การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่แนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการ การท่องเที่ยวและกีฬาแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการ เพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาและภาคเหนือ


สวัสดีครับลูกศิษย์และชาว Blog ทุกท่าน

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่แนวทางพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและกีฬาแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการ ประกอบด้วยกระบวนการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการใน 2 ส่วน

บุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวและกีฬาในพื้นที่ดำเนินการ 5 คลัสเตอร์ ใช้ระยะเวลา
คลัสเตอร์ละ3 วัน 2 คืน รวม 5 คลัสเตอร์จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 200 คน ประกอบด้วย

(1) กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาและภาคเหนือ จำนวน 40 คน

วันที่ 25-27 กุมภาพันธ์ 2558 ณ โรงแรมเทวราช จังหวัดน่าน

(2) กลุ่มท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง จำนวน 40 คน

วันที่ 11-13 มีนาคม 2558 ณ โรงแรมเชียงคาน ริเวอร์ เมาท์เท่น รีสอร์ท จังหวัดเลย

(3) กลุ่มท่องเที่ยวมรดกโลกเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จำนวน 40 คน

วันที่ 23- 25 มีนาคม 2558 ณ โรงแรมสุโขทัยเทรเชอร์ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดสุโขทัย

(4) กลุ่มท่องเที่ยวมหัศจรรย์สองสมุทร จำนวน 40 คน

วันที่ 6-8 พฤษภาคม 2558 ณ โรงแรมภูงา จังหวัดพังงา

(5) กลุ่มท่องเที่ยว Active Beach จำนวน 40 คน

วันที่ 13-15 พฤษภาคม 2558 ณ บ้านปู รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดตราด

หมายเลขบันทึก: 586768เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2015 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2015 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สรุปการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬา

ด้านการบริหารจัดการเชิงบูรณาการเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน

กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาและภาคเหนือ

ระหว่างวันที่ 25 – 27 กุมภาพันธ์ 2558 ณ โรงแรมเทวราช จังหวัดน่าน

พิธีเปิด

กล่าวรายงาน

โดยนางนาถนรีธนะปัญโญ

ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดน่าน

ท่านประธาน และ ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ดิฉันขอขอบคุณหัวหน้าสำนักงานจังหวัดน่าน คุณพิชิต บุญรอด ที่กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธานพิธีเปิดการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่แนวทางพัฒนาด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและกีฬาแบบมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการ กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาและภาคเหนือ

ก่อนอื่นดิฉันขอรายงานความเป็นมาและประวัติการประชุมเชิงปฏิบัติการดังนี้

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้รับมอบหมายให้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในสาขาท่องเที่ยวและบริการ และกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนมีความตระหนักในการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาคุณภาพสินค้าบริการและการบริหารจัดการแบบองค์รวมในทุกมิติ ได้ค้นพบประเด็นสำคัญคือเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ในกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวและกีฬาให้มีองค์ความรู้และศักยภาพที่มีความพร้อมรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งได้นำมาสู่โครงการจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในลำดับต่อมาเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่สำคัญด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการใน 4 กลุ่มประกอบด้วยกลุ่มภาครัฐที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวและกีฬา กลุ่มธุรกิจเอกชนที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวและกีฬา กลุ่มสถาบันการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และกลุ่มท้องถิ่น ชุมชน และประชาชน

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่แนวทางพัฒนาด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและกีฬาแบบมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการ กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาและภาคเหนือ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬา ด้านการบริหารจัดการเชิงบูรณาการเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนที่จัดโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1.เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาศักยภาพองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาด้านการบริหารจัดการ แบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน

2. เพื่อเผยแพร่แนวทางการพัฒนาศักยภาพองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาด้านการบริหารจัดการการแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการซึ่งมีมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืนรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนไปยังทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

3. สร้างความเข้มแข็งให้เครือข่ายองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาในระดับประเทศ

4. ส่งเสริมให้ทุนมนุษย์ด้านการท่องเที่ยวและกีฬามีการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Learning how to learn) และสร้างศักยภาพการบริหารอย่างมีส่วนร่วมเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงระดับโลกอย่างต่อเนื่อง

การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 40 ท่านซึ่งมาจาก ภาครัฐ ภาคเอกชนและภาควิชาการในกลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาและภาคเหนือได้แก่ จังหวัดน่าน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ ลำปาง และลำพูน

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้

1. แนวทางการพัฒนาศักยภาพองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาด้านการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนที่ผ่านการศึกษา วิจัยและวิเคราะห์จากข้อมูล เอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกและระดมความคิดเห็นจากผู้มีประสบการณ์จริงด้านการท่องเที่ยวและกีฬาในประเทศไทย

2. ผู้เข้าร่วมประชุม สามารถมีแนวทางในการพัฒนาศักยภาพองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาด้านการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนให้เกิดมูลค่าด้านท่องเที่ยวและกีฬาเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนเพื่อให้ประเทศไทยได้ประโยชน์จากการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนอย่างเต็มที่

3. เครือข่ายที่เข้มแข็งที่พร้อมด้วยศักยภาพด้านการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการที่มีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างความร่วมมือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวและกีฬา

4. ความต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมกระบวนการสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Learning how to learn) ด้านการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและกีฬาให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงและความก้าวไกลของโลกอย่างต่อเนื่อง

ในการนี้ ดิฉันใคร่ขอเรียนเชิญท่านประธานกล่าวเปิดงานค่ะ

กล่าวเปิด

โดย นายพิชิตบุญรอด

หัวหน้าสำนักงานจังหวัดน่าน

ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดน่านได้มอบหมายให้ผมกล่าวต้อนรับโดยให้พูดถึงเจตจำนงด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดน่าน จังหวัดน่านมีการพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการท่องเที่ยว น่านเหมือนรุ่งอรุณที่ค่อย ๆ ขยายการเติบโต แต่ไม่มากเกินไปสิ่งที่น่านควรทำคือการเน้นเรื่องการพัฒนาและป้องกันในเรื่องการสูญเสียด้านการท่องเที่ยวโดยอยากให้เน้นเรื่องการร่วมกันในการบริหารจัดการด้วย

นับเป็นโอกาสดี ที่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งเป็นผู้มีศักยภาพมากในด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ มาช่วยในการกำกับดูแลโครงการเพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการพัฒนายุทธศาสตร์ใด ๆ ก็ตามขึ้นกับการพัฒนาทุนมนุษย์ เช่นเดียวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งการพัฒนาทั้ง 5 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาและภาคเหนือ

2. กลุ่มท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง

3. กลุ่มท่องเที่ยวมรดกโลกเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

4.กลุ่มท่องเที่ยวมหัศจรรย์สองสมุทร

5.กลุ่มท่องเที่ยว Active Beach

ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดน่านอยู่อันดับที่ 16 ซึ่งเป็นการรวมถึงรายได้ต่อหัว มีการใช้ปัจจัยด้านการพัฒนาการเกษตร ซึ่งใช้พื้นที่เยอะ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ พบว่าวัตถุมีพิษและเป็นอันตรายค่อนข้างค่อนข้างมาก

การท่องเที่ยวเป็นตัวดึงความเป็นอยู่ของจังหวัดน่านและล้านนาให้มีชีวิตที่ดีขึ้นทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่สร้างความเข้าใจร่วมกันจะไม่สามารถบริหารจัดการการท่องเที่ยวสู่สิ่งที่พึงประสงค์ได้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นเรื่องสำคัญ มีเครือข่ายภาครัฐเป็นการนำมีภาคเอกชน และผู้ประกอบการเป็นผู้เสี่ยงและการลงทุน และการสร้างชุมชนในการมีส่วนร่วม

ประเด็นที่ควรจะคิดคือควรให้ภาคเอกชนหรือชุมชนเป็นผู้นำเองด้วยจะดีหรือไม่เพราะจะสามารถถ่ายเทน้ำหนักในสิ่งที่เหมาะสม สังเกตได้ว่าในพื้นที่จังหวัดน่าน พบว่าบางอย่างภาครัฐนำได้ บางอย่างภาครัฐนำไม่ได้ จังหวัดน่านเป็นตัวอย่างอีกหลายสภาวการณ์ที่พบเจอ

ควรให้มีการดูแลในเรื่องความชอบของกฎหมายและความประนีประนอมทางรัฐศาสตร์และการแสดงความคิดเห็นของชุมชนในอีกหลายเรื่อง

จังหวัดน่านแม้ไม่ได้เป็นที่สนใจมากนัก แต่จังหวัดน่านยังคงเหลือในสิ่งที่แสดงถึงการดำรงชีวิตที่แท้จริงอยู่

ปัจจัยสำคัญในเรื่องการท่องเที่ยวจริง ๆ แล้ว ไม่ใช่สิ่งที่มีในเมืองใหญ่ ๆ แต่สิ่งสำคัญคือการมีวิถีของชุมชนและที่ดำรงอยู่ เป็นสิ่งที่เราควรดำรงอยู่ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เมืองน่านและเมืองอารยธรรมล้านนาและภาคเหนือยังคงอยู่

โครงการเป็นโครงการที่มาจากส่วนกลางและมาจากจังหวัด ทุกโครงการฯ จะไปสนับสนุนสิ่งที่พูดเกือบทั้งหมด

การมาประชุมในวันนี้จึงอยากให้กำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน มีการทำงานและสนับสนุนชุมชนให้ดูแลรักษาลมหายใจและอัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของแต่ละพื้นที่

การดำเนินงานใน 3 วันนี้คงได้มีการแลกเปลี่ยนและดำเนินการที่เหมาะสม ทั้งจริตคือทั้งพื้นที่ และ ทั้งความต้องการของน่านจริง ๆ วางใจที่ผู้ดำเนินการได้เลือก ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในการดูแลกำกับโครงการในครั้งนี้ ขออวยพรในการดำเนินการนี้ประสบความสำเร็จ

ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬา ด้านการบริหารจัดการเชิงบูรณาการเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน

โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ดร.จีระ ได้กล่าวว่าเมื่อมีโอกาสได้มารับใช้ประเทศ จะเน้นไปที่ความสำเร็จที่ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง ซึ่งความสำเร็จจะเป็นพื้นฐาน และอยู่ที่ทุกท่านทุกคน

ในช่วงแรกขอเวลาวางแผนความเป็นมาว่าเป็นอย่างไร และเมื่อเสร็จแล้วขอให้ทุกท่านถามคำถามและแสดงความคาดหวังถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในวันนี้ด้วย

ความสำเร็จอยู่ที่ความสนใจของทุกคน ขอให้เอาสิ่งที่ทุกคนทำมาร่วมกัน ในมีงบประมาณประจำปี มีภาระหน้าที่ ในส่วนของอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์และทีมงาน จะแนะนำให้ทุกคนได้ทราบเพื่อที่จะได้ Integrate หรือบูรณาการร่วมกัน และนำเสนอรายงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อยอดการบูรณาการร่วมกันในวันสุดท้าย

ดร.จีระได้กล่าวถึงความต่อเนื่องของโครงการฯ ที่ทำกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ปีที่ 1 เป็นการทำวิจัยโครงการพัฒนาขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

สรุปมาได้ 4 เรื่อง เน้นหัวข้อที่นำสู่ความเป็นไปได้ 1. การท่องเที่ยวชุมชน2. ท่องเที่ยวเชิงกีฬา

3. ความต่อเนื่อง และความยั่งยืน น่านต้องทำเหมือนหลวงพระบางคือรวยได้แต่อย่าทำลายสิ่งแวดล้อม ให้มีธรรมาภิบาล มีทุนทางจริยธรรม สำคัญที่สุด เราต้องอยู่อย่างยั่งยืน4.การสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มแบบ 3 V เน้นวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยวคือ วิถีไทย เราต้องให้ทรัพย์สินที่มีค่าอยู่กับรุ่นต่อไป

ปีที่ 2 เป็นการค้นพบเรื่อง Capacity Building เรื่องภาวะผู้นำกับทุนมนุษย์ เน้นให้ท่านมีศักยภาพ รวมกับทุนทางวัฒนธรรม รวมกับผู้นำ จัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ต้องมี Networking มี Capacity Building และทำอย่างไรถึงจะพัฒนาคนให้มีส่วนร่วม ดร.จีระมีแนวคิดเสริมคน ต้องมีการ Learn Share Care

ปีที่ 3มีการทำ 2 โปรเจค 1.ทำโครงการ Youth Camp ให้กับกระทรวงฯ 2. โครงการพัฒนาองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาด้านการบริหารจัดการเชิงบูรณาการเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน ครั้งนี้

สังเกตได้ว่าโจทย์ที่สำคัญของทั้ง 3 ปีคืออาเซียน และกระเด้งไปสู่การพัฒนาประเทศ

ที่ล้านนา ที่น่านเราเล็งไปที่ประเทศลาวเป็นหลัก

ที่แพร่ ที่เชียงราย ที่ลำปาง ถ้ามองเรื่องความสัมพันธ์กับอาเซียนลองคิดดูว่าจะทำอย่างไร ในอนาคตข้างหน้า เรามีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างบ้าคลั่ง8 K's 5K's

15 องค์ความรู้เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวและกีฬาไทยรองรับประชาคมอาเซียน

ลำดับที่ 1 องค์ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ลำดับที่ 2 องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และการมีจิตสาธารณะ

ลำดับที่ 3 องค์ความรู้เรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ลำดับที่ 4 องค์ความรู้เรื่องการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและกีฬาของชุมชนและท้องถิ่น

ลำดับที่ 5 องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาภาษาอังกฤษ ภาษาอาเซียน รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี

ลำดับที่ 6 องค์ความรู้เรื่องการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม

ลำดับที่ 7 องค์ความรู้ด้านการพัฒนานวัตกรรมด้วยความคิดสร้างสรรค์

ลำดับที่ 8 องค์ความรู้เรื่องการผสมผสานกิจกรรมท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

ลำดับที่ 9 องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาภาวะผู้นำ สร้างผู้นำ และการปรับทัศนคติสู่ความเป็นเลิศลำดับที่10 องค์ความรู้เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ

ลำดับที่11 องค์ความรู้เรื่องการสร้างและบริหารเครือข่ายและแนวร่วมและการทำงานเชิงบูรณาการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

ลำดับที่12 องค์ความรู้เรื่องการตลาดและการประชาสัมพันธ์

ลำดับที่13 องค์ความรู้เรื่องภาพยุทธศาสตร์ของการท่องเที่ยวและกีฬาไทยสู่ชุมชนและท้องถิ่น

ลำดับที่14 องค์ความรู้เพื่อการพัฒนามาตรฐานสู่สากล

ลำดับที่15 องค์ความรู้เพื่อการบริหารจัดการธุรกิจ SMEs สมัยใหม่

เราจะบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมอย่างไรให้ยั่งยืนอยู่กับเราได้ และทำอย่างไรถึงจะมีนวัตกรรม คิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์ สร้างมูลค่าเพิ่มจาก Sports Tourism ตัวอย่างเช่นการจัด Tour de France เราก็จัด Tour de Khong ประเด็นคือการร่วมมือกัน เพราะภาครัฐอีกไม่นานก็ย้าย ที่เหลือที่ไม่ย้ายคือพวกเราให้กลับไปทบทวนว่าวันที่ฟังแล้วได้อะไร

การพัฒนาคนในอาเซียนจะทำให้กับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในปีที่ 4

การเรียนยุคใหม่อยู่ที่แรงบันดาลใจ

นักการเมืองยุคต่อไปต้องรับใช้คนไทย

ทฤษฎี 3 ต คือต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง

เป้าหมายคือ เราจะไปทางไหน ไปอย่างไรและทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

สิ่งที่ทำคือค้นหาสภาพแวดล้อมในล้านนา ศึกษาเป้าหมาย และยุทธวิธีที่จะไป ให้เอาชนะอุปสรรค

เรื่องที่ต้องเราคิดร่วมกันคือ

- สถานการณ์ปัจจุบันด้านท่องเที่ยวและกีฬา

- จะพัฒนาการท่องเที่ยวและกีฬาอย่างไร

- ยุทธวิธีอย่างไร

- มีอุปสรรคให้เอาชนะและร่วมมือกันให้ได้

Workshop แบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ

กลุ่มที่ 1การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอารยธรรมล้านนาและภาคเหนือ

กลุ่มที่ 2การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sport Tourism)

กลุ่มที่ 3การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เสนอให้บวกกับ Agro Tourism

กลุ่มที่ 4 การท่องเที่ยวชุมชน

สิ่งที่ทำต้องไปเสนอเพื่อนำสู่การปฏิบัติให้ได้การทำงานต้องมีความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกันเอาชนะอุปสรรคให้ได้ ตัวอย่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำเรื่องขยะ มีการวางแผนจะเป็นหุ้นส่วนกัน

การเชิญพม่า กัมพูชา ลาว การทำงานร่วมกัน จะเกิดชุมชนการเรียนรู้ในตัวละครในอาเซียนด้วยกัน ตอนสุดท้ายอยากให้ทุกท่านนำเสนอโครงการในการทำงานร่วมกัน

การแสดงความคิดเห็น

1. ทำงานที่สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นกรรมการอยู่ที่สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ขอถามว่าทำไมการประชุมในครั้งนี้ไม่มีแม่ฮ่องสอนเพราะภาคเหนือจะมี 8 จังหวัด

จะกระจายไปที่น่านและแพร่เยอะหน่อย จึงขอให้รวมแม่ฮ่องสอนด้วย

2. อาจารย์บุษบา สิทธิการ จาก ม.แม่ฟ้าหลวงเห็นด้วยด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดร.จีระ กล่าว เพราะที่แม่ฟ้าหลวงได้ทำการท่องเที่ยวชุมชน และได้ทำเรื่องชาติพันธุ์ของกลุ่มภาคเหนือที่เชียงราย ซึ่งน่าจะขยายมาที่กลุ่มภาคเหนือด้านตะวันออกคือแพร่ น่าน พะเยา และการขยายตามเส้นทาง R3A

ปัญหาคือ การขายเชียงราย แพร่ น่าน พะเยา อัตลักษณ์คืออะไร และศักยภาพในความพร้อมที่จะเพิ่มขึ้นควรมีมากน้อยแค่ไหนหรืออย่างไร คนสำคัญอย่างไรสินค้าจะสร้างความเป็นอัตลักษณ์ได้อย่างไร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เน้นให้ใส่พื้นฐานที่ต้องดีก่อนที่จะไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ ไม่งั้นจะล้มเหลว อยากให้มหาวิทยาลัยรวมถึงอาชีวมีบทบาทด้านการพัฒนาพื้นฐานด้วย

3. คุณภูณัช ธนาเหล่าพานิช เป็นอดีตนายกสมาคมโรงแรมภาคเหนือ 8 จังหวัด เป็นที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวภาคเหนือเขต 1 เห็นด้วยกับสิ่งที่ ดร.จีระ พูดทั้งหมด เรื่องการสร้างบุคลากรเป็นเรื่องสำคัญณ ตอนนี้อาเซียนที่เราจะพูดถึงมีการประชุมที่ลาว เวียดนาม และที่มาทุกครั้งที่เชียงใหม่

ประโยชน์ของการท่องเที่ยว นั้นคือการสร้างทรัพยากรบุคคลเป็นเรื่องสำคัญ สิ่งที่อยากเห็นคือองค์กรภาคการท่องเที่ยวอยากให้เกาะกลุ่มกันให้ได้

ทำไมถึงเลือกจังหวัดน่าน

จังหวัดน่านกำลังเป็นจังหวัดนำร่อง มีความเป็นล้านนา ความเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ แต่ต้องให้เข้าใจถึงองค์กรต่าง ๆ ว่ามีศักยภาพในการทำเพียงพอแล้วหรือยัง องค์กรต่าง ๆ เราเป็นเจ้าบ้าน เราต้อนรับเขาอย่างไร เรากล้าพูดหรือไม่

เส้นทางของจีน ถ้าผ่าน R3A จะผ่านหลวงพระบาง ปัญหาคือจะทำอย่างไรให้ท่องเที่ยวยั่งยืนไม่ได้ขายความบันเทิง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวถึงการประชุมวันนี้ว่ามี 3 คำคือ 1. เครือข่าย 2. Capacity Building (Capacity อาจหมายถึงอัตลักษณ์ การเงิน คน ด้วย) 3. Sustainability

4. คุณสุรพล ตันสุวรรณ อยากสนับสนุนที่ดร.จีระ พูดคือเรื่องการสร้างแรงบันดาลใจ เป็นแรงหนุนให้พวกเราและเสริมพวกเรา ในปี 2555 ขณะนั้น เป็นรักษาการสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวลำปางทุกคนต้องมีความกล้า กล้าแสดงออกให้ได้ อยากให้มีการดึงดูด Sports Tourism เข้ามา ท่องเที่ยวทางเลือก ท่องเที่ยวเชิงพจญภัย เชิงสุขภาพ และเชิงกีฬา มีการเอาเรื่องการออกกำลังกายและกีฬาได้เสนอ ได้ผลักดันโครงการลำปางผจญภัยเป็นการผลักดันภาคเหนือตอนบน ในปี 2556-2558 ได้รับงบประมาณจัดล้านนาแอดเวนเจอร์ในภาคเหนือ 3 ปี และได้รับแจ้งในปี 2559 ว่าผ่านแล้ว

กลุ่มจังหวัดเห็นความสำคัญว่า 3 ปีไม่พอจึงได้ดึงกลุ่มยุโรป อเมริกา แปซิฟิคเข้ามา นอกจากน่านแล้ว บุคลากรลำปางมากเป็นพิเศษ สิ่งที่ได้คือบ้านเราและประเทศเรา

การอภิปรายเรื่อง "ท่องเที่ยวและกีฬากับแนวทางการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงสู่อาเซียน"

หัวข้อ ทิศทางการท่องเที่ยวสู่การต่อยอดเศรษฐกิจในกลุ่มอาเซียน

โดย ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

หัวข้อการท่องเที่ยวและกีฬาแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการ

กรณีศึกษาการสร้างเครือข่ายที่พัก และโรงแรมสีเขียว จังหวัดน่าน

โดยคุณจันจิรา ชินสุขเสริม

รองประธานชมรมที่พักจังหวัดน่าน

ดำเนินการอภิปรายโดย คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

คุณพิชญ์ภูรี กล่าวถึงบทบาทที่เหมาะสมของทุกภาคส่วนนั้นต้องมีความยืดหยุ่นเพื่อนำสู่การทำงานที่มีความราบรื่น เน้นแนวทางเรื่องการเป็นหุ้นส่วนโดยมีการให้เกียรติ ความเท่าเทียม และความมีศักดิ์ศรีและเราจะนำความสำเร็จไปต่อยอดในอาเซียนได้อย่างไร

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า

การทำเรื่องอาเซียนเน้นการทำงานอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ทุกท่านเป็นคลัสเตอร์ล้านนาเพื่อรองรับอาเซียนมี 4 ตัวละคร สลับกันเล่นได้เรียกว่า Role Clarity สิ่งสำคัญคือต่อเนื่องและวัดผลได้

เราสอนเรื่อง Networking อยากให้แต่ละประเทศได้ทดลองการสร้าง Network ในประเทศของเขาและมีการไปศึกษาดูงาน

Sustainability เกิดจากภาคประชาชน ไม่ได้เกิดจากนักการเมือง ทุกคนต้องมีส่วนร่วมด้วย

ข้อดีคือ Networking , Capacity , 3V (Value Added, Value Creation, Value Diversity)

การที่เรามีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เช่น Buddhism ไทย กับพม่า รวมกัน

การดำเนินการครั้งนี้ ได้ดำเนินการเรื่อง GMS ไปบ้างแล้ว การพัฒนาคนถ้าปลูกแตงกวา 3 เดือน ปลูกมะม่วง 3 ปี ปลูกมนุษย์ชั่วชีวิตควรให้เน้นการพัฒนาคนตามช่วงอายุต่างๆ

งานวันนี้คือได้กระตุ้น Networking , Capacity , 3V (Value Added, Value Creation, Value Diversity) ให้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทำอย่างไรถึงนำความหลากหลายมาเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจได้

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ตัว R มี 2 ตัว คือ Reality คือความจริง เช่น ล้านนาต้องแสวงหาความร่วมมือคือ Cluster ล้านนาในอาเซียน เครือข่ายชาติพันธุ์ ไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าดูจริง ๆ แล้วจะเป็นวัฒนธรรมร่วมและคลี่คลายสู่ความเป็นอัตลักษณ์ของประเทศ

การต่อยอดทางเศรษฐกิจคือนักท่องเที่ยว ซึ่งได้แก่นักท่องเที่ยวในกลุ่มอาเซียน และทั่วโลก สิ่งที่อยากให้วิเคราะห์คือเรื่องการสร้าง Networking ต้องสร้างให้มีพลัง ทั้งเครือข่ายจัดตั้งและเครือข่ายทางธรรมชาติ

เรื่อง Capacity Building เรื่องการเพิ่มสมรรถนะ และศักยภาพของคนเพื่อให้มีการเชื่อมต่อกัน เช่นการสร้างวัดวาอาราม การสร้างวัฒนธรรม เป็นต้น

การเอาชนะอุปสรรค การรวมพลังเป็นเครือข่าย ถ้าทิศทางการท่องเที่ยวที่ต้องต่อยอดทางเศรษฐกิจต้องต่อยอดให้ได้ในเชิงเศรษฐกิจ ถ้าต่อยอดได้คนจะมา การสร้างความเป็นศูนย์กลาง

คุณจันจิรา ชินสุขเสริม

ปัญหาคือ การทำงานของแต่ละโรงแรมต่างคนต่างทำมีผอ.ภัทรอนงค์ ผอ.ททท. แพร่ เข้ามาช่วยในการพัฒนาที่พัก

1. เพื่อการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีส่งเสริมและแลกเปลี่ยนความรู้ความเห็น ตลอดจนให้ความช่วยเหลือ ระหว่างสมาชิก

2. สร้างความสัมพันธ์ อันดีระหว่าง ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว หน่วยราชการ และสถาบันเอกชน

3. ยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการที่พัก ให้มีมาตรฐาน

4. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่แหล่งท่องเที่ยวศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม

5. บริหารจัดการสถานประกอบการให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

6. ส่งเสริมให้มีการประชุม และการแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวงการ

โรงแรม ที่พัก รวมถึงเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ทั้งนี้จะต้องไม่เป็นการขัดกับนโยบายและการบริหารราชการของรัฐบาลและไม่เกี่ยวข้อง ฝักใฝ่กับการเมือง ศาสนา หรือลัทธินิยมใด ๆ

การรวมกลุ่มกันเพื่อจัดตั้งชมรม

สิ่งสำคัญที่ทำให้การรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายประสบความสำเร็จ

-ความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ประกอบการเนื่องจากเป็นคนท้องถิ่นเดียวกัน มีความเอื้ออาทร ที่พร้อมที่จะช่วยเหลือกัน

-พื้นฐานความต้องการที่ตรงกัน โดยอยากจะพัฒนา และยกระดับสถานประกอบการให้ก้าวไปสู่มาตรฐาน ในเรื่องของการบริหารจัดการ งานบริการ และความพร้อมของสถานประกอบการในการรองรับนักท่องเที่ยว

แนวทางในการสร้างชมรมให้เข้มแข็ง

1. สร้างแนวความคิด โดยให้สมาชิกมีความเข้าใจตรงกันในเรื่องงานบริการ

การบริการแบบมีธรรมาภิบาล

•หลักนิติธรรม

•หลักคุณธรรม

•หลักความโปร่งใส

•หลักความมีส่วนร่วม

•หลักความรับผิดชอบ

•หลักความคุ้มค่า

การบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

•ระบบการจัดการสถานประกอบการให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

2. พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ระหว่างสมาชิกในชมรมฯ รวมถึงปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน โดยผู้ที่มีประสบการณ์ และประสบความสำเร็จ เป็นผู้ที่ให้คำปรึกษา และสร้างความเชื่อมั่น

3. จัดกิจกรรมที่ทำให้สมาชิกได้มีส่วนร่วม และเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจได้แก่

การศึกษาดูงาน และเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจและแนวทางปฏิบัติโดยร่วมกับเครือข่าย

ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้ให้ความร่วมมือ และสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของชมรม

•ททท. (สำนักงานแพร่ น่าน อุตรดิตถ์)

• องค์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (อพท.น่าน)

• ตำรวจท่องเที่ยว จ.น่าน

• สมาคมท่องเที่ยวจังหวัดน่าน

• วิทยาลัยเทคนิคน่านสาขาการท่องเที่ยวและโรงแรม

• วิทยาลัยชุมชน

• สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน

• แหล่งชุมชนแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ

•กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา

• กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

• สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม

การรวมกันทางเครือข่าย

การทำข้อตกลงร่วมกันในการดำเนินกิจกรรมและการส่งเสริมการทำงานร่วมกับ

ททท.(สำนักงานแพร่ น่าน อุตรดิตถ์) และ ตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดน่าน

ในเบื้องต้นมีการรวมตัวกันน้อยมาก ด้านบ่อเกลือทำอย่างไรให้โรงแรมมีจุดเด่นนอกจากนั้นต้องมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่พักและโรงแรมต่าง ๆ ให้พนักงานมีการวนไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โรงแรมที่เปิดนานกว่าจะให้โอกาสและประสบการณ์ใหม่

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริงให้ผู้เรียนรู้เข้าใจและพร้อมปฏิบัติได้

การจัดสถานประกอบการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ สร้างความมีส่วนร่วมในสถานประกอบการของโรงแรม ทางอพท.น่านจะเป็นผู้สนับสนุน ภายในชมรมจะมีกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์และการประกอบการ มีการให้ข้อแนะนำและนำสิ่งที่ดีมาเผยแพร่ให้สมาชิกรับทราบ

การมีเครือข่ายสมาชิกจะสัมผัสกับวิถีชุมชน ในท้องถิ่น จะเชื่อมโยงกับนักท่องเที่ยวที่พักในสถานประกอบการได้อย่างไร สามารถถ่ายทอดให้รับทราบได้อย่างไร ต้องไปทั้งชมรมและหมุนเวียนกันไป

ให้คณะกรรมการและสมาชิกพบปะพูดคุยเพื่อพัฒนาชมรมต่อไป

การศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ อพท. รุ่นแรก จังหวัดเลย และพะเยา เพื่อให้รู้จักผู้ประกอบการที่อื่น

มีโครงการท่องเที่ยวแสนสุขใจ และโครงการปั่นจักรยานของจังหวัดน่าน ในการสร้างเสริมสิ่งแวดล้อม

มีวิทยาลัยชุมชนมาอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษของโรงแรม การพัฒนาธุรกิจการค้า

การประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลนักท่องเที่ยวและที่พัก ให้นักท่องเที่ยวรับทราบข้อมูลและแหล่งที่พักในจังหวัดน่าน ให้ชมรมมีส่วนร่วมในการแสดงข้อคิดเห็นการท่องเที่ยวในที่ที่ผ่านมา

ตัวอย่างกิจกรรมหลัก

1. โครงการอพท.น่าน ให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการลดโลกร้อนระหว่างนักท่องเที่ยว ให้ส่วนลดค่าห้องพัก ใช้จักรยานในการท่องเที่ยวตามจุดบริการในเครือข่าย การจอดรถดับเครื่องยนต์ และเปิดแอร์ 25 องศาเพื่อสนับสนุนสิ่งแวดล้อม

ด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ให้สังคมเรียนรู้กับสิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น สร้างอาชีพใหม่ให้กับชุมชน สร้างรายได้สู่ท้องถิ่น

ด้านสิ่งแวดล้อม ลดคาร์บอนไดออกไซด์กับปัญหาสิ่งแวดล้อม

โครงการโรงแรมสีเขียว

ทางชมรมได้สร้างเครือข่ายจากหน่วยงานในพื้นที่มีหน่วยงานใหญ่ที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อขยายผลการประกอบการให้มีวงกว้างขึ้น โรงแรมที่เป็นสมาชิกสามารถสมัครมาในโครงการ มีการรับโล่เกียรติคุณ ได้รับรองคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมในระดับไหน

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดย่อมและ SMEs สมาชิกในชมรมได้เข้าร่วมในโครงการและได้รับรางวัลมา เพื่อให้มีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ และมีความโปร่งใสในการดำเนินงานให้มีการปรับปรุงวิธีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ได้ตระหนักให้ภาคธุรกิจมีการเติบโตและแข็งแรงสู่สาธารณชนได้

การเข้าร่วมอุตสาหกรรมด้านที่พัก เพื่อส่งเสริมการตลาดและเผยแพร่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สร้างมูลค่าทางการท่องเที่ยว

แนวทางดำเนินงานที่ผ่านมาค่อนข้างสำเร็จ และมีแนวทางพัฒนาสิ่งแวดล้อมน่านให้รองรับกับสิ่งแวดล้อม

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ถ้ากรณีที่โรงแรมที่พักมีปัญหาด้านที่พัก มีในจังหวัดน่าน มีหรือไม่และทางชมรมมีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง

คุณจันจิรา ชินสุขเสริม

มีการจัดตั้งกลุ่มไลน์และถ้ามีนักท่องเที่ยวสอบถามที่พักในระดับราคาต่าง ๆ จะมีการสอบถามในไลน์ว่าใครมีที่พักบ้าง จะมีการตอบผ่านไลน์ ทำให้ที่ผ่านมาช่วง High Season นักท่องเที่ยวค่อนข้างได้ที่พัก 100 %

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

แนวคุณจันจิราแสดงถึงความร่วมมือของผู้ประกอบการและมีการกระเด้งไปสู่อื่น ๆ ด้วย ซึ่งถ้าใช้รูปแบบนี้แล้วกระเด้งไปที่อาเซียนได้จะเป็นประโยชน์

การวิเคราะห์ในบริบทอาเซียนจะเน้นอะไรบ้าง

คุณจันจิราตอบว่า ควรทำให้มีความมั่นคง และเป็นปึกแผ่นก่อนก้าวไปสู่อาเซียน ตอนนี้กำลังเริ่มทำ ความคาดหวังน่าจะสำเร็จได้เร็ว ๆ นี้ก่อนที่จะก้าว

ดร.จีระ ได้ถามว่าอนาคตจะมีเครือข่ายกี่อันให้คุยกัน ให้ 4 ตัวละครไปตอบโจทย์ในทุกเรื่องเช่น Safety สิ่งแวดล้อม การคิดเรื่องเครือข่ายถ้าทำดีแล้วมีอุปสรรคก็จะมาแชร์กัน

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

วัฒนธรรมการร่วมเป็นเครือข่าย ความสำเร็จได้บริการที่ดี เห็นถึงความรับผิดชอบร่วมกัน เห็นถึงประโยชน์ในการเข้าไปอยู่ในสังคมด้วย

เน้นการเรียนรู้ร่วมกัน ให้มีการประเมินและมาพูดคุยกัน

Workshop

กลุ่มที่ 1

อารยธรรมล้านนาตะวันออก มีวัฒนธรรม วิถีชีวิตและอัตลักษณ์ที่คล้ายคลึงกัน เน้นอัตลักษณ์วิถีไทย

สิ่งที่อยากทำคือ

1. การเป็น Hub ของภูมิภาค การคมนาคม การอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว

จุดยุทธศาสตร์ใน Location คือการพัฒนาท่องเที่ยวข้ามพรมแดน การออกกฎ กติกา ทั้งการเข้าถึงและการบริการให้นักท่องเที่ยวมาเชื่อมกันง่ายขึ้นแต่ ณ ปัจจุบันนี้ยังไม่พร้อม

การมองเรื่อง Logistic สินค้า การเกษตรการเปลี่ยนแปลงในการก้าวสู่อาเซียน Community

ประเทศไทยยังไม่พร้อมที่จะเข้าสู่อาเซียน ของไทยเวลาจะไปที่ต่าง ๆ ต้องขออนุญาตวีซ่าเกือบทุกที่ ข้าราชการยังไม่เข้าถึง AEC ประเทศไทยถ้าจะเข้า AEC กฎหมายต้องเหมือนกัน Free Visa ก็ต้องเหมือนกัน

วัฒนธรรมของไทยเรียบร้อยอ่อนน้อมแต่ต่างประเทศผิดคือผิด สถานที่บริการถ้าเป็นกฎระเบียบจะตรงมาก จะทำอะไรต้องระมัดระวังแต่สำหรับประเทศไทยเมื่อนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทยทำอะไรก็ได้ และไม่มีอะไรหลายอย่างที่ให้เขาศึกษา

คุณดนิตา มาตาที่เชียงตุงเสนอปัญหาเรื่องญาตพี่น้อง มีกลุ่มชาติพันธุ์ พูดกับคนเชียงใหม่ ล้านนา ติดที่กฎระเบียบ และการรักษาพยาบาลถ้าหากคลี่คลายได้จะมีนักท่องเที่ยวที่มาจากรัฐฉานหรือภาคเหนือเป็นจำนวนมาก

เรื่องวัฒนธรรม วิถีชีวิต และอัตลักษณ์ การศึกษาเรียนรู้เรื่องเทศกาลและประเพณี

ความที่มีทรัพยากรที่เหมือนกัน ทั้งเชียงราย ทั้งพะเยา มีการจัด Event การเชื่อมโยงวัฒนธรรมสองแผ่นดิน สามแผ่นดินหลายอย่างเข้าไป มีกิจกรรมที่แสดงถึงอัตลักษณ์และวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง

อาจารย์ที่ ม.พะเยาจะใช้ข้อได้เปรียบหรือโอกาสที่มาถึงดินแดนล้านนาสัมผัสกลิ่นอายของล้านนา ผ่านการแต่งกาย ผ่านคำอู้ ทำอย่างไรให้รู้สึกว่าดินแดนนี้มีสิ่งที่ดี อยากจะทำให้เห็นอัตลักษณ์ที่แท้จริง อยากให้ได้รับรู้เรื่องกลิ่นอายล้านนา เรื่องภาษา เรื่องการรับรู้วิถีชีวิตพื้นบ้าน

ประกอบด้วยภาคี ครบถ้วนคือ ข้าราชการ ผู้ประกอบการ วิชาการ ผู้นำชุมชน

กลุ่มที่ 2

1. คุณหนุ่มกล่าวว่าโอกาสล้านนาไทยเมื่อเปิดสู่อาเซียน มองว่า คนล้านนามีลักษณะที่โดดเด่นมาก ทั้งเรื่องภาษา การแต่งกาย การทานอาหาร วิถีชีวิต ความเชื่อคนล้านนามองออกว่าสำเนียงคนแพร่ กับคนเชียงใหม่ต่างกันอย่างไรแต่คนมาจากถิ่นอื่นจะไม่ทราบ

คุณสุรพล กล่าวถึงการเอาจุดด้อยมาเป็นจุดเด่นในกลุ่ม คือการเน้นการมองจากคนนอกมองเข้าหาคนในมากกว่าคนให้คนในมองกันเองและมีข้อดีสำหรับกลุ่มนี้คือมีความหลากหลายในกลุ่มทั้งภาควิชาการ ภาคชุมชน ภาครัฐ และภาคธุรกิจ

จุดเด่นคือของล้านนาคือมีเพียง 3 จังหวัดคือลำปาง ลำพูน และแพร่ที่ไม่เชื่อมกับอาเซียน แต่จังหวัดอื่นเชื่อมกับอาเซียนทั้งหมด เช่นผ่าน R3A ที่แพร่ มีชุมทางเรื่องทางรถไฟ ในความเหมือนเรื่องอารยธรรม วิถีชีวิตล้านนา เรื่องความเชื่อ เรื่องการฟ้อน ภาษาพูด ประเพณีที่มีความแตกต่างกัน ในแต่ละพื้นที่

ความเหมือนเรื่องกลองสามารถชูเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ได้ สามารถชูเทศกาลและอัตลักษณ์ของตัวเองขึ้นมา และให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและประเพณีกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์ได้ยกตัวอย่างการท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเช่นยุโรปยังมองล้านนาไม่ลึกซึ้งเท่าภูเก็ตหรือสมุยจึงอยากให้ค้นหารากเหง้าของตัวเองและนำเสนอให้ชัด ให้มีการปะทะกันทางปัญญาซึ่งคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยยังไม่เข้าใจ

คุณสุรพล อยากให้คนในทุกท้องที่ ท้องถิ่นหวงแหนอัตลักษณ์ในพื้นที่ของตนเอง ให้นักท่องเที่ยวไปสัมผัสตัวตนในท้องถิ่นนั้น ๆ ไปต้องเอาอัตลักษณ์ของพื้นที่อื่นมาแสดงที่พื้นที่ตนเอง และไม่ต้องเอาอัตลักษณ์ของตนเองไปแสดงที่พื้นที่อื่น อยากให้นักท่องเที่ยวสัมผัสถึงเอกลักษณ์และความเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่อย่างแท้จริง

2. คุณหนุ่มกล่าวในเรื่องทำเล ล้านนาไทยเป็นทำเลที่สามารถเชื่อมโยงอาเซียน 8 จังหวัดภาคเหนือ มี เพียง 3 จังหวัดที่ไม่ติดชายแดน อย่างเช่นน่านสามารถเชื่อมออกสู่หลวงพระบาง สามารถทะลุถึงเวียดนาม

โอกาสของล้านนาไทยสู่ภาคเหนือ ถือว่าเป็นทำเลที่ดี

คนที่มาภาคเหนือ มาเพราะอากาศดี อากาศเย็น มีธรรมชาติที่ที่อื่นไม่มี

ทะเลหมอกที่เมืองน่าน เป็นทะเลหมอกที่เข้าถึงง่ายมาก ที่น่านเข้าถึงทะเลหมอกง่ายมาก

3. อยากพัฒนามนุษย์ เรื่องภาษาความรู้ ความสามารถ Capacity และ Ability ของคน

- การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวก การพัฒนาเรื่องสิ่งแวดล้อม และระเบียบในการรองรับเนื่องจากติดพื้นที่ชายแดน

- การทำผังเมือง เรื่องกฎระเบียบการข้ามแดนการทำ CBT Cross Border เมืองน่านมีห้องพักอยู่ 2,700 แต่จริงๆ แล้ว 5,000 กว่า แต่อยากให้ดูว่าน่านมีศักยภาพที่รองรับจริงเท่าไหร่

กลุ่มที่ 3

ตัวแทนจากสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ถ้ามองในกลุ่มจะคล้าย 2 กลุ่มที่นำเสนอ แต่ในกลุ่มได้เพิ่มการมองถึงเรื่องการยกระดับแหล่งท่องเที่ยวตามชายแดน เนื่องจากอยากทำให้การท่องเที่ยวกระจาย ไม่กระจุกตัวอย่างเช่นปัจจุบันนี้ อยากให้มีการรองรับตามแนวชายแดน ทำให้การรองรับทุกระดับมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เพราะว่าเมื่อนักท่องเที่ยวผ่านมาที่ชายแดนถ้าไม่เห็นมีอะไรจะผ่านไปที่อื่น ทำให้กลายเป็นเมืองกระจุกตัว และเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

อยากให้มีการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวัง เช่น อาสาสมัครท่องเที่ยวและ เครือข่ายด้านการดูแลวัฒนธรรมและประเพณี

ปัญหาเรื่องความปลอดภัย การเปิดอาเซียนโดยทะลักเข้ามาไม่มีกฎระเบียบ พวกเราถ้ามีความคิดเห็นต้องผลักดัน

มีการจัดสมัชชา มัคคุเทศก์รุ่นเยาว์ทั่วประเทศ ต้องจัดให้มีความต่อเนื่อง

คุณอุดม ลำพูน

ฉายโมเดลการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามแนวชายแดนการพัฒนาหมู่บ้านชนบทหรือชนเผ่า เรื่องทำมาหากินและพัฒนาคนด้อยโอกาส

การพัฒนาชนเผ่า เห็นวิถีชีวิตที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม สิ่งที่เอาไปใส่ในการ Create อย่างเช่นมีการร้องเพลง เน้นการสร้างอารมณ์เมื่อลูกค้าถูกละลายพฤติกรรมจะมีอารมณ์ดี ให้อภัยเรื่องสิ่งผิดพลาดได้

ตัวอย่างการท่องเที่ยวที่ดอยปู่หมื่น ได้มีกฎว่าลูกค้าเมื่อจะไปข้างบนต้องใช้รถกระบะของชุมชน

ลูกค้าต้องใช้บริการรถของท้องถิ่น ต้องเก็บชา และจ่ายเงินให้ชุมชน ต้องแชร์วัฒนธรรมตนเองและ ให้นักท่องเที่ยวแสดงตอบด้วย ในยุทธศาสตร์ให้มีการขับเคลื่อนสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นจริง

การมองถึงกลุ่มล้านนา แบ่งเป็นกลุ่มวัฒนธรรม มีการมองลึกไปในสินค้าท่องเที่ยว ถ้าเราสร้าง Package ร่วมกัน ด่านน้ำเพียงดินถ้ามีการพัฒนาเอาตองจินมาร่วมIn lay Laid มาร่วมจะมีการเชื่อมโยงต่างชาติร่วมกัน สามารถสร้างสินค้าเชื่อมโยงบ้านพี่เมืองน้องและสามารถขายใน AEC ได้

กฎระเบียบเป็นเรื่องภาครัฐที่กลุ่มหนึ่งกลุ่มสองสะท้อนให้เห็นนั้นเราต้องเลาะกำแพงออกให้ได้

การร่วมล้านนา AEC ต้องพัฒนาอาหารที่สะอาดปลอดภัย พัฒนาเป็นกลุ่มคลัสเตอร์ สร้างความมั่นคงทางอาหารให้เกิดขึ้นทางล้านนา

คุณสุรพล ตันสุวรรณ

ได้มีอาสาสมัครโดยเครือข่ายจักรยาน ช่วยเหลือด้านการท่องเที่ยวจากคนในพื้นที่และ ต่างประเทศ สหรัฐสวีส ฝรั่งเศส ฯลฯ ถ้าโครงการสำเร็จจะเสนอต่อ ก.การท่องเที่ยวอนุมัตงบประมาณต่อไป

อพท.

ตัวแทนอพท.ได้กล่าวถึงชมรมที่พักของจังหวัดน่าน เป็นเรื่องสำคัญมากที่การตั้งชมรม มีวัตถุประสงค์ให้เกิดธรรมาภิบาล ถ้าสถานประกอบการเต็มจะแนะนำให้ไปอีกที่หนึ่ง เคยมองว่าภาคธุรกิจน่านทำได้จริงหรือไม่เพราะว่าการแนะนำต่อนั้นทำให้เกิดการวิตกกังวลว่าการส่งต่อดีจริงหรือไม่ แต่ต่อมาได้มีการทำมาตรฐานให้ใกล้เคียงกัน ทำอย่างไรให้ผู้บริโภครองรับ ทำอย่างไรให้อพท.เข้าไปช่วยง่าย

ชุมชนบ้านมหาโพธิ์ และบ้านพระเกิด ประสบความสำเร็จด้วยตัวของชุมชนเอง แต่ทำไมหน่วยงานภาครัฐถึงไปสนับสนุนได้น้อยลง หน่วยงานภาครัฐต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไปจริง ๆ

สุวพณิชย์ แสดงสกุลสุนทร

ปีหน้าอยากให้ทุกคนในห้องนี้เป็นคนช่วยจัดงานในปีหน้าอยากให้ประเด็นที่พูดไปสู่ความต่อเนื่อง

ได้เชิญชวนกลุ่มจังหวัดแพร่ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นกลุ่มที่ได้รับการยอมรับว่าทำด้วยตัวเอง คือกลุ่มทุ่งศรีมีกลุ่มกบหงอน และทะเลหมอก และอัญมณีที่ภูเขา ตอนนี้ยังให้ทหารดูแลอยู่

จังหวัดแพร่นั้นมีความเป็นมายาวนานมากกว่าที่เขียนไว้ ประวัติเมืองแพร่จึงเหมือนขาด ๆ แหว่ง ๆ มีตัวอย่างชุมชนที่เกี่ยวข้องคือ ชุมชนสูงเม่นทำ MOU ร่วมกับหลวงพระบาง

คิดว่าการทำโครงการในครั้งนี้สิ่งที่ทำมาไม่หลงทาง อยากให้ทำต่อเนื่อง

ประธานชมรมที่พักจังหวัดน่าน

ความสำเร็จเรื่องเครือข่ายโรงแรมที่พักจังหวัดน่าน เพราะเป็นสิ่งที่ทำด้วยหัวใจ ความสำเร็จคือหัวใจหรือทีมงานที่ออกมาทำงาน พวกเราอยู่อย่างพี่น้อง มีความจริงใจต่อกัน มีเป้าหมายเดียวกัน

มีการตั้งคำถามในโรงแรมที่พัก ถ้าชมรมที่พักจะเดินได้ ต้องมีมาตรฐานแต่ละราคา เข้ามาแล้วไม่ต้องประชาสัมพันธ์มากแต่ใช้การบริการ ความสะอาด และความปลอดภัย และการเพิ่มพัฒนาทักษะ

ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นได้เนื่องจากเรามีกิจกรรมต่อเนื่องตลอดและสอดคล้องกับการพัฒนาบุคลากรตลอด

เมื่อภาพรวมเข้มแข็งขึ้นเรื่อย ๆเราจะไปสู่อาเซียนได้จะพาไปศึกษาดูงานต่างประเทศ

บ่อเกลือวิว มีเสน่ห์อะไรบางอย่าง ภายใต้คำถาม ต้องตอบได้ว่าสถานที่ท่องเที่ยวมีอะไรบ้าง พื้นที่ไหนเป็นตรงไหนต้องช่วยดูแล

การพัฒนาเครือข่าย ณ วันนี้ ส่วนใหญ่เราเข้ามี 2 เส้นทางคือ ห้วยกูดไปหลวงพระบาง อีกเส้นทางคือบ้านใหม่ชายแดนไปแล้วได้อะไร

เรายกระดับให้เกิดความน่าสนใจ มีการเชื่อมเครือข่ายลูกค้าว่าจะไปอย่างไร สามารถส่งต่อลูกค้ากันได้

ถ้าจะเชื่อมโยง เราต้องมีความจริงใจ และเสียสละจริง ๆ ถึงเรียกว่าอาสาสมัคร

พะเยา

มีนกยูงป่ามาเยอะแยะมากเชิญที่กว๊านพะเยา

ดร.จีระ

อยากให้ดูว่าการท่องเที่ยวนั้นเพื่อใครจะได้รู้ว่าควรทำอะไรต่อ

สรุปการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬา

ด้านการบริหารจัดการเชิงบูรณาการเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน

กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาและภาคเหนือ

ระหว่างวันที่ 25 – 27 กุมภาพันธ์ 2558 ณ โรงแรมเทวราช จังหวัดน่าน

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นอกจากทุนมนุษย์แล้วการตลาดจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือ 3 V ( Value Added , Value Creation , Value Diversity) และกระเด้งสู่อาเซียน ต้องเอา 8 จังหวัดไดไป

Opportunities มี Product ใหม่ ๆโดยให้ดูเรื่อง Service และ Process ด้วย

และให้ทุกคนบอกว่าควรจะทำอะไรต่อ และให้ทำในบริบทของอาเซียน และกระเด้งมาสู่ล้านนาด้วย

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

การให้ทุกท่านมาระดมความคิดและวางเป้าหมายร่วมกันเพื่อไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยืน และนับเป็นโอกาสดีที่จะรวมคนเก่ง ๆ มาระดมความคิดร่วมกัน มาสร้างมูลค่าเพิ่ม คุณค่าเพิ่ม ระดมความคิด วางเป้าหมายร่วมกัน หรือที่เรียกว่า Value Creation คุณค่าที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์

ความหลากหลายให้คิดโครงการใหม่ ๆ ที่สามารถไปสู่ประชาคมอาเซียนได้ และ Value ทั้ง 3 ตัวยังไม่จบยังคงต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ

กลยุทธ์การตลาด สร้างมูลค่าเพิ่มการท่องเที่ยวและกีฬาไทย ก้าวไกลสู่อาเซียน

โดย ดร.ละเอียด ศิลาน้อย

การตลาดเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

การท่องเที่ยวคืออะไร สมัยก่อนเรียก Travel Industry แต่ตอนหลังพอเป็นศาสตร์ที่คนทั่วโลกกำหนดนิยามในการใช้ร่วมกัน

มีใครอยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวบ้างกลุ่มแรกที่เราต้องมองคือใคร

- นักท่องเที่ยว เกี่ยวอย่างไร นักท่องเที่ยวต้องการอะไร เช่น ความสุข หาประสบการณ์ ปลอดภัย หาความรู้ สรุปสุดท้ายคือได้ความประทับใจกลับไป (Satisfaction) ถ้าตัวนี้ไม่สำเร็จ งานไม่จบ

- ผู้ประกอบการธุรกิจด้านสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว ต้องการอะไร ต้องการรายได้ กำไร เช่นการชวนมาออกบู้ท บอกว่ามาแล้วขายห้องได้จะมาเลย

- รัฐบาลในประเทศนั้น ต้องการอะไร ชื่อเสียง การจ้างงาน

- ชุมชนในแหล่งท่องเที่ยว ต้องการอะไร ต้องการแสดงสิ่งที่เขามี ต้องการความภาคภูมิใจในท้องถิ่น

นักท่องเที่ยวคือใคร ?

ต้องนิยามให้ชัดจะได้รู้ว่าเราทำงานกับใคร

- ในการท่องเที่ยวโลก ถ้านักท่องเที่ยวมาต้องค้างคืน ถ้าไม่ค้างคืนไม่เรียกนักท่องเที่ยว เวลานับ ๆ จำนวน Arrival ไม่ใช่จำนวนหัว และไม่อยู่เกิน 12 เดือน

- นักทัศนาจร เพื่อเป้าหมายอะไร มีปัญหาอะไรทำไมต้องแยก ประเด็นอยู่ที่ค้างหรือไม่ค้าง

World Tourism Organization องค์การการท่องเที่ยวโลกนับจำนวนนักท่องเที่ยวตามจำนวนครั้งในการเดินทาง แบ่งเป็น นักท่องเที่ยวและ นักทัศนาจร

- นักท่องเที่ยว (ผู้ที่ค้างคืน) คือผู้ที่มาเยือนและพักอยู่อย่างน้อย 1 คืนอยู่ชั่วคราวไม่เกิน 12 เดือนและไม่ประกอบอาชีพหารายได้

- นักทัศนาจร (ผู้มาเยือนวันเดียว) ไม่ได้พักค้างคืน

- ผู้เดินทาง แบ่งเป็นผู้มาเยือน (Visitors) กับ คนเข้าเมือง (Immigrants)

- นักท่องเที่ยวมาทำอะไรมาดูชม หาประสบการณ์ หาแฟน ใช้เงิน ซื้อของ ถ่ายรูป ผ่อนคลาย ได้หลายอย่าง

จุดมุ่งหมายของแต่ละกลุ่ม

1. พักผ่อน

2. ธุรกิจ

3. ญาติ/เพื่อน

4. ภารกิจพิเศษ

5. ประชุม สำคัญมากเพราะใช้จ่ายเงินมากกว่านักท่องเที่ยวธรรมดา 3-6 เท่า

ศูนย์ประชุมสามารถต่อยอดสิ่งอื่น ๆ ได้เยอะ

แรงจูงใจในการท่องเที่ยว

1. สิ่งจูงใจ Motivators

- ทางกายภาพเช่นลดความเครียด

- ทางวัฒนธรรม

- ทางบุคคล เช่นพบเพื่อนใหม่

- ทางสถานภาพและชื่อเสยง เช่นการพัฒนาและได้รับยกย่อง

2. ปัจจัยผลักดันและดึงดูด Push and Pull Factors

Push Factors

- สุขภาพอนามัย

- ความอยากรู้อยากเห็น

- ความพึ่งพอใจ

- ความเชื่อ

- ธุรกิจและวิชาการ

- เพื่อนฝูง

- เกียรติภูมิ และความมีหน้ามีตา

Pull Factors

- แหล่งศิลปวัฒนธรรม

- เขตชนพื้นเมืองดั้งเดิม

- สถานที่ทางการเมือง

- สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง

- ศาสนาที่สำคัญ

- ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี

- งานหรืองานประเพณี

- ศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ

- หัตถกรรม

- ศิลปะการแสดงและการดนตรี

- ภาษา

- ฯลฯ

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

เป็นการบูรณาการที่แท้จริง เพราะต้องเชื่อมกับภาคส่วนอื่น ๆ

การเรียงตามลำดับความสำคัญ

1. ความปลอดภัยต้องสร้างให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย ซึ่งสำคัญกว่าความปลอดภัย

2. การเดินทาง

3. การซื้อของ (จ่ายเงินมากที่สุด) 30 %

4. ที่พัก 28%

5. อาหาร 16 %

6. แหล่งท่องเที่ยว / กิจกรรม 5 %

7.บริการท่องเท่ยว/สิ่งอำนวยความสะดวก

8.สถานบันเทิง

สินค้าทางการท่องเที่ยว

1. Products/Goods

- สินค้ามีทั้งจับต้องได้และจับต้องไม่ได้

- ผลิตและบริโภคไปพร้อม ๆ กัน

- สูญเสียได้ง่าย

-ขึ้นอยู่กับฤดูกาล

- สินค้าเหมือน ๆ กัน

- โดดเด่นไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน

- ต้องบริโภครวม ๆ กันไป

- แปรเปลี่ยนรูปได้ง่าย

- แยกการบริโภคไม่ได้

- ไม่อาจเป็นเจ้าของได้

- มีลักษณะพิเศษเฉพาะตน

2. Services/Experiences

การบริการที่ดีคือ

การส่งตามความต้องการของลูกค้า ที่ดีมากกว่านั้นคือการบริการเกินความต้องการของลูกค้า ที่ดีกว่านั้นการท่องเที่ยวทำอยู่ คือ ให้บริการก่อนที่เขาเรียกร้อง

เรื่องท่องเที่ยวเป็นสิ่งกระจุกกระจิก การบริการมีอิทธิพลมาก

โซ่เส้นหนึ่งแข็งเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับข้อที่อ่อนที่สุด การท่องเที่ยวต้องทำข้ออ่อนให้แข็ง ปล่อยข้ออ่อนไม่ได้

นักท่องเที่ยวต้องการอะไร

ด้านความประทับใจ ความคุ้มค่า

- ต้องทำให้เกิดความพอใจ

- ให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นพิเศษเฉพาะตนเจ๋งกว่าคนอื่น

- ต้องหาคนที่ทัศนคติที่ดีทำการท่องเที่ยว

การตลาดที่ดีที่สุดคือ การบริการให้ดีที่สุด ให้หันกลับมาดูตัวเอง ทำอย่างไรถึง Serve ลูกค้าได้ มาแล้วได้อะไร

นักท่องเที่ยวเมืองไทยส่วนใหญ่มาซ้ำ 60-70%

ทำไมส่งเสริมการท่องเที่ยว

เนื่องจากต้องการรายได้จากต่างประเทศมาเที่ยวที่เมืองไทย

ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ชอบท่องเที่ยว เพราะว่ามูลค่าในระบบเศรษฐกิจมากเป็นค่าทวี ของเงินเชื่อมต่อไปในภาคส่วนต่าง ๆ ประมาณ 6 เท่า เงินหมุนเวียน

Carrying Capacity

การที่สถานที่ท่องเทียวอย่าทำให้เกิน Physical Capacity

เรื่องเศรษฐกิจต้องเป็นคนในท้องถิ่นเป็นผู้ได้รับเงิน เพื่อนำมาพัฒนาแหล่งท่องเทียวในท้องถิ่น

เรื่องสังคมต้องเข้าใจเรื่องท่องเที่ยวร่วมกัน

ช่วยกันดูเรื่องสิ่งแวดล้อม มองคน วัฒนธรรม ไม่ใช่มองเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว

รูปแบบการดำเนินงานการตลาดท่องเที่ยว จากยุค 1.0 ถึงยุค 3.0

- ประเทศไทยเริ่มใช้ 3.0 เป็นเรื่องการ Create สร้างสิ่งใหม่ เรื่อง Co-Creation

การทำ Cluster ต้องระวัง

- บางครั้งเป็นตัวทางการเมืองมากไปเราต้องปรับ

- ต้องดู Cluster ทางวัฒนธรรมและสามารถเชื่อมไปลาวด้วย

ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย

1. การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจบริการและการท่องเที่ยว

2. ยั่งยืน ซื้อซ้ำ บอกต่อ เสนอแนะ ปกป้อง

3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์

- มั่นคง ขยายตัว ทั่วถึง ยั่งยืน

- Value Added , Value Creation, Value Diversity ทำสิ่งที่ไม่มีทำให้มีขึ้นมาได้

4. เพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถของบุคลากร ทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

5. การพัฒนาสินค้าของที่ระลึกและเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถของ OTOP

6. หลักสูตร ASEAN ภาษาต่างประเทศ ประวัติศาสตร์ และการเมืองการปกครอง ชุมชนตื่นตัวและมีความรอบรู้

7. ส่งเสริม พัฒนาและสนับสนุนใหทุกกระทรวงทบวกกรม มีความเข้าใจและมีความสามารถดำเนินงานและปฏิบัติงานพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

ประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุด 5 ประเทศ

  • •ฝรั่งเศส75.2 ล้านคน in France
  • •สเปน50.1 ล้านคน in Spain
  • •สหรัฐอเมริกา45.5 ล้านคน in USA
  • •อิตาลี39.1 ล้านคน in Italy
  • •จีน33.2 ล้านคน in PR China
  • ประเทศที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุด Revenue
  • •สหรัฐอเมริกา80.7 พันล้านยูโร Billion Euro Currency
  • •สเปน36.7 พันล้านยูโร
  • •ฝรั่งเศส33.5 พันล้านยูโร
  • •อิตาลี28.8 พันล้านยูโร
  • •จีน19.9พันล้านยูโร

การบรรยายหัวข้อ การพัฒนาทุนมนุษย์ด้านการท่องเที่ยวและกีฬา

เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันสู่อาเซียนและการแบ่งกลุ่มอภิปราย
"การสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มจากการท่องเที่ยวและกีฬาสู่อาเซียน"

ในกลุ่มอารยธรรมล้านนาและภาคเหนือ

กลุ่มที่ 1การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอารยธรรมล้านนาและภาคเหนือ

กลุ่มที่ 2การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sport Tourism)

กลุ่มที่ 3การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

กลุ่มที่ 4 การท่องเที่ยวชุมชน

โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ร่วมให้คำแนะนำกลุ่มโดยดร.ละเอียดศิลาน้อย

การพูดวันนี้จะเน้นที่การตลาดและเรื่องคนเพื่อตอบโจทย์ทุนมนุษย์

เลือกประเด็น ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ทำให้การทำงานประสบความสำเร็จมากขึ้น

การประสบความสำเร็จในการทำงานระหว่างประเทศขึ้นกับ Quality ของคน ให้ดูว่าคุณสมบัติมีอะไรบ้าง

คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา บอกว่า คน คนคือทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร

เราต้องเน้นการบ้าคลั่งความรู้ การปลูกฝังเรื่องทุนมนุษย์ สำหรับบางท่านที่เรียนครั้งแรกวิธี Approach ไม่เหมือนคนอื่น

Vision ต้องมี Action

Action ไปเรื่อย ๆ ล้มเหลว ไม่มีประโยชน์ คิดและทำให้สำเร็จ

เมื่อเรามีอุปสรรค เราต้องเอาชนะ

เราจะเปลี่ยนพฤติกรรมของคนต้องใช้เวลา

ความต่อเนื่องเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

1. 8K's 5K's คือปลูก ทำอย่างไรถึงพัฒนาคนให้ได้

2. การเก็บเกี่ยว

3. Execution เมื่อมีอุปสรรคให้เอาชนะ

8 K's : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capitalทุนมนุษย์

Intellectual Capitalทุนทางปัญญา

Ethical Capitalทุนทางจริยธรรม

Happiness Capitalทุนแห่งความสุข

Social Capitalทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน (ทำอย่างไรถึงอยู่รอดในระยะยาว)

Digital Capitalทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ

Creativity Capitalทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capitalทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capitalทุนทางอารมณ์

CulturalCapitalทุนทางวัฒนธรรม

Leadership Roles (Chira Hongladarom style)

  • 1.Crisis management การจัดการภาวะวิกฤตต้องแก้ปัญหาวิกฤตให้ได้
  • 2.Anticipate change การมีส่วนร่วมในความเปลี่ยนแปลง ต้องมองอนาคต
  • 3.Motivate others to be excellent การกระตุ้นผู้คนสู่ความยอดเยี่ยม
  • 4.Conflict resolution การแก้ไขความขัดแย้ง
  • 5.Explore opportunities การสร้างโอกาสแก่ผู้อื่น
  • 6.Rhythm & Speed รู้จักใช้จังหวะและความรวดเร็ว
  • 7.Edge ( Decisiveness ) กล้าตัดสินใจ
  • 8.Teamwork ทำงานเป็นทีม
  • 9.การบริหารความไม่แน่นอน

Mr.Roger La Salle ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและนวัตกรรมจากออสเตรเลีย พูดว่า.. นวัตกรรม แบ่งเป็น 3 เรื่องใหญ่ ๆ คือ

  • q Product
  • q Process
  • q Services
  • จังหวะไหนควรเข้า จังหวะไหนควรออก เราต้องร่วมมือกับคนอื่นเขา เราอยู่คนเดียวไม่ได้
  • ทฤษฎี HRDS
  • -Happiness ต้องมีความสุขในการทำงาน
  • - Respect ให้เกียรติ ยกย่องคนทำงานร่วมกับเรา
  • - Dignity การมีศักดิ์ศรี
  • - Sustainability เคล็ดลัพธ์คือทำต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง
  • ดร.ละเอียดได้เสริมเรื่องทิศทางการท่องเที่ยวว่า
  • 1.ต้องมีการอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม
  • 2.การบริหารจัดการที่ดี
  • 3.สามารถเปลี่ยนแปลงบางอย่างได้
  • 4.รักษาความพึงพอใจให้นักท่องเที่ยวสูงสุด
  • 5.กระจายรายได้
  • 6.StraightThrough

Workshop

Mr.Roger La Salle ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและนวัตกรรมจากออสเตรเลีย พูดว่า.. นวัตกรรม แบ่งเป็น 3 เรื่องใหญ่ ๆ คือ

  • q Product
  • q Process
  • q Services

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/politic/columnist/17160

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558. หน้า 5.

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูข่าวโครงการ


ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ "ดร.จีระ"

ตอน : การท่องเที่ยวและกีฬากับการบริหารจัดการเช­ิงบูรณาการตอนที่ 2

ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2558
ทางสถานีโทรทัศน์ TGN

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://www.gotoknow.org/posts/588684

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 9-24 เมษายน 2558

Please click this link to read the project news.

http://www.gotoknow.org/posts/588991

Source: FIHRD-Chira Academy Newsletter Fortnightly. on 9-24 April 2015 (English Version)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท