ตำราชีวิต 'ผลกระทบของโรคย้ำคิดย้ำทำ'


บทที่ 1 PEOP Interaction

P = Person

มีอาการ "คิด" และ/หรือ "ทำ" ซ้ำๆจนทำให้รู้สึกทรมาน แม้จะพยายามเลิกหรือต่อต้านก็ไม่เป็นผล แต่กลับทำให้กังวล และต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันไปกับอาการที่เกิดขึ้น

อาการย้ำคิด (Obsession) เป็นความคิด ความรู้สึก หรือจินตนาการ ที่ผุดขึ้นมาเรื่อยๆ ซ้ำๆ ทั้งที่ทราบว่าเป็นความคิดที่เหลวไหล ไม่สมเหตุผลหรือไม่เหมาะสม ซึ่งทำให้รู้สึกผิด อึดอัด หรือกังวล และพยายามหยุดยั้งความคิดนั้น พยายามแก้ไขหรือหักล้างความ คิดนั้นโดยใช้ความคิดหรือการกระทำอื่น

อาการย้ำทำ (Compulsion) เป็นพฤติกรรมซ้ำๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความย้ำคิด เพื่อลดความวิตกกังวล ที่เกิดขึ้นหรือหักล้างกับความย้ำคิด หรือป้องกันมิให้เหตุการณ์ไม่ดีที่ตนคิดเกิดขึ้น โดยลักษณะของการกระทำ มักจะไม่สมเหตุผล ทำให้รู้สึกอึดอัดต่อพฤติกรรมนั้น

E = Environment

ปัจจัยภายนอกต่างๆ เช่น ครอบครัว ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้เกิดความเครียด

O = Occupation

ส่งผลต่อกิจกรรมการดำเนินชีวิตหลักๆ ได้แก่

- การทำกิจวัตรประจำวัน (ADL)

- ประสิทธิภาพในการทำงาน (Work)

- การพักผ่อนนอนหลับ (Rest and sleep)

P =Performance

ผู้ป่วยสามารถควบคุมการย้ำคิดย้ำทำของตนเองได้ และสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข

บทที่ 2 Evidence Based Practice Levels

1.การศึกษาลักษณะอาการและความรุนแรงของ โรคย้ำคิดย้ำทำในผู้ป่วยนอก แผนกจิตเวช โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นงานวิจัยที่ศึกษาลักษณะอาการและระดับความรุนแรงของโรคย้ำคิดย้ำทำ ซึ่งหลักฐานนี้จัดเป็นหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือระดับ 3 (level of evidence C) เป็นหลักฐานที่ได้จากการวิจัยเชิงบรรยาย พรรณนา (Descriptive studies)

2.The Affect of Religious Cognitive-Behavior Therapy on Quality of Life Obsessive –Compulsive Disorder เป็นงานวิจัยที่พูดถึงผลของการใช้ Cognitive-Behavior Therapy (CBT) ในผู้รับบริการที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ ซึ่งหลักฐานนี้จัดเป็นหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือระดับ 3 (level of evidence C) เป็นหลักฐานที่ได้จากงานวิจัยที่เป็นการศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุม(controlled clinical trial) ที่มีคุณภาพพอใช้

3.The Impact of Family on Obsessive –Compulsive Disorder in children and Adolescents เป็นงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบต่อครอบครัวของผู้รับบริการเด็กและวัยรุ่นที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ ซึ่งหลักฐานนี้จัดเป็นหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือระดับ 3 (level of evidence C) เป็นหลักฐานที่ได้จากการวิจัยเชิงบรรยาย พรรณนา (Descriptive studies)

4.Impact of Obsessions And Compulsions on the Quality of Life in Obsessive Compulsive Disorder เป็นงานวิจัยทีศึกษาเกี่ยวการย้ำคิดย้ำทำที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในผู้รับบริการเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ ซึ่งหลักฐานนี้จัดเป็นหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือระดับ 3 (level of evidence C) เป็นหลักฐานที่ได้จากการวิจัยเชิงบรรยาย พรรณนา (Descriptive studies)

5. Predictors and moderators of Internet-based cognitive behavior therapy for obsessive–compulsive disorder เป็นงานวิจัยที่พูดถึงผลของการใช้ Cognitive-Behavior Therapy (CBT) ในผู้รับบริการที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ ซึ่งหลักฐานนี้จัดเป็นหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือระดับ 1 (level of evidence A) เป็นหลักฐานที่ได้จากการวิจัยที่เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่มีคุณภาพดีเยี่ยม

บทที่ 3 Knowledge Managements

สื่อทางกิจกรรมบำบัด (Media of Occupational Therapy)

Therapeutic use of self — การที่ใช้ตัวเราเป็นสื่อในการบำบัดรักษา ไม่ว่าจะเป็นการชี้ให้ผู้รับบริการรับรู้ถึงความสมเหตุสมผลของความคิดและการกระทำ รวมไปถึงการสอน การให้ความรู้ และการให้คำแนะนำต่างๆแก่ผู้รับบริการ

Therapeutic Relationship — สัมพันธภาพระหว่างผู้บำบัดกับผู้รับบริการ ผู้บำบัดต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้รับบริการก่อน เพื่อจะได้ทำให้ผู้รับบริการไว้วางใจในตัวผู้บำบัด เชื่อในสิ่งที่ผู้บำบัดบอก และแนะนำไป

Activity analysis — การวิเคราะห์กิจกรรม ซึ่งก่อนที่จะให้การบำบัดรักษา ผู้บำบัดต้องทำการวิเคราะห์ก่อนว่า จะทำอะไร เพื่ออะไร ให้ผลอย่างไร และส่งผลอย่างไรต่อผู้รับบริการ

Teaching and Learning process — การสอน และการเรียนรู้ ผู้รับบริการแต่ละคนมีความแตกต่างกัน และแน่นอนว่าการเรียนรู้ของแต่ละคนก็แตกต่างกันด้วยเช่นกัน ดังนั้นผู้บำบัดจึงต้องมีการประยุกต์ และปรับการสอนให้เหมาะสมกับระดับความสามารถผู้รับบริการแต่ละคน

Environment modification — การปรับสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่มีผลต่อผู้รับบริการ ดังนั้นจึงต้องมีการปรับสภาพแวดล้อมต่างๆของผู้รับบริการ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้รับบริการดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุขมากที่สุด

บทที่ 4 Knowledge Translations

กระบวนการทางกิจกรรมบำบัด มีดังนี้

1. การสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ

2. การสัมภาษณ์ผู้รับบริการ

3. การสังเกตผู้รับบริการ

4. การทดสอบผู้รับบริการ

5. ดูแฟ้มเวชระเบียนของผู้รับบริการ

6. สังเกตความสามารถของผู้รับบริการขณะทำกิจกรรม

7. ความสุขของผู้รับบริการ

8. ความต้องการของผู้รับบริการ

9. บทบาทของผู้รับบริการ

10. ประเมินตัวผู้บำบัดเองว่าได้อะไรจากการบำบัดรักษา ต้องเพิ่มหรือลดอะไร และต้องแก้ไขอะไร

บทที่ 5 ความรู้ใหม่ Implication & การนำไปใช้ Application

จากการศึกษา ทำให้ได้เรียนรู้ลักษณะอาการและความรุนแรงของโรคย้ำคิดย้ำทำ ได้รู้ถึงการใช้ Cognitive-Behavior Therapy ในผู้รับบริการที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ และได้รู้ว่าการที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นส่งผลต่อครอบครัวของเขาอย่างไรบ้าง และได้รู้ว่าการที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำส่งผลต่อการใช้ชีวิตของผู้รับบริการอย่างไร และสุดท้ายนี้จะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษานี้มาปรับใช้ในทางกิจกรรมบำบัดต่อไป

อ้างอิง

1.Gaurav and Krishna. Impact of Obsessions And Compulsions on the Quality of Life in Obsessive Compulsive Disorder. Journal of Mental Health & Human Behavior. [Internet] 2008 [cited 2015 Mar 11]; 13(1):37-42. Available from: http://ipsnz.org/jounal-2008-1/impact-of-obsessions.pdf

2.Martina Smorti. The Impact of Family on Obsessive –Compulsive Disorder in children and Adolescents: Development, Maintenance and Family Psychological Treatment. International Journal of Advances in Psychology. [Internet] November 2012 [cited 2015 Apr 17]; 1:86-94. Available from: http://www.academia.edu/4931548/The_Impact_of_Family_on_Obsessive_Compulsive_Disorder_in_Children_and_Adolescents_Development_Maintenance_and_Family_Psychological_Treatment

3.Erik Andersson, Brjánn Ljótsson, Erik Hedman, Jesper Enander, Viktor Kaldo, Gerhard Andersson, Nils Lindefors, Christian Rück. Predictors and moderators of Internet-based cognitive behavior therapy for obsessive–compulsive disorder: Results from a randomized trial. Elsevier. [Internet] January 2015 [cited 2015 Apr 17]; 4:1-7. Available from: http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2211364914000773

4.Sh Akuchekian, L Nader Nabi, V Emranifard, M Najafi, A Almasi. The Affect of Religious Cognitive-Behavior Therapy on Quality of Life Obsessive –Compulsive Disorder. Behavioral Sciences Research Center. [Internet] January 2015 [cited 2015 Apr 25]; 3(1):71-74. Available from: http://scidoc.org/articlepdfs/IJBRP/IJBRP-2332-3000-03-101.pdf

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด#ocd
หมายเลขบันทึก: 589755เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2015 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2015 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท