​เอกสารรายงานการสังเคราะห์ ระบบการดูแลพัฒนาคุณภาพชีวิตและอาชีพของผู้สูงอายุในประเทศไทย


เอกสารรายงานการสังเคราะห์ ระบบการดูแลพัฒนาคุณภาพชีวิตและอาชีพของผู้สูงอายุในประเทศไทย

ยกร่าง โดย อาจารย์อิทธิพล ปรีติประสงค์

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล

ในฐานะท่ีปรึกษาคณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

เสนอต่อ คณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ



บทสรุปผู้บริหาร (ดาวน์โหลดเอกสารที่นี่)

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการเพื่อการจัดทำมาตรการในการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยมุ่งเน้นการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านประสิทธิภาพในการจัดการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในทั้ง ๔ ด้าน กล่าวคือ (๑) ปัญหาด้านประสิทธิภาพ เสถียรภาพในการดำเนินการของการจัดการดูแล (๒) ปัญหาด้านความครอบคลุมในการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้งระบบ (๓) ปัญหาการขาดหลักประกันในการดำเนินการเพื่อดูแลและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพและสร้างความยั่งยืนในการดำเนินการ และ (๔) ปัญหาด้านความมีประสิทธิภาพและความเพียงพอของกฎหมาย แผน นโยบายเพื่อรองรับกับการดูแลผู้สูงอายุอีกทั้ง เพื่อทำให้เกิดกประสิทธิภาพในการจัดการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยเสนอให้มีการดำเนินการใน ๓ ระยะกล่าวคือ ระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาว

() ข้อเสนอในการทำงานระยะสั้น ประกอบด้วย

. เพิ่มจำนวนอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชนให้เพียงพอต่อจำนวนของผู้สูงอายุในอัตราส่วน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ๑ คนต่อผู้สูงอายุ ๑๕ คน และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง อัตราส่วน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ๑ คนต่อผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยหรือผู้พิการจำนวน ๕ คน ให้ครบทุกพื้นที่ภายใต้กรอบเวลาที่เหมาะสม โดยการเพิ่มจำนวนบุคลากรที่เป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ อีกทั้ง การอบรมให้ความรู้กับอาสามัครดูแลู้สูงอายุเพื่อให้มีความรู้เพียงพอต่อการทำงานเพื่อดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบของ case manager บูรณาการในการทำงานร่วมกันระหว่างอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงสาธารณสุข ในการให้ความช่วยเหลือและการจัดการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มบทบาทในการทำงานแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และ ระดบคุณค่าของผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ ศูนย์การจัดสวัสดิการทางสังคม

. เพิ่มศักยภาพและทักษะในการดูแลให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุ โดยเสนอให้มีจัดทำหลักสูตรการอบรมโดยการทำงานร่วมกับสถาบันทางวิชาการ หรือ สถาบันวิจัย เช่น ภาควิชาการการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร๋ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ วิทยาลัยการพยาบาล มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เป็นต้น โดยเฉพาะ สถาบันวิชาการ หรือสถาบันวิจัยในระดับชุมชนหรือท้องถิ่น รวมทั้ง การจัดทำมาตรการเพื่อสนับสนุนด้านงบประมาณสำหรับเป็นค่าตอบแทนอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

. เพิ่มขีดความสามารถให้กับชุมชนและเจ้าหน้าที่ในการบริหารจัดการโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยจัดระบบการสนับสนุนโดยรูปแบบของการมีส่วนร่วมของชุมชน อีกทั้ง ระบบการสนับสนุนด้านงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ จำเป็นต้องมีการจัดทำกฎหมายระดับท้องถิ่นเพื่อรองรับการสนับสนุนด้านงบประมาณในการดำเนินการกิจกรรมหรือโครงการในการจัดการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุในชุมชน อีกทั้ง การจัดอบรมและจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสำเร็จของการทำงานองแต่ละชุมชน โดยเสนอให้เริ่มต้นจากกรณีศึกษาตัวอย่างตามรายงานการศึกษาเป็นตัวอย่างนำร่องของการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

. จัดทำระบบฐานข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุในรูปแบบของระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เสนอให้ ดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลภาคประชาชนในการจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนซึ่งมีการดำเนินการจัดเก็บข้อมูลโดย อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส) และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) โดยพัฒนาให้เป็นระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำไปใช้ในการสังเคราะห์ และ จัดทำแผนการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของผู้สูงอายุในแต่ละชุมชน

() ข้อเสนอในการทำงานระยะกลาง

. สร้างความตระหนักในคุณค่าของผู้สูงอายุ ความตระหนักในการดูแลตนเอง ให้ครอบครัวตระหนักในการดูแลผู้สูงอายุ และ ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ โดยเสนอให้มีการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานหรือองค์กรด้านสื่อสารสาธารณะ สื่อมวลชนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งในระดับการดูแลโดยครอบครัว และการดูแลโดยชุมชน รวมทั้ง การพัฒนาต่อยอดการทำงานคลังปัญญาผู้สูงอายุไทย ให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงรูปธรรม

. จัดทำแผนชุมชนในการดูแล ช่วยเหลือ และพัฒนาผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม โดยเสนอให้จัดทำกฎหมายระดับท้องถิ่น เพื่อรองรับการดำเนินการจัดทำแผนชุมชนในการจัดการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เสนอให้มีการดำเนินการโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ร่วมกับ หน่วยงานหรือองค์กรที่มีการดำเนินการด้านการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในทั้ง ๔ ด้านในแต่ละชุมชน เช่น ศูนย์พัฒนาคุณภาพชิวิตและพัฒนาอาชีพผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ชมรมผู้สูงอายุ สถาบันวิชาการในแต่ละชุมชน โครงการคลังปัญญาผู้สูงอายุไทย

. จัดทำ และ เชื่อมต่อ ระบบฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการ ประเมินผล และ วางแผนในเชิงยุทธศาสตร์ โดยพัฒนาระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และ ดำเนินการเชื่อมต่อฐานข้อมูลจากฐานข้อมูลภาครัฐ และ ฐานข้อมูลภาคประชาชนทั้งในด้านสุขภาพ โดยเฉพาะฐานข้อมูลการสำรวจของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ และ อาสาสมัครสาธารณะประจำหมู่บ้าน ข้อมูลด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยดำเนินการร่วมกับ (๑) กรมส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้รับผิดชอบดูแลฐานข้อมูลการจ่ายเงินเบี้ยผู้สูงอายุ (๒) สำนักทะเบียนราษฎร กระทรวงมหาดไทย (๓) ฐานข้อมูลภาคประชาชนต้นแบบ จาก สสส โดยพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูล และระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของข้อมูลด้านสุขภาพผู้สูงอายุภายใต้ความรับผิดชอบของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ และ อาสาสมัคร


() ข้อเสนอในการทำงานระยะยาว

. พัฒนาและกำหนดเกณฑ์การประเมินผลด้านการจัดการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยกำหนดเป้าหมายของการพัฒนา โดยเฉพาะการปรับปรุงตัวชี้วัดข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ในตัวชี้วัดที่ ๒๘ คนสูงอายุได้รับการดูแลจากคนในครัวเรือน ชุมชน หรือ ภาครัฐ 1 โดยในการเพิ่มเติมตัวชี้วัดในการประเมินผลการทำงานในเชิงประสิทธิภาพ และ อัตราความก้าวหน้าของคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และ อัตราความก้าวหน้าในการเข้าถึงและรับบริการของผู้สูงอายุ สัดส่วนการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

. การพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการบริหารจัดการโครงการและการบริหารจัดการด้านการขอรับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากกองทุนและความร่วมมือกับภาคเอกชนในฐานะหุ้นส่วนทางสังคม โดยเสนอให้มีการจัดทำกฎหมาย และ มาตรการการสนับสนุนทั้งที่อยู่ในรูปแบบของการสนับสนุนด้วยเงินทุน และ การสนับสนุนโดยใช้มาตราการทางภาษีเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับภาคเอกชนในการสนับสนุนด้านงบประมาณในการดำเนินการในโครงการหรือกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกำหนดมาตรการในการประเมินผลการทำงานของหน่วยงานรัฐวิสหากิจโดยกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินผลการทำงานของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีการสนับสนุนหรือส่งเสริมการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมในการพัฒนาหรือสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและอาชีพให้กับผู้สูงอายุในชุมชน เช่น การยกระดับการประกอบการเพื่อสังคมของสินค้าของผู้สูงอายุในชุมชน เป็นต้น

. การพัฒนากฎหมายระดับท้องถิ่นรองรับการดำเนินการในรูปแบบของโรงเรียนผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชน เพื่อให้เกิดเสถียรภาพ ความคล่องตัวในการดำเนินการ การบริหารจัดการด้านงบประมาณโยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการดำเนินการของ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและอาชีพผู้สูงอายุ รวมทั้ง โรงเรียนผู้สูงอายุ เสนอให้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการร่วมกับกรมส่งเสริมองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในเพื่อพัฒนากฎหมายที่มีผลต่อกากำหนดและรับรองสถานะทางกฎหมายของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและอาชีพผู้สูงอายุ รวมทั้ง โรงเรียนผู้สูงอายุ

. การเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ให้กับผู้สูงอายุในระยะยาว โดยเสนอให้มีการดำเนินการ

.. ประเมินสถานการณ์ความพร้อมและความครอบคลุมในการจัดทำมาตรการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในทั้ง ๔ มิติ กล่าวคือ (๑) การดูแลคุณภาพชีวิตในประเด็นด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ หรือ มิติด้านสุขภาพผู้สูงอายุ (๒) การดูแลคุณภาพชีวิตใประเด็นด้านการให้ความช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย หรือมิติด้านสังคม และคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ (๓) มิติด้านคุณค่า การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุและ (๔) การสร้างหลักประกันรายได้ และ การพัฒนาอาชีพผู้สูงอายุ หรือ มิติด้านเศรษฐกิจและรายได้ของผู้สูงอายุ เพื่อประเมินถึงความสมดุลย์ของมาตรการในการจัดการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุ โดยเสนอให้มีการดำเนินการร่วมกับ สถาบันวิจัยหรือสถาบันทางวิชาการในการประเมินสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนการดำเนินการที่ครอบคลุมการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุ และ ผู้ที่กำลังจะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ อีกทั้ง เสนอให้มีการดำเนินการร่วมกับกระทรวงแรงงานและกระทรวงการคลัง ในการดำเนินการเพื่อรองรับมาตรการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในมิติด้านเศรษฐกิจและรายได้ให้กับผู้สูงอายุ ซึ่งต้องเน้นการพัฒนาอาชีพจากภูมิปัญญาของผู้สูงอายุในแต่ละท้องถิ่นเป็นหลัก

.. ประเมินถึงความพร้อมในการจัดทำมาตรการเพื่อรองรับการปฎิรูประบบการดูแลผู้สูงอายุในด้านสังคม คุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเด็นด้านที่อยู่อาศัย โดยเสนอให้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดำเนินการร่วมกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุข ชมรมผู้สูงอายุ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระดับความสุข คุณค่าชีวิตของผู้สูงอายุในกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักคนชรา ศูนย์การจัดสวัสดิการทางสังคม หรือ สถานสงเคราะห์ รวมทั้ง การจัดทำมาตรการเพื่อรองรับการสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุในบ้านพักคนชรา ศูนย์การจัดสวัสดิการทางสังคม หรือ สถานสงเคราะห์

1ความหมายตัวชี้วัดที่ ๒๘ คนสูงอายุได่รับการดูแลจากคนในครัวเรือน ชุมชน หรือ ภาครัฐ หมายถึง คนสูงอายุทุกคนได้รับการดูแล เอาใจใส่ในชีวิตความเป็นอยู่ ด้านอาหารการกิน เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และ ได้รับการดูแลเมื่อยามเจ็บไข้ได้ป่วย การดูแลด้านสภาพจิตใตจากคนในครัวเรือน หรือ หมู่บ้าน/ชุมชน รวมทั้ง การได้รับสวัสดิการชุมชนหรือเบี้ยยังชีพจากภาครัฐ


อ่านต่อ

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603290เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2016 18:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2016 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท