ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก


       สิทธิมนุษยชน (Human Right)  หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ[1]

       สิทธิ มนุษยชนเป็นประเด็นสำคัญที่นานาชาติให้ความสนใจ องค์การต่าง ๆ ทั้งในระดับโลก เช่น สหประชาชาติ และองค์การเอกชนต่างก็ให้ความสำคัญกับการต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน การรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน และส่งเสริมให้พลเมืองเกิดความเคารพในสิทธิ ความเป็นมนุษย์และสิทธิขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม การละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านต่าง ๆ ของโลก ซึ่งถือเป็นปัญหาของสังคมโลกที่สำคัญ เพราะจะส่งผลให้สังคมโลกปราศจากความสงบสุข

       ซึ่งกฎหมายไทยได้มีมาตรการในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนในรูปแบบต่างๆ มานานรับจากประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบกันปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2491 หลังจากนั้นประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนอีกหลายฉบับ ด้วยกัน เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ เป็นต้น
        แต่ถึงแม้ประเทศไทยจะมีพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนตามสนธิ สัญญาต่างๆ ดังกล่าวตามข้างต้น แต่ประเทศไทยก็ยังมีปัญหาที่เกิดจากการขาดการส่งเสริมละคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่รอแก้ไขอีกหลายประการ   ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างปัญหาสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในประเทศไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลกดังต่อไปนี้

       ปัญหาสิทธิมนุษยชนของชาวโรงฮิงญา ที่ได้มีการหนีภัยความตายเข้ามาอาศัยพักพิงในประเทศใกล้เคียง รวมถึงประเทศไทย อันเป็นปัญหาที่สื่อทั่วโลกให้ความสำคัญ เพราะเป็นปัญหาที่กระทบต่อสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างมาก จึงอาจกล่าวได้ว่า เป็นปัญหาสำคัญ ที่เชื่อมต่อกับสังคมโลกเลยก็ได้

       โรฮิงญา เป็นกลุ่มชนบริเวณชายแดนฝั่งพม่าที่พูดภาษาจิตตะกอง-เบงกาลี และนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งรัฐบาลทหารพม่าปฏิเสธสถานภาพพลเมืองของชาวโรฮิงยา ส่งผลให้มีชาวโรฮิงยาจำนวนมากต้องอพยพลี้ภัยไปยังประเทศอื่นเพื่อแสวงหา ชีวิตที่ดีกว่าการที่ชาวโรฮิงญาอพยพข้ามน้ำทะเลอันดามันไปยังประเทศต่างๆ อธิ บังกลาเทศ มาเลเซีย ปากีสถาน รวมถึงประเทศไทยด้วย เนื่องจากโดนกดขี่จากรัฐบาลทหารพม่าในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การไม่ได้รับสัญชาติพม่า การถูกห้ามเข้าศึกษาเล่าเรียน การไม่มีสิทธิเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลต่างๆ และปัญหาอื่นๆอีกมากมาย เนื่องจากความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ภาษา ระหว่างชาวโรฮิงญา กับประชาชนชาวพม่า ทำให้ชาวโรฮิงญาจำนวนมากจำต้องยอมอพยพจากดินแดนบ้านเกิดของเขาที่มีทั้งความ ทรงจำ และความผูกพัน เพื่อไปยังดินแดนที่เขาจะได้รับการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ผู้หนึ่ง ในสังคมโลก ทำให้มีชาวโรฮิงญาจำนวนกว่าหมื่นคนอพยพมายังดินแดนไทย เพื่ออยู่กินและใช้ชีวิตที่มีความเท่าเทียมกันของมนุษย์ทุกคน ที่ได้กำหนดไว้ในสิทธิมนุษยชน หลายปีที่ผ่านมาปัญหาชาวโรฮิงญาเปรียบเสมือนเรือกลางกระแสคลื่นช่วงไหนคลื่น ลมแรงหลบเข้ามาฝั่งมีคนสนใจ ปัญหาเหล่านั้นก็ถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อหาทางออก แต่เมื่อลมสงบการแก้ไขปัญหาก็หยุดนิ่ง เหมือนกับว่าไม่มีปัญหานั้นเกิดขึ้นอีกเลย [2]

       จะเห็นได้ว่า ปัญหาชาวโรฮิงญาอพยพไปยังประเทศต่างๆนี้ เพื่อที่จะไปยังดินแดนที่พวกเขาเหล่านั้นมีสิทธิในชีวิตร่างกาย และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่พวกเขาเหล่าน้้นพึงจะได้รับ ประเทศไทยรวมทั้งประชาคมโลกควรจะให้ความสนใจและแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง เพื่อให้ชาวโรฮิงญาทั้งหลายดำรงอยู่ในสังคมโลกอย่างมีค่าความเป็นมนุษย์ เพราะปัจจุบันการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศก็ยังปรากฏอยู่เสมอ [3] และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงยิ่งขึ้น ถ้าไม่รีบดำเนินการแก้ไขให้ทันท่วงที สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่ปรากฏเสมอๆ ในสังคมไทย สรุปได้ดังนี้ คือ

        ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้ากว่าประเทศ เพื่อนบ้านบางประเทศจึงทำให้ประชาชนของประเทศเพื่อนบ้านบางส่วน เช่น สหภาพพม่า ราชอาณาจักรกัมพูชา พยายามเดินทางเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทย ทั้งที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมายและลักลอบเข้ามาย่างปิดกฎหมาย โดยอาชีพส่วนใหญ่ที่แรงงานเหล่านี้เข้ามาทำ คือ งานประมงทะเล งานเกี่ยวเนื่องกับการประมง ชาวต่างชาติบางส่วนที่ลักลอบเข้ามาในประเทศ ไทยอย่างผิดกฎหมายก็ได้สร้างปัญหาต่อความมั่นคงของสังคมโดยรวมและประเทศชาติ เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาโรคระบาด เป็นต้น

    ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศต้นทาง ประเทศส่งผ่าน และประเทศปลายทางของการค้ามนุษย์ข้ามชาติ โดยเหยื่อส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก รวมถึงคนไทยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และจากประเทศอื่นๆ ได้ถูกเอารัดเอาเปรียบด้านธุรกิจบริการทางเพศ และการเอาเปรียบแรงงาน  นอกจากนี้ ทิศทางการพัฒนาที่มุ่งเน้นการผลิตในระบบอุตสาหกรรมได้ก่อให้เกิดช่องว่างของ การกระจายรายได้ ผู้ใช้แรงงานถูกเอาเปรียบ และไม่ได้รับการส่งเสริมให้มีขบวนการรวมกลุ่มของสหภาพแรงงานต่างๆ ที่เข้มแข็ง สภาพความปลอดภัยในการทำงานส่วนใหญ่ยังมีความเสี่ยงสูง และไร้หลักประกัน

      ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีแนวทางในการแก้ไข คือ ควรมีการจัดให้มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวตลอดทั้งปีเพื่อหมุนเวียนแรงงาน ในตลาด ควรมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาควบคุมดูแล ทำหน้าที่เป็นคนกลางอย่างเหมาะสม รวมไปถึงการกำหนดกลไกคุ้มครองที่สามารถเข้าถึงได้จริง เช่น กำหนดโทษที่ชัดเจน เป็นต้น

        ปัญหาการละเมิดสิทธิสตรี   การละเมิดสิทธิสตรีในประเทศโดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเลือกปฏิบัติอย่าง ไม่เป็นธรรมซึ่งสามารถแยกออกได้ 2 ประเด็น ได้แก่ การกระทำรุนแรงทางกายภาพ เช่น สามีทำร้ายร่างกายภรรยา สามีบังคับขืนใจทางเพศภรรยา เป็นต้น หรือแรงงานหญิงถูกเลือกปฏิบัติจากนายจ้าง เช่น ถูกเอาเปรียบในเรื่องของค่าจ้างและการเลื่อนตำแหน่ง แรงงานหญิงที่เป็นแรงงานข้ามชาติถูกกดขี่ ไม่ได้รับสวัสดิการต่างๆ เป็นต้น

    อาจกล่าวได้ว่าปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การเลือกปฏิบัติต่อสตรี ได้แก่ ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิทางเพศของทั้งหญิงและชาย ความไม่รู้กฎหมาย หรือแม้กระทั่งการตีความกฎหมายที่ก่อให้เกิดช่องว่างในการเอาเปรียบทางเพศ

   แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด คือ การกระตุ้นให้คนในสังคมเรียนรู้หลักสิทธิมนุษยชนและเคารพในศักดิ์ศรีของสตรี ตระหนักถึงความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทุกๆด้าน ยิ่งไปกว่านั้นรัฐควรมีนโยบายหรือมาตรการพิเศษที่จะช่วยเอื้อให้เกิดการคุ้ม ครองสิทธิสตรีอย่างจริงจรัง เช่น การจัดตั้งหน่วยงาน หรือองค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิสตรีและป้องกันการละเมิดสตรีขึ้นมาโดย เฉพาะ เป็นต้น

อ้างอิง

[1] สิทธิมนุษยชน (Human Right)

http://kittayaporn28.wordpress.com/%E0%B9%82%E0%B8...

[2]โรฮิงญา

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0...

[3]สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มีอยู่ในประเทศไทย

http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?b...

คำสำคัญ (Tags): #HR-LLB-TU-2556-TPC
หมายเลขบันทึก: 566680เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2014 21:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท