กิจกรรมพัฒนานิสิต : จากหนังสือเล่มเล็กสู่ e-book


ไม่รู้สิครับ-เราชอบพูดกันเหลือเกินว่า คนเราอ่านหนังสือกันน้อยมาก ถ้าไม่พิมพ์หนังสือ จะให้คนอ่านจากอะไรละครับ วีดีทัศน์ คลิปก็ไม่ใช่ทางออกที่จะแทนหนังสือได้ทุกเรื่อ

เรียกได้ว่าในแต่ละปีการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีโครงการ/กิจกรรมที่จัดโดยนิสิต ไม่น้อยกว่าปีการศึกษาละ ๓๐๐ โครงการ/กิจกรรมเลยทีเดียว เสมือนเฉลี่ยวันละโครงการ หรือวันละไม่น้อยกว่า ๑ โครงการ


คำว่า "จัดโดยนิสิต" ผมหมายความถึง "องค์กรนิสิต" ที่ประกอบด้วยองค์การนิสิต สภานิสิต สโมสรนิสิต ชมรม และกลุ่มนิสิต โดยไม่ได้ครอบคลุมถึงกลุ่มสาขาที่จัดกิจกรรมภายใต้หลักสูตรการเรียนการสอน หากแต่ครอบคลุมถึงกิจกรรมที่จัดโดยมหาวิทยาลัย ซึ่งส่วนใหญ่ผมมองผ่านฐานหลักคือกองกิจการนิสิต และฝ่ายพัฒนานิสิตของแต่ละคณะ โดยกิจกรรมหลักๆ ยึดโยงกับระบบและกลไก ๕ ด้าน ซึ่งทั้งปวงนั้นก็คล้ายคลึงกับการจัดกิจกรรมของทุกๆ มหาวิทยาลัยคือ

  • ด้านคุณธรรม จริยธรรม
  • ด้านบำเพ็ญประโยชน์และสิ่งแวดล้อม
  • ด้านศิลปวัฒนธรรม
  • ด้านนิสิตสัมพันธ์และวิชาการ
  • ด้านกีฬาและนันทนาการ



ระยะหลังๆ ผมให้ความสำคัญกับการพยายามจัดทำฐานข้อมูล หรือระบบสารสนเทศมากเป็นพิเศษ ไม่ใช่เพราะต้องการรู้แค่ว่าปีนี้ใครทำอะไรกันบ้าง หากแต่หมายใจว่าข้อมูลที่จัดเก็บนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาสืบค้นเพื่อใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ หรือเอาให้ง่ายสุดคือที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือการจัดกระทำไว้เป็น "จดหมายเหตุ" บนถนนสายกิจกรรมนั่นเอง

เช่นเดียวกับ หนังสือเล่มนี้ ผมใช้เวลาร่วมสองเดือนในการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อสกัดง่ายๆ บนฐานคิดสำคัญๆ คือ

  • ใคร
  • ใครทำอะไร
  • ใครทำที่ไหน
  • ใครทำอย่างไร ฯลฯ



แต่ด้วยข้อจำกัดบางประการ ทำให้ผมไม่สามารถหยั่งลึกลงถึงขั้นว่า "แต่ละโครงการ/กิจกรรม" ที่จัดขึ้นนั้นมีคุณลักษณะที่เป็น "แนวปฏิบัติที่ดี" อย่างไร รวมถึงเมื่อจัดกิจกรรมแล้ว "ประสบความสำเร็จ" หรือ "ล้มเหลว" อย่างไร ตลอดจนการเกิด "ผลลัพธ์" อย่างไร ทั้งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับ "นิสิต" และ "ชุมชน"


อย่างไรก็ดี นี่เป็นเพียงระยะต้นของการรวบรวมข้อมูลมาจัดเก็บไว้อย่างง่ายๆ โดยลึกๆ ผมก็เดินต่ออย่างเงียบๆ ด้วยการหยิบจับโครงการ/กิจกรรมเด่นๆ ของแต่ละองค์กรมาถอดบทเรียนเพื่อเป็น "โมเดล" ของการจัดกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อเป็นโจทย์แห่งการเรียนรู้ต่อยอดอย่างมีพลังต่อไป



ภายหลังหนังสือเสร็จสิ้นลง ผมและทีมงานก็ไม่ละเลยที่จะแปลงหนังสือเล่มเล็กที่ว่านี้ไปเป็น e-book ด้วยเช่นกัน เพื่อให้มีเส้นทางของการเผยแพร่ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น โดยสามารถคลิกเข้าเยี่ยมชมได้ ที่นี่ และ ที่นี่ :


ครับ- ผมไม่จิตตกกับคำหยิกแซวของผู้คนที่ว่าผมเป็นคนประเภท "บ้าหนังสือ" หรอกนะครับ ก็ผมเติบโตมาจากหนังสือ หนังสือไม่เคยทำร้ายผม ผมก็ใช้โมเดลหนังสือนี่แหละมาขับเคลื่อนชีวิตผมและคนรอบข้าง ซึ่งหมายถึงองค์กรด้วย...



แน่นอนครับ-ถึงแม้ผมจะบ้าหนังสือ แต่ผมก็ไม่ได้จ่อมจมจนไม่แลเหลียวถึงนวัตกรรมอื่นๆ ไม่ใช่ก้มหน้าก้มตาพิมพ์แต่หนังสือแจกจ่าย หรือกระทั่งบางท่านมองว่า "หว่าน" (ทิ้ง) ไปเรื่อยๆ หากแต่ผมก็ยังแปลงหนังสือไปสู่เทคโนโลยีอันเป็น e-book ด้วยเช่นกัน พร้อมๆ กับการเตรียมถอดบทเรียนเป็นคลิป วีดีทัศน์ด้วยอีกต่างหาก


ไม่รู้สิครับ-เราชอบพูดกันเหลือเกินว่า คนเราอ่านหนังสือกันน้อยมาก ถ้าไม่พิมพ์หนังสือ จะให้คนอ่านจากอะไรละครับ วีดีทัศน์ คลิปก็ยังไม่ใช่ทางออกที่จะแทนหนังสือได้ทุกเรื่อง (กระมัง....)

ขอบคุณครับ

หมายเลขบันทึก: 588489เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2015 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2015 09:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผมรักหนังสือเช่นกันครับ ;)...

อ่านแล้วไม่ได้ครึ่งของอาจารย์ทั้งสองท่านนี้เลยนะคะ หนอนหนังสือ (อ. เสือ) มีหนังสือที่สุดยอดทุกครั้งที่แนะนำ ต้องขอบคุณมากที่เผยแพร่หนังสือเล่มเล็กค่ะ อ. แผ่นดิน ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะมีประโยชน์ที่เด็กในยุคหลักสูตรมาตรฐานสากลที่จะเรียนรู้ในการสร้างองค์ความรู้ในแต่ละด้านนำมาทำเป็นวิจัยเล็กๆตามความสามารถของเด็กนะคะ วิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS)

ต้องขอนำมาลงให้เห็นว่าชื่นชมมากกับการนำเสนอค่ะ

ชอบอ่านหนังสือครับ

แต่อยากเขียนให้คนอื่นอ่านด้วย

555

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท