กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


            สิทธิมนุษยชนในไทยไม่ได้รับความสำคัญเท่าไรนัก ยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนกันอยู่เสมอทั้งเรื่องใหญ่ อย่างเช่น ข่าวอาชญากรรมรายวันที่ปรากฏข่าวทั้งละเมิดสิทธิสตรีอย่าง ข่าวข่มขืน หรือ ละเมิดสิทธิพื้นฐานคือ ชีวิตมนุษย์ ซึ่งยังมีข่าวฆ่ากันตายอยู่เสมอๆในหน้าหนังสือพิมพ์ หรือเรื่องเล็กเช่น การแสดงความคิดเห็นที่ต่างกันจนนำไปสู่ปัญหาการขัดแย้ง เป็นต้นแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยได้ลืมคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น จนมีปัญหาของสังคมจนถึงทุกวันนี้

          สำหรับกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนนั้น ที่สำคัญที่สุดคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ เช่น   มาตรา4“ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง ”  มาตรา28“บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิ และ เสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือ ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน“แสดงให้เห็นว่า และได้กำหนดถึงสิทธิอื่นๆ อีกด้วย เช่น สิทธิการแสดงความเห็น การนับถือศาสนา เป็นต้น  ซึ่งจากการที่กฎหมายสูงสุดของประเทศได้บัญญัติถึง สิทธิ เสรีภาพ ที่มนุษย์ทุกคนมีเท่าเทียมกันนั้นในความเป็นจริง ในสังคมไทยยังมีปัญหาอย่างการค้าแรงงาน ทั้งแรงงานเด็ก และ แรงงานต่างด้าว อยู่เสมอ

          ซึ่งแรงงานเด็กในปัจจุบันนอกจากเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมแล้วยังมีการค้าแรงงานเด็กเพื่อขอทาน โดยการทำเป็นขบวนการ โดยมีทั้งการลักพาตัวเด็ก และการนำคนต่างด้าวเข้ามาขอทานในประเทศไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็น ชาวเขมรเด็กที่ถูกนำมาเป็นขอทานมีอายุตั้งแต่แรกเกิด จนถึงประมาณ 10 ปี หากโตเกินกว่านั้นแล้ว ย่อมหมดความน่าสงสาร ไม่อาจทำรายได้ให้แก่ธุรกิจขอทานได้ มีทั้งเด็กที่มีร่างกายปกติ และ พิการที่ไม่สามารถสืบทราบได้ว่า พิการตั้งแต่แรกเกิดหรือถูกทำร้าย และ ที่ข้าพเจ้าเห็นอยู่เสมอคือ แม่อุ้มเด็กทารกมาขอทาน แต่จากการสำรวจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ของ มูลนิธิกระจกเงา พบว่า ทั้งคู่ไม่ได้มีสายเลือดเดียวกัน แสดงให้เห็นว่า การขอทานในปัจจุบันมิใช่เรื่องการขาดแคลนทางด้านการเงิน แต่เป็นธุรกิจขอทานโดยการค้ามนุษย์ และเมื่อเด็กเหล่านั้นโตขึ้นส่งไปขอทานไม่ได้ปัญหาสังคมต่างๆก็ตามมา เช่น ปัญหาอาชญากรรม การค้าประเวณีจากเด็กผู้หญิงที่โตขึ้นขอทานไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งตามหลักการสิทธิมนุษยชน มนุษย์ทุกคน มีสิทธิ เสรีภาพ เท่าๆกัน ไม่มีใครเป็นเจ้าของใคร มนุษย์สามารถดำเนินชีวิตได้โดยการนึกคิดของตนเอง มีอิสระในการตัดสินใจ แสดงความคิด การกระทำต่างๆของตนตามที่กฎหมายมิได้กำหนดว่าผิดกฎหมาย

          จากปัจจุบันปัญหานี้ควรอย่างยิ่งที่จะแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยเริ่มจากหยุดให้เงินขอทานเด็ก และให้ความช่วยเหลือในด้านอื่น เช่น แจ้งมูลนิธิที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือเด็กโดยเฉพาะ เช่น ศูนย์ประชาบดี หรือ แจ้งตำรวจหากพบเห็นขบวนการค้ามนุษย์ รัฐควรให้ความสำคัญแก้ไขปัญหา โดยตั้งงบประมาณและตั้งหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบ มีนโยบายในการแก้ไขเพราะปัญหานี้มิใช่เรื่องเล็กที่จะเพิกเฉย แต่คนในสังคมไทยต่างเพิกเฉยกับปัญหานี้ จนทำให้เกิดปัญหาเรื้อรังซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสังคมอย่างอาชญากรรมเป็นจำนวนมากปัญหานี้มิได้ขาดกฎหมายมารองรับแต่อย่างใด ประเทศไทย มีกฎหมายอย่างเช่น พระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ,พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีพ.ศ. ๒๕๓๙ แต่ไม่ได้นำมาใช้เท่าไรนัก เพราะ มีปัญหาคอรัปชั่น รับเงินใต้โต๊ะ อีกทั้ง การใส่ใจในปัญหานี้ของรัฐที่มีไม่มาก ทำให้การจัดการเรื่องเหล่านี้ ไม่ได้ถูกจัดการออกให้พ้นจากสังคม ยังคงเป็นปัญหาที่รอการสะสางอยู่ตั้งแต่ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

อ้างอิง

ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพ,กรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ค้นเมื่อ 24 เมษายน 2014

 แหล่งที่มา: http://www.rlpd.moj.go.th/rlpdnew/index.php/2012-06-20-05-54-34/2012-06-20-06-06-34

หยุดสร้างบุญ ธุรกิจบาป,ค้นเมื่อ 24 เมษายน 2014 แหล่งที่มา:http://www.stop-childbegging.org/

ขอทานเด็ก ธุรกิจบาป,ศูนย์ข้อมูลเด็กหาย มูลนิธิกระจกเงา ค้นเมื่อ 24 เมษายน 2014 แหล่งที่มา:

http://www.notforsale.in.th/autopagev4/show_page.php?topic_id=20&auto_id=7&TopicPk=

หมายเลขบันทึก: 566682เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2014 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 03:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท