กิจกรรมพัฒนานิสิต : จากหนังสือเล่มเล็กสู่ e-book" (2)


แอบหวังใจไว้อย่างลึกๆ ว่า หนังสือที่จัดทำขึ้นจะเป็นแนวทางแก่นิสิต เจ้าหน้าที่ หรือกระทั่งอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมได้เข้าใจว่า เมื่อต้องสรุปผลการจัดกิจกรรมนั้น ควรคิดคำนึงถึงประเด็นอะไรบ้าง หรือหากต้องประเมินโครงการที่จัดขึ้น ควรคำนึงถึงองค์ประกอบใด

ต่อยอดจากหนังสือ "กิจกรรมพัฒนานิสิต : จากหนังสือเล่มเล็กสู่ e-book" ผมยังคงเดินหน้าสกัดองค์ความรู้เล็กๆ จากโครงการที่เห็นผลเชิงประจักษ์ในรอบปีงบประมาณ ๒๕๕๗ อย่างค่อยเป็นค่อยไป





ข้อมูลบางเรื่อง ผมใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ทั้งโดยสบตาพูดคุย สัมภาษณ์ผ่านระบบออนไลน์ ทั้งที่เป็น Email facebook หรือกระทั่งยกโทรศัพท์สัมภาษณ์สั้นยาวตามวาระ



ในหลักคิดการตัดเลือกโครงการมาเป็น "ต้นแบบ" ผมยึดแนวคิดหลักคือการขับเคลื่อน "กิจกรรมนอกชั้นเรียน" ที่ตอบโจทย์การบ่มเพาะความเป็นอัตลักษณ์นิสิต (นิสิตกับการช่วยเหลือสังคมและชุมชน) หรือกระทั่งปรัชญมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่กล่าวว่า "ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน"

นอกจากนั้น ยังใช้หลักคิดของกิจกรรมที่บูรณาการถึงระบบและกลไกทั้ง ๕ ด้านของการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนานิสิต นั่นคือ....

  • ด้านคุณธรรมจริยธรรม
  • ด้านบำเพ็ญประโยชน์ สิ่งแวดล้อม
  • ด้านศิลปวัฒนธรรม
  • ด้านวิชาการ
  • ด้านกีฬาและนันทนาการ



ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมเน้นโครงการที่ทำงานในเชิงการบูรณาการระบบและกลไกมากกว่ากิจกรรมที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพียงข้อเดียว หรือด้านในด้านหนึ่ง...

เช่นเดียวกับการใช้หลักคิดของการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เห็นมิติความสัมพันธ์ระหว่างการจัดกิจกรรมเรียนรู้นอกชั้นเรียนกับในชั้นเรียน โดยครอบคลุมองค์กรนิสิตที่ประกอบด้วย สภานิสิต องค์การนิสิต สโมสรนิสิต ชมรม รวมถึงที่จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยฯ




ต่อเมื่อมีการสรุปผลการดำเนินเสร็จสิ้น ผมก็แปลงข้อมูลทั้งปวงนั้นในรูปของ "หนังสือ" (อ่านเล่น) เน้นรูปแบบการสื่อสารในแบบของ "เรื่องเล่า"

ถัดจากนั้นก็แปลงหนังสือที่ว่านั้นเป็น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เพื่อให้ง่ายต่อการสืบค้น และจัดเก็บไว้ได้อย่างยาวนาน



ผมตั้งใจ หรือแอบหวังใจไว้อย่างลึกๆ ว่า หนังสือที่จัดทำขึ้นจะเป็นแนวทางแก่นิสิต เจ้าหน้าที่ หรือกระทั่งอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมได้เข้าใจว่า เมื่อต้องสรุปผลการจัดกิจกรรมนั้น ควรคิดคำนึงถึงประเด็นอะไรบ้าง หรือหากต้องประเมินโครงการที่จัดขึ้น ควรคำนึงถึงองค์ประกอบใด

รวมถึงการที่นิสิตและเจ้าหน้าที่ รวมถึงอาจารย์ จะเข้าใจในแนวทางของการตั้งประเด็นคำถามหนุนเสริมการเรียนรู้ของนิสิตว่ากิจกรรมที่จัดทำขึ้นนั้น ตอบโจทย์การเรียนรู้ในประเด็นใด หรือเมื่อจัดกิจกรรมแล้วมีปรากกการณ์ที่สำคัญๆ อะไรบ้าง....




มีเวลาแวะเข้าอ่านตามลิงค์ (หนังสือ) นี้ นะครับ



หมายเลขบันทึก: 589143เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2015 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2015 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

มาร่วมสนับสนุนกิจกรรมดีๆ..ชอบแนวคิดนี้ค่ะ..."ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน"

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/589143

ครับ คุณครูยอด

เอาแบบเป็นทางการ หรือบ่เป็นทางการล่ะน้องยอด...
อ้ายสิได้จัดการไห่

ครับ พี่ใหญ่ นงนาท สนธิสุวรรณ

... ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน ... เป็นปรัชญาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฟังเป็นนามธรรมมากครับ แต่ก็สัมผัสได้ผ่านกิจกรรมในหลักสูตรและนอกหลักสูตรประมาณนี้แหละครับ

นั่นคือเจตนาที่ผมหยิบยกโครงการในบางโครงการมากล่าวถึง เพื่อเป็นต้นแบบเล็กๆ ของการขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าประสงค์ของการผลิตบัณฑิต ครับ

ขอเป็นเล่มเลยครับ ฉบับอื่นๆนำกะดีเด๊ะอ้าย ให้เป็นแนวทางแน

ขอบพระคุณครับ

ชอบใจแนวทาง

มีหลักฐานการทำงานให้ครูและผู้สนใจได้เลย

ขอบคุณมากครับ มี มข ที่ครูยอดสนใจแล้ว

เย้ๆๆ

ฝากไปกับทีมงานที่มาในประกวดโครงการฯ วันนี้แล้ว นะครับ น้อง คุณครูยอด


ครับ อ.ขจิต ฝอยทอง

เราเองยินดีเผยแพร่ เปิดเผย ครบ เพราะนั่นคือกระบวนการหนึ่งของการประเมินศักยภาพเราด้วยเช่นกัน

ขอบพระคุณท่านพี่อย่างมากครับ

ได้รับแล้วเด้อครับเด้อ ขอบคุณหลายๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท