​การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่แนวทางพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและกีฬาแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการ กลุ่มท่องเที่ยวมหัศจรรย์สองสมุทร


การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่แนวทางพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและกีฬาแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการ ประกอบด้วยกระบวนการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการใน 2 ส่วน

บุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวและกีฬาในพื้นที่ดำเนินการ 5 คลัสเตอร์ ใช้ระยะเวลา

คลัสเตอร์ละ3 วัน 2 คืน รวม 5 คลัสเตอร์จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 200 คน ประกอบด้วย

(1) กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาและภาคเหนือ จำนวน 40 คน

วันที่ 25-27 กุมภาพันธ์ 2558 ณ โรงแรมเทวราช จังหวัดน่าน

ติดตามอ่านได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/586768

(2) กลุ่มท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง จำนวน 40 คน

วันที่ 11-13 มีนาคม 2558 ณ โรงแรมเชียงคาน ริเวอร์ เมาท์เท่น รีสอร์ท จังหวัดเลย

ติดตามอ่านได้ที่: http://www.gotoknow.org/posts/587212

(3) กลุ่มท่องเที่ยวมรดกโลกเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จำนวน 40 คน

วันที่ 23- 25 มีนาคม 2558 ณ โรงแรมสุโขทัยเทรเชอร์ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดสุโขทัย

ติดตามอ่านได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/587700

(4) กลุ่มท่องเที่ยวมหัศจรรย์สองสมุทร จำนวน 40 คน

วันที่ 6-8 พฤษภาคม 2558 ณ โรงแรมภูงา จังหวัดพังงา

(5) กลุ่มท่องเที่ยว Active Beach จำนวน 40 คน

วันที่ 13-15 พฤษภาคม 2558 ณ บ้านปู รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดตราด



หมายเลขบันทึก: 589759เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2015 23:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2015 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

คำกล่าวเปิดงาน โดย นายประยูร รัตนเสนีย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา

วันที่ 6 พฤษภาคม 2558

ณ โรงแรมภูงา จังหวัดพังงา

เรียน เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผศ.ชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ

คุณแสงจันทร์ แก้วประทุมรัสมี ผู้แทนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด

ผู้แทนทุกภาคส่วนได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชนและภาควิชาการ ภาคการท่องเที่ยวชุมชนจาก 12 จังหวัด

และ

ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน

จังหวัดพังงาโชคดีที่ได้รับเลือกให้เป็นพื้นที่จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่แนวทางพัฒนาด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและกีฬาแบบมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการ กลุ่มท่องเที่ยวมหัศจรรย์สองสมุทร

ในครั้งนี้ พวกเราก็โชคดีที่ได้รับการแลกเปลี่ยนความรู้จากศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมได้ยินชื่อเสียงและผลงานท่านมานานทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติด้วย ท่านจะมาแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ให้แก่พวกเราหลายๆเรื่อง ท่านทำโครงการมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2555 ต่อเนื่องมาในปี 2556, 2557 และ 2558 คงมีการตกผลึกมากมายและน่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่าน

แต่ละจังหวัดมีของดีแตกต่างกัน จังหวัดพังงาก็มีของดีมาก ท่องเที่ยวชุมชนหลายแห่งอยากเสริมสร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชน นี่เป็นเป้าหมายของท่องเที่ยวและกีฬา

วันนี้ได้รับข่าวว่ามีแผ่นดินไหวที่พังงา ไม่ทราบว่าโคกไครจะมีคำตอบอย่างไร อาจจะต้องมาช่วยกันแก้ปัญหาเหล่านี้ อาจจะเป็นจุดอ่อนหรือจุดแข็งในการดำเนินการท่องเที่ยวชุมชน ก็ต้องมีคำตอบที่สร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวที่จะมา อาจจะเป็นจุดแข็ง มีโคลนขึ้นมา เกิดเหตุวันนี้ก็ไม่มีอะไรเสียหาย ยุคนี้ มีเทคโนโลยีมากมายจะใช้ในการสื่อสารกับประชาชนได้ทันท่วงที โลกเราทุกวันนี้ ก็ต้องอยู่กับธรรมชาติ มีโอกาสเกิดเหตุต่างๆทั้งนั้น ความพร้อมสำคัญ

แต่ละจังหวัดมีของดี ต้องสามารถทำให้คนรับรู้แล้วมาเยือน มันเกี่ยวกับการสร้างมูลค่า แบรนด์ ความรู้ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มีคำตอบ ท่านเสริมสร้างทุนมนุษย์

ทุกท่านมีความรอบรู้จากประสบการณ์จริงมาแลกเปลี่ยน อาจารย์ท่านมีความรู้ในหลายพื้นที่ ก็สามารถนำมาเชื่อมโยงกันทั้งสองสมุทร

เมื่อวานนี้ มีนักข่าว BBC โทรมา ผมก็พยายามอธิบายเหตุการณ์เป็นภาษาอังกฤษก็เกี่ยวข้องกับการที่จะเข้าประชาคมอาเซียนในอีกไม่กี่เดือน เรามีความพร้อมเรื่องเหล่านี้มากแค่ไหน

ขอบคุณเลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผศ.ชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ และกระทรวงท่องเที่ยวที่ได้สนับสนุนในโอกาสนี้ คงจะต้องเป็นเครือข่ายพัฒนาท่องเที่ยวกีฬาในอนาคต

สุดท้ายนี้ ผมขออวยพรให้กิจกรรมนี้ ดำเนินการไปจนประสบความสำเร็จทุกคนและขอให้ทุกท่านมีความสุขตลอดระยะเวลาที่ได้อยู่ในจังหวัดพังงาและทางจังหวัดพังงาหวังว่าจะได้มีโอกาสที่จะต้อนรับทุกท่านอีก และผมใคร่ขอเปิดงาน ณ บัดนี้

ขอบคุณครับ

วันที่ 6 พฤษภาคม 2558

ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาด้านการบริหารจัดการเชิงบูรณาการเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน

โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

เรามาที่นี่มีวัตถุประสงค์ร่วมกันคือร่วมกันพัฒนาเครือข่าย เรามี 4 กลุ่ม

1.นักวิชาการ เช่นจาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาจารย์จีระ ซึ่งเคยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อยากให้นักวิชาการมารับรู้ความจริงจะได้มาช่วยได้

2.ผู้นำท้องถิ่น อบต. เทศมนตรี บทบาทมาก ถ้าทำงานร่วมกับภาควิชาการด้วยก็ดี

3.ข้าราชการ กระทรวงท่องเที่ยว ททท.

4.นักธุรกิจ

หน้าที่เราคือจับมือร่วมกัน

สิ่งสำคัญคือ เครือข่าย สมรรถนะศักยภาพของคน และความยั่งยืน

ปีนี้อยากให้จังหวัดเล็กร่วมกับจังหวัดใหญ่ ทำให้เข้าสู่อาเซียนได้ดี

โจทย์สำคัญ Workshop คือ คิดโครงการต่างๆ ทำอย่างไรจึงจะมีโครงการใหม่ๆ ร่วมมือกับต่างประเทศและ Cluster อื่นในประเทศ

เราจะมีโครงการเพิ่มสมรรถนะเรื่องพัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง

มีโครงการการตลาดด้วย

เราจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

ท่านผู้ว่ามาเปิด ถือว่าเป็นการเปิดสวย

ส่วนมากผู้ว่าให้เกียรติ บางทีก็ส่งรองมาเปิด

จะมาหารือเรื่องท่องเที่ยวและกีฬา

อยากให้ศึกษาความเป็นไปได้ในแต่ละโครงการ

ควรมองโอกาสในการเข้าสู่อาเซียน จะหารือว่าท่องเที่ยวที่มีประโยชน์ในการเข้าอาเซียนจะเป็นอย่างไร

ผู้ช่วยปลัดจะมากล่าวต้อนรับอีก

อยากให้ทุกท่านมาร่วม Welcome Dinner ด้วย

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

น่าสนใจมากที่เครือข่ายหลายท่านได้รับเชิญมา ท่านจะเป็นเครือข่ายเดียวกันร่วมกันทำงาน

ท่านจะพูดถึงกระบวนการ

กระบวนการพูดถึงเรื่องกระบวนการองค์ความรู้ใหม่ๆมาเติมเต็ม

เป็นองค์ความรู้ดั้งเดิมทุกท่านมาปะทะทางปัญญา

มีวิธีการกระตุ้นศักยภาพ

อาจารย์พูดเรื่องเครือข่าย อยู่ด้วยกัน อิสระ ควบคุมไม่ได้

ทุกท่านมาอยู่ในอีกระดับแล้ว ต้องพัฒนาเป็นผู้นำขับเคลื่อนเครือข่ายที่ไม่มีใครควบคุมได้

การเป็นผู้นำต้องมีบารมี ในการทำงานเครือข่าย ต้องมีความรู้ คุณธรรม

กระบวนการเป็นการพัฒนาผู้นำผลักดันเครือข่ายแล้วเชื่อมต่อเป็นทอดเชื่อมโยงอาเซียนได้

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

เรามีเครือข่าย

อยากให้ 4 กลุ่มไปสร้างศักยภาพ

เราต้องใส่ศักยภาพ

ละเอียดพูดเรื่องการเงิน การตลาด

ผมและคุณพิชญ์ภูรีพูดเรื่องทุนมนุษย์และภาวะผู้นำ

หลังจากวันนี้ถ้าท่านทำงานเพื่อสร้างศักยภาพ ยังจำเป็น ปีหน้ากลับมาทำต่อ

การพัฒนาคนต้องต่อเนื่อง

3V

V แรก คุณมีความรู้ แล้วมาร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้น

Value Creation ใน 4 กลุ่มต้องคิดสร้างโอกาสใหม่ๆ บางโครงการทำแล้วแต่ยังทำไม่สำเร็จ ขอให้เสนอมาว่าจะทำอะไร เรามีความคิดสร้างสรรค์ ต้องเปลี่ยนเป็นโครงการด้วยแล้วนำไปขับเคลื่อนในความเป็นจริง

Value Diversity คือความหลากหลาย มีนักวิชาการ ผู้นำท้องถิ่น นักธุรกิจ เป็นแนวร่วมกัน

3 cluster ที่ผ่านมาเราติดต่อกันตลอดมา

จะเลือกประธานรุ่นภาคใต้ ทำหน้าที่ขับเคลื่อนให้ความคิดแล้วเดินหน้าต่อไป

ผมมีความตั้งใจที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มทั้ง 3V

Value Diversity นำความคิดของแต่ละกลุ่มมาร่วมกันทำ

ผมและทีมมีหน้าที่ประสานงานกัน

เปิดเสรีอาเซียนต้องช่วยให้คนในโลกมาเที่ยวอาจมาทีละ 2 ประเทศ ทำโครงการร่วมกัน

โครงการที่เชียงราย ลาวและเวียดนามเขากำลังทำนำ 4 กลุ่มมาทำงานร่วมกัน จะไปเยี่ยมเขา

เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดเพราะเป็นการลงทุนด้วยปัญญา

การท่องเที่ยวไทยเป็นเครื่องยนต์ที่เหลือในเศรษฐกิจ รายได้มีแต่ขึ้น

เรามีนักท่องเที่ยว 26 ล้านคน

ประเทศอื่นมีนักท่องเที่ยวมาก แต่ไปในชุมชน

เราต้องทำให้ท่องเที่ยวชุมชนมูลค่าเพิ่มด้วย 3V ต้องทำงานเป็น เปี่ยมด้วยคุณธรรม จริยธรรม

ในวันพฤหัส มีการดูงาน ทำให้สนิทกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

ตอนบ่ายมีดูงานต่อ

ดร.ละเอียดบรรยายการตลาด

ผมจะพูดเรื่องผู้นำกับทุนมนุษย์

วันสุดท้าย เป็นการนำเสนอโครงการ จบด้วยการมีท่านพรหมโชติ

จบงานมีการแจกประกาศนียบัตร

ควรคุยกันทั้งในห้องและนอกห้อง

ความรู้เป็นสิ่งจำเป็น

ความคิดและวิธีการเรียนก็สำคัญ

ขงจื๊อบอกว่า ควรให้เบ็ดไปตกปลาเพื่อให้คนอิ่ม

เราต้องให้ความรู้และวิธีการเรียนรู้ แล้วนำไปปะทะความเป็นจริง

อยากให้ท่านคิดโครงการ

ขอให้ไปอ่านข้อสรุปของแต่ละ Cluster

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

เราแต่ละคนทำงานเก่งอยู่แล้ว แต่ควรมาทำร่วมกัน ทำให้ยั่งยืน

โครงการวันสุดท้ายเป็นการทำงานร่วมกัน จากสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน คิดหาวิธีการพัฒนาเครือข่าย

บารมี กระบวนการนำให้คนทำตาม สำคัญ

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

ความสำเร็จคือพวกเราทุกคนมีความรู้สึกร่วมกัน

ในแต่ละวันจะมีความรู้ร่วมกัน

ความรู้มาจากข้อเท็จจริง

ต้องรู้จักกันไว้ แม้ไม่ได้พบกันแล้วก็อาจจะเชื่อมโยงกัน

โครงการวันนี้อาจมีมูลค่าเป็นแสนล้าน

สิ่งที่จะทำต่อไปต้องมีความยั่งยืน

เรานำชุมชนมาเป็นแกนของการท่องเที่ยว คนในโลกจะมาหาความรู้ในชุมชนของท่าน

เราอาจจัดกีฬาก็ได้

ขอขอบคุณทุกท่าน

ผมจะเป็นตัวประสาน

การหาความรู้ที่ท่าน เราจะช่วยเติมเต็ม

ต้องช่วยให้การท่องเที่ยวและกีฬาเดินไปข้างหน้า

สิ่งที่เราหารือกันต้องตรงกับความจริง ต้องมาจากการปะทะกับความจริง

วันที่ 6 พฤษภาคม 2558

การอภิปรายเรื่อง "ท่องเที่ยวและกีฬากับแนวทางการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงสู่อาเซียน"

หัวข้อ เส้นทางวัฒนธรรมกับการสร้างเครือข่ายกลุ่มท่องเที่ยวมหัศจรรย์สองสมุทร

โดย นายภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์ หัวหน้ากลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 15 ภูเก็ต

โลกนี้กลม ผมพบอาจารย์จีระเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ในโครงการอบรมที่สุโขทัย ได้รับความรู้มาใช้ประโยชน์ในการทำงานแล้วย้ายมาภูเก็ต รับผิดชอบงานโบราณคดี

ที่จริงมีการติดต่อมานานแล้ว คนในแถบนี้มีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมมานานแล้ว มีการแบ่งประเทศภายหลัง

เรื่องวัฒนธรรมกว้างมาก

วิถีชีวิตคนรวมอดีตและปัจจุบัน

ปัจจุบันก็ได้แก่ Event ส่งเสริมการท่องเที่ยว

ในอดีตมีการติดต่อกันตั้งแต่ยุคหินเก่า นำมาเป็นการท่องเที่ยว

สิ่งสำคัญ เป็นการท่องเที่ยวเชิงการศึกษา และการท่องเที่ยวเชิงโบราณคดี

ตัวอย่าง หม้อ 3 ขา ในจีน เวียดนาม จีน มาเล กาญจนบุรี แสดงถึงการติดต่อตั้งแต่อดีต มีความเป็นอาเซียนมานานแล้ว

มีภาพเขียนสีริมทะเล มีหลายแห่ง คือ อ่าวลึก กระบี่ (ถ้ำผีหัวโต)

ก่อนยุคประวัติสาสตร์ ภาคเหนือและอีสานมีสร้อยหอยใช้ ก็ถือว่า มหัศจรรย์

การติดต่อในยุคประวัติศาสตร์

มีชุมชนริมทะเล

มีเส้นทางสายแพรไหม เชื่อมตะวันตก เช่นอิรัก อิหร่าน กับจีน

เส้นทางเครื่องเทศเป็นเส้นทางทะเล

มีเส้นทางข้ามคาบสมุทร เดิมอ้อมแหลมมลายู ต่อมามีเส้นทางตะกั่วป่าออกบ้านดอน มีโบราณคดี

คลองท่อมมีลูกปัดรูปหน้าคน แสดงถึงเป็นแหล่งผลิตลูกปัด

มีการพบภาชนะดินเผาลายฟันเฟืองคล้ายที่ผลิตที่เมืองท่าอินเดียโบราณ

อีกยุค มีเมืองโบราณทุ่งตึก พบโบราณวัตถุจากจีน สมัยรางวงศ์ถังตอนปลาย

มีภาชนะเปอร์เซียสีฟ้า มีลูกปัด แก้วนำเข้าจากต่างประเทศ

การติดต่อจากทุ่งตึกไปอ่าวพระดอน

มีเทวรูปนารายณ์ที่อำเภอกะปง

มีโบราณสถานควนพุนพิน เขาศรีวิชัย

นี่เป็นเส้นทางค้าคาบสมุทรโบราณ

การส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เคยทำงานที่สุโขทัย การส่งเสริมประชาสัมพันธ์ไม่ยาก แต่สำคัญคือต้องรักษาให้ยั่งยืน แต่ภาคใต้เป็นขนาดเล็ก ควรเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวในเส้นทางสายอื่นๆ

การพัฒนาอนุรักษ์ต้องทำให้ถูกต้องทางวิชาการ สร้างทดแทนไม่ได้

กรมศิลปากรเน้นอนุรักษ์เพื่อความยั่งยืน เมื่อมีความพร้อมจึงนำออกมาใช้

การส่งเสริมเรื่องลูกปัดโบราณ มีกฎหมายมาเกี่ยวข้อง ถ้าจัดประกวดลูกปัดโบราณ กำหนดแหล่งที่มา แต่ผลกระทบที่ตามมา มีกฎหมาย ต้องศึกษากฎหมายให้ดี

เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรก็ต้องชี้แจงให้เข้าใจ อาจมีจูงใจให้บริจาคลูกปัดโบราณ เช่นจัดทัวร์ตอบแทน

คำถาม

นครศรีธรรมราชมีพิพิธภัณฑ์ลูกปัดที่หาดทรายแก้ว อำเภอท่าศาลา ททท.แนะนำเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เจ้าของมีการขายด้วย จะมีผลอะไรบ้างในอนาคต จะมีกฎหมายแบบงาช้างไหม

ตอบ

ถ้าเป็นการคุยภายใน อาจไม่เป็นประเด็น แต่นี่เป็นหน่วยราชการจัดประกวด จึงไม่เหมาะสม

พิพิธภัณฑ์ลูกปัดที่หาดทรายแก้ว เอกชนครอบครองโบราณวัตถุได้แต่ต้องจดทะเบียน ต้องประสานที่พิพิธภัณฑ์ไชยา

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

การอภิปราย สามารถนำไปถกกันในกลุ่มได้

จากวิทยากร ควรคิดถึงเรื่อหม้อ 3 ขา เป็นของอาเซียนร่วมกัน สามารถมีการทำเลียนแบบเป็น OTOP นำลายบ้านเชียงไปทอผ้า

วิทยากรให้ความรู้วัฒนธรรม 2 สมุทร และสิ่งที่ควรอนุรักษ์

การท่องเที่ยวเชิงกีฬาสามารถนำไปเสริมในชุมชนได้

วิทยากรคนที่สองให้ความรู้ท่องเที่ยวเชิงกีฬาเชื่อมโยงสู่อาเซียน

หัวข้อ การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการท่องเที่ยวเชิงกีฬาเชื่อมโยงสู่อาเซียน

โดย นาวาเอกปารัช รัตนไชยพันธ์ รองเลขาธิการสมาคมเรือพายแห่งประเทศไทย

สามเสาหลักอาเซียน

เราคาบเกี่ยวกับ Socio Cultural Pillar

แผนหลักอาเซียนครอบคลุมกีฬาด้วย

อาเซียนทำให้ตลาดใหญ่ขึ้น สินค้าหลากหลาย ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น

ไทยมีโอกาสเป็นศูนย์กลางในเรื่องที่พร้อม

บริบทกีฬา

การทำงานกีฬาอาจไม่ยากเท่ากับการท่องเที่ยววัตถุโบราณ

แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2555-2555-2559) ได้มุ่งหวังให้คนไทยได้รับการส่งเสริมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างถูกต้องจนเป็นวิถีชีวิต มีสุขภาพและสมรรถภาพที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีน้ำใจนักกีฬาเพื่อหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวสู่ความสามัคคีและสมานฉันท์ มีการบริหารจัดการกีฬาทุกมิติอย่างเป็นระบบ โดยใช้วิทยาศาสตร์การกีฬาพัฒนาศักยภาพนักกีฬาสู่ความเป็นเลิศอย่างมีมาตรฐานระดับสากล รวมทั้งให้การกีฬาเป็นแหล่งสร้างรายได้ สร้างอาชีพและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศควบคู่กันไป"

กีฬามี 4 เสาหลักคือ

กีฬาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียน

กีฬาเพื่อมวลชน นันทนาการ

กีฬาเป็นเลิศ มุ่งสร้างชื่อเสียงให้ประเทศ เป็นการตลาดแบบหนึ่ง

กีฬาอาชีพ ไทยค่อนข้างล้าหลัง ค่อยๆเริ่ม ตอนนี้มีแต่ 11-12 ชนิดกีฬา

มิติพัฒนากีฬา

เราสามารถใช้กีฬาพัฒนาสังคม ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เราใช้พัฒนาเยาวชน

บริบทกีฬาในประเทศไทย

คนไทยยังสนใจด้านกีฬายังน้อย เติบโตอย่างช้าๆ

คนไทยเริ่มสนใจสุขภาพ กีฬาเป็นเครื่องมือ

การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ

การตื่นตัวออกกำลัง ตอนนี้ตื่นตัวเรื่องจักรยาน จะเกาะกระแสนี้อย่างไร

บริบทกีฬาในอาเซียนก็ละเลยไม่ได้ ต้องดูความนิยม สภาพสังคมเอื้อมากเท่าไร กีฬาอะไรที่เหมาะกับคนอาเซียน

โอกาสการสร้างมูลค่าเพิ่มจากกีฬาต้องเลือกว่าจะทำอะไรให้ชุมชน เลือกตามความเหมาะสมกับอุปนิสัยของคนแถวนี้

กีฬาที่เราเล่นในปัจจุบันล้วนเกิดจากการละเล่นพื้นบ้าน เมื่อเป็นที่นิยมจึงกลายเป็นกีฬาสากล

ต้องดูภูมิประเทศและลักษณะการเป็นท้องถิ่น

กลุ่มเป้าหมาย

ในอาเซียนเรามีพันธะกรณีที่ต้องรับมาทำ นี่คือการเป็นอาเซียน

ควรมองไปลูกค้าภูมิภาคอื่นๆด้วย

คนยุโรปอาจสนใจกีฬากลางแจ้งเพราะประเทศของเขาหนาว อาจเชิญชวนมาขี่จักรยานที่ไทย

เรื่องมวยไทยโลก ต่างชาติสนใจ เพราะใช้ทุกส่วนต่อสู้ ค่ายมวยไทยก็มี event ให้คนฝึก

กีฬาสนุกสนานตื่นเต้นท้าทาย

จุดขาย

แต่ละท้องถิ่นมีอะไรเป็นจุดขายมาสร้างเป็นกีฬาได้

บุคลากร

ต้องมีผู้รู้ มีเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ ต้องทำให้คนรู้สึกว่ากีฬาไม่ใช่เรื่องยาก

Sport Event

สิ่งอำนวยความสะดวก

การบริหารจัดการ

บุคลากร

ที่ผมทำตอนปี 2550 ที่นครนายก ประเทศไทยได้รับการคัดเลือกให้จัดแข่งขันเรือแคนูล่องแก่งคัดเลือกไปโอลิมปิก เราไปหารือกับผู้ว่า มีวิสัยทัศน์คือกีฬาผจญภัย ของบอบจ.ทำ โครงการนี้ ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจ ทำให้ธุรกิจล่องแก่งยั่งยืน

ผมอยากให้ Asian Beach Games ขายประเทศไทย เรือพายได้ประโยชน์ ที่บาหลีมีแข่งเรือมังกร ส่วนไทยก็มีแข่งเรือสี่พยัคฆ์ ประชาสัมพันธ์ภาคใต้ประเทศไทยในฐานะสถานที่ที่ดีที่สุดในโลกสำหรับแข่งเรือ

พ.ร.บ. การกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นกฎหมายที่ต้องทำตาม

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

กีฬาต้องทำให้ง่าย สนุก ปลอดภัย

ท่านให้เทคนิคการสร้างความประทับใจ แล้วสร้างเป็นการท่องเที่ยวเชิงกีฬา

นักกีฬาเยาวชนภาคใต้ที่ไปฝึกที่อังกฤษเอาชนะคนโตกว่า โครงการนี้ส่งเสริมให้มีโอกาสแล้วจำประเทศอังกฤษ

ตอนไปจัดโครงการ pre-planning ภูเก็ต มีการพูดเรื่องมวยไทยไชยาสอดคล้องกับปัญจะสีลัด มวยไทยไชยามีการรุกไม่ให้คู่ต่อสู้เข้ามาได้ ควรพัฒนาต่อไป เมื่อมีค่ายมวย ก็ต้องมีที่พัก อาหาร แล้วเชื่อมโยงไปให้ชาวต่างประเทศมา

กีฬาต้องมองเรื่องความปลอดภัย ต้องมีคนนำเกม

กีฬาสามารถเพิ่มอาชีพต่างๆ ลงไปยังชุมชนและวัฒนธรรมได้

หัวข้อ การสร้างมูลค่าเพิ่มเส้นทางท่องเที่ยวกลุ่มมหัศจรรย์สองสมุทร

โดย นายเฉลิมชาติ เจนเจนประเสริฐ ตัวแทนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา

การเพิ่มมูลค่าให้เส้นทางการท่องเที่ยวไม่ยากแต่เรามักมองข้าม

ทำธุรกิจท่องเที่ยวเขาหลักมา 18 ปี ต่อมาคู่แข่งเข้ามามีการตัดราคา ต้องการนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเพื่อให้ธุรกิจอยู่ได้

เราไม่ลดราคาแข่งกับเขา

เขาหลักมีเวลาทำธุรกิจ 4 เดือนคือ high season

เขามาเที่ยวสิมิลัน อุทยานสุรินทร์ แต่เขาหลักเป็นที่พัก

ผมมีสโลแกน Small group More time เปลี่ยนเวลาในการท่องเที่ยว บอกให้นักท่องเที่ยวมาเช้ามาดูพระอาทิตย์ขึ้น ถ่ายรูปกับธรรมชาติ มีกลุ่มบ่ายมาดูพระอาทิตย์ตก ได้ราคาเดิม รับนักท่องเที่ยวจำกัด

เราสื่อสารสิ่งที่เขาจะได้ จ่ายมากกว่า ได้มากกว่า

ความประทับใจสำคัญ

สิมิลันขายปกติ 1800-1900 บาท เราขาย 2900-3000 บาท เรือเรารับเต็มที่ 30 คน นักท่องเที่ยวเราไปเช้ากว่ากลุ่มอื่น หาดยังไม่มีรอยเท้าใคร นี่คือจุดขาย

ผู้ประกอบการต้องได้รับการอบรม อยากให้เชิญผู้ประกอบการให้มากที่สุด

นักท่องเที่ยวยินดีจ่าย แต่ไม่รู้คุณภาพผู้ประกอบการ

ต้องจัดการคนและระบบ เราอบรมพนักงานในช่วง low season เรื่องภาษา เรามีลูกค้าสแกนดิเนเวีย เยอรมนี ครอบครัว ผู้สูงอายุและเด็กไม่พูดภาษาอังกฤษ มีการจ้างครูมาสอนภาษาเยอรมัน สำรวจเส้นทางใหม่ในช่วง low season นำมาขายในช่วงที่เหมาะสม

ผู้ประกอบการต้องสร้างแบรนด์ก่อนแล้วนักท่องเที่ยวจะมาหาเรา

ถ้านักท่องเที่ยวประทับใจ เขาก็จะเขียนใน trip advisor

ต้องรักษาแบรนด์ให้ได้ด้วย

ต้องหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆแต่ไม่จำเป็นต้องรีบขาย เช่น The Little Amazon ที่ตะกั่วป่า เป็นป่าไทร 200 ปี มีสัตว์มาก กลับมาวางแผน ทดลองพานักท่องเที่ยวไป เขาชอบมาก แต่ท่าเรือเป็นของเอกชน ขออนุญาตใช้ ชาวบ้านไม่รู้ว่าคือความงาม ผมเรียกว่า The Lost Zone ผมส่งนักท่องเที่ยวให้ชุมชนและได้ค่าหัวคิว มีการช่วยอนุรักษ์ ปัญหาคนอยากไปทำแต่ชุมชนกีดกัน

ตะกั่วป่าเป็นเมืองเก่า ผู้ประกอบการใหม่ๆไม่เข้าใจประวัติศาสตร์จึงทำทัวร์ตะกั่วป่าไม่ได้

ตะกั่วป่าเป็นเส้นทางสายเครื่องเทศ หลายพันปี พ้องเสียงกับตะโกละ คือคำว่าเครื่องเทศของอินเดีย

แหล่งท่องเที่ยวจะมีมูลค่าเพิ่มต้องมีประวัติศาสตร์อ้างอิง ทำให้ผมทำทัวร์ตะกั่วป่าได้คนเดียว

ต้องให้ความรู้แก่ทีมงานเพื่อให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว

เราโยงการท่องเที่ยวสองสมุทร มีการติดต่อค้าขายกับผู้ประกอบการอันดามัน ส่งแขกให้เพื่อน เพื่อนส่งแขกกลับมาให้เรา นี่คือความสำคัญของเครือข่าย

เรามีกิจกรรมแรลลี่สองสมุทร เช่นขนอม-สุราษฎร์ธานี-กระบี่

สื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้เรา เช่น Trip Advisor, Application ควรศึกษาและเข้าถึง Application

โครงการคาร์บอนเครดิต พังงามะรรมชาติสมบูรณ์ อากาศบริสุทธิ์ จึงเป็นแหล่งผลิตออกซิเจนทีใหญ่ท่สุดของประเทศ การบินไทยผลิตคาร์บอนไดออกไซต์ จึงเชิญชวนให้มาทำ CSR ที่พังงา โดยผู้ว่าหานักวิชาการมาทำวิจัยปริมาณคาร์บอนที่เขาสร้าง ให้เขามาปลูกป่า แล้วจะได้คาร์บอนเครดิต และประกาศนียบัตร นำไปโฆษณาได้

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

จากกรณีศึกษาของท่าน

คนที่สร้างมูลค่าเพิ่มต้องกล้าฝ่าฟัน หาแนวทางใหม่ๆ

หาจุดขายใหม่ ทำกลุ่มเล็ก มีเวลามากขึ้น

เน้นความประทับใจ จัดนักท่องเที่ยวเป็นหลายกลุ่ม สามารถนำไปเชื่อมโยงนำไปใช้ได้

วิธีใหม่เป็นการสร้างแบรนด์

ต้องพัฒนาคน ภาษา บริการ

ประสบความสำเร็จแล้ว ค้นพบสิ่งใหม่

ต้องมีประวัติศาสตร์เรื่องราวประกอบ ชาวยุโรปเป็นนักสืบค้น จะชอบมาก

เรื่องสื่อเป็นสิ่งสำคัญ ทำเรื่องที่ดีแล้วสื่อจะให้ความสำคัญ

หัวข้อ การท่องเที่ยวและกีฬาแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการ

กรณีศึกษาการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน

โครงการเกาะบูโหลน จังหวัดสตูล

โดย รศ.ดร.ปาริชาติ วิสุทธิสมาจารย์

อาจารย์ประจำ คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

สตูลเป็นพื้นที่สันติภาพในชายแดนภาคใต้

ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาคนปัจจุบันเคยเป็นรองผู้ว่าสตูลเปิดโครงการมัคคุเทศก์น้อย

"โครงการพัฒนาเกาะบุโหลนตามพระราชดำริ"

กระบวนการทำงานร่วมกับชุมชน

กิจกรรมย่อยที่ 1 จัดเวทีชุมชนเพื่อเปิดตัวโครงการฯ

แนะนำวัตถุประสงค์โครงการพร้อมทำความรู้จักกับชุมชน

จัดสนทนากลุ่มเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน และผู้ประกอบการในชุมชน เพื่อรับทราบ สาเหตุ ปัญหา และความต้องการ ร่วมถึงความพร้อมในการที่จะพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

กิจกรรมย่อยที่ 2 สำรวจสภาพพื้นที่เบื้องต้น

เดินสำรวจสภาพพื้นที่ชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวโดยสังเขป (เกาะบุโหลนเลและเกาะบุโหลนดอน)

ศึกษาสภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานชุมชนรวมถึงแหล่งท่องเที่ยวเบื้องต้น โดยใช้แบบสอบถามปลายเปิดและจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม จากผู้รู้ในชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง

กิจกรรมย่อยที่ 3 สำรวจและประเมินศักยภาพทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยว

จัดอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์ท้องถิ่นทางทะเล โดยร่วมวิทยาลัยชุมชนสตูลและอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ผู้เข้ารับการฝึกอบรม 54 คน จำนวน 40 ชั่วโมง

เนื้อหาหลักสูตรประกอบด้วย

ชุมชนท้องถิ่น วัฒนธรรม และวิถีการดำรงชีวิต

ความรู้เบื้องต้นด้านการท่องเที่ยว และ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

การปฏิบัติงานมัคคุเทศก์ท้องถิ่น

การอนุรักษ์ทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวทางทะเล

สำรวจทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มเติมในพื้นที่เกาะบุโหลนเล บุโหลนดอน บุโหลนไม้ไผ่และทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วมจาก key information

ประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวโดยใช้ แบบประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ Ecotourism Potential Spectrum (EPS) (จิตศักดิ์ พุฒจร, 2546)

อาศัยกระบวนการกลุ่มจากการอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในการระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมที่มีอยู่ในชุมชน

ผลผลิต

กิจกรรมย่อยที่ 1

ชุมชนรับรู้และมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์และแนวทางในการดำเนินงานของโครงการ

ชุมชนมีความต้องการให้มีการอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์ท้องถิ่น และมีการจัดตั้งชมรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ชุมชนบุโหลนดอนมีความต้องการให้มีการจัดอบรม Homestay

กิจกรรมย่อยที่ 2-3

ฐานข้อมูลสภาพทั่วไปของพื้นที่ ทรัพยากรการท่องเที่ยว รวมถึงกิจกรรมท่องเที่ยวที่สามารถทำได้ในพื้นที่ เกาะบุโหลนเล เกาะบุโหลนดอนและเกาะบุโหลนไม้ไผ่

ฐานข้อมูลการประเมินศักยภาพด้านพื้นที่เชิงนิเวศ ศักยภาพด้านการจัดการ ศักยภาพด้านกิจกรรมและการเรียนรู้ และศักยภาพด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน

โปรแกรมท่องเที่ยว 3 โปรแกรม จากการระดมความคิดเห็นของชุมชน

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ทักษะ ต่าง ๆ ตามเนื้อหาหลักสูตรที่ได้อบรม

ผลการอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์ท้องถิ่นทางทะเล

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ทักษะ ต่าง ๆ ดังนี้

การถ่ายทอดความรู้ ผู้สืบสานวิถีการดำรงชีวิต วัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น ชาวเล

เป็นผู้เฝ้าระวัง การปฏิบัติตามกฎระเบียบการใช้พื้นที่ในท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

การปฏิบัติงานมัคคุเทศก์ท้องถิ่นทางทะเล

จัดกิจกรรมบริหารจัดการท่องเที่ยวในชุมชน วางแผน แก้ไขปัญหา พัฒนาชุมชน ไปสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แบบยั่งยืน

จัดกิจกรรมเฝ้าระวังและป้องกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล

ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า หลักสูตรมัคคุเทศก์ท้องถิ่นทางทะเล เป็นหลักสูตรที่เกิดจากความต้องการของชุมชน ที่ต้องการสร้างให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง จากการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นในการดำรงชีวิต และ รวมทั้งอาชีพมัคคุเทศก์เป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ดังนั้นถ้าบุคลากรในชุมชนได้มีการส่งเสริมและพัฒนา ให้มีความรู้ ทักษะ ด้านการประกอบอาชีพเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ก็จะช่วยสร้างรายได้ภายในชุมชนให้เพิ่มมากขึ้น และ ยังเป็นกำลังสำคัญอย่างมาก ในการเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติ ที่เอื้อประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวให้อยู่แบบยั่งยืน และ เป็นการลดปัญหาการย้ายถิ่นของเยาวชนในการเข้าสู่สังคมเมือง ให้หันกลับเข้ามาประกอบอาชีพในชุมชนให้เพิ่มมากขึ้น

ปัญหาและอุปสรรคในการลงพื้นที่

การเดินทางใช้ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง

แกนนำบางคนยังให้ข้อมูลที่ไม่ชัดเจน และบางกลุ่มไม่เข้าร่วมกิจกรรม

สภาพอากาศและฤดูกาลไม่เอื้อต่อการเดินทางสำรวจเก็บข้อมูลและเมินศักยภาพในบางพื้นที่

ปัญหาในพื้นที่ชุมชน

ปัญหาการจัดการขยะในชุมชนยังขาดประสิทธิภาพ ส่งผลต่อคุณค่าความสวยงามของแห่งท่องเที่ยว จำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ชุมชน

ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชุมชนที่มีมาแต่อดีต ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในปัจจุบัน

ที่ดินส่วนใหญ่ของเกาะบุโหลนเล และเกาะบุโหลนดอนบางส่วน ถูกขายให้นายทุนภายนอก

การบังคับใช้กฎหมายของอุทยานก่อให้เกิดความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์พื้นที่

กิจกรรมที่กำลังดำเนินการอยู่

สำรวจและประเมินศักยภาพจุดดำน้ำ

จัดอบรม Homestay ใช้ชุมชนเกาะบุโหลนดอน โดยร่วมกับวิทยาลัยชุมชนสตูลและอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา

จดทะเบียนชมรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจท่องเที่ยวให้กับชุมชนและออกบัตรเจ้าหน้าที่นำเที่ยวใช้กับผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์ท้องถิ่นทางทะเล

จัดเวทีคืนข้อมูล นำเสนอข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

ทอดลองนำเที่ยวตามโปรแกรมที่ชุมชนจัดทำขึ้น (โดยผู้ประกอบการบริษัททัวร์ในพื้นที่) รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้ทอดลองเที่ยว

นำข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูล ประมวลผลข้อมูล จัดทำรายงานการวิจัย

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ท่านเน้นการทำให้เครือข่ายเชื่อมโยงและพัฒนาได้ ให้เกิดประโยชน์สุข

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม 2558

การบรรยายพิเศษหัวข้อ "กลยุทธ์การตลาดสร้างมูลค่าเพิ่มการท่องเที่ยวและกีฬาไทยก้าวไกลสู่อาเซียน"

โดย ดร.ละเอียด ศิลาน้อย

กิจกรรม ตอบคำถามต่อไปนี้

1.ถ้าเดินทางเข้าไปในป่าไปเอาสมบัติ มี ประตูช้าง วัว เสือ งู จะเลือกเข้าประตูไหน

เฉลย ข้อนี้เป็นการค้นหาสมรรถนะในการหาเงิน ถ้าเลือกประตูช้าง หาเงินได้มาก งูได้น้อยสุดตามลำดับ

2.เลือกทางออกจากป่าด้วยประตูไหน ระหว่าง ประตูช้าง วัว เสือ งู

เฉลย ข้อนี้เป็นการค้นหาพฤติกรรมการใช้จ่าย เลือกประตูช้าง ใช้จ่ายมาก งูจ่ายน้อยสุดตามลำดับ

3.เมื่อนำสมบัติออกจากป่า มีโรงเตี๊ยม จะเลือกดื่มน้ำอะไรระหว่างน้ำเปล่า โค้ก กาแฟร้อน

เฉลย เป็นการเลือกสีผิวของแฟน

เลือกน้ำเปล่า ชอบแฟนผิวขาว

โค้ก ชอบแฟนผิวสองสี

กาแฟร้อน ชอบแฟนผิวคล้ำ

4.เลือกขนาดเครื่องดื่มที่ต้องการ ใหญ่ กลาง เล็ก

เฉลย เป็นการเลือกรูปร่างแฟน

5. เมื่อดื่มน้ำแล้วข้ามลำธาร มีลาตัวเล็ก จะนำกลับไปอย่างไรระหว่าง จูงลา แบกลา หรือขี่ลาข้ามไป

เฉลย เป็นการปฏิบัติต่อแฟน

จูงลา เดินคู่กันไป

แบกลา ยกย่องแฟน

หรือขี่ลาข้าม กดขี่แฟน

การท่องเที่ยว

การตลาดคือการสนองความต้องการของลูกค้า ถือเป็นเกณฑ์

Needs ความต้องการที่จำเป็น

Wants ความปรารถนา

การท่องเที่ยวเป็น Wants

ลูกค้าคือนักท่องเที่ยว

ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประกอบด้วย

นักท่องเที่ยว

ผู้ประกอบการ

ภาครัฐ

ประชาชนทั่วไป

ความต้องการของแต่ละกลุ่ม

นักท่องเที่ยวต้องการความสะดวกสบาย ความสุข ความประทับใจ ความพอใจของแต่ละคนไม่เท่ากันถือเป็นความยากของการท่องเที่ยว แต่สามารถประเมินได้ เช่นการกลับมาใช้บริการซ้ำ บอกต่อ แนะนำให้ปรับปรุง โต้เถียงแก้ต่างให้อย่างที่ททท.ทำ Friends of Thailand

ผู้ประกอบการต้องการกำไร

ภาครัฐต้องการรายได้ ภาษี ชื่อเสียง การจ้างงาน

ชุมชนต้องการการเผยแพร่ความภูมิใจของชุมชน การยอมรับจากนักท่องเที่ยว สำคัญกว่ารายได้

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมประสม มิใช่อุตสาหกรรมเดี่ยว ทำให้การพัฒนาการท่องเที่ยวทำได้ยาก

การบริการนักท่องเที่ยวแตกต่างจากคนทั่วไป

การท่องเที่ยวเป็นเรื่องของจิตวิทยา การบริการทุกจุดพลาดไม่ได้

สิ่งที่นักท่องเที่ยวมักใช้จ่าย

อันดับ 1 ของที่ระลึก

ที่พัก

ค่าเดินทาง

นักท่องเที่ยว เดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราวโดยสมัครใจ และต้องมีการค้างคืน

ถ้าไม่ค้างคืนถือเป็นนักทัศนาจร

นักกีฬาที่มาแข่งกีฬาสมัครเล่นก็ถือเป็นนักท่องเที่ยว

การนับจำนวนนักท่องเที่ยว ดูจากการเข้าออก ไม่ใช่จำนวนหัว ประเทศไทยมีคนมาซ้ำจำนวนมาก

วัตถุประสงค์ในการมาเยือน

พักผ่อน

ธุรกิจ เช่นพวกมาประชุม จ่ายเงินมากกว่านักท่องเที่ยวอื่นๆ 3-5 เท่า เพราะมีความต้องการใช้บริการอื่ๆตามมาอีกมากมาย

ญาติ/เพื่อน

ภารกิจพิเศษ

แรงจูงใจในการท่องเที่ยว

1.สิ่งจูงใจ

2.ปัจจัยดึงดูด

ทรัพยากร

สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

สิ่งที่สร้างขึ้น

กิจกรรมและวิถีชีวิต

การบริการ

การบริการที่ดีสนองตรงตามความต้องการลูกค้า

การบริการที่ดีมากสนองความต้องการลูกค้าโดยให้เกินความต้องการ

การบริการที่ดีที่สุด ให้บริการก่อนลูกค้าเอ่ยปากขอ

สิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการอย่างแท้จริง

สำคัญสุดคือ ความปลอดภัย ความสะดวกในการเดินทาง ความรู้สึกปลอดภัยมีความสำคัญกว่าความปลอดภัย

ทิศทางการพัฒนาสินค้าและบริการท่องเที่ยวไทย

Value Added ขายน้ำส้ม 10 บาท ใส่วิตามินเพิ่มขายได้ 25 บาท

Value Creation ขายน้ำส้มใส่แก้วมีก้านแบบแก้วไวน์มีชิ้นส้มเสียบที่ปากแก้ว ราคาขึ้น

Value Diversity มีน้ำส้ม หลายพันธุ์ หลายขนาด ราคาขึ้นได้

การตลาดมี 3 ยุค

สมัยก่อน นำเสนอสินค้าการท่องเที่ยวที่มี

ต่อมา ดูนักท่องเที่ยวต้องการอะไร

สมัยนี้ ดูตาม social media ว่ามาด้วยกระแสอะไร

ในประเทศไทย ประชาชนยังพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวเสมอ

การบรรยายหัวข้อ การพัฒนาทุนมนุษย์ (Capacity Building) ด้านการท่องเที่ยว และกีฬาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันสู่อาเซียน และการแบ่งกลุ่มอภิปราย
"การสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มจากการท่องเที่ยวและกีฬาสู่อาเซียน"

ในกลุ่มท่องเที่ยวมหัศจรรย์สองสมุทร

กลุ่มที่ 1 การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

กลุ่มที่ 2 การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sports Tourism)

กลุ่มที่ 3 การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

กลุ่มที่ 4 การท่องเที่ยวชุมชน

โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

ร่วมให้คำแนะนำโดย ดร.ละเอียด ศิลาน้อย

โค้ชประจำกลุ่ม โดย คณะที่ปรึกษาโครงการฯ และตัวแทนจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

วันนี้ไปดูงาน เป็นการเรียนรู้จากความจริง

การท่องเที่ยวชุมชนมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4 กลุ่มและเป็นเครือข่ายกัน ต้องมีศักยภาพและแรงบันดาลใจด้วย

วันนี้ ดูกรณีศึกษาที่ทำไปแล้วไปในปีที่ 2 เรานำองค์ความรู้ไป 15 เรื่อง

อาจารย์ปาริชาติเสนอให้ทำเรื่องสิ่งแวดล้อม Green Tourism ด้วย

สำหรับรุ่นนี้ บรรยากาศการเรียนรู้กระชับขึ้นมา กรณีศึกษาภาคใต้น่าสนใจที่สุด ความเข้มแข็งของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4 กลุ่มเป็นพลังขับเคลื่อนร่วมกัน

การท่องเที่ยวชุมชนรองรับอาเซียนต้องมีมาตรฐานสูงขึ้นและเข้าใจลูกค้า เป็นใครก็ได้ที่ชื่นชมการทำงานของอาเซียนร่วมกัน

เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนด้วย

ส่งออก-นำเข้า ตอนนี้ไม่ดี

การบริโภคในประเทศ ปีนี้ดีที่สุด

การท่องเที่ยว ตอนนี้สัดส่วน8% อนาคตจะเป็น 10% ของ GDP ประเทศ และจะเป็นรายได้สำคัญสุดของประเทศ

ขอให้ร่วมกันคิดโครงการใหม่พร้อมรับการเปิดประชาคมอาเซียน ต้องมีมูลค่าเพิ่มและความยั่งยืน

ต้องคิดถึงลูกค้าอาเซียน ต้องมีลูกค้าจากแหล่งอื่นๆในโลกด้วย

ประเทศไทยยังมีช่องว่างการท่องเที่ยวซึ่งจะมาจากชุมชนในอนาคต

อยากให้ชุมชนวิ่งไปสู่มาตรฐานของโลก

อยากให้สรุปโอกาสและการปรับตัว

ถ้าเราจะพัฒนาโครงการเรื่องชุมชนไปสู่ความเป็นเลิศ จะเน้นพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ และพัฒนาภาวะผู้นำ

ถ้าท่องเที่ยวไปด้วยกันกับสิ่งแวดล้อม สามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนมากขึ้น

ผู้นำในห้องนี้จะเจออุปสรรคการทำงานมาก เพราะการนำท่องเที่ยวชุมชนไประดับอาเซียนไม่ง่าย ต้องเอาชนะอุปสรรค ทำให้สำเร็จ

หลักสูตรนี้เริ่มด้วยการสร้างเครือข่าย และต้องทำให้เครือข่ายมีประสิทธิภาพ จึงต้องเพิ่มศักยภาพคนให้สูงขึ้น ทำงานร่วมกันต้องให้เกิดความสำเร็จและความยั่งยืน

โครงการนี้เน้นความจริงและทำตรงตามความต้องการของคุณ

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

อาจารย์เน้นการบริหารจัดการเครือข่าย ครั้งนี้เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ

เครือข่ายคือกลุ่มบุคคล องค์กรสมัครใจทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนข้อมูล อย่างสมัครใจและเป็นอิสระต่อกัน

คนมารวมกันก็ต้องบริหารจัดการร่วมกัน คือ ต้องมีผู้บริหารจัดการเครือข่าย ก็คือท่านในห้องนี้

เรื่องภาวะผู้นำสำคัญ

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

ผู้นำไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่ง อยู่ที่การยอมรับของผู้อื่น

คุณวราพร ชูภักดี

หลายคนมักคิดทุนมนุษย์ไม่เกี่ยวกับเราโดยตรง แต่ต้องเริ่มที่ตัวเราแล้วขยายไปเครือข่ายเรา

ทฤษฎีของอาจารย์กลั่นมาจากประสบการณ์จริงและใช้ได้โดยตรง

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

ความรู้ไม่ได้เกิดจากการลอก

กลุ่มท่องเที่ยวกีฬา

โอกาสใหม่ๆรองรับอาเซียน

การดำน้ำโยงไปกิจกรรมอื่นๆ ตอนนี้มีมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย

ไทยมีแหล่งทรัพยากรสมบูรณ์ มีสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลที่ต่างจากที่อื่น อุณหภูมิน้ำอุ่น เช่นเกาะเต่า ต่างชาติมาเรียนดำน้ำอันดับ 1 ของโลก

โครงการขับขี่มอเตอร์ไบค์เพื่อการกุศล

การปรับตัว

มีบุคลากรนำทางดำน้ำรองรับชาติอื่น

สร้างบุคลากรความปลอดภัย

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจจะพัฒนาเป็นโครงการสมบูรณ์พรุ่งนี้

ต้องเริ่มจากโอกาสแล้วเปลี่ยนไปสู่ความสำเร็จ

โครงการผมพูดถึงเรื่องความปลอดภัย ควรคิดทำอสม.ของการท่องเที่ยว ดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหัวใจความปลอดภัยระยะยาว

พรุ่งนี้ต้องนำเสนอเรื่องคน ภาวะผู้นำ และการบริหารจัดการ

กลุ่มการท่องเที่ยวเชิงชุมชน

การท่องเที่ยวโดยชุมชน คือชุมชนลุกมาทำบริการท่องเที่ยวเอง มีความหลากหลาย เช่น วัฒนธรรม นิเวศ

โอกาส

อยากเห็นว่าชุมชนมีมาตรฐานชุมชนไปสู่ระดับสากล

โครงการ

พัฒนาบุคลากรชุมชน คนทำท่องเที่ยว คนนำเที่ยวทำอยู่แล้วแต่เรียนไม่สูง ขาดบัตรไกด์

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โคกไคร ถนนหนทางไม่ดีทำให้เสียโอกาส

พัฒนาภูมิปัญญาชุมชนไปสู่สินค้าเพื่อไปสู่มูลค่าเพิ่ม

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอชมเชย

การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นตัวแม่ ไม่ใช่แค่มีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในนั้นเท่านั้น

เห็นด้วยมาตรฐานชุมชนไปสู่ระดับสากล

รายได้เพิ่มขึ้นได้ขึ้นกับทัศนคติและการบริหารจัดการ

รายได้ต้องมีความยั่งยืนด้วย

ควรนำมุมมองที่หลากหลายมาผสมผสานกัน

ความคิดสร้างสรรค์อาจเกิดจากความคิดที่แตกต่างกัน มองคนละมุม

อยากให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไปสู่การพัฒนาศักยภาพไปสู่ระดับสากล

ชุมชนต้องมีรายได้และความยั่งยืน

กลุ่มท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

โอกาส

มีสมุนไพรหลากชนิด เช่น หญ้ารีแพร์ที่พังงา

มีโรงพยาบาลและหมอที่เก่ง

โครงการ

Medical Tourism ส่งหมอไปตรวจที่โรงแรม

แพทย์แผนไทยดุมชน ทำ OTOP หญ้ารีแพร์

สปาฮาลาล เป็นมาตรฐานของการท่องเที่ยว อินโดนิยมโฮมสเตย์ และเป็นโอกาสเมื่อเปิดเสรีอาเซียน

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอชมเชย เรื่องสุขภาพคนมุสลิม

อยากให้เน้น Medical Tourism ของมุสลิม

กลุ่มท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

โอกาส

เมื่อเปิดประชาคมอาเซียน กลุ่มลูกค้าใหม่มีศักยภาพ เชื่อมโยงตะวันออกกลางที่เป็นมุสลิม

มีชุมชนมีศักยภาพหลากหลาย ตรงกับท่องเที่ยวเชิงชุมชน

การบริหารจัดการสื่อสารสนเทศ ต้นทุนต่ำ ทำได้เร็ว สะดวก ชุมชนเข้าถึงได้ ใช้ประโยชน์ส่งผ่านข้อมูลชุมชนเข้าไป

โครงการ

ทำเวทีหาคำตอบค้นหาอัตลักษณ์ร่วมเชื่อมโยงสองสมุทรว่าอะไรขายได้ คนอื่นสนใจวัฒนธรรมเราไหม ต้องมีผู้แทนจาก 12 จังหวัดมาร่วม

ต้องมีการจัดการข้อมูลข่าวสาร สื่อข้อมูลไปให้ลูกค้าเข้าถึงง่าย

สิ่งสำคัญคือคนสนใจความเหมือนหรือความต่างทางวัฒนธรรม เรื่องรามายณะเป็นความเหมือนที่แตกต่าง มีเส้นทางเดินทางในการเดินมา

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

นี่เป็นตัวอย่างของความเป็นเลิศ

ขอชมเชย

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

จากรายงาน 4 กลุ่ม ทำให้เห็นการเพิ่มศักยภาพ ความรู้จากแต่ละกลุ่มมันงอกงามขึ้น

การทำ workshop เป็นการปูพื้น เช่นมองโอกาสแล้วก็เลือก

กลุ่มภาคใต้ทำได้ดีมาก วางขั้นตอนไว้ดีแล้ว สามารถประกอบเป็นโครงการในเวลาอันสั้น โดยใช้วิธีการใช้

นำเสนอชัดเจนมากเรื่องการขยายเครือข่าย

การขยายเครือข่ายไปอาเซียน เช่นการท่องเที่ยวเชิงกีฬา เรื่องศูนย์ข้อมูลเป็นข้อมูล

กลุ่มสุดท้ายเสนอการพัฒนาศูนย์ความรู้เป็นความยั่งยืน

ตอนนี้การแพทย์แผนไทยเป็นการแพทย์แผนหลักแล้ว

ชอบการท่องเที่ยวชุมชนเพราะชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและเลือกเองเพื่อประโยชน์สุขของเขา

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

ท่องเที่ยวและกีฬาก็เหมือนธุรกิจ ต้องประสบความเปลี่ยนแปลงเช่นการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนนำไปสู่การคิดเพื่อความเป็นเลิศ

การท่องเที่ยวขึ้นกับคุณภาพของคน

คนเราเกิดมาต้องอยากรู้อยากเห็น กระหายอยากเรียนรู้ ต้องมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้มากๆ

ทุนมนุษย์ต้องปลูกและเก็บเกี่ยว ต้องสร้างแรงบันดาลใจให้คนในเครือข่ายอยากทำงานเพื่อส่วนรวม เมื่อปลูกแล้วเก็บเกี่ยว คนมีศักยภาพดีต้องทำให้เขาทำงานเต็มศักยภาพ ต้องทำให้คนในเครือข่ายทำงานเต็มศักยภาพนี่คือการเก็บเกี่ยว

ถ้าทำงานแบบเดิม เมื่อเข้าอาเซียนก็จะไม่รอด ต้องเปลี่ยนแปลงก่อนถูกบังคับให้เปลี่ยน ควรจะกระจายนักท่องเที่ยวไปยังทุกจุดในประเทศ

4L's

มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี ฝึกให้คิด

บรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี สนุก

สร้างโอกาสการเรียนรู้ ปะทะกันทางปัญญา

ชุมชนการเรียนรู้ เมื่อเรียนจบแล้วยังคิดถึงโครงการนี้ เจอกันทางสื่อสังคมออนไลน์ เป็นชุมชนการเรียนรู้

2R's

มองความจริง สำคัญที่สุดในการทำธุรกิจเกี่ยวกับชุมชน

ตรงประเด็น รู้เฉพาะเรื่องสำคัญที่สุด

2I's

จุดประกาย

มีแรงบันดาลใจ

3V's เป็นแนวคิดใหม่

Value Added คือมีพื้นฐานอยู่แล้ว แต่มีมูลค่ามากกว่าเดิม

Value Creation คือการมีความคิดสร้างสรรค์โครงการใหม่ๆ

Value Diversity การสร้างมูลค่าต้องมาจากความหลากหลายของแต่ละกลุ่ม

การมีความคิดใหม่ๆต้องมีพื้นฐานที่ดีก่อนแล้วค่อยกระเด้ง

8K's

ทุนมนุษย์เป็นทุนตัวแม่

ทุนทางจริยธรรมสำคัญที่สุด

ทุนทางปัญญาคือคิดเป็นวิเคราะห์เป็น

ทุนแห่งความสุขคือชอบในสิ่งที่ทำ ไม่ใช่แค่ทำเพื่อเงินอย่างเดียว ท่องเที่ยวไม่ประสบความสำเร็จ

ทุนแห่งเครือข่าย

ทุนแห่งความยั่งยืน ได้มาจากในหลวง ต้องมีเหตุมีผล (System Thinking) ถ้ายังไม่พร้อม ก็ยังไม่ต้องขยายการท่องเที่ยวชุมชน เดินสายกลาง บริหารความเสี่ยง มีความรู้ จริยธรรมแล้วไปสู่ความยั่งยืน ต้องทำให้การท่องเที่ยวและกีฬาสามารถอยู่ได้ในอนาคตด้วย

ทุนทางไอที

ทุนทางความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ต้องกล้ายอมรับการเปลี่ยนแปลง

5K's

ทุนทางวัฒนธรรม คือการนำวัฒนธรรมไทยไปแบ่งปันกับชาวโลก ต้องสร้าง 3V's ให้เกิดก่อน

HR Architecture

เรียนจบการศึกษาแล้วความรู้ล้าสมัย ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างสังคมการเรียนรู้ไม่ต้องมีอาจารย์มาสอน หาความรู้เองได้ผ่านทางอินเตอร์เน็ต

การศึกษาจะทำให้แก้ปัญหาหลายๆอย่างได้

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

อาจารย์พูดเรื่อง 2R's

Reality ความจริง ต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่อาเซียน

อาจารย์เคยเสนอว่าควรปรับปรุงห้องน้ำ ก็มีมาตรฐานขึ้น

อาหารควรมีครัวเปิดโดยเฉพาะอาหารฮาลาล

Relevance ตรงประเด็น

C-U-V

Copy คือเรียนรู้ เป็นพื้นฐานข้อแรกคือ 8K's

Understanding คือทุนทางปัญญา คิดแล้วทดลองทำ มี 4L's มีวิธีการเรียนรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ สร้างโอกาสจากการเรียนรู้ ชุมชนการเรียนรู้

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

การเรียนรู้ที่สำคัญคือการปะทะกันทางปัญญา แต่เรื่องนี้ยังทำได้ยาก

ใน 8K's และ 5K's อันใดที่ต้องพัฒนากันต่อไป

ในเรื่องการพัฒนาภาวะผู้นำ การเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงการท่องเที่ยวและกีฬามีความสำคัญเพราะผู้นำเน้นเรื่องคน ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน มองระยะยาว มองอนาคต เน้นนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง

โครงการที่จะทำในอาเซียนต้องเน้นผู้นำและศรัทธาซึ่งกันและกัน อย่าเอาเปรียบกัน

แนวคิดผู้นำ Chira Hongladarom Style เหมาะสำหรับภาคการท่องเที่ยว

จัดการวิกฤติ

คาดคะเนการเปลี่ยนแปลงให้ได้ ควรคิดว่าจะทำอะไรในอนาคต สำคัญที่สุด

กระตุ้นผู้คนสู่ความยอดเยี่ยม อย่าเก่งคนเดียว

การแก้ไขความขัดแย้ง

การสร้างโอกาสแก่ผู้อื่น ต้องทำให้ลูกน้องเก่ง ถือเป็นความสำเร็จของผู้นำ

รู้จักใช้จังหวะและความรวดเร็ว

การตัดสินใจ

ทำงานเป็นทีม

บริหารความไม่แน่นอน

Peter Druckers เสนอแนวคิดภาวะผู้นำ

1.ควรจัดลำดับความสำคัญ

2.อะไรสำคัญสำหรับองค์กร

3.พัฒนาแผนปฏิบัติการ

4.รับผิดชอบในการตัดสินใจ

5.สื่อสารให้ทุกคนเข้าใจ

6.มองโอกาสมากกว่าปัญหา ฉกฉวยโอกาสให้ได้

7.อย่าประชุมบ่อย ประชุมให้น้อยแต่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

8.เวลาทำอะไรให้คิดถึงประโยชน์ส่วนร่วม

สรุป

การพัฒนาทุนมนุษย์ทางการท่องเที่ยวและกีฬาอย่างยั่งยืน

ต้องพัฒนาให้เป็นมืออาชีพ

ต้องเน้นทุนทางจริยธรรม

มีความเป็นสากล รู้เขารู้เรา

ผู้นำต้องบริหารความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว คาดไม่ถึงและไม่แน่นอน

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ภาวะผู้นำที่สำคัญคือ ต้องมองไปเส้นขอบฟ้า คือมองไปข้างหน้า

การท่องเที่ยวต้องเน้นนวัตกรรม เช่นคุณเฉลิมชาติจัดการท่องเที่ยวเป็น 2 กลุ่ม ปรับจากของเดิมที่มี ทำให้รายได้ดีขึ้น ไปกลุ่มเล็กไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหาย

การสร้างนวัตกรรมต้องมีความรู้ ความคิดสร้างสรรค์และทักษะ

นวัตกรรมต้องอาศัยความมีส่วนร่วมของทุกคน

ผู้นำต้องมีจังหวะดี บางเรื่องควรทำเร็วและบางเรื่องไม่ควรรีบทำ

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม 2558

การเลือกตั้งประธานรุ่น

การแสดงวิสัยทัศน์

นายปราโมทย์ หวันละดา

จะประสานประโยชน์ชุมชน องค์กร ราชการ ให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกันและทำงานไปในทิศทางเดียวกันและเชื่อมต่อไปอาเซียน นำเสนอว่าเรามีการท่องเที่ยวชุมชนเข้มแข็ง เน้นท่องเที่ยวฮาลาล การท่องเที่ยวเชิงกีฬา ท่องเที่ยววัฒนธรรม เชื่อมไปอาเซียน

นายสมพร สาระการ เลขานุการเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดพังงา และประสานงานท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกไคร

อยากเห็นเวทีสร้างเครือข่าย โครงการพัฒนาเครือข่ายฝั่งอันดามันและอ่าวไทยให้ชัดอย่างต่อเนื่อง

นายมาดี เครือยศ

การท่องเที่ยวในอนาคตที่จะเข้าอาเซียน ปัญหาคือเราอยู่ปลายทาง จัดตั้งองค์กรเพื่อบูรณาการการท่องเที่ยว

นายจุฬพงศ์ ศรีสวัสดิ์ กรรมการบริหาร ที่ปรึกษา บริษัทกระบี่สเปเชี่ยลลิซซั่นจำกัด

ขอสละสิทธิ์ แต่วิสัยทัศน์ ผมเห็นด้วยกับทุกท่าน ยินดีร่วมมือ อยากให้พวกเราช่วยกันทำงานแบบไม่เป็นทางการ ติดต่อทางไลน์และโทรศัพท์ได้ตลอด

ผลการเลือกตั้ง

ประธานคือ นายสมพร สาระการ เลขานุการเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดพังงา และประสานงานท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกไคร

รองประธาน นายมาดี เครือยศและนายปราโมทย์ หวันละดา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอแสดงความยินดีกับประธานใหม่

ผมได้เขียนบทความเกี่ยวกับโครงการนี้สามารถคลิกเข้าไปดูได้ในวันเสาร์

คุณสมพรต้องเป็นผู้แทนรุ่นนี้ไปร่วมแบ่งปันความรู้ในการประชุมใหญ่ที่กรุงเทพ

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวการประชุม

http://www.gotoknow.org/posts/590371

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 19 พฤษภาคม - 3 มิถุนายน 2558

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อฟังข่าวการประชุม

http://mcot-web.mcot.net/fm965/site/streaming/id/5...

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม 2558 ทาง FM. 96.5 MHz.

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวการประชุม

http://www.naewna.com/politic/columnist/18349

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม 2558 หน้า 5

วันที่ 6 พฤษภาคม 2558

การปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ"

โดย นางธิดา จงก้องเกียรติ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

จากการทำงานกระทรวงท่องเที่ยวมา 12 ปี ทำให้เห็นพัฒนาการตั้งแต่แรกตั้งกระทรวง มีความรู้ไม่มาก เพราะตั้งจากกรมพลศึกษา และมีบุคลากรที่ยังไม่แข็งแกร่งเรื่องการท่องเที่ยว

เราเรียนรู้การท่องเที่ยวจากททท. และประสบการณ์ทำงานของพวกเรา

พบว่า ในการพัฒนาการท่องเที่ยว ปัจจัยสำคัญสุดในการทำงานให้ประสบความสำเร็จคือการมีส่วนร่วมของประชาชนและเครือข่ายค่อนข้างสูง นอกเหนือจากการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยว สินค้าบริการการท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ โลจิสติกส์ต่างๆ ภาพลักษณ์การท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์การตลาด

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความพึงพอใจให้แก่นักท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นการประพฤติปฏิบัติที่พึงพอใจโดยเฉพาะสินค้าและของที่ระลึกต่างๆ

การท่องเที่ยวเกี่ยวเนื่องกับหลายหน่วยงาน

คนทำการท่องเที่ยวไม่ใช่เจ้าของแหล่งท่องเที่ยว เจ้าของสินค้าบริการการท่องเที่ยว และไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาให้สินค้าและบริการการท่องเที่ยวนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงจำเป็นต้องใช้บูรณาการกับภาคส่วนต่างๆในเรื่องการปรับปรุง พัฒนาสินค้าบริการไม่ว่าจะเป็นสินค้าบริการท่องเที่ยวและบริการต่างๆที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น ที่พัก อาหาร โรงแรม การคมนาคมขนส่ง

ดังนั้นคนการท่องเที่ยวรู้ไม่หมดทุกอย่าง แต่ต้องร่วมกันทำงานบริหารจัดการให้การท่องเที่ยวประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ในปัจจุบันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาก็ได้ทำยุทธศาสตร์ใหม่คือ ยุทธศาสตร์ปฏิรูปการท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560

ภายใต้ยุทธศาสตร์นี้ ก็ได้ทำงานร่วมกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคเอกชนและภาคส่วนต่างๆ เป็นยุทธศาสตร์ที่ประยุกต์จากแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559 โดยการใช้พื้นฐานจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ในเรื่องที่จะมีการศึกษาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า สิ่งที่ควรกำหนดเป็นยุทธศาสตร์

การพัฒนาการท่องเที่ยวเริ่มมาจาก 5 Cluster แรก (7.00) เช่น ชายฝั่งทะเลตะวันออก อีสานใต้ ก็มีการขยายเพิ่มขึ้นมีลุ่มแม่น้ำโขง ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา การพัฒนาพื้นที่และมรดกโลก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร

นอกจากนี้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวในเมืองที่เป็นชายแดน ในด้านต่างๆที่เป็นความต้องการของนักท่องเที่ยว

ถ้ามีปัญหา ก็จะแก้เฉพาะเรื่อง เช่นเรื่องแพคเกจแต่งงาน คนอินเดียขนเงินทองมามากมาย ตอนที่ขนออกก็จะมีปัญหา ต้องแก้ปัญหาเหล่านี้เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้ามา

ส่วนอื่นๆก็เป็นการพัฒนาเส้นทางโลจิสติกส์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยว

รวมถึงการใช้กลไกการพัฒนากลุ่มจังหวัด ที่สำคัญที่สุดคือท้องถิ่นและประชาชนที่มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยว

ประชาชนได้มีการรวมกลุ่มทำการท่องเที่ยวชุมชน

การท่องเที่ยวชุมชนมีความสำคัญมาก ในการท่องเที่ยวชุมชน

เรามีพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวที่จะสามารถตั้งหรือประกาศเขตพื้นที่ท่องเที่ยวชุมชนได้

เราได้มีการศึกษาการประกาศเขตพื้นที่ท่องเที่ยวชุมชน นำประเด็นมาตั้งเป็นตัวชี้วัดสำหรับเขตท่องเที่ยวชุมชนเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อขอรับการพิจารณา ทางภาคใต้มีจำนวนมากที่ได้มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในหมู่บ้าน ใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ มีการจัดให้ฟื้นฟูป่าชายเลนในเขตท่องเที่ยว ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่นก็สามารถเข้ามาเป็นมัคคุเทศก์เฉพาะพื้นที่ ชุมชนนั้นได้

ถ้าเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญที่จะบรรยายพื้นที่ของตนเอง เป็นผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ และปราชญ์ชาวบ้าน ก็สามารถได้รับการอนุมัติให้เป็นมัคคุเทศก์ชุมชน

และได้มีการศึกษากำหนดหลักสูตรมัคคุเทศก์ชุมชน ในอนาคต ก็จะมีการเพิ่มวิชาความรู้ต่างๆเข้ามา ถ้าเรากำหนดพื้นที่ใดเป็นพื้นที่มัคคุเทศก์ชุมชน มัคคุเทศก์ภายนอกมาสามารถเข้าไปบรรยายในพื้นที่นั้นได้ บางครั้งอาจมีปัญหาเรื่องภาษา อาจต้องมีล่ามแปลภาษาเข้ามา เวลานำนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในชุมชน

วิทยาลัยชุมชนที่สตูลมีหลักสูตรระดับอนุปริญญา กฎหมายกำหนดว่า ผู้ที่จะเป็นมัคคุเทศก์ต้องเรียนวิชามัคคุเทศก์ตามที่กำหนดแต่ปัญหาคือมัคคุเทศก์ยังไม่เป็นวิชา เวลาที่วิทยาลัยชุมชนผลิตผู้จบอนุปริญญาไป พวกนี้จะไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมัคคุเทศก์ ตอนที่เป็นผู้อำนวยการสำนักทะเบียน ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตอนหลังคนจบอนุปริญญาจากวิทยาลัยชุมชนสามารถเป็นมัคคุเทศก์ภาษาต่างประเทศได้โดยจะต้องเรียนวิชามัคคุเทศก์ประมาณ 3 หน่วยกิต

การท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญมากที่สุดเป็นเหมือนฟางเส้นสุดท้ายที่จะสร้างรายได้ให้ไทย

การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนสำคัญที่สุด กระทรวงท่องเที่ยวจึงมีแนวทางนโยบายในการพัฒนาบุคลากรด้านท่องเที่ยว

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้รับความกรุณาจากศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ในการนำความรู้ต่างๆมาเชื่อมโยงให้กับชุมชนเครือข่ายท่องเที่ยว โดยเฉพาะเทคนิคและวิธีการของท่านในการถ่ายทอดความรู้

ท่านสามารถนำคนในพื้นที่ที่มีความรู้ ความสามารถมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

คนในพื้นที่จึงเป็นบุคลากรสำคัญมากที่สุดในการที่จะช่วยกันขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผล

วันที่ 8 พฤษภาคม 2558

การบรรยายหัวข้อ เครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬา...การบูรณาการสู่ความยั่งยืน

โดย นายพรหมโชติ ไตรเวช รองอธิบดีกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ถ้าทำงานเหมือนเดิม ประชุมเหมือนเดิม คิดแบบเดิม ทำแบบเดิม แก้ปัญหาแบบเดิม

สิ่งเหล่านี้ทำให้อาจารย์จีระและทีมงานต้องมาคุยกับท่านว่า ถ้าเราอยู่กันแบบเดิม เรียนรู้แบบเดิม ทำแบบเดิม มีงบประมาณแบบเดิม อนุมัติงบประมาณแบบเดิม โกงกินกันแบบเดิม ก็จะเหมือนเดิม

ตอนนี้เรามาพัฒนาความคิด ความร่วมมือ สร้างแนวร่วม สร้างเครือข่าย

ควรสนใจความสามารถของคนที่อยู่รอบข้างเรา

ขอให้ดูตัวอย่างธุรกิจหรือไลออนส์ โรตารี ก่อนการประชุมจะมีการตั้งสัตย์ปฏิญาณตนว่า จะทำงานเพื่อประเทศชาติ เพื่อส่วนรวมและเพื่อตนเอง หลังจากนั้นได้เชิญผู้มีความสามารถมานำเสนอแนวคิด วิธีการที่เกิดประโยชน์ต่อพวกเรา แล้วมีการซักถาม คนบรรยาย นอกจากเก่งแล้ว ต้องทำให้คนฟังถามให้ได้ นำเสนอได้และแสดงความคิดเห็นได้ หลังจากนั้นจึงมีการประชุม เมื่อประชุมเสร็จแล้ว ก่อนกลับ ต้องทำการบ้าน

นี่คือสิ่งที่เอกชนมองคือกำไรและรายได้ ขอให้พยายามทำตามแนวทางนี้

อยากให้การหารือประชุมกันแบบนี้ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวและความตื่นตัว

ผมตั้งใจมาฟังท่าน และดูว่าสามารถจะช่วยอะไรท่านได้บ้าง

โครงการที่เป็นสิ่งจำเป็น ทำแล้วสำเร็จ เกิดผล สร้างรายได้ เกิดคุณภาพชีวิตกับประชาชนได้

กลุ่มที่เสนอดี ก็มีแนวทาง

อย่าเพิ่งไปมองว่าจะได้รับอนุมัติงบเท่าไร

ถ้าเก่งจริงและกล้า ก็ควรจะของบ

โครงการถาม 3 ข้อ

1.ทำแล้วเกิดประโยชน์อะไร

2.ประโยชน์นั้นไปสู่ใคร

3.คนในชุมชน และประชาชนเห็นด้วยหรือไม่

สิ่งที่สำคัญคือทำโครงการแล้วขัดแย้งกับผู้อื่นหรือไม่

ถ้าตอบได้ มีเหตุผล คณะกรรมการที่ประชุมเห็นว่า ดี ก็ได้รับงบเลย

เพราะสิ่งนี้คือสิ่งที่เป็นจริง ไม่ได้เขียนโครงการดี หรือเด่น หรือให้อาจารย์มาเขียน แต่เกิดมาจากประสบการณ์ในชีวิต

ไม่ต้องเขียนโครงการ แต่พูดออกมาได้เลย

โครงการเป็นอุปกรณ์เล็กๆ ที่ทำให้ได้รับการอนุมัติ แต่แนวทางเป็นโครงสร้างที่น่าจะทำอย่างต่อเนื่อง

การที่ทีมงานดร.จีระมาถ่ายทอดแนวคิด ก็อยากให้ท่านคิดนอกกรอบว่า เราจะรู้จักคนอื่นได้หมด รู้จักงาน หน้าที่ ตำแหน่ง ประโยชน์ของเพื่อน

นี่เป็นเวทีที่ทำให้เกิดการรวมตัวคน 4 กลุ่ม เป็นของแท้ ได้แก่ ข้าราชการ นักวิชาการ เอกชนและภาคประชาชน

ตอนนี้ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภูเก็ตสร้างวิทยาลัยการท่องเที่ยวนานาชาติ สร้างเพื่อเข้าถึงประชาชนให้มากขึ้น ต้องการดำเนินการท่องเที่ยวระดับโลก ภารกิจคือส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนไปสู่ระดับนานาชาติ กิจกรรมท่องเที่ยวตั้งแต่โฮมสเตย์จนถึงโรงแรมห้าดาว หกดาว

กล้าทำเพราะทราบว่ามีองค์ประกอบขององค์กรครบ ควรใช้องค์การที่มีการศึกษาดีมาช่วยสานต่อจากต้นน้ำไปปลายน้ำ

อีกแนวคือประโยชน์ลงตัว ทุกคนต้องการได้รับผลตอบแทน การตกลงแนวราบสำคัญ คือสามารถติดต่อกันโดยตรงได้ ไม่ต้องผ่านคนกลาง เช่น อยู่ที่จังหวัดภูเก็ต อยากไปล่องเรือเที่ยวถ้ำที่กระบี่และพังงา ก็ติดต่อที่กระบี่และพังงาได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านขั้นตอนมากมาย อย่างนี้ช่วยได้ เป็นธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชน

ในกลุ่มพื้นที่อันดามันและอ่าวไทย ปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 18% ต่อปี

สิ่งที่เกิดขึ้นคราวนี้ก็คือ นักท่องเที่ยวมาเที่ยวประเทศไทย 26.8 ล้านคนมาอยู่ในกลุ่มอันดามันประมาณ 7 ล้านคน อ่าวไทยมีประมาณ 6 ล้านคน รวมแล้ว 13 ล้านคนซึ่งถือเป็นครึ่งหนึ่งของนักท่องเที่ยวทั้งหมดจากทั่วโลกที่มาประเทศไทย

นักท่องเที่ยวทุกระดับอยู่ในประเทศ แต่จะไปดักตรงไหน เพราะประเทศอื่นก็ดักกันหมด บางทีก็ดักตั้งแต่เดินทางมาจากต่างประเทศเลย ไล่มา ก็หาประเทศไทยไม่เจอ ตั้งแต่โรงแรม ที่พัก ร้านอาหารรถยนต์เป็นของต่างประเทศทุกอย่าง

ต้องอ่านให้ออกว่า ตลาดของไทยยังไม่ตัน

นักท่องเที่ยวมาโดยบริษัททัวร์มีเหลือเพียง 18% เท่านั้นไม่ถึง 20%

คนอีก 10 ล้านคนมาโดยตรง

เราไปหลงกับคำว่า ท่องเที่ยวแบบบริษัททัวร์

ตอนนี้มาเป็นกลุ่มเอง กึ่งทัวร์ ไม่ต้องมีผู้นำการท่องเที่ยว แต่จัดเส้นทางการท่องเที่ยวเอง

ในการประชาสัมพันธ์ต้องมองว่า ทำตรงไหน ทำอะไร ทำอย่างไร เป็นสิ่งแรก

อย่านำพฤติกรรมเรามาใส่ ต้องเรียนรู้ว่านักท่องเที่ยวชอบอะไร

สิ่งที่พบคือนักท่องเที่ยวไม่ชอบสิ่งที่เราทำ

นักท่องเที่ยวแต่ละประเทศมาแตกต่างกัน อาหารการกินก็ไม่เหมือนกัน การนั่งเรือก็ไม่เหมือนกัน ไม่ชอบนั่งรถปรับอากาศ แต่ชอบนั่งรถกะบะ ภูเก็ต สองแถว พังงา กระบี่ นี่คือสิ่งที่เขาอยากเห็น

เพราะฉะนั้นบางอย่างที่ดีอยู่แล้ว ก็ควรใช้มัน

ท่องเที่ยวชุมชนที่ได้ค่าตอบแทนมากที่สุดที่มีการจดบันทึกไว้

อันดับหนึ่งคือ บ้านถ้ำผึ้งปีละ 124,000 คน จดรายละเอียดว่านักท่องเที่ยวมาทำกิจกรรมอะไร ผู้ใหญ่บุญธรรมพูดว่า คนที่มาทุกคนอยากจะมาดูน้ำผุดโผล่ แต่ตอนนั้นหมู่บ้านไม่รู้ทำอะไร แถมไม่ให้ลงไปพอกโคลน เขาสร้างเรื่องเล่าคุยแลกเปลี่ยนกับนักท่องเที่ยวชั่วโมงครึ่ง มีการตอกไม้ให้ดูชั่วโมงครึ่ง ถือว่าเป็นของดี สร้างเรื่องราวเป็น มีสื่อประกอบคือผลไม้

บ้านเรือนเป็นแบบเดิมแทบจะไม่ได้ตกแต่งอะไรเลย มาตรฐานโฮมสเตย์ที่มีอยู่ดี แต่นักท่องเที่ยวต้องการอยู่แบบชาวบ้าน บางครั้งมาตรฐานก็ไม่ใช่คำตอบ แต่อยู่ที่รสนิยม

สำคัญที่ว่า ในหมู่บ้านแห่งนั้นมีความปลอดภัยมาเป็นอันดับหนึ่ง

อัธยาศัยสำคัญเป็นอันดับที่สอง

และที่สำคัญคือ เอกลักษณ์ท้องถิ่น

มีแค่นี้ก็ทำให้มีนักท่องเที่ยว 124,000 คน

อีกชุมชนหนึ่งแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ เกาะยาวน้อย ได้ดีเพราะแบ่งกลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็นธุรกิจ อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มชุมชน แต่ทั้งสองกลุ่มใช้วิธีการเดียวกัน ได้นักท่องเที่ยว 180,000 คนต่อปี

สิ่งที่ได้ดูคือควาย และปลักควาย สาเหตุที่ต้องดูคือ ภาคใต้ ภูเก็ตเหลือ 7 ตัว แต่ที่เกาะยาวน้อยมี 600 กว่าตัว เวลาหน้าแล้ง ก็ขึ้นไปอยู่บนภูเขา กลายเป็นควายภูเขา พอฝนมา ก็กลายเป็นควายปลัก

ตอนนี้ทำใหม่ ปลูกข้าว มีโรงแรมราคาแพงแต่มีวิถีชุมชนอยู่ใกล้ๆ ซึ่งได้ตกลงว่า ถ้าจะสร้างตึกก็ต้องไปที่อื่น โรงแรมขนาดใหญ่ ยินดีช่วยอบต. ห้ามสร้างตึก ถ้าสร้างตึก โรงแรมจะเสียหาย ทำโดยตกลงเป็นประชาคม มีความร่วมมือยอมลงทุนซื้อรถ เพื่อตัดปัญหาเรื่องการแย่งชิงลูกค้า ไปเยี่ยมกลุ่มที่ไม่มีค่าตอบแทนที่ขายได้ต่อไป นั่นคือสัญญาประชาคม

แต่สิ่งหนึ่งที่ชุมชนขอคือ ชาวบ้านต้องนำอาหารใส่ปิ่นโตมาสำหรับมื้อแรก เป็นการตรวจคุณภาพอาหาร และได้รับคำชมเชยเมื่อมีคุณภาพมาก หลังจากนั้นจึงให้นักท่องเที่ยวเข้าไปอยู่ในบ้าน

กติกาคือ เมื่อกลับ ทุกคนต้องมาส่งลูกค้าที่ท่าเรือ ถ้าใครไม่ส่ง ครั้งถัดไปก็ไม่ได้รับอนุญาตให้รับลูกค้า เพราะเขาจับความรู้สึกของนักท่องเที่ยวได้ นักท่องเที่ยวต้องการความประทับใจตั้งแต่แรกพบ ทำให้ความสัมพันธ์ไม่ลดเลือน สิ่งที่ผูกพันที่สุดคือจดหมายที่มีส่งกลับมายังครอบครัว สิ้นปีมีการส่งจดหมายกลับ ลูกค้ามีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จาก 24,000 คน เพิ่มเป็น 170,000 คน แม้จะมีบ้านแค่ 14 หลัง แต่ลูกหลานก็ได้ไปเรียนต่างประเทศ เพราะส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวที่มาเป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถ เป็นข้าราชการหรือหน่วยงานที่สามารถให้ความช่วยเหลือสนับสนุนได้

การท่องเที่ยวชุมชนเป็นรูปแบบแรกต้องใช้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตเป็นหลักสำคัญ

เราควรใช้ธรรมชาติสามัญมาเป็นแกนหลักแล้วนำความรู้มาเสริมเข้าไป

การของบประมาณ ไม่ใช่เรื่องยาก

การท่องเที่ยวโดยภาคประชาชนได้เงินมากกว่าการท่องเที่ยวภาคเอกชน

ควรนำโครงการของแต่ละจังหวัดและพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จมาศึกษา

ศ.ดร.จีระ พูดอยู่ 3 ประโยคสุดท้าย

ควรใช้กุญแจความสำเร็จคือ ทำด้วยตนเองก่อน ถ้าทำไม่ได้ก็ถามเพื่อน อาจมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

สิ่งที่ทำต่อไปคือ ต้องหาเป้าหมายให้เจอ ตั้งสติ จะทำให้มีปัญญา

เมื่อคิดจะทำอะไรแล้ว ต้องมองให้รอบตัว โดยหากลุ่มเพื่อนเพื่อให้เกิดพลังและความร่วมมือ ทำให้เรื่องยากกลายเป็นเรื่องไม่ยาก

การทำงานต้องหนักเอาเบาสู้ เข้าหาประชาชน จะได้ทราบปัญหาของประชาชน

หลักการทำงานต้องนำหลักการพัฒนาชุมชนมาใช้

อย่านำหลักการสังคมสงเคราะห์มาใช้มากเกินไปเพราะจะได้ระยะสั้นแต่เสียระยะยาว

ต้องมีการทำงานผสมงาน ผสานใจระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา

แต่เวลาทำงานกับภาคประชาชน ต้องทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจและใจรัก จะทำให้ประสบความสำเร็จ

ในส่วนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกรมการท่องเที่ยว ผมร่างแผนยุทธศาสตร์ปีค.ศ. 2020

แต่เน้นคิดเพื่อประชาชน

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาต้องทำงานร่วมกับ 8 กระทรวง 48 หน่วยงาน รวมทั้งสำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

การทำงานต่อไปจะใช้งบประมาณการท่องเที่ยวและบริการซึ่งเป็นงบกลาง ซึ่ง 8 กระทรวง 48 หน่วยงาน ต้องวางแผนร่วมกัน การพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นการพัฒนาการแบบบูรณาการเป็นพวงองุ่น คือช่วยกันทำแล้วได้ประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย

ถ้าทำงาน ก็ต้องมองเห็นภาพรวม แล้วนำส่วนต่างๆมาช่วยกันทำ มองเป้าหมายสุดท้ายร่วมกัน นำขั้นตอนต่างๆมาจับร่วมกัน

ทุกจังหวัดมีโครงการ เวลาที่จังหวัดหนึ่งคิดเรื่องการท่องเที่ยวชุมชน ถ้าทำเองฝ่ายเดียว ก็ได้แค่ข้างเดียว ถ้าขอให้เอกชนทำ จะได้ทราบว่าเขาคิดอะไร ถ้าทำร่วมกันได้ ก็จะดี สิ่งที่ตรงกันสามารถเชื่อมโยงกันได้ ประหยัดงบไปอีกแบบ

เวลาที่นโยบายรัฐส่งให้มา ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบนโยบายกำจัดขยะ ก็สามารถรับได้ทันทีเพราะเป็นนโยบาย งานแบบนี้ เวลาเสนอทำให้ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย

โครงการย่อยๆ เราก็ทำเองได้ เพราะแต่ละหน่วยงานมีเงินปกติของตนเองอยู่แล้ว

แม้กรมการท่องเที่ยวเป็นหน่วยงานเล็ก แต่มีงบประมาณมาก

เราก็ต้องทำงานร่วมกับหลายๆฝ่าย

งบท่องเที่ยวและบริการ สถาบันการศึกษาสามารถจะของบผ่านหน่วยงานตนเอง งบนี้เป็นงบฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร ไม่ใช่วิจัย เพราะวิจัยก็มีอีกงบประมาณหนึ่ง

ตอนนี้เสนองบประมาณ 300-400 ล้านบาท

ส่วนงบวิจัยตั้งไว้ 2 หมื่นล้านบาท วิจัยเพื่อการมีส่วนร่วม

ต้องมีการแบ่งปันข้อมูลกัน สถาบันการศึกษาก็จะทำงานร่วมกับประชาชนได้

ในเรื่องการพัฒนาพื้นที่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามีแผนงานเชิงนโยบาย 2-3 แผน

1.สนามบินที่ยึดโยงการท่องเที่ยว เช่น สนามบินภูเก็ตสามารถรองรับนักท่องเที่ยวทั้งขาลงและขากลับ ขณะนี้อยู่ที่ 11 ล้านคน จะปรับเพิ่มเป็น 18 ล้านคนต่อปีในปี 2560

นักท่องเที่ยวอีก 7 ล้านคน จะรองรับอย่างไร

โรงแรมที่พักตอนนี้เกิน 30% เพราะฉะนั้นโครงสร้างต้องเปลี่ยน เพราะตอนนี้มีโรงแรมมากเกินไป

ขณะเดียวกัน จะพยายามกระจายตัวออกมาทางภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง ระนอง แล้วข้ามไปฝั่งอ่าวไทย ที่นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานีและชุมพร จะจัดเส้นทางใหม่ รวมทั้งทางรถไฟ

สิ่งที่สำคัญคือ ภูเก็ตจะมีน้ำจากเขื่อนมาเพิ่มภายใน 3 ปี ควรจะวางแผนเรื่องเส้นทางได้แล้ว

เราพยายามแก้ไขโครงสร้างพื้นฐานและเส้นทาง ทำให้ทราบว่านักท่องเที่ยวอีก 7 ล้านคนจะมาอย่างไร

การบริหารท่าอากาศยานที่กระบี่และตรัง ตอนนี้กำลังเพิ่มเครื่องบินให้จาก 12 เป็น 24 เที่ยวต่อวัน คิดเป็นหนึ่งเท่าตัว

ในกรณีเกิดปัญหาสนามบินภูเก็ตรองรับคนเกินศักยภาพ ตอนนี้เครื่องบินลง 3 นาทีต่อลำ จะใช้สนามบินตรังเป็นสนามบินสำรอง

ในการข้ามฝั่ง ต้องโครงการเชื่อมต่อสองฝั่งมหาสมุทรให้มากๆ

การขยายท่าเรือใหญ่ ตอนนี้ภูเก็ตตกลงแล้ว่าเรือที่อ่าวขาวจากเดิมที่มีเรือ 60 เที่ยวต่อปี จะจอดเรือเพิ่มวันละ 1 ลำ นักท่องเที่ยวทางเรือจะมาจากอิตาลี อ้อมมาทางอ่าวไทย อีกเส้นทางมาจากญี่ปุ่น เพราะได้มีการตกลงกันไว้ มีเรือขนาดใหญ่ 4 ลำ มีเรือนิปปอนมารุมา จุได้ 2,500 คน

ในขณะเดียวกัน จะมีการขยายท่าเรือที่จังหวัดกระบี่ เปลี่ยนจากท่าเรือน้ำลึกขนสินค้าหนักและถ่านหินซึ่งมีปัญหามาก แล้วนำเรือท่องเที่ยวมาลงแทน เมื่อลงเรือ ก็มีอาหารมากมายลงไปในเรือมหาศาล มีการเปลี่ยนถ่ายเรื่องอาหารการกินและเครื่องใช้

โรงแรมจะขาดแคลนคน เพราะเรือใช้พนักงานมาก มหาวิทยาลัยต้องผลิตคนเพิ่ม

การท่องเที่ยวแบบกลุ่มเฉพาะเริ่มมีการขยายตัวมากขึ้น

การท่องเที่ยวภาคประชาชนได้เปรียบเพราะไม่ต้องลงทุนมาก ควรจะสร้างกิจกรรมให้น่าสนใจแล้วหารือร่วมกับภาคเอกชน

บ้านแขนงรับการท่องเที่ยวได้ทุกแบบ เอกชนทำการท่องเที่ยว แต่นำคนชุมชนอยู่มาแสดงวัฒนธรรมให้นักท่องเที่ยวชม ถ้าไม่มีนักท่องเที่ยวมา ก็กลับไปบ้านเลี้ยงลูกหลาน นี่คือรูปแบบที่ปรับตัว

แต่บางแห่งทำเป็นอาชีพ ต้องมีคนนำไป

ตอนนี้นักสื่อภาษาที่ดีเป็นที่ต้องการ มีป้ายภาษาต่างๆ ก็ทำงานได้ เพราะนักท่องเที่ยวไม่ต้องการให้คนพูดมาก เขาต้องการไปถ่ายภาพ สัมผัส มีส่วนร่วมในกิจกรรมในชุมชน เช่นงานบุญที่มีคนแต่งกายแบบพื้นเมือง ทำให้นักท่องเที่ยวอยากได้ชุดพื้นเมือง เพราะสวย

นี่คือความรู้ภูมิปัญญา

ส่วนอาหารการกินก็ชนะเลิศอยู่แล้ว

ทุกภาคส่วนทำได้แต่ต้องเกิดการเรียนรู้

งานทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยทุกคน

ผมมองเห็นคุณค่าของภาคประชาชน ภาคการศึกษา และภาคธุรกิจ

อยากให้ท่านได้ดูแลสังคมของเราในแต่ละพื้นที่ เป็นเครือข่ายซึ่งกันและกัน

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเป็นหน่วยงานทางวิชาการที่พยายามนำความต้องการนี้มาพัฒนา

อาจารย์เหล่านี้สอนให้กับคนไทยและอาเซียน สามารถปรับระดับได้ตลอดเวลา นี่คือวิทยากรภูมิปัญญาที่รู้จริง เข้าใจเพราะได้สัมผัสชุมชนมา

ขอขอบคุณพี่น้องภาคใต้

งานทำสำเร็จแล้วก็ต้องทำอย่างต่อยอด อย่าหยุด

ท่านเป็นตัวหลัก ผมเป็นตัวเสริม ถ้าทราบว่าท่านทำอะไร ก็จะได้ไปช่วยเหลือท่าน

แม้บทบาทหน้าที่จะเป็นอย่างไร แต่หัวใจก็ยังเป็นของท่าน

ขอบคุณมากครับ

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูข่าวโครงการ


ที่มา: ายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ "ดร.จีระ"

ตอน : การท่องเที่ยวและกีฬากับการบริหารจัดการเช­ิงบูรณาการตอนที่ 4
ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม 2558

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท