ข้อห้ามนำแบตเตอร์รี่ชนิดลิเทียมขึ้นเครื่องบิน


แบตเตอรรี่ชนิด ลิเทียม-โพลิเมอร์ เจ้าหน้าที่ตรวจจะต้องนำค่าตัวคูณ หรือ ค่าC ไปคูณด้วยครับ

1. ห้ามนำแบตลิเทียมที่อยู่ใน แบตมือถือสำรอง หรือ Power Bank โหลดไปกับกระเป๋าสัมภาระใต้ท้องเครื่อง

2. แบตลิเทียม ไม่เกิน 20,000 มิลลิแอมป์ (20แอมป์) ถือขึ้นเครื่องได้ไม่จำกัดก้อน

3. แบตลิเทียม เกิน 20,000 มิลลิแอป์ ไม่เกิน 32,000 มิลลิแอป์ (20-32แอมป์) ถือขึ้นเครื่องได้ไม่เกินสองก้อน

4.แบตเกิน 32000 มิลลิแอมป์ ห้ามถือขึ้นเครื่องและห้ามใส่ไปกับกระเป๋าสัมภาระโหลดใต้ท้องเครื่องทุกกรณี


https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/064/444/original_20141215124048.PNG

ที่มาของมาตรการป้องกันนี้

เครื่องออสเตรเลีย Boeing737 จากเมลเบิร์น ไป ฟูจิ เกิดกลุ่มควันออกจากเคบินส่วนขนของ เนื่องจากแบตเตอร์รี่ลูกหนึ่งช้อต ในทั้งหมดที่อยู่ในกล่อง 19 ลูกแบตเสียหายจากไฟไหม้ 6-8 ก้อนในกล่องมีทั้ง แบตใส่ในอุปกรณ์ และแบตสำรอง ผู้เขียนเข้าใจว่าเป็นแบตแบบ ลิเทียมโพลิเมอร์ หรือ Li-Po 10-20-50C เพราะนิยมใช้กับชาวRC (Radio Control)กับอุปกรณ์บังคับ เพราะจ่ายกระแสไฟได้สูงมาก(50เท่าของค่าความจุปกติ) โดยมีใช้กันอย่างแวดกว้างในวงการรถ เรือ เครื่องบินบังคับครับ

..ในรูปด้านบน....เป็นเคสของสายการบินออสเตรเลีย..เกิดกลุ่มควันในส่วนที่เก็บสัมภาระบนเครื่องบิน ...โดย แบตเตอรรี่ที่ใส่อยู่ในรีโมทวิทยุบังคับ และแบตสำรอง อีก 16 ก้อน เกิดมีการลัดวงจรของขั้วนำไฟฟ้า ทำให้เกิดการอาร์กไหม้เสียหายจำนวน 6-8 ก้อน เกิดกลุ่มควันในห้องเก็บสัมภาระใต้ท้องเครื่องบิน จนต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน ขอความช่วยเหลือโดยด่วน (Mayday Mayday) และอีกกรณีโทรศัพท์ของผู้โดยสาร เกิดหลุดเข้าไปค้างอยู่ในช่องเล็กๆระหว่างที่เก็บขาโต๊ะที่สามารถพับใส่ลงในพนักวางแขน จนเกิดไฟลุกไหม้บริเวณเก้าอี้ผู้โดยสารขณะปฏิบัติการบิน จนต้องใช้โฟมดับเพลิงมาฉีดเพื่อดับไฟจนเสร็จสิ้น (ผู้เขียนคาดว่าน่าจะถูกขาโต๊ะอลูมิเนียมที่พับได้กดทับไปบนโทรศัพท์จนแบตเตอรรี่จนไฟในแบตเตอรรี่ลัดวงจร)

</a>

</a>

......." ถ้าเป็นความตั้งใจให้เกิดก็เข้า security ถ้าไม่ตั้งใจให้เกิดก็เข้า safety แต่สุดท้ายในบางมิติ safety & security ก็ยังต้องบูรณาการร่วมกันได้ในบางประเด็น" ....HS-DCA


ค่าความจุไฟฟ้า(Qมีหน่วยเป็น mAh)

.......เนื่องจากปริมาณกระแสไฟ หรือปริมาณประจุไฟฟ้าในแบตยิ่งมาก การเกิดกระแสไฟลัดวงจรยิ่งรุนแรง เราจึงจำเป็นต้องควบคุมค่าความจุไฟฟ้า เนื่องจากแบตเตอรรี่ชนิดลิเทียม-ไออ้อน สามารถจ่ายกระแสได้มากเป็นทวีคูณถึง10เท่าได้นั่นเอง...

.....การหาค่าความจุของแบต หรือค่าประจุกระแสไฟฟ้า ที่เก็บอยู่ในแบต ซึ่งเรียกปริมาณของประจุไฟฟ้า เป็น มิลลิแอมป์ต่อชั่วโมง milliamp-hour(mAh) ในเมื่อกระแสไฟที่ประจุในแบตนั้น สามารถจ่ายกระแสไฟโดยรวม ได้ 100 วัตต์ และ 160 วัตต์ ด้วยความต่างศักย์ 5 โวลท์ ฉนั้น ค่าความจุไฟฟ้า(Q-coulomb) หรือ ปริมาณประจุในแบต จะสามารถจ่ายไฟฟ้า ได้ 20 000 มิลลิแอมป์ และ 32 000 มิลลิแอมป์

ตามสูตรความจุกระแสไฟฟ้าในแบต(Q)

Q (mAh) = Power(Wh) × 1000 / 5Volt

ความจุกระแสไฟฟ้าในแบต(Q) 100Wh x 1000 / 5 volt = 20 000 mAh

ความจุกระแสไฟฟ้าในแบต(Q) 160Wh x 1000 / 5 Volt = 32 000 mAh

(ค่าความจุแบตเตอรรี่ 32 000 วัตต์ ประมาณได้ว่าเราเปิดไฟขนาดอ่านหนังสือ 80 วัตต์สองดวงเป็นเวลานาน 1 ชั่วโมง ค่าความร้อนของหลอดไฟ 80 วัตต์ สองดวงเปิดนาน1ชั่วโมงหลอดจะร้อนมาก เปรียบเทียบเชิงปริมาณความร้อนแบบนี้ เพื่อให้นึกออกได้นะครับว่าพลังงานจะร้อนประมาณไหน)

โหลดแอป เพื่อตรวจดูว่าสิ่งใด ที่ผู้โดยสารสามารถนำขึ้นเครื่องได้/ไม่ได้

ผดส. หรือ จตอ. สามารถเข้าไปดาวน์โหลดแอ้ป DG Dangeous Goods ได้เลยเพื่อตรวจสอบว่าอะไรต้องโหลด อะไรต้องถือขึ้นเครื่อง อะไรทั้งห้ามโหลดทั้งห้ามถือ ใช้ได้กับมือถือไอโฟน sony windows ผ่าน Google play หรือเปิดหน้าบราวเซอร์ เปิดผ่าน App Storeโหลดแอป เพื่อตรวจดูว่าสิ่งใด ที่ผู้โดยสารสามารถนำขึ้นเครื่องได้/ไม่ได้และสิ่งนั้นจะต้องถือขึ้นเครื่องเท่านั้น หรือ โหลดไปกับสัมภาระเท่านั้น หรือได้ทั้งสองกรณี http://www.casa.gov.au/scripts/nc.dll?


โหลดมาแล้ว ในส่วน ค้นหา ลองพิมพ์ "Lithium"

โปรแกรมจะค้นข้อมูลพบว่า ถ่านลิเทียม แบบชาร์ตได้ ที่มีความจุ 100 วัตต์ต่อชั่วโมง คลิ้กที่แถบแดง

ผลจะออกมาว่า ให้ถือขึ้นเครื่องได้เท่านั้น ห้ามโหลดไปกับสัมภาระใต้ท้องเครื่องครับ

ผลจะออกมาว่า ให้ถือขึ้นเครื่องได้เท่านั้น ห้ามโหลดไปกับสัมภาระใต้ท้องเครื่องครับ

ลองแบบ เกิน 100 แต่ไม่เกิน160 วัตต์ดูครับ

ให้ถือขึ้นเครื่องได้ ห้ามโหลดไปกับสัมภาระ แต่ให้ถามหรือปฏิบัติตามกฎ

ของสายการบินที่ไปด้วย (สายการบินบางสายอาจจะให้ฝากไปกับทางสายการบินเอง ก็สามารถทำได้)

เครื่องหมาย รูปเครื่องบินบนพื้นสีเหลือง? กรุณาติดต่อสายการบินโดยตรง ที่จะให้การรับรอง ให้แบตเตอรรี่นี้นำขึ้นเครื่อง

ให้ถือขึ้นเครื่องได้ ห้ามโหลดไปกับสัมภาระ แต่ให้ถามหรือปฏิบัติตามกฎ ของสายการบินที่ไปด้วย

(สายการบินบางสายอาจจะให้ฝากไปกับทางสายการบินเอง ก็สามารถทำได้)

เครื่องหมาย รูปเครื่องบินบนพื้นสีเหลือง? กรุณาติดต่อสายการบินโดยตรง ที่จะให้การรับรอง ให้แบตเตอรรี่นี้นำขึ้นเครื่อง



ที่มา : กรมการบินพลเรือนออสเตรเลีย
https://dangerousgoodsapp.casa.gov.au/

http://www.flightsafetyaustralia.com/.../lithium-battery.../
http://www.casa.gov.au/scripts/nc.dll…
http://flightchic.com/.../iata-addresses-the-risks-of.../

แบตเตอรรี่ลิเทียม แบบชาร์ตได้ "ที่ถูกใส่ในอุปกรณ์" (in equipment)

เช่นnotebook กล้องวีดีโอ กล้องถ่ายรูป โทรศัพท์ เฉพาะแบตก้อนหลักอยู่ในเคสอุปกรณ์ หรือสอดเกี่ยวยึดติดกับอุปกรณ์ (มิใช่แบตสำรอง) นั้น ทาง

กรมการบินพลเรือน ห้ามนำใส่กระเป๋าโหลด

ส่วนทาง IATA ให้ใส่ในกระเป๋าโหลดได้

ส่วน CAA ออสเตรเลียกับสายการบินรอยัลคูเวต ให้ใส่กระเป๋าโหลดได้ แต่ "ควรอย่างยิ่ง" (Reccommendation)ที่จะถอดออกมาจากอุปกรณ์และนำมา (ปิดขั้วต่อไปด้วยเทปพันสายไฟและใส่ถุงพลาสติดซิปล้อค)ใส่กระเป๋าถือขึ้นเครื่อง

ตอนนี้หลายๆประเทศมีวิธีปฏิบัติ แบตเตอรรี่ลิเทียม แบบชาร์ตได้ "ที่ถูกใส่ในอุปกรณ์" แตกต่างกันอยู่ 3 แนวทางครับ


แบตเตอรี่ชนิดลิเทียม-โพลิเมอร์ (Li-Po ที่มี C Rate ต้องนำ C Rate ได้คูณด้วยค่าความจุ เกิน 32000 mAh ห้ามเด็ดขาด)

แบตที่ใช้กับ เครื่องวิทยุบังคับ แบบนี้ถึงเป็น ลิเทียม มีความจุ 2 200 mAh แต่ตัวเลข 10C และ 20C คือ10 - 20 เท่าของความจุที่ระบุ หรือ ตัวคูณค่าความจุ นั่นเองครับ หมายความว่าแบตก้อนนี้จะจ่ายไฟได้ 10-20 เท่า ของความจุ 2200 mAh นั่นหมายถึง จ่ายไฟได้ 22 000 - 44 000 mAh ถ้าเห็นแบตแบบนี้ สังเกตุ ค่าตัวคูณ หรือ C ด้วยนะครับ ว่าคูณกับค่าความจุ แล้วเกินข้อกำหนดที่ 32 000 mAh ไหม ก้อนนี้จ่ายไฟได้ 2200 x 20 เท่า = 44 000 mAh ห้ามขึ้นเครื่องบินทุกกรณีครับ (เฉพาะแบตเตอรรี่ชนิด ลิเทียม-โพลิเมอร์ เจ้าหน้าที่ตรวจจะต้องนำค่าตัวคูณ หรือ ค่าC ไปคูณด้วยครับ จะดูตัวเลข 2200 mAh อย่างเดียวมิได้ครับ) ในรูปจะระบุว่า 20C(44A) 44Amp นี่แหละครับ คือค่ากระแสไฟที่สามารถจ่ายได้จริง 44 000 mAh สังเกตุดีดีนะครับพิมพ์ตัวเลขค่อนข้างเล็กครับ

แบตที่ใช้กับ เครื่องวิทยุบังคับ แบบนี้ถึงเป็น ลิเทียม มีความจุ 6000 mAh แต่ตัวเลข 100C คือ100 เท่าของความจุที่ระบุ หรือ ตัวคูณค่าความจุ นั่นเองครับ หมายความว่าแบตก้อนนี้จะจ่ายไฟได้ 100 เท่า ของความจุ 6000 mAh นั่นหมายถึง จ่ายไฟได้ 600 000 mAh ถ้าเห็นแบตแบบนี้ สังเกตุ ค่าตัวคูณ หรือ C ด้วยนะครับ ว่าคูณกับค่าความจุ แล้วเกินข้อกำหนดที่ 32 000 mAh ไหม ก้อนนี้จ่ายไฟได้ 6000 x 100 เท่า = 600 000 mAh หรือ 600 Ah (กระแสไฟเท่ากับแบตรถยนต์ 10 ลูกต่อพ่วงกัน อันตรายมาก!!!) ห้ามขึ้นเครื่องบินทุกกรณีครับ (เฉพาะแบตเตอรรี่ชนิด ลิเทียม-โพลิเมอร์ เจ้าหน้าที่ตรวจจะต้องนำค่าตัวคูณ หรือ ค่าC ไปคูณด้วยครับ จะดูตัวเลข 6000mAh อย่างเดียวมิได้ครับ) ในรูปจะระบุว่า 100C คือค่ากระแสไฟที่สามารถจ่ายได้จริง 600 000 mAh

กลุ่มที่เล่นรถ เรือ เครื่องบินบังคับ เป็นงานอดิเรก จากที่เคยหิ้วรถ เรือ เครื่องบิน บังคับ พร้อมรีโมท แบตรีโมท แบตรถ แบตชุดรับส่งสัญญาณวิทยุ ขึ้นเครื่องบินเพื่อเดินทางไปแข่งทัวร์นาเม้น ในรายการ RC Action ต่างๆ ในต่างประเทศคงต้อง มีผลกระทบคือ อาจจะต้องไปซื้อแบตใหม่ที่ปลายทาง แถมยังเอากลับมาใช้ในบ้านเราไม่ได้อีกนะครับ ยกเว้นส่งพัสดุมาทางเรือ อย่างบ้านเราก้อนหนึ่งก็ตก 1500(china)-4000(japan) บาท ใช้แข่งปกติก็ 5-6 ก้อนก็ตก เกือบ 20,000 บาทหนะครับ

C Rate คืออะไร?

หากฉลากบนแบต เขียนไ้ว่า 6000 mAh คือ การที่แบตก้อนนี้สามารถจ่ายกระแสไฟจำนวน 6000 mA ได้ต่อเนื่องนาน 1 ชั่วโมง จนหมดก้อน แต่ถ้าเกิดนำไปต่อลักษณะคล้ายๆกับต่อตรง หรือเชื่อมกัน เช่นต่อกับมอเตอร์ ซึ่งในมอเตอร์มีขดลวดนำไฟฟ้าขดอยู่ กระแสไฟที่วิ่งเข้าสู่ขดลวดนั้นจะถูกผลักออกอย่างรวดเร็ว มากที่สุด 100 เท่า(10C) ของที่จ่ายให้อุปกรณ์อื่นๆตามปกติ(6000 mAh)ได้ เพื่อให้มอเตอร์เกิดกระแสไฟลในขดลวดสูงมาก จนเสมือนกับนำสายไฟไปต่อตรง ระหว่างขั้วไฟ ทั้งสองของแบต กระแสสูงสุดที่แบตจะคายประจุไฟฟ้า ผลักประจุผ่านตัวนำหรือขดลวดมอเตอร์ได้สูงสุด (Imax) 600 Ah (600 000 mAh) แต่ในเมื่อแบต จ่ายกระแสออกไปมากกว่า 10 เท่า ดังนั้นเวลาที่จะจ่ายไฟ จึงลดลง 10 เท่าโดยประมาณเช่นกัน คือจ่ายไฟ 600 Ah ได้ 60 นาที/10 = 6 นาที แบตจึงจะหมดก้อนครับ

รูปภาพแสดง Batt lithium ความจุไฟฟ้า 70 000 mAh ห้ามเด็ดขาดทั้งถือทั้งโหลด

เดียวนี้แบตพัฒนาไปมากครับ สมัยก่อนจ่ายได้แค่ 1 เท่าของความจุ หรือ 1C เดี๋ยวนี้จ่ายกระแสกระชากได้ถึง 20-50 เท่า (20C-50C) เพื่อให้มอเตอร์หมุนจากจุดหยุดนิ่งได้เร็ว เพิ่มทอร์ค ให้กับมอเตอร์ในรถหรือเครื่องบินบังคับวิทยุได้ครับ

....................................................................................................................................................................................

หมายเหตุ

ข้อความภาาาไทยด้านล่างนี้ เป็นทดลองแปลโดย Google แปลภาษา หากนำไปใช้จะต้องตรวจสอบให้ถูกต้องก่อน เพื่อกันความสับสนด้วยครับ!!

Terms conductivity type lithium batteries. embark Is prohibited by the Civil Aviation Department followed.

Do not remove the battery and backup battery cell. Or Power Banks Loaded with luggage under the air all cases. But to carry it. The battery backup to carry. Must have the capacity is not exceeded. Three thousand milliamps. The backup battery with a capacity of not more. Twenty mAh Domestic unlimited package. And battery backup capacity. More than two thousand mAh, up to three thousand milliamps. Brought up on not more than two packs.

If any passenger To bring the battery back-up plane. Please contact the staff When you check it.

The cause of these measures must be taken up. I never had a foreign airline incident. Battery back-fire, so it must be removed for safety precautions. The backup battery Considered a hazardous material Since the lithium battery In the event of a short circuit It was very hot, ignite and burn. But if this is the situation with the battery stored in the luggage of the passengers take up the crew and emergency, timely notice it. Finally, we look forward to the cooperation with the authorities here. We've detected that you are safe Others, it's safe for you to like it. Safety of colleagues as important as the safety of aviation same.

......................................................................................................................................................................................

KM_DCA_ศรัทธาในPassionเพื่อก้าวสู่Visionกรมการบินพลเรือน
KM_DCA ครบรอบ 4 ปี กรมการบินพลเรือน
มุ่งสู่วิสัยทัศน์ องค์กร ด้วยแรงศรัทธาและความปรารถนาร่วมกันพัฒนางานในหน้าที่และงานเกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อองค์กรและมีประสิทธิผลสูงสุดต่ออุตสาหกรรมการบินในระดับประเทศและนานาชาติ

https://www.youtube.com/watch?v=CddGUXRAcjs&feature=youtu.be

หมายเลขบันทึก: 581288เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2014 06:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2017 07:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท