่วิ'ใจ' - แรงบันดาลใจ


สิ่งหนึ่งที่ข้าพเจ้าอยากลองทำมานาน
ได้มีโอกาสทำจริงๆ หลังจากถอนหัวโขน
จากอาจารย์นักวิชาการ มาเป็น หมอธรรมดาๆ ที่อยากรู้
จาก วิจัย สู่การ วิ’ใจ’
เป็นการทำความเข้าใจระหว่างทาง มากไปกว่าเป้าหมายผลสำเร็จ
เมื่อเวลาผ่านไป ข้าพเจ้าเริ่มรู้สึกตัวว่า ‘ไม่รู้จริง’ ในสิ่งที่สอน
ไม่รู้ว่า..อุดมคติกับโลกแห่งความเป็นจริงจะพบกันได้อย่างไร
ข้าพเจ้าคิดว่า วิธีเดียวที่จะทำให้เข้าใจ
คือการหาประสบการณ์ที่ขาดหายไป
คือการนอบน้อมต่อโลกว่า “ฉันไม่รู้”

ประสบการณ์ทำโครงการ GFGAP
ร่วมกับกัลยาณมิตรใน gotoknow ปีก่อน
สร้างทัศนคติที่ดี ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
นำมาสู่ การทำวิจัย แบบ วิ’ใจ’
===================================================
การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วย Spinocerebellar ataxia ในจังหวัดพะเยา
Spinocerebellar ataxia หรือโรคสมองน้อยไขสันหลังเสื่อม
เป็นโรคการถดถอยทางระบบประสาท ที่ไม่มีทางรักษาหายขาดในปัจจุบัน
สิ่งที่ทำได้คือ การวางแผนครอบครัวเพื่อลดถ่ายทอดทางพันธุกรรม
และการเพิ่มคุณภาพชีวิต เป็น'Palliative care' อีกแบบที่ท้าทาย ด้วยความยาวนานของการดำเนินโรค
...
เป้าหมายคือ นำไปสู่โครงการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง
แต่เป้าหมายจะถึงหรือไม่ อย่างน้อย ข้าพเจ้าก็ได้เรียนรู้ระหว่างทางหลายอย่าง
จากการลงมือทำเองทุกขั้นตอน
- การประสานงาน เพื่อขออนุญาตทำงานในพื้นที่ ติดต่อตามลำดับขั้นใดบ้าง
- วิธีหารถ หาที่พัก ขณะลงชุมชน
- การหาพันธมิตรเจ้าของพื้นที่
โดยได้รับความกรุณาจาก เจ้าหน้าที่ สสจ.และเจ้าหน้าที่ รพสต.ในพะเยา
แนะนำเรื่อง ‘ทักษะการทำงานกับคน’
(ข้าพเจ้าตระหนักว่าตนเองยังขาดทักษะนี้อย่างมาก)

เป็นสิ่งเกินความคาดหมายของข้าพเจ้า
ที่การศึกษาในพื้นที่ครั้งนี้ ได้รับความกรุณาจากหลายฝ่าย


ทีม สาธารณสุขจังหวัด และสาธารณสุขอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา

เรียนหารือทีม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา
เพื่อส่งไม้ต่อการติดตามผู้ป่วย SCA ในชุมชน อย่างต่อเนื่อง
ดังที่ ดร.สุภาภรณ์ ท่านผู้อำนวยการ วางอัตลักษณ์บัณฑิตย์วิทยาลัย “บริการสุขภาพด้วยหัวใจ ความเป็นมนุษย์”


อาจารย์กุลวิภา และนักศึกษาเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยพะเยา

ภาคต่อไป
วิ’ใจ’ ภาคลงสนาม เร็วๆ นี้ค่ะ
ขอบคุณที่สละเวลาอ่านค่ะ :)

================================================================
ขอขอบคุณ จุดเริ่มต้นแรงบันดาลใจ : พฤษภาคม 2556
ศูนย์โรคสมองภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นำโดย รศ.พญ.ศิวาพร จันทร์กระจ่าง

สู่การ ‘วิใจ’ มหาวิทยาลัยรับใช้สังคม : เมษายน 2557

หมายเลขบันทึก: 566687เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2014 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

เรียนอาจารย์ หมอ ป.วันที่ 2-3  พค.นี้ไปเชียงใหม่ ติดตามดูสถานที่เพื่อจัดงานเกษียณให้ลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง จะจัดวันที่ 6 กันยายน 2557 นี้

เป็นกำลังใจให้หมอ ป. ครับ...

..

ข้าพเจ้าคิดว่า วิธีเดียวที่จะทำให้เข้าใจ
คือการหาประสบการณ์ที่ขาดหายไป

คือการนอบน้อมต่อโลกว่า "ฉันไม่รู้"

..

ถ่อมตัว และอ่อนโยนมากเหลือเกินครับ

รู้สึกเหมือนกันเลยจ้ะ...ยิ่งเป็นครูนานวัน  ยิ่งรู้สึกว่า ตัวเองไม่รู้อะไรซักอย่าง  เฮ้อ...!

ยินดีกับวิใจ. แล้วคุณหมอ ป จะพบสิ่งที่เป็นสุขแน่นอน

ตอนพี่จบใหม่ ท่านอาจารย์ของพี่แก้วชักชวนมาเป็นอาจารย์สอนนักศึกษา

แต่พี่แก้วเดินต่อมาเป็นพยาบาลในโรงพยาบาล

ได้ดูแลผู้ป่วยและครอบครัวให้สะดวกสบายปลอดภัยทุกครั้งที่มาพบเรา

มาถึงวันนี้ยังสุขใจทุกครั้งที่ตัดสินใจ... เมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมาค่ะ

  วันเสาร์ที่สาม พอจะมีเวลาทานข้าวด้วยกันไหมค่ะ :)

  :)

ความเข้าใจบางอย่าง ต้องอาศัยเวลาและความเจ็บปวด แต่คุ้มค่าค่ะ

ภาพจาก Facebook ติช นัท ฮัน

คุณหมอครับ

อยู่ในมหาวิทยาลัยนานๆทำให้เราไม่มีโอกาสบูรณาการการสอนกับการวิจัย

ต้องนำการสอนและการวิจัยมาใช้กับชุมชนเรียนรู้เรื่องของชุมชน

บางสถาบันไม่เข้าใจติดที่ระบบ

ตอนนี้เลยคิดว่า ทำวิจัยมีส่วนร่วมกับชุมชนแล้วมีความสุขดีได้เรียนร้ร่วมไปกับชุมชนด้วยครับ

รออ่านควาก้าวหน้าครับคุณหมอ

ชื่นชมและเป็นกำลังใจให้คุณหมอนะคะ

ฝากติดตามด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

http://www.gotoknow.org/user/thebeattlecity38/posts

_สวัสดีครับ..

_ตามมาให้กำลังใจพี่หมอครับ..

_ชุมชน...มีส่วนร่วม..

_ขอบคุณครับ..

วิ'ใจ'...นำมาซึ่งความสำเร็จบนบทเรียนชีวิตที่มั่นคงและยั่งยืนนะคะ...เป็นกำลังใจให้ค่ะ...

  สวัสดีค่ะ คุณครูมะเดื่อ ขอบคุณสำหรับผลมะเขือนะค่ะ :)

  ขอบคุณที่แชร์ประสบการณ์ค่ะ  คุณสมบัติของคนดีนั้นอยู่ที่ได้ก็เปล่งประกายได้เสมอค่ะ

ส่วนตัวหมอเอง ยังรักมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพียงต้องการ 'ปิดซ่อมบำรุง' ตนเองสักระยะค่ะ

ชื่นชมและให้กำลังใจน้องหมอป.มากๆเสมอนะคะ คิดถึงเสมอค่ะ

ลงพื้นที่ ต้องค้างคืนเลยไหมครับ คุณหมอ ;)...

It seems that you have cracked a 'medical viewpoint' (where diseases are the enemy, patients are icons on computer screen and winning at all costs --even when the patients die).

A lot of private hospital doctors are now treating patients as customers (you know --customers are always right-- because they pay ;-)

But there are bad days and there are good days. Shouldn't we think 'today is good' ;-) ?

วิใจ ทำให้เข้าถึงคนจริงและใช้ได้จริงไม่ทิ้งไว้บนหิ้งเหมือน วิจัย ครับ ขอบคุณสิ่งดี ๆ ที่แบ่งปันครับ

ขอบคุณค่ะ ที่ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ กำลังทำเรื่อง รพ.ปลอดบุหรี่

จะเชิญชวนมาอ่านนะค่ะ :)

ชุมชนมีส่วนร่วม คือสุดยอดเป้าหมายการวิจัยชุมชน

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณพี่ใหญ่ที่เป็นกำลังใจและแบบอย่างที่ดี ให้เห็นสุขของการทำงานจิตอาสาค่ะ

Today is good :) 

Thank you for remind me a real role of doctor.

One’s destination is never a place, but rather a new way of looking at things.
Miller, H. (1957)

ขอบคุณค่ะ ค้างที่พะเยา 1 สัปดาห์ค่ะ มีความสุขทุกวัน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท