี่ยน เราก็ต้องเปลี่ยน จึงมีการตั้งเป้าหมายการกระทำ ต้องเก่งการวางแผน ทำอย่างไรให้คิดถึง กฟผ.ว่าเป็นที่พึ่งด้านพลังงาน role model การเป็นต้นแบบ การเอาใจใส่ในรายละเอียดนำไปสู่การป้องกันความเสียใหญ่ๆในอนาคต

การมองไฟฟ้าเชิงการตลาด ทำให้เห็นถึงการวิเคราะห์stake holder ซึ่งไม่ใช่เฉพาะตัวผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า ที่เราจะต้องให้ความสนใจ

พอก่อนครับ ครั้งนี้รวบยอด

นายพิพัทต์ คงสินทวีสุข

เรียน อ.จีระ หงส์ลดารมณ์

ศาสตราภิชานไกรฤทธ์ บุญยเกียรติ ได้ให้ความรู้ในเรื่องแนวคิดและกลยุทธ์ทางการตลาด จึงขอเรียนเสนอสรุปสาระสำคัญและการนำมาปรับใช้ใน กฟผ.

รัฐวิสาหกิจ คิดว่าไม่ต้องทำการตลาดก็ได้ เราจะรอให้คนอื่นมารู้ความเก่ง ความดี ความสามารถ ของเราเองคงไม่ได้ จึงต้องมีการอวดสรรพคุณ หรือสิ่งที่เรามีดีให้คนนอกได้รับรู้ การที่จะทำให้คนอื่นรู้สิ่งเหล่านี้ก็ใช้แนวทางและกลยุทธ์ทางการตลาดแม้แต่จะขายข้าวเหนียวส้มตำ ขายกาแฟ ยังต้องทำการตลาด

งานในองค์กร กฟผ. เปรียบเสมือนรถยนต์ ที่มี 4 ล้อ และล้ออะหลั่ยอีก 1 ล้อ รวมเป็น 5 ล้อ คือ

1.การผลิต

2.การตลาด

3.การเงิน

4.บุคลากร

5.องค์ความรู้ประสบการณ์ เป็น Asset ทุนทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้ยังมี Infrastructure ที่คิดในทางบัญชีไม่ได้ เช่น แนว right of way เสาส่งแรงสูง ที่สามารถใช้เดินสาย fiber optic ได้

การตลาดที่ดี ต้อง demand focus ไม่ใช่ดูที่ supply side

การตลาด basic marketing ประกอบด้วย 4 P product/ price /place /promotion

กฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจ อาจจะคิดว่าไม่จำเป็นต้องทำการตลาด เพราะอย่างไรลูกค้าของเรา คือ กฟภ. กับ กฟน. และลูกค้ารายใหญ่ที่ซื้อตรงจาก กฟผ. ก็ต้องซื้อไฟฟ้าจาก กฟผ. วันยังค่ำ แต่จากการได้เรียนรู้จากท่านอาจารย์ จึงทราบว่าวันนี้เราไม่ทำการตลาดคงจะไม่ได้ แต่ การผลิตและส่งไฟฟ้า เราจะไปโฆษณาหรือทำการตลาดให้ขายไฟฟ้าให้ได้มากๆ นั่นหมายถึง ชาวบ้านต้องใช้ไฟฟ้าให้มากๆ จึงไม่ใช่การตลาดของ กฟผ. แต่เราจะใช้แนวทางการทำให้ชาวบ้านรู้จัก กฟผ. เข้าใจและไว้วางใจ กฟผ. รวมทั้งการสร้างภาพลักษณ์ กฟผ.

นายพิพัทต์ คงสินทวีสุข

เรียน อ.จีระ หงส์ลดารมณ์

วันที่ 14 มีค.59 ช่วงบ่าย

ท่านผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (ผวก.กฟผ.) นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ได้ให้ความรู้ในเรื่องประสบการณ์ของผู้นำ กฟผ. ในการแสวงหาโอกาส บริหารวิกฤติ/ความเสี่ยงและการตัดสินใจ

ท่านผู้ว่าการฯ ได้ให้แนวคิดในการปฏิบัติ คือ ต้องสร้างนิสัยในการเรียนรู้ รู้จักวิเคราะห์เหตุการณ์ที่ผ่านมา ต้องมองให้กว้าง ท่านได้เล่าประสบการณ์การบริหารเหตุการณ์วิกฤติ การตัดสินใจ การแสวงหาโอกาสในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง ผวก.กฟผ. ได้แก่

-เหตุการณ์เดินครื่องโรงไฟฟ้าเขื่อนศรีนครินทร์ จนทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณท้ายน้ำ โดยเหตุการณ์นี้ได้รับความพึงพอใจจาก ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เนื่องจาก กฟผ. ได้เข้าไปดูแล ช่วยเหลือเยียวยา บรรเทาความเดือดร้อน อย่างทันทีทันใด โดยไม่ชักช้า

-เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ปี 2554 ท่านได้บริหารจัดการตั้ง WAR ROOM โดย คณะผู้บริหารระดับสูง ผู้เกี่ยวข้อง ประชุมทุกวันในช่วงเกิดเหตุการณ์ เพื่อดูแล บริหารจัดการ ตัดสินใจ

ด้านการผลิต ต้องประเมินว่า โรงไฟฟ้าใดมีโอกาสเกิดน้ำท่วม ต้องหาโรงไฟฟ้ามา reserve เพื่อไม่ให้ไฟฟ้าดับ และตัดสินใจให้หยุดเดินเครื่องรวมทั้งถอดอุปกรณ์ที่ประเมินแล้วว่าจะถูกน้ำท่วมเสียหาย รวมทั้งทำทำนบกันน้ำท่วมโรงไฟฟ้า

ด้านระบบส่งไฟฟ้า จำเป็นต้องจ่ายไฟฟ้า จึงได้ตัดสินใจยกระดับอุปกรณ์ให้สูงขึ้น

ด้านบริหารจัดการน้ำเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ต้องประเมินตลอดเวลาน้ำไหลเข้าเท่าไหร่ ติดตามพายุ

ประสานกับส่วนราชการ และรัฐบาล การให้ข้อมูลสื่อมวลชน

ด้านการช่วยเหลือชาวบ้าน บริเวณรอบ กฟผ. ถุงยังชีพ อาหาร รถรับ-ส่ง รวมทั้งการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบใน จ.พิษณุโลก และจ.นครสวรรค์

-เหตุการณ์ไฟฟ้าดับที่ภาคใต้ ต้องเร่งดำเนินการหาแหล่งจ่ายไฟกู้คืนระบบโดยเร็ว แถลงข่าวเน้นข้อมูลอะไร จะส่งให้สื่อไหน

โดยสรุปสิ่งที่ต้องดำเนินการเมื่อเผชิญเหตุการณ์ คือ ต้องมีสติ, ตั้งศูนย์บัญชาการภาวะวิกฤติ ,ประเมินความเสี่ยง , การสื่อสาร , การผลิตและจ่ายไฟฟ้า ต้องไม่เกิดไฟฟ้าดับ , การให้ความช่วยเหลือประชาชน และสิ่งที่จำเป็นคือ ต้องมีเครือข่ายที่เป็นพันธมิตร ผู้ที่จะให้ความช่วยเหลือ,ข้อมูลที่สื่อให้ประชาชน ต้องถูกต้อง โปร่งใส

การบริหารหลีกเลี่ยงภาวะวิกฤติ

-ต้องบริหาร วิเคราะห์ประเมินความเสี่ยง จัดทำ action plan กรณีวิกฤติ

-ต้องทำ CSR in process

-การสื่อสารเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดวิกฤติ

การวิเคราะห์เพื่อจะไม่เกิดวิกฤติ ที่ได้ดำเนินการ ด้านบุคลากร กฟผ.มีการวิเคราะห์พบว่าจะเกิดการขาดแคลนในอนาคต จึงได้ให้ อทบ. ดำเนินการจัดทำแผนการรับคนเข้ามาทดแทน โดยแบ่งรับทุกปี เพื่อไม่ให้เป็นปลาวาฬ

ความเสี่ยงด้านมวลชน ได้ดำเนินการด้าน CSR ใช้วิธีสร้างความสัมพันธ์ ความเข้าใจ กับชุมชน ดีกว่าการใช้เงิน ต้องเดินให้ถูกทาง เข้าถึงใจชาวบ้านให้ได้

การสร้างโอกาส จะต้องมีองค์ความรู้ที่กว้างขวาง, ทัศนคติที่ดี ,ประเมินความเสี่ยง,การตัดสินใจ,ข้อมูล,

เลือกในสิ่งที่จำเป็นต้องทำ, การคาดการณ์อนาคต, การแสวงหาพันธมิตร , การสื่อสารข้อมูล, การเลือกจังหวะเวลา

การแสวงหาโอกาสจากวิกฤติ เช่น การส่ง รฟ. ไปช่วยประเทศญึ่ปุ่น ,การช่วยเหลือน้ำท่วมที่โคราช

สำหรับการบริหารความเสี่ยงผมขออนุญาตแบ่งปันสิ่งที่ได้รับความรู้มาในช่วงที่อบรมหลักสูตร EGRPสรุปได้ดังนี้

ทุกองค์กรมีความเสี่ยงที่จะทำให้ภารกิจไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ หน่วยงานต้องมีการประเมินความเสี่ยง ทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร และนำมาวิเคราะห์ เพื่อดำเนินการจัดทำแผนการแก้ไขก่อนที่จะเกิดปัญหา หรือลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นกับองค์กร

องค์กรที่มีการจัดการความเสี่ยงที่ดี จะใช้ต้นทุนในการแก้ไขปัญหาน้อย

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นภายใต้ความไม่แน่นอน คือ ความเสี่ยง จะทำให้เกิดความเสียหาย

โอกาส หากไม่ดำเนินการจะทำให้เสียโอกาส

ความเสี่ยงแบ่งออกเป็น 4 ประเภท

  • ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ เช่น การแข่งขันทางธุรกิจ ,การเปลี่ยนแปลงของตลาดโลก
  • ความเสี่ยงด้านการดำเนินการ เช่น ความเสียหายจากอุบัติเหตุ,การขาดแคลนบุคลากร
  • ความเสี่ยงด้านการเงิน เช่น ต้นทุนการผลิต, การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน
  • ความเสี่ยงด้านกฎหมาย กฎระเบียบ เช่น การปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย , มีการฝ่าฝืนระเบียบในหน่วยงาน

การบริหารความเสี่ยง มี 6 ขั้นตอน ดังนี้

1.กำหนดวัตถุประสงค์ขององค์กร

2. ค้นหาปัจจัยเสี่ยง

3. ประเมินความเสี่ยง

4. การตอบสนองความเสี่ยง (การหลีกเลี่ยง,การถ่ายโอน,การลด,การยอมรับและควบคุม)

5. การจัดทำแผนหรือกิจกรรมควบคุมความเสี่ยง

6.การติดตามผลและการรายงานเป็นระยะๆ

ทุกคนมีความเสี่ยงตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไรหรือแม้แต่ใช้ชีวิตประจำวัน จากการที่ได้รับความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยง ทำให้เรามีความตระหนักว่าในชีวิตของเราเองมีความเสี่ยงอะไรบ้างและจะมีวิธีจัดการกับความเสี่ยงนั้นอย่างไร เพื่อกำจัดความเสี่ยงให้อยู่ระดับที่ยอมรับได้หรือลดโอกาสที่จะเกิด

กฟผ. ทุกหน่วยงานได้มีการดำเนินการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ตามกฎหมายกำหนด จากที่สังเกตความเสี่ยงที่มีอยู่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือกำจัดออกไปได้ จึงเป็นความเสี่ยงที่ต้องควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง โดยเฉพาะ ความเสี่ยงด้านมวลชน

การจะทำธุรกิจต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงในตลาดและต้องมีการประเมินความเสี่ยงรองรับ และปรับตัวเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับการทำงานใน กฟผ. เราเองต้องปรับตัวเองให้ทันต่อเทคโนโลยี และเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา

นายพิพัทต์ คงสินทวีสุข

เรียน อ.จีระ หงส์ลดารมณ์

วันที่ 14 มีค.59 ช่วงบ่าย

Topic :EGAT AND CHANGE MANAGEMENT

อ.ประกาย ชลหาญ และ ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ ได้บรรยายให้ความรู้ EGAT AND CHANGE MANAGEMENT

การเปลี่ยนแปลงที่ดี คือการเปลี่ยนแนวคิด (Paradigm) ติดอย่างไรจะได้อย่างนั้น you re what you think

ผู้ที่อยู่รอด คือ ผู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ผู้ที่เก่งที่สุด แข็งแรงที่สุด

“ผู้ไม่เปลี่ยนแปลงจะเป็นเหยื่อของความสำเร็จ”

สิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

-increasing globalization ปรับตามโลก

-emergency of new competitor คู่แข่งขันทางธุรกิจใหม่ๆ

-changing customer demand ความต้องการของลูกค้า

-capital market’s demand for short term performance ความต้องการของตลาดทุนในระยะสั้น

-heightened environmental consensus กระแสการตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขี้น

-increasing regulator demand การควบคุมที่เพิ่มขึ้น

Jack Welch

“ถ้าการเปลี่ยนแปลงภายนอกเร็วกว่า อัตราการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การองค์กรย่อมล่มสลาย”

การบริหารความเปลี่ยนแปลงจะสำเร็จ เมื่อ –ได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากผู้เกี่ยวข้อง , มีกลยุทธ์ในการนำไปปฏิบัติ , ต้องมุ่งผลสำเร็จ, ต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างหรือระบบ ,คนในองค์กรต้องมีการเรียนรู้ ฯลฯ

กฟผ. จะมุ่งสู่ความเป็นเลิศโดยเป็น ผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีสมรรถนะสูงในระดับ GLOBAL TOP QUATILE จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านกระบวนการทำงาน ,ด้านบุคลากร โดยอาศัยวัฒนธรรมองค์กรและค่านิยม FIRM-C แต่อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามักจะใช้วิธีการท่องจำ ซึ่งไม่มีการนำไปปฏิบัติเท่าที่ควร ผู้บริหารผู้นำจึงต้องสามารถพูดให้เชื่อมโยงไปสู่การประพฤติปฏิบัติ พฤติกรรมประจำวันและสื่อสารให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าใจ ผมขอยกตัวอย่างค่านิยม สัก 2 ตัว เช่น

Fairnessตั้งมั่นในความเป็นธรรมหมายถึงมีความยุติธรรม มีความเที่ยงธรรม ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ลำเอียงเพราะความชอบ ความโกรธ หรือความกลัว

ความหมาย : ดำเนินธุรกิจกับผู้เกี่ยวข้องด้วยการประพฤติปฏิบัติที่เท่าเทียมและเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติและไม่เอาเปรียบ

พฤติกรรมที่มุ่งเน้น : ทำงานโปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ไม่เลือกปฏิบัติ

I-Integrity ยึดมั่นในคุณธรรม หมายถึง ความดีงามที่ถูกปลูกฝังขึ้นในจิตใจ ซื่อสัตย์ มีวินัย มีจิตสำนึกที่ดี

มีความประพฤติที่ดีสำหรับบุคคลพึงปฏิบัติ

ความหมาย : ทำในสิ่งที่เป็นความดี ความถูกต้อง ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต บริสุทธิ์ใจ และรักษาคำพูด

พฤติกรรมที่มุ่งเน้น : ซื่อสัตย์ สุจริตในหน้าที่การงาน รักษาชื่อเสียงขององค์การ ในการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นที่ไว้วางใจ ประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา

การที่ กฟผ.ต้องการให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคน ปฏิบัติตามค่านิยม เพื่อให้องค์กรบรรลุตามวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง หากไม่มีความยุติธรรม ความเป็นธรรม จะทำให้องค์กรล่มสลายได้

เทวัจฉรา อภัยภูมินารถ

บทเรียน : เส้นทางสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจของจีน

โดย ศจ. (พิเศษ) เจริญ วรรธนะสิน

ได้รับความรู้อย่างมากในภาพกว้างความเป็นมาในการบริหารประเทศของผู้นำจีน และประวัติศาสตร์ทางการเมืองของประเทศจีน

ผู้นำประเทศจีนเป็นตัวอย่างของผู้นำระดับประเทศที่ยึดอุดมการณ์ในอันที่จะนำพาประเทศไปสู่ความเจริญเป็นหลัก โดยหากวิเคราะห์ตัวผู้นำของประเทศจีนแล้ว จะเป็นลักษณะผู้นำตามที่ อจ.จิระ กล่าวคือ ผู้นำที่ดีควรเป็นผู้มีบุคลิกความเป็นผู้นำ (Personality) และจะต้องมีบารมี (Charisma) ด้วย จึงสามารถนำประชากรจำนวนหลายล้านคนไปในแนวทางเดียวกัน และไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ในบางโอกาสจากประวัติศาสตร์จีน จะเห็นได้ว่า บทบาทของผู้นำจะมีลักษณะเป็นผู้นำเผด็จการ (Dictator) และถ้าศึกษาในแต่ละช่วงของสถานการณ์บ้านเมืองตามที่ ศจ.เจริญ ได้ให้ความรู้นั้น ลักษณะของผู้นำจีนเกือบทุกคน จะตรงกับที่ อจ. จิระ ได้เน้นในบทบาทของผู้นำที่ดีที่ควรมี ได้แก่

1) Crisis Management การจัดการวิกฤติ

2) Conflict Resolution การบริหารความขัดแย้ง

3) Rhythm and Speed การรู้จักใช้จังหวะและความรวดเร็วในการตัดสินใจ

กว่าประเทศจีนจะมาเป็นชาติมหาอำนาจได้ในปัจจุบันนี้ ก็ต้องฟันฝ่าอุปสรรค เหตุการณ์ทางการเมืองมามากมาย และมีบ่อยครั้งที่ต้องแลกด้วยเลือดเนื้อ และชีวิต แต่ผู้นำทุกคนก็ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่จะนำพาประเทศให้อยู่รอด ที่ถึงแม้การเดินทางไปสู่จุดหมายนั้น จะแตกต่างกันบ้างด้วยแนวคิด และแนวทาง

เทวัจฉรา อภัยภูมินารถ

บทเรียน : EGAT and Change Management

โดย อาจารย์ประกาย ชลหาญ ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

สรุปความรู้ที่ได้จากบทเรียน ซึ่งสามารถนำมาเป็นแนวทาง และแนวคิดในการบริหารงาน

การบริหารจัดการองค์กรที่ดี คือ สามารถจัดการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดให้คนในองค์กรมีความคิดที่เป็นบวก (Positive Thinking) เพื่อยอมรับในการเปลี่ยนแปลง Change) เพื่อนำไปสู่การทำงานและผลงานที่ดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ที่จะประสบความสำเร็จ จะต้องอาศัย Core value ขององค์กรเป็นหลัก เพื่อมุ่งไปที่จุดนั้น การเปลี่ยนแปลงอาจทำได้ค่อนข้างยาก และใช้เวลา

เครื่องมือที่ใช้นำในการเปลี่ยนแปลง ได้แก่

1) Creating a share need

2) Sharing a vision

3) Mobilization Commitment

4) Making Change last

5) Monitoring Process

การเปลี่ยนองค์กร จะต้องอาศัยผู้นำการเปลี่ยนแปลง Leader as a Coach

ซึ่งการจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดีจะต้องสามารถสร้างความร่วมมือร่วมใจจากผู้ปฏิบัติงานได้ ผู้นำที่ดีจะต้องปรับตัวตลอดเวลา สามารถคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต (Anticipated change) ที่จะมีผลกระทบต่อองค์กรได้ และที่สำคัญต้องสร้างความเชื่อใจ (Trust)

การเปลี่ยนแปลงอาจทำได้ค่อนข้างยาก และใช้เวลา แต่อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนองค์กรให้ดีที่สุดในเวลาอันจำกัด และควรเน้นที่การปรับกระบวนการมากกว่าการปรับโครงสร้างองค์กร

นายพิพัทต์ คงสินทวีสุข

เรียน อ.จีระ หงส์ลดารมณ์

วันที่ 14 มีค.59 ช่วงเช้า

Topic : เส้นทางสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจของจีน

ศาสตราจาย์(พิเศษ) เจริญ วรรธนะสิน

ประวัติศาสตร์จีนมีความยาวนานหลายพันปี น่าศึกษาและนำมาเป็นบทเรียน โดยเฉพาะการเตรียมผู้นำเพื่อสืบต่อการบริหารแผ่นดิน อ.เจริญฯ แนะนำให้อ่านเรื่องสามก๊ก โดยเฉพาะตอนอ้องอ้วน เอี่ยวเสี่ยน ตั๊งโต๊ะ ตอนนั้นอ้องอ้วนปกครองบ้านเมืองไม่เป็น บางครั้งถึงเวลาแข็งต้องแข็งเป็นอ่อนต้องอ่อนเป็น

ความประทับใจในผู้นำจีน เติ้งเสี่ยวผิง ได้ทำการการปฏิรูปทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจกับกฎหมายของประเทศจนทำให้ประเทศจีนเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก

การลงโทษผู้นำหรือเจ้าหน้าที่ ที่คอรัปชั่นของจีน สามารถกำหลาบผู้ที่คิดกระทำการ ได้อย่างดี

อ.เจริญฯ ได้ให้แนวทางการทำงานที่ดี

1. ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต มีการรักษาผลประโยชน์ทั้งผู้ถือหุ้นรายย่อยและรายใหญ่ด้วย มนุษย์ทุกคนต้องระวัง

2. ความเป็นเลิศของ EGAT ที่สะสมมา 50 ปี ทำอย่างไรคนข้างนอกถึงเข้าใจ ว่ามีความโปร่งใส และมีการตรวจสอบ

จากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก

3. การทำความดีไม่ต้องประกาศ เพราะในที่สุดความดีจะเปล่งแสงมาเอง

กฟผ. จะต้องดำเนินงานอย่างมีธรรมาภิบาล รวมทั้งปฏิบัติตามที่ท่าน อ.เจริญฯ ได้ให้แนวทาง อีกทั้งมีผู้นำที่ดี พนักงานที่ดี ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย ดำเนินการอย่างซื่อสัตย์สุจริต มีธรรมาภิบาล ดูแลประชาชนและสังคม ทำหน้าที่ดูแลระบบผลิต ส่งจ่ายไฟฟ้า ซึ่งเป็นภารกิจหลัก ให้มีความมั่นคง เพียงพอต่อการใช้งาน กฟผ. จะสามารถอยู่คู่กับประชาชนและประเทศไทยตลอดไปอย่างยั่งยืน


วันที่ 15 มีค.59 ช่วงเช้า

Topic :CEO-HR-NON HR-STAKEHOLDERS AND EGAT’S NEW VALUE

อ.จันทนา สุขุมานนท์ ,อ.จีระ หงส์ลดารมณ์ บรรยายให้ความรู้ CEO-HR-NON HR-STAKEHOLDERS AND EGAT’S NEW VALUE

การเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันในหลายๆ ด้านทำให้องค์กรต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ขององค์กรในการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ ตามทฤษฎี 3 วงกลม ของท่าน อ.จีระฯ เพื่อ

1. องค์กรน่าอยู่ คล่องตัว ทันสมัย

2. การพัฒนาให้มีบุคลากรมีความรู้ ทักษะ สมรรถนะต่างๆ เป็นคนเก่งคนดีขององค์กร

3. มีแรงจูงใจให้คนอยากทำงานอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ

อ.จันทนาฯ

CEO ต้องเป็นผู้ set นโยบายด้านทรัพยากรมนุษย์

NON HR เป็นผู้ใกล้ชิดกับลูกน้อง จึงต้องเป็น HR ไปด้วย

HR ต้อง Collaboration เก่ง มีสัมพันธภาพที่ดี สร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และต้องเพิ่มบทบาทในด้านการช่วยเหลือชุมชน ให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้

ผู้บริหาร หัวหน้ากอง หัวหน้าแผนก (NON HR) ใน LINE FUNCTION เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ปฏิบัติงาน จึงมีความผูกพัน เป็นผู้ที่รู้ถึงความสามารถ จุดอ่อน จุดแข็ง สิ่งที่ต้องการพัฒนาให้แก่ทีมงาน เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ของ กฟผ. จึงต้องเพิ่มบทบาท HR ในตัว NON HR


วันที่ 15 มีค.59 ช่วงเช้า

Topic : Attitude & Mindset of EGAT People

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิชา มหาคุณ กับ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ หัวข้อเรื่อง Attitude & Mindset of EGAT People

ผู้นำจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับ Attitude & Mindset

กรอบความคิดที่ดี ต้องทำได้ ต้องทำให้สำเร็จ ต้องทำให้เสร็จก่อน ไม่ยอมแพ้

ผู้บริหารมักจะจำชื่อเราไม่ได้ แต่เขาจะจำผลงานของเราได้ แล้วจะจำเราได้เองจากผลงาน

ความสามารถเพื่อประสบความสำเร็จ

-มีพลัง -อดทน -การแข่งขัน -ความปรารถนา -ความพร้อม -ความเชื่อ -ความมุ่งมั่น

-การบริการ -จริยธรรม -วิสัยทัศน์

สิ่งที่ ผู้นำที่ดี จะต้องมี

-ทำในสิ่งที่ถูกต้อง -มีความซื่อสัตย์สุจริต -สร้างแรงจูงใจให้คนในทีมทำงาน -ต้องมีความคิดริเริ่ม

-พร้อมรับฟังความคิดเห็น -เรียนรู้ตลอดเวลา -เปลี่ยนแปลงให้ทันต่อสถานการณ์เสมอ

กฟผ. มีผู้นำที่ดี มีทัศนคติที่ดี มีกรอบความคิดที่ดี แต่ยังติดกับกรอบของกฎ ระเบียบ ซึ่งเป็นสิ่งปิดกั้นแนวทางการปฏิบัติ คน กฟผ. มีกฎ ระเบียบวินัย และ ค่านิยม วัฒนธรรมองค์กร ช่วยกำกับดูแลให้เป็นองค์กรธรมาภิบาล แต่ยังต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ปรากฎในใจของประชาชน เพื่อให้ประชาชนมรทัศนคติและกรอบแนวคิดที่ดีต่อ กฟผ.


วันที่ 15 มีค.59 ช่วงบ่าย

Topic : วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของ กฟผ. ในยุคโลกเปลี่ยนแปลง

(วัฒนธรรมองค์กร/การสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรและลูกค้าและ STAKEHOLDER)

ศาตราภิชานไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ กับ ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล บรรยายให้ความรู้ วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของ กฟผ. ในยุคโลกเปลี่ยนแปลง

ประเด็นที่ท้าทาย คือ ต้องมีการแข่งขัน ต้องมีการเปรียบเทียบ

การแข่งขันกับตัวเองเป็นความคิดที่ถอยหลัง สิ่งที่ท้าทายขึ้นกับสภาพแวดล้อม

กฟผ.จะมีสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าที่น้อยลง การสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ยังมีปัญหา

อ.พงษ์ชัยฯ แนะนำว่าให้ กฟผ. ใช้ประโยชน์กับรูปแบบการบริหารธุรกิจสมัยใหม่จากบริษัทลูกของ กฟผ. โดยให้ถือหุ้น โรงไฟฟ้าราชบุรี ให้มากขึ้น เนื่องจากมีผลประกอบการดี รวมทั้งให้บริษัทในเครือ เข้าถือหุ้น ในธุรกิจผลิตไฟฟ้าประเภท Renewable ทุกประเภท

อ.ไกรฤทธิ์ฯ ให้ความสำคัญ ใน 3 เรื่อง

1. วัฒนธรรมองค์กร

2. Value Creation ,Value chain , Value Diversity

3. ลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย มี 7 กลุ่ม - Government

- ประชาคมอาเซียน 600 ล้านคน

- Media ทุกชนิด โดย กฟผ. ต้องเป็นผู้ป้อนข่าวให้ Media

- NGO

- Finance Source

- PEER รัฐวิสาหกิจอื่นๆ

- สหภาพแรงงาน กฟผ.

กฟผ.จะมีสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าที่น้อยลง เหลือไม่ถึง 45 % และต้องหาเงินลงทุนสร้าง รฟ.เอง การต่อต้านจาก NGO โรงไฟฟ้าเอกชนที่เพิ่มขึ้นอีกทั้ง ยังใช้คนที่เคยทำงานใน กฟผ. นโยบายรัฐบาล การแทรกแซงจากนักการเมือง สิ่งเหล่านี้เป็นภัยคุกคาม กฟผ. เป็นสิ่งท้าทาย ที่ กฟผ. ได้มีการวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยง และมีอยู่ในแผนของ กฟผ. การจะสำเร็จหรือไม่ขึ้นกับพนักงานทุกคนต้องร่วมแรงร่วมใจเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย


วันที่ 16 มีค.59 ช่วงเช้า

Topic :CEO-HR-NON HR-STAKEHOLDERS AND EGAT’S NEW VALUE

อ.จันทนา สุขุมานนท์ ,อ.จีระ หงส์ลดารมณ์ บรรยายให้ความรู้ CEO-HR-NON HR-STAKEHOLDERS AND EGAT’S NEW VALUE

การเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันในหลายๆ ด้านทำให้องค์กรต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ขององค์กรในการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ ตามทฤษฎี 3 วงกลม ของท่าน อ.จีระฯ เพื่อ

1. องค์กรน่าอยู่ คล่องตัว ทันสมัย

2. การพัฒนาให้มีบุคลากรมีความรู้ ทักษะ สมรรถนะต่างๆ เป็นคนเก่งคนดีขององค์กร

3. มีแรงจูงใจให้คนอยากทำงานอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ

อ.จันทนาฯ

CEO ต้องเป็นผู้ set นโยบายด้านทรัพยากรมนุษย์

NON HR เป็นผู้ใกล้ชิดกับลูกน้อง จึงต้องเป็น HR ไปด้วย

HR ต้อง Collaboration เก่ง มีสัมพันธภาพที่ดี สร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และต้องเพิ่มบทบาทในด้านการช่วยเหลือชุมชน ให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้

ผู้บริหาร หัวหน้ากอง หัวหน้าแผนก (NON HR) ใน LINE FUNCTION ของ กฟผ. เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ปฏิบัติงาน จึงมีความผูกพัน เป็นผู้ที่รู้ถึงความสามารถ จุดอ่อน จุดแข็ง สิ่งที่ต้องการพัฒนาให้แก่ทีมงาน เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ของ กฟผ. จึงต้องเพิ่มบทบาท HR ในตัว NON HR

วันที่ 16 มีค.59 ช่วงบ่าย

Topic : การกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและประสิทธิภาพการทำงานของ กฟผ.

ศาตราจารย์กิตติคุณ ดิเรก ลาวัณย์ศิริ

พรบ. การประกอบกิจการพลังงาน เกิดขึ้นจากที่ประเทศอังกฤษมีการแปรรูปรัฐวิสากิจผลิตไฟฟ้าไปสู่การแข่งขันในแบบเอกชน จึงต้องตั้งหน่วยงานขึ้นมากำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงาน สำหรับประเทศไทยเรามี พรบ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 ใช้บังคับกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์

-เพื่อส่งเสริมให้มีบริการด้านพลังงานอย่างเพียงพอ มีความมั่นคง และความเป็นธรรมต่อผู้ใช้พลังงานและผู้รับใบอนุญาต

-ปกป้องผลประโยชน์ของผู้ใช้พลังงานทั้งทางด้านอัตราค่าบริการและคุณภาพการให้บริการ

-ส่งเสริมการแข่งขันในกิจการพลังงานและป้องกันการใช้อำนาจในทางมิชอบในการประกอบกิจการพลังงาน

-ส่งเสริมให้การบริการของระบบโครงข่ายพลังงานเป็นไปด้วยความเป็นธรรม โปร่งใสและไม่มีการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม

-ส่งเสริมให้การประกอบกิจการพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมต่อผู้รับใบอนุญาตและผู้ใช้พลังงาน

-ปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้พลังงาน ชุมชนท้องถิ่น ประชาชน และผู้รับใบอนุญาต ในการมีส่วนร่วมเข้าถึง ใช้และจัดการด้านพลังงานภายใต้เกณฑ์ที่ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

-ส่งเสริมการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากรในการประกอบกิจการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ

-ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในการประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย

กฟผ.ดำเนินกิจการภายใต้ พรบ.การประกอบกิจการพลังงาน การที่ค่าไฟฟ้าจะขึ้นหรือลงเพื่อสะท้อนต้นทุน จะใช้ค่า ft ในการปรับขึ้นหรือลง โดย คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเป็นผู้พิจารณากำหนด แต่เวลาที่ค่า ft ขึ้น

ประชาชนจะไม่พอใจ กฟผ. จึงเป็นเรื่องท้าทายที่ กฟผ. จะต้องหากลยุทธ์ในการชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า ให้เกิดความเข้าใจเกิดการยอมรับให้ได้

สรุปความเข้าใจบทเรียนช่วงที่ 2 วันที่ 15 มีนาคม มีด้วยกันทั้งหมด 3หัวข้อวิชา 5 อาจารย์ สรุปดังนี้

Attitute- Mindset ทัศนคติและกรอบความคิดของนักบริหารในบริบทของการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างจากอาจารย์คุณหญิงทิพาวดี ได้เอาความเก่งของตนเองออกมาเป็นเป้าหมายสร้างความมุ่งมั่นเพื่อให้เกิดการยอมรับ ซึ่งถ้าเอาความเป็นผู้หญิงจะสู้ผู้ชายไม่ได้ ใช้การแก้ปัญหาอย่างมีระบบแบบแผน ระยะสั้น ระยะยาว ผู้บริหารต้องเก่งวางแผนและต้องทำด้วยตนเอง ผู้บริหารต้องละเอียดเพราะจะนำไปสู่ความสำเร็จ หรือความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ได้ การทำงานต้องให้เจ้านายรู้สึกว่าต้องพึ่งเรา ต้องแสดงตนขี่คลื่น หมายถึง รู้เหนือการเปลี่ยนแปลง ส่วนศาสตราจารย์(พิเศษ)วิชา มหาคุณ กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติของโลก เป็นพลังที่ฝื่นไม่ได้ แต่การเปลี่ยนไปของ กฟผ.ทำอย่างไรให้รับรู้ได้ว่า กฟผ.เป็นที่พึ่งสุดท้ายที่มีอยู่ตลอดไปด้านพลังงาน ท่านกล่าวถึงการบริหารจัดการแบบเป็นระบบ มีข้อเสียที่ช้า จึงเกิดการกระทำแบบ informal นึกถึงประชาชนเป็นหลัก ประโยชน์สุขเป็นหลัก ตัวอย่าง ลูก ร.5 ถูกปลูกฝังให้เรียนกระจายไปบริหารราชการในที่ต่างๆ โดยมีแนวคิดว่า งานของเจ้าคือรับใช้ประชาชนผู้บริหารต้องมีจริยธรรม เป็นแบบอย่าง สร้างวัฒนธรรมใหม่ด้านคุณภาพ ความคิดริเริ่ม ความเป็นทีมและเรียนรู้จากความผิดพลาด การแก้ทัศนคติกลุ่มDead wood ต้องพยายามค้นหาคุณค่าความสามารถในตัวตน จัดงานให้ตรง

การนำไปใช้กับ กฟผ.ซึ่งเป็นองค์กรค่อนข้างอิ่มตัว อยู่สบาย การปรับ Mindset จึงเกิดจากผู้นำที่ต้องเป็นแบบอย่าง มีความกระฉับกระเฉง มุ่งมั่นสู่เป้าหมายที่ท้าทาย พัฒนาตัวเองและทีมงานอยู่เสมอ สร้างบรรยากาศการทำงานให้มีความเคลื่อนไหวโดยตลอด ซึ่งเป็นงานหนักและยากพอควรสำหรับตนแบบผู้นำ กฟผ.

แนวคิดและกลยุทธ์ทางด้านการตลาด ศาสตราจารย์ภิชานไกรฤทธิ์ กล่าวถึงความเกี่ยวข้องกับ กฟผ.อย่างไร อาจจะมองภาพยากเสมือนไม่ต้องใช้กลยุทธ์อะไร มีลูกค้าที่แน่นอนอยู่แล้วแต่การตลาดหมายถึงขายของเป็น ไม่ใช่เฉพาะขายสินค้า ยังมีเรื่องบริหารคน หาแหล่งทุน ที่ต้องมีการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่มี 7 กลุ่ม รัฐบาล(ผู้กำกับ) ประชาชนทั่วไป ผู้สื่อข่าว NGO Finance Peer และUnion อีกมุมมองหนึ่ง ผศ.ดร.พงษ์ชัย ได้วิเคราะห์สภาพ กฟผ.โดยใช้ข้อมูลรายงานประจำปี

ซึ่งเป็นการให้มุมมองเชิงวิเคราะห์จากข้อมูลภายใน กฟผ.เอง ทำให้ทราบว่า คนนอกยังรู้ดีกว่าคนใน ซึ่งคงต้องปรับ Mindset การเรียนรู้ข้อมูลการบริหารหากจะเป็นผู้นำระดับสูงต่อไป

สรุปความเข้าใจบทเรียนช่วงที่ 2 วันที่ 16 มีนาคม มีด้วยกันทั้งหมด 2 หัวข้อวิชา 2 อาจารย์ สรุปดังนี้

CEO-HR-Non HR-Stakeholder and EGAT’s new valves อาจารย์จันทนา สุขุมานนท์ กล่าวถึงการทำงานให้ดี ต้องมีCoach Non HR หมายถึง บุคคลที่ไม่ใช่อาชีพHR อยู่ใน line function แต่มีความเข้าใจงานHRเป็นอย่างดี ดังนั้นการทำงานจะเสริมร่วมมือกันได้ด้วยดี สามารถปรับใช้กับ กฟผ.สำหรับ Non HR จะเป็นผู้ให้ข้อมูลความต้องการ ขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร เพื่อให้HR ดำเนินการจัดหา พัฒนา ส่งมอบบุคลากร และบทบาทผู้นำจะต้องมีความเป็นHRอยู่ด้วย

การกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและประสิทธิภาพการทำงานของ กฟผ.เป็นการบรรยายกฏกติกาต่างๆของการกำกับ การเกิด สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน การนำเงินจากกิจการด้านพลังงานเข้าสู่กองทุนพัฒนาไฟฟ้า กฟผ.เกี่ยวข้องโดยตรงซึ่งต้องปฏิบัติตามอย่างเข้มงวด

สรุปสาระการเรียนรู้หลักสูตร EADP รุ่น 12 ช่วง 2 วันที่ 14-16 มี.ค. 59

โดย ฉัตรชัย มาวงศ์ , ช.อค-หส.(บน)

เส้นทางสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจของจีน: ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เจริญ วรรธนะสิน

  • สนุกกับการถอดบทเรียนประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ ค.ศ.1830 ยุคการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม ที่จีนถูกรุกรานจากต่างชาติ สร้างความเสียหายให้กับจีนอย่างมาก จนต้องมีผู้นำเข้ามาต่อต้านและเปลี่ยนแปลงเพื่อให้รอดพ้นจากวิกฤติต่างๆท้ายที่สุดสามารถพัฒนาประเทศจีนให้เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจได้อย่างปัจจุบัน ทำให้เราทราบว่าแต่ละวิกฤติจะใช้ผู้นำที่แตกต่างกันไป ดังนั้นการเลือกผู้นำใหม่ในแต่ละยุคจึงมีความสำคัญมาก อีกอย่างการเปลี่ยนแปลงที่สำเร็จมักจะมีองค์ประกอบของ 3Vs (Value Added, Value Creation, Value Diversity) เสมอ เช่น นโยบาย 1 ประเทศ 2 ระบบ มีการปรับแก้กฎหมายต่างๆให้รองรับการพัฒนาได้อย่างเหมาะสม สามารถสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษจีน สร้างการตลาดยุคใหม่โดยใช้เงินทุนจากต่างประเทศ ก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ เป็นต้น

EGAT and Change Management.: อาจารย์ประกาย ชลหาญ, ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

  • “Change before you are force to change” - Jack Welch (CEO General Electric) มีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนองค์กรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงโดยอาศัย GE’s Change Model ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง 3 ระยะ คือ Current State, Transition State, Improved State

ประสบการณ์ อดีต ผวก.สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

  • ท่านเล่าประสบการณ์บริหารงานในภาวะวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ ปี 2554 โดยมีแนวคิดว่าต้องดูแลตัวเองให้รอดและต้องช่วยเหลือสังคมด้วย ในตอนนั้นได้จัดตั้งศูนย์บัญชาการ มีการประชุมประเด็นปัญหาทุกวัน จากนั้นมอบหมายงานให้แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการเกิดจาก การประเมินความเสี่ยงที่ถูกต้อง กำหนดประเด็นการสื่อสารชัดเจนในภาวะวิกฤต มี Connection Network ที่หลากหลาย

Attitude-Mindset of EGAT Leaders: ศาสตราจารย์(พิเศษ) วิชา มหาคุณ / คุณหญิงทิพาวดี เมฆสววรค์

  • ผู้บริหารควรเปิดรับข้อมูลข่าวสารเป็นประจำจะทำให้ทราบบริบทของการเปลี่ยนแปลง และสามารถวางแผนงานได้เป็นอย่างดี และผู้บริหารควรต้องมีการปรับกรอบความคิด (Mindset) และทัศนคติ (Attitude) ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง เปรียบเสมือนการเล่นกระดานโต้คลื่น จะเล่นให้ได้ดีก็ต้องเข้าใจทิศทางของเคลื่นเป็นอย่างดี

แนวคิดและกลยุทธ์ทางการตลาด: ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

  • กลยุทธ์การตลาดจะช่วยปรับสมดุลระหว่าง Supply กับ Demand โดยมุ่งเน้นความต้องการของผู้บริโภค (Consumer) และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด (Stakeholder) และผู้บริหารควรทำการวิเคราะห์ Segmentation, Target Market และ Product Positioning ก่อนเสมอที่จะปรับใช้กับการทำงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

การวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของ กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง: ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล / ผศ.กิตติ ชยางคกุล

  • หากทำการวิเคราะห์ตัวเลขจากผลประกอบการจะพบว่ามี่หลายตัวเลขที่น่าสนใจ และเป็นประเด็นท้าทายในการปรับเปลี่ยน กฟผ. ในอนาคต เช่น สัดส่วนการตลาดพลังงาน การใช้ประโยชน์ทรัพย์สิน เป็นต้น โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่า กฟผ. ควรพลักดันให้รัฐบาลแก้ไขกฎหมายกำหนดให้ กฟผ. สามารถเข้าถือหุ้น IPP ได้ทุกบริษัทเพื่อควบคุมนโยบายและความมั่นคงพลังงานในอนาคต ซึ่งปัจจุบันกฟผ. มีสัดส่วนในตลาดพลังงานน้อยลงเรื่อยๆและยังไม่สามารถกำกับนโยบาย IPP ได้เลย

CEO – HR – Non HR – Stakeholder: คุณจันทนา สุขุมานนท์

  • ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยความสำเร็จขององค์กร โดย Non HR จะเป็นผู้กำหนดความต้องการให้สอดคล้องกับภาระกิจ และ HR จะเป็นผู้จัดหาตามความต้องการและช่วยพัฒนาโดยการ Motivate และ Empowerment

การกำกับกิจการไฟฟ้า: ศาสตราจาย์กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ

  • คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จัดตั้งขึ้นตาม พรบ.ประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 มีหน้าที่อนุญาตและกำกับการประกอบกิจการพลังงาน รวมถึงการคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน การใช้อสังหาริมทรัพย์ และการพิจารณาข้อพิพาทและการอุทธรณ์
เทวัจฉรา อภัยภูมินารถ

หัวข้อ : ประสบการณ์ของผู้นำ กฟผ. ในการแสวงหาโอกาส-บริหารวิกฤติ ความเสี่ยง และการตัดสินใจ

โดย ผวก. คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

ผวก. ได้นำความรู้ แนวความคิด และประสบการณ์ในสิ่งที่ ผวก. ได้ดำเนินการในช่วงที่เป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กร กฟผ. มาเล่า เพื่อเป็นแนวทางในการเป็นผู้บริหารที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการเป็นผู้นำที่ดีของ อจ. จิระ โดยย่อดังนี้

- ผู้บริหารที่ดีต้องให้นึกเสมอว่า ตนเองต้องความรับผิดชอบที่สูงกว่าตำแหน่งของตน 1 ระดับ เสมอ

- การบริหารงานในช่วงวิกฤติ ตรงกับ หลัก Crisis Management

- ให้มีการบริหารความเสี่ยงตลอดเวลาในการทำงาน ตรงกับ หลัก Risk management

- การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในช่วงวิกฤติ ตรงกับ หลัก Conflic management

- การคาดการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ ตรงกับ หลัก Anticipated Management

- การเจรจาต่อรอง ตรงกับ Leader Skill ที่ต้องมีทักษะในการเจรจาต่อรอง

- การมีสติเพื่อแก้ไขปัญหา

- การมีศูนย์ข้อมูล เพื่อประเมินสถานการณ์ได้ตลอดเวลา

- พยายามใช้วิกฤติให้เป็นโอกาสอยู่เสมอ

- ควรมีมุมมอง เป็น Perspective ในเชิงธุรกิจให้กว้างๆ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับบริษัทในเครือ เพื่อเพิ่มความรู้ ความชำนาญเชิงธุรกิจ

- ควรมี Social Skill

นอกจากนี้ ผวก. ได้ให้ข้อคิดในการปฏิบัติตนของผู้บริหาร ควรยึดหลักว่า

การทำงานควรให้เขาเกรงใจ ไม่ใช่กลัว

การวางตนควรจะไม่ไกลเกินไป และไม่ใกล้เกินไป - ควรทำหน้าที่ด้วยความโปร่งใส

การทำงานต้องทำให้เขารู้สึกว่า การมีเราทำให้เขาประสบความสำเร็จ

ต้องมีความรับผิดชอบ ต้องอดทน

ต้องรู้จักปรับตัวอยู่ตลอดเวลา

ต้องมีความมุ่งมั่นเพื่อสู่เป้าหมายที่เป็นความสำเร็จขององค์กร


นายสมคิด ประดิษฐ์เสรี

บทเรียน : เส้นทางสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจของจีน

อาจารย์เจริญฯ ท่านถ่ายทอดเรื่องราวที่ผ่านมาหลายร้อยปีของประเทศจีน ได้เสมือนดูหนัง พงศาวดารจีน ไม่ผิดเพี้ยน การเปลี่ยนแปลงการบริหารและการปกครองของจีน มีหลากหลาย ไม่มีทิศทางแน่นอน แต่ก็มีเหตุผลและปัจจัย ที่ควรศึกษา แม้ว่าบางเรื่องจะล้าสมัยแล้วก็ตาม ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า จีนมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล แผนบริหารประเทศต้องมองข้ามศตวรรษ จึงทำให้มีประเทศจีนมาถึงทุุกวันนี้ได้ จะเห็นได้จากยุคหนึ่งของจีน ที่พบความพ่ายแพ้และความอัปยศจากสงครามครั้งแล้วครั้งเล่า ยังไม่สามารถปรับตัว จึงจมปรักกับความพ่ายแพ้นั้น ดังสุุภาษิต ฟ้าหลังพายุุก็ลืมฟ้าร้อง การเรียนรู้อย่างเป็นระบบปลุุกจิตสำนึกความรักชาติ ทำให้จีนพบทางสว่างอีกครั้ง การพัฒนาชาติหรือหน่วยงานหากไม่มีทิศทาง ก็จะวนเป็นวงกลม เปรียบเสมือนไม่มีการพัฒนานั่นเอง การเปลี่ยนแปลงทางความคิด จะต้องไม่ใช่เฉพาะผู้นำเท่านั้น แต่จะต้องเปลี่ยนแปลงความคิดของคนทั้งชาติเป็นการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ของจีน ทำให้จีนมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การตัดสินใจของผู้นำ เติ้งเสี่ยวผิง ถือว่าเป็นกุญเจสำคัญที่ขับเคลื่อนจีนไปสู่อีกยุค ด้วยการเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ สร้างความเชื่อมั่นทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดังสุุภาษิต เดินไปข้างหน้าแล้ว จะไม่มีวันเดินกลับไปทางเดิมอีก ที่น่าสนใจคือการปกครองของจีนเป็นแบบ 1 ศูนย์กลาง 2 ระบบ สังคมนิยมและทุนนิยม สิ่งที่ทำให้ประสบความสำเร็จได้เกิดจากการขจัดปํญหาความแตกต่างและมุ่งสู่จุดหมายเดียวกัน คือ ความสุขของส่วนรวม การเรียนรู้ประวัติศาสตร์จีนช่วยเปิดมุมมองทางความคิดและแผงคติเตือนใจได้เป็นอย่างดียิ่ง

เสริมพงศ์ วิชิตเนตินัย

ขอเข้ามาแสดงความเห็นเป็นครั้งที่สองสำหรับรอบนี้นะครับ

ขอพูดถึงเรื่องผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ : CEO-HR-Non HR-Stakeholders and EGAT’s new values

วันที่ 16 มีนาคม 2559 โดยอาจารย์จันทนา สุขุมานนท์

หัวข้อนี้ได้ทั้งความรู้และแรงบันดาลใจจากวิทยากร ซึ่งมาด้วยความเป็น CEO หญิงที่เก่งและมั่นใจเกินร้อย เพียบไปด้วยประสบการณ์ ถึงแม้ไม่เคยอยู่หน่วยงาน HR แต่ก็เข้าใจคนและมีวิธีการบริหารจัดการเรื่องคนได้อย่างน่าสนใจ วัฒนธรรมองค์กรของปูนซีเมนต์นครหลวงอาจไม่เหมือนกันกับ กฟผ.แต่ก็น่าจะนำมา Apply ใช้ได้ เช่นเรื่อง การพัฒนาคน การวาง Career Path ที่ชัดเจน การวางแผนล่วงหน้า และแนะนำว่า HR ที่ดีต้องมาจาก Line เนื่องจากรู้ว่าสิ่งที่ได้คืออะไร รู้วิธีการทำงานขององค์กร และ ทรัพยากรมนุษย์คือปัจจัยความสำเร็จขององค์กร สิ่งสำคัญอันแรกคือการเปลี่ยนตัวเองให้ได้ก่อน อาจารย์ยังให้ความเห็นกับ กฟผ.ด้วยว่า HR ของ กฟผ. มีจุดอ่อน คือ HRD กับ HRM ยังไม่ Align กันแล้วจะไป Align คนอื่นได้อย่างไร จริง ๆ ต้องมีคนที่คอยกำกับให้ประสานงานกัน และ HR ต้องไปอยู่กับ CEO ด้วย เพื่อการสื่อสารไปฝ่ายต่าง ๆ ให้นำจุดอ่อนไปพัฒนา และใช้จุดแข็งให้เกิดประโยชน์ มีการพัฒนามากขึ้น

ถัดมาคือเรื่อง Change เพราะโลกเปลี่ยนแปลงจึงมีผลกระทบกับองค์กร ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ เราต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ ต้องปรับปรุงการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพของคน โดยยึดหลัก Customer Centric Organization และสำหรับ กฟผ. ต้องเริ่มจาก EGAT Core Value คืออะไร ต้องเข้าใจว่าแก่นของเราคืออะไร ปกติของคนชอบสร้าง Silo จะทำอย่างไรให้แต่ละ Silo ทำงานร่วมกันได้

เรื่องที่ทำให้ผมประหลาดใจมาก คือเรื่องที่อาจารย์เคยทำงานสร้างเขื่อนเขาแหลม เมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว ตอนนั้นอยู่ ITALIAN THAI ซึ่งเป็น Contractor ของ กฟผ. และยังเคยทำที่เขื่อนเชี่ยวหลานด้วย ได้พบเรื่องราวของความยากลำบากในการทำงานกว่าจะสำเร็จออกมาได้ นี่คงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้อาจารย์เข้าใจเรื่องคนได้เป็นอย่างดี และประสบการณ์ครั้งนั้นอาจารย์ก็บอกว่าทำให้รู้สึกผูกพันกับ กฟผ.มาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน (และเป็นเพื่อนกับ ผวก.สุนชัยด้วย)
นายสมคิด ประดิษฐ์เสรี

บทเรียน : Change Management

การบริหารการเปลี่ยนแปลง ไม่มีสูตรสำเร็จที่สามารถนำไปใช้ได้ทุกสถานะการณ์ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมของโอกาสและเวลา แต่สิ่งที่เห็นชัด คือ มีคำคมๆและความหมายดีๆ ให้เลือกใช้มากมาย ที่ถูกใจ จะมี

- There is nothing permanant ,except change

- It is not the strongest of the species that survive,not the most intelligent,but the ones most responsive to change

- Change before you are forced to change

คนทั่วไปไม่ได้ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง แต่เขาเหล่านั้นต่อต้านการถููกเปลี่ยนแปลง มากกว่า จริงอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงย่อมมีทั้งส่วนได้และส่วนเสีย สิ่งสำคัญคือต้องยอมรับและมองเห็นการสร้างวิกฤติดังกล่าวให้เป็นโอกาส

การบริหาร :

- Top down เป็นการบริหารแบบ Programmatic ไม่ Flexible

- Bottom up เป็นการบริหารแบบ Learning มีความยืดหยุ่นเสริมสร้างความสุข

ผู้บริหารยุุคใหม่ จึงต้องเป็น Collaborative Leadership จะต้อง Leading Through connection

วัฒนธรรมและค่านิยมหลักขององค์กร จะต้องเข้าใจและปฏิบัติได้โดยไม่ต้องตีความ และต้องอยู่ใน DNA ของคนในองค์กรทั้งหมด จึงจะทำให้องค์กรนั้นยั่งยืนอยู่ได้

วัลลภ เมฆพฤกษาวงศ์

สรุปการเรียนรู้หลักสูตร EADP รุ่น 12 ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 14-16 มี.ค.59

เส้นทางสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจของจีน : ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เจริญ วรรธนะสิน

  • ประวัติศาสตร์สามก๊กของจีน ศิลปะวรรณกรรมได้บ่มเพาะบทเรียนและประสบการณ์ของผู้คน ทำให้มีผู้นำที่เก่งกล้าในเชิงการบริหารงาน สามารถนำมาใช้ในการขับเคลื่อนประเทศแบบหนึ่งประเทศสองระบบ มีทั้งรัฐเป็นเจ้าของและให้เอกชนสามารถเป็นเจ้าของได้อีกด้วย จนพัฒนามาเป็นมหาอำนาจของโลก และยังคงไม่หยุดนิ่งเกิดนวัตกรรมชี้นำโลกอย่างต่อเนื่องต่อไป เช่น การนำเงินสกุลหยวนไปไว้ในตะกร้าเงินของโลก แต่กรณีพิพาทหมู่เกาะเตียวหยูอาจไม่ส่งผลดีนัก ซ้ำร้ายอาจเป็นฉนวนเหตุก่อให้เกิดสงครามขึ้นได้

ประสบการณ์ อดีต ผวก.สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

  • ท่านให้คำแนะนำสำหรับผู้บริหาร กฟผ. ควรฝึกฝนการฟันฝ่าอุปสรรคภายใต้สภาวะวิกฤต ตัวอย่างหนึ่งเช่น กรณีมหาอุทกภัยภาคกลางของประเทศเมื่อปี 54 กฟผ. สามารถผ่านมาได้เป็นอย่างดี มีการบริหารที่หลากหลายมุมมองมาก จัดตั้งศูนย์เผชิญเหตุฉุกเฉินประชุมปรึกษาหารือประเมินสถานการณ์เป็นประจำทุกวัน มีข้อมูลนำเข้ามาประกอบการพิจาณาตัดสินใจอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา มอบหมายแบ่งงานกันทำ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดูแลรักษาทุกโรงไฟฟ้าและระบบส่งในพื้นที่เสี่ยงภัยให้เป็นที่พึ่งของผู้ที่เดือดร้อนได้ สร้างความเข้าใจกับสาธารณะชน ตอบปัญหาผ่านสื่อ สรุปเนื้อหาสาระให้ภาครัฐเข้าใจในบทบาท กฟผ. สิ่งหนึ่งที่เป็นเรื่องยากคือการสรุปเนื้อหาวิกฤตการณ์ที่มีเข้ามาอย่างมากมายให้เหลือเฉพาะประเด็นสาระสำคัญดังเช่นผังของลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ กฟผ. เป็นเพียงส่วนน้อยที่เติมน้ำลงไปในพื้นที่น้ำท่วมดังกล่าว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประชาชน ช่วยเหลือสังคมอย่างเต็มที่ไม่ทอดทิ้งกัน

Attitude–Mindset of EGAT Leaders : ศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิชา มหาคุณ / คุณหญิงทิพาวดี เมฆสววรค์

  • Mindset ของบุคคลากร กฟผ. ร่วมกันทั้งองค์กร ท่านแนะนำว่า ควรเป็นปณิธานที่จะมุ่งมั่นทำงานในหน้าที่ความรับผิดชอบให้ประชาชนมีพลังงานไฟฟ้าใช้ตลอดเวลา โดยไม่เกิดภาวะขาดแคลนแม้ว่าในบางโอกาสโรงไฟฟ้าเอกชนอาจต้องหยุดผลิตไฟฟ้าไปไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม อีกเรื่องที่แนะนำคือให้มีทัศนคติที่จะดูแลสังคมชุมชนอย่างจริงจัง ดังตัวอย่างของกรณีชุมชนรอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อนึ่ง ทั้งสองท่านเน้นย้ำให้ กฟผ. คงความดีในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตไว้ตลอดไป

แนวคิดและกลยุทธ์ทางการตลาด : ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

  • กลยุทธ์การตลาดท่านให้เครดิต กฟผ. มากมีโอกาสที่จะสร้างผู้นำที่สามารถส่งออกไปเป็น CEO ในการผลิตไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน CLMV ได้ เนื่องจากเป็นผู้ที่คร่ำหวอดในอุตสาหกรรมนี้ มีสินทรัพย์ด้านบุคคลากรที่ดี
  • สิ่งที่ควรมีการเตรียมการไว้สำหรับ กฟผ. คือการมองการณ์ไกลไปอีก 50 ปีข้างหน้า จะมีเทคโนโลยีทางเลือกใดในการผลิตไฟฟ้ามาทดแทนธุรกิจของ กฟผ. หรือไม่ ให้มีการเตรียมความพร้อมรองรับเอาไว้

CEO – HR – Non HR – Stakeholder : คุณจันทนา สุขุมานนท์

  • Sustainable development (SD) กฟผ. ถือเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ที่จะต้องมีการดำเนินงานในเรื่องนี้อยู่ทั่วทั้งองค์กร โดยที่จะมีกิจกรรมทางด้าน CSR & CSV เป็นส่วนสร้างเสริมในการสร้างความยั่งยืนดังกล่าว
  • ทุกภาคส่วนภายในองค์กร ไม่เฉพาะผู้ที่ทำหน้าที่ด้านทรัพยากรบุคคลเท่านั้น หากแต่ทุกท่านควรต้องมีจิตวิญญาน HR เนื่องจากจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการที่แต่ละภาคส่วนเผชิญอยู่ได้ดีกว่า ทั้งนี้โดยขอรับการสนับสนุน HR personnel ช่วยอำนวยความสะดวกให้การบริหารงานบุคคลสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี อนึ่ง ท่านยังให้คำแนะนำถึงเครื่องมือที่ทันสมัยคือ Net Promoter Score (NPS) ในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี

การกำกับกิจการไฟฟ้า : ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ

  • ทำให้เข้าใจถึงการกำกับดูแลกิจการพลังงาน ที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างสมดุลและเป็นธรรมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าและ/หรือพลังงานมีหน่วยงาน กกพ. รับผิดชอบดูแลเป็นอย่างดี
  • ท่านชื่นชมว่า กฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจชั้นนำที่มีระบบ KM ที่ดี และยังมีการตรวจประเมินประสิทธิภาพด้วยระบบ SEPA ทำให้มีการปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

หลักสูตร EADP (EGAT Assistant Director Development Program)

การอบรมช่วงที่ 2 : ระหว่าง วันที่ 14-16 มีนาคม 2559 , หัวข้อการอบรม ดังนี้

-เส้นทางสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจของจีน

-EGAT Challenges in the Changing World

-วัฒนธรรมองค์กร กับ การเปลี่ยนแปลง

-ประสบการณ์ของผู้นำ กฟผ. ในการแสวงหาโอกาส , การบริหารวิกฤต ความเสี่ยง และการตัดสินใจ

-ทัศนคติ และกรอบความคิด ของนักบริหาร

-แนวคิด และกลยุทธ์ทางการตลาด

-วิเคราะห์ประเด็นท้าทาย สำหรับการทำงานของ กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน

-ทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยความสำเร็จขององค์กร

-พระราชบัญญัติ การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.๒๕๕๐

สรุปประเด็นที่โดนใจ :

-การชี้ให้เห็นชัดถึงการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่อาจหลีกเลี่ยง คำถามคือ เราจะเข้าใจและจะจัดการอย่างไร

-เรียนรู้การพัฒนาประเทศจีน ผ่านประวัติศาสตร์อันหอมหวานและเจ็บปวด แนวคิดและการตัดสินใจของผู้นำ

-ผู้นำ : ธรรมมาภิบาล และ ความเป็นมืออาชีพ

-ผลลัพท์ของการจัดการการเปลี่ยนแปลง ๒ หนทาง คือ ดีกว่า หรือเสียหายน้อยกว่า ที่จะปล่อยไปตามยถากรรม

-ผู้นำต้องมีความรู้ที่กว้างขวาง ทันสมัย และมีนิสัยรักการเรียนรู้ตลอดเวลา

-การบริหารภาวะวิกฤต ต้องมีสติ การประเมินสถานการณ์ การสื่อสาร และแนวคิดแหลกเลี่ยงภาสะวิกฤต

การนำไปใช้ประโยชน์ :

-จะนำแนวคิดจากประวัติศาสตร์จีน แนวคิดการตัดสินใจของผู้นำจีนรุ่นต่างๆ ประยุกต์ใช้ในชีวิตและงาน

เช่น กล้าสร้างสังคมที่โดดเด่น มีสีสรร วิทยาการสมัยใหม่จะสร้างศักยภาพให้ประเทศ

-ได้ทบทวน ได้เริ่มคิดอย่างจริงจัง ที่จะเข้าใจการเปลี่ยนแปลง เตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง

-ใช้แนวคิด ผู้นำผู้บริหาร นั่งในตำแหน่งอะไร ต้องใส่หมวกใหญ่กว่า 1 เบอร์ (สามารถรับผิดชอบได้มากกว่า)

-ประยุกต์ใช้ การแสวงหาโอกาส โดยคำนึงถึง การเรียนรู้ตลอดเวลา มีความรู้ที่กว้าง มองแบบ Outside In

-เกิดการกระตุ้นและถามตัวเองตลอดเวลา ว่าเราจะต้องทำอะไร ต่อไปๆ

-พิจารณา ปรับทัศนคติและกรอบความคิด การเปลี่ยนแปลง มุมมองกว้างไกล คิด-ทำ เพื่อส่วนรวม/end.

เทวัจฉรา อภัยภูมินารถ

หัวข้อ : Attitude Mindset of EGAT Leaders

โดย ศจ. (พิเศษ) วิชา มหาคุณ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

การเป็นผู้นำ และผู้บริหารที่ดีของอาจารย์ทั้งสองท่าน ได้ให้ความสำคัญที่ Mindset หรือกรอบความคิด และ Attitude หรือทัศนคติ ผู้นำและผู้บริหารที่ดีจะต้องพัฒนา/ปรับกรอบความคิด และทัศนคติของตนไปในทางที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน และองค์กร ต้องมีมุมมองที่กว้างไกล มองในระยะยาว เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาวะโลก สภาวะเศรษฐกิจ ต้องมีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองและทีมงานตลอดเวลา และไม่ย่อท้อที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง มีการบริหารงานที่เป็น Professionalism ทำงานแบบมีระบบ เน้นการบุูรณาการ ทำงานเป็นทีม มุ่งเน้นความสำเร็จเป็นเป้าหมายสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม ต้องยึดมั่นคุณธรรมความโปร่งใสด้วย ผู้นำที่ดีต้องทำตัวให้เป็น Role Model หรือเป็นแบบอย่างที่ดี ให้คิดไว้เสมอว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ฉะนั้น ระบบการทำงานก็สามารถที่จะปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงเวลานั้นๆ ได้เสมอ ทั้งนี้ ผู้บริหารที่ดีก็จะต้องปรับ Mindset และ ATtitude ให้ยอมรับร่วมกัน เพื่อจะนำพาให้องค์กรสามารถพัฒนาต่อไปได้

เทวัจฉรา อภัยภูมินารถ

หัวข้อ : แนวคิดและกลยุทธ์ทางการตลาด ปรับใช้กับการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ กฟผ.

โดย : ศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

แนวคิดการบริหารงานองค์กร หรือการทำธุรกิจแทบจะทุกประเภทในปัจจุบัน ต้องนำแนวคิดทางการตลาดเข้ามาใช้ด้วย ผู้บริหาร และผู้นำองค์กร EGAT จะต้องคำนึงถึงการทำการตลาด เพื่อทำให้ภารกิจหลัก ได้แก่ การผลิตไฟฟ้า และการจำหน่ายไฟฟ้าเป็นไปตามเป้าหมาย ต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ขององคืกร อันได้แก่ รัฐบาล ผู้บริโภค/ประชาชน กลุ่มพันธมิตร องค์กรการเงิน และ NGOs เป็นต้น และมุ่งไปที่ Demand Focus ความต้องการของแต่ละกลุ่ม ต้องรู้จักและเข้าใจ เพื่อให้เกิดการเข้าถึง นั่นคือ ต้องนำกลยุทธ์การตลาดมาปรับใช้ให่เกิดประโยชน์

ผูับริหารต้องคำนึงถึง

- การนำ Marketing Life Cycle มาวิเคราะห์แวโน้มสภาวะเศรษฐกิจและการตลาด เพื่อปรับกลยุทธ์วิธีการ

- การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคลภายในองค์กร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง โดยพิจารณาแยกประเภทบุคลากรเพื่อง่ายต่อการพัฒนา เป็น Today People ,Tomorrow People , Yesterday People , Genius/Idiot

- Value Chain การพัฒนาธุรกิจเกี่ยวเนื่องในลักษณะต้นน้ำและปลายน้ำ

ในขณะเดียวกัน EGAT ควรต้อง Define ตนเองให้ได้ว่า บทบาทขององค์กรเป็นอย่างไร จะก้าวเดินไปในธุรกิจพลังงานอย่างไร พิจารณา Suppliers พันธมิตรทางธุรกิจ New Comers ที่จะเข้ามาในธุรกิจพลังงาน และการปรับแนวทางการเลือกใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า เช่น พลังงานทดแทน

เทวัจฉรา อภัยภูมินารถ

หัวข้อ : วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของ กฟผ. ในจุดที่โลกเปลี่ยน

โดย: ศาสตราภิธาน ไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ ผศ.ดร. พงษ์ชัย อธิคม รัตนกุล ผศ.กิตติ ชยางคกุล

ในปัจจุบัน ธุรกิจมีสภาวะการแข่งขัน (Competitive Environment) สูง ในขณะที่ EGAT เป็นองค์กรขนาดใหญ่ ที่รับผิดชอบในการผลิตไฟฟ้าซึ่งเป็นสาธารณูปโภคที่สำคัญของประเทศ จึงควรคำนึงถึงตัวแปรสำคัญที่จะบริหารองค์กรท่ามกลางสภาวะการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น ดังนี้

1) องค์กรเป็นกลุ่มธุรกิจสาธารณูปโภคพื้นฐาน จะทำอย่างไรเพื่อให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอ

ท่ามกลางการแข่งขันของ IPP SPP

2) การสุญเสียสัดส่วนการผลิตไฟฟ้า เริ่มต่ำกว่าร้อยละ 50

3) ประเภทของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าเป็นอย่างไร จะเพียงพอหรือไม่ ควรปรับเปลี่ยนอย่างไร

4) Demand กับ Supply เป็นอย่างไร

5) กลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจเกี่ยวเนื่องใหม่ๆ โดยอาศัยบริษัทในเครือ กฟผ.

6) บทบาทของ EGAT กับตลาดพลังงานไฟฟ้าใน ASEAN

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวแปรส่วนหนึ่ง ที่จะท้าทายการดำเนินงานของ EGAT ในอนาคต

อิทธิชัย ดิศวนนท์ ผู้ช่วยผู้อำกนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล-ปฏิบัติการ

วันที่ 25 มีนาคม 2559

ช่วงที่สองของการอบรม 14 -16 มีนาคม 2559

เส้นทางสู่มหาอำนาจของจีน คนจีนได้ชื่อว่าเป็นชนชาติที่ค้าขายเก่งที่สุดของโลก คงเช่นเดียวกับนักวิชาการบางท่านมองว่าชนชาติยิวฉลาดที่สุดในโลก แม้โลกจะเปลี่ยนไปคนเยอรมันถือเป็นชนชาติที่มีวินัยและเข้มแข็งหรือญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่มีคุณภาพ จะอย่างไรก็ตามประเทศที่กล่าวถึง ผ่านการต่อสู้เพื่อชนชาติของตนเอง ต่อสู้ดิ้นรนกับความทุกข์ยากมาแล้วทั้งสิ้น ประเด็นสำคัญที่อาจาร์เจริญกล่าวถึงคือการวางแผนการเตรียมคนในระยะยาวแทบทั้งสิ้นขณะเดียวกันก็มีความเชื่อที่คล้ายกันว่า ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ ความเชื่อมั่นว่าระบบการบริหารที่ดี สามารถสร้างคนผู้นำที่ดีได้เช่นกัน

ท่านผู้ว่าสุทํศน์ ท่านต้องการให้ผู้บริหารในอนาคต มองการทำงานอย่างเป็นระบบ การเชื่อมโยงการบริหารในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น Asset บุคลากร หรือธุรกิจ พร้อมยังเน้นให้ผู้บริหารมีความเชื่อมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง และพยายามสร้างเครือข่ายการบริหารไปพร้อมๆกัน

อาจารย์ไกรฤทธิ์ ระบบและวิธีคืดของท่านยังเฉียบคม ผมเห็นว่าเครื่องมือทางการตลาดแม้ยังคงรูปแบบเดิม แต่วิธีคิด การจัดการข้อมูลเพื่อการตลาดหลากหลายมากขึ้น เราต้องศึกษาลูกค้า ความต้องการของลูกค้าในหลายมิติ ที่สำคัญคือการ Focus ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง (Life cycle ,Value ของสินค้าและบริการ)

สำหรับการบริหารทรัพยากรบุคคล ของ CEO. จันทนา ได้ประยุกต์ใช้ 3V. มาแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของ การบริหารทุนมนุษย์ ทั้งในเรื่องของค่านิยมและมารมองลูกค้าอย่างเป็นระบบ

เทวัจฉรา อภัยภูมินารถ

หัวข้อ : CEO-HR_Non-HR-Steakholders and EGAT's New value

โดย : อาจารย์จันทนา สุขุมานนท์

การบริหารจัดการที่จะประสบความสำเร็จ ควรคำนึงถึงกฏ 5D ได้แก่

Desire : มีความชอบในสิ่งที่ทำ สิ่งที่รับผิดชอบ

Discipline : มีวินัย

Development : มีการพัฒนา

Determination : มีการกำหนดจุดหมาย

Duck : ต้องอยู่เหนือปัญหา เหมือนเป็นดที่ลอยน้ำ

และในบางครั้งจำเป็นที่จะต้องมีการ Coach แนวทางที่ดี ยอมรับที่จะมีการเปลี่ยนแปลงจาก Good to Great ความสำเร็จขององค์กรจะอยุ่ที่ทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก นั่นคือ ต้องทำให้มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น โดย 1) จัดให้มีการประเมินตนเอง Self Assessment 2) วิเคราะห์ช่องว่างระหว่างวัย Gap Analysis 3) การวางแผนทำงานเป้นทีม 4) ลงมือปฏิบัติและติดตาม 5) มีการประเมินผล

ผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ทำให้องค์กร และ CEO ต้องพิจารณาปรับองค์กรตามตลอดเวลา สิ่งที่ต้องพิจารณา ได้แก่

การปรับองค์กร Change Culture

การปรับวิธีการผลิต Inside out เป็น Outside In

Right People Right Seat

จะเห็นว่าต้องขึ้นกับ HR เป็นหลัก ดังนั้น ผู้บริหารที่ดี และ CEO ที่ดี จะต้องทำหน้าที่เป็น HR และ Non HR ขององค์กรด้วย ต้องเป็นคนที่มี networking ดี มีการประสานงานเก่ง ทำตัว Proactive

เทวัจฉรา อภัยภูมินารถ

หัวข้อ : การกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและประสิทธิภาพการทำงานของ กฟผ.

โดย : ศจ.กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัรย์ศิริ

เนื้อหาโดยสรุปเป็นการบรรยายถึงพระราชบัญญัติประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็น พรบ. ที่ใช้ในการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า ภายใต้คณะกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้า (กกพ.) การประกอบกิจการไฟฟ้าของ กฟผ. ต้องปฏิบัติตาม พรบ. ฉบับนี้

โครงสร้างระบบการจำหน่ายไฟฟ้าของ กฟผ. เป็นลักษณะ Single Buyer คือ เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้ารายเดียว ในขณะที่ประเทศอังกฤษ มีลักษณะระบบการจำหน่ายไฟฟ้า แบบ Power Pool คือ มีผู้ผลิตและผู้จำหน่ายไฟฟ้าหลายราย บริษัท IPP รายใด จะผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าได้โดยตรง โดยมีศูนย์ควบคุมการซื้อขายไฟ

พรบ. ประกอบกิจการพลังงาน มีสารสำคัญ และบทกำกับในเรื่องต่างๆ ดังนี้

การอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน

การกำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงาน

การกำกับการแข่งขัน

การกำกับค่าบริการ

การกำกับมาตรฐานและความปลอดภัยในการประกอบกิจการ

การกำกับการใช้หรือเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน

การคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน

การลงทุนพัฒนาไฟฟ้า

สุรพล มานิกพันธ์ุ

วันที่ 14 มีนาคม 2559

หัวข้อ เส้นทางสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจของจีน

โดย ศาสตราจารย์(พิเศษ)เจริญ วรรธนะสิน

อาจารย์ให้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของประเทศจีนได้ละเอียดและมีมุมมองที่เห็นการเป็นไปของการมีช่วงจังหวะของการเปลี่ยน ความรวดเร็วในการดำเนินการ รวมทั้งการตัดสินใจกระทำ

ซึ่งจะเห็นประวัติศาสตร์จีนมีการต่อสู้แย่งชิงกันตลอดมามีการใช้ความรุนแรงและการเจรจา มีการวิวัฒนาการของการปกครองซึ่งจะมีการเปิดเผยและเป็นธรรม มองประโยชน์ผู้มีส่วนได้เสียเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และมีความระมัดระวังในการพัฒนายิ่งขึ้น การวางยุทธ์ศาสตร์ อนาคต เป้าหมายและเรื่องบุคลากร ผู้นำ เนื่องจากโลกมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วขึ้น การแข่งขัน มีความซับซ้อนมากขึ้น มีแนวทางการสร้างพันธมิตรและเครือข่ายทางธุรกิจมากขึ้น

หัวข้อ EGAT and Change Management

โดย อาจารย์ประกาย ชลหาญ ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

สิ่งที่ต้องรับรู้และเข้าใจ คือ ต้องยอมรับว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การที่จะให้องค์กรอยู่รอดได้ไม่ใช่ความแข็งแกร่งใหญ่โตขององค์กร แต่เป็น องค์กรที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ดี และองค์กรต้องเรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลง ต้องรู้อนาคตและต้องจัดการให้ได้ประโยชน์มากแต่ถึงคราวเสียต้องปิดความเสี่ยงให้เสียน้อย ทำงานแบบไม่ติดกรอบ รับการเปลี่ยนแปลงตลอด สร้างแนวร่วมช่วยงาน เพิ่มความเร็วในการเปลี่ยนแปลงและมีแผน สร้างระบบงานให้มีความยั่งยืน

การนำ ค่านิยมของ กฟผ.เข้ามาปรับเปลี่ยน Mildset ต้องมีความชัดเจนมีขบวนการเปลี่ยนและนำลงสู่การปฏิบัติองค์กรจะอยู่ได้ยั่งยืนต้องทำให้คนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่าที่มี Mildset ต่างกันมีมุมมองไปในจุดหมายเดียวกัน และทำให้เห็นพฤติกรรมที่องค์กรต้องการ มีทิศทางเดียวกันทั้งองค์กร

หัวข้อ ประสบการณ์ของผู้นำ กฟผ.ในการแสวงหาโอกาส บริหารวิกฤติ/ความเสี่ยงและการ ตัดสินใจ

โดย คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

อดีตผู้ว่าการฯ ได้ให้ข้อคิดที่เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดี

-การได้ไปดูงานต่างประเทศทำให้ได้ประโยชน์ในการเรียนรู้วิวัฒนาการ สามารถนำมาต่อยอดความคิดพัฒนางานโดยไม่ต้องลองผิด ลองถูก

-ผู้นำต้องรู้จักการวางตัวให้มีระยะห่างกับผู้เกี่ยวข้องให้เหมาะสม

-ต้องมีการเตรียมการรับภาวะวิกฤติ มีข้อมูลองค์ความรู้ที่ครบถ้วน ในภาวะวิกฤติต้องมีการ ประเมิน สถานะการณ์ทุกวันต่อเนื่องมีทีมงานเครือข่าย ข้อมูลภายในที่แม่นยำเชื่อถือได้

-ต้องมอง Mildset เหนือขึ้นไปอีกระดับ

-มี Action Plan มีการทำนายอนาคตและเลือกการปฏิบัติในสิ่งที่จำเป็นก่อน รวมทั้งต้องมีการติดตามการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการประเมินตัวเราว่าถ้าเป็นคนอื่นมองเราเราควรจะทำอะไร

-สร้างโอกาสในการมีส่วนร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชุมชนและผู้มีส่วนได้เสียซึ่งจะเป็นแนวร่วมในอนาคต

-เตรียมการเรื่องระบบการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการสื่อสารกับสื่อสาธารณะ

ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานให้หน่วยงานได้

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/603296

สุรพล มานิกพันธุ์

วันที่ 15 มีนาคม 2559

หัวข้อ Attitude-Mindset of EGAT Leaders

โดย ศาสตราจารย์(พิเศษ) วิชา มหาคุณ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

สรุปโดยรวม Mindset มีวิถีชีวิตที่มองรอบข้าง ส่วนรวม เห็นประโยชน์องค์กร ประชาชนและประเทศชาติ ผู้บริหารต้องรู้หน้าที่ ไม่ยอมแพ้ มุ่งพัฒนาตนเอง ลูกน้อง มุ่งผลสำเร็จ รู้เข้าใจธรรมชาติของธุรกิจ ใช้ธรรมะในการทำงาน มี Service Mind เสียสละและสร้างนวัตกรรมใหม่ มี Key word ที่นำไปใช้ได้คือ ทำถูกต้อง มีจริยธรรม มุ่งสำเร็จ

หัวข้อ แนวคิดและกลยุทธ์ทางการตลาด ปรับใช้กับการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลของ กฟผ.

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

อาจารย์ให้แนวคิดในเรื่อง ที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ ประกอบด้วย การตลาด การผลิต การเงิน บุคลากร และ infrastructure โดยต้องมีความเข้าใจทุกปัจจัยและจะให้ได้ประสิทธิผลต้องเข้าถึง stakeholder ทุกกลุ่มซึ่งจะมีบริบทต่างๆออกไป และต้องรู้ถึงเครื่องมือที่จะนำไปใช้ทำธุรกิจ ต้องรู้ว่าความสำคัญอยู่ตรงไหน วงจรของธุรกิจ เรื่องของคน และ Value chain เป็นช่องทางให้มองเห็นทิศทางและการทำการตลาดได้อย่างมีประสิทธิผล

อาจารย์เสนอแนะแนวทางมุมมองความเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค มีประเทศ CLMV ที่ยังสามารถพัฒนาพลังงานไฟฟ้า และมีบุคลากรที่พร้อม สามารถสร้าง CEO ไปดูแลการจัดการพลังงานในภูมิภาคได้

หัวข้อ วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของ กฟผ.ในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

อาจารย์นำเสนอประเด็นความท้าทายมาให้ช่วยกัยวิเคราะห์ ทำให้เห็นตัวตนมากขึ้นมีอุปสรรคที่ กฟผ.ต้องเผชิญในสภาพปัจจุบันบางเรื่องเป็นสิ่งที่ถูกกฎระเบียบบังคับไว้และบ้างเรื่องเป็นเรื่องที่ท้าทายในการปรับปรุงที่หน่วยงานเชิงราชการ กฟผ.ต้องแข่งขัน

มีข้อคิดที่ สามารถมองออกไปนอกกรอบหรือนอกประเทศซึ่งมีพื้นที่ให้สามารถขยับตัวได้ การใช้ความได้เปรียบในการขยายหรือปรับตลาด และเลือกกิจกรรมที่จะทำให้ กฟผ.เติบโตอย่างยั่งยืน


สุรพล มานิกพันธ์ุ

วันที่ 16 มีนาคม 2559

หัวข้อ CEO-HR-Non HR-Stakeholders and EGAT's new values

โดย คุณจันทนา สุขุมานนท์

เห็นความสำคัญของการทำงาน ว่าทำไมต้องมี Coach ในการทำงาน ซึ่งเปรียบเสมือนเรามีกระจก ส่องให้เห็นการทำงาน ความร่วมมือของแต่ละส่วนงาน การเห็นความสำคัญของ HR และการรู้จักหน้าที่ของ CEO , HR , Non HR และ Stakeholder ซึ่งจะสร้างคุณค่าใหม่ที่ตรงกับความต้องการและส่งผลให้สามารถบรรลุจุดประสงค์ขององค์กรด้วยดี

เมื่อโลกเปลี่ยนการจัดการด้าน HR ต้องเปลี่ยนเพื่อตอบสนองสถานะการณ์ทิศทางที่ CEO ต้องการกำหนดทิศทางธุรกิจ กิจกรรมในธุรกิจ Non HR ต้องให้ข้อมูลที่จำเป็น HR ต้องมีวิธีการที่ดีสามารถคัดสรรคนที่เหมาะสมกับกิจกรรมใน ธุรกิจ ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญใน HR เพื่อให้ได้บุคลากรที่ใช่ทำให้ธุรกิจเป็นไปตามวัตถุประสงค์ โลกปัจจุบันต้องการทีม CSR ก็ต้องมีบุคลากรที่มีคุณสมบัติมาผลักดันด้านนี้ด้วย

เรื่อง การกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและประสิทธิภาพการทำงานของ กฟผ.

โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ

อาจารย์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการพลังงาน ซึ่งมี พรบ.การประกอบกิจการพลังงาน พศ.2550 และ การ อนุญาติการประกอบกิจการพลังงาน

เป็นหน่วยงานซึ่งเป็นช่องทางรับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากการกระทำของกิจการพลังงาน จะเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ กฟผ.ซึ่งต้องมีการสร้างความเข้าใจ ใกล้ชิดและให้คำเสนอแนะให้ข้อมูลที่มีประโยขน์ในเชิงเทคนิคเพื่อให้ผลประโยชน์ตกกับประเทศชาติและประชาชนโดยแท้จริง เนื่องจาก กฟผ.มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีองค์ความรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าและเป็นองค์กรของรัฐที่ต้องวางตัวเป็นกลางในการจัดการด้านนี้


นิสาลักษณ์ มุ่งพาลชล

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในช่วงที่ 2

(1) วันที่ 14 มีนาคม 2559

1.1 เส้นทางสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจของจีน โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เจริญ วรรธนะสิน

แง่คิดที่ได้จากการฟังบรรยาย คือ "อดีตจะมีคุณค่าต่อผู้ที่รู้จักเรียนรู้ไม่ใช่แค่เพียงรับรู้" เพราะคงไม่ใช่แต่เพียงประเทศจีนเท่านั้นที่ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแก่งแย่งชิงดีกันเอง การถูกรุกรานจากพวกบ้าอำนาจ ประเทศอื่นๆ ก็มีประสบการณ์ที่ไม่ต่างกัน แต่ทำไมประเทศจีนถึงได้เป็นหนึ่งในประเทศที่ทั่วโลกต้องพูดถึง ต้องจับตามอง ก็คงเพราะประเทศจีนหรือถ้าจะให้เฉพาะเจาะจงลงไปก็คือ ผู้นำของประเทศจีนในแต่ละยุคมีการบริหารจัดการประเทศอย่างมีวิสัยทัศน์ มีแนวทางที่ชัดเจน และรู้จักปรับกระบวนยุทธให้รับมือกับความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ผู้นำที่ต้องขอกล่าวถึงก็คือ เติ้ง เสี่ยวผิง ที่ยอมรับความจริงว่าระบอบสังคมนิยมแท้จริงไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูปพร้อมใช้ และเมื่อรู้ว่ามีจุดอ่อน ก็ลงมือแก้ไขอย่างตรงจุด ด้วยการนำวิธีบริหารจัดการแบบ " 1 ประเทศ 2 ระบบ" มาใช้และทำให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม จึงนำมาซึ่งการเมืองที่มั่นคงตามระบอบสังคมนิยม และการมีเศรษฐกิจที่มั่่งคั่งตามระบบทุนนิยม แต่ทุกอย่างไม่หยุดนิ่ง ปัญหาใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอ ซึ่งเป็นความท้าทายของผู้นำในแต่ละยุค โดยมีความสำเร็จของผู้นำยุคก่อนที่คงเป็นทั้งแรงบันดาลใจและแรงกดดันในการนำประเทศจีนสู่มหาอำนาจ

เมื่อกลับมามอง กฟผ. ที่อดีตโรยด้วยกลีบกุหลาบ ไม่เคยต้องลงสนามแข่งขัน เพราะเป็นกิจการผูกขาดในการผลิตและขายกระแสไฟฟ้า จึงเสมือนขาดประสบการณ์ให้เรียนรู้ มีแต่การรับรู้ว่าสภาพแวดล้อมต่างๆ เปลี่ยนไป ใครๆก็ผลิตไฟฟ้าได้ มีเอกชนก้าวเข้ามาในธุรกิจผลิตไฟฟ้ามากมาย คำถามคือ กฟผ. รับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อย่างไร กฟผ. จะมีบทบาทหน้าที่ในอนาคตอย่างไร คำตอบจะเกิดได้ก็ด้วยการที่ กฟผ. ต้องเผชิญความจริง และสามารถคาดการณ์ปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องแม่นยำแค่ไหน เพื่อจะได้หาคำตอบหาแนวทางแก้ไขได้อย่างถูกต้องตรงจุด และนำ กฟผ. ไปสู่เส้นทางที่มีขวากหนามโดยบาดเจ็บน้อยที่สุด ซึ่งสิ่งสำคญก็คงต้องอยู่ที่ ผู้นำ ว่าท่านตั้งรับและพร้อมรุกหรือไม่ อย่างไร

1.2 EGAT and Change Management โดย อ.ประกาย ชลหาญ , ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

แง่คิดที่ได้จากการฟังบรรยาย คือ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่ไม่มีใครชอบการเปลี่ยนแปลง เพราะนำมาซึ่งการปรับตัว หรือแท้จริงแล้วคนเราไม่ชอบการปรับตัว ชอบที่จะอยู่กับสิ่งเดิมๆ ที่คุ้นเคย และนี่คืออุปสรรคต่อการพัฒนาและปรับปรุงไปสู่สิ่งใหม่ๆ ที่ดีขึ้น ทันสมัยขึ้น ล้ำหน้าขึ้น และควรต้องตระหนักไว้เสมอว่า "Change before you are forced to change"

การบริหารการเปลี่ยนแปลง "Change Management" เป็นกระบวนการที่จะมาช่วยให้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้น และบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้นำที่ต้องชูธงอยู่หน้าขบวนเพื่อแสดงเจตจำนงอย่างมุ่งมั่นในการนำองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลง เมื่อทิศทางถูกกำหนดอย่างชัดเจน มีการสร้างกระบวนการให้ทุกคนรับรู้ถึงเหตุผล ความจำเป็น และผลที่จะเกิดขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลง จะช่วยลดความตระหนกและการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

สำหรับ กฟผ. กับ Change Management ซึ่งได้มีการประกาศใช้ค่านิยมหลัก "FIRM C" การจะทำให้องค์กรมีพฤติกรรมตามค่านิยมหลักที่กำหนด คงไม่ใช่แค่การประชาสัมพันธ์ให้รับรู้ แต่ต้องมีกระบวนการที่จะแปลงจากการรับรู้ไปสู่การกระทำให้เป็นจริง ซึ่งต้องอาศัยผู้บริหารตั้งแต่ระดับหัวหน้าแผนกขึ้นไปเป็นผู้สร้างบรรยากาศและลงมือปฏิบัติจริงกับลูกน้องของตัวเอง ถ้าทุกส่วนงานมีเป้าหมายหลักที่ชัดเจนร่วมกัน มีความเข้าใจตรงกัน และกระทำไปในทิศทางเดียกันก็เท่ากับว่าค่านิยมไม่ใช่เป็นเพียงการท่องจำ แต่เป็นการลงมือทำทั่วทั้งองค์กร และเมื่อกระบวนการปลูกฝังค่านิยมถูกทำอย่างต่อเนื่องก็จะเกิดการสร้างเป็นจิตสำนึก ซึ่ง Culture ขององค์กรก็จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

(2) วันที่ 15 มีนาคม 2559

2.1 Attitude - Mindset of EGAT Leaders โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิชา มหาคุณ , คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

แง่คิดที่ได้จากการฟังบรรยาย คือ ทัศนคติและกรอบความคิดจะบ่งบอกได้ว่าผู้บริหารหรือผู้นำเป็นบุคคลแบบใด ถ้าเป็นบุคคลที่มีจิตใจมุ่งมั่นไม่ยอมแพ้ พร้อมที่จะปรับปรุงจุดอ่อน และพัฒนาจุดแข็ง มีการวางแผนการคิดและวิเคราะห์ มีคุณธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นบุคคลที่คนส่วนใหญ่ยอมรับนับถือจนเกิดเป็นความศรัทธา และเมื่อได้รับมอบหมายให้ทำงานใด ก็เป็นที่เชื่อได้ว่าจะประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย รวมถึงสามารถพัฒนาคนและสร้างทีมงานที่จะช่วยผลักดันให้ผลงานมีคุณภาพยิ่งๆ ขึ้น

สำหรับ กฟผ. โดยภาพรวมแล้วยังมีผู้นำที่อยู่ในกรอบการบริหารแบบดั้งเดิมที่การตัดสินใจขึ้นอยู่กับเบื้องบน การทำงานตามที่สั่งจะปลอดภัยกว่า การไม่เห็นด้วยกับหัวหน้าใหญ่คือการปีนเกลียว ฯลฯ ซึ่งหากกรอบความคิดยังยึดติดกับรูปแบบเดิมนี้จะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการนำพาองค์กรไปสู่การแข่งขันในเชิงธุรกิจ

2.2 แนวคิดและกลยุทธ์ทางการตลาด ฯ โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

แง่คิดที่ได้จากการฟังบรรยาย คือ การตลาดไม่ใช่แค่เรื่องการขายสินค้าหรือบริการเท่านั้น แต่ยังสามารถเอาการตลาดมาปรับใช้กับ กฟผ. เพื่อให้ กฟผ. ได้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่เกี่ยวข้อง แต่ประเด็นคือ กฟผ. ต้องรู้จักก่อนว่า Stakeholder มีใครบ้าง เพื่อจะได้วางกลยุทธ์ทางการตลาดให้เหมาะสมและเข้าถึงแต่ละ Stakeholder โดยแบ่งได้เป็น 7 กลุ่ม คือ

1. Government

2. General Public

3. Media

4. NGOs เป็นลูกค้ารายใหญ่ ถ้ารู้จักใช้ให้เป็นจะดีมาก เพราะรู้จักชาวบ้านและรู้จักการสลายม็อบ

5. Finance

6. PEERs

7. Union

ยกตัวอย่างเช่นกลุ่ม NGOs ซึ่งถือเป็นลูกค้ารายใหญ่ของ กฟผ. ถ้าหากรู้จักที่จะเข้าถึงกลุ่มนี้ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะรู้จักชาวบ้านและรู้จัการสลายม๊อบ

นอกจากนี้ยังต้องรู้จักเลือกใช้เครื่องมือทางการตลาด ซึ่งมีดังนี้

1. Marketing life Cycle คือต้องรู้ว่าวัฎจักรชีวิตธุรกิจหรือสินค้า ว่าอยู่ตรงไหนแล้ว

2. People Portfolio คือต้องรู้และแยกแยะคนแต่ละประเภท

- Today People อยู่แผนกอะไรบ้าง

- Tomorrow People ควรจะมีคนแบบใดหรือใครอีกบ้าง

- Yesterday People ต้องมีคนที่มีประสบการณ์ในเรื่องสำคัญๆ

- Genius /Idiot พวกกล้าคิดกล้าพูด

3. Value Chain ได้แก่ new comer / Supplier คือใคร เทคโนโลยีที่จะมาทดแทนคืออะไร

2.3 วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของ กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ , ผศ.ดร. พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

แง่คิดที่ได้จากการฟังบรรยาย คือ ความท้าทายจากการที่ environment เปลี่ยน ทุกอย่างก็เปลี่ยนตาม แล้ว กฟผ. จะเปลี่ยนอย่างไร การที่ กฟผ.สูญเสียส่วนแบ่งการตลาดไปเรื่อย ๆ ทำให้สูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันหรือไม่ เพราะคนของกฟผ.อาจลาออกไปอยู่บริษัทเอกชน ดังนั้น กฟผ. ต้องตระหนักว่าสิ่งที่ประสบความสำเร็จในอดีตไม่สามารถพาไปสู่ความสำเร็จในอนาคต และเมื่อเปิดเสรีอาเซียน กฟผ.จะแสวงหาโอกาสจากเรื่องนี้อย่างไร

(3) วันที่ 1ุ6 มีนาคม 2559

CEO-HR-Non HR-Stakeholders and EGAT's new values โดย คุณจันทนา สุขุมานนท์ , ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

แง่คิดที่ได้จากการฟังบรรยาย คือ ทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นขุมกำลังสำคัญในการนำพาองค์กรให้ก้าวเดินสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน ซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของ HR เท่านั้น แต่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง HR และ Non-HR กล่าวคือ ถึงแม้ว่าผู้ที่จะไม่ได้ทำงานในแผนก HR ก็เป็นผู้ที่ต้องตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องบุคคลากร เพราะทุกคนต้องทำงานร่วมกับคนอื่นๆ ทั้งนั้น การที่สามารถเข้าถึง เข้าใจ ใส่ใจ กับบุคคลที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ย่อมทำให้เกิด relation ที่ดี ซึ่งนำไปสู่การทำงานร่วมกัน การประสานงานกัน การเกื้อกูลกันอย่างมิตรภาพ ซึ่งรูปแบบของ Non-HR ควรเป็นแบบไม่เป็นทางการ เพื่อที่จะได้ไม่มีการตีกรอบในการสื่อสาร และจะทำให้สื่อสารกันได้ในเกือบทุกๆ เรื่อง ข้อมูลที่ได้จาก Non-HR จะช่วยสนับสนุนให้ HR ได้ทำแผนพัฒนาหรือได้เข้าใจแง่มุมที่หลากหลายของบุคลากรในองค์กร หรือเปรียบเสมือน Non-HR เป็นสื่อกลางระหว่างพนักงานกับ HR นั่นเอง และ CEO ก็คือ Non-HR ที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบายต่างๆ ที่มีผลต่อพนักงาน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ CEO ต้องเข้าใจว่าองค์กรต้องการอะไร และจะพัฒนาคนในองค์กรอย่างไรให้สอดรับกับความต้องการขององค์กร

ประสิทธิ์ จ่างพันธุ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 14-16 มี.ค.59

ผู้นำจีนมีความสามารถในการปรับตัวได้เก่ง เพื่อสร้างให้ประเทศจีนได้เจริญขึ้นมาถึงในปัจจุบัน ผู้นำของจีนแต่ละยุค ล้วนมีความสามารถ เช่น จุดสำคัญที่สุดที่เติ้งเสี่ยงผิงประสบความสำเร็จ คือ การนำเอาระบบ1 ประเทศ 2 ระบบ ผมคิดว่าแนวคิดของเติ้งเสี่ยงผิงคล้ายกับแนวคิด 2R’s…… Reality -มองความจริง คนจีนจะยากจนต่อไปคงไม่ได้ เพราะนักการเมืองจีนก็อยู่ไม่ได้………Relevance – ต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ ถ้าใช้ระบอบคอมมิวนิสต์ด้านในเศรษฐกิจสินค้าไม่มีคุณภาพ จึงต้องกระตุ้นแบบทุนนิยม แต่ยังคงการเมืองแบบพรรคเดียวไว้ โดยพึ่งพาบริษัทข้ามชาติของโลกมาลงทุน ในประเทศและส่งออก….

รวมทั้งผู้นำต้องมี Mind Set และกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ...จะมองเป็น Problem Based Approach หรือ Opportunities Based Approach...

หน้าที่ของ CEO แท้จริงคือดูแลเรื่องคนและจูงมือคู่กับ HR Manager ถ้าคนดีแล้วองค์กรดีหมด ....

กฟผ. เราก็เช่นกัน ทรัพยกรที่มีค่ามากที่สุดก็คือ ผู้ปฏิบัติงาน......เพราะคนเป็นทั้งผู้ที่สร้างสรร... และเป็นทั้งผู้ทำลายล้าง.....ผู้นำก็เหมือนโค้ช ....ต้องมีแผนการดำเนินงาน...ประสาน/สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคน ร่วมกันทำงาน ให้องค์กรไปสู่ความสำเร็จ เจริญยั่งยืนต่อไปได้ โจทย์ที่ยากคือ..... จะสามารถคัดสรรผู้นำนี้ได้อย่างไร...ที่เป็นทั้งคนเก่ง และคนดี..(รอดูร่างรัฐธรรมนูญอยู่ครับ..)

ความรู้จากเรื่องผู้นำจีนทำให้ได้ทราบว่า จีนมีการเตรียมผู้นำมาอย่างเป็นระบบ ในรุ่นหนึ่งใช้เวลาอยู่ในตำแหน่งถึง 10 ปี ทำให้เห็นได้ว่า ถ้ามีการคัดผู้นำมาเป็นอย่างดีแล้ว จะมีการพัฒนาที่ต่อเนื่องและรวดเร็ว...อีกอย่างที่ได้จากจีนคือ ไม่ว่าระบอบการปกครองอะไร ถ้ามีประสิทธิภาพในทุกๆด้าน ก็สามารถพัฒนาประเทศให้รุดหน้าได้อย่างรวดเร็ว....หันมามองประเทศไทย ผู้นำประเทศเราก็ลุ่มๆดอนๆ ไม่นานก็เปลี่ยน ขาดความต่อเนื่อง ระบบการคัดเลือกก็ยังขาดความรัดกุม เป็นโอกาสของนายทุน...

อีกเรื่องพูดถึง core valve ขององค์กร จะต้องมีการทำความเข้าใจ ตอกย้ำ จนเข้าไปถึงระดับ DNA จึงจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพ เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีงาม ฝังรากลึก จากรุ่นสู่รุ่นไม่สูญหาย......

เรื่องสุดท้าย HR เป็นเรื่องของทุกคนในองค์กรไม่เฉพาะเจ้าหน้าที่ HR เท่านั้น Non-HR ก็สามารถทำหน้าที่ด้านนี้ให้เกิดประสิทธิผลต่อองค์กรได้ ...HR จะต้องมีการพูดคุยวางแผนกับ MD เพื่อที่จะสามารถจัดการบุคคลากร ให้ตรงตามแผนและวิสัยทัศน์ขององค์กรได้

นายพรเทพ เรืองรัศมี

ประเด็นโดนใจในการอบรมช่วงที่ 2 นี้ ได้เคยลง Comment ใน Blog เพื่อ 2 เดือนก่อน แต่ไปใส่ในช่วงที่ 1 ดังนั้น จึงขอ Copy มาใส่ถูกช่องใหม่ครับ

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ทุกรายวิชาในช่วงที่ 2 (14-16 มี.ค.59) และสิ่งที่สามารถจะนำไปปรับใช้กับการทำงานใน กฟผ.

หัวข้อที่

รายละเอียด

สิ่งที่ได้เรียนรู้(ประเด็นโดนใจ)

สิ่งที่สามารถจะนำไปปรับใช้กับการทำงานใน กฟผ.

1

เส้นทางสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจของจีน

แนวคิดของเติ้งเสี่ยวผิง 1.ในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ 1 ประเทศ 2 ระบบ คือ เขตทั่วไป และเขตเศรษฐกิจพิเศษ แก้กฎหมายสำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษและใช้กลไกการตลาดสมัยใหม่ 2.แนวคิดเรื่องคอร์รัปชั่น "บุญคุณของท่านที่เคยช่วย ข้านั้นไม่ลืม แต่ประเทศชาติหาใช่ของท่านไม่ ไม่สามารถนำมาตอบแทนได้"

1.ในเรื่องของการพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหินน่าจะมีกฎหมายกำกับเป็นพิเศษหรือประกาศให้โรงไฟฟ้าอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ
2.แนวคิดคอร์รัปชั่นสามารถนำมาปลูกฝังจิตสำนึกในการทำงานใน กฟผ. ได้ โดยเฉพาะการทำงาน Mega project ที่มีวงเงินสูงๆ เนื่องจากจะมีผู้มีส่วนได้เสียมาก

2

EGAT and change management

การบริหารการเปลี่ยนแปลงของ Jack welth "Change before you forced to change" เนื่องจากในโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาโดยเฉพาะในโลกของธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง มิฉะนั้นจะทำให้ธุรกิจดำเนินการต่อไปได้แบบไม่ยั่งยืน

ในการบริหารจัดการของ กฟผ. ต้องเตรียมพร้อมในเรื่องของการรองรับการเปลี่ยนแปลง ทั้งในเรื่องการสร้าง กฟผ.ให้เป็นองกรณ์การการเรียนรู้ด้านพลังงาน การสร้างความแข็งแรงของ Brand กฟผ. การสร้านวัตกรรมใหม่ ตลอดจนต้องมีการประเมินความเสี่ยงเป็นระยะๆ พร้อมแนวทางในการองรับความเสี่ยงเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง

3

ประสบการณ์ผู้นำ กฟผ.ในการแสวงหาโอกาส วิกฤต ความเสี่ยงและการตัดสินใจ

การบริหารในภาวะวิกฤตของผู้นำ 1.ต้องมีการบริหารความเสี่ยงตลอดเวลา และมี Action plan ในการเพื่อรองรับความเสี่ยง 2.ต้องใช้ CSR in process มาใช้โดยคำนึง Stakeholder รวมทั้งนำ Stakeholder มามีส่วนร่วมในแก้วิกฤต 3.แสวงหาโอกาสให้องค์กรได้เติบโตและจดจำเมื่อเกิดวิกฤต

1.การบริหารความเสี่ยงในงานที่รับผิดชอบโดยการจัดทำความเสี่ยงและแผนรองรับ 2.การทำงานในโครงการขนาดใหญ่ ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการทำงานและความสำเร็จของโครงการไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานกำกับ หน่วยงานท้องถิ่นผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา ชุมชน ผู้รับจ้าง ล้วนแต่มีผลต่อความสำเร็จของงานทั้งนั้น

4

Attitude-Mindset of EGAT Leaders

ทัศนคติของการเปลี่ยนแปลง 1.การกระทำใดๆ ควรมีแผนตลอด 2. มีปัญหาต้องแก้เป็นระบบ 3.ต้องวางแผนทั้งระยะสั้น ปานกลางและยาว 4.มีการต่อรองให้งานเดิน 5.พัฒนาลูกน้อง 6.ต้องบริหาร Detail เพราะเรื่องใหญ่เกิดมาจากจุดเล็กๆ กรอบแนวคิดของผู้นำ คือ 1.สร้างการทำงานเป็นทีม 2.มีเป้าหมายชัดเจน 3..ใส่ใจลูกค้า 4.มีความซื่อสัตย์ 5.เปิดเผยและจริงใจ 6.เป็นแบบอย่างที่ดี 7.โปร่งใสตรวจสอบได้

ปรับทัศนคติและแนวคิดในการบริหารจัดการของผู้นำใหม่ของคน กฟผ. แทนที่จะเป็นการสั่งการจากบนสู่ล่าง เปลี่ยนเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ร่วมงานในทุกระดับ ผลงานที่เกิดมาจากทุกคนมิได้มาจากคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ จะทำให้การทำงานราบรื่นและลดปัญหาด้านคนไปได้มาก นอกจากนี้ผู้นำควรเป็นแบบอย่างที่ดี ใส่ใจทีมงานในทุกๆ ประเด็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ ก็ตาม

5

แนวคิดและกลยุทธ์ทางการตลาด

การเลือกคนไปทำงานในโครงการโดยใช้เครื่องมือทางการตลาดคือ People portfolio ควรเลือกคน 4 กลุ่มดังนี้ 1.Today people(คนทำงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน) 2.Yesterday people (คนที่ประสบการณ์) 3.Genius people(คนที่มีความฉลาดและความสามารถสูง) 4.Tomorrow people (คนที่จะเป็นอนาคตต่อไปขององค์กร)

การจัดคนเข้าไปทำงานโครงการขนาดใหญ่และขนาดเล็กของ กฟผ.ควรเลือกคนทั้ง 4 กลุ่มเข้าไปทำงาน นอกจากพัฒนางานแล้วยังสามารถพัฒนาคนในองค์กรได้อย่างเหมาะสมด้วย

6

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงาน กฟผ.ในยุคที่โลกเปลี่ยน

ประเด็นท้าทายที่ กฟผ. น่าจะเผชิญในอนาคตคือ กฟผ.อาจสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดลง ซึ่งมาจาก 1.การรับซื้อไฟตรงจากผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระของ กฟภ.และกฟน. 2.การใช้พลังงานความร้อนเป็นหลักในการผลิตไฟฟ้า 3.อนาคตความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น 4.บริษัทธุรกิจในเครือไม่สามารถขยายธุรกิจออกไปได้ 5.การเข้ามาของ AEC ที่จะทำให้การซื้อไฟฟ้าระหว่างประเทศผ่านสายส่งของ กฟผ. 6.การจัดการทรัพย์สินที่มีอยู่ไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้

เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่ กฟผ.จะถูกลดส่วนแบ่งการตลาดลงจากประเด็นท้าทายดังกล่าวดังกล่าว ดังนั้น กฟผ.จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล ประเมินความเสี่ยงและแผนการรองรับเป็นประจำ พร้อมทั้งควรเป็นผู้นำในการพัฒนาพลังงานทดแทนหลักของประเทศเนื่องจากมีความพร้อมด้าน 4 M คือ Man, Money, Machine and Management ควบคู่กันไปกับการพัฒนาโรงไฟฟ้าที่พึ่งพาได้

7

CEO-HR-Non HR-Stakeholders and EGAT new values

ทรัพยากรมนุษย์คือปัจจัยความสำเร็จขององค์กร ดังนั้น CEO-HR-Non HR-Stakeholders ต้องมีความเชื่อว่า มนุษย์ คือทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร โดยทุนมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยทฤษฏี 8 K (Human, Intellectual, Ethical, Happiness, Social, Sustainability, Digital, and Talented Capital) และ5K (Creative, Knowledge, Innovation, Cultural, and Emotional Capital) ต้องไปเชื่อมโยงกับเป้าหมายขององค์กรจึงจะทำให้เกิดองค์กรประสบความสำเร็จ นำองค์กรไปสู่ 3V (Value Added, Value Creation and Value Diversity)

กฟผ. ได้มีการตั้ง Vision, Mission ไว้แล้ว แต่ยังไม่ทำให้เกิดผลสำเร็จตามที่ตั้งไว้ได้ ดังนั้น ถ้ามีการปรับกลยุทธ์ใหม่โดยการนำทฤษฏี 8 K และ 3 K มาประยุกต์ใช้งานสำหรับ CEO-HR-Non HR-Stakeholdersจะทำให้องค์กรสร้าง 3 V ได้ไม่ยาก

8

การกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและประสิทธิภาพการทำงานของ กฟผ.

กฟผ.จำเป็นต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าหลายใบตั้งแต่ใบประกอบกิจการโรงงาน ใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า ใบอนุญาตผลิตพลังงานควบคุม ใบอนุญาตระบบส่งไฟฟ้า ใบอนุญาตจำหน่ายไฟฟ้าและใบอนุญาตควบคุมระบบไฟฟ้า ซึ่งใบอนุญาตดังกล่าวคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะเป็นผู้ให้ใบอนุญาต ดังนั้น กฟผ. จำเป็นต้องมีใบอนุญาตให้ครบตามกฎหมาย

กฟผ.จำเป็นต้องศึกษาระเบียบกฎเกณฑ์ในการขอใบอนุญาตก่อนที่จะดำเนินการในเรื่องต่างๆ จึงจำเป็นต้องวางแผนงานการขออนุญาตให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ซึ่งใบอนุญาตบางรายการใช้เวลานาน จำเป็นต้องยื่นขอล่วงหน้าให้นานเท่าที่จะทำได้

เส้นทางสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของจีน

วันที่ 14 มีนาคม 2559

โดย ศาสตราจารย์พิเศษ เจริญ วรรธนะสิน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ ได้รับทราบเส้นทางสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจโลกของประเทศจีนที่มีอารยธรรมเก่าแก่หลายพันปี จึงมีความภาคภูมิใจในตัวเองมาก มีความหยิ่งทระนงในตัวเอง ที่ทั่วโลกต้องมาเรียนจากจีน (จีนเป็นผู้ค้นพบวิธีทำกระดาษ ทำดินปืน) ทำให้บางช่วงเวลาต้องติดกับดักแห่งความสำเร็จจนเกิดความเสียหายอย่างมากมาย จีนดูถูกชาติตะวันตก โดยเรียกว่า อั้งม้อ (พวกหัวแดง) แต่สุดท้ายก็ต้องพ่ายแพ้ให้แก่พวกตะวันตก ดังนั้น จึงเป็นข้อเตือนใจว่าอย่าละเลยและต้องทำความเข้าใจกับสิ่งใหม่ๆ ที่เข้ามา พร้อมทั้งวิเคราะห์ว่าจะใช้ประโยชน์ได้อย่างไร หรือมีโทษอย่างไร มีวิธีการควบคุมอย่างไร

EGAT ต้องมีการประเมินเพื่อเตรียมรับเหตุการณ์ที่จะมากระทบ สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ สังคมชุมชนมีความตื่นตัวที่จะรักษาสิทธิของตนเองในการดูแลสิ่งแวดล้อม ดูแลชุมชน เมื่อก่อน EGAT ที่เป็นตัวแทนหน่วยงานภาครัฐในด้านการพัฒนาประเทศด้านพลังงาน มีกฎหมายรองรับจะดำเนินโครงการอะไรก็สามารถดำเนินการได้ ไม่ค่อยมีอุปสรรค แต่ในปัจจุบันและอนาคต การดำเนินการโครงการใดๆ จะเป็นไปด้วยความยากลำบาก ดังนั้น จึงต้องมีการทบทวนยุทธศาสตร์และวิธีคิดใหม่

EGAT AND CHANGE MANAGEMENT

โดย

อาจารย์ประกาย ชลหาญ

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ไม่มีอะไรที่ถาวร ไม่มีอะไรที่ยั่งยืน ทุกอย่างต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อจัดการการเปลี่ยนแปลง สิ่งสำคัญที่สุดคือ เปลี่ยน Paradigm เป็นการปรับเปลี่ยนที่สมอง ที่แนวคิด ต้องเรียนรู้ที่จะเปลี่ยน ก่อนจะถูกบังคับให้เปลี่ยน

Some of Key Success Factor

  • ต้องขจัด Source of complacency คือ ความภูมิใจในสิ่งที่สำเร็จแล้ว ในที่สุดจะล้มเหลว เป็นเหยื่อของความสำเร็จ ไม่เรียนรู้ ไม่ปรับปรุง
  • ต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกคนที่เกี่ยวข้อง
  • Commitment เห็นแนวทางเดียวกัน ล้มด้วยกัน ก้าวหน้าด้วยกัน
  • Quick win
  • การทำ Road Map
  • เปลี่ยนโครงสร้างระบบเพื่อความยั่งยืน

Change Management Skill

  • การปรับตัว (Adaptability)
  • Strategic Focus
  • Result
  • เรียนรู้

กระบวนการปรับเปลี่ยน Mind Set

  • ผู้นำยุคใหม่ที่นำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงคือ Collaborative leadership คือ การสร้างความร่วมมือร่วมใจในองค์กร
  • ต้องสร้าง Environment of Trust
  • ทำอย่างไรให้คนเดินไปพร้อมกันเพราะเราเป็นหนึ่งเดียว

การบรรยายพิเศษ ประสบการณ์ของผู้นำ กฟผ. ในการแสวงหาโอกาส – บริหารวิกฤต/ความเสี่ยง และการตัดสินใจ โดย อดีต ผวก. สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

การนั่งตำแหน่งอะไรให้ใส่หมวกให้มากกว่า 1 เบอร์ ต้องมีการบริหารความเสี่ยง มีการประเมินสถานการณ์ ข้อมูลต้องทันสมัย เพื่อการพยากรณ์ที่แม่นยำ มีแผนและมาตรการรองรับ ต้องมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่ดี

สรุป ผู้บริหารยิ่งโต ต้องเลือกให้ได้ว่าจะทำอะไร ต้องมีแผนสำรอง วิธีคิดต้องมองแบบ Outside in ส่วนเรื่องโอกาส อะไรที่ทำแล้วเป็นโอกาสขององค์กรระยะยาวให้เรียนรู้เพื่อการเติบโตขององค์กร

ทัศนคติและกรอบความคิดของนักบริหารในบริบทการเปลี่ยนแปลง

วันที่ 15 มีนาคม 2559

การบรรยายพิเศษ “Attitude – Mind Set of EGAT Leader”

โดย ศาสตราจารย์(พิเศษ)วิชา มหาคุณ และ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ : My set คือ กรอบความคิด เมื่อเราเติบโตขึ้นมาประเด็นที่สำคัญที่สุดต้องตั้งสติ และถามตัวเองตลอดเวลาว่าคุณเป็นใคร มีฐานะที่อยู่ในโลกนี้อย่างไร? เราต้องวิเคราะห์ว่า เรามีดีอะไร เพื่อเป็น กลยุทธ์ในการต่อสู้จนประสบความสำเร็จ ต้องไม่ยอมแพ้ ต้องทำเพื่อส่วนรวม ต้องเรียนรู้วิธีการต่อรอง ต้องพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา

กลยุทธ์ของผู้บริหาร

  • ขี่คลื่น/มืออาชีพในงานของตนเอง ต้องลอยอยู่บนกระแสการเปลี่ยนแปลงให้ได้ ต้องมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึง
  • รู้จักเข้าใจธรรมชาติ (กติกา เทคโนโลยี)
  • มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหา
  • มีสติ/แก้ปัญหาทันการณ์
  • รู้ฝีมือของทีม/รู้สถานการณ์
  • ยึดมั่นในคุณธรรม

ศาสตราจารย์(พิเศษ)วิชา มหาคุณ : ต้องมี Core Group คือ การบริหารแบบไม่เป็นทางการ อย่างอังกฤษจะมีคณะรัฐมนตรีชุดเล็กที่เคลื่อนที่เร็ว สามารถแก้ปัญหาจุดนั้นจุดนี้ได้หลายจุดและสามารถมีได้หลายๆ ชุด เพราะทำแบบไม่เป็นทางการเน้นเรื่องการบริการ (Service Mind) ทำอะไรต้องนึกถึงประชาชน

สำหรับการจัดซื้อจัดจ้าง มีการเข้าใจระเบียบบริหารพัสดุผิด ไม่ใช่ดูเฉพาะราคาต่ำอย่างเดียว ต้องคำนึงถึงคุณภาพและบริการหลังการขายด้วย รวมทั้งความมั่นคงของบริษัท ขอให้ไปศึกษาระเบียบบริหารพัสดุให้เข้าใจอย่างถ่องแท้

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ

วันที่ 15 มีนาคม 2559

Stakeholder ของ กฟผ. มี 7 กลุ่ม

  • Government คือ คนที่ค้ำประกันเงินกู้ ต้อง manage เขา มิฉะนั้น เขาจะ manage เรา
  • General Public ให้คิดแผน PR เขาคือใครและจะ Handle เขาอย่างไร?
  • Media ผู้สื่อข่าว ส่วนใหญ่จะเป็นเพื่อนกับ General Public แต่คนละขั้วกับ Government
  • NGOs เป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย เป็นคนเก่งที่ไม่มีเส้น เป็นลูกค้ารายใหญ่ ถ้ารู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์จะดีมากเพราะรู้จักชาวบ้าน
  • Finance
  • PEERs คือ เพื่อนซี้ หมายถึง คนรุ่นเดียวกัน
  • สหภาพแรงงาน เป็นตัวแทนของผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะระดับล่าง

เครื่องมือทางการตลาด

  • Marketing life Cycle วัฎจักรชีวิต ธุรกิจ หรือสินค้า
  • People Portfolio คน
  • Value Chain
  • พลังทั้ง 5 ของการเป็นผู้ยิ่งใหญ่ทางการตลาด
  • อำนาจต่อรองขบอง Supplier
  • ข้อจำกัดการเข้าสู่อุตสาหกรรมของคู่แข่งรายใหม่
  • แรงผลักดันจากสินค้าอื่นๆ ที่สามารถใช้ทดแทน
  • การแข่งขันระหว่างคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน
  • สิ่งที่น่าคิด คือ TOT, CAT มีความคิดแบบเก่า คือยึดมั่นในโทรศัพท์บ้าน ซึ่งในความเป็นจริง โทรศัพท์คือโทรศัพท์ต้องทำทุกอย่างที่เกี่ยวกับโทรศัพท์ (มือถือ 1G 2G 3G 4G ….G) EGAT ต้องเปลี่ยนวิธีคิด ต้องมองว่าอะไรจะมาในอนาคต เช่น รถยนต์ไฟฟ้าจะมา ทำอย่างไรจึงจะต่อยอดได้ อาจจะต้องเตรียมธุรกิจสถานีจอดรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อเติมพลังงาน ฯลฯ สิ่งที่เราทำสำเร็จมาในอดีตไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในอนาคต
  • ประเด็น EGATi ที่ กฟผ. ถือหุ้นอยู่ 99% อาจจะผิดกฎหมาย ต้องมีการตรวจสอบว่ามีการถือหุ้นโดยรวมแล้วเกิน 50% หรือไม่?
  • การใช้บริษัทลูกให้ทำงานแทนไม่ทันสมัยเพราะสถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว ควรมีการปรับรูปแบบการถือหุ้นเพื่อให้มีการคล่องตัว
  • กรณีถูกแยกระบบส่งออกจากระบบผลิต วิธีแก้คือต้องไปซื้อหุ้นอยู่ในทุกจุด ถึงแม้จะแยกออกไป กฟผ. ก็ยังถือหุ้นอยู่เหมือนกรณี CP จะไปซื้อหุ้นบริษัทลูกทุกตัวไว้
  • ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ฯ ให้รู้จักการมองหรือการให้ความสำคัญกับลูกค้า มีการแบ่งกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อเตรียมรับมือให้เหมาะสมสำหรับในแต่ละกลุ่ม
  • ผศ.ดร.พงษ์ชัยฯ ให้รู้จักมุมมองของคนภายนอก (Outside in) ที่มอง กฟผ. ว่าคิดอย่างไร บางครั้ง เราอาจจะมองข้ามเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยหรือเรื่องที่คุ้นเคย แต่คนภายนอกมองว่าเป็นเรื่องสำคัญ
  • หลักการในการจัดทำข้อกำหนดฯ (ตามมาตรา 81 วรรค 2)
  • การกำกับดูแล การดำเนินงานของศูนย์ควบคุมระบบโครงข่ายพลังงาน
  • การกำกับดูแลมาตรฐานการให้บริการ
  • การคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน
  • กองทุนพัฒนาไฟฟ้า
  • คกก.ผู้ใช้พลังงานประจำเขต
  • การกำหนดเขตโครงข่ายพลังงาน
  • การพิจารณาข้อพิพาทและการอุทธรณ์

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของ กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ร่วมดำเนินการอภิปรายโดย ผศ.กิตติ ชยางคกุล

วันที่ 15 มีนาคม 2559

  • กฟผ. อยู่ในธุรกิจที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ยังเป็นที่ต้องการในอนาคต
  • สูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับผู้ผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนเกิน 50% ถ้าผู้ผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนมีการรวมตัวเพื่อให้มีอำนาจในการต่อรอง เช่น เมื่อออกแผน PDP. 15 ก็มีการรวมตัวเพื่อเรียกร้องกับรัฐบาลว่าแผน PDP.15 ไม่ยุติธรรมกับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน
  • ขีดความสามารถขึ้นอยู่กับแหล่งพลังงานแบบเดิม (พลังงานความร้อน พลังงานความร้อนร่วม) ไม่ใช่ความรู้ใหม่ เช่น Biomass, Solar Cell
  • ทิศทางความต้องการพลังงานในอนาคต คือพลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทน เช่น Biomass, Solar Cell ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนจะมีความเชี่ยวชาญกว่าความสามารถในการแข่งขันของ EGAT จะลดลง
  • การใช้ประโยชน์กับรูปแบบการบริหารสมัยใหม่ผ่านบริษัทลูก
  • ประเด็นท้าทายในอนาคต AEC ถ้ามีการเปิดเสรีในตลาดพลังงาน EGAT ยังไม่มีแผนรับมือที่เป็นรูปธรรม
  • การบริหารทรัพย์สิน ผลตอบแทนยังไม่มีประสิทธิภาพเป็นที่น่าพอใจ

สิ่งที่ได้เรียนรู้

CEO.- HR. NoN HR. STAKEHOLDERS AND EGAT’s NEW VALUES

โดย คุณจันทนา สุขุมานนท์

วันที่ 16 มีนาคม 2559

กฎ 5 D เพื่อการทำงานประสบความสำเร็จ

1.Desire : ชอบในสิ่งที่เราทำ

2. Discipline : มีวินัย

3. Development : พัฒนาได้

4. Determination : สามารถกำหนดตัวเองได้

5. Duck : ทำตัวเหมือนเป็ดลอยอยู่เหนือน้ำหมายถึงต้องมองจากมุมสูงเพื่อให้

เห็นอย่างรอบด้าน เพื่อแก้ปัญหา

หน้าที่ของ HR. : HR.ความจริงแล้วเป็นหน้าที่ของ Leader ทุกแผนกที่จะต้องให้การสนับสนุน ต้องมีการประเมินผล ต้องมีความยุติธรรม HR.ของ EGAT.มีจุดอ่อนคือ HRD กับ HRM ยังไม่ไปในทิศทางเดียวกัน

การกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า และประสิทธิภาพการทำงานของ กฟผ.

โดย ศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ

วันที่ 16 มีนาคม 2559

ระบบไฟฟ้าของประเทศไทยเป็นแบบ Single Buyer แต่ที่อังกฤษหรือสิงคโปร์จะเป็นแบบ Power Pool คือมีผู้ขายมากกว่า 1 ราย มีหน่วยงานคอย manage ถ้าเปิด AEC จะเป็นแบบ Bilateral อยู่ต้องมี Regulator คอยดูแล

พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 ประกอบด้วย

- วัตถุประสงค์ของกฎหมาย

- การอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน

- การกำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงาน

- การกำกับการแข่งขัน

- การกำกับอัตราค่าบริการ

- การกำกับมาตรฐานและความปลอดภัยในการประกอบกิจการพลังงาน

- การกำกับดูแลการใช้หรือการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน

ข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน

นายอำนวย แสงวิโรจนพัฒน์

เส้นทางสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของจีน

ได้เรียนรู้ประวัติอันยาวนานของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากมีกษัตริย์ปกครองจนปัจจุบันเป็นสังคมนิยม มีผู้นำจีนหลายรุ่น และผู้นำที่ทำให้จีนเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ คือ ท่านเติ้งเสี่ยวผิง ท่านเป็นคนที่กล้าเปลี่ยนแปลงโดยยึดผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก มีแนวคิดใหม่ๆ ที่ช่วยพัฒนาจีนมากมาย ได้แก่ สังคมนิยมโดดเด่น

หัวข้อ EGAT and Change Management

“Change before you are forced to change” (Jack Welch) “คุณต้องเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน” สิ่งที่จะมาผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ Increasing Globalization, Emergence of new competitors, Changing Customer Demand และ Shortened product life cycle

โดยมี Key Success Factor ที่จะทำให้การบริหารการเปลี่ยนแปลงได้ผล คือ ต้องขจัดความเย่อหยิ่ง ไม่เรียนรู้ ไม่ปรับปรุง ต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกคนที่เกี่ยวข้อง มี Commitment มี quick win มีการทำ Road Map

ข้อคิดที่ได้รับจากการอบรมฯ

- สิ่งที่สำคัญในการบริหารความเปลี่ยนแปลง

: ควรคิดถึงสิ่งที่องค์กรจะได้รับ มากกว่าผลงานนี้จะเป็นของใคร

: ต้องยอมรับความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารว่า จะสามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

- นักบริหารที่จะประสบความสำเร็จต้องเก่งในเรื่องการวางแผน ทั้งแผนระยะสั้น กลาง และยาว รวมถึงต้องมีแผนซ้อนแผนด้วย

- ผู้บริหารต้องรู้จักฝึกวิธีคิด สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างการทำงานเป็นทีม มีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน ทำงานแบบเปิดเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วม และทำตัวให้เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ

- จุดล้มเหลวของผู้บริหาร ที่ควรคำนึงถึงคือ ความไม่เข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่เข้าใจคน แก้ไขปัญหาไม่ทันต่อเหตุการณ์ ไม่มีคนช่วย และประมาทในการดำเนินการ

กมลรัตน์ กุหลาบแก้ว

สรุปการเรียนรู้ระหว่างวันที่ 14 – 16 มีนาคม 2559

เส้นทางสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจของจีน โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เจริญ วรรธนะสิน

การเปลี่ยนแปลงมี 3 state คือ Current StateTransition StateImproved State

การบริหารคน สิ่งที่ต้องทำคือ หัวหน้าต้องสอนลูกน้องให้ดีให้ได้ และต้องให้เวลากับลูกน้อง

ประสบการณ์ของผู้นำ กฟผ. ในการแสวงหาโอกาส – บริหารวิกฤต/ความเสี่ยงและการตัดสินใจ โดย คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

แนวคิดและกลยุทธ์ทางการตลาด โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ต้องดู Supply Side และ Demand Focus

  • Market Life Cycle
  • People
  • Value Chain
  • พลังทั้ง 5 ของผู้ยิ่งใหญ่

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของ กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ และผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ทรัพยากรมนุษย์คือปัจจัยสำเร็จขององค์กรมีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดจาก inside out เป็น outside in ต้องมีความร่วมมือกันระหว่าง Non – HR หรือ Line Function กับ HR หรือ Staff Function เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

การกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและประสิทธิภาพการทำงานของ กฟผ. โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ

กมลรัตน์ กุหลาบแก้ว

สรุปการเรียนรู้ระหว่างวันที่ 14 – 16 มีนาคม 2559

เส้นทางสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจของจีน โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เจริญ วรรธนะสิน

ตั้งแต่ยุคปฎิวัติทางอุตสาหกรรมจนถึงปัจจุบัน จีนผ่านการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและวิกฤตต่างๆ มากมาย การเปลี่ยนแปลงต่างๆ มีผลจากผู้นำของจีน ปัจจุบันจีนได้ผลักดันตัวเองขึ้นมาเทียมบ่าเทียมไหล่นานาชาติจีนมีการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง

การเปลี่ยนแปลงมี 3 state คือ Current StateTransition StateImproved State

การบริหารคน สิ่งที่ต้องทำคือ หัวหน้าต้องสอนลูกน้องให้ดีให้ได้ และต้องให้เวลากับลูกน้อง

ประสบการณ์ของผู้นำ กฟผ. ในการแสวงหาโอกาส – บริหารวิกฤต/ความเสี่ยงและการตัดสินใจ โดย คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

แนวคิดและกลยุทธ์ทางการตลาด โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ต้องดู Supply Side และ Demand Focus

  • Market Life Cycle
  • People
  • Value Chain
  • พลังทั้ง 5 ของผู้ยิ่งใหญ่

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของ กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ และผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ทรัพยากรมนุษย์คือปัจจัยสำเร็จขององค์กรมีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดจาก inside out เป็น outside in ต้องมีความร่วมมือกันระหว่าง Non – HR หรือ Line Function กับ HR หรือ Staff Function เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

การกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและประสิทธิภาพการทำงานของ กฟผ. โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.๒๕๕๐ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับ การอนุญาตการประกอบกิจการพลังงานการกำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงานการคุ้มครองผู้ใช้พลังงานการใช้อสังหาริมทรัพย์และการพิจารณาข้อพิพาทและการอุทธรณ์
ธวัชชัย สำราญวานิช

ในโอกาสที่ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมหลักสูตร การพัฒนาผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายหรือเทียบเท่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) EADP รุ่นที่ 12 นี้ พบว่า มีสิ่งต่างๆ ที่ได้เรียนรู้มากมายในหลักสูตรนี้ครับ สิ่งที่ผมอยากแสดงเสริมความคิดจากที่ Blog นี้สรุปไว้ได้เป็นอย่างดีแล้ว สรุปได้ดังนี้ครับ

การเรียนการสอนจากท่านอาจารย์ และวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ ที่ได้บรรยายพร้อมเอกสารและหนังสือต่างๆ ทำให้เกิดการเติมองค์ความรู้ ทฤษฎี แนวคิดและและประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้ ตรึกตรอง เพื่อนำส่วนต่างๆ ไปใช้ประยุกต์ในการพัฒนาตนเอง ผู้คนรอบตัวเองและหน่วยงานต่อไป เพื่อให้ทันไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง (Change) ซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่เป็นพลวัต ดังนั้นการที่จะต้องก้าวนำและก้าวไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ท้าทาย ทั้งนี้การพัฒนาตนเอง สามารถทำได้ผ่านการแสวงหาความรู้้ใหม่ๆได้ตลอดเวลาด้วยวิธีการต่างๆ เป็นเรื่องที่ต้องฝึกทำให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ใคร่ขอขอบคุณท่าน ศ.ดร. จีระ อาจารย์และวิทยากรทุกท่าน รวมทั้งทีมงาน Chira Academy และผู้ปฏิบัติงานประสานงาน กฟผ. ทุกคน และหน่วยงาน กฟผ. ที่ได้ให้โอกาสผู้เข้ารับการอบรม EADP รุ่นที่ 12 ได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้เรื่องราวดีๆ ก่อให้เกิดเป็นต้นทุนทางความคิดที่จะนำไปใช้ให้เกิดผลต่อไปครับ

สรุปช่วงที่ 2 (14-16มีนาคม 59)

วันที่ 14 มีนาคม 2559 ศ.เจริญ วรรธนสิน หัวข้อ เส้นทางสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจของจีน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ - ประวัติความเป็นมาของจีนตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (ค.ศ. 1830) ยุคสงครามฝิ่น สงครามกลางเมืองในจีน จนถึงพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีการตั้งเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน การปกครองโดยท่านเติ้งเสี่ยวผิง จนกระทั่งถึงยุคผู้นำจีนรุ่นใหม่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ได้รับทราบแนวทางการปรับตัวการแก้ไขปัญหาแต่ละยุคของผู้นำจีนในรุ่นต่างๆ แนวคิดของผู้นำรุ่นใหม่ รวมถึงได้ทราบการพัฒนาด้านต่างๆของเช่นด้านรถไฟความเร็วสูง ปัญหาปัจจุบันการชลอตัวของเศรษฐกิจ ช่องว่างระหว่างคนเมืองและชนบท สภาวะแวดล้อม ข้อพิพาทเรื่องหมู่เกาะ โดยสรุปจีนมีทั้งยุคที่เจ็บปวดยุคที่เปลี่ยนแปลง และฟ้าหลังฝน สิ่งที่ทำให้จีนเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจของโลกเพราะความขยันและนโยบายของผู้นำที่กล้าคิดกล้าทำ

สิ่งที่นำมาปรับใช้ - ทำให้รอบรู้และสามารถประยุกต์ใช้กับการมองสถานการณ์ในไทย เป็นการเรียนรู้โลก การปรับตัวในยุคต่างๆ บทเรียนจากจีนเปรียบเทียบกับการปกครองโดยผู้นำไทยในบางยุคได้ เศรษฐกิจจีนมีความสำคัญกับเศรษฐกิจโลกที่เราต้องรับทราบติดตามความเคลื่อนไหว ประสบการณ์การต่อสู้ของจีนอาจเป็นตัวอย่างกับการรวมตัวของชาว EGAT ในการต่อสู้กับปัญหาองค์กรในบางยุค แนวคิดในเรื่องของการเดินไปสู่ความสำเร็จมีเส้นทางต้องฝันฝ่าอุปสรรคและที่สำคัญต้องการผู้นำที่มีความสามารถ นำพาหน่วยงานให้ฝันฝ่าปัญหาเดินไปสู่เป้าหมาย ความกล้าของผู้นำเติ้งเสี่ยวผิง “สิ่งที่เราพูดในวันนี้ บรรพบุรุษของเราไม่เคยพูด เป็นของใหม่” และวิสัยทัศน์เรื่องของผลประโยชน์ “บุญคุณของท่านที่มีต่อข้าพเจ้า จะตอบแทนโดยส่วนตัวมิลืม แต่ประเทศชาติมิได้ติดหนี้บุญคุณท่าน......”

หัวข้อ EGAT and Change Management อาจารย์ประกาย ชลหาญ / ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ / ศ.ดร.จีระ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ - ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลง องค์กรต้องมีการเตรียมตัวตั้งรับเพื่อให้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี โดยต้องเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน ผู้บริหารต้องคาดเดาให้ได้ว่า 2-5 ปี แนวโน้มการเปลี่ยนไปอย่างไร การเปลี่ยนแปลงมี 2 แบบ 1. เปลี่ยนแล้วดีขึ้น 2.เปลี่ยนแล้วแย่ลง หน้าที่ของผู้บริหารคือ หากดีขึ้น ให้ดีขึ้นกว่าที่เป็น และหากแย่ลงให้แย่ลงน้อยกว่าที่ควรจะเป็น การเป็นผู้บริหารต้องพัฒนาลูกน้องให้ดีขึ้นหัวหน้าต้องถูกประเมินในเรื่องนี้ด้วย ผู้บริหารต้องมีเวลาสำหรับการบริหารลูกน้อง การประเมิน Core Competency จะประเมินเพื่อพัฒนาคนหรือเพื่อให้ได้รับคะแนน KPI เพราะบางครั้งออกมาว่าพนักงานทุกคนเก่งหมด แต่ผลรวมของผลประกอบการไม่ใช่ การประเมินในองค์การควรประเมินจาก Core Value เพราะจะสะท้อนพฤติกรรมที่เปรียบเหมือน DNA ขององค์กร ที่ทุกคนในองค์กรต้องนำมาปฏิบัติให้เป็นชีวิตจริง หลายองค์กรปัจจุบันไม่ใช้การประเมิน Core Competency การที่จะประสบความสำเร็จ ต้องใช้ 5E / Energy มีพลัง Active / Energizeต้องสามารถสร้างพลังให้ลูกน้องได้ / Edgeมีความเก่งหรือมีความรู้กว่าคนอื่นๆ / Exscustionทำให้เกิดผลต้องมี Result / Ethics ต้องมีจริยธรรม มีคุณธรรม รวมถึงชี้ให้เห็นว่าองค์กรที่อยู่รอดไม่จำเป็นต้องแข็งแรงที่สุดแต่อยู่ที่การปรับตัวได้

สิ่งที่นำมาปรับใช้ – การให้คิดถึงภาพองค์กรมากกว่า กอง/ฝ่าย การต้องพร้อมปรับตัวก่อนไม่ไช่จากการถูกบังคับให้เปลี่ยน การทำงานใน EGAT จะต้องมีผลงานให้กับ กฟผ. ต้องนึกถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ความต้องการใหม่ๆ เรียนรู้ลูกค้าและคาดหมายการเปลี่ยนแปลงคาดหมายสถานการณ์ข้างหน้าของหน่วยงานเพื่อวางแผนและตั้งรับ ผู้บริหารมีหน้าที่ Manage แก้ไขปัญหาไม่ใช้เพิ่มปัญหา บริหารสิ่งที่ดีให้ได้รับผลดีที่สุด ถ้าเสียทำให้ผลเสียน้อยลงในระดับรับได้ แนวทางของความสำเร็จก็คือไม่เป็นเหยื่อของความสำเร็จเดิมและหากเปลี่ยนคนอื่นไม่ได้ให้เปลี่ยนตัวเอง

การบรรยายพิเศษ อดีต ผวก.คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

ได้มีโอกาสที่ดีรับทราบและเรียนรู้แนวทาง/แนวคิดของผู้นำระดับสูงสุดขององค์กร ท่านได้เล่าถึงการแก้ปัญหาในภาวะวิกฤติ ซึ่งต้องอาศัยการสื่อสาร การทำความเข้าใจ ใช้กลยุทธ์หลายอย่าง เช่น กรณีน้ำท่วมใหญ่ ปี 54 ในภาวะวิกฤติต้องใช้สติ มีศูนย์ที่ตั้งขึ้นเพื่อตัดสินใจ มีการประเมินความเสี่ยงในทุกๆ วัน และการสื่อสารในภาวะวิกฤติโดยใช้ภาษาที่กระชับ สั้น ไม่เยิ่นเย้อ จากข้อมูลที่มีเป็นเล่ม ย่อลงให้เหลือเพียง 1 แผ่นเพื่อไปใช้รายงาน เลือกสื่อสารเฉพาะข้อมูลที่มีความสำคัญ และต้องดูว่าสื่อสารกับใคร กระทรวง /ผู้บังคับบัญชา / สื่อมวลชน การหลีกเลี่ยงภาวะวิกฤติจึงต้องมีการบริหารความเสี่ยงตลอดเวลา / ใช้ CSR in Processเข้าไปอยู่ในกระบวนการ / มีการเตรียมแผนรองรับ กำหนดวิธีการกรณีพบปัญหา / ติดตามสถานการณ์บริหารข้อมูลตลอดเวลา การเป็นผู้บริหารตำแหน่งสูงขึ้นต้องเลือกให้ได้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ผู้บริหารจะทำ / งานอะไรที่ควรเลือกทำ / ต้องดูหาความเสี่ยงและหาแผนรองรับและมีสติ / มองแบบ Outside In มากขึ้น/การมองหาโอกาส งานที่ผู้ว่าการได้ทำมากมาย เช่น แก้ไขปัญหาการขาดคน- เริ่มรับคนเพิ่ม / ปัญหาการขาดช่วง-Successor/ การแก้ปัญหาโรงไฟฟ้าแม่เมาะ/ ปัญหาไฟดับที่ภูเก็ต/ การส่งโรงไฟฟ้าไปช่วยญี่ปุ่นช่วงสึนามิฯลฯ แนวทางการวางความสัมพันธ์กับหน่วยงานที่ดูแล กฟผ. การไม่ใกล้เกินไป ไม่ไกลเกินไป มีระยะที่เหมาะสม

การนำมาปรับใช้ - การเป็นผู้บริหารต้องวางงานประจำและมาทำงานบริหารให้มากขึ้น และต้องศึกษาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา

วันที่ 15 มีนาคม 2559 หัวข้อ Attitude-Mindset of EGAT Leaders โดย ศาตราจารย์ (พิเศษ) วิชา มหาคุณ / คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ - แนวทางของวิทยากร(คุณหญิงทิพาวดี) ท่านใช้การจากความเป็นตัวตน ทำงานด้วยสมองให้คนยอมรับไม่มองเรื่องของเพศ การทำงานจะมีแผนโดยตลอด ต้องทำงานเองได้ ไม่ใช่มอบหมายให้คนอื่นทำแทนเท่านั้น มีMindset คือไม่ยอมแพ้ ต้องทำด้วยตนเอง และให้ความสำคัญกับการพัฒนาลูกน้อง ให้ตระหนักว่าสิ่งเล็กๆจะนำไปสู่สิ่งใหญ่ต้องเรียนรู้การบริหาร Detail ก่อน มองเห็นการเปลี่ยนแปลงแบบคลื่นก่อนมันจะมาถึงจะมีสัญญาณคลื่นเล็กๆ มาก่อน จึงจะเป็นคลื่นใหญ่ๆ และจะมีมาต่อเนื่องเสมอๆ หน้าที่ของผู้บริหารต้องเป็นผู้กำหนดวางแผนออกแบบการทำงาน สื่อสารทำความเข้าใจ ควบคุมติดตามวางแผนสำรอง แก้ไขปัญหาให้บรรลุผลสำเร็จ แล้วต้องมีการประชาสัมพันธ์ ด้านการให้บริการของ กฟผ. อาจารย์เน้นการรับใช้ประชาชนเป็นสิ่งแรก การทำงาน ต้องมองเพื่อหน่วยงาน / ชาติ Outputที่ออกมาต้องมีผลสัมฤทธิ์ให้กับชุมชนสังคมด้วย

สิ่งที่นำมาปรับใช้ - การปรับMindset ทัศนคติของตัวเราโดยไม่ต้องมุ่งไปเปลี่ยนคนอื่นก่อน การที่ผู้บริหารต้องทำตัวเป็นตัวอย่าง Role Model ของลูกน้อง โดยต้องเป็นตัวอย่างที่ดี แนวคิดการทำงานแบบเปิด สนับสนุนให้ทุกคนกล้าพูด/เปิดใจกับเรา อาจให้มีการวิพากษ์ผู้บริหารได้ เช่น มีบอร์ดให้ติดข้อความสื่อสารถึงผู้บริหาร “สั่งงานฟังลูกน้องหน่อย” เป็นต้น เป็นเสียงสะท้อนที่ไม่เครียด การโต้แย้งในทีม/ความเห็นที่แตกต่าง เป็นการแสดงว่าเป็นหน่วยงานที่เปิดให้อิสระทำให้มีหลายมุมมอง

การทำงานจะต้องมีความเป็นมืออาชีพในงานของตน และการที่เราต้องลอยอยู่บนกระแสการเปลี่ยนแปลงให้ได้เหมือนการขี่คลื่น

หัวข้อ ยุทธ์ทางการตลาดปรับใช้กับการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดย ศาสตราจารย์ภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ ความรู้ในเรื่องของการตลาด-ธุรกิจ EGATมี Asset คือ มีคนที่มีความรู้ ประสบการณ์ มีสายส่งเป็น Power Grid ได้เรียนรู้เกี่ยวกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย / Maricet Life Cycle / Value Chain

สิ่งที่นำมาปรับใช้ มีความรู้ในด้านธุรกิจและการตลาด ทำให้มีความรู้กว้างขึ้น

หัวข้อ วิเคราะห์ประเด็นท้าทายการทำงานของ กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน โดย ศาสตราจารย์ภิชานไกรฤทธิ์ / ดร.พงษ์ชัยฯ / ผศ.กิตติฯ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ ได้เห็นการวิเคราะห์การเติบโตทางธุรกิจของ กฟผ. การตัดสินใจโดยรัฐบาลในบางเรื่องเพียงจุดเดียวถือเป็นความเสี่ยงกับรัฐวิสาหกิจ การสูญเสียการตลาดให้กับภาคเอกชน และไม่สามารถลงทุนอย่างที่วางแผนได้ วิทยากรชี้ให้ร่วมคิดว่า ส่วนแบ่งการผลิตลดลงเป็นการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันหรือไม่ รวมถึงปัญหาการไม่สามารถใช้พลังงานถ่านหินหรือนิวเคลียร์ได้ และการที่ยังมีผู้มองว่า กฟผ. Monopoly ได้ให้แนวคิดการเข้าไปถือหุ้นในผู้ผลิตรายเล็กเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการผลิต หรือการพิจารณาใช้ประโยชน์กับรูปแบบการบริหารธุรกิจสมัยใหม่โดยใช้บริษัทลูกของ EGAT พิจารณารูปแบบการลงทุนอื่นๆที่ กฟผ.จะมีโอกาส อาจารย์ฝากประเด็น AEC กับตลาดพลังงานไฟฟ้าในอาเซี่ยน ว่าถ้าไม่ออกไปหาโอกาสจากภายนอก คนภายนอก/ประเทศต่างๆ ก็จะหาโอกาสและเอาโอกาสไป อจ. ดร.พงษ์ชัยฯ ให้ข้อคิดว่า EGATปัจจุบันสุดยอด แต่ NOKIAและ KODAKก็สุดยอดเหมือนกัน จึงต้องไม่เลิ่นเล่อและประมาท

สิ่งที่นำมาปรับใช้ ได้ตระหนักถึงปัญหาที่ กฟผ. ต้องเผชิญในอนาคต ซึ่งถ้าทุกคนได้ตระหนักร่วมกัน จะทำให้ก้าวข้ามไม่เกิดวิกฤติ เพราะมีการเตรียมการ/จัดการแก้ไขปัญหา รับรู้ว่าการเติบโตของ กฟผ. ที่อาจไม่เหมือนในอดีต การต้องพิจารณาในเรื่องพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น รวมถึงการใช้ประโยชน์กับบริษัทใหม่ในบริษัทลูกของ EGAT กฟผ. อาจต้องเริ่มมองทิศทางการเติบโตที่นอกเหนือจากการสร้างโรงไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว เป็นผู้มีบทบาท/มีส่วนร่วมในด้านพลังงานทดแทนมากขึ้น ให้เกิดส่วนแบ่งการผลิตในตลาดมากขึ้นเพื่อเดินไปสู่องค์กรที่ยั่งยืน การวิเคราะห์ของ อจ. ดร.พงษ์ชัย ได้รับประโยชน์มาก เพิ่มมุมมองกระตุ้นให้ตระหนักในปัญหาที่มีอยู่และที่ควรจะพิจารณาวางแผนทำตั้งแต่ตอนนี้เพื่อให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลง

วันที่ 16 มีนาคม 2559 หัวข้อ CEO-HR-Non HR โดย คุณจันทนา สุขุมานนท์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ ประสบการณ์ของผู้บรรยายในเรื่องการบริหาร HR ใน บมจ. ปูนซีเมนต์นครหลวง ความสำคัญของ HR กับประสิทธิภาพขององค์กรเพราะปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ บุคลากรความสำคัญของการ Coach ซึ่งเป็นการพัฒนาที่เปรียบเหมือนกระจก หลักของกฎ 5D เพื่อการทำงานประสบผลสำเร็จ ชอบในสิ่งที่เราทำ / มีวินัย / พัฒนาได้ / กำหนดตัวเองได้ / อยู่เหนือปัญหา

สิ่งที่นำมาปรับใช้ การปรับเปลี่ยนที่ตัวเองก่อน การที่ทุกคนเป็น Non HR ในการเรียนรู้ การถ่ายทอด การสร้างทีม Work ใช้ตัวเราเป็นสื่อกลางปลูกฝัง Value ค่านิยม กระตุ้นและพัฒนาคนตลอดเวลา

หัวข้อ การบรรยายพิเศษ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ ความเป็นมาการประกอบกิจการพลังงานของประเทศอังกฤษและประเทศไทย ความรู้ด้านพลังงานในเรื่องก๊าซธรรมชาติ และ พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน2550

สิ่งที่นำมาปรับใช้ มีความรู้ในด้าน พ.ร.บ. ประกอบกิจการพลังงานฯ ทำให้มีความรู้กว้างขึ้น

การอบรมช่วง 14-16 มีนาคม 2559

เส้นทางสู่มหาอำนาจของจีน

ความรู้จากเรื่องผู้นำจีนในแต่ละยุคทำให้ได้เรียนรู้ว่า จีนมีการเตรียมผู้นำมาอย่างเป็นระบบ ในรุ่นหนึ่งใช้เวลาอยู่ในตำแหน่งถึง 10 ปี ทำให้เห็นได้ว่า ถ้ามีการคัดผู้นำมาเป็นอย่างดีแล้ว จะมีการพัฒนาที่ต่อเนื่องและรวดเร็ว...อีกอย่างที่ได้จากจีนคือ ไม่ว่าระบอบการปกครองอะไร ถ้ามีประสิทธิภาพในทุกๆด้าน ก็สามารถพัฒนาประเทศให้รุดหน้าได้อย่างรวดเร็ว....แนวคิดของเติ้งเสี่ยวผิง ในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ 1 ประเทศ 2 ระบบ คือ เขตทั่วไป และเขตเศรษฐกิจพิเศษ แก้กฎหมายสำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษและใช้กลไกการตลาดสมัยใหม่ 2 .แนวคิดเรื่องคอร์รัปชั่นหันมามองประเทศไทย ผู้นำมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ขาดความต่อเนื่อง ระบบการคัดเลือกก็ยังขาดความรัดกุม ....

EGAT and Change Management

กฟผ. ควรต้องเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน ....

ประสบการณ์ของผู้นำ กฟผ. ในการแสวงหาโอกาส-บริหารวิกฤติ/ความเสี่ยง ของ อดีตท่านผู้ว่าสุทัศน์

ผมชอบที่ท่านสอนพวกเราเสมอว่า ให้สวมหมวกให้ใหญ่ขึ้นอย่างน้อยอีกเบอร์หนึ่ง นั่นคือให้เรามองมากกว่าดูแค่ในฝ่ายตนเอง หรือกองตนเอง ให้มองมากกว่าความรับผิดชอบในหน้าที่ปัจจุบัน นอกจากนั้นประสบการในการจัดการกับภาวะวิกฤติ เช่นเหตุการณ์ไฟฟ้าภาคใต้ดับ น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ที่ท่านได้เล่าให้พวกเราฟัง นับเป็นประสบการและการจัดการของผู้นำที่เราควรเรียนรู้และเอาเป็นแบบอย่างได่เป็นอย่างดี........

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของ กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ และผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ทรัพยากรมนุษย์คือปัจจัยสำเร็จขององค์กรมีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดจาก inside out เป็น outside in ต้องมีความร่วมมือกันระหว่าง Non – HR หรือ Line Function กับ HR หรือ Staff Function เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร.....



วิศิษฎ์ ปฐมเจริญโรจน์

วันที่ 14-16 มี.ค.59

เส้นทางสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจของจีน: ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เจริญ วรรธนะสิน

  • ประวัติศาสตร์สามก๊กของจีน ทำให้มีผู้นำสามารถนำไปใช้เชิงการบริหารงาน สามารถนำมาใช้ในการขับเคลื่อนประเทศจีนแบบหนึ่งประเทศสองระบบรัฐเป็นเจ้าของและให้เอกชนสามารถเป็นเจ้าของได้อีกด้วยและพัฒนามาเป็นมหาอำนาจของโลก แต่กรณีพิพาทหมู่เกาะเตียวหยูอาจไม่ส่งผลดีนัก ซ้ำร้ายอาจเป็นฉนวนเหตุก่อให้เกิดสงครามขึ้นได้
  • ท่านให้คำแนะนำสำหรับผู้บริหาร กฟผ. ควรฝึกฝนการฟันฝ่าอุปสรรคภายใต้สภาวะวิกฤต ตัวอย่างหนึ่งเช่น กรณีมหาอุทกภัยภาคกลางของประเทศเมื่อปี 54กฟผ. สามารถผ่านมาได้เป็นอย่างดี มีการบริหารความเสี่ยงในภาวะวิกฤตทุกด้านหลากหลายมุมมองมาก จัดตั้งศูนย์เผชิญเหตุฉุกเฉินประชุมปรึกษาหารือประเมินสถานการณ์เป็นประจำทุกวัน มีข้อมูลนำเข้ามาประกอบการพิจาณาตัดสินใจอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา มอบหมายแบ่งงานกันทำ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดูแลรักษาทุกโรงไฟฟ้าและระบบส่งในพื้นที่เสี่ยงภัยให้เป็นที่พึ่งของผู้ที่เดือดร้อนได้ สร้างความเข้าใจกับสาธารณะชน ตอบปัญหาผ่านสื่อ สรุปเนื้อหาสาระให้ภาครัฐเข้าใจในบทบาท กฟผ. สิ่งหนึ่งที่เป็นเรื่องยากคือการสรุปเนื้อหาวิกฤตการณ์ที่มีเข้ามาอย่างมากมายให้เหลือเฉพาะประเด็นสาระสำคัญดังเช่นผังของลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ กฟผ. เป็นเพียงส่วนน้อยที่เติมน้ำลงไปในพื้นที่น้ำท่วมดังกล่าว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประชาชน ช่วยเหลือสังคมอย่างเต็มที่ไม่ทอดทิ้งกัน

ประสบการณ์ อดีต ผวก.สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

Attitude–Mindset of EGAT Leaders: ศาสตราจารย์(พิเศษ) วิชา มหาคุณ / คุณหญิงทิพาวดี เมฆสววรค์

  • Mindset ของบุคคลากร กฟผ. ร่วมกันทั้งองค์กร ท่านแนะนำว่า ควรเป็นปณิธานที่จะมุ่งมั่นทำงานในหน้าที่ความรับผิดชอบให้ประชาชนมีพลังงานไฟฟ้าใช้ตลอดเวลา ด้านการดูแลสังคมและชุมชน คนกฟผ.ต้องมีทัศนคติที่จะดูแลสังคมชุมชนอย่างจริงจัง ดังตัวอย่างของกรณีชุมชนรอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อนึ่ง ทั้งสองท่านเน้นย้ำให้ กฟผ. คงความดีในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตไว้ตลอดไป

แนวคิดและกลยุทธ์ทางการตลาด: ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

  • กลยุทธ์การตลาดท่านให้เครดิต กฟผ. มากมีโอกาสที่จะสร้างผู้นำที่สามารถส่งออกไปเป็น CEO ในการผลิตไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน CLMV ได้เนื่องจากเป็นผู้ที่คร่ำหวอดในอุตสาหกรรมนี้ มีสินทรัพย์ด้านบุคคลากรที่ดี สิ่งที่ควรมีการเตรียมการไว้สำหรับ กฟผ. คือการมองการณ์ไกลไปอีก 50 ปีข้างหน้า จะมีเทคโนโลยีทางเลือกใดในการผลิตไฟฟ้ามาทดแทนธุรกิจของ กฟผ. หรือไม่ ให้มีการเตรียมความพร้อมรองรับเอาไว้

CEO – HR – Non HR – Stakeholder : คุณจันทนา สุขุมานนท์

  • Sustainable development (SD) กฟผ. ถือเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ที่จะต้องมีการดำเนินงานในเรื่องนี้อยู่ทั่วทั้งองค์กร โดยที่จะมีกิจกรรมทางด้านCSR & CSV เป็นส่วนสร้างเสริมในการสร้างความยั่งยืนดังกล่าว
  • ทุกภาคส่วนภายในองค์กร ไม่เฉพาะผู้ที่ทำหน้าที่ด้านทรัพยากรบุคคลเท่านั้นหากแต่ทุกท่านควรต้องมีจิตวิญญาน HR เนื่องจากจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการที่แต่ละภาคส่วนเผชิญอยู่ได้ดีกว่า ทั้งนี้โดยขอรับการสนับสนุน HR personnel ช่วยอำนวยความสะดวกให้การบริหารงานบุคคลสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีอนึ่งท่านยังให้คำแนะนำถึงเครื่องมือที่ทันสมัยคือ Net Promoter Score (NPS) ในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี

การกำกับกิจการไฟฟ้า: ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ

ทำให้เข้าใจถึงการกำกับดูแลกิจการพลังงาน ที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างสมดุลและเป็นธรรมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าและ/หรือพลังงานมีหน่วยงาน กกพ. รับผิดชอบดูแลเป็นอย่างดี
นาย ชัยวัฒน์ บุญเรืองขาว

เรียน อ.ดร จีระ หงส์ลดารมณ์

การเข้ารับการอบรม EADP รุ่นที่ 12 ช่วงที่ 2 วันที่ 14-16 มีค 59

สรุปประชุมผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ : ผู้นำและการสร้างความเป็นเลิศ

วันที่ 14 มีนาคม 2559

เส้นทางสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจของจีน

โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ)เจริญ วรรธนะสิน

การบรรยายความเป็นมาของประวัติศาสตร์จีนในช่วงก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองของจีนตั้งแต่ปี ค.ศ.1830 ทำให้ทราบความยากลำบากของจีนกว่าจะมาเป็นมหาอำนาจถูกกระทำอย่างรุนแรงทั้งจากภายนอกและภายใน คือจากมหาอำนาจต่างชาติ ฝรั่งเศส อังกฤษ ญี่ปุ่น และจากคนจีนด้วยกันเองทั้งแนวคิดจากขนบทำเนียมประเพณีเก่า การคอรัปชั่น การแย่งชิงอำนาจระหว่างระบอบการปกครองซึ่งเกิดขึ้นมาตลอดประวัติศาสตร์จีนรวมถึงความสูญเสียหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ทำให้คนจีนล้มตายมากถึง 35 ล้านคน จึงได้รับการยอมรับเห็นใจจากมหาอำนาจจีนจึงค่อยๆพัฒนาประเทศขึ้นมาแต่ก็เกิดความขัดแย้งภายในทำให้เกิดความสูญเสียทั้งทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมอีกครั้งต่อเมื่อผู้นำที่นำจีนสู่ความยิ่งใหญ่ได้รับการปล่อยปลดจากการกักตัวคือนาย เติ้งเสี่ยวผิง

นายเติ้งเสี่ยวผิงได้เปลี่ยนแปลงระบบการปกครองและระบบเศรษฐกิจให้เป็น 1 ประเทศ 2 ระบบท่ามกลางทางสามแพร่งที่ไม่รู้จะเดินไปทางไหน ผู้นำรุ่นต่อมาจะเลือกคนดีมือสะอาดต่อต้านคอรัปชั่นมีวิสัยทัศน์ทำให้จีนเจริญรุ่งเรืองจนเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก

แนวทางการพัฒนาของจีนสามารถนำมาพัฒนา EGAT ได้ทั้งการเลือกผู้นำที่ดีต้องทำอย่างไร ต้องวางตัวล่วงหน้าเป็นสิบปี การบริหารแบบ 1ประเทศ 2 ระบบเป็นการผสมผสานที่ควรนำมาใช้อย่างยิ่ง

Panel Discussion & Workshop

หัวข้อ EGAT and Change Management

การบรรยายเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงองค์กร Managing changes เราต้องเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน ต้องมีแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและต้องขจัดความพึงพอใจในความสำเร็จเพราะมันจะเป็นสาเหตุของความล้มเหลว

Change management skill มี 4 แบบ

การปรับตัว,Strategic ,Focus,results สิ่งต่างๆเหล่านี้นำมาใช้ประโยชน์ในการเปลี่ยนแปลง กฟผ ได้และ กฟผ จำเป็นต้องเปลี่ยนเพื่อความอยู่รอดต่อไป

หลังจากนั้นมีการทำ Worshop เรื่อง Change

หัวข้อ ประสบการณ์ของผู้นำ กฟผ.ในการแสวงหาโอกาส-บริหารวิกฤติ/ความเสี่ยงและการตัดสินใจ

โดยคุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์,ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การเล่าประสบการณ์การทำงานของอดีต ผวก ในช่วงภาวะวิกฤตต่างๆ เช่น เขื่อนศรีนคริทร์ปล่อยน้ำกระทบพื้นที่รุกลำน้ำ , ภาวะวิกฤตเรื่องน้ำท่วมปี 2554, ไฟฟ้าดับภาคใต้ เป็นการแก้ไขวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น จะทำอย่างไร อย่างแรกคือ การสื่อสารในภาวะวิกฤตต้องทำอย่างไร เป็นเรื่องที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตของผู้นำรุ่นต่อไปได้


ธีรศักดิ์ รุ่งแสงจันทร์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ ช่วงที่ 2

เส้นทางสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจของจีน

  • ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาอันยาวนานในเรื่องการปกครองของประเทศจีน ผู้นำในแต่ละยุคจะมีแนวคิดที่แตกต่างกัน ช่วงแรกจีนคิดว่าตนเองมีวัฒนธรรมมายาวนาน จึงมีความเย่อหยิ่งในตัวเอง ต่อมาเมื่อมีภัยจากต่างชาติเข้ามารุกรานมากขึ้น จึงยอมรับในความเปลี่ยนแปลง และเรียนรู้จากประเทศอื่นมากขึ้น

EGAT and Change Management

  • ได้เรียนรู้ในเรื่องของการจัดการกับความเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะมีผล 2 แบบคือ เปลี่ยนแปลงแล้วดีขึ้น กับเปลี่ยนแปลงแล้วแย่ลง ถ้าเรารู้จักยอมรับสามารถปรับตัวและจัดการกับความเปลี่ยนได้ การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีก็จะดียิ่งขึ้น ในทำนองเดียวกันการเปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ก็จะแย่น้อยลงกว่าเดิม

ประสบการณ์ของผู้นำ กฟผ. ในการแสวงหาโอกาส บริหารวิกฤติ/ความเสี่ยงและการตัดสินใจ

  • ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงจากผู้นำ กฟผ. ในเรื่องการบริหารวิกฤติและความเสี่ยง โดยคุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ได้เล่าประสบการณ์ที่ผ่านวิกฤติ ในช่วงน้ำท่วมปี 2554 ต้องมีการบริหารจัดการและการตัดสินใจที่ดี นอกจากจะต้องแก้ปัญหาภายในองค์กรแล้ว เช่นปัญหาการเดินทางของบุคลากร ปัญหาการดูแลทรัพย์สินของ กฟผ. ให้ได้ความเสียหายน้อยที่สุด กฟผ. ยังช่วยเหลือสังคมรอบ กฟผ. ที่ได้รับความเดือดร้อนอีกด้วย

Attitude-Mindset of EGAT Leaders

  • ได้เรียนรู้ Mindset ของผู้บริหาร การเป็นผู้นำต้องมีการปรับกรอบความคิดและทัศนะคติ มีแผนการทำงานที่ดี มีกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา สามารถนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จ

CEO-HR-Non HR-Stakeholders and EGAT’s new values

  • ได้เรียนรู้ว่าทรัพยากรมนุษย์คือปัจจัยความสำเร็จขององค์กร Non HR ถือว่ามีส่วนสำคัญที่สุดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพราะจริงๆ แล้ว Non HR ทุกคนก็มีความเป็น HR ในตัวเอง

การกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและประสิทธิภาพการทำงานของ กฟผ.

  • ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน



ชัยวัฒน์ บุญเรืองขาว

แนวคิดและกลยุทธ์ทางการตลาดปรับใช้กับการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

วันที่ 15 มีนาคม 2559 โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

เรียนรู้เรื่องการตลาดเพื่อเปิดโลกทัศน์ในการทำธุรกิจของ กฟผ ต้องเข้าใจพื้นฐานทางธุรกิจว่าเราต้องเข้าใจโลกธุรกิจมันจะไม่เป็นการผูกขาดอีกต่อไป ต้องใช้เครื่องมือทางการตลาดให้เป็น

Supply Side และ Demand Focus

  • Market Life Cycle
  • People
  • Value Chain
  • พลังทั้ง 5 ของผู้ยิ่งใหญ่

ในการสร้างผู้นำของ EGAT .ให้ออกไปเป็น CEO ของโรงไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้านเป็นการขยายตลาดออกไป

CEO.- HR. NoN HR. STAKEHOLDERS AND EGAT’s NEW VALUES

วันที่ 16 มีนาคม 2559 โดย คุณจันทนา สุขุมานนท์

ทรัพยากรมนุษย์คือปัจจัยความสำเร็จขององค์กร ดังนั้น CEO-HR-Non HR-Stakeholders ต้องมีความเชื่อว่า มนุษย์ คือทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร โดยทุนมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยทฤษฏี 8 K (Human, Intellectual, Ethical, Happiness, Social, Sustainability, Digital, and Talented Capital) และ5K (Creative, Knowledge, Innovation, Cultural, and Emotional Capital) ต้องไปเชื่อมโยงกับเป้าหมายขององค์กรจึงจะทำให้เกิดองค์กรประสบความสำเร็จ นำองค์กรไปสู่ 3V (Value Added, Value Creation and Value Diversity)

กฎ 5 D เพื่อการทำงานประสบความสำเร็จ

1.Desire : ชอบในสิ่งที่เราทำ

2. Discipline : มีวินัย

3. Development : พัฒนาได้

4. Determination : สามารถกำหนดตัวเองได้

5. Duck : ทำตัวเหมือนเป็ดลอยอยู่เหนือน้ำหมายถึงต้องมองจากมุมสูงเพื่อให้

เห็นอย่างรอบด้าน เพื่อแก้ปัญหา

หน้าที่ของ HR. : HR.ความจริงแล้วเป็นหน้าที่ของ Leader ทุกแผนกที่จะต้องให้การสนับสนุน ต้องมีการประเมินผล ต้องมีความยุติธรรม HR.ของ EGAT.มีจุดอ่อนคือ HRD กับ HRM ยังไม่ไปในทิศทางเดียวกัน



พงษ์ชัย โชติสกุลสุข

ขอขอบคุณที่ท่านอาจารย์นำการจุดประกาย และสร้าง Inspiration ให้มี Ideas ใหม่ ๆ และนำอาจารย์หลายท่านมาให้ความรู้ในภาพกว้างหลายๆสาขา เช่นอาจารย์เจริญมาให้ความเข้าใจในเส้นทางของชาวตะวันออก แต่ถ้าให้ดีน่าจะมีส้นทางของชาวตะวันตก ในเชิงเปรียบเทียบ รวมทั้งสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต ที่สำคัญมีผลกระทบต่อ กฟผ.อย่างไร ประเทศชาติอย่างไร ต้องเตรียมความพร้อมไว้
ส่วนตอน Panal Discussion น่าจะสรุปไดอยู่ที่ ทำอย่างไรจึงมี competitiveness ในทุกภาคส่วน ส่วนผู้ว่าสุทัศน์ ทำให้เกิดความประทับใจที่ชาว กฟผ.ต้องนำไปใช้ คือ Beyond Engineering อันนี้ถูกใจจริงๆ
ส่วนของ Mindset อาจารย์วิชาต้องขอคารวะในความเป็นข้าราชการมืออาชีพ ที่ควรยึดเป็นแบบอย่างครับ

ช่วงการเรียนรู้ที่ 1

เส้นทางมหาอำนาจเศรษกิจของจีน โดย ศาสตรจารย์(พิเศษ) เจริญ วรรชนะสิน

ท่านได้เปรียบเทียบเรื่อง 3 ก๊ก กับเหตุการณ์ต่างที่เกิดขึ้นในแต่ละยุกต์สมัย ได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย สนุก ในเรื่องการใช้สติปัญญา ชั้นเชิง แฝงด้วยปรัชญา ของผู้นำ

ผวก.สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

การบริหารงานในช่วงวิกฤต ต้องทำความเข้าใจสถานะต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทำการสังเคราะห์ข้อมูล และสิ่งสำคัญต้องทำการสื่อสารให้ชัดเจน

ทำอย่างไรไม่ให้เกิดวิกฤต ท่านให้ทำการบริหารความเสี่ยง โดยวิเคราะห์ความเสี่ยง ที่เกิดขึ้นว่ามีอะไรบ้าง โดยใช้ action plan ไว้ติดตาม ควบคู่กับข้อมูลที่ทันสมัย ปรับเปรียนให้ทันกับเหตุการณ์

นายวันชัย คณาสิทธิบุญ ช.อปท.

นายวันชัย คณาสิทธิบุญ ช.อปท. (EADP 12)

สรุปผลการอบรม ช่วงที่ 2

วันที่ 14 – 16 มีนาคม 2559

ข้อคิดเห็นจากการเรียนรู้

สรุปประชุมผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ : ผู้นำและการสร้างความเป็นเลิศ

วันที่ 14 มีนาคม 2559

  • หัวข้อ เส้นทางสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจของจีน
  • EGAT and Change Management
  • -ประวัติศาสตร์และความเป็นมาของเศรษฐกิจและการเมืองประเทศจีน จนมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก สภาพและปัญหาในปัจจุบัน ตลอดจนผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและประเทศไทย
  • -การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งในยุคโลกาพิวัฒน์ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นรวดเร็วกว่าที่คาดคิดมาก EGAT ต้องปรับปรุง สามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ได้อย่างมีประสทธิภาพ ตามสภาะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
  • -อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ได้ให้ความรู้ในเรื่องประสบการณ์ของผู้นำ กฟผ. ในการแสวงหาโอกาส บริหารวิกฤติ/ความเสี่ยงและการตัดสินใจ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท