โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 2 (ช่วงที่ 5 ระหว่างวันที่ 27- 29 พฤศจิกายน 2557)


สวัสดีครับลูกศิษย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ชาว Blog

โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 2 ได้เข้ามาสู่ช่วงที 5 แล้ว ระหว่างวันที่27 - 29 พฤศจิกายน 2557

ผมขอเปิด Blog นี้ เพื่อเป็นคลังความรู้ของพวกเรา และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมุมมองของลูกศิษย์ของผมและท่านที่สนใจหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

...........................................................................

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ของโครงการฯ

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน2557

นำเสนองานกลุ่ม : วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสื เรื่อง "Search inside yourself"

Panel Discussion& Workshop

หัวข้อ "องค์กรแห่งความสุขที่ทรงประสิทธิภาพที่คณะแพทย์ฯ มอ."

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดร.สมโภชน์ นพคุณ

รศ.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต

รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

Panel Discussion

หัวข้อ เรียนรู้กรณีศึกษาของคณะแพทย์ศิริราชและกรณีศึกษาของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

เพื่อปรับใช้กับการสร้างคุณค่ากับงานของคณะแพทย์ มอ. ในอนาคต

โดย ศ.คลีนิกเกียรติคุณ ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์

ดร.ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร

หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

ร่วมวิเคราะห์และดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์


วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2557

กิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กาย (2)

‹จิตวิทยาการแก้ไขอาการ วิตก กังวล กลัว

‹รักษ์ใจ….ไม่เครียด ด้วยหัวเราะบำบัด

‹ฯลฯ

โดย ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม

Learning Forum

หัวข้อ "ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทยกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทย์ฯ มอ."

โดย ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา

วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2557

Learning Forum& Workshop

หัวข้อ "เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย..ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของคณะแพทย์ฯ มอ."

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หมายเลขบันทึก: 581295เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2014 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2014 11:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (79)

นำเสนองานกลุ่ม : วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ

เรื่อง "Search inside yourself" (Group Assignment 5)

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน 2557

กลุ่ม 1

CHAPTER 8 : Being Effective and Loved at the Same Time

CHAPTER 9 : Three Easy Steps to World Peace

ผู้นำที่ดี ต้องเปลี่ยนจากคำว่า I เป็น We

สิ่งที่ได้จากการทำสมาธิ

1. สามารถมองเห็นความดีงานของตนเอง

2. มอบความดีงามให้ทุกคน

TONGLEN MEDITATION ใช้กับคนมีจิตใจกล้าหาญและเข้มแข็งพอ

SCARF model

1. Status

2. Certainly

3. Autonomy

4.Relatedness

5. Fairness

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึง ความดีเปลี่ยนชีวิตคนได้ใน 10 นาที

การสนทนาที่ยุงยาก มีวิธีการเตรียมดังนี้

  • -เตรียมพร้อมในการสนทนา
  • - Decide whether to raise the issue.
  • - Start from the objective "third story."
  • - Explore their story and yours.
  • - Problem solve

Mindful E-Mailing การมีสติส่งผลต่อการสื่อสารทางอีเมล เรื่องแรกของการส่งอีเมลคือ โลกนี้มีที่เหมือนเราและไม่เหมือนเรา

บทที่ 9

1. Start with Me เริ่มที่ตัวเอง

2. Make Meditation a Field of Science

3. Align Meditation with Real Life การออกกำลังกาย

อ.จีระ: ผู้นำเสนอเป็นคนรุ่นใหม่ ประเด็นนำเสนอชัดเจนขอชมเชย หนังสือเล่มนี้ต่อเนื่องจาก How google works เนื่องจากคนเขียนเป็นชาวไต้หวัน

กลุ่ม 2

บทที่ 6

Making profits, rowing across oceans and changing the world

The art of self-motivation

ชนิดของแรงจูงใจ

1. Alignment: จัดลำดับงานตามความสำคัญและความปรารถนา

2. Envisioning: มองเห็นอนาคตที่ต้องการสำหรับตัวเอง

3. Resilience: ความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค

Alignment

•Having Fun for a Living ต้องสนุกกับการใช้ชีวิต

• True of motivation

1. Autonomy การกระตุ้นให้เป็นตัวของตัวเอง

2. Mastery ความปรารถนาที่อยากทำให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

3. Purpose ความปรารถนาที่จะทำสิ่งที่ใหญ่กว่าเดิม

Envision

•Discover ideal future คิดไอเดียได้แล้ว

• Talk ideal future พูดออกมา

Resilience ผ่านอุปสรรคได้อย่างไร

•Inner calm สำรวจตัวเอง

• Emotional resilience: positive and negative

• Cognitive resilience: optimism

Learn optimism

1st step: awareness of negative experience bias

2nd: mindfulness

3rd transformation: success and failure เอาประสบการณ์มาคิดวิเคราะห์และเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง

สรุป: เชื่อมโยงกับทฤษฎีทุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

•Human Capital ทุนมนุษย์

• Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

• Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

• Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

• Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

• Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

อ.จีระ: ระบบราชการเป็น Autonomy ยาก การไปสู่อิสระแล้วมีวัฒนธรรมองค์กรจะช่วยได้มาก

กลุ่ม 3

Search inside yourselfการค้นหาตัวคุณเอง 3 ขั้นตอน

1. ตั้งใจฝึกฝน

ความมุ่งมั่นเป็นพื้นฐานของความสามารถทางจิตและ การประจักษ์รู้ทางจิต

2. รู้จักตนเอง และรู้ความสามารถของตนเอง การฝึกฝนของคุณจะสร้างการรับรู้ในสายธาร

ของความคิด และคุณจะสามารถสังเกตกระบวนการของอารมณ์ได้อย่างแจ่มชัด

3. สร้างวินัยทางจิตให้มีประโยชน์ จินตนาการว่า เมื่อคุณพบใครก็ตาม คุณมีความคิดที่จะทำให้เขามีความสุข นิสัยนี้จะเปลี่ยนคุณ เพราะเกิดจากความจริงใจและความตั้งใจดีในระดับจิตใต้สำนึก และคุณได้สร้างความน่าเชื่อถือที่นำไปสู่ความร่วมมือในการสร้างผลงานที่สูงขึ้นในที่ทำงาน โดยนิสัยนี้สามารถฝึกฝนได้อย่างที่ต้องการ

องค์ประกอบของความฉลาดทางอารมณ์

1. การรู้ตัวเอง

2. ความเห็นอกเห็นใจ

3. แรงจูงใจ

4. ทักษะทางสังคม

5. การควบคุมอารมณ์

Cultivating Emotional Intelligence

•Train attention : ฝึกจดจ่ออยู่กับเรื่องราว/ เหตุการณ์เดียวในปัจจุบันขณะ

•Mindfulness meditation : การฝึกสติ การ เจริญสติ

ผลของการฝึกสติ

•ผลต่อจิตใจ

• ผลต่อสมอง

• ผลต่อสารเคมีในร่างกาย

ผลต่อจิตใจ

•การตระหนักรู้ ควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น เบี่ยงเบนอารมณ์ไวขึ้น

• เห็นตามความเป็นจริง

• ยอมรับความเป็นจริงได้ง่ายขึ้น (ทุกสิ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทำให้เกิดการปล่อยวาง)

•ผลต่อสมอง : คลื่นสมองเป็นระเบียบมากขึ้น

• ทำให้เกิดการผ่อนคลายได้มากขึ้น

• ทำให้มีความสามารถในการเรียนรู้ เพิ่มขึ้น

• ทำให้มีความสุขมากขึ้น

•ผลต่อสารเคมีในร่างกาย

–เมื่อจิตใจสงบลง สารเคมี "สารสุข" ก็จะหลั่งออกมา สารสุขเหล่านี้ได้แก่

•สารเอนโดฟีน ทำให้เกิดความสุขลึกซึ้ง

ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันดีขึ้น

•สารโดปามีน ทำให้มีความรู้สึกดีกับตัวเอง และมีความจำดีขึ้น

•สารซีโรโตนิน ทำให้มีความรู้สึกเป็นสุข

มีความหวัง รู้สึกว่าอนาคตมีทางออก เป็นต้น

การฝึกสมาธิ ใช้เวลาแค่ 2 นาที ก่อนนอน

อ.จีระ: กลุ่มนี้สรุปประเด็นชัดมาก ความจริงเรื่องสมาธิก็เป็นเรื่องของศาสนาพุทธ แต่คนคิดที่เป็นฝรั่งค้นพบและเป็นเรื่องราวใหญ่โต

กลุ่ม 4 Riding Your Emotions like a Horse

เมื่อเรามีสิ่งเร้ามากระตุ้น เกิดอารมณ์ความรู้สึกแย่ขึ้น เราจะสามารถจัดการกับสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร

เพราะจิตของเราเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ เมื่อเราเจ็บป่วยหากเรามีจิตที่ไม่สบายเราก็จะยิ่งทุกข์มากขึ้น จิตที่เป็นทุกข์ อารมณ์ที่ไม่ดี ก็เปรียบเสมือนกับสิ่งชั่วร้ายหรือปีศาจที่อยู่ในตัวเรา

เส้นทางแห่งความหนาวเย็นแห่งไซบีเรีย (SBNRR)

S = Stop (หยุด) หยุดจิตเราเมื่อเจอสิ่งเร้า

B= Breathe (ลมหายใจ) กำหนดรู้ลมหายใจ เพื่อผ่อนคลาย

N= Notice (ระลึก) ระลึกได้เพื่อการมีสติ

R= Reflect (สะท้อน) พิจารณาเพื่อความเข้าใจ อย่าพิพากษาตัดสินถูกผิด

R= Response (ตอบสนอง) สนองตอบในแง่บวก ไม่ว่าคิดหรือทำออกมา

แนวพุทธวิธี

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น สอดคล้องกับพุทธวิธีที่เราทราบกัน คือ

- สติ

- สมาธิ

- อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)

เมื่อเราเรียนรู้อารมณ์ รู้จักกับอารมณ์ รับมือกับอารมณ์ เราก็จะสามารถควบคุมอารมณ์ได้ เปรียบเสมือนกับการขี่ม้า เมื่อเรารู้จักม้าของเราดี และสามารถควบคุมมันได้ เราก็สามารถกำหนดทิศทางที่จะให้ม้าพาเราไปได้

อ.จีระ: ทุนทางจริยธรรมเหมือนกรอบควบคุมไม่ให้เราหลุดออกไป บทนี้เป็นบทที่ดีมาก คนที่มีคุณธรรม ต้องมีการควบคุมอารมณ์ได้ถึงจะเป็นใหญ่

กลุ่ม 5

บทที่ 4

Clarity เริ่มจากการเล่านิทาน เป็นนิทานอินเดีย ให้มองว่าภาพ ภาพต่างกันอย่างไร ประเด็นคือ หากเราปรับอารมณ์ได้ก็จะมองภาพได้ชัดเจนขึ้น

-Emotional awareness

-Accurate self-assessment

-Self-confidence

-A flagpole

-Body Scan

-Journaling

-My Emotions Are Not Me

เมื่อมีอารมณ์โกรธ ให้ออกมาจากอารมณ์นั้นโดยเร็ว

สรุป ถ้าเราเข้าใจตัวเองก็จะเปลี่ยนแปลงอารมณ์ตัวเองได้ เพื่อผลประโยชน์ขององค์กร

รศ.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต: ทั้ง 5 กลุ่ม มีความโดดเด่นที่สามารถสอดประสานได้เป็นอย่างดี ประเด็นที่ประสานมา พบว่ามีประเด็นว่าความสุข และความสุขของคนทำงานคืออะไร อ.จีระ กล่าวว่า เป็นสิ่งที่เป็นประสบการณ์ของคนเรา เราเอาพยายามเอาความสุข บวกกับสิ่งที่เราอยากให้เป็น ทางมีทุนทางอารมณ์ดี อ.จีระสรุปว่าถ้าเราเป็นนายของอารมณ์ทุกอย่างก็ไปได้ดี

แนวคิดของการทำงานเพื่อไปสู่ความสุข เป็นเรื่องสำคัญต้องติดตามให้ยั่งยืน ประสบการณ์ดี และประสบการณ์ที่ล้มเหลว ต้องคิดว่าประสบการณ์ที่ดีจะทำอย่างไรให้ยั่งยืน ส่วนประสบการณ์ที่ล้มเหลวจะลบมันออกไปได้อย่างไร อันไหนที่มีมากกว่าต้องบริหารจัดการ

ถ้าเราเอาใจเขามาใส่ใจเราตลอดเวลาก็จะเครียด ต้องมีการบริหารจัดการ

เทคนิคที่สามารถใช้ได้ คือ ต้องมีการรู้จักตนเอง ฉายภาพตนเองและอย่าเข้าข้างตัวเอง เราต้องมีการตั้งเป้า มีแรงจูงใจ และความมุ่งมั่น

ดร.สมโภชน์ นพคุณ: เราต้องหาตัวตนของเรา สิ่งที่สำคัญคือ Reflection เราย้อนมองกลับหาตัวเรา

หากมีความอดทน และพยายาม สิ่งที่ตามมาก็มีความสำเร็จ เพราะมีการปรับบริบท และปรับตัวเราเอง

สิ่งที่อ.จีระเน้นคือ Human capital และวันนี้การพัฒนาคนที่ยั่งยืน เป็นสิ่งที่สำคัญ ทีกล่าวว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐคือ คนเราคือคน human being เป็นความตัวตนของคน ซึ่งคนมีลักษณะพิเศษ คือ เป็น Autonomy มีอิสระทางความคิด มีความเป็นคนเต็มคน แต่ Human resource เป็นการถูกจ้างทำงานตามสิ่งที่กำหนด

  • -IQ
  • -EQ การอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ ต้องคุมอารมณ์ของตัวเองให้ได้
  • -PQ สุขภาพ ความแข็งแรง ออกกำลังกาย
  • -SQ Spiritual Quotient การมีจิตวิญญาณ

เวลามีความสุข เคมีในร่างกายเปลี่ยนให้มีความสดใส ต้องมีการสวดมนต์ เพื่อทำให้จิตใจสบาย

อ.จีระ: หลักของทุน คือมีการเสียการลงทุนก่อน

Panel Discussion& Workshop

หัวข้อ "องค์กรแห่งความสุขที่ทรงประสิทธิภาพที่คณะแพทย์ฯ มอ."

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดร.สมโภชน์ นพคุณ

รศ.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต

27 พฤศจิกายน 2557

รศ.ดร.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต: ทุกคนมีความมุ่งมั่น ตั้งใจเรียนมาก

องค์กรแห่งความสุข มีองค์ประกอบ

  • -การทำงานเป็นทีม
  • -ความพร้อม ( กาย จิต วิญญาณ สังคม ปัญญา)
  • -วัฒนธรรมองค์กร (ความรัก ผูกพัน)
  • องค์กรแห่งความสุขที่ทรงประสิทธิภาพ
  • -คนทำงานมีความสุข(Happy People)
  • -ที่ทำงานน่าอยู่(Happy Home)
  • -สมาชิกสมานฉันท์(Happy Teamwork)
  • -ต้องเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ
  • -มีความคิดสร้างสรร กล้าคิด กล้าทำ
  • -สร้างนวัตกรรม /ทำได้จริง ตรงจุด ตรงใจ และต่อเนื่อง
  • -สร้างคุณค่า
  • วัฒนธรรมองค์กร
  • การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
  • การถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น
  • การสร้างทีมทำงาน (Teamwork) ให้ไปด้วยกันได้ตามเป้าหมาย
  • ความพร้อมในการก้าวเดินไปด้วยกัน คนในทีมช่วยกันคิดสร้างสรรค์ ให้องค์กรอยู่รอดและเติบโต นำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุขที่แท้จริง
  • Work-life Balance
  • ความสุขระดับบุคคล
  • •สุขภาพกายดี (Happy body)
  • •ผ่อนคลายดี (Happy Relax)
  • •น้ำใจดี (Happy Heart)
  • •จิตวิญญาณดี (Happy Soul)
  • • ใฝ่รู้ดี (Happy Brain)
  • •สุขภาพเงินดี (Happy Money)

การบริหารจัดการความสุข

มีการวัดจาก Happinometer เป็นเครื่องมือวัดความสุขด้วยตนเอง

ความสุข คืออะไร ประสบการณ์และความรู้สึกที่มนุษย์สามารถบริหารจัดการได้อย่างสม่ำเสมอตามความปรารถนาในภาพรวม จนเกิดได้จริง และทำให้บุคคลนั้นเกิดความยินดี และอิ่มเอมใจทั้งนี้ ต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

ความสุขของคนทำงาน คือ จะวัดยากขึ้น เพราะมีทั้งเจ้านาย

  • -ประสบการณ์และความรู้สึกของคนทำงานที่ต้องการให้ตน เป็นที่ยกย่องและยอมรับจากคนทั่วไป
  • -การได้ทำงานในที่ทำงานอย่างมั่นคงและก้าวหน้า
  • เครื่องมือที่ใช้ คือ ของ Maslow's Hierarchy needs theory

HAPPINOMETER

มี 9 มิติ 56 ตัวชี้วัด
Happy Body สุขภาพดี มี 6 ตัวชี้วัด
Happy Relax ผ่อนคลายดี มี 5 ตัวชี้วัด
Happy Heart น้ำใจดี มี 9 ตัวชี้วัด
Happy Soul จิตวิญญาณดี มี 5 ตัวชี้วัด
Happy Family ครอบครัวดี มี 3 ตัวชี้วัด
Happy Society สังคมดี มี 6 ตัวชี้วัด
Happy Brain ใฝ่รู้ดี มี 3 ตัวชี้วัด
Happy Money สุขภาพเงินดี มี 4 ตัวชี้วัด
Happy Work Life การงานดี มี 15 ตัวชี้วัด

ข้อตกลงเบื้องต้น

  • -ความสุขของบุคคลเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลง ตลอดเวลาเพียงแต่มากหรือน้อย ช้าหรือเร็ว HAPPINOMETER ทำการวัดความสุข โดยกำหนดระยะเวลาอย่างชัดเจน เช่น เป็นรายไตรมาส หรือ รายครึ่งปี
  • -เป็นเครื่องมือวัดความสุขระดับบุคคลมุ่งไปที่คนทำงาน
  • - สามารถสะท้อนเป็นความสุขรวมของบุคคลในองค์กรได้

ข้อสำคัญในการวัดความสุขระดับบุคคล

  • -ต้องให้ผู้ตอบ ตอบตามความรู้สึกที่ใกล้เคียงความรู้สึกของตนเองมากที่สุด
  • -ต้องให้ผู้ตอบ ให้ความหมายของแต่ละตัวชี้วัดด้วยความรู้สึก หรือ ประสบการณ์ของตนเอง
  • -ต้องให้ผู้ตอบมีความซื่อสัตย์ในการตอบทั้งข้อมูลเชิงประจักษ์ ความรู้สึก และ ประสบการณ์ที่ปรากฎเป็นคำถามใน HAPPINOMETER
  • -ต้องให้ผู้ตอบ ตอบให้เสร็จในเวลาที่กำหนด
  • จะมีคู่มือเฉพาะ และประเทศญี่ปุ่นทำออกมาแล้วพบว่ามีความเครียดมาก
  • ผลิตบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร และการนำไปใช้ในการทำวิทยานิพนธ์ และผลงาน

ดร.สมโภชน์ นพคุณ: การทำงานต้องมี Passion ในการทำงาน หากไม่มีก็จะทำงานแบบเสร็จไป เวลาทำงานทุกคนจะรู้แก่ใจว่าคิดอะไร รู้ดีว่าเราเป็นอย่างไร แต่บางครั้งไม่สามารถปรับตัวของเราได้

ถ้าเราเป็นส่วนหนึ่งของ DNAในงานที่เราทำ เราจะทำงานอย่างเป็นสุข

ไม่มีความสุขใดเหมือนทำงานราชการ เพราะไม่มีเจ้าของ หากคิดได้แบบนี้ คือ การทำงานราชการ คือการทำบุญ

ถ้าทำให้งานราชการ มีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีปรัชญาของชีวิต

เด็กสมัยก่อนที่จบ และเด็กสมัยใหม่ที่จบต่างกันมาก สมัยนี้การศึกษาไทยอยู่ลำดับที่ 8 ของอาเซียน รู้สึกผิดหวังกับจุดนี้มาก

การเปลี่ยนวิธีคิดสำคัญที่สุด

การลงทุนเรื่อง Managing change มีความสำคัญมาก แต่ทางราชการยังไม่ค่อยให้ความสำคัญ

การทำงาน คือ การสร้างความสุขในชีวิต การทำงานต้องฉลาดขึ้น เพราะมีการเรียนรู้ในแต่ละวัน และงานต้องเป็นงานที่ท้าทาย จึงเป็นงานที่สนุก

ถ้าเรารักงานที่ทำ มีเป้าหมายในงานและชีวิต และทำให้เป็น DNA เดียวกัน จะทำให้มีความสุขในงาน

ศ.ดร.จีระ: ขอพูดเรื่องทุนมนุษย์กับทุนแห่งความสุขและการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

การปลูก ทุนแห่งความสุข

โจทย์คือ อยากให้คนมอ.มีความสุข และมีความยั่งยืน

Human capital เป็นตัวหลัก

"จากการสำรวจของชาวอังกฤษพบว่าในปี 1957 คนมีความสุข 52% แต่ในปี 2005 คนมีความสุขเหลือแค่ 36%"

"สหภาพแรงงานของเยอรมันเคยทำงาน 35 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ แต่ปัจจุบันมีข้อเรียกร้องให้ลดชั่วโมงการทำงานเหลือ 32 ชั่วโมง"

"จากการวิจัยของ Prof. Layard บอกว่า Index ของความสุขใน 24 ชั่วโมง ต่ำที่สุดคือช่วงที่ทำงาน 8 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น"

ผมจะเน้นแค่ทุนทางความสุข เพื่อทำงานที่มีประสิทธิภาพของตัวเราเอง และองค์กรก่อนไม่ได้เน้นเรื่อง ครอบครัว หรือประเทศ แต่ก็จะเกี่ยวโยงกัน

การมีทุนแห่งความสุข เป็นจุดเริ่มต้น คือ จำเป็น แต่เป็นสิ่งที่จะต้องไปเชื่อมโยงกับทุนอื่น ๆ เช่น มี Heart (Happiness) ต้องมี Head ปัญญา และต้องมี Execution ต้องทำให้สำเร็จ
คล้ายกับทฤษฎี Fact หรือ Feeling แต่การมี Happiness อย่างเดียวไม่พอ ต้องมี Strategy ต้องมี Data ด้วย จึงไปสู่ความสำเร็จ

การเรียนเรื่อง Happiness Capital ของเรา จึงถือว่า นำ เพราะ มหาวิทยาลัย Harvard เองเริ่มหลักสูตรนี้ เมื่อ 1998 ปัจจุบัน เด็ก Harvard ทั้งมหาวิทยาลัย กว่า 20 % ลงทะเบียนเรียน

ทฤษฎี 8K's ของผม Happiness Capital ได้มาจากตัวผมเองที่ทำงานมาก แต่ขาดความสุขในการทำงาน จนกระทั่งช่วง 10 ปีที่แล้วผมจึงได้ วิเคราะห์เรื่องทุนมนุษย์และทุนแห่งความสุขเป็นทุนที่สำคัญของทุกคน

  • Happiness Capital
  • (Dr. Chira Hongladarom's Model)
  • Happiness Capital
  • (Sharp/Hongladarom's Model)
  • 1. สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม(Healthy)

    2. ชอบงานที่ทำ(Passion)

    • 3. รู้เป้าหมายของงาน(Purpose)
    • 4. รู้ความหมายของงาน
    • (Meaning)
    • 5. มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ
    • (Capability)
    • 6. เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา
    • (Learning)
    • 7. เตรียมตัวให้พร้อม(Prepare)
    • 8. ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว
    • (Teamwork)
    • 9. ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม(Coaching)
    • 10. ทำงานที่ท้าทาย(Challenge)
    • 11. ทำงานที่มีคุณค่า

    1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ(Exercise)

    2.อย่าแบกงานที่หนักเกินไป

    (Put down your burden)

    3. ศักยภาพในการถ่ายทอดในงาน

    (Communicate Effectively)

    4. ทำงานในจุดแข็งของตัวเอง

    (Recognize your strengths)

    5. มุ่งมั่นในงาน(Keep Focus)

    6. ทำในสิ่งที่อยากทำไม่ใช่เพราะต้องทำ

    (Reduce the 'shoulds')

    7ทำงานในองค์กรที่มองคุณค่าของคนและงานคล้าย ๆ กัน(Clarify your values)

    8. อย่าทำงานเครียดและวิตกกังวล

    (Overcome worry and stress)

    9. บริหารภาระงานให้เหมาะกับตัวเอง

    • (Refine your workload)

    10.ใช้คำว่าขอบคุณกับลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน

    • (Choose your words)

    11.สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสุขร่วมกัน(Create good environment)

    • การทำงานอย่างมีความสุข คือ ต้อง Calling แปลว่า เราทำเพราะหัวใจเราแสวงหา เราจะทำสุดฝีมือทิ้งมรดกที่ดีไว้ แต่แค่เป็น Job หรืออาชีพเราก็จะไม่ประสบความสำเร็จ
    • ทุนแห่งความสุข คือ สิ่งที่มนุษย์แต่ละคนควรจะมี ถ้ายังไม่มีก็จะไม่มีทุน ซึ่งต้องสร้างขึ้นมา แต่การสัมมนาวันนี้ คงจะต้องมองไปอีก 2 เรื่อง คือ มีไปทำไม นอกจากพูดกว้างว่า Happiness Capital สร้าง Performance แค่นี้คงง่ายเกินไป
    • ประโยชน์ 10 ข้อ ของทุนแห่งความสุข
    • 1.ช่วยทำให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ง่ายและได้ผลสูงสุด
    • 2.ทำให้ตัวเองมี Creativity สูงขึ้น อันนี้ผมเห็นด้วย ผมชอบแนวคิดนี้ ถ้าเราไม่มีความสุขเราก็คิดอะไรไม่ออก แถมยังคิดแง่ลบด้วย
    • 3.ทำให้เราหาทางออกแทนที่จะบ่นว่าปัญหายากจัง
    • 4.มองโลกในแง่ดี (Optimism)
    • 5.มีพลัง (Energy) เพิ่มขึ้น
    • 6.ทำให้กระตุ้น/Motivate and Inspired ได้ง่ายกว่า
    • 7.ไม่ค่อยจะป่วย..เป็นโน่นเป็นนี่บ่อย ๆ
    • 8.สามารถเรียนรู้ได้เร็วและสนุก สร้าง Learning Culture ได้ดีกว่าคนที่ไม่มีความสุข
    • 9.มีความมั่นใจว่าจะกล้าทำอะไรนอกกรอบได้มากขึ้น โดยไม่ต้องกลัวว่าจะมีความผิดพลาด อันนี้จริงเพราะถ้าเรามีความกลัว (Fear) เราก็ไม่สำเร็จ ต้องมั่นใจว่ากล้าทำ
    • 10.ทำให้ตัดสินใจได้ดีและรอบคอบ อันนี้จริง เพราะถ้าคน IQ สูงแต่เครียดมักจะผิดพลาดเรื่องการตัดสินใจ

    Happiness Workers จำเป็นจะต้องอยู่ในบรรยากาศการบริหารจัดการให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุดดังนั้น ตัวละคร 3 กลุ่ม ต้องมีความสามารถและจะต้องทำงานร่วมกันกลุ่มแรก คือ CEO – ต้องเป็นคนที่มีความสุขด้วยไม่ใช่เป็น "Unhappy CEO" ก็คงไม่มีใครอยากทำงานด้วย แต่มี "Happy CEO" ก็ไม่พอต้องมี "Smart and Happy CEO" คือ รู้จักใช้ศักยภาพของเขาเหล่านั้นอย่างเต็มที่ เช่น มอบหมายงานที่เพิ่มความสุข (ท้าทาย)

    • ลดการขัดแย้งในองค์กร
    • ดูแลวัฒนธรรมองค์กรให้ไปในทางสร้างให้พนักงานเป็นเลิศให้ได้

    MED PSU 2020: Case Studies & Learn – Share – Care Intensive Workshop (3)

    : เรียนรู้กรณีศึกษาของคณะแพทย์ศิริราชและกรณีศึกษาของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เพื่อปรับใช้กับการสร้างคุณค่ากับงานของคณะแพทย์ มอ. ในอนาคต

    โดย ศ.คลีนิกเกียรติคุณ ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์

    ดร.ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร

    หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

    ร่วมวิเคราะห์และดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    27 พฤศจิกายน 2557

    ศ.คลีนิกเกียรติคุณ ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์: ประสบการณ์ การบริหารคณะแพทย์ ในหลวงทรงมีพระราชกระแส ให้ตั้งใจทำงาน ต้องพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ตั้งใจทำงาน จึงจะทำให้มีความเจริญรุ่งเรืองในการทำงาน

    - รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

    - หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด

    - รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล

    - กรรมการฝ่ายแพทย์ของสหพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยโลก

    ควรนั่งสมาธิให้ความคิดความอ่านดี

    การออกนอกระบบ

    โรงพยาบาลศิริราชเป็นโรงพยาบาลของแผ่นดิน

    โรงพยาบาลเพื่อผู้ยากไร้

    บุคลากรต้องมีความสุข

    • -คนไข้จึงได้รับบริการที่ดี
    • -ปกป้องผลกระทบต่อศิริราช

    การพูด ต้องพูดความจริง พูดเป็นประโยชน์ เพื่อให้คนเชื่อถือ

    ความเจริญของศิริราช

    -วิสัยทัศน์, พันธกิจ ก้าวต่อเนื่อง

    -ให้ความสำคัญทุกภาควิชาและหน่วยงานอย่างยุติธรรมเดินทางไปพร้อม ๆ กัน

    -สร้างเครือข่ายวิจัยวิชาการ การศึกษา และบริการทั้งในประเทศและต่างประเทศ

    -คุณภาพความเป็นสากลและเทคโนโลยี

    ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม

    -ดูแลตนเองได้ โดยเฉพาะด้านจิตใจ

    - ดูแลพระสงฆ์

    - ดำเนินการกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

    คุณภาพทางวิชาการ

    • -มาตรฐานคุณภาพทางวิชาการ
    • -อาจารย์จะได้มีโอกาสปรับปรุงความรู้ ความสามารถ ไม่เกี่ยงอายุ ตำแหน่งทางวิชาการ
    • -มาตรฐานคุณภาพทางวิชาการ
    • - อาจารย์จะได้มีโอกาสปรับปรุงความรู้ ความสามารถ
    • - ไม่เกี่ยงอายุ ตำแหน่งทางวิชาการ
    • คุณภาพทางงานวิจัย

    สร้างกลไกที่จะสนับสนุนงานวิจัยอย่างจริงจัง

    - ศูนย์วิจัย

    - อาจารย์นักวิจัย (Ph.D) ตามภาควิชาต่างๆ

    - ผู้ช่วยงานวิจัยของอาจารย์

    ต้องสนับสนุนให้เกิดการวิจัยเชิงพาณิชย์

    คุณภาพความเป็นสากล

    - พร้อมสำหรับการแข่งขัน หลักสูตรนานาชาติ ลงนามสัญญาระหว่างประเทศ

    - ไม่ละทิ้งแนวคิดหรือค่านิยมที่ดีของไทย

    - การพัฒนาโครงการนานาชาติ (International Program)

    - ต้องมีการควบคุมและประเมินคุณภาพ HA, JCIA, TQA

    - Medical Hub บริการชาวต่างชาติ ( โดยไม่มี double standard สำหรับคนไทย )

    เทคโนโลยีเพื่อคุณภาพการศึกษา

    -ปัจจัยที่กำหนดความสามารถในการแข่งขันคือ เทคโนโลยี

    - เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มีราคาแพง ล้าสมัยเร็ว และต้องการ

    - การฝึกฝนหรือประสบการณ์ จึงต้องมีการวางแผนระยะยาวที่ดี

    - สนับสนุนด้านงบประมาณ กำลังคน

    กิจการนักศึกษาที่มีคุณภาพ

    - สร้างโอกาสหลากหลายให้มีนักศึกษาในการร่วมกิจกรรมต่างๆ

    v ทั้งภายในและนอกประเทศ

    v ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในนักศึกษาแพทย์อย่างจริงจัง

    - สร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนักศึกษาใกล้ชิด

    - มากยิ่งขึ้น เพราะเป็นเหตุที่จะทำให้นักศึกษาแพทย์ได้รับการถ่ายทอดทั้งความรู้และคุณธรรม

    - กระจายความเสมอภาคทางการศึกษาให้แก่ผู้ด้อยโอกาส

    คุณภาพชีวิต

    -บริหารจัดการให้มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดี

    - สร้างเสริมสุขภาพทุกๆ ด้าน

    - Fast Track (ระวังการร้องเรียน)

    - ไม่สร้าง pressure ให้บุคคลากรโดยเฉพาะการประเมิน

    คุณภาพบุคลากร

    -ข้าราชการและลูกจ้างเป็นผู้มีคุณภาพ และมีคุณธรรม มีจิตสำนึกในการทำงาน และให้บริการ

    - การดำเนินการใดๆ ที่เป็นนโยบายหลัก จะต้องมีการอธิบายให้ข้อมูลข่าวสาร และรับฟังความคิดเห็นของข้าราชการ และลูกจ้างด้วย

    -ให้ความสำคัญในการฝึกอบรมและพัฒนาคน (ใฝ่รู้ สู้สิ่งยาก)

    -มีสภาพการทำงานที่เหมาะสม ระบุหน้าที่และสายงานการบังคับบัญชาที่ชัดเจน ข้าราชการ ลูกจ้างต้องไม่มีภาระงานจนเกินไป ให้ความยุติธรรมเกิดขึ้น มีระบบค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเที่ยงธรรม

    -งานประกันคุณภาพต้องนำผลการประเมินไปในทางสร้างสรรค์ไม่ใช่การจับผิด

    เรื่องเครือข่ายมีความสำคัญ นอกจากจะช่วยพัฒนาก็จะช่วยสร้างประโยชน์ซึ่งกันและกัน

    คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

    เป็นสถาบันแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุด (122 ปี)

    มีขนาดที่ใหญ่

    - บุคลากร 13,696 คน (50 % ปฏิบัติงานด้านคลินิก)

    - โรงพยาบาล 2,198 เตียง : ให้บริการ

    ผู้ป่วยนอก >2.5 ล้านคน/ปี

    ผู้ป่วยใน 8 หมื่นคน/ปี

    - นักศึกษา ผู้ฝึกอบรม (3,600 คน/ปี)

    มีพันธกิจหลัก 3 ด้าน : การศึกษา วิจัย และบริการสุขภาพ & วิชาการ (คุณธรรม จริยธรรม + ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)

    รักษาคนไข้ด้วยมาตรฐานเดียวกัน

    ความท้าทายในการขับเคลื่อน

    ความท้าทายภายใน

    การสนับสนุน & สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ พัฒนาต่อเนื่อง อย่างมีเป้าหมายร่วมกัน

    การประสานพลังความต่าง และ

    พันธกิจหลัก ให้เกิดคุณค่าแก่ทุกฝ่าย

    การขยายบริการให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างเหมาะสม

    การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม คุ้มค่า

    ความท้าทายภายนอก

    ปริมาณผู้ป่วยที่ซับซ้อนเพิ่มขึ้น

    ความคาดหวัง & ความต้องการ

    ของสังคมที่สูงขึ้น

    การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ กฎหมาย อย่างรวดเร็ว

    ศักยภาพ & ความสามารถของสถาบันอื่นๆที่สูงขึ้น

    ความรู้ & เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

    การตรวจประเมินจากองค์กรภายนอก

    สิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่สุด คือ การบริหารและพัฒนาคน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของคณะฯ ให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และเหมาะสม

    กลยุทธ์ในการขับเคลื่อน

    •กำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินการ ร่วมกัน

    •สนับสนุนทรัพยากรอย่างเหมาะสม คุ้มค่า

    •สร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วม

    •เพิ่มศักยภาพบุคลากร

    •ต่อยอด & สร้างสรรค์คุณค่าในงานที่ทำ

    •สร้างสมดุล

    •เชิดชู ยกย่อง คนดี & คนเก่ง เป็นทีม

    การเพิ่มศักยภาพบุคลากร

    มุ่งเน้นการพัฒนาคน ให้มี

    • วัฒนธรรมคุณภาพ

    • วัฒนธรรมการเรียนรู้

    โครงการโรงพยาบาลต้นแบบด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

    • -Lean
    • -Green
    • -Clean

    ดร.ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร: โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เปรียบเป็นมวยวัด ทำงานนอกกรอบ

    กว่าจะมาถึงวันนี้ อภัยภูเบศรนั้นมีที่มาในการพัฒนาสมุนไพรไทย จากเภสัชกรผู้หนึ่งนาม สุภาภรณ์ ปิติพร ซึ่งจบการศึกษาและมารับราชการที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี เป็นผู้ที่มีความสนใจในการใช้สมุนไพร และได้ทำการฝึกอบรมและให้ความรู้ด้านสมุนไพรแก่ประชาชนตามนโยบายสาธารณสุขมูลฐาน ครั้งหนึ่งเมื่อได้มีโอกาสได้ติดตามออกไปสำรวจสมุนไพรในป่า กับหมอยาพื้นบ้าน นามพ่อประกาศ ใจทัศน์ ทำให้ตระหนักว่าความรู้เรื่องสมุนไพรที่ตนเองเรียนมานั้นน้อยนิดเมื่อเทียบกับความรู้ที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่น และขอเป็นลูกศิษย์ของพ่อประกาศ จากการเดินป่าและได้เรียนรู้จากหมอยาต่าง ๆ จึงพบว่าในป่ามีพืชสมุนไพรมากมายที่สามารถใช้เป็นยา อาหาร เครื่องสำอางต่าง ๆ ได้

    งานวิจัยของรพ.อภัยภูเบศร์ มีการใฝ่ฝันสร้างยาแทนการนำเข้า บ้านเรานำเข้ายาและสารเคมีจำนวนมหาศาล จึงคิดว่าควรพึ่งตัวเอง และเก็บเงินไว้ใช้ด้วย

    ตัวแรก คือ เด็กเป็นโรคปากเปื่อย หรือ เริม รพ.อภัยภูเบศร์จึงทดลองใช้ยา เป็นยาที่อยู่ในบัญชียาทีใช้ในการพัฒนา

    ยาทาแผลฆ่าเชื้อจากเปลือกมังคุด ได้รับรางวัลจากการแพทย์

    ได้รับโจทย์จากกระทรวงเนื้อจากต้องช่วยเหลือชาวบ้านจากระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้ชาวบ้านช่วยเหลือตนเองได้ มีการสอนเรื่องการทำยาแก้ไอสด ยาทาแผลสด เพื่อให้นำภูมิปัญญาดั่งเดิมมาใช้ในปัจจุบัน

    จากการที่มีการพัฒนาเรื่องสมุนไพร ของชาวบ้านทำให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว และเป็นที่ดูงานของทั้งในและต่างประเทศ

    หลังจากงานสมุนไพรก็เริ่มทำงานเพื่อชุมชน ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน โดยการให้ความรู้ และสั่งสมองค์ความรู้ที่ได้จากหมอยาและหมอนวดพื้นบ้าน

    โครงการเด็กกตัญญูรู้คุณพ่อแม่

    ปี 2547 ตั้งวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย ร่วมกับม.บูรพา

    รพ.อภัยภูเบศร์ Day Spa เป็นห้องรับแขกแพทย์แผนไทยในอาเซียน เพื่อทำเป็นสปา ตั้งใจทำเป็นโรงเรียน ให้ความรู้เรื่องธาตุ ควรรับประทานอาหาร และมีวิธีการนวดให้คนที่รูปร่างต่างกัน

    ที่รพ.มีสวนสมุนไพร เป็นองค์กรที่มีจิตวิญญาณทำเพื่อเด็กและสังคม

    Vision คือ จะเป็นเลิศในอาเซียน

    หัวใจสำคัญ คือ การสร้างคน พัฒนาคนและทัศนคติของคน

    ปรัชญาของอภัยภูเบศร์ ดูแลเพื่อนมนุษย์ สิ่งแวดล้อม เวลาทำอะไรไม่เคยสำรวจตลาด เพราะเลือกสิ่งที่ดีมีประโยชน์

    อย่าหยุดจะเรียนรู้

    อย่าหยุดจะช่วยคน

    • -เทคโนโลยี วิชาการ ต้องแม่น
    • -อย่ากลัวที่จะเป็นนักบริหาร

    ศ.คลีนิกเกียรติคุณ ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์: พรบ.การแพทย์ มีการฟ้องแพทย์มาก มีความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน

    กำหนดจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพคณะประจำปี SAEHI ปี 2551-53

    1.ความปลอดภัย : การป้องกันหรือลดความเสี่ยง (Safety by prevention or reduction the risk)

    2. การพัฒนางานสู่ความเป็นเลิศ (Area of excellence)

    3. การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion)

    4. การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective communication)

    5. การเพิ่มความพึงพอใจในการใช้บริการ (Increase customer satisfaction)

    ศิริราชจึงต้องประหยัด

    •หารายได้เพิ่มขึ้น

    –รณรงค์หารายได้

    –การดูแลผู้ป่วยในต้องมีประสิทธิภาพ โดยลดวันนอน หมุนเวียนคนไข้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบ discharge planning และ utilization management

    –ศูนย์ประชุมศิริราชเพื่อหารายได้การฝึกอบรมวิชาการ

    –โครงการวิจัยเชิงพาณิชย์

    •ลดค่าใช้จ่าย

    –การใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ

    –โครงการโรงพยาบาลต้นแบบในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Lean, Green and Clean Hospital)

    ความผิดพลาดจากการบริการ คือ การมองจากประโยชน์ตนไปหาบุคคลอื่น

    ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ

    •ศึกษาข้อมูลเบื้อต้น

    •ค้นคว้าเพิ่มเติม

    •ใช้แผนที่ประกอบ

    •สอบถามบุคคลต่างๆทุกระดับ

    •หาข้อมูลจากสถานที่จริง

    ศ.ดร.จีระ: 3 ปีข้างหน้ามองอนาคตเมืองไทยอย่างไร มี Wisdom อะไรบ้าง

    ศ.คลีนิกเกียรติคุณ ธีรวัฒน์: เรื่องระดับชาติ เมืองไทยต้องเน้นเรื่องการพัฒนาคน การศึกษา การวิจัย คุณธรรม จริยธรรม การพัฒนาคนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ

    หัวข้อ "Business Alignment Strategy"

    โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    ดร.สมโภชน์ นพคุณ

    27 พฤศจิกายน 2557

    การวางแผนกลยุทธ์

    การดำเนินการกำหนด เป้าหมาย ทิศทาง และแนวทางปฏิบัติกว้าง ๆ

    เพื่อผลักดันและนำพา คน-กลุ่มคน-องค์การ ภายใต้สภาวการณ์ ปัจจุบันและที่คาดหวังจะเกิดขึ้น (Opportunity & threat) ด้วยศักยภาพ-ความสามารถ-จุดอ่อนของตนเองที่มีอยู่ ให้มีผลการปฏิบัติงานสูงขึ้น และเป็นไปได้ที่จะบรรลุวิสัยทัศน์ (เป้าหมาย-ทิศทาง) ที่ต้องการ (คาดหวัง) นำไปสู่การสร้างความเติบโตและแข็งกล้าของคน-กลุ่มคน-องค์การ"

    การวางแผนเพื่อเพิ่มผลการปฏิบัติงานขององค์กร

    • -องค์กรในสภาพปัจจุบัน มีทั้ง พันธกิจ วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์
    • แผนยุทธศาสตร์ การปฏิบัติงานขององค์กร
    • -องค์กรในอนาคต

    ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน

    • -ต้องเข้าใจ Current State (Situational Analysis)
    • -ต้องรู้ถึง Future State (Mission Vision และ Expectation ของ Stakeholders)
    • - ต้องศึกษาให้รู้ถึง ยุทธศาสตร์ - แผนยุทธศาสตร์

    (เส้นทางเดินขององค์กรสู่อนาคต)

    • -ต้องรู้ถึง Capacity และ Potential ขององค์กรมุ่งสู่ Future State
    • -ต้องรู้จุดแข็ง โอกาส และแรงสนับสนุนขององค์กร (DRIVING FORCES)
    • -ต้องรู้จุดอ่อน ภัยคุกคามและแรงต้านขององค์การ (IMPEDDING FORCES)

    ต้องรู้ วิธี

    - คิดเชิงกลยุทธ์ - การตัดสินใจ

    - การวางแผนเชิงกลยุทธ์

    - การวางแผนปฏิบัติการ

    - การบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนองค์กร

    - การใช้ แรงผลักดัน เพื่อขับเคลื่อน

    - การลด/ขจัด แรงต้าน เพื่อลดแรงเสียดทานในการ

    ขับเคลื่อนองค์การ

    - พัฒนาสมรรถนะของผู้นำ/ผู้บริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลง

    - การคิดวิเคราะห์การแก้ปัญหาขององค์กร

    - การเสริมสร้าง Capacity ขององค์การ เป็นต้น

    กระบวนการจัดการเชิงยุทธศาสตร์

    ประเมินสถานการณ์

    •สำรวจตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายใน และภายนอกองค์กร

    •ประเมินจุดแข็งจุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม (SWOT)

    •กำหนดสมรรถนะหลัก (Core Competency) ขององค์กรที่มีเหนือกว่าผู้อื่น

    •กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issues)

    พัฒนากำหนดยุทธศาสตร์

    •ทบทวน/ปรับปรุง วิสัยทัศน์ - พันธกิจขององค์กร

    •กำหนดเป้าประสงค์ยุทธศาสตร์ (Strategic Objectives)

    •กำหนดโครงการ แผนงานที่จะต้องปฏิบัติ (ทำแผนปฏิบัติการ)

    •จัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอ

    กลุ่มคนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม

    • -กลุ่มคนที่ทำงานด้วยความอุตสาหะ แต่ขาด VISION จากผู้นำ
    • -กลุ่มคนที่มีผู้นำที่มี VISION &SHARED
    • Workshop ทุนแห่งความสุข

    กลุ่ม 1

    1. Happiness Capital ในระดับบุคคลของคณะแพทย์ฯ ควรจะมี

    1.1) คุณลักษณะ หรือ ปัจจัยหลักคืออะไร

    ลองเปรียบเทียบกับ กฎ 11 ข้อของ ดร.จีระว่าเห็นด้วยหรือจะเพิ่มเติม

    อย่างไร?

    1.2) จุดอ่อน คือ อะไร? การทำงานเลยเวลา

    1.3) จุดแข็ง คือ อะไร? สู้งาน ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

    1.4) ผู้นำจะต้องพัฒนาทุนแห่งความสุขให้เพิ่มขึ้นอย่างไร? วางคนให้ถูกกับงาน

    มียุทธวิธีอย่างไร?

    1.5) ทุนแห่งความสุขจะไปสู่ความสำเร็จขององค์กรได้อย่างไร?

    1.6) ให้คะแนน 0 – 10 ทุนแห่งความสุขของคณะแพทย์ฯ อยู่ที่เท่าไหร่

    (ค่าเฉลี่ยต่อกลุ่ม) 7.99

    2. ทีมที่สามารถผนึกกำลังกัน (Synergy) มีองค์ประกอบที่สำคัญอะไร อย่างไร และเงื่อนไขความสำเร็จของการสร้าง/พัฒนา High Performance Team คือ อะไร? อย่างไร?

    มีความไว้วางใจซึงกันและกัน มีการทำงานเป็นทีม

    3. พฤติกรรมของคนเราแต่ละคน (ในฐานะสมาชิกทีม) ที่เป็นอยู่ และที่ควรจะเป็น เพื่อสร้าง High Performance Team/Organization เป็นอะไร อย่างไร? และเราจะมีแนวทางพัฒนา – ปรับตนเอง อย่างไร ถ้าจะให้เป็นคนที่มีคุณค่าต่อองค์กรที่มีสมรรถนะสูง

    ทำงานตามหน้าที่ เป้าหมายไม่เป็นไปในทางเดียวกัน ทำให้มีแนวทางในการพัฒนา คือ ต้องได้รับโอกาส ผู้นำต้องรับฟัง และต้องพัฒนาการสื่อสาร ปรับ Mindset การพัฒนา ทำงานสร้างเครือข่าย

    กลุ่ม 2

    1. Happiness Capital ในระดับบุคคลของคณะแพทย์ฯ ควรจะมี

    1.1) คุณลักษณะ หรือ ปัจจัยหลักคืออะไร

    ลองเปรียบเทียบกับ กฎ 11 ข้อของ ดร.จีระว่าเห็นด้วยหรือจะเพิ่มเติม

    อย่างไร?

    เห็นด้วยทุกข้อ

    1.2) จุดอ่อน คือ อะไร? การไม่มีจุดสมดุลในการทำงาน

    1.3) จุดแข็ง คือ อะไร? การทุ่มเทกาทำงานเป็นทีม

    1.4) ผู้นำจะต้องพัฒนาทุนแห่งความสุขให้เพิ่มขึ้นอย่างไร?

    มียุทธวิธีอย่างไร? การส้รางบรรยากาศการทำงาน

    1.5) ทุนแห่งความสุขจะไปสู่ความสำเร็จขององค์กรได้อย่างไร? เกิดความผูกพันนองค์กร

    1.6) ให้คะแนน 0 – 10 ทุนแห่งความสุขของคณะแพทย์ฯ อยู่ที่เท่าไหร่

    (ค่าเฉลี่ยต่อกลุ่ม) ให้คะแนน 4

    2. ทีมที่สามารถผนึกกำลังกัน (Synergy) มีองค์ประกอบที่สำคัญอะไร อย่างไร และเงื่อนไข ความสำเร็จของการสร้าง/พัฒนา High Performance Team คือ อะไร? อย่างไร?

    เห็นด้วยทั้ง 4 ข้อ ต้องแชร์วิสัยทัศน์ และกลยุทธ์

    3. พฤติกรรมของคนเราแต่ละคน (ในฐานะสมาชิกทีม) ที่เป็นอยู่ และที่ควรจะเป็น เพื่อสร้าง High Performance Team/Organization เป็นอะไร อย่างไร? และเราจะมีแนวทางพัฒนา – ปรับตนเอง อย่างไร ถ้าจะให้เป็นคนที่มีคุณค่าต่อองค์กรที่มีสมรรถนะสูง

    ตั้งใจทำงาน อ่อนน้อมถ่อมตน สร้างสมดุล work life balance

    กลุ่ม 3

    1. Happiness Capital ในระดับบุคคลของคณะแพทย์ฯ ควรจะมี

    1.1) คุณลักษณะ หรือ ปัจจัยหลักคืออะไร

    ลองเปรียบเทียบกับ กฎ 11 ข้อของ ดร.จีระว่าเห็นด้วยหรือจะเพิ่มเติม

    อย่างไร?

    เห็นด้วยทุกข้อ แต่ต้องรู้ว่าเป้าหมายของเราคืออะไร ต้องมีการตรวจสุขภาพประจำปี

    1.2) จุดอ่อน คือ อะไร? ภาระงานมากเกินไป รู้สึกท้อถอยในการทำงาน โอกาสเกิดงานท้าทายน้อย

    1.3) จุดแข็ง คือ อะไร? ถือประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง

    1.4) ผู้นำจะต้องพัฒนาทุนแห่งความสุขให้เพิ่มขึ้นอย่างไร?

    มียุทธวิธีอย่างไร? มีการสื่อสารไม่ทั่วองค์กร ต้องมีการสื่อสารหลายวิธี

    1.5) ทุนแห่งความสุขจะไปสู่ความสำเร็จขององค์กรได้อย่างไร? ลดความขัดแย้งในองค์กร การเพิ่มศักยภาพของคน ผู้นำไม่บ้าอำนาจ

    1.6) ให้คะแนน 0 – 10 ทุนแห่งความสุขของคณะแพทย์ฯ อยู่ที่เท่าไหร่

    (ค่าเฉลี่ยต่อกลุ่ม) 6.8

    2. ทีมที่สามารถผนึกกำลังกัน (Synergy) มีองค์ประกอบที่สำคัญอะไร อย่างไร และเงื่อนไขความสำเร็จของการสร้าง/พัฒนา High Performance Team คือ อะไร? อย่างไร?

    การมีอิสระในการคิด การทำงาน การมีteamwork มีวิสัยทัศน์ มีกลยุทธ์

    3. พฤติกรรมของคนเราแต่ละคน (ในฐานะสมาชิกทีม) ที่เป็นอยู่ และที่ควรจะเป็น เพื่อสร้าง High Performance Team/Organization เป็นอะไร อย่างไร? และเราจะมีแนวทางพัฒนา – ปรับตนเอง อย่างไร ถ้าจะให้เป็นคนที่มีคุณค่าต่อองค์กรที่มีสมรรถนะสูง

    ไว้วางใจ เปิดใจกว้างรับฟังกัน ความเข้าใจ ตระหนัก ไม่เอาเปรียบ ร่วมมือร่วมใจกัน

    กลุ่ม 4

    1. Happiness Capital ในระดับบุคคลของคณะแพทย์ฯ ควรจะมี

    1.1) คุณลักษณะ หรือ ปัจจัยหลักคืออะไร

    ลองเปรียบเทียบกับ กฎ 11 ข้อของ ดร.จีระว่าเห็นด้วยหรือจะเพิ่มเติม

    อย่างไร?

    - ต้องมีเป้าหมายร่วมกัน

    - มุ่งมั่นในงาน

    - เรียนรู้ตลอดเวลา

    1.2) จุดอ่อน คือ อะไร?

    - งานมากกว่าคน

    1.3) จุดแข็ง คือ อะไร? รักในองค์กร รักงาน

    1.4) ผู้นำจะต้องพัฒนาทุนแห่งความสุขให้เพิ่มขึ้นอย่างไร?

    ต้องมี Vision and share

    1.5) ทุนแห่งความสุขจะไปสู่ความสำเร็จขององค์กรได้อย่างไร?

    หากมีความสุข ก็มีความคิดสร้างสรรค์

    1.6) ให้คะแนน 0 – 10 ทุนแห่งความสุขของคณะแพทย์ฯ อยู่ที่เท่าไหร่

    (ค่าเฉลี่ยต่อกลุ่ม) คะแนนเฉลี่ย 7.5

    2. ทีมที่สามารถผนึกกำลังกัน (Synergy) มีองค์ประกอบที่สำคัญอะไร อย่างไร และเงื่อนไขความสำเร็จของการสร้าง/พัฒนา High Performance Team คือ อะไร? อย่างไร?

    มีทีมงาน มีเป้าหมาย มีอิสระในการทำงาน มี trust ใจเปิดกว้างรับฟังความเห็นผู้อื่น

    3. พฤติกรรมของคนเราแต่ละคน (ในฐานะสมาชิกทีม) ที่เป็นอยู่ และที่ควรจะเป็น เพื่อสร้าง High Performance Team/Organization เป็นอะไร อย่างไร? และเราจะมีแนวทางพัฒนา – ปรับตนเอง อย่างไร ถ้าจะให้เป็นคนที่มีคุณค่าต่อองค์กรที่มีสมรรถนะสูง

    ต้องปรับ Mindset ของตัวเอง ตั้งใจดี ลืมอดีต มุ่งอนาคต

    กลุ่ม 5

    1. Happiness Capital ในระดับบุคคลของคณะแพทย์ฯ ควรจะมี

    1.1) คุณลักษณะ หรือ ปัจจัยหลักคืออะไร

    ลองเปรียบเทียบกับ กฎ 11 ข้อของ ดร.จีระว่าเห็นด้วยหรือจะเพิ่มเติม

    อย่างไร?

    เห็นด้วย แต่เน้นในข้อการรู้เป้าหมายงาน รู้ความหมายงาน

    1.2) จุดอ่อน คือ อะไร? มี EGO สูง

    1.3) จุดแข็ง คือ อะไร? มีความมุ่งมั่นในการทำงาน

    1.4) ผู้นำจะต้องพัฒนาทุนแห่งความสุขให้เพิ่มขึ้นอย่างไร?

    มียุทธวิธีอย่างไร? มีความเป็นตัวของตัวเอง

    1.5) ทุนแห่งความสุขจะไปสู่ความสำเร็จขององค์กรได้อย่างไร? ทุ่มเทในการทำงานมากขึ้น

    1.6) ให้คะแนน 0 – 10 ทุนแห่งความสุขของคณะแพทย์ฯ อยู่ที่เท่าไหร่

    (ค่าเฉลี่ยต่อกลุ่ม) 6 คะแนน

    2. ทีมที่สามารถผนึกกำลังกัน (Synergy) มีองค์ประกอบที่สำคัญอะไร อย่างไร และเงื่อนไขความสำเร็จของการสร้าง/พัฒนา High Performance Team คือ อะไร? อย่างไร?

    มีการแชร์ความคิด มีความเชื่อมั่น

    3. พฤติกรรมของคนเราแต่ละคน (ในฐานะสมาชิกทีม) ที่เป็นอยู่ และที่ควรจะเป็น เพื่อสร้าง High Performance Team/Organization เป็นอะไร อย่างไร? และเราจะมีแนวทางพัฒนา – ปรับตนเอง อย่างไร ถ้าจะให้เป็นคนที่มีคุณค่าต่อองค์กรที่มีสมรรถนะสูง

    ทุกคนในองค์กรต้องร่วมมือ และเปิดใจกว้าง ยึดมั่นในค่านิยมขององค์กร


    เส้นทางแห่งความหนาวเย็นแห่งไซบีเรีย
    (SBNRR: Siberian North Rail road)

    S = Stop (หยุด) หยุดจิตเราเมื่อเจอสิ่งเร้า
    B= Breathe (ลมหายใจ) กำหนดรู้ลมหายใจ เพื่อผ่อนคลาย
    N= Notice (ระลึก) ระลึกได้เพื่อการมีสติ
    R= Reflect (สะท้อน) พิจารณาเพื่อความเข้าใจ อย่าพิพากษาตัดสินถูกผิด
    R= Response (ตอบสนอง) สนองตอบในแง่บวก ไม่ว่าคิดหรือทำออกมา

    1.ชอบเรื่องราวในมิติทางจิตวิญญาน ที่แต่ละกลุ่มถ่ายทอด
    2.รับฟัง กรณีศึกษา จาก ศิริราชและอภัยภูเบศวร น่าสนใจมาก
    3.ชอบคำกล่าว ""งานที่ท่านทำไม่ใช่ภาระ
    แต่เป็นหน้าที่ ที่ทำให้ท่านมีความสุข"
    ดร.สมโภชน์ นพคุณ

    สรุปบทเรียนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2557

    1. ผู้นำที่ดี ต้องเปลี่ยนจากคำว่า I เป็น We

    2. การทำสมาธิอย่างง่ายๆ คือ การฝึกความสนใจ

    3. Happiness ต้องมาจาก pleasure passion และ purpose

    4. painful experience ทุกคนต้องเจอ พยายามอย่าปล่อยให้เป็นแผลเป็น ต้อง

    ปล่อยวางอย่าปล่อยให้เป็นอุปสรรค

    5. work life balance ต้องบริหารจัดการเวลา เอางานมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

    6. การพัฒนาคน เพื่อความยั่งยืน ต้องพัฒนาในด้าน

    - IQ ความรู้ ความสามารถ

    - EQ การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น

    - PQ สุขภาพ ความแข็งแรงของร่างกาย

    - SQ จิตวิญญาณ การมีคุณธรรม จริยธรรม

    7. เป็นหัวหน้าอย่าสร้าง pressure ให้ลูกน้อง

    8. พุทธวจนะ ประกอบด้วย การพูดความจริง พูดในสิ่งที่มีประโยชน์ ถูกกาลเวลา ด้วยความเมตตาและอ่อนหวาน

    9. พระราชดำรัสของในหลวง ที่ต้องยึดถือไว้ คือ การอ่อนน้อมถ่อมตน ทุกคนมีดี อย่าไปดูถูกใคร

    เห็นด้วยอย่างยิ่งกับบเรียนในวันนี้ค่ะ คนเราส่วนใหญ่ใช้เวลากับการทำงานมากกว่าครึ่งของเวลาในแต่ละวัน การมีความสุขในการทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ ความมั่นคงทางจิตใจและรู้บทบาทหน้าที่ของแต่ละบุคคล เพื่อนร่วมงาน และหัวหน้าสัมพันธ์กัน ถ้าทุกคนทราบแนวทาง หน้าที่ และการแสดงออกในทางบวก คำนึงถึงประโยชน์ กาละเทศะ และเมตตา จะทำให้สิ่งแวดล้อมในการทำงานสมบูรณ์และส่งผลถึงองค์กรที่ดี

    สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ เวลาในการทำงานของแต่ละคนจะมากกว่าเวลาที่อยู่บ้าน ดังนั้นการมีความสุขในการทำงาน ที่ทำงานเป็นองค์กรแห่งความสุขที่ทรงประสิทธืภาพ จึงเป็นสิ่งทีสำคัญมาก เมื่อบุคลากรมีความสุข ส่งผลดีต่อองค์กร ก็จะเป็นโจทย์ให้ผู้บริหารองค์กร ผู้ทีจะเป็นผู้บริหารในอนาคตตระหนักถึง ความสุขของบุคลากร

    บุปผา ส่งศรีบุญสิทธิ์

    วันแรกของช่วงที่ 5 จากหนังสือค้นหาตนเองที่พวกเราช่วยกันแปลและนำมาปะติดปะต่อกันจนได้ภาพที่ชัดเจนจนทำให้พวกเราได้องค์ความรู้ในการที่จะทำให้ตนเองประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลวในชีวิต จากหนังสือฉบับนี้พวกเราได้เรียนรู้ว่า สติเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญที่เราพึงมีไว้กับตัวให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้สิ่งหนึ่งที่ดูเหมือนง่ายที่จะทำ แต่มันกลับยากมากหากไม่ได้มีการฝึกฝน นั่นคือการเปลี่ยนมุมมองในชีวิตให้เป็นบวก การมองแบบบวกๆและการตอบสนองด้านบวกทำให้เรามีความสุขในการทำงาน การคิดพิจารณาไตร่ตรองและสำรวจตนเองก็เป็นวิธีที่แนะนำในการเรียนรู้ตนเองเช่นกัน ซึ่งเกี่ยวเนื่องไปถึงการจัดการอารมณ์ที่เมื่อสามารถควบคุมอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ เรื่องอื่นก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะจัดการ และหลายคนที่เก่ง ฉลาดมีความสามารถแต่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ก็ไปไม่ถึงเป้าหมาย นั่นเป็นเพราะคนที่องค์กรต้องการและเป็นที่ยอมรับต้องมีสิ่งเหล่านี้ คือ

    • IQ สติปัญญาดี
    • EQ การอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ ต้องคุมอารมณ์ของตัวเองให้ได้
    • PQ สุขภาพ ความแข็งแรง ออกกำลังกาย
    • SQ Spiritual Quotient การมีจิตวิญญาณ
    ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สาระสำคัญในการบริหารจัดการงานในโรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลอภัยภูเบศภ์นั้น เป็นความรู้ที่น่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากทั้งสองโรงพยาบาลนี้ถูกสร้างเกิดขึ้น และพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีใจของผู้นำเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้เกิดผลงานต่างๆขึ้นมากมาย นี่เป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ให้เห็นเป็นรูปธรรมว่าหากมีใจรักในองค์กรและงานที่ทำแล้วไม่ว่าจะมีอุปสรรคขวากหนามอย่างไร ก็ไม่ได้เป็นการยากที่จะเอาชนะแม้แต่น้อย จากตัวอย่างที่ได้เรียนรู้ หากเราจะพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าไปอย่างก้าวกระโดด สิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งก็คือผู้นำต้องมีความรัก ความจริงใจและมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรพัฒนาองค์กรอย่างแท้จริง และต้องพยายามปลูกฝังส่งเสริมสนับสนุนให้คนในองค์กรเกิดความรักความผูกพันต่อองค์กร เข้าใจและรู้เป้าหมายขององค์กรอย่างถูกต้อง และการที่จะเป็นองค์กรที่เข้มแข็งสามารถจะพัฒนาก้าวหน้าได้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานก็จะต้องเข้าใจ Current State (Situational Analysis) รู้ถึง Future State (Mission Vision และ Expectation ของ Stakeholders) และต้องศึกษาให้รู้ถึง ยุทธศาสตร์ - แผนยุทธศาสตร์

    วันที่ 27 พฤศจิกายน 2557

    การวิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ Search Inside Yourself

    เป็นหนังสือที่ Google นำมาใช้ในการพัฒนาพนักงานเพื่อให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข เป็นความสุขที่มาจากข้างใน ซึ่งการฝึกให้มีความสุขจากข้างในจะต้องมีความชอบหรือหลงใหลในงานของตัวเอง มีความชอบความพอใจและก็ต้องมีเป้าหมายและรู้ความหมายของงานที่ทำ นอกจากนี้เราจะต้องมีความสมดุลแห่งชีวิตโดยการนำเอาการทำสมาธิเข้ามาฝึกร่วมกับมีความฉลาดทางอารมณ์ รู้เท่าทันอารมณ์และการจัดการอารมณ์ของตนเอง รู้วิธีในการรับมือกับอารมณ์หรือความทุกข์ที่เรากำลังเผชิญอยู่ ตลอดจนการรู้จุดแข็งจุดอ่อนของตัวเอง การมีอิสระ การเป็นตัวเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี่เราสามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตของเราได้ เมื่อเรามีทุนแห่งความสุขร่วมกับทุนทางอารมณ์และทุนทางจริยธรรมแล้วก็จะส่งผลทำให้เราพัฒนาไปสู่ 3V ได้

    Panel Discussion & Workshop หัวข้อ "องค์กรแห่งความสุขที่ทรงประสิทธิภาพที่คณะแพทย์ มอ."

    ได้เรียนรู้ว่า หัวใจของวัฒนธรรมองค์กรที่มีความสุข คือ Work-life Balance ซึ่งจะต้องมีความสุขในระดับบุคคลก่อน คือ จะต้องมีสุขภาพที่ดี ผ่อนคลายดี น้ำใจดี วิญญาณดี ใฝ่รู้ดีและสุขภาพจิตดี ความสุขในระดับครอบครัวและสังคมก็จะต้องดี ซึ่งจะนำไปสู่ความสุขในระดับองค์กรได้

    การทำงานคือการสร้างความสุขให้กับชีวิต ต้องให้การทำงานอยู่ใน DNA ของเรา ต้องฉลาดขึ้นทุกวัน จะทำให้เราทำงานอย่างมีความสุขและสนุกกับการทำงาน

    Case studies & Learn-Share-Care Intensive Workshop : เรียนรู้กรณีศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชและกรณีศึกษาของ ร..เจ้าพระยาอภัยภูเบศร เพื่อปรับใช้กับการสร้างคุณค่าให้กับงานของคณะพทย์ มอ.ในอนาคต

    พระราชกระแสของในหลวง : ให้เป็นนักเรียนใหม่ ตั้งใจทำงาน พัฒนาตนเองตลอดเวลา

    ผู้นำที่ดีต้องไม่สร้างความกดดันให้กับลูกน้อง บุคลากรต้องมีความสุข จะต้องมีการพูดแบบพุทธวจน คือ ต้องพูดความจริง ต้องเป็นประโยชน์ ถูกกาลเทศะ มีความเมตตา และพูดไพเราะอ่อนหวาน ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม คุณภาพชีวิต คุณภาพบุคลากร คุณภาพการบริหารซึ่งจะต้องมีความซื่อสัตย์ ขยัน กตัญญู ยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ สร้างเครือข่าย มียุทธศาสตร์ในการชี้นำสังคม ในภูมิสังคมนั้นๆ มีแผนการพัฒนางาน ส่งเสริมให้เป็นองค์กรที่มีชีวิตและเรียนรู้ร่วมกัน

    อย่าหยุดที่จะเรียนรู้ อย่าหยุดที่จะช่วยคน

    พระราชดำรัสในหลวง : อ่อนน้อมถ่อมตน ทุกคนมีดี อย่าไปดูถูกใคร ต้องรู้จักให้เกียรติคน

    ควรมีความสุขจากการเป็นผู้ให้

    Panel Discussion & Workshop หัวข้อ "Business Alignment Strategy"

    ผู้นำยุคใหม่ จะต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา การสร้างความไว้วางใจ มีคุณธรรม ยิ้มอยู่ตลอดเวลา เปิดใจคุย ไม่มีผลประโยชน์ ไม่มีการเอาเปรียบกัน นำองค์กรไปในทิศทางเดียวกัน

    ผู้นำต้องสร้าง : share vision , Mission , value and strategy

    ผู้นำต้องสร้าง High Performance Team โดยใช้ "TORI"

    เป็นวันที่เต็มไปด้วยความรู้อีกวันหนึ่ง ทำให้ได้เปิดโลกทัศน์เพิ่มเติม เรียนรู้และนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต ขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านนะคะที่ได้มาให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและต่อองค์กร

    การเรียนรู้ในวันนี้...เราต้องรับมือกับอารมณ์และความทุกข์ให้ได้. ความล้มเหลวเอามาเป็นบทเรียนและต้องลบออกจากใจให้ได้อย่าให้เป็นแผลเป็น.นำอดีต ปัจจุบันและอนาคตมาเป็นแผนในการมีชีวิตอยู่ต่อไป

    องค์กรแห่งความสุข. ต้องมีการทำงานเป็นทีม มีความพร้อมทั้งกายจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นสังคมปัญญาและมีวัฒนธรรมองค์กรคือความรักความผูกพัน. เราน่าจะได้เข้าทดสอบHappinometer เพื่อประเมินตนเองว่าความสุขในการทำงานของเราเป็นเช่นไร ทุกครั้งที่ท้อเหนื่อยล้าให้นึกถึงพ่อหลวงของเรา ที่สำคัญต้องเป็นคนดี. มีความรัก พูดความจริง พูดที่เป็นประโยชน์ถูกกาละเทศ

    ทัศนันท์ ศิริเสถียรรุจ

    สัปดาห์ที่ 5 วันที่1 (วันที่ 27..57) เช้าวันนี้ทุกคนสดใสที่ได้มาเจอกัน หายไปตั้งสองสัปดาห์กับ 1วัน

    ช่วงแรกเช่นเคยค่ะ มานำเสนอการวิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ "Search inside yourself"

    ในแต่ละกลุ่มอาจารย์ชื่นชมว่าแปลได้ดีมากๆ คงเป็นสิ่งนี้กระมังที่ทำให้เราแปลกันได้โดยไม่รู้จักเบื่อและเหน็ดเหนื่อย

    โดยสรุป Human capital เป็นทุนที่สำคัญ human being คนที่มีความตัวของตัวเอง เป็นอิสระในความคิดในการกระทำ (Autonomy )ต่างจากHuman resource คนที่ถูกว่าจ้างให้มาทำงานตามที่กำหนดความเป็นคนเต็มคน human being จะต้องประกอบด้วย 4ด้านคือ

    -IQ สติปัญญา

    -EQ การอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ ต้องคุมอารมณ์ของตัวเองให้ได้

    -PQ ความแข็งแรงของสุขภาพ

    -SQ Spiritual Quotient การมีจิตวิญญาณ การที่ไม่ทำให้คนอื่นมีความทุกข์

    หัวข้อต่อมา "องค์กรแห่งความสุขที่ทรงประสิทธิภาพที่คณะแพทย์ฯ มอ."

    รศ.ดร.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต ได้ให้แง่คิดว่า องค์กรแห่งความสุขจะต้องมี3ส่วนมาร่วมกันคือการทำงานเป็นทีม

    ความพร้อมทั้งด้านกาย จิต วิญญาณ สังคมและปัญญาและที่สำคัญต้องมีวัฒนธรรมองค์กรคือความรักความผูกพัน

    องค์กรแห่งความสุขที่ทรงประสิทธิภาพ

    -คนทำงานอย่างมีความสุข(Happy People)

    -ที่ทำงานน่าอยู่ (Happy Home)

    -สมาชิกสมานฉันท์ (Happy Teamwork)

    -ต้องเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ

    -มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิด กล้าทำ

    -สร้างนวัตกรรม ที่ทำได้จริง ตรงจุด ตรงใจ และต่อเนื่อง

    -สร้างคุณค่า เช่นการหาวิธีการนำประสบการณ์ของคนที่กำลังจะเกษียณมาถ่ายทอดให้คนรุ่นหลัง ให้ความรู้เหล่านั้นอยู่กับองค์การต่อไป

    ได้รับความรู้ใหม่คือการบริหารความสุข และนวัตกรรมวัดความสุขทางด้านสังคมศาสตร์คือ Happinometer ซึ่งเป็นเครื่องมือวัดความสุขด้วยตนเอง ประยุกต์จากทฤษฎีความต้องการพื้นฐานของมาสโลว์ มีทั้งหมด มี 9 มิติ 56 ตัวชี้วัด

    Happy Body สุขภาพดี มี 6 ตัวชี้วัด

    Happy Relax ผ่อนคลายดี มี 5 ตัวชี้วัด

    Happy Heart น้ำใจดี มี 9 ตัวชี้วัด

    Happy Soul จิตวิญญาณดี มี 5 ตัวชี้วัด

    Happy Family ครอบครัวดี มี 3 ตัวชี้วัด

    Happy Society สังคมดี มี 6 ตัวชี้วัด

    Happy Brain ใฝ่รู้ดี มี 3 ตัวชี้วัด

    Happy Money สุขภาพเงินดี มี 4 ตัวชี้วัด

    Happy Work Life การงานดี มี 15 ตัวชี้วัด

    คะแนนรวมที่ได้จะมี happy level

    0.00-24.99 very unhappy

    25.00-49.99 unhappy

    50.00-74.99 happy

    75.00-100.00 very happy

    เป็นเครื่องมือวัดความสุขระดับบุคคลมุ่งไปที่คนทำงานและสะท้อนเป็นความสุขรวมของบุคคลในองค์กรได้

    ดร.สมโภชน์ นพคุณ ได้บรรยายแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแก่ตัวเองให้ประสบความสำเร็จ มีความสุขในการทำงาน โดยอาจารย์ให้แนวคิดว่าการทำงานต้องมี Passion ในการทำงาน หากไม่มีก็จะทำงานแบบเสร็จไป เวลาทำงานจะรู้แก่ใจว่าคิดอะไร รู้ดีว่าเราเป็นอย่างไร แต่บางครั้งไม่สามารถปรับตัวของเราได้ ถ้าเราเป็นส่วนหนึ่งของ DNAในงานที่เราทำ เราจะทำงานอย่างเป็นสุข การทำงานที่เป็นอยู่เป็นการทำงานของราชการ เหมือนเป็นการทำบุญ ทุกคนเป็นเจ้าของ การทำให้งานราชการต้องเปลี่ยนระบบความคิดmanaging change จะต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีปรัชญาของการทำงาน การสร้างความสุขในชีวิต การทำงานต้องฉลาดขึ้น เพราะมีการเรียนรู้ในแต่ละวัน และงานที่ทำต้องเป็นงานที่ท้าทาย จึงจะเป็นงานที่สนุก

    อาจารย์จีระ กับหัวข้อทุนมนุษย์กับทุนแห่งความสุขและการทำงานที่มีประสิทธิภาพทุนทางความสุข

    การมีทุนแห่งความสุข เป็นทุนเริ่มต้นจะเชื่อมโยงกับทุนอื่น ๆโดยต้องมี Heart (Happiness) ต้องมี Head ปัญญา และต้องมี Execution ต้องทำให้สำเร็จ

    Happiness Capital ของอาจารย์จีระ มี 11 ข้อดังนี้

    1. สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม (Healthy)

    2. ชอบงานที่ทำ (Passion)

    3. รู้เป้าหมายของงาน (Purpose)

    4. รู้ความหมายของงาน (Meaning)

    5. มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ (Capability)

    6. เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา (Learning)

    7. เตรียมตัวให้พร้อม (Prepare)

    8. ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว (Teamwork)

    9. ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม (Coaching)

    10. ทำงานที่ท้าทาย (Challenge)

    11. ทำงานที่มีคุณค่า

    สรุปทุนแห่งความสุขคือสิ่งที่มนุษย์แต่ละคนควรจะมี ถ้ายังไม่มีก็จะไม่มีทุนซึ่งต้องสร้างขึ้นมา สิ่งที่อาจารย์อยากให้พวกเราทำคืออยากให้คนมอ.มีความสุข และมีความยั่งยืนในการทำงาน เกิดทั้ง happy workplace and happy at work

    ในช่วงบ่าย ได้เรียนรู้ : กรณีศึกษาของคณะแพทย์ศิริราชและกรณีศึกษาของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เพื่อปรับใช้กับการสร้างคุณค่ากับงานของคณะแพทย์ มอ. ในอนาคต

    ดร.ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร อาจารย์เป็นผู้นำคนเก่ง คนดีที่มุ่งมั่นพัฒนาโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรให้เป็นโรงพยาบาลที่มีความเป็นเลิศในด้านสมุนไพร ด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ท่านได้ให้แนวคิดที่เป็นพันธะสัญญาคืออย่าหยุดที่จะเรียนรู้ และอย่าหยุดที่จะช่วยสังคม มีความกตัญญู คนดีจะเห็นค่าของคนดี

    ศ.คลีนิกเกียรติคุณ ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ ได้เล่าประสบการณ์ การบริหารคณะแพทย์ ต้องพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ จึงจะทำให้มีความเจริญรุ่งเรืองในการทำงาน การพูด ต้องพูดความจริง พูดเป็นประโยชน์ เพื่อให้คนเชื่อถือ ประทับใจมากมายและจะจดจำพระราชกระแสของในหลวงคือให้เป็นนักเรียนใหม่ ตั้งใจทำงาน และให้อ่อนน้อมถ่อมตน ทุกคนมีดี อย่าดูถูกใคร ทุกสิ่งที่อาจารย์ได้สอนในวันนี้ จะนำมาพัฒนาคณะแพทย์ให้มีความก้าวหน้า อาจารย์ได้บอกส่วนตัวว่าการช่วยสงขลาคือการช่วยในหลวงตามที่ตั้งเจตนาไว้แล้ว

    ในหัวข้อสุดท้าย หัวข้อ "Business Alignment Strategy" ดร.สมโภชน์ นพคุณ ได้ให้ความรู้ในการวางแผนกลยุทธ์

    เป็นการดำเนินการกำหนด เป้าหมาย ทิศทาง และแนวทางปฏิบัติกว้าง ๆ เพื่อผลักดันและนำพา คน กลุ่มคนและองค์กร ภายใต้สภาวการณ์ ปัจจุบันและที่คาดหวังจะเกิดขึ้น (Opportunity & threat) ด้วยศักยภาพ ความสามารถ จุดอ่อนของตนเองที่มีอยู่ ให้มีผลการปฏิบัติงานสูงขึ้น และเป็นไปได้ที่จะบรรลุวิสัยทัศน์ (เป้าหมาย ทิศทาง) ที่ต้องการ (คาดหวัง) นำไปสู่การสร้างความเติบโตและแข็งแกร่งของคน กลุ่มคนและองค์กรได้เรียนรู้หลักในการพัฒนาองค์กร หลักการ walk the talk และ การใช้ The High Performance Model (TORI) ตบท้ายด้วยการทำworkshopและนำเสนอของแต่ละกลุ่ม

    ความรู้วันนี้แน่น คุ้มค่าและมีประโยชน์มากจริงๆ ค่ะ ขอบคุณค่ะ---------------------------------------------

    หนังสือที่ อ.จีระให้อ่าน Google ได้นำการฝึกสมาธิ มาใช้กับพนักงาน เพื่อให้รู้จักตัวตนของตัวเอง การรู้จักควบคุมอารมณ์ รวมถึงการเข้าใจผู้อื่น ซึ่งทำให้พนักงานมีสติรู้คิดอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีสติ ปัญญาก็จะเกิด ทำให้พนักงานสามารถคิดพัฒนานวตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาได้ ต้องรู้จัการให้และการรับ

    อ.สมโภชน์ ได้กล่าวว่า ความเป็นคนเราจะต้องมีองค์ประกอบดังนี้

    1. IQ คือ มีปัญญา

    2. EQ คือ การควบคุมอารมณ์ตัวเอง เพื่อให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้

    3. PQ คือ สุขภาพร่างกายต้องแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย

    4. SQ คือ ต้องมีจิตวิญญาณ จริยธรรม คุณธรรม

    ซึ่งการทำสติจะช่วยให้มี EQ , SQ ซึ่งจะช่วยเสริมให้ IQ ดีขึ้น

    การทำงานอย่างมีความสุข จะต้องมีทั้งกายพร้อม ใจพร้อม ที่จะทำงาน และเราจะต้องสร้างสมดุลในการดำเนินชีวิตด้วย

    อ.ธีระวัฒน์ ได้มาเล่าเรื่องเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงาน ว่าท่านจะมีแนวทาง ดังนี้

    1. จะศึกษาข้อมูลเบื้องต้นก่อน ว่ามีปัญหาอะไร ติดขัดอะไรบ้าง

    2. จะค้นคว้าเพิ่มเติม

    3. จะใช้แผนที่ประกอบในการค้นคว้าและหาข้อมูล

    4. สอบถามจากบุคคล ๆ ต่าง ๆ ทุกระดับ

    5. หาข้อมูลจากสถานที่จริง


    เรียนรู้การบริหารจัดการ รพ. ศิริราช จาก อ.ธีรวัฒน์ ทำให้เห็นมุมมองที่เป็นประสบการณ์เพื่อนำมาปรับกับการทำงาน ผู้บรอหารต้องลงลึกถึงระดับปฏิบัติการ โน้มทุกคนให้มุ่งศรไปทาวเดียวกัน เอาใจแลกใจ

    นอกจากนี้การทำงานทีามีความสุขจะมีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน อ.สมโภชน์ชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารและลูกน้องควร ใช้หลักTORI คือ เชื่อใจ เปิดใจ พูดความจริง และเป็นอิสระ ในสัดส่วนที่เหมาะสมจึงจะทำให้เกิดการทำงานเป็นทีม นำมาซึ่งความสำเร็จขององค์การ

    เรียนรู้การบริหารจัดการ รพ. ศิริราช จาก อ.ธีรวัฒน์ ทำให้เห็นมุมมองที่เป็นประสบการณ์เพื่อนำมาปรับกับการทำงาน ผู้บรอหารต้องลงลึกถึงระดับปฏิบัติการ โน้มทุกคนให้มุ่งศรไปทาวเดียวกัน เอาใจแลกใจ

    นอกจากนี้การทำงานทีามีความสุขจะมีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน อ.สมโภชน์ชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารและลูกน้องควร ใช้หลักTORI คือ เชื่อใจ เปิดใจ พูดความจริง และเป็นอิสระ ในสัดส่วนที่เหมาะสมจึงจะทำให้เกิดการทำงานเป็นทีม นำมาซึ่งความสำเร็จขององค์การ

    เรียนรู้การบริหารจัดการ รพ. ศิริราช จาก อ.ธีรวัฒน์ ทำให้เห็นมุมมองที่เป็นประสบการณ์เพื่อนำมาปรับกับการทำงาน ผู้บรอหารต้องลงลึกถึงระดับปฏิบัติการ โน้มทุกคนให้มุ่งศรไปทาวเดียวกัน เอาใจแลกใจ

    นอกจากนี้การทำงานทีามีความสุขจะมีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน อ.สมโภชน์ชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารและลูกน้องควร ใช้หลักTORI คือ เชื่อใจ เปิดใจ พูดความจริง และเป็นอิสระ ในสัดส่วนที่เหมาะสมจึงจะทำให้เกิดการทำงานเป็นทีม นำมาซึ่งความสำเร็จขององค์การ

    สำหรับวันแรกของสัปดาห์ที่ 5 ของการเรียน วันได้เรียนรู้เรื่องราวมากมาย ตั้งแต่เริ่มจาก การสรุปหนังสือ ซึ่งทำให้เรารู้และเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการฝึกจิต สมาธิ และได้เรียนรู้รู้ราวมากมายจากอ.สมโภชน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราว ประสบการณ์ต่างๆ ของการทำงาน หรือชีวิตของอาจารย์ ซึ่งทำให้เราได้ข้อคิดมากมาย และช่วงบ่าย ได้ฟังประสบการณ์ ของท่านอาจารย์อีก 2 ท่าน อ.ธีรวัฒน์ และ อ.สุภาภรณ์ ทำให้ได้แง่คิด แนวคิด ในการทำงานได้มายิ่งขึ้น ได้ความรู้มากมายค่



    - search inside yourself ได้เรียนรู้การฝึกสติ หากเกิดสติก็จะเกิดปัญญาที่ดีตามมา

    - ความสุขในที่ทำงาน จะก่อให้เกิดความรักต่อองค์กร และตามมาด้วยผลงานที่มีประสิทธิภาพ

    - การบริหารและพัฒนาคน ถือเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุด การ walk the talk เป็นแนวคิดที่ดีในการเข้าถึงคนในองค์กร

    - พระราชดำรัสของในหลวงเป็นปรัชญาที่ชี้นำการทำงานให้มีความสุขและรักในงานที่ทำได้เป็นอย่างด

    สรุปการบรรยาย

    กิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กาย (2)

    จิตวิทยาการแก้ไขอาการ วิตก กังวล กลัว

    รักษ์ใจ….ไม่เครียด ด้วยหัวเราะบำบัด

    ฯลฯ

    โดย ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม

    28 พฤศจิกายน 2557

    ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม: การเรียนรู้มีความสำคัญมากผ่านสายตาถึง 76% ข้อตกลงวันนี้ขอให้ฟังให้ชัดและฟังให้จบก่อนลงมือทำ

    ดูแลเรื่องปัญหาเรื่องเพศที่ 3 เปิดจิตวิทยาคลินิกแห่งแรกในประเทศไทย

    คนที่ย้ำคิดย้ำทำ โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder : OCD) เกิดจากความคิด

    อาการย้ำคิด (obsessive) : การมีความคิดหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเองซ้ำๆ โดยไร้เหตุผล ซึ่งก่อให้เกิดความกังวลใจ ความไม่สบายใจอย่างมาก และผู้ป่วยรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ตนไม่สบายใจ (ego-dystonic) เช่น คิดซ้ำๆ ว่าจะทำร้ายหรือทำสิ่งไม่ดีกับคนที่ตนรัก คิดซ้ำๆ ว่าลบหลู่หรือด่าว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คิดซ้ำๆ ว่าลืมปิดแก๊สหรือลืมล๊อคประตู เป็นต้น โดยผู้ป่วยเองก็ไม่เข้าใจว่าเหตุจึงเกิดความคิดเช่นนั้น

    อาการย้ำทำ (Compulsive) : การกระทำอย่างมีเป้าหมายชัดเจนซ้ำๆ เพื่อป้องกันหรือช่วยลดความไม่สบายใจจากความย้ำคิดข้างต้นและเป็นการกระทำที่ไร้เหตุผล เช่น เซ็คลูกบิดประตูหรือวาล์วแก๊สซ้ำๆ เพื่อให้แน่ใจว่าปิดเรียบร้อยแล้ว ล้างมือซ้ำ เพราะคิดว่ามือสกปรก เป็นต้น

    โรคซึมเศร้า คนไทยเป็นมาก เพราะสาเหตุมีมากมาย 56 ปัจจัย

    แก้ได้โดยการใช้การหัวเราะบำบัด เพราะจะมีสารเอนโดฟีนหลั่งออกมาก

    อะไรที่ทำให้เครียดที่สุดในชีวิต

    • -ความรัก เพราะเรามีความคาดหวังสูง เพราะฉะนั้นเวลารักต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไม่ใช่คาดหวังสิ่งต่างๆจากคนรัก

    เราไม่ค่อยรู้จักตัวเอง บางครั้งรู้จักตนเองจากที่คนอื่นบอกมากกว่า

    สะกดจิต คือ การพูดในสิ่งที่ให้คนอื่นเป็น การที่ให้คนอื่นดี

    หากตอนเด็ก แม่พูดห้ามสิ่งต่างๆ ห้ามไปเที่ยวกลางคืน ห้ามเล่มเกมส์ ทำให้ตอนโตมีความเครียด และเด็กมักจะทำตามสิ่งที่แม่ห้าม

    สิ่งที่ทำให้คนยุคนี้เครียดที่สุด เพราะดิ้นรนอยากได้สิ่งเหล่านี้กันมากที่สุด

    1. มั่งมีเงินทอง

    2. มีชื่อเสียง คนรู้จัก

    3. ได้เลื่อนยศ ตำแหน่งสูง

    4. อำนาจ มีอภิสิทธิ์ แก่งแย่ง แข่งก้าวร้าว

    5. สวยหล่อ มีเสนหาทางเพศ ปัจจุบันนี้มีอิทธิพลมากไม่เคยหยุดทำศัลยกรรม ต่อไปเป็นโรคหวาดกลัว ย้ำคิด

    ความสุขอยู่ที่ไหน คนไข้บางคนมีเงินล้าน แต่ไม่มีความสุข

    ประสบความสุข อย่างมีความสำเร็จ คือ ทำในสิ่งที่รัก

    มีท่าผ่อนคลายเส้นใยประสาทสมอง ยืนแอ่นแล้วหลังก้มตรงลงไปช้าๆ จึงค่อยๆแอ่นตัวขึ้นตรงๆ อีกสองครั้งแอ่นขึ้นโค้งไปทางซ้ายทีขวาที ให้วงจรประสาทสมองสมดุล คลายเครียดกาย-ใจ พร้อมที่จะเรียนรู้

    ขอบคุณร่างกายด้วยการนวด ยิ้ม ต้องรักตัวเองเป็น

    การนวดด้วยใจ คือ การใช้นิ้วของมือของตัวเอง

    • -บีบ
    • -กด
    • -คลึง
    • -ลูบไล้
    • -แตะ
    • -ดึงๆ

    เซลล์ทุกเซลล์ทั่วร่างกายของคุณ เชื่อตามที่คุณคิด คุณพูด คุณรู้สึก หรือทำท่านั้นโดยเฉพาะช่วงที่กำลังอบอุ่น

    บางครั้งตอนเช้า ทุกวันต้องรีบๆ การทักทายกันต้องเริ่มคำพูดดีๆ เสริมพลังด้านบวก

    The Triune Brain ( สมองสามส่วน )

    Paul MacLean (1952 หรือ พ.ศ.2495) พูดถึงกระบวนการทำงานของ สมองสามส่วน (ส่วนนอก ส่วนกลาง ส่วนใน)

    สมองส่วนนึกคิด (Neocortex)

    •การนึกคิด การทรงจำ ภาษาพูด สัญลักษณ์

    สมองส่วนอารมณ์ความรู้สึก (Limbic Brain)

    •การแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความสัมพันธ์

    สมองส่วนสัญชาตญาณ (Reptilian Brain)

    •ระบบการหายใจ การพักผ่อน การนอนหลับ การย่อยอาหาร การขับถ่าย การไหลเวียนของโลหิต การเจริญพันธุ์ และสัญชาตญาณการต่อสู้ (สู้ หนี นิ่ง) ปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดอย่างอัตโนมัติ ( รักษาอาการโรคด้วยตัวมันเองได้ ) ศูนย์รวมชีวิตของการอยู่รอด การอยู่ได้ การอยู่ร่วม การอยู่ดี การอยู่ต่อ ( ไร้สิ่งคาใจ )

    เวลานอนหลับ นอนท่าไหนดีที่สุดนอนตะแคง ท่าที่ดีคือตะแคงขวา

    เวลาก่อนนอนไม่ควรใช้ความคิด ควรเอาเท้าแช่น้ำอุ่นจะหลับสบาย

    อย่าพักผ่อนผิดวิธี เช่น ฟังเพลง เล่มเกมส์ เพราะไม่ได้พักผ่อนที่แท้จริง

    การเคี้ยว ต้องเคี้ยว ซ้าย ขวา เพื่อไม่ให้เซลล์เสื่อม ออกกำลังสมอง สุขภาพดี

    ถ้าเคี้ยวด้านใดด้านหนึ่ง เหงือกจะเสีย ฟันเสีย

    การถ่ายต้องมีการโยกท้อง เพื่อบริหารสำไส้ เพื่อช่วยการขับถ่าย

    เวลาอุจจาระ ให้ออกเสียง เพื่อผ่อนคลาย

    เวลาสีฟันใช้มือซ้าย ขวาสลับกัน บริหารสมอง

    นวดหน้าด้วย 7 อารมณ์ใบหน้าความรู้สึก ต้องเปล่งเสียงเป็นภาษาพูด What shall I do o today

    ผู้หญิง เป็นโรคไมเกรมมากกว่าผู้ชายมากกว่า 7 เท่า

    เซลล์สมองงอกเงยจากสมองส่วนล่างขึ้นถึงส่วนของความนึกคิด

    เซลล์งอกเงยจากเท้าค่อยๆขึ้นมาถึงศีรษะ

    เท้ามีความสำคัญมาก ก่อนนอนหากนอนไม่หลับ ต้องแช่ในอ่างน้ำอุ่น 15 นาที จะทำให้หลับสบายขึ้น

    บริหารหัวแม้โป้งทั้งสอง เพื่อพัฒนาสมองคิดด้านบวก

    ขยับเท้าจากส้นเท้าขึ้น แนบเต็มฝ่าเท้า แล้วจึงยกปลายเท้าขึ้นลงๆ สัก 10 เที่ยว ช่วยให้สมองดี มีพลัง

    บริหารไตทั้งสองข้างให้ดี และยังช่วยเพิ่มพลังสมอง

    กวาดสายตามองไปรอบๆ ให้คิดในสิ่งทมอง มองในสิ่งที่เห็น อยู่กับปัจจุบัน

    วิตกจริต: เมื่อความคิดกระโดดจากปัจจุบันยังอนาคตแต่เรื่องร้ายๆ แก้โดยให้ความคิดมารู้สึกคิดในขณะปัจจุบัน และจะย้อนอดีต

    ในชีวิตประจำวัน ความคิดคนเรามักจะกระโดดไปล่วงหน้าว่าจะต้องทำอะไรต่อจากที่กำลังทำอยู่ ซึ่งมักจะเป็นเรื่องป้องกันตัวเป็นเรื่องลบๆ เกิดเป็นอาการวิตกจริตกันได้ จึงต้องรู้จักให้ฝึกความคิดให้อยู่กับปัจจุบันขณะเป็นฐานชีวิตได้ แล้วจะคิดอนาคตนึกอดีตก็ไม่เป็นไร

    กังวลจริต : เมื่อเราต้องการความแน่นอน แน่ใจ ความมั่นคง รู่รั่วทางจิต ก็จะผุดขึ้นมาเป็น ความกังวล แก้ได้โดย ทำให้ดีสุดเท่าที่จะทำได้ ในขณะนี้ เดี๋ยวนี้ ณ ที่ตรงนี้

    ความกลัว เกิดขึ้นได้ 3 ทาง ถูกกระตุ้นให้นึกคิดไปทางด้านลบ

    การแก้ไขความกลัว คือ ต้องรู้จักค่อยๆเผชิญความกลัวนั้นๆ

    ความคิดสงบ

    ความคิดคนเราสงบนิ่งลงได้เมื่อ

    1. ช่วงการหายใจแรงๆให้เต็ม แน่น ลึก

    2. ช่วงเปล่งเสียงออกไปยาวๆอย่างหนักแน่น

    3. ช่วงออกกำลังกายอย่างเป็นจังหวะสม่ำเสมอ

    4. ช่วงทำอะไรอย่างรู้สึกตัว

    5. ช่วงที่กำลังมีเพศสัมพันธ์

    คุณหัวเราะเต็มที่ครั้งสุดท้าย เมื่อไหร่?

    คุณคิดว่าคนจิตดีมีสุข หัวเราะวันละกี่ครั้ง?

    • -ผู้ใหญ่หัวเราะเฉลี่ยวันละ 15 ครั้ง
    • -เด็กเล็กเกิดมาหัวเราะได้เฉลี่ยวันละ 300 ครั้ง
    • -ผลการศึกษาพบว่าถ้าเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี ร้องไห้มกกว่าหัวเราะ โตขึ้นมาจะเป็นโรคซึมเศร้า
    • เซลล์ทั่วร่างกายของมนุษย์ 100 ล้าน ล้าน ล้าน เซลล์จะปรับเปลี่ยนภายใน 6 ปี
    • การหัวเราะ มักจะเกี่ยวข้องกับลมหายใจ
    • -นั่งต้องหายใจเข้า ยืนต้องหายใจออก
    • สำรวจลมหายใจ
    • -เวลาหายใจเข้า ท้องต้องพองออก ลมหายใจต้องลงไปท้องกลางสะดือ โดยดันกระบังลมไป หากอยู่อกบนและล่างแสดงว่าเป็นคนเครียดไป
    • -เวลาหายใจออก ท้องต้องฟีบ
    • -หายใจออกยาวนานกว่าหายใจเข้า อย่างน้อย 2 เท่า
    • -หายใจเข้าจมูกหายใจออกจมูก และอาจจะหายใจออกทางปากได้
    • -หายใจเข้าจากจมูกเดินทางไหนต่อ ไปยังโพรงจมูก
    • เมื่อสมองซีกซ้ายอ่อนล้า จะหาวนอน และการหาวนอนเป็นการรักษาโรค เพราะจะคลายพิษออก
    • การตั้งใจหาวแรงๆเสียงดังๆ เป็นการรักษาโรค
    • ในสมองต้องมีอากาศอย่างน้อย 20% ไม่อย่างนั้นหน้ามืด
    • -หายใจเข้าเข้าทางซ้าย หรือ ขวา มากกว่า .... คนเข้าทางขวามาก แสดงว่าเป็นคนสมองซีกซ้าย คนเข้าทางซ้ายมาก เป็นสมองซีกขวา คนที่เข้าทั้ง 2 ด้านเท่ากัน เกิดจากใช้สมอง 2 ซีก
    • สมองซีกซ้าย ความนึกคิด มีเหตุผล คิดวางแผน มีเป้าหมาย
    • สมองซีกขวา รับรู้สิ่งใหม่ๆ คิดสร้างสรรค์ อารมณ์ รู้สึก ความสัมพันธ์

    การรับรู้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆเริ่มจากเข้าสมองซีกขวาก่อน การปรับเปลี่ยนพัฒนา จึงต้องคอยกระตุ้นสมองซีกขวาให้ทำงาน

    การหายใจที่เกิดพลังปราณ ช่วยให้สุขภาพชีวิตที่แข็งแกร่ง ต้องหายใจเข้า 7 หายใจออก 11 วินาที

    ทำให้ลำไส้ใหญ่-เล็ก ผนังอก ผนังเอว ผนังท้อง สะอาดไว้เสมอ

    ผนังปอด กะบังลม และผนังท้องไม่ขยับขับเคลื่อนช่องแลกเปลี่ยนก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์

    และออกซิเจนติดขัด

    โดยหายใจให้เต็ม-แน่น-ลึกไว้ รู้จักเปล่งเสียงออกจากท้องสม่ำเสมอ การหัวเราะเสียงก้องขยับขับเคลื่อนส่วนท้อง+ออกเป็นจังหวะ

    พลังสัมผัสบำบัด

    - ใช้ฝ่ามือ แตะ บนเซลล์กายที่เป็นอาการเครียด หรืออาการ โรคที่รู้ตัว หรือยังไม่รู้ตัว เป็นอาการที่กำลังจะเป็นโรค คือ อวัยวะกายส่วนที่กำลังสั่นอยู่ รู้สึกมันอ่อนแอ อ่อนไหว ชา กระตุก ปวด ตึง เกร็ง หนาวเหน็บ หรือรู้สึกร้อนวูบๆวาบ เพื่อให้พลังชีวิต(Life energy) หรือความอุ่นร้อนจากฝ่ามือ ตนเองในขณะนั้น ส่งผ่านเข้าไปเพิ่มพลังเซลล์ส่วนนั้นๆให้ เกิดการงอกเงยอย่างแข็งแกร่ง แข็งแรงดีขึ้นมาใหม่ ละลายสารชีวเคมีที่ไม่ดีทั้งหลายให้จางหายไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งมันเป็นการแผ่พลังเข้าไปให้เซลล์กายเริ่มรักษาตัวมันเองได้

    สมองหัวเราะ ปิดปากให้เสียงก้องอยู่ในสมอง

    27พย.57 เรื่องราวจากหนังสือ Search inside yourself เป็นหนังสือภาษาตะวันตก แต่สรุปเรื่่องราวได้แนวพุทธศาสนาได้อย่างเข้าง่าย การดำเนินชีวิตแบบคิดไปในทางที่ดี เรื่องไม่ดีที่เกิดขึ้นก็คิดนำมาพัฒนาจิตใจมองเป็นประสบการณ์ที่ดี เพื่อสอนตัวเองหรือแนะนำเพื่อนได้ เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสนั่นเอง ความสุขสร้างได้ด้วยตัวเราเองไม่ต้องรอให้ใครมาสร้างให้ แค่เราเปลี่ยนวิธีคิด

    Happiness is not something ready made.It comes from your own action.

    การทำงานต้องมีการพัฒนา เรียนรู้ตลอดเวลา ได้แก่การพัฒนา IQ สติปัญญา EQ การอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ ต้องคุมอารมณ์ของตัวเองให้ได้ PQ ความแข็งแรงของสุขภาพ SQ Spiritual Quotient การมีจิตวิญญาณ การที่ไม่ทำให้คนอื่นมีความทุกข์

    การคิดว่างานเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา ทำให้เราขาดไม่ได้ที่จะทำงาน รักและมีความสุขกับการทำงาน มีความสุขเพราะเราได้ทำในสิ่งที่รัก

    สรุปการบรรยายหัวข้อ

    "ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทยกับการทำงาน

    ที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทย์ฯ มอ."

    โดย ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา
    28 พฤศจิกายน 2557

    ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา: คณะแพทย์ศาสตร์ มอ. ควรจะเป็น World-class มากน้อยแค่ไหน แล้วในปัจจุบันอยู่ในระดับไหน

    ให้เรียงความลำดับความสำคัญของงานของคณะแพทย์ มอ.ที่พึงจะเป็นในความเห็นของท่าน

    1. การศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต

    2. การฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง

    3. การวิจัย

    4. การบริการทางการแพทย์

    5. การพัฒนาระบบสุขภาพภาคใต้

    6. เรื่องอื่นๆ

    โอกาสใหม่ของการแพทย์ มีการพัฒนาการทางความรู้และเทคโนโลยีในบริการทางการแพทย์มีเรื่องพลังการจัดการ พลังวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และพลัง ICT

    ไม่มีใครคนเดียวที่รักษาคนไข้ได้อย่างดี ต้องใช้หมอหลายคน

    ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างไร ?

    เรืองความก้าวหน้าบริการทางการแพทย์มีการก้าวหน้ามาก จนตั้งเป็น Medical hub แต่รพ.ชุมชนก็ลาออกมาอยู่ที่ Medical hub รักษาชาวต่างชาติได้รับเงินตราต่างประเทศ แต่ทางชุมชนขาดคนดูแล ดังนั้นจึงต้องมองผลเสียที่เกิดขึ้นว่าเอาหรือไม่

    การดูแลสุขภาพอนามัย ประเทศไทยพัฒนาดีมาก มีโรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์มาก ซึ่งครอบคลุมประชากรทั้งประเทศ

    เรื่องอสม. ก็มีการพัฒนาในประเทศมาก

    เรื่องการศึกษาบุคลากรวิชาชีพสุขภาพ ภูมิใจเรื่องการศึกษาว่าประเทศไทยมีความสำเร็จ

    ปี1976 มีเรื่องสุขภาพดีถ้วนหน้า เรื่องสิทธิที่มีชีวิตอยู่ ปี 2000 ควรจะสำเร็จ แต่ผ่านไป 25 ปี ก็ยังไม่สำเร็จ

    การบริการพื้นฐานก็เกิดขึ้นในประเทศไทย อีก20 ปีต่อมา เกิดเรื่อง 30 บาทรักษาทุกโรค

    • -คนทุกคนได้รับการดูแลครบทุกคน แต่เกิดการดูแลทางการเงิน
    • -องค์การอนามัยโลกยกย่องประเทศไทยว่าได้รับความก้าวหน้าทางการแพทย์เกิดขึ้น
    • -คนที่มารพ.มอ. ควรจะได้สิทธิ์เท่าเทียมกัน
    • -ปัญหาเรื่องความไม่เสมอภาคที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยต้องได้รับการแก้ไข
    • มอ. ต้องทำเรื่อง Human right สาธารณสุขมูลฐานก็ไม่เหมือนเดิม

    Rodney&Hill กล่าวว่ามีปัญหาเรืองสมมติฐานอันหนึ่งว่า เมื่อเกิดการให้เงินไปรักษาสุขภาพ แต่มักจะไปลงทีคนชั้นกลางและคนชั้นสูง เมื่อมีระบบบริการสุขภาพที่มีการจ่ายเงิน ทำให้ความเสมอภาคลดลง ความเหลื่อมล้ำมากขึ้น

    ในปัจจุบันมีเรื่องต่างๆที่เข้ามากระทบ

    -การเปลี่ยนของภาระโรคNCDs, Emerging infection

    - กระแสทุนนิยมการแพทย์พานิชย์

    - เทคโนโลยีก้าวหน้าPredictive, Molecular

    - การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรผู้สูงอายุ

    - กระแสประชาธิปไตย สิทธิประชาชนในการมีสุขภาพดี

    - ASEAN CommunityOpportunities & Threats

    คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    • -เป็นที่ใฝ่ฝัน และที่หวังพึ่งของประชาชนในภาคใต้
    • -เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงพัฒนา
    • oการพัฒนาทางด้านวิชาการ
    • oการปฏิรูปบริการการแพทย์
    • oการปฏิรูปการศึกษาแพทย์ศาสตร์
    • บทบาทของมอ. อยู่ในเขต 12
    • ผู้รับผิดชอบ โดยเฉพาะหัวหน้าส่วนต้องตอบคำถามว่า
    • -National priority
    • -ความหลากหลาย
    • -ความเป็นอิสระ

    สภาพความจำเป็นของคณะแพทยศาสตร์ มอ.

    • -ความจำเป็นเพิ่มมากจำนวนคนเพิ่ม โอกาสในการแก้ไขเพิ่มโรคเรื้อรัง ดูแลตลอดชีวิต
    • -ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นมาก
    • -ใช้เทคโนโลยีราคาแพง
    • -ใช้บุคลากรมาก
    • -ใช้ความเชี่ยวชาญสูง
    • -การเข้าถึงบริการถดถอย
    • -บริการเพิ่มไม่ทัน
    • -การกระจายไม่ดีพอ
    • -กฎ กลไกไม่เอื้อ

    วิกฤตบริการสุขภาพ

    วิกฤต 1 เลือกใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะ ค่าใช้จ่ายเพิ่มทวีคูณ มีส่วนไม่คุ้มค่า เนื้อวิชาความรู้ต้องเข้ามาประกอบกับความเป็นมนุษย์ การแพทย์ในปัจจุบันมีการรักษาแบบไม่คุ้มค่า เพราะโดสการใช้ยาของคนไทยเลียนแบบต่างประเทศ

    วิกฤต 2 บริการไม่เพียงพอ กระจายไม่ดี ระบบบริการขาดประสิทธิภาพ ไม่ทำงานเป็นทีม: คนที่เข้ามาที่รพ.ชุมชน ออกจากรพ.ก็ไม่หาย เพราะไม่แยกอาการของโรคอย่างชัดเจน บางครั้งโรคบางโรคต้อง ไม่ได้มองชาวบ้านที่อยู่ห่างออกไป

    วิกฤต 3 ความเหลื่อมล้ำ เข้าไม่ถึงบริการความไม่ยุติธรรมในสังคม

    สาเหตุ 1 : ความรู้ปรับเปลี่ยน

    Evidence-based Medicine ความรู้เป็นฐานการตัดสินใจ

    ความรู้ที่ไม่ทันสมัย หรือตายไปแล้ว เท่ากับ ความไม่รู้ หรือรู้ผิด

    คุณภาพบริการทางการแพทย์ อาศัย การติดตามความรู้ให้ทันและเลือกมาใช้ อย่างถูกต้อง / คุ้มค่า

    สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่มันเร็วมาก รพ.แพทย์ต้องมีการนำข้อมูลที่อัพเดทมาใช้แบบทันสมัยมาก

    จริยธรรมของวิชาชีพ ต้องไม่มีพฤติกรรมที่หลอกลวงชาวบ้าน และไม่ใช้เพื่อการโฆษณาเกินจริง

    สาเหตุ 2 : บริการด้อยประสิทธิภาพ เน้นผิดที่

    บริการตั้งรับในโรงพยาบาล พบโรคระยะเป็นมาก รักษายาก & แพง

    บริการเชิงรุกในครอบครัว / ชุมชน ป้องกันก่อนเป็นโรคหรือ พบโรคระยะแรก รักษาง่าย & หายได้

    ปัจจัยเสี่ยง

    • -ประวัติครอบครัว
    • -รหัสพันธุกรม
    • -พฤติกรรม
    • -สิ่งแวดล้อม

    วิกฤตการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ การศึกษาต้องตรงกับ Health System Needs

    Transformative Scale Up of Health Professional Education (WHO) เป็นการเปลี่ยนตัวให้เห็นบทบาทของสังคม

    วิกฤตการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ

    สร้างค่านิยมหลักภายในตน เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม

    สามารถค้นหา แปลความและนำหลักฐานมาใช้ในงานทางคลินิก และสาธารณสุข

    สร้างสมรรถนะทั้งในงานคลินิก และงานสาธารณสุข

    สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับนักวิชาชีพอื่นๆ ครอบครัว และชุมชนได้

    สนองตอบและรับผิดชอบต่อความจำเป็นด้านสุขภาพของประชากร

    ศ.ดร.จีระ: ความรู้ที่ได้เป็นความรู้ที่เป็น Wisdom สามารถมองจากประสบการณ์จากผู้บริหาร ต้องปรับทัศนคติ และ Mindset

    ความรู้ต้องสดใหม่ Relevance ต้องมีการถ่ายโอนความรู้เยอะ และต้องมีการข้ามศาสตร์

    ข้อดีของคนที่นี้ คือ มีการคิดเป็นระบบ และความสามารถก็ดี

    ขอฝากท่านจรัสว่าควรจะพูดเรื่องการศึกษาไทยในมุมกว้าง เชื่อว่าท่านจะทำหน้าที่เป็น Mentor ให้คนในสังคมอย่างมาก

    แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

    1. ประธานรุ่น: เวลาที่เราทำงานเน้นแนวเชิงรับ พอมีจำนวนคนไข้มากขึ้น ก็มีโอกาสหลุดได้ ต้องมองและทำงานอย่างไรให้เป็นไปทั้งเชิงรุกและเชิงรับ

    อ.จรัส: สิ่งที่หายากที่สุดคือเวลา และยากกว่าเวลาคือโอกาส โอกาสที่วิ่งผ่านมอ. มีมาก ต้องเห็นประโยชน์ที่จะทำ ดังนั้นต้องจัดการเวลา และมีการบริหารจัดการ โดยการทำงานมากขึ้น และทรัพยากรน้อยลง วิธีหนึ่งคือ ให้คนอื่นทำงาน ซึ่งเป็นบทบาทหนึ่งของผู้นำ ที่ตัวเองสามารถสั่งให้คนอื่นทำงาน แต่เราก็ต้องทำงานนั้นเป็นอย่างดี

    บางครั้งต้องอาศัยธรรมะ คือ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตา

    2. สังคมเปลี่ยนไปแล้ว ในยุคปัจจุบันหมอมีทางเลือกมาก หากแพทย์ทำงานมากไป และคนยุคปัจจุบันเป็นยุค Gen ใหม่ ต้องปรับตรงนี้อย่างไร อีกทั้งกระแสทุนนิยมที่มีมาก

    อ.จรัส: ยกตัวอย่างปลัดกระทรวงของฮ่องกง พูดเรื่องเด็กยุคใหม่ ด้วยความเป็นห่วง เพราะเขาอยู่ในอีกโลกหนึ่ง ต้องหันไปมองและปรับช่องว่าง คำตอบสุดท้าย คือ จะเห็นว่าสิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี คน GEN ใหม่ เขาจะรู้เอง และเดินไม่เหมือนกับที่คนยุคเก่าเดิน

    หากเอาคนยุคเก่าวัดก็ได้คำตอบไม่ตรงกับที่เราคิด อะไรดีสำหรับชีวิตของเขาในอนาคต เขาก็จะรู้ เอง เพราะฉะนั้นต้องรับตามสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่

    กลวิธีของรัฐบาลคือ ไม่ให้ของขึ้นราคา มันก็เป็นไปไม่ได้

    สภาพที่มีอยู่ต้องใช้กลไกในสังคมอนาคต คือ การให้สิ่งล่อในอนาคตซึ่งทำให้เกิดความแตกต่าง

    คณะแพทยศาสตร์ ต้องสร้างแรงจูงใจให้แรงพอเรื่องคุณค่าของความเสมอภาคของมนุษย์

    ศ.ดร.จีระ: การทำงานให้มีความสุข คือ ต้องมีPurpose และมีpassion คนรุ่นใหม่เขาทำได้ ต้องมี Job enrichment และนำเอาความหลากหลาย มาเป็นผนึกกำลังกัน และต้องมองจุดแข็งด้วย

    หากรับคนรุ่นใหม่ที่เป็นแพทย์ และพยาบาล ต้องมีการปฐมนิเทศที่เข้มข้น

    3. คุณเสรี: มิติการบริหารของคณะแพทย์ อยู่ภาควิชารังสี 30 ปี ยุคปัจจุบัน ให้มิติการบริหารใน Social media บางครั้งมีความรู้สึกแปลกๆกับคนที่แสดงความคิดเห็น

    อ.จรัส: ทุกคนต้องไปช่วยคิด เรื่องการทำงานให้สำเร็จ ต้องทำงานเป็นทีม สิ่งหนึ่งคือ ความอ่อนน้อม ถ่อมตน หมายความว่า ไม่มีความหยิ่งยโส ในทุกระดับ สภาพที่มีอยู่คือ สภาพหยิ่งในหมู่เรากันเอง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักว่าต้องเคารพคนอื่น และหัวใจคือ ต้องตัดอัตตาตัวเอง และเข้าใจอัตตาคนอื่น

    ทุกคนมีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานทำความสะอาด ทุกคนต้องได้รับความเคารพ ตามหน้าที่ของแต่ละคน

    เรื่องมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ อยู่ที่ว่าชาวมอ. ผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบมอ. มองไปในอนาคตอย่างไร คำตัดสินตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่าสังคมจะให้ออก

    เราจำเป็นต้องออกนอกระบบหรือไม่ ต้องปรึกษากัน

    อีกเรื่องคือความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัย ที่สำคัญคือ ความเหมือน การบริหารความแตกต่างไม่อยู่ในสารระบบของราชการ

    ถ้าออกเป็นม.ในกำกับมีเผด็จการอยู่ตรงกลาง ก็เป็นการหนีเสือปะจระเข้ ไม่มีการบริหารความแตกต่างเหมือนเดิม

    ประเด็นที่สำคัญ คือ คนมอ.เป็นแบ่ง 2 กลุ่ม

    บทบาทหน้าที่ที่ 5 คือ การบำรุงทำนุศิลปวัฒนธรรม การแพทย์ควรทำอย่างไร ควรต้องมองความยุติธรรมในสังคม มองถึงการแก้ปัญหาสุขภาพ เพื่อเป็นตัวอย่างของมหาวิทยาลัยอื่นๆด้วย

    4. บทบาทของอ.จรัส เป็นอย่างไร เพื่อให้เป็น Role model

    อ.จรัส: ผมมองตัวเองไม่ออก และอะไรคือคำตอบจริงๆ เวลาออก OPD จะให้เจ้าหน้าที่แจกเบอร์ ห้าแซงคิว ใครมีอิทธิพลที่ผมเกรงใจให้มาบอกส่วนตัว แต่ห้ามแซงคิวที่ OPD

    เวลาเข้าผ่าตัด 10 ชั่วโมง จะไม่เบรกเพื่อกินข้าวกินน้ำ ผมได้สอนลูกศิษย์จากการกระทำ หากลูกศิษย์รับส่วนนี้ได้ก็ได้เห็นตัวอย่างที่ดีแล้ว

    5. ถามเรื่องเชิงรุก กับเชิงรับในการเข้าสู่ AEC

    อ.จรัส: ต้องเปลี่ยนจากเชิงรับเป็นเชิงรุก แต่ธรรมชาติเป็นเรื่องของเชิงรับมากกว่า แต่พัฒนาการในปัจจุบันดีกว่าเมื่อก่อนมาก มีตัวอย่างจากชุมชนหนึ่งคือเป็นมะเร็งตับมาก จึงหาวิธีที่จะรักษาให้ได้ ด้วยการใช้อัลตร้าซาวน์ พบว่าส่วนใหญ่จะผ่าตัดได้ 35 เดือนให้หลัง คนที่ผ่าตัดมีชีวิตอยู่ ทำให้ชาวบ้านมีความหวัง แพทย์จึงสอนพยาบาลให้ทำอัลตร้าซาวน์ ซึ่งสามารถจะแก้ปัญหานั้นได้

    อีกตัวอย่างหนึ่งของคณบดีสุธรรม ให้อัลตร้าซาวน์ เปลี่ยนจากเชิงรับเป็นเชิงรุก เช่น ต้องดูก่อนเลยว่าลูกจะเอาขาออกมาก่อนหรือไม่ ต้องหาทางแก้ไข

    ทุกอย่างอยู่ที่การปรับ mindset ของตัวเอง ความรู้ในปัจจุบันเป็น Population oriented

    สรุปบทเรียนวันที่ 28 พฤศจิกายน 2557

    1. ความเครียดมาจากความคาดหวัง จึงควรเปลี่ยนเป็น สะกดจิตด้านบวก

    2. สมอง 3 ส่วน

    - ส่วนนึกคิด : จิตสำนึก

    - ส่วนอารมณ์ ความรู้สึก : จิตใต้สำนึก

    - ส่วนสัญชาตญาณ : จิตไร้สำนึก

    3 ต้องสมดุล ระหว่าง พลังความคิด พลังความรู้สึกและพลังการกระทำ

    4. การหัวเราะ ทำให้สุขภาพดี บำบัดโรค ป้องกันโรค

    5. ประเทศไทยยังประสบปัญหา ความไม่เสมอภาคทางสุขภาพ มีความเหลื่อมล้ำ

    6. P4 medicine

    - predictive

    - preventive

    - personalise

    - participatory

    7. ต้องเปลี่ยนเป็น เชิงป้องกัน เชิงรุกในครอบครัว /ชุมชนและต้องไม่หยุดการพัฒนา

    วันนี้ได้หัวเราะตลอดวัน พร้อมทั้งได้เคล็บลับการบริหารส่วนต่างๆ ของร่างกายให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ ความคิดของเราสำคัญที่สุดที่จะทำให้เกิดทุกข์หรือสุข นอกจากแนวคิดปฏิบัติตนแล้ว ได้รับความรู้และแนวคิดเกี่ยวกับการบริการสุขภาพอันเป็นจริงที่เป็นสิ่งที่ท้าทายพวกเราในฐานะคณะแพทยศาสตร์ในการสร้างและส่งเสริมสุขภาพของประชาชน พวกเราต้องหาหนทางฝ่าวิกฤตทั้งสามประการไปให้ได้

    การเรียนรู้วันที่28 พ.ย.57

    :-กิจกรรมรักษ์ใจ-รักษ์กาย(2). โดยดร.วัลลภปิยะมโนธรรม. ได้สำรวจตนเองพบว่า เรารักตนเองน้อยมาก ทำร้ายร่างกายทุกระบบมาโดยตลอดตั้งแต่เท้าจรดหัว. การฟังในวันนี้ช่วยย้ำเตือนให้ดูแลรักทุกส่วนของร่างกายมากขึ้นและจะได้บอกรักทุกๆเวลาที่มีโอกาส ฝึกการหายใจที่ถูกต้อง หายใจเข้า7วินาทีหายใจออก14วินาที การหัวเราะเพาะสุขให้กับชีวิต ไม่เป็นคนวิกลจริต ฝึกให้อยู่กับปัจจุบันขณะคิดในสิ่งที่มอง มองในสิ่งที่เห็น

    :- ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทยกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทย์ฯมอ.ซึ่งโชดดีมากที่ได้รับฟังจากศ.นพ.จรัสสุวรรณเวลา. ยิ่งตอกย้ำความคิดเดิมที่ฝังอยู่ในใจตั้งแต่เป็นลูกสงขลานครินทร์. ในประเด็นความคาดหวังของสังคมต่อสงขลานครินทร์ นับวันยิ่งเพิ่มขึ้น แต่การ ตอบสนองในเชิงรุกเรายังมีน้อย เราควรจะแสวงหาโอกาสในการทำให้ความคาดหวังของชุมชนสำเร็จด้วย ปรับวิกฤติให้เป็นโอกาส...แล้วเราจะถึงเป้าหมายนั้นได้อย่างไร?..ทุกๆคนคงต้องช่วยกั

    วันศุกร์ที่ 28 พ.ย. 57

    สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

    กิจกรรมรักษ์ใจ –รักษ์กาย โดยดร.วัลลภ ปิยมโนธรรม

    การบำบัดอาการเครียด วิตก กังวล กลัวด้วยการหัวเราะโดยให้ส่วนต่างๆของร่างกายมีการขยับไปมาพร้อมกับการออกเสียง ได้เรียนรู้การตรวจลมหายใจ ได้ฝึกบริหารสมองทั้งสองซีก ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานและการดำเนินชีวิต

    ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทยกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทย์ มอ.

    โดย ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา

    ท่านได้ให้มุมองว่า คณะแพทย์มอ.ทำงานต้องมีการกำหนดทิศทางให้ไปในทิศทางเดียวกัน มองปัญหาของประชาชนเป็นหลัก การทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งที่สำคัญในการทำให้งานมีความสำเร็จ นอกจากนี้หัวหน้างานต้องเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน การยกย่องให้เกียรติคนอื่น ไม่หยิ่งยโส ตัดความเป็นอัตตาของตนและเข้าใจอัตตาของคนอื่น ทุกคนต่างมีบทบาทหน้าที่และเคารพหน้าที่ของตน

    วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน 255

    ช่วงเช้า : กิจกรรมรักษ์ใจ-รักษ์กาย โดย ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม

    ได้รับความรู้และแนวปฏิบัติตนทางจิตวิทยา ให้เป็นคนรักตนเอง ก่อนที่จะไปรักคนอื่น เรียนรู้ให้อยู่กับ
    ณ ปัจจุบันให้มากที่สุด การฝึกปฏิบัติพลังสัมผัสบำบัด หัวเราะบำบัด การหายใจเข้า-ออก แบบเต็ม-แน่น-ลึก ช่วยผ่อนคลาย เพิ่มพลังชีวิต ที่มีการเปล่งเสียงต่าง ๆ บวกความเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการมีสติ เป็นการเพิ่มความแปลกใหม่ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในกิจวัตรประจำวัน เริ่มจากเช้าหลังจากแปรงฟัน อาบน้ำ ให้ทำพลังสัมผัสบำบัด โดยการเอามือแตะจากส่วนล่างขึ้นมาถึงส่วนบนของร่างกาย พร้อมเอ่ยคำว่า รัก รัก และให้ส่องกระจกดูหน้าตัวเอง ยิ้มให้สวยที่สุด บอกตัวเองถึงสิ่งที่ต้องการให้เป็น เช่น อยากให้ผมดกดำ ก็เอ่ยว่า ผมดกดำ ผมดกดำ หลาย ๆครั้ง ทำทุกวัน จะได้รับผลตามที่ต้องการ ก่อนเข้านอน ให้ทำใจว่าง ไม่คิด ไม่จินตนาการ สงบก่อนนอน สั่งจิตให้หลับสบาย หลับสบาย

    มี หลาย ๆ ข้อคิดจากกิจกรรมดังกล่าว ได้แก่

    "ไม่มีใครทำให้เราผิดหวัง เกิดจากความคิดเราเอง ที่คิดคาดหวัง"

    "เราไม่รู้จักตัวเอง แม้แต่การส่องกระจกดูตัวเอง ไม่สามารถบอกได้ว่า เราเป็นคนอย่างไร คนอื่นเท่านั้นที่จะบอกให้รู้"

    "ให้ทำในสิ่งที่รัก หากทำไม่ได้ ให้ทำใจรักในสิ่งที่ทำ และสิ่งที่สำคัญคือ ต้องรักตัวเอง หาสิ่งดี ๆ ให้กับตัวเองเสมอ อะไรที่ไม่ดี ไม่มีประโยชน์ เป็นขยะให้ทิ้งออกไป หากทิ้งไม่ได้ ให้บอกกับตัวเองว่า ช่างมันเถอะ และไม่ต้องใส่ใจ สนใจมัน ให้มองข้ามไป"

    "เมื่อเราต้องการความแน่นอน แน่ใจ ความมั่นคง รูรั่วทางจิต ก็จะผุดขึ้นมาเป็น ความกังวล แก้ได้โดย ทำให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ ในขณะนี้ เดี้ยวนี้ ณ ที่ตรงนี้"

    ช่วงบ่าย :ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทย กับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทย์ฯ มอ.
    โดย ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา

    เป็นการเผชิญกับวิกฤติการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านความรู้ เทคโนโลยี การปฏิรูปทางการแพทย์ การให้บริการสุขภาพ การปฏิรูปการศึกษาแพทยศาสตร์ ที่ต้องเปลี่ยนทิศทางในการดำเนินงาน ดังนี้

    1.จากเชิงรับเป็นเชิงรุก คือ เปลี่ยนจากการตั้งรับให้บริการผู้ป่วยเป็นโรคในโรงพยาบาล เป็นการไปเยี่ยมชุมชน สร้างเครือข่ายที่สามารถทำงานร่วมกันกับนักวิชาชีพอื่น ๆ เพื่อป้องกันโรคหรือการส่งเสริมมิให้คนเป็นโรค หรือแสวงหาทั้งคนที่เพิ่งจะเป็นโรคต่าง ๆเข้ารับการรักษาโดยเร็ว และศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เป็นโรคต่าง ๆ เพื่อเป็นการระงับโรคในเบื้องต้น ที่เรียกว่า การป้องกันปฐมภูมิ ที่สามารถตอบสนองและรับผิดชอบต่อความจำเป็นด้านสุขภาพของชุมชน

    2. ดำเนินการด้านแพทยศาสตร์ศึกษา ให้เป็น Transfromative Scale Up to Health Profession Education (WHO) ที่มีทั้ง Quantity, Quality และ Relevance
    ช่วงหลัง อาจารย์ ศ.นพ.จรัล เปิดโอกาสให้ซักถามในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ คือ (เท่าที่จำได้)

    1. ทิศทางที่มอ.จะออกนอกระบบ เป็นไปได้หรือไม่ อย่างไร

    "ขึ้นอยู่กับบริบทของมหาวิทยาลัย ผู้บริหาร คนในชุมชนที่คาดหวังเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณา (ซึ่งสำรวจแล้ว ไม่เห็นด้วยกับการออกนอกระบบ) ตลอดจนถึงการคาดการณ์ในเรื่องการพึ่งพาตนเองเมื่อออกนอกระบบ

    2. ในการเป็นอาจารย์แพทย์ที่เป็นตัวตนของท่าน

    " ไม่มีรูปแบบ แค่ทำให้นักศึกษาดู เท่านั้น "

    3. การเหลื่อมล้ำในด้านการให้บริการและการบริหารคนในคณะแพทย์
    "แนะนำให้ทำเรื่องการเหลื่อมล้ำในการให้บริการ ให้เป็นจุดเด่นของคณะแพทย์มอ. ส่วนเรื่องความเหลื่อมล้ำของคนในองค์กร ควรปรับแก้ที่นโยบายสร้างค่านิยมที่ดี การสร้างกิจกรรมที่ทำร่วมกันด้วยใจที่เสียสละเพื่อส่วนรวม"

    27 November 2014, I have attended only in the afternoon. The thing that I have learnt is the experiences from Prof. Theerawat ,Siriraj school of medicine, and Dr.Supaporn from The Chao Phya Abhaibhubejhr hospital. Human resource and human development are two important things that Siriraj and Chao Phya Abhaibhubejhr pay attention. It should have indicative, appropriate and cost effective concerns when we do something. The strategy of new Siriraj hospital, Piyamaharajkun, is very interesting that they provide a premium service as like private hospitals but with less expense. We have to have innovation in either services or academia for the future. Furthermore, we know how Siriraj can raise fund for their projects. From Dr.Supaporn, I am impressed with the words that say " Don't stop learning and don't stop helping peopl and "Be always a new student who wants to learn". Finally, we learn about types of leader from Dr.Sompoch and the workshop that Dr.Cheers gives us to do.

    28 November 2014, I have never learnt about phycology and stress management. So, it a good chance to know. Dr.Wallop tell us many things about factors causing stress, ways to manage our stress and energy of life. It is necessary to know ourself and aware in the present using past as lessons. In addition, we practice how to laugh for our body.

    Furthermore, we learn and have to think about the stories that Prof. Jarus gives. Many aspects about health strategies that our faculty have to look and think for changing. The panel discussion is also good that Prof. Jarus and Dr.Chira give their opinions to our questions that we have to concern and judge.

    อ.วัลลภ ชี้ให้เห็นว่าร่างกายสามารถทำกายบริหารได้ทุกส่วนทั้งภายนอกและภายใน บริหารส่วนไหน เกิดผลกับร่างกายอย่างไร และพบว่าอัศจรรย์มาก

    อ.จรัสได้เปิดโลกทัศน์ความคิดสาธารณสุขไทย มองว่าระบบการดูแลสุขภาพนั้น การป้องกัน การรักษา การเยียวยาเป็นสิ่งเดียวกัน

    กิจกรรมรักษ์ใจ ไม่เครียดด้วยหัวเราะบำบัดของอ.วัลลภ สามารถทำให้วิเคราะห์ความสมดุลต่างๆ ในร่างกายของตัวเอง และสามารถนำไปเรียนรู้กับเพื่อนๆ นอกห้องเรียนได้อีกด้วย

    ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา ทำให้มองเห็นภาพร่างของคณะแพทย์ในอนาคต ช่วยวิเคราะห์ปัญหาของคณะแพทย์ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นแนวทางการทำงานกับคนรุ่นใหม่ และช่องทางในการลดความเหลื่อมล้ำ


    สรุปการบรรยายหัวข้อ

    "เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย..

    ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของคณะแพทย์ฯ มอ."

    โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

    29 พฤศจิกายน 2557

    รศ.ดร.สมชาย: วันนี้พูดถึงเรื่องเศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการเปลี่ยนผ่านของดุลยอำนาจทางเศรษฐกิจโลก

    นักคิดในเชิงกลยุทธ์ คือ สามารถเล่าเรื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ เรื่องบางเรื่องเกิดในอนาคตแต่ไม่พบในอดีตและปัจจุบัน

    วันนี้จะพูดเรื่องอดีต กับปัจจุบัน และมองเรื่องอนาคต โดยใช้ทฤษฎีเกมส์เป็นตัววิเคราะห์

    คำถาม

    1. ใน 20-30 ปีที่ผ่านมา โลกมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า 100 ปีที่ผ่านมา

    - เทคโนโลยี การสื่อสาร

    - อ่านหนังสือ และซื้อหนังสือผ่าน Amazon.com

    - อ่านหนังสือพิมพ์ภาษาสเปน มีการตั้งพรรคใหม่

    - E-bay ทำไมทำในประเทศจีนไม่ได้

    - Isis ผู้ก่อการร้าย

    2. ในกรุงเทพ เห็นด้วยหรือไม่ว่า ใน 20-30 ปีที่ผ่านมา โลกมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า 100 ปีที่ผ่านมา

    - สมัยก่อนมีตึกดุสิต และตึกโชคชัย ที่เป็นตึกทีสูงที่สุด

    - สมัยก่อนถ้ากินอาหารจีนและไทย แต่ปัจจุบันกินอาหารญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อิตาเลียน

    ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย และโลกมีอะไรที่เหมือนกันบ้าง

    เรื่อง Mindset

    • -การศึกษาแบบเก่า Mechanic what difference
    • -การศึกษาแบบใหม่ Organic ตั้งคำถามว่า Why How และ เหมือนนความแตกต่าง

    สิ่งที่เหมือนกันในโลกและ

    • -มนุษย์ค้นพบเครื่องมือที่ทำการเกษตร
    • -หลังจากนั้นพบเครื่องมือที่ทำด้านอุตสาหกรรม เป็นยุคของตะวันตก
    • -ประเทศจีน ไปรบกับฝรั่ง จีนแพ้ยุโรป และญี่ปุ่น
    • -อาเซียนชนะไป 2 รอบ อยุธยาแพ้จึงต้องย้ายเมืองหลวง
    • -ยุคอุตสาหกรรม เป็นยุคของคริสเตียน ซึ่งมองนอกกรอบ จึงพัฒนาสิ่งใหม่ๆขึ้นมาก

    ยุค IT

    • -เป็นภาพฉายของยุคอุตสาหกรรม
    • -ยุคอุตสาหกรรม เกิดขึ้นเพราะอะตอม และเกิดฟิสิกส์ และวิทยาศาสตร์ ยุคใหม่เป็นยุคไอน์สไตน์ เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาด้าน IT และอินเตอร์เนต

    IT เกิดจากองค์ประกอบ 2 องค์ประกอบ คือ

    • -Computer สร้างมิติใหม่ในการแข่งขัน ทำให้ประเทศที่พัฒนาอุตสาหกรรมกลายเป็นเจ้าโลก เพราะเก็บข้อมูลได้เยอะมาก เรียกว่า
    • ความลึก Depth
    • ความเร็ว Speed
    • Multi media
    • -Telecom
    • ความกว้าง
    • Intranet
    • Extranet ระบบ Just in time
    • Internet ไปสู่ทั่วโลก ร้านหนังสือเกือบไปไม่รอด แนวโน้มที่เป็นอย่างนั้นเพราะสามารถสั่งซื้อผ่าน Amazon.com ได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว

    ภาพของ IT นำสู่การเปลี่ยนแปลง

    หลังสงครามโลก เป็นยุคสงครามเย็น ปี 1975 คนไทยซื้อบ้านในอเมริกา เพราะกลัวคอมมิวนิสต์

    ปี 1989 สงครามสิ้นสุด หลังยุคสงครามเย็น เกิดจากการล่มสลายของคอมมิวนิสต์ ประเทศโปแลนด์ลุกขึ้นมาขับไล่รัฐบาลคอมมิวนิสต์

    ประเทศที่รวมแล้วถอนตัวอก คือ ยูเครน

    สหภาพโซเวียต ที่ยิ่งใหญ่ กลายเป็นประเทศรัสเซีย

    ประเทศจีนใหญ่กว่าในอเมริกา คือ ขนาดของเศรษฐกิจ

    ยุค IT เป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของระบบคอมมิวนิสต์

    IT ทำให้เกิดความลึก เร็ว และแผ่ไปทั่ว คนยุโรปตะวันออก GDP ขึ้นมาเยอะมาก แต่ GDP ประเทศไทยติดลบ

    10 ปีข้างหน้า เป็นไปไม่ได้ที่เกาหลีเหนือจะอยู่ได้

    2 ประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ คือ เกาหลีเหนือ และคิวบา

    เมื่อคอมมิวนิวต์ล่มสลาย คือ

    1. เปลี่ยนแปลงเป็นทุนนิยม

    2. มีการเลือกตั้ง

    3. รัสเซีย ล่มสลายเป็น 15 ประเทศ คือ

    รัสเซีย

    ยูเครน

    เบียโลรัสเซีย

    อุซเบกิสถาน

    คาซัคสถาน

    จอร์เจีย

    อาเซอร์ไบจาน

    ลิทัวเนีย

    มอลเดเวีย

    ลัตเวีย

    คีร์กีเชีย

    ทาจิกิสถาน

    อาร์มีเนีย

    เติร์กเมนิสถาน

    เอสโตเนีย

    หลัง 1977 มีประเทศเกิดใหม่เยอะ เพิ่งสัมพันธ์กับโลกภายนอก ซึ่งประเทศไทยจะล่มสลาย เพราะผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน

    แต่ 1985 เศรษฐกิจไทยดีขึ้นมาก ขยายตัว 20%

    ปี 1997 เกิดวิกฤติ ต้มยำกุ้ง ปรับสินค้าไม่ทัน เกิดการล่มสลาย

    ช่วงหลังสงครามเย็น

    อเมิรกา ยิ่งใหญ่มาก เพราะไม่มีประเทศไหนถ่วงดุล

    เรื่องความมั่นคง เกิดจากความมั่นคงทางการค้า

    ประเทศเล็กเรียนรู้ว่า ถ้าไม่อยากแพ้อเมริกา ก็ต้องรวมกลุ่มกัน เป็น EU และเกิดเป็น ประชาคมอาเซียน

    การเชื่อมโยงทางการค้าสู่ทุกจุดของโลก เรียกว่า ยุคโลกาภิวัตน์ แปลว่า แผ่ข้อมูลข่าวสารไปทุกจุกของโลก

    กระแสโลกาภิวัตน์

    • -การเมือง ระบบการเลือกตั้ง แบบประชาธิปไตย แบบมีการถ่วงดุล คือ เสรีนิยม และเผด็จการเสียงข้างมาก มีนายทุนกลุ่มหนึ่ง อาจเรียกว่า Liberal Democracy
    • ประเทศไทยเปลี่ยนจากยุคทหาร เข้าสู่สนามการค้า
    • ทั่วโลกก็มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเช่นกัน มาจากกระแสอันเดียวกัน
    • เกิดเรื่อง Human right
    • -เศรษฐกิจ
    • ต่างชาติเล่นหุ้นไทยมาก
    • -สังคมและวัฒนธรรม
    • เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการกิน ผลไม้ อาหาร เช่น เชอรี่ ปลาแซลมอน ปลาทูน่า สปาเก็ตตี้โหระพาปลาเค็ม
    • คนไทยเปลี่ยนเพราะกินลาบปลาทูน่า และปลาแซลมอน
    • เกิดการขยายตัวของสปา
    • ร้านอาหารสีฟ้า เริ่มอยู่ไม่ได้
    • S&P , After you, Greyhound

    อ.จีระเดช: คำว่าโลกานุวัตน์แปลว่าอะไร

    • การเมืองของโลกาภิวัตน์ของการเมืองจะเกิดหรือไม่ เพราะบางครั้งมีการกุมอำนาจ

    อ.สมชาย: โลกานุวัตน์ แปลว่า หมุนตามโลก ไม่ใช่การไปสู่ทุกจุดของโลก

    • ประชาธิปไตย มี 2 แบบ เลือกตั้ง และ แบบเผด็จการ
    • โลกาภิวัตน์ ทำให้ต้องมีการเปิดเสรี และทำไมต้องเปิดประตู
    • -เคลื่อนย้ายเงินทุน
    • -เคลื่อนย้ายสินค้า
    • -เสรี IT เสรีค้าปลีก
    • -เมื่อไม่มีคอมมิวนิวต์จึงมีความจำเป็นมาก
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ ใหญ่มากที่สุด
    • ส่วนธนาคารในยุคปัจจุบัน ต่างชาติมาลงทุนด้วย

    การเปิดเสรี ทุกประเทศต้องรวมกลุ่มเป็น AEC ซึ่งสามารถเป็นทั้งโอกาสและอุปสรรค จะมีผลกระทบอย่างไร

    Anti-Globalization

    1 Terrorism ปัจจุบันมีการสร้างกลุ่ม Isis ซึ่งนับวันจะรุนแรงขึ้น เพราะสาเหตุคือ อาวุธหาง่าย สร้างปรมาณูก็ได้

    2 Human Rights ขยายตัวของทุนนิยมสามาลย์ เกิดกระแสโกง เรื่องธรรมาภิบาลก็เกิดขึ้น และพัฒนาเรื่อง CSR และAnti- corruption

    เรื่องโบราณเช่น ก๋วยเตี๋ยวเรือโบราณ เพราะคนโบราณ ยังมีชีวิตอยู่ จึงมีความรู้สึกหวงแหน ในอนาคต พวกพารากอน จะต้องมีร้านกาแฟโบราณ เพราะกระแสโลกาภิวัตน์ จะนำกระแสวัฒนธรรมมา

    3 Environmentalism โลกยุคใหม่ ทำให้เกิดน้ำท่วม สายเกินไปเรื่องน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ต้องมีการผสมผสาน IT กับการใช้พลังงานทดแทน เมื่อน้ำท่วม เปลือกโลกเปลี่ยน เกิดสึนามิ

    ที่ดินทำมาหากินน้อยลง แต่ประชากรต้องการอาหารมากขึ้น

    สัตว์นำพาโรคมาสู่มนุษย์มากขึ้น

    4 Global VS Local

    5 Lexus olive tree (Modern VS Ancient)

    คำถาม AEC คืออะไร

    • -การเข้าสู่ AEC ก็เป็นปัญหาแล้ว ระบบการศึกษาของประเทศไทยต้องแก้อย่างมาก
    • -ASEAN ก่อตั้งเมื่อปี 2510 (1967) จะครบรอบ 42 ปีในสิงหาคม 2552
    • -จุดประสงค์เริ่มแรก – สร้างความมั่นคง เพื่อต้านภัยคุกคามคอมมิวนิสต์
    • ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่ผ่านมา
    • -เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ลงนามปี2535 เริ่มปี 2536 โควตา หรือกำแพงภาษี ต้องเหลือ ศูนย์ Fast track และ Normal Track กำแพงภาษีต้องเหลือ ศูนย์

    แหล่งกำเนิดสินค้า คือ สินค้าต้องใช้วัตถุดิบในประเทศ และแรงงานประเทศ 40% เหลือศูนย์ ถือเป็นสินค้าในอาเซียน

    • -กรอบความตกลงด้านการค้าบริการ (AFAS) เริ่มปี 2538
    • -เขตการลงทุนอาเซียน (AIA) เริ่มปี 2538

    การเปิดเสรี เรื่องการบริการและลงทุนเป็นเรื่องเดียวกัน

    มุ่งสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

    ปี 2546 ผู้นำอาเซียน ลงนามในปฏิญญาบาหลี (Bali Concord II) แสดงเจตนารมณ์การนำอาเซียนไปสู่ "ประชาคมอาเซียน" (ASEAN Community) ในปี2020 (2563)

    ปี 2550 ผู้นำอาเซียนลงนามในปฏิญญาเซบู เร่งรัดการเป็น "ประชาคมอาเซียน" ให้เร็วขึ้น เป็นปี 2015 (2558)

    2550 รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนลงนามรับรอง AEC Blueprint แผนงานการจัดตั้ง "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" (ASEAN Economic Community: AEC)

    เมื่อ พฤศจิกายน 2550 ผู้นำอาเซียนลงนามใน "ASEAN Charter" และ"ปฏิญญาว่าด้วยแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน"เพื่อยืนยันเจตนารมณ์ร่วมกันดำเนินการให้สำเร็จตามกำหนดในปี 2558

    เป้าหมาย AEC

    1.เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม

    • -เคลื่อนย้ายสินค้าเสรี
    • -เคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี
    • -เคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี
    • -เคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี
    • -เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น

    การเปิดเสรีการค้าอาเซียน

    §ยืนยันการลดภาษีนำเข้าตาม CEPT (AFTA)

    §ยกเว้น สินค้าใน Sensitive List ภาษีไม่ต้องเป็น 0% แต่ต้อง < 5%

    •ไทยมี 4 รายการ (กาแฟ มันฝรั่ง ไม้ตัดดอก มะพร้าวแห้ง)

    §สินค้าใน Highly Sensitive List ไม่ต้องลดภาษี

    •มีสินค้าข้าว ของอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์

    •น้ำตาลของอินโดนีเซีย

    • -ประเทศไทยควรทำการปลูกน้ำมันปาล์ม เน้นเรื่อง IT ทางด้านเคมี
    • -ประเทศสิงคโปร์ ทำร้าน Bread talk และเอาเฟรนไชส์อเมริกา ขายให้ไทย
    • -เมื่อมีการเปิดเสรีสินค้า เช่น ถ้ามมี AFTA ไทยจะขายน้ำมันพืชได้ดี มรกตรอด แต่พอมี AFTA น้ำมันพืชจาก ไซม์ดาบี้ถูกกว่า ก็สู้ไม่ได้ จึงขาย
    • -การตั้งโรงงาน ต้องมีเงินทุน มีเรื่องการบริการ และนำแรงงานมาดู หลังจากนั้นไซม์ดาบี้ก็ Take over

    §AEC 2015 เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นให้กับนักลงทุนสัญชาติอาเซียน

    • -เทคโนโลยีสารสนเทศ สุขภาพ ท่องเที่ยว การบิน
    • -ลอจิสติกส์
    • -สาขาอื่น
    • แต่หลังจากนั้นการลงทุนของชาวต่างชาติจะเพิ่มเป็น 100%

    ในอนาคตจะมีการเปิดเสรีเรื่อง Telecom, Construction, Business Service and Professional Consultancy

    • เรื่องการลงทุน Fishery Forestry and Mining including related services incidental not including Portfolio investment
    • -AIA Agreement 1998
    • -Asean Investment guarantee Agreement Asean IGA 1987
    • -National Treatment
    • oACIA (ASEAN Comprehensive Investment Agreement)
    • Liberalization
    • Protection
    • Promotion
    • Facilitation

    -วิชาชีพที่เปิดเสรี Medical Doctor, Dentist, Nurse, Architect, Engineer, Surveyor, Accountant and Tourism. ที่เริ่มด้วยทันตแพทย์ก่อน เพราะพร้อม แต่หลังจากนั้นจะมีแพทย์อีกหลายสาขา

    -MRA: Mutual Recognition Arrangement

    2. สร้างเสริมขีดความสามารถแข่งขัน

    e-ASEAN

    Competition Policy มีกฎหมายต่อต้านการผูกขาด

    Infrastructure

    Tax ภาษีแต่ละประเทศไม่เท่ากัน

    Intellectual Property ปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่างๆ

    Consumers' Protection

    3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค

    Narrowing gap between old and new members

    Supporting SMEs

    4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

    §Economic Cooperation

    §Logistics

    §FTA

    •ASEAN +3

    oASEAN – China

    oASEAN – Korea

    oASEAN- Japan

    •ASEAN +6

    oASEAN- India

    oASEAN - Australia/New Zealand

    •ASEAN- EU

    •ASEAN- US (TIFA)

    RCEP มีการขยายเปิดการค้าเสรี ในการประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้มีการจัดทำปฏิญญาร่วม ระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา 6 ประเทศ ที่มี FTA กับอาเซียน ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยจะมีการเจรจา FTA ตัวใหม่ ระหว่าง 16 ประเทศ ที่มีชื่อว่า Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ RCEP หากเกิด FTA ระหว่าง 16 ประเทศได้จริง จะทำให้ RCEP กลายเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยจะมีประชากรรวมกันกว่า 3000 ล้านคน คือ ประมาณ 45% ของประชากรโลก และมี GDP รวมกัน เกือบ 20 ล้านล้านเหรียญ หรือประมาณ 1 ใน 3 ของ GDP โลก

    APEC

    TPP หรือ Trans-Pacific Partnership เป็นความตกลงการค้าระหว่างประเทศ มีเนื้อหาครอบคลุมการค้าหลายสาขา และมีบทสำคัญที่ว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร (และอาจรวมสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ด้วย) ประเทศที่เข้าร่วมจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายภายในประเทศให้เข้ากับ TPP

    • วิถีชีวิตคนไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาก
    • ลูกค้ารพ.จะมีมากขึ้น ต้องมีการเตรียมตัวทางด้านบุคลากร ทางด้านภาษา นอกจากจะรักษาแล้ว จะต้องมีการรักษาแบบป้องกัน คือ โยคะ ฝังเข็ม

    สรุปการบรรยายหัวข้อ

    "การคิดเชิงกลยุทธ์ และ การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

    เพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ"

    โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

    29 พฤศจิกายน 2557

    คนที่เป็น Visionary ต้องเป็นขั้นบันได

    ขั้นแรก Box thinking ดูถูกตัวเอง ระบบการศึกษาใช้ ตาและหู Input ออกมาเป็น output

    เป็นพวกที่ใครพูดอะไรก็เชื่อ เช่นสมัยนี้นักข่าว หรือ สื่ออกมาว่าอะไรก็เชื่อ

    มองจากมุมตัวเองทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ เชื่อคนง่าย

    มองปัจจุบัน และอดีตเท่านั้น

    มนุษย์พันธุ์ใหม่ ต้องสร้างให้เกิดขึ้น การศึกษาที่ดีต้องไม่บ้าปริญญา แต่บ้าความรู้

    การเรียนปริญญา ไม่ได้ไว้เพื่อโฆษณา

    มหาวิทยาลัยที่ดี ต้องสอนให้ Why

    ต้องรู้จักตัวเอง เพราะความรู้มันอยู่ที่การสร้างของตัวเอง

    การเรียนต้องเรียนแบบรู้จริง

    การเรียนที่ดี ต้อง

    • -รู้จักตัวเอง
    • -สร้างความรู้ ไมใช่รับความรู้ และตีมูลค่าเป็น Organic
    • -หากต้องการให้การเรียนประสบความเร็จต้องสร้างความรู้
    • -การปฏิรูป ต้องการมนุษย์พันธุ์ใหม่ เรียนรู้แบบ How to
    • -ต้องการมนุษย์พันธุ์ Organic thinking
    • -คำถามอะไร เปลี่ยนเป็น ทำไม ทำอย่างไร

    ความคิดเชิงระบบ

    โครงสร้างภาษา บอกถึงความเจริญของประเทศ ได้หรือไม่

    ENG

    Thai

    1. HOUSE เป็นโครงสร้าง

    HOME ภาพฉายของความรักและความอาใจใส่

    2. System thinking เป็นคำนาม อยู่หน้าคำนามเป็น ADJ

    Systemic thinking เป็น ADJ

    Systematic thinking ระบบคิดเป็นระบบ จับประเด็นได้เร็วมาก เพราะมีความคิดตัดระบบเก่ง

    Induction สร้างทฤษฎีออกมา

    3. Somchai

    somchai

    บ้าน


    ความคิดเชิงระบบ




    สมชาย

    ภาษาบอกถึงความลึกซึ้ง แสดงถึงความเจริญของประเทศนั้นๆได้ ตอนนี้ประเทศเกาหลีเริ่มลึกซึ้งมากขึ้น

    คำถามว่า ทำไม และทำอย่างไร

    System thinking

    • -เห็นสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง
    • -มีความเชื่อมโยง
    • -ต้องมีตัวเชื่อมกริยา

    ระบบต้องมี

    • 1. ทุกระบบต้องมี Component
    • 2. Component ต้องมีฟังก์ชั่น
    • 3. ฟังก์ชั่นต้องเกิด Interaction
    • 4. เมื่อมีการ Interaction ดี ก็ทำให้ระบบอยู่ได้

    - แต่ละองค์ประกอบมีความสำคัญไม่เท่ากัน บางองค์ประกอบขาดไป ก็อยู่รอดได้ แต่บางองค์ประกอบขาดระบบก็พัง

    - การดูว่าเราอยู่ในระบบไหน ต้องดูว่าเราทำหน้าที่ไหนในขณะนั้นด้วย หรือ ขึ้นอยู่กับฟังก์ชั่นนั้นๆ

    คิด: ห้องนี้กับโตโยต้า และทางการเมือง ต่างกันอย่างไร

    • - ระบบเครื่องจักรเป็น Mechanic
    • -คน เป็น Organic

    คิด: ระบบ organic มีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ

    เมื่อเข้าสู่ระบบ AEC ต้องมีการปรับตัวให้ได้

    ระบบที่มี Input - process - Output ถามว่า สมบูรณ์หรือยัง คำตอบ คือ ยังไม่สมบูรณ์ เพราะยังไม่มี outcome และจะนำไปอธิบาย Feedback ต่อไป ต้องมองกลุ่มลูกค้าก่อนว่าต้องการอย่างไร ต้องกลับกระบวนการเป็น เรียกคนกลุ่มนี้ว่า forward Thinking เป็นจุดเริ่มต้นของ Visionary

    Outcome – Input – Process- Output

    Component คือ สิ่งที่มองไม่เห็น จะต้องมีหน่วยงานที่ต้องดู process

    จะเรียนเรื่องระบบทำไม ?

    • -ใช้เรื่องการบริหารจัดการ ออกมาเป็น Value chain
    • -ทำไมกาแฟไทย ถึงชงไม่คงเส้นคงวา ซึ่งต่างจากสตาร์ บัค เพราะคุณภาพกาแฟ Contact farming ผู้ชง และต้องมีผู้ชิม ทำเป็นสูตร และสอนเด็กให้ชงตามสูตร หากไม่ชงตามสูตร จะมีการลงโทษ และในบางวันมีคนมาตรวจสอบด้วย

    ระบบในเชิงแนวนอน

    • -ต้องมองกว้าง
    • -มองความเชื่อมโยงระหว่างสังคม
    • -จงทำกับคนอื่นในสิ่งที่อยากให้คนอื่นทำกับเรา
    • -หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำกับคนอื่น ที่ไม่อยากให้คนอื่นทำกับเรา

    หากเกี่ยวข้องกับลูกค้า สิ่งที่ลูกค้าแสดงออก หมายถึงสัญญาณเตือนที่เราต้องจดจำไว้ ไม่ว่าจะเป็นคำติ หรือ คำชม

    ระบบในเชิงแนวตั้ง

    มองอนาคตก่อน ระบบที่ดีต้องรู้ว่าเราชอบอะไร และจะไปสู่ตำแหน่งนั้นได้อย่างไร ประเทศที่เจริญต้องการผู้บริหารที่สามารถมองไปยังอนาคตได้

    Game Theory Concepts นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และการเจรจาต่อรอง

    ทฤษฎีเกมส์พัฒนาอย่างไร มนุษย์ทุกคนต้องการคนที่ดีที่สุด กรณี 4 ต่อ 1 โอกาสที่จะจีบผู้หญิงคนนั้น คือ 25 %

    • -คนฉลาดต้องมีเหตุมีผล
    • -ถ้าเป็น Zero sum Game ไม่ควรเล่น ถ้าจะเล่น ต้องมีโอกาสชนะถึง 80%
    • -คนฉลาดต้องพยามยามเข้าสู่ทฤษฎีเกมส์บวก

    Zero sum Game มีผู้ชนะและผู้แพ้

    Positive sum Game เกมส์บวก

    Negative sum Game เกิดจากเกมส์ที่ 2 ล้ม คือ จะต้องมีคนไม่ได้ อาจจะไม่มีใครได้ใครชนะเลย หรือ Non zero sum

    Decision Three

    Dominant Strategy

    Dominated Strategy

    Minimax

    Equilibrium Point

    Simultaneous Game

    Strategic Move

    Sequential Game

    ถาม Fastcleaner จะสู้หรือไม่


    ตอบ: สู้เพราะ ในทฤษฎีเกมส์ เป็น Group thinking มันเป็นเกมส์ ที่ถือว่าเป็นข้อยกเว้น เพราะคิดว่าชนะแน่นอน

    ตัวอย่างที่ 2 ใช้ในเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ

    สหรัฐ กับสหภาพโซเวียต ทำสงคราม ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องมั่นใจว่าชนะ

    ทางเลือกที่ 1 ทำทุกอย่างให้ชนะ

    ทางเลือกที่ 2 ป้องกันไม่ให้พันธมิตรทรยศ

    ทางเลือกที่ 3 ต้องสร้างอาวุธนิวเคลียร์

    สร้างเสร็จแล้ว เมื่อต่างฝ่ายต่างสร้างนิวเคลียร์ โอกาสที่จะเกิดนิวเคลียร์ก็น้อยลง เพราะถ้าสู้เมื่อไหร่ ก็แพ้แน่นอน และตายทั้งคู่ จึงกลายเป็นสงครามเย็น

    แต่อเมริกา ส่งข่าวที่ให้สหภาพโซเวียตรู้ว่า ยังคงสร้างอยู่ไม่หยุดนิ่ง

    การมองจากมุมตัวเอง ไม่ได้ทำให้เกิดความประสบสำเร็จ

    เมื่อสงครามเย็นสิ้นสุด ต้องถ่วงดุลอำนาจรวมตัวกันเป็น AEC

    คนฉลาดย่อมหลีกเลี่ยง Negative sum game

    ตัวอย่างที่ 3 การเมืองภายใน คุณอภิสิทธ์ กับคุณเนวิน ตั้งรัฐบาลผสม

    อ.สมชาย: ตอบว่าอยู่นานพอสมควร เพราะ 2 คนนี้มีศัตรูคนเดียวกัน

    ตัวอย่างที 4: ยิ่งลักษณ์ และสุเทพ ไม่มีทางเจรจาต่อรองได้

    อ.สมชาย: การเจรจาต่อรองไม่ค่อยได้ เรียกว่า Dominant Strategy

    ต้องวิเคราะห์ว่าปูไม่มีตัวตน แต่ต้องวิเคราะห์ทักษิณ

    ทางออกทักษิณ

    • -ไม่ยอม ต้องเลือกตั้งก่อน
    • -สงครามการเมือง
    • -ยอม

    ทักษิณ อยู่ต่างประเทศก็ไม่ยอม

    ปูจึงไม่ยอม พรรคพวกปูก็ไม่ยอม

    • การเจรจาต่อรอง

    B เป็น supplier ของ A วันหนึ่ง C เสนอลด 15% และคุณภาพสินค้าเหมือนกัน แต่ทฤษฎีเกมส์ไม่ควรทำอย่างนั้น เพราะ

    • - ต้องหาข้อมูลก่อน
    • -ถ้าได้ข้อมูลเพิ่ม รู้ว่าเป็นสภาพปัญหาขาดสภาพคล่องชั่วคราว
    • -ต้องแลกเปลี่ยนตัวแปรต่างมิติ
    • -ชดเชยด้วยการจ่ายเงินสด
    • -และเพิ่มปริมาณมากขึ้น
    • Strategic thinker

    ถาม พ่อแม่ลูกรักกันมาก ต้องไปสถานที่เดียวกัน เวลาเดียวกัน พ่ออยากไปตีกอลฟ์ ที่บางนาตราด แม่อยากไปว่ายน้ำ ที่สวนสยาม ลูกอยากไปเชียงใหม่ มีทางออกอย่างไร

    ตอบ คือ

    • -คนเกี่ยวข้อง 3 คน
    • -สถานที่
    • -กิจกรรม
    • -เงื่อนไขเวลา

    ตัวอย่าง เคี้ยงเอมไพร์ กับ MK

    สิ่งที่เหมือนกันและปรับใช้กับธนาคารคือ

    • -รวดเร็ว
    • -อยู่ในห้าง
    • -เสาร์ อาทิตย์ เปิด

    พฤติกรรมผู้บริโภค เปลี่ยนไป คือ ลูกค้าต้องการ One stop service ต้องการความหลากหลาย ลูกค้าต้องการเลือกได้เยอะ

    บุฟเฟต์ ก็เป็น One stop service ให้เลือกหลายอย่าง

    สรุปการบรรยายหัวข้อ

    "การคิดเชิงกลยุทธ์ และ การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

    เพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ"

    โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

    29 พฤศจิกายน 2557

    คนที่เป็น Visionary ต้องเป็นขั้นบันได

    ขั้นแรก Box thinking ดูถูกตัวเอง ระบบการศึกษาใช้ ตาและหู Input ออกมาเป็น output

    เป็นพวกที่ใครพูดอะไรก็เชื่อ เช่นสมัยนี้นักข่าว หรือ สื่ออกมาว่าอะไรก็เชื่อ

    มองจากมุมตัวเองทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ เชื่อคนง่าย

    มองปัจจุบัน และอดีตเท่านั้น

    มนุษย์พันธุ์ใหม่ ต้องสร้างให้เกิดขึ้น การศึกษาที่ดีต้องไม่บ้าปริญญา แต่บ้าความรู้

    การเรียนปริญญา ไม่ได้ไว้เพื่อโฆษณา

    มหาวิทยาลัยที่ดี ต้องสอนให้ Why

    ต้องรู้จักตัวเอง เพราะความรู้มันอยู่ที่การสร้างของตัวเอง

    การเรียนต้องเรียนแบบรู้จริง

    การเรียนที่ดี ต้อง

    • -รู้จักตัวเอง
    • -สร้างความรู้ ไมใช่รับความรู้ และตีมูลค่าเป็น Organic
    • -หากต้องการให้การเรียนประสบความเร็จต้องสร้างความรู้
    • -การปฏิรูป ต้องการมนุษย์พันธุ์ใหม่ เรียนรู้แบบ How to
    • -ต้องการมนุษย์พันธุ์ Organic thinking
    • -คำถามอะไร เปลี่ยนเป็น ทำไม ทำอย่างไร

    ความคิดเชิงระบบ

    โครงสร้างภาษา บอกถึงความเจริญของประเทศ ได้หรือไม่

    ENG

    Thai

    1. HOUSE เป็นโครงสร้าง

    HOME ภาพฉายของความรักและความอาใจใส่

    2. System thinking เป็นคำนาม อยู่หน้าคำนามเป็น ADJ

    Systemic thinking เป็น ADJ

    Systematic thinking ระบบคิดเป็นระบบ จับประเด็นได้เร็วมาก เพราะมีความคิดตัดระบบเก่ง

    Induction สร้างทฤษฎีออกมา

    3. Somchai

    somchai

    บ้าน

    ความคิดเชิงระบบ

    สมชาย

    ภาษาบอกถึงความลึกซึ้ง แสดงถึงความเจริญของประเทศนั้นๆได้ ตอนนี้ประเทศเกาหลีเริ่มลึกซึ้งมากขึ้น

    คำถามว่า ทำไม และทำอย่างไร

    System thinking

    • -เห็นสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง
    • -มีความเชื่อมโยง
    • -ต้องมีตัวเชื่อมกริยา

    ระบบต้องมี

    • 1. ทุกระบบต้องมี Component
    • 2. Component ต้องมีฟังก์ชั่น
    • 3. ฟังก์ชั่นต้องเกิด Interaction
    • 4. เมื่อมีการ Interaction ดี ก็ทำให้ระบบอยู่ได้

    - แต่ละองค์ประกอบมีความสำคัญไม่เท่ากัน บางองค์ประกอบขาดไป ก็อยู่รอดได้ แต่บางองค์ประกอบขาดระบบก็พัง

    - การดูว่าเราอยู่ในระบบไหน ต้องดูว่าเราทำหน้าที่ไหนในขณะนั้นด้วย หรือ ขึ้นอยู่กับฟังก์ชั่นนั้นๆ

    คิด: ห้องนี้กับโตโยต้า และทางการเมือง ต่างกันอย่างไร

    • - ระบบเครื่องจักรเป็น Mechanic
    • -คน เป็น Organic

    คิด: ระบบ organic มีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ

    เมื่อเข้าสู่ระบบ AEC ต้องมีการปรับตัวให้ได้

    ระบบที่มี Input - process - Output ถามว่า สมบูรณ์หรือยัง คำตอบ คือ ยังไม่สมบูรณ์ เพราะยังไม่มี outcome และจะนำไปอธิบาย Feedback ต่อไป ต้องมองกลุ่มลูกค้าก่อนว่าต้องการอย่างไร ต้องกลับกระบวนการเป็น เรียกคนกลุ่มนี้ว่า forward Thinking เป็นจุดเริ่มต้นของ Visionary

    Outcome – Input – Process- Output

    Component คือ สิ่งที่มองไม่เห็น จะต้องมีหน่วยงานที่ต้องดู process

    จะเรียนเรื่องระบบทำไม ?

    • -ใช้เรื่องการบริหารจัดการ ออกมาเป็น Value chain
    • -ทำไมกาแฟไทย ถึงชงไม่คงเส้นคงวา ซึ่งต่างจากสตาร์ บัค เพราะคุณภาพกาแฟ Contact farming ผู้ชง และต้องมีผู้ชิม ทำเป็นสูตร และสอนเด็กให้ชงตามสูตร หากไม่ชงตามสูตร จะมีการลงโทษ และในบางวันมีคนมาตรวจสอบด้วย

    ระบบในเชิงแนวนอน

    • -ต้องมองกว้าง
    • -มองความเชื่อมโยงระหว่างสังคม
    • -จงทำกับคนอื่นในสิ่งที่อยากให้คนอื่นทำกับเรา
    • -หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำกับคนอื่น ที่ไม่อยากให้คนอื่นทำกับเรา

    หากเกี่ยวข้องกับลูกค้า สิ่งที่ลูกค้าแสดงออก หมายถึงสัญญาณเตือนที่เราต้องจดจำไว้ ไม่ว่าจะเป็นคำติ หรือ คำชม

    ระบบในเชิงแนวตั้ง

    มองอนาคตก่อน ระบบที่ดีต้องรู้ว่าเราชอบอะไร และจะไปสู่ตำแหน่งนั้นได้อย่างไร ประเทศที่เจริญต้องการผู้บริหารที่สามารถมองไปยังอนาคตได้

    Game Theory Concepts นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และการเจรจาต่อรอง

    ทฤษฎีเกมส์พัฒนาอย่างไร มนุษย์ทุกคนต้องการคนที่ดีที่สุด กรณี 4 ต่อ 1 โอกาสที่จะจีบผู้หญิงคนนั้น คือ 25 %

    • -คนฉลาดต้องมีเหตุมีผล
    • -ถ้าเป็น Zero sum Game ไม่ควรเล่น ถ้าจะเล่น ต้องมีโอกาสชนะถึง 80%
    • -คนฉลาดต้องพยามยามเข้าสู่ทฤษฎีเกมส์บวก

    Zero sum Game มีผู้ชนะและผู้แพ้

    Positive sum Game เกมส์บวก

    Negative sum Game เกิดจากเกมส์ที่ 2 ล้ม คือ จะต้องมีคนไม่ได้ อาจจะไม่มีใครได้ใครชนะเลย หรือ Non zero sum

    Decision Three

    Dominant Strategy

    Dominated Strategy

    Minimax

    Equilibrium Point

    Simultaneous Game

    Strategic Move

    Sequential Game

    ถาม Fastcleaner จะสู้หรือไม่

    ตอบ: สู้เพราะ ในทฤษฎีเกมส์ เป็น Group thinking มันเป็นเกมส์ ที่ถือว่าเป็นข้อยกเว้น เพราะคิดว่าชนะแน่นอน

    ตัวอย่างที่ 2 ใช้ในเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ

    สหรัฐ กับสหภาพโซเวียต ทำสงคราม ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องมั่นใจว่าชนะ

    ทางเลือกที่ 1 ทำทุกอย่างให้ชนะ

    ทางเลือกที่ 2 ป้องกันไม่ให้พันธมิตรทรยศ

    ทางเลือกที่ 3 ต้องสร้างอาวุธนิวเคลียร์

    สร้างเสร็จแล้ว เมื่อต่างฝ่ายต่างสร้างนิวเคลียร์ โอกาสที่จะเกิดนิวเคลียร์ก็น้อยลง เพราะถ้าสู้เมื่อไหร่ ก็แพ้แน่นอน และตายทั้งคู่ จึงกลายเป็นสงครามเย็น

    แต่อเมริกา ส่งข่าวที่ให้สหภาพโซเวียตรู้ว่า ยังคงสร้างอยู่ไม่หยุดนิ่ง

    การมองจากมุมตัวเอง ไม่ได้ทำให้เกิดความประสบสำเร็จ

    เมื่อสงครามเย็นสิ้นสุด ต้องถ่วงดุลอำนาจรวมตัวกันเป็น AEC

    คนฉลาดย่อมหลีกเลี่ยง Negative sum game

    ตัวอย่างที่ 3 การเมืองภายใน คุณอภิสิทธ์ กับคุณเนวิน ตั้งรัฐบาลผสม

    อ.สมชาย: ตอบว่าอยู่นานพอสมควร เพราะ 2 คนนี้มีศัตรูคนเดียวกัน

    ตัวอย่างที 4: ยิ่งลักษณ์ และสุเทพ ไม่มีทางเจรจาต่อรองได้

    อ.สมชาย: การเจรจาต่อรองไม่ค่อยได้ เรียกว่า Dominant Strategy

    ต้องวิเคราะห์ว่าปูไม่มีตัวตน แต่ต้องวิเคราะห์ทักษิณ

    ทางออกทักษิณ

    • -ไม่ยอม ต้องเลือกตั้งก่อน
    • -สงครามการเมือง
    • -ยอม

    ทักษิณ อยู่ต่างประเทศก็ไม่ยอม

    ปูจึงไม่ยอม พรรคพวกปูก็ไม่ยอม

    • การเจรจาต่อรอง

    B เป็น supplier ของ A วันหนึ่ง C เสนอลด 15% และคุณภาพสินค้าเหมือนกัน แต่ทฤษฎีเกมส์ไม่ควรทำอย่างนั้น เพราะ

    • - ต้องหาข้อมูลก่อน
    • -ถ้าได้ข้อมูลเพิ่ม รู้ว่าเป็นสภาพปัญหาขาดสภาพคล่องชั่วคราว
    • -ต้องแลกเปลี่ยนตัวแปรต่างมิติ
    • -ชดเชยด้วยการจ่ายเงินสด
    • -และเพิ่มปริมาณมากขึ้น
    • Strategic thinker

    ถาม พ่อแม่ลูกรักกันมาก ต้องไปสถานที่เดียวกัน เวลาเดียวกัน พ่ออยากไปตีกอลฟ์ ที่บางนาตราด แม่อยากไปว่ายน้ำ ที่สวนสยาม ลูกอยากไปเชียงใหม่ มีทางออกอย่างไร

    ตอบ คือ

    • -คนเกี่ยวข้อง 3 คน
    • -สถานที่
    • -กิจกรรม
    • -เงื่อนไขเวลา

    ตัวอย่าง เคี้ยงเอมไพร์ กับ MK

    สิ่งที่เหมือนกันและปรับใช้กับธนาคารคือ

    • -รวดเร็ว
    • -อยู่ในห้าง
    • -เสาร์ อาทิตย์ เปิด

    พฤติกรรมผู้บริโภค เปลี่ยนไป คือ ลูกค้าต้องการ One stop service ต้องการความหลากหลาย ลูกค้าต้องการเลือกได้เยอะ

    บุฟเฟต์ ก็เป็น One stop service ให้เลือกหลายอย่าง

    สนุกมากค่ะ ได้เรียนรู้และคิดตลอดเวลา เป็นหลักการคิดอย่างเป็นระบบและอย่างมียุทธศาสตร์ที่สามารถปรับนำมาใช้ได้ทุกสถานการณ์ จำเป็นต้องฝึกฝน เพื่อให้สามารถคิดได้อย่างรอบคอบและถูกหลักตามที่อาจารย์ได้เสนอแนะค่ะ

    ในวันนี้ อาจารย์ปรับ mindset ให้คิดเป็นแบบorganic ใช้why & how to ให้มองที่out come ก่อน. อย่ามองและตัดสินใจจากความคิดของตนเอง "จงทำกับคนอื่นในสิ่งที่อยากให้คนอื่นทำ จงหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆกับคนอื่นในสิ่งที่ไม่อยากให้คนอื่นทำกับเรา" ฝึกการคิดเป็นระบบที่มีความเชื่อมโยงกันขององค์ประกอบต่างๆ. ให้ฝึกใช้ทฤษฎีเกมส์ ซึ่งน่าทึ่งมาก ที่สามารถนำมาใช้ในการตัดสินใจได้ทุกๆสถานการณ์ ไม่ว่าจะทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองในครอบครัว อาจารย์ช่วยให้เข้าใจในAECเพิ่มขึ้น เป็นการเรียนที่สนุกมากค่ะ

    วันที่ 28 พย.57 ได้มาบริหารจัดการความเครียดกับ อ.วัลลภ ซึ่ง อ.ชี้ให้เห็นถึงความเครียดเกิดจาก ความคาดหวังของผู้อื่นที่ต้องการให้เราทำ

    สิ่งที่ทำให้คนในยุคนี้เกิดความเครียด เพราะต้องดิ้นรนอยากได้ อยากมี ในสิ่งเหล่านี้คือ

    1. ความมั่งมี เงินทอง ซึ่งทำให้เราไม่เคยหยุด ต้องคอยหาเพื่ออยู่ตลอด

    2. การมีชื่อเสียง คนรู้จัก ทำให้ต้องสร้างภาพ เกิดความอิจฉา

    3. การเลื่อนยศ ตำแหน่งให้สูงขึ้น ทำให้เราไม่เคยหยุดดิ้นรนแสวงหามา เกิดความหวั่นไวและ

    หวาดระแวง

    4. การมีอำนาจ มีอภิสิทธิ์ ทำให้ต้องเอาชนะ มีการแก่งแย่งแข่งขัน กร้าวร้าว

    5. ความสวย ความหล่อ การมีเสน่ห์ทางเพศ ทำให้ต้องไปทำศัลยกรรม เกิดความหวาดกลัว ย้ำคิด

    ดังนั้นกุญแจสำคัญของการบริหารตัดการความเครียด คือ การรู้จักปรับอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมการกระทำของตนเอง ให้สมดุลกัน รวมทั้งการสมดุลกับสิ่งแวดล้อมและรอบ ๆ ตัวเรา ต้องมีความอดทน

    ช่วงบ่าย อ.วัลลภได้สอยให้รู้จักวิธีการหายใจ และ หัวเราะ เพื่อบำบัดจิตใจและร่างกาย

    ในช่วงเย็น อ.จรัส สุวรรณเวลา ได้มาบรรยายเรื่อง ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยกับคณะแพทยศาสตร์ ซึ่ง อ.ได้ให้เราลองจัดลำดับความสำคัญในบริบทของคณะแพทยศาสตร์ โดยให้หัวข้อดังนี้

    1. การศึกษาของแพทยศาสตร์บัณฑิต

    2. การฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง

    3. การวิจัย

    4. การบริการทางการพยาบาล

    5. การพัฒนาระบบสุขภาพ

    6. งานอื่น ๆ

    โดยผู้เรียนในห้องได้จัดเรียงความสำคัญแตกต่างกันไป ซึ่ง อ. ก็ให้ข้อแนะนำว่าคณะแพทยศาสตร์จะต้องรู้จักตนเองก่อนว่าบริบทไหนสำคัญสำหรับคนในภาคใต้ เนื่องจาก มหาวิทยาลัยนี้ได้ตั้งขึ้นมาตอบสนองความต้องการของประชาชนในภาคใต้ และเป็นความภาคภูมิใจของคนภาคใต้ ดังนั้นถ้าไม่รู้ว่างานไหนสำคัญ ก็จะเหมือนการเล่นแย้ลงรู ใครมีกำลังมากกว่าก็จะกำหนดไปในทิศทางที่ตนเองคิดว่าใช่

    วันที่ 29 พย.57 อ.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

    อ. ได้สอนให้เรารู้จักเปลี่ยน Mindset ของเรา จากการที่เราชอบถาม What ให้เปลี่ยนเป็น การถามแบบ Organic โดยให้ถามว่าทำอย่างไร ( Why )

    อ. ได้บรรยายถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกตั้งแต่ยุคเกษตรกรรม ยุคปฏิบัติอุตสาหกรรม จนถึงยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของ IT ซึ่งยุคนี้การเปลี่ยนแปลงของโลกเป็นไปอย่างรวดเร็ว ใครปรับตัวไม่ทันก็จะนำไปสู่การล่มสลาย

    ในช่วงบ่าย ระบบการคิดเชิงกลยุทธ์

    การคิดเชิงระบบจะต้อง คิดเป็นระบบ และจัดระบบเป็น คือการจับประเด็นที่แตกต่าง

    - ในระบบทุกระบบจะต้องมีองค์ประกอบที่มีความเชื่อมโยงกัน การทำ Function ต้องมีปฏิสัมพันธ์กัน และต้องมีเป้าหมายในระบบร่วมกัน

    - ในกระบวนการผลิต จะต้องมองหา Outcome ซึ่ง Outcome จะมาจากความต้องการของลูกค้า ทำให้เราผลิตสินค้าได้ตรงความต้องการลูกค้า

    - อ.อธิบายเรื่องการเล่น Game Thinking ซึ่งจะมีเกมส์

    1. Zero Sum Game ซึ่งถ้าเล่นเกมส์นี้ จะมีทั้งผู้แพ้และผู้ชนะ ดังนั้นถ้าเราไม่แน่ใจว่าจะชนะ ไม่ควรเล่นเกมส์นี้

    2. Positive Sum game

    3. Negative Sum Game


    การเรียนกับอ.สมชายทำให้เห็นความเชื่อมโยงของความเหมือนในความแตกต่าง และการร้อยเรียงเรื่องราวนำไปสู่การเรียนรู้ และสังเคราะห์จนเป็นความรู้

    ความคิดอย่างเป็นระบบเป็นประโยชน์อย่างมากในการนำมาปรับใช้กับการทำงาน ได้รู้ว่า ระบบต้องมี องค์ประกอบ แต่ละองค์ประกอบต้องมีหน้าที่ แต่ละหน้าที่ต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันจนเกิดผลลัพธ์ทั้งหมดนี้มีส่วนสำคัญต่อการรับมือกับAEC เพื่อการปรับตัว และเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมASEAN

    วันที่ 27 บทเรียนจากหนังสือ Search inside yourself ชอบเรื่องการควบคุมอารมณ์ เหมือนการขี่ม้า เราต้องบังคับม้าให้ทำตามที่เราต้องการ ไม่ใช่ให้ม้ามาควบคุมเรา เปรียบเสมือนเราต้องควบคุมอารมณ์ของเรา ไม่ให้อารมณ์มาเป็นใหญ่ ซึ่งในบางครั้งทำได้ยากมาก เพราะอารมณ์จะมาก่อนเหตุผล จึงต้องมีการฝึกระงับอารมณ์ วิชาที่ 22 องค์กรแห่งความสุขที่ทรงประสิทธิภาพ ทุกคนต้องข่วยกันทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน ช่วงบ่ายกรณีศึกษาของศิริราชและ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร การบริหารงานผู้นำต้องใข้ใจในการทำงาน

    วันที่ 28 กิจกรรมรักษ์ใจ - รักษ์กาย สิ่งที่ทำให้ประสบผลสำเร็จพร้อมกับการมีความสุขคือ การได้ทำในสิ่งที่รัก แม้จะไม่ได้ทำในสิ่งที่รัก ก็จะพยายามรักในสิ่งที่ทำ กุญแจสำคัญในการบริหารความเครียดคือ การรู้จักปรับอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของตนเองให้สมดุลกันรวมทั้งสมดุลกับสิ่งแวดล้อมด้วย

    ความเครียดเกิดจากการใข้ความคิดมากไป ใช้ความรู้สึกมากไป หรือการทำงานมากไป

    การแก้ไขความกลัวคือ เราต้องเผชิญกับมันอย่างมีสติ

    ช่วงบ่าย หัวข้อทิศทางการแพทย์และสาธารณสุข ชอบมากตอนที่ อ.จรัส กล่าวว่า รพ.ทุกแห่งมุ่งที่จะสร้างความก้าวหน้าให้กับ รพ.โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย เครื่องมือทางการแพทย์ที่ยอดเยี่ยมและมีราคาแพงมาใช้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ต้นทุนการรักษาพยาบาลสูงขึ้น โดยไม่มีใครมองว่าประชาชนตาดำ ๆ จะมีเงินจ่ายค่ารักษาหรือไม่ การสร้างองค์กรให้เจริญก้าวหน้านั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ควรจะมองสิ่งแวดล้อมที่เป็นองค์ประกอบของสังคมด้วย ควรจะมีมาตรการรองรับเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมด้วย

    วันที่ 29 ชอบที่ อ.สมชาย สอนให้รู้จักคิดอย่างเป็นระบบ มีการยกตัวอย่างทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ชอบเรื่องทฤษฎีเกมส์ การสอนของ อ.สมชาย ไม่ได้สอนแบบต้องการคำตอบ แต่สอนแบบต้องการให้หาวิธีคิดที่จะได้คำตอบ หรือที่มาของคำตอบว่าเรามีวิธีคิดอย่างไร ให้เราตั้งคำถามว่า “ทำไม” และ “อย่างไร” ไม่ต้องการให้จำ แต่ต้องการให้เข้าใจ ซึ่งการจำนี้นเรายังมีโอกาสที่จะลืมได้ แต่ความเข้าใจนั้นจะไม่มีวันลืม

    27พ.ย.57 วันนี้ประทับใจgoogleที่ให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์และทุนแห่งความสุข นำหลักธรรมมาปรับใช้เป็นกลยุทธ ให้บุคลากรได้เรียนรู้ ฝึกฝน เพื่อค้นพบความสุขภายในจิตใจที่ทำได้ด้วยตัวของเราเอง ซึ่งเมื่่อคนมีความสุข สงบ ย่อมส่งผลให้ทำงานอย่างมีความสุข แม้มิได้ทำในสิ่งที่ตนเองรัก ก็สามารถรักในสิ่งที่ตนเองทำ.....ความคิดสร้างสรรค์ ทุ่มเท สนุกและสุขในสิ่งที่ทำ ย่อมส่งผลต่อผลงานที่ออกมา...

    อจ.สมโภชน์ได้เล่าประสบการณ์ที่มีประโยชน์ในการทำงาน ข้อคิดที่อจ.ใช้ตรงใจเลยค่ะ เราทำงานที่เป็นงานบุญ สิ่งที่ได้มิใช่แค่ค่าตอบแทน แต่มีสิ่งตอบแทนที่มีคุณค่าทางใจมากมาย...

    อจ.ศิรินันท์ เล่าที่มาที่ไปของการวัดค่าความสุขของคนในองค์กร เคยทำค่ะ แต่คำถามมันตอบค่อนข้างยาก...

    และที่สุดแล้วความสุขในการทำงาน ย่อมส่งผลให้Productivityของงานสูงขึ้น....

    28พ.ย.57 กิจกรรมรักษ์กาย รักษ์ใจ ที่ได้แน่ๆคือความสุข หัวเราะทั้งวัน ต่อมาคือความรู้ใหม่ๆในการดูแลตนเอง

    โดยเฉพาะเรื่องของสุขภาพ การใช้ชีวิตประจำวันอย่างถนอมร่างกาย สมอง จิตใจ ซึ่งหากจะฝึกให้ถูกต้อง สม่ำเสมอ

    ต้องมีสติ มิเช่นนั้นก็จะทำเหมือนเดิม ตามความเคยชิน ที่เริ่มฝึกเช่นการเคี้ยวทั้ง2ข้าง แปรงฟันมือซ้าย ใช้มือซ้ายให้มากขึ้น การสั่งจิตให้คิดบวก พูดบวก อีกอย่างสำหรับกลุ่มที่ต้องเป๊ะทุกเรื่อง ก็ต้องหัดช่างมันบ้าง หัวเราะบำบัดนี่ทำคนเดียวก็เขินๆนะ

    ช่วงเย็น อ.จ.จรัส สุวรรณเวลา ผู้ใหญ่ใจดีมาช่วยกระตุ้นให้เราคิดและรับรู้ถึงความคิดของชาวใต้ที่มีต่อสงขลานครินทร์/ต่อรพ.มอ. และยกตัวอย่างการบริการทางการแพทย์เชิงรุกที่มองเห็นและจับต้องได้ ภายใต้ทรัพยากรที่เหมาะสม เสียดายที่เวทีนี้แพทย์ไม่ค่อยมีแพทย์...แต่ท่านประธานของเราน่าจะได้อะไรไปคิดต่อหลายเรื่องแน่ๆ..

    29พ.ย.57อจ.สมชาย เชื่อมโยงภาพความเป็นไปของโลกให้เข้าใจง่ายขึ้นจริงๆ สุดยอด...ให้รู้ปัจจุบันและมองอนาคต รู้ว่าโลกปัจจุบันส่งผลกระทบถึงกัน และต้องเตรียมรับมือ โดยเชื่อมโยงให้รู้ว่าทำไมต้องมีAEC และเรา/คณะฯจะเจออะไร เตรียมรับอย่างไร ช่วงบ่ายการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ..ให้หลุดออกจากBox Thinking ไปสู่Organic Thinking หัดตั้งคำถาม Why How...อจ.นำทฤษฎีGame มาสอนและให้ฝึกคิดตาม..และมีการสอดแทรกเทคนิคเช่นการแลกเปลี่ยนตัวแปรต่างมิติ..ซึ่งเหล่านี้สามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้ทั้งเรื่องครอบครัว การทำงาน

    และการอยู่ร่วมกันในสังคม

    บุปผา ส่งศรีบุญสิทธิ์

    วันที่ 28 พย. 57 วันนี้ตลอดวันจนถึงสี่โมงเย็น พวกเราได้มีโอกาสเรียนรู้จากดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรมว่าอะไรที่ทำให้เครียดที่สุดในชีวิต สิ่งแรกคือความรัก เพราะเมื่อรักก็คาดหวังสูง ดังนั้นเวลารักก็ต้องเรียนรู้ ไม่ใช่คาดหวัง การที่ไม่ค่อยรู้จักตนเอง แต่รู้ผ่านการบอกกล่าวจากผู้อื่น การดิ้นรนอยากมั่งมีเงินทอง อยากมีชื่อเสียง ได้เลื่อนยศ มีตำแหน่งสูง มีอำนาจ มีอภิสิทธิ์ แก่งแย่ง แข่งก้าวร้าว อยากสวยหล่อ และมีเสนหาทางเพศ เมื่อเรียนรู้สาเหตุ พวกเราก็ได้เรียนรู้ที่จะทำให่ผ่อนคลายด้วยการยืนแอ่นแล้วหลังก้มตรงลงไปช้าๆ จึงค่อยๆแอ่นตัวขึ้นตรงๆ อีกสองครั้งแอ่นขึ้นโค้งไปทางซ้ายแล้วทางขวาเพื่อให้วงจรประสาทสมองสมดุล คลายเครียดกาย-ใจ พร้อมที่จะเรียนรู้ และขอบคุณร่างกายด้วยการนวด ยิ้ม บอกรักทุกส่วนของร่างกาย เซลล์ทุกเซลล์ทั่วร่างกายจะเชื่อตามที่เราคิด เราพูด เรารู้สึก และทุกวันตอนเช้าพวกเราต้องทักทายกันด้วยคำพูดดีๆเพื่อเสริมพลังด้านบวก นอกจากนี้พวกเราได้เรียนรู้การหายใจที่สามารถล้างพิษอวัยวะภายในส่วนต่างๆของร่างกายให้ออกมาทางลมหายใจ รวมถึงการพักผ่อนที่ถูกต้อง การนอนหลับซึ่งท่านอนที่ดีที่สุดคือ นอนตะแคงขวา วันนี้จึงเป็นการเรียนรู้ที่ขอบอกว่าพวกเราเรียนรู้วิธีการกระทำกับอะไรนอกตัวมามากมาย แต่สำหรับวันนี้พวกเราเรียนรู้ที่จะกระทำกับภายในร่างกายของเราเอง ช่างน่าอัศจรรย์ใจนัก เรายังไม่รู้จักตัวเราสักเท่าไรเลย แล้วเรา8;iจะพยายามไปรู้จักอะไรนอกตัวมากมายก่อนรู้จักตัวเองดีกว่าจริงหรือ

    ในช่วงเย็นพวกเราโชคดีที่ได้มีโอกาสฟังคำชี้แนะของท่านศาตราจารย์นพ.จรัส สุรรณเวลา การถ่ายทอดความรู้ที่สอดแทรกการสอนที่ไม่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกต่อต้านนั้นเป็นศิลปที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง อาจารย์สอนให้พวกเรามองไปข้างหน้าอย่างเป็นผู้ให้โดยการคิดถึงผู้อื่นด้วยเอาความต้องการของเขามาใส่ในใจของเราเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ท่านยังแนะนำในการทำงานว่า "ทุกคนต้องไปช่วยคิดเรื่องการทำงานให้สำเร็จ ต้องทำงานเป็นทีม สิ่งหนึ่งคือ ความอ่อนน้อม ถ่อมตน หมายความว่า ไม่มีความหยิ่งยโส ในทุกระดับ สภาพที่มีอยู่คือ สภาพหยิ่งในหมู่เรากันเอง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักว่าต้องเคารพคนอื่น และหัวใจคือ ต้องตัดอัตตาตัวเอง และเข้าใจอัตตาคนอื่น" นับเป็นแนวทางที่พวกเราพึงระลึกไว้เสมออย่างแท้จริง


    วันที่ 27 พย. 57

    ข้อสรุปจากการอ่านหนังสือ Search inside yourself

    1.ตั้งใจฝึกฝน (Attention training)

    2.รู้จักตนเองและรู้ความสามารถของตนเอง

    3.สร้างวินัยทางจิตให้มีประโยชน์

    ต้องมีความฉลาดทางอารมณ์ ( Emotional Intelligence ) สามารถฝึกได้ เราสามารถจัดการกับอารมณ์ได้ เหมือนกับการที่เราขี่ม้า ฝึกควบคุมอารมณ์และรับมือกับอารมณ์โดยรู้จักการปล่อยวาง ต้องมีสติ ต้องมีสมาธิและรู้จักควบคุมอารมณ์ของตัวเอง เรียกแนวทางนี้ว่า( Siberian North Railroad = SBNRR เส้นทางแห่งความหนาวเย็นแห่งไซบีเรีย )

    นอกจากนี้เราควรย้อนกลับไปดูตัวเองว่าเราเป็นอย่างไร และเราจะจัดการกับความคิด อารมณ์ของตัวเองอย่างไร เพราะทุกวันนี้ในสังคม ทุกคนมักจะดิ้นรนในการที่จะเป็นคนอื่น เหมือนคนอื่น แต่ไม่ได้เป็นตัวเอง ควรเป็นตัวตนเอง ที่เราเรียกว่า Autonomy. คือมีความเป็นอิสระทางความคิด การกระทำ ดังนั้น Human Being ควรจะมี IQ+EQ+PQ+SQ

    หัวข้อต่อมาเกี่ยวกับ Happy Workplace องค์กรแห่งความสุข

    เราสามารถวัดความสุขได้โดยใช้ Happinometer มี 4 level คือ Very unhappy , Unhappy , Happy , Very happy ได้ข้อคิดจากหัวข้อนี้ คือ งานคือชีวิต ชีวิตคืองาน บันดาลสุข อย่าคิดว่างานคือภาระ ดังนั้นการทำให้องค์กรมีความสุขหรือไม่นั้น มันไม่ได้ขึ้นอยู่แค่องค์กรหรือแค่ตัวบุคคล แต่มันเกี่ยวข้องกันทั้งตัวบุคลากรและองค์กร ดังนั้นจึงต้องร่วมมือกัน

    กรณีศึกษาของศิริราชและรพ.เจ้าพระยา อภัยภูเบศร ให้ข้อคิดว่า ทั้ง2แห่งมองไปในแนวทางเดียวกันคือ การที่จะช่วยเหลือคน หนทางในการดำเนินงานอาจแตกต่างกัน แต่สิ่งที่ให้กับสังคมและชุมชนนั้นมีค่ายิ่งนัก ควรที่ศึกษาให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น นอกจากนี้อาจารย์ยังฝากให้เราไปศึกษาโครงการพระราชดำริของในหลวงท่าน ให้ชัดเจนถ่องแท้ จะทำให้เราได้เรียนรู้การทำงานแบบมีหลักการและความคิดอย่างมีระบบ






    วันที่ 28 พย. 57

    เช้านี้เป็นกิจกรรมรักษ์ใจ-รักษ์กาย ด้วยหัวเราะบำบัด และการใช้จิตวิทยาแก้ไขอาการวิตกกังวล

    โดย อ.วัลลภ ปิยะมโนธรรม

    ความวิตก กังวล เครียด มันอยู่ที่ความคิดของเราเอง ดังนั้นเราควรบริหารความเครียด คือการรู้จักปรับอารมณ์ ความรู้สึกให้สมดุลกัน รวมทั้งการสมดุลกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว ฝึกรักตัวเอง ขอบคุณร่างกายของตัวเอง เพราะเซลทุกเซลในร่างกายเชื่อตามที่เราคิด พูด คิดและทำสิ่งนั้นในช่วงที่กำลังอุ่น ก่อนทำควรเริ่มจากการอบอุ่นร่างกายก่อน จากนั้นเริ่มลูบไล้หรือนวดด้วยความรู้สึกดีๆ ยิ้มอย่างมีความสุข พร้อมกับพูดว่า " รัก" / " ขอบคุณ" ให้เซลทั่วร่างกายได้รับรู้ตั้งแต่ฝ่าเท้า ขึ้นมาทั่วท้องจนถึงศีรษะ เซลทุกเซลเกิดพลังชีวิตด้านบวก สุขภาพสมบูรณ์ ร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตดี

    นอกจากนี้ช่วงบ่ายทุกคนได้สนุกกับการเรียนรู้หัวเราะบำบัด โดยสามารถทำให้อวัยวะของเราได้หัวเราะ รวมถึงสมองและจิตสมองด้ว

    ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย โดยอ.จรัส สุวรรณเวลา

    ในปัจจุบันมีปัญหาความไม่เสมอภาคในสุขภาพ ประชาชนได้รับการดูแลรักษาไม่เท่าเทียมกัน จนเกิดวิกฤตบริการสุขภาพ

    วิกฤต 1 เลือกใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะ ค่าใช้จ่ายเพิ่มทวีคูณ มีส่วนไม่คุ้มค่า

    วิกฤต 2 บริการไม่เพียงพอ กระจายไม่ดี ระบบบริการขาดประสิทธิภาพ ไม่ทำงานเป็นทีม

    วิกฤต 3 ความเหลื่อมล้ำ เข้าไม่ถึงบริการ ความไม่ยุติธรรมในสังคม

    นอกจากนี้ยังกล่าวถึงองค์ความรู้ เสมือนมีชีวิต เกิดขึ้นมา ใช้งาน จากนั้นก็ดับ ดังนั้นความรู้ไม่ทันสมัย หรือตายไปแล้ว เท่ากับ ความไม่รู้หรือรู้ผิด คุณภาพบริการทางการแพทย์ ต้องอาศัยการติดตามความรู้ให้ทันและเลือกมาใช้อย่างถูกต้องและคุ้มค่า ควรเน้นการป้องกันมากกว่ารักษา การบริการตั้งรับในโรงพยาบาล พบโรคในระยะที่เป็นมาก รักษายากและแพง เราควรจะบริการแบบเชิงรุกในครอบครัว/ ชุมชน เน้นป้องกันก่อนเป็นโรค. หรือพบโรคในระยะแรก รักษาง่ายและหายได้ควรมีการสื่อสารและทำงานร่วมกับนักวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย จะสามารถทำให้สร้างสมรรถนะทั้งในงานคลินิก งานสาธารณสุข และสนองตอบต่อความจำเป็นด้านสุขภาพของประชากรทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย

    ในปัจจุบันมีปัญหาความไม่เสมอภาคในสุขภาพ ประชาชนได้รับการดูแลรักษาไม่เท่าเทียมกัน จนเกิดวิกฤตบริการสุขภาพ

    วิกฤต 1 เลือกใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะ ค่าใช้จ่ายเพิ่มทวีคูณ มีส่วนไม่คุ้มค่า

    วิกฤต 2 บริการไม่เพียงพอ กระจายไม่ดี ระบบบริการขาดประสิทธิภาพ ไม่ทำงานเป็นทีม

    วิกฤต 3 ความเหลื่อมล้ำ เข้าไม่ถึงบริการ ความไม่ยุติธรรมในสังคม

    นอกจากนี้ยังกล่าวถึงองค์ความรู้ เสมือนมีชีวิต เกิดขึ้นมา ใช้งาน จากนั้นก็ดับ ดังนั้นความรู้ไม่ทันสมัย หรือตายไปแล้ว เท่ากับ ความไม่รู้หรือรู้ผิด คุณภาพบริการทางการแพทย์ ต้องอาศัยการติดตามความรู้ให้ทันและเลือกมาใช้อย่างถูกต้องและคุ้มค่า ควรเน้นการป้องกันมากกว่ารักษา การบริการตั้งรับในโรงพยาบาล พบโรคในระยะที่เป็นมาก รักษายากและแพง เราควรจะบริการแบบเชิงรุกในครอบครัว/ ชุมชน เน้นป้องกันก่อนเป็นโรค. หรือพบโรคในระยะแรก รักษาง่ายและหายได้ควรมีการสื่อสารและทำงานร่วมกับนักวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย จะสามารถทำให้สร้างสมรรถนะทั้งในงานคลินิก งานสาธารณสุข และสนองตอบต่อความจำเป็นด้านสุขภาพของประชากร

    วันเสาร์ที่ 29 พ.ย.2557

    หัวข้อ เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย..ผลกระทบ การปรับตัวและกลยุทธ์ของคณะแพทย์ มอ.

    ได้เรียนรู้ว่าในอนาคตจะต้องมีการปรับตัวอีกมากเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เราจะต้องอ่านหนังสือให้มากขึ้น ติดตามข่าวสารบ้านเมืองทั้งในและนอกประเทศเพื่อให้รู้เขารู้เรา ซึ่งในยุคของโลกาภิวัตน์นี้จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงแน่นอนไม่ว่าจะทางการเมือง ทางเศรษฐกิจและทางสังคม แล้วเราพร้อมที่จะรับมือกับกระแสการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้แล้วหรือยัง

    หัวข้อ ความคิดในเชิงระบบและความคิดในเชิงกลยุทธ์

    ได้เรียนรู้ว่า การศึกษาที่ดี ต้องหัดตั้งคำถามว่า ทำไม ต้องรู้จักตนเอง ค้นหาตัวเองให้พบ ต้องหัดมองจากมุมคนอื่นบ้างถ้ามองจากมุมของตัวเอง จะไม่มีโอกาสประสบความสำเร็จ หัดอ่านหนังสือให้เป็นนิสัย

    ความคิดเชิงระบบ จะต้องประกอบด้วย

    1.องค์ประกอบต่างๆ

    2.ทุกๆองค์ประกอบต้องมีหน้าที่

    3.ทุกๆหน้าที่จะต้องเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน

    4.มีเป้าหมาย

    ความคิดเชิงกลยุทธ์

    ทบ. Organic จะต้องคิดถึงวิธีการเสียก่อน ก่อนที่จะไปถึงคำตอบนั้นๆ จะต้องถามว่า ทำไม ทำอย่างไร มองเห็นสิ่งที่เหมือนกันในความต่าง

    เป็นอีกหนึ่งวันที่ได้รับอาหารสมองใหม่ๆ เปิดโลกทัศน์ให้กับตัวเอง เรื่องส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวของเรานี่เอง ระบบของเทคโนโลยีที่การพัฒนาล้ำหน้าไป แต่เรายังอ่อนประสบการณ์ในการหาข้อมูลให้กับสมอง อ่านหนังสือน้อยไป ยังต้องฝึกฝนต่อไปให้เป็นนิสัยให้ได้

    วันที่ 29 พย. 57

    ได้ฟัง อ. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ เกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC เศรษฐกิจไทย ทำให้รู้สึกว่าตัวเองต้องปรับ mindset. ของตัวเองเป็นอย่างมาก อาจารย์ทำให้เรามองภาพได้อย่างเข้าใจ โดยผ่านการอธิบายที่ให้เราคิดตลอด ไม่ได้บอกแล้วให้เราจำ ทำให้สามารถมองความเป็นไปภายในโลกใบนี้ได้เข้าใจและชัดเจนขึ้น จากที่ไม่คิดว่าจะเกี่ยวกับเราโดยตรง อยากฟังอาจารย์เล่าและพูดสอนให้ระบบความคิดของเราเป็นระบบมากขึ้นอีกถ้ามีโอกาส นอกจากนี้อาจารย์ยังได้อธิบายเกี่ยวกับ Game Thinking (Game Theory)ว่าจะเป็นแบบไหน ในสถานการณ์ต่างๆ

    จริพร โตรุ่งนิพัทธ์

    วันที่ 27 พฤศจิกายน 2557 วันนี้ได้เรียนรู้ อดทน พยายาม ความสำเร็จก็จะตามมา รวมถึงการช่วยเหลือซึ่งกัน รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน และไม่ดูถูกใคร

    องค์กรแห่งความสุข : Happy workplace

    • คนทำงานมีความสุข
    • ที่ทำงานน่าอยู่
    • สมาชิกสมานฉันท์
    • ต้องเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ
    • มีความสร้างสรร กล้าคิดกล้าทำ
    • สร้างนวัตกรรม/ทำได้จริง ตรงจุด ตรงใจและต่อเนื่อง
    • สร้างคุณค่า

    วันที่ 28 พฤศจิกายน 2557 กิจกรรมรักษ์ใจ-รักษ์กาย กุญแจสำคัญของการบริหารความเครียด คือ การรู้จักปรับอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมการกระทำของตนเองให้สมดุลกัน รวมทั้งการสมดุลกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว พลังชีวิตประกอบไปด้วย พลังความคิด พลังความรู้สึก พลังการกระทำ และสิ่งที่ทุกคนควรตระหนักคือ ทำในสิ่งที่รัก และรักในสิ่งที่ทำ วันนี้เป็นวันที่ทุกได้หัวเราะ และสนุกกับกิจกรรม


    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 อาจารย์สมชาย ทำให้ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างที่ไม่เคยรู้ หรือรู้มาแต่ไม่ชัดเจน และที่ชอบมากคือ ทำอะไรก็ตาม จงหลีีกเลี่ยงการกระทำกับคนอื่นในสิ่งที่เราไม่อยากให้คนอื่นทำกับเรา และจงทำกับคนอื่นในสิ่งที่เราอยากให้เขาทำกับเรา

    การเรียนที่ดี ต้อง

    • รู้จักตัวเอง
    • สร้างความรู้ ไมใช่รับความรู้ และตีมูลค่าเป็น Organic
    • หากต้องการให้การเรียนประสบความเร็จต้องสร้างความรู้
    • การปฏิรูป ต้องการมนุษย์พันธุ์ใหม่ เรียนรู้แบบ How to
    • ต้องการมนุษย์พันธุ์ Organic thinking
    • คำถามอะไร เปลี่ยนเป็น ทำไม ทำอย่างไร

    27 พ.ย 57

    MED PSU 2020: Case Studies & Learn – Share – Care Intensive Workshop (3)

    : เรียนรู้กรณีศึกษาของคณะแพทย์ศิริราชและกรณีศึกษาของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เพื่อปรับใช้กับการสร้างคุณค่ากับงานของคณะแพทย์ มอ. ในอนาคต

    บุคลากรต้องมีความสุขในการทำงาน ซึ่งส่งผล ทำให้คนไข้ ได้รับบริการที่ดี คนไข้จึงได้รับบริการที่ดี, การพูด ต้องพูดความจริง พูดเป็นประโยชน์ เพื่อให้คนเชื่อถือ

    คุณภาพทางวิชาการซึ่งคล้ายคลึง กับ ของ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คิอ มาตรฐานคุณภาพทางวิชาการ มีการปรับปรุงความรู้ ความสามารถ ไม่เกี่ยงอายุ ตำแหน่งทางวิชาการ

    คุณภาพความเป็นสากล ( อยากให้โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ซึ่งมีแนวทาง แบบนี้อยู่แล้ว อยากให้มีการปรับพัฒนาให้ดี ยิ่งๆขึ้นไป )

    - พร้อมสำหรับการแข่งขัน หลักสูตรนานาชาติ ลงนามสัญญาระหว่างประเทศ

    - ไม่ละทิ้งแนวคิดหรือค่านิยมที่ดีของไทย

    - การพัฒนาโครงการนานาชาติ (International Program)

    - ต้องมีการควบคุมและประเมินคุณภาพ HA, JCIA, TQA

    - Medical Hub บริการชาวต่างชาติ ( โดยไม่มี double standard สำหรับคนไทย )

    คุณภาพบุคลากร ต้องมีคุณภาพ และมีคุณธรรม มีจิตสำนึกในการทำงาน และให้บริการ ให้ความสำคัญในการฝึกอบรมและพัฒนาคน (ใฝ่รู้ สู้สิ่งยาก) งานประกันคุณภาพต้องนำผลการประเมินไปในทางสร้างสรรค์ สร้างเครือข่าย

    กลยุทธ์ในการขับเคลื่อน กำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินการ ร่วมกัน สนับสนุนทรัพยากรอย่างเหมาะสม คุ้มค่า สร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วม เพิ่มศักยภาพบุคลากร ต่อยอด & สร้างสรรค์คุณค่าในงานที่ทำ สร้างสมดุล เชิดชู ยกย่อง คนดี & คนเก่ง เป็นทีม

    November 29, 2014 I learnt about a lot from Ajarn Somjai. He brought us from the past to present by connecting between many events in the world to Thailand. Changes that occurred in one place can affect to other places. He also talked about AEC and made us clear what exactly means AEC and its effects. Furthermore, how we have to deal with this change. I knew more what means mechanic and organic mindsets. Later on in the afternoon, Ajarn Somjai talked about systematic thinking and elements of system. He showed many case studies and asked questions to make us more understand. The interesting topic was "the game theory" which received a Nobel prize in economy.

    The last part of today's lecture was given by Ajarn Jaa. It was about personal history of our "Pra Bida", Prince of Songkla. This story made me know how Pra Bida involved in the Thai public health and medicine. Also, I learnt about the attitude that Pra Bida had during his life.

    ช่วงที่ 5 ขอสรุปรวบยอดเลยนะค่ะ เรียนรู้กรณีศึกษาของทั้ง 2 แห่งให้ประโยชน์มากน่าจะได้นำมาใช้ในการจัดการรวมทั้งเป็นตัวอย่างในการทำวิจัยของกลุ่ม ในSection ของอ.วัลลภน่าจะได้ประโยชน์ในการนำมาใช้กับตัวเอง เป็นการเพิ่มพลังให้กับตัวเอง หากฝึกบ่อย ๆ จะได้มีแรงฮึดสู้ในการทำงานกับคณะแพทย์ต่อไป ส่วนของอ.สมชายเป็นสิ่งที่ถูกใจที่สุด เคยฟังอาจารย์มาแล้วครั้งหนึ่งนานมาแล้ว แต่ติดตามข่าวที่อาจารย์วิเคราะห์เป็นประจำ อาจารย์เก่งมาก ครั้งนี้ได้ฟังทฤษฎีเกมคิดว่าลูกศิษย์ทั้งหลายคงจะได้นไไปใช้ในชีวิตจริงในการวิเคราะห์งานที่ทำ การต่อสู้กับคู่แข่ง

    สรุปการเรียน 3 วัน

    วันแรก ประทับใจหนังสือ Search insde yourself สอนให้เราควบคุมอารมณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา การจัดการอารมณ์ของตนเองด้วยแนวทาง Siberian North Railroad

    เรียนรู้เรื่อง Happy work place องค์กรแห่งความสุขประกอบด้วย การทำงานเป็นทีม ความพร้อมทั้งกาย จิตวิญญาณ สังคม ปัญญา และการมีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีได้แก่ความรัก ความผูกพัน การทำงานเป็นการสร้างความสุขให้ชีวืต เราต้องเรียนรู้ทุกวันตลอดเวลา งานที่ทำต้องท้าทาย จะจูงใจให้เราอยากทำตลอดเวลา

    เรียนรู้กรณีศีกษาคณะแพทย์ศิริราชและรพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ประทับใจและซาบซึ้งคำบอกเล่าของอาจารย์เกี่ยวกับความเมตตาอดทนเสียสละของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ที่มีต่อประชากรชาวไทย

    วันที่สองกิจกรรมรักษ์ใจ ไม่เครียดด้วยหัวเราะบำบัด ซึ่งกุญแจสำคัญของการบริหารความเครียดคือ การรู้จักปรับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมการกระทำของตนเองให้สมดุลกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว

    ท่านอาจารย์จรัส สุวรรณเวลาสอนให้รู้ว่าการทำงานเป็นทีมนั้นสิ่งที่ต้องมีคือ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ให้ความเคารพผู้อื่น ลดความเป็นอัตตาตนเองและเข้าใจอัตตาผู้อื่น

    วันที่สามของการเรียนได้เรียนรู้ถึงการเปลียนแปลงของโลกตั้งแต่อดีตที่เป็นยุคเกษตรกรรมจนถีงปัจจุบันตัวที่เป็น benchmark คือ IT ที่เชื่อมโลกทั้งใบให้เข้าหากันได้

    โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ สุดยอด อาจารย์ที่มาเป็นวิทยากรแต่ละท่านเก่งมาก ได้เรียนรู้ รับรู้ มากมายสามารถปรับใช้ได้ทั้งชีวิตส่วนตัว ครอบครัว ที่ทำงาน จำและประทับใจ พระราชดำรัส ให้เป็นนักเรียนใหม่ตั้งใจทำงาน อ่อนน้อม ถ่อมตน ทุกคนมีดี อย่าไปดูถูกใคร ไมตรีก็จะเกิดขึ้น ซึ่งโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ ควรมีอย่างต่อเนื่อง เพราะในแต่ละปีจะมีบุคลากรเกษียน ต้องมีบุคลากรใหม่มาแทนที่เติบโตเป็นผู้บริหาร

    วันที่ 27 พฤศจิกายน 2557

    นำเสนองานกลุ่ม : วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ "Search inside yourself" ได้เรียนรู้ว่า ความสุขคืออะไร การสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน การทำงานให้มีความสุขกับการใช้ชีวิตต้องคิดว่างานที่เราทำ ไม่ใช่เป็นการทำงาน ให้คิดว่ามันคือการทำกิจกรรม ทำความเพื่อความสนุก เป็นสิ่งที่เราทำแล้วชอบ เรารักมีความสนุกสนานกับงานที่ทำเหมือนไปทำงานอดิเรกมากกว่า แต่ก็ได้เงินเดือนและต้องรู้สึกว่างานนั้นมีความหมาย เป็นส่วนหนึ่งในชีวิต และสิ่งที่ทำนั้นต้องมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ จดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า

    หัวข้อ "องค์กรแห่งความสุขที่ทรงประสิทธิภาพที่คณะแพทย์ มอ." ได้เรียนรู้ว่า ความสุข คืออะไร ประสบการณ์และความรู้สึกที่มนุษย์สามารถบริหารจัดการได้อย่างสม่ำเสมอตามความปรารถนาในภาพรวม จนเกิดได้จริง และทำให้บุคคลนั้นเกิดความยินดี และอิ่มเอมใจทั้งนี้ ต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน คนเราจะต้องจัดเวลาให้เป็น องค์กรที่ทรงประสิทธิภาพไม่ได้ประกอบด้วยความสุขเพียงอย่างเดียวต้องมีวิสัยทัศน์ด้วยการเปลี่ยนบรรยากาศในที่ทำงานให้มีความสุข ทำอย่างไรที่เปลี่ยนความคิดว่างานไม่ได้เป็นภาระ ทำงานให้มีความสนุกกับงาน การทำงานคือการทำให้มีความสุขในชีวิต ทำงานต้องเรียนรู้และแก้ปัญหาอยู่ทุกวัน ท้าทายตลอดเวลา เราต้องเก่ง เรียนรู้การใช้เทคโนโลยี รักกับงานที่เราทำ มีเป้าหมายชัดเจน ความสุขในชีวิตเกิดขึ้นกับตัวเราแน่นอน

    หัวข้อ "เรียนรู้กรณีศึกษาของคณะแพทย์ศิริราชและกรณีศึกษาของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เพื่อปรับใช้กับการสร้างคุณค่ากับงานของคณะแพทย์ มอ. ในอนาคต" ได้เรียนรู้ในเรื่องของ ประสบการณ์ การบริหารคณะแพทย์ศิริราช ในหลวงทรงมีพระราชกระแส ให้ตั้งใจทำงาน ต้องพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ตั้งใจทำงาน จึงจะทำให้มีความเจริญรุ่งเรืองในการทำงาน คนเรามีความสุขอยู่ที่ใจ หาความสุขได้ด้วยตัวเอง อย่าไปดูถูกใคร ยึดถือความโปร่งใส ซื่อสัตย์ ขยัน กตัญญู ยุติธรรม และอาจารย์ธีรวัตน์ยังบอกอีกว่า การทำงานต้องท่องเสมอว่า "ไม่เหนื่อย ไม่หิว" ท่องซ้ำๆ ซึ่งคำนี้ดิฉันจะนำมาปรับใช้ในชีวิตการทำงานต่อไป

    หัวข้อ "Business Alignment Strategy" ได้เรียนรู้ว่า คนสำคัญที่สุด คนมีความผู้นำในตัวเอง มีวิสัยทัศน์ในตัวเอง เห็นคุณค่าร่วมกัน มีภารกิจร่วมกันการไปสู่อนาคตข้างหน้าอยู่ที่ตัวเราเอง เมื่อกะลาหงายมาแล้วพยายามกระโดดไปที่อื่นๆบ้าง การวางแผนเพื่อเพิ่มผลการปฏิบัติงานขององค์กร องค์กรต้องมีพันธกิจ วิสัยทัศน์และมีการวานแผนยุทธศาสตร์ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานต้องเข้าใจ รู้ถึง ศึกษาให้รู้ถึงยุทธศาสตร์และแผนยุทธศาสตร์

    28 พฤศจิกายน 2557

    หัวข้อ "กิจกรรมรักษ์ใจ - รักษ์กาย" จิตวิทยาการแก้ไขอาการ วิตก กังวล กลัว รักษ์ใจ ไม่เครียด ด้วยหัวเราะบำบัด" เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่ไม่เครียด สนุกสนาน ทำให้เราได้รู้ว่าเซลล์ประสาททุกเซลล์ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ในสมอง เซลล์ทุกเซลล์คือชีวิต รับรู้ได้ รู้สึกได้ จดจำได้ มีความทรงจำ มีพลังตอบสนองได้ รู้จักปรับตัวให้สมดุลในตัวมันเอง เซลล์ทุกเซลล์ทั่วร่างกายเราจะเชื่อตามที่เรานึกคิดซ้ำๆ พูดบ่อยๆ รู้สึกเสมอๆ หรือทำประจำๆ เซลล์ใหม่ก็จะงอกเงยตามที่เราบรรจุเข้าไปกลายเป็นนิสัยเป็นบุคลิกภาพของเราตื่นขึ้นมาให้เราได้เราจักการบริหารร่างกายในต่างๆ การนวดผ่อนคลายความเครียด สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปฝึกใช้ในชีวิตประจำได้

    หัวข้อ "ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทยกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทย์ฯ มอ." ได้เรียนรู้ว่า คณะแพทยศาสตร์ มอ. จะเดินไปในทิศทางใด ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยมาตรวจรักษาที่ มอ มีโอกาสรอด ดังนั้น การทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งที่สำคัญ ต้องเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ยกย่องให้เกียรติผู้มารับบริการเสมอภาคกัน

    29 พฤศจิกายน 2557

    หัวข้อ "เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของคณะแพทย์ มอ. และ "การคิดเชิงกลยุทธ์และการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหาและการติดสินใจที่มีประสิทธิภาพ" ได้เรียนรู้ว่า ระบบคิดสอนให้เรารู้เขารู้เรา สอนให้วิเคราะห์ข้อมูล การคิดอย่างเป็นระบบให้มองจากมุมตัวเอง ความรู้อยู่ที่การสร้าง คนที่จะฉลาดต้องเก่งได้หลายเรื่อง ต้องรู้จักตัวเอง การรวมกลุ่ม AEC จะเกิดการเชื่อมโยงทางการค้า มีระบบเชื่อมโยง เห็นสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง มีความเชื่อมโยง ตัวเชื่อมกริยา นอกจากนั้น ทุกระบบต้องมีองค์ประกอบ ฟังก์ชั่น เกิดความเชื่อมโยง. เมื่อมีการเชื่อมโยงที่ดีก็ทำให้ระบบอยู่ได้

    28 พ.ย 57

    กิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กาย (2)

    ‹จิตวิทยาการแก้ไขอาการ วิตก กังวล กลัว

    ‹รักษ์ใจ….ไม่เครียด ด้วยหัวเราะบำบัด

    ทำให้เรารู้สึกว่า ถ้าเรามีความเครียดมากๆ เราก็มีวิธีการ ปลดปล่อยความเครียด ด้วยการหัวเราะบำบัด และมีกิจกรรมมากมาย รักษ์ใจ - รักษ์กาย ด้วยจิตวิทยาแก้ไข ด้วยการไขอาการ วิตก กังวล กลัว รวมทั้งการสมดุลกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว ฝึกรักตัวเอง ขอบคุณร่างกายของตัวเอง

    ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย โดยอ.จรัส สุวรรณเวลา

    พูดในภาพรวม ของการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต การฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง การวิจัย การบริการทางการแพทย์ การพัฒนาระบบสุขภาพภาคใต้ ทำให้เรารู้แนวทาง ที่จะก้าวเดินในอนาคต ของคณะแพทย์ ฯ มอ. ซึ่งจะต้องมีการเรียนรู้ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง การทำงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น

    29 พ.ย 57

    หัวข้อ "เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของคณะแพทย์ มอ. และ "การคิดเชิงกลยุทธ์และการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหาและการติดสินใจที่มีประสิทธิภาพ"

    เป้าหมาย AEC

    เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม เคลื่อนย้ายสินค้าเสรี เคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี เคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี เคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น ทำให้เราได้เรียนรู้ ได้คิด มีความกระตือ รือร้น ต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งในคณะแพทย์ ฯ มอ. เอง ก็คิดว่า คงต้องมีการปรับตัว ครั้งใหญ่ เพื่อต้อนรับ AEC



    โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อฟังข่าวโครงการ

    http://mcot-web.mcot.net/fm965/site/streaming/id/5...

    ที่มา: รายการ Human Talk. ตอน พูดคุยกับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เรื่องการวิเคราะห์ทุนมนุษย์ มองเรื่องของความยั่งยืน ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม 2557 ทาง FM 96.5 MHz.

    27 พ.ย. 57

    วิเคราะห์บทเรียนจากหนังสือ Search inside yourself ประเด็นเกี่ยวกับความล้มเหลวพบว่า คนที่มองโลกในแง่ดีจะตอบสนองต่อความล้มเหลว ว่าเกิดขึ้นชั่วคราว บางสถานการณ์ และสามารถเอาชนะได้ด้วยความพยายามและทักษะความสามารถ ในทางตรงกันข้าม คนที่มองโลกในแง่ร้ายจะตอบสนองต่อความล้มเหลวไม่สามารถช่วยเหลือตนเองทำอะไรไม่ได้กับปัญหาและจะยอมแพ้ ดังนั้นการที่ทำงานได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน ต้องมีการตั้งเป้หมาย มุ่งมั่น และนำประสบการณ์ทั้งอดีตและปัจจุบันมาช่วยก็สามารถบริหารจัดการและไปถึงเป้าหมายได้

    รศ.ดร.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต

    กล่าวถึงความสุข คือ ประสบการณ์ และความรู้สึกที่มนุษย์สามารถบริหารจัดการได้อย่างสม่ำเสมอตามความปรารถนาในภาพรวม จนเกิดได้จริง และทำให้บุคคลนั้นเกิดความยินดี อิ่มเอมใจ ทั้งนี้ต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

    สำหรับองค์กรแห่งความสุขที่มีประสิทธิภาพประกอบด้วย

    1.Happy people + Home + Teamwork

    2.เป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิดกล้าทำ สร้างนวัตกรรม ตรงจุดตรงใจ อย่างต่อเนื่อง และสร้างคุณค่า

    3.Work life balance

    ดร.สมโภชน์ นพคุณ :- ทุกคนต้องมีปรัชญาแห่งชีวิต และต้องคิดว่างานที่ทำไม่ใช่ภาระ แต่เป็นสิ่งที่ทำให้ เรามีความสุข สิ่งสำคัญ คือการเป็นตัวตนของเรา การไปสู่อนาคตข้างหน้า ต้องรู้ว่าตัวตนปัจจุบันเราเป็นอย่างไร

    แนวคิดองค์กรแห่งความสุข คือ ความสามารถในการปฏิบัติที่สร้างผลงานมีคุณภาพ และได้มาตรฐานของแต่ละคน และโดยรวมในองค์กรย่อมนำมาซึ่งความสุขของทุกคน ดังนั้น

    คนมีคุณภาพ + การปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ + ผลงานได้มาตรฐาน = ประเทศชาติมั่นคง

    ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ :- Human capital การพัฒนาคนที่ยั่งยืน เป็นสิ่งที่สำคัญ คน คือ Human being (ตัวตนของคน) ซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือ เป็น Autonomy มีอิสระทางความคิด

    ศ.คลินิกเกียรติคุณธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ :- การพูด จะต้อง พูดความจริง มีประโยชน์ ตรงเวลา และพูดด้วยความอ่อนหวาน

    ดร.ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร:- ชอบปรัชญาของรพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ไม่เอาเปรียบสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภค และสังคม หัวใจสำคัญคือการสร้างคน พัฒนาคนและทัศนคติของคน

    28 พ.ย. 57

    ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม

    กับกิจกรรมรักษ์ใจ-รักกาย เป็นชั่วโมงที่มีเสียงหัวเราะอย่างมีความสุข การปลดปล่อยความเครียด เหมาะกับคำกล่าวที่ว่าหัวเราะ-เพาะสุขให้ชีวิต = Work and Life Balance

    ความสุขของมนุษย์ :-ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก และรักในสิ่งที่ตัวเองทำ

    กุญแจของการบริหารความเครียด คือการรู้จักปรับอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมการกระทำของตนเอง ให้สมดุลกัน รวมทั้งการสมดุลกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว

    ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา

    ท่านเป็นอาจารย์ทั้งฉลาด เฉียบคม และมีคุณธรรมโชคดีที่ได้มาฟัง ซึ่งกล่าวถึงโอกาสใหม่ของการแพทย์สิ่งที่ต้องตระหนักเกี่ยวกับ 1. การจัดการ 2. วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี 3. ICT

    การแพทย์ P4 medicine :-1. Predictive 2. Prevention 3. Personnalite 4. Participatory

    วิกฤตบริการสุขภาพ :- เกิดจาก1.การเลือกใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะสม 2.บริการไม่เพียงพอ 3.ความเหลื่อมล้ำ

    29 พ.ย. 57

    รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

    ระบบ = Input ---> Process ---> Output ---> Outcome (ฝึก forward thinking / proactive)

    การพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์( Creative Thinking) จะต้อง 1. Forward Thinking 2. Context Thinking 3. Key Success factor Thinking 4. Network Thinking 5. Customer Value Thinking

    6. Benchmark Thinking 7. Visionary Thinking 8. System Thinking 9. Holistic Thinking 10. Weighted Thinking 11. Dynamic Thinking

    การนำ Game Thinking มาใช้กับชีวิตประจำวัน เกี่ยวกับการคิดตัดสินใจ

    ธรรมนันท์ เบ็ญจพรกุลพงศ์

    27 พย 57

    ช่วงเช้า ฟังอภิปรายกลุ่ม จับประเด็นได้ว่า

    1. ผู้นำควรใช้คำว่า we แทน I

    2. การจัดการอารมณ์ของคนเรา เปรียบเหมือนการขี่ม้า

    3. จิตใจของเรา เป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ ให้รู้จักรับมือกับอารมณ์และความทุกข์ ด้วยการรู้จักปล่อยวาง มีสติ มีสมาธิ

    4. หนังสือ The 3 laws of performance ให้ไปรีบหามาอ่าน

    อ.สมโภช - อ.ศิรินันท์

    -การทำงาน คือ การสร้างความสุขให้ชีวิต คล้ายกับแนวคิดท่านอ.พุทธทาส ที่ว่า งานคือชีวิต

    ช่วงบ่าย

    อ. ธีรวัฒน์

    -ในหลวงรับสั่ง อ.ธีรวัฒน์ 2 ข้อ คือ ให้เป็นนักเรียนใหม่ และ ให้ตั้งใจทำงานอยู่เสมอ

    -พุทธพจน์ทั้ง 5 ให้พวกเราฝึกไว้ 1.พูดความจริง 2.พูดแล้วเป็นประโยชน์ 3.พูดให้ถูกกาละเวลา 4. พูดด้วยความเมตตา 5. พูดด้วยความอ่อนหวาน

    -ไม่เหนื่อย ไม่หิว จงท่องให้ขึ้นใจ

    -คอนเซปรพ.ศิริราช = Lean , Green and Clean Hospiral

    -ในหลวง ทรงสอนอ.ธีรวัฒน์ว่่า 1. อ่อนน้อมถ่อมตน 2. ทุกคนมีดี 3. อย่าไปดูถูกใคร

    -ผู้นำมี 5 ระดับ 1. เก่ง

    2. เก่ง+ประสบการณ์

    3. เก่ง+ประสบการณ์+ความเป็นที่พึ่งของลูกน้อง

    4. เก่ง+ประสบการณ์+ความเป็นที่พึ่งของลูกน้อง+สนับสนุนลูกน้อง

    5. เก่ง+ประสบการณ์+ความเป็นที่พึ่งของลูกน้อง+สนับสนุนลูกน้อง+ไม่บ้า-หลงอำนาจ

    ระดับ 1-2 คือพวกใช้ "สมอง " ทำงาน ระดับ 3-5 คือพวกใช้ " ใจ " ทำงาน ( ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ )

    28 พย 57 อ.วัลลภ

    -ความผิดหวัง เกิดจากการไปคาดหวังในสิ่งที่เรากำหนดไม่ได้

    -สิ่งที่ทำให้คนเราเครียดที่สุด มี 5 อย่าง คือ เงิน ชื่อเสียง ยศ อำนาจ สวย+หล่อ

    -พลังชีวิต ประกอบด้วย พลังความคิด พลังความรู้สึก พลังการกระทำ จะต้องควบคุมให้ทั้งสามพลังสมดุลกัน อย่าให้มีอย่างหนึ่งอย่างใดสูงเกินไป ถ้าพลังความคิดมากเกินไป จะทำให้เครียด , ถ้าพลังความรู้สึกมากเกินไปจะทำให้ซึมเศร้า ก้าวร้าว ,

    -สะกดจิตผู้ชาย ให้หมั่นกระซิบกรอกหูขวา สะกดจิตผู้หญิงให้หมั่นพูดกรอกหูซ้าย

    -ตื่นเข้า ให้หมั่นยิ้มกับกระจกทุกวัน พร้อมพูดว่า " วันนี้เรามีความสุขอีก 1 วัน "

    -เคี้ยวอาหาร ให้เคี้ยวอย่างมีสติ ฝึกเคี้ยวทั้งสองด้าน

    -ความคิดจะสงบนิ่งได้เมื่อ 1. หายใจแรงๆ ให้เต็ม-แน่น-ลึก

    2. เปล่งเสียงออกไปยาวๆอย่างหนักแน่น

    3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

    4. ทำอะไรก็ได้ที่ทำโดยรู้ตัว รู้สีก ( ตรงกับสติปัฏฐาน 4 ข้อแรก คือกายานุปัสนาฯ )

    5. มีเพศสัมพันธ์

    -เทคนิคการหายใจ 1. หายใจให้ลึก ลงไปถึงท้องน้อย

    2. หายใจออก ต้องยาวกว่าหายใจเข้า อย่างน้อย 2 เท่า

    3. หายใจเข้า ท้องต้องป่อง

    4. หายใจเข้าทางจมูก 100% หายใจออกทางจมูก 96% หายใจออกทางปาก 4%

    5. หายใจเข้า ให้ลมหายใจเข้าไปโพรงจมูก เพื่อให้เข้าไปในสมอง

    6. หายใจเข้า ทั้งสองรูจมูกให้เท่าๆกัน

    -สูตรสุขภาพ ให้หมั่นแช่เท้าในน้ำอุ่น เพราะเท้าเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก

    -เทคนิคการฝึกพลังสมอง 1. ดึงหูทั้งสองข้าง ( มือขวาดึงหูซ้าย มือซ้ายดึงหูขวา

    2. ย่อเข่าลงนั่ง ให้ต้นขาขนาดกับพื้น ( ย่อลงหายใจเข้า ยืนขึ้นหายใจออก )

    ช่วงเย็น อ.จรัส

    ท่านให้คิดถึงคนส่วนใหญ่ที่ยังขาดโอกาส ยังเข้าไม่ถึงการรักษา ให้พยายามแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคม และท่านแนะนำว่า ปัจจัยของการที่จะประสบความสำเร็จ คือ การทำงานเป็นทีม การรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน การเคารพซึ่งกันและกัน

    29พย57 อ.สมชาย

    -อาจารย์ให้กำลังใจพวกเรา ว่าเก่งกว่าอาจารย์ เพราะพวกเราจำได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่ควรจำ

    -อาจารย์ยกตัวอย่างเหตุการณ์ต่างๆไปรอบโลกใบนี้ ฟังเพลินจนจับประเด็นอะไรไม่ได้เลยครับผม

    นางสาวสรญา สาเหาะ

    วันที่ 27 พฤศจิกายน 2557 สิ่งที่ได้เรียนรู้...

    คาดว่าได้ประโยชน์กับตัวเอง เพื่อนร่วมงาน และองค์กรเป็นอย่างมาก หากได้นำประเด็นจากหนังสือ Search Inside Yourself ไปปฏิบัติจริง

    ช่วงเช้า: ทุก ๆ คน ควรสร้างตัวเองให้เป็นนักสร้างสุของค์กร และคิดว่าจะทดลองใช้เครื่องมือวัดความสุขระดับบุคคลและแนะนำให้วัดความสุขระดับองค์กร (Happinometer) เพื่อร่วมแรงร่วมใจกันในการสร้าง Happy Workplace

    ช่วงบ่าย: อยากให้ผู้บริหาร นำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกรณีศึกษาของคณะแพทย์ศิริราชและโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ไปปรับใช้กับองค์กร เพื่อความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในอนาคต

    ช่วงเย็น: ได้เรียนรู้ TORI และช่วยกันระดมความคิดกับการปรับตัวตนสู่ High Performance Team/Organization

    ---------------------------------------------------------------------------------

    วันที่ 28 พฤศจิกายน 2557 สิ่งที่ได้เรียนรู้...

    ช่วงเช้า: ได้เคล็ดลับการใช้ความคิด จิตใจของตัวเอง และวิธีการรักตัวเองมากยิ่งขึ้น ต่อด้วย ช่วงบ่าย: รู้สึกสบายใจมาก ไม่เครียด ด้วยหัวเราะบำบัด และดีใจมากที่ไม่ว่าจะหันทางไหนได้เห็นผู้ร่วมโครงการให้ความร่วมมือกันอย่างดี

    ช่วงเย็น: ได้รับทราบสภาพปัญหาปัจจุบันของ ม.อ. และแนวโน้มของการหาหนทางที่จะผ่านวิกฤต ความเสี่ยงทั้งหลาย เราควรเปลี่ยนจากหลีกเลี่ยง ให้เป็นโอกาสที่ดี เพื่อองค์กรที่มีประสิทธิภาพในอนาคต

    ---------------------------------------------------------------------------------

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 สิ่งที่ได้เรียนรู้...

    เช้า-บ่าย: ได้เปิดโลกกว้างในเรื่องเศรษฐกิจ หลักการคิดเป็นระบบ วิเคราะห์ และเชื่อมโยง ผู้สอนกระตุ้นให้เราต้องทำสิ่งแรก คือ ปรับ Mindset ของตัวเราเองก่อน และวันนี้ได้รู้จัก AEC อย่างแท้จริง แล้วทำไมต้อง AEC

    สำหรับทฤษฎีเกมส์ เชื่อว่าหลายคนคงชื่นชอบเช่นกัน เพราะสามารถนำมาปรับใช้ตามสถานการณ์นั้น ๆ ในชีวิตประจำวันของเราได้

    ช่วงเย็น: รู้สึกประทับใจที่ได้รับฟังพระราชประวัติของพระราชบิดาอีกครั้ง ฟังแล้ว รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เป็นลูกพระราชบิดา ตั้งแต่ได้มาเล่าเรียนและทำงาน

    และเชื่อว่าเราชาว ม.อ.(ลูกพระราชบิดา) จะระลึกอยู่เสมอว่าตนเองต้องยืนหยัดทำงานเพื่อสนองตอบพระราชปณิธานของพระราชบิดา

    วันพฤหัสบดี ที่ 27 พฤศจิกายน 2557 สิ่งที่ได้เรียนรู้

    องค์กรแห่งความสุขที่ทรงประสิทธิภาพ

    -คนทำงานอย่างมีความสุข

    -ที่ทำงานน่าอยู่

    -สมาชิกสมานฉันท์)

    -ต้องเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ

    -มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิด กล้าทำ

    -สร้างนวัตกรรม ที่ทำได้จริง ตรงจุด ตรงใจ และต่อเนื่อง

    -สร้างคุณค่า เช่นการหาวิธีการนำประสบการณ์ของคนที่กำลังจะเกษียณมาถ่ายทอดให้คนรุ่นหลัง ให้ความรู้เหล่านั้นอยู่กับองค์การต่อไป

    ความสุขในที่ทำงาน จะก่อให้เกิดความรักต่อองค์กร และตามมาด้วยผลงานที่มีประสิทธิภาพ

    ในการพัฒนาต้องพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ จึงจะทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน การพูด ต้องพูดความจริง พูดเป็นประโยชน์ เพื่อให้คนเชื่อถือ ประทับใจ พระราชกระแสของในหลวงคือ ให้เป็นนักเรียนใหม่ ตั้งใจทำงาน และให้อ่อนน้อมถ่อมตน ทุกคนมีดี อย่าดูถูกใคร

    วันศุกร์ ที่ 28 พฤศจิกายน 2557 สิ่งที่ได้เรียนรู้

    สิ่งที่ทำให้คนยุคนี้เครียดที่สุด เพราะดิ้นรนอยากได้สิ่งเหล่านี้กันมากที่สุด

    1. มั่งมีเงินทอง

    2. มีชื่อเสียง คนรู้จัก

    3. ได้เลื่อนยศ ตำแหน่งสูง

    4. อำนาจ มีอภิสิทธิ์ แก่งแย่ง แข่งก้าวร้าว

    5. สวยหล่อ มีเสนหาทางเพศ ปัจจุบันนี้มีอิทธิพลมากไม่เคยหยุดทำศัลยกรรม ต่อไปเป็นโรคหวาดกลัว ย้ำคิด

    ความสุขอยู่ที่ไหน คนไข้บางคนมีเงินล้าน แต่ไม่มีความสุข

    ประสบความสุข อย่างมีความสำเร็จ คือ ทำในสิ่งที่รัก

    สมอง 3 ส่วน

    - ส่วนนึกคิด : จิตสำนึก

    - ส่วนอารมณ์ ความรู้สึก : จิตใต้สำนึก

    - ส่วนสัญชาตญาณ : จิตไร้สำนึก

    ต้องสมดุล ระหว่าง พลังความคิด พลังความรู้สึกและพลังการกระทำ

    การหัวเราะ ทำให้สุขภาพดี บำบัดโรค ป้องกันโรค

    วันเสาร์ ที่ 29 พฤศจิกายน 2557 สิ่งที่ได้เรียนรู้

    ได้รู้จักการคิดอย่างเป็นระบบ มีการยกตัวอย่างทำให้เข้าใจได้ง่าย สอนแบบไม่ได้ต้องการคำตอบ แต่สอนแบบต้องการให้หาวิธีคิดที่จะได้คำตอบ หรือที่มาของคำตอบว่าเรามีวิธีคิดอย่างไร ให้เราตั้งคำถามว่า "ทำไม" และ "อย่างไร" ไม่ต้องการให้จำ แต่ต้องการให้เข้าใจ ซึ่งการจำนั้นเรายังมีโอกาสที่จะลืมได้ แต่ความเข้าใจนั้นจะไม่มีวันลืม

    ความคิดเชิงระบบ ประกอบด้วย

    1.องค์ประกอบต่างๆ

    2.ทุกๆองค์ประกอบต้องมีหน้าที่

    3.ทุกๆหน้าที่จะต้องเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน

    4.มีเป้าหมาย

    ได้ความรู้และประสบการณ์มากมาย เลยครับ


    ข้อคิดและมุมมอง จากอาจารย์อาวุโสและผู้สร้างคุโณปการ ให้กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    อ.สมชาย

    เศรษฐกิจโลก /

    AEC /ทฤษฏีเกม

    อ.จ้า กับประวัติพระราชบิดา

    ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิกุลต่อประสกนิกร และผืนแผ่นดินไทย

    วันที่ 27 พฤศจิกายน 2557

    ก่อนการบรรยาย ทุกกลุ่มนำเสนอการแปลหนังสือ "Search inside yourself" ได้ยอดเยี่ยมมาก หนังสือเล่มนี้พูดถึง การทำสมาธิ เพื่อให้เห็นความดีงามภายในตนเองและมอบความดีงามให้แก่ผู้อื่น การมีPositive thinking การรู้จักควบคุมอารมณ์ การเข้าใจตนเองเพื่อจะได้เข้าใจผู้อื่นในการสนทนาที่ยากลำบากให้ประสบความสำเร็จแบบมีความสุข เป็นหนังสือที่น่าสนใจมาก

    ช่วงเช้า หัวข้อ "องค์กรแห่งความสุขที่ทรงประสิทธิภาพที่คณะแพทย์ฯมอ."

    รศ.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต ได้กล่าวถึง Happinometer เครื่องมือวัดความสุขด้วยตนเอง ซึ่งน่าสนใจมาก ทุกคนสามารถเข้าไปทำเพื่อวัดความสุขของตนเองได้

    ดร. สมโภชน์ นพคุณ บอกว่าการรับราชการเป็นอิสระ ไม่มีใครเป็นเจ้านาย เราทำงานด้วยPassion และท่านอ.จีระ บอกว่า "เราจะทำงานอย่างมีความสุข เราทำเพราะหัวใจเราแสวงหา" ใช่ค่ะและวิชาชีพพยาบาล แพทย์ ยังได้บุญด้วย

    ช่วงบ่าย หัวข้อ "เรียนรู้กรณีศึกษาของคณะแพทย์ศิริราชและกรณีศึกษาของโรงพยาบาลอภัยภูเบศร์ เพื่อปรับใช้กับการสร้างคุณค่ากับงานของคณะแพทย์มอ.ในอนาคต

    ศ.คลีนิคเกียรติคุณ ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ ท่านได้กล่าวถึง การนำของท่านที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนมาก ท่านเป็นผู้นำที่เก่งมากๆ คำพูดและน้ำเสียงท่านก็บอกถึงลักษณะผู้นำที่ท่านอ.จีระพูดถึง "ทุนทางจริยธรรมเหมือนกรอบควบคุมไม่ให้เราหลุดออกไป คนที่มีคุณธรรมต้องมีการควบคุมอารมณ์ได้ถึงจะเป็นใหญ่" นอกจากนี้ท่านยังให้ความสำคัญกับคนอย่างมาก "สิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่สุดคือการบริหารและพัฒนาคน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของคณะ ให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและเหมาะสม"

    ดร.ภญ. สุภาภรณ์ ปิติพร ท่านอาจารย์เป็นเภสัชกรที่เก่งมากอีกท่านหนึ่ง นอกจากความเก่งแล้วจะเห็นผู้นำที่มีความมุ่งมั่น อาจารย์ไม่ได้เน้นการตลาด แต่เน้นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และมีปรัชญา "อย่าหยุดที่จะเรียนรู้ อย่าหยุดที่จะช่วยคน"

    28 พฤศจิกายน 2557

    ช่วงเช้าและบ่าย กิจกรรมรักษ์ใจ-รักษ์กาย (2) จิตวิยาการแก้ไขอาการวิตกกังวล กลัว รักษ์ใจ....ไม่เครียด ด้วยหัวเราะบำบัด ฯลฯ โดย ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม

    เป็นหัวข้อที่น่าสนใจอย่างมาก และรอคอยที่จะเรียน สนุกและได้ผ่อนคลาย ทำให้มีความรู้ขึ้นมากในการรักร่างกายตนเอง การหัวเราะนี้ไม่ธรรมดา เป็นศาสตร์ที่น่าสนใจจริงๆ

    ต่อด้วย หัวข้อ "ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทยกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทย์มอ." โดยท่านอาจารย์ ศ.นพ.จรัส สุวรรณมาลา

    ท่านอาจารย์บรรยายตรงกับสถานการณ์ที่กำลังเป็นวิกฤติจริงๆ ท่านให้แนวคิด ต้องขอบคุณท่านอาจารย์มากๆที่ให้โอกาสได้รับฟังการบรรยาย

    วันที่ 29 พฤศจิกายน

    รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ สอนให้คิดตลอดเวลา พยักหน้าเห็นด้วยต้องมีคำตอบ การเรียนเรียนเพื่อรู้ และถามตัวเองรู้ไปเพื่ออะไร? โลกต้องการมนุษย์ที่เป็น Organic thinking ไม่ใช่ Box thinking

    สนุกกับการเรียนทฤษฎีเกมส์ ซึ่งนำมาใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง และการเจรจาต่อรอง

    ท่านอาจารย์เก่งมากๆ

    27 พ.ย. 2557

    สรุปแปลหนังสือ Search inside yourself จะสอนให้เราควบคุมอารมณ์ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะการณ์อย่างไรเหมือนการขี่ม้าเราต้องบังคับม้าให้วึ่งจะต้องมีการฝึกฝนดั้งนั้นเราก็จะต้องหัดฝึกสมาธิเพื่อบังคับจิตใจหรืออารมณ์ให้ทำตามที่เราต้องการให้ได้ องค์กรแห่งความสุขที่ทรงประสิทธิภาพ คิคว่าการทำงานเป็นส่วนหนึ่งของตัวเราของชีวิตเราและงานคือชีวิต ชีวิตคืองาน บันดาลสุข และเราจะทำงานอย่างมีความสุขเมื่อเราenjoyกับมันข่วยกันทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน กรณีศึกษาของคณะแพทย์ศิริราชและ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ทำให้รู้ว่าผุ้บริหารหรือผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ คิคเป็น ทำเป็น เข้าใจ มองโลกในแง่ดี

    28 พ.ย. 2557

    กิจกรรมรักษ์ใจ-รักษ์กาย

    เป็นวิชาที่สนุกแต่แฝงไปด้วยความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง และได้รู้สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ และวิธีการดับทุกข์และทำให้รู้สาเหตุที่ทำให้เครียดคือคนพยายามดิ้นรนเพื่ออยากได้สิ่งของเพื่อสนองความต้องการของตัวเองมากเกินไปเช่น เงินทอง อยากมีชื่อเสียง มีอำนาจ มีอภิสิทธิ์ กุญแจสำคัญในการบริหารความเครียด คือ การรู้จักปรับอารมณ์ ความรู้สึก นึกคิค และพฤติกรรมการกระทำของตนเองให้สมดุลกัน

    ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขในปะเทศไทยกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทย์ มอ.

    ปัจจุบันของคณะแพทย์ ม.อ. มีปัญหาหลายด้านต้องหาทางแก้ร่วมกันและแนวโน้มจะมีมากขึ้นเราจะต้องหาวิธีที่จะแก้โดยอาศัยความร่วมมือของทุกคนและต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้องค์กรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต


    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท