โครงการพัฒนาผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่า กฟผ. (รุ่นที่ 10) ช่วงที่ 3


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ EADP รุ่น 10 ทุกท่าน

ขอต้อนรับเข้าสู่ ช่วงที่ 3 ของ หลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รุ่นที่ 10 (ปี 2557) หรือEGAT ASSISTANT DIRECTOR DEVELOPMENT PROGRAM : EADP 2014 ระหว่างวันที่ 18-21 มีนาคม 2557 

แม้ว่าจะเป็นการทำงานต่อเนื่องเรื่องคนให้กับ กฟผ. มาปีนี้เป็นปีที่ 10 แต่ผมก็ยังรู้สึกตื่นเต้น และพยายามจะแสวงหาความรู้ที่สด และทันสมัยมาแบ่งปันกับลูกศิษย์ของผมเสมอ

จากการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารของ กฟผ. ในระดับผู้อำนวยการ 3 รุ่น และในระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายอีก 6 รุ่นที่ผ่านมา ผมมีความภาคภูมิใจในลูกศิษย์ของผมที่วันนี้หลายคนเติบโต และเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพของสังคม 

"ทุนมนุษย์" ใน กฟผ. นั้นเข้มแข็งและมีศักยภาพอยู่แล้ว ผมเป็นเพียงผู้ที่จะช่วยทำหน้าที่จุดประกาย สร้าง Inspiration ให้พวกเขามีพลัง มี Ideas ใหม่ ๆ มีความเข้าใจสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกและพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จ รวมทั้งการทิ้งผลงานหรือสิ่งที่มีคุณค่าไว้สำหรับสังคมไทยของเรา

สิ่งที่ผมและคน "กฟผ." ต้องระลึกถึงเสมอ คือ ผู้นำของเรา ต้องขอขอบคุณ ท่านผู้ว่าการ กฟผ. และอดีตผู้ว่าการฯ ทุกท่าน น่าชื่นชมที่มีปรัชญาและความเชื่อว่า "คนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร" สูตรสำเร็จของการพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรในยุคนี้ คือ ผู้นำหรือ CEO+SMART HR+ Non-HR และผมเชื่อว่าการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ใน กฟผ. อย่างต่อเนื่องจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนให้ กฟผ. เติบโตอย่างยั่งยืนได้แน่นอน

สำหรับการพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 10 ในปีนี้ ผมก็หวังว่าจะมีสิ่งที่เราจะได้เรียนรู้ร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการทำงานของ กฟผ. และเป็นการสร้างที่สร้างความสุขให้แก่คนไทยต่อไป และผมขอให้ทุกท่านใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ของพวกเรา และแบ่งปันความรู้เหล่านี้ไปสู่สังคมของเราครับ

จีระ  หงส์ลดารมภ์

...........................................................................

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้

วันอังคารที่ 18 มีนาคม 2557

10.00 - 12.30 น.

ศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิชัยพัฒนา

เยี่ยมคารวะ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา พร้อมรับฟังการบรรยาย “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 564032เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2014 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มีนาคม 2014 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (148)
ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยายโดย ทีมงานวิชาการ Chira Academy

ศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิชัยพัฒนา

บรรยาย “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

วันที่ 18 มีนาคม 2557

ณ มูลนิธิชัยพัฒนา

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

- การเรียนในวันนี้ เราเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เน้นการทำงานต่อเนื่อง

- ต้องมี Mindset ที่มองไปในอนาคตว่า Challenge เป็นอย่างไร

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

- เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก อย่าติดคำว่าเศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง ความจริงแล้ว สังคมต้องพอเพียงด้วย การเมืองก็ต้องพอเพียงด้วยเช่นกัน แต่ละฝ่ายอย่าก้าวล่วงก้าวล้ำในสิ่งที่เกินประมาณ

- อยากให้ศึกษาจากบทเรียนในอดีตของประเทศไทยที่ผ่านมา ตัวอย่างเรื่องการทำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้ดูที่เหตุก่อนว่าเกิดเหตุอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น ตั้งแต่ปี 39 ปี 40 เกิดเหตุอะไรแล้วศึกษาจากสิ่งที่เกิดผ่านมานั้นมาเป็นบทเรียนในปัจจุบัน

- ยกตัวอย่างบ้านของเรา เราต้องดูแลและแคร์บ้านของเราด้วย แคร์คนในบ้านด้วย เช่นเดียวกับโลกของเรา

- Cosmic Calendar (10 ล้านปี)เพื่อให้เห็นความเคลื่อนไหวที่ชัดเจน เห็นว่าโลกนี้มีวิวัฒนาการตลอดเวลา มี Mass Extinction โดยสมมุติให้เริ่มตั้งแต่ 1Jan – 31 Dec ง่าย ๆ

ปัญหาของโลกเกิดจากการบริโภคที่เกินพอดี

- วันนี้เหลือระบบเดียวที่ครองโลกอยู่ในขณะนี้ คือการบริโภคนิยม โดยเฉพาะประเทศคอมมิวนิสต์เก่า บริโภคแบบบ้าเลือด เช่นรัสเซีย หรือจีนเป็นต้น

- ประเทศไทยมีทุกอย่างครบหมด แต่ข้อเสียคือไม่มีระบบบริหารจัดการที่ดี ยกเว้น กฟผ. ถือว่าเป็นเรื่องการบริหารจัดการที่ดีมาก

- การพอเพียงจะรักษาความพอดีขึ้นไป

มนุษย์บริโภคทรัพยากรเกินขีดจำกัด (Living Planet Report ,2010)

- ในปี 2504- 2518 เป็นช่วง World Bio Capacity และในปี 2518 พบว่าจำนวนของกับคนสมดุลกัน แต่หลังจากปี 2518 พบว่าการบริโภคมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปี 2550พบว่าเป็นจุดเกินเลย 1.5 เท่าของโลกของการบริโภค

- ณ วันนี้ในโลกคนอดตายอยู่ 5 ล้านคน ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่มีอาหารที่สมบูรณ์มาก แต่การบริหารจัดการที่ไม่ดี สามารถทำให้ไทยขาดแคลนอาหารได้

- ประเทศที่พัฒนาแล้วบริโภคมาก ยิ่งคนรวยมากยิ่งบริโภคมาก ถ้าหากทุกคนบริโภคถึงคนอเมริกันหรือยุโรปต้องมีโลกถึง 3 ใบ เนื่องจากบริโภคมากขึ้น และขยะมากขึ้น

- การบริโภคทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยทำให้ดรรชนีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติของโลกลดลง

KPM กับ GCK

KPM (Knowledge,Power,Money) (จากอดีตถึงปัจจุบัน)

- เน้น GDP

- ระบบทุนนิยม

- การแข่งขัน การแก่งแย่ง

- การใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย (ภัยพิบัติ มลภาวะ ปัญหาสังคม)

สรุปคือ

เป็นมุมมองที่เน้นเงิน ทำได้ถ้าคนอยากทำและเน้นการบริหารจัดการที่ดี แต่ถ้าทำไม่ดีจะเกิดเศรษฐกิจ Bubble Economy เป็นการโตแบบฟองสบู่ การเปิดเสรีมากเนื่องจากบ้าเรื่องเงินมากเกินไป การฟรีคือดีแต่ถ้าไม่มีระบบ ระเบียบควบคุมไว้ ก็เกิดปัญหาได้

ในระดับโลกจึงมีอีกกระแสหนึ่งเข้ามาช่วยในการพัฒนา เรียกว่าระบบ GCK

GCK (Goodness ,Culture, Knowledge) (อนาคต)

- เน้น GNH

- ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง

- เน้นการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น

- เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรฯ

- ส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล

สรุปคือ

เป็นมุมมองที่เน้นความสุข ใช้ Knowledge มาระดมเพื่อรักษา Good governance และ Culture เน้นเรื่องความคุ้ม โดยศึกษา Cost Benefit และ Monetary Term ต้องเน้นเรื่องการ Management และ Sustainability

เศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง คือการใช้ทรัพยากรรอบตัวให้ถูกต้องเสียก่อน ไม่ใช่ Import เข้ามาโดยไม่ได้ศึกษาอะไร

การอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น ต้นอัมพวา ทำไมชื่อต้นอัมพวา คนไม่รู้ แต่พูดแล้วทำไมคนอยากรู้ การนำเรือไปดูหิ่งห้อยโดยใช้เรือพายต่อจากเรือหางยาว

เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ คือ ธรรมชาติจะช่วยให้ชีวิตเราอยู่อย่างมีความสุขและยั่งยืน

ธรรมาภิบาล เป็นเรื่องสำคัญมาก ดังนั้นผู้ที่จะมาปกครองต้องมีคุณธรรมและความดีมาก่อน แล้วเรื่องระบบค่อยตามมาที่หลังได้ ถ้าผู้นำไม่ดี จะทำให้ระบบไม่ดีไปด้วย

มนุษย์ต้องเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงยั่งยืนของชีวิต

ตัวอย่างเช่นพลังงาน ต้องรู้ที่จักใช้อย่างประหยัด

การพัฒนาที่ยั่งยืน

- การพัฒนาที่มีความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

- เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน

- ไม่เน้น Cost Benefit – คำนึงถึงกำไรว่าคุ้ม หรือไม่คุ้ม

- แต่ใช้ Cost effectiveness – ไม่คำนึงถึงจำนวนเงิน แต่คำนึงว่าการใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพนั้น ใช้จ่ายได้น้อยที่สุดอย่างไร จะขจัดโดยใช้เงินน้อยที่สุดอย่างไร

เศรษฐกิจพอเพียง

- องค์กรไหนก็ทำได้ เช่นปูนซีเมนต์ พัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงไว้ 3 เรื่อง หลัก ๆ คือ

1. พอประมาณ คือตรวจสอบดูทุนเราก่อนว่าทุนเรามีแค่ไหนอย่างไร อย่าอ้าขาผวาปีกไปทำอะไรที่เกินทุนของเรา และให้ดูทางทุนทางกายภาพด้วย เช่น ความแข็งแรงยังมีอยู่หรือไม่ ดังนั้นคือต้องประเมินก่อน ทุกท่านต้องประเมินตนเอง เราทำแล้วผลพวงเป็นอย่างไรบ้าง จุดแข็ง จุดอ่อนเป็นอย่างไร ต้องทำ Self Assessment ก่อน แต่ถ้าใช้กับ กฟผ. ต้องทำ Corporate Assessment ก่อน สรุปคือทุกอย่างต้อง Assessment หมด และที่สำคัญคือ Human Resource ไม่ใช่แค่กำลังคนเท่านั้น แต่การพัฒนาคนต้องพัฒนาทุกมิติ คือมีคุณธรรม มีวิสัยทัศน์ ฯลฯ หรือไม่

2. มีเหตุมีผล เช่น ตัวอย่างการใช้เงินให้ใช้เหตุผลเป็นเครื่องนำทาง แต่ส่วนใหญ่ชอบทำตามอารมณ์ ต้องรู้จักใช้เหตุผลให้ได้ การสร้างเหตุผลได้ต้องมีสติ ตัวอย่างเช่นงบประมาณ 2.2 ล้านบาท ต้องมีเหตุผลในการใช้เงินว่าไปทำอะไร มีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ต้องผ่านจากการประเมินจากปริมาณมาดูที่คุณภาพ (Quality) แล้วแต่ลักษณะเวลาและโอกาส หรือเรียกว่า กาลเทศะ ตัวอย่างเช่นการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เมื่อปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะทำอย่างไร จะดันทุรังทำในนี้หรือไม่ หรือจะไปปริมาณปรมาณู วิธีคิดควรต้องคิดใหม่หรือไม่ พอเพียงหรือเพียงพอ จะ Backgroud ที่ผ่านมากฟผ.ใช้เพียงพอเป็นตัวนำตลอด เอา Demand เป็นตัวตั้งแล้วสร้าง Supply สนอง Demand ให้ได้ แต่อยากให้ต่อไปลองคิดกลับคือให้เอา Supply เป็นตัวตั้งแล้วเอา Demand เป็นตัวตาม เป็นการ Project Supply ว่า กฟผ.จะสามารถผลิตไฟฟ้าอย่างยั่งยืน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเกิดการถ่วงดุลขึ้น ผลิตได้ตามกำลังจำกัด ต่อมาให้ลองปรับ Demand ให้ตาม Supply Available ได้หรือไม่ เช่นอุณหภูมิแอร์ไม่ต้องเย็นมาก ช่วยประหยัดได้หรือไม่ เรื่องน้ำ Critical จุดไหนแล้วที่เราสนใจ นิวเคลียร์จะเอาหรือไม่

3. มีภูมิคุ้มกัน ตัวอย่างที่ปรับใช้ กฟผ. เช่นเมื่อวันหนึ่งพลังงานไม่มีจะเอาอะไรทดแทน จะประหยัดได้อย่างไร ประเทศไทยรวยมากหรือถึงต้อง Import จากข้างนอก อะไรที่เป็น Discipline บริหารให้ดี

ตัวอย่างเช่น บริษัทใหญ่ในประเทศไทยที่ใช้คำว่าเครือ เช่นเครือซี.พี. แตกเป็นประมาณ 200 บริษัท เครือซีเมนต์ไทยก็มีหลายบริษัท ตอนภาวะเศรษฐกิจปี 39,40 เศรษฐกิจไม่ดี บริษัทล้ม ให้กลับไปใช้แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือประเมินว่า บริษัทจริง ๆ เราเก่งอะไรกันแน่ และมีความจำเป็นหรือไม่ที่ควรจะมีถึง 200 บริษัท จึงนำมาสู่ว่า ต่อไปนี้จะเก็บแต่ Core Business ที่เหลือขายทิ้งให้หมด ตัวอย่างปูนซีเมนต์ไทย สามารถใช้แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้วทำให้ผลการดำเนินงาน มีPerformance ดีกว่าแต่ก่อน หนี้ที่เคยติด 5 หมื่นแปดพันล้านบาท สามารถหายไป เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้สอนให้จน แต่สอนให้รวยอย่างไรให้ยั่งยืน ดังนั้นคือไม่จำเป็นต้องใหญ่ แต่ใหญ่อย่างไรให้ยั่งยืน ต้องมุ่งไปสู่สมดุล มั่นคง ยั่งยืนให้ได้

การร่วมแสดงความคิดเห็น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ความลึกซึ้งของ ดร.สุเมธ ไม่ได้แค่มาจากการบรรยายเท่านั้น แต่เป็นการสะสมประสบการณ์ของท่านเป็นการขยี้ประเด็น ให้ทุกท่านคิดสิ่งสำคัญคือ ชีวิตคนเราหยุดการเรียนรู้ไม่ได้ เราต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ใครจะถามหรือ Comment ให้กลั่นกรองและใช้ประสบการณ์

ตัวอย่างบทความของคนที่เรียน Computer Science ไปอยู่ในบริษัทชั้นนำคนหนึ่งได้รับเงินถึงปีละ 100,000 เหรียญ แต่เขาต้องการใช้แบบเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ส่วนที่เหลือไปสร้างมูลนิธิฯ โดยมีแนวคิดว่ายิ่งมีเงินมาก จะยิ่งบริโภคและโลภมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่สิ่งดี จึงอยากฝากให้คนในห้องทราบ (ต่างจากคนอเมริกาส่วนใหญ่ที่เมื่อได้เงินเดือนมากขึ้น ก็จะบริโภคมากขึ้นเรื่อย ๆ) เป็นบทเรียนว่า เมื่อ Income มากขึ้นแล้ว Donate ให้มูลนิธิฯ จะดีมาก

ยิ่ง Growth มาก ยิ่งใช้พลังงานมาก และใช้พลังงานมากจะตายที่ Sustainability

อยากให้ดูว่าสิ่งที่ Impact ต่อตนเอง องค์กร และประเทศคืออะไร

1. พฤติกรรมของตน ให้ประเมินตนเองหรือ Assessment ตนเอง องค์กรจะดีขึ้นได้อย่างไร ถ้าไม่รู้จักตนเอง

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ปัญหาการจัดการของไทยส่วนใหญ่มาจากการขาดการบริหารจัดการที่ดี 70% ไม่ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งก็คือคนไทย จะบริหารคนไทยให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร ในเรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความรู้และเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่ด้วยการเป็นปัญหาของข้าราชการเล็ก ๆ ในการปฏิบัตินำไปใช้ยากเนื่องจากถูกอำนาจอย่างอื่นครอบงำ

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

จริง ๆ เรื่องนี้เป็นปัญหาทั่วไปที่เจอกันบ่อย มีคนถามว่าทำไมเศรษฐกิจพอเพียงจึงไม่สำเร็จ เนื่องจากว่า ทุกคนดูเข้าใจแต่ไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างแท้จริงได้ เนื่องจากไทยไม่ค่อยมี Leadership และคนไทยชอบตามมากกว่าชอบนำ ดังนั้น เศรษฐกิจพอเพียงจะทำสำเร็จจริง ๆ ต้องเป็น National Movement ตั้งแต่ระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี เดินไปในกระแสเดียว ดังนั้น คือสำคัญที่ผู้นำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นเพียง Spiritual Leader มากกว่า ดังนั้น ในมุมข้าราชการเล็ก ๆ ให้ลองทำที่ตัวเองก่อน แล้วขยายกลุ่มไปที่เพื่อน ๆ จนกลายเป็นก้อนใหญ่

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยาย (ต่อ)

ร่วมแสดงความคิดเห็น

อยากเห็นกฟผ. ใน 10 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

อยากให้รักษา Spirit ของ กฟผ.ไว้ ที่มองมีรัฐวิสาหกิจหนึ่งเดียวที่สะดุดใจ ดร.สุเมธ คือ ดี มีวิสัยทัศน์ ตกลงกันง่าย ต่อเนื่อง เร็ว นับได้ว่าเป็นการจุติที่ดี ให้เก่ง ดี ยั่งยืน มองอนาคตได้ไกลต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น

โครงการคืนช้างสู่ป่านับว่าเป็นความภูมิใจที่ได้ทำร่วมกับทางมูลนิธิฯ เรื่อง Sufficiency Economy หลักการที่ขอใช้เรียนรู้ในการพัฒนาคือเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา อยากได้ข้อชี้แนะเรื่องหลักการนี้เพื่อไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

เรื่องเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา หมายถึงอะไรก็ได้ต้องเริ่มต้นด้วย 3 คำนี้

เข้าใจ หมายถึง พอประมาณ คือจะทำอะไรก็ตามต้องเข้าใจก่อนว่าทำอะไร เข้าใจในภารกิจ ในทุนของเรา ทำเรื่องที่เป็นสาระจริง ๆ ถ้าไม่เกิดความเข้าใจให้หยุดชะงักก่อนดีกว่าเดินไปข้างหน้า ให้รู้สภาพตัวเอง ให้เข้าใจ Demand ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้า กระแสที่เป็นนโยบายของรัฐควรมาจากไหน ต้องสร้างความเข้าใจและเผื่อแผ่ให้คนอื่นหรือ Stakeholder เข้าใจด้วย

เข้าถึง คือ Take Action หมายถึงสิ่งที่ทำนั้นถูกต้องหรือไม่ สร้างความเข้าใจ ต้องมีเครื่องมือในการบริหารจัดการ สู่แผนการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะว่าไม่ลืมข้อใดข้อหนึ่ง

ทั้งเข้าใจ และเข้าถึงนับได้ว่าเป็นหลักสากล ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การทำอะไรก็ตามต้อง Deep Dive แต่ละหัวข้อที่จะทำเพื่อชุมชนต้องใช้หลักเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา แต่ละคนมีศักยภาพมากที่จะทำต่อ ไม่ต้องกังวลเรื่องนโยบาย สร้างนิสัยในการใส่ข้อมูลให้เป็นระบบ ใช้ Social Media มากขึ้น

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ผู้นำในการจัดการเรื่องความพอเพียง กฟผ. บริหารเรื่องการจัดการเรื่อง Demand มาระยะหนึ่งเรื่อง หลอดเบอร์ 5 และให้โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ใช้ไฟฟ้าหลังเที่ยงคืน หรือสูบน้ำกลับไปเหนือเขื่อนแล้วปล่อยที่หลัง แต่ในอนาคตการบริหาร Demand อาจขยายไปด้านอื่นอีก

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

ทราบดีว่าทำ แต่อยากให้ทำมากขึ้น สร้างผู้นำทางความคิด เนื่องจาก กฟผ.เป็นที่ยอมรับของสังคม ถ้ารวมตัวกันก็สามารถสร้างกระแสดี ๆ ได้ อยากให้จับกลุ่มคนดี โดยเอากิจกรรมนำหน้า ให้จัดกิจกรรมรวมกลุ่มรุ่น 10 คิดเองทำเองว่าจะทำอะไร เช่นเรื่องน้ำ เรื่องช้าง เรื่องท่องเที่ยว

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ขอประชาสัมพันธ์เรื่อง SocialMedia ในกฟผ. ได้ตั้งเป็น Flagship Project สร้างสังคมดี ๆ ของคนกฟผ. เชื่อมโยงไปสังคมภายนอก แล้วใช้ Social Media เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ การให้ Knowledge เป็นสิ่งสำคัญที่ในการให้ความรู้ออกไปสู่ข้างนอกได้ จะเริ่มประมาณเดือน เมษายน 2557

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยายโดย ทีมงานวิชาการ Chira Academy

หัวข้อ ผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์ประกาย ชลหาญ

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ดำเนินรายการโดย อาจารย์ทำนอง ดาศรี

วันที่ 18 มีนาคม 2557

ณ ห้อง 278 อาคาร ท.100 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตบางกรวย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

- วัฒนธรรมมีระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ระดับองค์กร

- ในการดำเนินงานครั้งนี้ เรา Focus ไปที่ Social Innovation เป็นหลัก แนวคิดที่ได้จากการเรียนรู้เรื่องของ Social Innovation กับ กฟผ. ที่ได้คือ

1. การทำงานโดยมีการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้าเป็นการทำงานที่ไม่ตรงจุด ไม่ตรงประเด็น สิ่งที่ กฟผ. ต้องทำก่อนคือการวิจัยเพื่อให้รู้สถานการณ์จริง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชน

2. เจาะลึกและติดตามความต่อเนื่องของชุมชน มีการวางแผนการดำเนินงานให้ขัดเจนขึ้นและเน้นความต่อเนื่อง

3. ต้องสร้าง กฟผ. เป็นบ้านเดียวกับชุมชนไม่ใช่บ้านรั้วสูง สร้างทัศนคติใหม่ให้คนทุกระดับว่าเป็นคนระดับเดียวกัน

4. แนวคิดเรื่อง 1. Manager , 1 Community น่าจะดูแลชุมชนได้ดี กฟผ. อาจเป็น 1 เขื่อน หรือ 1 หัวหน้ากอง ต่อ 1 Community เป็นต้น

5. การเข้าชุมชน ชุมชนต้องมีหลายSilo ควรให้แต่ละ Silo คิดเหมือนกัน ชุมชนจะได้ไปด้วยกัน

6. การทำงานร่วมกับชุมชนต้องเอาชุมชนเป็นตัวตั้ง กฟผ. และลงลึกเรื่องการบริหารจัดการชุมชน

7. ปรับยุทธศาสตร์การสื่อสารทำความเข้าใจกับชุมชน โดยเน้นกลุ่มหลักที่เยาวชน

- ให้ศึกษาว่ามีอะไรบ้างที่เป็นจุดอ่อน และเป็นจุดแข็ง ที่จะขับเคลื่อน Case ทั้ง 7 Case ไปสู่ความสำเร็จ Role ที่ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คือ สร้าง Platform ให้เล่น

Workshop จาก ทั้ง 7 หัวข้อนี้ แต่ให้เพิ่มเติมว่า

Change อะไรบ้างเป็น Positive และ Negative อย่างละ 3 เรื่อง

วัฒนธรรมองค์กร คืออะไร ?

วัฒนธรรมองค์กร เป็นอะไรที่สังคมมองและปฏิบัติตาม วัฒนธรรมคือ Intangible หรือสิ่งที่มองไม่เห็น อย่างที่เห็น Classic ที่สุดคือ จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ เป็นต้น

ที่ กฟผ. กฟภ. กฟน. วัฒนธรรมองค์กรก็ไม่เหมือนกัน กฟผ. อยู่ที่สำนักนายก กฟภ. กฟน.อยู่ที่กระทรวงมหาดไทย ดังนั้น ก่อนที่จะเสนอแนะวัฒนธรรมองค์กรนั้น ตัวคุณเองจะเป็นคนที่รู้มากที่สุด ต้องทำให้หลุดจากกะลาครอบ หันมองตัวเองบ้าง

คน องค์กร ประสบการณ์สู่ความเป็นเลิศ

สิ่งสำคัญคือต้องรู้จุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง กฟผ.ทำหน้าที่อะไร กฟภ.ทำหน้าที่อะไร บทบาทไม่เหมือนกัน

คนในห้องนี้พูดถึง สมรรถนะ Individual Capability ศักยภาพ ถ้าไปเล่นแบดมินตันได้เหรียญทอง แต่ถ้าไปสร้างค่านิยมต่าง ๆ จะเป็น Victim of Success เป็น Victim of High standard

วัฒนธรรมองค์กรกับการเปลี่ยนแปลงเป็น Organization Value ถ้าขับเคลื่อนให้คุณเห็นในทิศทาง หัวข้อต้อง Relevance ฉลาด และ Execute โลกต้องผสมกันระหว่างสังคมข้างนอก และสังคมข้างใน

อาจารย์ประกาย ชลหาญ

การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่จะพูด คือการพูดแบบเปิดใจ และต้องการเปลี่ยน Mindset เพราะอุปสรรคที่สำคัญที่สุดของการเปลี่ยนแปลงคือ Mindset ต้องทำ Mindset ให้เปิดใจพร้อมที่จะ Shift คือ Paradigm Shift ให้เปลี่ยนตัวเองก่อนที่จะเปลี่ยนคนอื่น Jack Weltch บอกว่า ต้องเปลี่ยนก่อนจะถูกบังคับให้เปลี่ยน เพราะสิ่งแวดล้อมจะบังคับให้ตัวคุณเปลี่ยนตลอดเวลา ไหน ๆ สิ่งแวดล้อมจะบังคับให้เปลี่ยนทำไมไม่เปลี่ยนเอง

“Change Before you force to change otherwise is too late”

วัฒนธรรมองค์กร

ค่านิยมองค์กร เชื่อว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตต้อง Develop วัฒนธรรมเยอะแยะ ซึ่งมีทั้งดีและไม่ดี
มีอะไรที่ดีมากในหลาย ๆ อย่างของ กฟผ. แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ Performance หรือ Execution สิ่งที่อยู่ใน กฟผ.ได้ เพราะมีผลงานให้กับองค์กร แต่ถ้าไม่มีผลงานคุณจะละอายที่จะอยู่องค์กร สิ่งที่คุณคาดหวังต่อหัวหน้าและลูกน้องก็คือ Performance

Performance มาจากอะไร

ตัวอย่างเช่น ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ความต้องการที่จะทำ แรงจูงใจ ความรับผิดชอบ Role Model

Performance ถ้าวิเคราะห์ให้ดีในองค์กร มาจาก 2 ส่วนคือ

1. Competency ประกอบด้วย Knowledge ความรู้ แต่มี Knowledge ทำงานไม่ได้ ต้องมาสร้าง Skill ทักษะ ประสบการณ์ ต้อง Pay for ประสบการณ์

คำถาม ถ้ามีลูกน้องที่เก่งอยากให้ขยันหรือขี้เกียจ ถ้ามีลูกน้องไม่เก่งอยากให้ขยันหรือขี้เกียจ

คำตอบ ขยันหรือขี้เกียจไม่สำคัญ แต่สำคัญคือหลังจากมี Competency แล้ว

ดังนั้น Program อะไรที่คิดขึ้นมาต้องไปเสริมคนเก่ง

2. Motivation แรงจูงใจ ถ้ามีคนเก่งและไม่สามารถจูงใจให้คนทำงานได้ เขาก็ไม่ทำงานให้อยู่ดี เช่นบางครั้งไม่สบาย หรือไม่อยากทำงานเป็นต้น

ดังนั้นฝ่าย HR อย่าคิดอะไรที่ไม่ Motivate คนทำงาน ต้องศึกษาให้ดีว่าคนทำงานชอบอะไรกันแน่ ตัวอย่าง Sale บางคนได้ Commission จากการขาย บางคนไม่อยากได้ Commission จากการขาย ประเด็นคือเวลามอง Motivation ต้องเข้าใจลูกน้องของท่านเหมือนเข้าใจลูกค้า

ผู้นำต้องเก่ง 3 เรื่อง

1.การเปลี่ยนแปลง

2.Paradigm แนวคิด

3. Network สร้างคนที่มี Relationship หรือ Connection เพื่อเสริมให้งานดีขึ้น

แต่อย่างไรก็ตามต้องเก่งเรื่องคน

ปัญหาในการทำงาน

- ต้องเก่งเรื่องคน และเรื่องงาน เรื่องของความไม่ถนัด ไม่เชี่ยวชาญ

- ก่อนที่จะสรุปว่าปัญหามันเป็นอะไร ช่วยทำแบบหมอ คือ ต้องถามคำถามเยอะแยะเพื่อที่จะวิเคราะห์ว่าลูกน้องเป็นอะไร อย่าสรุปเอาเอง ความเป็นหัวหน้าต้องรู้จักวิเคราะห์ โดยการถาม คือต้องให้เวลากับคน เรามักจะมีข้อบกพร่องอะไรในการบริหารองค์กร เช่น ผมงานยุ่งมากจนไม่มีเวลาให้ลูกน้อง เพราะอาจเสียลูกน้องที่เก่งไป โดยไม่ได้ให้เวลากับเขา เรื่องตรงนี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

วัฒนธรรมองค์กร หรือค่านิยมองค์กร เกิดจากอะไร

- ในองค์กรที่อยู่มานาน ๆ วัฒนธรรมเหมือน DNA ในองค์กร แค่เดินผ่านก็สามารถ Sense ได้เลยว่าทำงานองค์กรนั้น ๆ

- โทมัส อัลวา เอดิสัน (ผู้ผลิตหลอดไฟ) คือผู้ก่อตั้งGE ผลิตแต่ไฟฟ้า ต่อมา GE มีสินค้าหลายอย่างเกิดขึ้น วัฒนธรรมองค์กรต้องเปลี่ยนหรือปรับ

วัฒนธรรมองค์กร มี 2 ค่า

1. Absolute Value – วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เปลี่ยนเช่น ความซื่อสัตย์ สุจริต แต่อย่างไรก็มีวัฒนธรรมองค์กรหลายอย่างที่เปลี่ยนเรียกว่า Intensive Value

2. Intensive Value – คือค่านิยมที่อยู่ในองค์กรเอง และภายใต้ค่านิยมใหญ่ ยังมีค่านิยมย่อยที่บางอย่างไม่เปลี่ยน แต่บางอย่างเปลี่ยนตามสังคม และวัฒนธรรม เช่น กฟผ. เน้นมุ่งงานเลิศ อาจเปลี่ยนเป็นมุ่งคนเลิศเป็นต้น

ค่านิยมเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของลูกค้า ชุมชน

วัฒนธรรมเปลี่ยนไปกับอะไร ได้บ้าง

- ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยี ภาษา ลูกค้า ชุมชน

- วัฒนธรรมที่ไม่เป็น Silo เรียกอีกอย่างว่า Boundary Least คือไม่มีจำกัด ไม่มีพรมแดน ต้องนึกถึงภาพรวมคือการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ไม่ต้องนึกถึงแผนกใคร หมายถึงพร้อมที่จะเปลี่ยน

การเปลี่ยนแปลง

ทำไมต้องเปลี่ยน อยากเปลี่ยนหรือไม่ และการเปลี่ยนง่ายไหม

ที่บอกว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องง่ายนั้นไม่ใช่เลย การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เป็นเรื่องจำเป็น

การเปลี่ยนแปลง มักจะมาจาก 2 สาเหตุด้วยกัน

1. การเปลี่ยนแปลงที่คุณเป็นผู้เริ่ม

2. การเปลี่ยนแปลงที่มีคนสั่งให้เปลี่ยน

ทั้ง 2 แบบ สิ่งที่จัดการง่ายกว่าคือสิ่งที่คุณเปลี่ยนเอง เพราะเป็นสิ่งที่ต้องการ มีแรงผลักดันให้เปลี่ยน หน้าที่คือต้องบริหารจัดการกับความต่อต้านที่จะเกิดขึ้นให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่าปล่อยอะไรให้เกิดขึ้นตามบุญตามกรรม ต้องเข้าไปจัดการการบริหารการเปลี่ยนแปลง ในองค์กรมี Module มี เทคนิค มีวิธีในการเข้าไปจัดการบริหารการเปลี่ยน ทุกการเปลี่ยนแปลงต้องมีผู้นำ และต้องมี Change Agent คือผู้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ให้เห็นประโยชน์

ส่วนใหญ่จะถามว่าเปลี่ยนแล้วได้อะไร ดังนั้นอยากเปลี่ยนอะไรให้สร้างให้เขาเห็นว่าเปลี่ยนแล้วได้อะไร สร้าง Vision ให้เห็นเสียก่อน ไม่ใช่ทุกการเปลี่ยนแปลงจะดีขึ้นเสมอ ถ้าจะดีขึ้นให้ดีขึ้นเยอะ ๆ แต่ถ้าจะแย่ให้แย่น้อยลง น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ ตัวอย่างเช่น สึนามิ ถ้าเกิดอีกต้องแย่น้อยลง โดยใช้วิธีการบริหารจัดการ

สรุปคือ เรื่อที่เน้นคือ ผลงาน ค่านิยม และวิธีการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง สร้างแนวร่วม และเป้าหมายให้คนเห็นร่วมกันเพื่อกระตุ้นให้เกิดขึ้น ให้ดี ๆ ที่สุดเท่าที่จะดี และแย่น้อยสุดเท่าที่จะแย่

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

นอกจาก Competency และ Motivation ต้องมีความอึด

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทั้ง 3 เรื่องต้องนำไปใส่ในการวิจัยโครงงานให้ได้

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

จะมองที่ How to คือเรารู้แล้วว่าต้องเปลี่ยน ต้องสร้าง Value

Adaptive Challenge ความท้าทายในการปรับตัว ผู้บริหารที่นำทีมต้องใส่ความคิดในการนำทีมตนเอง คนที่อยู่รอดได้ คือคนที่มีความสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นสิ่งที่ผู้บริหารต้องเตรียมคือต้องปรับตัวในเรื่องใดบ้าง ต้องมีแนวคิดสำหรับการเปลี่ยนแปลง Idea for change

ดร.นิชชี่ ที่ปรึกษา Jack Weltch บอกว่า

1. Structure System

2. คน หรือ Politic in the Workplace คือ เล่นพรรค เล่นพวก โปรโมทพวกเดียวกัน เราจะพยายามเปลี่ยนอย่างไร

3. เทคโนโลยี เราจะใช้อย่างไรในการบริหารงานและบริหารคน

Idea for change ต้องรู้ว่าอยากเปลี่ยนอะไร และตรงไหน

Adaptive Challenge ต้องมาดูว่าคนในองค์กรเข้าใจในระบบการทำงานหรือไม่ อันนำมาสู่การปรับตัวในการทำงานที่เรียกว่า Adaptive Leadership ใช้เวลากี่เปอร์เซ็นต์อยู่ที่ Dance Floor หรือที่ระเบียง ผู้บริหารหลายคนเข้ามาเล่นเอง ไม่ได้อยู่ในที่ที่กำกับดูแล และก็ควรระวังเรื่องการควบคุม สิ่งเหล่านี้จะทำอย่างไรให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่คือการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร

KFCI

1. Know me หมายถึง ลูกน้องกำลังเรียกร้องจากหัวหน้าว่า มาทำความรู้จักฉันหน่อยสิ ว่าฉันเป็นใคร ฉันอยากได้อะไร Passion ความมุ่งมั่นความตั้งใจในการทำงานเป็นอย่างไร

2. Focus me ถ้าหัวหน้ารู้จักลูกน้องเป็นรายตัว หัวหน้าต้องรู้จักการบริหารลุกน้องแต่ละคนไม่เหมือนกัน มี Motivational fit ไม่เหมือนกัน

3. Care ลูกน้อง การทำงานเป็นทีมในองค์กร เราบอกว่าเรารักกัน เราแสดงความรักกันอย่างไร ถ้าเรารักองค์กรหมายถึงเรารักงานที่เราทำ เรารักเพื่อนร่วมงาน เรารักคนที่ประสานงานติดต่อด้วย เราแสดงความรักนั้นออกมาอย่างไร

ในหลายองค์กร มี เลสเบี้ยน เกย์ เป็นกลุ่มคนที่มีอารมณ์ไม่เหมือนคนที่เป็นชายจริง หญิงแท้ ถ้าองค์กรไหนไม่สร้างวัฒนธรรมรับความแตกต่างของมนุษย์ อาจเกิดปัญหาต้องรับว่าเรื่องนี้เป็นความสำคัญ

4. Inspire me สร้างแรงบันดาลใจให้ลูกน้องในทีม อยู่ที่พฤติกรรมของหัวหน้างาน

สรุปคือ เริ่มจากการปลูกฝังให้ผู้บริหารรู้จัก 4 คำนี้ และต้องรู้จักลูกน้องตัวเองว่ามีพฤติกรรมแบบไหนต้องการอะไร ถ้าทำได้ สิ่งที่จะเกิดตามมาคือ ความรู้สึกรักองค์กร หรือเรียกว่า Engagement ตัวอย่างเช่นเวลาพนักงานได้ Promotion องค์กรแสดงการ์ดแสดงความยินดีไปที่บ้าน แสดงถึงการโชว์ให้เห็นว่าอยากให้ครอบครัวได้รับรู้และแบ่งปันความสำเร็จด้วย

พฤติกรรมผู้นำที่จำเป็นเพื่อขจัดในเรื่องการสื่อสาร

ถ้าแปลว่า Coaching ว่าสอนงาน หัวหน้างานจะแปลบทบาทเป็นครู คิดว่าถูกต้อง แต่จริง ๆ เป็นเรื่อง Conversation

ผู้นำต้องสร้าง Learning Culture

ผู้นำต้องสร้างให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ เป็นแบบ Emerging Learning แก้ปัญหาที่ละเรื่อง สร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ผู้นำต้องเป็นนักฟังที่ดี ในองค์กรที่กำลังเริ่มปรับตัว ตรงนี้คือจุดเปลี่ยนผู้บริหารของเราให้เปลี่ยน Mindset ทำได้

ที่ กฟผ.พูดว่า รักองค์กร มุ่งงานเลิศ มองที่คุณธรรม หมายถึงอะไร

1. ต้องตอบคำถาม What ให้ได้

2. ทำไมถึงสำคัญสำหรับ กฟผ.

3. อยากเห็นพฤติกรรมอะไร

สิ่งที่อยากให้ผู้บริหารองค์กรเห็นคือ เข้าใจ 3 ตัวนี้หรือยัง มีความหมายกับ กฟผ.และคนที่มาติดต่ออย่างไรบ้าง และถ้าต้องการบรรลุ 3 ตัวนี้ ให้มองไปที่พฤติกรรมที่ทำเพิ่มเติม มีพฤติกรรมอะไรที่เพิ่มเติมอีกบ้าง พฤติกรรมในอดีตเปลี่ยนไปตามสมัยได้ เราต้องถามว่า What we need to do more.

Workshop

วิเคราะห์เจาะลึกงานโครงการฯ เดิมของแต่ละกลุ่ม (แนวคิดที่ได้จากการเรียนรู้เรื่องของ Social Innovation กับ กฟผ. ที่ได้คือ)

กลุ่มที่1 การทำงานโดยมีการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้าเป็นการทำงานที่ไม่ตรงจุด ไม่ตรงประเด็น สิ่งที่ กฟผ. ต้องทำก่อนคือการวิจัยเพื่อให้รู้สถานการณ์จริง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชน

กลุ่มที่ 2 เจาะลึกและติดตามความต่อเนื่องของชุมชน มีการวางแผนการดำเนินงานให้ขัดเจนขึ้นและเน้นความต่อเนื่อง

กลุ่มที่ 3 ต้องสร้าง กฟผ. เป็นบ้านเดียวกับชุมชนไม่ใช่บ้านรั้วสูง สร้างทัศนคติใหม่ให้คนทุกระดับว่าเป็นคนระดับเดียวกัน

กลุ่มที่ 4 แนวคิดเรื่อง 1. Manager , 1 Community น่าจะดูแลชุมชนได้ดี กฟผ. อาจเป็น 1 เขื่อน หรือ 1 หัวหน้ากอง ต่อ 1 Community เป็นต้น

กลุ่มที่ 5 การเข้าชุมชน ชุมชนต้องมีหลายSilo ควรให้แต่ละ Silo คิดเหมือนกัน ชุมชนจะได้ไปด้วยกัน

กลุ่มที่ 6 การทำงานร่วมกับชุมชนต้องเอาชุมชนเป็นตัวตั้ง กฟผ. และลงลึกเรื่องการบริหารจัดการชุมชน

กลุ่มที่ 7ปรับยุทธศาสตร์การสื่อสารทำความเข้าใจกับชุมชน โดยเน้นกลุ่มหลักที่เยาวชน

Workshop

1. วัฒนธรรมองค์กรที่เป็นจุดแข็งคืออะไร 3 ข้อ และจุดอ่อนหรืออุปสรรคคืออะไร 3 ข้อ และควรจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความสำเร็จ 3 ข้อ

2. การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจุดแข็ง คืออะไร 3 ข้อ และจุดอ่อนหรืออุปสรรค คืออะไร 3 ข้อ และควรจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความสำเร็จ 3 ข้อ

สรุปจากทีมวิชาการ Chira Academy

Learning Forum หัวข้อกรณีศึกษาของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กับการก้าวสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

โดยคุณสมยศ รุจิรวัฒน์

รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)

วันที่ 19 มีนาคม 2557

ณ ห้อง 278 อาคาร ท.100 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตบางกรวย

การที่จะก้าวไปสู่อีกประเทศต้องมีประสบการณ์ ความรู้ ทักษะและเทคโนโลยี

บ้านปูเกิดปี 1983 เป็นแบบเหมืองเล็ก

เพียงแค่ 6 ปี มีความต้องการมากขึ้น performance สูงขึ้นทำให้เข้าตลาดหลักทรัพย์ปี 1989

ได้สัญญาขนดินและถ่านให้กฟผ.ถือเป็นทักษะพื้นฐานในการพัฒนาไปประเทศอื่นๆ

เข้าไปอินโดนีเซียนีเซียปี 1998

ปี 2001 ซื้อกิจการในอินโดนีเซีย

มีความท้าทายคือเริ่มจากเหมืองเล็ก มี skill ด้านอินโดนีเซียและซื้อกิจการต่อในอินโดนีเซีย

ปี 2007 เข้าตลาดหลักทรัพย์ในจาการ์ตา

การเข้าอินโดนีเซียทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมาก

เราเข้าไปจีนและออสเตรเลีย

ในจีน เป็นเหมืองใต้ดิน ตั้งแต่ปี 2003

ออสเตรเลียเป็นเหมืองใต้ดิน

ลงทุนโรงไฟฟ้าเล็กๆในจีน (Co-generation)

ลงทุนโรงไฟฟ้าโคโค่

ใช้ skill ไฟฟ้าโตต่อไป

เราเคยไปทำโรงไฟฟ้า Trienergy ที่ราชบุรีและขายไป

2 ปีที่ผ่านมา บ้านปูแย่ ความต้องการถ่านหินตกลงมา

เป็นบทเรียนว่า ธุรกิจที่ดีๆมักมีผู้เข้ามาแข่ง New Entrants เข้ามา

External factor เข้ามาตลอดเวลา

สิ่งที่เราทำเน้น synergy และ rationalize cost

เน้น organic asset ลงทุนไปแล้วแต่ยังไม่ได้สร้างรายได้ ก็ต้องขยายมากขึ้น

ตั้งแต่ที่ไทย เริ่มที่ 2 ล้าน

อินโดนีเซีย 4 ล้าน

ปี 2014 อินโดนีเซียเติบโตมาก

ที่จีน มีเหมืองคือกวางสี และเหอหนาน

เวลาไปลงทุนต่างประเทศ ในอนาคตเขาก็บังคับให้นำ partner ท้องถิ่นมาร่วมมากขึ้น

ในมองโกเลีย มี asset แต่ยังไม่ได้ขาย ยังไม่มี port ส่งออกนอกประเทศ ต้องมองต่อไป

ต้องมอง Chain ของ Coal

ในเรื่องคน ไทย จีน อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ลาว มองโกเลีย

มีคนอินโดนีเซียมากสุด

พอเรานำคนไทยไปทำงานมากขึ้น เขาก็ควบคุมคนทำงานเพื่อปกป้องคนในประเทศ จึงต้องสร้างคนอินโดนีเซียขึ้นมา เราต้องให้คนท้องถิ่นมีอำนาจบริหาร ลดสัดส่วนคนไทยลง

เราเพิ่งไปเปิดที่สิงคโปร์

มี 6 เหมืองในอินโดนีเซีย 10 เหมืองในออสเตรเลีย

ในอนาคต ถ่านหินอินโดนีเซียคุณภาพจะต่ำลง จะขายในตลาดพรีเมี่ยมไม่ได้

ออสเตรเลียถ่านหินมีคุณภาพสูง แต่ปัญหา ash สูง ต้องใส่ cost ล้างเข้าไป

นี่เป็นจุดที่ต้องเริ่มเข้าไปและก้าวไปข้างหน้า

การพัฒนาของบ้านปูมี 5 ขั้น

1. เริ่มต้น เริ่มจากเหมืองลิกไนต์เล็กๆ แรกสุดที่ลำพูน ต้องเชิญอาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้บริหารกฟผ.ไปช่วย ต่อมาทำที่ลำปาง ตอนนั้นไทยยังไม่คุ้นเคยกับถ่านหิน จีนขยายตัวทำให้ความต้องการน้ำมันมากขึ้นแต่ supply ขาด ทำให้เข้าไปในธุรกิจถ่านหิน

2. เจริญเติบโต ก็เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ทำให้องค์กรโปร่งใสมากขึ้น ต้องทำให้บริษัทมีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพมากขึ้น ต้องค้นหา Best Practices เรื่อยๆเริ่มมีความมั่นใจ ไปประมูลสัญญากฟผ.ขนดินและถ่าน เข้าไปในอินโดนีเซียนีเซีย มีพัฒนาการตั้งแต่ปี 1991 ทำให้ทราบแหล่งถ่านหินใหญ่ๆ เราซื้อหุ้นในเหมืองออสเตรเลีย เริ่มคุณเคยวิธีการทำงาน วัฒนธรรม กฎกติกา ทำให้มีพื้นฐานและเริ่มสะสมประสบการณ์ แล้วเข้าไปสู่ธุรกิจไฟฟ้า เราทำโรงไฟฟ้าเอง มีโรงไฟฟ้าโคโค่ อยู่ในมาบตาพุด นำทักษะการขุด ขนส่ง ไปร่วมทุนบริษัท MRD เชี่ยวชาญดินขาวไปขายธุรกิจยา

3. Crisis ช่วงต้มยำกุ้ง เราต้องกู้เงินไปลงทุน โรงไฟฟ้าโคโค่ และธุรกิจที่ส่งเสริมกฟผ. กู้เป็นดอลล่าร์ทำให้มีหนี้ ต้องขายโรงไฟฟ้าโคโค่ส่วนหนึ่งเพื่อเอาเงินมา แล้วในที่สุดก็ขาย 100% เศรษฐกิจดีขึ้น มีเงินเหลือจึงไปถือหุ้นในราชบุรี 10% ตอนนี้ขายหมดแล้ว เราเริ่มคิดว่า เวลากระจายธุรกิจออกไป การ diversify มาก ผู้บริหารจะมีเวลาน้อยลงที่จะสนใจธุรกิจกำไรมาก การทำธุรกิจให้ดี ต้องเป็นธุรกิจที่คุ้นเคยและทำซ้ำๆ ก็จะโต

4. Becoming a Regional and Local Coal-based Energy Player

ระบุว่าอะไรเป็นธุรกิจหลัก ขายธุรกิจรองเอาเงินมาใช้กับธุรกิจหลัก (Coal Champion Plus) เริ่มเข้าไปในอินโดนีเซียนีเซีย ที่อินโดนีเซีย ปัจจุบัน 30 ล้าน มีเหมืองใต้ดินที่จีน เรามีการขายเหมืองไปบ้างแล้ว การถือหุ้นต่ำกว่า 50% ต้องเปลี่ยนวิธีบริหาร ต้องควบคุม operation ต้อง manage partnership ซึ่งสำคัญมาก ที่อินโดนีเซียนีเซีย Facility สายพาน 12 กิโลเมตร ระบบสายพานเป็น closed จึงไม่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม ใส่เงินใน portเพิ่มกำลังผลิตจาก 10 ล้าน เป็น 20 ล้าน ขยายหน้าท่าให้รับเรือได้มากขึ้น ให้เรือ 95,000 ตันเข้ามาได้

5. consolidation and preparation of New Era of Growth

Cost rationalization & productivity

Capital planning

Synergy drive เช่น ไปเปิดที่สิงคโปร์ ปรับคุณภาพเข้าสู่ตลาดพรีเมี่ยม

Human resource development เปลี่ยนแนวคิดคน ต้องมีจิตสำนึกวิ่งไปในแนวที่เราต้องการ

Finance เรามี Loan มี currency เกี่ยวต้องมี protection ด้วย ต้องเพิ่ม skill ด้านนี้

Organic growth

CSR คือการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในการทำธุรกิจต้องมองสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย ต้องสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศที่ไปลงทุนด้วย

ในช่วงแรกอินโดนีเซียนีเซียขาดเงินและเทคโนโลยี จึงมี incentive ให้นักลงทุน ตอนหลังส่งเสริม technologytransfer ให้คนท้องถิ่นมากขึ้น เก็บภาษีมากขึ้น ควบคุมคุณภาพ มีโควตามากขึ้นในการขายในประเทศ

ต้องให้ความสนใจ public concern มากขึ้น จากการพัฒนาเหมืองที่ซื้อมา ชุมชนเปลี่ยนแปลง มีสนามบิน คนมีมาตรฐานความเป็นอยู่เปลี่ยนไป เขามีความคาดหวังมากขึ้น ต้องดูแลชุมชนเมื่อเราทำเหมือง ต้องมีกิจกรรมลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

สถาบันการเงินเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น มีคนมาตรวจดูด้านสิ่งแวดล้อม ถ้าต่ำกว่ามาตรฐานธนาคารไม่ออกเงินกู้ให้

Banpu Sustainable Development Framework

1. License to operate ให้ความสำคัญความปลอดภัย สุขภาพและสิ่งแวดล้อม พัฒนาชุมชน

2. Localization มีความโปร่งใสและจริยธรรมธุรกิจ

3. Competitiveness

ต้องสร้างคนให้มีคุณภาพ เริ่มตั้งแต่ยุทธศาสตร์ “Coal Champion Plus” มี Core process drive องค์กรให้ขับเคลื่อน องค์การก็ต้องปรับด้วย

Operation Excellence ต้องมี Best Practice มี Value Stream Management ฝ่ายสนับสนุนต้องเข้าใจ workflow ให้ดี ส่งเสริม Cross-functional work มากขึ้น ต้องสร้าง output เยอะ input น้อย cost ต่ำ

เทคโนโลยี ถ้าเราวางแผนเหมืองดี โดยเฉพาะเหมืองที่ซับซ้อน จะทำให้มีคุณภาพและไม่มีปัญหาเทคโนโลยีต้องช่วยส่งเสริม Productivity และประหยัดพลังงานด้วย

Key driver ของCompetitiveness

1. เทคโนโลยี

2. Integrated Mine Planning ทุกขั้นตอนทำเหมืองต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐ เพื่อที่จะได้รับใบอนุญาตและขยายธุรกิจได้ ต้องมีแผน 5 ปีก่อน

3. Project Management ธุรกิจพลังงานถ้าโครงการล่าช้า มีผลกระทบต่อการผลิตมาก ต้องมีทักษะการบริหารโครงการ

4. Asset Management ทำให้เกิดมาตรฐานการผลิต ใช้แม็กซิโม

5. Optimization แต่ละธุรกิจมีข้อจำกัดให้เลือกการบริหาร นำผู้เชี่ยวชาญออสเตรเลียมาดูผังเหมืองและปรับ sequence ฟรีดที่ใช้ทำเหมืองอะไรดีที่สุด มีคำถามมากใน Chain การผลิต

6. Reporting and Dashboard System ใช้ Enterprise Reporting System

7. Synergy Focus แต่ก่อนเราทำเหมือง แล้วไปหาลูกค้า ตอนนี้เราหาตลาดพรีเมี่ยม ดูช่องว่างแล้วเราจะพัฒนาหรือเป็นพันธมิตรธุรกิจอย่างไร เราสร้างหน่วยงานที่สิงคโปร์ ค้นหาความต้องการของลูกค้า แล้วพัฒนาหรือผสมผสานสินค้าให้ตรงตามความต้องการโดยสามารถผสมข้ามเหมือง และข้ามประเทศได้

ในด้านการบริหารคน เริ่มจากปรัชญาบ้านปูประกอบด้วย

1.Behavior ต้องการคนแบบไหน ในอนาคต ถ้าไปตลาดต่างประเทศมากขึ้น ต้องได้คนที่มีความยืดหยุ่นสูง เดินทางได้ ปรับตัวเปลี่ยนแปลง มีความคิดสร้างสรรค์

3.ต้องสร้างวัฒนธรรม

4.Brand Image นำผลสุดท้ายมาเป็นตัวตั้งออกมาเป็น

Banpu Spirit

1. Innovation

2. Integrity ความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์

3.สร้าง Care “Asian Face of Energy” มีความห่วงใยเอื้ออาทรกัน มีความยุติธรรม

4. Synergy

ผู้นำต้องสามารถขับเคลื่อนกระบวนการเหล่านี้ให้เข้มแข็ง

1. Recruitment

2.Right Pay จ่ายให้ competitive กับตลาด

3. Performance Management & Reward

4.Career Mangement

5.Leadership capability & development

6.Organization development สร้างบรรยากาศ crossfuncional team, effective community, Change management และ Banpu Spirit Enhancement

เรื่องการบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญ

ต้องเชื่อมโยงระหว่างระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว

ในด้าน Localization ช่วยพัฒนาประเทศที่เราไปลงทุน เป็น Investor of Choice ได้รับการต้อนรับจากทุกที่ ต้องมีความโปร่งใส มี risk protection เคารพกฎหมาย

License to operate

ด้านความปลอดภัย

1. Zero incident ต้องประเมินพื้นที่และป้องกัน ต้องมีระบบรายงานเมื่อเกิดเหตุ เมื่อเกิดแล้ว ต้องหาสาเหตุ

2.Zero repeat ต้องไม่เกิดเหตุการณ์เดิมซ้ำ

3.Zero compromise ไม่ทำไม่ได้

ด้านสิ่งแวดล้อม

1.อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต ปรับเปลี่ยนแหล่งเชื้อเพลิง ลดการใช้ทรัพยากร ปลูกป่าหลังการทำเหมือง โดยเลือกพรรณไม้ที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี

2.จัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น Green Mining Practice in ITM อนุรักษ์พรรณไม้หายาก

ด้านการสร้างความเข้มแข็งในชุมชน

นำรัฐบาล ชุมชน บริษัทมาสร้างเป็นกรรมการ CCC (Community Consultative Committee)

ต้องทำให้ชุมชนมีอาชีพหลังจากปิดเหมืองแล้ว ใช้หลัก OTOP มีวัตถุดิบอะไรผลิตสินค้าได้แล้วเราไปให้ความรู้เขา สร้างระบบการเงินเพื่อให้เขามีเงินเข้าไปลงทุน เราส่งเสริมให้เขามีสหกรณ์ขายสินค้าของเขา รวมแล้วคือเศรษฐกิจพอเพียงให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ สร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งรอบตัว

โครงสร้าง CSR ในระดับองค์กร

Banpu CSR ได้แก่

1.Power Green Project ให้เด็กมัธยมสมัครเข้ามาร่วมค่ายการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและดูแลสิ่งแวดล้อม หลังจบค่ายต้องทำโครงการขึ้นมา

2.Banpu Champions for Changes (Social Enterprise)

3.Embedded employees awareness on CSR (30 years, 30 CSR ideas) CSR theme คือ do by heart

4.Banpu education for sustainability เน้นพัฒนาพื้นฐาน ครูต้องดี จิตสำนึกต้องดี

ตอนนี้บ้านปูกำลังจะเข้าไปในธุรกิจไฟฟ้ามากขึ้น จะผลักดันให้ไปถึง 35% เพราะถ่านหินราคาต่ำทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่ำ

ในอนาคตอาจจะเน้น Co-conversion พลังงาน

คำถาม

คนที่ 1

เหมืองเปิดต่างจากเหมืองปิดอย่างไร

ตอบ

เหมืองปิดมีความซับซ้อนกว่า ใช้เทคโนโลยีต่างกัน เรื่อง Gas ที่ต้องบริหารมาก

มี fixed cost สูง ถ้ามีปัญหาในการดำเนินการ จะทำให้ cost per ton สูงขึ้น

คนที่ 2

บ้านปูมีการจัดการ Workforce diversity อย่างไรเมื่อไปต่างประเทศ

ตอบ

ต้องใช้วัฒนธรรมร่วมที่ 2 ประเทศมี อินโดนีเซียนีเซียเป็นประเทศมุสลิม ต้องจัดพื้นที่ละหมาด

การเข้าไปซื้อกิจการ เราก็ต้องเข้าไปทำความเข้าใจกับ union ก่อน

ต้องดูแลพวก Management กับUnion ให้ดีก่อน

เรารักษาผู้บริหารที่เป็นคนท้องถิ่นไว้ ใช้ระบบ Compensation ที่ดี สร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน

ต้องให้คนไทยที่ไปปรับตัวด้วย เข้าใจวัฒนธรรมเขา

ต้องทำให้เขาเห็นว่าเราเข้าไปสร้างความเจริญให้แก่ประเทศเขา เพราะเรานำเทคโนโลยีและความรู้เข้าไป

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยายโดย ทีมงานวิชาการ Chira Academy (ต่อ)

หัวข้อ ผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์ประกาย ชลหาญ

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ดำเนินรายการโดย อาจารย์ทำนอง ดาศรี

วันที่ 18 มีนาคม 2557

ณ ห้อง 278 อาคาร ท.100 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตบางกรวย

Workshop

1. วัฒนธรรมองค์กรที่เป็นจุดแข็งคืออะไร 3 ข้อ และจุดอ่อนหรืออุปสรรคคืออะไร 3 ข้อ และควรจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความสำเร็จ 3 ข้อ

2. การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจุดแข็ง คืออะไร 3 ข้อ และจุดอ่อนหรืออุปสรรค คืออะไร 3 ข้อ และควรจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความสำเร็จ 3 ข้อ

กลุ่ม 6 การทำงานร่วมกับชุมชนต้องเอาชุมชนเป็นตัวตั้ง กฟผ. และลงลึกเรื่องการบริหารจัดการชุมชน

จุดแข็ง จุดอ่อน
หรืออุปสรรค
ควรทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความสำเร็จ
วัฒนธรรมองค์กร 1. รักองค์การ

2. มุ่งงานเลิศ

3.เทิดคุณธรรม

1. ไม่สนใจหนทางที่ประสบความสำเร็จว่าไปเหยียบตาปลาใคร

2. ต่างฝ่ายต่างทำ ทำทุกอย่าง

3. ไม่มีเอกภาพ ไม่มีการบริหารทรัพยากรร่วมกัน

1. เพิ่มรักองค์กร เป็นรักประชาชน รักประเทศชาติ

2. มุ่งงานเลิศ เน้นงานที่อยู่ใน กฟผ.ทั้งหมด

3. นำจุดแข็งไปแสดงให้คนอื่นเห็น

4. เอาจุดแข็งมาปรับให้เป็นจุดแข็งมากยิ่งขึ้น

5. มีเจ้าภาพในการทำ

6. มองเป้าหมายระยะยาว เพราะเรื่องวัฒนธรรมเป็นเรื่องต้องทำและทำมานาน

จุดแข็ง จุดอ่อน
หรืออุปสรรค
ควรทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความสำเร็จ
การบริหารการเปลี่ยนแปลง ผู้นำยังไม่ค่อยออกไปหาประชาชนหรือแสดงตัวเท่าที่ควร 1. ต้องมีผู้นำที่เป็นคน Proactive

ออกไปพบประชาชน เป็นลักษณะผู้นำสัญญลักษณ์

2. ศึกษาวัฒนธรรมองค์กรอย่างจริงจัง

3. ผู้นำต้อง Endurance อดทนและทนทาน

4. ต้องเปลี่ยนแปลง Mindset ผู้บริหาร

5. ต้องสร้างการทำงานเป็นทีม

6. ต้องสร้าง Learning Organization ให้เกิดในกฟผ.

กลุ่มที่ 3 ต้องสร้าง กฟผ. เป็นบ้านเดียวกับชุมชนไม่ใช่บ้านรั้วสูง สร้างทัศนคติใหม่ให้คนทุกระดับว่าเป็นคนระดับเดียวกัน

จุดแข็ง จุดอ่อน
หรืออุปสรรค
ควรทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความสำเร็จ
วัฒนธรรมองค์กร 1. เป็นองค์กรที่มีคุณประโยชน์สูง

2. เป็นแหล่งเรียนรู้

3. เป็นแหล่งทุน

4. บุคคลากรมีความสามารถสูง

1. ปิดกั้นตัวเอง ไม่เปิดตัว

2. ความเป็นตัวตนสูง

3. มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง รักองค์กรมากและเทิดทูนองค์กรมาก

1. ให้แสวงหาเพื่อนร่วมงานเยอะ ๆ
จุดแข็ง จุดอ่อน
หรืออุปสรรค
ควรทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความสำเร็จ
การบริหารการเปลี่ยนแปลง 1. สนใจเฉพาะพฤติกรรมตนเอง 1. เปิดบ้านเชิญชวนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการใช้ทรัพยากร

2. สนับสนุนชุมชนให้เกิดประโยชน์

3. เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้าน

4. ศึกษาวิถีชีวิตของชุมชน

5. เลิกพฤติกรรมที่สนใจเฉพาะตนเอง มาสนใจชุมชนรอบข้าง และสิ่งแวดล้อมก่อน

กลุ่มที่ 2 เจาะลึกและติดตามความต่อเนื่องของชุมชน มีการวางแผนการดำเนินงานให้ขัดเจนขึ้นและเน้นความต่อเนื่อง

จุดแข็ง จุดอ่อน
หรืออุปสรรค
ควรทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความสำเร็จ
วัฒนธรรมองค์กร 1. ทำงานดี

2. มีงบประมาณเยอะ

3. บุคคลากรเข้าได้ทุกสถานการณ์

1. ทุกหน่วยงานมีความซับซ้อน

2. ขาดการประสานที่ดี

3. ไม่เข้าใจชุมชน ไม่รับฟังคนอื่น อยากทำ ๆ

จุดแข็ง จุดอ่อน
หรืออุปสรรค
ควรทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความสำเร็จ
การบริหารการเปลี่ยนแปลง 1. ปรับเปลี่ยนบุคคลากรที่จะสัมผัสชุมชน

2. มีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน

3. Management by Objective

4. ปรับโครงสร้างหน่วยงานที่รับผิดชอบให้เท่ากันทุกส่วน

5. นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อ Monitor โรงไฟฟ้า ลดการต่อต้านชุมชน

กลุ่มที่ 5 การเข้าชุมชน ชุมชนต้องมีหลาย Silo ควรให้แต่ละ Silo คิดเหมือนกัน ชุมชนจะได้ไปด้วยกัน

จุดแข็ง จุดอ่อน
หรืออุปสรรค
ควรทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความสำเร็จ
วัฒนธรรมองค์กร 1. เป้าหมายเดียวกัน

2. รับผิดชอบเต็มที่ ดีที่สุด

3. มีธรรมาภิบาล

1. วัฒนธรรมย่อยตามวิชาชีพ

2. ความแตกต่างระหว่างรุ่น

3. ขาดการบูรณาการ สนใจเฉพาะเรื่องตนเอง

1. สร้างการรับรู้ / บูรณาการรับรู้ร่วมกัน

2. การถ่ายทอด / ปลูกฝังวัฒนธรรมเดิมที่ดี แต่พร้อมรับวัฒนธรรมใหม่

3. ปรับให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

จุดแข็ง จุดอ่อน
หรืออุปสรรค
ควรทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความสำเร็จ
การบริหารการเปลี่ยนแปลง 1.มีการปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเสมอ

2.มีการทำงานข้ามสายงาน

3. นำนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาเสมอ

1. บางส่วนมีการปรับตัวช้า

2. ต้องใช้เวลาในการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น

3. ผู้บริหารบางท่านยังมีค่านิยมวัฒนธรรมเดิม รุ่นใหม่ยังไม่รู้วัฒนธรรม

1. สร้างวัฒนธรรมเข้าไปทุก Silo ในเป้าหมายเดียวกัน เพื่อให้มีมุมมองเดียวกัน

2. การสื่อสารให้มีทิศทางเดียวกัน

3. พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

กลุ่มที่1 การทำงานโดยมีการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้าเป็นการทำงานที่ไม่ตรงจุด ไม่ตรงประเด็น สิ่งที่ กฟผ. ต้องทำก่อนคือการวิจัยเพื่อให้รู้สถานการณ์จริง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชน

จุดแข็ง จุดอ่อน
หรืออุปสรรค
ควรทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความสำเร็จ
วัฒนธรรมองค์กร 1. มีรายได้จากโรงไฟฟ้า

2. เทิดทูนคุณธรรม

1. ผลประโยชน์ทับซ้อน 1. ดูแลในส่วนที่ต้องดูแล ดูแลอย่างไรให้เกิดความเหมาะสม

2. ทำอย่างไรให้เป็นองค์กรที่มีคุณธรรม

จุดแข็ง จุดอ่อน
หรืออุปสรรค
ควรทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความสำเร็จ
การบริหารการเปลี่ยนแปลง 1. สอนให้ชุมชนทำโครงการแบบ Master Plan

2. กำกับดูแลการใช้เงินให้เป็นตามที่กองทุนตั้งขึ้นมา

3. ดูแลชุมชนในลักษณะ Coaching มากกว่า Teaching

กลุ่มที่ 4 แนวคิดเรื่อง 1. Manager , 1 Community น่าจะดูแลชุมชนได้ดี กฟผ. อาจเป็น 1 เขื่อน หรือ 1 หัวหน้ากอง ต่อ 1 Community เป็นต้น

จุดแข็ง จุดอ่อน
หรืออุปสรรค
ควรทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความสำเร็จ
วัฒนธรรมองค์กร 1. มีการกระจายความรับผิดชอบเป็นพื้นที่กระจายทั่วประเทศ

2. กระจายตามวัฒนธรรม

3.การแบ่งความรับผิดชอบแต่ละที่

1. ต่างคนต่างทำ

2. มีความแตกต่างกันในการคุยกับชาวบ้านแต่ละพื้นที่

3. Focus เฉพาะกลุ่มหนึ่งที่ทำ กลุ่มอื่น ๆ ไม่มี

1. การสื่อสารและทำความเข้าใจกับชุมชน

2. การปรับทัศนคติในองค์กร

จุดแข็ง จุดอ่อน
หรืออุปสรรค
ควรทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความสำเร็จ
การบริหารการเปลี่ยนแปลง 1. ผู้บริหารมีความพร้อม 1. การแบ่งเป็น Silo ต่างคนต่างทำ 1.ทำอย่างไรให้การสื่อสารเป็นที่ยอมรับกับการเปลี่ยนแปลง

กลุ่มที่ 7ปรับยุทธศาสตร์การสื่อสารทำความเข้าใจกับชุมชน โดยเน้นกลุ่มหลักที่เยาวชน

จุดแข็ง จุดอ่อน
หรืออุปสรรค
ควรทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความสำเร็จ
วัฒนธรรมองค์กร 1.นโยบายผู้ว่าฯ มีหลายช่องทางในการถ่ายทอดเพื่อให้ระดับล่างเข้าใจระดับบน

2. มีการถ่ายทอดนโยบายชัดเจน

3. มีตัววัด

1. การถ่ายทอดบางครั้งมีหลายหน่วยงานแปลงนโยบายผิด

2.ผู้รับสารมีหลายกลุ่ม มีความรู้พื้นฐานต่างกัน ตีความต่างกัน

3. มีสหภาพแรงงานเป็นตัวหลักแต่ไม่เคยใช้เข้ามาช่วยในการสื่อสาร

1. ต้องมีการสื่อสารซ้ำ ๆ และสรุปประเด็นให้เข้าใจตรงกัน มีทิศทางเดียวกัน

2.ช่องทางสื่อสารอาจใช้สื่อบุคคล ดูให้เป็นประโยชน์มากที่สุด

3. มีการตรวจสอบว่านโยบายที่ให้ไว้ ผลต่อการปฏิบัติดีหรือไม่ ต้องทำให้กับรัฐบาลบางส่วน

จุดแข็ง จุดอ่อน
หรืออุปสรรค
ควรทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความสำเร็จ
การบริหารการเปลี่ยนแปลง 1. กฟผ.มีหน่วยงานและบุคลากรที่เชี่ยวชาญ

2. มีอุปกรณ์และเครือข่ายช่วยในการสื่อสารให้ถึงชุมชน

3. ผู้บริหารให้ความสำคัญและมีงบประมาณรองรับ

1. มีหลายหน่วยงาน ขาดเอกภาพ

2. บางหน่วยงานมีภารกิจต่างกัน ไม่มีความเชี่ยวชาญในการชี้แจงทำความเข้าใจ

3.ขาดความต่อเนื่องในการลงพื้นที่ ทำความเข้าใจกับชุมชน ไม่ฟังชุมชน

1. วางแผนแบบบูรณาการ มองในภาพรวมให้มีความต่อเนื่อง

2. คัดเลือกบุคลากรที่เหมาะสม อบรมและดำเนินการแบบมืออาชีพ

3. ให้ชุมชนบางกลุ่มมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน ช่วยกันสร้างความเข้าใจกันก่อน

อาจารย์ประกาย ชลหาญ

โทนที่จับประเด็นมาทั้ง 7 กลุ่มอยู่แนวเดียวกันหมด แสดงถึงเอกภาพ

จุดแข็ง คือใช้วัฒนธรรมที่มีอยู่ไปสอดแทรกกับชุมชนให้ได้ และพร้อมเปลี่ยนแปลง ใช้บุคลากรที่มีความสามารถ

จุดอ่อน พูดเรื่องการสื่อสารตลอด ไม่เคยเห็นองค์กรไหนไม่มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร เพราะคนมักรู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ และสิ่งที่ควรรู้มักไม่ควรรู้ ดังนั้นหลักการสื่อสารคือควรรู้ในสิ่งที่ควรรู้ในเวลาที่เหมาะสมและในปริมาณที่จำเป็น เป็นเรื่องของเนื้อหา Timing Population

เรื่องสหภาพ อย่างแบงค์อเมริกาไม่ค่อยมีปัญหากับสหภาพ เพราะทำงานร่วมกับเขา แล้วดึงจุดแข็งของสหภาพมาให้เกิดประโยชน์ แต่สำหรับ กฟผ.มีปัญหากับสหภาพหรือไม่

ในแต่ละองค์กร มี Hidden Leader เยอะมาก เราต้องใช้คนพวกนี้ ให้มีความน่าเชื่อถือจากสมาชิกสหภาพให้เกิดประโยชน์

ฝ่ายในองค์กรเยอะมาก ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำต้องไปดูที่โครงสร้างองค์กร ทั้งด้านตั้งและด้านนอน

เรื่อง Silo ตัวอย่างในประเทศตัวที่จะช่วย เรียกว่า CrossSelling ให้แต่ละฝ่ายเข้าใจกันในแต่ละฝ่าย

การพัฒนาตัวคุยให้กลืนกับชุมชนได้อย่างไร ต้องมี Procedure ในการทำ

การพูดกับชุมชนใช้ภาษาเดียวกัน ความกลมกลืนง่ายขึ้น ความต่อต้านน้อยลง

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ในแง่วัฒนธรรม พบว่าความเป็นเอกภาพมี แต่ต้องกลับไปทบทวนพฤติกรรมกรรมอย่างที่ต้องเพิ่ม ตอนไปชุมชน ทำไมต้องฟังคุณ พูดแล้วมีน้ำหนักหรือไม่ ทำอย่างไรถึงใช้วัฒนธรรมของเรา เรามีเอกภาพที่ดี แต่สิ่งที่ต้องเพิ่มเติมคือ Cross Selling และ Collaboration จะทำอย่างไรที่ทุกคนหันหน้ามาแล้วทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน

ถ้าเราบอกว่ามุ่งงานเลิศ ในรายละเอียดทำไมถึงขาดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ขาดพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขาดพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม สิ่งที่ได้ยินคือความมีเอกภาพ

เพราะเรามีอย่างนี้จึงมีพฤติกรรม 3 ข้อ มีการมองแบบ Outside in ต้องเพิ่มพฤติกรรมกี่เรื่องถึงสามารถเชื่อมชุมชนได้

องค์กรต่างประเทศต้องตอบคำถามว่าจะทำอย่างไรให้คนอ่านเข้าใจ ต้องเก่งเรื่องการใช้ภาษาในการสื่อสาร มี Marketing mind เราจะสื่อสารกับคนข้างนอกให้เชื่อได้อย่างไร เราจะทำอย่างไรกับกิจการของเรา

การสื่อสารไม่ว่าภายในภายนอก ต้องตั้งคำถาม เพราะว่าฟังแล้วไม่เข้าจุด พูดอะไรก็แล้วแต่ไม่เข้าในใจเลย แต่ละท้องถิ่นมีวัฒนธรรมแตกต่างกันต้องใช้ Expert หรือ Guru การโยงการสื่อสารต้องโยงใน Partnership กับ Networking

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอชื่นชมทุกกลุ่ม และจะไปอ่านอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง และจะทำ Matrix ว่าโต๊ะไหนมีอะไรและพูดอะไรบ้าง จุดอ่อนต่าง ๆ ดร.จีระ จะไปทำ และขอให้อาจารย์กิตติพูดถึงงานวิจัยให้ Synergize กัน

อย่างที่กลุ่ม 1 พูดเป็นอะไรที่นำไปปฏิบัติได้ แต่สรุปคือ จะนำทั้งหมดขึ้นรายการทีวี TGN อีกครั้งหนึ่ง

วัฒนธรรมองค์กร กับ Change Vision เราต้องกลับไปดูยุทธวิธีการสร้าง Talent ในองค์กร

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน ปัญญา แบ่งปัน เป็นสิ่งที่กฟผ.มีครบแล้วขอให้ทำต่อไป

สรุปจากทีมวิชาการ Chira Academy

Panel Discussion

หัวข้อTQM/SEPA: ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

โดยคุณโชติรสเสวกวัฒนา

ผู้เชี่ยวชาญระดับ 12การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

อาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยากุล

คุณปิติ ศรีสุขสมบัติ

ผู้จัดการฝ่ายบริหารคุณภาพองค์กร ปตท.

ดำเนินการอภิปราย โดย อาจารย์ทำนอง ดาศรี

วันที่ 19 มีนาคม 2557

ณ ห้อง 278 อาคาร ท.100 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตบางกรวย

คุณปิติ ศรีสุขสมบัติ

ปตท.เคยเข้าใจว่า ISO คือมาตรฐานสากล แต่จริงๆมันสามารถใช้ได้ทุกอุตสาหกรรม แต่มันก็พัฒนาให้เกิดความเป็นเลิศขึ้นมาเรื่อยๆ

ที่ระยอง ทำ Pilot project จนได้ TQA นำความรู้ตรงนี้ไปใช้กับ ท่อก๊าซ จนได้ TQA 2 แห่ง

ปตท.ทำแล้วได้ระบบและได้ระบบ performance

ปตท.เป็น leader ด้าน plant

ปตท.เป็นที่ 2 ของโลกในการดูแลระบบท่อ

ปตท.เน้น Big, Long, Strong

ปตท.ตั้งเป็น Top Quartile performance 25% ของโลก

ปตท.เน้นสามเหลี่ยมแห่งความยั่งยืนประกอบด้วย HPO, CG และ CSR

ค่านิยมปตท. SPIRIT คือคนเก่งและคนดี

ปตท.มีเครื่องมือในการพัฒนามากมาย

ผู้บริหารต้องชี้นำ สื่อสารเป้าหมาย กระตุ้นพนักงาน ทำให้ยั่งยืนโดยปฏิบัติจนเป็นชีวิตประจำวัน ผู้ว่าการปตท.พูดกับพนักงานทุกระดับเสมอ

กลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญที่จะบรรลุเป้าหมาย สิ่งสำคัญคือ Action Plan

วันนี้ปตท.พบปัญหาตัวชี้วัด เรามักวัดสิ่งที่เราอยากวัด แต่ไม่ใช่สิ่งที่ควรจะวัด

ควรนำประเด็นสำคัญการประชุมไปหารือเพื่อเป็นตัวชี้วัด

ต้องทำให้ลูกค้าอยู่กับปตท.นานๆ

ปตท. เน้น Assess, Acquire และ Apply ทุกคนที่ไปดูงานต้องนำความรู้กับมาแบ่งปัน

ปตท.เน้น BCM (Business Continually Management) ทำงานต่อได้แม้เกิดวิกฤติ

Key factors สำหรับส่งเสริมความเป็นเลิศของปตท.

Continuous Improvement

Excellent Leadership

Open Mind

ปตท.จะเป็นผู้ขายเทคโนโลยี

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

องค์กรที่ก้าวหน้าต้องใช้เครื่องมือมาก

ผู้นำมีหน้าที่ 4 ข้อ คือต้องชี้นำ สื่อสารเป้าหมาย กระตุ้นพนักงาน ทำให้ยั่งยืน

อาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยากุล

ผมได้รับเชิญให้มาทำ EGAT Way

EGAT วันนี้อยากไป TQM โดยใช้ EGAT Way เพื่อเป็น HPO

เราต้องมี EGAT Way เพราะจะดึงคนเก่ง คนดีเข้ามา

TQM คือบริหารองค์กรให้ดี

SEPA และ TQA เป็นเพียงรางวัล แต่ต้องมีวิธี

ผู้นำแต่ละระดับต้องทำอย่างไรใน EGAT Way

จุดมุ่งหมายสู่ HPO คือต้องเห็นผลงาน

ผู้บริหารต้องผลักให้เกิดผลงาน มีตั้งแต่เหตุและผล ติดตามตลอดจากเหตุจนถึงผล

ทำ TQM เพื่อเห็นผลงานต้องเริ่มจากเป้าหมาย จะได้รู้ว่าไปอย่างไร

บางทีปัญหาคือกฟผ.มีข้อมูลมากแต่ขาดการบูรณาการกัน

HPO คือองค์กรมีความสำเร็จและ Performance โดยต้องบริหารเหตุและติดตามผล ต้องเป็นสิ่งที Stakeholder ปลายทางอยากได้จริงๆ

เวลาตั้งเป้าหมายการอบรม ต้องวัดว่าคนอบรมแล้วทำงานได้หรือไม่

องค์กร HPO ต้องมีทั้งความสำเร็จและความสุขด้วย

EGAT Way ต้องการให้ความสำเร็จและความสุขไปด้วยกัน ต้องเป็นทั้งของหน่วยงานและ Stakeholder ไม่ต้องรอให้สำเร็จจึงสุข

ความสุขมาจากบุคลากรและระบบบริหารจัดการ

ปรัชญาการบริหาร กฟผ.มี QWP

ค่านิยมต้องถูกแปลงให้เป็นวัฒนธรรม

TQM กับธุรกิจต้องขับเคลื่อนกัน

ภายใต้การเปลี่ยนแปลงในอนาคต กฟผ.จะต้องจัดรูปแบบการบริหารอย่างไร

คุณโชติรสเสวกวัฒนา

คนกฟผ.จะมีความสุขเมื่องานสำเร็จ

เราเอา SEPA มาผูกกับผลงานและเป็นโบนัสของพวกเรา

SEPA เป็นเครื่องมือปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์กรนั้นๆ และถือเป็นภาคบังคับ

SEPA เริ่มเข้ามาในกฟผ. ก็คล้ายๆกับ ปตท.

SEPA มี 7 หมวด คะแนนใช้ 6 หมวด ผลลัพธ์ไม่ใช้มาคิดคะแนน

ผลลัพธ์ที่ดีต้องมาจากระบวนการที่ดี

SEPA เน้นความต้องการของลูกค้า

ต้องมีการพัฒนาบุคลากรให้มี customer centric

กฟผ.ก็ต้องใช้ international benchmark

อุปสรรค SEPA คือ

ไซโล มองเฉพาะสิ่งที่เรารับผิดชอบ ทำในสายของตนเอง

ขาดการเชื่อมโยง

Work Process เป็นแบบ Engineering Base มีกระบวนการแข็งแรงแบบ Inside out มากกว่า Outside in

แม้ไม่คิดคะแนนผลลัพธ์ แต่ก็เป็นสิ่งที่ยืนยันกระบวนการว่าดีหรือไม่

กฟผ.ตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบแต่ละหมวดเพื่อทำ SEPA

จิราพร ศิริคำ ฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า

ประเด็นการเรียนรู้ในการอบรมในวันที่ 18 มีนาคม 2557

เช้าวันนี้เราจะเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิชัยพัฒนา (พระราม 8) และเยี่ยมคารวะ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา แต่เป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างมาก ที่ไม่ได้ไปด้วย เนื่องจากมีประชุม คบ.รวผ. ซึ่งต้องเข้าประชุมแทน อผฟ.

อย่างไรก็ตาม พี่ๆ เพื่อนๆ ก็ได้มาเล่าให้ฟังว่า การศึกษาดูงานวันนี้ดีมากๆ มีความประทับใจมาก ในการพูดถึง กฟผ. ในทางที่ดีเยี่ยม ทำให้หลายคนมีความภูมิใจในองค์การ กฟผ. (ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ให้แง่คิดดีเยี่ยม)

จากที่ได้ศึกษาจาก เอกสารการบรรยาย “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่แจกมา มีประเด็นและเนื้อหาสำคัญที่ได้เรียนรู้ ดังนี้

  • ปัญหาของโลกปัจจุบันนี้ เกิดจากกการบริโภคที่เกินพอดี (มีการพัฒนามาก ก็จะบริโภคมาก และบริโภคอย่างฟุ่มเฟือย)
  • มนุษย์ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนของชีวิต

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทางสายกลาง กล่าวคือ พอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ภายใต้ 2 เงื่อนไข 1) เงื่อนไขความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) 2) เงื่อนไขคุณธรรม (ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน สติปัญญา แบ่งปัน) เพื่อนำไปสู่ “ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สมดุล มั่นคง ยั่งยืน”

เศรษฐกิจพอเพียง ควรจะมีการกำหนดความพอดี 6 ประการ คือ

1.ความพอดีด้านจิตใจ

2.ความพอดีด้านสังคม

3.ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4.ความพอดีด้านเทคโนโลยี

5.ความพอดีด้านเศรษฐกิจ

6.ความพอดีด้านการเมือง

แล้วจะทำอย่างไร เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง... “ต้องพลิกใจ พลิกความคิด”

“พลิกอ่อนแอ เป็นแข้มแข็ง

พลิกจากไม่มี เป็นมี

พลิกรู้จักแต่ใช้ เป็นรู้จักเก็ย

พลิกแตกแยก เป็นพลัง

พลิกคิดถึงแต่ตัวเอง เป็นแบ่งปัน

พลิกแห้งแล้ง เป็นชุ่มชื้น

พลิกปัญหา เป็นทางออก

พลิกทุกข์ เป็นสุข”

... พลิกใจให้เพียงพอ เพื่อความสุขที่ยั่งยืน...

=====================================

สำหรับในช่วงบ่าย ได้มารับการอบรมต่อที่ กฟผ. ในหัวข้อ ผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยมี ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ประกาย ชลหาญ ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ และมีอาจารย์สุภวัส วรมาลี เป็นดำเนินรายการ มีประเด็นและเนื้อหาสำคัญที่ได้เรียนรู้ ดังนี้

วัฒนธรรมองค์กร ของ กฟผ. คือ “รักองค์การ มุ่งงานเลิศ เทิดคุณธรรม” ซึ่งได้บ่งบอกถึงลักษณะ คุณสมบัติเฉพาะ ของ กฟผ. ได้ค่อนข้างชัดเจน

อย่างไรก็ตาม มีความเห็นว่า วัฒนธรรมตัวแรก “รักองค์การ” นั้น เหมือนกับสั่งสอนคน กฟผ. ให้รักแต่ตัวเอง ซึ่งจะเป็นอุปสรรค ในการดำเนินงานของ กฟผ. ทั้งนี้ ควรจะพิจารณาปรับปรุง (ให้รักคนอื่น และแบ่งปันคนอื่นด้วย) เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม ให้การดพเนินงานในอยาคตของ กฟผ. ประสบความสำเร็จ

ผู้นำ ต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง โดยที่

  • ต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง
  • ต้องปรับ Mindset
  • ต้องพร้อมี่จะเปลี่ยนด้วยตัวเอง ก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน (Jack Welch – “Change before you are forced to change, otherwise it is too late”)

Performance ในองค์กร มาได้จาก 2 ส่วน ได้แก่

1.Competency

2.Motivation

ผู้นำต้องเก่ง 3 เรื่อง

1. Change - การเปลี่ยนแปลง

2. Thinking Paradigm - แนวคิด

3. Network and Connection สร้างคนที่มี Relationship หรือ Connection เพื่อเสริมให้งานดีขึ้น

ทั้งนี้ ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) จะต้องมีทักษะ หลายด้าน

  • Adaptability
  • Strategic Focus
  • Result Focus
  • Foster a Collaborative Approach
  • Facilitate Openness and Understanding
  • Encourage Learning
ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยายโดย ทีมงานวิชาการ Chira Academy

กิจกรรมกลุ่ม : นำเสนอผลการเก็บข้อมูลงานวิจัยและแนะนำแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล

โดย อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

วันที่ 18 มีนาคม 2557

ณ ห้อง 278 อาคาร ท.100 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตบางกรวย

กลุ่ม 1 หัวข้อ “การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) : ศึกษากรณี โครงการการเดินเครื่องและบำรุงรักษาใน สปป.ลาว”

กลุ่ม 2 หัวข้อ “การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าของกฟผ.”

กลุ่ม 3 หัวข้อ “ยุทธศาสตร์สร้างการยอมรับต่อความสำเร็จในโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่”

กลุ่ม 4 หัวข้อ “การศึกษาทัศนคติของคน กฟผ.ต่อการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่”

กลุ่ม 5 หัวข้อ “ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความร่วมมือของชุมชนต่อการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าของกฟผ.”

กลุ่ม 6 หัวข้อ “การศึกษาเรื่องปัญหาการสื่อสารใน EGAT Group เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพใน EGAT Group”

กลุ่ม 7 หัวข้อ “ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการได้รับค่าทดแทนที่ดินต่อผู้ได้รับผลกระทบ”

กลุ่ม 6 หัวข้อ “การศึกษาเรื่องปัญหาการสื่อสารใน EGAT Group เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพใน EGAT Group”

เนื่องจากการสื่อสารภายในองค์กรยังไม่มีอะไรที่เป็นระบบเลย ถ้าเรามีการสื่อสารภายในที่ดีจะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพใน EGAT Group ได้

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

- หัวข้อให้เป็นการศึกษาเรื่องปัญหาการสื่อสารในองค์กร EGAT Group เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพใน EGAT Group

กลุ่ม 2 หัวข้อ “การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าของกฟผ.”

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

- เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีต่อสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ศึกษาว่าสัดส่วนที่ควรจะเป็นควรเป็นเท่าไหร่ อะไรที่มีผลต่อการกำหนดสัดส่วน

- ปัจจัยไหนที่ส่งผลการผลิตของ กฟผ. ปัจจัยไหนเป็น Priority แรกที่ Attack ได้

- เวลาทำ Recommendation ต้องพัฒนาไปสู่การสร้างโครงการที่เรียกว่า Approach

กลุ่ม 5 หัวข้อ “ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความร่วมมือของชุมชนต่อการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าของกฟผ.”

คือทำให้ชุมชนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆของ กฟผ.

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

การที่กฟผ.ร่วมมือได้ Stakeholder คือชุมชน การพัฒนาพลังงานของกฟผ.มีอุปสรรคคือ ชุมชนไม่ให้ความร่วมมือ ต้องคิดว่าทำไมชุมชนไม่ให้ความร่วมมือ เช่นพวกหนึ่งไม่รู้ อีกพวกหนึ่งตั้งแง่ ค้านอย่างเดียว เปลี่ยนเป็น ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความร่วมมือต่อการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าของกฟผ.

กลุ่ม 3 หัวข้อ “ยุทธศาสตร์สร้างการยอมรับต่อความสำเร็จในโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่”

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

ปัญหาคือการต่อต้านคนส่งผลให้สร้างไม่ได้หรือไม่ แต่ธงออกมาแล้วว่าต้องสร้าง ดังนั้นจะทำอย่างไรให้สร้างให้ได้

มีลักษณะเฉพาะเป็นเชิงพื้นที่ และการก่อตั้งด้วย

หลักคือ โรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่กระทบการท่องเที่ยว เขาศึกษาเฉพาะ การดำเนินงานเพื่อสร้างการยอมรับ จึงต้องทำอย่างมียุทธศาสตร์

กลุ่ม 1 หัวข้อ “การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) : ศึกษากรณี โครงการการเดินเครื่องและบำรุงรักษาใน สปป.ลาว”

ปัญหาคือ ถ้าหาคนไปที่ลาวไม่ได้ Effect ต่อ กฟผ.หรือไม่ ทำอย่างไรให้มองว่าการไปทำงานที่ลาว ก้าวหน้า และพิเศษขึ้นมา

ปัญหาปัจจุบันคือแรงจูงใจไม่ดีพอ คนที่จะไปทำงานที่ลาวปัญหาคืออะไร แรงจูงใจปัจจุบันพอหรือไม่ที่จะสร้างแรงจูงใจให้คนทำงานที่ลาวเยอะขึ้น

ข้อสังเกตจากคนในกฟผ.โครงการเดินเครื่องมี 2 โครงการคือน้ำงึม 2 และหงสา มีความแตกต่างในระดับสูงหรือระดับกลาง ที่น้ำงึม 2 ไม่น่ามีปัญหา เวลาคนกลับมาก็มีคนพร้อมที่จะไปทำงานแทน แต่ปัญหาอาจจะอยู่ที่โรงไฟฟ้าหงสา อย่างเช่นเรื่องสเป็กคน ผู้บริหารที่จะเข้าไปดูแล และเรื่องภาษี

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

กลุ่มนี้ต้องระบุให้ชัดว่าปัญหาอยู่ที่ไหน เพราะว่าบางแห่งอย่างที่น้ำงึมคนอยากไป

ให้ดูว่าแรงจูงใจที่ไม่เวิร์กพอ เพราะอะไร ที่ไม่เวิร์กอาจเป็นที่หงสาหรือไม่ เวลาทำ Recommendation ต้องดูว่าจะต้องสร้างอะไรเพิ่ม

ผู้เสนอโครงการ

โครงการน้ำงึม สัญญาไม่เหมือนกัน แต่หงสาไป Main Character กับเจ้าของโรงงานโดยตรง รับทั้งหมด ดังนั้นแบบสอบถามจะไปทำงานที่น้ำงึมด้วยว่า Happy เพราะอะไร

โครงการหาสาใครมีบ้านพัก มีแฟลต แม่เมาะ โครงการหงสาอาจหายไป วิธีคิดไม่เหมือนกัน ทำให้คนเปรียบเทียบกัน ว่าเนื้องานอาจหนักขึ้น แต่ได้ไม่เท่ากัน

ให้ดูสภาพแต่ละพื้นที่ และตำแหน่งที่รับผิดชอบ ให้ดูให้ชัด

รุ่นน้ำงึมเป็นรุ่นบุกเบิก ตอนหลังอาจไม่จำเป็น

กลุ่ม 4 หัวข้อ “การศึกษาทัศนคติของคน กฟผ.ต่อการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่”

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

คำถามแรก คือมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ที่ลงลึกคือทำไมไม่เห็นด้วย ให้เริ่มจากปัญหาก่อน

1. กฟผ.เลี่ยงไม่ได้ในการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ทุกอันต้องทำ ไม่ทำไม่ได้ โรงไฟฟ้าใหม่อย่างไรต้องสร้าง คนกฟผ.ต้องทำให้เห็นว่าทำไงต้องทำ

2. เน้นการปรับทัศนคติ Mindset ของ กฟผ.ให้ไปในทิศทางเดียวกันให้องค์กรเคลื่อนไปอย่างองคาพยพ ไม่ค้าน

3. โรงไฟฟ้าใหม่ที่พูดถึงคืออะไร อยากดูว่าอันไหนที่เห็นด้วย สร้างโรงไฟฟ้าใหม่ในรูปแบบไหนที่คนในกฟผ.ค้านน้อย จะดูภาพรวมหรือดูเฉพาะเจาะจง ต้องให้ชัดว่าทำไมต้องเอาอันนี้

4. ควรมี Recommendation เองว่าโรงไฟฟ้าใหม่น่าจะทำแบบไหน มีทางเลือกให้กฟผ.หรือไม่

กลุ่ม 7 หัวข้อ “ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการได้รับค่าทดแทนที่ดินต่อผู้ได้รับผลกระทบ”

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

จากหัวข้อ “การศึกษาความเหมาะสมของค่าทดแทนที่ดินเพื่อให้เกิดความพึงพอใจต่อผู้ได้รับผลกระทบ” ดูปัญหาเป็นเรื่องปัจเจก โจทย์แบบนี้ต้องการตอบอะไร

ราคาอิงกับการประเมินที่ดิน ไม่ให้ต่ำกว่าราคาประเมินที่ดิน หาบทสรุปความพึงพอใจกี่บาทหาไม่ได้เนื่องจากเป็นเรื่องปัจเจก ถ้าการไฟฟ้ามีหลักเกณฑ์ชัดเจนเพื่อ Convince ให้ กพค.ยอมรับค่อนข้างง่าย โจทย์ใหม่คือ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการได้รับค่าทดแทนที่ดินต่อผู้ได้รับผลกระทบ

1.หาตัวเลขที่เหมาะสมของค่าทดแทน ตัวเลขได้มาอย่างรวดเร็ว อะไรที่ทำให้พอใจ แผนดูว่าเขาพอใจหรือไม่

2. ปัจจัยที่จะ Happy กับเงินต่างกัน ความพอใจไม่ใช่เรื่องเงินอย่างเดียว เช่น การทำ CSR ปัจจัยอะไรบ้างที่สร้างให้ที่ความพอใจนอกจากเงินด้วย

กลุ่ม 2 หัวข้อ “การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าของกฟผ.”

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

สัดส่วนการผลิต คนกฟผ.ทุกคนไม่ได้มีส่วนเรื่องนี้ อะไรเป็นตัวแรกยืนยันว่าเท่าไหร่ คนให้ข้อมูลต้องเป็น KeyPerformance อีกส่วนหนึ่ง คือไม่สามารถสัมภาษณ์หว่านได้ สิ่งที่ต้องทำคือ Review Literature สิ่งที่ทำแล้ว มีหลักฐานอะไรยืนยันว่าต้องเป็นอย่างนั้น

รายละเอียดโครงการวิจัย

1.ชื่อหัวข้อวิจัย

2. สมมุติฐาน

3. ขอบเขต

4. วัตถุประสงค์

5. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องหรือเป็นหลักของหัวจ้อวิจัยนี้

6. เหตุจูงใจในการเลือกทำหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่องนี้

7.วิธีวิจัยที่จะใช้ในการทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ (เป็นแบบการวิจัยเอกสารการวิจัยสนามหรือการวิจัยแบบอื่นใด)

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษาเรื่องนี้

โครงร่างการศึกษาวิจัย

- ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

- การทบทวนวรรณกรรม

- ระเบียบวิธีวิจัย

- ผลการศึกษาวิจัย

- สรุป และข้อเสนอแนะ

ส่งงาน

รายละเอียดโครงการวิจัย

การเลือกหัวข้อแล้ว ต้องหาข้อมูลยืนยัน ขอให้ทุกกลุ่มส่ง Review ภายใน 11 เม.ย. 57

จิราพร ศิริคำ ฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า

ประเด็นการเรียนรู้ในการอบรมในวันที่ 19 มีนาคม 2557

หัวข้อ กรณีศึกษาของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กับการก้าวสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

โดย คุณสมยศ รุจิรวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้ที&บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)

วันนี้ ได้มาเรียนรู้ประสบการณ์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จในการก้าวสู่ธุรกิจพลังงานในระดับภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค ว่า บ.บ้านปู เกิดและโตมาอย่างไร มีแนวทางวิธีการดำเนินธุรกิจพลังงานอย่างไร มี Strategies ในการทำธุรกิจอย่างไร

บ.บ้านปู เกิดในธุรกิจถ่านหิน และธุรกิจต่อเนื่อง (เช่น เหมืองดินขาว) และมองหาขยายธุรกิจในประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย

หลังจากดำเนินธุรกิตถ่านหินมาพอควร ก็หันหรือเริ่มมองธุรกิจที่ต่อเนื่อง เพื่อ Diversify ธุรกิจ ไปทำธุรกิจผลิตไฟฟ้า บ. แรกคือ บ. “COCO” บ.ผลิตไฟฟ้าแบบ Cogeneration

ในช่วง Asian Economic Crisis ในปี 1997 ทำให้ บ. บ้านปู ต้อง Set-back และขายหุ้น COCO ออกไปที่ละส่วนและได้ปรับ Strategies หันกลับมาที่ Core Business คือ Coal Business เป็น “Coal Champion Plus” ซึ่งถือเป็นการบริหารวิกฤต (Crisis Management)

New Era of Growth 2011-2013

  • Acquisition of Coal resource in Mongolia
  • Challenge in downturn in coal prices and Shale gas supply expansion of the US ทำให้ Banpu ต้องพิจารณา Strength พื้นฐาน ของบริษัท ใน 6 key areas.
  • 1.Cost rationalization & Productivity
  • 2.Capital planning
  • 3.Synergy drive
  • 4.Haman resource Management
  • 5.Financial Streamlining
  • 6.Organic growth

Global trend and needs for sustainable development

CSR - Corporate Social Responsibility

SD - Sustainable Development

CSR และ SD ในความหมายจริงๆแล้วเหมือนกัน ในมุมมองของผู้บรรยาย

ทำไมต้อง CSR?

  • รํฐคาดหวังให้ บ. ถ่านหิน Contribute ในเศรษฐกิจประเทศ และการพัฒนาสังคม
  • Public concern มากขึ้น ทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • มีความต้องการ Ethical business มากขึ้น
  • Financial Institution เพิ่มขอบเขตการพิจารณา ในเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ Credit ธุรกิจ/บริษัท
  • มีแนวโน้มที่ องค์กรอิสระ และ สื่อมวลชน เข้ามามีส่วนในเรื่อง Social and environmental performance ส่งผลถึงชื่อเสียงของบริษัท
  • มีความต้องการเพิ่มขึ้นในเรื่อง การตรวจสอบได้ และ ความโปร่งใส (Accountability and Transperency)

BANPU SD Framework

(เพื่อความชัดเจนในการดำเนินงาน ต้องมี Framework และต้องถ่ายทอดลงไปให้ทุกคนในบริษัทเข้าใจ และมีคณะทำงานฯ ในการดำเนินการ)

1. Competitiveness ซึ่งต้องเป็นคนดีและมีคุณภาพ

  • People Development
  • Operational Excellence
  • Technology

2. Localization ต้องสร้างความโปร่งใส ถูกกฏหมาย มีคุณธรรมในการดพเนินธุรกิจ (ซึ่งถือเป็น Key Success Factor ในการทำธุรกิจของ Banpu)

  • Good governance
  • Business ethics
  • Compliance
  • Good Corporate Citizen

3. License to Operate Occupational Health & Safety (HSEC – Health Safety Environment and Community)

  • Health and safety
  • Environment
  • Community development

โดยมี Commitment: Zero Incident, Zero Repeat, Zero Compromise

Corporate shared values: Banpu Spirit

  • Innovation
  • Integrity
  • Care
  • Synergy

มีความประทับใจในแนวทางของ บ. Banpu ที่มีการมองว่า CSR เป็น “License to Operate” และทำ CSR แบบไม่ได้หวังผลต่อธุรกิจอย่างเดียว อีกทั้งไม่จำเป็นที่จะต้องทำ CSR เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับธุริจหลักเท่านั้น ทำได้หลากหลาย ไม่จำกัด

Banpu CSR’s Theme is “Do by Heart.”


สรุปจากทีมวิชาการ Chira Academy

Panel Discussion

หัวข้อการบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามของการเมือง

โดยรศ.ดร.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร

นักวิชาการอิสระ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อาจารย์ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

อดีตรองเลขาธิการ

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

บทสัมภาษณ์คุณสุวิทย์ คุณกิตติ

บทสัมภาษณ์รศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 19 มีนาคม 2557

ณ ห้อง 278 อาคาร ท.100 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตบางกรวย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1.ต้องมองการเมืองเป็น partner กับเรา

2.ต้องศึกษาวัฒนธรรมการเมืองในปัจจุบันเป็นอย่างไร

3.ต้องมีพันธมิตรทั้งในและนอก เช่น NGOs เขาจะสนับสนุนเราได้

4. วิธีการจัดแบบ workshop น่าจะทำได้ในกฟผ. ควรจะสร้าง Network ให้มากขึ้น

มีรุ่น 3 เสนอให้จัดวปอ.ของเราเอง มีคนกฟผ.และคนนอกมาร่วม

ในอนาคตถ้าปัจจัยทางการเมืองบางอย่างร้ายแรง ความดีเราต้านไม่ได้ ก็จะอันตรายต่อเรา

บทสัมภาษณ์คุณสุวิทย์ คุณกิตติ

การเมืองก็มีการเปลี่ยนแปลงถ้าประชาชนสงสัยการทุจริตของรัฐบาล และออกมาพูดมากขึ้น ถ้านักการเมืองมีเหตุผล คนสนใจ นักวิชาการออกมา แล้วกลุ่มแพทย์ออกมา แล้วจะเกิด Political deadlock สมัยก่อนคือปฏิวัติ

เมื่อรัฐบาลเซแล้ว มักล้มแล้วเปลี่ยนแปลงใหม่ ก็เหมือนทั่วโลก

เราลืมมองสังคม วัฒนธรรม แล้วลอกระบบของประเทศอื่นมาใช้ ก็กลายเป็นสิ่งแปลกปลอม ปัญหาก็จะเกิดซ้ำๆ

ไม่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงแบบนองเลือด

สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้คือ Moral Hazard ปัญหาคือคนไทยยอมรับการทุจริตได้ มันคือความเสื่อมโทรมทางคุณธรรม

ช่วงนี้มีการพูดถึงปฏิรูปพลังงาน ต้องพัฒนาต่อเนื่อง

ความมั่งคงพลังงานไทยมีปัญหามาก เพราะต้องนำเข้าพลังงาน 70% กฟผ.มีปัญหาจากโครงการเดิมและโครงการใหม่ทำให้เกิดผลกระทบค่อนข้างมาก

รูปแบบริหารจัดการต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่กฟผ.ยังเข้มแข็ง เพราะไม่มีการทุจริต คนจึงเชื่อถือ

กฟผ.ต้องดูว่าจะพัฒนาสิ่งที่มีได้อย่างไร ในเรื่องเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะพัฒนาโรงไฟฟ้าเก่าให้เป็นที่ยอมรับได้อย่างไร ต้องให้ความรู้แก่สาธารณชนให้มากและต่อเนื่องให้เข้าใจหน้าที่ บทบาท และการพัฒนาพลังงานของประเทศ กฟผ.จะได้รับผลกระทบมากในเรื่องสิ่งแวดล้อม ปัญหาจะเกิดจากความไม่เข้าใจของประชาชน กฟผ.ไม่เข้าถึงประชาชน แต่ NGOs เข้าถึงมากกว่า ทำให้กฟผ.เสียเปรียบ ชาวบ้านจะเป็นรั้วให้กฟผ. มาตรการเชิงรุกในการเข้าถึงประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ ต้องดูแลชุมชนรอบโรงไฟฟ้า ให้เขาเป็นรั้วและปากเสียงให้กฟผ. ปัญหาความเค็มของน้ำ การผันน้ำจากน้ำเมยเข้าเติมในเขื่อนภุมิพล ผมเคยให้ทำการศึกษาไว้ สามารถใช้ไฟฟ้าช่วง off peak มาปั่นกระแสไฟฟ้าเติมได้ กฟผ.ต้องวิเคราะห์และดูการปฏิรูปพลังงานในอนาคต วางแผนพัฒนากฟผ.ให้มั่นคง กฟผ.ในฐานะผู้เชี่ยาญต้องมีข้อมูลดีกว่าฝ่ายการเมือง แต่ต้องเผยแพร่ต่อประชาชนให้เข้าใจ เป็นการถ่วงดุลอำนาจการเมืองได้ ถ้ายืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง กฟผ.ไม่ต้องกลัวการแทรกแซงทางการเมืองกฟผ.ต้อง lobby สังคมให้เข้าใจผลกระทบต่างๆ เรื่อง CSR ใหญ่มาก กฟผ.ต้องมีบทบาทสำคัญ เช่นพื้นที่โรงไฟฟ้า คนแถวนั้นต้องได้รับประโยชน์ด้วย

รศ.ดร.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร

การเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัวตั้งแต่เกิดจนตาย

อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์เขียนบทความให้รัฐบาลดูแลประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย

การประกันสังคมเกิดจากอาจารย์ป๋วย

ประเทศไทยมีระบบอุปถัมภ์ทำลายสังคมในระดับหนึ่ง

ขณะนี้ประเทศไทยไม่เข้าใจประชาธิปไตยโดยเนื้อหา โดนนักการเมืองบิดเบือนและมอมเมา

ประเทศไทยเป็นประเทศมีกิน เป็น 1 ใน 8 ประเทศส่งออกผลผลิตผลไม้ได้ ไม่กระตือรือร้น

ประเทศไทยดีทุกอย่างยกเว้นคน

ผมเคยเสนอนายกรัฐมนตรีให้มีภาษีทรัพย์สิน แต่เขากลัวกระทบคนระดับบน 20%

ประชาธิปไตยไทยขาดคุณภาพเพราะปัญหาการศึกษา ครูเงินเดือนน้อยและไม่เก่ง

การพัฒนาระบอบประชาธิปไตย มี 3 ส่วน

1.นักการเมือง ได้อำนาจเรา จึงมีอำนาจตามกฎหมายรองรับ แต่เราไม่มีการรวมตัวเพื่อแสดงพลังเพื่อคัดค้านการกระทำมิชอบ ประเทศไทยขยันยึดอำนาจ แต่ไม่เคยดูตัวเอง นักการเมืองโกงได้เพราะระบบอุปถัมภ์

2.ข้าราชการต้องรับใช้ประชาชน แต่โดนนักการเมืองปั่นหัวให้โกง

3.ประชาชน ภาคประชาชนยังไม่สามารถรวมพลังตรวจสอบนักการเมืองและประชาชนได้

เหตุเกิดครั้งนี้ คนไม่สามารถผลักดันให้ลูกเรียนสูงๆได้ รัฐบาลยังไม่ให้ความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ประชาชน

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชวิจัยเรื่องคอรัปชั่น พบว่า คนที่คอรัปชั่นอันดับ 1 คือ ตำรวจและท้องถิ่น

การเมืองไทยผกผันและเกิดตัวแทน

6 องค์กรอิสระไม่สามารถแก้ปัญหาการเมืองได้

ผู้นำแต่ละระดับของแต่ละฝ่ายต้องเจรจากัน

อย่าไปรังแกประเทศ

ระบบอุปถัมภ์กำหนดตัวบุคคลที่จะได้รับแต่ละตำแหน่งอยู่แล้ว

ผู้บริหารกฟผ.เกี่ยวข้องกับการเมืองแต่เริ่ม

การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งเป็นอาหารอันโอชะของนักการเมือง โดยเฉพาะการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีการซื้อของล่วงหน้าตุนไว้ 75 ปี

ถ้ากฟผ.จะสร้างความสุขให้คนไทย ต้องสร้างหมู่บ้านแห่งความสุขโดยไปดูหมู่บ้านโฮมสเตย์ สร้างคุณภาพชีวิตให้คน ทำให้คนมีสุขภาพแข็งแรงไม่ต้องไปโรงพยาบาล

กฟผ.ต้องเอาประชาชนเป็นเพื่อน ไม่เอาเปรียบเขา

กฟผ.ต้องเป็นผู้ตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน โดยทำเป็นเครือข่ายรัฐวิสาหกิจหรือไฟฟ้าทั้งหมด

อาจารย์ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

ผมทำแผน 8 เมื่อ 15 ปีก่อน เปลี่ยนประเทศไทยเข้าสู่โลกสมัยใหม่ เราเห็นการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง

อนาคตประเทศไทยมั่ว ปัญหาพันกันหมด

ต้องเปลี่ยนวิธีคิด

ตั้งแต่แผน 8-10 ไม่เปลี่ยนระบบอุปถัมภ์ เป็นระบบที่เน้นอำนาจไม่ใช่ความรู้

ตอนนี้ ประชาธิปไตยเป็นแบบเสมือนจริง ทุกอย่างหาอ่านได้หมด การแก้ไขไม่สามารถแก้ได้โดยให้นักวิชาการเขียนแผน

ประชาธิปไตยแบบใหม่ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมเรียนรู้

มนุษย์ต้องรับข่าวสารตามสภาพความเป็นจริง ต้องใช้เวลา

ต้องเรียนรู้จาก Leadership at all levels

วิกฤติการเมืองทำให้คนได้เรียนรู้มาก

ต้องเลิกคิดแบบแยกส่วน

การปฏิวัติทำให้แย่ลงแต่อย่าปิด ต้องแลกเปลี่ยนความรู้กัน โอกาสอยู่อินเตอร์เน็ตและวิทยุชุมชน

วิกฤติการเมืองจะส่งผลกระทบเศรษฐกิจ รัฐบาลจะจ่ายเงินต้องขออนุมัติจากกกต การบริโภคในประเทศลดลง การลงทุนลดลง

กฟผ.ต้องมีสติ

กฟผ.ต้องมียุทธศาสตร์สำหรับ worst case scenario สิ่งแรกที่ต้องทำคือ เงินสด แผนการลงทุนในอนาคตต้องคิดใหม่หมด โดยต้องเน้นโครงการที่ได้เงินด่วน ควรหารือกับบริษัทห้างร้านทั้งหลาย ต้องพยายามมีวิสัยทัศน์จะวางตำแหน่งอย่างไรใน worst case scenario ต้องบริหารจัดการแบบเข้มข้นในระยะสั้น ต้องรู้ข้อมูลที่ทันสมัยในพื้นที่ ต้องทำงานร่วมกับทุกหน่วยขวัญกำลังใจผู้นำสำคัญที่สุด ผู้นำต้องลงพื้นที่ เน้นการปฏิบัติตามที่คิดไว้

Leadership สำคัญมากในยามวิกฤติ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การเมืองพัวพันกับเศรษฐกิจ

กฟผ.อาจจะดีใจที่ไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ แต่รายได้อาจไม่เพิ่ม

กฟผ.ควรจัดการการเมืองแนวตรงและแนวอ้อม เช่นให้ความรู้ชุมชนแล้วเขาจะเป็นเกราะให้กฟผ. กฟผ.มีเครือข่ายข้างใน

รุ่น 11 ควรให้สหภาพมาฟังในฐานะผู้สังเกตการณ์จะได้เป็นกลุ่มก้อน

อีกแนวร่วมมือนักวิชาการดีๆ อยู่กับความจริง ประชาธิปไตยแบ่งโดยความโลภของคน ต้องแยกแยะให้ดี

อาจจะบอกว่าอีก 5 ปีข้างหน้า การเมืองจะเป็นอย่างไร

บทสัมภาษณ์รศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา

ในระยะสั้น คนไม่ศรัทธาในเรื่องการเลือกตั้ง นำไปสู่การผูกขาดอำนาจ เน้นประชานิยมสุดขั้ว กู้เงินโดยไม่รับผิดชอบทำให้ขาดดุลมาก

ประเทศที่มีการเลือกตั้งมีปัญหาทั่วโลก นำไปสู่วงจรอุบาทว์

ควรปฏิรูประบบการเลือกตั้ง มีตัวแทนแต่ละกลุ่มมาเป็นสส.

ต้องควบคุมการหาเสียงไม่ให้หลอกประชาชน ไม่ให้ประชานิยมเข้ามาได้อีก

การปฏิรูปคือการกระจายอำนาจไปแต่ละพื้นที่แล้วให้คนในพื้นที่บริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่

ควบคุมคอรัปชั่น

ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยายโดย ทีมงานวิชาการ Chira Academy

หัวข้อ White Ocean Strategy กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ.

โดย คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

วันที่ 20 มีนาคม 2557

บจก. ดีซี คอนซัลแทนส์แอนด์มาร์เก็ตติ้งคอมมูนิเคชั่นส์

White Ocean เป็นหนังสือเน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม

ความสุขของคนไทย มากขึ้นหรือลดลงเนื่องจากอะไร ?

- อยากให้ดูตัวอย่างของภูฏานเหมือนเมืองไทยในอดีต

- ภูฏานเป็นประเทศที่ชูเรื่อง GNH (Grosss National Happiness) ต่างกับ GDP ที่ทุกอย่างวัดเป็นตัวเลขหมดเลย แต่ไม่มองว่าสังคมแตกแยกหรือไม่ ครอบครัวแตกแยกหรือไม่

- ความสุดโต่งของสายการปกครอง แบบ สังคมนิยม และทุนนิยม

- สังคมนิยม ทำให้ศักยภาพมนุษย์ลดลง

- ทุนนิยม เน้นที่วัตถุนิยม บริโภคนิยม และที่เจอทุกประเทศคือประชานิยม ผลสุดท้ายก็คือล่มจม เป็นการมองระยะสั้น และไม่ได้อยู่กับความเป็นจริง ตัวอย่างเช่น การปลูกข้าวต้นทุนสูงสุด ผลผลิตต่ำสุด เกิดเป็น มิจฉามาร์เก็ตติ้ง และกิเลศมาร์เก็ตติ้ง และท้ายสุดไปไม่ถึงไหน

จากวิสัยทัศน์ของกฟผ.

1. เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล

2. เป็นองค์กรที่มีการบริหารที่มีประสิทธิภาพสูง

3. เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพการดำเนินงานเป็นเลิศ

4. เป็นองค์กรที่สังคมไว้วางใจและเป็นความภาคภูมิใจของชาติ

5. เป็นองค์กรที่มีฐานะทางการเงินมั่นคงเพียงพอต่อการขยายงาน

ถามว่ามีข้อไหนที่ไม่ได้บ้างสิ่งสำคัญคือ เราต้องมีบางสิ่งที่สังคมไว้วางใจได้

คนที่ประสบความสำเร็จ

คือคนที่ฉลาดในการตั้งคำถาม เช่นเซอร์ไอแซกนิวตัน ตั้งว่าทำไมแอปเปิ้ลหล่น

คนที่ยิ่งใหญ่จะฉลาดตั้งคำถาม

แต่คนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใน 3 โลกคือคนที่ฉลาดในการตั้งคำถาม

พระพุทธเจ้าตั้งคำถามว่าทำไมต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย

สิ่งที่เราต้องตั้งคำถามคือ

Where are we ?

Where do we want to go?

How to get there?

อายุเฉลี่ยของคน 75 ปี แต่เราประมาทไม่ได้ เพราะทุกคนมีชีวิตอยู่แค่ลมหายใจเดียว

หลักการสำคัญของ White Ocean พูดเรื่องยุคของการเปลี่ยนแปลง

เราอยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์โลก เราจึงต้องมองโลกในลักษณะ Triple

สิ่งที่เกิดขึ้น ประชานิยม ทุนนิยม บริโภคนิยม

การผลิตไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งที่มีผลสัมพันธ์กับโลกทั้งหมดไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โลกของเราเกิดปรากฏการณ์ Greenhouse Effect

ภัยพิบัติปัจจุบันนี้ไม่ใช่แค่ 100 ปี แต่เจออยู่เรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น ภาวะโลกร้อน น้ำแข็งละลาย การเคลื่อนตัวของภูเขาน้ำแข็ง หิมะตกหนักที่ฟลอริดาร์ ปิรามิดถูกปกคลุมด้วยหิมะคลื่นความร้อนที่เซี่ยงไฮ้ ทำให้รถไฟไหม้หมดเลย

นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพแล้วยังมีการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ เทคโนโลยี วิถีชีวิตเปลี่ยน นับได้ว่าประเทศไทยอยู่ในช่วงที่ท้าทายหนึ่ง

สิ่งมีชีวิตที่จะได้ไปต่อคือสิ่งมีชีวิตที่มีการปรับตัวและพัฒนาตนเอง ไม่ได้อยู่กับความเคยชิน (ความเคยชินคือกิเลส) ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่ไม่ได้ไปต่อแม้ว่าแต่ก่อนมีความแข็งแกร่ง และแข็งแรงมากที่สุดคือ ไดโนเสาร์ แต่มีเพื่อนร่วมรุ่นกับไดโนเสาร์ ไปต่อได้คือ เต่า

สิทธิสำคัญของการเกิดเป็นมนุษย์คือ เสรีภาพในการเลือก (Freedom of choice) เราสามารถเลือกได้ว่าจะทำอะไรในสถานการณ์นั้น ๆ แต่อยู่ใต้กรรมทันทีเมื่อได้กระทำไปแล้ว

คำถาม เราจะรู้ได้อย่างไรว่าธุรกิจเรามีจุดสมดุลระหว่างคน กำไร Passion

คำตอบ ตัวเราเอง

กฟผ.เป็นหนึ่งในองค์กรที่ยิ่งใหญ่ในมุมมองของสังคมไทย ถ้า กฟผ.หยุดทำงานประเทศชาติจะเป็นอย่างไร

ดร.สุรินทร์ บอกว่า สมัยก่อนในอาเซียนประเทศอะไรเป็น MostAttractive คำตอบคือประเทศไทย แต่ตอนนี้ในหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยถอยหลังลง ไทยติดลบ ในขณะที่ประเทศอื่นขึ้นหมดเลย อย่างเช่นเรื่องการศึกษาประเทศไทยเป็นอันดับ 8 ในอาเซียน เกาะติดพม่ากับลาว

ประเทศไทยเป็นสังคมที่คลั่งปริญญา แต่การมีปริญญามาก ๆ ทำให้สังคมถดถอยลงเรื่อย ๆ บางครั้งตามฝรั่งมากไปจนไม่ดูว่าอะไรเป็นสิ่งที่ควรทำ

บทสัมภาษณ์ของคุณ สุทธิชัย หยุ่น สัมภาษณ์ ลีกวนยู

ลีกวนยู บอกว่าตอนที่เขาถูกขับจากสิงคโปร์เมื่อ 50 ปีก่อน สิงคโปร์เศร้ามาก เนื่องจากเขาเป็นผู้พัฒนาสิงคโปร์ ตั้งแต่เรื่องน้ำดื่ม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

คุณสุทธิชัย หยุ่น ถามว่าในมุมมองลีกวนยูมองประเทศไทยอย่างไร

ลีกวนยูบอกว่าไม่ได้มองว่าไทยเป็นคู่แข่ง เพราะคนไทยไม่มีการศึกษา

การศึกษาไม่ใช่หมายถึงปริญญาบัตร แต่หมายถึงคนที่มีปริญญาบางครั้งมีมิจฉาปัญญา เรากำลังวัดสังคมที่อะไร ประเทศไทยเป็นประเทศที่ถอยหลังลง

การรับชมวีดิทัศน์

Individual Social Responsibility (ISR)

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ

White ocean strategy เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติ และทำให้ได้ เป็น common sense

มันไม่ใช่หมายถึงภาคใดภาคหนึ่ง แต่หมายถึงประเทศชาติทั้งหมดที่เรารับมา เราต้องส่งประเทศไทยออกจากหลุมดำให้ได้ เพราะถ้าทำไม่ได้ ประเทศไทยก็จะไม่สามารถหลุดไปจากกรงเล็บของคอรัปชั่นได้ ถ้าทำได้ ประเทศจะชนะทุกคน

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

รู้สึกเศร้าใจที่ทำไมคนไทยเราทำอย่างไรที่จะต้องจารึกว่าคนไทยไม่โกง แสดงว่าคนไทยโกงจนไม่ไหวแล้ว ถึงต้องเขียนขึ้นมาเพื่อเตือนสติว่าเกิดอะไรขึ้น การทุจริตคอรัปชั่น เจอทุกหย่อมหญ้า ไม่เลือกชั้นวรรณะ เลือกธุรกิจ เลือกกลุ่ม อย่าพูดแต่คำว่ายั่งยืนโดยไม่ปฏิบัติอะไรเลย ต้องส่งให้ก้าวไป ไม่เช่นนั้นจะเป็นการเนรคุณ เป็นบาปที่ยิ่งใหญ่

ข้อคิดที่ได้จากการรับชมวีดิทัศน์

เราไม่ได้หยุดการใช้ทรัพยากร แต่เป็นเพราะสังคมใช้ทรัพยากรเยอะ

โอบามาชนะใจเพราะคำว่า Change

สำหรับประเทศไทย สิ่งที่ต้องทำคือ ปฏิรูปตัวเราเอง เพราะโลกกำลังเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง

Jack Welch บอกว่าถ้าการเปลี่ยนแปลงข้างนอกเร็วกว่าการเปลี่ยนแปลงข้างใน เจ๊ง

ไทยเป็นประเทศในอดีต ถามว่าทำไม ? เพราะคอรัปชั่น

Bill Gate บอกว่าคนส่วนใหญ่สนใจการเปลี่ยนแปลงเฉพาะหน้า และให้ค่าต่ำเกินไปสำหรับการมองระยะยาว

ลูกหลานของคนไทยจะอยู่ในสังคมแบบไหนใน 20 ปีข้างหน้า

ถ้าต้องการผลลัพธ์ที่ต่าง Input ต้องต่าง กระบวนการต้องต่าง สิ่งที่เราเรียนมา เหมาะกับยุคอุตสาหกรรม ทุกอย่างคือ Management หมดคือ บริหารและจัดการ แต่ปัจจุบันนี้เราอยู่ในยุค Information เราแข่งกันที่ความเร็ว Speed of Trust เป็นสังคมที่สังคมไว้วางใจ เพราะสิ่งที่เราทำที่ผลิต คนอื่นก็ทำได้เหมือนกัน

มนุษย์บริหารจัดการไม่ได้ เพราะไม่ใช่สิ่งของ You can’t manage people , you can only lead people. สิ่งที่เรากำลังแสวงหาคือผู้นำ สังคมไทยกำลังโหยหาผู้นำที่มีความจริงใจ และมีความยุติธรรม สามารถนำคนได้

สมองมี 2 ซีก

ตอนเกิดสมองสมดุล 2 ข้าง แต่พอโตขึ้นสมองซีกซ้ายโต มีหลักการ เหตุผล ความคิด เป็นลักษณะอะไรที่เน้นความแม่นยำเรียกว่า Linear Learning

สมองซีกขวา เน้นความคิดสร้างสรรค์ คุณธรรม จริยธรรม

สังเกตตัวเอง

- กุมมือนิ้วแม่โป้งขวาอยู่บนนิ้วแม่โป้งซ้าย รับข้อมูลด้วยสมองซีกซ้ายอัตโนมัติ เป็นพวกคิดด่วน คิดเร็ว คิดได้เลย Yes No OK ประมวลว่าถูกต้อง ไม่ถูกต้อง

- กุมมือนิ้วแม่โป้งซ้าย รับข้อมูลด้วยสมองซีกขวาอัตโนมัติ เป็นพวกรับข้อมูลโดยไม่คิด รับด้วยความรู้สึก เป็นพวกใช้หัวใจรับ ใช้ความรู้สึก

- กอดอกมือซ้ายอยู่บน เป็นการส่งข้อมูลด้วยสมองซีกขวา เป็นคนไม่อยู่กับร่องกับรอย ไม่ชอบกฎ กติกา มารยาท ชอบสิ่งใหม่ ๆ ชอบออกนอกกรอบ งานที่ดีกว่าจะไม่ใช่งาน Routine เป็นงานเกี่ยวกับ People Oriented จุดเด่นคือเห็นภาพรวมดีกว่า มีความสามารถในการสื่อสารคนและดึงใจคนได้มากกว่า เป็นผู้นำที่ไม่มี Script

- กอดอกมือขวาอยู่บน เป็นการส่งข้อมูลด้วยสมองซีกซ้าย เป็นคนมีหลักการ มีเหตุผล ทำงานได้ดีในสภาพเป็นกรอบ มีหลักการในการปฏิบัติ ความจำดี มีความแม่นยำ และปวดหัวบ่อย ให้ข้อมูลแม่นมากทางวิชาการ เป็น Management ที่ดี เป็นการบริหารจัดการที่ดี ภายใต้ประสบการณ์ที่ดีกว่า ทำอะไรทีเป็น Routine ดี เป็นหมอดู จับยามสามตา เป็น Process Oriented

การเรียนรู้จะเรียนรู้แบบไหนได้ดีกว่า ซีกซ้ายเรียนรู้จาก Linier จากระบบ ซีกขวาเรียนรู้จากภาพ

สมองที่ต้องพัฒนามาก ๆ คือซีกขวา เพราะสมองซีกซ้ายเรากำลังถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยี กำลังทดแทนสมองซีกซ้ายของมนุษย์

ปัจจุบันมนุษย์ต้องใช้ศักยภาพสมองซีกขวา เรียกว่ายุค Creative Economy เพราะจินตนาการทำแทนกันไม่ได้

“Knowledge is power but love is a miracle” ความรักคือปาฏิหาริย์ เป็นยุคที่เราใช้ความรักอยู่ในสมองซีกขวา เรียกว่าความรัก ความศรัทธา ทุกอย่างเป็นไปได้

ในสถานการณ์บ้านเมืองเรา อย่าปล่อยให้ความไม่ดีของคนอื่นทำลายความศรัทธาและความดีของตัวเราเอง

Red Ocean

- Customer is a King

- Maximize Profit , Minimum Cost

- มิจฉาทิฐิ

- กิเลสมาร์เก็ตติ้ง

สร้าง Faluse Demand เป็นการใช้กิเลสกระตุ้นทำให้เจ็บ ทุกคนเจ็บหมด กำไรก็ต่ำ ราคาไม่ดี

Blue Ocean น่านน้ำสีคราม

High risk high return

Key word คือ Idea Innovation Technology is a King

สร้าง Idea ขึ้นมา สร้างตลาดใหม่ที่ไม่มีการแข่งขัน ทำลายข้อจำกัด ข้อเปรียบเทียบ แต่เมื่อสำเร็จ คนอื่นก็ตามมา จาก Blue Ocean เป็น Red Ocean

White Ocean

Key word คือทุกคนเป็นผู้ชนะร่วมกันได้ Everyone is the winner เป็นการจับมือร่วมกันได้ เช่น Facebook สร้างความสมดุลระหว่างคุณค่าและต้นทุน สร้างผลประโยชน์ยั่งยืนขององค์กร

ตัวอย่าง

คำถามFacebook ถ้าเป็นประเทศหนึ่งในโลก มีขนาดใหญ่แค่ไหน

คำตอบ เป็นอันดับที่ 2 ของโลก มีผู้ใช้ 1,200 ล้านคนทั่วโลก ที่เราชอบเล่น เพราะเราชอบกดไลด์ และแชร์ คนที่สร้าง Facebookเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์คือการแบ่งปัน

เราวัดความสำเร็จขององค์กรด้วยอะไรบ้าง

กำไร

การเติบโต

ความสุข

ความยั่งยืน

ผลลัพธ์ที่ชัดเจนของ White Ocean คือ

1. กำไร บริษัทที่มีธรรมาภิบาล กำไรสูงกว่าทุกปี

2. ความสุข องค์กรสีขาว เป็นองค์กรที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสังคม

3. ยั่งยืน ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตการณ์อะไรขึ้นมา

องค์กร High Trust

องค์กรที่เป็น High Trust พบว่า Skill ของการทำงานรวดเร็ว ต้นทุนน้อย ในทางตรงกันข้ามถ้าเป็นองค์กรที่ไม่ไว้วางใจ การทำงานจะช้า ต้นทุนสูง บางกรณีต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะ

ถ้าเราทำงานให้ เราทำงานด้วยความตั้งใจและทุ่มเท จึงเกิด Trust

การบริหารองค์กรแบบ White Ocean

1. การทำแผนองค์กร Where are we ?

องค์กรสีขาวเกิดมาเพื่อทำประโยชน์ให้กับสังคม เป็นลักษณะ Social Enterprise ตัวอย่าง วิริยะประกันภัย ประสบความสำเร็จจาก ธนบุรีประกอบรถยนต์ สร้างเมืองโบราณ ช้างสามเศียร และตั้งวิริยะประกันภัยในลำดับต่อมา แต่ก่อนไม่มี พ.ร.บ.คุ้มครองบุคคลที่ 3 เพราะเสี่ยงขาดทุน เลยให้ทีมวิริยะไปคำนวณตัวเลขตรงนี้ วิริยะจะต้องขาดทุนปีละ 200 – 400 ล้านบาท ใน 2 ปีแรก แต่องค์กรสีขาวคิดต่าง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ วิริยะประกันภัยกลายเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย

ลักษณะขององค์กรสีขาวไม่แข็งเหมือนองค์กรอื่น แม้เบี้ยประกันแพงกว่าที่อื่น แต่ลูกค้าทำไมซื้อ เพราะลูกค้าไว้ใจ และเป็นเพียงบริษัทเดียวที่ไม่ได้ Back up โดยองค์กรอื่น

Steve Jobs เป็นตัวอย่างขององค์กรสีขาว เป็นคนที่หาหัวใจเจอ คือคนที่หา Straight เจอ เราเป็นสิ่งมหัศจรรย์ทีเกิดในโลกนี้ ถ้าเราหาหัวใจตนเองเจอ คนนั้นประสบความสำเร็จ ถ้าหาเจอต้นทุนน้อยกว่าทุกคนแน่นอน

คนเราไม่ต้องรู้มาก แต่ขอให้รู้ลึก รู้จริง เป็นคนธรรมดาที่อเมริกายกธงครึ่งเสาเมื่อเขาตายแล้ว

Bill Gates ความฝันของผู้ชายคนนี้คือ เขาฝันเห็นคอมพิวเตอร์ในทุกบ้าน คำว่า Windows มาจากตอนที่เขานั่งในปฏิบัติการและเห็นหน้าต่างในโรงรถของพ่อ ฝันว่าโลกจะเชื่อมโยงและ Connect กันได้ สิ่งที่ฝันเป็นการให้โอกาสกับคนจำนวนมาก ผลลัพธ์คือเขารวยมหาศาล แม้ว่าเขาไม่อยากรวย เขาเขินไม่รู้ว่าเอาเงินไปทำอะไรมหาศาล เขาเอาเงินจำนวนมากไปตั้งมูลนิธิฯ และเขียนพินัยกรรม 99 % ให้สาธารณะทั้งหมด

เราต้องหาจุดสมดุลของ 4 P’s คือ

1.People คนในองค์กร การทำงานอะไรก็ตามเราจะทำสิ่งที่ดีที่สุดโดยนึกถึงคนอื่น เรียกว่ากัลยาณมิตร

2. Planet การรณรงค์การลดการใช้พลังงาน หรือใช้พลังงานอย่างประหยัดช่วยโลกได้

3. Profit กำไรไม่ใช่ให้องค์กรเท่านั้นแต่ต้องคืนกลับสังคมด้วย

4. Passion คือความมุ่งมั่น ความศรัทธา อุดมการณ์ที่มั่นคง เช่น MK สุกี้ S&P ไม่ขายเหล้าบุหรี่ในร้านของเขา เราไม่จำเป็นต้องทำตามกิเลสของสังคมตลอดเวลา เราสวนกระแสได้ คือ Passion

Tata group เขียนว่าสิ่งใดก็ตามได้จากสังคม 1 ส่วนเขาจะตอบแทนสังคมหลายเท่าทวีคูณ นี่เป็นที่มาของ Social Innovation เป็นผู้ให้ด้วยหัวใจที่เบิกบาน

เป้าหมาย Where do you want to go ?

Purpose of life มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง

ไปอย่างไร

5. ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม ความเป็นจริง และความเป็นเนื้อแท้ (Integrity) คิดและเชื่อในเรื่องเดียวกัน

เช่น คอรัปชั่น มีตัวอย่างที่เด็กทำและเป็นกำลังของประเทศไทย ในโครงการ The Ambassador

คำคมของเด็กภาคใต้ ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงประเทศไทยหรอกประเทศไทยดีที่สุดอยู่แล้วเปลี่ยนนิสัยคนไทยดีกว่า

คำคมของเด็กภาคเหนือ บอกว่าที่ประเทศไทยเป็นแบบนี้เพราะคนดีหายหัวคนชั่วเลยขึ้นมา

เด็กตาบอด ได้มาแบ่งปันว่า ครอบครัวเขายากจน แถมยังตาบอด อยากให้ยอมรับในสังคมต้องทำตามค่านิยมของสังคมที่ยกย่องคนรวยมากกว่าคนดี

ตาบอดสนิทตั้งแต่เกิดหนูไม่เคยเห็น ก่อนหนูตายขออยากเห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แต่หนูใช้ใจสัมผัส หนูโดนว่าว่าเป็นผู้พิการทางสายตาแต่หนูจะไม่เป็นผู้พิการทางใจ

การต่อต้านคอรัปชั่นในประเทศไทยต้องเริ่มจากเด็ก

6.แนวคิด ISR ถ้าเราต้องการเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ ต้องเริ่มจากตัวเอง

ความรับผิดชอบต่อสังคม

1. Individual

2. Children

3. Corporate/Citizen องค์กร

4. Community ชุมชน

5. Country responsibility ต้องสร้างให้คนในสังคมมีความรับผิดชอบในสังคม

ตัว I ถ้ามีพลังมาก ๆ จะขับเคลื่อนสังคม

Benchmark

เป็นผู้สร้างบรรทัดฐานใหม่ในองค์การ เป็นผู้สร้างในสิ่งที่คนอื่นไม่ได้ทำ

สร้างคนแบบ Gen A คือ

- Active Mind

- ActiveAge

เข้าไปดูใน Facebook : dodclub บอกว่าการทำอะไรให้ผู้อื่นเป็นการทำอะไรให้มีคุณค่า

คำถาม

อยากให้ช่วยออกแบบคนไทย อยากเห็นหน้าตาคนไทยเป็นอย่างไร

คำตอบ

อยู่ใน สกอ. มีการกำหนดคุณลักษณะคนไทยในศตวรรษที่ 21 ยากมากแต่เอาง่าย ๆ ก่อน คืออยากเห็นคนไทยมีจิตอาสา มีน้ำใจ มีการยิ้ม ซึ่งทำให้เกิดความน่าอยู่แล้วสิ่งอื่นจะตามมา

คำถาม

เกี่ยวข้องกับเรื่องคุณธรรม มีวิทยากรท่านหนึ่งที่มาบรรยายเรื่องการทำโฆษณาตั้งแต่หุ้นส่วนที่ทำน้ำดื่ม ขายหุ้นไป และจะเอาเงินไปทำสาธารณประโยชน์ แต่ไปตั้งน้ำดื่มเดิม แต่คนละชื่อใช้วิธีโฆษณาแบบตบตา ใช้เงิน ถอนเงินสดในสนามบิน เป็นเสมือนกลยุทธ์โฆษณาตัวเอง และมีทีวีดัง ๆ มานำเสนอด้วย เป็นการไปเป็นปี่เป็นขลุ่ย มีการทำร่วมเดี่ยวไมโครโฟน มีการมอมเมา ในการให้ชิงโชค มีความคิดเห็นอย่างไร

คำตอบ

โครงการ The Ambassador ที่ทำได้ออกช่อง 3 เนื่องจากเป็นรายการที่ดีมาก เด็กที่ดีก็เต้นรำ แสดงไปเกิดผลลัพธ์เป็นองค์กรต่อต้านคอรัปชั่นขึ้นมา มี Connection ในด้านต่าง ๆ คนชื่นชมหมด แต่ก็ไม่ได้ออกอากาศอีกเลย อย่างนี้เรียกว่าเป็นมิจฉาทิฐิ ปัจจุบันคุยแต่เรื่องมูลค่า คุณค่าไม่สนใจ

คำถาม

การพูดถึงน้ำใจของคนไทย และการสร้างคน ระหว่างน้ำใจ และวินัย เช่นการเข้าแถว แซงคิว มีการผนวกความมีน้ำใจกับวินัยเข้าด้วยกัน

คำตอบ

วินัยมาก่อนน้ำใจ เราไม่ได้เรียนรู้เรื่องฐานกาย คือวินัย อดทน ทางจิตคือปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น แล้วจึงมาฐานความคิด แต่ไทยสอนคนกลับข้างคือเริ่มฐานความคิด แล้วค่อยฐานจิต แล้วมาฐานกาย ถ้าแต่ละคนมีวินัย ก็ถือว่ามีน้ำใจ เพราะจะไม่ไปละเมิดคนอื่น

วินัยทำได้ สามารถสอนได้ตั้งแต่เด็ก สมองซีกซ้าย มีกฎระเบียบ มารยาทมาก่อน แล้วน้ำใจจะตามมา

คำคมทิ้งท้าย อยู่เพื่อตนเองอยู่แค่สิ้นลม อยู่เพื่อสังคม อยู่คู่ฟ้าดิน

การนำเสนอ workshop หัวข้อ การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามของการเมือง


การบ้าน

1. อ่าน Google และ Apple เรื่องนวัตกรรม วิเคราะห์ทั้งสองบริษัท

2. นำเอาแนวคิด Innovation มาวิเคราะห์เรื่องกฟผ.

Lesson Learn on 18th March,2014

: หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

โลกเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกระยะและปัญหามักเกิดจากการบริโภคที่เกินพอดี โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่งผลให้ดรรชนีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติของโลกลดลงอย่างน่าใจหาย การพัฒนาในอดีตและปัจจุบันเป็นแบบ KPM (knoeledge, power, money) ทำให้มีการใช้ทรัพยากรฟุ่มเฟือย ส่วนการพัฒนาในอนาคตควรเป็นแบบ GCK (goodness, culture, knowledge) ซึ่งเน้นระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง การอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติ ภายใต้หลักธรรมาภิบาล ตลาดน้ำอัมพวานับเป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนาที่ใช้ความรู้ควบคู่วัฒนธรรม

การพัฒนาที่ยั่งยืน ( Sustainable Development) คือการพัฒนาที่มีความสมดุลย์ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ไม่เน้น cost benefit แต่ใช้ cost effectiveness แทน

เศรษฐกิจพอเพียงควรกำหนดความพอดี 6 ประการ คือ ด้านจิตใจ ด้านสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ ด้านเทคโนโลยี และด้่นการเมือง

พลิกใจ พลิกความคิด เพื่อความสุขที่ยั่งยืน

Lesson Learn เรื่อง ผู้นำ-วัฒนธรรมองค์กร-การบริหารการเปลี่ยนแปลง

ผู้นำต้องเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองก่อน แล้วจึงจะเปลี่ยนแปลงสังคมรอบตัวได้ เปลี่ยนก่อนที่จะต้องถูกบังคับให้เปลี่ยน เพราะอาจสายเกินแก้ไข

Performance มาจาก Competency + Motivation

ผู้นำต้องเข้าใจว่าวัฒนธรรมมีการเปลี่ยนแปลงได้ และการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นนวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation)

ผู้นำต้องเก่งและเรียนรู้สิ่งสำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลง (change) แนวคิด (paradigm) เครือข่ายความสัมพันธ์ (networking/relationship/connection)

นอกจากนี้ผู้นำต้องเรียนรู้ที่จะปฎิบัติต่อผุ้ร่วมงานด้วยหลัก KFCI คือ know me , focus me , inspire me

Lesson Learn on 19 March,2014

เรื่อง บ้านปูกับการก้าวสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค

บริษัทบ้านปูเติบโตมาจากผู้บริหารยุคก่อตั้งที่มีวิสัยทัศกว้างไกลและfocusทิศทางธุรกิจได้ชัดเจน ตลอดจนสามารถ refocus ธุรกิจในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งได้ถูกต้องด้วย strategic rethinking ว่าอะไรเป็น core business และ อะไรเป็น non core business เพื่อจะ focused brand ไปสู่ Coal Champion Trust และ กำหนดใช้ Banpu Sustainable Development Framework เป็น key success factor พร้อมกับเปลี่ยน market push เป็น market drive

ศรีวรรณ บูรณโชคไพศาล (กลุ่ม 7)

จากสรุปของทีมงานวิชาการ Chira Academy

ขอแจ้งแก้ไขชื่อ หัวข้องานวิจัยค่ะ

กลุ่ม 7 หัวข้อ “ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการได้รับค่าทดแทนที่ดินของผู้ได้รับผลกระทบ”

และชื่อหน่วยงานอนุญาตคือ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)

Lesson Learn เรื่อง TQM/SEPA

การทำ TQM เป็นการก้าวไปสู่ HPO เพื่อการเป็นองค์กรแห่งความสุขและความสำเร็จ

กฟผ. กำลังสร้าง EGAT WAY เป็นแนวทางและวิถีการทำงานของตนเองขึ้นมา ประกอบด้วย คน ระบบ และผลลัพธ์ที่เป็นเลิศ

คน : ต้องมีศรัทธาและคุณค่า

ระบบ : ต้องมีธรรมาภิบาล เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ผลลัพธ์เป็นเลิศ : ต้องพร้อมรับอนาคตและความเสี่ยงสู่เวทีโลก เป็นความภูมิใจของชาติ

ผู้นำต้อง ชี้นำ สื่อสาร กระตุ้น และสร้างความยั่งยืน

Lesson Learn เรื่อง การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามของการเมือง

กฟผ.จะผ่านพ้นความเสี่ยงที่เกิดจากการคุกคามทางการเมืองได้ ด้วยการเป็นองค์กรแห่ง HPO และ Good Governance

กฟผ. ต้องให้ความรู้ที่ถูกต้อง และสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนเป็นรั้วที่แข็งแกร่งของ กฟผ. จากการเมือง

สังคมไทย้ป็นสังคมอุปถัมภ์ ที่ทำลายสังคมไทยมายาวนาน และเป็นช่องทางโกงกินของนักการเมือง ฝังรากลึกในทุกวงการ (Traditional Corruption)

สังคมไทยขาดผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จะนำพาสังคมไทยก้าวเดินไปสู่ สังคมแห่งการเรียนรู้ ด้วยการสร้างระบบคิดแบบเชื่อมโยงบูรณาการขึ้นมา (Knowledge based Society)

เราควรสร้างเครือข่าย networking สร้างตัวละคร และสร้างพันธมิตรที่ดีไว้เป็นเกราะป้องกันการเมือง

Lesson Learn on 20 March,2014

เรื่อง : นวัตกรรมของบริษัท ซีพี ออลล์

ปรัชญาของซีพี คือ เราปรารถนารอยยิ้มจากลูกค้า ด้วยทีมงานที่มีความสุข

ดังนั้น สินค้าและบริการ จึงเป็นเพียงตัวเรียกลูกค้า สิ่งที่ซีพีขายจริงๆ คือ ความสะดวกซื้อ ผ่านรูปแบบของสินค้าและบริการที่หลากหลาย

Location+time 24hrs.+speed มีลูกค้าเข้าร้าน 7-11 เฉลี่ยทั่วประเทศ 8ล้่านคนต่อวัน ใน 7,634 สาขาปัจจุบัน

นวัตกรรมที่ซีพีต้องการทำในอนาคตต่อไป ได้แก่ new convenience store without shopkeepper, QR Code, โชห่วยแท็กซี่, Drive Through, Retail Future Fusion

Innovation =New+Value Creation

นวัตกรรมในบริบทของซีพี คือ การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ หรือ การปรับปรุงจากสิ่งเดิม ที่เกิดจากการนำความรู้และความคิดริเริ่มสร้างสรรค๋ื ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาให้เกิดคุณค่าต่อลูกค้า องค์กร และสังคม โดยมีนวัตกรรมใน 4 ด้าน ได้แก่

Process innovation. กระบวนการใหม่

Product innovation. ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่

Service innovation. บริการรูปแบบใหม่

Business model innovation. ธุรกิจรูปแบบใหม่

อย่างไรก็ดี เรามีความเห็คนว่า ซีพี ควรเพิ่มนวัตกรรมด้าน Scial innovation เป็นการตอบคืนสู่สังคมเพิ่มเติมด้วยอีกด้านหนึ่ง

เรื่อง : White Ocean Strategy กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ.

โลกปัจจุบันและอนาคตจะเป็นการแข่งขันกันในเรื่อง speed of trust

White Ocean เน้นการแบ่งปันและใช้ร่วมกัน ทุกคนเป็นผู้ชนะร่วมกัน Co-creation ที่มีความยั่งยืน

หลักการ 3 ประการ คือ

1. Where are we? >>>> Passion

2. Where do we want ot go? >>>> purpose of life

3. How do we get there? >>>> integrity

หรือกล่าวอีกนัยคือ "มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง"

กฟผฺ อาจสร้างศรัทธาได้ด้วยการใช้ SR (Social Responsibility) 5 บริบท คือ

1. Individual SR

2. Children SR

3. Corporate SR

4. City SR

5. Country SR

What you keep for yourself, you lost it forever.

What you give away to people, you keep it.


Lesson Learn on 21 March, 2014

เรื่อง : เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย AEC กับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สร้างให้เกิดการค้าเสรีในด้านสินค้า บริการ การลงทุน และ แรงงาน

ผลกระทบอาจเกิดขึ้นในหลายด้าน ได้แก่

1. แง่คู่แข่ง >>>> เกิดคู่แข่งรายใหม่ และคู่แข่งคนละประเภทที่มาแย่งลูกค้าเรา

2. แง่ลูกค้า >>>> ลูกค้าปรับเปลี่ยนโครงสร้างไปจากเดิมกลายเป็น ตลาดบนมาก บน และกลาง ตลาดล่างหายไป

3. แง่การบริหารจัดการ >>>> ต้องเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพและนวัตกรรมให้ทัน

สถานการณ์พลังงานโลกปี 2557 : ความต้องการน้ำมันดิบโลกจะเพิ่มขึ้น 1.4 % สหรัฐฯจะกลายเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดนอกกลุ่นมโอเปค และเกิด supply overhang นอกจากนี้ราคาก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเอฟทีมีแนวโน้มสูงเพิ่มขึ้นไปด้วยเช่นกัน แต่ราคาถ่านหินจะลดลง

ไทยมีความเสี่ยงความมั่นคงด้านพลังงานสูงที่สุดในอาเซียน เพราะต้องพึ่งพาพลังงานจากนอกประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงต้องนำเข้าไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มได้อีก. ดังนั้น กฟผฺ ต้องเร่งปรับตัวอย่างมาก ควบคู่ไปกับการปฎิรูปพลังงาน ซึ่งอาจมีการเปิดเสรีด้ารระบบส่งและจำหน่ายในอนาคต

เรื่อง : Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร

Mind mapping เป็นการใช้จินตนาการและการเชื่อมโยง ที่ต้อง คิดกว้าง และคิดลึก

Mind Map Keys ประกอบด้วย Thinking , Memmory , Creativity

ประโยชน์ของ Mind Mapping ได้แก่

1. ช่วยลำดับความสำคัญของงาน

2. ช่วยในการสั่งงาน

3. สอนงานคนใหม่

4. ใช้ทำงานแทนกันได้

5. เพิ่มประสิทธิภาพการอบรม

6. เป็น outline of presentation

1. การศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิชัยพัฒนา

ได้ฟังการบรรยาย “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนั้นต้องมองถึงสังคมพอเพียง , รู้จักความพอเหมาะพอดี โดยนำเหตุผลมาวิเคราะห์เป็นหลัก

สำหรับการรับษาความพอดีจะต้องไม่ดำเนินการในทุกด้านอย่างสุดโต่ง การบริโภคอย่างฟุ่มเฟือยมีผลทำให้ดรรชนีทรัพยากรธรรมชาติลดลง สำหรับการพัฒนาจากอดีตถึงปัจจุบันและไปสู่อนาคต ซึ่งวิเคราะห์การพัฒนาแบบ KPM กับแบบ GCK โดยสรุป

- แบบ KNOWLEDGE , POWER , MONEY (KPM)

เน้น GDP

ระบบทุนนิยม

การแข่งขัน , การแก่งแย้ง

การใช้ทรัพยากรฟุ้มเฟือย

- แบบ GOODNESS , CULTURE , KNOWLEDGE (GCK)

เน้น GNH

ระบบเศรษฐกิจแบบพึงพอตนเอง

เน้นการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น

เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากร

ส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล

โดยสรุป หลักเศรษฐกิจพอเพียงนั้นให้ยึดทางสายกลางเป็นหลัก การขับเคลื่อนอันมีองค์ประกอบ

1.พอประมาณ

2.มีเหตุผล

3.มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังนี้

1.ความรู้ (รอบรู้ , รอบคอบ , ระมัดระวัง)

2.คุณธรรม

ซื่อสัตว์สุจริต

ขยัน อดทน

สติปัญญา

แบ่งปัน

จากเขื่อนไขเพื่อนำไปสู่ ชีวิต / เศรษฐกิจ / สังคม / สิ่งแวดล้อม / สมดุล / มั่นคง / ยั่งยืน การมุ่งไปสู่เศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างยั่งยืนจะต้องนำการใช้เพียงพอมาเป็นตัวชี้นำในแต่ละสภาวะแวดล้อมและสถานการณ์ นอกจากนี้เศราฐกิจพอเพียงควรอยู่ภายใต้ความพอดี 6 ประการ มาเป็นกรอบประกอบด้วย

1. ด้านจิตใจ

2. ด้านสังคม

3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ

4. ด้านเศรษฐกิจ

5. ด้านเทคโนโลยี

6. ด้านการเมือง

2. หัวข้อ ผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง โดย ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ , อ.ประกาย ชลหาญ , ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ และ อ.ทำนอง ดาศรี

สร้างการเรียนรู้ บทบาทผู้นำให้เข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรในภาพรวมและของหน่วยงาน โดยนำการวิเคราะห์มาเรียนรู้เกี่ยวกับจุดแข็งและจุดอ่อน แต่สิ่งที่คาดหวังก็มาจาก PERFOKMANCE ซึ่งวิเคราะห์ได้ 2 ส่วน

1. COMPETENCY ประกอบด้วย องค์ความรู้ (KNOWLEDGE) และทักษะประสบการณ์

2. แรงจูงใจ (MOTIVATION) ผลสำเร็จและความคาดหวังที่จะสำเร็จจะต้องมีแรงผลักดันจากผู้นำ พอสรุปได้ว่าผู้นำต้องเก่งใน 3 เรื่อง

1. การเปลี่ยนแปลง

2. PARADIGM

3. สร้างเครือข่าย

ส่วนการเปลี่ยนแปลงจะมาจาก 2 สาเหตุ

1. การเปลี่ยนแปลงที่เริ่มจากตัวเอง

2. การเปลี่ยนแปลงที่มีผู้อื่นสั่งให้เปลี่ยนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรที่จะได้รับความร่วมมือ ผู้นำควรนำแนวคิด KFCI มาขับเคลื่อน ประกอบด้วย

1. KNOWME หมายถึง รู้จักลูกน้อง

2. บริหารลูกน้อง (FOCUS ME) แต่ละคนไม่เหมือนกัน

3. แสดงความรัก ความใส่ใจลูกน้อง (CARE)

4. สร้างแรงบันดาลใจให้ลูกน้อง (SNSPIRE ME)

สรุปการเรียนรู้หลักสูตร EADP 10 วันที่ 18-21 มีนาคม 2557

โดย นายศานิต นิยมาคม ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสังคม

ศึกษาดูงานมูลนิธิชัยพัฒนา หัวข้อ”หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”(Sufficiency)

(ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำหลักดังกล่าวมาดำเนินการในปี 2541 รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้นำหลักปรัชญาดังกล่าวไปเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ

ทุกวันนี้ลัทธิบริโภคนิยมมีการขยายตัวไปทั่วโลก สิ่งสำคัญคือต้องบริโภคให้พอดี แต่ปัจจุบันกลับพบว่าบริโภคเกินความจำเป็นถึง70% ส่งผลให้ทรัพยากรลดลงและขยะเพิ่มขึ้น กระทบต่อสภาพแวดล้อมของโลก

เราสามารถแบ่งโลกได้เป็น2ซีกคือ

1.กระแสหลัก ซึ่งได้แก่ ทุนนิยม กระแสนิยม วัด GDP มีการแข่งขัน ฟุ่มเฟือย มีมลพิษ

2.สังคมอุดมปัญญา วัดGNH เน้าเศรษฐกิจพอเพียง นุรักษ์วัฒนธรรม อนุรักษ์ทรัพยากร ส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล

ทั้งนี้จากสภาพแวดล้อมการบริโภคในปัจจุบัน จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนของชีวิต ซึ่งแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน

  • -สร้างสมดุลเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • -มุ่งความอยู่ดีมีสุขของประชาชน
  • -ไม่เน้นCost Benefit ดังแนวพระราชดำริ “ขาดทุนคือกำไร”
  • -ใช้ Cost Effectiveness เช่น ยอมลงทุนเพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด

หลักการของเศรษฐกิจพอเพียงคือ 1.พอประมาณ 2มีเหตุผล และ3.มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ซึ่งหมายถึง ในชีวิต หรือการบริหารให้ยึดหลักพอประมาณ ดูทุนของตนเองก่อนอย่าให้เกินทุน จากนั้นจึงดำเนินชีวิต ใช้เงินอย่างมีสติใช้เหตุผล สำคัญคือ ใช้แล้วเกิดประโยชน์อะไร ต้องชัดเจน โปร่งใส มีเหตุผลและเกิดประโยชน์ ไม่ใช่ผลลัพธ์ที่ปริมาณ แต่ต้องเน้นคุณภาพ

ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เน้นการใช้คนเป็นศูนย์กลาง เน้นคุณธรรม มีวิสัยทัศน์ มี EQ จัดเตรียมคนให้พร้อมสำหรับอนาคต

คำว่า “พอเพียง” กับ “เพียงพอ”

สำหรับ กฟผ.เดิมมาต้องจัดหาพลังงานให้เพียงพอ ขณะที่ความต้องการเพิ่มขึ้น ปริมาณเชื้อเพลิงก็ลดลง โดยใช้ Demand เป็นตัวตั้ง สนับสนุน Supply ตาม แต่หากใช้หลักพอเพียง ต้องเอา Supply เป็นตัวตั้งแล ะDemand ตาม

ในอีก 5 ปีข้างหน้า กฟผ.ควรเน้นการผลิตพลังงานที่ยั่งยืน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มี Avaliable เท่าไร หันมาปรับ Demand ให้สอดคล้องกับ Avaliable เพื่อให้ Sustainable เช่นต้องยกเลิกหลอดที่ไม่ประหยัดพลังงาน และนำเอาหลัก3ประการของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้บริหารกิจการ

กรณีตัวอย่างเช่นบริษัทเอสซีจี เมื่อปี 2540 ประสบปัญหารุนแรง ขาดทุน 58,000 บาท หันมาใช้หลักพอประมาณทบทวนตนเอง(Assesment)ว่าตัวธุรกิจหลักควรทำอะไร เดิมมีกิจการในเครือถึง200บริษัท คนควรเชี่ยวชาญในด้านใด(Expert) สุดท้ายจึงตัดสินใจลดเหลือเพียงธุรกิจหลัก(Core Business)ด้านก่อสร้างเท่านั้น เหลือธุรกิจหลัก 3 กลุ่ม ซึ่งใช้เวลาเพียง 1 ปีภาวะขาดทุน 58,000 ล้านบาทก็หมดไป มีการบริหารการเงินเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันเป็นผลให้เพียง 2-3 ปีต่อมา มีผลกำไรสูงสุดในรอบ35ปี

KeySuccess Factor คือ ประสิทธิผล รวย และยั่งยืน มุ่งการสร้างสมดุล มั่นคม ยั่งยืน รวมทั้งมีการลงทุนด้าน Research ได้ Knowledge เกิด Innovation ในธุรกิจ ช่วยสร้างรายได้ คือใช้หลักคิดและมีคุณธรรม

หลัก เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

เข้าใจ หมายถึงต้องเข้าใจว่าทำอะไร เช่น กฟผ.ผลิตไฟฟ้าต้องเข้าใจทุนดำเนินการและเข้าใจสิ่งที่จะดำเนินการ หลักคือ หากไม่เข้าใจต้องหยุดไว้ก่อน ประเมินตนเอง เข้าใจ Demand กับ Supply จะ Balanceได้อย่างไร ต้องเน้นการประหยัดและสร้างความเข้าใจให้ Stakeholder

เข้าถึงAction คือการลงมือปฏิบัติ มีเครื่องมือในการบริหาร มีข้อมูลไปสู่การกระทำ

พัฒนา แผนที่ผ่านความเข้าใจ เข้าถึง ผ่านประชาพิจารณ์รับฟังความเป็น จะเป็นแผนพัฒนาที่ยั่งยืน

หัวข้อเรื่อง ผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร การบริหารการเปลี่ยนแปลง

จุดแข็งของ กฟผ. ใช้วัฒนธรรมไปสอดแทรกกับชุมชน คน กฟผ.มีความรู้ความสามารถ มีการบริหารการเปลี่ยนแปลง

จุดอ่อนคือ ปัญหาเรื่องการสื่อสารกับคนในองค์กร ซึ่งพนักงานมักจะรู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ และไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้ ซึ่งต้องแก้ไขโดนให้รู้ในส่งที่ควรรู้ ในปริมาณที่เหมาะสม ในช่วงเวลาที่เหมาะสม และเนื้อหาเหมาะสม

Tool มีสหภาพแรงงานเป็นแนวร่วมที่ดีขององค์กร

Structure กฟผ.มีโครงสร้างหลายLayer ทำให้สื่อสารยาก

ต้องทำให้คนรู้จักงานขององค์กร มีการ Cross Selling

ต้อง Approach ชุมชนตาม Culture เรียนรู้ชุมชน ปรับเข้าหาชุมชน ซึ่งกฟผ.ต้องทบทวน

พฤติกรรมบางอย่างต้องเพิ่มเช่น ขาดพฤติกรรมการเรียนรู้ ต้องปรับพฤติกรรมเพื่อให้เชื่อมโยงสู่ชุมชนให้ได้ และต้องทำ Internal Communication

กรณีศึกษาบริษัทบ้านปู วิสัยทัศน์”ก้าวสู้ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”

ปี 1983 บ้านปูเริ่มกิจการจากธุรกิจขนาดเล็กด้านถ่านหินที่ อ.ลี้ จ.ลำปาง โดยมีช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญคือ

ยุคแรก ในช่วงที่เกิดวิกฤติน้ำมัน ได้เห็นโอกาสของธุรกิจถ่านหิน ซึ่งมีศักยภาพสูงและเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกสำหรับอุตสาหกรรมไทย ซึ่งเริ่มจากทุนจดทพเบียน 1MT และเพิ่มเป็น 100MTในปี 1980 ช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจในการเข้าเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์

ระยะที่ 2 ภายหลักเข้า ตลท.เปิดโอกาสให้ขยายธุรกิจ โดย Contract ใหม่คือส่งถ่านให้กับโรงไฟฟ้าแม่เมาะของ กฟผ. ซึ่งเป็นผลให้กิจการเริ่มขยายตัวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มีการขยายการลงทุนใน อินโดนีเซียและเติมโตต่อเนื่อง 1993 เริ่มทำธุรกิจผลิตไฟฟ้าคือ โรงไฟฟ้า COCO มาบตาพุด ร่วมทุนบริษัทไตรเอ็นเนอจี ราชบุรี และ BLCP จ.ระยอง รวมถึงมีการชยายตัวในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องต่างๆ

ในช่วงวิกฤคิการณ์ต้มยำกุ้งบ้านปูก็ได้รับผลกระทบมากเรือ่งอัตราแฃกเปลี่ยนเงินตรา ส่งผลต่อหนึ้สินที่เพิ่มขึ้นและกระแสเงินหมุนเวียนของบริษัทรุนแรง นำไปสู่การตัดสินใจขายหุ้น COCO หลังจากเศรษฐกิจเริ่มคลี่คลายก็จึงเริ่มลงทุนในหุ้นโรงไฟฟ้าราชบุรี

จากเหตุการณืที่เกิด บรบ้านปูได้ทบทวนแนวทางการดำเนินงานและธุรกิจของบริษัท โดยFocusจัดแข็งที่มีSkill อยู่ในChain ปรับStrategy เป็น Coal Champion Plus ขาย Non Core เอา Fund มาลงทุน Core Business แทนคือ Coal และ Diversition ในธุรกิจเกี่ยวเนื่อง โดยกำหนดเป็น% ในแต่ละด้าน ลงทุนธึรกืจถ่านหินในอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย จีน และมองโกเลีย

ระยะที่ 3 เป็นยุคปัจจุบันช่วงปี 2011-2013

มีการกำหนด BANPU FUNDAMENTAL 6 AREAS

1.Cost Rationization&Productivity

2.Capital Planning

3.Synnergy Drive

4.Human Resource Development

5.Financial Streamlining

6.Organic Growth

เริ่ม Mix Coal จากแหล่งต่างๆให้เป็นProduct ที่มีคุณภาพแตกต่างจากตลาด เป็นการ Synergy

Global Trend and Needs for Sustainable Development โดยให้ความสำคัญกับ CSR/SD อันเป็นผลจาก

  • -มาตรการ/ระเบียบที่เข้างวดของภาครัฐ
  • -สาธารณชนHigh Concern เรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • -การทำเหมืองต้องให้ความสำคัญต่อการดูแลชุมชน
  • -ความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยกู้เพื่อลงทุนในธุรกิจที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • -ความเข้มแข็งขององค์กรอิสระ/สื่อมวลขน
  • -ความต้องการความเชื่อมั่นจากบริษัท

SD Framwork

Operation Excellent ต้องมี Profit Return ให้ความสำคัญ3ด้าน

1.Competitiveness(People Development , Operation Excellent , Technology)

2.License to Operate (Health & Safety , Environment , Community Development)

3.Localization(Good Governance , Business Ethics , Compliance , Good Corporate Citizen)

การทำ CSR เน้นทำด้วยใจ ให้ความสำคัญการมีส่วนร่วม มุ่งเน้นประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม(มากกว่าเน้นตัวเงิน) ใช้การเรียนรู้ เน้นสร้างสังคมเยาวชนให้แข็งแรง

หัวข้อเรื่อง TQM/SEPA

กฟผ.ควรทำ Business View จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อกำหนด Business Drive เช่น วันนี้ Fossil ลดลง หรือ Asean Power Grid หรือ Smart Grid สำคัญคือเรื่อง Trust ต้องมองที่คน เป็นระบบ จบที่ผลลัพธ์เป็นเลิศ

หลัก TQM/SEPA เป็นเรื่องของกระบวนการและผลลัพธ์ โดกระบวนการดีจะสร้างผลละพธ์ที่ยั่งยืน บริบทเริ่มจากการทำความเข้าใจตนเอง Reviewธุรกิจ ผลิตภัณฑ์และบริการ ใครคือลูกค้า/คู้ต้ามีความต้องการหรือคาดหวังอย่างไร มีกระบวนการส่งมอบคุณค่า/มูลค่าให้กับลูกค้าที่มีคุณภาพ/ประสิทธิภาพอย่างไร มีการติดตามผลอย่างไร มีกระบวนการพัฒนาคนให้ตอบสนองธุกิจและตอบสนองลูกค้าอย่างไร สู้กับคู่แข่งได่อย่างไร

การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามทางการเมือง

การเมืองไทยในอดีตที่ผ่านมานำรูปแบบจากต่างประเทศมาใช้ ทำให้ไม่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยและไม่มีการบริหารจัดการที่ดี การเมืองจึงอ่อนแอและมีการเลือกตั้งใหม่และปฏิวัติรัฐประหารบ่อย ซึ่งในวันนี้มีความเสื่อมโทรมทางคุณธรรมจริยธรรม

ระบบประชาธิปไตยถือเป็นระบบที่เลวน้อยที่สุด การที่นักการเมืองโกงได้ทุกวันนี้ก็เพราะระบบอุปถัมภ์ โดยได้อำนาจมาจากState Power เราไม่ควรนำนโยบายประชานิยมเข้าสู่การเมือง ต้องปฏิรูปกระจายอำนาจไปสู่พื้นที่ ให้พื้นที่บริหารตนเอง รวมทั้งมีการดูแลเรื่องคอรัปชั่น โดยปฏิรูประบบราชการ

ประเด็นคือ กฟผ.จะรอดจากการเมืองได้อย่างไร

กฟผ.ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับสังคมเพื่อความสุข CSRต้องตั้งเป้าสังคมอยู่ดีมีสุข สร้างคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน เช่น สุขภาพอนามัยที่ดี ต้องเอาประชาชนเป็นเพื่อน

ส่วนในด้านพลังงานต้องมีการปฏิรูปต่อเนื่อง โดยเรื่องEnergy Security เป็นปัญหามากเพราะ 70% นำเข้าจากต่างประเทศ ปัญหาด้านพลังงานที่เกิดขึ้นของประเทศต้องใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพลังงานของประเทศและต้องมีรูปแบบการบริหารใหม่ว่าจะพัฒนาสิ่งที่มีอยู่อย่างไรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โรงไฟฟ้าเก่าหมดอายุจะพัฒนาอย่างไรให้ยอมรับได้ ที่สำคัญคือต้องEducateประชาชนให้มา ให้ต่อเนื่อง ให้เข้าใจความสำคัญของการพัฒนาพลังงานต่อการพัฒนาประเทศ

ตัวอย่างในอดีต เช่น แม่เมาะ ปากมูล หรือกระบี่ที่กำลังดำเนินการ ประเด็นอาจเกิดจากความไม่เข้าใจของประชาชน ซึ่ง กฟผ.เข้าไม่ถึงแต่NGO ใกล้ชิดกว่า ทั้งนี้อันที่จริงแล้ว กฟผ.มีรั้วที่สำคัญคือประชาชนที่อยู่รอบข้าง กฟผ.ต้องดูแลให้เป็นเสมือนรั้วของ กฟผ. นอกจากนั้นสิ่งที่น่าทำคือเรื่องน้ำเค็ม ปัญหาภัยแล้ง เขื่อนหลักยังรองรับการบริหารจัดการน้ำไม่ได้ ต้องมีโครงการบริหารจัดการน้ำ เช่น ผันน้ำมากักเก็บเติมลงในอ่าง

กฟผ.ต้องวิเคราะห์ว่า การปฏิรูปพลังงานให้ก้าวหน้าจะทำอย่างไร

1.กฟผ.ต้องเป็นExpert มีข้อมูลดีกว่าการเมือง และต้องเผยแพร่ให้สังคมทราบ จะช่วย Counter Balanceกับฝ่ายการเมือง

2.ถ้ายืนหยัดมั่นคงถูกต้อง ก็ไม่ต้องกลัวฝ่ายการเมือง เป็นLobbyist สังคมให้รู้ข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง CSR กฟผ.ต้องมีบทบาทสำคัญกับคนใกล้ชิด

นวัตกรรมของบริษัท ซีพีออล

7-11 เกิดที่สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าของLicense โดยซีพี MOU เมื่อ 7 พ.ย. 2531 และเริ่มเปิดสาขาแรกที่ถนนพัฒน์พงษ์

ธุรกิจหลัก มีกลุ่มบริษัทSupport การผลิต กระจายสินค้า IT และบริการอื่นๆ(ค้าปลีก การกระจายสินค้า อุปกรณ์ค้าปลีกและซ่อมบำรุง บัตร7CardIT ผลิตสื่อ PR&Marketing รร.ปัญญาภิวัฒน์ผลิตบุคลากร ปัญธาราพัฒนาบุคลากร กาแฟ สุขภาพ ยา เบเกอรี่) โดยปัจจุบันมีพนักงานรวมกว่า 100.000 คน และพนักงานมีส่วนร่วมทำ CSR

KEY ก็คือ ความสะดวกซื้อ ผ่านรูปแบบสินค้าและบริการ โดยปัจจุบันมีจำนวน 7,634 สาขา 50% อยู่ใน กทม. มีจำนวนลูกค้า 8ล้านคนต่อวัน

ตัวอย่าง Innovation ของร้านสะดวกซื้อ เช่น

1.เครื่องสแกนสินค้าแบบอุโมงค์ สแกนราคาสินค้าโดยเข็นรถเข็นสินค่าผ่านอุโมงค์ไม่ต้องหยิบทีละชิ้น

2.ระบบ Order Online โทรสั่งขับรถไปรับ

3.Mobile Application แสดงแผนที่บอกที่ตั้งร้าน

4.Club Card แทนเงินสด

5.ในประเทศเกาะหลี ทำป้ายแสดงภาพสินค้าและQR CodeDisplay ในSubway ใช้ Smart Phone Scan สิ้นค้า แล้วสั่งซื้อOnline ส่งถึงบ้าน เป็นOnline Sell เป็น Versual Store

6.Gain Vending Machine ใช้ Robo Machine โดยกดสั่งสินค้าหน้าจอTouch Screen หุ่นยนต์จะจัดสินค้าตามรายการส่งมาที่ช่องรับของ

7.ขายบนรถแท๊กซี่

8.Drive True

9.Microsoft Future Vision on Retailing Order ผ่านทางมือถือ เป็นการกดสั่งจากมือถือใน Store จะบอกตำแหน่งสินค้าที่ต้องการ และชำระเงินต่านมือถือ ผู้ซึ้อเข็นรถเข็นไปรับที่Shelt ว่าอยู่ตรงไหนบ้าง กีรับสินค้ากลับบ้านได้

ความหมายของคำว่า นวัตกรรม คือสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม โดยนวัตกรรมในความหมายของ ซี พี ออล คือ การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ หรือ ปรับปรุงสิ่งเดิม เกิดจากการนำความรู้และความคิดสร้างสรรค์นำไปพัฒนาให้เกิดคุณค่าต่อลูกค้า องค์กร และสังคม แบ่งเป็น

1.Process Innovation สร้างสรรค์กระบวนการใหม่

2.Product Innovation สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่

3.Sevice Innovation สร้างสรรค์บริการใหม่

4.Business Model Innovation สร้างสรรค์ธุรกิจรูปแบบใหม่

ทั้งนี้ Innovation มี 2 แบบคือ Closed Innovation คือ Copy มาพัฒนา กับ Opened Innovation มี Concept และ Focus on Combine ซึ่งผู้บริหารถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างนวัตกรรมงค์กร โยซีพีออล มีการจัดประกวดนวัตกรรมประจำ หลักคือ ง่าย ไม่ซ้ำซ้อน ลดขั้นตอนการทำงาน คล่องตัว ใช่IT ช่วย

White Ocean

ทุนนิยม เป็นเรื่องวัตถุนิยม บริโภค นิยม ประชานิยม เป็นระบบที่ทำให้ล่มจม เป็นมิจฉา/กิเลส Marketing ซึ่งวันนี้เราอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงสำคัญของโลก Freedom of Choice หลายคนมักพูกว่า ต้องการให้โลกเปลี่ยน แต่ไม่เคยพูดว่าจะเปลี่ยนตัวเอง

คนเรามีสมอง 2 ซีก ซีกช้าย ใช้ประมวลประเมิน ตัดสินใจ ส่วนซึกความ ใช้ความรู้สึก รับโดยใช้หัวใจ มีคำพูดที่น่าสนใจว่า Knowledge is Power but Love is Miracle

อดีตมี Red Ocean ยุคอุตสาหกรรมที่เชื่อว่า ลูกค้าคือพระเจ้า ต้องการกำไรสูงสุด ต้นทุนต่ำสุด ต่อมามี Blue Ocean หลัก High Rich High Return เน้น Idea Technology โดย Creat Need Creat Want ลูกค้า

ปัจจุบันมี White Ocean หลัก Everyone is the Winner เน้น Co-CreationHigh Trust สร้าง High Performance และ Low Cost

กรณีตัวอย่าง บ.วิริยะประกันภัย จากนโยบายประกันภัยบุคคลที่ 3 จะส่งผลให้วิริยะขาดทุน 2-400 ล้าน ผู้บริหารรับ โดยแนวคิดว่า กระทบบริษัทแต่ยังมีทุนเหลือพอ ทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นและมีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด

Steve Jobs เรียนวิชาออกแบบตัวอักษร 6 เดือน พัฒนาApplication บนมือถือ หรือ Bill Gates โลกทุกแห่ง Connect ด้วย Computer

หลักบริหารปัจจุบันคำนึงถึง Triple Bottom Line คือ People Profit Planet คืนให้กับสังคมเกิด Social Progressเติบโตคู่กับสังคม คืนธรรมชาติให้กับสิ่งแวดล้อม Socio Environment มีการแบ่งปัน มีคุณธรรม(Integrity) มนความเป็นจริงและในเนื้อแท้ โดยมีศรัทธา(Passion) ตามหลัก 7 ประการของ White Ocean

จิตอิสระกับจิตประภัสร

ฝึกสมาธิจากกลอุบายดื่มน้ำเย็น ทำจิตให้นิ่งพิจารณาตามความเย็นที่เข้าไปในร่างการและFocus อยู่ที่จุดสุดท้าย สามารถนำไปปฏิบัติให้การบริหารจิต สมาธิ สำหรับนักบริหาร

เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย AEC

เมื่อเศรษฐกิจโลกเกิดปัญหา สหรัฐใช้วิถีอัดฉีดสภาพคล่องเพื่อแก้ไขปัญหา ประเด็นคือถ้าถอนสภาพคล่องเศรษฐกิจสหรัฐจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก รวมทั้งประเทศจีนก็เริ่มมีปัญหาอันเนื่องมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทีมีการลงทุนสร้างอสังหาริมทรัพย์มากและมีแนวโน้ม Over Investment อาจคล้ายต้มยำกุ้งในอดีต ทั้งนี้คาดว่าสหรัฐอเมริกาและยุโรปยังพอไปได้ แต่บางประเทศเริ่มเปราะบางมีแนวโน้มเศรษฐกิจทรุด

อย่างไรก็ตามในความผันผวนที่เกิดขึ้นยังมีโอกาส เช่นภูมิภาคเอเชีย มีโครงการคมนาคมที่เชื่อมถึงกัน ทำให้มีโอกาสในด้านต่างมากขึ้น เป็น Gate Way เชื่อมอาเซียน รวมทั้งมีระบบรางเชื่อมโยงการขนส่ง กับ จีน เวียดนาม กัมพูชา ไทย เมียนม่าร์

ทิศทางพลังงานโลกในปัจจุบัน สหรัฐเริ่มเป็นผู้ผลิตรายใหญ่แทนซาอุดิอาราเบียและรัสเซีย ส่วนจีนก็มีอนวโน้มในการใช้พลังงานลดลง โดยแนวโน้มยังใช้ฟอสซิล 75% และใช้พลังงานทดแทน25%

สำหรับการใช้พลังงานในแถบเอเชียปี 2012-2035 ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอย่าง OECD โต 4% ขณะที่ Middle East โต 10 % แม้แนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะดีขึ้น แต่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานเพิ่มไม่มาก ประมาณ 1.4%

อย่างไรก็ตามการที่ FED ลดวงเงิน QE(นโยบายผ่อนปรนทางการเงิน) เพื่อให้ค่าเงินดอลล่าแข็งขึ้น แต่มีแนวโน้มที่ราคาน้ำมันดิบจะลดราคาลงต่ำกว่า 100 ดอลล่าต่อบาเรล

วันนี้ราคาเชื้อเพลิงในไทย LPG ในภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น ขณะที่LPG ภาคขนส่งตรึงราคา เบนซินลดลง ดีเซลควบคุมราคาที่ 30 บาทต่อลิตร กาซธรรมชาติเพิ่มสูงตามราคาน้ำมันเตา ค่าไฟมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รัฐมีนโยบายรับซื้อไฟเพื่อนบ้าน โซล่ารูฟท๊อป และเพิ่มถ่านหิน

คาดว่าใน22 ปีข้างหน้า ไทยจะนำเข้าน้ำมันเพิ่ม 80% คิดเป็นมูลค่า 2.2 ล้านล้านบาท นำเข้าLNG 90% เพิ่ม23 ล้านล้านบาทต่อปี และนำเข้าจากเพื่อนบ้านเพิ่ม 21%

อนาคต กฟผ.

1.ต้องปรับตัวก้าวสู่รัฐวิสาหกิจระดับภูมิภาค

2.Asean Power Grid จะเป็นประโยชน์

3.การตอบสนองโจทย์ Green Energy Company , DSM และ Renewable Energy

4.ลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน

5.นำความเชี่ยวชายด้าน O&M ไปใช้ในกลุ่มอินโดจีนและเมียนม่าร์

6.เตรียมอุตสาหกรรมให้พร้อม

7.เตรียมพร้อมรองรับนโยบายปฏิรูปพลังงาน

Mind Mapping

Mind Mapping ทำให้เห็น Blue Print

การคิดมี 2 แบบคือ คิดลึก ลักษณะความคิดต่อเนื่อง(Radial Thinking) กับคิดกว้าง แบบ Free Flow กับแบบ Structure

หลักคือ มองจากจุดเริ่มต้น ดูความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องตามๆ แยกเป็นด้านๆ แล้วพิจารณาต่อเนื่องจากจุดต่างๆขยายต่อไป เพื่อให้สามารถเห็นภาพความเชื่อมโยงทั้งหมดภายในแผ่นเดียว ใช้เวลาน้อย เห็นได้ครอบคลุมทุกด้าน นำไปสู่การวางแผน ไอเดียใหม่

ณรงค์ศักดิ์ เขียวรำภา EADP กลุ่ม 4

เศรษฐกิจพอเพียง : สังคมต้องพอเพียง,การเมืองต้องพอเพียง

  • ปัญหาของโลกเกิดจากการบริโภคที่เกินพอดี
  • ปัจจุบันเหลือลัทธิบริโภคนิยมอย่างเดียวในโลก
  • เมืองไทยมีทรัพยากร,เทคโนโลยี่แต่ขาดการบริหารจัดการ
  • ปัจจุบันมีของที่ไม่ได้ใช้เลยคิดเป็นอัตราส่วนถึง 70%ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองทรัพยากรอย่างมาก(มนุษย์บริโภคทรัพยากรเกินขีดจำกัด)
  • ในปี 2550 ความต้องการในการบริโภคเกินจุดที่ทรัพยากรมีในโลกถึง 1.5 เท่าประเทศที่พัฒนาแล้วบริโภคมาก
  • มีการคาดการณ์ว่าในปี 2573-2593 การบริโภคจะเพิ่มมากขึ้นถึง 2.8 เท่า

จากอดีตถึงปัจจุบันเป็นการพัฒนาแบบ KPN (Knowledge ,Power , Money)

  • เน้น GDP
  • การแข่งขัน,แข่งกันเก่ง
  • ใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยทำให้เกิดมลภาวะ,ภัยพิบัติทางธรรมชาติ,ปัญหาสังคม

อนาคตเป็นการพัฒนาแบบGCK(Goodness, Culture, Knowledge)

  • เป็นระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตัวเอง
  • เน้นการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นและทรัพยากร
  • ส่งเสริมหลักธรรมมาภิบาล

Sustainable Development

  • เป็นการพัฒนาที่มีความสมดุลย์ระหว่างเศรษฐกิจ,สังคม,ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประขาขน
  • ไม่เน้น Cost Benefitแต่ใช้Cost Effectiveness

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง :พอประมาณ(ประเมินตนเองก่อน):มีเหตุผล(มีสติ):มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

  • เงื่อนไขความรู้(รอบรู้,รอบคอบ,ระมัดระวัง)
  • เงื่อนไขคุณธรรม(ซื่อสัตย์สุจริต,ขยันอดทน,มีสติปัญญา,แบ่งปัน)
    • ชีวิตเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม
      • ความสมดุลย์,มั่นคงและยั่งยืน

ควรลงทุนเรื่อง Research เพื่อให้เกิด Innovation

พอเพียง: เอาSupplyเป็นตัวตั้งและเอาDemandเป็นตัวตาม

เพียงพอ: เอาDemandเป็นตัวต้องต้องสร้างSupplyให้ได้

หัวข้อ กรณีศึกษาของบริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน) กับการก้าวสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

โดย คุณสมยศ รุจิรวัฒน์ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2557

- ได้ทราบความเป็นมาและการเติบโตของบริษัทพอสรุปได้เป็น 3 ช่วง

1. ในปี 1983 เริ่มธุรกิจการทำเหมืองถ่านหินเล็ก ๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทย

2. ในปี 1989 นำบริษัทฯ เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์

3. ในปี 2001 เริ่มทำธุรกิจเหมืองถ่านหินในประเทศอินโดนีเซีย , ออสเตรเลีย และลงทุนธุรกิจไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้า COCO มาบตาพุด และในจีนมีการเติบโตมาอย่างต่อเนือง

- สำหรับการพัฒนาของบริษัทบ้านปู จำกัด มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย

1. เริ่มต้นเป็นช่วงเริ่มต้นธุรกิจถ่านหิน

2. เจริญเติบโต การเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์นำเอาประสบการณ์การทำเหมืองถ่านหินขยายตัวไปดำเนินธุรกิจในต่างประเทศควบคู่กับการเข้าดำเนินงานในธุรกิจเกี่ยวเนื่อง คือธุรกิจโรงไฟฟ้า

3. ภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำในปี 2013 ส่งผลกระทบกับตลาดและราคาถ่านหิน

4. พัฒนาธุรกิจ บริษัทฯ หันมาทบทวนมุ่งดำเนินงานในธุรกิจหลักและเกี่ยวเนื่อง

5. ปรับคุณภาพเข้าสู่ตลาด เช่น การเปิดสำนักงานที่ประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น

- การขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งบริษัทฯ ได้กำหนดเป็น BANPU SD FRAME WORK ประกอบด้วย

1. COMPETITIVENESS ต้องเป็นคนดีและมีคุณภาพ

- PEOPLE DEVELOPMENT

- OPERATIONAL EXCELLENCE

- TECHNOLOGY

2. LOCALIZATION สร้างความโปร่งใส

- GOOD GOVERNANCE

- BUSINESS ETHICS

- COMPLIANCE

- GOOD CORPORATE CITIZEN

3. LICENSE TO OPERATE

- HEALTH & SAFATY

- ENVIRONMENT

- COMMUNITY DEVELOPMENT

หัวข้อ TQM / SEPA: ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

โดย คุณโชติรส เสวกวัฒนา , อ.สัญญา เศรษฐพิทยากุล และคุณปิติ ศรีสุขสมบัติ

- เป็นการถ่ายทอดการดำเนินงานขององค์กร คุณภาพจัดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ทั้งในส่วนของ ปตท. และ กฟผ.

- โดยคุณปิติ ศรีสุขสมบัติ ได้มาถ่านทอดทั้งแนวทาง / หลักการ / วิธีการดำเนินงานคุณภาพองค์กรภายใต้ตัวชี้วัดการบริหารจัดการสู่องค์การแห่งความเป็นเลิศ โดย ปตท. ตั้งเป้า TQM ROADMAP

1. TQC ในปี 2014

2. TQA ในปี 2018

- STRATEGIC DEPLOYMENT

1. กำหนด VISION / MISSION

2. กำหนดเป้าหมายบริษัทเชิงกลยุทธ

3. วิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอก

4. กำหนดกลยุทธและวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ

5. สื่อสารถ่ายทอดและจัดทำแผนปฏิบัติการ

6. จัดสรรทรัพยากรตามแผน

7. ประเมินผลและปรับปรุงการปฏิบัติงาน

- คุณโชติรส เสวกวัฒนา ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (STATE ENTERPRISE PERFORMANCE APPRAISAL SEPA) ซึ่งกรรมการบริหารรัฐวิสาหกิจสู่ความเป็นเลิศ ประกอบด้วย

1. บริษัทของรัฐวิสาหกิจ สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์และความท้าทาย

2. การนำองค์กร / การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ / การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด / การมุ่งเน้นบุคลากร / การมุ่งเน้นการปฏิบัติ

3. การวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้

4. ผลลัพธ์

- ค่านิยมหลักและแนวคิดของเกณฑ์ SEPA

1. มุ่งเน้นความสมดุล

2. นำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์

3. ให้ความสำคัญต่อลูกค้า

4. มีการเรียนรู้ระดับบุคคลและระดับองค์กร

5. เห็นคุณค่าของบุคลากรและคู่ค้า

6. มีความคล่องตัว

7. มุ่งเน้นอนาคต

8. จัดการเพื่อให้เกิดนวัตกรรม

9. จัดการโดยใช้ข้อมูลจริง

10. รับผิดชอบต่อประเทศชาติและสังคม

11. มุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และสร้างคุณค่า

12. มีมุมมองเชิงระบบ

- สำหรับ อ.สัญญา เศรษฐพิทยากุล ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับระบบการประเมินคุณภาพขององค์กรที่นำมาใช้ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและยังให้มอง กฟผ. ควรที่จะมีรูปแบบการพัฒนาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศและมีการพัฒนาในลักษณะของ กฟผ. สำหรับใช้เป็นเส้นทางสู่ความเป็นเลิศที่เรียกว่า EGATWAY

หัวข้อ การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามของการเมือง

โดย รศ.อัษฏางค์ ปาณิกบุตร

ได้วิเคราะห์ให้แนวคิดการเจริญเติบโตของประเทศไทยในระยะเวลาที่ผ่านมาได้รับผลกระทบมาจากการเมืองโดยตลอด สิ่งที่ทำให้องค์กรเข้มแข็งและยืนหยัดอยู่ได้ องค์กรจะต้องมีความซื่อสัตว์ มีคุณธรรม มองว่า

1. ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม

2. ระบอบอุปถัมภ์ทำลายประเทศอย่างรุ่นแรง

3. การเมืองสมัยใหม่ต้องเป็นสังคมการมีส่วนร่วม

4. เรียนรู้ความคิดแบบแยกส่วน วิธีคิดแบบเชื่อมโยง

สำหรับวิกฤตการเมืองที่กระทบกับ กฟผ. มองว่า

1. กฟผ. ต้องมีความพร้อมรับสถานการณ์

2. มียุทธศาสตร์

3. เตรียมแผนการลงทุนในสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต

4. ต้องบริหารจัดการที่เข้มข้นทั้งระยะสั้นและระยะยาว

- ส่วน อ.ธรรมรักษ์ ให้มุมมองเกี่ยวกับการวางแผนรองรับกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต โดยให้แนวคิด

1. ให้กำหนดแผนรองรับใน 5 ปีข้างหน้า

2. ยุทธวิธีคิดจะใช้การบริหารการเมืองมีเหมาะสมภายใต้จุดอ่อน , จุดแข็ง และให้ความสำคัญในทุกระดับ (ระหว่างประเทศ , ระดับชาติและท้องถิ่น)

3. ใช้การมีส่วนร่วม / เครือข่าย

4. สร้างความเข้มแข็ง / ความโปร่งใสในการบริหารงาน

- สำหรับคุณสุวิทย์ คุณกิติ ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน สังคมให้ความสนใจ ต้องการเปลี่ยนแปลง สำหรับมุมมอง กฟผ.

1. กฟผ. จะต้องเข้าไปมีส่วนการทดแทนด้านพลังงานของประเทศ

2. กฟผ. เป็นมืออาชีพ

3. กฟผ. จะต้องให้ความรู้สาธารณะชนเกี่ยวกับการพัฒนาและเติบโตด้านพลังงาน

4. กฟผ. ต้องวิเคราะห์และกำหนดแผนในอนาคตให้สอดรับกับการเจริญเติบโต

5. กฟผ. ต้องมีข้อมูลที่ดีสื่อสารต่อสาธารณชนมากกว่าฝ่ายการเมือง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง

6. กฟผ. จะต้องให้ความสำคัญต่อชุมชนที่อยู่รอบแหล่งผลิตมากกว่าคนที่อยู่ไกล

วันที่ 18 มีนาคม 2557

ช่วงเช้า ศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิชัยพัฒนา : หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

  • ปัญหาของโลกเกิดจากการบริโภคเกินพอดี มนุษย์บริโภคทรัพยากรของโลกเกินขีดจำกัด
  • ไทยมีทุกอย่างที่ทันสมัยแต่ไม่มีระบบบริหารจัดการ
  • การพัฒนาแบบ KPM กับ GCK
  • อดีตถึงปัจจุบัน เป็นการพัฒนาแบบ KPM (Knowledge, Power, Money)
  • เน้น GDP ระบบทุนนิยม การแข่งขันและใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย
  • อนาคต เป็นการพัฒนาแบบ GCK (Goodness, Culture, Knowledge)
  • เน้น GNH ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง เน้นการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
  • เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรและส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล

การพัฒนาที่ยั่งยืน

  • การพัฒนาที่มีความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • เพื่อความอยู่ดี มีสุขของประชาชน
  • ไม่เน้น Cost Benefit
  • ใช้ Cost Effectiveness

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  • พอประมาณ คือ ตรวจสอบดูทุนว่ามีทุนมากน้อยเพียงใด ต้องประเมินตนเอง ทำ Self Assessment ก่อน
  • มีเหตุมีผล คือ ต้องมีสติใช้แบบมีประโยชน์
  • มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือ อย่าประมาท รู้จักประหยัด

ดร.สุเมธ ชื่นชม กฟผ. และแนะนำ กฟผ.

  • อยากให้ กฟผ. รักษา Spirit ของ กฟผ. ในเรื่อง ความ ซื่อสัตย์ การมีมาตรฐาน วางแผนด้านพลังงานที่ดี
  • อยากเห็น กฟผ. เป็นผู้นำทางความคิดสร้างกระแส ผลักดันเป็นกระแสดี ๆ ออกไปในสังคม จับกลุ่มคนดี โดยเอากิจกรรมนำหน้า

ช่วงบ่าย ผู้นำ-วัฒนธรรมองค์กร-การบริหารการเปลี่ยนแปลง

  • วัฒนธรรมมีระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และระดับองค์กร
  • วัฒนธรรมองค์กร เป็นสิ่งที่สังคมในองค์กรมองและปฏิบัติตาม
  • ผู้นำต้องเก่ง 3 เรื่อง คือ
  • 1.Change –การเปลี่ยนแปลง
  • 2.Paradigm – แนวคิด
  • 3.Networking/Relationship/Connection
  • ต้องเปลี่ยน Mindset ก่อนจึงจะเปลี่ยนอย่างอื่นได้
  • สิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานมี 2 เรื่อง
  • 1.Competency – ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์
  • 2.แรงจูงใจ ต้องรู้จักและเข้าใจลูกน้อง เพราะคนแต่ละคนมีแรงจูงใจไม่เหมือนกัน
  • การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องง่ายแต่จำเป็น ผู้นำมีหน้าที่ต้องเข้าไปบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง ซึ่งประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงที่เราอยากเปลี่ยนเอง และการเปลี่ยนแปลงที่ถูกคนอื่นบังคับให้เปลี่ยน
  • การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในองค์กรต้องคุยกันด้วยหลัก KFCI
  • 1.Know me – ลูกน้องต้องการให้หัวหน้าทำความรู้จักเขา
  • 2.Focus me– ถ้ารู้จักลูกน้องรายตัว ก็จะรู้จักจูงใจได้ตรงกับลูกน้องแต่ละคน
  • 3.Care me– ลูกน้องต้องการให้หัวหน้าแสดงพฤติกรรม ว่า Care เขาและทีมงาน
  • 4.Inspire me – สร้างแรงบันดาลใจให้ลูกน้อง

ช่วงเย็น ทบทวนหัวข้องานวิจัย

  • เปลี่ยนหัวข้องานวิจัยของกลุ่มที่ข้าพเจ้าเป็นสมาชิก กลุ่ม 5 จากเดิม “การลดการต่อต้านของชุมชนในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าของ กฟผ.” มาเป็น “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความร่วมมือของชุมชนในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าของ กฟผ.”

วันที่ 19 มีนาคม 2557

ช่วงเช้า กรณีศึกษาของบริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน) กับการก้าวสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

ได้เรียนรู้ประสบการณ์ความสำเร็จของบริษัทบ้านปู ซึ่งมีพัฒนาการ 5 ขั้น

  • 1.เริ่มต้น
  • 2.เจริญเติบโต
  • 3.Crisis
  • 4.Becoming a Regional and Local Coal-Based Energy Player
  • 5.Consolidation and Preparation of New Era of Growth

Banpu Sustainable Development Framework

  • 1.License to operate ให้ความสำคัญ กับ ความปลอดภัย สุขภาพและสิ่งแวดล้อม พัฒนาชุมชน
  • 2.Localization มีความโปร่งใสและจริยธรรมธุรกิจ
  • 3.Competitiveness

Key driver ของ Competitiveness

  • 1.เทคโนโลยี
  • 2.Integrated Mine Planning
  • 3.Project Management
  • 4.Asset Management
  • 5.Optimization
  • 6.Reporting and Dashboard System
  • 7.Synergy Focus

การจัดการ Workforce diversity เมื่อไปลงทุนต่างประเทศของบริษัท บ้านปู

  • 1.ใช้วัฒนธรรมร่วม 2 ประเทศ
  • 2.ทำความเข้าใจ Union
  • 3.ดูแลพวก Management กับ Union ให้ดีก่อน
  • 4.รักษาผู้บริหารที่เป็นคนท้องถิ่นไว้ ใช้ระบบ Compensation ที่ดี
  • 5.ให้คนไทยปรับตัว เข้าใจวัฒนธรรมประเทศนั้น
  • 6.ทำให้เขาเห็นว่าเราไปสร้างความเจริญให้แก่ประเทศเขา

ช่วงบ่าย TQM/SEPA: ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

Aspiration ของ ปตท.

  • 1.Big ใหญ่ระดับโลก
  • 2.Long สร้างความยั่งยืน
  • 3.Strong

การสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนของ ปตท. โดยใช้สามเหลี่ยมแห่งความยั่งยืน

HPO CG CSR

  • ผู้บริหารต้องชี้นำ สื่อสารเป้าหมายกระตุ้นพนักงานทำให้ยั่งยืนโดยปฏิบัติจนเป็นชีวิตประจำวัน ซึ่งผู้ว่าการ ปตท. พูดกับพนักงานทุกระดับเสมอ
  • ปตท. เน้น Assess Acquire และ Apply ทุกคนที่ไปดูงานต้องนำความรู้กลับมาแบ่งปัน
  • ปตท. เน้น BCM (Business Continually Management) ทำงานต่อได้แม้เกิดวิกฤติ
  • Key factors ส่งเสริมความเป็นเลิศของ ปตท.
  • 1.Continuous Improvement
  • 2.Excellent Leadership
  • 3.Open mind
  • EGAT WAY เป็นการ Integrated ทุกเครื่องมือที่ กฟผ. มี
  • การมี TQM ผลลัพธ์ที่คาดหวังคือเป็น HPO หรือ EGAT WAY ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มี 2 อย่าง คือ
  • 1.ความสำเร็จ 2. ความสุข
  • การเป็น EGAT WAY ต้องปรับ 1. ระบบบริหารจัดการ 2. บุคลากร
  • แนวคิดของกระทรวงการคลัง คือ ผลลัพธ์ที่ดีต้องมาจากกระบวนการที่ดี และดีกว่าคู่แข่ง
  • ปัญหาที่พบ เกี่ยวกับ SEPA ของ กฟผ.
  • 1.ความเป็น EGAT Silo นำไปสู่ปัญหาการ Integration ของกระบวนการ
  • 2.Work Process ความเป็น Engineering Based มีกระบวนการแข็งแรงแบบ Inside Out มากกว่า Outside In ต้อง Align กับความต้องการของลูกค้าด้วย ดังนั้นจะต้องทำ Standard EGAT WORK PROCESS ขึ้นมา
  • 3.หมวดผลลัพธ์ แม้กระทรวงการคลังไม่วัดแต่ก็ต้องนำผลลัพธ์ส่ง สคร. เพื่อยืนยันว่ากระบวนการดีหรือไม่

การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามของการเมือง

การเมืองไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด มีการปฏิวัติหลายครั้ง ปัจจุบันมีปัญหาจากนโยบายประชานิยม ทำให้เกิดความขัดแย้งขยายวงกว้าง ประชาชนต้องการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งในอนาคตยังมีแต่ความไม่แน่นอนว่าจะมีผลสรุปออกมาเป็นเช่นใด

กฟผ. ต้องเตรียมแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงไว้หลายทางเลือกโดยใช้ข้อมูลจากมุมมองและประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญมาประกอบในการคาดการณ์

ศ.ดร.จีระ ฝากข้อคิดมุมมอง ไว้ 5 ประเด็น

  • 1.อย่ามองการเมืองว่าคุกคามอย่างเดียวให้มองเป็น Partner
  • 2.ศึกษาสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน และควรมองตัวละคร Union ด้วย
  • 3.มีพันธมิตรภายใน (Union)และภายนอก (Ngo) ชุมชน
  • 4.ค้นหายุทธวิธี
  • 5.วิธีการจัดยุทธวิธี เช่น การสร้าง Network มากขึ้น จัดอบรม วปอ. โดย กฟผ. เป็นเจ้าภาพ เชิญคนอื่นมาร่วมด้วย

คุณสุวิทย์ คุณกิตติ แนะนำ กฟผ.

  • 1.กฟผ. มีปัญหาทั้งเดิมและใหม่ แก้โดยเข้าร่วมจัดทำแผนกำหนดพลังงานของประเทศ
  • 2.จุดแข็ง ไม่ทุจริต ต้องพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้ว และพัฒนาใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพให้มีประสิทธิผล
  • 3.ต้องให้ความรู้ ความเข้าใจแก่สังคมให้มากและต่อเนื่อง
  • 4.จุดอ่อน มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เข้าไม่ถึงประชาชน NGO เข้าถึงมากกว่า EGAT สู้ NGO ไม่ได้
  • 5.ผลกระทบทางการเมืองเป็นเรื่อง นโยบาย การเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชนจะช่วยถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายการเมือง
  • 6.Lobbyist ไม่มีความจำเป็น ตัวเราเองสำคัญกว่า

รศ.ดร.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร แนะนำวิธี สร้างความอยู่รอด

  • 1.ทำให้ชุมชนเป็นเพื่อน
  • 2.สร้างชุมชนแห่งความสุข
  • 3.ทำให้ชุมชนสุขภาพดี

อ.ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ แนะนำ กฟผ.

1. กฟผ. ต้องมีสติ ไม่กลัว เตรียมรับ

2. ต้องวางแผนกรณีเศรษฐกิจแย่ กฟผ.จะมียุทธวิธีเตรียมรับ ปรับแผน ตัดแผนอย่างไร เช่น ดูเงินสด แผนการลงทุนในอนาคต ดูว่าโครงการอะไรได้ทุนคืนเร็ว

3. ต้องมี Vision บริหารการจัดการระยะสั้น

4. ผู้บริหารต้องเป็น Leader เพราะยามวิกฤติ Leadership สำคัญมาก

วันที่ 20 มีนาคม 2557

ช่วงเช้า ศึกษาดูงาน ณ บมจ. ซีพี ออลล์

  • USA เป็นเจ้าของ License 7-11 โดย บมจ. ซีพี ออลล์ นำมาเปิดในไทยในปี 2531 สาขาแรกพัฒนพงษ์(ปัจจุบ้นไม่มีสาขานี้แล้ว)
  • ปรัชญาของบริษัท“เราปรารถนารอยยิ้มของลูกค้า ด้วยทีมงานที่มีความสุข”
  • ผลิตภัณฑ์ หมายถึง ความสะดวกซื้อ (Convenience) ผ่านรูปแบบสินค้า และบริการ โดยเน้น Location Time (24 hr.) Speed
  • เปิดมุมมอง Innovation at store
  • นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม = New+Value Creation
  • นวัตกรรมในบริบทของ บมจ. ซีพี ออลล์ คือการเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ หรือการปรับปรุงจากสิ่งเดิม ที่เกิดจากนำความรู้ และความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาให้เกิดคุณค่าต่อลูกค้า องค์กรและสังคม
  • ศ.ดร.จีระ อยากเห็น Innovation ทางสังคมด้วย เช่น เป็นเพื่อนกับสังคม ทำ Survey อยู่เรื่อย ๆ ซึ่งต้องคิดถึงความยั่งยืน
  • สิ่งที่ต้องการ คือ Learn Share Care สังคม

ช่วงบ่าย White Ocean Strategy กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ.

  • หลักการสำคัญของ White Ocean พูดเรื่องยุคของการเปลี่ยนแปลง
  • มนุษย์บริหารจัดการไม่ได้ เพราะไม่ใช่สิ่งของ You can’t manage people, You can only lead people ดังนั้นสิ่งที่กำลังแสวงหาคือผู้นำสังคมไทยที่มีความจริงใจและมีความยุติธรรม
  • สมองมนุษย์มี 2 ซีก
  • สมองซีกซ้าย ทำหน้าที่ คิดคำนวณ วิเคราะห์ เหตุผล ตัดสินใจ
  • สมองซีกขวา ทำหน้าที่ จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์
  • “Knowledge is power but love is a miracle” ความรักคือปฏิหารย์ เป็นยุคที่เราใช้ความรัก(สมองซีกขวา) เรียกว่าความรัก ความศรัทธาทุกอย่างเป็นไปได้ ในสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้อย่าปล่อยให้ความไม่ดีของคนอื่นทำลายศรัทธาและความดีของตัวเราเอง
  • White Ocean Keyword คือทุกคนเป็นผู้ชนะร่วมกันได้ Everyone is the winner เป็นการจับมือร่วมกันได้ เช่น Facebook สร้างความสมดุลระหว่างคุณค่าและต้นทุน สร้างผลประโยชน์ยั่งยืนขององค์กร

ผลลัพธ์ที่ชัดเจนของ White Ocean คือ

  • 1.กำไร บริษัทที่มีธรรมาภิบาล กำไรสูงกว่าทุกปี
  • 2.ความสุข องค์กรสีขาว เป็นองค์กร ที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสังคม
  • 3.ยั่งยืน ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตการณ์อะไรขึ้นมา
  • องค์กร High Trust มี Skill ของการทำงานรวดเร็ว ต้นทุนน้อย ในทางตรงข้ามกัน ถ้าเป็นองค์กรที่ไม่ไว้วางใจ การทำงานจะช้าต้นทุนสูง บางกรณีต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะ

หลักการ White Ocean7 ข้อ

  • 1.Where are we? การทำแผน ประเมินตนเอง
  • 2.Where do we want to go?
  • 3.หาจุดสมดุลของ 4 P’s (People Planet Profit Passion)
  • 4.แบ่งปัน The world of Abundance
  • 5.Everyone is the winner
  • 6.แนวคิด ISR ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ต้องเริ่มจากตนเอง
  • 7.Bench Marking เป็นผู้สร้างบรรทัดฐานใหม่ขึ้นในองค์กร คือทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำ
  • สิ่งที่ประทับใจ คือคำพูดของคุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย .“ใจผมเป็นสุข…ทุกครั้งที่มันเต้นเพื่อคนอื่น” และสิ่งที่ฝากไว้คือ อยากให้คนไทยมีน้ำใจ มีจิตอาสา

หัวข้อธรรมะสำหรับผู้บริหารจิตอิสระกับจิตประภัสสร

จากการที่พระพิศาลศาสนกิจ (หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล) สอนฝึกสมาธิโดยใช้อุบายให้ดื่มน้ำเย็นแล้วตั้งจิตให้นิ่งตามความรู้สึกเย็นที่เข้าไปในร่างกาย และอยู่กับตำแหน่งที่ความเย็นไปหยุดอยู่ ซึ่งเป็นวิธีสอนที่ทำตามได้ง่าย ทำให้หยุดความคิดฟุ้งซ่านได้เร็ว จิตสงบ สามารถนำใช้เมื่อต้องการมีสติคิดแก้ไขปัญหาได้

นอกจากนี้ยังปราบปลื้มใจที่ได้มีโอกาสกราบพระผู้มีศีลบริสุทธิ์และมีความเมตตาสูง

หัวข้อ เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC. และผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

โดย ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ , ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล และ อ.มนูญ ศิริวรรณ

- มุมมองเศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณเริ่มฟื้นตัว อันประกอบด้วย เศรษฐกิจของอเมริกา , สหภาพยุโรป , ญี่ปุ่น ส่วนประเทศจีนมีการขยายตัวต่อเนื่องมาเป็นเวลา ๑๐ ปี เริ่มจะมีการลดการขยายตัว แต่จุดแข็งของจีนประกอบด้วย รู้ตัวและมีเงินสำรองสูง

- ส่วนในเอเชีย , เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงข่ายเส้นทางที่มีการเชื่อมโยงทำให้มีการเปลื่ยนแปลงทางเศรฐกิจ

1. ราคาที่ดินสูงขึ้น

2. ระบบขนส่งเปลี่ยนไป

3. บริษัทเอกชนไทยเริ่มออกไปลงทุนในภูมิภาค

- สถานการณ์พลังงานโลก

1. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจแม้จะปรับตัวแต่ยังไม่ส่งผลความต้องการน้ำมันเพิ่มขึ้น

2. กลุ่มมองโอเปคจะผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น

3. สหรัฐอเมริกากลายเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่

4. การดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินจะลดความเข้มข้นลง

- ทิศทางพลังงานไทย

1. ราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลง

2. ราคาก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น

3. ค่าไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

4. ถ่านหินราคาลดลงเพราะผู้ใช้รายใหม่หันไปใช้ก๊าซและพลังงานหมุนเวียน

- ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. รับสถานการณ์

1. ปรับองค์กรเพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคต

2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายด้านพลังงานในอาเซียน

3. ตอบสนอง GREEN ENERGY

4. แสวงหาลู่ทางการลงทุนพลังงานในประเทศเขื่อนขัน

5. ใช้ประโยชน์จากเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน

6. พัฒนาบุคลากร

7. เตรียมผ่านการปฏิรูปพลังงานด้านระบบส่ง

หัวข้อ MIND MAPPING สำหรับผู้บริหารและการวางแผนงานวิจัยและโครงการเชิงนวัตกรรม

โดย อ.ดำเกิง ไรวา

- MIND MAP ถือเป็นเทคนิคการบันทึกที่ต้องเชื่อมโยง คิดกว้าง คิดลึกและเกี่ยวเนื่อง

- สิ่งที่ได้จากการทำ MIND MAP

1. มองเห็นภาพเชื่อมโยงได้ทั้งหมดและครอบคลุม

2. ใช้เวลาน้อยในการเรียนรู้

3. ช่วยการสื่อสาร / เรียนรู้ได้ตรงกัน

4. ลดขั้นตอนและเพิ่มประสิทธิภาพเนื้อหา

5. ขยายผลไปสู่การวางแผน / บริหารความเสี่ยง

วันที่ 20 มีนาคม 2557

หัวข้อ นวัตกรรมของบริษัท ซีทีออลล์ จำกัด

โดย คุณไพรวัลย์ ไทยนิยม

- การดำเนินธุรกิจของบริษัท ซีทีออลล์ จำกัด มุ่งความสะดวกผ่านรูปแบบสินค้าและบริการ

- การดำเนินธุรกิจร้านสะดวกซื้อภายใต้ BRAND 7 ELEVEN ซีทีออลล์ เริ่มดำเนินการธุรกิจในประเทศไทย เมื่อปี 2531 การขยายตัวของธุรกิจร้านสะดวกซื้อมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีสาขาทั้งสิ้น 7,634 สาขา

- สำหรับการดำเนินธุรกิจของ ซีทีออลล์ มุ่งสร้างนวัตกรรมไปสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการลดเวลาในการทำงาน , ONLINE

- นวัตกรรมในความหมายของ ซีทีออลล์ การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ เพื่อการปรับปรุงทุกสิ่งที่เกิดจากการนำความรู้และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาให้เกิดคุณค่าแก่ลูกค้า องค์กรและสังคม ซึ่ง ซีพีออลล์ มุ่งนวัตกรรมใน 4 ด้าน

1. กระบวนการใหม่

2. ผลิตภัณฑ์ใหม่

3. บริการใหม่

4. ธุรกิจรูปแบบใหม่

หัวข้อ WHITE OCEAN STRATEGY กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ.

โดย คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

- WHITE OCEAN เน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม

- กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว (WHITE OCEAN STRATEGY) คือ พื้นฐานสำคัญที่จะทำให้การประยุกต์ใช้กลยุทธ์การตลาดสีใดก็ตามมีความมั่นคง แข็งแกร่ง และยั่งยืน

ตารางเปรียบเทียบ

- แข่งขันในตลาดเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบัน

- เน้นการเอาชนะคู่แข่ง

- จับความต้องการที่มีอยู่ในปัจจุบัน

- ต้องเลือกระหว่างคุณค่าและต้นทุน

- ผู้สานประโยชน์ในการเลือกใช้

- เน้นมองหาและสร้างตลาดใหม่

- ทำให้การแข่งขันไร้ความสำคัญ

- สร้างและดันความต้องการใหม่

- ทำลายข้อจำกัด

- ผสานประโยชน์เพื่อใช้พร้อม ๆ กัน

- ทำให้พื้นที่ตลาดเป็นประเด็นที่ไม่สำคัญ

- ผู้ชนะร่วมกัน

- จับทั้งความต้องการเก่าและใหม่

- สร้างความสมดุล

- ผสานทั้งตลาดเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคม

- หลักการของ WHITE OCEAN ประกอบด้วย

1. การเกิดขึ้นและมีอยู่ขององค์การเป็นไปเพื่อสร้างผลเชิงบวกต่อสังคมโดยรวม

2. ตั้งเป็นระยะยาวและมองภาพใหญ่ระดับมหภาค

3. แสวงหาจุดสมดุลระหว่าง PEOPLE , PLANET PROFIT และ PASSION

4. ยืนยันหลักการของโลกอันอุดมสมบูรณ์

5. ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมและความเป็นจริง (INTEGRITY)

6. เป็นองค์กรที่ระเบิดจากข้างใน

7. เป็นผู้สร้างบรรทัดฐานใหม่ให้เกิดในวงการ

- การระเบิดจากข้างใน ผลักดันส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ด้วยแนวคิด

1. COMMITMENT มุ่งมั่น สร้างสรรค์อย่างจริงจัง

2. AWARENESS ตระหนักที่จะสร้างและผลักดัน

3. RETHINKING พร้อมรับฟัง

4. ENCOURAGEMENT สร้างแนวบันดาลใจ

ประสิทธิ์ เลาหวิรภาพ

วันอังคารที่ 18 มีนาคม 2557 08:00 – 11:30

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

วิทยากร: ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

เศรษฐกิจพอเพียงใช้ได้กับทุกเรื่องไม่เฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ สืบเนื่องจากการดำเนินชีวิตแบบบริโภคนิยม ไม่สนใจดูแลโลก ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โลกแตกมาแล้วทั้งหมด 5 ครั้ง (1 Cosmic Day เท่ากับ 10 ล้านปี) ประชากรโลกปัจจุบันมีประมาณ 7,000 ล้านคน ทำให้ทรัพยากรโลกหายไปกว่า 30% สำหรับประเทศไทยเห็นผลได้จากวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ลัทธิบริโภคนิยมเป็นตัวกระตุ้นให้การทำร้ายโลกเพิ่มมากขึ้นไปอีก

ประเทศไทยมีทรัพยากรมากมาย แต่ขาดการบริหารจัดการที่ดี ทำให้เป็นปัญหาต่างๆ ตามมา ปัจจุบันจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติให้ได้ ต้องใช้ความพอดี ไม่ตึงไปหรือหย่อนเกินไป ซึ่งก็คือหลักเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง เราต้องเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงอย่างยั่งยืน

ผู้นำแม้จะเป็นเผด็จการแต่ถ้ามีธรรรมาภิบาล ก็จะสามารถทำให้โลกยอมรับได้ หลักของทุนนิยมคือการแข่งขันแก่งแย่งกันใช้/บริโภคทรพยากรอย่างฟุ่มเฟือย

การพัฒนาที่ยั่งยืนต้องเปลี่ยนจาก Knowledge, Power and Money เป็น Goodness, Culture and Knowledge (Development without culture ไม่ถือเป็นการพัฒนา) เน้นการพัฒนาที่มีความสมดุลย์ระหว่างเศรษฐกิจสังคมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้องเปลี่ยน Cost Benefit เป็น Cost Effectiveness แทน การพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี ตรวจสอบดูทุนเราเองว่าเป็นอย่างไรก่อน ประเมินตัวเอง (Self-Assessment) ใช้เหตุผลเป็นตัวนำ ไม่ใช่ความอยาก

เพียงพอ : ใช้อุปสงค์ (Demand) เป็นตัวตั้ง และสร้างอุปทาน (Supply) ตาม

พอเพียง : ใช้อุปทาน (Supply) เป็นตัวตั้ง และจัดการอุปสงค์ (Demand) ให้สมดุลย์ตาม

วันอังคารที่ 18 มีนาคม 255714:00 – 17:00

ผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร การบริหารการเปลี่ยนแปลง

วิทยากร: ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์ประกาย ชลหาญ

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

การบริหารการเปลี่ยนแปล ต้องปรับความเชื่อหรือทัศนคติ (Mindset) ก่อน Change before you are forced to change, otherwise it is too late.

Performance มาจาก 2 ส่วนคือ Competency (Knowledge / Skill) กับ Motivation การที่จะกำหนด Motivation ได้อย่างถูกต้อง ต้องรู้จักและเข้าใจลูกน้องเป็นอย่างดี ผู้นำที่ดีต้องมี 3 อย่างคือ เก่งเรื่องคน เก่งเรื่องงาน และมีเครือข่าย (Connection / Network)

วัฒนธรรมองค์กรจะเป็นเสมือน DNA ที่ทำให้คนในองค์มีพฤติกรรมหรือลักษณะเฉพาะเหมือนๆ กัน สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือ Absolute แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ (Relative) เช่น Technology, Customer, Language คนที่จะอยู่รอดได้คือคนที่สามารถรับในการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ (Adaptive Challenge) แนวคิดในการเปลี่ยนแปลง (Idea for Change) ประกอบไปด้วย Structure, Politic และ Technology

ผู้นำจะต้องสามารถกับงานต่างๆ จากด้านบนและลงมาสัมผัส ลูกน้องได้ การจะสร้างความผูกพันธ์ขององค์กรกับพนักงานประกอบไปด้วย

Know me: เข้าใจ รู้จักพนักงาน

Focus me: บริหารตามลักษณะของพนักงานแต่ละคน

Care about me: พนักงานต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน

Inspire me: สร้างแรงบันดาลใจให้พนักงาน

วันพุธที่ 19 มีนาคม 2557 09:00 – 12:00

กรณีศึกษาของบริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน) กับการก้าวสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

วิทยากร: คุณสมยศ รุจิรวัฒน์

บ้านปูเริ่มจากธุรกิจขนาดเล็กด้านถ่านหินที่ อ.ลี้ จ.ลำปาง ในปี 1983 ซึ่งเริ่มจาก 1MT และเพิ่มเป็น 100MTในปี 1980 ก่อนที่จะเข้าเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ต่อมาก็ขยายธุรกิจภายหลักเข้า ตลท โดยจัดหาถ่านหินให้กับโรงไฟฟ้าแม่เมาะของ กฟผ. เป็นผลให้กิจการเริ่มขยายตัวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก่อนจะขยายการลงทุนในต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซียและเติบโตอย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้นในปี 1993 เริ่มทำธุรกิจผลิตไฟฟ้าคือโรงไฟฟ้า COCO มาบตาพุด มีการร่วมทุนในบริษัทไตรเอ็นเนอจี BLCP ในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งบ้านปูตัดสินใจขายหุ้น COCO เพื่อบรรเทาผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราจากเงินกู้ที่เพิ่มขึ้นและการขาดกระแสเงินสดหมุนเวียนของบริษัท ธุรกิจของบริษัทจะเน้นจุดแข็งที่มีอยู่

ปัจจุบันบริษัทได้กำหนดแนวทางในการดำเนินกิจการไว้ดังนี้

Cost Productivity

Capital Planning

Synergy Drive

Human Resource Development

Financial Streamlining

Organic Growth

และให้ความสำคัญเรื่องความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม ซึ่งมาจาก

มาตรการ/ระเบียบของภาครัฐ

ความใส่ใจเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม

การทำเหมืองต้องให้ความสำคัญต่อการดูแลชุมชน

ความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยกู้เพื่อลงทุนในธุรกิจที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ความเข้มแข็งขององค์กรอิสระ/สื่อมวลขน

ต้องการความเชื่อมั่นจากชุมชนต่อบริษัท

วันพุธที่ 19 มีนาคม 2557 13:00 – 16:00

TQM / SEPA

วิทยากร: คุณโชติรส เสวกวัฒนา

อาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยากุล

คุณปิติ ศรีสุขสมบัติ

TQM/SEPA คือกระบวนการและผลลัพธ์ กระบวนการที่ดีจะสร้างผลลัพธ์ที่ดีตามไปด้วย โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจตนเอง ธุรกิจ ผลิตภัณฑ์และบริการ ใครคือลูกค้า/คู่ค้า ความต้องการ/ความคาดหวัง กระบวนการส่งมอบคุณค่า/มูลค่าให้กับลูกค้าที่มีคุณภาพ/ประสิทธิภาพอย่างไร การติดตามผลอย่างไร มีกระบวนการพัฒนาคนให้ตอบสนองธุกิจและตอบสนองลูกค้าอย่างไร สู้กับคู่แข่งได่อย่างไร

วันพุธที่ 19 มีนาคม 2557 16:00 – 18:30

การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามทางการเมือง

วิทยากร: รศ.ดร.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร

อาจารย์ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยได้นำรูปแบบต่างๆ จากต่างประเทศมาใช้ ทำให้ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย ทั้งยังขาดการบริหารจัดการที่ดี การเมืองจึงไม่แข็งแรง มีการเลือกตั้งใหม่และปฏิวัติรัฐประหารบ่อย เนื่องจากขาดคุณธรรมจริยธรรม

การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือว่าเป็นระบอบที่เลวน้อยที่สุด นักการเมืองทุจริตได้เพราะได้อำนาจมาจากการซื้อเสียง มีการนำนโยบายประชานิยมมาใช้ ต้องปฏิรูปด้วยการกระจายอำนาจบริหารไปสู่ท้องถิ่น กฟผ จะบริหารความเสี่ยงจากการคกคามทางการเมืองได้ ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับสังคมเพื่อความสุขของชุมชน

การปฏิรูปด้านพลังงานต้องเร่งทำ เพราะ 70% ของพลังงานนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพลังงานของประเทศ พัฒนาสิ่งที่มีอยู่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และให้ความรู้แก่ประชาชน ให้เข้าใจความสำคัญของการพัฒนาพลังงาน

วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 09:30 – 11:30

นวัตกรรมของบริษัทซีพีออล์

วิทยากร: ดร.ศุภกิจ เศวตกิติธรรม

7-11 เริ่มต้นที่สหรัฐอเมริกา โดยซีพีได้เริ่มเปิดสาขาแรกที่พัฒน์พงษ์ ประกอบด้วยกลุ่มบริษัทเพื่อการผลิต กระจายสินค้า และบริการอื่นๆ ปัจจุบันมีพนักงานรวมกว่า 100,000 คน เน้นความสะดวกซื้อผ่านรูปแบบสินค้าและบริการ ผ่านร้านค้า 7,634 สาขา มีจำนวนลูกค้า 8ล้านคนต่อวัน

นวัตกรรมคือสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม โดยนวัตกรรมในความหมายของ ซี พี ออล คือ การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ หรือ ปรับปรุงสิ่งเดิม เกิดจากการนำความรู้และความคิดสร้างสรรค์นำไปพัฒนาให้เกิดคุณค่าต่อลูกค้า องค์กร และสังคม แบ่งเป็น

Process Innovation

Product Innovation

Service Innovation

Business Model Innovation

วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 13:00 – 16:00

White Ocean Strategy กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ

วิทยากร: คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

โลกปัจจุบันอยู่ในยุคทุนนิยมหรือวัตถุนิยม เน้นการบริโภค เป็นปัจจัยที่ทำให้เสื่อมถอย เป็นมิจฉา/กิเลส มนุษย์ต่างจากสัตว์ตรงที่มีเสรีภาพในการเลือก (Freedom of Choice) แต่หลังจากเลือกแล้วก็ต้องรับผลแผ่งกรรมนั้นๆ การเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มที่เปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน

คนเรามีสมอง 2 ซีก ซีกช้าย ใช้ประเมิน ตัดสินใจด้วยเหตุและผล ส่วนซีกขวาใช้รับรู้ด้านอารมณ์ความรู้สึก

Red Ocean Blue Ocean
Customer is a king

Maximize profit

Minimize cost

High risk, high return

Idea / technology is a king

New market

White Ocean: Everyone is a winner (cooperation) องค์กรสีขาวจะมีความสุข สร้างสรร และยั่งยืน ประกอบด้วย

  • 1.Where are we
  • 2.Where do we want to go
  • 3.How to get there หาสมดุลย์ของ People / Planet / Passion / Profit
  • 4.World of advantage and sharing
  • 5.Integrity ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง
  • 6.Individual social responsibility
  • 7.Benchmark

วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 16:15 – 18:30

ธรรมสำหรับผู้บริหาร “จิตอิสระกับจิตประภัสร”

วิทยากร: พระพิศาลศาสนกิจ

ฟังธรรมและฝึกสมาธิจากการดื่มน้ำเย็น ได้รับรู้ถึงความสงบจากกการฝึกสมาธิเพื่อนำไปปฎิบัติต่อไป

วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557 09:00 – 12:00

เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ

วิทยากร: รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

จากมาตรการของสหรัฐในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ที่ปัจจุบันเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น ในขณะที่ประเทศจีนก็เริ่มมีปัญหาอันเนื่องมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้มีการลงทุนสร้างอสังหาริมทรัพย์มากจนเกินความต้องการ เริ่มเป็น Over Investment อย่างไรก็ตามโอกาสในภูมิภาคเอเชียก็ยังมีจากโครงการคมนาคมที่เชื่อมถึงกัน ทำให้โอกาสในงานด้านต่างมีมากขึ้น

การใช้พลังงานในเอเชีย ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอย่าง OECD มีอัตราเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

ราคา LPG ในภาคครัวเรือนจะต้องปรับขึ้น โดยตรึงราคาภาคขนส่งไว้

วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557 13:00 – 16:00

Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร

วิทยากร: อาจารย์ดำเกิง ไรวา

Mind Mapping คือการสรุปรวมความคิดในการทำให้เรื่องต่างๆเชื่อมโยงถึงกัน ทั้งคิดเชิงลึก คือลักษณะความคิดต่อเนื่อง(Radial Thinking) กับคิดกว้าง แบบ Free Flow กับแบบ Structure ทำให้สามารถเห็นภาพรวม ความเชื่อมโยงทั้งหมด ใช้เวลาน้อย เห็นได้ครอบคลุมทุกด้าน นำไปสู่การวางแผนต่อไป

โปรดคลิกที่ลิ้งค์ข้างล่างนี้เพื่อดาวน์โหลดบทที่ 1-3 ของหนังสือ Google และ Apple

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/130/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage1.jpg?1395994572

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/131/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage2.jpg?1395994673

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/132/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage3.jpg?1395994709

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/133/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage4.jpg?1395994741

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/134/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage5.jpg?1395994774

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/135/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage6.jpg?1395994813

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/136/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage7.jpg?1395994850

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/137/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage8.jpg?1395994887

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/138/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage9.jpg?1395994924

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/139/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage10.jpg?1395994958

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/140/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage11.jpg?1395994997

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/141/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage12.jpg?1395995035

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/142/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage13.jpg?1395995073

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/143/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage14.jpg?1395995112

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/144/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage15.jpg?1395995149

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/145/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage16.jpg?1395995209

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/146/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage17.jpg?1395995243

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/147/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage18.jpg?1395995276

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/148/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage19.jpg?1395995325

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/149/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage20.jpg?1395995386

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/150/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage21.jpg?1395995423

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/151/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage22.jpg?1395995469

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/152/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage23.jpg?1395995505

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/153/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage24.jpg?1395995552

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/154/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage25.jpg?1395995588

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/155/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage26.jpg?1395995658

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/156/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage27.jpg?1395995696

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/157/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage28.jpg?1395995729

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/158/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage29.jpg?1395995764

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/159/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage30.jpg?1395995834

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/160/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage31.jpg?1395995872

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/161/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage32.jpg?1395995914

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/162/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage33.jpg?1395995959

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/163/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage34.jpg?1395995996

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/164/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage35.jpg?1395996053

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/165/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage36.jpg?1395996088

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/166/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage37.jpg?1395996124

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/167/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage38.jpg?1395996161

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/169/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage39.jpg?1395996362

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/172/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage40.jpg?1395997242

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/173/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage41.jpg?1395997387

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/174/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage42.jpg?1395997437

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/175/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage43.jpg?1395997516

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/176/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage44.jpg?1395997556

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/177/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage45.jpg?1395999547

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/178/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage46.jpg?1395999582

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/179/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage47.jpg?1395999674

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/180/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage48.jpg?1395999709

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/181/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage49.jpg?1395999739

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/182/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage50.jpg?1395999990

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/183/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage51.jpg?1396000030

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/186/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage52.jpg?1396000146

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/187/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage53.jpg?1396000193

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/188/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage54.jpg?1396000245

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/189/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage55.jpg?1396000283

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/190/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage56.jpg?1396000318

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/191/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage57.jpg?1396000355

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/192/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage58.jpg?1396000393

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/193/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage59.jpg?1396000430

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/194/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage60.jpg?1396000467

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/195/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage61.jpg?1396000502

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/196/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage62.jpg?1396000581

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/197/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage63.jpg?1396000629

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/198/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage64.jpg?1396000668

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/199/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage65.jpg?1396000733

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/200/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage66.jpg?1396000769

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/201/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage67.jpg?1396000809

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/202/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage68.jpg?1396002300

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/203/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage69.jpg?1396002337

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/204/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage70.jpg?1396002549

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/205/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage71.jpg?1396002590

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/206/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage72.jpg?1396002642

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/207/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage73.jpg?1396002688

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/208/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage74.jpg?1396002737

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/209/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage75.jpg?1396002780

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/210/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage76.jpg?1396002825

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/211/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage77.jpg?1396002867

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/213/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage78.jpg?1396002957

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/214/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage79.jpg?1396003003

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/215/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage80.jpg?1396003036

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/216/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage81.jpg?1396003072

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/218/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage82.jpg?1396003116

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/219/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage83.jpg?1396003155

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/007/220/original_AppleGoogleBook28march2014jpgPage84.jpg?1396003191

วันที่ 18 มีนาคม 2557
ศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิชัยพัฒนา

บรรยาย “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน”ณ มูลนิธิชัยพัฒนา

โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา อายุ 75 ปี เป็นคนจังหวัดเพชรบุรี

- เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก สังคมต้องพอเพียงและการเมืองก็ต้องพอเพียงด้วยเช่นกัน
- ประเทศไทยมีทุกอย่างครบหมด แต่ข้อเสียคือไม่มีระบบบริหารจัดการที่ดี ในส่วนของ กฟผ.ถือว่ามีการการบริหารจัดการที่ดีมาก
- ในปี 2518 พบว่าจำนวนของกับคนสมดุลกัน แต่หลังจากปี 2518 พบว่ามีการบริโภคมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปี 2549
พบว่าเป็นจุดเกินเลย 1.5 เท่าของโลกของการบริโภค

- การบริโภคทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยทำให้ดรรชนีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติของโลกลดลง

การพัฒนาแบบ KPM กับ GCK

KPM (Knowledge, Power, Money) (จากอดีตถึงปัจจุบัน)

-เน้น GDP -ระบบทุนนิยม -การแข่งขัน การแก่งแย่ง -การใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย(ภัยพิบัติ มลภาวะ ปัญหาสังคม)

ในระดับโลกจึงมีอีกกระแสหนึ่งเข้ามาช่วยในการพัฒนา เรียกว่าระบบ GCK
GCK (Goodness ,Culture, Knowledge) (อนาคต)

-เน้น GNH -ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง -เน้นการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น -เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากร

-ส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล

- เศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง คือการใช้ทรัพยากรรอบตัวให้ถูกต้อง การอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ คือ ธรรมชาติจะช่วยให้ชีวิตเราอยู่อย่างมีความสุขและยั่งยืน เช่นที่ อัมพวา

- ธรรมาภิบาล เป็นเรื่องสำคัญมาก ดังนั้นผู้ที่จะมาปกครองต้องมีคุณธรรมและความดีมาก่อนแล้วเรื่องระบบค่อยตามมาที่หลัง ถ้าผู้นำไม่ดี จะทำให้ระบบไม่ดีไปด้วย
- มนุษย์ต้องเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงยั่งยืนของชีวิต ตัวอย่างเช่นพลังงาน ต้องรู้จักใช้อย่างประหยัด

การพัฒนาที่ยั่งยืน คือการพัฒนาที่มีความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ไม่คิด Cost Benefit แต่ใช้ Cost effectiveness ไม่คำนึงถึงจำนวนเงินแต่คำนึงว่าการใช้จ่ายที่น้อยที่สุด ไม่คำนึงว่าคุ้มไม่คุ้ม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

- องค์กรไหนก็ทำได้ เช่นปูนซีเมนต์ พัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงไว้ 3 เรื่อง ประกอบด้วย

1. พอประมาณ 2. มีเหตุมีผล 3. มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
ร่วมแสดงความคิดเห็น

คำถาม : อยากเห็น กฟผ.ใน 10 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ตอบ : อยากให้รักษา Spirit ของ กฟผ. ไว้ มีวิสัยทัศน์ ต่อเนื่อง รวดเร็ว ยั่งยืน มองอนาคตได้ไกลต่อไป โครงการคืนช้างสู่ป่า หลอดเบอร์ 5 และให้โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ใช้ไฟฟ้าหลังเที่ยงคืน หรือสูบน้ำกลับไปเหนือเขื่อนแล้วปล่อยที่หลัง นับว่าเป็นความภูมิใจที่ทาง กฟผ.ได้ดำเนินการ

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล แนะนำให้ใช้หลัก พระเดช พระคุณ เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา ร่วมกันสร้างกระแสดีดีให้เกิดขึ้น
ให้จับกลุ่มกันทำสิ่งที่ดีดี

หัวข้อผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร –การบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อ.ประกาย ชลหาญ ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ ดำเนินรายการโดย อาจารย์ทำนอง ดาศรี

.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เปิด VDO และสรุปการดำเนินงาน เรา Focus ไปที่ Social Innovation เป็นหลักแนวคิดที่ได้จากการเรียนรู้เรื่องของSocial Innovation กับ กฟผ. ที่ได้คือ...

1. การทำงานโดยมีการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้าเป็นการทำงานที่ไม่ตรงจุด ไม่ตรงประเด็น สิ่งที่ กฟผ.
ต้องทำก่อนคือการวิจัยเพื่อให้รู้สถานการณ์จริง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชน

2. เจาะลึกและติดตามความต่อเนื่องของชุมชน มีการวางแผนการดำเนินงานให้ขัดเจนขึ้นและเน้นความต่อเนื่อง
3. ต้องสร้าง กฟผ.เป็นบ้านเดียวกับชุมชนไม่ใช่บ้านรั้วสูง สร้างทัศนคติใหม่ให้คนทุกระดับว่าเป็นคนระดับเดียวกัน

4.แนวคิดเรื่อง1 Manager 1 Community น่าจะดูแลชุมชนได้ดี กฟผ.อาจเป็น 1 เขื่อน หรือ 1 หัวหน้ากองต่อ 1
Community เป็นต้น

5.การเข้าชุมชน ชุมชนต้องมีหลาย Silo ควรให้แต่ละ Silo คิดเหมือนกัน ชุมชนจะได้ไปด้วยกัน

6. การทำงานร่วมกับชุมชนต้องเอาชุมชนเป็นตัวตั้ง และลงลึกเรื่องการบริหารจัดการชุมชน

7. ปรับยุทธศาสตร์การสื่อสารทำความเข้าใจกับชุมชน โดยเน้นกลุ่มหลักที่เยาวชน

- ให้ศึกษาว่ามีอะไรบ้างที่เป็นจุดอ่อน และเป็นจุดแข็ง ที่จะขับเคลื่อน Case ทั้ง 7 Case ไปสู่ความสำเร็จ
วัฒนธรรมองค์กร เป็นอะไรที่สังคมมองและปฏิบัติตาม สิ่งสำคัญคือต้องรู้จุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง กฟผ.ทำหน้าที่อะไร
อาจารย์ประกาย ชลหาญ : การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง

อุปสรรคที่สำคัญที่สุดของการเปลี่ยนแปลงคือ Mindset ต้องทำ Mindset ให้เปิดใจพร้อมที่จะ Paradigm Shift ให้เปลี่ยนตัวเองก่อนที่จะเปลี่ยนคนอื่น Jack Weltch บอกว่า ต้องเปลี่ยนก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน เพราะสิ่งแวดล้อมจะบังคับให้ตัวคุณเปลี่ยนตลอดเวลา ไหน ๆ สิ่งแวดล้อมจะบังคับให้เปลี่ยน ทำไมถึงไม่เปลี่ยนเอง

“Change Before you forces to change otherwise it is too late”

Performance มาจาก ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ความต้องการที่จะทำ แรงจูงใจ โดยมาจาก 2 ส่วนคือ

1.Competency ประกอบด้วย Knowledge แต่มี Knowledge ก็ทำงานไม่ได้ ต้องมาสร้าง Skill

2.Motivation แรงจูงใจ ถ้ามีคนเก่งและไม่สามารถจูงใจให้คนทำงานได้ เขาก็ไม่ทำงานให้อยู่ดี

ผู้นำต้องเก่ง 3 เรื่อง คือ 1.การเปลี่ยนแปลง 2.แนวคิด 3.Relationship หรือConnection เพื่อเสริมให้งานดีขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามต้องเก่งเรื่องคนและเรื่องงาน
วัฒนธรรมองค์กร มี 2 แบบ คือ1.Absolute Value และ2.Intensive Value

การเปลี่ยนแปลงมาจาก 2 สาเหตุด้วยกัน คือ1.การเปลี่ยนแปลงที่คุณเป็นผู้เริ่ม 2.การเปลี่ยนแปลงที่มีคนสั่งให้เปลี่ยน
สรุปคือ ผลงาน ค่านิยม และวิธีการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง ต้องสร้างแนวร่วมและเป้าหมายให้คนเห็นร่วมกันเพื่อกระตุ้นให้เกิดขึ้น
ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ต้องมีแนวคิดสำหรับการเปลี่ยนแปลง Idea for change

KFCI มาจาก Know me / Focus me / Care about me และ Inspire me

สรุปคือ เริ่มจากการปลูกฝังให้ผู้บริหารรู้จัก 4 คำนี้ และต้องรู้จักลูกน้องตัวเองว่ามีพฤติกรรมแบบไหนต้องการอะไร
ถ้าทำได้ สิ่งที่จะเกิดตามมาคือ ความรู้สึกรักองค์กร ผู้นำต้องสร้าง Learning Culture จุดเปลี่ยนผู้บริหารของเราให้เปลี่ยน Mindset ให้ได้
สมบูรณ์ ดำรงสุสกุล EADP#10 Group 4

วันที่ 21 มีนาคม 2557

ช่วงเช้า เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับผลกระทบ และการปรับตัวของ กฟผ.

-วิกฤติ เศรษฐกิจโลกกำลังผ่านจะพ้นไป ภาพรวม ปีนี้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว

เศรษฐกิจ USA ขยายตัวมีสัญญาณฟื้นตัวมา 2-3 ปีแล้ว= เพิ่งฟื้นจากห้อง ICU

เศรษฐกิจสหภาพยุโรป กำลังจะฟื้นตัว

เศรษฐกิจญี่ปุ่น ฟื้นตัวแต่ขยายตัวเพียงเล็กน้อย

เศรษฐกิจจีน จะต้องผ่าตัดใหญ่ น่าเป็นห่วงเนื่องจากขยายตัวต่อเนื่องมายาวนาน เศรษฐกิจเคยโต 10% แต่ปีนี้ขยายตัวเพียง 7.5% การเร่งขยายการก่อสร้างอาจไม่ใช่ภาพที่แท้จริง ดังนั้นใน 4-5 ปีข้างหน้า จึงต้องจับตาจีนเป็นพิเศษ เพราะถ้าจีนเป็นอะไรไปจะกระทบกับไทยและเศรษฐกิจโลกอย่างมาก

เศรษฐกิจไทย ภาพรวมปีนี้เศรษฐกิจขยายตัว 2.5-3% มีการใช้จ่ายภาครัฐน้อยมาก เนื่องจากต้องรอรัฐบาลใหม่

-การที่อาเซียนเปิดโฉมใหม่ ทำให้เอเซียนยึดติดกัน เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเปิดโอกาสทางด้านธุรกิจอย่างมากมาย

-สถานการณ์พลังงานไทย และแนวโน้มในอนาคต

1.ไออีเอ เห็นว่า ไทยเป็นประเทศที่มีจุดเสี่ยงความมั่นคงทางด้านพลังงานสูงสุดในอาเซียน

2. ต้องพึ่งพาพลังงานจากภายนอกประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ อีก 22 ปีข้างหน้า ไทยจะใช้พลังงานเพิ่มขึ้น ถึง 80% และต้องนำเข้าทั้งก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น

3.นำเข้าก๊าซธรรมชาติเพิ่มจาก 25% ในปัจจุบันเป็น 90% ในปีพ.ศ.2578

4.นำเข้าไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มจาก 3% เป็น 21% ในปีพ.ศ.2573

-ผลกระทบ และการปรับตัวของ กฟผ.

1.ปรับองค์กรเพื่อรองรับการแข่งขัน และโอกาสทางธุรกิจที่จะเข้ามาในอนาคต

2.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายด้านพลังงานในอนาคต

3.ตอบสนองโจทย์ด้านพลังงานเพื่อความยั่งยืน และสิ่งแวดล้อมที่ดี

4.แสวงหาลู่ทางการลงทุนด้านพลังงานในประเทศเพื่อนบ้านโดยใช้ประโยชน์จากข้อตกลง AEC

5.ใช้ประโยชน์จากความเป็นผู้นำ และผู้ชำนาญการด้านพลังงานไฟฟ้าให้บริการด้านเทคโนโลยี และการซ่อมบำรุงกับประเทศในกลุ่ม CLMV

6.พัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการเรียนรู้ และทำงานในระดับสากล

7.เตรียมพร้อมรองรับการปฏิรูปพลังงานโดยเฉพาะการเปิดเสรีด้านระบบสายส่ง และจำหน่าย

ช่วงบ่าย Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร และการวางแผนงานวิจัย และโครงการเชิงนวัตกรรม

-Mind Mapping เป็นการใช้จินตนาการ และการเชื่อมโยงที่ต้องคิดกว้าง คิดลึก และเกี่ยวข้อง

-หลักของ Mind Mapping มองจากจุดเริ่มต้นตรงกลางเป็นหัวข้อหลัก แล้วดูความเกี่ยวข้องกับหัวข้อหลักแยกเป็นเรื่องต่างๆโดยใช้เส้นโค้งหนาแยกเป็นแต่ละสี บนเส้นเขียน Key Word สั้นๆ หรือรูปภาพ โดยเรื่องที่มีเนื้อหายาวควรอยู่ด้านขวาของกระดาษ( เอียง 45องศา ) จากนั้นพิจารณาหัวข้อย่อยที่เกี่ยวเนื่องในเรื่องต่างๆขยายต่อไปเรื่อยๆโดยใช้เส้นเล็กบาง

-การเขียน Mind Mapping ทำให้เห็น Blue Print ดังนั้นต้องทำให้น่าสนใจ และจดจำได้ง่าย โดยใช้คำที่สั้น หรือรูปภาพ แยกสีที่แตกต่างกันในแต่ละเรื่อง เพราะสมองคนเราจะจำเป็นภาพได้ดีกว่าอักษร

-ประโยชน์ของ Mind Mapping

1.ช่วยลำดับความสำคัญของงาน

2.ช่วยในการสั่งงาน

3.ช่วยในการสอนงาน

4.ช่วยให้ทำงานแทนกันได้

5.เพิ่มประสิทธิภาพของการอบรม

6เป็น Outline of Presentation

การเรียนรู้ Mind Mapping เป็นประโยชน์ เป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้บริหารมี ข้อมูลครบถ้วนในกระดาษแผ่นเดียว จดจำได้ง่าย สะดวกในการพกพาไปใช้งาน และประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ นอกจากนี้ยังนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อีกด้วย

Lesson Learn On 18th March, 2014

: หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สิ่งที่ทำให้เกิดเศรษฐกิจพอเพียง

-ธรรมชาติเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการทำลายธรรมชาติ

-การปกครองเปลี่ยนแปลง, สังคมเปลี่ยนแปลง

-การบริหารการจัดการ

-การบริโภคควรพอดี

-ของใช้ทุกชิ้นต้องลงทุน

ความพอเพียงคือ การรักษาความพอดี มนุษย์บริโภคทรัพยากรเกินขีดจำกัดในขณะที่โลกทรัพยากรเท่าเดิม

ธรรมาภิบาล การกำกับดูแลกิจการที่ดีขึ้นอยู่กับผู้นำ

การพัฒนาอย่างยั่งยืนคือ การพัฒนาที่สมดุลย์ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือ ทางสายกลาง, พอประมาณ, มีเหตุผล, มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

หลักการเรียนรู้ในการพัฒนาคือ ต้องเข้าใจภาระกิจว่าตัวเองทำอะไร ต้องเข้าถึงสิ่งที่ต้องลงมือปฏิบัติและนำสิ่งที่ปฏิบัติมาพัฒนา

Lesson Learn เรื่อง ผู้นำ-วัฒนธรรมองค์กร-การบริหารการเปลี่ยนแปลง

วัฒนธรรมองค์กร ประกอบด้วย คน, องค์กร, ผลประกอบการ

คน ประกอบด้วย ปัจเจกบุคคล, ความหลากหลายของคน, ทุนมนุษย์, ทักษะ, ทัศนคติ, ความรู้, ความสุขและความพอใจในการทำงาน, เป้าหมายในการทำงาน

องค์กร ประกอบด้วย นโยบายของรัฐ, Vision ขององค์กร, Competency, กฎระเบียบ, แรงจูงใจ, คุณธรรมจริยธรรม, Core Value, การทำงานร่วมกัน, รางวัลที่ได้รับ

ผลประกอบการ ประกอบด้วย ความสุขของพนักงาน, ความพอใจลูกค้า, Productivity, ROI ต่อทรัพย์สิน, CSR, จิตสาธารณะ, ความสมดุลย์ของชีวิต งาน ครอบครัว

ผู้นำ ต้องเปลี่ยน Mindset (ทัศนคติ) ต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันกับสังคมโลกที่เปลี่ยนไปก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน, ต้องรู้จักวิเคราะห์, ต้องเก่งเรื่องคน วัฒนธรรมองค์กรเกิดจาก การปลูกฝัง การสร้างมาเป็นเวลานาน มี 2 อย่าง

-เปลี่ยนได้ กับ เปลี่ยนไม่ได้

การเปลี่ยนแปลงเกิดจากอยากเปลี่ยนเอง หรือ ถูกสั่งให้เปลี่ยน

ถ้าจะเปลี่ยนแปลง ต้องชี้ให้เห็นว่า เปลี่ยนแล้วได้อะไร, สร้างแนวร่วมให้เห็นประโยชน์, ความอดทนต่อการต่อต้าน

การสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันในองค์กร

-รู้จักลูกน้องต้องการอะไร

-ลูกน้องเป็นอย่างไร

-การแสดงความรักต่อกัน

-สร้างแรงดันดาลใจ


วันที่ 19 มีนาคม 2557

หัวข้อกรณีศึกษาของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กับการก้าวสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

โดยคุณสมยศ รุจิรวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)

บ้านปูเกิดปี 1983 เป็น Banpu Coal Company Limited เพียงแค่ 6 ปี ก็เข้าตลาดหลักทรัพย์ เข้าอินโดนีเซีย
ปี 1998 และลงทุนโรงไฟฟ้าโคโค่ (COCO) เคยทำโรงไฟฟ้า Tri energyที่ราชบุรีและขายให้ RATCH ไป มี 6
เหมืองในอินโดนีเซียและ 10 เหมืองในออสเตรเลีย

การพัฒนาของบริษัท บ้านปู มี 5 ขั้นตอน
1. ช่วงเริ่มต้น เริ่มจากเหมืองลิกไนต์เล็กๆ ที่ลำพูน ต้องเชิญอาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้บริหาร กฟผ.ไปช่วย ต่อมาทำที่ลำปาง
2. ช่วงเจริญเติบโต เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ทำให้องค์กรโปร่งใสมากขึ้น ทำให้บริษัทเป็นมืออาชีพมากขึ้น
3.ช่วงCrisis ช่วงต้มยำกุ้ง ต้องกู้เงินไปลงทุน โรงไฟฟ้าโคโค่ และธุรกิจที่ส่งเสริม กฟผ. ต้องขายโรงไฟฟ้าโคโค่ส่วนหนึ่งเพื่อเอาเงินมาแล้วในที่สุดก็ขาย 100%เศรษฐกิจดีขึ้น มีเงินเหลือจึงไปถือหุ้นในราชบุรี 10% ตอนนี้ขายหมดแล้ว
4. Becoming a Regional and Local Coal-based Energy Player ระบุว่าอะไรเป็นธุรกิจหลัก
5. consolidation and preparation of New Era of Growth ช่วงของการเติบโต

Banpu Sustainable Development Framework ประกอบด้วย

1. License to operate ให้ความสำคัญความปลอดภัย สุขภาพและสิ่งแวดล้อม

2. Localization มีความโปร่งใสและจริยธรรมทางธุรกิจ
3. Competitiveness ต้องสร้างคนให้มีคุณภาพ
Banpu CSR ได้แก่

1. Power Green Project ให้เด็กมัธยมสมัครเข้ามาร่วมค่ายการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและดูแลสิ่งแวดล้อม
2. Banpu Champions for Changes (Social Enterprise)

3. Embedded employees awareness on CSR (30 years, 30 CSR ideas) CSR theme คือ do by heart

4. Banpu education for sustainability เน้นพัฒนาพื้นฐาน ครูต้องดี จิตสำนึกต้องดี

ตอนนี้ บ้านปูกำลังจะเข้าไปในธุรกิจไฟฟ้ามากขึ้น จะผลักดันให้ไปถึง 35% เพราะถ่านหินราคาต่ำ ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่ำ

หัวข้อTQM/SEPA : ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

โดย คุณโชติรส เสวกวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญระดับ 12 กฟผ.

อ.สัญญา เศรษฐพิทยากุล
คุณปิติ ศรีสุขสมบัติ ผู้จัดการฝ่ายบริหารคุณภาพองค์กร ปตท.

ดำเนินการอภิปราย โดย อ. ทำนอง ดาศรี

คุณปิติ ศรีสุขสมบัติ

ปตท. ระยอง ทำ Pilot project จนได้ TQA นำความรู้ตรงนี้ไปใช้กับ ท่อก๊าซ จนได้ TQA 2 แห่ง ปตท.เน้นสามเหลี่ยมแห่งความยั่งยืนประกอบด้วย HPO, CG และ CSR ค่านิยม ปตท. SPIRIT คือคนเก่งและคนดี

ผู้บริหารต้องชี้นำ สื่อสารเป้าหมาย กระตุ้นพนักงาน ทำให้ยั่งยืนโดยปฏิบัติจนเป็นชีวิตประจำวัน ผู้ว่าการ ปตท.พูดกับพนักงานทุกระดับเสมอ กลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญที่จะบรรลุเป้าหมาย สิ่งสำคัญคือ Action Plan

ปตท. เน้น Assess, Acquire และ Apply ทุกคนที่ไปดูงานต้องนำความรู้กับมาแบ่งปัน

ปตท. เน้น BCM (Business Continually Management) คือทำงานต่อได้แม้เกิดวิกฤติ

Key success factors สำหรับส่งเสริมความเป็นเลิศของ ปตท. คือ Continuous Improvement / Excellent Leadership / Open Mind

ผู้นำ มีหน้าที่ 4 ข้อ คือต้องชี้นำ สื่อสารเป้าหมาย กระตุ้นพนักงาน และทำให้ยั่งยืน

.สัญญา เศรษฐพิทยากุล

ได้รับเชิญให้มาทำ EGAT Way อยากได้ TQM โดยใช้ EGAT Way เพื่อเป็น HPO เราต้องมี EGAT Way เพราะจะดึงคนเก่ง คนดีเข้ามา ผู้บริหารต้องผลักดันให้เกิดผลงาน HPO คือองค์กรที่มีความสำเร็จและมี Performance โดย
EGAT Way ต้องการให้ความสำเร็จและความสุขไปด้วยกัน ต้องเป็นทั้งของหน่วยงานและ Stakeholder
ไม่ต้องรอให้สำเร็จจึงสุข ความสุขมาจากบุคลากรและระบบบริหารจัดการ

คุณโชติรส เสวกวัฒนา

คน กฟผ.จะมีความสุขเมื่องานสำเร็จ เราเอา SEPA มาผูกกับผลงานและเป็นโบนัสของพวกเรา SEPA เป็นเครื่องมือปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์กรนั้นๆ และถือเป็นภาคบังคับ มี 7 หมวด ผลลัพธ์ที่ดีต้องมาจากระบวนการที่ดี
SEPA เน้นความต้องการของลูกค้า อุปสรรค SEPA คือ ไซโล มองเฉพาะสิ่งที่เรารับผิดชอบ
หัวข้อ การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามของการเมือง

โดย รศ.ดร.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร นักวิชาการอิสระ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อ.ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ อดีตรองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

บทสัมภาษณ์คุณสุวิทย์ คุณกิตติ บทสัมภาษณ์ รศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้คือ Moral Hazard ปัญหาคือคนไทยยอมรับการทุจริตได้ มันคือความเสื่อมโทรมทางคุณธรรม

ช่วงนี้มีการพูดถึงปฏิรูปพลังงาน ต้องพัฒนาต่อเนื่อง รูปแบบริหารจัดการต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่ กฟผ.
ยังเข้มแข็ง เพราะไม่มีการทุจริต คนจึงเชื่อถือ กฟผ.ต้องดูว่าจะพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ได้อย่างไร จะพัฒนาโรงไฟฟ้าเก่าให้เป็นที่ยอมรับได้อย่างไร ต้องให้ความรู้แก่สาธารณชนให้มากและต่อเนื่อง ให้เข้าใจหน้าที่ บทบาทและการพัฒนาพลังงานของประเทศ กฟผ.จะได้รับผลกระทบมากในเรื่องสิ่งแวดล้อม ปัญหาจะเกิดจากความไม่เข้าใจของประชาชน
กฟผ.ไม่เข้าถึงประชาชน แต่ NGOs เข้าถึงมากกว่า ทำให้ กฟผ. เสียเปรียบ ชาวบ้านจะเป็นรั้วให้ กฟผ. ต้องดูแลชุมชนรอบโรงไฟฟ้า ให้เขาเป็นรั้วและปากเสียงให้ กฟผ. ถ้ายืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง กฟผ. ไม่ต้องกลัวการแทรกแซงทางการเมือง กฟผ.ต้อง lobby สังคมให้เข้าใจผลกระทบต่างๆ เรื่อง CSR ใหญ่มาก กฟผ.ต้องมีบทบาทสำคัญ
เช่นพื้นที่โรงไฟฟ้า คนแถวนั้นต้องได้รับประโยชน์ด้วย การเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัวตั้งแต่เกิดจนตาย ประเทศไทยดีทุกอย่างยกเว้น คน
สมบูรณ์ ดำรงสุสกุล EADP#10 Group 4

ประวิทย์ เลิศโกวิทย์ TS 10

หัวข้อ “ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

วันที่ 18 มีนาคม 2557 (ช่วงเช้า)

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้หัวข้อนี้

–ปัญหาของโลกในปัจจุบันเกิดจากการบริโภคที่เกินพอดี

–การบริโภคอย่างฟุ่มเฟือยมีผลทำให้ดรรชนีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติของโลกลดลง

–การพัฒนาจากอดีตถึงปัจจุบันเป็นแบบ KPM (KNOWLEDGE, POWER , MONEY ) เป็นการพัฒนาที่เน้นเรื่อง GDP , ระบบทุนนิยม , การแข่งขันแก่งแย่ง และมีการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย

–การพัฒนาในอนาคตควรเป็นแบบ GCK ( GOODNESS , CULTURE , KNOWLEDGE) เป็นการพัฒนาที่เน้น GNH , ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง , เน้นการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น , เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากร และ ส่งเสริมธรรมาภิบาล

–การพัฒนาที่ยั่งยืน (SUSTAINABLE DEVELOPMENT) คือ การพัฒนาที่มีความสมดุลย์ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ไม่เน้น COST BENEFIT แต่ใช้ COST EFFECTIVENESS (ไม่คำนึงถึงจำนวนเงิน)

–เศรษฐกิจพอเพียงควรอยู่ภายใต้ความพอดี 6 ประการ คือ ด้านจิตใจ , ด้านสังคม , ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ,ด้านเศรษฐกิจ , ด้านเทคโนโลยี่ และด้านการเมือง

นายสุทีป ธรรมรุจี RATCH

หลักสูตร EADP รุ่นที่ 10 ของกฟผ. ระหว่างวันที่ 18 -21 มีนาคม 2557

ช่วงที่ 3
กิจกรรมรักษ์ใจและผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ ผู้นำและการสร้างความเป็นเลิศ

วันอังคารที่ 18 มีนาคม 2557

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดย ดร.สุเมษ ตันติเวชกุล

ประโยชน์ที่ได้รับจากการร่วมสัมมนา

ช่วงเช้า

  • ดร.จิระสรุปแนวทางการสัมมนาในช่วงที่ 3
    และการประยุกต์เพื่อนำไปใช้กับงาน กฟผ.ในอนาคตการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้บริหารของ
    กฟผ.ในอนาคต
  • เศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญต่อตนเองและสังคม
    ต้องควบคู่ไปกับสังคมต้องพอเพียง การเมืองต้องพอเพียง
  • ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นเรื่องเดิมที่เคยเกิดขึ้นในอดีตแต่คนไทยลืมง่าย
    ไม่เรียนรู้จากประวัติศาสตร์ทำให้เกิดปัญหาลุกลาม
  • การดูแลธรรมชาติการดูแลชุมชนและสังคมต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ
  • ทราบเรื่องประวัติของโลก และวิวัฒนาการของโลกตั้งแต่ 4600 ล้านปี
    ก่อนหน้านี้และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับโลกจนถึงยุคปัจจุบัน
    การเกิดภัยธรรมชาติและสาเหตุของภัยธรรมชาติ
  • มนุษย์จะต้องปรับตัวให้สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน
  • ปัญหาของโลกปัจจุบันเกิดจากการบริโภคที่เกินพอดี
    เกินความจำเป็นพื้นฐานทำให้เกิดการแย่งชิงแหล่งทรัพยากร แหล่งพลังงาน
    และแหล่งผลิตอาหารของมนุษย์
  • ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์แต่บริหารจัดการไม่ดีทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม
    ภัยแล้ง ผลผลิตทางการเกษตรลดลง
  • Good Governanceสำคัญมากในการบริหารองค์กรและประเทศ
  • การเน้นเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมากเกินไปทำให้เกิดการบริโภคเกินความต้องการและเกิดปัญหาต่าง
    ๆ ตามมา เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม ปัญหาสิ่งแวดล้อม การเกิดภัยธรรมชาติ
  • เศรษฐกิจแบบ Knowledge Power Money เน้นการเติบโตของ GDPเป็นระบบทุนนิยม มีการแข่งขันสูงและรุนแรง
    ใช้ทรัพยากรฟุ่มเฟือย เกิดภัยพิบัติตามมาทั้งภัยธรรมชาติ มลภาวะและปัญหาสังคม
  • เศรษฐกิจแบบGoodness
    Culture และ Knowledge เน้น Gross National Happiness ความสุขของประเทศ ระบบพึ่งพาตนเอง เน้นอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
    การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล
  • มนุษย์จะต้องเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืนในอนาคต
  • การพัฒนาที่ยั่งยืนคือการพัฒนาที่มีความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม
    ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ไม่มุ่งเน้น Cost Benefit แต่ ใช้ Cost Effectiveness
  • ต้องทำงานเพื่อสังคมและผู้อื่นบ้างไม่ใช่สนองความต้องการตนเองเป็นหลักฝ่ายเดียว
  • หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันตัวที่ดี
  • เงื่อนไขความรู้ คือ รอบรู้รอบคอบ ระมัดระวัง
  • เงื่อนไขคุณธรรม คือ ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน มีสติปัญญา แบ่งปัน
  • เป้าหมายของการพัฒนาคือ มั่งคง และยั่งยืน

ช่วงบ่าย

หัวข้อ ผู้นำวัฒนธรรมองค์กร และการบริหารการเปลี่ยนแปลง

  • กรณีศึกษาของ กฟผ.
  • การบริหารจัดการต้องมีหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้
    และเป็นประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง
  • ความสัมพันธ์ระหว่างคน องค์กร และการมุ่งสู้ความเป็นเลิศ
  • วิเคราะห์บุคคลิกของ กฟผ. คือ ดี เก่ง ซื่อสัตย์แต่ขาด Networkingมีมุมมองของวิศวกรมากเกินไป มีหลาย Siloทำให้เกิด Synergyยาก
    ต้องรีบปรับปรุงแก้ไข
  • อุปสรรคในการพัฒนาตนเองและองค์กร คือ ทัศนคติ และ Mind Set
  • Performanceสำคัญมากในการบริหารองค์กรซึ่งประกอบด้วย
    Competencyและ Motivation
  • Competencyประกอบด้วย Knowledgeและ Skill
  • Motivationต้องพิจารณาเป็นกรณี
    ๆ ไป ให้ตรงกับความต้องการของบุคคลนั้น ๆ ซึ่งแตกต่างกัน แล้วแต่ เป้าหมาย
    วิธีคิดและแรงจูงใจ
  • การบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องเริ่มที่ตนเองก่อน
    ที่จะนำไปสู่ทีมงานและองค์กร มีคำกล่าวว่าท่านต้องเปลี่ยนแปลงตนเองและองค์กรก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน
  • หน้าที่ของผู้นำจะต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง
    เป็นผู้นำและผลักดันการเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กร
  • องค์กรที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีความสามารถในการปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

วันพุธที่ 19 มีนาคม 2557

Case Study บมจ.บ้านปู กับการเข้าสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

โดย คุณสมยศ รุจิรวัฒน์ร องประธานเจ้าหน้าที่บริหารบมจ.บ้านปู

ประโยชน์ที่ได้รับจากการร่วมสัมมนา

ช่วงเช้า

  • ทำให้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของบมจ.บ้านปูประสบการณ์ในการพัฒนาธุรกิจในต่างประเทศ
  • การ Diversifyธุรกิจของบมจ.บ้านปูไปสู่ธุรกิจผลิตไฟฟ้า Utility และการพัฒนาโรงไฟฟ้าในต่างประเทศ
  • การปรับกลยุทธ์ธุรกิจของบมจ.บ้านปูให้สามารถแข่งขันและอยู่รอดได้ในตลาดต่างประเทศ
  • ความสัมพันธ์ระหว่าง Productivity ,Capital Planning ,Synergy Drive, Human Resource
    Development และ Financial Planning
  • ความสำคัญของการพัฒนา SD Framework เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนซึ่งประกอบด้วย Competitiveness Localizationและ License to Operate
  • กระบวนการเพิ่ม Competitiveness ประกอบด้วยPeople Development, Operation Excellence และTechnology
  • Localization ประกอบด้วยGood Governance ,Business Ethics ,Compliance และGood
    corporate Citizen
  • License to Operate ประกอบด้วย Health& Safety ,Environment และ Community
    Development
  • Operation Excellence ประกอบด้วยIncrease Productivity Reduce Operating Cost และ Optimize
    Capital Cost
  • การบริหารคนเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารองค์กรเพราะคนคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร
  • Localizationมีหลักการคือหากไปลงทุนในประเทศใดให้สร้างประโยชน์ให้กับประเทศนั้นอย่างสูงสุด
    ดูแลชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง
  • โครงการ CSRของบริษัทบ้านปูประกอบด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติการจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การปรับพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • Key Take Away คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ทั้งตนเอง ทีมงานและองค์กร วิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย พันธะกิจใหม่เพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืนและมั่นคงให้กับองค์กร
  • SD Framework จะช่วยให้องค์กรสามารถกำหนด วิสัยทัศน์ แผนกลยุทธ์และเป้าหมายได้ชัดเจนและเป็นแนวทางที่ทำให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมและนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จในอนาคต

ช่วงบ่าย

  • ทำให้ทราบถึง Key Success Factor ของ ปตท.ประกอบด้วย Continuous Improvement ,Excellent Leadership และ Open Mind
  • ทำให้ทราบถึงEgat Wayซึ่งประกอบด้วย People, Systemเป็น Excellence
    Organizationมีแนวทางคือ การบริหารเชิงนโยบายการบริหารเชิงปฏิบัติการและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • Peopleการสร้างศรัทธาและคุณค่า มีศักยภาพบนบุคคลิกภาพที่อ่อนน้อม ปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
  • System มีหลักธรรมาภิบาลเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การบูรณาการ สร้างการมีส่วนร่วมและยืดหยุ่น
    บริหารงานบนฐานข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง
  • Excellence Organization สร้างความพร้อมสำหรับการแข่งขันในอนาคต เป็นความภาคภูมิใจของชาติ มีการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
  • ต้องมีเครือข่ายในการทำงานการเมืองทั้งในและนอกองค์กรในทุกมิติ
  • กฟผ.ต้องเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าเพื่อสร้างความเข้าใจอย่างถ่องแท้และต่อเนื่องให้กับชุมชนและสังคม
  • เลิกวิธีคิดแบบแยกส่วนแต่ให้คิดแบบเชื่อมโยงและบูรณาการ
  • การเตรียมความพร้อมเรื่องการบริหารองค์กรในสถานการณ์วิกฤติ
  • การเตรียมความพร้อมเรื่องการบริหารสภาพคล่องในสถานการณ์วิกฤติ
  • เน้นการสร้างแผนงานระยะสั้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนทางการเมืองซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของกฟผ.
  • กฟผ.ต้องสร้างองค์กรให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เข้มแข็งและเป็นมืออาชีพ
  • กฟผ.จะต้องเพิ่มขีดความสามารถด้าน Political Knowledge ให้กับบุคคลากรของกฟผ.ในทุกระดับ อย่างต่อเนื่อง
  • การ Shareความรู้ ข้อมูลระหว่างหน่วยงานให้ทั่วถึงทั้งองค์กร
  • การสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกองค์กร

วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม 2557

ประโยชน์ที่ได้รับจากการร่วมสัมมนา

  • ควรเน้นการพัฒนาแบบ Gross National Happiness
  • ควรเรียนรู้ปัญหาและผลกระทบจากการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
  • ผู้นำองค์กรควรมีคุณสมบัติ คือ มีคุณธรรม ยุติธรรม มีความจริงใจสามารถนำคนได้
  • หลักการของ Blue Ocean, Red Ocean และ White Ocean
  • ในสถานการณ์ปัจจุบันอย่างปล่อยให้ความไม่ดีของผู้อื่นทำลายความศรัทธาและความดีของตัวเราเอง
  • การสร้างสมดุลระหว่างคุณค่าและต้นทุน การสร้างผลประโยชน์ให้กับองค์กรได้อย่างยั่งยืน
    และอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมได้อย่างเป็นสุข Everyone is the winner
  • ควรวัดความสำเร็จขององค์กรด้วยอะไร เช่น ผลกำไร การเติบโต ความมั่นคง ยั่งยืน สร้างความสุขให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง การสร้างจุดสมดุลให้กับผลงานขององค์กร
  • การหาจุดสมดุลของ 4 P คือ People , Planet , Profit และ Passion
  • คำคมที่ได้ อยู่เพื่อตนเองอยู่แค่สิ้นลม อยู่เพื่อสังคมอยู่คู่ฟ้าดิน

วันศุกร์ ที่ 21 มีนาคม 2557

ประโยชน์ที่ได้รับจากการร่วมสัมมนา

  • ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกขยายตัวเพิ่มขึ้นในปี 2557
  • ดอกเบี้ยอาจมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
  • คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3 ในปี2557
  • คาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยุโรปมีแนวโน้มดีขึ้น ขยายตัวร้อยละ 0.5-1.0 ในปี 2557
  • คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะมีการขยายตัวประมาณร้อยละ 2.5-3.0 ในปี 2557
  • ดอกเบี้ยในไทยมีแนวโน้มลดลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • อัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทที่แนวโน้มอ่อนตัวลงเนื่องจากปัญหาทางการเมือง
    ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ประมาณตัวเลขอยู่ที่ 32.5-33.5 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ
  • การเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องของเศรษฐกิจจีนอาจเกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ได้ในอนาคต
  • โครงข่ายถนน ทางรถไฟ ในทวีปเอเชียจะสร้างโอกาสทางธุรกิจโดยเฉพาะการเชื่อมเส้นทางการคมนาคมระหว่างจีนกับกลุ่มประเทศอาเซียนได้แก่ ไทย ลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชา
  • ทำให้ทราบถึงสถานการณ์การใช้พลังงานในปี 2556 และแนวโน้มในอนาคต
  • ทำให้ทราบถึง ปริมาณการผลิตน้ำมันและความต้องการน้ำมันของโลกในปัจจุบัน
  • ราคาก๊าซธรรมชาติที่บริโภคภายในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากการเพิ่มสัดส่วนการใช้ก๊าซจากพม่าและการนำเข้า ก๊าซ LNG ซึ่งมีราคาสูงกว่าก๊าซจากอ่าวไทย
  • ค่าไฟฟ้าของไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากค่าเชื้อเพลิงสูงขึ้น และค่าเงินบาทอ่อนตัวโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินยังก่อสร้างไม่ได้การกำหนดนโยบาย Adder โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน
  • IEAประเมินว่าไทยมีความเสี่ยงด้านความมั่นคงด้านพลังงานสูงสุดในอาเซียน
    เนื่องจากต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานจากการนำเข้ากว่าร้อยละ 90 ของความต้องการภายในประเทศ ทั้งการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง การนำเข้าก๊าซธรรมชาติและการนำเข้าพลังงานไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
  • กฟผ.ควรปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เช่น ปรับองค์กรเป็นศูนย์กลางด้านโครงข่ายพลังงานในอาเซียน การสร้างภาพลักษณ์เป็นองค์กรที่อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม การขยายการลงทุนไปสู่ประเทศในกลุ่ม AEC ที่มีศักยภาพ การพัฒนาบุคคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้ในระดับสากล เตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิรูปพลังงานโดยการเปิดเสรีด้านระบบส่งและจำหน่ายไฟฟ้าในอนาคต
  • หลักการของ Mind Mapping และประโยชน์ที่จะนำไปใช้
ประวิทย์ เลิศโกวิทย์ TS 10

หัวข้อ “ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

วันที่ 18 มีนาคม 2557 (ช่วงเช้า)

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้หัวข้อนี้

–ปัญหาของโลกในปัจจุบันเกิดจากการบริโภคที่เกินพอดี

–การบริโภคอย่างฟุ่มเฟือยมีผลทำให้ดรรชนีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติของโลกลดลง

–การพัฒนาจากอดีตถึงปัจจุบันเป็นแบบ KPM (KNOWLEDGE, POWER , MONEY ) เป็นการพัฒนาที่เน้นเรื่อง GDP , ระบบทุนนิยม , การแข่งขันแก่งแย่ง และมีการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย

–การพัฒนาในอนาคตควรเป็นแบบ GCK ( GOODNESS , CULTURE , KNOWLEDGE) เป็นการพัฒนาที่เน้น GNH , ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง , เน้นการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น , เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากร และ ส่งเสริมธรรมาภิบาล

–การพัฒนาที่ยั่งยืน (SUSTAINABLE DEVELOPMENT) คือ การพัฒนาที่มีความสมดุลย์ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ไม่เน้น COST BENEFIT แต่ใช้ COST EFFECTIVENESS (ไม่คำนึงถึงจำนวนเงิน)

–เศรษฐกิจพอเพียงควรอยู่ภายใต้ความพอดี 6 ประการ คือ ด้านจิตใจ , ด้านสังคม , ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ,ด้านเศรษฐกิจ , ด้านเทคโนโลยี่ และด้านการเมือง

ประวิทย์ เลิศโกวิทย์ TS 10

หัวข้อ “ ผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร - การบริหารการเปลี่ยนแปลง”

โดย ศ. ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

อ.ประกายชลหาญ

ดร.ศิริลักษณ์เมฆสังข์

วันที่ 18 มีนาคม 2557 (ช่วงบ่าย)

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้หัวข้อนี้

–ผู้นำต้องเรียนรู้ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน ก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน

(CHANGE BEFORE YOU ARE FORCED TO CHANGE , OTHERWISE IT IS TOO LATE)

–PERFORMANCE ในองค์กรมาจาก

●COMPETENCYคือ ความรู้และความชำนาญ

●MOTIVATIONคือ แรงจูงใจ

–ผู้นำต้องเก่งและเรียนรู้ 3 เรื่อง

●CHANGE-การเปลี่ยนแปลง

●THINKING PARADIGM-แนวคิด

●NETWORK AND CONNECTION- เครือข่ายความสัมพันธ์

–ผู้นำจะต้องเรียนรู้ที่จะปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานด้วยหลัก KFCI คือ

K=KNOWMEรู้จักลูกน้อง

F=FOCUSMEลูกน้องแต่ละคนไม่เหมือนกัน

C= CAREABOUT MEแสดงความรัก ความใส่ใจลูกน้อง

I=INSPIREMEสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกน้อง

ประวิทย์ เลิศโกวิทย์ TS 10

หัวข้อ “ กรณีศึกษาของบริษัทบ้านปู จำกัด(มหาชน)

กับการก้าวสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค”

โดย คุณสมยศรุจิรวัฒน์

วันที่ 19 มีนาคม 2557 (ช่วงเช้า)

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้หัวข้อนี้

–บริษัทบ้านปู จำกัด มีการพัฒนาการ แบ่งออกเป็น 5 ช่วง ดังนี้

●ช่วงที่ 1 (THE EARLY YEAR) เป็นช่วงก่อตั้งบริษัทฯ โดยเริ่มจากธุรกิจเหมืองลิกไนต์เล็ก ๆ ที่จังหวัดลำพูน ต่อมาขยายมาที่ลำปาง

●ช่วงที่ 2 (THE 1990S) เป็นช่วงที่บริษัทฯ เริ่มเติบโต มีการเพิ่มทุนโดยเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ และ เริ่มลงทุนในต่างประเทศเช่น อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย หลังจากนั้นก็เริ่มมองธุรกิจที่ต่อเนื่อง เพื่อ DIVERSIFY ธุรกิจไปสู่ธุรกิจผลิตไฟฟ้า คือ โรงไฟฟ้า COCO

●ช่วงที่ 3 (1997-2000YEARS OF CRISIS MANAGEMENT AND REFLETION) เป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ “ต้มยำกุ้ง” ซึ่งบริษัทฯ ต้องขายโรงไฟฟ้า COCO แต่ต่อมาเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น จึงได้มีการไปถือหุ้นใน RATCH 10 % และต่อมาบริษัทฯ ได้ปรับแนวการลงทุนเฉพาะเรื่องถ่านหิน

●ช่วงที่ 4 (2001-2010 BECOMING A REGIONAL AND LOCAL COAL-BASE ENERGY PLAYER) บริษัทฯ มีการกำหนดสัดส่วนในการลงทุนชัดเจน โดยเน้นเรื่องการลงทุนถ่านหินเป็นธุรกิจหลัก (COAL CHAMPION PLUS)

●ช่วงที่ 5 (2011-2013 CONSOLIDATION AND PREPARATION FOR NEW ERA OF GROWTH) บริษัทฯ ได้พิจารณา STRENGTH พื้นฐานของบริษัทฯ ใน 6 KEY ดังนี้

1.COST RATIONALIZATION & PRODUCTIVITY

2.CAPITAL PLANNING

3.SYNERGY DRIVE

4.HUMAN RESOURCE MANAGEMENT

5.FINANCIAL STREAMLINING

6.ORGANIC GROWTH

–CSRคือการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในการทำธุรกิจต้องมองสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย ต้องสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศที่ไปลงทุนด้วย

–BANBU SD FRAMEWORK

1.LICENSE TO OPERATE OCCUPATIONAL HEALTH & SAFETYต้องให้ความสำคัญในเรื่อง

ความปลอดภัย สุขภาพและสิ่งแวดล้อม

2.LOCALIZATION ต้องสร้างความโปร่งใส ถูกกฎหมาย มีคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ

3.COMPETITIVENESSต้องเป็นคนดีและมีคุณภาพ

–BANBU SPIRIT ประกอบด้วย

1.INNOVATION

2.INTEGRITY

3.CARE

4.SYNERGY

ประวิทย์ เลิศโกวิทย์ TS 10

หัวข้อ “ TQM / SEPA : ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.”

โดย คุณโชติรส เสวกวัฒนา

อาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยากุล

คุณปิติ ศรีสุขสมบัติ

วันที่ 19 มีนาคม 2557 (ช่วงบ่าย)

–KEY FACTOR ที่ทำให้ ปตท.เป็นเลิศคือ

●CONTINUOUS IMPROVEMENT

●EXCELLENTLEADERSHIP

●OPEN MIND

–ปตท.จะเน้นในส่วนของ ASSESS, ACQUIRE และ APPLY ซึ่งทุกคนที่ไปดูงานต้องนำความรู้มาแบ่งปัน

–ปตท.จะเน้น BCM (BUSINESS CONTINUALLYMANGEMENT) คือสามารถทำงานได้แม้จะมีวิกฤติเกิดขึ้น

–ผู้นำต้องมีหน้าที่ 4 ข้อ คือ ชี้นำสื่อสารกระตุ้นทำให้ยั่งยืน

–กฟผ.กำลังสร้าง EGAT WAY เพื่อเป็นแนวทาง และวิธีการทำงานของตนเองขึ้นมา ประกอบด้วย คน ระบบ และผลลัพธ์ที่เป็นเลิศ

–EGAT WAY ต้องการให้เกิดความสำเร็จขณะเดียวกันก็ต้องมีความสุขในการทำงาน

–SEPA เป็นเครื่องมือปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์กรนั้น ๆ และถือว่าเป็นภาคบังคับ

ประวิทย์ เลิศโกวิทย์ TS 10

หัวข้อ “ นวัตกรรมของ บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด(มหาชน)”

โดย คุณไพรวัลย์ ไทยนิยม

วันที่ 20 มีนาคม 2557 (ช่วงเช้า)

-7-11 เริ่มต้นที่สหรัฐอเมริกา โดยซีพี ได้เริ่มเปิดสาขาแรกที่พัฒน์พงษ์ ประกอบด้วยกลุ่มบริษัทเพื่อการผลิต

กระจายสินค้า และบริการอื่น ๆ ปัจจุบันมีพนักงานรวมกว่า 100,000 คน เน้นความสะดวกซื้อ ผ่านรูปแบบ

สินค้าและบริการ ผ่านร้านค้า 7,634 สาขา มีจำนวนลูกค้า 8ล้านคนต่อวัน

-สำหรับการดำเนินธุรกิจของ ซีพีออลล์ มุ่งสร้างนวัตกรรมไปสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับ

การลดเวลาในการทำงาน , ONLINE

-นวัตกรรมคือสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม

โดยนวัตกรรมในความหมายของ ซีพีออลล์ คือ การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ หรือปรับปรุงสิ่งเดิม เกิดจาก

การนำความรู้และความคิดสร้างสรรค์ นำไปพัฒนาให้เกิดคุณค่าต่อลูกค้า องค์กร และสังคม แบ่งเป็น

●PROCESSINNOVATION

●PRODUCTINNOVATION

●SERVICEINNOVATION

●BUSINESS MODEL INNOVAION

ประวิทย์ เลิศโกวิทย์ TS 10

หัวข้อ “ WHITE OCEAN STRATEGY กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ.”

โดย คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

วันที่ 20 มีนาคม 2557 (ช่วงบ่าย)

-โลกปัจจุบันอยู่ในยุคทุนนิยมหรือวัตถุนิยม เน้นการบริโภค เป็นปัจจัยที่ทำให้เสื่อมถอย เป็นมิจฉา/กิเลส

มนุษย์ต่างจากสัตว์ ตรงที่มีเสรีภาพในการเลือก (FREEDOM OF CHOICE) แต่หลังจากเลือกแล้วก็ต้อง

รับผลแห่งกรรมนั้น ๆ การเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มที่เปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน

-WHITE OCEAN : EVERYONE IS A WINNER (COOPERATION) องค์กรสีขาวจะมีความสุข

สร้างสรร และยั่งยืน ประกอบด้วย

●WHERE ARE WE

●WHERE DO WE WANT TO GO

●HOW TO GET THERE หาสมดุลย์ของ PEOPLE / PLANET / PASSION / PROFIT

●WORLD OF ADVANTAGE AND SHARING

●INTEGRITYตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง

●INDIVIDUAL SOCIAL RESPONSIBILITY

●BENCHMARK

-คนเรามีสมอง 2 ซีก ซีกซ้าย ใช้ประมวลประเมิน ตัดสินใจ ส่วนซีกขวา ใช้ความรู้สึกรับโดยหัวใจ มีคำพูด

ที่น่าสนใจว่า KNOWLEDGE IS POWER BUT LOVE IS MIRACLE

-อดีตมี RED OCEAN ยุคอุตสาหกรรมที่เชื่อว่า ลูกค้าคือพระเจ้า ต้องการกำไรสูงสุด ต้นทุนต่ำสุด ต่อมามี

BLUEOCEAN หลัก HIGH RICH HIGH RETURNเน้น IDEA TECHNOLOGY โดย CREAT

NEED CREAT WANTลูกค้า

-ปัจจุบันมีWHITE OCEAN หลัก EVERYONE IS THE WINNERเน้น CO-CREATION HIGH

TRUSTสร้างHIGH PERFORMANCE และLOW COST

ประวิทย์ เลิศโกวิทย์ TS 10

หัวข้อ “เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.”

โดยรศ. ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

อ.มนูญ ศิริวรรณ

วันที่ 21 มีนาคม 2557 (ช่วงเช้า)

-สถานการณ์พลังงานโลกปี 2557 : ความต้องการน้ำมันดิบโลกจะเพิ่มขึ้น 1.4 % สหรัฐฯ จะกลายเป็นผู้ผลิต

น้ำมันรายใหญ่ที่สุดนอกกลุ่มโอเปค และเกิด SUPPLY OVERHANG นอกจากนี้ราคาก๊าซธรรมชาติมี

แนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเอฟทีมีแนวโน้มสูงเพิ่มขึ้นไปด้วยเช่นกัน แต่ราคาถ่านหินจะลดลง

-สำหรับการใช้พลังงานในแถบเอเชียปี 2012-2035 ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอย่าง

OECD โต 4 % ขณะที่ MIDDLEEAST โต 10 % แม้แนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะดีขึ้น แต่การใช้เพชื้อเพลิง

พลังงานเพิ่มไม่มากประมาณ 1.4 %

-ไทยมีความเสี่ยงความมั่นคงด้านพลังงานสูงที่สุดในอาเซียน เพราะต้องพึ่งพาพลังงานจากนอกประเทศมากขึ้น

เรื่อย ๆ รวมถึงต้องนำเข้าไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มได้

อีก ดังนั้น กฟผ. ต้องเร่งปรับตัวอย่างมาก ควบคู่ไปกับการปฏิรูปพลังงาน ซึ่งอาจมีการเปิดเสรีด้านระบบส่ง

และจำหน่ายในอนาคต

-ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.รับสถานการณ์

●ปรับองค์กรเพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคต

●พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายด้านพลังงานในอาเซียน

●ตอบสนอง GREEN ENERGY

●แสวงหาลู่ทางการลงทุนพลังงานในประเทศเพื่อนบ้าน

●ใช้ประโยชน์จากเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน

●พัฒนาบุคลากร

●เตรียมผ่านการปฏิรูปพลังงานด้านระบบส่ง

ประวิทย์ เลิศโกวิทย์ TS 10

หัวข้อ “ MIND MAPPING สำหรับผู้บริหาร และการวางแผนงานวิจัยและโครงการเชิงนวัตกรรม”

โดยอ.ดำเกิง ไรวา

วันที่ 21 มีนาคม 2557 (ช่วงบ่าย)

-หลักการของ MIND MAP คือมองจากจุดเริ่มต้น ดูความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องต่าง ๆ แยกเป็นด้าน ๆ แล้ว

พิจารณาต่อเนื่องจากจุดขยายต่อไป เพื่อให้สามารถเห็นภาพความเชื่อมโยงทั้งหมดภายในแผ่นเดียว ใช้เวลา

น้อย เห็นได้ครอบคลุมทุกด้าน นำไปสู่การวางแผน ไอเดียใหม่

-สิ่งที่ได้จากการทำ MIND MAP

●มองเห็นภาพเชื่อมโยงได้ทั้งหมดและครอบคลุม

●ใช้เวลาน้อยในการเรียนรู้

●ช่วยการสื่อสาร / เรียนรู้ได้ตรงกัน

●ลดขั้นตอนและเพิ่มประสิทธิภาพเนื้อหา

●ขยายผลไปสู่การวางแผน / บริหารความเสี่ยง

ณรงค์ศักดิ์ เขียวรำภา

หัวข้อ ผู้นำ-วัฒนธรรมองค์กร-การบริหารการเปลี่ยนแปลง

คน องค์กร ผลประกอบการ/ความเป็นเลิศ
  • ปัจเจกบุคคล
  • ความหลากหลายของคน
  • ทุนมนุษย์
  • ทักษะ ทัศนคติ ความรู้
  • ความสุขและความพอใจในการทำงาน
  • เป้าหมายในการทำงาน
  • นโยบายของรัฐ
  • Vision ขององค์กร
  • สร้าง Competency เพิ่ม
  • กฎระเบียบ
  • วัฒนธรรมองค์กร
  • องค์กรต้อง Lean & Mean
  • แรงจูงใจ
  • คุณธรรม จริยธรรม
  • Core Value
  • การทำงานร่วมกัน
  • รางวัลที่ได้รับ
  • ความสุขของพนักงาน
  • ความพอใจของลูกค้า
  • ROI ต่อทรัพย์สิน
  • Productivityที่เพิ่ม
  • คุณภาพที่ดี
  • ยั่งยืน สมดุลย์
  • ความสมดุลย์ของชีวิต งาน ครอบครัว
  • CSR
  • จิตสาธารณะ
  • องค์ประกอบที่สำคัญในการทำงาน

    • Competency ประกอบด้วย Knowledge , Skill
    • Motivation การให้แรงจูงใจกับลูกน้องหรือลูกค้า
    • Endurance ต้องมีความอดกลั้น อดทน

    วัฒนธรรมองค์กรแบ่งเป็น

    • Absolute Value เป็นค่านิยมที่ไม่เปลี่ยนแปลง เช่นความซื่อสัตย์
    • Relative Value เป็นค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงได้เช่นมุ่งงานเลิศอาจเปลี่ยนป็นมุ่งคนเลิศก็ได้ หรืออาจเปลียนไปตามลูกค้า ชุมชน เทคโนโลยี่

    การเปลียนแปลงมาจาก 2 สาเหตุ

    • จากที่ตัวเราเองอยากเปลี่ยนเอง
    • คนอื่นมาสั่งให้เปลี่ยน

    การสื่อสาร

    • ควรใช้สหภาพแรงงานเป็นช่องทางในการสื่อสาร
    • ถ้าลดระดับโครงสร้างได้จะช่วยในการสื่อสารให้ดีขึ้น


    วันที่ 20 มีนาคม 2557

    เรื่อง นวัตกรรมของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) โดยคุณไพรวัลย์ ไทยนิยม

    การจัดการ นวัตกรรมในธุรกิจค้าปลีก

    เริ่ม 7 พ.ย. 2532 ซื้อสิทธิ์ 7-11 จาก U.S.A.ปรัชญาของซีพี คือเราปรารถนารอยยิ้มจากลูกค้าด้วยทีมงานที่มีความสุข

    ดังนั้น สินค้าและบริการ จึงเป็นเพียงตัวเรียกลูกค้า สิ่งที่ร้าน 7-11 ขายจริงๆ คือ ความสะดวกซื้อ ผ่านรูปแบบของสินค้าและบริการที่หลากหลาย เน้น Location / 24 Hours & Speed มีลูกค้าเข้าร้าน 7-11 เฉลี่ยทั่วประเทศ 8 ล้านคนต่อวัน ใน 7,634 สาขา

    นวัตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่เกิดจากคามรู้และความคิด สร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ในส่วนของ นวัตกรรมของซีพี คือ การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ หรือ การปรับปรุงจากสิ่งเดิม ที่เกิดจากการนำความรู้และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาให้เกิดคุณค่าต่อลูกค้า องค์กร และสังคม โดยมีนวัตกรรมใน 4 ด้าน ได้แก่

    Process Innovation. การสร้างสรรค์กระบวนการใหม่

    Product Innovation. การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่

    Service Innovation. การสร้างสรรค์บริการรูปแบบใหม่

    Business model Innovation. การสร้างสรรค์ธุรกิจรูปแบบใหม่

    ทั้งนี้ Innovation มี 2 แบบคือ Closed Innovation คือ Copy มาพัฒนา กับ Opened Innovation มี Concept และ
    Focus on Combine ซึ่งผู้บริหารถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างนวัตกรรมขององค์กร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด
    (มหาชน)

    หัวข้อ White Ocean Strategy กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ.

    โดย คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย ณ บจก.ดีซี คอนซัลแทนส์แอนด์มาร์เก็ตติ้งคอมมูนิเคชั่นส์
    White Ocean เป็นหนังสือเน้นเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม ความสุขของคนไทยในปัจจุบันมีมากขึ้นหรือลดลงเนื่องจากอะไร อยากให้ดูตัวอย่างของภูฏานที่เหมือนเมืองไทยในอดีต ภูฏานเป็นประเทศที่เน้นเรื่อง GNH (Grosss National Happiness) ต่างกับ GDP ที่ทุกอย่างวัดเป็นตัวเลขหมด แต่ไม่มองว่าสังคมแตกแยกหรือไม่ ครอบครัวแตกแยกหรือไม่ หลักการสำคัญของ White Ocean พูดเรื่องยุคของการเปลี่ยนแปลง

    - ความสุดโต่งของสายการปกครองแบบสังคมนิยม และทุนนิยม

    สังคมนิยม ทำให้ศักยภาพมนุษย์ลดลง

    ทุนนิยม เน้นที่วัตถุนิยม บริโภคนิยม และที่เจอทุกประเทศคือประชานิยม ผลสุดท้ายก็คือล่มจม เป็นการมองระยะสั้น และไม่ได้อยู่กับความเป็นจริง ตัวอย่างเช่น การปลูกข้าวต้นทุนสูงสุด ผลผลิตต่ำสุด เกิดเป็น มิจฉามาร์เก็ตติ้ง
    และกิเลสมาร์เก็ตติ้ง และท้ายสุดไปไม่ถึงไหน

    จากวิสัยทัศน์ของ กฟผ.
    1. เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล

    2. เป็นองค์กรที่มีการบริหารที่มีประสิทธิภาพสูง

    3. เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพการดำเนินงานเป็นเลิศ

    4. เป็นองค์กรที่สังคมไว้วางใจและเป็นความภาคภูมิใจของชาติ

    5. เป็นองค์กรที่มีฐานะทางการเงินมั่นคงเพียงพอต่อการขยายงาน

    คนที่ประสบความสำเร็จ คือคนที่ฉลาดในการตั้งคำถาม เช่นเซอร์ไอแซกนิวตัน ถามว่าทำไมแอปเปิ้ลหล่น

    คนที่ยิ่งใหญ่จะฉลาดตั้งคำถามแต่คนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใน 3 โลกคือคนที่ฉลาดในการตั้งคำถาม คือพระพุทธเจ้า ตั้งคำถามว่าทำไมต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย
    สิ่งที่เราต้องตั้งคำถามคือ Where are we? Where do we want to go? How to get there?

    สมองมี 2 ซีก ตอนเกิดสมองสมดุล 2 ข้าง แต่พอโตขึ้นสมองซีกซ้ายโต มีหลักการ เหตุผล ความคิด เป็นลักษณะอะไรที่เน้นความแม่นยำ สมองซีกขวา เน้นความคิดสร้างสรรค์ คุณธรรม จริยธรรม สมองที่ต้องพัฒนามากๆ คือซีกขวา เพราะสมองซีกซ้ายเรากำลังถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยี
    เราต้องหาจุดสมดุลของ 4 P’s คือ
    1. People คนในองค์กร การทำงานอะไรก็ตามเราจะทำสิ่งที่ดีที่สุดโดยนึกถึงคนอื่น เรียกว่ากัลยาณมิตร

    2. Planet การรณรงค์การลดการใช้พลังงาน หรือใช้พลังงานอย่างประหยัดช่วยโลกได้

    3. Profit กำไรไม่ใช่ให้องค์กรเท่านั้นแต่ต้องคืนกลับสังคมด้วย

    4. Passion คือความมุ่งมั่น ความศรัทธา อุดมการณ์ที่มั่นคง เช่น MK สุกี้ S&P ไม่ขายเหล้าบุหรี่ในร้านของเขา
    เราไม่จำเป็นต้องทำตามกิเลสของสังคมตลอดเวลา เราสวนกระแสได้ คือ Passion
    5. ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม ความเป็นจริง และความเป็นเนื้อแท้ (Integrity) คิดและเชื่อในเรื่องเดียวกัน

    6. แนวคิด ISR ถ้าเราต้องการเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ ต้องเริ่มจากตัวเอง

    กิจกรรม “ธรรมะสำหรับผู้บริหาร : จิตอิสระกับจิตประภัสสร” โดยหลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล

    สอนให้นั่งสมาธิโดยการดื่มน้ำเย็นบรรลุธรรม โดยการจับความรู้สึกเย็นของน้ำเย็นที่ดื่มเข้าไปในท้องว่าอยู่ตรงไหน
    ให้นำจิตไปจับและจดจ่ออยู่กับความรู้สึกเย็นของน้ำแข็ง ทำให้จิตไม่วอกแวก

    สมบูรณ์ ดำรงสุสกุล EADP#10 Group 4

    Lesson Learn On 18th March, 2014

    : หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

    สิ่งที่ทำให้เกิดเศรษฐกิจพอเพียง

    -ธรรมชาติเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการทำลายธรรมชาติ

    -การปกครองเปลี่ยนแปลง, สังคมเปลี่ยนแปลง

    -การบริหารการจัดการ

    -การบริโภคควรพอดี

    -ของใช้ทุกชิ้นต้องลงทุน

    ความพอเพียงคือ การรักษาความพอดี มนุษย์บริโภคทรัพยากรเกินขีดจำกัดในขณะที่โลกทรัพยากรเท่าเดิม

    ธรรมาภิบาล การกำกับดูแลกิจการที่ดีขึ้นอยู่กับผู้นำ

    การพัฒนาอย่างยั่งยืนคือ การพัฒนาที่สมดุลย์ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

    การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือ ทางสายกลาง, พอประมาณ, มีเหตุผล, มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

    หลักการเรียนรู้ในการพัฒนาคือ ต้องเข้าใจภาระกิจว่าตัวเองทำอะไร ต้องเข้าถึงสิ่งที่ต้องลงมือปฏิบัติและนำสิ่งที่ปฏิบัติมาพัฒนา

    Lesson Learn เรื่อง ผู้นำ-วัฒนธรรมองค์กร-การบริหารการเปลี่ยนแปลง

    วัฒนธรรมองค์กร ประกอบด้วย คน, องค์กร, ผลประกอบการ

    คน ประกอบด้วย ปัจเจกบุคคล, ความหลากหลายของคน, ทุนมนุษย์, ทักษะ, ทัศนคติ, ความรู้, ความสุขและความพอใจในการทำงาน, เป้าหมายในการทำงาน

    องค์กร ประกอบด้วย นโยบายของรัฐ, Vision ขององค์กร, Competency, กฎระเบียบ, แรงจูงใจ, คุณธรรมจริยธรรม, Core Value, การทำงานร่วมกัน, รางวัลที่ได้รับ

    ผลประกอบการ ประกอบด้วย ความสุขของพนักงาน, ความพอใจลูกค้า, Productivity, ROI ต่อทรัพย์สิน, CSR, จิตสาธารณะ, ความสมดุลย์ของชีวิต งาน ครอบครัว

    ผู้นำ ต้องเปลี่ยน Mindset (ทัศนคติ) ต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันกับสังคมโลกที่เปลี่ยนไปก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน, ต้องรู้จักวิเคราะห์, ต้องเก่งเรื่องคน วัฒนธรรมองค์กรเกิดจาก การปลูกฝัง การสร้างมาเป็นเวลานาน มี 2 อย่าง

    -เปลี่ยนได้ กับ เปลี่ยนไม่ได้

    การเปลี่ยนแปลงเกิดจากอยากเปลี่ยนเอง หรือ ถูกสั่งให้เปลี่ยน

    ถ้าจะเปลี่ยนแปลง ต้องชี้ให้เห็นว่า เปลี่ยนแล้วได้อะไร, สร้างแนวร่วมให้เห็นประโยชน์, ความอดทนต่อการต่อต้าน

    การสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันในองค์กร

    -รู้จักลูกน้องต้องการอะไร

    -ลูกน้องเป็นอย่างไร

    -การแสดงความรักต่อกัน

    -สร้างแรงดันดาลใจ

    สวัสดีครับลูกศิษย์EADP10

    ช่วงนี้เป็นช่วงอ่านหนังสือที่ผมมอบหมายไปให้ วันนี้ผมได้เข้ามาอ่านการบ้านที่ทุกท่านส่งเข้ามาเกือบครบทุกกลุ่มแล้วเรื่องthe renaissance บางกลุ่มสรุปค่อนข้างละเอียดและมีความลึกซึ้ง มีความ Deep drive ซึ่งผมจะนำไปอ่านและวิเคราะห์ต่อ ซึ่งผมจะใช้เวลาช่วงเข้าในการ Deep drive เพิ่มขึ้น

    หนังสือเรือง Dogfight: How Apple and Google Went to War and Started a Revolution วิธีการมองต้องมองวิวัฒนาการ เทคโนโลยีจาก mainframe-->PC-->Internet-->Tablet/Smart phone-->Search Engine ซึ่งgoogle กับApple เป็นบริษัทซึ่งอยู่ในพรมแดนของนวัตกรรม

    google เก่งเรื่อง Search Engine แต่ไม่เก่ง smart phone แต่ทางด้าน Apple เก่ง Smart phone มีapplicationต่างๆรวมทั้ง I-phone Tablet เรามาดูกันว่าวิวัฒนาการต่อไปจะเป็นอย่างไร แต่ผมฟันธงว่าเป็น Convergence ผสานกัน เพราะเรื่องเทคโนโลยีไม่น่าจะใหม่กว่านี้ นอกจากจะมี Application เพิ่มเติม

    อยากให้ลูกศิษย์กฟผ.วิเคราะห์พลังงานในอนาคตว่าจะเอาเทคโนโลยีมาผลิตและประหยัดพลังงานอย่างไร

    การบ้าน กลุ่มที่ 4 THE RENAISSANCE SOCIETY

    • 1.สรุปประเด็นหลัก

    1.1โลกวัตถุนิยม

    จากสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จ มาจากความสามารถในการเข้าถึงได้ว่าตลาดจะพัฒนาไปในรูปแบบใด ทั้งในระยะสั้นและยาวจะต้อนรับอนาคตอย่างไร องค์กรควรทำอะไรตั้งแต่ตอนนี้สรุปแนวโน้มดังนี้

    • วิธีที่ดีที่สุดในการรู้อนาคตคือการเริ่มขยายจากปัจจุบัน (Extended Now)ให้เราดูว่ามีแนวโน้มอะไรที่ยังมองไม่เห็นในระยะสั้น
    • การเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ได้เกิดจากรัฐบาลแต่เกิดจากประชาชนทุกคนในระบบเศรษฐกิจ
    • จะมีการใช้นาโนเทคโนโลยีทำให้ได้ของที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งเหมาะกับยุคสมัยที่ผู้คนมีความเป็นตัวของตัวเอง จะจ้างคนน้อยลง มีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น จะมีการประกอบธุรกิจในลักษณะผู้ประกอบการรายย่อยมากขึ้น มีความอิสระในการทำงานมากขึ้น คนอาจลาออกจากงานประจำมาเป็นเจ้านายตัวเอง
    • แนวโน้มระยะยาวคนจะไม่เชื่อในระบบการสั่งหรือรวมอำนาจ สังคมเราจะแบนราบขึ้น ทุกคนจะเท่ากันมากขึ้น เกิดจากการศึกษาที่สูงขึ้น และการเข้าถึง Social Media
    • ธุรกิจด้านสุขภาพ (ทั้งรัฐและเอกชน) จะเป็นที่นิยมในอนาคตอาจมีการแข่งขันระหว่างประเทศด้านการทำ software จะมีการให้คำปรึกษา การรักษาการป่วยทางจิต
    • การเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค จะทำให้มีแนวโน้มการซื้อของออนไลน์เพิ่มสูงขึ้น
    • ตลาดเกิดใหม่ (มากกว่า 25% ของประชากรโลก) จะกลายเป็นชนชั้นกลางภายในปี 2030
    • นอกจากการใช้ GDP ในการวัดความสำเร็จของประเทศชาติ อนาคตจะมีนโยบายว่าจะเพิ่มดัชนีความสุขได้อย่างไร
    • GDP เป็นตัววัดที่ดีที่สุดในการบอกกำลังซื้อ และบ่งชี้เศรษฐกิจโลกปัจจุบันว่าอยู่ในสภาวะไหน และจะเป็นอย่างไรในอนาคต
    • เมื่อใดที่เราพูดถึงความเติบโตของปีหน้า ให้ฟังจากนักเศรษฐศาสตร์ แต่หากจะพูดถึงในสิ่งที่จะเกิดใน 10 หรือ 30 ปีข้างหน้า ให้มองย้อนไปในอดีต เพื่อดูรูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้นมาในช่วงเวลาที่ผ่านมา
    • พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ถูกรวมเข้าไว้ใน GDP
    • ส่วนแบ่งทางการตลาดที่มากที่สุดในเศรษฐกิจโลกมาจากงานบริการ ถึง 75 เปอร์เซ็นต์ และจะเพิ่มขึ้นในช่วงอีก 10 ปีข้างหน้า และในระยะยาวจะควบคุมเศรษฐกิจโลก

    1.2 คุณค่าของชาติ และ ความสัมพันธ์ในการผลิตและบริโภค

    • ปัจจุบันเข้ายุคที่ไม่ใช่วัตถุนิยมใหม่ เป็นยุคที่ผู้คนค่อยๆทยอยออกจากวัตถุนิยม เริ่มตระหนักในเรื่อง จิตวิญญาน อารมณ์ ความคิด ศิลปะ ความรัก ความงาม การเอาใจใส่ จินตนาการ ความสุขและความพึงพอใจ มากกว่า เรื่องวัตถุ และเงินตราหรือยุคเศรษฐกิจแบบจิตนิยม มี การเปลี่ยนแปลงจากวัตถุ (Material) มาเป็นคุณค่า (Value)ตัวอย่างคุณค่าที่ตอบสนองความต้องการด้านจิตนิยมได้แก่ ตลาดเชิงอารมณ์ความรู้สึก ตลาดแห่งความสุข ตลาดด้านจิตวิญญาณ ตลาดด้านสุขภาพจิต คุณค่าเหล่านี้สามารถสร้างตลาดได้ แต่ต้องใช้ ความคิดสร้างสรรค์ (Innovative Ideas)
    • ความสัมพันธ์ในการผลิตและบริโภค สรุปได้ ดังนี้

    - ผู้ซื้อต้องการสินค้าที่บ่งบอกตัวตนหรือ รสนิยม ของตนเอง ลงในตัวสินค้า เช่น โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ เครื่องดื่มอัดลม ที่จะแสดงถึงตัวตนของผู้ใช้

    - อุตสาหกรรมการผลิตด้วยตัวเอง สามารถตอบโจทย์ความฝันของผู้บริโภคได้ บริษัทผลิตสินค้าทำมือเริ่มที่จะผลิตแบบปริมาณมาก

    - การสั่งสินค้าสามารถสั่งออนไลน์หรืออินเตอร์เน็ท โดยตรง สะดวก และมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ไปซื้อสินค้าจากหน้าร้าน

    - เราจะเปลี่ยนร้านค้าให้กลายเป็นสถานที่ให้ความเพลิดเพลินได้ เช่น ร้านหนังสือที่มีคาเฟ่ หรือคาเฟ่ที่มีหนังสือให้อ่าน โรงหนังสือมีซีดีขาย เป็นต้น

    - ในขณะที่ผู้บริโภคกำลังบริโภคสินค้า ก็เป็นผู้ผลิตด้วยในเวลาเดียวกัน เช่น จิตรกรที่เดินชม งานสร้างสรรค์ และ ผลิตผลงานออกมา รวมทั้งแลกปลี่ยนกับคนอื่นๆ จนรวมตัวกันเป็น”คลับ” ที่มีความหลงใหลในสิ่งเดียวกัน

    1.3 เราจะเรียนรู้อย่างไร

    • โลกยุคใหม่ให้ความสำคัญกับ “real time” การขยายมุมมอง มองภาพปัจจุบันให้ยาวขึ้นจะช่วยให้เราสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนทัศนคติที่เป็นบวกกับ error (ข้อผิดพลาด) ควรสนับสนุนโครงการทดลอง โครงการนำร่องต่างๆ ให้เกิดการลองผิดลองถูกในโรงเรียนและองค์กร ผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตหลายๆคนเริ่มต้นจากความผิดพลาด
    • โลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งข้อมูล เราไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดเหล่านี้ได้ เราจำเป็นต้องเลือกข้อมูลบางอย่างมาใช้ และข้อมูลที่เราเลือกต้องเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเหมาะสมกับองค์กรนั้นๆมากที่สุด เพื่อให้การตัดสินใจโดยอิงข้อมูลดังกล่าวมีประสิทธิภาพที่สุด ควรเข้าใจวิธีการเรียนรู้ และจัดการการเรียนของตนเอง และเข้าถึงข้อมูล มีทักษะการวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ข้อมูลได้
    • ปัจจุบันคนเชื่อในความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่และเป็นความเห็นที่หลากหลาย กลุ่มคนสามารถตอบคำถามได้ดีกว่าผู้เชี่ยวชาญเพียงคนเดียว เกิดเป็นชุมชนแหล่งความรู้เปิด (open-source) เป็นเครือข่าย เราสามารถติดต่อใครก็ได้ เวลาไหนก็ได้ คุณจะทำงานที่ไหนก็ได้ เทคโนโลยีปัจจุบันพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และอีกไม่นานความฉลาดของเครื่องกลจะล้ำหน้ามนุษย์ และอาจจะพัฒนาจนถึงขั้นมีอารมณ์ มีทักษะหลากหลาย

    1.4 THINKING ABOUT SYSTEMS

    • การมองภาพรวม เราจะมองเห็นภาพใหญ่ที่เหมือนกับคล้ายมีระบบของหลายๆ ระบบมีผลกระทบต่อกันและกันเราสามารถที่จะหารือและถกเถียงต่อปัญหาเหล่านี้ และแก้ไขโดยใช้มุมมองแบบองค์รวม เพื่อทำให้การจัดการความเสี่ยงของภาพรวมเป็นระบบที่ดีขึ้น เพื่อสร้างโลกที่มีความยั่งยืนมากขึ้น
    • มูลข่าวสารที่สื่อสารอย่างทันควันการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารอย่างฉับพลันทันทีมีชัยเหนือการแลกเปลี่ยนแบบ real-space
    • โลกถูกคุกคาม สิ่งที่มนุษย์ทำขึ้นก่อความเสียหายที่มีผลติดตามกระทบต่อส่วนใหญ่ของโลกทำให้โลกเกิดความไม่มั่นคงดังเดิม ทำให้ระบบต่างๆของธรรมชาติเปลี่ยนไป เช่น ปัญหาชั้นโอโซน, ปัญหาทางชีวพันธุ์, การแพร่กระจายของสารเคมี, การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ,Ocean acidification - ปัจจุบันมหาสมุทรมีความเป็นกรดเพิ่มเพิ่มขึ้น 30% , น้ำสะอาดเพื่อการบริโภคและวงจรอุทกวิทยา, Land system change - ที่ดินส่วนใหญ่บนโลกถูกมนุษย์ปรับเปลี่ยนเพื่อใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ทำให้มีการลดลงของความหลากหลายทางชีวพันธุ์ ฯลฯ

    ถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนแปลงโดยการสร้างระบบเศรษฐกิจแบบ post-carbon และปรับให้วงการอุตสาหกรรมเข้าสู่ยุคความมั่งคั่งยั่งยืน

    • ทฤษฎีของเศรษฐกิจกระแสหลักเหมือนกับสิ่งของทางวิทยาศาสตร์ เช่น ฟิสิกส์ หรือคณิตศาสตร์ มากกว่าจะเหมือนกับมนุษย์หรือศีลธรรม เราต้องสร้างเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจากปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วย ความเข้าใจของการหนุนของระบบเศรษฐศาสตร์สังคม มีทฤษฎีและวิธีการมีหลากหลายให้เลือกใช้ และ การศึกษาที่กว้างขึ้นเพื่อครอบคลุมทุกทางเลือก

    1.5 การบริหารจัดการไม่มีทฤษฎีที่แน่นอน และไม่มีทฤษฎีที่ดีที่สุด

    • ในชีวิตจริงการบริหารจัดการมีความซับซ้อน และไม่แน่นอนอยู่เสมอ จะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ตัวอย่างความไม่แน่นอน เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ซึ่งจะกล่าวถึงความไม่ลงรอยกันของทฤษฎี ที่จะต้องเจอ และการที่จะจัดการกับความไม่แน่นอนนั้น เดี๋ยวนี้ลูกจ้างก็ได้รับการศึกษา รู้มากขึ้น ความภักดีของลูกจ้างต่อ CEO ก็น้อยลง และพนักงานก็ไม่อยากถูกมองเป็นเครื่องจักร ดังนั้น CEO และ บอร์ด ต้องฟังพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆมากขึ้น การกระจายอำนาจจะดีที่สุด องค์กรที่ Flat ไม่มีสายบังคับบัญชาที่ยาวจะช่วยกระตุ้นให้เกิด Innovation มากขึ้น
    • ความท้าท้าย สำหรับโลกตะวันตกแตกต่างจากโลกตะวันออก ดังนี้

    โลกตะวันตก

    1. มีผลทางด้านอารมณ์ สินค้าต้องดึงดูดอารมณ์

    2. มีผลทางด้านความเป็นส่วนตัว

    3. มีผลทางด้านกระจายศูนย์

    4. มีผลด้านการสร้างสรรค์สิ่งใหม่

    5. มีผลด้านความเสมอภาค

    โลกตะวันออก

    1. ต้องเตรียมพร้อมสำหรับยุคถัดไป

    2. โครงสร้างพื้นฐาน ประชาชนจะย้ายจากพื้นที่ชนบทเข้ามาในเมือง

    3. การศึกษา อุตสาหกรรมมีความต้องการนักวิทยาศาสตร์มากขึ้นตามรายได้ที่มากขึ้น

    4. การผลิต

    5. ความเป็นอัตโนมัติ

    สรุปประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้

    • 1.การรู้เรื่องภาพรวมของเศรษฐกิจของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศต่างๆ การคาดการณ์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม เทคโนโลยี การสื่อสาร Social Media ฯลฯ ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถใช้เป็นข้อมูลในมุมกว้างประกอบการคาดการณ์การพัฒนาเศรษฐกิจของของประเทศและกำหนดทิศทางการเจริญเติบโตขององค์กรภายใต้ข้อจำกัดต่างๆในอนาคต
    • 2.กระแสการเปลี่ยนแปลงจากวัตถุนิยมมาเป็นจิตนิยมหรือคุณค่า ทำให้จุดประกายความคิดที่จะต้องเร่งสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์โดยต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าได้แก่ ตลาดเชิงอารมณ์ความรู้สึก ตลาดแห่งความสุข ตลาดด้านจิตวิญญาณ ตลาดด้านสุขภาพจิตซึ่งต้องใช้ ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างคุณค่าดังกล่าว ตัวอย่าง เช่น สินค้าที่บ่งบอกตัวตนหรือรสนิยม สินค้าที่ผลิตด้วยมือ การสั่งสินค้าออนไลน์ การสร้างและบริหารแฟนคลับ
    • 3.ปัจจุบันคนเชื่อในความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่และเป็นความเห็นที่หลากหลาย กลุ่มคนสามารถตอบคำถามได้ดีกว่าผู้เชี่ยวชาญเพียงคนเดียว เกิดเป็นชุมชนแหล่งความรู้เปิด (open-source) เป็นเครือข่าย
    • 4.เราใช้ทรัพยากรแบบไม่ยั่งยืน ถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนแปลงโดยการสร้างระบบเศรษฐกิจแบบ post-carbon และปรับให้วงการอุตสาหกรรมเข้าสู่ยุคความมั่งคั่งยั่งยืน
    • 5.การบริหารจัดการมีความซับซ้อนและไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสถานการณ์ CEO และบอร์ด ต้องฟังพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆให้มากขึ้น การกระจายอำนาจ องค์กรที่แบนราบ ไม่มีสายบังคับบัญชาที่ยาวจะช่วยกระตุ้นให้เกิด Innovation มากขึ้น
    • 2.การนำหัวข้อสำคัญมาประยุกต์ใช้งาน กฟผ.
    • 2.1งาน CSR
    • -นำหลักการสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ เช่น การปรับรูปแบบการพัฒนาและช่วยเหลือชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าจากเดิมที่เน้นการพัฒนาด้านวัตถุนิยมเป็นหลัก ควรมาเน้นการตอบสนองความต้องการด้านจิตนิยมบ้าง สร้างกิจกรรมเพิ่มคุณค่าต่างๆ เช่น ความสุข ความรัก ความสามัคคี ความพึงพอใจ ความเอาใจใส่ดูแลเหมือนพี่น้อง เป็นต้น เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
    • 2.2Value Creation & Value Diversify
    • -การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจะเพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจของโลกมีผลให้ต้องใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น แนวโน้มแหล่งพลังงานจากฟอสซิลจะลดน้อยลงและหมดไปในที่สุด พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังลมและแสงอาทิตย์จะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต แนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมการผลิตไฟฟ้าจากพลังลมและแสงอาทิตย์ ให้มีประสิทธิภาพสูง ต้นทุนต่ำ และใช้พื้นที่น้อยลง จะเป็นทางเลือกที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
    • -การสร้างคุณค่าเพิ่มจากทรัพยากรที่มีอยู่ของ กฟผ. เช่น โรงไฟฟ้าละเขื่อนต่างๆ ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายกับแหล่งท่องเที่ยวระดับประเทศ เพื่อสร้างรายได้จากธุรกิจท่องเที่ยว
    • 2.3อุปสรรคที่เกิดขึ้นในการทำงานที่ไม่ประสบความสำเร็จ
    • -กฎ ระเบียบ กฟผ. ที่ไม่สนับสนุนให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานเชิงธุรกิจ
    • -บุคลากรที่ยังไม่คุ้นเคยกับการคิดสร้างสรรค์ การคิดนอกกรอบ เพื่อพัฒนานวัตกรรมให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
    • -หน่วยงานมีโครงสายบังคับบัญชายาว ขาดการบูรณาการร่วมกัน

    สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้หลักสูตร EADP 10 ช่วงที่ 3 21-24 มี.ค.2557

    วันที่ 21 มีนาคม 2557

    ศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิชัยพัฒนา “หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

    • -ปัญหาของโลกเกิดจากการบริโภคที่เกินพอดี ในปี 2518 เป็นจุดสมดุลของการบริโภคของโลก และในปี 2550 การบริโภคทรัพยากรของโลกจะสูงเกินไป 1.5 เท่า และมีผลทำให้ดัชนีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติลดลง 30 % ประเทศที่พัฒนาแล้วบริโภคมากคาดว่าในปี 2573 และ2593 การบริโภคจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 และ 2.8 เท่าของโลก หรือหมายถึงต้องมีโลก 2-3 ใบ จึงจะพอ
    • -การพัฒนาในอดีต-ปัจจุบัน KMP (Knowledge, Power, Money) เป็นการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ (GDP) ระบบทุนนิยม การแข่งขันและการใช้ทรัพยาอย่างฟุ่มเฟือย ส่งผลให้เกิดมลภาวะ ภัยพิบัติ และปัญหาสังคม ส่วนการพัฒนาในอนาคตควรจะเป็นแบบ GCK ( Goodness, Culture, Knowledge ซึ่งเน้นเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง การอนุรักษ์ทรัพยากรและวัฒนธรรมท้องถิ่น และหลักธรรมาภิบาล
    • -การพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักอยู่ 3 ประการคือ พอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี บนเงื่อนไขความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) และเงื่อนไขคุณธรรม (ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน และกำหนดความพอดี 6 ประการ ได้แก่ ด้านจิตใจ ด้านสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเมือง
    • -เศรษฐกิจพอเพียงควรมีความพอดี 6 ประการ ด้านจิตใจ ด้านสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเมือง
    • -การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการพัฒนาที่มีความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ไม่เน้น Cost Benefit แต่เน้น Cost effectiveness (ไม่คำนึงถึงตัวเงินแต่คำนึงถึงการใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ)
    • -ปัญหาต่างๆของประเทศขาดผู้นำ (Leadership) ในการแก้ไข และขาดการบริหารจัดการ

    ผู้นำ-วัฒนธรรมองค์กร-การบริหารการเปลี่ยนแปลง

    วัฒนธรรมองค์กร คืออะไรที่องค์กรมองและปฏิบัติตาม เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น หรือค่านิยมที่ได้พัฒนา เช่น วัฒนธรรมองค์กรของ กฟผ. กฟภ. และกฟน. ซึ่งไม่เหมือนกัน วัฒนธรรมองค์กรกับการเปลี่ยนแปลงจะเป็น Organization Value ถ้ามีการขับเคลื่อนให้เห็นในทิศทาง ต้อง Relevance และ Execute

    อ.ประกาย ชลหาญ

    - การบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องเปิดใจและเปลี่ยน Mindset พร้อมที่จะเปลี่ยนตัวเองก่อนที่จะเปลี่ยนผู้อื่น Jack Weltch กล่าวว่า “ Change Before you force to change otherwise is too late” เพราะสิ่งแวดล้อมจะบังคับให้คุณเปลี่ยนอยู่ดี

    - Performance มาจาก 2 ส่วน คือ Competency และ Motivation

    • Competency (สมรรถนะ/ความสามารถ) ประกอบด้วย Knowledge (ความรู้) และ Skill (ทักษะ ประสบการณ์) สร้างคนอย่างไรให้คนมีความสามารถ
    • Motivation คือ แรงจูงใจ ถ้ามีคนเก่งแล้วไม่สามารถจูงใจให้เขาทำงานได้ เขาก็จะไม่ทำงาน ทำอย่างไรให้เกิด Motivation (ต้องเข้าใจลูกน้อง/Promotion)

    ดร. ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

    Adaptive Challenge (ความท้าทายในการปรับตัว)

    • -ผู้บริหารต้องปลูกฝังพฤติกรรมการปรับตัวให้กับคนของตัวเอง
    • -การที่จะอยู่ได้ต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

    การสร้างภาวะผู้นำในตัวเอง

    ใช้หลัก KFCI

    K: Know me = ทำความรู้จักกับลูกน้อง F: Focus me = บริหารลูกน้องตามลักษณะ

    C: Care about me = ดูแลลูกน้อง I : Inspire= สร้างแรงบันดาลใจ

    Coaching การสอนงานและให้คำปรึกษา พูดคุยกับลูกน้อง

    การสร้าง Learning ต้องสร้างสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้

    การเปลี่ยน Mindset ต้องตอบคำถามตัวเองว่า ความหมายของวัฒนธรรมองค์กร “รักองค์กร มุ่งงานเลิศ เทิดคุณธรรม ทำไมสำคัญต่อ กฟผ. ถ้าสำคัญเราอยากเห็นพฤติกรรมอะไร มีผลต่อ Stake Holder อย่างไร

    อ.ประกาย

    ข้อคิดเห็นต่อวัฒนธรรมองค์กรและการเปลี่ยนแปลง กฟผ.

    - กฟผ.มีโครงสร้างที่มีจำนวนฝ่ายมากเกินไป ต้องพิจารณาปรับโครงสร้างและสื่อสารให้เข้าใจ

    - Cross Saling อธิบายให้ฝ่ายต่างๆเข้าใจว่าหน่วยงานทำอะไร

    - เน้นเรื่องวิธีการ ต้องมี Process + Procedure ให้เป็นขั้นตอนเดียวกัน

    - เปิดรั้วทำตัวให้กลมกลืนกับชุมชน

    กิจกรรมกลุ่ม: นำเสนอผลการเก็บข้อมูลงานวิจัยและแนะนำแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล

    (อ.กิตติ ชยางคกุล)

    หัวข้อวิจัยของกลุ่ม : การศึกษาทัศนคติของคน กฟผ. ต่อการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่

    ประเด็นปัญหา : ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ในแต่ละสายงานมีทัศนคติต่อการสร้างโรงไฟฟ้าที่แตกต่างกัน

    ความเป็นไซโลของแต่ละสายงานอาจทำให้ผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้ความเข้าใจ

    สถานการณ์พลังงานและความจำเป็นในการพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่ และภารกิจของ กฟผ.

    ข้อคิดเห็น : ให้พิจารณากำหนดกรอบการศึกษาให้ชัดเจน ว่าจะศึกษาภาพรวมของโรงไฟฟ้าใหม่

    ทุกประเภทหรือจะแยกเฉพาะโรงไฟฟ้าประเภทใดประเภทหนึ่ง เพื่อให้สอดคล้องกับ

    ประเด็นปัญหามากที่สุด

    Lesson Learn On 19th March, 2014

    เรื่อง บ้านปูกับการก้าวสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก

    การพัฒนาของบ้านปู

    -เริ่มจากเหมืองลิกไนต์เล็ก ๆ แรกสุดที่ลำพูน

    -เจริญเติมโตเข้สู่ตลาดหลักทรัพย์ เป็นมืออาชีพมากขึ้น ลงทุนในต่างประเทศ เริ่มเข้าสู่ธุรกิจผลิตไฟฟ้า

    -เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ขายโรงไฟฟ้า ใช้หนี้เงินกู้ ได้ข้อคิดการทำธุรกิจให้ดีต้องเป็นธุรกิจที่คุ้นเคยและทำซ้ำ ๆ

    -ขยายการเติบโตในต่างประเทศ โดยขายธุรกิจรอง นำเงินมาลงทุนในธุรกิจหลัก

    Sustainable Development Framework

    1.ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม พัฒนาชุมชน

    2.มีความโปร่งใสและจริยธรรม

    3.สร้างคนให้มีคุณภาพ สร้าง Output เยอะ Input น้อย Cost ต่ำ

    Key Driver of Competitiveness

    1.เทคโนโลยี

    2.Integrated Mine Planning

    3.Project Management

    4.Asset Management

    5.Optimization

    6.Reporting and Dashboard System

    7.synergy Focus

    การบริหารคน

    1.Behavior

    2.สร้างวัฒนธรรม

    3.Brand Image

    4.Synergy

    ด้าน CSR

    1.Power Green Project

    2.Champions for Changes

    3.Do by Heart

    4.Education for Sustainability

    Lesson Learn เรื่อง TQM/SEPA

    ปตท.

    -เน้นสามเหลี่ยมแห่งความยั่งยืนประกอบด้วย HPO, CG และ CSR

    -คนเก่งและคนดี

    -ผู้บริหารต้องชี้นำ สื่อสารเป้าหมาย กระตุ้นพนักงาน ทำให้ยั่งยืนโดยปฏิบัติจนเป็นนิสัยประจำวัน

    -กลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญที่จะบรรลุเป้าหมาย

    -เน้น Assess, Acquire และ Apply

    -เน้น BCM (Business Continually Management)

    Key Factors

    -Continuous Improvement

    -Excellent Leadership

    -Open Mind

    ผู้นำมีหน้าที่ 4 ข้อ คือ ต้องชี้นำ สื่อสารเป้าหมาย กระตุ้นพนักงาน ทำให้ยั่งยืน

    EGAT

    -ใช้ EGAT Way เพื่อเป็น HPO สร้างคนเก่งและคนดี

    -จุดหมายสู่ HPO คือต้องเห็นผลงาน เป็นหน้าที่ผู้บริหาร

    -ปัญหา กฟผ. มีข้อมูลมากแต่ขาดการบูรณาการ

    -องค์กร HPO ต้องมีทั้งความสำเร็จและความสุข ความสุขมาจากบุคลากรและระบบบริหารจัดการ

    -ค่านิยมต้องถูกแปลงให้เป็นวัฒนธรรม

    -TQM กับธุรกิจต้องขับเคลื่อนกัน

    -SEPA เป็นเครื่องมือปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์กรและถือเป็นภาคบังคับมี 7 หมวด คิดคะแนน 6 หมวด หมวด 7 ผลลัพท์ไม่คิดคะแนน

    -อุปสรรคในการทำ SEPA คือเป็นไซโลมองเฉพาะสิ่งที่เรารับผิดชอบ ทำในสายของตนเอง ขาดการเชื่อมโยง

    Lesson Learn เรื่อง การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามของการเมือง

    กฟผ.

    -ต้องสร้างคุณภาพชีวิตให้คน ทำให้คนมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ต้องไปโรงพยาบาล

    -ต้องเอาประชาชนเป็นเพื่อนไม่เอาเปรียบเขา

    -ต้องมีมาตรการเชิงรุกในการเข้าถึงประชาชน

    -ต้องดูแลชุมชนรอบโรงไฟฟ้าให้เขาเป็นรั้วและปากเสียงให้ กฟผ.

    -ต้องยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง

    -ต้องมียุทธศาสตร์สำหรับ Worst Case Scenario

    Lesson Learn On 20th March, 2014

    เรื่อง นวัตกรรมของบริษัท ซีพี ออลล์

    ซีพี ออลล์ ก่อกำเนิดตั้งแต่ปี 1989 จนถึงปัจจุบัน มีธุรกิจในเครือ ดังนี้

    -บริษัท CP ค้าปลีก

    -Dynamic Management

    -Retail Link

    -Counter Service

    -Gosoft Software

    -Seven Card

    -ศึกษาภิวัฒน์

    -Book Smile

    ผลิตภัณฑ์ เป็นพวกความสะดวกซื้อ (Convenience) และการบริการซีพี ออลล์ ได้รับรางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมจากจุฬาฯ ปี 2552 (2009) มีพนักงานแสนกว่าคน

    นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ องค์ความรู้ยังไม่เป็นนวัตกรรม

    นวัตกรรมมี 4 แบบ

    1.Process Innovation การสร้างสรรค์กระบวนการใหม่

    2.Product Innovation การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่

    3.Service Innovation การสร้างสรรค์บริการรูปแบบใหม่

    4.Business Model Innovation การสร้างสรรค์ธุรกิจรูปแบบใหม่

    Lesson Learn เรื่อง White Ocean Strategy กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ.

    หลักการสำคัญของ White Ocean พูดเรื่องยุคของการเปลี่ยนแปลง

    เราอยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์โลก สิ่งที่เกิดขึ้น ประชานิยม ทุนนิยม บริโภคนิยม

    การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น ภาวะโลกร้อน น้ำแข็งละลาย การเคลื่อนตัวของภูเขาน้ำแข็ง หิมะตกหนัก คลื่นความร้อน นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ เทคโนโลยี วิถีชีวิตเปลี่ยน

    สิ่งมีชีวิตที่จะได้ไปต่อคือ สิ่งมีชีวิตที่มีการปรับตัว และพัฒนาตนเอง White Ocean Strategy เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติ และทำให้ได้เป็น Common Sense

    Red Ocean

    -Customer is a King

    -Maximize Profit, Minimum Cost

    -มิจฉาทิฐิ

    -กิเลสมาร์เก็ตติ้ง

    Blue Ocean

    -High Risk High Return

    -Technology is a King

    White Ocean

    ทุกคนเป็นผู้ชนะร่วมกัน Everyone is the Winner สร้างความสมดุลย์ระหว่างคุณค่าและต้นทุน สร้างผลประโยชน์ยั่งยืนขององค์กร

    ผลลัพธ์ที่ชัดเจนของ White Ocean คือ

    1.กำไร บริษัทที่มีธรรมาภิบาล กำไรสูงกว่าทุกปี

    2.ความสุข องค์กรสีขาว เป็นองค์กรที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสังคม

    3.ยั่งยืนไม่ว่าจะเกิดวิกฤตการณ์อะไรขึ้นมา

    Lesson Learn On 21th March, 2014

    เรื่อง เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย AEC กับผลกระทบการปรับตัวของ กฟผ. ประชาคมเศษฐกิจอาเซียน สร้างให้เกิดการค้าเสรี เสรีบริการ เสรีการลงุทน เสรีแรงงาน

    ผลกระทบของ AEC

    -การปรับนโยบายการแข่งขัน

    -การปรับนโยบายภาษี

    -เหลี่ยมเศรษฐกิจ

    ผลกระทบต่อระบบสถาบันการเงิน

    ในแง่คู่แข่ง

    -คู่แข่งรายใหม่

    -คู่แข่งคนละประเภทแต่แย่งลูกค้าของเรา

    -ไม่มีศัตรูถาวรและมิตรแท้

    ในแง่ลูกค้า

    - Red Ocean

    1.Customer

    2.Existing Product

    3.Process Innovation

    4.Market Share

    - Blue Ocean

    1. Non-Consumer

    2. Product of Service Innovation

    3. Opportunity Share

    - ลูกค้าจะปรับโครงสร้างจากเดิมแบ่งเป็น บน กลาง ล่าง กลายเป็น บนมาก บนและกลาง

    - พฤติกรรมของลูกค้า / ทิศทางของลูกค้า

    1. Product Development

    2. Integration : Horizontal

    : Vertical

    3. Diversification

    - Global Paradox

    1. From Global to Regional and the Local

    2. From Local to Regional and to Global

    ในแง่บริหารจัดการ

    -การบริหารความเสี่ยง

    -การปรับปรุงประสิทธิภาพ

    -สายโซ่แห่งคุณค่า (Valve Chain)

    -Valve System

    -นวัตกรรม (Innovation)

    1.Process Innovation

    2.Product Innovation

    3.service Innovation

    ทิศทางพลังงานโลกและพลังงานไทยปี 2557

    สถานการณ์พลังงานโลกปี 2557

    -ความต้องการน้ำมันไม่เพิ่มขึ้นมากนัก

    -สหรัฐจะเป็นผู้นำผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุด

    -ปัจจัยเสี่ยงทางภูมิรัฐศาตร์จะลดลง

    -การดำเนินนโยบายผ่อนคลาย ทางการเงิน (QE) จะลดความเข้มข้นลง

    -โอเปคคงเพดานการผลิต

    -จะมีแรงกดดันให้ราคาน้ำมันดิบลดลง

    ทิศทางพลังงานไทยปี 2557

    -ราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลง

    -ราคาก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น

    -ค่าไฟฟ้า (Ft) จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

    -ถ่านหินราคาลดลงเพราะผู้ใช้รายใหญ่หันไปใช้ก๊าซและพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น

    ภาพรวมสถานการณ์พลังงานไทยและแนวโน้มในอนาคต

    -ไทยเป็นประเทศที่มีจุดเสี่ยงความมั่นคงด้านพลังงานสูงสุดในอาเซียน

    -มีความเสี่ยงสูงในการต้องพึ่งพาพลังงานจากภายนอกประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ

    -นำเข้าก๊าซธรรมชาติเพิ่มจาก 25% ในปัจจุบันเป็น 90% ในปี พ.ศ. 2578

    -นำเข้าไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มจาก 3% เป็น 21% ในปี พ.ศ. 2573

    ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

    -ปรับองค์กรเพื่อรองรับการแข่งขัน และโอกาสทางธุรกิจที่จะเข้ามาในอนาคต

    -พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายด้านพลังงานในอาเซียน

    -ตอบสนองโจทย์ด้านพลังงานเพื่อความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมที่ดี

    -แสวงหาลู่ทางการลงทุนด้านพลังงานในประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้ประโยชน์จากข้อตกลง AEC

    -ประโยชน์จากความเป็นผู้นำและผู้ชำนาญการด้านพลังงานไฟฟ้า

    ให้บริการด้านเทคโนลีและการซ่อมบำรุง

    -พัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการเรียนรู้และทำงานในระดับสากล

    -เตรียมพร้อมรองรับการปฏิรูปพลังงานโดยเฉพาะการเปิดเสรีด้านระบบสายส่งและจำหน่าย

    Lesson Learn เรื่อง Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร

    Mind Map คือ เครื่องมือในการจดบันทึกที่ใช้สมองสองซีกอย่างเต็มที่ คิดโดยชาวอังกฤษชื่อ Tony Buzon เมื่อปี 2517 และได้เผยแพร่ไปทั่วโลก สามารถใช้ได้ทั้งกับการเรียนการสอนและการทำงาน

    ประโยชน์ของ Mind Map

    -ช่วยจำ

    -นำเสนอ

    -ทำงาน

    -เรียน

    -ชีวิตประจำวัน

    วันที่ 22 มีนาคม 2557

    กรณีศึกษาของบริษัทบ้านปู จำกัด (คุณสมยศ รุจิรวัฒน์)

    ปี 1983 บริษัทบ้านปูได้เริ่มก่อตั้งเริ่มจากธุรกิจการทำเหมืองถ่านหินขนาดเล็ก

    ปี 1990 ได้ขยายงานรับเหมาขนดินเหมืองแม่เมาะของ กฟผ. ทำการขยายธุรกิจการทำเหมืองไปประเทศ

    อินโดนีเซีย ขยายงานธุรกิจด้านพลังงานโรงไฟฟ้า COCO ธุรกิจแร่ในประเทศไทยและเวียตนาม

    ปี 1997-2000 เกิดวิกฤติเศรษฐกิจบริษัทประสบปัญหาค่าเงินบาท

    ปี 2002-2010 เป็นบริษัทระดับภูมิภาคและในประเทศในธุรกิจถ่านหินและพลังงาน (Coal-based Energy

    Player)

    ปี 2011-2013 การรวมตัวเป็นหนึ่งเพื่อเตรียมรับการเติบโตในยุคใหม่ ถอนการลงทุนในธุรกิจ Non-core

    business และเน้นการลงทุนเฉพาะในธุรกิจถ่านหินและพลังงาน

    ปัจจุบันบริษัทบ้านปูมีธุรกิจการลงทุนในประเทศต่างๆ 7 แห่งได้แก่ อินโดนีเซีย จีน ออสเตรเลีย ลาว มองโกลเลีย และ สิงคโปร์ มีพนักงาน 6,424 คน

    Key Success Factors : Ban Pu SD Frame

    • 1.Localization : Good Governance, Business Ethics, Compliance, Good Corporate Citizen
    • 2.License to Operate : Health & Safety, Environment, Community, Development
    • 3.Competitiveness : People Development, Operational Excellence, Technology

    งานความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

    • 1.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    • 2.การจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อม
    • 3.การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
    • 4.การส่งเสริมให้เกิดกลไกอย่างต่อเนื่อง

    ประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้

    • การ Diversify ธุรกิจควรจะเลือกธุรกิจที่เป็น Core-business หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
    • Value Creation โครงการนำถ่านหินจากแหล่งต่างๆมา Blend เพื่อให้ได้ถ่านที่มีคุณสมบัติตามที่ตลาดต้องการ
    • การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน 3 ระยะ คือก่อนทำเหมือง ระหว่างทำเหมืองและระยะสิ้นสุดการทำเหมือง

    Panel Dicussion TQM/SEPA: ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

    คุณปิติ ศรีสุขสมบัติ ผู้จัดการฝ่ายบริหารคุณภาพองค์กร ปตท.

    • ปตท.ทำ Pilot Project ที่ระยองจนได้ TQA และนำความรู้มาใช้กับท่อก๊าซจนทำให้ได้ TQA 2แห่ง
    • วิสัยทัศน์ “บริษัทพลังงานไทยข้ามชาติชั้นนำ” สร้างสมดุลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยใช้สามเหลี่ยมแห่งความยั่งยืนประกอบด้วย การพัฒนาอย่างสมดุล ด้านสังคม เศรษฐศาสตร์ และ สิ่งแวดล้อม โดยใช้ Coorperate Governance,High Performance Organization และ CSR กลยุทธ์สำคัญที่ทำให้บรรลุเป้หมายคือ Action plan
    • การพัฒนาด้านการจัดการคุณภาพเริ่มจากกิจกรรมในปี 1984-2010 ได้แก่ QCC, MSM, ISO 9001, ISO 14001, TIS 18001, TQA, TPM/JIPM, Green Procurement, Security Policy
    • Leader’s Action : ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้ชี้นำ สื่อสาร กระตุ้นผู้ปฏิบัติงานให้ไปสุ่ความสำเร็จ และพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • KPI Monitoring : ปตท. มีระบบประเมินผลการปฏิบัติงานรายสัปดาห์ รายเดือน รายไตรมาศ รายครึ่งปี และรายปี
    • ปตท. สปิริต คือ คนเก่งและคนดี เน้นเรื่อง BCM (Business Continuality Management) แม้เกิดภาวะวิกฤติ ธุรกิจก็สามารถเดินติอได้
    • Key Success Factor ได้แก่ Continuous Improvement, Excellent Leadership และ Open Mind
    • อาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยากุล
    • TQM คือ การบริหารองค์กรให้เป็น High Performance Organization (HPO) ส่วน SEPA และ TQA เป็นแค่รางวัล จุกมุ่งหมายของ HPO ต้องมองเห็นผลงาน กฟผ. กำลังทำ EGAT Way เพื่อนำไปใช้ให้เป็น HPO
    • HPO คือองค์กรมีความสำเร็จและ Performance โดยจะต้องบริหารเหตุและติดตามผล และต้องเป็นไปตามที่ผู้มีส่วนได้เสียอยากได้ด้วย องคืกร HPO ต้องมีทั้งความสำเร็จและความสุขด้วย
    • -EGAT Way ต้องให้ความสำเร็จและความสุขไปด้วยกัน เป็นทั้งของหน่วยงานลั ผู้มีส่วนได้เสีย ความสุขมาจากบุคลากรและระบบบริหารจัดการ

    คุณโชติรส เสวกวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญ ระดับ 12 กฟผ.

    • ระบบ SEPA เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงผลการดำเนินงานเป็นภาคบังคับ ใช้แทนระบบ PA เดิม เฉพาะส่วนที่เป็นคุณภาพการบริหาร ส่วนที่เป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน คิดสัดส่วน KPI : SEPA 65% : 35% โดยน้ำหนักของ SEPA จะเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละ 5 %
    • การให้คะแนน SEPA แบ่งออกเป็น 7 หมวด หมวดที่ 1-6 600 คะแนน ส่วนหมวดที่7 ผลลัพธ์ 400 คะแนน ในช่วงแรกคิดคะแนนเฉพาะ หมวดที่1-6 ก่อน ในส่วนของผลลัพธ์จะทะยอยปรับสัดส่วนจาก KPI มาเป็นหมวด7 ผลลัพธ์ที่ดีต้องมาจากกระบวนการที่ดี
    • SEPA เน้นความต้องการของลูกค้า บุตคลากรต้องมี Customer centric
    • อุปสรรคของ SEPA คือ การแบ่งไซโลของหน่วยงานมองเฉพาะส่วนรับผิดชอบของตัวเอง ไม่ได้มองภาพรวมละความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น
    • กฟผ. ได้ตั้งคณะทำงานจากทุกสายรอง ผวก. เพื่อที่จะร่วมกับบูรณาการนำกรอบนโยบายลงไปสู่การปฏิบัติ

    Panel Discussion การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามของการเมือง

    บทสัมภาษณ์คุณสุวิทย์ คุณกิตติ

    • การเมืองปัจจุบันเปลี่ยนแปลงมาก มีคนออกมาต่อต้านรัฐบาล กล่าวหาว่าทุจริต รวมถึงกลุ่มนักวิชาการ แพทย์ ให้การสนับสนุนจนเกิด Political dead lock การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นไม่เร็วก็ช้าขึ้นกับความรับผิดชอบของนักการเมือง
    • ความเสื่อมโทรมทางคุณธรรม (Moral Hazard) คนไทยยอมรับการทุจริต
    • ความมั่นคงทางพลังงานของไทยมีปัญหา เนื่องจากนำเข้าพลังงานถึง 70 % กฟผ.มีปัญหากับ
    • โครงการเดิมและโครงการใหม่ และต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาพลังงาน
    • กฟผ. เป็นองค์กรที่เข้มแข็งเป็น Professional การทุจริตแทบไม่มี เชื่อถือได้
    • กฟผ. ไม่ต้องสร้างรั้ว แต่ให้ชุมชนที่อยู่รอบโรงไฟฟ้าเป็นรั้วแทน
    • การบริหารจัดการน้ำโดยการผันน้ำจากแม่น้ำสาละวินในช่วงฤดูฝน ใช้ไฟฟ้าช่วง off peak มาสูบน้ำกลับ
    • การลอบบี้ ไม่มีความจำเป็น ควรชี้แจงให้เข้าใจด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม คนใกล้ต้องได้รับประโยชน์มากกว่าคนอยู่ไกลโรงไฟฟ้า

    รศ.ดร.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร

    • ประชาธิปไตยเริ่มต้นตั้งแต่เกิดจนตาย
    • ระบบอุปถัมป์ทำลายสังคมและเป็นต้นเหตุให้นักการเมืองทุจริต
    • ขณะนี้ประเทศไทยไม่เข้าใจประชาธิปไตยโดยเนื้อหา โดนนักการเมืองบิดเบือนและมอมเมา
    • ผมเคยเสนอให้เก็บภาษีทรัพย์สิน แต่เขากลัวจะกระทบคนรวย 20 %
    • ประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์เพราะ ปัญหาการศึกษา แก้ไขโดยการส่งเสริมอาชีพครู โดยการขึ้นเงินเดือนครู
    • การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยมี 3 ส่วน 1. นักการเมืองให้อำนาจ เราจึงมีอำนาจตามกฎหมายรองรับ 2. ข้าราชการต้องรับใช้ประชาชน แต่โดนนักการเมืองปั่นหัวให้โกง 3. ภาคประชาชนยังไม่สามารถรวมพลังตรวจสอบนักการเมืองและประชาชนได้
    • สิ่งที่ กฟผ. ควรทำได้แก่ คืน1. กำไรให้สังคมโดยการสร้างหมู่บ้านแห่งความสุข 2. สร้างคุณภาพชีวิตให้คนมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ไม่ต้องไปโรงพยาบาล 3. ให้ประชาชนเป็นเพื่อน ไม่เอาเปรียบเขา

    อ.ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

    • แผน8 เปลี่ยนประเทศไทยเข้าสู่โลกสมัยใหม่
    • ประชาธิปไตยแบบใหม่ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม
    • วิกฤติการเมืองทำให้เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนข้อมูล ระบบ Social Media วิทยุชุมชน
    • วิธีคิดต้องคิดแบบบูรณาการ
    • กฟผ. ต้องมีสติ กรณีที่เกิดเลวร้ายที่สุด เศรษฐกิจแย่ จะมียุทธศาสตร์อย่างไร
    • แผนการลงทุนในอนาคต คิดในแง่ Cash Flow อย่าคิด Cost Benefit
    • มีวิสัยทัศน์ในการวางตำแหน่งอย่างไร
    • ต้องบริหารจัดการในระยะสั้น รู้ข้อมูลในพื้นที่ ทำงานเป็นทีม เป็นเครือข่าย ขวัญกำลังใจ

    บทสัมภาษณ์อ.จรัส สุวรรณมาลา

    • การเลือกตั้งใช้นโยบายประชานิยมทำให้เกิด วงจรอุบาทว์ในการเมือง
    • ควรปฏิรูประบบเลือกตั้ง ให้มีตัวแทนแต่ละภาคส่วนมาเป็น ส.ส.
    • การปฏิรูปเป็นการกระจายอำนาจไปในแต่ละพื้นที่ และให้คนในพื้นที่บริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่ การทุจริตจะลดน้อยลง
    • -ระบบนโยบายสาธารณะ ควรทำให้ประชาชนเข้มแข็ง
    • -ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากๆ
    อัจฉรี เด่นสิริมงตล

    สรุปประเด็นการเรียนรู้ EADP # 10 ช่วงที่ 3

    วันที่ 18 มีนาคม 2557 ช่วงเช้า

    ศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิชัยพัฒนา ผู้บรรยาย ดร .สุเมธ ตันติเวชกุล

    หัวข้อ : หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

    -ทำไมต้องเศรษฐกิจพอเพียง มีCosmic Calendar โลกมีการแตกดับ มาหลายครั้ง ปัญหาของโลกคือ การบริโภคที่เกินพอดี ใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว

    -เปรียบเทียบ การพัฒนาแบบ KPM ( อดีต ถึง ปัจจุบัน) กับ GCK( อนาคต) ซึ่งเน้น GDH : Gross Domestic Happiness และความมั่นคงยั่งยืนของชีวิตแบบสมดุล

    -กำหนดความพอดี 6 ประการ เพื่อพลิกใจให้พอเพียงเพื่อความสุขที่ยั่งยืน

    -ด้านจิตใจ

    - ด้านสังคม

    - ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    - ด้านเทคโนโลยี

    - ด้านเศรษฐกิจ

    -ด้านการเมือง

    จากการเยี่ยมชมและฟังแนวคิดจากวิทยากร รู้สึกมีความสุขที่ได้รับฟังปรัชญา แนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว แม้จะรับฟังหลายครั้งก็ยังปลาบปลื้มใจทุกครั้ง ขอบคุณ อ. จีระ ที่จัดหลักสูตรทั้งหยางและหยิน ให้มีความสมดุล ทั้งวิชาการและคุณธรรม นอกจากนี้ได้ข้อคิดการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้ เพราะทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ประเทศชาติ ซึงต้องมีผู้นำที่กล้า และขอให้ทำไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง สร้างความรู้สึกอยากทำ

    วันที่ 18 มีนาคม 2557 ช่วงบ่าย

    การบริหารการเปลี่ยนแปลง

    ผู้บรรยาย ดร . จีระ หงส์ลดารมภ์ อ.ประกาย ชลหาญ ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

    -วีดีโอ คิดเป็นก้าว นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน

    -ผู้นำของการเปลี่ยน แปลง ได้แก่ ผู้นำของการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ และผู้นำของเครือข่าย

    -วัฒนธรรมขององค์การเป็น Intangible ไม่มี Rule & Regulation แต่เป็นสิ่งที่สังคมมองและ ปฏิบัติตาม

    -องค์กรจะประสบความสำเร็จ ได้ต้องมี คน+องค์กร+ผลประกอบการที่เป็นเลิศ แต่อุปสรรคคือสิ่งที่มองไม่เห็น

    อ.ประกาย ยกตัวอย่างคำพูดของ Jack Wealth : Change before you are forced to change

    otherwise it’s too late

    บอก 3 เรื่อง Change , วัฒนธรรมองค์กร และ Performance หรือ Execution ซึ่งมาจาก 2ส่วน คือ

    Competency หรือ Motivation

    องค์ประกอบที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลง คือผู้นำการเปลี่ยนแปลงและ หาคนที่เป็นประโยชน์ (Change Agent) ชี้แจงประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลง สร้าง Vision ให้การเปลี่ยนแปลงแย่น้อยที่สุด

    อ..ศิริลักษณ์ เสริมว่า การเปลี่ยนแปลงต้องคำนีงถึง How to รวมทั้ง คำศัพท์ Adaptive Challenge คือคน ที่ต้องปรับตัว

    Idea for change : สิ่งที่ต้องเปลี่ยน

    • System , Structure,Technology
    • คน Politic in the workplace
    • KFCI (Know me , Focus me, Care about me ,Inspire me )

    ประยุกต์ใช้กับ กฟผ. : กฟผ.ต้องสร้าง Future Leader , ปรับ Mind set สร้างวัฒนธรรมขององค์กร What Why กำหนดพฤติกรรมที่สะท้อนความเป็นตัวตน

    วันที่ 18 มีนาคม 2557 ช่วงเย็น

    ผู้บรรยาย อ.กิตติ ชยางคกุล

    หัวข้อ : ผลการเก็บข้อมูลงานวิจัย และแนะนำการวิเคราะห์ข้อมูล

    แนะนำการวิจัยของแต่ละกลุ่มให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและขอให้ส่งรายละเอียดโครงการวิจัย 8 หัวข้อ และโครงร่างการศึกษาวิจัย

    ศรีวรรณ บูรณโชคไพศาล

    สรุปการเรียนรู้ EADP10 ช่วงที่ 3 วันที่ 18 มี.ค. 57

    หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

    โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

    • เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องสำคัญ แต่สังคมกับการเมือง ก็ต้องพอเพียงด้วย
    • ความพอเพียง คือการรักษาความพอดี
    • การบริหารจัดการเป็นเรื่องที่ต้องทำ “MUST” ของทุกหน่วยงาน
    • ปัญหาของโลกเกิดจากการบริโภคที่เกินพอดี
    • มนุษย์บริโภคทรัพยากรเกินขีดจำกัด (Living Planet Report ,2010)
    • ในปี 2504- 2518 เป็นช่วง World Bio Capacity ในปี 2518 พบว่าจำนวนของกับคนอยู่ในภาวะสมดุลหลังจากนั้นมีการบริโภคมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปี 2550 พบว่าเป็นจุดเกินเลย 1.5 เท่าของโลกของการบริโภค
    • การบริโภคทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยทำให้ดรรชนีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติของโลกลดลง
    • การพัฒนาแบบ KPM และ GCK

    จากอดีตถึงปัจจุบัน

    KPM

    (Knowledge,Power,Money)

    อนาคต

    GCK

    (Goodness,Culture, Knowledge)

    - เน้น GDP

    - ระบบทุนนิยม

    - การแข่งขัน การแก่งแย่ง

    - การใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย (ภัยพิบัติ มลภาวะ ปัญหาสังคม)

    - เน้น GNH (Gross National Happiness)

    - ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง

    - เน้นการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น

    - เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากร

    - ส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล

    ช่วงปี 2539-2540 มีการเติบโต 11.7% เกิด Bubble Economy (เติบโตแบบฟองสบู่) มีการเปิดเสรีการเงินไม่มีการออกแบบระบบควบคุม เน้นความสุข ใช้ Knowledge เพื่อรักษา Good Governance และ Culture เน้นเรื่องความคุ้มทุน โดยศึกษา Cost Benefit และ Monetary Term เน้นเรื่องการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

    • ธรรมาภิบาล เป็นเรื่องสำคัญมาก ผู้นำต้องมีคุณธรรมและความดีมาก่อน เรื่องระบบค่อยตามมาทีหลัง
    • มนุษย์ต้องเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงยั่งยืนของชีวิต
    • การพัฒนาที่ยั่งยืน
    • การพัฒนาที่มีความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
    • เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน
    • ไม่เน้น Cost Benefit – คำนึงถึงกำไรว่าคุ้มหรือไม่คุ้ม
    • แต่ใช้ Cost effectiveness – ไม่คำนึงถึงจำนวนเงิน แต่คำนึงว่าการใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพนั้น ใช้จ่ายได้น้อยที่สุดอย่างไร จะขจัดมลภาวะโดยใช้เงินน้อยที่สุดอย่างไร

    เศรษฐกิจพอเพียง

    • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงไว้ 3 เรื่อง หลัก ๆ คือ พอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

    1.พอประมาณ- ตรวจสอบดูทุนเราก่อน ว่ามีแค่ไหน อย่าทำอะไรเกินตัว ดูทุนทางกายภาพด้วย ต้องมีการประเมิน ทำ self-assessment หรือ corporate-assessment ก่อน Human Resource ไม่ใช่แค่กำลังคน การพัฒนาคนต้องพัฒนาทุกมิติ ให้มีคุณธรรม มีวิสัยทัศน์ ฯลฯ

    2.มีเหตุผล เช่น การใช้เงินให้ใช้เหตุผลเป็นเครื่องนำทาง ต้องมีสติ ใช้เงินมากน้อยไม่สำคัญ แต่ใช้แล้วมีประโยชน์อะไร อย่างไร

    • พอเพียงหรือเพียงพอ ต่างกันอย่างไร :
    • พอเพียง เอา supply ตั้ง เอา demand ตัด
    • เพียงพอ เอา demand ตั้ง สร้างหรือหา supply สนอง demand
    • สำหรับ กฟผ. อยากให้คิด Project Supply ว่า กฟผ. จะสามารถผลิตไฟฟ้าอย่างยั่งยืน โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ปรับ Demand ให้สอดคล้องกับ available supply ได้หรือไม่ อย่างไร
    • จุดนี้ ต้องการผู้นำที่กล้าคิด กล้าปรับปรุง

    3.มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือ อย่าประมาท การใช้พลังงานต้องคิดถึงเรื่องประหยัดด้วย

    • ตัวอย่างเช่น บริษัท SCG เคยขาดทุน แต่สามารถปรับปรุงบริหารจัดการจนไม่มีปัญหาได้ โดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือประเมินว่า บริษัทมี Core Business อะไร ให้ศึกษาและทำให้ดีที่สุด พร้อมกับพัฒนาบุคลากรเตรียมรองรับไว้ กิจกรรมน้อยลงแต่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

    เงื่อนไขความรู้ : รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง

    เงื่อนไขคุณธรรม: ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน สติปัญญา แบ่งปัน

    นำไปสู่ ชีวิต / เศรษฐกิจ / สังคม / สิ่งแวดล้อม ที่ สมดุล / มั่นคง / ยั่งยืน

    • เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้สอนให้จน แต่สอนให้รวยอย่างไรให้ยั่งยืน กิจการไม่จำเป็นต้องใหญ่ แต่ให้มั่นคงและยั่งยืน ต้องมุ่งไปสู่สมดุล มั่นคง ยั่งยืน ให้ได้

    ประเด็นจากการร่วมแสดงความคิดเห็น

    • ชีวิตคนเราหยุดการเรียนรู้ไม่ได้ ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จะถามหรือ Comment ให้กลั่นกรองและใช้ประสบการณ์
    • ปัญหาของไทย คือ ขาดการบริหารจัดการที่ดี ขาดทุนมนุษย์ ทรัพยากร 70% ไม่ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ มีความรู้และเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่ไม่นำมาใช้ เป็นปัญหาของข้าราชการ ในการนำไปใช้ปฏิบัติยากเนื่องจากถูกอำนาจอย่างอื่นครอบงำ
    • ประเทศไทยไม่มี Leadership และคนไทยชอบตามมากกว่าชอบนำ ดังนั้น เศรษฐกิจพอเพียงจะทำสำเร็จจริงๆ ต้องทำเป็น National Movement ตั้งแต่ระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ต้องนำไปก่อน ดังนั้น สำคัญที่ผู้นำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นเพียง Spiritual Leader มากกว่า ดังนั้น ในมุมข้าราชการเล็กๆ ให้ลองทำที่ตัวเองก่อน แล้วขยายกลุ่มไปที่เพื่อนๆ เพื่อนร่วมงาน จนขยายต่อๆ กันไป
    • หลักการ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
    • เข้าใจ = พอประมาณ จะทำอะไรต้องมีความเข้าใจในสิ่งที่จะทำ ในภารกิจ และทุนที่จะใช้

    ในหลวงเคยบอกว่า ถ้ายังไม่เข้าใจ ให้หยุดไว้ก่อน

    กฟผ. วันนี้ ต้องเข้าใจสถานภาพของตัวเอง เข้าใจความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ผวก. ต้องมีและใช้ความกล้าหาญในการเสนอแผนพัฒนาฯ และนโยบายต่างๆ

    • เข้าถึง และ พัฒนา = take action ต้องลงมือทำ ต้องมีเครื่องมือ เช่น เรื่องน้ำ มี GPS ช่วยในการพยากรณ์

    กฟผ. จะทำแผนพัฒนาที่ยั่งยืน และผ่านการยอมรับของประชาชน ทุกวันนี้ social media มีประโยชน์ใช้ให้เป็น สิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้ คิดเป็น % ยังน้อยมาก

    • อยากเห็น ประเทศไทย และ กฟผ. มีผู้นำทางความคิด ให้จับกลุ่มคนดี ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ให้สังคม (นอกเหนือจากการเลี้ยงรุ่น) และแจ้งข่าวสาร สื่อให้คนเห็น ทำในสิ่งที่ดีมีประโยชน์
    • การจัดการของเสีย zero waste รัฐควรให้การสนับสนุนด้านภาษี

    หัวข้อ ผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง

    โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ประกาย ชลหาญ ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

    ดำเนินรายการโดย อาจารย์ทำนอง ดาศรี

    อ.จีระ

  • สรุปหัวข้อที่ได้จากการเรียนรู้เรื่องของ Social Innovation เพื่อทำ workshop ต่อไป
  • วัฒนธรรมองค์กร เป็นอะไรที่สังคมมองและปฏิบัติตาม ไม่ใช่กฎระเบียบ เป็น Intangible มองไม่เห็น จับต้องไม่ได้
  • อ. ประกาย พูดถึงการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง

  • ต้องเปลี่ยน Mindset ให้เปิดใจพร้อมที่จะ Shift (Paradigm Shift) ให้เปลี่ยนตัวเองก่อนที่จะเปลี่ยนคนอื่น
  • Jack Weltch : Change before you are forced to change; otherwise it’s too late. ต้องเปลี่ยนก่อนจะถูกบังคับให้เปลี่ยน
  • Performance ผลงานมาจาก Competency & Motivation
    • ทำอย่างไรให้คนมี Competency- เสริมทักษะ ให้ลูกน้อง ทำให้เขาเก่งขึ้น
    • ทำอย่างไรในการ motivate คน - ต้องเข้าใจลูกน้องก่อนว่าต้องการอะไร
    • ผู้นำต้องเก่งเรื่อง 1) บริหารการเปลี่ยนแปลง 2) ปรับกระบวนการ ความคิด 3) สร้างเครือข่าย มีความสัมพันธ์ เพื่อเสริมให้งานดีขึ้น และเพิ่มเติมต้องเก่งเรื่อง คน
    • ปัญหาในการทำงาน 1) คน – ความบกพร่อง ไม่พร้อม ขาดประสบการณ์ 2) งาน – ความไม่เชี่ยวชาญในงาน ก่อนสรุปปัญหา ขอให้ทำแบบหมอ คือ ตั้งคำถามเพื่อวิเคราะห์ วินิจฉัย อย่าสรุปเอาเอง
    • วัฒนธรรมองค์กรหรือค่านิยมองค์กร
      • ค่านิยมที่เป็นวัฒนธรรมองค์กรแบบ Absolute Value จะไม่เปลี่ยนแปลง
      • ค่านิยมบางอย่างเปลี่ยนตามความต้องการของลูกค้า ชุมชน เทคโนโลยี ตาม mindset
      • ในการประเมินระบบงาน ต้องแทรกเรื่องวัฒนธรรมเข้าไปด้วย
      • การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เป็นเรื่องจำเป็น มักจะมาจาก 2 สาเหตุ
      • 1) การเปลี่ยนแปลงที่คุณเป็นผู้เริ่ม – จัดการง่ายกว่า เพราะมีแรงผลักดัน (Thrive)

        2) การเปลี่ยนแปลงที่มีคนสั่งให้เปลี่ยน – จัดการยากกว่า ต้องจัดการแรงต้าน (Resistance) ที่จะเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง และต้องมีผู้นำ ต้องมี Change Agent ช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ให้เห็นประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง

        • เปลี่ยนแล้วได้อะไร ต้องสร้าง Vision ให้เห็น ไม่จำเป็นว่าเปลี่ยนแปลงแล้วจะดีขึ้นเสมอ แต่ให้แย่น้อยที่สุด ตัวอย่างเช่น การเกิดสึนามิ ตอนนี้สามารถบริหารจัดการให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุดได้
        • สรุปคือ ต้องตระหนักเรื่อง

        1. ผลงาน (Performance – Competency / Motivation/ Endurance)

        2. ค่านิยม / วัฒนธรรม

        3. วิธีการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง สร้างแนวร่วมและเป้าหมาย กระตุ้นให้มีส่วนร่วม

        • ดร.จีระ ให้เพิ่ม idea เหล่านี้ในกรณีศึกษาด้วย และ change ต้อง emergency และมี Collision

        ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

        • เมื่อรู้ว่าต้องเปลี่ยน ให้มองที่ How to ต้องสร้าง Value ความท้าทายในการปรับตัว (Adaptive Challenge) ผู้บริหารที่นำทีมต้องใส่ความคิดเข้าไปในทีม คนที่อยู่รอดได้ คือคนที่มีความสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
        • แนวคิดของการเปลี่ยนแปลง ต้องมี Idea for change ต้องรู้ว่าอยากเปลี่ยนอะไร อย่างไร ได้แก่

        1. Structure : System & Process

        2. คน : เปลี่ยน Politics in the Workplace เล่นพรรค เล่นพวก

        3. เทคโนโลยี จะใช้อะไรในการบริหารงานและบริหารคน

        • Adaptive Challenge ต้องดูว่า คนในองค์กรเข้าใจในระบบการทำงานหรือไม่
        • Adaptive Leadership ต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง พิจารณาว่าใช้เวลากี่เปอร์เซ็นต์อยู่ที่ Dance Floor (ร่วมกับพนักงาน) หรือที่ระเบียง Balcony (กำกับดูแล) ผู้บริหารควรระวังเรื่องการควบคุม จะทำอย่างไรให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร
        • ใช้หลัก KFCI ปลูกฝังให้ผู้บริหารรู้จัก 4 คำนี้

        1. Know me - ลูกน้องเรียกร้องหัวหน้า ทำความรู้จักหน่อย ให้รู้ความต้องการของลูกน้อง

        2. Focus me – ต้องรู้จักบริหารลูกน้อง แต่ละคนมี Motivational fit ไม่เหมือนกัน

        3. Care about me – รู้จักแล้วต้อง care ด้วย รักองค์กรหมายถึงรักงานที่ทำ รักเพื่อนร่วมงาน รักคนที่ประสานงานติดต่อด้วย จะแสดงความรักนั้นออกมาอย่างไร

        4. Inspire me สร้างแรงบันดาลใจให้ลูกน้องในทีม อยู่ที่พฤติกรรมของหัวหน้างาน

        • Coaching ไม่ได้หมายถึงต้องเป็นครู ทำหน้าที่สอนในห้องเรียน เน้นเรื่องการพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ ประกบการณ์ (Conversation) หัวหน้างานต้องเป็นนักฟังที่ดี จึงจะมีประสิทธิภาพ
        • ผู้นำต้องสร้างวัฒนธรรมของการเรียนรู้ (Learning Culture) เป็นแบบ Emerging Learning เรียนรู้จากการพูดคุยกัน ร่วมแก้ไขปัญหา ต้องเปลี่ยน Mindset ของผู้บริหาร
        • ค่านิยมของ กฟผ. รักองค์กร มุ่งงานเลิศ เทิดคุณธรรม ต้องตอบให้ได้ หมายถึงอะไร มีความหมายกับ กฟผ. และ stakeholders อย่างไร และถ้าต้องการบรรลุ 3 ตัวนี้ มีพฤติกรรมอะไรที่เพิ่มเติมอีก

        Workshop 1

        • วิเคราะห์แนวคิดที่ได้จากการเรียนรู้เรื่องของ Social Innovation ให้ศึกษา จุดอ่อน และจุดแข็ง ที่จะขับเคลื่อนทั้ง 7 Case ไปสู่ความสำเร็จ มี Change อะไรบ้างเป็น Positive และ Negative อย่างละ 3 เรื่อง

        1.กองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้า ทำงานไม่ตรงจุด ไม่ตรงประเด็น สิ่งที่ กฟผ. ควรทำ คือ วิจัยเพื่อให้รู้สถานการณ์จริง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชน

        2.เจาะลึกและติดตามความต่อเนื่องของชุมชน มีการวางแผนการดำเนินงานให้ชัดเจนขึ้นและเน้นความต่อเนื่อง

        3.ต้องสร้าง กฟผ. เป็นบ้านเดียวกับชุมชน ไม่ใช่บ้านรั้วสูง สร้างทัศนคติใหม่ให้คนทุกระดับว่าเป็นคนระดับเดียวกัน

        4.แนวคิดเรื่อง OMOC (One Manager One Community) น่าจะดูแลชุมชนได้ดี

        5.การเข้าชุมชน มีหลายSilo ควรให้แต่ละ Silo คิดเหมือนกัน ชุมชนจะได้ไปด้วยกัน

        6.การทำงานร่วมกับชุมชน ต้องเอาชุมชนเป็นตัวตั้ง กฟผ. ลงลึกเรื่องการบริหารจัดการชุมชน

        7.ปรับยุทธศาสตร์การสื่อสารทำความเข้าใจกับชุมชน โดยเน้นกลุ่มหลักที่เยาวชน

        Workshop2

        1.วัฒนธรรมองค์กรที่เป็นจุดแข็งคืออะไร 3 ข้อ และจุดอ่อนหรืออุปสรรคคืออะไร 3 ข้อ และควรจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความสำเร็จ 3 ข้อ

        2.การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจุดแข็ง คืออะไร 3 ข้อ และจุดอ่อนหรืออุปสรรค คืออะไร 3 ข้อ และควรจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความสำเร็จ 3 ข้อ

        สรุปประเด็นหลังจาก Workshop

        อ.ประกาย

        • จุดแข็ง 1) ใช้วัฒนธรรมองค์กรที่มี สอดแทรกเข้ากับชุมชน และ 2) พร้อมเปลี่ยนแปลง
        • จุดอ่อน

        1.องค์กรใหญ่ มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร เพราะคนมักรู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ และสิ่งที่ควรรู้ กลับไม่รู้ ดังนั้น หลักการสื่อสารคือ ควรรู้ในสิ่งที่ควรรู้ ในเวลาและปริมาณที่เหมาะสม ให้ดูในเรื่องของ เนื้อหา Timing และ Population (แบ่งกลุ่มและระดับ) ส่วนสหภาพ ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสื่อสาร

        2.ในองค์กรมีหน่วยงานและฝ่ายเยอะมาก ต้องกลับไปดูที่โครงสร้างองค์กร ต้องทราบ function ของหน่วยงาน ทำให้เกิด cross-training และ cross-selling

        3.การพูดคุยกับชุมชน เน้นวิธีการ ใช้ process หรือ approach แบบเดียวกัน เพื่อไม่ให้ชุมชนสับสน ใช้ภาษาเดียวกัน ต้องเปิดใจและใช้ชีวิตร่วมกับชุมชน ทำตัวให้กลมกลืน การต่อต้านจะน้อยลง

        ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ ให้ความเห็นในสิ่งที่ต้องทำเพิ่มเติม

        • ด้านวัฒนธรรม

        1.ทำให้เกิด Collaboration ทุกคนทำความเข้าใจในงานของกันและกัน ทำให้เกิดความเป็นเอกภาพ

        2.มุ่งงานเลิศ พิจารณาในรายละเอียดทำไมถึงขาดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ขาดการทำงานเป็นทีม ให้มองแบบ Outside in เพื่อสร้างความยั่งยืน เพิ่มหรือปรับ mindset เป็นสะพานเชื่อมโยงกับชุมชน

        • ด้านการเปลี่ยนแปลง

        ต่างประเทศให้ความสำคัญกับ Internal communication มาก ทำอย่างไรให้คนอ่านเข้าใจ ต้องใช้ภาษาง่าย มี Marketing mind จะสื่อสารกับภายนอกอย่างไร

        อ.ทำนอง ดาศรี

        • ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน มีสติปัญญา แบ่งปัน เป็นสิ่งที่ กฟผ. มีครบแล้ว ขอให้ทำต่อไป

        กิจกรรมกลุ่ม: นำเสนอผลการเก็บข้อมูลงานวิจัย และแนะนำแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล

        โดย อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

        • จากหัวข้อ“การศึกษาความเหมาะสมของค่าทดแทนที่ดินเพื่อให้เกิดความพึงพอใจต่อผู้ได้รับผลกระทบ” อ.กิตติ มีความเห็นว่า ปัญหาเป็นเรื่องปัจเจก โจทย์แบบนี้ต้องการตอบอะไร หาบทสรุปความพึงพอใจ หายาก ให้พิจารณาข้อเท็จจริง และปรับโจทย์ใหม่คือ “ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการได้รับค่าทดแทนที่ดินของผู้ได้รับผลกระทบ” วัตถุประสงค์เพื่อ

        1.หาตัวเลขที่เหมาะสมของค่าทดแทนที่ดิน แผนดูว่าเขาพอใจหรือไม่

        2.ปัจจัยที่ทำให้เกิดความพอใจ นอกจากค่าของเงินแล้ว เช่น อยากให้มีการทำ CSR เป็นต้น

        • การบ้านให้ทำรายละเอียดโครงการวิจัย เลือกหัวข้อแล้ว ต้องหาข้อมูลยืนยัน ขอให้ทุกกลุ่มส่ง Review ภายใน 11 เม.ย. 57 ที่ email address : [email protected]
        • รายละเอียดโครงการวิจัย

        1.ชื่อหัวข้อวิจัย

        2.สมมุติฐาน

        3.ขอบเขต

        4.วัตถุประสงค์

        5.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องหรือเป็นหลักของหัวจ้อวิจัยนี้

        6.เหตุจูงใจในการเลือกทำหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่องนี้

        7.วิธีวิจัยที่จะใช้ในการทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ (เป็นแบบการวิจัยเอกสารการวิจัยสนามหรือการวิจัยแบบอื่นใด)

        8.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษาเรื่องนี้

  • ศรีวรรณ บูรณโชคไพศาล

    สรุปการเรียนรู้ EADP10 ช่วงที่ 3 วันที่ 19 มี.ค. 57

    หัวข้อ กรณีศึกษาของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กับการก้าวสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

    โดย คุณสมยศ รุจิรวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)

    • วัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเสริมสร้างทักษะในการดำเนินธุรกิจเพื่อนำไปสู่ธุรกิจในต่างประเทศและ value chain อดีตจะเป็นตัวบ่งบอก ธุรกิจเสริมสร้างอะไรบ้าง นำไปสูการพัฒนาอย่างไร การสร้างองค์กรให้เจริญเติบโต ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง ชี้ให้เห็นถึงการพัฒนา ต้องเพิ่มทักษะอะไรบ้าง
    • ทราบประวัติของบ้านปู การพัฒนาธุรกิจ ด้านเหมือง Production ไฟฟ้า และพัฒนาบุคลากร

    การพัฒนาของบ้านปูมี 5 ระยะ

    1.Early Year : Indigenous Energy (ปี 1983-1990)

    • ช่วงเริ่มต้น ปี 1983 เริ่มจากทำเหมืองเล็กๆ ที่ลำพูน ต่อมาขยายงานไปเหมืองแม่เมาะ กฟผ. ที่ลำปาง
    • ช่วงเริ่มต้น vision เป็นสิ่งสำคัญ ต้องชัดเจน focus ได้
    • ปี 1989เข้าตลาดหลักทรัพย์ ต้องทำให้บริษัทมีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพ ต้องค้นหา Best Practices ทำให้เกิดการพัฒนา

    2.1990s Breakthrough Expansion & Diversification

    • ช่วงเจริญเติบโต (ขยายและ diversify)
    • เข้าตลาดหลักทรัพย์ มีสัญญาขนดิน ขนถ่าน กับ กฟผ.
    • ปี 1991 เข้าไปทำธุรกิจในอินโดนีเซีย เพราะเป็นประเทศที่มี resources ถ่านหินมาก ลงทุนที่ Jorong Kalimantan ต้องศึกษาประเทศ วิธีการทำงาน เรียนรู้วัฒนธรรม กฎระเบียบ กติกาต่างๆ สะสมประสบการณ์
    • ปี 1993 เริ่มเข้าธุรกิจไฟฟ้า ลงทุนโรงไฟฟ้า COCO ที่มาบตาพุด และ Diversify เข้าธุรกิจเหมืองดินขาว (Ball Clay) ในเวียดนาม เพราะมีประสบการณ์ด้านการขุด การใช้ excavator & drilling
    • ปี 1995 ลงทุน Trienergy 700MW ที่ราชบุรี และ BLCP1,400 MW ที่ระยอง

    3.1997-2000 Crisis Management and Reflection

    • ช่วง Crisis ต้มยำกุ้ง (ก.ค. 1997) เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ มีหนี้จากการกู้เงินดอลล่าร์ ต้องขายโรงไฟฟ้า COCO เพื่อคืนหนี้ และลดการถือหุ้นราชบุรีเหลือเพียง 10%
    • Rethinking& Refocus in 2000-2001 เริ่มคิดว่า เวลาขยายธุรกิจออกไป การ diversify มาก ทำให้ผู้บริหารมีเวลาน้อยลงที่จะสนใจธุรกิจกำไรมาก ควรทำธุรกิจให้ดี เป็นธุรกิจที่คุ้นเคยเพื่อให้เกิด skill เติบโตอยู่ใน chain

    4.2001-2010 Becoming a Regional and Local Coal-based Energy Player

    • ปรับให้เป็นบริษัทระดับภูมิภาคและในประเทศในธุรกิจถ่านหินและพลังงาน โดยดูธุรกิจหลัก (Core-business) ขายธุรกิจรอง (Non-core business) เอาเงินมาใช้สร้างผลประกอบการให้กับธุรกิจหลัก เปลี่ยน Strategy เป็น Coal Champion Plus และลงทุนโรงไฟฟ้าบ้าง ยังมี BLCP และโรงไฟฟ้าหงสา
    • ขายธุรกิจในเวียดนาม เหมืองใต้ดินในจีน ธุรกิจที่ถือหุ้นต่ำกว่า 50% ต้องเปลี่ยนวิธีบริหารต้องควบคุม operation และ manage partnership ซึ่งสำคัญมาก
    • เริ่มเข้าไปในอินโดนีเซียใหม่ เน้นธุรกิจหลัก เช่น บริหาร port ที่อินโดนีเซีย ปัจจุบัน มี projectport ที่มีสายพานยาว 12 กิโลเมตร (ในทะเล 8 กม. บนบก 4 กม.) ระบบสายพานเป็นแบบ closed จึงไม่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม บริหารโดยเพิ่มกำลังผลิต ขยายหน้าท่าให้รับเรือขนาดใหญ่ขึ้น จากเรือ 65,000 ตัน เป็นเรือ 95,000 ตัน เข้ามาได้

    5.2011-2013 Consolidation and Preparation of New Era of Growth

    • เป็น cycle ต้องปรับตัวและรวมตัวอีกครั้งเพื่อเตรียมรับการเติบโตในยุคใหม่ ถอนการลงทุนในธุรกิจ Non-corebusiness และเน้นการลงทุนเฉพาะในธุรกิจถ่านหินและพลังงาน ดู cost-focused จะอยู่ในธุรกิจอย่างไรให้ยั่งยืน
    • ปัจจุบันบริษัทบ้านปูมีธุรกิจการลงทุนในประเทศต่างๆ 7 แห่ง ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย จีน ออสเตรเลีย ลาว มองโกเลีย และ สิงคโปร์ มีพนักงาน 6,424 คน

    Strengthen Fundamental เป็นสิ่งที่ผู้นำต้องมีในการนำบริษัทให้เติบโตอย่างยั่งยืน

    1.Cost Rationalization & Productivity

    2.Capital Planning

    3.Synergy Drive

    4.Human Resource Development (ปรับ attitude and mindset ให้ทำงานเชิงธุรกิจ)

    5.Financial Streamlining

    6.Organic Growth

    Global Trends and Needs for Sustainable Development

    -ทำธุรกิจ อย่ามองแต่ผลกำไรอย่างเดียว ให้คิดถึงชุมชน และต้องสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศที่ไปลงทุนด้วย

    -ใช้ CSR เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ จัดการกับ stakeholders อย่างมีประสิทธิภาพ และดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย

    -สาเหตุเพราะ

    1.เพราะ คน / ประเทศ มีความคาดหวังมากขึ้น

    2.ต้องพิจารณา public concern มากขึ้น

    3.สถาบันการเงินเข้ามาเกี่ยวข้องมาก

    Banpu Sustainable Development Framework (SD Framework) ใช้วางแผน ถ่ายทอด และดำเนินงาน

    1.Competitiveness

    • People Development
    • Operational Excellence
    • Technology

    2.Localization มีความโปร่งใสและจริยธรรมธุรกิจ

    • Good Governance
    • Business Ethic
    • Compliances
    • Good Corporate Citizen

    3.Licence to Operate ให้ความสำคัญกับ สุขภาพ ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาชุมชน

    • Health & Safety
    • Environment
    • Community Development

    Key Drivers สำหรับ CompetitivenessAdvantage มี 6 ตัว : 1. เทคโนโลยี 2. Integrated Mine Planning 3. Project Management 4. Asset Management 5. Optimization 6. Report and Dashboard System

    Banpu Spirits / Brands : Innovation, Integrity,Care, Synergy

    Banpu CSR

    • 1.อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    • 2.จัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
    • 3.สร้างความเข้มแข็งในชุมชน
    • 4.ปรับพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
    ศรีวรรณ บูรณโชคไพศาล

    สรุปการเรียนรู้ EADP10 ช่วงที่ 3 วันที่ 19 มี.ค. 57

    หัวข้อ TQM/SEPA : ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

    โดย คุณโชติรสเสวกวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญระดับ 12 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

    อาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยากุล

    คุณปิติ ศรีสุขสมบัติ ผู้จัดการฝ่ายบริหารคุณภาพองค์กร ปตท.

    ดำเนินการอภิปราย โดย อาจารย์ทำนอง ดาศรี

    คุณปิติ ศรีสุขสมบัติ

    • การ implement TQA ทำแล้วได้อะไร คำตอบ : ได้ระบบ (ที่คิดว่าดีอยู่แล้ว) และได้ performance (TQA จะดูว่าเทียบกับใคร เทียบอย่างไร)
    • ปัจจุบัน ปตท. ได้ลำดับที่ 2 ของโลกในการดูแลระบบท่อ
    • ปตท. ตั้งเป้าเป็น Top Quartile Performance 25% ของโลก
    • ปตท. เน้นสามเหลี่ยมแห่งความยั่งยืน ประกอบด้วย HPO, CG และ CSR
    • ผู้บริหาร มีหน้าที่ ต้องชี้นำ สื่อสารเป้าหมาย กระตุ้นพนักงาน ทำให้ยั่งยืน
    • ปตท. เน้น Assess, Acquire และ Apply ทุกคนที่ไปดูงานต้องนำความรู้กับมาแบ่งปัน
    • ปตท. เน้น BCM (Business Continually Management) ทำงานต่อได้แม้เกิดวิกฤติ
    • Key factors สำหรับส่งเสริมความเป็นเลิศของ ปตท. : Continuous Improvement, Excellent Leadership, Open Mind

    อาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยากุล

    • TQM คือบริหารองค์กรให้ดี เป็น HPO
    • SEPA และ TQA เป็นเพียงรางวัล แต่วิธีการบริหารต้องดี
    • TQM ทำแล้ว ถ้าไม่เห็นผลลัพธ์จากการบริหารงาน ไม่เกิดประโยชน์
    • วัตถุประสงค์ของ TQM คือดำเนินการเพื่อให้เห็นผลงาน ผู้บริหารมีบทบาทต้องผลักดันให้เกิดผลงาน เริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย ทำเพื่ออะไร
    • ปัญหาของ กฟผ. คือ มีข้อมูลมาก แต่ขาดการบูรณาการเพื่อใช้ในการตัดสินใจ
    • ประเด็น : TQM เป็นการบริหารองค์กรให้เป็น HPO ทำทำไม ทำอย่างไร
    • HPO องค์กรมีความสำเร็จ ต้องมี Performance มีการบริหารเหตุ เพื่อ performance
    • EGAT Way ต้องการให้ความสำเร็จและความสุขไปด้วยกัน ต้องเป็นทั้งของหน่วยงานและ Stakeholder ไม่ต้องรอให้สำเร็จจึงสุข
    • ในอนาคต กฟผ. จะสำเร็จ อะไรคือ key success จะต้องจัดรูปแบบการบริหารงานและคนอย่างไร

    คุณโชติรส เสวกวัฒนา

    • SEPA มี 7 หมวด หมวด1-6 เกี่ยวกับ องค์กรและกระบวนการ หมวด 7 เป็นผลลัพธ์
    • กระบวนการที่ดี ย่อมส่งผลลัพธ์ที่ดี
    • ปัญหาที่ SEPA / TQA ทำไม่ได้ดี คือ
    1. บริบท ไม่ชัดเจน
    2. ความเป็นไซโล มองเฉพาะสิ่งที่รับผิดชอบ ทำในสายของตนเอง ขาดการเชื่อมโยง
    3. Work Process กฟผ. เป็น Engineering Base มีกระบวนการแข็งแรงแบบ Inside out มากกว่า Outside in
    4. ผลลัพธ์ แม้ว่า สคร. ไม่ได้วัด แต่จะบอกได้ว่า หมวด 1-6 มีประสิทธิผลหรือไม่

    สรุปประเด็น

    • EGAT Way เป็นแนวคิดในการบริหาร กฟผ. หรือข้อกำหนดการบริหารที่ กฟผ. พึงมีและรักษาต่อๆ ไป
    • บริหาร กฟผ. ให้ดี 1. เน้นคน 2. มองระบบ 3. เป็นผล
    People + System = Excellent Organization

    1.ให้ความสำคัญต่อการสร้างศรัทธา และคุณค่า กับภาคส่วนต่างๆ

    • -ชุมชน
    • -ลูกค้า
    • -NGO
    • -Other stakeholders
    ธรรมาภิบาล

    เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    พร้อมสำหรับอนาคตกับความเสี่ยงสู่เวทีโลก

    2.มีศักยภาพบนบุคลิกภาพที่อ่อนน้อม (เข้าหาคน)

    บูรณาการ

    คล่องตัว

    มีส่วนร่วม

    ภาคภูมิใจ เป็นเลิศเมื่อเทียบกับสากล

    3.ปลูกฝังค่านิยม และ culture org. (บริหารศรัทธา)

    บริหารบนฐานข้อมูลจริง ปรับปรุงต่อเนื่อง พร้อมสร้างนวัตกรรม ยกระดับคุณค่าที่ส่งมอบ

    • Workforce Focus ของ ปตท.

    -ดูผล IDP – Individual Development Program เพิ่ม acquire เช่น ไปอบรม และ apply เช่น ให้ assignment

    -ประเมินผล และปิด gap

    -Two way communication คุยกัน 6 เดือน / ครั้ง คุยกับพนักงานเรื่อง เป้าหมาย ตัวชี้วัด action plan ติดตามงาน ปัญหา และอุปสรรค บันทึกผล ก่อนประเมินผลขึ้นเงินเดือน มี 5 ระดับ ถ้าได้ 1 ต้องทำแผนปรับปรุงงานภายใน 6 เดือน หากแก้ไขไม่ได้ ไล่ออก หรือเสนอเป็น option ให้เลือก ระหว่าง ร่วมใจจาก (early retirement มีทุกเดือน) กับเกษียณอายุ

    -ปตท. ไม่มีระบบเวียนเทียน drive ด้วยเป้าหมาย

    -เป็นการป้องกันปัญหา sale syndrome – โรคของ salesman เมื่อได้เป้าแล้ว ไม่หาลูกค้าเพิ่ม

    • โดยปกติ ปตท. จะจัด update trend การใช้พลังงานของโลก ให้ผู้บริหารฟัง ปีละ 1 ครั้ง ซึ่ง กฟผ. น่าจะพิจารณาบ้าง

    หัวข้อ การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามของการเมือง

    โดย รศ.ดร.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร นักวิชาการอิสระ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

    อาจารย์ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ อดีตรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

    บทสัมภาษณ์ นายสุวิทย์ คุณกิตติ

    ดำเนินรายการโดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    ศ.ดร.จีระ ฝากไว้ 5 ประเด็น

    1. อย่ามองการเมืองเป็นภัยคุกคาม มองการเมืองเป็นเพื่อน และศึกษาการเมืองไว้ด้วย
    2. ศึกษาสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันเป็นอย่างไร สหภาพ (Union) อาจมีบทบาทมากขึ้น
    3. ควรมีพันธมิตรทั้งในและนอกหน่วยงาน เช่น Union NGOs อาจช่วยสนับสนุน กฟผ. ได้
    4. ค้นหายุทธวิธี เป็น defense mechanism
    5. วิธีดำเนินการ และยุทธวิธี เช่น สร้าง network หรือหา lobbyist ประสานงานกับการเมือง
    6. บทสัมภาษณ์คุณสุวิทย์ คุณกิตติ

      • ปัจจุบัน การเมืองมีการเปลี่ยนแปลง ประชาชนสงสัยการบริหารงานของรัฐ มีการพูดมากขึ้น ถ้ามีเหตุผล สังคมให้ความสนใจ นักวิชาการ บุคลากรทางการแพทย์ออกมาต่อต้านรัฐบาล เกิดปัญหา และเป็น Political deadlock สมัยก่อนคือ รัฐประหาร สมัยนี้ยังไม่รู้ผล
      • Trend ตอนนี้เป็นกันทั่วโลก อียิปต์ มีปฏิวัติรัฐประหาร ยูเครน คนต่อต้าน corruption
      • ไม่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงแบบนองเลือด
      • สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้คือ Moral Hazard จะทำอย่างไรให้คนมองเห็นความสำคัญ เป็นความเสื่อมโทรมทางด้านจริยธรรม ศีลธรรม
      • ด้านพลังงาน ต้องมีการปฏิรูป พัฒนาต่อเนื่อง ไทยมีปัญหาด้านความมั่นคงพลังงานมาก เพราะต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ 70% กฟผ. มีปัญหาจากโครงการเดิมและโครงการใหม่ ทำให้เกิดผลกระทบค่อนข้างมาก กฟผ. ต้องเข้าไปมีส่วนร่วม จัดทำแผน PDP ของประเทศ มองข้ามไม่ได้ ต้องเปลี่ยนรูปแบบการจัดการ
      • กฟผ. เข้มแข็ง เป็นมืออาชีพ แทบไม่ได้ยินเรื่องทุจริต ทุกคนจึงเชื่อถือ กฟผ. ต้องดูว่าจะพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วอย่างไร ในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะพัฒนาโรงไฟฟ้าเก่าให้เป็นที่ยอมรับได้อย่างไร สิ่งสำคัญคือ ต้องให้ความรู้แก่สาธารณชนให้มากและต่อเนื่อง ให้เข้าใจบทบาท หน้าที่ ในการพัฒนาพลังงานของประเทศ ในเรื่องสิ่งแวดล้อม ปัญหาเกิดจากความไม่เข้าใจของประชาชน กฟผ. เข้าไม่ถึงประชาชน แต่ NGOs เข้าถึงมากกว่า ประชาชนรับข้อมูลข่าวสารจาก NGOs มากกว่า ต้องทำความเข้าใจ ให้ความรู้ว่า กฟผ. ไม่ได้ทำเพื่อคนอื่น แต่ทำให้คนที่อยู่รอบโรงไฟฟ้า กฟผ. ต้องดูแลเขา ให้ ชาวบ้านเป็นรั้ว เป็นปากเสียงแทน กฟผ. ก็จะพัฒนาต่อไปได้
      • กฟผ. ต้องวิเคราะห์และดูการปฏิรูปพลังงานในอนาคต จะทำอย่างไร ต้องศึกษาแนวโน้มและแก้ไขปัญหา เป็นเรื่องของนโยบาย กฟผ. เชี่ยวชาญและมีข้อมูลดีกว่าฝ่ายการเมือง ต้องเผยแพร่ต่อประชาชนให้เข้าใจ เป็นการถ่วงดุลอำนาจการเมืองได้ และถ้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง กฟผ. ไม่ต้องกลัวการแทรกแซงทางการเมือง ขอให้มีจุดยืนที่มั่นคง กฟผ. ต้อง lobby สังคมโดยให้ข้อมูลข่าวสาร ให้สังคมเข้าใจการทำงานของ กฟผ. จะมีผลกระทบหรือไม่ อย่างไร เศรษฐกิจสังคมจะเป็นอย่างไร ที่สำคัญ CSR เป็นเรื่องใหญ่ เริ่มต้นจากพื้นที่ใกล้โรงไฟฟ้า คนแถวนั้นต้องได้รับประโยชน์โดยตรง และมากกว่าคนห่างไกล

      รศ.ดร.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร

      • การเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัว ต้องรู้ตั้งแต่เกิดจนตาย
      • ประเทศไทยมีระบบอุปถัมภ์ ทำลายสังคมอย่างแรง
      • คนไทย ไม่เข้าใจประชาธิปไตยในเนื้อหา รัฐจึงบิดเบือน ขาดความกระตือรือร้น คนไทยไม่มีคุณภาพ คนมีความรู้เอาเปรียบ ขี้โกง ไม่มีเหตุผล
      • ประเทศไทยดีทุกอย่างยกเว้นคน
      • คนไทยขาดคุณภาพเพราะปัญหาการศึกษา ครูเงินเดือนน้อยและไม่เก่ง
      • นักการเมือง มีอำนาจ มีความอยากได้สูง โกงได้เพราะระบบอุปถัมภ์ ไม่มีใครลงโทษ
      • ข้าราชการ ต้องรับใช้ประชาชน แต่โดนนักการเมืองปั่นหัวให้โกง
      • ประชาชน เป็นเหยื่อทางการเมือง
      • กฟผ. จะสร้างความสุขให้คนไทย ต้องสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ประชาชน ทำให้คนมีสุขภาพแข็ง
      • กฟผ. ต้องเอาประชาชนเป็นเพื่อน ไม่เอาเปรียบประชาชน หรือทำให้มีผลกระทบน้อยที่สุด

      อาจารย์ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

      • แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เปลี่ยนประเทศไทยเข้าสู่โลกสมัยใหม่
      • ตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8-10 ไม่เปลี่ยนเลย จากวัฒนธรรมอำนาจไปสู่สังคมความรู้ เพราะไม่มีผู้นำการเปลี่ยนแปลง
      • ประชาธิปไตยแบบระบบอุปถัมภ์ เป็นระบบที่เน้นอำนาจ วิธีคิดแบบเก่า แบบเสมือนจริง Top down solution แก้ไขไม่ได้
      • ตอนนี้ประเทศไทยต้องการการเมืองแบบใหม่ แบบที่ประชาชนมีส่วนร่วม
      • มนุษย์ต้องรับข่าวสาร เรียนรู้ด้วยกัน ต้องการ Leadership at all levels คิดแบบเชื่อมโยงทุกมิติ
      • กฟผ. ต้องมีสติ ไม่กลัว
      • กฟผ. ต้องมียุทธศาสตร์และยุทธวิธี สำหรับ worst case scenario
      • ต้องมี cash (เงินสด) แผนการลงทุนในอนาคตต้องคิดใหม่หมด เน้นโครงการที่ได้เงินด่วน
      • ต้องมี vision
      • ใน worst case scenario ต้องบริหารจัดการแบบเข้มข้นในระยะสั้น ต้องรู้ข้อมูลที่ทันสมัยในพื้นที่ ต้องทำงานเป็นทีม ร่วมกับทุกหน่วยขวัญ มี network ขวัญ กำลังใจของผู้นำสำคัญที่สุด ผู้นำต้องลงพื้นที่ เน้นการปฏิบัติตามที่คิดไว้
      • Leadership สำคัญมากในยามวิกฤติ

      รศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา

      • ในระยะสั้น คนไม่ศรัทธาเรื่องการเลือกตั้ง นำไปสู่การผูกขาดอำนาจ เน้นประชานิยมสุดขั้ว กู้เงินโดยไม่รับผิดชอบทำให้ขาดดุลมาก
      • ประเทศที่มีการเลือกตั้งมีปัญหาทั่วโลก นำไปสู่วงจรอุบาทว์
      • ควรปฏิรูประบบการเลือกตั้ง
      1. มีตัวแทนจากหลายพื้นที่ ใช้ majority vote
      2. สามารถเปิด free ในการหาเสียง ควบคุมการหาเสียงไม่ให้หลอกประชาชน ไม่ให้ประชานิยมเข้ามาได้อีก
      3. กระจายอำนาจไปสู่พื้นที่ ให้แต่ละพื้นที่ควบคุม บริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่ให้มีเสถียรภาพ
      4. ควบคุมคอรัปชั่น
      5. ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น
      6. สรุปประเด็นเพิ่มเติม

        • Worst case การเมืองไม่แน่นอน ควรหาโอกาสในวิกฤต
        • กฟผ. เข้มแข็ง แต่ต้องปรับกระบวนการเรียนรู้
        • สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่เข้มแข็ง เพิ่ม KM เสริม LO
        • สร้าง network ทุกระดับ ทุกเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้
        • สร้างความโปร่งใสในการทำงาน ให้สังคมยอมรับทุกขั้นตอน
        • สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน พูดทุกเรื่อง เรื่องไฟฟ้า เรื่องปลูกป่า ฯลฯ ยึดชุมชนเป็นพวก มีเพื่อนช่วยกันดูแล ให้มีความสัมพันธ์ที่มั่นคง
        • เตรียมพร้อมองค์กรเพื่อการเมืองทุกรูปแบบ สู้กับนักการเมืองบ้าง
        • เพิ่ม political knowledge
        • เมื่อการเมืองดีขึ้น กฟผ. จะเข้มแข็งขึ้นกว่าเดิม สามารถสร้างความเข้าใจกับชุมชนได้
    ศรีวรรณ บูรณโชคไพศาล

    สรุปการเรียนรู้ EADP10 ช่วงที่ 3 วันที่ 20 มี.ค. 57

    นวัตกรรมของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

    โดย คุณไพรวัลย์ ไทยนิยม ฝ่ายบริหารโครงการและเครือข่ายนวัตกรรม ศูนย์นวัตกรรม กลุ่มธุรกิจ ซีพี ออลล์

    • ได้ความรู้เกี่ยวกับ service innovation ที่ CPall ใช้เป็นกลยุทธ์หลักในการขับเคลื่อนองค์กร
    • เป็นการจัดการนวัตกรรมในอุตสาหกรรมค้าปลีก
    • ปรัชญาขององค์กร : เราปรารถนารอยยิ้มจากลูกค้า ด้วยทีมงานที่มีความสุข
    • ผลิตภัณฑ์ เน้นความสะดวกซื้อ (convenience) ผ่านรูปแบบสินค้าและบริการ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการบริการ คือ Location, Time (24 hrs.) and Speed
    • เปิดมุมมองนวัตกรรมค้าปลีก มีนวัตกรรม หรือ เทคโนโลยีที่น่าสนใจ ได้แก่

    - Speed up เพื่อให้บริการได้รวดเร็ว ประหยัดเวลา เช่น ชำระเงินโดยนำของที่ซื้อผ่านอุโมงค์ เพื่อเช็คราคาและคิดเงิน

    - Order online เป็นการสั่งซื้อจากบ้าน ร้านจะจัดของเตรียมไว้ให้ สามารถขับรถไปรับได้เลย

    - Smartphone Application ข้อมูลบนมือถือ สามารถสืบหาร้านค้า 7-11 ได้ในละแวกใกล้เคียง สามารถ scan และเช็คราคา อ่าน barcode บนบัตรสมาชิกได้

    • คำจำกัดความของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

    นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิด สร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งผลลัพธ์นั้นให้คุณค่ากับคนและสิ่งที่เกี่ยวข้อง

    Innovation = new + value creation

    (ดังนั้น งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ องค์ความรู้ ความคิดริเริ่ม ไม่ใช่ นวัตกรรม)

    • คำจำกัดความของ CPall

    นวัตกรรม คือ การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ หรือการปรับปรุงจากสิ่งเดิม ที่เกิดจากการนำความรู้และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาให้เกิดคุณค่าต่อลูกค้า องค์กร และสังคม

    • รูปแบบของนวัตกรรม

    - Process Innovation การสร้างสรรค์กระบวนการใหม่

    - Product Innovation การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่

    - Service Innovation การสร้างสรรค์บริการใหม่

    - Business Innovation การสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่

    (อ.จีระ เสนอความเห็น ควรเพิ่ม Social Innovation เนื่องจากทุกวันนี้ โลกขยายกว้าง ให้มองนวัตกรรมทางสังคมเพิ่ม)

    • ตัวกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม

    Product เป็นสินค้าที่ลูกค้าต้องการ - ลูกค้าถามหา แต่ไม่มีขาย

    - มีขาย แต่ลูกค้าไม่รู้ว่ามี

    - ขายดีในต่างประเทศ แต่ยังไม่เคยเอามาขาย

    - มีขาย แต่ลูกค้าไม่พอใจ

    - สินค้าที่เกิดปัญหากับลูกค้าบ่อยๆ

    บริการ ปรับปรุงเมื่อลูกค้าต้องรอนาน

    กระบวนการ ปรับปรุงด้านคุณภาพ ต้นทุน และระยะเวลา

    Business Model เช่น เป็นพันธมิตร (คิดเรื่องโอกาส กลยุทธ์ ความสามารถในการแข่งขัน เป็นต้น)

    • ทำไมต้องมีนวัตกรรม - เป็นเพราะตลาดเปลี่ยนแปลง ลูกค้าเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง
    • บทบาทของผู้บริหาร ต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง นำอย่างจริงจัง

    “White Ocean Strategy” กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ.

    โดย คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานเจ้าหน้าที่ & บริหาร บจก. ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์

    White Ocean เป็นหนังสือเน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เขียนเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว เป็นการบรรยายครั้งที่ 635 จำนวนผู้ฟัง 163,768 คน

    ยกตัวอย่างประเทศภูฏาน ไม่แข่งเรื่อง GDP แต่จะเน้น GNH (Gross National Happiness) มากกว่า

    Socialism – ระบบสังคมนิยม/เผด็จการ

    Capitalism – ทุนนิยม เน้นที่วัตถุนิยม บริโภคนิยม และประชานิยม เป็นการมองระยะสั้น ไม่ได้อยู่กับความเป็นจริง ตัวอย่างชัดๆ โครงการจำนำข้าว ผลคือ Collapse of Global Economy

    สังคมต้องการ Change เพราะโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและทุกมิติ

    มนุษย์บริหารจัดการไม่ได้ เพราะไม่ใช่สิ่งของ

    You can’t manage people, you can only lead people.

    สังคมกำลังโหยหา 1) ผู้นำที่มีแรงบันดาลใจ มีความตรงไป ตรงมา 2) สันติภาพ

    สมองมี 2 ซีก

    üซีกซ้าย เกี่ยวกับ หลักการ เหตุผล ความคิด logical, verbal, digital, order, math, objective, liner, target and direction, system, analytic

    üสมองซีกขวา เกี่ยวกับ ความคิดสร้างสรรค์ คุณธรรม จริยธรรม art, random, free, emotional, imagination, dream, sub-real, novel, colors, creativity, analog

    สมองซีกซ้ายถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยี เมื่อใดที่ digital + nano + bio จะถูกทดแทน 100%

    ต้องพัฒนาสมองซีกขวามากๆ ให้เป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ Creative Economy

    Einstein : Imagination is more important than knowledge. จินตนาการสำคัญกว่าความรู้

    Knowledge is power, but love is a miracle.

    ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ “CAN” ต้องมี ความรักและความศรัทธา

    อย่าปล่อยให้ความไม่ดีของคนอื่น ทำลายความรัก ความศรัทธา และความดีของตัวเรา

    กลยุทธ์น่านน้ำสีแดง (Red OceanStrategy)

    Customer is the King.

    Maximize Profit. Minimum Cost.

    สร้าง False Demand อุปสงค์เทียม

    กิเลสมาร์เก็ตติ้ง ใช้กิเลสกระตุ้น ราคาสูง กำไรต่ำ

    เลือกระหว่างคุณค่าหรือต้นทุน

    กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม (Blue OceanStrategy)

    มองหาตลาดใหม่

    High Risk. High Return.

    เน้นสร้างความคิด Idea, Innovation is the King

    ทำลายข้อจำกัด

    กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว (White OceanStrategy)

    Everyone is the winner. เน้น Cocreation ทุกฝ่ายได้ประโยชน์และเป็นผู้ชนะร่วมกัน

    สร้างสมดุลระหว่างคุณค่าและต้นทุน สร้างผลประโยชน์ยั่งยืนขององค์กร

    ตัวอย่าง Facebook เป็นอันดับที่ 2 ของโลก มีผู้ใช้ 1,200 ล้านคนทั่วโลก คนชอบเล่น เพราะชอบกด like & share เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ชอบการแบ่งปัน

    วัดความสำเร็จขององค์กรจาก 1) การเติบโต กำไร 2) ความสุข ความคิดสร้างสรรค์ 3) ความยั่งยืน

    ผลลัพธ์ขององค์กรสีขาว (Ethical Company) คือ

    1. กำไร บริษัทที่มีธรรมาภิบาล กำไรสูงกว่าทุกปี
    2. ความสุข องค์กรสีขาว เป็นองค์กรที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสังคม
    3. ยั่งยืน ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตการณ์อะไรขึ้นมา
    4. Trust - Speed - Cost

      High Trust. High Speed. Low Cost

      Low Trust. Low Speed. High Cost

      หลักการของ White Ocean

      • 1.Where are we? กำหนดนโยบายเป็นองค์กรที่ทำประโยชน์ให้กับสังคม มุ่งเน้นให้เกิดความไว้วางใจ
      • 2.Where do we want to go? มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง ตั้งเป้าหมายระยะยาว
      • 3.How do we get there? หาจุดสมดุลของ 4P
        • People - Social Progress มองคนในองค์กรเป็นพี่น้อง
        • Planet - Environment Protection ใช้พลังงานอย่างประหยัด
        • Profit – Economic Growth กำไรให้องค์กร และคืนกลับสังคมด้วย
        • Passion – 3 bottom lines Sustainable ความมุ่งมั่น ความศรัทธา อุดมการณ์ที่มั่นคง
        • People & Profit – Socio Economics
        • Planet & Profit – Economic Efficiency
        • People & Planet – Socio Environment
      • 4.ยืนบนหลักการของโลกอันอุดมสมบูรณและแบ่งปัน เป็นผู้ให้ด้วยหัวใจที่เบิกบาน – สร้าง Social Innovation
      • 5.ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม ความเป็นจริงและความเป็นเนื้อแท้ (Integrity) – คิดแบบใหม่ ให้โอกาสทุกคน ทำดียิ่งขึ้น
      • 6.เป็นองค์กรที่ระเบิดจากข้างใน - แนวคิด ISR (Individual Social Responsibility) หากต้องการเปลี่ยนแปลงโลก ต้องเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน จึงจะขึ้นไประดับเยาวชน (Children) องค์กร/พลเมือง (Corporate/Citizen) ระดับจังหวัด (City) และประเทศ (Country)

      สร้างคนแบบ Gen A (Generation Active – active heart, active mind) ให้เป็น Active Citizen ให้โอกาสเด็กและเยาวชนทำงานเป็นทีมและมีคุณค่า เข้าไปดูใน Facebook : dodclub (ดูดีคลับ)

      อยู่เพื่อตนเองอยู่แค่สิ้นลม อยู่เพื่อสังคม อยู่คู่ฟ้าดิน

      ใจเป็นสุข…ทุกครั้งที่มันเต้นเพื่อผู้อื่น (ดนัย จันทร์เจ้าฉาย)


      กิจกรรม ธรรมะสำหรับผู้บริหาร: จิตอิสระกับจิตประภัสสร

      โดย พระพิศาลศาสนกิจ (หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล) วัดเขาศาลา จังหวัดสุรินทร์ พระลูกศิษย์หลวงปู่ตูลย์ อตุโลก

      หลวงพ่อได้สอนให้นั่งภาวนาทำสมาธิโดยวิธีง่ายๆ ใช้น้ำเย็นเป็นสื่อ โดยเมื่อดื่มน้ำเย็นเข้าไปแล้ว ให้กำหนดจิตไปยังที่ที่น้ำเย็นไหลลงไปและหยุดที่ช่องท้อง ไม่ต้องกำหนดตามลมหายใจเข้าออก ซึ่งสามารถทำได้ง่ายกว่า

      คำสอนคือให้มีสติ คิดชอบ ทำชอบ

    ศรีวรรณ บูรณโชคไพศาล

    สรุปการเรียนรู้ EADP10 ช่วงที่ 3 วันที่ 21 มี.ค. 57

    Panel Discussion หัวข้อ เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับ ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

    โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

    อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท จัดการธุรกิจ จำกัด

    ดำเนินการอภิปราย โดย อาจารย์ทำนอง ดาศรี

    ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน ได้อภิปรายและสรุปสถานการณ์เศรษฐกิจของโลก เอเชีย และประเทศไทย รวมทั้งผลกระทบกับการบริหารจัดการเศรษฐกิจของไทยในอนาคต การบริหารจัดการด้านพลังงานของประเทศไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. สรุปในภาพรวมดังนี้

    • USA อัตราการว่างงาน 6.7% และในอนาคตคาดว่าลงถึง 6% สภาพคล่องดีขึ้น การอัดฉีดสภาพคล่องลดลง
    • ยุโรป เศรษฐกิจเริ่มฟื้น แต่อาจจะเกิด deflation
    • ญี่ปุ่น ฟื้นตัว แต่ขยายตัวช้า
    • จีน เศรษฐกิจน่าเป็นห่วง ที่ผ่านมา overinvestment ยังมีปัญหาเรื่องหนี้ การกู้เงิน shadow banking และธนาคารพาณิชย์ ต้องคุมอัตราการเติบโตไม่ให้ต่ำกว่า 7% ต้องแก้ปัญหาการบริหารการเงินสมัยใหม่และคอรัปชั่น
    • ไทย ภาพรวมขยายตัว 2.5-3.0% ดอกเบี้ยยังลด ปีหน้าอาจเป็นขาขึ้น อัตราแลกเปลี่ยน เริ่มอ่อน ต้องเตรียมรับผลกระทบ การเมืองไทยยังไม่นิ่ง มีปัญหาชาวนา ยางตกต่ำ ส่งออกไม่เป็นไปตามโผ ต่างชาติถอนทุน กระทบดุลการชำระเงิน/บัญชีเดินสะพัด การลงทุนใหม่ยังทำไม่ได้

    สรุปจากเอกสารนำเสนอ อ.มนูญ ศิริวรรณ

    • Share of global growth ในช่วงปี 2555-2578 ในประเทศ OECD เติบโตน้อยแค่ 4% ส่วนใหญ่เป็นประเทศ Non-OECD Asia ประมาณ 65% (โดยเฉพาะจีนและอินเดีย)
    • ทบวงพลังงานสากล (IEA) มองว่า ปัจจุบันสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลของโลก (ประมาณ 82%) ไม่เปลี่ยนแปลงมากนักจากอดีตเมื่อ 25 ปีก่อน และในปี 2578 สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะลดลงน้อยมาก (ประมาณ 75%) แสดงว่า การใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นยังไม่สามารถทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้

    สถานการณ์พลังงานโลกปี 2557

    • ปัจจัยด้านเศรษฐกิจแม้จะปรับตัวดีขึ้น แต่ยังไม่ส่งผลให้ความต้องการน้ำมันเพิ่มขึ้นมากนัก
    • ทบวงพลังงานสากล (IEA) ประเมินว่า

    - ความต้องการน้ำมันดิบของโลกในปีนี้จะขยายตัว 1.4% หรือ 1.3 mb/d สู่ระดับ 92.5 mb/d

    - กลุ่มนอกโอเปคจะผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 1.7 mb/d สู่ระดับ 56.4 mb/d

    เป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุด นับจากปี 1970 เป็นต้นมา

    - สหรัฐฯ จะกลายเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดนอกกลุ่มโอเปคแทนที่รัสเซียภายในปี 2558

    - ในขณะที่ปริมาณน้ำมันที่ขาดหายไปจาก อิรัก ลิเบีย และไนจีเรีย จะกลับคืนมา ทำให้เกิด supply overhang เล็กน้อยในปีนี้

    • ปัจจัยเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์จะลดลง (ยูเครน?)

    - จากความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างอิหร่านกับโลกตะวันตก ทำให้มาตรการคว่ำบาตรอิหร่านผ่อนคลายลง ปริมาณน้ำมันจากอิหร่านจะเพิ่มมากขึ้น

    • การดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน (QE) จะลดความเข้มข้นลง (Tapering) ส่งผลให้ค่าเงิน US$ แข็งค่าและการเก็งกำไรในสินทรัพย์เสี่ยงลดลง
    • โอเปคคงเพดานการผลิตที่ 30 mb/d
    • จะมีแรงกดดันให้ราคาน้ำมันดิบลงไปต่ำกว่า 100 $/bbl (Brent 95-106, WTI 90-99)

    ทิศทางพลังงานไทยปี 2557

    • ราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลง ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกและการปรับโครงสร้างราคาในประเทศ

    - โดยการปรับโครงสร้างราคาก๊าซแอลพีจี ทำให้ลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันได้

    - แต่รัฐบาลจะยังตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ไม่เกินลิตรละ 30 บาทอยู่ต่อไป

    • ราคาก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น

    - จากสัดส่วนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นของก๊าซจากพม่าและก๊าซแอลเอนจีที่มีราคาแพง

    - ราคาแอลพีจี / NGV ปรับสูงขึ้นตามการปรับโครงสร้างราคาของรัฐบาล

    • ค่าไฟฟ้า (ค่าเอฟที) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

    - จากค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าที่สูงขึ้น (ก๊าซธรรมชาติ)

    - การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินโดยใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดในประเทศไทยยังคงมีอุปสรรคสูง

    - การรับซื้อไฟฟ้าจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน

    - การส่งเสริมประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อยให้ผลิตไฟฟ้าขายตามนโยบาย “Solar Roof Top”

    • ถ่านหินราคาลดลง เพราะผู้ใช้รายใหญ่ (สหรัฐฯ / จีน /เยอรมัน) หันไปใช้ก๊าซและพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น

    ภาพรวมสถานการณ์พลังงานไทยและแนวโน้มในอนาคต (Thailand Energy Outlook)

    • IEA เห็นว่า ไทยเป็นประเทศที่มีจุดเสี่ยงความมั่นคงด้านพลังงานสูงสุดในอาเซียน
    • มีความเสี่ยงสูงในการต้องพึ่งพาพลังงานจากภายนอกประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ

    - ในปี 2578 หรืออีก 22 ปีข้างหน้า IEA ประเมินว่าไทยจะใช้พลังงานเพิ่มขึ้นถึง 80%

    - โดยนำเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 85% เป็นเกือบ 100%

    - มูลค่านำเข้าสูงถึง 70,000 ล้านเหรียญสหรัฐ/ปี (2.2 ล้านล้านบาท)

    - ต้องนำเข้าทั้งก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น

    • นำเข้าก๊าซธรรมชาติเพิ่มจาก 25% ในปัจจุบันเป็น 90% ในปี 2578

    - นำเข้าก๊าซธรรมชาติอัดเหลว (LNG)1.5 ล้านตัน/ปี ในปี 25563 ล้านตัน/ปี ในปี 2557 และเพิ่มเป็น 23 ล้านตัน/ปี ในปี 2573

    - นำเข้าก๊าซ LPG จาก 1.8 ล้านตัน/ปี เป็น 8 ล้านตัน/ปี ในปี 2573

    • นำเข้าไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มจาก 3% เป็น 21% ในปี 2573

    - พม่า จาก 1,500 MW เป็น 10,000 MW

    - ลาว จาก 7,000 MW เป็น 10,000 MW

    - มากกว่าที่กำหนดไว้ในแผน PDP2010 Rev.3 ที่ให้ซื้อไฟจากประเทศเพื่อนบ้าน 6,572 MW

    - เนื่องจากปรากฏการณ์ NIMBY

    ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

    • ปรับองค์กรเพื่อรองรับการแข่งขันและโอกาสทางธุรกิจที่จะเข้ามาในอนาคต
    • -จากวิสาหกิจระดับนำของชาติเป็นองค์กรชั้นนำในระดับภูมิภาค
    • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายด้านพลังงานในอาเซียน
    • ตอบสนองโจทย์ด้านพลังงานเพื่อความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมที่ดี (Green Energy)
    • -พลิกบทบาทเป็นผู้นำด้านพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในอาเซียน
    • แสวงหาลู่ทางการลงทุนด้านพลังงานในประเทศเพื่อนบ้านโดยใช้ประโยชน์จากข้อตกลง AEC
    • ใช้ประโยชน์จากความเป็นผู้นำและผู้ชำนาญการด้านพลังงานไฟฟ้าให้บริการด้านเทคโนโลยีและการซ่อมบำรุงกับประเทศในกลุ่ม CLMV
    • พัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการเรียนรู้และทำงานในระดับสากล
    • เตรียมพร้อมรองรับการปฏิรูปพลังงาน โดยเฉพาะการเปิดเสรีด้านระบบสายส่งและจำหน่าย

    ความเห็นของ ศ.ดร.จีระ

    • เศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงทุกปี ควรมี network กับนักธุรกิจบ้าง และติดตามข่าวสารบ้านเมืองสม่ำเสมอ
    • กฟผ. ควรเข้าร่วมประชุม Energy Forum เพื่อติดตามสถานการณ์พลังงานของโลกเป็นประจำ
    • ศึกษาเรื่อง Natural Resource Economics หรือเศรษฐศาสตร์พลังงาน เพิ่มเติม

    สิ่งที่ได้เรียนรู้:

    • เป็นผู้บริหาร / ผู้นำ ที่ดี ต้องมีความรู้รอบด้าน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและการเมืองในภาพกว้าง เพื่อให้มีข้อมูลมากเพียงพอในการใช้ประกอบการตัดสินใจ และสามารถประเมินสถานการณ์หรือคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินงานขององค์กรในอนาคตได้
    • ต้องเตรียมพร้อมทั้งตัวเองและหน่วยงานเพื่อต้อนรับการเปลี่ยนแปลงที่จะมาเยือนในเร็ววันนี้

    หัวข้อ Mind Mapping

    โดย อาจารย์ดำเกิง ไรวา

    สิ่งที่ได้เรียนรู้:

    ที่มาของ Mind Map

    ประโยชน์และการนำไปประยุกต์ใช้ Mind Map

    วิธีการเขียน Mind Map

    Tony Buzan นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ เป็นคนคิดเรื่อง Mind Map โดยการจำลองความคิดในสมองของคน นำเอาความฟุ้งซ่านของคนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากคนไม่ได้ถูกโปรแกรมให้ทำหรือมีความคิดเป็นลำดับ แต่จะคิดไปเรื่อยๆ ในลักษณะ Radiant Thinking

    ประโยชน์และการนำไปประยุกต์ใช้ Mind Map (ประยุกต์ใช้ได้ทั้งในเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว)

    • ใช้พัฒนาความจำ
    • ช่วยให้เห็นประเด็นต่างๆ ครบถ้วน และสามารถเน้นย้ำในประเด็นที่มีความสำคัญ
    • ช่วยในการทำงานเป็นทีม
    • ช่วยลดเวลาในการเตรียมการประชุม และลดเอกสาร
    • ใช้ในการประชุม สรุปการนำเสนอ
    • ช่วยในการตั้งเป้าหมาย (เป้าหมายที่เหลือเชื่อ ให้ทำได้ผล) และประเมินผลได้
    • ใช้ประกอบการทำแผน (แผนกลยุทธ์ แผน PA แผนปฏิบัติการ แผนงบประมาณ)
    • ช่วยเพิ่มความสะดวกและลดเวลาในการอบรม (ทั้ง ผู้ปฏิบัติงานใหม่ เมื่อมีการเปลี่ยนงาน หรือฝากงาน)
    • ใช้ประกอบการทำ AAR (After Action Review), One-Page Learning
    • ใช้เป็นเทคนิคในการขาย ขายความคิด (Idea) และความหวัง
    • ใช้ในการเจรจาต่อรอง งานตลาด หาคู่
    • ใช้วางแผนอาชีพที่ทำได้จริง หลังการเกษียณ
    • ทำเรื่องน่าเบื่อ ให้น่าสนใจได้
    • บอกได้ว่า ใครคิดอะไร จะทำอะไร

    การหาโอกาสที่จะทำงานได้มากเปรียบเทียบกับคู่แข่ง

    • เพิ่ม speed rate ทำงานให้เร็วขึ้น
    • เพิ่มทักษะในกิจกรรมที่ทำเป็นหลัก
    • ดูงานหรือปัญหาที่เกิดขึ้นเหมือนๆกัน แต่ทำหรือแก้ไขปัญหาให้ได้ดีกว่า

    Networking Principles and Techniques

    • อย่าโฆษณาตัวเอง ให้คนอื่นชื่นชมหรือพูดถึงเราอย่างเป็นธรรมชาติและสนุกสนาน (Word of Mouth, Referrals)
    • ใช้ประโยชน์จาก connection ในการ สร้างกำไร สร้างภาพ และแชร์ความคิด (Profit Bulding, Profile Building and Idea Sharing)
    • เรียนรู้ความเก่งจากประเภทหรืออุตสาหกรรมอื่นๆ

    การเขียน Mind Map เริ่มจากการคิด

    การคิด มี 2 แบบ

    1) คิดกว้าง คิดจาก 1 ประเด็นแล้วแตกประเด็นไปเรื่อยๆ

    2) คิดลึก มี 2 แบบ 2.1 Free Flow 2.2 Structure

    มนุษย์จะมีความคิดสร้างสรรค์ได้ดี ใน 2 สถานะ คือ 1) อยู่ในสภาวะอิสระ มีความสุข มีเสรีภาพในการคิด และ 2) เมื่อใกล้ตาย หรือมีข้อจำกัด

    การคิดแบบ free flow เช่น การคิดนอกกรอบ (เป็น creative การทำงานภายใต้ข้อจำกัด) และการคิดสร้างสรรค์ หา break through idea

    การคิดแบบ structure เช่น การคิดแก้ไขปัญหา หาที่มาและเหตุผล การออกกฏ ระเบียบ ให้เป็นบรรทัดฐาน

    การเขียน Mind Map ให้มองภาพรวมก่อนคิดลึกแตกแขนงออกไป

    • วางกระดาษแนวนอน
    • เริ่มจากแก่นแกนกลางหน้ากระดาษ เขียนหัวเรื่อง
    • จากหัวเรื่อง คิดประเด็นหลัก เขียนกิ่งแก้วต่อออกมาจากแก่นแกน
    • เขียนกิ่งก้อย ซึ่งเป็นประเด็นรองต่อออกมาจากกิ่งแก้ว
    • กิ่งแก้ว กิ่งก้อย เขียนเป็นเส้นโค้ง รองรับคำ Keyword เป็นคำสั้นๆ หรือรูปภาพ ที่สื่อเข้าใจง่าย
    • ถ้าใช้ภาษาอังกฤษ ควรใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ (CAPITAL LETTER)
    • ข้อมูลเพิ่มเติม
    • www.facebook.com/mastermindthai
    • www.mastermind.co.th
    • [email protected]
    จรูญ อุทัยวนิชวัฒนา

    ประเด็นการเรียนรู้ในการอบรมในวันที่ 18 มีนาคม 2557

    “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

    เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยยึดหลักความพอดี ประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และไม่เบียดเบียนผู้อื่น ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางหลักคำสอนในพุทธศาสนา

    ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง เกิดจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดในปี พ.ศ.2540

    เศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักปรัชญาในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติตนในแนวทางสายกลาง สำหรับประชาชนชาวไทย ท้องถิ่น ชุมชน การบริหารและการพัฒนาประเทศของรัฐบาล หลักการของเศรษบกิจพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณลักษณะ 3 ประการ คือ

    -ความพอประมาณคือ ความพอดี ไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

    -ความมีเหตุผลคือ ตัดสินใจว่าความพอเพียงจะอยู่ที่ระดับใด จะต้องพิจารณาอย่างมีเหตุผลและรอบคอบ

    -การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีหมายถึง เตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่จะ

    เกิดขึ้นในอนาคต

    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เพราะจะทำให้เกิดผลดีต่อประชาชน ชุมชน และสังคมประเทศชาติ ดังนี้

    -ความสำคัญต่อครอบครัวสมาชิกในครอบครัวดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข เพราะปฏิบัติตามหลักพออยู่ พอกิน พอใช้ ส่งผลให้ไม่ยากจน ไม่มีหนี้สิน มีเงินออม และพึ่งตนเองได้

    -ความสำคัญต่อชุมชนทำให้เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง มีการรวมกลุ่มสร้างแรงงานและอาชีพ และนำทรัพยากรของชุมชนมาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ สมาชิกในชุมชนร่วมมือกันแก้ไขปัญหา

    -ระดับสังคมประเทศชาติสังคมเข้มแข็ง ผู้คนมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง สมาชิกในสังคมร่วมกันสืบทอดภูมิปัญญาและพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

    ลัทธิบริโภคนิยม หมายถึงการนิยมบริโภคฟุ่มเฟือยเกินความต้องการที่จำเป็นในชีวิตและเกินกว่าฐ านะรายได้หรือความสามารถในการผลิตของคนหรือของประเทศ

    เรามักจะมองว่าปัญหาลัทธิบริโภคนิยมเกิดจากการเลียนแบบวัฒนธรรมทุนนิยมตะวันตก ซึ่งมีส่วนจริง แต่คนในประเทศทุนนิยมตะวันตกเองรวมทั้งญี่ปุ่นก็อาจจะไม่ได้ติดในลัทธิบริโภคนิยมมากเหมือนคนไทยก็ได้ การไปจับจ่ายใช้สอย ซื้อสินค้าที่จำเป็นในชีวิตเป็นเรื่องการบริโภคตามปรกติที่คนทุกประเทศทำกัน แต่การจับจ่ายใช้สอยมากเกินไป บ่อยเกินไป แพงเกินกว่าฐานะรายได้และความจำเป็นที่คนไทยนิยมทำกัน ถือว่าอยู่ในขั้นเสพติดลัทธิบริโภคนิยม

    การพัฒนาที่ยั่งยืน หมายถึง “การตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่มีผลกระทบในทางลบต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต”

    เนื่องจากทุกครั้งที่มีการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน ต้องมีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลกระทบในทางลบต่ออนาคต การพัฒนาที่ยั่งยืนจึงเป็นแนวคิดในการแก้ปัญหานี้ โดยการพยายามอนุรักษ์ธรรมชาติไว้ในลักษณะที่เป็นส่วนรวมหรือมหภาค คือ หากมีความจำเป็นที่จะดำเนินการให้กระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมในที่ใดที่หนึ่ง ก็จะต้องเสริมสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมในที่อื่นๆ เป็นการชดเชยเพื่อให้ในแง่มหภาคของคุณภาพสิ่งแวดล้อมคงอยู่ได้ดังเดิม

    “ผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง”

    Mindset คือ “ความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรม” เป็นความเชื่อในตัวตนที่ฝังลึกมาโดยการหล่อหลอมด้วยปัจจัยต่างๆหลายประการ ความเชื่อนี้แตกต่างกับคำว่า “ความเชื่อ(believe)” ซึ่งแปลว่าความเชื่อในสิ่งต่างๆเช่น การเชื่อว่าข่าวสารที่ได้รับมาเป็นจริงหรือเท็จ การเชื่อว่าใครพูดจริงหรือเท็จ ดังนั้น Mindset จึงมีความหมายลึกกว่า เป็นความเชื่อที่ฝังอยู่ในวิญญาณของมนุษย์และไม่ได้แสดงออกชัดเจนเหมือนความเชื่อภายนอก แต่มีอยู่จริงอยู่ลึกๆภายในตัวมนุษย์ทุกคน เป็นศูนย์กลางการประมวลความคิดทั้งหมดที่ไหลเข้ามาจากปัจจัยภายนอก และส่งผลไปตามกลไกภายใน เหมือนกับโรงงานที่รับวัตถุดิบเข้าไปและให้ผลผลิดต่างกัน ขึ้นอยู่กับเครื่องจักรที่อยู่ในโรงงาน เพียงแต่ Mindset เป็นโรงงานที่มีความซับซ้อนสูงมากเท่านั้น

    Paradigm หรือ กระบวนทัศน์ มาจากภาษากรีก หมายถึงความเชื่อพื้นฐานที่ฝังอยู่ในจิตใจของมนุษย์ ซึ่งมีความแตกต่างกันตามเพศ วัย สิ่งแวดล้อม การอบรมปลูกฝังทางวัฒนธรรม และตามการตัดสินใจเลือกของแต่ละบุคคล ความเชื่อพื้นฐานนี้แหละเป็นตัวกำหนดให้แต่ละคนชอบอะไร และไม่ชอบอะไร พอใจแค่ไหนและอย่างไร เป็นตัวนำร่องการตัดสินใจด้วยความเข้าใจ และเหตุผลในตัวบุคคลคนเดียวกัน อาจจะเปลี่ยนแปลงได้หากรู้สึกว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะเปลี่ยน แต่จะไม่เปลี่ยนด้วยอารมณ์ ก่อนเปลี่ยนจะต้องมีความเข้าใจกระบวนทัศน์เก่าที่มีอยู่ และกระบวนทัศน์ที่จะรับเข้ามาแทน มีการชั่งใจจนเป็นที่พอใจ มีฉะนั้นจะไม่ยอมเปลี่ยน

    กระบวนทัศน์เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์

    พฤติกรรม 3 ระดับ

    ยึดมั่นไม่เปลี่ยน เพราะความรู้ เหตุผล แรงจูงใจ แรงบีบคั้น ปัจจัยพื้นฐาน ไม่เพียงพอ

    เปลี่ยนชั่วคราว เพราะความรู้ เหตุผล แรงจูงใจ แรงบีบคั้น ปัจจัยพื้นฐาน ไม่มีน้ำหนัก

    เปลี่ยนถาวร เพราะความรู้ เหตุผล แรงจูงใจ แรงบีบคั้น ปัจจัยพื้นฐาน ตกผลึก

    Paradigm Shift (การเปลี่ยนกระบวนทัศน์) องค์ประกอบที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ได้แก่ ความรู้ เหตุผล แรงจูงใจ แรงบีบคั้น และ ปัจจัยพื้นฐาน

    “จงเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อนจะถูกบังคับให้ต้องเปลี่ยนแปลง” (“Change before you have to.”)

    เป็นคำพูดที่ได้รับการยกย่องในวงการธุรกิจทั่วโลกของแจ๊ค เวลซ์ (Jack Welch )หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการคือ จอห์น เอฟ.เวลซ์ อดีตสุดยอดซีอีโอของ เจเนอรัล อิเลคทริค บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก

    เล่าจื่อ อริยบุคคลของจีน และปรมาจารย์ของเต๋าได้กล่าวไว้ประมาณ 3 พันปีที่แล้วว่า การเปลี่ยนแปลงคือปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ และคุณสมบัติที่อยู่คู่กับการเปลี่ยนแปลงก็คือ การอนุรักษ์หรือการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง

    นั่นคือกฎแห่งหยินและหยาง หรือเป็นคุณสมบัติคู่กันของสรรพสิ่งทั้งหลายในธรรมชาติ เช่นเดียวกับ ชายคู่กับหญิง สว่างคู่กับมืด แข็งคู่กับอ่อน ดีคู่กับเลว ฯลฯ

    ผู้บริหารจะต้องเข้าใจกฎธรรมชาติเรื่องนี้ เมื่อผู้บริหารต้องการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างในองค์กร แม้แต่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม ก็ต้องเข้าใจว่า จะต้องมีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจะเป็นในรูปแบบที่เปิดเผย หรือซ่อนเร้นก็ได้ หรือเป็นทั้งสองรูปแบบพร้อม ๆ กันก็ได้เช่นกัน

    " ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในองค์กรและประเทศชาติ มิใช่เครื่องจักรกล หรือ infrastructure หรือเงิน แต่คือคน เพราะการมีคนที่ทั้งดีและเก่ง จะทำให้ทรัพยากรอื่นๆ เกิดการพัฒนา เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดขึ้นมาได้ หน้าที่ของผู้นำก็คือ ต้องสามารถที่จะขับพลังและอัจฉริยะภาพของเขาเหล่านั้นให้ออกมาใช้อย่างมี คุณค่า และมีความหมาย ”

    การบ้านพิเศษ

    อ่านบทความ Well-paid young Seattle techie จาก Seattle Time ซึ่งได้แจกไปแล้วและเนื้อหาเหมือนกับที่อยู่ในลิ้งค์นี้

    http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/010/485/original_seattletime12march2014p1.JPG?1396929369

    http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/010/486/original_seattletime12march2014p2.JPG?1396929420

    http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/010/487/original_seattletime12march2014p3.JPG?1396929465

    1.อ่านแล้วสรุปว่าได้อะไร

    2.เปรียบเทียบกับทุนนิยมสามานย์

    เทพรัตน์ เทพพิทักษ์

    18 มีนาคม 2557

    หัวข้อ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

    ได้เข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีความหมายลึกซึ้งมากขึ้น อาทิ มนุษย์เราไม่ค่อยสนใจหรือเห็นคุณค่า สิ่งที่อยู่รอบตัว มีการทำร้ายธรรมชาติกันมากเกินความจำเป็น ซึ่งวันหนึ่งก็จะถูกธรรมชาติลงโทษ จากการศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ตาม Cosmic Calendar พบว่าโลกเคยแตกมาแล้ว 5 ครั้ง นั่นหมายความว่า มีโอกาสที่จะมีครั้งที่ 6 ปัญหาของโลกเกิดจากการบริโภคเกินพอดี มากกว่า 70% ของที่เรามีอยู่มากเกินความจำเป็น

    เมืองไทยมีครบทุกอย่างแต่น่าเสียดายที่ขาดการบริหารจัดการที่ดี การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีความสมดุลย์ ทั้งทางเศรษกิจ สังคม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม นั่นหมายถึงการลงทุนใช้จ่ายต่างๆ ต้องให้คุ้มค่าเป็นเหตุเป็นผล (Cost Effectiveness) ไม่ได้หมายถึงผลตอบแทนที่เป็นตัวเงิน แต่อาจเป็นความสุขซึ่งสำคัญกว่ากำไร

    กรณีของ กฟผ.ที่ต้องจัดหาพลังงานไฟฟ้า มาใช้ (Supply) ให้เพียงพอนั้น ได้แนะนำว่าควรเพิ่มความสำคัญในการรณรงค์จูงใจให้คนมีการปรับการใช้ (Demand) ให้พอเพียง

    ผู้นำที่ดี สำคัญที่สุดต้องมีธรรมาภิบาล ต้องกล้าที่จะนำในสิ่งที่ถูกต้อง และ ต้องเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

    …………………………………

    หัวข้อ ผู้นำ “วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง”

    วัฒนธรรมหมายถึงสิ่งที่ดีงามและถือปฏิบัติสืบต่อมาไม่ใช่กฏระเบียบ ซึ่งอาจเหมาะสมตามยุคสมัยและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม บุคลากรในองค์กร นับมีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์หรือทำลาย ซึ่งนอกจากจะมีผลต่อการบริหารจัดการภายในองค์กรแล้วยังมีผลต่อชุมชน สังคม และ ประเทศชาติ

    เพื่อให้องค์กรสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน มีคำพูดที่เราได้ยินบ่อยที่ว่า “ต้องเปลี่ยนก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน” การบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนการบริหารจัดการโดย

    • จำเป็นต้องสื่อสารสร้างความเข้าใจให้ไปสู่ผู้ปฏิบติงานทุกระดับ อาจไม่ใช่เรื่องง่ายเนื่องจากโดยธรรมชาติไม่มีใครชอบการเปลี่ยนแปลง
    • ต้องมีแนวทางในการบริหารแรงเสียดทาน/การต่อต้าน อย่าให้เกิดปัญหาโดยไม่ได้บริหารจัดการ
    • ต้องมีการวิเคราะห์ จุดอ่อนจุดแงเพื่อให้ชัดเจนว่าควรพัฒนาหรือปรับปรุงเรื่องใดบ้าง
    • ต้องสนับสนุน ส่งเสริมคนดีเก่งให้ได้มีบทบาทมากขึ้น (Change Agent)
    • ต้องเป็นเอกภาพสนับสนุนซึ่งกันและกัน ( ไม่แยก Silo )
    • การบริหารจัดการลูกน้องต้องใช้หลัก KFCI (Know, Focus, Care, Inspire ….me)

    …………………………………

    กิจกรรมกลุ่ม: นำเสนอผลการเก็บข้อมูลงานวิจัยและแนะนำแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล

    กลุ่ม 3 ทำวิจัยในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์สร้างการยอมรับต่อความสำเร็จในโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่”

    ปัญหาการต่อต้านจากชุมชนส่งผลจะให้ไม่สามารถสร้าง รฟ.กระบี่ได้ ซึ่งปัญหาบางส่วนมาจากลักษณะเฉพาะพื้นที่ เช่น ความกังวลว่าจะกระทบแหล่งท่องเที่ยวส่งผลให้ชาวบ้านยังคงีความกังวล การศึกษาในหัวข้อนี้จึงเป็นความจำเป็นที่ต้องทราบว่าควรมียุทธศาสตร์อย่างไร เพื่อสร้างการยอมรับให้ได้

    แนวทางดำเนินการได้รับทราบข้อแนะนำจากท่านอาจารย์ เพื่อไปค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม ตามหัวข้อต่างๆได้แก่ สมมุติฐาน ขอบเขต วัตถุประสงค์ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เหตุจูงใจ วิธีวิจัยที่จะใช้ และ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับโดยในกลุ่มได้แบ่งข้อมูลกันไปช่วยกันดู แตเนื่องจากอยู่กันคนละที่ทำให้เป็นปัญหาบ้าง สื่อสารกันทาง Line

    …………………………………

    19 มีนาคม 2557

    หัวข้อ กรณีศึกษาของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กับการก้าวสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

    บริษัทบ้านปูเริ่มจากธุรกิจเล้กๆนเหมืองเล็กๆ ที่บ้านปู ลำพูน เมื่อ ปี1983 เข้าตลาดหลักทรัพย์ ปี 1989 ได้พัฒนาการต่อเนื่องมากว่า 30 ปี จากองค์ความรู้ ประสบการณ์ ทักษะและเทคโนโลยี่ ที่เป็นมาตรฐานในระดับสากล และไม่เป็นรองใครในภูมิภาค ทำให้ได้มีโอกาสขยายกิจการไปสู่ต่างประเทศ อันได้แก่อินโดนีเซีย (ได้เข้าตลาดหลักทรัพย์ในจาร์กาต้า) จีน ออสเตรเลีย ลาว มองโกเลีย และสิงคโปร์ มีการเติบโตต่อเนื่อง รวมถึงได้ขยายกิจการเป็นการลงทุนทำโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิง หลากหลาย แต่ปัจจุบัน ได้มา Focus ที่โรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นหลัก ซึ่ง อย่างไรก็ดีก็ยังคงมีปัญหาอุปสรรค์ต่อเนื่องและต้องมียุทธศาสตร์อาทิ

    • มีคู่แข่งรายใหม่ๆที่ต้นทุนต่ำเข้ามาเรื่อยๆ
    • การต้องส่งผู้ปฏิบัติงานไปในบางพื้นที่ หาคนไปได้ยาก
    • CSR การดูแลชุมชนให้เข้มแข็ง
    • กฏหมาย หรือ Local Rule ที่จำเป็นต้องปฏิบัติ เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม การให้เจ้าของประเทศร่วมลงทุน ร่วมบริหาร และ ร่วมทำงานมากขึ้น
    • ปัญหาคุณภาพถ่านบางเหมือง ที่อาจจะไม่ตรงตามที่ตลาดต้องการ
    • ปัญหาเศษฐกิจ ช่วงต้มยำกุ้งทำให้ต้องทบทวนกิจการ โดยเลือกเอาธุรกิจที่ถนัดที่สุดไว้
    • การบริหารความเสี่ยงในทุกๆมิติ

    …………………………………

    หัวข้อ TQM/SEPA: ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

    ปตท.ทำ Pilot Project ได้ TQA จากนั้น ก็มุ่งมั่นที่จะทำให้ได้ TQA ในธุรกิจอื่นๆ ตามหลักการที่ว่า Big (ยิ่งใหญ่ระดับโลก) Strong (Top Quality Performance) Long (เติบโตอย่างยั่งยืน Sustainable Growth) โดยการให้ความสำคัญบุคลากรและการพัฒนาองค์ความรู้

    ผู้บริหารนับมีบทบาทสำคัญในการผลักดันองค์กร โดยต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ต้องชี้นำ สื่อสาร กระตุ้นและให้กำลังใจ พนักงานให้เห็นประโยชน์และช่วยกันนำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จและมีความสุข ได้ TQA ตามแนวทาง TQM หรือ SEPA

    EGAT Way เป็นแนวทางของ EGAT ที่มีลักษณะเฉพาะ มีแนวทางเป็นของตนเอง มีเป้าหมายให้องค์กร ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการ ให้เป็น HPO และสอดคล้องกับเกณฑ์ SEPA โดยให้ความสำคัญกับคนและระบบงาน

    …………………………………

    หัวข้อ การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามของการเมือง

    ปัจจุบันการเมือง นับว่ามีบทบาทสำคัญในการดำเนินภารกิจขององค์กร กฟผ. จากสถานการณ์ปัจจุบันที่ประชาชนจำนวนมากออกมาต่อต้านรัฐบาลที่พวกเขาสงสัยว่ามีปัญหาเรื่องการบริหารและการทุจริต ซึ่งถือเป็นการเสื่อมโทรมทางคุณธรรม ปัญหาการเมืองในบ้านเรา ปัจุบันมีดังนี้

    • การเมืองเป็นระบบอุปถัมภ์ช่วยหลือเกื้อกูลกัน ที่เข้าใจว่าบุญคุณต้องทดแทน แต่ที่แท้จริงแล้วบุญคุณเป็นเรื่องส่วนตัว จึงไม่ควรเอาผลประโยชน์ของแผ่นดินไปตอบแทนใครๆในเรื่องส่วนตัว
    • การเมื่องเป็นเรื่องของผลประโยชน์ แอบแฝง ต่อธุรกิจที่เกี่ยข้อง
    • การศึกษาที่ขาดคุณภาพส่งผลให้คุณภาพของคนตกต่ำ ทั้งเรื่องวิชาการและคุณธรรม
    • มีการทุจริต กันในวงกว้างทุกระดับ จนหลายคนมองเป็นเรื่องปกติ ซึ่งน่าเป็นห่วง
    • ผู้นำรัฐบาลขาดวามรู้ วิสัยทัศน์และความจริงใจในการพัฒนาเพื่อผลประโยชน์ประเทศอย่างแท้จริง
    • โครงการประชานิยม ที่ถูกจัดให้เพื่อให้ได้อำนาจในการปกครอง หลายโครงการกำลังทำลายความเป็นชาติ
    • การบริโภคที่มากเกินไป ขาดหลักปรัชญาเศษฐกิจพอเพียง คิดเพียงแต่เพื่อผลประโยชน์ของตนและพวกพร้อง
    • การไม่เข้าใจประธิปไตยอย่างแท้จริง การไม่ยอมรับฟังเสียงส่วนน้อย และใช้หลักพวกมากลากไป

    ดังนั้น ผู้นำองค์กร กฟผ. จึงจำเป็นต้องมีความเข้มแข็งและยึดมั่นในคุณธรรมอย่างมั่นคงเนื่องจาก กฟผ.จำเป็นต้องอยู่กับสังคมไทยอย่างยั่งยืนและมั่นคงไปตลอด ไม่หมือนกับนักการเมืองที่จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเริ่มต้นจากตนเองและขยายผลออกสู่ ครอบครัว องค์กร ชุมชนรอบข้างและชุมชนทั่วประเทศ โดยต้องมียุทธศาสตรที่สามารถสร้างแนวร่วม การยอมรับและร่วมมือในภารกิจต่างๆ

    …………………………………

    20 มีนาคม 2557

    ศึกษาดูงาน “นวัตกรรมของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)”

    บริษัท ซี พี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้ชื่อร้าน 7-11 ที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศทุกตรอกซอกซอย กำเนิดจาก สหรัฐอเมริกาที่ให้บริการ 7am-11pm ได้มาเปิดสาขาแรกในไทยเมื่อปี พ.ศ. 2532 โดยเปิดให้บริการ 24 ชม.ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 7600 สาขา และยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ไทยมีสาขามากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากญี่ปุ่นและไต้หวัน ยอดขายเฉลี่ยประมาณ 65,000 บาทต่อวันต่อสาขา การบริหารองค์กรขนาดนี้ให้ประสบความสำเร็จจึงต้องมีระบบบริหารจัดการที่ดี โดยเฉพาะพนักงานที่อยู่ทั่วประเทศ ปรัชญาขององค์กรที่ปราถนารอยยิ้มของลูกค้าด้วยทีมงานที่มีความสุขและวิสัยทัศน์ที่จะให้บริการความสะดวกกับทุกชุมชน การจัดการความรู้กับระบบคุณภาพจึงเป็นเครื่องมือสำคัญ ผสมผสานภายใต้กิจกรรมกลุ่มคุณภาพโดยเปิดโอกาสให้พนักงานแสดงความคิดริเริ่มคิดค้นสิ่งประดิษฐ์และนวตกรรมเพื่อปรับปรุงและพัฒนางาน ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    …………………………………

    หัวข้อ “White Ocean Strategy” กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ.

    ได้ทราบแนวคิดรูปแบบการปกครองแบบทุนนิยมที่เน้นการบริโภค เน้นวัตถุนิยม ประชานิยม สุดท้ายก็จะไปไม่รอด ซึ่งไทยกำลังเจอปัญหานั้น รวมถึงเรื่อง คอรัปชั่น ที่ระบาดไปทุกวงการ

    White Ocean Strategy เป็นแนวคิดในการทำดำเนินกิจการขององค์กรที่จะส่งผลให้ประสบความสำเร็จได้อย่างยิ่งใหญ่และยั่งยืน ซึ่งประเทศไทยควรต้องเปลี่ยนในทกวงการ ควรต้องปลูกฝัง เรื่องคุณธรรม จริธรรม ให้เป็นพื้นฐานในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ สร้างและรณรงค์ให้แต่ละองค์กรเป็นองค์กรสีขาว ดูแลรับผิดชอบต่อสังคม โดยต้องจัดการให้สมดุลย์ระหว่างการดูแลคนในองค์กรและคนในสังคมสังคม จัดสรรผลประโยชน์ต่อองค์กรและสังคม การใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุมค่า การยึดมั่นต่อคุณธรรมและจริยธรรมเป็นที่ตั้ง ดังคำคม “...อยู่เพื่อตัวเองอยู่แค่สิ้นลม อยู่เพื่อสังคมอยู่คู่ฟ้าดิน…”

    …………………………………

    กิจกรรม ธรรมะสำหรับผู้บริหาร: จิตอิสระกับจิตประภัสสร

    ได้มีโอกาสรับฟังแนวทางปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อโดยการใช้อุบายให้ดื่มน้ำเย็นแล้วให้จำความรู้สึกเย็นที่สัมผัสได้ที่ท้อง เป็นการสร้างสมาธิโดยการกำหนดให้จิตคอยจับความู้สึกนี้ไว้ ทั้งนี้หลวงพ่อได้แนะนำไว้ว่าหากจิตมีสมาธิแล้วก็จะเกิดปัญญาสามารถคิดการณ์สิ่งใดก็จะประความลำเร็จ ซึ่งจำเป้นต้องฝึกฝนต่อเนื่อง

    …………………………………

    21 มีนาคม 2557

    หัวข้อ เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับ ผลกระทบและการปรับตัวของกฟผ.

    ผลกระทบต่อเศษฐกิจโลก ของประเทศสำคัญๆ เช่นกลุ่มประเทศที่มีการรวมตัวกันเพื่อความแข็งแกร่งมั่นคง ในยุโรป อเมริกา จีน จะส่งผลกระทบต่อเศษฐกิจไทย ปัจจัยต่างๆไม่ว่าจะเป็น %การเติบโตทางเศษฐกิจของประเทศใหญ่ๆ อัตราดอกเบี้ย การเกิดโครงการใหม่ๆ ตลาดหุ้น ราคาพลังงาน การเมือง และอัตราแลกเปลี่ยน จะส่งผลต่อประเทศไทย ที่เราจำเป็นต้องศึกษาและUpdate สถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อวางแผนปรับตัวรองรับ ได้ทันเวลาและให้ได้ประโยชน์ นอกจากปัจจัยจากภายนอกประเทศแล้วปัจจัยภายในประเทศก็นับเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศักยภาพ ภูมิประเทศ ความพร้อม การเมือง การแข่งขัน นโยบายภาครัฐและเอกชน วิสัยทัศน์ของผู้บริหารและการทุจริตคอรัปชั่น
    กฟผ.นับเป็นองค์กรใหญ่ที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ การเข้าใจ และ ประเมินผลกระทบทั้งทางจากปัจจัยภายในภายนอกประเทศ เพื่อการวางแผนและปรับตัวรองรับจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องพิจารณาอย่างจริงจัง

    …………………………………

    หัวข้อ Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร และ การวางแผนงานวิจัยและโครงการเชิงนวัตกรรม

    เป็นการนำหลักธรรมชาติของมนุษย์ มาช่วยในการพัฒนาสมองให้มีการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาในเรื่องของความเข้าใจในเนื้อหา จินตนาการความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยง อันจะช่วยให้เราสมารถจดจำเนื้อต่างๆปริมาณมากๆ ได้ง่ายขึ้น ได้เข้าใจพื้นฐานการทำงานของสมองซึ่งจะมีการจดจำข้อมูลที่เป็นระบบ โดยมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ต่างๆเช่นกัน ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายเช่น การสอนงาน การมองปัญหาหรือข้อมูลต่างๆในภาพรวมได้ง่าย ช่วยให้เห็นการเชื่อมโยงได้อย่างง่าย

    …………………………………..

    จรูญ อุทัยวนิชวัฒนา

    ประเด็นการเรียนรู้ในการอบรมในวันที่ 19 มีนาคม 2557

    “กรณีศึกษาของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กับการก้าวสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค”

    วลีที่ว่า “2 ปีที่ผ่านมา บ้านปูแย่ ความต้องการถ่านหินตกลงมา เป็นบทเรียนว่า ธุรกิจที่ดีๆมักมีผู้เข้ามาแข่ง New Entrants เข้ามา”

    เป็นตัวอย่างของโมเดล Five Force ของ Michael Porter เป็น Model ที่นิยมกันมากในการวิเคราะห์ตลาดเพื่อให้รู้ถึงสภาพแวดล้อมของธุรกิจของเรากับสิ่งรอบข้างที่มีผลต่อการทำธุรกิจของเรา โดยเป็นการวิเคราะห์ในเชิงบวกที่ไม่ใช่เพียงการเอาชัยเหนือคู่แข่งแต่ยังพูดถึงการร่วมมือกันเป็นพันธมิตร อย่างไรก็ตาม มักมีความเข้าใจกันว่า การวิเคราะห์ธุรกิจโดยนำหลัก Five Force มาใช้นั้นควรใช้สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการแข่งขันสูงส่วนธุรกิจขนาดเล็กนั้นไม่มีความจำเป็นต้องทำเป็นเรื่องเป็นราวขนาดนั้น หากแต่ในความเป็นจริงแล้ว ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมก็สามารถใช้ Model ธุรกิจแบบ Five Force มาใช้ได้เพื่อเสริมให้ธุรกิจของเรานั้นมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

    synergy คือ การผนึกพลัง หรือ สนธิพลัง ก่อให้เกิดผลมากกว่าบวก (สมการของพลังผนึกก็คือ 1+1 > 2)

    synergy มาจากคำศัพท์ syn แปลว่า ร่วม รวม และ energy แปลว่า พลัง

    เช่น ถ้าเป็นธุรกิจ ความหมายก็คือการที่ธุรกิจสองธุรกิจรวมกันหรือในเครือมีหลายธุรกิจนั้น จักต้องก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าการที่แต่ละบริษัทหรือแต่ละธุรกิจแยกกันอยู่เดี่ยวๆ

    หรือ ถ้าเป็นหลักการการทำงาน ในตำราวิชาการจัดการหลายเล่มพูดถึงคำว่า Synergy บ่อย เพราะเป็นแนวคิดใหม่ของการจัดการ สมัยก่อนนี้ในหน่วยงาน คนที่เป็นหัวหน้าหน่วยก็มักจะได้รับการซูฮกว่ายอดเยี่ยม เก่ง ฉลาด เก่งกล้าสารพัด หัวหน้าคนเดียวก็สามารถพาหน่วยงานเจริญก้าวหน้าไปได้ แต่ในโลกปัจจุบันที่ทุกสิ่งทุกอย่างยุ่งยากซับซ้อน ซ่อนเงื่อน แถมยังแข่งขันกันอย่างมากมาย แล้วไม่พอ ยังต้องเร็วปานสายฟ้าแลบอีก ไม่งั้นไม่ทันกิน ความคิดใหม่ ก็เป็นว่า ในหน่วยงานนั้นต้องทำงานเป็นทีม ในแต่ละทีมก็มีหัวหน้า และผู้ร่วมงานในทีม (อย่าเผลอเรียกว่า ลูกน้องเพราะผิดหลักการ) หัวหน้าที่ดีต้องมีคุณสมบัติของความเป็นเหยี่ยว คือตาแหลมคม พอที่จะมองเห็นความสามารถของแต่ละคน เท่านั้นยังไม่พอ ต้องแหลมพอที่จะดึงเอาคนเก่งแต่ละด้านมารวมกัน แล้วทำให้เกิดพลังอันยิ่งใหญ่ สามารถประกอบการงานสำคัญให้ลุล่วงไปได้

    “TQM/SEPA: ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.”

    ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization คือ องค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และอุตสาหกรรม ส่วนมาตรฐานที่องค์กรนี้ออกมา ก็ใช้ชื่อนำหน้าว่า ISO เช่น ISO 9000 และ ISO 14000 ซึ่งก็เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยระบบบริหารคุณภาพ และระบบบริหารสิ่งแวดล้อม

    ISO จะมีสมาชิกจากหลายๆ ประเทศทั่วโลก และสมาชิกก็แบ่งเป็นระดับๆ แตกต่างกันไปอีก ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ และมาตรฐานต่างๆ ที่ออกมาก็เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standard) นอกจากนี้มาตรฐาน ISO ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรชนิดใดขนาดใหญ่ หรือ เล็ก ผลิตสินค้าอะไร หรือ ให้บริการอะไร

    TQA (Thailand Quality Award) เป็นรางวัลคุณภาพแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นเลิศในการบริหารจัดการในทุกด้าน ตลอดจนผลประกอบการที่ดีขององค์กร มาตรฐานเป็นที่ยอมรับกันว่าเทียบเท่ากับองค์กรที่มีคุณภาพสูงสุดในโลก สำหรับประเทศไทย TQA เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2539 โดยมีการศึกษาแนวทางการจัดตั้งรางวัลนี้และเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของรางวัลนี้ โดยมีหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการประสานงานกับภาครัฐและเอกชนคือ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

    เพื่อสนับสนุนการนำแนวทางรางวัลคุณภาพไปใช้ในการบริหารจัดการองค์กร และปรับปรุงความสามารถในการแข่งขัน กระตุ้นให้เกิดการเรียนและแลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ รวมทั้งประกาศเกียรติคุณแก่องค์กรที่ประสบผลสำเร็จในการนำ TQA มาใช้ เพื่อแสดงให้นานาชาติเห็นถึงความมุ่งมั่นในการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการองค์กร

    Top Quartile Performance คือ การบริหารองค์กรให้มีผลตอบแทนการดำเนินงานอยู่ในระดับชั้นนำ

    Business Continuity Management (BCM) คือ แนวทางการบริหารจัดการให้สามารถดำเนินธุรกิจอย่าง

    ต่อเนื่องภายใต้ภาวะวิกฤติ การทำ BCM นั้นมิได้หมายถึง การที่สามารถทำทุกอย่าง หรือมีทุกอย่างได้เหมือนกับในสถานการณ์ปกติ แต่ต้องเพียงพอให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และเกิดความเสียหายน้อยที่ สุด โดยพยายามรักษาและกู้กลับงานที่มีความสำคัญในการให้บริการหรือ รักษาโครงสร้างสำคัญเอาไว้ให้ได้

    SEPA ประยุกต์มาจาก TQA ซึ่งเป็นระบบที่เป็นสากล ระบบคุณภาพของเอเชีย ยุโรป หรือ อเมริกา ก็ใช้กรอบเดียวกันนี้ ดังนั้นจึงถือว่าองค์กรที่ทำต้องการเปรียบเทียบตัวเองกับโลก อย่างไรก็ดีแต่ละประเทศก็อาจมีภาษาและมีจุดมุ่งเน้นที่แตกต่างกันบ้างแต่อยู่ภายใต้กรอบเดียวกันอย่างไม่ต้องสงสัย เหมือนเวลาเล่นฟุตบอลไม่ว่าสนามไหนของประเทศอะไรทั่วโลกใช้กฎเดียวกันทั้งสิ้น

    คำถามคลาสสิคก็คือ แล้วจะนำเอาระบบดังกล่าวมาใช้งาน หรือจะประยุกต์อย่างไรให้เข้ากันได้ดีกับองค์กร เรื่องนี้มันต้องค่อยๆเป็นค่อยๆไปทีละน้อย

    ขอเน้นว่าตรงจุดสตาร์ทนั้นผู้บริหารสูงสุดขององค์กรมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยต้องประกาศวิสัยทัศน์ พันธกิจ คุณค่าให้ทุกคนในองค์กรรับทราบอย่างชัดเจนทั่วถึง

    เพราะผู้นำก็เปรียบเหมือนคนขับรถถ้าไม่รู้ทิศทางขับพาเข้ารกเข้าพงก็จะเกิดปัญหาอย่างแน่นอน

    "เรื่องขีดความสามารถในการแข่งขัน ยากต่อความเข้าใจ ต้องใช้เวลาและอาจต้องจ้างที่ปรึกษามาช่วยทำให้คนกับองค์กรพร้อม นั่นคือต้องมีความรู้ในเรื่องนี้ เพราะถ้าคนในองค์กรรู้และเข้าใจเขาจะช่วยเต็มที่ ขณะที่ต้องระมัดระวังอย่าใช้หรือพึ่งที่ปรึกษาตลอดกาลเพราะงานทั้งหมดจะสำเร็จจากคนขององค์กรเอง"

    อย่างไรก็ตามองค์กรควรมองเรื่องของ SEPA เป็นเรื่องของการเดินทาง (Journey) คือเดินทางและเดินทางตลอดเวลา มุ่งเน้นความต่อเนื่องโดยไม่คิดเพียงแค่หวังคว้าชัยชนะ (Winning) ตรงเส้นชัยแล้วทุกอย่างก็จบ (Ending) (เห่)

    “การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามของการเมือง”

    ในปัจจุบันการเมืองไทยจะอยู่ในลักษณะลุ่มๆ ดอนๆ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจากสองสาเหตุหลัก คือ โครงสร้างประชาธิปไตยไม่เข้มแข็ง และสาเหตุรองคือ ยังมีลักษณะสําคัญทางการเมืองไทยสามประการที่ขาดหายไปจากระบบคือ หนึ่งวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย สอง การกระจายอํานาจสู่ท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ และสาม การเมืองภาคประชาชนที่เข้มแข็ง

    อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์

    “บุคคลผู้นี้ ไม่เคยแสวงหาอำนาจ ไม่เคยแสวงหาผลประโยชน์ใดๆ ไม่เคยเห็นแก่อามิสสินจ้าง มีเพียงความชื่อสัตย์สุจริตในหน้าที่การงาน มีเพียงความรักชาติอย่างพร้อมจะสละชีวิตเพื่อแผ่นดินแม่ มีเพียงความจริงใจ ให้แก่ประเทศอันเป็นที่รักยิ่ง มีเพียงความกล้าหาญทางจริยธรรม ไม่ยอมก้มหัวให้แก่อำนาจ อธรรมฝ่ายใด มีเพียงความปรารถนาดีและความรักเพื่อนมนุษย์ผู้ทุกข์ยาก ชายชราผมสีดอกเลาท่าทางใจดี จะเป็นตำนาน อยู่ในใจของผู้คนไปชั่วนิรันดร์”

    ในสังคมปัจจุบัน กฟผ.ต้องมี “มากกว่าความเป็นเพื่อน” กับทุกหมู่เหล่า ทุกสังคม ทุกชุมชน เพื่อเป็นกำแพงแก้ว ประตูเหล็ก ปกป้องให้ กฟผ. ดำรงอยู่อย่างมั่นคงและยั่งยืน

    จรูญ อุทัยวนิชวัฒนา

    ประเด็นการเรียนรู้ในการอบรมในวันที่ 20 มีนาคม 2557

    ศึกษาดูงาน “นวัตกรรมของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)”

    กว่าสองทศวรรษที่บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) บริหารกิจการเครือข่ายร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven กว่า 7,600สาขา เป็นร้านสะดวกซื้อที่มีสาขามากเป็นอันดับ 1 ในประเทศไทย ก็เพราะดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ขององค์กรที่ว่า “เราให้บริการความสะดวกกับทุกชุมชน”
    นอกจากนี้ยังดำเนินงานอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน ภายใต้ปรัชญาองค์กรที่ว่า “เราปรารถนารอยยิ้มจากลูกค้าด้วยทีมงานที่มีความสุข” จึงเป็นผลให้ทาง 7-Eleven สามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา จนได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคเป็นแบรนด์ชั้นนำในใจ ร้าน 7-Eleven ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำรงชีวิตของคนไทย และส่งผลให้การดำเนินงานเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันแม้ว่าการแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกจะทวีความรุนแรงมากขึ้น แต่ธุรกิจร้าน 7-Eleven ยังมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพสังคมเมืองที่ขยายตัวมากขึ้น ขนาดครัวเรือนที่เล็กลง เป็นผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตและความต้องการของผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญเรื่องความสะดวกสบาย ความรวดเร็ว สิ่งที่ต้องทำมากที่สุด คือ การปรับปรุงให้ทันการเปลี่ยนแปลงโดยเอาลูกค้าเป็นตัวตั้ง แต่ต้องรู้จักจังหวะเวลา เปลี่ยนเร็วไปมีต้นทุน เปลี่ยนช้าไปกลายเป็นผู้ตาม ตลาดเป็นของคนอื่น จุดสำคัญ คือ เราต้องแข่งกับตัวเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และแข่งให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค
    หัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจก็คือการเรียนรู้และรับฟังความต้องการของลูกค้า โดยนำมาประกอบการวางกลยุทธ์อย่างเป็นระบบ เพื่อหาโอกาสและปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นตลอดเวลา โดยหัวใจสำคัญคือ ต้องใช้ลูกค้าเป็นตัวตั้ง คิดว่าจะตอบสนองความต้องการและสร้างความแตกต่างในสายตาลูกค้ารายร้านและรายสาขาได้อย่างไร

    “White Ocean Strategy” กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ.

    ในสังคมธุรกิจสมัยใหม่ มักมีการบัญญัติศัพท์ใหม่ๆ ที่ทำให้สงสัยว่ามันคืออะไรกันแน่ เช่น Red Ocean, Blue Ocean และล่าสุด White Ocean ศัพท์ต่าง ๆ เหล่านี้อาจฟังดูแปลกๆ

    การแข่งขันทางธุรกิจที่เราพบเห็นอยู่ทั่ว ๆ ไปในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่ถูกจัดให้เป็น Red Ocean เนื่องจากบริษัทในอุตสาหกรรมแต่ละรายก็จะมุ่งเน้นในการเอาชนะคู่แข่งอื่น ๆ เพื่อที่จะแย่งชิงลูกค้ามาให้ได้มากที่สุด และทำให้ได้กำไรมากที่สุด และแนวทางที่สำคัญที่จะเอาชนะคู่แข่งให้ได้ก็คือ จะต้องดูว่าคู่แข่งของเราทำอะไรบ้าง สินค้าและบริการของคู่แข่งเป็นอย่างไร เมื่อคู่แข่งออกสินค้าหรือบริการอะไรใหม่ออกมา เราก็จะต้องทำตามและออกมาบ้างเพื่อไม่ให้น้อย

    หน้าคู่แข่ง และเมื่อวงจรนี้เกิดขึ้นเรื่อย ๆ สุดท้ายสินค้าและบริการในอุตสาหกรรมก็จะมีลักษณะที่เหมือนๆ หาความแตกต่างได้ลำบาก และนำไปสู่การแข่งขันทางด้านราคาเป็นหลัก ซึ่งก็จะไม่ทำให้ใครได้ประโยชน์หรือเกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน คู่แข่งทุกเจ้าในอุตสาหกรรมก็จะเกิดการบาดเจ็บเป็นแผล และเลือดไหลซิบๆซึ่งก็คือชื่อที่มาของ Red Ocean

    หากหันไปดูรอบ ๆ จะพบว่าอุตสาหกรรมหรือธุรกิจส่วนใหญ่ในประเทศไทยได้เข้าสู่ภาวะของ Red Ocean Strategy กันทั้งสิ้น โดยในระยะแรกความแตกต่างระหว่างสินค้าและบริการของผู้เล่นแต่ละรายยังพอเห็นได้ชัดเจน แต่พอนาน ๆเข้า ความแตกต่างระหว่างสินค้าและบริการของแต่ละรายก็จะเหมือนกันทุก ๆ ที่ และสุดท้ายก็จะไปแข่งกันในเรื่องของราคาหรือการส่งเสริมการขายในรูปแบบต่าง ๆ

    หลักการของ Blue Ocean จะไม่มุ่งเน้นที่จะตอบสนองต่ออุปสงค์ (Demand) ที่มีอยู่ แต่จะเน้นในการสร้างความต้องการหรืออุปสงค์ขึ้นมาใหม่ (Demand Creation) โดยไม่สนใจและให้ความสำคัญกับคู่แข่งเดิม ๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรม เป็นการสร้างความต้องการของลูกค้า และอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นมา ก่อให้เกิดประโยชน์หรือคุณค่าทั้งต่อตัวองค์กรเองและตัวลูกค้า โดยลูกค้าก็จะได้รับคุณค่าที่ก่อให้เกิดความแตกต่าง ในขณะที่องค์กรเองก็จะลดต้นทุนในส่วนที่ไม่จำเป็น และนำไปสู่การเติบโตขององค์กร

    ทำไมการแข่งขันในปัจจุบันถึงได้ออกมาเป็นทะเลแดง (Red Ocean Strategy) เพราะแนวคิดของกลยุทธ์ที่ใช้นั้นเป็นแนวคิดที่มุ่งเอาชนะคู่แข่งซึ่งก็จะนำไปสู่ Red Ocean หรือการแข่งขันที่เต็มไปด้วยเลือด ทั้งนี้เนื่องจากแนวคิดต่างๆ ทางด้านกลยุทธ์ล้วนแล้วแต่มีที่มาจากแนวคิดของทหาร ตำราทางด้านกลยุทธ์เล่มแรกของโลกคือตำราพิชัยสงครามของซุนวู ซึ่งในทางทหารแล้วยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ กำหนดไปเพื่อโจมตีหรือป้องกันการโจมตีจากฝ่ายตรงข้าม ดังนั้นเมื่อนำมาใช้ในทางธุรกิจแล้ว ก็จะหนีไม่พ้นการหาทางเอาชนะคู่แข่ง

    กลยุทธ์ Blue Ocean นั้นก็คือแนวคิดทางธุรกิจยุคใหม่ที่มุ่งเน้นในการสร้างตลาดเกิดใหม่มากกว่าการแข่งขันกันในตลาดเดิม ๆ นั่นเอง

    ทีนี้ White Ocean Strategy พยายามจะบอกว่า การทำธุรกิจในปัจจุบันบริษัทต้องไม่มุ่งหวังในการทำกำไรให้มากที่สุด แต่ต้องนำเอาหลักพุทธศาสนามาประกอบการทำธุรกิจด้วย ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มและกระแสของโลกในปัจจุบันที่ต่างมุ่งที่จะรักษาโลกใบนี้ให้คงอยู่ด้วยการพยายามรักษาสิ่งแวดล้อมและความสมดุลของธรรมชาติให้ได้ ไม่ใช่มุ่งทำกำไรโดยทำลายทรัพยากรหมด ต้องคำนึงถึง People Planet Profit กล่าวคือ องค์กรต้องไม่มุ่งเน้นการทำกำไรอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงโลกที่เราอาศัยอยู่ หรือโดยไม่คำนึงถึงคนทั้งในองค์กรและผู้คนที่อาศัยอยู่ในโลกใบนี้ และเมื่อองค์กรใดคำนึง 2 สิ่งนี้ กำไรก็จะตามมาฉะนั้นจะเห็นได้ว่า องค์กรต่าง ๆ ในปัจจุบันต่างพยายามทำ CSR หรือ Corporate Social Responsibility คือ องค์กรต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ไม่ใช่มุ่งเอาแต่กำไรอย่างเดียว

    การใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุมค่า การยึดมั่นต่อคุณธรรมและจริยธรรมเป็นที่ตั้ง จะเป็นการสร้างศรัทธาที่ยั่งยืนของ กฟผ.

    “กิจกรรม ธรรมะสำหรับผู้บริหาร: จิตอิสระกับจิตประภัสสร”

    อุบายการภาวนา ให้หาน้ำเย็นๆ 1 แก้ว ดื่มลงไป นั่งนิ่งๆ มีสติระลึกรู้ตามน้ำเย็นไปเรื่อยๆ ค่อยๆ สังเกตไปเรื่อยๆ น้ำเย็นจะค่อยๆ แผ่วๆ ตรงสุดท้ายที่ความเย็นหยุดนิ่ง ให้รู้สึกอยู่ตรงน้ำ น้ำเป็นตัวนำทางความรู้สึกเข้าไป เป็นฐานการระลึกรู้ของการภาวนา ถึงความเย็นของน้ำจะหายไป แต่ตำแหน่งความเย็นยังคงอยู่

    การภาวนา ตรงนี้เป็นการกำจัดความฟุ้งซ่าน ไม่ปรุงแต่ง จิตไม่แล่นออกจากกาย เหมือนเป็นการนำแก้วครอบจิตให้นิ่งอยู่กับที่ (จิตมีที่พัก มีที่ระลึกรู้) เมื่อจิตไม่ไปไหน มันก็แน่วนิ่ง

    จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค ก็เป็นลักษณะเช่นนี้

    วราวุฒิ ชวนะเวสน์

    สรุป การเรียนรู้ในการอบรมช่วงที่ 3

    วันอังคารที่ 18 มีนาคม 2557

    หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

    ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

    • -ปัญหาของโลกคือการบริโภคเกินความจำเป็น เนื่องจากประชากรของโลกเพิ่มมากขึ้น การบริโภคจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ในทางกลับกันความสามารถในการผลิตของโลกลดต่ำลงเรื่อยๆ เนื่องจากทรัพยากรโลกหมดไป ประเทศที่พัฒนาแล้วจะบริโภคมากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา
    • -การพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องมีองค์ประกอบต่อไปนี้ ต้องคำนึงถึงความสมดุล ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ต้องมีธรรมาภิบาล เพื่อความอยู่ดี กินดีของประชาชน ต้องไม่เน้น Cost benefit (พิจารณาเฉพาะกำไรขาดทุน) แต่ต้องใช้ Cost effectiveness (พิจารณาดำเนินการสิ่งที่จำเป็นโดยใช้เงินให้น้อยที่สุด)
    • -ประยุกต์กับ กฟผ.
    • การผลิตไฟฟ้าอย่าง “พอเพียง” ต้องบริหาร ความต้องการใช้ไฟฟ้าให้เหลือน้อยที่สุด

    วันพุธที่ 19 มีนาคม 2557

    “กรณีศึกษาของบริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน) กับการก้าวสู้ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค”

    คุณสมยศ รุจิรวัฒน์

    • -ธุรกิจของบ้านปู เน้นการทำเหมืองถ่านหินกับโรงไฟฟ้า เหมืองถ่านหิน เป็นธุรกิจที่ทำมาตั้งแต่ต้น ถือเป็น main ได้ขยายตัวไปยังต่างประเทศ (อินโดนีเซีย, จีน, ออสเตรเลีย, มองโกเลีย) ส่วนเทคนิคการทำเหมือง ก็ขยายจากเหมืองเปิดไปยังเหมืองใต้ดิน ส่วนธุรกิจโรงไฟฟ้าเป็นธุรกิจเสริม ที่เริ่มจากโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง มาสู่ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง แต่เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำก็ต้องขายโรงไฟฟ้าก๊าซออกไป เพราะไม่ใช่ Core business ต่อไปจะเน้นเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพื่อเป็นการเสริมธุรกิจ main เช่นเมื่อราคาถ่านหินตก โรงไฟฟ้าจะได้ประโยชน์ ต้นทุนเชื่อเพลิงถูกลง
    • -ประยุกต์กับ กฟผ.
    • การขยายงานไปต่างประเทศ ต้องสะสมประสบการณ์ในประเทศที่จะไปลงทุนต้องเข้าไปอยู่ก่อน เพื่อให้ทราบกฎหมาย, ระเบียบ, วัฒนธรรม แนวคิดต่างๆ ในธุรกิจพลังงานเป็นธุรกิจที่ต้องมั่นคง ดังนั้นทุกชาติจะพยายามควบคุมให้มั่นใจ จึงทำให้มีการเพิ่ม กฎ ระเบียบ มากขึ้นเรื่อยๆ
    • Tam/SEPA : ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.
    • การประเมินผลโดยใช้เป้าหมายตัวเอง จะได้แค่ทำได้ตามเป้าหรือไม่ (บางครั้งตั้งเป้าต่ำเพื่อให้ได้ตมเป้า) แต่ไม่ได้ เปรียบเทียบกับองค์กรอื่น ทำให้ไม่รู้ว่าเราอยู่ตรงไหนในอุตสาหกรรมพลังงาน ดังนั้น ต้องเข้าระบบประเมินที่เป็นกลาง เป็นมาตรฐานเดียวกัน
    • TQM คือ เครื่องมือที่ประยุกต์ได้ทุกองค์กร
    • กฟผ.มีเป้าหมายให้องค์กรเป็น High Performance Organization (HPO)
    • HPO คือองค์กรที่มีความสำเร็จ และมีความสุข (สุขทั้งพนักงาน และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย)
    • การที่บรรลุเป้าเป็น HPO ได้ กฟผ. จึงสร้างวิธีการที่เรียกว่า “EGAT WAY” ขึ้นมา
    • EGAT WAY ด้านบุคคลมุ่งเน้น สร้างศรัทธาต่อองค์กรให้คนมีศักยภาพ อ่อนน้อม (FIRM-C) ด้านระบบงาน ต้องมีธรรมาภิบาลมีบูรณาการ สร้างความพร้อมขององค์กรสู่สากล
    • ลูกค้าของ กฟผ. คือ ประชาชน
    • เรื่องการเมืองที่มีผลกระทบกับ กฟผ. นั้น กฟผ.ต้องมีประชาชนเป็นเพื่อน โดยต้องเผยแพร่ ความรู้ ความเข้าใจ ให้สังคมเข้าใจ ยอมรับ กฟผ. ควรใช้สหภาพแรงงานของ กฟผ. ให้เป็นประโยชน์
    • วันที่ 20 มีนาคม 2557
    • “นวัตกรรมบริษัท CP PLL”
    • นวัตกรรม คือ 1. สิ่งใหม่ (อาจปรับปรุงจากสิ่งเดิม) ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และความคิด
    • 2.สร้างสรรค์ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม
    • 7ELEVEn เน้นขายความสะดวก แต่สินค้าเป็นสิ่งชักนำลูกค้าเข้าร้าน
    • การกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม
    • - ตั้งคำถามเชิงนวัตกรรม กระตุ้นให้คิด
    • - ให้พนักงานที่เกี่ยวข้องทุกคนมีส่วนร่วมในการคิด
    • -ให้รางวัลกับผู้คิด นวัตกรรมสำเร็จ
    • - ต้องศึกษานวัตกรรมจากสังคม
    • สิ่งที่ กฟผ.น่าจะนำมาใช้ คือ การให้พนักงานมีส่วนร่วม
    • “White Ocean Strategy”
    • ต้องตั้งคำถาม 3 ข้อ
    • - ขณะนี้องค์กรอยู่ที่ไหน (Where are you)
    • - องค์กรจะไปที่ไหน (Where do you want to go)
    • - จะไปที่นั่นได้อย่างไร(How do we get there)
    • ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนั้น เราต้องติดตามประเมินอยู่ตลอดเวลา และเพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดอย่างฉลาดที่จะตั้งคำถามกับตัวเอง
    • วันที่ 21 มีนาคม 2557
    • Panel Discussion หัวข้อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ประชาชนอาเซียน AEC กับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.
    • รศ. ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์
    • มุมมองต่อเศรษฐกิจโลก
    • อเมริกา: ฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาด อาจขยายตัวถึง 3% ทำให้มีแรงผลักดันให้ขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้า
    • ยุโรป: ไตรมาส 4 ของปีที่แล้วดีกว่าที่คาด ขยายตัว 1%
    • ญี่ปุ่น: ถึงแม้จะฟื้นตัวแต่การขยายตัวปีนี้ จะน้อยกว่าปีที่แล้วเล็กน้อย
    • จีน: นำเป็นห่วงปัญหาเศรษฐกิจฟอกสบู่ แต่รัฐบาลทราบปัญหาและพยายามควบคุม รัฐบาลจีนมีเงินสำรองมากที่สุด
    • ไทย: การส่งออกจะประมาณ 5-6% การลงทุนภาครัฐจะติดลบ การลงทุนเอกชนจะเติบโตประมาณ 2% โดยภาพรวมจะขยายตัว 2.3-3.0% ปีหน้ามีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ย
    • ดร.กอบศักดิ์ ภูตรชะกูล
    • จีนมีเศรษฐกิจที่เปราะบางมากในช่วงนี้เนื่องจาก Over Supply อาจต้องแก้ปัญหา ไปอีก 4-5 ปี
    • การสร้างถนนเชื่อมต่อกันใน AEC ทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจ อย่างมหาศาล จะเห็นได้ว่าทางการจีนจะมาตั้งสำนักงานที่ขอนแก่น เพื่อรองรับนักธุรกิจจากจีน
    • คุณมนูญ ศิริวรรณ
    • ทิศทางของพลังงาน ปี 2557 คามดว่าจะผลิตน้ำมันมากกว่าความต้องการ จึงมีแนวโน้มให้ราคาน้ำมันลดลง ส่วนราคาแก๊สมีแนวโน้มสูงขึ้น ประเทศ Non-OECD จะมีความต้องการพลังงานมากที่สุด ส่วนประเทศไทยนั้น ประเทศไทยมีความเสี่ยงด้านพลังงานสูงสุด ในภูมิภาคอาเซียน
    • โอกาสผลิตไฟฟ้าในเขมร เวียดนาม ลาว มีมากเนื่องจากการพัฒนาโครงการต่างๆ มีมาก
    • Mind mapping สำหรับผู้บริหาร
    • คุณด้าเกิล ไรวา
    • เนื่องจากสมองของคนเราจะจำเป็นรูปภาพ ดังนั้น Mind mapping จึงจำลองการวิเคราะห์เรื่องต่างๆ ออกมาเป็นภาพ โดยใช้ได้ในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องครอบครัว เรื่องงาน สามารถประยุกต์ ไปใช้ในการสอนงาน ฝากงานกับผู้ร่วมงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการอบรม ช่วยความจำ ช่วยสร้างOutline ในการทำ Presentation

    สรุปการเรียนรู้หลักสูตร EADP 10 วันที่ 18-21 มีนาคม 2557

    โดย นายศานิต นิยมาคม ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสังคม

    ศึกษาดูงานมูลนิธิชัยพัฒนา หัวข้อ”หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”(Sufficiency)

    (ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล)

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำหลักดังกล่าวมาดำเนินการในปี 2541 รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้นำหลักปรัชญาดังกล่าวไปเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ

    ทุกวันนี้ลัทธิบริโภคนิยมมีการขยายตัวไปทั่วโลก สิ่งสำคัญคือต้องบริโภคให้พอดี แต่ปัจจุบันกลับพบว่าบริโภคเกินความจำเป็นถึง70% ส่งผลให้ทรัพยากรลดลงและขยะเพิ่มขึ้น กระทบต่อสภาพแวดล้อมของโลก

    เราสามารถแบ่งโลกได้เป็น2ซีกคือ

    1.กระแสหลัก ซึ่งได้แก่ ทุนนิยม กระแสนิยม วัด GDP มีการแข่งขัน ฟุ่มเฟือย มีมลพิษ

    2.สังคมอุดมปัญญา วัดGNH เน้าเศรษฐกิจพอเพียง นุรักษ์วัฒนธรรม อนุรักษ์ทรัพยากร ส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล

    ทั้งนี้จากสภาพแวดล้อมการบริโภคในปัจจุบัน จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนของชีวิต ซึ่งแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน

    • -สร้างสมดุลเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    • -มุ่งความอยู่ดีมีสุขของประชาชน
    • -ไม่เน้นCost Benefit ดังแนวพระราชดำริ “ขาดทุนคือกำไร”
    • -ใช้ Cost Effectiveness เช่น ยอมลงทุนเพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด

    หลักการของเศรษฐกิจพอเพียงคือ 1.พอประมาณ 2มีเหตุผล และ3.มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ซึ่งหมายถึง ในชีวิต หรือการบริหารให้ยึดหลักพอประมาณ ดูทุนของตนเองก่อนอย่าให้เกินทุน จากนั้นจึงดำเนินชีวิต ใช้เงินอย่างมีสติใช้เหตุผล สำคัญคือ ใช้แล้วเกิดประโยชน์อะไร ต้องชัดเจน โปร่งใส มีเหตุผลและเกิดประโยชน์ ไม่ใช่ผลลัพธ์ที่ปริมาณ แต่ต้องเน้นคุณภาพ

    ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เน้นการใช้คนเป็นศูนย์กลาง เน้นคุณธรรม มีวิสัยทัศน์ มี EQ จัดเตรียมคนให้พร้อมสำหรับอนาคต

    คำว่า “พอเพียง” กับ “เพียงพอ”

    สำหรับ กฟผ.เดิมมาต้องจัดหาพลังงานให้เพียงพอ ขณะที่ความต้องการเพิ่มขึ้น ปริมาณเชื้อเพลิงก็ลดลง โดยใช้ Demand เป็นตัวตั้ง สนับสนุน Supply ตาม แต่หากใช้หลักพอเพียง ต้องเอา Supply เป็นตัวตั้งแล ะDemand ตาม

    ในอีก 5 ปีข้างหน้า กฟผ.ควรเน้นการผลิตพลังงานที่ยั่งยืน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มี Avaliable เท่าไร หันมาปรับ Demand ให้สอดคล้องกับ Avaliable เพื่อให้ Sustainable เช่นต้องยกเลิกหลอดที่ไม่ประหยัดพลังงาน และนำเอาหลัก3ประการของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้บริหารกิจการ

    กรณีตัวอย่างเช่นบริษัทเอสซีจี เมื่อปี 2540 ประสบปัญหารุนแรง ขาดทุน 58,000 บาท หันมาใช้หลักพอประมาณทบทวนตนเอง(Assesment)ว่าตัวธุรกิจหลักควรทำอะไร เดิมมีกิจการในเครือถึง200บริษัท คนควรเชี่ยวชาญในด้านใด(Expert) สุดท้ายจึงตัดสินใจลดเหลือเพียงธุรกิจหลัก(Core Business)ด้านก่อสร้างเท่านั้น เหลือธุรกิจหลัก 3 กลุ่ม ซึ่งใช้เวลาเพียง 1 ปีภาวะขาดทุน 58,000 ล้านบาทก็หมดไป มีการบริหารการเงินเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันเป็นผลให้เพียง 2-3 ปีต่อมา มีผลกำไรสูงสุดในรอบ35ปี

    KeySuccess Factor คือ ประสิทธิผล รวย และยั่งยืน มุ่งการสร้างสมดุล มั่นคม ยั่งยืน รวมทั้งมีการลงทุนด้าน Research ได้ Knowledge เกิด Innovation ในธุรกิจ ช่วยสร้างรายได้ คือใช้หลักคิดและมีคุณธรรม

    หลัก เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

    เข้าใจ หมายถึงต้องเข้าใจว่าทำอะไร เช่น กฟผ.ผลิตไฟฟ้าต้องเข้าใจทุนดำเนินการและเข้าใจสิ่งที่จะดำเนินการ หลักคือ หากไม่เข้าใจต้องหยุดไว้ก่อน ประเมินตนเอง เข้าใจ Demand กับ Supply จะ Balanceได้อย่างไร ต้องเน้นการประหยัดและสร้างความเข้าใจให้ Stakeholder

    เข้าถึงAction คือการลงมือปฏิบัติ มีเครื่องมือในการบริหาร มีข้อมูลไปสู่การกระทำ

    พัฒนา แผนที่ผ่านความเข้าใจ เข้าถึง ผ่านประชาพิจารณ์รับฟังความเป็น จะเป็นแผนพัฒนาที่ยั่งยืน

    หัวข้อเรื่อง ผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร การบริหารการเปลี่ยนแปลง

    จุดแข็งของ กฟผ. ใช้วัฒนธรรมไปสอดแทรกกับชุมชน คน กฟผ.มีความรู้ความสามารถ มีการบริหารการเปลี่ยนแปลง

    จุดอ่อนคือ ปัญหาเรื่องการสื่อสารกับคนในองค์กร ซึ่งพนักงานมักจะรู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ และไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้ ซึ่งต้องแก้ไขโดนให้รู้ในส่งที่ควรรู้ ในปริมาณที่เหมาะสม ในช่วงเวลาที่เหมาะสม และเนื้อหาเหมาะสม

    Tool มีสหภาพแรงงานเป็นแนวร่วมที่ดีขององค์กร

    Structure กฟผ.มีโครงสร้างหลายLayer ทำให้สื่อสารยาก

    ต้องทำให้คนรู้จักงานขององค์กร มีการ Cross Selling

    ต้อง Approach ชุมชนตาม Culture เรียนรู้ชุมชน ปรับเข้าหาชุมชน ซึ่งกฟผ.ต้องทบทวน

    พฤติกรรมบางอย่างต้องเพิ่มเช่น ขาดพฤติกรรมการเรียนรู้ ต้องปรับพฤติกรรมเพื่อให้เชื่อมโยงสู่ชุมชนให้ได้ และต้องทำ Internal Communication

    กรณีศึกษาบริษัทบ้านปู วิสัยทัศน์”ก้าวสู้ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”

    ปี 1983 บ้านปูเริ่มกิจการจากธุรกิจขนาดเล็กด้านถ่านหินที่ อ.ลี้ จ.ลำปาง โดยมีช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญคือ

    ยุคแรก ในช่วงที่เกิดวิกฤติน้ำมัน ได้เห็นโอกาสของธุรกิจถ่านหิน ซึ่งมีศักยภาพสูงและเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกสำหรับอุตสาหกรรมไทย ซึ่งเริ่มจากทุนจดทพเบียน 1MT และเพิ่มเป็น 100MTในปี 1980 ช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจในการเข้าเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์

    ระยะที่ 2 ภายหลักเข้า ตลท.เปิดโอกาสให้ขยายธุรกิจ โดย Contract ใหม่คือส่งถ่านให้กับโรงไฟฟ้าแม่เมาะของ กฟผ. ซึ่งเป็นผลให้กิจการเริ่มขยายตัวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มีการขยายการลงทุนใน อินโดนีเซียและเติมโตต่อเนื่อง 1993 เริ่มทำธุรกิจผลิตไฟฟ้าคือ โรงไฟฟ้า COCO มาบตาพุด ร่วมทุนบริษัทไตรเอ็นเนอจี ราชบุรี และ BLCP จ.ระยอง รวมถึงมีการชยายตัวในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องต่างๆ

    ในช่วงวิกฤคิการณ์ต้มยำกุ้งบ้านปูก็ได้รับผลกระทบมากเรือ่งอัตราแฃกเปลี่ยนเงินตรา ส่งผลต่อหนึ้สินที่เพิ่มขึ้นและกระแสเงินหมุนเวียนของบริษัทรุนแรง นำไปสู่การตัดสินใจขายหุ้น COCO หลังจากเศรษฐกิจเริ่มคลี่คลายก็จึงเริ่มลงทุนในหุ้นโรงไฟฟ้าราชบุรี

    จากเหตุการณืที่เกิด บรบ้านปูได้ทบทวนแนวทางการดำเนินงานและธุรกิจของบริษัท โดยFocusจัดแข็งที่มีSkill อยู่ในChain ปรับStrategy เป็น Coal Champion Plus ขาย Non Core เอา Fund มาลงทุน Core Business แทนคือ Coal และ Diversition ในธุรกิจเกี่ยวเนื่อง โดยกำหนดเป็น% ในแต่ละด้าน ลงทุนธึรกืจถ่านหินในอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย จีน และมองโกเลีย

    ระยะที่ 3 เป็นยุคปัจจุบันช่วงปี 2011-2013

    มีการกำหนด BANPU FUNDAMENTAL 6 AREAS

    1.Cost Rationization&Productivity

    2.Capital Planning

    3.Synnergy Drive

    4.Human Resource Development

    5.Financial Streamlining

    6.Organic Growth

    เริ่ม Mix Coal จากแหล่งต่างๆให้เป็นProduct ที่มีคุณภาพแตกต่างจากตลาด เป็นการ Synergy

    Global Trend and Needs for Sustainable Development โดยให้ความสำคัญกับ CSR/SD อันเป็นผลจาก

    • -มาตรการ/ระเบียบที่เข้างวดของภาครัฐ
    • -สาธารณชนHigh Concern เรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม
    • -การทำเหมืองต้องให้ความสำคัญต่อการดูแลชุมชน
    • -ความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยกู้เพื่อลงทุนในธุรกิจที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
    • -ความเข้มแข็งขององค์กรอิสระ/สื่อมวลขน
    • -ความต้องการความเชื่อมั่นจากบริษัท

    SD Framwork

    Operation Excellent ต้องมี Profit Return ให้ความสำคัญ3ด้าน

    1.Competitiveness(People Development , Operation Excellent , Technology)

    2.License to Operate (Health & Safety , Environment , Community Development)

    3.Localization(Good Governance , Business Ethics , Compliance , Good Corporate Citizen)

    การทำ CSR เน้นทำด้วยใจ ให้ความสำคัญการมีส่วนร่วม มุ่งเน้นประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม(มากกว่าเน้นตัวเงิน) ใช้การเรียนรู้ เน้นสร้างสังคมเยาวชนให้แข็งแรง

    หัวข้อเรื่อง TQM/SEPA

    กฟผ.ควรทำ Business View จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อกำหนด Business Drive เช่น วันนี้ Fossil ลดลง หรือ Asean Power Grid หรือ Smart Grid สำคัญคือเรื่อง Trust ต้องมองที่คน เป็นระบบ จบที่ผลลัพธ์เป็นเลิศ

    หลัก TQM/SEPA เป็นเรื่องของกระบวนการและผลลัพธ์ โดกระบวนการดีจะสร้างผลละพธ์ที่ยั่งยืน บริบทเริ่มจากการทำความเข้าใจตนเอง Reviewธุรกิจ ผลิตภัณฑ์และบริการ ใครคือลูกค้า/คู้ต้ามีความต้องการหรือคาดหวังอย่างไร มีกระบวนการส่งมอบคุณค่า/มูลค่าให้กับลูกค้าที่มีคุณภาพ/ประสิทธิภาพอย่างไร มีการติดตามผลอย่างไร มีกระบวนการพัฒนาคนให้ตอบสนองธุกิจและตอบสนองลูกค้าอย่างไร สู้กับคู่แข่งได่อย่างไร

    การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามทางการเมือง

    การเมืองไทยในอดีตที่ผ่านมานำรูปแบบจากต่างประเทศมาใช้ ทำให้ไม่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยและไม่มีการบริหารจัดการที่ดี การเมืองจึงอ่อนแอและมีการเลือกตั้งใหม่และปฏิวัติรัฐประหารบ่อย ซึ่งในวันนี้มีความเสื่อมโทรมทางคุณธรรมจริยธรรม

    ระบบประชาธิปไตยถือเป็นระบบที่เลวน้อยที่สุด การที่นักการเมืองโกงได้ทุกวันนี้ก็เพราะระบบอุปถัมภ์ โดยได้อำนาจมาจากState Power เราไม่ควรนำนโยบายประชานิยมเข้าสู่การเมือง ต้องปฏิรูปกระจายอำนาจไปสู่พื้นที่ ให้พื้นที่บริหารตนเอง รวมทั้งมีการดูแลเรื่องคอรัปชั่น โดยปฏิรูประบบราชการ

    ประเด็นคือ กฟผ.จะรอดจากการเมืองได้อย่างไร

    กฟผ.ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับสังคมเพื่อความสุข CSRต้องตั้งเป้าสังคมอยู่ดีมีสุข สร้างคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน เช่น สุขภาพอนามัยที่ดี ต้องเอาประชาชนเป็นเพื่อน

    ส่วนในด้านพลังงานต้องมีการปฏิรูปต่อเนื่อง โดยเรื่องEnergy Security เป็นปัญหามากเพราะ 70% นำเข้าจากต่างประเทศ ปัญหาด้านพลังงานที่เกิดขึ้นของประเทศต้องใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพลังงานของประเทศและต้องมีรูปแบบการบริหารใหม่ว่าจะพัฒนาสิ่งที่มีอยู่อย่างไรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โรงไฟฟ้าเก่าหมดอายุจะพัฒนาอย่างไรให้ยอมรับได้ ที่สำคัญคือต้องEducateประชาชนให้มา ให้ต่อเนื่อง ให้เข้าใจความสำคัญของการพัฒนาพลังงานต่อการพัฒนาประเทศ

    ตัวอย่างในอดีต เช่น แม่เมาะ ปากมูล หรือกระบี่ที่กำลังดำเนินการ ประเด็นอาจเกิดจากความไม่เข้าใจของประชาชน ซึ่ง กฟผ.เข้าไม่ถึงแต่NGO ใกล้ชิดกว่า ทั้งนี้อันที่จริงแล้ว กฟผ.มีรั้วที่สำคัญคือประชาชนที่อยู่รอบข้าง กฟผ.ต้องดูแลให้เป็นเสมือนรั้วของ กฟผ. นอกจากนั้นสิ่งที่น่าทำคือเรื่องน้ำเค็ม ปัญหาภัยแล้ง เขื่อนหลักยังรองรับการบริหารจัดการน้ำไม่ได้ ต้องมีโครงการบริหารจัดการน้ำ เช่น ผันน้ำมากักเก็บเติมลงในอ่าง

    กฟผ.ต้องวิเคราะห์ว่า การปฏิรูปพลังงานให้ก้าวหน้าจะทำอย่างไร

    1.กฟผ.ต้องเป็นExpert มีข้อมูลดีกว่าการเมือง และต้องเผยแพร่ให้สังคมทราบ จะช่วย Counter Balanceกับฝ่ายการเมือง

    2.ถ้ายืนหยัดมั่นคงถูกต้อง ก็ไม่ต้องกลัวฝ่ายการเมือง เป็นLobbyist สังคมให้รู้ข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง CSR กฟผ.ต้องมีบทบาทสำคัญกับคนใกล้ชิด

    นวัตกรรมของบริษัท ซีพีออล

    7-11 เกิดที่สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าของLicense โดยซีพี MOU เมื่อ 7 พ.ย. 2531 และเริ่มเปิดสาขาแรกที่ถนนพัฒน์พงษ์

    ธุรกิจหลัก มีกลุ่มบริษัทSupport การผลิต กระจายสินค้า IT และบริการอื่นๆ(ค้าปลีก การกระจายสินค้า อุปกรณ์ค้าปลีกและซ่อมบำรุง บัตร7CardIT ผลิตสื่อ PR&Marketing รร.ปัญญาภิวัฒน์ผลิตบุคลากร ปัญธาราพัฒนาบุคลากร กาแฟ สุขภาพ ยา เบเกอรี่) โดยปัจจุบันมีพนักงานรวมกว่า 100.000 คน และพนักงานมีส่วนร่วมทำ CSR

    KEY ก็คือ ความสะดวกซื้อ ผ่านรูปแบบสินค้าและบริการ โดยปัจจุบันมีจำนวน 7,634 สาขา 50% อยู่ใน กทม. มีจำนวนลูกค้า 8ล้านคนต่อวัน

    ตัวอย่าง Innovation ของร้านสะดวกซื้อ เช่น

    1.เครื่องสแกนสินค้าแบบอุโมงค์ สแกนราคาสินค้าโดยเข็นรถเข็นสินค่าผ่านอุโมงค์ไม่ต้องหยิบทีละชิ้น

    2.ระบบ Order Online โทรสั่งขับรถไปรับ

    3.Mobile Application แสดงแผนที่บอกที่ตั้งร้าน

    4.Club Card แทนเงินสด

    5.ในประเทศเกาะหลี ทำป้ายแสดงภาพสินค้าและQR CodeDisplay ในSubway ใช้ Smart Phone Scan สิ้นค้า แล้วสั่งซื้อOnline ส่งถึงบ้าน เป็นOnline Sell เป็น Versual Store

    6.Gain Vending Machine ใช้ Robo Machine โดยกดสั่งสินค้าหน้าจอTouch Screen หุ่นยนต์จะจัดสินค้าตามรายการส่งมาที่ช่องรับของ

    7.ขายบนรถแท๊กซี่

    8.Drive True

    9.Microsoft Future Vision on Retailing Order ผ่านทางมือถือ เป็นการกดสั่งจากมือถือใน Store จะบอกตำแหน่งสินค้าที่ต้องการ และชำระเงินต่านมือถือ ผู้ซึ้อเข็นรถเข็นไปรับที่Shelt ว่าอยู่ตรงไหนบ้าง กีรับสินค้ากลับบ้านได้

    ความหมายของคำว่า นวัตกรรม คือสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม โดยนวัตกรรมในความหมายของ ซี พี ออล คือ การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ หรือ ปรับปรุงสิ่งเดิม เกิดจากการนำความรู้และความคิดสร้างสรรค์นำไปพัฒนาให้เกิดคุณค่าต่อลูกค้า องค์กร และสังคม แบ่งเป็น

    1.Process Innovation สร้างสรรค์กระบวนการใหม่

    2.Product Innovation สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่

    3.Sevice Innovation สร้างสรรค์บริการใหม่

    4.Business Model Innovation สร้างสรรค์ธุรกิจรูปแบบใหม่

    ทั้งนี้ Innovation มี 2 แบบคือ Closed Innovation คือ Copy มาพัฒนา กับ Opened Innovation มี Concept และ Focus on Combine ซึ่งผู้บริหารถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างนวัตกรรมงค์กร โยซีพีออล มีการจัดประกวดนวัตกรรมประจำ หลักคือ ง่าย ไม่ซ้ำซ้อน ลดขั้นตอนการทำงาน คล่องตัว ใช่IT ช่วย

    White Ocean

    ทุนนิยม เป็นเรื่องวัตถุนิยม บริโภค นิยม ประชานิยม เป็นระบบที่ทำให้ล่มจม เป็นมิจฉา/กิเลส Marketing ซึ่งวันนี้เราอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงสำคัญของโลก Freedom of Choice หลายคนมักพูกว่า ต้องการให้โลกเปลี่ยน แต่ไม่เคยพูดว่าจะเปลี่ยนตัวเอง

    คนเรามีสมอง 2 ซีก ซีกช้าย ใช้ประมวลประเมิน ตัดสินใจ ส่วนซึกความ ใช้ความรู้สึก รับโดยใช้หัวใจ มีคำพูดที่น่าสนใจว่า Knowledge is Power but Love is Miracle

    อดีตมี Red Ocean ยุคอุตสาหกรรมที่เชื่อว่า ลูกค้าคือพระเจ้า ต้องการกำไรสูงสุด ต้นทุนต่ำสุด ต่อมามี Blue Ocean หลัก High Rich High Return เน้น Idea Technology โดย Creat Need Creat Want ลูกค้า

    ปัจจุบันมี White Ocean หลัก Everyone is the Winner เน้น Co-CreationHigh Trust สร้าง High Performance และ Low Cost

    กรณีตัวอย่าง บ.วิริยะประกันภัย จากนโยบายประกันภัยบุคคลที่ 3 จะส่งผลให้วิริยะขาดทุน 2-400 ล้าน ผู้บริหารรับ โดยแนวคิดว่า กระทบบริษัทแต่ยังมีทุนเหลือพอ ทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นและมีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด

    Steve Jobs เรียนวิชาออกแบบตัวอักษร 6 เดือน พัฒนาApplication บนมือถือ หรือ Bill Gates โลกทุกแห่ง Connect ด้วย Computer

    หลักบริหารปัจจุบันคำนึงถึง Triple Bottom Line คือ People Profit Planet คืนให้กับสังคมเกิด Social Progressเติบโตคู่กับสังคม คืนธรรมชาติให้กับสิ่งแวดล้อม Socio Environment มีการแบ่งปัน มีคุณธรรม(Integrity) มนความเป็นจริงและในเนื้อแท้ โดยมีศรัทธา(Passion) ตามหลัก 7 ประการของ White Ocean

    จิตอิสระกับจิตประภัสร

    ฝึกสมาธิจากกลอุบายดื่มน้ำเย็น ทำจิตให้นิ่งพิจารณาตามความเย็นที่เข้าไปในร่างการและFocus อยู่ที่จุดสุดท้าย สามารถนำไปปฏิบัติให้การบริหารจิต สมาธิ สำหรับนักบริหาร

    เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย AEC

    เมื่อเศรษฐกิจโลกเกิดปัญหา สหรัฐใช้วิถีอัดฉีดสภาพคล่องเพื่อแก้ไขปัญหา ประเด็นคือถ้าถอนสภาพคล่องเศรษฐกิจสหรัฐจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก รวมทั้งประเทศจีนก็เริ่มมีปัญหาอันเนื่องมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทีมีการลงทุนสร้างอสังหาริมทรัพย์มากและมีแนวโน้ม Over Investment อาจคล้ายต้มยำกุ้งในอดีต ทั้งนี้คาดว่าสหรัฐอเมริกาและยุโรปยังพอไปได้ แต่บางประเทศเริ่มเปราะบางมีแนวโน้มเศรษฐกิจทรุด

    อย่างไรก็ตามในความผันผวนที่เกิดขึ้นยังมีโอกาส เช่นภูมิภาคเอเชีย มีโครงการคมนาคมที่เชื่อมถึงกัน ทำให้มีโอกาสในด้านต่างมากขึ้น เป็น Gate Way เชื่อมอาเซียน รวมทั้งมีระบบรางเชื่อมโยงการขนส่ง กับ จีน เวียดนาม กัมพูชา ไทย เมียนม่าร์

    ทิศทางพลังงานโลกในปัจจุบัน สหรัฐเริ่มเป็นผู้ผลิตรายใหญ่แทนซาอุดิอาราเบียและรัสเซีย ส่วนจีนก็มีอนวโน้มในการใช้พลังงานลดลง โดยแนวโน้มยังใช้ฟอสซิล 75% และใช้พลังงานทดแทน25%

    สำหรับการใช้พลังงานในแถบเอเชียปี 2012-2035 ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอย่าง OECD โต 4% ขณะที่ Middle East โต 10 % แม้แนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะดีขึ้น แต่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานเพิ่มไม่มาก ประมาณ 1.4%

    อย่างไรก็ตามการที่ FED ลดวงเงิน QE(นโยบายผ่อนปรนทางการเงิน) เพื่อให้ค่าเงินดอลล่าแข็งขึ้น แต่มีแนวโน้มที่ราคาน้ำมันดิบจะลดราคาลงต่ำกว่า 100 ดอลล่าต่อบาเรล

    วันนี้ราคาเชื้อเพลิงในไทย LPG ในภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น ขณะที่LPG ภาคขนส่งตรึงราคา เบนซินลดลง ดีเซลควบคุมราคาที่ 30 บาทต่อลิตร กาซธรรมชาติเพิ่มสูงตามราคาน้ำมันเตา ค่าไฟมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รัฐมีนโยบายรับซื้อไฟเพื่อนบ้าน โซล่ารูฟท๊อป และเพิ่มถ่านหิน

    คาดว่าใน22 ปีข้างหน้า ไทยจะนำเข้าน้ำมันเพิ่ม 80% คิดเป็นมูลค่า 2.2 ล้านล้านบาท นำเข้าLNG 90% เพิ่ม23 ล้านล้านบาทต่อปี และนำเข้าจากเพื่อนบ้านเพิ่ม 21%

    อนาคต กฟผ.

    1.ต้องปรับตัวก้าวสู่รัฐวิสาหกิจระดับภูมิภาค

    2.Asean Power Grid จะเป็นประโยชน์

    3.การตอบสนองโจทย์ Green Energy Company , DSM และ Renewable Energy

    4.ลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน

    5.นำความเชี่ยวชายด้าน O&M ไปใช้ในกลุ่มอินโดจีนและเมียนม่าร์

    6.เตรียมอุตสาหกรรมให้พร้อม

    7.เตรียมพร้อมรองรับนโยบายปฏิรูปพลังงาน

    Mind Mapping

    Mind Mapping ทำให้เห็น Blue Print

    การคิดมี 2 แบบคือ คิดลึก ลักษณะความคิดต่อเนื่อง(Radial Thinking) กับคิดกว้าง แบบ Free Flow กับแบบ Structure

    หลักคือ มองจากจุดเริ่มต้น ดูความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องตามๆ แยกเป็นด้านๆ แล้วพิจารณาต่อเนื่องจากจุดต่างๆขยายต่อไป เพื่อให้สามารถเห็นภาพความเชื่อมโยงทั้งหมดภายในแผ่นเดียว ใช้เวลาน้อย เห็นได้ครอบคลุมทุกด้าน นำไปสู่การวางแผน ไอเดียใหม่

    Lesson Learn On 18th March, 2014

    : หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

    สิ่งที่ทำให้เกิดเศรษฐกิจพอเพียง

    -ธรรมชาติเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการทำลายธรรมชาติ

    -การปกครองเปลี่ยนแปลง, สังคมเปลี่ยนแปลง

    -การบริหารการจัดการ

    -การบริโภคควรพอดี

    -ของใช้ทุกชิ้นต้องลงทุน

    ความพอเพียงคือ การรักษาความพอดี มนุษย์บริโภคทรัพยากรเกินขีดจำกัดในขณะที่โลกทรัพยากรเท่าเดิม

    ธรรมาภิบาล การกำกับดูแลกิจการที่ดีขึ้นอยู่กับผู้นำ

    การพัฒนาอย่างยั่งยืนคือ การพัฒนาที่สมดุลย์ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

    การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือ ทางสายกลาง, พอประมาณ, มีเหตุผล, มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

    หลักการเรียนรู้ในการพัฒนาคือ ต้องเข้าใจภาระกิจว่าตัวเองทำอะไร ต้องเข้าถึงสิ่งที่ต้องลงมือปฏิบัติและนำสิ่งที่ปฏิบัติมาพัฒนา

    Lesson Learn เรื่อง ผู้นำ-วัฒนธรรมองค์กร-การบริหารการเปลี่ยนแปลง

    วัฒนธรรมองค์กร ประกอบด้วย คน, องค์กร, ผลประกอบการ

    คน ประกอบด้วย ปัจเจกบุคคล, ความหลากหลายของคน, ทุนมนุษย์, ทักษะ, ทัศนคติ, ความรู้, ความสุขและความพอใจในการทำงาน, เป้าหมายในการทำงาน

    องค์กร ประกอบด้วย นโยบายของรัฐ, Vision ขององค์กร, Competency, กฎระเบียบ, แรงจูงใจ, คุณธรรมจริยธรรม, Core Value, การทำงานร่วมกัน, รางวัลที่ได้รับ

    ผลประกอบการ ประกอบด้วย ความสุขของพนักงาน, ความพอใจลูกค้า, Productivity, ROI ต่อทรัพย์สิน, CSR, จิตสาธารณะ, ความสมดุลย์ของชีวิต งาน ครอบครัว

    ผู้นำ ต้องเปลี่ยน Mindset (ทัศนคติ) ต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันกับสังคมโลกที่เปลี่ยนไปก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน, ต้องรู้จักวิเคราะห์, ต้องเก่งเรื่องคน วัฒนธรรมองค์กรเกิดจาก การปลูกฝัง การสร้างมาเป็นเวลานาน มี 2 อย่าง

    -เปลี่ยนได้ กับ เปลี่ยนไม่ได้

    การเปลี่ยนแปลงเกิดจากอยากเปลี่ยนเอง หรือ ถูกสั่งให้เปลี่ยน

    ถ้าจะเปลี่ยนแปลง ต้องชี้ให้เห็นว่า เปลี่ยนแล้วได้อะไร, สร้างแนวร่วมให้เห็นประโยชน์, ความอดทนต่อการต่อต้าน

    การสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันในองค์กร

    -รู้จักลูกน้องต้องการอะไร

    -ลูกน้องเป็นอย่างไร

    -การแสดงความรักต่อกัน

    -สร้างแรงดันดาลใจ

    Lesson Learn On 19th March, 2014

    เรื่อง บ้านปูกับการก้าวสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก

    การพัฒนาของบ้านปู

    -เริ่มจากเหมืองลิกไนต์เล็ก ๆ แรกสุดที่ลำพูน

    -เจริญเติมโตเข้สู่ตลาดหลักทรัพย์ เป็นมืออาชีพมากขึ้น ลงทุนในต่างประเทศ เริ่มเข้าสู่ธุรกิจผลิตไฟฟ้า

    -เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ขายโรงไฟฟ้า ใช้หนี้เงินกู้ ได้ข้อคิดการทำธุรกิจให้ดีต้องเป็นธุรกิจที่คุ้นเคยและทำซ้ำ ๆ

    -ขยายการเติบโตในต่างประเทศ โดยขายธุรกิจรอง นำเงินมาลงทุนในธุรกิจหลัก

    Sustainable Development Framework

    1.ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม พัฒนาชุมชน

    2.มีความโปร่งใสและจริยธรรม

    3.สร้างคนให้มีคุณภาพ สร้าง Output เยอะ Input น้อย Cost ต่ำ

    Key Driver of Competitiveness

    1.เทคโนโลยี

    2.Integrated Mine Planning

    3.Project Management

    4.Asset Management

    5.Optimization

    6.Reporting and Dashboard System

    7.synergy Focus

    การบริหารคน

    1.Behavior

    2.สร้างวัฒนธรรม

    3.Brand Image

    4.Synergy

    ด้าน CSR

    1.Power Green Project

    2.Champions for Changes

    3.Do by Heart

    4.Education for Sustainability

    Lesson Learn เรื่อง TQM/SEPA

    ปตท.

    -เน้นสามเหลี่ยมแห่งความยั่งยืนประกอบด้วย HPO, CG และ CSR

    -คนเก่งและคนดี

    -ผู้บริหารต้องชี้นำ สื่อสารเป้าหมาย กระตุ้นพนักงาน ทำให้ยั่งยืนโดยปฏิบัติจนเป็นนิสัยประจำวัน

    -กลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญที่จะบรรลุเป้าหมาย

    -เน้น Assess, Acquire และ Apply

    -เน้น BCM (Business Continually Management)

    Key Factors

    -Continuous Improvement

    -Excellent Leadership

    -Open Mind

    ผู้นำมีหน้าที่ 4 ข้อ คือ ต้องชี้นำ สื่อสารเป้าหมาย กระตุ้นพนักงาน ทำให้ยั่งยืน

    EGAT

    -ใช้ EGAT Way เพื่อเป็น HPO สร้างคนเก่งและคนดี

    -จุดหมายสู่ HPO คือต้องเห็นผลงาน เป็นหน้าที่ผู้บริหาร

    -ปัญหา กฟผ. มีข้อมูลมากแต่ขาดการบูรณาการ

    -องค์กร HPO ต้องมีทั้งความสำเร็จและความสุข ความสุขมาจากบุคลากรและระบบบริหารจัดการ

    -ค่านิยมต้องถูกแปลงให้เป็นวัฒนธรรม

    -TQM กับธุรกิจต้องขับเคลื่อนกัน

    -SEPA เป็นเครื่องมือปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์กรและถือเป็นภาคบังคับมี 7 หมวด คิดคะแนน 6 หมวด หมวด 7 ผลลัพท์ไม่คิดคะแนน

    -อุปสรรคในการทำ SEPA คือเป็นไซโลมองเฉพาะสิ่งที่เรารับผิดชอบ ทำในสายของตนเอง ขาดการเชื่อมโยง

    Lesson Learn เรื่อง การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามของการเมือง

    กฟผ.

    -ต้องสร้างคุณภาพชีวิตให้คน ทำให้คนมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ต้องไปโรงพยาบาล

    -ต้องเอาประชาชนเป็นเพื่อนไม่เอาเปรียบเขา

    -ต้องมีมาตรการเชิงรุกในการเข้าถึงประชาชน

    -ต้องดูแลชุมชนรอบโรงไฟฟ้าให้เขาเป็นรั้วและปากเสียงให้ กฟผ.

    -ต้องยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง

    -ต้องมียุทธศาสตร์สำหรับ Worst Case Scenario

    Lesson Learn On 20th March, 2014

    เรื่อง นวัตกรรมของบริษัท ซีพี ออลล์

    ซีพี ออลล์ ก่อกำเนิดตั้งแต่ปี 1989 จนถึงปัจจุบัน มีธุรกิจในเครือ ดังนี้

    -บริษัท CP ค้าปลีก

    -Dynamic Management

    -Retail Link

    -Counter Service

    -Gosoft Software

    -Seven Card

    -ศึกษาภิวัฒน์

    -Book Smile

    ผลิตภัณฑ์ เป็นพวกความสะดวกซื้อ (Convenience) และการบริการซีพี ออลล์ ได้รับรางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมจากจุฬาฯ ปี 2552 (2009) มีพนักงานแสนกว่าคน

    นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ องค์ความรู้ยังไม่เป็นนวัตกรรม

    นวัตกรรมมี 4 แบบ

    1.Process Innovation การสร้างสรรค์กระบวนการใหม่

    2.Product Innovation การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่

    3.Service Innovation การสร้างสรรค์บริการรูปแบบใหม่

    4.Business Model Innovation การสร้างสรรค์ธุรกิจรูปแบบใหม่

    Lesson Learn เรื่อง White Ocean Strategy กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ.

    หลักการสำคัญของ White Ocean พูดเรื่องยุคของการเปลี่ยนแปลง

    เราอยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์โลก สิ่งที่เกิดขึ้น ประชานิยม ทุนนิยม บริโภคนิยม

    การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น ภาวะโลกร้อน น้ำแข็งละลาย การเคลื่อนตัวของภูเขาน้ำแข็ง หิมะตกหนัก คลื่นความร้อน นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ เทคโนโลยี วิถีชีวิตเปลี่ยน

    สิ่งมีชีวิตที่จะได้ไปต่อคือ สิ่งมีชีวิตที่มีการปรับตัว และพัฒนาตนเอง White Ocean Strategy เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติ และทำให้ได้เป็น Common Sense

    Red Ocean

    -Customer is a King

    -Maximize Profit, Minimum Cost

    -มิจฉาทิฐิ

    -กิเลสมาร์เก็ตติ้ง

    Blue Ocean

    -High Risk High Return

    -Technology is a King

    White Ocean

    ทุกคนเป็นผู้ชนะร่วมกัน Everyone is the Winner สร้างความสมดุลย์ระหว่างคุณค่าและต้นทุน สร้างผลประโยชน์ยั่งยืนขององค์กร

    ผลลัพธ์ที่ชัดเจนของ White Ocean คือ

    1.กำไร บริษัทที่มีธรรมาภิบาล กำไรสูงกว่าทุกปี

    2.ความสุข องค์กรสีขาว เป็นองค์กรที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสังคม

    3.ยั่งยืนไม่ว่าจะเกิดวิกฤตการณ์อะไรขึ้นมา

    Lesson Learn On 21th March, 2014

    เรื่อง เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย AEC กับผลกระทบการปรับตัวของ กฟผ. ประชาคมเศษฐกิจอาเซียน สร้างให้เกิดการค้าเสรี เสรีบริการ เสรีการลงุทน เสรีแรงงาน

    ผลกระทบของ AEC

    -การปรับนโยบายการแข่งขัน

    -การปรับนโยบายภาษี

    -เหลี่ยมเศรษฐกิจ

    ผลกระทบต่อระบบสถาบันการเงิน

    ในแง่คู่แข่ง

    -คู่แข่งรายใหม่

    -คู่แข่งคนละประเภทแต่แย่งลูกค้าของเรา

    -ไม่มีศัตรูถาวรและมิตรแท้

    ในแง่ลูกค้า

    - Red Ocean

    1.Customer

    2.Existing Product

    3.Process Innovation

    4.Market Share

    - Blue Ocean

    1. Non-Consumer

    2. Product of Service Innovation

    3. Opportunity Share

    - ลูกค้าจะปรับโครงสร้างจากเดิมแบ่งเป็น บน กลาง ล่าง กลายเป็น บนมาก บนและกลาง

    - พฤติกรรมของลูกค้า / ทิศทางของลูกค้า

    1. Product Development

    2. Integration : Horizontal

    : Vertical

    3. Diversification

    - Global Paradox

    1. From Global to Regional and the Local

    2. From Local to Regional and to Global

    ในแง่บริหารจัดการ

    -การบริหารความเสี่ยง

    -การปรับปรุงประสิทธิภาพ

    -สายโซ่แห่งคุณค่า (Valve Chain)

    -Valve System

    -นวัตกรรม (Innovation)

    1.Process Innovation

    2.Product Innovation

    3.service Innovation

    ทิศทางพลังงานโลกและพลังงานไทยปี 2557

    สถานการณ์พลังงานโลกปี 2557

    -ความต้องการน้ำมันไม่เพิ่มขึ้นมากนัก

    -สหรัฐจะเป็นผู้นำผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุด

    -ปัจจัยเสี่ยงทางภูมิรัฐศาตร์จะลดลง

    -การดำเนินนโยบายผ่อนคลาย ทางการเงิน (QE) จะลดความเข้มข้นลง

    -โอเปคคงเพดานการผลิต

    -จะมีแรงกดดันให้ราคาน้ำมันดิบลดลง

    ทิศทางพลังงานไทยปี 2557

    -ราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลง

    -ราคาก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น

    -ค่าไฟฟ้า (Ft) จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

    -ถ่านหินราคาลดลงเพราะผู้ใช้รายใหญ่หันไปใช้ก๊าซและพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น

    ภาพรวมสถานการณ์พลังงานไทยและแนวโน้มในอนาคต

    -ไทยเป็นประเทศที่มีจุดเสี่ยงความมั่นคงด้านพลังงานสูงสุดในอาเซียน

    -มีความเสี่ยงสูงในการต้องพึ่งพาพลังงานจากภายนอกประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ

    -นำเข้าก๊าซธรรมชาติเพิ่มจาก 25% ในปัจจุบันเป็น 90% ในปี พ.ศ. 2578

    -นำเข้าไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มจาก 3% เป็น 21% ในปี พ.ศ. 2573

    ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

    -ปรับองค์กรเพื่อรองรับการแข่งขัน และโอกาสทางธุรกิจที่จะเข้ามาในอนาคต

    -พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายด้านพลังงานในอาเซียน

    -ตอบสนองโจทย์ด้านพลังงานเพื่อความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมที่ดี

    -แสวงหาลู่ทางการลงทุนด้านพลังงานในประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้ประโยชน์จากข้อตกลง AEC

    -ประโยชน์จากความเป็นผู้นำและผู้ชำนาญการด้านพลังงานไฟฟ้า

    ให้บริการด้านเทคโนลีและการซ่อมบำรุง

    -พัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการเรียนรู้และทำงานในระดับสากล

    -เตรียมพร้อมรองรับการปฏิรูปพลังงานโดยเฉพาะการเปิดเสรีด้านระบบสายส่งและจำหน่าย

    Lesson Learn เรื่อง Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร

    Mind Map คือ เครื่องมือในการจดบันทึกที่ใช้สมองสองซีกอย่างเต็มที่ คิดโดยชาวอังกฤษชื่อ Tony Buzon เมื่อปี 2517 และได้เผยแพร่ไปทั่วโลก สามารถใช้ได้ทั้งกับการเรียนการสอนและการทำงาน

    ประโยชน์ของ Mind Map

    -ช่วยจำ

    -นำเสนอ

    -ทำงาน

    -เรียน

    -ชีวิตประจำวัน

    Assignment EADP รุ่นที่ 10 กลุ่มที่ 2

    เรื่อง สรุปสาระสำคัญที่ได้จากการอ่านหนังสือ The Renaissance Society

    ประโยชน์ที่ได้รับ

    ความฝันและแรงบันดาล ใจ (Dreams and Inspiration) ของสมาชิกในสังคม หรือองค์กรต่างหากที่จะเป็นตัวผลักดันองค์กรไปสู่ความสำเร็จ องค์กรไม่ใช่เป็นตัวขับเคลื่อนที่แท้จริง เป็นเพียงตัวช่วย และส่งเสริม

    Visions, Knowledge and Experiences Sharing เป็นเรื่องที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง องค์กร และสมาชิกในองค์กรทุกคน ต้องมี Vision ร่วมกันแล้ว จึงจะเกิด ศรัทธา (Trust)ระหว่างกันทั้งสองด้าน เมื่อมีศรัทธาแล้ว ความร่วมมือ (Collaboration) ก็เกิดขึ้น เมื่อมีความร่วมมือ ก็จะเกิดพลังร่วม ทำให้เกิดการพัฒนาและความสำเร็จในทุกๆ ด้านขององค์กร (องค์ประกอบอื่นก็สำคัญ แต่เป็นรอง หากไม่มีความร่วมมือและศรัทธาแล้วคนจะเก่งอย่างไร อุปกรณ์เครื่องจักรจะดีอย่างไร ก็ไปคนละทิศและคนละทาง ไม่ก่อให้เกิดพลังร่วม – Synergy) เช่น ในแผนก หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ที่สมาชิกในฝ่ายไม่เกิดศรัทธาในผู้บริหาร และผู้บริหารก็ไม่ศรัทธาในสมาชิก ในที่นั้นจะไม่เกิดความร่วมมือแน่นอน

    ต้องมีความเข้าใจในธรรมชาติของสิ่งที่ทำอยู่เป็นอย่างดี เข้าใจวัฏจักรและวงจร (Life Cycle) ของมัน

    แนวโน้มของโลก มีแนวคิด หรือทัศนคติ (Mindset) ในทิศทางไปสู่ คุณค่าหรือมูลค่า (Value) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องจิตใจ ความสุข (Happiness) ในชีวิต มากกว่าเรี่อง ความมั่งคั่ง (Wealth) เพียงอย่างเดียว มีแนวคิดที่เป็นเฉพาะตัวของตัวเอง (Individualism) สูง หรือปัจเจกนิยม มีความคิดของตัวเอง มีวิถีการดำเนินชีวิตของตนเอง มีความเมตตา (Indulgence) ในสังคมมากขึ้น ให้ความสำคัญกับเรื่องของ ธรรมชาติ (Nature) สิ่งแวดล้อม (Environment)และความยั่งยืน (Sustainability) มากขึ้นๆ ทำให้ Corporate Social Responsibility (CSR) มีความสำคัญมากขึ้นด้วย ซึ่งหลายองค์กรระดับโลกมีการประสาน CSR เข้ากับ Policy and Strategy ขององค์กร

    ทุกสิ่งในโลก ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน (Uncertainty) ผู้ที่ประสบผลสำเร็จ ไม่ใช่ผู้ที่สามารถชนะความไม่แน่นอนได้ ไม่มีผู้ใดสามารถที่จะชนะความไม่แน่นอนได้ แต่ผู้ที่ประสบผู้สำเร็จนั้น ก็คือ “ผู้ที่สามารถอยู่กับความไม่แน่นอนได้อย่างปลอดภัยและเป็นสุข”

    • ทำให้เข้าใจประวัติศาสตร์ ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม และคาดการณ์ลักษณะทางสังคมและกลุ่มลูกค้าในอนาคต เพื่อสร้างสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของตลาดได้
    • ความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การสนองความต้องการของลูกค้าและเข้าใจตลาดว่าจะพัฒนาไปในรูปแบบใดทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จและสามารถกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ แผนงานในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
    • การทำธุรกิจในโลกอนาคต เน้น Emotional Market มากขึ้น องค์กรธุรกิจจะต้องตอบสนองความต้องการเชิงอารมณ์และความรู้สึกของลูกค้า เพื่อผลิตสินค้าที่สร้างความรู้สึกทางอารมณ์ (Emotional Appeal) ให้กับลูกค้าให้ได้ เพราะผู้ชนะคือผู้ที่สามารถผลิตสินค้าและให้บริการเพื่อสนองความต้องการทางอารมณ์ของผู้บริโภคได้มากที่สุด
    • องค์กรธุรกิจจะต้องหาให้ได้ว่าอะไรเป็นคุณค่า (Value) ของสินค้าและบริการของเราเพื่อตอบสนองต่อตลาดทั้ง ตลาดเชิงวัตถุ (Materialist Market) และตลาดเชิงอารมณ์ความรู้สึก (Emotional Market)

    ประยุกต์ใช้กับงาน กฟผ. เรื่อง CSR , Value Creation และ Value Diversity

    1. CSR (Corporate Social Responsibility)

    “เราอยู่กับสังคม สังคมก็อยู่กับเรา”

    “สังคมอยู่ได้ เราก็อยู่ได้”

    กฟผ. เป็นองค์กรที่มีภารกิจหลักที่ต้องเกี่ยวข้องกับสังคมโดยตรง

    -สินค้าก็เป็นสินค้าสำหรับสังคมคือ เป็นสาธารณูปโภค อย่างหนึ่ง ที่ทุกคนในสังคมจำเป็น ต้องใช้

    -ในการผลิตก็ต้องใช้กระบวนการผลิต สถานที่และทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม เป็นที่ยอมรับจากสังคม และต้องอยู่กับสังคมได้ ทั้งทางด้านการผลิตไฟฟ้า (Generation) และระบบส่งไฟฟ้า (Transmission)

    ดังนั้น กฟผ. จึงมีความตระหนักในเรื่อง CSR เป็นอย่างมาก และมี นโยบายที่ชัดเจน

    สิ่งสำคัญที่สุดของ CSR ก็คือ ความจริงใจ (Sincereness) หากสังคมมองว่าเป็นการ สร้างภาพ แล้ว นั่นคือความล้มเหลวอย่างมหาศาล เพราะไม่เพียงแต่โครงการจะล้มเหลวเท่านั้น แต่นั่นอาจจะหมายถึงความล้มเหลวของทั้งองค์กรเลยทีเดียว เนื่องจากการสื่อสารประเภท Social Medias เป็นที่แพร่หลายมากแล้ว ไม่มีอะไรที่ปิดบังได้แล้ว ทุกสิ่งต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ ความจริงใจจึงเป็นหัวใจสำคัญลำดับแรก นอกเหนือจาก การสร้างความเข้าใจและการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว กว้างขวางในทุกที่ทุกแห่ง ทุกชนชั้น หลากหลายวัย หลากหลายอาชีพ ทันเวลา ทันการณ์

    นโยบายด้าน CSR ของ กฟผ. จะรับผิดชอบต่อสังคมครอบคลุมในทุกด้าน ไม่เฉพาะเพียงแต่ในด้านที่สังคมเห็นได้เท่านั้น แต่ในด้านที่สังคมไม่เห็นเราก็ทำ เพราะเราถือความจริงใจเป็นหลัก

    §คุณภาพของไฟฟ้า (Quality) ความมั่นคงของระบบไฟฟ้า (Security and Reliability) ราคาที่ยุติธรรม (Reasonable prices) ที่ส่วนใหญ่คนจะไม่เข้าใจ แต่กว่าที่ กฟผ. จะมาถึงจุดนี้ได้ ต้องทุ่มเทเป็นอย่างมาก

    §การบริหาร และการดำเนินงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient Environmental Operations and Management)

    §การบริหารจัดการที่ดี (Good Corporate Governance) ไม่คอรัปชั่น โปร่งใส ได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจได้จากทั้งลูกค้าผู้ใช้ไฟฟ้า ผู้ที่จะมาทำธุรกรรมกับ กฟผ.

    §เคารพในสิทธิมนุษยชน (Human Rights), Labor Practices, และ Fair Operating Practices,

    §ใส่ใจในสังคมและชุมชน โดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้า

    §สร้างเครือข่าย (Network of CSR Partnership) ระหว่าง กฟผ. และองค์กรอื่นทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

    §ส่งเสริม สร้างสรรค์ (Corporate Culture on CSR) ในหมู่พนักงานทั่วทั้งองค์กร

    §ส่งเสริม สร้างสรรค์ (CSR Management Practices) ในระดับผู้บริหาร

    2. Value Creation และ Value Diversity

    Value Creation เป็นการสร้างคุณค่า หรือ มูลค่า มักเกิดจากแนวคิดใหม่ๆที่มาจากจินตนาการ และแรงบันดาลใจของคนใดคนหนึ่ง หรือหลายคน อาจกล่าวได้ว่า Value creation จะก่อให้เกิด นวัตกรรม การสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ

    Value Diversity เป็นการสร้างความหลากหลายทางคุณค่า ซึ่งมาจากความคิดที่หลากหลายของคนจาก หลายกลุ่ม หลาย Disciplines ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเริ่มจาก “การเปิดกว้างทางความคิดก่อน”

    กฟผ. เป็นองค์กรที่ค่อนข้างใหญ่ประกอบด้วยหลายหน่วยงาน และพนักงานที่มีจำนวนมาก และมี Disciplines หลากหลาย สินค้าก็มีลักษณะเป็นได้ทั้งสินค้าและบริการในขณะเดียวกัน และถือเป็นสาธารณูปโภคอย่างหนึ่งที่ทุกคนในสังคมจำเป็นต้องใช้

    คุณค่าที่แท้จริงของ กฟผ. น่าจะเป็นสิ่งที่ Stakeholders เช่น ลูกค้า ประชาชน ผู้บริหารกฟผ. กระทรวงพลังงาน สื่อมวลชน ชุมชนและผู้ที่อยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้า คณะกรรมการ กฟผ. (EGATBoard) รวมทั้งคนภายใน กฟผ. เอง ที่ได้มอง กฟผ. ที่ได้สัมผัส กฟผ. (ซึ่งความจริงแล้วคำว่า “กฟผ.” ก็คือ พนักงานของ กฟผ. และการบริการด้านผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.) แล้วมีความรู้สึกอย่างไร นั่นแหละคือ คุณค่าที่แท้จริงของ กฟผ. อาจจะเรียกว่า คุณค่าที่แท้จริงของ กฟผ.ก็คือStakeholders’ Satisfactions”

    คุณค่าที่แท้จริงของ กฟผ. น่าจะมาจากการขับเคลื่อนของทุกคนคนใน กฟผ. โดยมีการ Share Visions, Share Knowledge และ Share Experiences ของ Stakeholders ทุกภาคส่วน (อาจจะมีการทำ Workshop หรือ การรับฟังความคิดเห็น) ซึ่งจะก่อให้เกิด ความศรัทธา (Trust) และ ความร่วมมือ (Cooperation) อย่างจริงใจ และจริงจัง ในหมู่ Stakeholders

    คุณค่าที่แท้จริงขององค์กร จะมาจาก คุณค่าของระบบ (Systems) ทุกระบบในองค์กร

    คุณค่าของระบบ(System Value) มาจาก คุณค่าของงาน (Work Value) ซึ่งคุณค่าของงาน ก็มาจาก คุณค่าของคน (Personal Value) คุณค่าของเครื่องจักร (Machine Value)และ คุณค่าของวัตถุดิบ (Material Value)

    Value Diversity ของ กฟผ. มี 2 ระดับ คือ

    §ระดับในองค์กร ที่เกิดจาก ทุกภาคส่วนใน กฟผ. ที่จะร่วมสร้าง Value

    §ระดับ Stakeholders ที่เกิดจาก ทุกภาคส่วนของ Stakeholders เช่น ลูกค้า ประชาชน ผู้บริหาร กฟผ. กระทรวงพลังงาน สื่อมวลชน ชุมชนและผู้ที่อยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้า คณะกรรมการ กฟผ. (EGAT Board) นอกเหนือจากคนภายใน กฟผ. เอง ที่จะร่วมสร้าง Value

    • จากปัญหาในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าภายในประเทศ ทำให้ EGAT ต้องสร้างโอกาสในการพัฒนาโรงไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว พม่า แล้วส่งกลับมาใช้ในไทยด้วย โดยการถ่ายทอด Knowledge ด้านการพัฒนาโรงไฟฟ้าให้ เกิดการพัฒนาบุคลากรของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เกิด Value ของด้านบริการของ EGAT ตอบสนองต่อตลาดเชิงอารมณ์ความรู้สึก (Emotional Market) ที่ดีจากประเทศเพื่อนบ้าน เกิดความไว้วางใจ อยากให้เราไปร่วมพัฒนาด้านระบบไฟฟ้า และถือเป็น EGAT Nation Pride ด้วย
    • เน้นการสร้างกิจกรรมให้กับชุมชนที่เป็นแหล่งความรู้แบบเปิด (Open Source) เพราะคนคนเดียวไม่สามารถสร้างองค์ความรู้ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ได้ ต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมและพัฒนาเพื่อเป้าหมายเดียวกัน
    • การสร้างบรรยากาศการทำงานให้เกิด Innovation เพื่อเพิ่ม Value ให้กับองค์กร พยายามผลักดันและกระตุ้นให้เกิดไอเดียใหม่ ๆ โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม และแบ่งปันความสำเร็จและความล้มเหลวด้วยกัน ร่วมทั้งสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไอเดียอย่างต่อเนื่อง
    • เน้นการทำกิจกรรม CSR ที่ให้ความรู้สึกทางอารมณ์ (Add Emotion) มีเรื่องราว (Add a story) และทำให้เกิดความแตกต่าง (Make your activity unique)
    • เน้นการสร้างกิจกรรมที่มีองค์ประกอบของ การสร้างความรู้สึกร่วม (Emotionalize) เคารพในปัจเจกชน (Personalize) การกระจายอำนาจ (Decentralize) สร้างแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ (Innovate)

    3. อุปสรรคที่เกิดขึ้นในการทำงานที่ไม่ประสบความสำเร็จ

    อุปสรรคที่สำคัญ ที่ทำให้งานไม่สำเร็จ ดูออกจะเป็นเรื่องที่ธรรมดา แต่มีสำคัญมากในเกือบทุกยุคทุกสมัย จนเกือบจะเรียกได้ว่าเป็นประเด็นที่ค่อนข้างคลาสสิค นั่นก็คือ การประสานงานที่ไม่ดีพอ อันเนื่องมาจาก

    ประการแรก “การขาดความเข้าใจในงานแท้จริง” ส่วนมากจะมองเฉพาะความสำเร็จของตนเองหรือของหน่วยงานตนเอง ทำให้ต่างฝ่ายต่างมองสิ่งที่ตนเองจะต้องทำให้สำเร็จ และยึดถือสิ่งที่ตนเองเกี่ยวข้องจะต้องทำเท่านั้น โดยไม่มองให้กว้างไกลว่า แท้จริงแล้ว “ความสำเร็จร่วม”ของงานนี้อยู่ที่ไหน คืออะไร กล่าวคือ ไม่มีจุดมองร่วมกันว่าความสำเร็จร่วมของงานคืออะไร ถ้าเข้าใจถึงความสำเร็จร่วมของงานแล้ว จะเข้าใจถึงงานบางอย่างที่ Contact or Overlap กัน จะทราบว่างานไหนจะส่งผลกระทบต่อหน่วยงานอื่นมากน้อยอย่างไร จะเกิดบรรยากาศที่ร่วมมือกันมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการประสานงานที่ดีขึ้นในระดับหนึ่ง

    ประการที่สอง “การขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี” เป็นการซ้ำเติมให้การประสานงานยิ่งเลวร้ายลงไปอีก ทำให้เกิดบรรยากาศในการทำงาน “เป็นพิษ” ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่หลายคนเป็นคนมีความรู้ความสามารถ แต่ขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำให้การประสานงานแย่ลงไปอีก งานขาดความก้าวหน้า ขาดความสำเร็จ

    ประการที่สาม “การขาดความเอื้อเฟื้อต่อกัน” ในการทำงาน ร่วมกันกับคนหมู่มากนั้น การเอื้อเฟื้อต่อกันเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยเช่นกัน หากขาดความเอื้อเฟื้อต่อกันแล้ว บรรยากาศในการทำงานจะเป็นแบบ “แห้งแล้ง” ตัวใครตัวมัน

    ซึ่งอุปสรรคดังกล่าวนี้ การแก้ไขดูเหมือนจะง่าย “แต่ความจริงไม่น่าจะง่าย” เพราะ อุปสรรคดังกล่าวนี้สามารถที่จะมองเป็นปัญหาทางด้านการบริหาร (Management) ก็ได้ เป็นปัญหาด้านบุคคล (Personal) ก็ได้ เป็นปัญหาด้านระบบ (System) ก็ได้ นอกจากนี้ ทั้งสามด้านยังInterrelate กันอีกด้วย

    ​อัจฉรี เด่นสิริมงคล

    Assignment EADP รุ่นที่ 10 กลุ่มที่ 2

    เรื่อง สรุปสาระสำคัญที่ได้จากการอ่านหนังสือ The Renaissance Society

    ประโยชน์ที่ได้รับ

    ความฝันและแรงบันดาล ใจ (Dreams and Inspiration) ของสมาชิกในสังคม หรือองค์กรต่างหากที่จะเป็นตัวผลักดันองค์กรไปสู่ความสำเร็จ องค์กรไม่ใช่เป็นตัวขับเคลื่อนที่แท้จริง เป็นเพียงตัวช่วย และส่งเสริม

    Visions, Knowledge and Experiences Sharing เป็นเรื่องที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง องค์กร และสมาชิกในองค์กรทุกคน ต้องมี Vision ร่วมกันแล้ว จึงจะเกิด ศรัทธา (Trust)ระหว่างกันทั้งสองด้าน เมื่อมีศรัทธาแล้ว ความร่วมมือ (Collaboration) ก็เกิดขึ้น เมื่อมีความร่วมมือ ก็จะเกิดพลังร่วม ทำให้เกิดการพัฒนาและความสำเร็จในทุกๆ ด้านขององค์กร (องค์ประกอบอื่นก็สำคัญ แต่เป็นรอง หากไม่มีความร่วมมือและศรัทธาแล้วคนจะเก่งอย่างไร อุปกรณ์เครื่องจักรจะดีอย่างไร ก็ไปคนละทิศและคนละทาง ไม่ก่อให้เกิดพลังร่วม – Synergy) เช่น ในแผนก หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ที่สมาชิกในฝ่ายไม่เกิดศรัทธาในผู้บริหาร และผู้บริหารก็ไม่ศรัทธาในสมาชิก ในที่นั้นจะไม่เกิดความร่วมมือแน่นอน

    ต้องมีความเข้าใจในธรรมชาติของสิ่งที่ทำอยู่เป็นอย่างดี เข้าใจวัฏจักรและวงจร (Life Cycle) ของมัน

    แนวโน้มของโลก มีแนวคิด หรือทัศนคติ (Mindset) ในทิศทางไปสู่ คุณค่าหรือมูลค่า (Value) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องจิตใจ ความสุข (Happiness) ในชีวิต มากกว่าเรี่อง ความมั่งคั่ง (Wealth) เพียงอย่างเดียว มีแนวคิดที่เป็นเฉพาะตัวของตัวเอง (Individualism) สูง หรือปัจเจกนิยม มีความคิดของตัวเอง มีวิถีการดำเนินชีวิตของตนเอง มีความเมตตา (Indulgence) ในสังคมมากขึ้น ให้ความสำคัญกับเรื่องของ ธรรมชาติ (Nature) สิ่งแวดล้อม (Environment)และความยั่งยืน (Sustainability) มากขึ้นๆ ทำให้ Corporate Social Responsibility (CSR) มีความสำคัญมากขึ้นด้วย ซึ่งหลายองค์กรระดับโลกมีการประสาน CSR เข้ากับ Policy and Strategy ขององค์กร

    ทุกสิ่งในโลก ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน (Uncertainty) ผู้ที่ประสบผลสำเร็จ ไม่ใช่ผู้ที่สามารถชนะความไม่แน่นอนได้ ไม่มีผู้ใดสามารถที่จะชนะความไม่แน่นอนได้ แต่ผู้ที่ประสบผู้สำเร็จนั้น ก็คือ “ผู้ที่สามารถอยู่กับความไม่แน่นอนได้อย่างปลอดภัยและเป็นสุข”

    • ทำให้เข้าใจประวัติศาสตร์ ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม และคาดการณ์ลักษณะทางสังคมและกลุ่มลูกค้าในอนาคต เพื่อสร้างสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของตลาดได้
    • ความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การสนองความต้องการของลูกค้าและเข้าใจตลาดว่าจะพัฒนาไปในรูปแบบใดทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จและสามารถกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ แผนงานในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
    • การทำธุรกิจในโลกอนาคต เน้น Emotional Market มากขึ้น องค์กรธุรกิจจะต้องตอบสนองความต้องการเชิงอารมณ์และความรู้สึกของลูกค้า เพื่อผลิตสินค้าที่สร้างความรู้สึกทางอารมณ์ (Emotional Appeal) ให้กับลูกค้าให้ได้ เพราะผู้ชนะคือผู้ที่สามารถผลิตสินค้าและให้บริการเพื่อสนองความต้องการทางอารมณ์ของผู้บริโภคได้มากที่สุด
    • องค์กรธุรกิจจะต้องหาให้ได้ว่าอะไรเป็นคุณค่า (Value) ของสินค้าและบริการของเราเพื่อตอบสนองต่อตลาดทั้ง ตลาดเชิงวัตถุ (Materialist Market) และตลาดเชิงอารมณ์ความรู้สึก (Emotional Market)

    ประยุกต์ใช้กับงาน กฟผ. เรื่อง CSR , Value Creation และ Value Diversity

    1. CSR (Corporate Social Responsibility)

    “เราอยู่กับสังคม สังคมก็อยู่กับเรา”

    “สังคมอยู่ได้ เราก็อยู่ได้”

    กฟผ. เป็นองค์กรที่มีภารกิจหลักที่ต้องเกี่ยวข้องกับสังคมโดยตรง

    -สินค้าก็เป็นสินค้าสำหรับสังคมคือ เป็นสาธารณูปโภค อย่างหนึ่ง ที่ทุกคนในสังคมจำเป็น ต้องใช้

    -ในการผลิตก็ต้องใช้กระบวนการผลิต สถานที่และทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม เป็นที่ยอมรับจากสังคม และต้องอยู่กับสังคมได้ ทั้งทางด้านการผลิตไฟฟ้า (Generation) และระบบส่งไฟฟ้า (Transmission)

    ดังนั้น กฟผ. จึงมีความตระหนักในเรื่อง CSR เป็นอย่างมาก และมี นโยบายที่ชัดเจน

    สิ่งสำคัญที่สุดของ CSR ก็คือ ความจริงใจ (Sincereness) หากสังคมมองว่าเป็นการ สร้างภาพ แล้ว นั่นคือความล้มเหลวอย่างมหาศาล เพราะไม่เพียงแต่โครงการจะล้มเหลวเท่านั้น แต่นั่นอาจจะหมายถึงความล้มเหลวของทั้งองค์กรเลยทีเดียว เนื่องจากการสื่อสารประเภท Social Medias เป็นที่แพร่หลายมากแล้ว ไม่มีอะไรที่ปิดบังได้แล้ว ทุกสิ่งต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ ความจริงใจจึงเป็นหัวใจสำคัญลำดับแรก นอกเหนือจาก การสร้างความเข้าใจและการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว กว้างขวางในทุกที่ทุกแห่ง ทุกชนชั้น หลากหลายวัย หลากหลายอาชีพ ทันเวลา ทันการณ์

    นโยบายด้าน CSR ของ กฟผ. จะรับผิดชอบต่อสังคมครอบคลุมในทุกด้าน ไม่เฉพาะเพียงแต่ในด้านที่สังคมเห็นได้เท่านั้น แต่ในด้านที่สังคมไม่เห็นเราก็ทำ เพราะเราถือความจริงใจเป็นหลัก

    §คุณภาพของไฟฟ้า (Quality) ความมั่นคงของระบบไฟฟ้า (Security and Reliability) ราคาที่ยุติธรรม (Reasonable prices) ที่ส่วนใหญ่คนจะไม่เข้าใจ แต่กว่าที่ กฟผ. จะมาถึงจุดนี้ได้ ต้องทุ่มเทเป็นอย่างมาก

    §การบริหาร และการดำเนินงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient Environmental Operations and Management)

    §การบริหารจัดการที่ดี (Good Corporate Governance) ไม่คอรัปชั่น โปร่งใส ได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจได้จากทั้งลูกค้าผู้ใช้ไฟฟ้า ผู้ที่จะมาทำธุรกรรมกับ กฟผ.

    §เคารพในสิทธิมนุษยชน (Human Rights), Labor Practices, และ Fair Operating Practices,

    §ใส่ใจในสังคมและชุมชน โดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้า

    §สร้างเครือข่าย (Network of CSR Partnership) ระหว่าง กฟผ. และองค์กรอื่นทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

    §ส่งเสริม สร้างสรรค์ (Corporate Culture on CSR) ในหมู่พนักงานทั่วทั้งองค์กร

    §ส่งเสริม สร้างสรรค์ (CSR Management Practices) ในระดับผู้บริหาร

    2. Value Creation และ Value Diversity

    Value Creation เป็นการสร้างคุณค่า หรือ มูลค่า มักเกิดจากแนวคิดใหม่ๆที่มาจากจินตนาการ และแรงบันดาลใจของคนใดคนหนึ่ง หรือหลายคน อาจกล่าวได้ว่า Value creation จะก่อให้เกิด นวัตกรรม การสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ

    Value Diversity เป็นการสร้างความหลากหลายทางคุณค่า ซึ่งมาจากความคิดที่หลากหลายของคนจาก หลายกลุ่ม หลาย Disciplines ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเริ่มจาก “การเปิดกว้างทางความคิดก่อน”

    กฟผ. เป็นองค์กรที่ค่อนข้างใหญ่ประกอบด้วยหลายหน่วยงาน และพนักงานที่มีจำนวนมาก และมี Disciplines หลากหลาย สินค้าก็มีลักษณะเป็นได้ทั้งสินค้าและบริการในขณะเดียวกัน และถือเป็นสาธารณูปโภคอย่างหนึ่งที่ทุกคนในสังคมจำเป็นต้องใช้

    คุณค่าที่แท้จริงของ กฟผ. น่าจะเป็นสิ่งที่ Stakeholders เช่น ลูกค้า ประชาชน ผู้บริหารกฟผ. กระทรวงพลังงาน สื่อมวลชน ชุมชนและผู้ที่อยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้า คณะกรรมการ กฟผ. (EGATBoard) รวมทั้งคนภายใน กฟผ. เอง ที่ได้มอง กฟผ. ที่ได้สัมผัส กฟผ. (ซึ่งความจริงแล้วคำว่า “กฟผ.” ก็คือ พนักงานของ กฟผ. และการบริการด้านผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.) แล้วมีความรู้สึกอย่างไร นั่นแหละคือ คุณค่าที่แท้จริงของ กฟผ. อาจจะเรียกว่า คุณค่าที่แท้จริงของ กฟผ.ก็คือStakeholders’ Satisfactions”

    คุณค่าที่แท้จริงของ กฟผ. น่าจะมาจากการขับเคลื่อนของทุกคนคนใน กฟผ. โดยมีการ Share Visions, Share Knowledge และ Share Experiences ของ Stakeholders ทุกภาคส่วน (อาจจะมีการทำ Workshop หรือ การรับฟังความคิดเห็น) ซึ่งจะก่อให้เกิด ความศรัทธา (Trust) และ ความร่วมมือ (Cooperation) อย่างจริงใจ และจริงจัง ในหมู่ Stakeholders

    คุณค่าที่แท้จริงขององค์กร จะมาจาก คุณค่าของระบบ (Systems) ทุกระบบในองค์กร

    คุณค่าของระบบ(System Value) มาจาก คุณค่าของงาน (Work Value) ซึ่งคุณค่าของงาน ก็มาจาก คุณค่าของคน (Personal Value) คุณค่าของเครื่องจักร (Machine Value)และ คุณค่าของวัตถุดิบ (Material Value)

    Value Diversity ของ กฟผ. มี 2 ระดับ คือ

    §ระดับในองค์กร ที่เกิดจาก ทุกภาคส่วนใน กฟผ. ที่จะร่วมสร้าง Value

    §ระดับ Stakeholders ที่เกิดจาก ทุกภาคส่วนของ Stakeholders เช่น ลูกค้า ประชาชน ผู้บริหาร กฟผ. กระทรวงพลังงาน สื่อมวลชน ชุมชนและผู้ที่อยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้า คณะกรรมการ กฟผ. (EGAT Board) นอกเหนือจากคนภายใน กฟผ. เอง ที่จะร่วมสร้าง Value

    • จากปัญหาในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าภายในประเทศ ทำให้ EGAT ต้องสร้างโอกาสในการพัฒนาโรงไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว พม่า แล้วส่งกลับมาใช้ในไทยด้วย โดยการถ่ายทอด Knowledge ด้านการพัฒนาโรงไฟฟ้าให้ เกิดการพัฒนาบุคลากรของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เกิด Value ของด้านบริการของ EGAT ตอบสนองต่อตลาดเชิงอารมณ์ความรู้สึก (Emotional Market) ที่ดีจากประเทศเพื่อนบ้าน เกิดความไว้วางใจ อยากให้เราไปร่วมพัฒนาด้านระบบไฟฟ้า และถือเป็น EGAT Nation Pride ด้วย
    • เน้นการสร้างกิจกรรมให้กับชุมชนที่เป็นแหล่งความรู้แบบเปิด (Open Source) เพราะคนคนเดียวไม่สามารถสร้างองค์ความรู้ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ได้ ต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมและพัฒนาเพื่อเป้าหมายเดียวกัน
    • การสร้างบรรยากาศการทำงานให้เกิด Innovation เพื่อเพิ่ม Value ให้กับองค์กร พยายามผลักดันและกระตุ้นให้เกิดไอเดียใหม่ ๆ โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม และแบ่งปันความสำเร็จและความล้มเหลวด้วยกัน ร่วมทั้งสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไอเดียอย่างต่อเนื่อง
    • เน้นการทำกิจกรรม CSR ที่ให้ความรู้สึกทางอารมณ์ (Add Emotion) มีเรื่องราว (Add a story) และทำให้เกิดความแตกต่าง (Make your activity unique)
    • เน้นการสร้างกิจกรรมที่มีองค์ประกอบของ การสร้างความรู้สึกร่วม (Emotionalize) เคารพในปัจเจกชน (Personalize) การกระจายอำนาจ (Decentralize) สร้างแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ (Innovate)

    3. อุปสรรคที่เกิดขึ้นในการทำงานที่ไม่ประสบความสำเร็จ

    อุปสรรคที่สำคัญ ที่ทำให้งานไม่สำเร็จ ดูออกจะเป็นเรื่องที่ธรรมดา แต่มีสำคัญมากในเกือบทุกยุคทุกสมัย จนเกือบจะเรียกได้ว่าเป็นประเด็นที่ค่อนข้างคลาสสิค นั่นก็คือ การประสานงานที่ไม่ดีพอ อันเนื่องมาจาก

    ประการแรก “การขาดความเข้าใจในงานแท้จริง” ส่วนมากจะมองเฉพาะความสำเร็จของตนเองหรือของหน่วยงานตนเอง ทำให้ต่างฝ่ายต่างมองสิ่งที่ตนเองจะต้องทำให้สำเร็จ และยึดถือสิ่งที่ตนเองเกี่ยวข้องจะต้องทำเท่านั้น โดยไม่มองให้กว้างไกลว่า แท้จริงแล้ว “ความสำเร็จร่วม”ของงานนี้อยู่ที่ไหน คืออะไร กล่าวคือ ไม่มีจุดมองร่วมกันว่าความสำเร็จร่วมของงานคืออะไร ถ้าเข้าใจถึงความสำเร็จร่วมของงานแล้ว จะเข้าใจถึงงานบางอย่างที่ Contact or Overlap กัน จะทราบว่างานไหนจะส่งผลกระทบต่อหน่วยงานอื่นมากน้อยอย่างไร จะเกิดบรรยากาศที่ร่วมมือกันมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการประสานงานที่ดีขึ้นในระดับหนึ่ง

    ประการที่สอง “การขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี” เป็นการซ้ำเติมให้การประสานงานยิ่งเลวร้ายลงไปอีก ทำให้เกิดบรรยากาศในการทำงาน “เป็นพิษ” ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่หลายคนเป็นคนมีความรู้ความสามารถ แต่ขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำให้การประสานงานแย่ลงไปอีก งานขาดความก้าวหน้า ขาดความสำเร็จ

    ประการที่สาม “การขาดความเอื้อเฟื้อต่อกัน” ในการทำงาน ร่วมกันกับคนหมู่มากนั้น การเอื้อเฟื้อต่อกันเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยเช่นกัน หากขาดความเอื้อเฟื้อต่อกันแล้ว บรรยากาศในการทำงานจะเป็นแบบ “แห้งแล้ง” ตัวใครตัวมัน

    ซึ่งอุปสรรคดังกล่าวนี้ การแก้ไขดูเหมือนจะง่าย “แต่ความจริงไม่น่าจะง่าย” เพราะ อุปสรรคดังกล่าวนี้สามารถที่จะมองเป็นปัญหาทางด้านการบริหาร (Management) ก็ได้ เป็นปัญหาด้านบุคคล (Personal) ก็ได้ เป็นปัญหาด้านระบบ (System) ก็ได้ นอกจากนี้ ทั้งสามด้านยังInterrelate กันอีกด้วย

    โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่าน FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์ ประจำวันที่ 6-20 เมษายน 2557

    http://www.gotoknow.org/posts/565785

    สำหรับฉบับย้อนหลัง โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้

    http://www.gotoknow.org/blogs/books/view/chirafihrdnewsletters

    วันที่ 18 มีนาคม 2557

    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

    โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นหลาย ๆ ต่อหลายครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อมวลมนุษย ชาติในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นจากมือของมนุษย์เอง และสร้างความเดือนร้อนไปทั่วทุกแห่ง

    ในโลก การปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจนั้นทำลายสังคมขนาดเล็ก ระดับครอบครัวไปจนถึงระดับชาติ ทุกที่มุ่ง

    ผลกำไรหลงลืมความสุขที่จะได้รับ เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะได้อย่างเดียวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    ของในหลวงสอนให้รู้จักความพอดี ความมีสติในการใช้ชีวิต ยึดทางสายกลางในการดำรงชีวิต หลักการนี้ต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง ถึงจะได้ผลปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง มันน่าคิดเหมือนกันที่มนุษย์ที่มีกิเลส จะทำได้หรือไม่ทำก่อนที่จะผิดพลาด ทำด้วยหัวใจและตั้งใจก็จะประสบความสำเร็จ

    ผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร การบริหารการเปลี่ยนแปลง

    เป็นช่วงเวลาที่วิทยากรสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางในการนำองค์กรไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต การเปลี่ยนแปลงต้องรู้จักที่จะปรับเปลี่ยนเอง หรือว่าจะถูกให้บังคับ ให้มีการเปลี่ยนแปลง การเปลียนแปลงจะเริ่มอย่างไร ความเข้าใจในเรื่องของวัฒนธรรมองค์กรเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลง กฟผ.จะอยู่แบบนี้ไปในอนาคตหรือเราควรจะทำอะไร มองภาพสะท้อนจากสังคมในปัจจุบัน อยากใช้ไฟฟ้าแต่ว่าไม่ให้สร้างในพื้นที่ของชุมชน สร้างไม่ได้ซึ่งจากต่างประเทศ จะมีผลต่อการผลิตในอนาคตไหม

    การทำงานแบบไชโยควรจะหมดไปได้หรือยัง ในองค์กรการเปิดใจรับรู้เพื่อนร่วมงาน หน่วยงานข้างเคียง เป็นเรื่องที่มีในการสร้างความร่วมมือในการทำงาน จะทำอย่างไรให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (How to) มันเป็นความท้าทายอย่างมาก ผู้นำในองค์กรทุกระดับต้องสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้น่าคิดเป็นอย่างยิ่ง

    -------------------------------------

    วันที่ 19 มีนาคม 2557

    เป็นกรณีศึกษาของบริษัทบ้านปูจำกัด (มหาชน) กับการเข้าสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาค

    เอเชียแปซิฟิค

    บ.บ้านปูเป็นบริษัทเอกชนที่ทำธุรกิจพลังงานด้านถ่านหินเป็นหลัก มีอายุไม่มากประมาณ 30 ปี เริ่มทำธุรกิจจากบริษัทขนาดเล็ก เติบโตขึ้นมาเรื่อย ๆ และขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ จากจุดเริ่มต้น ถ้าแบ่งช่วงเป็นระยะเวลาประมาณช่วง 10 ปี จะพบว่า บ.บ้านปู มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ในบางช่วงก็ประสบปัญหาเหมือนกัน แต่ด้วยวิชั่นของผู้บริหารทำให้ บ.บ้านปู ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทชั้นนำด้านธุรกิจถ่านหินทั้งในและต่างประเทศ มีการวางแผนด้านยุทธศาสตร์ ทั้งในด้านธุรกิจและชุมชนเป็นอย่างดี มีการบริหารการเปลี่ยนแปลงและวางธุรกิจในอนาคต ให้ความสำคัญกับทุกๆ ด้าน ถ้าจะเปรียบเทียบ บ.บ้านปู กับ กฟผ. จะพบความแตกต่างหลายด้านเช่น การบริหารงานแบบเอกชน มีความคล่องตัวกว่า การตัดสินใจทได้ง่ายกว่า แต่นั่นก็ไม่ใช่ข้อจำกัดในการที่จะปรับเปลี่ยนตัวเอง กฟผ. คงต้องเรียนร้อเพื่อนำมาใช้ต่อไป

    TQM / SEPA ความเป็นเลศ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

    ปัจจุบันทุก ๆ หน่วยงานพยายมปรับมาตรฐานของหน่วยงานให้มีศักยภาพสูงขึ้น มีมาตรฐานที่อาจเรียบไดว่าเวป็นเสมือนมาตรฐานกลาง เป็นแนวทางในการจัดการดำเนินงานของทุก ๆ หน่วยงาน ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาตรฐานการทำงานที่ดีขึ้น สูงขึ้นในอนาคต ปตท.ก็นำ TQA ไปใช้จนมีความเป็นมาตรฐานในการทำงานเข้าสู่ระดับ TQC รัฐบาลเองก็พยายามคอยคุมและยกระดับมาตรฐานการทำงานของรัฐวิสาหกิจด้วย SEPA ไม่ว่าจะเป็น SEPA หรือ TQA เป็นช้อกำหนดที่มองทุกด้านของหน่วยงาน เราทำงานแบบเดิม ๆ ไม่ได้ จะต้องพยายามปรับเปลี่ยนให้เข้ามาตรฐาน ซึ่งทำได้ยากมากสำหรับองค์กรใหญ่ แนวทางที่เห็นก็คือค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนเป็น

    ส่วน ๆ ค่อย ๆ ทำจากเล็กไปใหญ่เพียงแต่ว่าจะช้าไปหรือไม่ ทำอย่างไรถึงจะเปลี่ยนได้อย่างเร็วและมีผลที่ดีไม่ใช่เรื่องง่าย แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการ

    การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามของการเมือง

    สภาวะการเมืองที่วุ่นวายในปัจจุบัน และในอนาคตน่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง การเมืองถ้าไม่นิ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจซึ่งแน่นอนส่งผลต่อการใช้พลังงานส่งผลต่อ กฟผ.อย่างแน่นอน จะทำอย่างไร จะวางตัวอย่างไร การป้องกันการแทรกแซงจากภาคการเมืองเป็นเรื่องที่ กฟผ.ต้องระวังไม่ให้เกิดขึ้น กฟผ.คงต้อง

    1.วางแผนพัฒนาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างรัดกุม

    2.พร้อมที่จะปรับแผนการพัฒนาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง

    3.การวางตัวของ กฟผ. ต่อสังคมและการเมืองต้องเป็นกลางอย่างแท้จริง

    4.การสร้างความมั่นใจต่อประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง

    5.ระบบการทำงานต้องโปร่งใสตรวจสอบได้

    -------------------------

    วันที่ 20 มีนาคม 2557

    นวัตกรรมของบริษัท ซีพีออยล์ จำกัด

    บ. ซีพีออยล์ จำกัด เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจค้าปลึก ที่เรารู้จักกันดีในชื่อของ บริษัท เซเวนท์ อีเลฟเวน

    ซึ่งมีสาขาอยู่ที่ประเทศไทย แน่นอนว่าการทำธุรกิจแบบนี้ต้องมีปัญหาหลาย ๆ อย่างเกิดขึ้นแน่นอน ของไม่ตรงตามที่ลูกค้าต้องการ ของเสียหาย จุดส่งของ การที่พนักงานถูกปล้นจี้ ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ บริษัทสนับสนุนให้พนักงานได้นำมาคิดพัฒนา ประดิษบ์สิ่งประดิษฐ์ ทดลองใช้งาน และใช้งานอย่างเป็นทางการ การส่งเสริมให้พนักงานให้คิดพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาเป็นผลดีเป็นอย่างมากต่อบริษัทส่งผลให้พนักงานมีจิตใจที่จะแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ บริษัทยังเปิดโอกาสให้หน่วยงานภายนอก เข้ามาร่วมสร้างนวัตกรรมด้วย โดยได้ตั้งรางวัล 7 Innovation Awards ขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อนำไปใช้ในการขับเคลื่อนประเทศ มีหลาย ๆ บริษัทได้รับรางวัล และนำผลงานไปใช้ได้อย่างจริงอีกด้วย

    White Ocean Strategy กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ.

    เป็นการบรรยายการดำเนินธุรกิจที่ไม่เอารัดเอาเปรียบกันระหว่างผู้ขาย และผู้ซื้อ ยุทธศาสตร์นี้เป็นสิ่งที่ให้แต่ความสุขใจกับทุก ๆ ฝ่าย ไม่มีการมอมเมาด้วยความหวังที่ไม่สมเหตุผล มีความสมดุลทุก ๆ รูปแบบ อิงการสอนของพระพุทธศาสนา มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ กฟผ. จะนำมาใช้ให้เหมาะสมอย่างไร จะสร้างความสมดุลได้อย่างไรเป็นเรื่องที่น่าคิด แต่ก็มีหลาย ๆ ธุรกิจที่มีการดำเนินงานแบบนี้แล้ว ถ้าทำได้ในอนาคต กฟผ. จะเป็นองค์กรที่เป็นที่ยอมรับของประชาชนอย่างแน่นอน

    ---------------------------

    ธรรมะสำหรับผู้บริหาร จิตอิสระกับจิตประภัสสร

    เป็นการฝึกสมาธิรูปแบบใหม่ ยังให้ความเห็ไม่ได้ว่าทำได้หรือไม่ บางครั้งก็รู้สึกงง ๆ แต่คงต้องพยายามต่อไป

    -------------------------

    วันที่ 21 มีนาคม 2557

    เศรฐกิจโลก และเศรฐกิจไทย ประชาคมอาเชียน AEC กับผลกระทบ และการปรับตัว

    ของ กฟผ.

    เป็น Panel Discussion ที่มอบภาพรวมของเศรฐกิจโลก มองสหรัฐอเมริกาว่ากำลังกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ยักษ์ใหญ่อย่างจีน จะเกิดภาวะฟองสบู่แตกหรือไม่ สภาวะของยุโรปและรัฐเชียจะเป็นอย่างไร ซึ่งส่งผลต่อภูมิภาคอาเซียนอย่างแน่นอน และในอาเซียนเอง สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียตนาม รวมถึงพม่า มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยตำแหน่งที่ไดเปรียบของไทย ต้องเตรียมพร้อมที่จะเป็น Gate Way สู่ประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน แต่อุปสรรคคือการเมืองในเมืองไทย ยังมีปัญหาอยู่ กฟผ.ต้องเตรียมพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางของพลังงาน การปรับตัวในทุกๆ ด้าน จำเป็นต้องรีบดำเนินการ เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงให้ทัน

    ---------------------------

    Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร และการวางแผนงานวิจัยโครงการเชิงนวัตกรรม

    การคิด คนอื่นไม่เห็นภาพ การถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นรูปภาพ จะทำให้เห็นภาพรวมหรือแนวทางในการดำเนินงานได้ชัดเจนครบถ้วน พร้อมที่จะพัฒนาต่อยอดไปเรื่อย ๆ ใช้ประโยชน์ได้มากมาย ถ้าความคิดนั้นได้รับการยอมรับ และนำไปปฏิบัติจริง

    -------------------------

    สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ EADP 10

    วันที่ 21 มีนาคม 2557

    ช่วงเช้า Panel Discussion : เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC

    โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสวิวัฒน์ อ.มนูญ ศิริวรรณ และ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

    สถานภาพเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ

    • -สหรัฐเศรษฐกิจขยายตัว 3 %
    • -EU ขยายตัว 1 % ผ่านพ้นวิกฤต Recession ไปแล้ว ระบบเศรษฐกิจของยุโรปมีการรวมตัวที่แน่นแฟ้น เช่น Banking Union, Single Rescue Fund และ European Stabilize
    • -ญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัว ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น การยกเว้น VISA เข้าประเทศ
    • การขึ้นภาษี Sale Tax
    • -จีน มีสภาพเศรษฐกิจน่าเป็นห่วง มีประชากร 1200 ล้านคน ค่า GDP 10 % ต่อเนื่องกันหลายปี
    • มีปัญหาหนี้สาธารณะมาก และอาจมีปัญหา NPL
    • -ไทย ขยายตัวเฉลี่ย 3 % ส่งออก 5-6 % เป็นผลมาจาก AFTA ดอกเบี้ย ลดในปีนี้เพราะการเมือง และจะเพิ่มขึ้นในปีหน้า อัตราแลกเปลี่ยน เริ่มอ่อนลง

    สถานการณ์พลังงานโลกปี 2557

    • -ความต้องการน้ำมันดิบของโลกขยายตัว 1.4 % หรือ 1.3 mb/d สู่ระดับ 92.5 mb/d
    • -กลุ่มนอกโอเปคผลิตน้ำมันเพิ่ม 1.7 mb/d สู่ระดับ 56.4 mb/d
    • -สหรัฐจะเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในกลุ่มนอกกลุ่มโอเปค
    • -ปัจจัยเสี่ยงเรื่องน้ำมันลดลงเนื่องจากความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างอิหร่านกับชาติตะวันตก
    • -โอเปคคงเพดานการผลิตที่ 30 mb/d
    • -จะมีแรงกดดันทำให้ราคาน้ำมันดิบลงไปต่ำกว่า 100 $/bbl

    ทิศทางพลังงานไทยปี 2557

    • -ราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลง
    • -ราคาก๊าซธรรมชาติจะมีแนวโน้มสูงขึ้น
    • -ค่าไฟฟ้า (เอฟที) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
    • -ถ่านหินราคาลดลงเพราะผู้ใช้รายใหญ่หันไปใช้ก๊าซและพลังงานหมุนเวียน

    ภาพรวมสถานการณ์พลังงานไทยและแนวโน้มในอนาคต

    • -ไออีเอเห็นว่าประเทศไทยมีจุดเสี่ยงความมั่นคงด้านพลังงานสูงที่สุดในอาเซียน
    • -ต้องพึ่งพาพลังงานจากภายนอกประเทศมากขึ้น
    • น้ำมันเพิ่มขึ้นจาก 85 % เป็น 100 % ในปี 2578
    • ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นจาก 25 % เป็น 90 % ในปี 2578
    • LNG เพิ่มขึ้นจาก 3 เป็น 23 ล้านตัน ในปี 2573
    • ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 3 % เป็น 21 % ในปี 2573 (พม่าเพิ่มจาก 1500 MWเป็น 10,000 MW
    • ลาวจาก 7,000MW เป็น 10ม000 MW)
    • ผลกระทบการปรับตัวของ กฟผ.
    • -ปรับองค์กรให้เป็นองค์กรชั้นนำระดับภูมิภาคเพื่อรองรับการแข่งขันและโอกาสทางธุรกิจ
    • -พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ ASEAN GRID
    • -การพัฒนาพลังงานเพื่อความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมที่ดี (Green Energy)
    • -แสวงหาลู่ทางในการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน และใช้ประโยชน์จากความเป็นผู้นำด้านพลังงานไฟฟ้าและการซ่อมบำรุง

    ช่วงบ่าย Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร โดย อ.ดำเกิง ไรวา

    Mind Map คือเครื่องมือในการจดบันทึกที่ใช้สมองสองซีกอย่างเต็มที่ คิดโดยชาวอังกฤษชื่อ Tony Buzan เมื่อปี 2517 และเผยแพร่ไปทั่วโลก สามารถใช้ได้ทั้งกับการเรียนและการทำงาน

    ประโยชน์ของ Mind Map

    • -ใช้วางแผนงาน
    • -นำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
    • -ช่วยพัฒนาความจำ
    • -พัฒนาการประชุม
    • -เพิ่มประสิทธิภาพงาน
    • -ร่าง Outline งานที่ยืดหยุ่น

    กฎของ Mind Map

    • -แก่นแกน : เริ่มจากกลางหน้า ควรเป็นภาพหรือสัญลักษณ์และไม่ล้อมกรอบ
    • -กิ่งแก้ว : ประเด็นสำคัญ กระจายออกรอบทิศทาง เส้นกิ่งแก้วให้วาดโค้งเรียวลง เช่น กิ่งไม้ เชื่อมโยงติดกับกับแกเนแกน
    • -กิ่งก้อย : ประเด็นรอง ใช้สีเดียวกับกิ่งแก้ว เขียนเป็นเส้นโค้งไหลลื่น
    • -คำ : ให้ใช้คำสั้นๆ ตัวบรรจง อ่านได้ชัดเจน ต้องมีเส้นรองรับข้างใต้เสมอ
    • -เส้น : ยาวกว่าภาพ เส้นบนกิ่งแก้วเดียวกัน ต้องเชื่อมต่อกัน และเป็นสีเดียวกัน เขียนเป็นเส้นโค้งไหลลื่น
    สุชิน สุวรรณโฆษิต

    เศรฐกิจพอเพียงมูลนิธชัยพัฒนา

    วันที่18 มีนาคม2557

    ดร.สุเมธตันติเวชกุล

    โลกเรามีการเปลี่ยนแปรงใหญ่มาหลายครั้งแล้วเกิดถี่ขึ้นเรื่อยๆการใช้ทรัพยากรณ์ ของโลกในปัจจุบันไม่สมดุลย์
    มีการบริโภคเกินขีดความสามารถของโลกที่รับได้ 1.5 เท่า เนื่องจากการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย
    การปรับเปลี่ยนวิธีคิดในการพัฒนา จากเดิม KPM( knowledgepowermoney ) เป็น GCK ( goodnesscultureknowledge )

    เศรฐกิจพอเพียง เป็นปรัญาที่เดินสายกลาง มี 3 หลักใหญ่

    พอประมาณ

    มีเหตุผล

    มีภูมิคุม้กันในตัวที่ดี

    และกำหนดความพอดี 6 ด้าน

    ด้านจิตใจ ด้านสังคม ด้านทรัพยากรณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรฐกิจ ด้านการเมือง

    เราสารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
    และการทำงานในบริษัท ทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

    วัฒนธรรมองค์กรการบริหารการเปลี่ยนแปลง

    วันที่18มีนาคม2557

    ศ.ดร จีระ หงส์ลดารมภ์ ดร. ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ อ. ประกาย ชลหาญ

    คนที่สามารถอยู่รอดได้ ต้องมีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงเกิดจาก
    สาเหตุหลายอย่าง เช่น การเปลี่ยนแปลง
    ด้านโครงสร้าง กระบวนการ

    ด้านบุคลากร การเมืองในองค์กร ด้านเทคโนโลยี่

    Adaptive leader ผู้นำต้องมีการปรับตัวโดยสร้างสภาวะผู้นำให้กับตัวเอง
    ใช้หลัก KFCI

    K=knowmeทำความรู้จักลูกน้องให้ลึก

    F=Focusmeบริหารตามความสามารถของเขาให้สามารถแสดงศักยภาพตามที่เขามี

    C=Careaboutmeดูแลแคร์ และชม ลูกน้อง

    I=Inspireสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกน้องในทีม

    ผู้นำต้อง
    สร้าง learning curtureและ coaching ลูกน้อง

    กฟผ
    จากการทำ work shopพบว่าคน กฟผ มีวัฒนธรรมที่มีเอกภาพ
    แต่จะมีปัญหาเรื่องการสื่อสารเป็นไปได้ว่าลักษณะงาน กฟผ
    เป็นงานที่ไม่ค่อยติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอกและชุมชน
    ทำให้เรื่องการสื่อสารเป็นจุดอ่อน จะเห็นได้ว่า กฟผ
    มีปัญหาเรื่องทำความเข้าใจกับชุมชน และชุมชนไม่รู้จัก กฟผ ดีพอ ส่วนใน กฟผ
    เองก็ทำงานเป็นแบบ silo ทำให้การสื่อสารประสานกันภายในไม่ค่อยเข้าใจกันต่างคนต่างมีจุดยืนของตัวเอง
    ไม่มองเป็นขององค์กร

    สุชิน สุวรรณโฆษิต

    กรณีศึกษาของบริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน)

    กับการก้าวเข้าสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค

    วันที่19มีค2557

    คุณสมยศ รุจิรวัฒน์

    บ.บ้านปู
    ใช้หลักบริหาร SD framework( Sustainabledevelopment ) มีองค์ประกอบ 3 ด้าน

    License to operate ด้านเกี่ยวกับกฏหมาย สิ่งแวดล้อมและชุมชน

    ด้านสุขาพอนามัย และความปลอดภัย

    ด้านสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ จัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

    พัฒนาชุมชนมีโครงการช่วยเหลือชุมชนด้านต่างๆ

    Localization ด้านธรรมาภิบาล

    ส่งเสริมคนดี

    วางแผนและสร้างกิจกรรม เพื่อไปสู่บริษัทที่มีธรรมาภิบาล

    Competitiveness ด้านบุคคล และ เทคโนโลยี

    บริหารด้านบุคคลากร

    ปรับปรุงขบวนการให้เป็นเลิศ

    พัฒนาด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยี

    ในแต่ละเรื่อง จะมีขบวนการผลักดันเพื่อให้ภาระกิจประสพความสำเร็จ
    เช่น กลไกผลักดันเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม จะใช้ เรื่อง innovation integrity care synergy

    TQM / SEPA ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของกฟผ

    คุณโชติรส เสวกวัฒนา อ.สัญญา เสรษฐพิทยากุล คุณปิติ ศรีสุขสมบัติ

    วันที่ 19 มีค 2557

    การบริหารของ ปตท มีการวางวิสัยทัศน์
    เป็นบริษัทพลังงานข้ามชาติชั้นนำวางเป้าหมายไว้

    Big เป็นบริษัทใน global fortune 100

    Long มีการเติบโตที่ยั่งยืน

    Strong เป็นบริษัท top quartile performance

    การสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน
    โดยวางเป้าหมาย 3 ด้าน ที่ต้องเกื้อหนุนกัน

    HPO

    CG

    CSR

    สร้างสมดุลย์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ประเทศ ชุมชนสังคม ผู้ถือหุ้น คู่ค้า พนักงาน

    สร้างค่านิยมพนักงาน
    ให้เป็น คนเก่ง- คนดี ใช้ model spilit

    S = synergy P = performance excellence I = innovation

    R = responsibility for social I= integrity & ethics

    T = trust & respect

    ปัจจุบัน กฟผ กำลังทำ egat way เพื่อให้องค์กรไปสู่ HPO โดยที่กฟผ ใช้TQM เป็นเครื่องมือบริหารองค์กร
    และอยู่ระหว่างดำเนินการ พบว่า
    มีหลายกระบวนการที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้องค์กรก้าวไปข้างหน้า
    และต้องเผยแพร่ชี้แจงพนักงานให้เข้าใจ

    ผลลัพย์ ที่คาดหวังของระดับ องกรค์และบุคคลจะต้องมีทั้งความสำเร็จ และความสุขประกอบกันไปด้วย

    ดังนั้น Egat way ควรคำนึงถึง ด้วยเช่นกันโดยจะต้องมีปรัญาการบริหารบวกกับระบบบริหารโดยมี
    ค่านิยมองค์กร วัฒนธรรมองค์กร และบุคคลเป็นส่วนที่เกื้อหนุน

    การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามทางการเมือง

    วันที่ 19 มีค 2557

    รศ.ดร.อัษฏางค์ ปานิกบุตร อ. ธรรมรักษ์ การพิศิษฏ์

    การเมืองมี
    3 ระดับ ระดับชุมชน ระดับประเทศ ระดับนานาชาติ

    การป้องกันการแทรกแซงทางการเมือง
    ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้สังคม ต้องสละกำไรส่วนหนึ่งเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและความสุขให้ชุมชน เอาประชาชนเป็นเพื่อน

    ต้องศึกษาวัฒนธรรมการเมืองปัจจุบัน ว่าเป็นอย่างไร
    สร้างพันธมิตรทั้งภายใน และภายนอก ทุกกลุ่ม กฟผ ต้องให้ความรู้ประชาชนให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของ กฟผ

    ใช้มารตการเชิงรุกการเข้าถึงประชาชน เป็นการถ่วงดุลย์อำนาจทางการเมืองได้ถ้าประชาชนเข้าใจ กฟผ

    ดังนั้น โครงการ CSR ที่ทำอยู่เป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้ กฟผ เป็นที่ยอมรับของประชาชน

    กฟผ ต้องเตรียมความพร้อมกรณีเกิดวิกฤต ถ้าเศรฐกิจแย่สุด

    การบริหารต้องเปลี่ยนแปลง

    ต้องเตรียมเงินสดสำรองไว้

    แผนลงทุนต้องปรับใหม่
    ต้องลงทุนสิ่งที่ได้เงินเร็ว

    ทำงานเป็นทีม มี เครือข่าย

    สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

    ผู้นำต้องมีขวัญกำลังใจดี และมีภาวะผู้นำสูง

    สุชิน สุวรรณโฆษิต

    นวัตกรรมของ บริษัทซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน )

    ดร.ศุภกิจ เศวตกิติธรรม

    วันที่ 20 มีค. 2557

    ประเทศไทยมีความสามารถด้าน นวัตกรรมอยู่ อันดับที่ 51 ในการจัดอันดับ
    ปี 2011-2013 ใน world economic forum ประเทศไทยมีการลงทุน 0.25 % ของ GDP ซึ่งน้อยมาก

    นวัตกรรม เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างความแตกต่าง และมูลค่าเพิ่มเพื่อให้เกิดศักยภาพในการแข่งขัน

    บ.ซีพีออลล์ ได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้จัดโครงการประกวด ด้านนวัตกรรม โดยมีองค์กรภาครัฐต่างๆ

    และเอกชลเข้าสนับสนุน เพื่อให้ได้นวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับมาสนับสนุน ภาค ธุรกิจ SMEs

    เพื่อให้มีช่องทางการแข่งขันเพิ่มขึ้น อีกทั้งเป็นการส่งเสริม ประชาชนทั่วไป ให้มีแนวคิดด้านนวัตกรรม

    และเผยแพร่ นวัตกรรมใหม่ๆออกมาใช้กับภาคธุรกิจ

    White Ocean Strategy กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ

    คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

    วันที่ 20 มีค. 2557

    White ocean เป็นหนังสือ ที่เน็นเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม ปัจจุบันเราอยู่ในยุคการเปลี่ยนแปลงของโลกนอกจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น สภาวะโลกร้อน แล้วยังมีการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ เทคโนโลยี

    และวิถีชีวิต ก็เปลี่ยนด้วย เราจะต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เราจะต้องมีสมดุลย์ในการดำเนินชีวิต
    ธุรกิจ ก็ต้องมีสมดุลย์ ระหว่าง คน กำไรและpassion

    ถ้าเราต้องการเปลี่ยนแปลงสังคม ต้องเปลี่ยนปลงตัวเราเองก่อน
    และเริ่มจากกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งจะเห็นผลในระยะยาว

    ยุคการเปลี่ยนแปลง ทางความคิดด้านธุรกิจ

    Red ocean มีแนวคิด

    Customer is the king

    Max profit

    Min cost

    มิฉาทิฐิสร้างกิเลสให้ผู้บริโภคมาใช้สินค้า

    Blue ocean มีแนวคิด

    High risk high return

    Innovation

    Technology is a king

    สร้างตลาดใหม่ที่ไม่มีผู้แข่งขันเพื่อสามารถขายได้ผู้เดียว

    White ocean มีแนวคิด

    ทุกคนเป็นผู้ชนะ

    สร้างสมดุลย์ระหว่าง คุณค่า ต้นทุน และความสุข

    สร้างประโยชน์ให้ชุมชน

    มีความคิดสร้างสรรค์มีความยั่งยืน

    สามารถวัดความสำเร็จองค์กรได้ จะมี กำไร การเติบโต ความสุข ความยังยืน ที่สูงกว่า

    การบริหารองค์กรสีขาว

    ทำการประมาณตนเองว่าเราอยู่ที่จุดไหน where are we

    ตั้งเป้าหมายที่เราต้องการจะเป็น มองให้กว้างคิดให้ไกล where we want to go

    ใช้หลักการ 4 p

    people คำนึงถึงคนในองค์กร

    planet รณรงค์ การใช้พลังงานอย่างประหยัด

    profit ดืนกำไรสู่สังคม

    passion มีความศรัทธา มุ่งมั่นและอุดมการณ์

    ยืนบนหลักการ ความสมบูรณ์และแบ่งปัน

    ตั้งอยู่บนพื้นฐานคุณธรรม และความเป็นจริง

    สุชิน สุวรรณโฆษิต

    เศรฐกิจโลกเศรฐกิจไทย
    ประชาคมอาเซียนกับผลกระทบการปรับตัวของ กฟผ

    รศ. ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

    ดร. กอบศักดิ์ ภูตระกูล อ. มนูญศิริวรรม

    วันที่ 21 มีค. 2557

    เศรฐกิจโลกปัจุบันเริ่มปรับตัวดีขึ้น สหรัฐปรับตัวเพิ่ม ประมาณ 3% อัตราการว่างงาน 6 %

    ทางยุโรปเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 % ประเทศ ญี่ปุ่น มากกว่า 1.7-1.8 % ประเทศจีน 6.8 %

    แต่ยังมีความเสี่ยง
    เกี่ยวกับเหตุการณ์การเมืองใน ประเทศยูเครน ซึ่งมีประเทศ รัฐเซีย สหรัฐ
    และสหภาพยุโรปเข้ามาเกี่ยวข้องและอาจเป็นต้นเหตุทำให้เศรฐกิจ เกิดความผลกระทบอีกครั้ง

    ประเทศจีนเอง ก็ยังมีความเสี่ยงกับการเกิดภาวะฟองสบู่แตก
    ทำให้รัฐบาลจีนต้องชลอและลดการเจริญเติบโตในประเทศลง

    ปัจจุบันอัตราส่วนการใช้พลังงานของโลก เชื้อเพลิงฟอสซิล มีอัตราส่วนสูง ประมาณ 82 %

    และอัตราส่วนการใช้พลังงานเติบโตสูงสุด อยู่ที่กลุ่ม non-oecd อยู่ที่ 65 %

    อนาคตสหรัฐจะเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกและปัจจัยทางการเมืองด้านภูมิภาคตะวันออกกลางผ่อนปรน
    อีกทั้งนโยบายด้านการเงินของสหรัฐจะส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง

    ทิศทางพลังงานไทยในปี2557 ราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลง
    แต่ราคาก๊าซธรรมชาติจะเพิ่มขึ้นตามราคาการปรับโครงสร้างของภาครัฐ ทำให้ค่า FT มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น

    ราคาถ่านหินลดลง เพราะผู้ใช้รายใหญ่ หันไปใช้ก๊าซธรรมชาติและพลังหมุนเวียนเพิ่มขึ้น ( สหรัฐ จีน เยอรมัน)

    ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีจุดเสี่ยงด้านความมั่นคงด้านพลังงานสูงสุดในกลุ่มอาเซียน
    ต้องพึ่งพาพลังงานจากภายนอก และใช้ก๊าซธรรมชาติถึง70%

    ผลกระทบการปรับตัวของกฟผ

    ต้องปรับองค์กร เพื่อรองรับการแข่งขัน
    ปรับโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายด้านพลังงานในอาเซียน

    พลิกบทบาทให้เป็นผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

    แสวงหาลู่ทางการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน

    ขยายธุรกิจด้านบริการเทคโนโลยีและงานซ่อมบำรุงให้กับประเทศเพื่อนบ้าน

    เตรียมพร้อมการปฏิรูปพลังงาน การเปิดเสรีด้านระบบส่งและจำหน่าย

    Mindmap สำหรับผู้บริหาร

    อ. ดำเกิง ไรวา

    วันที่ 21 มีค. 2557

    Mind map เป็นเครื่องมือ ในการจดบันทึกที่ใช้สมองอย่างเต็มศักยภาพทั้ง 2 ซีก

    พื้นฐานของ mind map คือการจินตนาการ และการเชื่อมโยง

    การคิดแบบ mind map มี 2 แบบ

    คิดแบบกว้าง
    เช่นคิดแบบตั้งคำถาม อะไรที่ไหนอย่างไร หรือคิดตามคุณลักษณะเช่น ขนาด สีสัน อายุ ๆลๆ

    คิดแบบลึก
    แบบที่ 1 แบบคิดเชื่อมโยงไปเรื่อยๆ ไม่มีรูปแบบ (free flow) เป็นการคิดเพื่อ หาความคิดใหม่ๆ
    แนวทางสร้างสรรค์

    แบบที่ 2 คิดลึกลงไปในเรื่องเดียวกัน (structure) คิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งลึกลงไปในรายละเอียด
    จะเป็นการคิดแก้ปัญหา หาคำตอบสาเหตุที่แท้จริง

    การเขียน mind map

    ควรใช้รูปภาพสัญญาลักษณ์ และเส็นสี เพื่อแยกรายละเอียด จะทำให้น่าสนใจ
    และจดจำง่ายขึ้น เพราะคนเราจะจำภาพได้ มากกว่าตัวหนังสือ

    Networking principle and technic หลักการสร้าง connection

    1 อย่าโฆษณาตัวเอง อย่าชื่นชมตัวเอง ให้คนอื่นชื่นชมแทนเราอย่างเป็นธรรมชาติ และสนุกสนาน

    2 ประโยชน์ของ connection มี 3 อย่าง

    สร้างประโยชน์

    สร้างภาพสร้างตัวตน ให้มีชื่อเสียงให้คนรู้จัก

    แรกเปลี่ยนความคิดเห็น เรียนรู้ความเก่งจากคนอื่นๆวิชาชีพอื่นๆมาประยุกต์ใช้

    จรูญ อุทัยวนิชวัฒนา

    ประเด็นการเรียนรู้ในการอบรมในวันที่ 21 มีนาคม 2557

    “เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับ ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.”

    เศรษฐกิจโลกเกิดปัญหา เนื่องจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่สหรัฐอเมริกาและส่งผลกระทบต่อเนื่องไปทั่วโลก บางครั้งเรียกว่าวิกฤตซับไพรม์หรือวิกฤตหนี้ด้อยคุณภาพ (Sub-Prime Crisis) ทำให้เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องและคุกคามความมั่นคงของสถาบันการเงิน และเกิดวิกฤตเศรษฐกิจลุกลามกระทบไปทั่วโลกนับว่ารุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930 ส่งผลให้อำนาจและความน่าเชื่อถือของสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศตะวันตกลดลง โดยเฉพาะชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกาในฐานะผู้นำโลกลดลงด้วย

    ปัจจุบันประเด็นการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 ถูกถกเถียงกันว่า ประเทศไทยพร้อมหรือยังที่จะเข้าสู่การรวมตัวในครั้งนี้ เพราะเหลือเวลาอีกเพียง 1 ปี ที่ชาติสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ชาติ ต้องเข้าสู่การเปิดเสรีอย่างจริงจังทั้งการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และเงินทุน กันอย่างเต็มตัว ด้วยมุมมองความคิดของทุกประเทศที่แตกต่างกัน โดยมองแต่ประโยชน์ของตนเองเป็นที่ตั้ง และไม่ได้มองการร่วมมือกันเพื่อแข่งขันกับต่างชาติ ดังนั้นโอกาสที่ชาติอาเซียนจะกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้ง ด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เหมือนการรวมตัวกันของยุโรปเพื่อเป็นสหภาพยุโรป (อียู) จึงไม่ใช่เรื่องง่ายหลังจากปี 2558 จึงน่าจะเป็นการเปิดเสรีค่อยเป็นค่อยไป ไม่สามารถกดปุ่มเปลี่ยนเป็นการค้าเสรีได้เต็มตัว และภาคีสมาชิกยังคงต้องติดตามแก้ปัญหาตามกันต่อเนื่อง ทั้งเรื่องมาตรการกีดกันทางการค้า ระบบเทคนิคต่าง ๆ แต่หากมองในแง่ดีแล้ว ปัญหาเหล่านี้จะเป็นเหมือนยาคุ้มครองให้ธุรกิจที่เสียเปรียบอยู่ ได้มีเวลาปรับตัวมากขึ้นท่ามกลางระบบปลาใหญ่กินปลาเล็ก เพราะการเปิด AEC ถือเป็นประสบการณ์ใหม่

    Fossil Fuel - เชื้อเพลิงฟอสซิลจะยังเปนแหลงพลังงานหลัก โดยความตองการถ่านหินจะเพิ่มขึ้นมาก

    ที่สุด รองลงมาคือกาซธรรมชาติ เนื่องจากความตองการเชื้อเพลิงทั้ง 2 ชนิดนี้ เพิ่มขึ้นอยางตอเนื่อง

    ในภาคการผลิตไฟฟา อยางไรก็ดี น้ำมันก็ยังคงเปนเชื้อเพลิงที่สําคัญในอีก 20 ปขางหนา

    Asean Power Grid เป็นทางเลือกหนึ่งที่สำคัญต่อ กฟผ. และ กฟผ. ต้องเตรียมตัวรับกับนโยบายปฏิรูปพลังงาน

    “Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร และ การวางแผนงานวิจัยและโครงการเชิงนวัตกรรม”

    นำ Mind Map ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องต่างๆ ได้แก่ การจัดระบบความคิด คิดอย่างเป็นระบบ (Thinking process) ทักษะในการมองเห็นภาพรวม และ ความสัมพันธ์ของรายละเอียดในส่วนย่อย อันนำไปสู่ความสามารถในการจัดลำดับความสำคัญ และการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ ใช้ Mind Mapเป็นเครื่องมือในการตั้งเป้าหมาย (Goal Setting) ในชีวิตและการทำงานเพื่อสร้างทัศนคติที่ดี ต่อการทำงาน มีแรงบันดาลใจ กระตือรือร้น และริ เริ่มลงมือทำก่อน (Proactive) ใช้ Mind Mapเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรด้วยเนื้อหาที่สั้น, กระชับ และตรงประเด็น (Smart Communication) ใช้ Mind Mapเป็นเครื่องมือในการทักษะการบริหารเวลาที่อย่างจำกัดให้ได้ประสิทธิภาพ (Effective time management)

    อัจฉรี เด่นสิริมงคล

    สรุปประเด็นการเรียนรู้ EADP # 10 ช่วงที่ 3

    วันที่ 20 มีนาคม 2557 ช่วงเช้า

    ศึกษาดูงาน ณ บมจ. ซีพีออลล์

    หัวข้อ : นวัตกรรม ของ บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด ( มหาชน)

    - จุดกำเนิด 7-11 ที่สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าของ License ในไทยเริ่มสาขาแรกที่ พัฒน์พงษ์

    - มีกลุ่มบริษัทที่ Support การผลิต กระจายสินค้า ไอที การกระจายสินค้า ระบบสมาชิก โรงเรียน ปัญญาภิวัฒน์ เป็นต้น

    - กุญแจสำคัญ คือสะดวกซื้อ ในรูปแบบทั้งสินค้าและบริการ ปัจจุบันมีสาขา 7,634 สาขา ในไทย

    - นวัตกรรม คือสิ่งที่เกิดใหม่ เกิดจาก การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย

    - Process Innovation สร้างกระบวนการใหม่

    - Product Innovation สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่

    - Service Innovation สร้างสรรค์บริการใหม่

    - Business Model Innovation สร้างธุรกิจรูปแบบใหม่

    สรุป ผู้บริหารเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างนวัตกรรมองค์กร ต้องอำนวยให้มีการแข่งขันกันสร้างนวัตกรรม ในทุกๆด้าน ของกฟผ.

    วันที่ 20 มีนาคม 2557 ช่วงบ่าย

    White Ocean strategy กับการสร้างศรัทธา ของ กฟผ.

    ผู้บรรยาย อ. ดนัย จันทร์เจ้าฉาย0

    - White Ocean อยุ่ใน องค์กร ที่High Trust เป็นบริษัทที่มี ธรรมาภิบาล ยั่งยืนไม่ว่าจะเกิดวิกฤตก็สามารถยืนหยัดได้

    -การบริหารองค์กร แบบ White Ocean

    - What are we ?

    - Where do you want to go ?

    - How to get there

    ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ เห็นว่า White Ocean Strategy เป็นเรื่องที่ องค์กร ต้อง ปฏิบัติ และทำให้เป็น Common Sense

    จากวิสัยทัศน์ของ กฟผ. เป็นองค์กร ที่มีธรรมาภิบาล การบริหารงานมีประสิทธิภาพสูง สังคมไว้วางใจ เป็นความภาคภูมิใจในชาติ อย่างไรก็ตามต้องเพิ่มกลยุทธ์ให้สังคมไทยทุกระดับให้ความไว้วางใจเพื่อที่จะสามารถขยายกำลังการผลิตได้มากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ และการซื้อไฟฟ้าราคาสูงจากเอกชน

    วันที่ 20 มีนาคม 2557 ช่วงเย็น

    ฝึกการบริหารจิต โดย พระพิศาลศาสนกิจ (หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล) สอนฝึกสมาธิโดยใช้อุบายให้ใช้น้ำเย็นดื่ม แล้วใช้สมาธิติดตาม ความเป็นไปในร่างกาย การนั่งสมาธิทำให้จิตใจสงบ และสมองปลอดโปร่ง สามารถ ใช้ผ่อนคลายความเครียด วิตกกังวลได้

    อัจฉรี เด่นสิริมงคล

    สรุปประเด็นการเรียนรู้ EADP # 10 ช่วงที่ 3

    วันที่ 21 มีนาคม 2557 ช่วงเช้า

    หัวข้อ : เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

    ดร .สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

    เศรษฐกิจโลก

    - สหรัฐอเมริกาฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ คาดการณ์ดอกเบี้ยขึ้นปีหน้า 1%

    - EU ฟื้นตัวเพิ่มได้เล็กน้อย 1 % ผ่านวิกฤตอย่างหนักมาแล้ว ขณะนี้กำลังก้าวไป Banking Union

    - ญี่ปุ่น คาดว่าจะฟื้นตัว แต่ช้า แค่ 1.8%

    - จีน น่าเป็นห่วง ปัญหา NPL และการคอรัปชั่น

    เศรษฐกิจไทย

    -ขยายตัว 2.5-3% ( ยกเว้น จีนมีปัญหา)

    -ดอกเบี้ยไทยลดลงได้อีก เงินบาทอ่อนค่าลง

    -เกมการเมืองใกล้ยุติ

    -ปี2556 เป็นครั้งแรกที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ถ้าส่งออกปีนี้มีปัญหา ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของการลงทุน

    ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

    - บรรยายโดยภาพให้เห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของอเมริกา จะมีปัญหา Consequences of QE Tapering and policy and normalization in US

    - Over investment in China

    ตึกสูง ลงทุนมหาศาลแต่ไม่ได้ใช้งาน

    -Driven by Asia and ASEAN Integration

    โครงการทางหลวงอาเซียน 23 เส้นทาง โครงการรถไฟ บริษัท MImbra Cambodia

    อาจารย์ มนูญ ศิริวรรณ

    -ทิศทางพลังงานไทย ปี 2557 จะมีการปรับโครงสร้างน้ำมันและก๊าซ ราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลง ในขณะราคาก๊าซธรรมชาติสูงขึ้น ถ่านหินราคาลดลง สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของกฟผ. ขึ้นอยู่กับนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาล ว่าให้ กฟผ. 50% รวมบริษัทลูกหรือไม่

    อ.จีระ ฝากให้ ติดตามเรื่องเศรษฐกิจ เสนอให้ กฟผ.ไปเข้าร่วมประชุม Financial Forum เพื่อให้มี Networking กับที่อื่นมากขึ้น

    วันที่ 21 มีนาคม 2557 ช่วงบ่าย

    หัวข้อ : Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร และการวางแผนงานวิจัยและโครงการเชิงนวัตกรรม

    อาจารย์ ดำเกิง ไรวา

    ประโยชน์ของ Mind Map

    • 1.การทำงาน มองภาพรวม มีระบบ
    • 2.การเข้าใจผู้อื่น
    • 3.ประหยัดเวลาและต้นทุนเสียโอกาส
    • 4.Training Effectiveness - 1 page รู้เรื่อง เข้าใจ จำได้
    • 5.ร่าง Outline ของ Presentation ได้ยืดหยุ่น และมั่นใจ

    นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในงานและครอบครัว ทำให้เข้าใจและวางแผน กิจกรรมได้ดีขึ้น

    อัจฉรี เด่นสิริมงคล

    สรุปประเด็นการเรียนรู้ EADP # 10 ช่วงที่ 3

    วันที่ 21 มีนาคม 2557 ช่วงเช้า

    หัวข้อ : เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

    ดร .สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

    เศรษฐกิจโลก

    - สหรัฐอเมริกาฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ คาดการณ์ดอกเบี้ยขึ้นปีหน้า 1%

    - EU ฟื้นตัวเพิ่มได้เล็กน้อย 1 % ผ่านวิกฤตอย่างหนักมาแล้ว ขณะนี้กำลังก้าวไป Banking Union

    - ญี่ปุ่น คาดว่าจะฟื้นตัว แต่ช้า แค่ 1.8%

    - จีน น่าเป็นห่วง ปัญหา NPL และการคอรัปชั่น

    เศรษฐกิจไทย

    -ขยายตัว 2.5-3% ( ยกเว้น จีนมีปัญหา)

    -ดอกเบี้ยไทยลดลงได้อีก เงินบาทอ่อนค่าลง

    -เกมการเมืองใกล้ยุติ

    -ปี2556 เป็นครั้งแรกที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ถ้าส่งออกปีนี้มีปัญหา ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของการลงทุน

    ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

    - บรรยายโดยภาพให้เห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของอเมริกา จะมีปัญหา Consequences of QE Tapering and policy and normalization in US

    - Over investment in China

    ตึกสูง ลงทุนมหาศาลแต่ไม่ได้ใช้งาน

    -Driven by Asia and ASEAN Integration

    โครงการทางหลวงอาเซียน 23 เส้นทาง โครงการรถไฟ บริษัท MImbra Cambodia

    อาจารย์ มนูญ ศิริวรรณ

    -ทิศทางพลังงานไทย ปี 2557 จะมีการปรับโครงสร้างน้ำมันและก๊าซ ราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลง ในขณะราคาก๊าซธรรมชาติสูงขึ้น ถ่านหินราคาลดลง สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของกฟผ. ขึ้นอยู่กับนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาล ว่าให้ กฟผ. 50% รวมบริษัทลูกหรือไม่

    อ.จีระ ฝากให้ ติดตามเรื่องเศรษฐกิจ เสนอให้ กฟผ.ไปเข้าร่วมประชุม Financial Forum เพื่อให้มี Networking กับที่อื่นมากขึ้น

    วันที่ 21 มีนาคม 2557 ช่วงบ่าย

    หัวข้อ : Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร และการวางแผนงานวิจัยและโครงการเชิงนวัตกรรม

    อาจารย์ ดำเกิง ไรวา

    ประโยชน์ของ Mind Map

    • 1.การทำงาน มองภาพรวม มีระบบ
    • 2.การเข้าใจผู้อื่น
    • 3.ประหยัดเวลาและต้นทุนเสียโอกาส
    • 4.Training Effectiveness - 1 page รู้เรื่อง เข้าใจ จำได้
    • 5.ร่าง Outline ของ Presentation ได้ยืดหยุ่น และมั่นใจ

    นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในงานและครอบครัว ทำให้เข้าใจและวางแผน กิจกรรมได้ดีขึ้น

    จิราพร ศิริคำ ฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า

    การบ้านพิเศษ

    บทความเรื่อง Well-paid ัoung Seattle Techie prefers giving to riches

    จาก The Seattle Times, published March 12, 2014 by Jerry Large


    ส่วนใหญ่ผู้ที่ใจบุญช่วยเหลือสังคมนั้น มักเป็นเศรษฐีที่อายุมากแล้ว วิเคราะห์ได้ว่า ไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลกมากนัก ด้วยความคิดของคนเศรษฐีในช่วงอายุมากนั้นเป็นความคิดที่ตกผลึกแล้ว ด้วยประสบการณ์ และฐานะ ตลอดจนทรัพย์สิน เงินทองที่มีพร้อมทุกอย่างซึ่งหามาได้มากมายตลอดชีวิตของเขานั้น คนที่มีจิตใจที่ไม่เลวทรามต่ำช้ามากจนเกินไป ย่อมมองเห็นสัจจธรรมความจริงบางอย่างที่ผ่านมาในชีวิตได้บ้าง มีความเห็นใจ และอยากที่จะช่วยเหลือผู้อื่นอยู่บ้างเป็นธรรมดาไม่มากก็น้อย สิ่งเหล่านี้นับเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไร สามารถพบได้ทั่วไป แต่ในกรณีของเด็กหนุ่ม ที่ชื่อ “Jessan Hutchison-Quillian” คนนี้ มีความน่าสนใจ ในหลายเรื่องด้วยกัน สรุปได้ดังนี้


    สิ่งที่น่าสนใจ คือ

    1. ต้องยอมรับว่า สิ่งที่คนหนุ่มผู้นี้ทำนั้นเป็นเรื่องที่ “สุดวิเศษ” มากสำหรับยุคปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่ในสังคมของโลกนี้ โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว ที่ต่างก็ตะเกียกตะกาย แก่งแย่ง เพื่อให้ได้มาซึ่งความร่ำรวยทรัพย์สินเงินทอง ฐานะในสังคม และยังต้องสะสมทรัพย์สินเงินทองเหล่านั้นให้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักอ้างว่าเพื่อลูกหลาน (ของตนเอง) ในอนาคต

    2.เขาจบการศึกษาด้านเทคโนโลยี Computer Science ในระดับปริญญาตรี เมื่ออายุเพียง 19 ปี เขาเริ่มงานที่บริษัท Google เป็นวิศวกร ได้รับเงินเดือนมากกว่า 100,000 USD ซึ่งสูงกว่าผู้อื่นในระดับเดียวกันถึง 2 เท่า คนอื่นในระดับเดียวกันเขาได้รับเงินเดือนเพียง 36,000 USD ต่อเดือน เท่านั้น

    3. เขาเลือกที่จะใช้เงินเดือนเพียง 36,000 USD ต่อเดือน ด้วยเหตุผลที่ว่าพอเพียงและสะดวกสบายแล้ว จริงๆ ในการดำรงชีวิต ส่วนที่เหลือนำไปช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อการกุศล ในหลายแง่มุม ด้วยแนวคิดที่เขามีอยู่ คือ การลดช่องว่างเรื่อง “ความไม่เท่าเทียมกัน (Inequality)”

    4.เขาพยายามสร้างเครือข่ายในการช่วยเหลือผู้อื่น ด้วยการคิด Application ที่เพียง “คลิก” ก็ได้ทำบุญ ช่วยเหลือผู้อื่นได้ทั่วโลก

    5.บริษัท Google ที่เขาทำงานอยู่สนับสนุนในเรื่องที่เขาทำ โดยมีการจัดตั้งเป็น Google’s Corporate Social – Responsibility Team และเขาเป็นหนึ่งในทีมงานนี้


    สิ่งที่น่าศึกษา ก็คือ อะไรทำให้เขาเป็นเช่นนี้?

    เขาเป็นของเขาเอง ซึ่งเกิดจาก Gene ในตัวเขา หรือ เป็นเพราะครอบครัวเขาเป็นตัวอย่างและการอบรมเลี้ยงดู หรือเป็นเพราะการเรียนในระดับประถม มัธยม มหาวิยาลัย หรือเป็นเพราะการคบเพื่อน หรือเป็นเพราะสภาพแวดล้อมและสังคมที่เขาอาศัยอยู่


    สิ่งที่ประทับใจ คือ ความคิดของเขา ที่สะท้อนจากคำพูดของเขาที่ว่า

    “No amount of money can buy you health or security. It’s better to make a community with people who can help you in hard time.”

    “ไม่ว่าเงินมากมายเพียงใด ก็ไม่สามารถซื้อสุขภาพและความปลอดภัยได้ ทางที่ดีควรสร้างสังคมที่สามารถช่วยคุณได้ในยามที่ยากลำบาก”


    สิ่งที่ภาวนา ก็คือ ภาวนาในใจว่า สิ่งที่ดี ที่วิเศษที่เขาทำนั้น ขอให้เป็นการทำเพื่อโลกใบนี้เถิด ขออย่าได้ทำไปเพื่อจะ “สมัคร ส.ว.” เลย


    สิ่งที่น่าสำเหนียก ก็คือ ในหลวงทรงมี Concept เรื่องนี้มานานแล้วว่า “ควรเป็นอยู่อย่างพอเพียง เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ช่วยเหลือ และแบ่งปันกัน ที่เหลือจึงนำไปค้าขาย”


    เปรียบเทียบกับระบบทุนนิยมสามานย์

    ระบบทุนสามานย์ ซึ่งเป็นการใช้ทุนที่มากกว่าสร้างความได้เปรียบในทุกวิถีทาง ทั้งใน เชิงกฎหมาย เชิงการเมือง เชิงเศรษฐกิจ และเชิงสังคม ในการสร้างกำไร ให้แก่ ตนเองและพรรคพวกของตนเองอย่างไร้ศีลธรรมและจรรยาบรรณ ไม่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือ และแบ่งปันกัน

    สังคมใด ประเทศใด ที่มีระบบทุนสามานย์ในประเทศ ประเทศนั้นจะต้องย่อยยับอย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว

    ในโลกนี้ หากยังไม่หยุดระบบทุนสามานย์ โลกใบนี้ก็จต้องย่อยยับอย่างแน่นอนไม่ช้าก็เร็ว (ปัจจุบันมีเค้าลางของความย่อยยับในโลกใบนี้ เริ่มมีให้เห็นได้บ้างแล้ว)


    ทางรอดของสังคม และของโลก

    สังคมทุกสังคม ตั้งแต่สังคมระดับเล็กสุด คือ ครอบครัว หมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด ประเทศ ภูมิภาค และสุดท้ายคือ โลกใบนี้ จะอยู่รอดได้ อย่างสงบร่มเย็น ด้วย “ความเท่าเทียมกัน” ให้ลองจินตนาการดูว่า ในหมู่บ้านที่เล็กมีประมาณ 10 ครอบครัว มีอยู่ หนึ่งครอบครัวเท่านั้น ที่มีโอกาสมมากกว่าครอบครัวอื่น จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม ทำให้ครอบครัวนี้ร่ำรวยมาก แต่อีก 9 ครอบครัวแทบไม่มีจะกิน คิดว่าอะไรจะเกิดขึ้น คำตอบง่ายๆ ก็คือ ครอบครัวที่ร่ำรวยจะต้องคอยระแวดระวัง อยู่อย่างไม่เป็นสุข กลัวอีก 9 ครอบครัวจะมาปล้น และมีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้มากขึ้นทุกวัน เพราะทั้ง 9 ครอบครัวนั้น ก็จะต้องทำทุกวิถีทาเพื่อที่จะอยู่รอด ครอบครัวหนึ่งอยู่อย่างไม่เป็นสุขเพราะร่ำรวย อีก 9 ครอบครัวอยู่อย่างไม่เป็นสุข เพราะความยากจน สรุปแล้วหมู่บ้านนี้ไม่มีครอบครัวใดมีความสุขเลย

    แน่นอนว่า สัจธรรมก็คือ ไม่มีอะไรที่เท่าเทียมกันอย่างแท้จริงในโลกใบนี้ มันเป็น Fact ดังนั้น ทางเดียวที่จะลดช่องว่างนี้ให้มันเหลือแคบที่สุด ก็คือ คนที่มีโอกาสมากกว่าผู้อื่น จะต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือ และแบ่งปันกัน แก่ผู้ที่ด้อยโอกาสกว่า (ส่วนแนวทางที่จะเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ช่วยเหลือ และแบ่งปันกันอย่างไรนั้น ก็เป็นเรื่องที่จะต้องคิดและต้องทำต่อไป)

    คิดอย่างง่ายๆ ก็คือ “โลกใบนี้เป็นของทุกคน คนที่จนที่สุดในโลกใบนี้ ก็เป็นเจ้าของโลกใบนี้ด้วยคนหนึ่งเช่นกัน

    20 มีนาคม 2557

    ช่วงเช้า นวัตกรรมของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) โดย คุณไพรวัลย์ ไทยนิยม

    • ปรัชญาของบริษัทฯ “ เราปรารถนารอยยิ้มของลูกค้า ด้วยทีมงานที่มีความสุข ”
    • การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯมุ่งความสะดวกผ่านรูปแบบสินค้าและบริการ มุ่งสร้างนวัตกรรม
    • นวัตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่เกิดจากความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ Process Innovation, Product Innovation, Service Innovation และ Business Model Innovation
    • Innovation แบ่งเป็น 2 แบบ คือ Closed Innovation = Copy มาพัฒนา ละ Opened Innovation มี concept และ Focus on combine ซึ่งผู้บริหารมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างนวัตกรรมขององค์กร บริษัท ซีพี ออลล์

    ช่วงบ่าย White Ocean Strategy กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ. โดย คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

    • กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว (White Ocean Strategy) คือ พื้นฐานสำคัญที่จะทำให้การประยุกต์ใช้กลยุทธ์การตลาดมีความมั่นคง แข็งแกร่ง และยั่งยืน
    • Key Word ของ White Ocean คือ ทุกคนเป็นผู้ชนะร่วมกันได้ (Everyone is the winner) เป็นการจับมือร่วมกัน เช่น Facebook สร้างความสมดุลระหว่างคุณค่ากับต้นทุน สร้างผลประโยชน์ที่ยั่งยืนขององค์กร
    • หลักการ White Ocean 7 ข้อ ได้แก่

    1.Where are we? การทำแผนประเมินตนเอง เป็นไปเพื่อผลเชิงบวกต่อสังคมโดยรวม

    2.What do we want to go? ให้มองภาพใหญ่ระดับมหภาค

    3.หาจุดสมดุลของ 4 P’s (People, Planet, Profit และ Passion)

    4.แบ่งปัน The World of Abundance

    5.Everyone is the winner. ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมและความจริง

    6.แนวคิด ISR ถ้าจะเปลี่ยนแปลงโลกนี้ต้องเริ่มจากตนเองก่อน

    7.Bench Marking เป็นผู้สร้างบรรทัดฐานใหม่ขึ้นในองค์กร

    การบ้านพิเศษ 6 สรุปบทความ Well-paid young Seattle techie prefer giving to riches

    • Jessan Hutchison-Quillian เป็นวิศวกรหนุ่ม วัย 27 ปี ผู้ที่ทุ่มเทเวลาและการบริจาคเงินเพื่อต่อสู้กับความยากจนและความไม่เสมอภาคของรายได้ เขาจบจากมหาวิทยาวอชิงตันเมื่ออายุ 19 ปี เข้าทำงานที่บริษัท Google ในปี 2007 เขากำลังจะพลิกกระแสของสังคมในโลกทุนนิยม ต้องการให้สังคมมีความยุติธรรมและเอื้อเฟื้อเผื่อแผร่กันมากขึ้น
    • แม้ว่าในวัยเด็ก พ่อแม่ของเขาจะแยกทางกันและไม่ได้สอนให้เขาคิดหรือมีมุมมองต่อสังคมในอนาคต แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป เขามีความคิดที่อยากจะช่วยเหลือสังคมให้ดีขึ้น โดยให้ความช่วยเหลือผู้ขาดแคลน เขาบริจาคเงินมากกว่า 100,000 ดอลล่าร์ และเพิ่มขึ้นจนถึง 40 % ในปัจจุบัน เขาคิดว่าการช่วยเหลือของเขาเป็นการซ่อมแซมส่วนที่เสียหายของโลก โดยเฉพาะความไม่เสมอภาคทางด้านอำนาจและทรัพยากร และการให้ทำให้มีความสุข แม้ว่าจะทำให้ถูกจำกัด
    • สิ่งที่มีส่วนทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการให้ ได้แก่ 1.ครอบครัวมีความพอเพียงไม่มีความต้องการด้านวัตถุนิยม 2. เขามีความคิดว่าเขามีทุกอย่างพร้อมแล้ว ทั้งความรักและความสุขสบาย 3. เขารู้ว่าเด็กๆไม่ได้มีโชคดีทุกคนเสมอไป
    • เงินไม่สามารถจะซื้อสุขภาพและมั่นคงปลอดภัยในชีวิตได้ สิ่งที่ดีกว่าคือการสร้างชุมชนที่มีคนที่สามารถช่วยเหลือคุณในช่วงที่มีปัญหา เขาไม่ได้มุ่งหวังให้ทุกคนทำตามอย่าง ทั้งหมด แต่เขาเชื่อว่าคนอเมริกันส่วนใหญ่ต้องการสิ่งที่ดีกว่า การสะสมด้านวัตถุโดยไม่มีจุดมุ่งหมายในมือข้างหนึ่ง ในขณะที่อีกข้างหนึ่งมีแต่ความไม่เสมอภาคเกิดขึ้น
    • หลักการดำเนินชีวิตโดยหลักการให้ของ Jessan Hutchison-Quillian เป็นต้นแบบของการเอื้อเฟื้อเผื่อแผร่และความยุติธรรมในสังคม ที่จะช่วยปลุกจิตสำนึกให้เกิดความคิดที่แตกต่างถึงผลสำเร็จที่จะเกิดขึ้นต่อสังคม เป็นแนวคิดที่ดี ที่จะช่วยเหลือสังคม เพื่อลดปัญหาความยากจน ลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน เกิดความเสมอภาค อันจะช่วยให้สังคมมีความสุข และมีความยั่งยืน ซึ่งตรงกันข้ามกับ หลักทุนนิยมสามานย์ ที่มุ่งเน้นการแสวงหากำไรและผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง ผู้ที่มีอำนาจหรือมีอิทธิพลมักใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกต้องหาผลประโยชน์ในระบบทุนนิยม ก่อให้เกิดปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น คนรวยเฉพาะคนเพียงกลุ่มเดียว คนส่วนใหญ่ในสังคมยากจนมากขึ้น เกิดความไม่เสมอภาค และนำไปสู่ความปัญหาความขัดแย้ง สังคมจะไม่มีความสงบสุข
    จรูญ อุทัยวนิขวัฒนา

    “บทความเรื่อง Well-paidyoung Seattle techie prefers giving to riches

    จาก The Seattle Times, published Wednesday, March 12, 2014 by Jerry Large”

    วันหนึ่ง เคยมีคนถามว่า… “พี่คะ เป้าหมายในชีวิตของคนเราคืออะไรคะ?”

    มีคนตอบไปว่า... ถามคำถามนี้กับร้อยคนก็อาจได้คำตอบร้อยอย่าง

    เพราะเป้าหมายในชีวิตของคนมันไม่ใช่หน้าที่ แต่เป็นทางเลือก

    เช่นถ้าถามบางคน อาจได้คำตอบว่า...

    เป้าหมายของเขาคือการเป็นวัยรุ่นพันล้าน หรือการเป็นซุปเปอร์สตาร์ หรือคนมีชื่อเสียง

    แต่บางคนอาจจะต้องการมีแฟนเป็นนางงามจักรวาล

    ขณะที่บางคนต้องการ “เห็นคนอื่นๆ มี และ ได้ ในสิ่งที่ควรเป็น”

    Jessan Hutchison-Quillian นับเป็นคนประเภทหลังนี้ ที่มีเป้าหมายไล่ล่าตามความฝัน

    ที่พยายามมอบสิ่งดีที่สุดให้สังคมโดยรวม ให้ดีขึ้น เอื้ออาทรกัน ไม่ยึดถือเงินเป็นศาสดา

    เพราะความสุขทางใจนั้น ซื้อไม่ได้ด้วยเงิน

    ทุนนิยมสามานย์ เป็นคำที่ประดิษฐ์ประดอยขึ้น ฟังแล้วบางคนสามารถอธิบายได้จนเห็นเป็นภาพ ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อมูล ทัศนะคติ ของแต่ละคน แต่เมื่อได้อ่านบทสัมภาษณ์ Jessan Hutchison-Quillian นี้แล้ว ขอสรุปว่า

    “อะไรที่ Jessan Hutchison-Quillian คิด และ ทำ ทุนนิยมสามานย์ ไม่คิด และ ไม่ทำ

    อะไรที่ Jessan Hutchison-Quillian ไม่คิด และ ไม่ทำ ทุนนิยมสามานย์ คิด และ ทำ”

    อัจฉรี เด่นสิริมงคล

    สรุปประเด็นการเรียนรู้ EADP # 10 ช่วงที่ 3

    วันที่ 19 มีนาคม 2557 ช่วงเช้า

    หัวข้อ : กรณีศึกษา บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้บรรยาย คุณสมยศ รุจิรวัฒน์

    สรุปประเด้น

    1. ประวัติความเป็นมาของบริษัทฯ 30 ปี ของการเจริญเติบโต

    2. Sustainability Development Framework

    2.1 Competitiveness

    2.2 Lacalization

    2.3 License to Operate

    3. Diversification ในส่วนของ เหมือง และไปสู่ power & steam business

    ประเด็น Diversificationมากๆ ดีหรือไม่ ช่วงแรก ทำมาก แต่พบว่าต้องเสียเวลาที่ดูแลธุรกิจที่กำไรสูง หันไปเสียเวลาดูแลธุรกิจที่ diversify ไป ต่อมาผู้บริหารปรับกลยุทธ์ โดย Focus on core skill เน้น การเป็น Coal Champion Plus

    4.ยุคปัจจุบัน 2011-2013 Consolidation and preparation for new era of growth

    6 Key areas

    4.1 Cost rationalization & Productivity

    4.2 Capital planning

    4.3 Synergy drive

    4.4 Human Resource development

    4.5 Financial Streaming

    4.6 Organic Growth

    5. Community Development strategy

    ใช้วิธื Community Engagement through : รัฐบาล ชุมชน บริษัท ตั้งโจทย์ให้ชุมชนสามารถอยู่ได้ ถ้าบรัทจากไป เช่น วิชาชีพช่าง ,OTOP ,ระบบ financing ,Distributor

    โครงสร้าง CSR เป็นระดับองค์กร ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เป็น license to Operate โดยมี Theme CSR by Heart

    สรุปในส่วนของ กฟผ. ควรมี SD Framework ที่ช่วยให้องค์กรมีกลยุทธ์ และแผนที่จะเติมเต็ม Key success Factors เพื่อการพัฒนาไปสู่องค์กรที่ยั่งยืน และมีความสุข

    วันที่ 19 มีนาคม 2557 ช่วงบ่าย

    หัวข้อ : TQM/SEPA ความแป็นเลิศและการพัฒนาที่ยั่งยืนของกฟผ.

    ผู้บรรยาย คุณปิติ ศรีสุขสมบัติ

    แก่นของการทำ TQM ทำไปเพื่ออะไร บทบาทของผู้บริหารในการทำ ต้องเข้าใจ TQM คือหลักการ ผลลัพธ์คือ High Performance Organization (HPO)

    ผลลัพธ์ที่คาดหวังของ HPO คือ ความสำเร็จ ( Performance ) และ ความสุข ( Happiness) ซึ่ง กฟผ.ต้องสร้างปัจจัยในการสู่ความสำเร็จตามผลลัพธ์ที่คาดหวัง ในระดับองค์กร และระดับบุคคล

    การทำ TQM จุดใหญ่คือ TQM กับ Business ต้อง Drive กัน ไม่ใช่แค่ทำ Report

    ผู้บรรยาย คุณโชติรส เสวกวัฒนา

    การทำงาน เมื่อสำเร็จ จะก่อให้เกิดความสุข กฟผ.ใช้ระบบ SEPA เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงผลการดำเนินงาน

    ใช้แทนระบบ PA เดิม เฉพาะส่วนที่เป็น คุณภาพการบริหาร อัตราส่วน KPI : SEPA =65% : 35% โยน้ำหนักของ SEPA จะเพิ่มขึ้นทุกปีฯ ละ 5 %

    SEPA เน้นความพึงพอใจของลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย อุปสรรคของ SEPA คือ การแบ่งไซโลของหน่วยงาน

    โดย แต่ละหน่วยงานจะสนใจรับผิดชอบ เฉพาะงานของตนเอง ไม่ได้มองภาพรวม ที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น กฟผ. ได้ตั้ง

    คณะทำงานจากทุกสายรอง เพื่อจะร่วมกันนำกรอบนโยบายลงสู่การปฏิบัติ

    ผู้บรรยาย คุณ สัญญา เศรษฐพิทยากุล

    กฟผ. ทำ TQM โดยใช้ EGAT Way เพื่อการนำไปสู่ High Performance Organization ( HPO ) มองว่า SEPA และ TQA เป็นเพียงรางวัลแต่ต้องมีวิธี จุดมุ่งหมายสู่ HPO ต้องมีผลงาน ประสบความสำเร็จ ต้องเป็นสิ่งที่ Stake Holder ต้องการจริงๆ กฟผ. ต้องกำหนด EGAT Way ไปให้ถึง

    วันที่ 19 มีนาคม 2557 ช่วงเย็น

    หัวข้อ การบริหารการเปลี่ยนแปลงจากการคุกคามทางการมือง

    -อ.จีระ ให้ความเห็นว่า ต้องมองการเมืองป็น Partner กับเรา ต้องศึกษาว่า วัฒนธรรมการเมือง ปัจจุบันเป็นอย่างไร ต้องมีพันธมิตร ทั้งในและนอก เช่น NGO เขาจะสนับสนุนเราได้

    -บทสัมภาษณ์ คุณสุวิทย์ คุณกิตติ

    ปัญหาการเมืองในประเทศไทย อยู่ในภาวะ Political deadlock เกิดจากความเสื่อมโทรมทางสังคม คุณธรรม เกิดการทุจริตในวงกว้าง การบริหารงานล้มเหลว

    ความมั่นคงด้านพลังงานมีปัญหามาก เพราะต้องนำเข้าพลังงานถึง 70% กฟผ. ต้องรู้ตนเองว่าควรพัฒนาด้านใดบ้าง กฟผ.ไม่สามารถเข้าถึงประชาชนมากเท่ากับ พวก NGO ทำให้ กฟผ. เสียเปรียบ หากกฟผ.เข้าถึงชาวบ้านได้ พวกเขาจะเป็นรั้วให้กับ กฟผ.เอง กฟผ.ต้อง Lobby สังคมให้เข้าใจผลกระทบต่างๆของการขาดแคลนพลังงาน

    -รศ. อัษฎางค์ ปาณิกบุตร

    การเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัวคนตั้งแต่เกิดจนตาย ประเทศไทยมีระบบอุปถัมภ์ ทำลายสังคม ประชาธิปไตยไทยมีปัญหา การศึกษาขาดคุณภาพ

    การพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ต้องพิจารณา 3 ส่วน

    1.นักการเมืองได้รับอำนาจจากประชาชน จึงมีอำนาจตามกฏหมายรองรับ มีแต่ระบบอุปถัมภ์

    2.ข้าราชการต้องรับใช้ประชาชน อย่าเป็นเครื่องมือของนักการเมือง

    3.ภาคประชาชนสามารถตรวจสอบการทำงานของนักการเมืองได้

    ในแง่ของ กฟผ. ต้องสร้างความสุขให้กับประชาชน เป็นเพื่อนกับประชาชน ไม่เอาเปรียบ ช่วยตรวจสอบการบริหารงานของแผ่นดิน โดยสร้างเป็นเครือข่ายร่วมรัฐวิสาหกิจ

    -อ. ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

    แผนการเปลี่ยนประเทศไทย 8-10 ปีข้างหน้า ต้องพยายามเลิกระบบอุปถัมภ์ให้เหลือน้อยที่สุด ประชาธิปไตยแบบใหม่ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมเรียนรู้ และเรียนรู้จากผู้นำที่กล้า

    กฟผ. ต้องมียุทธศาสตร์ สำหรับ Worst Case Scenario สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ เงินสด เพื่อแผนลงทุนในอนาคต มีการวางแผนบริหารงานอย่างเข้มข้น Leadership สำคัญมากยามวิกฤต

    -อ.จีระ : การเมืองพัวพันกับเศรษฐกิจ กฟผ. ควรจัดการการเมืองแนวตรง และแนวอ้อม เช่นให้ความรู้กับชุมชนแล้วเขาจะเป็นเกราะให้ กฟผ.

    -บทสัมภาษณ์ รศ. จรัส สุวรรณเวลา

    ในระยะสั้นคนไม่ศรัทธาในเรื่องการเลือกตั้ง ซึ่งคิดว่านำไปสู่ การผูกขาดอำนาจ เน้นประชานิยมสุดขั้ว เข้าสู่วงจรอุบาทว์ ควรปฏิรูประบบการเลือกตั้ง มีตัวแทนแต่ละกลุ่มมาเป็น สส. ต้องควบคุมการหาเสียงไม่ให่หลอกประชาชนได้อีก

    การปฏิรูปคือการกระจายอำนาจไปแต่ละพื้นที่ แล้วให้คนในพื้นที่ บริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่ ควบคุมคอรัปชั่น ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น

    ศรีวรรณ บูรณโชคไพศาล

    การบ้านพิเศษ 6

    Well-paid young Seattle techie prefers giving to riches

    Originally published March 12, 2014

    By Jerry Large- Seattle Times staff columnist

    Jessan Hutchison-Quillian วิศวกรหนุ่มบริษัท Google ใน Seattle เขาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันด้าน Computer Science เมื่ออายุ 19 ปี เข้าทำงานกับ Google เมื่ออายุ 20 ปี ในเดือนมิถุนายน 2007 ได้เงินเดือนมากกว่า 100,000 US$ ซึ่งเขาใช้จ่ายเงินประมาณร้อยละ 40 ในการช่วยเหลือสังคม และบริจาคให้องค์กรการกุศลต่างๆ โดยคิดว่าเป็นการซ่อมแซมส่วนที่เสียหายของโลก โดยเฉพาะความไม่เสมอภาคในสังคมและการใช้ทรัพยากร

    ชีวิตในวัยเด็ก พ่อแม่แยกทางกัน เขาอยู่กับแม่ ซึ่งมีอาชีพเป็นครู นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัย ครอบครัวของเขาไม่ได้ร่ำรวย ไม่เน้นวัตถุนิยม เขารู้ว่าไม่ใช่เด็กทุกคนจะมีโชคดี แต่เขาคิดว่าเขามีพร้อมทุกอย่าง ทั้งความรัก ความสุขสบาย เขาเริ่มบริจาคครั้งแรก 30 US$ เพื่อรณรงค์สิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับความไม่เสมอภาคของ LGBT (Lesbian, Gay, Bisexual and Transgender) ในระหว่างการรณรงค์หาเสียงของประธานาธิบดีในปี 2004 ซึ่งเป็นเงินจำนวนมากสำหรับวัยรุ่นสมัยนั้น และหลังจากเข้าทำงานที่ Google เขาได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนเฉลี่ยของครอบครัวใน King County ถึง 2 เท่า แม้เงินเดือนจะขึ้นทุกปี แต่เขามีความตั้งใจที่จะควบคุมการใช้เงินเดือนของเขาที่ 36,000 US$/ปี ส่วนที่เหลือจะบริจาคหมด เขามีความมุ่งมั่นไม่ต้องการให้จำนวนเงินเดือนหรือรายได้มาเปลี่ยนรูปแบบความเป็นอยู่ในชีวิตของเขา หรือมีความต้องการมากขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น เขาต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง ไม่ใช่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และเขาต้องการให้มีผลกับผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุด เขาไม่ได้ทำคนเดียว แต่เข้าร่วมกับองค์กร และมีตำแหน่งเป็นผู้นำขององค์กรด้วย

    เขาแบ่งการให้เป็น 3 ระดับ คือ ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ ช่วงแรกๆ เขาทำนอกเวลางาน ต่อมาเริ่มให้เพื่อนร่วมงานได้มีส่วนร่วมในการให้ และในปัจจุบันเขาเป็นวิศวกรของบริษัท ซึ่งรับผิดชอบงาน CSRของ Google เขารู้สึกว่าคนทั่วไปต้องการที่จะให้ แต่บางครั้งไม่รู้จะทำอย่างไร จึงไม่ได้ทำ ทีมงานออกแบบของเขาจึงได้จัดทำ app สำหรับโทรศัพท์มือถือ เพื่อส่งการแจ้งเตือนและแจ้งข้อเสนอแนะของการให้หรือบริจาคในแต่ละวัน การให้จึงทำได้ง่ายและรวดเร็ว ทุกคนสามารถเลือกที่จะให้ได้เพียงแค่กดปุ่มและส่ง จำนวนบริจาคเริ่มต้นคือ 1 US$ แต่สามารถให้มากกว่าได้ตามแต่กรณี

    บางครั้งเขากังวลว่า เขาให้มากเกินไปหรือให้ผิดกลุ่ม แต่ความรู้สึกนั้นก็หายไป เพราะผลของการให้มีคุณค่ามากกว่า นอกจากนี้ เขาคิดว่าเงินไม่สามารถซื้อสุขภาพที่ดีหรือความปลอดภัยได้ จะเป็นการดีกว่าหากการให้ช่วยสร้างสังคมที่มีชุมชนที่สามารถช่วยคุณได้ในยามที่ลำบาก เขาไม่ได้คาดหวังให้ทุกคนต้องทำเหมือนเขา แต่เขาเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ต้องการสิ่งที่ดีกว่าการสะสมอย่างไร้จุดหมายและเกิดความไม่เท่าเทียมกัน เขาหวังว่ารูปแบบการให้ของเขาสามารถเชื่อมโยงความเอื้ออาทรและความยุติธรรมได้ และจะสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความสำเร็จได้

    โดยสรุป Jessan Hutchison-Quillian มีหลักในการดำรงชีวิตอย่างเศรษฐกิจพอเพียง คือ พอประมาณ ไม่เป็นพวกวัตถุนิยม มีเหตุผลในการใช้จ่ายและการให้ เพื่อความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีคุณธรรม รู้จักแบ่งปัน มีความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ไม่ประมาท

    Jessan Hutchison-Quillian เป็นต้นแบบของวัยรุ่นที่มีความรู้สึกนึกคิดถึงการเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ และความยุติธรรมในสังคม มีแนวคิดที่ดีที่จะช่วยเหลือสังคม ช่วยให้เกิดความเสมอภาค ทำให้สังคมมีความสุขและความยั่งยืน การให้ของเขา ไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน ซึ่งตรงกันข้ามกับทุนนิยมสามานย์ ที่มุ่งเน้นแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว แสวงหากำไรส่วนเกิน และอาศัยอำนาจรัฐเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของตนเองและพวกพ้อง ก่อให้เกิดปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น เอารัดเอาเปรียบ เล่นพรรคเล่นพวก มีการปฏิบัติหลายมาตรฐาน ไร้ทั้งกฎเกณฑ์และศีลธรรม ทำให้สังคมไร้ความสุขสงบและความเจริญ

    นายชาคริต ภูษิตาภรณ์

    วันที่ 18 มีนาคม 2557

    มูลนิธิชัยพัฒนา ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล

    ประเด็นเรียนรู้เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง

    น่าภูมิใจที่ได้มีโอกาสมาฟังท่านดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ต่างๆที่ผ่านมาทั้งในแง่ สังคม และการเมือง โดยเน้นหนักๆคำว่า “พอเพียง” ต่างจากปัจจุบันที่แต่ละฝ่ายโดยเฉพาะนักการเมืองไทยที่ใช้เกินสิทธิตัวเอง ไม่รู้จะจบเมื่อไร แต่อย่างว่าคนไทยลืมง่าย ท่านเห็นว่าทุกยุครัฐบาลขาดความกล้าหาญในการเป็นผู้นำที่เป็น Good governance ซึ่งควรจะมาก่อนคำว่าประชาธิปไตย

    ท่านให้ความรู้เราเกี่ยวกับปฏิทิน Cosmic Calendar ที่ย่อเวลาที่ยาวนานของจักรวาลลงเป็น1 ปี แสดงให้เห็นความเป็นมาวิวัฒนาการในแต่ละช่วง เช่น Industrial Revolution 200 yrs. ทำให้เรารู้ว่าไม่สามารถฟื้นธรรมชาติ โดยปัจจุบันมีสัญญาณจากธรรมชาติที่ผิดปกติ เป็นปัญหาของโลก ที่เกิดจากการบริโภคเกินพอดี อย่างเช่นประเทศที่พัฒนาแล้วเน้น GDP เป็นระบบทุนนิยม มีการแข่งขัน การแก่งแย่ง มีการใช้ทรัพยากรที่ฟุ่มเฟือย เป็นเหตุของภัยพิบัติ เกิดมลภาวะ ปัญหาสังคม

    อนาคตเราควรไปสู่ GCK ( Goodness /. Culture / Know ledge ) ควรเน้น GNH Gross National Happinees เป็นระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากร วัฒนธรรมท้องถิ่น และส่งเสริมหลักธรรมมากิบาล มนุษย์ต้องเปลี่ยนวิธี คิดเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงยั่งยืนของชีวิต การพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องมีความสมดุล ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สื่อถึงความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ไม่เน้น Cost benefit แต่ใช้ cost effectiveness

    ผู้นำที่ดี ต้องรอบรู้ รอบคอบ นำทางไปให้ถูกต้อง Egat ถูกมองว่าเป็นองค์กรตัวอย่างที่ดีด้านโปร่งใส มีธรรมมาภิบาลดี แต่อาจเป็นจุดอ่อนในสถานะการณ์ปัจจุบัน ที่เน้นผลประโยชน์คนดีไม่ค่อยได้โอกาส รับการสนับสนุน คนไม่ดี กล้าทำ พักพวกเยอะ มีอิทธิพลไปทั่ว แก้โดย รวมพวกคนดี ต่อสู้


    ประเด็นเรียนรู้เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลง วิทยากร : ทำนอง ดาศรี / ประกาย ชลหาญ /ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

    Performance ขึ้นกับทั้งคนและองค์กร เราต้อง change before you force to change

    สิ่งที่สำคัญของ Performance execution มาจาก 2 ส่วน

    + Competency ชั้นกับ knowledge และ skill ประสบการณ์

    + Motivation การมีแรงจูงใจในการดำเนินงาน

    HR ขององค์กรไม่ควรคิดระบบที่ไม่ Motivate คน เนื่องจาก ไม่ใช่ทุกคนต้องการโปรโมชั่น จึงต้องรู้จักลูกน้อง วิเคราะห์ว่าเป็น แนวเสริม และ Motivate ลูกน้องของเราหรือไม่

    ผู้นำต้องเก่งเรื่อง การเปลี่ยนแปลง มีแนวคิดใหม่ๆ สร้างเครือข่ายและต้องเก่ง เรื่องคน รู้จักลูกน้องเรื่องความบกพร่อง ความไม่พร้อม งานที่ไม่ถนัด ไม่เชี่ยวชาญ ต้องให้เวลากับคน ต้องเข้าใจแนวทางแบบเสริม แทรกการส่งเสริม วัฒนธรรม องค์กร เข้าไปด้วย

    พัฒนาทีมงานในทุกด้าน

    การเปลี่ยนแปลง มี 2 แบบ

    [ ] เกิดจากเราอยากเปลี่ยนซึ่งง่าย เพราะเราต้องการ มีแรงผลักดันจากภายใน

    [ ] แบบถูกบังคับให้เปลี่ยน ยาก ต้องชี้แจงให้รู้ว่าจะได้อะไร ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงจะเสียอะไร สร้าง Vision การเปลี่ยนแปลงให้ทุกคน รู้เข้าใจและยอมรับ

    ต้องใส่ความคิด adaptive challenge ให้ทีมงาน คนที่อยู่รอด ต้องปรับตัว ต้องมีแนวคิด ในการเปลี่ยนแปลง ใช้แนวคิดดังนี้

    [ ] know ต้องรู้จักลูกน้อง

    [ ] Focus ลูกน้องแต่ละคน Motivate ไม่เหมือนกัน

    [ ] Care ต้องดูแลเอาใจใส่ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน

    [ ] Inspire สร้างแรงบรรดาลใจ

    [ ] Coaching สอนงานให้ลูกน้องเห็นภาพตาม โดยการพูดคุยไม่ใช่ครูสอน ต้องเป็นนักฟังที่ดี

    [ ] Learning Culture ต้องสร้างสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ ผู้บริหารต้องเปลี่ยน mind set.

    [ ] behavior พฤติกรรม

    [ ] ควร รู้ สิ่งที่ควรจะรู้ในเวลาและปริมาณที่เหมาะสม


    วันที่ 19 มีนาคม 2557

    ประเด็นเรียนรู้เรื่อง บริษัท Banpu วิทยากร : สมยศ รุจิรวัฒน์

    [ ] ประวัติการดำเนินธุรกิจของ บริษัท Banpu ทั้งในช่วงเริ่มธุรกิจ ตอนขยายธุรกิจ ตอนเจอวิกฤต จนต้องขายบริษัทฯใน เครือที่เป็น non core และการ recover การกลับมาเน้นพัฒนาธุรกิจที่ เป็น core business คือถ่านหิน บ้านปูมีการ จ้างแรงงานรวมประมาณ 6400 คนใน 7 ประเทศ โดยมีคนไทยแค่ 119 คน นอกนั้นเป็นต่างประเทศโดยเฉพาะในจีน

    แนวการจัดการเมื่อเจอวิกฤต เช่นวิกฤตต้มยำกุ้ง ค่าเงินตก หนี้ขึ้น ต้องขาย non core เพื่อรักษา core และต้องเปลี่ยนกลยุทธ์มา กำหนดสัดส่วนในการทำธุรกิจ นอก core ใหม่ เป็นบทเรียนให้ระวัง การ diversify จะทำให้การ focus ธุรกิจหลักที่ได้กำไรหายไป แนวทางในการทำธุรกิจ เน้น coal champion ต้องเน้นบริหาร partnership โดยเฉพาะจีนที่ transparency ไม่เหมือนที่อื่น

    เน้นในการบริหารจัดการในด้านต่างๆดังนี้

    [ ] Cost rationalization and productivity

    [ ] Capital Planning

    [ ] Synergy drive เราต้องสร้าง

    [ ] Human Resource Development

    [ ] Financial Streamlining

    CSR - Global trend ปัจจุบันเรื่อง CSR สำคัญมากในธุรกิจเหมือง บ้านปูใช้ Sustainable development -SD ซึ่งไม่ใช่ทุกคนทำงานประเภทนี้ได้คน ต้องดีและมีคุณภาพ กลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ต้องมองว่าการรับผิดชอบต่อชุมชน ไม่ใช่ CSR แต่เป็น license to operate ต้องทำไม่ใช่แค่การอาสาที่เป็น CSR และเน้นทำที่ไม่เกี่ยวกับการทำเหมือง เน้นเด็กและเยาวชน

    ประเด็นที่ต้องปรับตัว

    [ ] Technology เป็นสิ่งที่ต้องลงทุน ใส่คนและเงินเข้าไปใน technology ที่ช่วยเพิ่ม productivity

    [ ] เรื่องคนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดขององค์กรในปัจจุบัน ถ้าคน ok productivity ก็จะดีตามจึงต้องปรับ HR Philosophy เช่น ทำให้คนมีอิสระทางความคิดในการนำเสนอ

    [ ] เน้นให้ มี spirit มี synergy ให้มี performance driven

    [ ] Three principle management Equitability / performance base / competency base

    [ ] คนต้องใช่ ปัญหาส่วนใหญ่เลือก leadership ไม่ดี

    การปรับใช้กับ EGAT

    [ ] คือการนำสิ่งที่ดีและไม่ดี ที่ผ่านมาเป็นตัว ปรับ Vision และ Mission ใหม่ เพื่อให้เกิดโครงสร้าง องค์กร ที่ถูกต้อง คน ที่ดีและProcess ที่จะ drive เกิด sustainable growth

    [ ] ปรับโครงสร้าง การทำ CSR ใหม่เป็นแบบ SD framework ควบคู่ไปกับการสร้างผลกำไรอย่างยั่งยืน คือเน้นแบบ license to operate ทุก zone เป็นการ commitment ทั้งการอนุรักษ์ธรรมชาติ การจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งของชุมชน และสังคม ส่งเสริมให้เกิดกลไกปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง


    ประเด็นเรียนรู้เรื่อง TQM/ SEPA ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยิ่งยื่นของ กฟผ.

    วิทยากร : ปิติ ศรีสุขสมบัติ ผู้จัดการฝ่ายบริหารคุณภาพองค์กร ปตท'

    PTT Group Vision บริษัทพลังงานไทยข้ามชาติชั้นนำ

    เรื่อง ISO ที่เป็นข้อกำหนดใช้ apply ได้กับทุกอุตสาหกรรม ควรให้ ISO เป็นส่วนหนึ่งของงานประจำ เช่นกำหนดให้ผู้บริหารพบทุกระดับถึงล่างสุดที่เป็นหัวใจ เช่น พนักงานขาย

    TQM คือแนวคิด วิธีการบริหารจัดการองค์กร สู่ความเป็นเลิศ โดยยึดเอาความต้องการ ของลูกค้าและคุณภาพเป็น ศูนย์กลาง ในทุกกิจกรรม ทุกคนมีส่วนร่วม โดยจัดมุ่งหมายมอบคุณค่าที่ดีขึ้นเสมอ ต่อลูกค้า ปรับปรุงประสิทธิผล และขีดความสามารถขององค์กร

    สำหรับ EGAT High Performance ปัจจุบันมี EGAT Way EGAT ต้องผลักให้เกิดผลงาน ต้องตั้งเป้าหมาย เป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่ควรรู้ว่า การทำให้เกิด growth ขึ้นต้องบริหาร Cost Consumption ที่เพิ่มขึ้นยังไง ต้องเน้นผลสำเร็จและความสุข Holistic organization development ต้องรู้ว่าเรามี key success อะไร ต้องจัดองค์กร ระบบ คนยังไง

    + คน people ต้องสร้างศรัทธาและคุณค่า มีศักยภาพบนบุคลิกภาพ ที่อ่อนน้อม ปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร

    +ระบบ system ธรรมมาภิบาลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บูรณาการคล่องตัวและมีส่วนร่วม

    + ผลงานต้อง excellence เราต้องพร้อมสำหรับอนาคตกับความ เสี่ยงและสู่เวทีโลก เป็นความภาคภูมิใจของชาติ

    ผู้บริหารต้องเอาจริงจัง เป็นตัว drive ระบบเช่นการมีและสื่อสาร vision สู่ทุกระดับ ให้เข้าใจรู้เป้าร่วมกัน ให้ทุกคนรู้ศึกรับผิดชอบร่วมกันสู่เป้าหมาย การบังคับใช้ KPI รายตัวจะช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

    ประเด็นเรียนรู้เรื่อง การบริหารความเสี่ยง วิทยากร : รศ.ดร.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร , ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

    [ ] การบริหารความเสี่ยงจากการคุมคามของการเมือง การเมืองอนาคตต่อไปอาจเกิด dead lock ปกติเป็นรัฐประหาร แต่ของไทยคราวนี้ยังไม่รู้จะเป็นยังไง ปกติเราไม่เคยมองต้นเหตุ

    [ ] Moral Hazard การเมืองไทยมีความเสื่อมโทรมด้านคุณธรรมและศีลธรรม

    [ ] ปัญหาปัจจุบัน คือไม่สามารถตรวจสอบได้ คนไม่ศรัทธาการเลือกตั้ง ไม่อยากเข้าสู่ระบบประชานิยม มีการกู้แบบไม่สนใจ มีแต่การโกงกิน ควรมีการปฏิรูประบบการเลือกตั้ง เช่นใช้นโยบายหาเสียงแบบฟรีสไตล์ ไม่หลอกประชาชน กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ให้ทำกันเอง รับผิดชอบดูแลกันเอง รัฐบาลดูแลเฉพาะระดับนโยบาย หลีกเลี่ยงการถอนทุนคืน ระบบราชการที่เป็นเครื่องมือของนักการเมือง ต้องปฏิรูป การเมืองลงตัวไม่ได้เพราะคนดี กลับเรียกร้องเผด็จการ ระบบอุปถัมภ์เป็นต้นเหตุหลักที่ ทำให้สังคมแย่ลง พวกนี้โกงแล้วไม่ถูกลงโทษ

    สำหรับ EGAT มีภาพลักษณ์ดี ด้านโปร่งใส ไม่มีทุจริต EGAT ควรพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้ว ต้อง educate กับชุมชนให้มาก ให้ความรู้ ให้เข้าใจถึงความสำคัญในการพัฒนาไฟฟ้าของประเทศ ปัจจุบัน ชุมชนไม่เข้าใจ EGAT เข้าไม่ถึงชุมชน NGO เข้าถึงมากกว่า ประชาชนคือ the best fence ดูแลคนรอบพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้า EGAT ต้องมีข้อมูล ยืนpyoในสิ่งที่ถูกต้อง EGAT ต้อง lobby สังคมชุมชนให้มากกว่านักการเมือง

    กฟผ. ควรสร้างความเชื่อมั่นให้ชุมชน สร้างคุณภาพชีวิต ทำตัวอย่าง หมู่บ้านแห่งความสุข ต้องมีสติ มีการว่างแผน scenario ที่ร้ายแรงที่สุดไว้ แผนลงทุนในอนาคตต้องคิดใหม่โดยเน้นแง่ cash ต้องวางตำแหน่งให้ดี โดยเฉพาะผู้นำต้อง leader ลง front line สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ เข้มแข็ง รอโอกาส เตรียมพร้อมองค์กร


    วันที่ 20 มีนาคม 2557

    ประเด็นเรียนรู้เรื่อง การเยี่ยมชมบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด

    [ ] ได้เรียนรู้การพัฒนานวัตกรรม ของ CPALL โดยภาพรวมเอารูปแบบจากต่างประเทศมาพัฒนา นวัตกรรม เกิดจากร การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ สามารถ นำไป พัฒนาให้เกิดคุณค่าต่อลูกค้า องค์กรและสังคม CPALL เน้น การเพิ่มมุม Add Value จาก Basic ของแต่ละร้าน

    [ ] การดำเนินงาน ซึ่งมีพนักงานประมาณ 1 แสนคน สาขาละ 10 คน ยังไม่รวมขนส่ง และ back office เน้นขายความ สะดวกไม่ได้เน้นราคาสินค้า มีสาขาใน 16 ประเทศ 37000 สาขา ไทย 7634 สาขา

    [ ] ตัวอย่างนวัตกรรมเช่น

    + การใช้ Tel + QR Code สั่งซื้อของขณะรอรถไฟ ลดราคา Online Sale เพิ่ม ยอดขาย 30% เพิ่มความสะดวกลดการ เสียเวลา
    + 24 Robo Market เอาตู้ขายของมาขยายให้ใหญ่ขึ้น

    + ขายของผ่านรถแท็กซี่

    + การ Locate สินค้าผ่านมือถือ


    ประเด็นเรียนรู้เรื่อง White Ocean strategy วิทยากร : ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

    GDP วัดเฉพาะ รูปธรรม มากไม่สนใจนามธรรม เน้นวัตถุนิยม เกิดการล่มจม จากการ มองระยะสั้นไม่ดูความเป็นจริง เช่นจำนำข้าว รถคันแรก เป็นมิจฉาและ กิเลส Marketing ไม่เป็นจริงอยู่ไม่ได้ ไทยกำลังหยุดนิ่งและถอยลง ทำเหมือนเดิมเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดสิ่งใหม่

    คนประสบความสำเร็จต้องฉลาดตั้งคำถาม

    [ ] where are we?

    [ ] where do you want to go?

    [ ] How can we go there ?

    Speed of trust สำคัญสำหรับยุด information คนปัจจุบัน manage ไม่ได้เหมือนก่อน แต่ต้องการ leader แต่ต้องการผู้นำ สร้างแรงบันดาลใจ

    สมอง ซ้าย หลักการ ขวา นามธรรม ปัจจุบันอ่อนขวา ปัจจุบันซีกขวาสําคัญ เพราะซีกซ้ายใช้น้อยลงถูกทดแทนด้วยTechnology ไม่ต้องจำ ใช้ IT ช่วยได้หมด แต่ซีกขวาแทนไม่ได้ต้องได้รับการพัฒนา

    มุมมองใหม่ ที่เกี่ยวกับ GNH

    [ ] องค์กรสีขาว ทำงานอย่างมีความสุขเติมโตต่อเนื่อง ความไว้ว่างใจดี ต้นทุนจะน้อย องค์กรสีขาว คิดต่างเช่น บริษัท วิริยะประกันภัย เป็นองค์กรแรกที่กล้ายอมรับความเสี่ยง เกิดความไว้ใจ ไม่ต้องเสีย spot โฆษณาแต่มีส่วนแบ่ง 50%

    [ ] ต้องหาหัวใจความรักความศรัทธา

    [ ] where we want to go ต้องมองกว้าง มองไกล เช่น Bill Gate ฝันว่ามี Computer ทุกหลัง โลกเชื่อมกัน

    [ ] people Social Progress ต้องเป็นกัลยามิตร

    [ ] ต้องตั้งอยู่บนฟืนฐานของคุณธรรม ความเป็นจริงและความเป็นเนื้อแท้ integrity


    วันที่ 21 มีนาคม 2557

    ประเด็นเรียนรู้ เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

    วิทยากร: ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล มนูญ ศิริวรรณ

    [ ] เศรษฐกิจโลกกำลังจะฟื้นตัว USA จะผ่อนคลายทางการเงินลง เงินดอลลาร์ จะแข็งค่าขึ้น คาดว่าปีหน้าจะเริ่มขึ้น ดอกเบี้ย ยุโรป และUSA ผ่านพ้นจุด recession ไปแล้ว

    [ ] ตัวอย่างประเทศจีน ต้องดูอีก 4- 5 ปี.เพราะเดิบโต 10% ติดต่อกัน ปัจจุบัน ลงมาที่ 7 % เนื่องจากค่าแรงสูงขึ้น Shadow Banking คือปัญหาหลัก เพราะต้นทุนการกู้สูง เกิดปัญหา NPL จากการลงทุนในอสังหา เนื่องจากมีการกู้ จากประชาชนโดยให้ดอก 10% จึงต้อง พยายามเปลี่ยน ให้มากู้ bank ปกติเพื่อให้อยู่ในระบบ จุดแข็งของจีนคือรู้ตัว ปรับตัวได้และมีเงินลำรองเยอะ

    [ ] ไทยจะกระทบเรื่องท่องเที่ยวประมาณ 10% เราเติบโตช้าเพราะกำแพงภาษี นโยบายทางการค้า แต่ส่งออกน่าจะดี แต่การลงทุนจะติดลบ เพราะการ เบิกจ่ายภาครัฐช้า

    ทิศทางพลังงานไทย

    ปี 2557- ปริมาณน้ำมัน ราคาขึ้นกับ เสี่ยงความมั่นคงด้านพลังงานสูงสุดในอาเซียน มีการนำเข้าน้ำมัน เพิ่มขึ้นจาก 85 %เป็น 100% มีการนำเข้าไฟจากเพื่อนบ้านจาก 3% เป็น 21 %

    การปรับตัวของ กพ่ผ

    [ ] ปรับรับการแข่งขันและ โอกาสทางธุรกิจ ฝันองค์กรชั้นนำในระดับภูมิภาค

    [ ] พัฒนาโครงสร้างรับการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายด้านพลังงานในอาเซียน

    [ ] บทบาทเป็นผู้นำด้านพัฒนาพลังงานหมูนเวียนและอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม green. energy

    [ ] แสวงหาสู่ทาง การลงทุนด้านพลังงานไนประเทศเพื่อนบ้านโดยใช้ประโยชน์จากข้อตกลงจากAEC

    [ ] เตรียมพร้อมการปิดเสรีด้านราบส่งและจำหน่าย

    [ ] ใช้ประโยชน์จากการเป็นผู้นำด้านไฟฟ้า


    ประเด็นเรียนรู้ Mind Mapping สำหรับผู้บริหารและการวางแผนงานวิจัยโครงการเชิงนวัตกรรม

    วิทยากร:ดำเกิง ไรวา

    [ ] Mind Map - radiant thinking ช่วยให้เรานำความคิดที่อยู่ในสมอง มาทำเป็นระบบ ทำให้เข้าใจและจำได้ดีขึ้น ช่วยเชื่อมโยง สมองซักซ้ายและขวา ทำให้ปลดปล่อยศักยภาพ โดยใช้ ภาพและตัวอักษร Thinking Memory Creative ทำให้เห็นภาพรวม ภาพย่อย ลำดับความสำคัญ ของ ประยุกต์ใช้ในการ ทำ AR present manage ทำให้รู้ว่าลูกน้องคิดอะไรใช้สอนให้คิดแบบเป็นระบบทำให้เรียนรู๋ ได้เร็ว ประหยัดเวลาคือให้เห็นภาพรวม. ใช้สอนงานคนใหม่ ถ่ายงาน ฝากงานได้เวลา ไปเที่ยว

    สิ่งที่ผู้บริหาร ต้องมี

    + คือความสามารถในการเชื่อมโยงสิ่งที่ ไม่เกี่ยว ให้มาเกี่ยวได้ มีประโยชน์ในการตอบคำถาม ที่ต้องตอบได้/จำเป็นต้อง ตอบ

    + ต้องรู้จักมองเห็นโอกาสที่คนอื่นมองข้าม ต้องคิดกว้างและลึก Free Flow คิดสิ่งใหม่/ Structure ยิ่งมีขีดจำกัดมาก เท่าไร

    ความคิดสร้างสรรค์ ยิ่งจำเป็น

    + ต้องมี Connection เพื่อประโยชน์ในการ

    [ ] Profit Building

    [ ] Profile Building นำให้คนรู้จัก

    [ ] IDEA sharing ประโยชน์ที่เกิดจากการแชร์ความรู้ข้ามอุตสาหกรรม

    เช่น การสร้างระบบ Air จากการดูโครงสร้างของจอมปลวก การทำบอลลูนหัวใจจากการคุยระหว่างหมอกับวิศวกรพลังน้ำ

    ประเด็นที่ควรรู้

    เราควรฝึก Speed Read ใช้เวลานานในแต่ละวัน ฝึกให้เก่ง

    [ ] Networking principal and technique เช่น อย่าชื่นชมตัวเอง ให้คนอื่นเขียนชื่นชมอย่างเป็นธรรมชาติและสนุกสนาน

    [ ] หลักการที่ดี ควร offer สิ่งที่ลูกค้าไม่มีอะไรจะเสีย

    [ ] ให้หัวหน้า เพื่อนร่วมงาน ช่วยพูดให้เราเนียนกว่าพูดเอง

    [ ] สถานการณ์ ที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ คือ สบายสุดขีด ใกล้ตาย


    Assignment#6

    Young Google Engineer ใช้ชีวิตที่รวยกับการให้

    เป็นเรื่องราวของหนุ่มที่ชื่อ Jessan Hutchison-Quillian ใน Seattle ที่ใช้เวลาและเงินของตัวเองเพื่อต่อสู้กับปัญหาสังคมที่ขาดแคลนและรายได้ที่ไม่เพียงพอ ใช้ชีวิตกับการให้อย่างรู้สึกดี มีความสุข ไม่เน้นการมีเงิน เน้นช่วยเหลือสังคม นับเป็นตัวอย่างที่ดี เขา มาจากครอบครัวที่ไม่เน้นวัตถุนิยม และรู้สึกว่าตัวเองมีพร้อมทุกอย่างแล้วทั้งความรักและความเป็นอยู่ เขาบริจาคเงินตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น และตั้งใจมากขึ้นกับการให้เมื่อได้มาทำงานกับ google รายได้ของเขาเพิ่มขึ้นทุกปีแต่เขาเลือกที่จะใช้เงินเพียง 36000 dollars ต่อปีที่เหลือบริจาคหมด

    ประเด็นเรียนรู้ จากวัตถุนิยมที่เน้นเรื่องการได้และมีเงินมาก มาเป็นการใช้ชีวิติอย่างพอเพียง มีความรู้สึกดีๆ มีความสุขกับการให้ การช่วยเหลือสังคม รู้สึกได้ถึงคุณค่าของการมีชีวิต เป็นเรื่องที่เราควรกลับมาพิจารณา ส่งเสริมแนวคิดนี้ให้ทวีคูณ เพื่อสังคมที่น่าอยู่และมีความสุขร่วมกันอย่างแท้จริง อย่างยั่งยืน

    นายชาคริต ภูษิตาภรณ์ Group#2

    Hongsa Mine Mouth Power Project

    วันที่ 21 มีนาคม 2557
    หัวข้อ เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

    โดย ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล และ อ.มนูญ ศิริวรรณ

    - วิกฤติเศรษฐกิจโลกกำลังผ่านจะพ้นไป ภาพรวมปีนี้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว เศรษฐกิจ USAขยายตัวมีสัญญาณฟื้นตัวมา
    2-3 ปีแล้ว ส่วนเศรษฐกิจสหภาพยุโรป กำลังจะฟื้นตัว เศรษฐกิจญี่ปุ่น ฟื้นตัวแต่ขยายตัวเพียงเล็กน้อย เศรษฐกิจจีน
    จะต้องผ่าตัดใหญ่ น่าเป็นห่วงเนื่องจากขยายตัวต่อเนื่องมายาวนาน เศรษฐกิจเคยโต 10% แต่ปีนี้ขยายตัวเพียง 7.5%
    การเร่งขยายการก่อสร้างอาจไม่ใช่ภาพที่แท้จริง ดังนั้นใน 4-5 ปีข้างหน้า จึงต้องจับตาจีนเป็นพิเศษ เพราะถ้าจีนเป็นอะไรไปจะกระทบกับไทยและเศรษฐกิจโลกอย่างมาก เศรษฐกิจไทย ภาพรวมปีนี้เศรษฐกิจขยายตัว 2.5-3% มีการใช้จ่ายภาครัฐน้อยมาก เนื่องจากต้องรอรัฐบาลใหม่ การที่อาเซียนเปิดโฉมใหม่ ทำให้เอเซียนยึดติดกัน เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเปิดโอกาสทางด้านธุรกิจอย่างมากมาย

    - สถานการณ์พลังงานไทย และแนวโน้มในอนาคต

    1. ไออีเอ เห็นว่าไทยเป็นประเทศที่มีจุดเสี่ยงความมั่นคงทางด้านพลังงานสูงสุดในอาเซียน

    2. ต้องพึ่งพาพลังงานจากภายนอกประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ อีก 22 ปีข้างหน้า ไทยจะใช้พลังงานเพิ่มขึ้นถึง 80% และต้องนำเข้าทั้งก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น

    3. นำเข้าไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มจาก 3% เป็น 21% ในปี พ.ศ. 2573

    4. นำเข้าก๊าซธรรมชาติเพิ่มจาก 25% ในปัจจุบันเป็น 90% ในปี พ.ศ. 2578

    - ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

    1. ต้องปรับองค์กรเพื่อรองรับการแข่งขัน และโอกาสทางธุรกิจที่จะเข้ามาในอนาคต

    2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายด้านพลังงานในอนาคต

    3. ตอบสนองโจทย์ด้านพลังงานเพื่อความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมที่ดี

    4. แสวงหาลู่ทางการลงทุนด้านพลังงานในประเทศเพื่อนบ้านโดยใช้ประโยชน์จากข้อตกลง AEC

    5. ใช้ประโยชน์จากความเป็นผู้นำ และผู้ชำนาญการด้านพลังงานไฟฟ้าให้บริการด้านเทคโนโลยี และการซ่อมบำรุงกับประเทศในกลุ่ม CLMV

    6. พัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการเรียนรู้และทำงานในระดับสากล

    7. เตรียมพร้อมรองรับการปฏิรูปพลังงานโดยเฉพาะการเปิดเสรีด้านระบบสายส่งและจำหน่าย

    หัวข้อ Mind Mapping สำหรับผู้บริหารและการวางแผนงานวิจัยและโครงการเชิงนวัตกรรม โดย อ.ดำเกิง ไรวา

    Mind Mapping คือการสรุปรวมความคิดในการทำให้เรื่องต่างๆเชื่อมโยงถึงกันทั้งคิดเชิงลึก คือลักษณะความคิดต่อเนื่อง กับคิดเชิงกว้าง แบบ Free Flow ทำให้สามารถเห็นภาพรวม ความเชื่อมโยงทั้งหมด ใช้เวลาน้อย ครอบคลุมทุกด้าน นำไปสู่การวางแผนต่อไป การเขียน Mind Mapping ทำให้เห็น Blue Print ดังนั้นต้องทำให้น่าสนใจและจดจำได้ง่าย โดยใช้คำที่สั้น หรือรูปภาพ แยกสีที่แตกต่างกันในแต่ละเรื่อง เพราะสมองคนเราจะจำเป็นภาพได้ดีกว่าอักษร

    ประโยชน์ของ Mind Mapping ได้แก่

    1. ช่วยลำดับความสำคัญของงาน

    2. ช่วยในการสั่งงาน

    3. สอนงานคนใหม่

    4. ใช้ทำงานแทนกันได้

    5. เพิ่มประสิทธิภาพการอบรม

    6. เป็น outline of presentation

    นายสมบูรณ์ ดำรงสุสกุล EADP#10 Group 4

    อัจฉรี เด่นสิริมงคล

    สรุปประเด็นการอ่าน Well-paid young Seattle techie prefers giving to riches

    Jessan Hutchison-Quillian อายุ27 ปี จบจาก มหาวิทยาลัย Washington สาขา Computer science

    ทำงานกับบริษัท Google ได้รับเงินเดือนมากกว่าที่จะใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง ลักษณะและแนวความคิดของเขามีดังนี้

    1. ต้องการที่จะเปลี่ยนสังคม ซึ่งจะบรรลุได้ต้องมีการ Revolution สุ่การมีคุณค่าของสังคม ซึ่งไม่ใช่เงินและความร่ำรวย

    2. การให้ (Giving ) เป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อที่จะซ่อมแซมความเสียหายของโลก จากการใช้อำนาจที่ฟุ่มเฟือย มากกว่าทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด

    3.ในสมัยเด็ก เขาไม่ได้รับการผลักดันให้มีมุมมองชีวิต จากบิดามารดาของเขาเพื่อที่ได้สิ่งที่เด็กๆควรจะได้รับ หลังจากนั้นเป็นเวลานาน เขาเริ่มรู้สึกดีมากในการเป็นผู้ให้

    4.มีความต้องการที่จะทำบางสิ่งเพื่อให้สัคมดีขึ้น เช่นการบริจาค และมุ่งมั่นยิ่งขึ้น เมื่อได้รับเงินจำนวนมากจาก Google จะมีความสัมพันธ์กับ ประชาชนคนอื่น

    5. เขาเข้าไปเป็นผู้นำองค์กรคนหนุ่มสาว เพื่อช่วยเหลือสังคม

    6. บางครั้งเขก็กังวลใจว่าการให้ของเขาเป็นสิ่งที่มากไป แต่ความคิดนี้ก็อยู่ไม่ได้นานเพราะเขาคิดว่าสอดคล้องกับคุณค่ามากกว่า

    7.เขาไม่ได้คาดหวังว่าทุกคน จะไปได้ไกลเท่าเขา แต่เขาเชื่อว่าคนอเมริกันส่วนใหญ่ต้องการสิ่งที่ดีกว่าที่เขามุ่งหวังแน่นอน

    ลักษณะของระบบทุนนิยมสามานต์ มีดังนี้

    1. เป็นทุนนายหน้า ทุนสัมปทานขูดรีดค่าบริการ เป็นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาพลังการผลิตใดๆ เพื่อสังคมใช้การกระตุ้น ปลุกเร้าผู้บริโภคอย่างรุนแรงเพื่อสร้างความอยาก โดยเฉพาะกับเยาวชน และชนชั้นระดับรากหญ้าที่อ่อนแอให้ตกเป็นเหยื่อวัฒนธรรมการบริโภคที่เกินจำเป็น

    2. เป็นทุนที่ตระบัดสัตย์ ขาดน้ำใสใจจริง หลอกลวง ประชาชน พร้อมที่จะทรยศหักหลังตบตาคนทั้งประเทศ ลักษณะพิเศษของทุนนายหน้าก็คือ จะไม่ผูกพันและขึ้นต่อการลงทุนร่วมดังเช่นทุนภาคการผลิตจริง (real sector)อื่นๆ ความมั่งคั่งมีที่มาด้วยการแสวงหากำไรจากสัมปทานรัฐและการขายบริการ กอบโกยและเก็งกำไรจากการสร้างราคาและส่วนต่างของราคารวมถึงการปั่นหุ้น (ที่ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นรายย่อยใดๆ)

    3. ใช้เงินซื้อระบบเลือกตั้ง ซื้อกระบวนการยุติธรรม สร้างระบอบการเมืองที่ “เบื้องหน้าประชาธิปไตย-ใส้ในเผด็จการ” บริหารประเทศแบบเผด็จการครอบครัว

    4.ใช้เงินของผู้อื่น (เงินภาษีประชาชน )สร้างความมั่งคั่งทางธุรกิจและสร้างฐานการเมืองให้กับตนเอง สร้างเงื่อนไขความแตกแยกของคนในชาติมีการแก้กฎหมายเพื่อให้ “งบกลาง”จำนวนมหาศาลของแผ่นดินตกอยู่ในมือของนายกรัฐมนตรี เพือใช้งบประมาณที่มาจากภาษีอากร อันเป็นหยาดเหงื่อแรงงานของคนทั้งประเทศ เพื่อผลประโยชน์ตนและพวกพ้องบริวาร(OPM-Other People Money) จับจ่ายเงินภาษีอากรประชาชนไปเพื่อสร้างภาพลักษณ์ในเชิงการตลาด สร้างรูปแบบการหาเสียง-ซื้อเสียงใหม่ ทำลาย

    5. ทิ้งหลักการปกครอง แปรรูปประเทศให้เป็นบรรษัท ข้าราชการเป็นพนักงานบรรษัท ประชาชนเป็นผู้บริโภค แทรกแซงทุกสถาบันหลัก

    6 . คอร์รัปชั่นและคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายที่ยากแก่การตรวจสอบ

    7 . ใช้เล่ห์เพทุบายหลบเลี่ยงภาษี เอารัดเอาเปรียบสังคมและประชาชน

    8 . แทรกแซงองค์กรอิสระ แทรกแซงและทำลายสื่อ เพื่อปกปิดมิดเม้มผลประโยชน์ทับซ้อน ปิดกั้นการเผยแพร่ข้อเท็จจริง

    เปรียบเทียบ ลักษณะของ Hutchison-Quillian กับระบบทุนนิยมสามานต์ ต่างกันอย่างสิ้นเชิง อย่างแรกก็คือความพอเพียง กับ ความโลภไม่รู้จักพอ การให้กับการฉวยโอกาสกับคนที่อ่อนแอกว่า ซึ่งชักจูงได้ง่าย การสร้างสังคมที่ดีกับการทำลายล้างสังคม เศรษฐกิจ สังคม ซึ่งปรเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ขณะนี้

    การเรียนรู้ในวันที่  18-21 มีนาคม 2557

    การบ้านพิเศษ  บทความเรื่อง Well-paid young Seattle Techie prefers giving to riches

    จาก The Seattle Times, published March 12, 2014 by Jerry Large

    -  Jessan Hutchison-Quillian เป็นวิศวกรหนุ่ม ผู้ที่ทุ่มเทเวลาและการบริจาคเงินเพื่อต่อสู้กับความยากจนและความไม่เสมอภาคของรายได้

    -  เขาจบจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันเมื่ออายุ 19 ปี ด้าน Computer Science ในระดับปริญญาตรี เข้าทำงานที่บริษัท Google ในปี 2007 ได้รับเงินเดือนมากกว่า 100,000 USD ซึ่งสูงกว่าผู้อื่นในระดับเดียวกัน เขากำลังจะพลิกกระแสของสังคมในโลกทุนนิยม ต้องการให้สังคมมีความยุติธรรมและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน  เขาบริจาคเงินมากกว่า 100,000 ดอลล่าร์ และเพิ่มขึ้นจนถึง 40 % ในปัจจุบัน เขาคิดว่าการช่วยเหลือของเขาเป็นการซ่อมแซมส่วนที่เสียหายของโลก โดยเฉพาะความไม่เสมอภาคทางด้านอำนาจและทรัพยากร และการให้ทำให้มีความสุข

    -  สิ่งที่มีส่วนทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการให้ ได้แก่ 1. ครอบครัวมีความพอเพียงไม่มีความต้องการด้านวัตถุนิยม 2. เขามีความคิดว่าเขามีทุกอย่างพร้อมแล้ว ทั้งความรักและความสุขสบาย 3. เขารู้ว่าเด็กๆไม่ได้มีโชคดีทุกคนเสมอไป

    -  สิ่งที่ประทับใจ คือ ความคิดของเขา ที่สะท้อนจากคำพูดของเขาที่ว่า

    “No amount of money can buy you health or security. It’s better to make a community with people who can help you in hard times”

    “ไม่ว่าเงินมากมายเพียงใด ก็ไม่สามารถซื้อสุขภาพและความมั่นคงได้ ทางที่ดีควรสร้างสังคมของผู้คนที่สามารถช่วยคุณได้ในยามที่คุณยากลำบาก”

    • Jessan Hutchison-Quillian เป็นต้นแบบของการเอื้อเฟื้อเผื่อแผร่และความยุติธรรมในสังคม เป็นแนวคิดที่ดี ที่จะช่วยเหลือสังคม เพื่อลดปัญหาความยากจน อันจะช่วยให้สังคมมีความสุข และมีความยั่งยืน ซึ่งตรงกันข้ามกับ หลักทุนนิยมสามานย์ ที่มุ่งเน้นการแสวงหากำไรและผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง ผู้ที่มีอำนาจหรือมีอิทธิพลมักใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกต้องหาผลประโยชน์ในระบบทุนนิยม ก่อให้เกิดปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น มีคนรวยเพียงกลุ่มเดียว คนส่วนใหญ่ในสังคมยากจนมากขึ้น เกิดความไม่เสมอภาค และนำไปสู่ความปัญหาความขัดแย้ง
    • เปรียบเทียบกับระบบทุนนิยมสามานย์
    • ระบบทุนนิยมสามานย์ ซึ่งเป็นการใช้เงินทุนที่มีมาก สร้างความได้เปรียบในทุกวิถีทาง ในการสร้างกำไร ให้แก่ ตนเองและพรรคพวกของตนเองอย่างไร้ศีลธรรมและจรรยาบรรณ ไม่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือ และแบ่งปันกัน สังคมหรือประเทศใด ที่มีระบบทุนนิยมสามานย์อยู่ก็จะต้องเสื่อมถอยย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว

      นายสมบูรณ์ ดำรงสุสกุล EADP#10 Group 4

    บทความ Well-paid young Seattle Techie prefers giving to rich

    Jessan Hutchison-Quillian เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับคนรุ่นใหม่ ในสังคมปัจจุบัน ที่มีความคิดไม่เอาเปรียบสังคม อีกทั้งยังช่วยเหลือสังคมตามกำลังที่เขาทำได้ ถ้าคนรุ่นใหม่ทุกคน หรือส่วนใหญ่มีความคิดแบบนี้เชื่อได้ว่าอนาคตสังคมจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขเนื่องจากจะมีแต่คนที่คิดเสียสละ คอยช่วยเหลือผู้อื่น จะมีจิตรอาสาในสังคมมากมาย จะมีการแบ่งปันทรัพยากรณ์ให้บุคคลทั่วไปอย่างทั่วถึงเราควรจะขยายและทำเรื่องเหล่านี้ให้ เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นรัฐควรเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเยาวชน ของชาติให้มีจิตสำนึกเหล่านี้มากขึ้นอาจจะมีหลักสูตรสอนเฉพาะหรือมีโรงเรียนมหาวิทยาลัย ที่เน็นด้านสังคมมากขึ้นจบมาแล้วมีงานรองรับที่ชัดเจน

    ปัจจุบันเราจะเน็นไปทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาประเทศ แต่โรงเรียนที่สอนการพัฒนาด้านจิตใจ ยังไม่มีจะเห็นว่า ปัจจุบัน เด็กเยาชนจะถูกมอมเมาด้วยวัตถุนิยม มีคดีต่างๆ มากมายที่เกิดกับเยาวชนคนเริ่มเห็นแก่ตัว เอาเปรียบ มองแต่ตนเอง และพวกพร้อง กลุ่มเยาชนที่มีทัศนคติแบบนี้ โตขึ้น ก็จะสร้างสังคมแบบนี้ในระบบทุนนิยม ระบบสังคมจะเป็นเรื่องการแข่งขัน และสร้างความได้เปรียบให้ตัวเองและพวกพร้อง

    จะเห็นได้จากการกระจายรายได้ในปัจจุบัน มีคนเพียง10% ที่ถือครองทรัพย์สิน มากกว่าคน อีก 90 % ของคนทั้งประเทศ แสดงว่า การพัฒนาประเทศไปผิดทาง เนื่องจากว่า อำนาจบริหารประเทศอยู่กับกลุ่มนายทุน ที่จะออกนโยบายการพัฒนา ที่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนด้วยกันทำให้คนส่วนใหญ่ยังมีรายได้ต่ำอยู่ถ้าต้องการให้สังคมเกิดความยุติธรรม มีการแบ่งปันทรัพยากรณ์ ให้ทั่วถึงคนทุกกลุ่ม ก็ต้องเริ่มจากสร้างกลุ่มเยาวชนที่มีทัศนคติดี มีความคิดอ่านดี เป็นคนที่เสียสละ สร้างสังคมใหม่ ที่ดีและมาบริหารประเทศในอนาคต เราไม่ควรให้คนที่มีทัศนคติแบบทุนนิยมมาบริหารประเทศเหมือนในปัจจุบัน

    การบ้านพิเศษ

    บทความเรื่อง Well-paid young Seattle techie prefers giving to riches จาก the Seattle Times, publishedMarch 12, 2014 by Jerry Large

    1.สิ่งที่ได้รับจากการอ่านบทความนี้

    -ในปัจจุบันที่กระแสบริโภคนิยม ทุนนิยมรุนแรงและไหลบ่าไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งซีกโลกตะวันตก แต่ Jessan Hutchison-Quillian ที่เป็นคนรุ่นใหม่ ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย มีรายได้มากมาย และเพิ่มขึ้นทุกปี มีความพร้อม และโอกาสที่จะดำเนินชีวิตตามกระแสนิยมดังกล่าวได้อย่างสุขสบาย แต่กลับเลือกใช้ชีวิตในทางตรงกันข้าม กล่าวคือ ให้ความสำคัญกับความพอเพียงจำกัดการใช้จ่ายเฉพาะที่จำเป็น รายได้ส่วนที่เหลือ แบ่งปัน บริจาค เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียมกันของคนในสังคม โดยมุ่งหวังที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทางที่ดีขึ้น

    -เขาเห็นว่าเงินไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุดของชีวิต สิ่งสำคัญ คือสุขภาพและความปลอดภัย ทำให้ตระหนักได้ว่าความสุข และเป้าหมาย ความสำเร็จที่แท้จริงของบางคน อาจไม่ใช่การมีทรัพย์สิน เงินทอง ความร่ำรวย มั่งคั่ง สะดวกสบายเสมอไป แต่แท้จริงแล้วเป็นความสุขจากการให้ การได้ช่วยเหลือผู้อื่น ทำให้หลายคน รวมทั้งข้าพเจ้าเกิดแรงบันดาลใจที่จะดำเนินชีวิตในแนวทางดังกล่าว

    2.เปรียบเทียบกับระบบทุนนิยมสามานย์

    -เมื่อเปรียบเทียบแนวทางการดำเนินชีวิตของ Jessan Hutchison-Quillian กับระบบทุนนิยมสามานย์แล้ว พบว่า ตรงกันข้ามกันโดยสิ้นเชิง ทั้งปรัชญาการดำเนินชีวิต และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม กล่าวคือ

    1)ปรัชญาการดำเนินชีวิต ของเขาอาจเทียบได้ว่าเป็นแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง คือ พอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน เอื้ออาทร มีคุณธรรม ในขณะที่ทุนนิยมสามานย์เป็นแนวทางที่คนที่มีความแข็งแกร่ง มีความพร้อมกว่า เช่น ทุน อำนาจ อิทธิพลและอื่นๆ ใช้สิ่งที่ตนมีเหนือกว่า แสวงหาผลประโยชน์ หากำไรให้แก่ตนเอง และพวกพ้อง โดยการเอารัดเอาเปรียบสังคม รวมทั้ง คนที่อ่อนแอ และด้อยกว่า ซึ่งไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการที่ผิดกฎหมายและศีลธรรม ทุจริต คอร์รัปชั่น เล่นพรรคเล่นพวก ฯลฯ ไม่รู้จักอิ่มพอ ยิ่งได้มากก็ยิ่งอยากได้เพิ่มขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด

    2)ผลกระทบที่เกิดกับสังคม จาก แนวทางการดำเนินชีวิตของเขา จะมีผลกระทบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น สังคมเข้มแข็งขึ้น ช่องว่างในสังคมลดลง มีคนดีในสังคมมากขึ้น รู้จักความพอเพียง แบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รักใคร่เอื้ออาทรกัน อยากทำสิ่งดีให้แก่สังคม เป็นสังคมที่น่าอยู่และสงบสุข ในขณะที่ทุนนิยมสามานย์มีผลกระทบทำให้สังคมอ่อนแอ เกิดการเอารัดเอาเปรียบ ไม่ซื่อสัตย์ คนรวยก็จะรวยมาก คนจนก็จะยิ่งจนลง มีการทำผิดกฎหมายสูงมาก ไม่มีความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน คุณภาพการศึกษาของคนส่วนใหญ่แย่ลงสังคมถดถอยไม่พัฒนา

    เมื่อย้อนมาเปรียบเทียบกับพวกเราชาวไทย พบว่าได้รับพระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากในหลวง มาเนิ่นนานแล้ว แต่รัฐบาล และประชาชนไม่ได้นำมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตอย่างจริงจัง ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าในยุคที่เกิดวิกฤติทั้งการเมือง และเศรษฐกิจ ตั้งแต่ต้มยำกุ้ง Crisis เป็นต้นมา คนที่ดำเนินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงทำให้มีชีวิตรอดผ่านพ้นวิกฤติมาได้อย่างดี ดังนั้นหากปวงชนชาวไทยตั้งใจน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตก็จะช่วยให้สังคมไทยอยู่รอดได้อย่างมีความสุข มีทรัพยากรธรรมชาติเก็บไว้ให้ลูกหลาน และมีการพัฒนาได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

    การเรียนรู้ในวันที่ 18 มีนาคม 2557

    เรื่อง:หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

       เป็นการไปฟังบรรยายในสถานที่ทำงานของวิทยากรได้เห็นความใหญ่โตของมูลนิธิชัยพัฒนาอยู่ใกล้กับสะพานพระราม 8 ทำให้กระตุ้นการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

       ท่านพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกตาม Cosmic Canlendar และในปีนี้ไทยก็พบกับการเปลี่ยนแปลงมีหิมะตกที่ดอยอินทร์นนท์ ต้องอยู่กับธรรมชาติ อย่าสู้กับธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรโลกให้เหมาะสม ควบคุมการบริโภค การใช้ชีวิตตามกาลเวลา, สถานที่ อย่าให้สุดกู่ ประเทศที่พัฒนาแล้วบริโภคมาก สร้างขยะมาก แบ่งโลกเป็น 2 ซีก คือ KPM คือ ความรู้, พลังงาน, เงิน(Knowledge, Power, Money) และ GCK (Goodness, Culture, Knowledge)

       ได้ยกตัวอย่างการพัฒนาที่อยู่คู่กับชุมชนที่ตลาดอัมพวา การใช้สิ่งที่ชุมชนมี ในการพัฒนาชีวิต และความเป็นอยู่ของชุมชน ผู้นำต้องมีธรรมาภิบาล ความดีมาก่อน หัวไม่กระดิก หางก็ไม่ส่าย

    การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ยึดหลักดังนี้

    พอประมาณ คือ ตรวจสอบทุนตัวเอง อย่าทำเกินทุนตัวเอง ต้องมีการประเมินตนเอง (Self Assessment)

    มีเหตุผล อย่าทำตามอยาก เพื่อประโยชน์สุข ตามกาลเทศะ

    มีภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดี มีการพร้อมที่จะรับผลกระทบ

       ยกตัวอย่างตอนที่ท่านเป็นกรรมการบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งปี 2539 เกิดภาวะเศรษฐกิจ มีการบริหารจัดการ ทบทวนโดยตัดบริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป เก็บเฉพาะ Core Business เอาไว้ สร้างคน หรือผู้บริหารไว้ 4 รุ่น

    คำสอนท้ายบทเรียน

    การเป็นผู้นำควรต้องดำเนินการ

    • 1.การปรับปรุงเริ่มจากตัวเรา ขยายไปรอบ ๆ หาเพื่อน
    • 2.พระเดช ไม่ใช่ของเรา มาตามตำแหน่ง ให้ใช้อย่างระมัดระวัง
    • 3.พระคุณจะเกิดได้ต้องมีคุณวุฒิพอ
    • 4.ให้ทำไปเรื่อย ๆ อย่าหยุด
    • 5.สร้างความรู้สึกอยากทำ ทำไปเรื่อย ๆ

    ท่านพูดถึง กฟผ.

    ขอให้ กฟผ. รักษาจิตวิญญาณ (Spirit) กฟผ. เอาไว้ แจ๋วดี คนมีมาตรฐานเดียวกัน ดี เก่ง ยั่งยืน มองในอนาคตได้ดี

    ช่วงบ่าย : Panel Discussion

    เรื่อง : ผู้นำวัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง

    วิทยากร : ศ.ดร.จิระหงส์ลดารมภ์, อ.ประกาย ชลหาญ, ดร.ศิริลักษณ์เมฆสังข์

    อ.ประกายชลหาญ

    พูดถึง ผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง ไว้ดังนี้

    • 1.เปลี่ยน Mindset ด้วยตัวเอง ก่อนที่จะถูกคนอื่นบังคับให้เปลี่ยน
    • 2.ค่านิยมในองค์กร, วัฒนธรรมในองค์กร อยู่ร่วมกันต้องมีร่วมกัน
    • 3.Performance มาจาก ความสามารถ, ความรู้, ทักษะ, ประสบการณ์ แรงจูงใจ ซึ่งแต่ละคนไม่เหมือนกัน, ความอึด จะทำอะไรถาม 2 เรื่องก่อน คือ เสริม Competency ไหม? , เสริมแรงจูงใจไหม

    ศ.ดร.จิระหงส์ลดารมภ์

      ท่านพูดถึง ผู้นำในองค์กร เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความคิด สร้างเครือข่ายมี connection ผู้นำต้องเก่งเรื่องคน หากไม่เก่งจะพบอุปสรรค มีความเชี่ยวชาญในงาน พบปัญหาให้ทำแบบหมอวิเคราะห์หาต้นเหตุ ให้เวลากับคน

    วัฒนธรรมองค์กร, ค่านิยม วัฒนธรรมบางคำไม่เปลี่ยนแปลง บางค่านิยมเปลี่ยนได้ตามลูกค้า, ชุมชน และเทคโนโลยี

       การเปลี่ยนแปลง เกิดจากเหตุว่าทำไมจะเปลี่ยนแปลง อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงต้องทำไม่เหมือนเดิม เช่น 1+1 = 2 อยากได้ 3 ต้อง 1+2 สาเหตุการเปลี่ยนแปลงมาจาก เราอยากทำเริ่มเอง, ถูกสั่งให้เปลี่ยนแปลง

    สรุปของ อ.จิระ หงส์ลดารมภ์

       หน้าที่ผู้นำคือ บริหารแรงเสียดทาน อย่าปล่อยปละละเลยให้เป็นไปตามยถากรรม การเปลี่ยนแปลงมีผู้นำ มีคนผลักดัน และชี้แจงว่าถ้าไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร และประโยชน์ที่จะได้รับ

    ดร.ศิริลักษณ์เมฆสังข์

    พูดถึงวิธีการเปลี่ยนแปลง

    • 1.โครงสร้างขององค์กร
    • 2.คนในองค์กร การเมืองในองค์กร, การเล่นพวกพ้อง
    • 3.การบริหารผู้นำอยู่บนระเบียงอย่าลงไปเล่น

    ใช้การบริหารแบบ KFC คือ K (Know me), F (Focus me), C (Care about me)

    การเรียนรู้ในวันที่ 19 มีนาคม 2557

    เรื่อง: กรณีศึกษาของบริษัทบ้านปูจำกัด กับการก้าวสู่ธุรกิจพลังงานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคโดย ณสมยศ รุจิวัฒน์

      เป็นการฟังบรรยายที่มีความรู้ที่ใกล้เคียงกับงานที่รับผิดชอบในปัจจุบัน กล่าวคือ บริษัทบ้านปู ไปทำธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้าน โดยได้รับสัมปทาน มีกฎกติกาที่ต้องใช้คนในประเทศนั้น ๆ เข้ามาทำงานในบริษัท การได้ฟังถือว่าเป็นประโยชน์

    คุณสมยศ รุจิรวัฒน์ ได้พูดถึงบริษัท บ้านปู จำกัด โดยรวมดังนี้

    • -Banpu Yesterday มีความผูกพันกับ กฟผ. มาทำงานเปิดหน้าดินให้กับ เหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง
    • -Banpu Today พูดถึงธุรกิจบ้านปู ในปัจจุบัน เหลือเพียงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับถ่านหิน ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเชื้อเพลิงอื่น มีการขายหุ้นของโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติออกไป เช่น โรงไฟฟ้าไตรเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (TECO) มีพนักงาน 6,424 คน อยู่ใน 7 ประเทศ มากที่สุดในอินโดนีเซีย คือ 3,144 คน
    • -30 Year Track Record การเติบโตภายใต้ระเบียบปฏิบัติในของแต่ละประเทศที่ไปลงทุน ทำให้มีการปรับการลงทุน ธุรกิจ ต้องคิดเสมอว่าจะทำอะไร chain ของ coal เป็นอย่างไร, เทคโนโลยีในการนำ coal ไปใช้งานเป็นอย่างไร เช่น ใช้ coal เป็น coal gas, liquid.

    การบริหารของบริษัทบ้านปู

      ในกรณีต่าง ๆ จะแตกต่าง ขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์การถือหุ้น ถือหุ้นน้อยกว่า 50% ยากในการบริหารจัดการ เพราะไม่มีส่วนในการบริหารหุ้นส่วน

      การทำ CSR บ้านปูใช้คำว่า SD(Social Development) มีการทำให้คนในหน่วยงานรู้บทบาทหน้าที่ ปฏิบัติได้ถูกต้อง มีส่วนทำให้บริษัทก้าวขึ้นสู่แนวหน้า รู้กฎกติกา, สอดคล้องกับกฎหมาย, มีใบอนุญาตประกอบการทำธุรกิจ มีเฟือง SD อยู่ 3 ตัว คือ License to Operate, Localization, Competiveness

      ความสามารถในการแข่งขัน (Competiveness) ประกอบไปด้วย People Development, Operation Excellence ใช้ TPM, Technology Development เลือกที่เกี่ยวกับธุรกิจ, ใช้พลังงานต่ำต้องลงทุน, ทำงานกับคนชนชาติอื่น รู้จักเข้ากับคน รู้จักวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน, ให้สหภาพมีส่วนร่วม, สร้างประโยชน์ให้ชุมชน และประเทศที่ไปลงทุน

    ช่วงบ่าย Panel Discussion

    เรื่อง TQM/SEPA : ความเป็นเลิศกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

    วิทยากร: คุณโชติรสเสวกวัฒนา, อ.สัญญา เศรษฐพิทยากุล, คุณปิติศรีสุขสมบัติ

    ท่านแรก : คุณปิติ ศรีสุขสมบัติ ผู้จัดการฝ่ายบริหารคุณภาพองค์กร ปตท. ท่านเป็นศิษย์เก่า กฟผ. ทำงานเป็นวิศวกรที่โรงไฟฟ้ากระบี่ เล่าประสบการณ์ การบริหารจัดการแห่งความเป็นเลิศ ของ ปตท. โดย ปตท. มีแรงบันดาลใจ คือ Big(Global Fortune 100) Long (Sustainable Growth), strong (Top Quartile Performance)

    ปตท. ตั้งเป้าหมาย และปฏิบัติจนถึง TQA โดยดำเนินการเริ่มจากธุรกิจก๊าซ และเมื่อได้ TQA จะได้ระบบ ได้ Performance เปรียบเทียบกับคนอื่นได้

    ท่านที่สอง : อ.สัญญา เศรษฐพิทยากุล เป็นที่ปรึกษาให้ กฟผ. หน้าที่ของผู้บริหารทำ TQM ให้เกิด HPO มีความสำเร็จ, ความสุข, มี Performance, ทำ TQM จะทำให้เห็นผลงาน มาจากเหตุ (บริหาร) และผล (เห็น)

      การเปลี่ยนข้อมูลทำอย่างไรเพื่อมาใช้ในการตัดสินใจ คือเป็น Information การดำเนินการพัฒนา TQM ของ กฟผ. ใช้ EGAT Way คือมีคน+ระบบ ได้ Excellent Organization

    ท่านที่สาม : คุณโชติรส เสวกวัฒนา คน กฟผ. จะมีความสุขเมื่อทำงานสำเร็จ กฟผ. จัดทำ TQM ในรูปแบบของ กฟผ. คือ EGAT Way ประกอบไปด้วย คู่มือ EGAT Way 20 เล่ม แบ่งเป็น กระบวนการเชิงนโยบาย, กระบวนการหลักในการสร้างคุณค่า และกระบวนการเชิงสนับสนุน

    การเรียนรู้ในวันที่ 20 มีนาคม 2557

    ช่วงเช้า เรื่อง : นวัตกรรมของบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด

    วิทยากร : คุณไพรวัลย์ ไทยนิยม

      เป็นการเรียนรู้ นวัตกรรมของบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด มีการผลักดันที่ทำให้เกิด และนำไปทำธุรกิจ พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ วางจำหน่ายในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น และติดตามยอดขาย ผลักดันให้พนักงานคิดที่เกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำงานของตนเอง

       เห็นการสร้างผลิตภัณฑ์ และวางจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ในร้านมีความชัดเจน ในการทำนวัตกรรมใหม่ ๆ สัมพันธ์กับเรื่องเงิน และยอดขาย

    ช่วงบ่าย : เรื่อง White Ocean Strategy กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ.

    วิทยากร : คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

       การเรียนรู้จัดภายในห้องประชุมพุทธคยา อาคารอัมรินทร์พลาซ่า เป็นห้องซึ่งมีสิ่งศักดิ์สิทธ์ให้บูชา การอบรมเปลี่ยนไปด้วยธรรมะ พูดถึงการทำธุรกิจ ในหลักของทางธรรม นำหน้า กิเลส ความอยาก กลยุทธ์ของ White Ocean คือ

    • 1.Where are we ทำแผนองค์กรเกิดมาเพื่อสังคม
    • 2.Where do we want to go ตั้งเป้ามองภาพใหญ่
    • 3.สมดุล 4 P คือ People, Profit, Planet และ Passion
    • 4.ยืนอยู่บนหลักการของโลกอันอุดมสมบูรณ์ และแบ่งปัน
    • 5.ตั้งอยู่บนคุณธรรม และเนื้อแท้
    • 6.ความรับผิดชอบต่อสังคม
    • 7.สร้างบรรทัดฐานใหม่

      การบรรยายสอดแทรกหลักธรรม เหมือนมาฟังพระพูด หลักปฏิบัติตัวดีมาก มีการสวดมนต์ตอนเช้า เรียกว่าเป็น มนุษย์เทโว สร้างศรัทธา ให้หลักเรื่องการใช้สมอง ผลักดันให้ใช้ สมองขวา เพื่อสร้างจินตนาการ หลักคิดต่าง ๆ เช่น “อย่าปล่อยให้ความไม่ดีของคนอื่น มาทำลายศรัทธาของตัวเอง” ใช้ IT มี Clip ให้ดู ซึ่งสามารถสื่อสารได้ดีกว่าคำพูด ถือว่าเป็นการฟังที่ทำให้เกิดกุศลกับตัวเอง

    ช่วงเย็น เรื่อง : “ธรรมะสำหรับผู้บริหาร : จิตอิสระ กับจิตประภัสสร”

    วิทยากร : พระพิศาล สาสนกิจ (หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล)

    : วัดเขาศาลาจังหวัดสุรินทร์ พระลูกศิษย์หลวงปู่ ตุลย์ อตุโลก

      เป็นการฟังบรรยาย กึ่งปฏิบัติ คือท่านให้ดื่มน้ำเย็น 1 แก้ว และให้เพ่งจิตอยู่กับน้ำเย็น หรือความเย็นที่เกิดจากการดื่มน้ำ พร้อมทั้งฟังท่านเล่าประวัติ การปฏิบัติงานของท่านที่ได้พบกับครูที่ดี คือ หลวงปู่ตุลย์ และหลวงตามหาบัว การทำงานของท่านมีความใส่ใจ ทุ่มเท คิดไปข้างหน้า โดยที่พระอาจารย์ไม่ต้องสั่ง ใช้มาประยุกต์กับการทำงานได้ดี มีสติจดจ่อไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านไปที่อื่น

    เป็นอุบายการสอนที่ดีมาก ควบคุมความคิด สติได้ดี ครับ

    การเรียนรู้ในวันที่ 21 มีนาคม 2557

    ช่วงเช้า : Panel Discussion : เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับผลกระทบ และการปรับตัวของ กฟผ.

    วิทยากร : รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

    ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

    อ.มนูญ ศิริวรรณ

    ท่านแรก : รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ท่านพูดแยกเป็น

    มหภาค : แนวโน้มอเมริกาดีขึ้น, ยุโรปจะได้รับการช่วยเหลือจากเยอรมัน และอังกฤษ ประเทศญี่ปุ่นจะฟื้น จีนน่าห่วงเพราะเติบโตมากกว่า 10% มา 10 ปี แต่ยังดีมีเงินสำรองมาก มีสภาพคล่อง NPL เริ่มเกิด จีนเริ่มรู้ตัว และผลกระทบจะเกิดกับไทยมาก ถ้าจีนมีปัญหา

    ไทย : สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน โลกมีสินค้าเหมือนไทย ปัญหามาจากการเมือง ตั้งรัฐบาลไม่ได้ ไม่มีการเบิกจ่ายงบ ต้องรออีกหลายเดือน

    ท่านที่สอง : ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

      ท่านบรรยายโดยใช้รูปภาพ อ่านเศรษฐกิจตามสภาพบ้านเมือง และความเป็นอยู่ของคน การจับจ่ายใช้สอยตามห้างสรรพสินค้าเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจในประเทศนั้น ๆ โดย พูดถึง

    อเมริกา : กำลังจะฟื้นตัว และมีอาการตกค้างจากมาตรการช่วยเหลือที่รัฐช่วยไว้ (ค้างยาโด๊ป) และอเมริกาจะเป็นปกติ คนแย่งกันซื้อของ

    จีน : สภาพบ้านเมือง, ตึกร้าง, เมืองร้าง, สภาพเศรษฐกิจจะมีปัญหา เกิดภาวะฟองสบู่แตก

    เอเชีย : จะดีมีการต่อถึงกันโดยถนนเส้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ทำให้การไหลเวียนสินค้าถึงกันหมด

    ท่านที่สาม : อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

     บรรยายเรื่องการใช้พลังงาน ภาพรวมการใช้น้ำมัน ราคาน้ำมันดิบ แสดงถึงภาวะเศรษฐกิจ กฟผ. ต้องปรับตัวเข้า AEC ยกระดับองค์กร รองรับเครือข่ายพื้นฐาน ท่อแก๊ส สายส่ง ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงต่าง ๆ

    ช่วงบ่าย เรื่อง : Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร

    วิทยากร : อาจารย์ดำเกิง ไรวา

      ท่านบรรยายได้สนุก เห็นประโยชน์การใช้ Mind Mapping ในการทำงาน จะคิดและทำอะไรให้อยู่ในกระดาษแผ่นเดียว เห็นตั้งแต่ต้นจนจบ

      ใช้ประโยชน์ในการลำดับความสำคัญ ลดเวลาการเรียนรู้ให้สั้น สรุปเอกสารสำคัญเหลือหน้าเดียว สามารถใช้เป็นโครงร่างในการพูด ใช้ Present ได้เป็นอย่างดี

    มีหลักคิด คนจะรอด คือให้กำลังใจตัวเอง มีการขับดันตัวเอง เอาตัวรอด เช่น จะอดตายไม่มีกินทำอย่างไร

    เป็นวิชาที่เรียนสนุก และได้นำไปใช้งานครับ

    การเรียนรู้ในวันที่ 18 มีนาคม 2557

    “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน”โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

    เศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญต่อตัวเองและสังคม เพราะปัจจุบันปัญหาเกิดจากการบริโภคเกินความพอดี และเกินขีดจำกัด ต้องบริหารจัดการให้สังคมและการเมืองเกิดความพอดีและพอเพียง ประเทศไทยมีครบทุกอย่างแต่ขาดการบริหารจัดการที่ดี อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการพัฒนาแบบ KPM (Knowledge, Power, Money) เน้น GDP ระบบทุนนิยม ใช้ทรัพยากรฟุ่มเฟือย การพัฒนาในอนาคตควรเป็นแบบ GCK (Goodness, Culture, Knowledge) เน้น GNH ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น อนุรักษ์ทรัพยากรและส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล

    การพัฒนาที่ยั่งยืน คือการพัฒนาที่มีความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่เน้น Cost Benefit แต่ใช้ Cost Effectiveness แทน

    เศรษฐกิจพอเพียง เน้นหลัก 3 หลักใหญ่ๆ คือ พอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน

    “ผู้นำ-วัฒนธรรมองค์กร-การบริหารการเปลี่ยนแปลง”

    วัฒนธรรมมีระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และระดับองค์กร ซึ่งวัฒนธรรมองค์กร เป็นสิ่งที่สังคมในองค์กร มองและปฏิบัติตาม ผู้นำต้องเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงตนเองก่อน แล้วจึงนำไปเปลี่ยนแปลงสังคมรอบข้าง ต้องเปลี่ยนก่อนที่จะต้องถูกบังคับให้เปลี่ยน

    Performance ประกอบด้วย Competency และ Motivation

    ผู้นำต้องเก่งใน 3 เรื่อง คือ Change –การเปลี่ยนแปลง, Paradigm – แนวคิด และ Networking/Relationship/Connection– เครือข่ายความสัมพันธ์ โดยต้องเปลี่ยน Mindset ก่อนจึงจะเปลี่ยนอย่างอื่นได้ ผู้นำมีหน้าที่ต้องเข้าไปบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง ซึ่งประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงที่เราอยากเปลี่ยนเอง และการเปลี่ยนแปลงที่ถูกคนอื่นบังคับให้เปลี่ยน และผู้นำต้องเรียนรู้การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในองค์กรด้วยหลัก KFCI คือ Know me, Focus me, Care me และ Inspire ต้องรู้จักลูกน้องว่ามีพฤติกรรมแบบไหนต้องการอะไร และสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกน้องในทีม โดยผู้นำต้องสร้างให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ แบบ Emerging Learning และผู้นำต้องเป็นนักฟังที่ดี

    การเรียนรู้ในวันที่ 19 มีนาคม 2557

    “กรณีศึกษาของ บมจ.บ้านปู กับการก้าวสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

    ประวัติความเป็นมาของ บมจ.บ้านปู ที่เริ่มจากธุรกิจเหมืองเล็กๆ เมื่อปี 1983 เติบโตเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ และขยายกิจการไปสู่ต่างประเทศ อาศัยทักษะ ประสบการณ์ นำองค์ความรู้และเทคโนโลยี ขยายการลงทุนสู่ธุรกิจผลิตไฟฟ้า ผ่านช่วงวิกฤตเศรษฐกิจทำให้ต้องทบทวนกิจการโดยเลือกธุรกิจที่มีความถนัด และพัฒนาจนมีมาตรฐานในระดับสากล ซึ่งต้องปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจให้สามารถแข่งขันและอยู่รอดได้ เนื่องจากมีคู่แข่งรายใหม่ที่มีต้นทุนต่ำเข้ามาในธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ต้องให้ความสำคัญกับ CSR/SD Framework เพื่อความเติบโตที่ยั่งยืน เน้นการบริหารคนที่ถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญขององค์กร เมื่อไปลงทุนในประเทศใดก็ต้องสร้างประโยชน์ให้กับเขา ดูแลชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง .ให้ความสำคัญกับกฎหมายของแต่ละประเทศ เน้นความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องทำธุรกิจด้วยความโปร่งใส และมีจริยธรรม ใช้วัฒนธรรมร่วมของ 2 ประเทศ ให้คนไทยที่ไปทำงานปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมของประเทศนั้น ทำให้เขาเล็งเห็นว่าได้ไปสร้างความเจริญให้กับประเทศของเขาอย่างแท้จริง

    “TQM/SEPA ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.”

    ปตท. ได้รางวัล TQA และมุ่งมั่นที่จะสร้างการเจริญเติบโตเพื่อให้เป็นองค์กรระดับโลก (Big) เติบโตอย่างยั่งยืน (Long) และเข้มแข็ง (Strong) ตั้งเป้าหมายเป็น Top Quartile performance เน้นการสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน เน้นสามเหลี่ยมแห่งความยั่งยืน HPO, CG, CSR ซึ่งผู้บริหารต้องชี้นำ สื่อสารเป้าหมาย กระตุ้นพนักงาน ทำให้ยั่งยืนโดยปฏิบัติจนเป็นชีวิตประจำวัน ผู้ว่าการ ปตท. พูดกับพนักงานทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ ซึ่ง Key Success Factor ของ ปตท. ประกอบด้วย Continuous Improvement, Excellent Leadership และ Open Mind ซึ่งผู้นำมีหน้าที่ ชี้นำ สื่อสารเป้าหมาย กระตุ้นพนักงาน ทำให้เกิดความยั่งยืน

    Egat Way ของ กฟผ. เป็นวิถีการทำงาน ประกอบด้วย คน (People) ต้องสร้างศรัทธาและคุณค่า ปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร / ระบบ (System) ต้องมีหลักธรรมาภิบาล เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างการมีความร่วม และผลลัทธ์ที่เป็นเลิศ (Excellence) สร้างความพร้อมรับอนาคต เป็นความภูมิใจของชาติ เรียนรู้และสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง TQM/SEPA เป็นเรื่องกระบวนการและผลลัพธ์ เพื่อนำไปสู่องค์กร HPO ที่มีทั้งความสำเร็จและความสุข ของทั้งหน่วยงานและลูกค้า ซึ่งปัญหาที่พบในการทำ SEPA ของ กฟผ. คือ EGAT Silo มองเฉพาะสิ่งที่เรารับผิดชอบ จึงขาดการเชื่อมโยงกระบวนการ และ การที่ EGAT เป็น Engineering Based ทำให้เกิดปัญหาของ Work Process มีกระบวนการแบบ Inside out มากกว่า Outside in จึงต้องพยายามปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าให้ได้

    “การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามทางการเมือง”

    การเมืองของไทย มีความสำคัญในการดำเนินภารกิจของ กฟผ. ต้องเตรียมแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงในหลายทางเลือก โดยใช้ข้อมูลและประสบการณ์มาประกอบการคาดการณ์ เพื่อป้องกันการแทรกแซง และให้ กฟผ. สามารถรอดจากการเมือง ซึ่ง กฟผ. ต้องเตรียมการและวางแผนการพัฒนาให้รัดกุมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง สร้างความมั่นคงและมั่นใจกับประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า และมีการทำงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้ (Good Governance) สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ปัญหาด้านพลังงานที่นำเข้า 70% ต้องใช้การพัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล วิเคราะห์และปฏิรูปพลังงานในอนาคต เตรียมความพร้อมจากปัญหาเศรษฐกิจ การบริโภคในประเทศลดลง การลงทุนลดลง จำเป็นต้องบริหารองค์กรในสภาวะวิกฤติให้ได้ บริหารสภาพคล่อง เน้นการบริหารจัดการแบบแข่งขันในระยะสั้น การเมืองของประเทศไทยมีระบบอุปถัมภ์ เป็นช่องทางให้เกิดการโกงกินของนักการเมือง จึงต้องให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชน ดูแลชุมชนรอบโรงไฟฟ้า สร้างเครือข่ายพันธมิตรทั้งภายในและภายนอกเพื่อเป็นรั้วและปากเสียงให้ กฟผ. เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องและเหมาะสมสู่ประชาชนเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายการเมือง และเป็นเกระป้องกันจากการคุกคามทางการเมือง

    การเรียนรู้ในวันที่ 20 มีนาคม 2557

    “นวัตกรรมของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)”

    ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ร้าน 7-11 เปิดสาขาแรกในประเทศไทยที่ถนนพัฒน์พงษ์ โดยสหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าของ License มีปรัชญา “เราปรารถนารอยยิ้มของลูกค้า ด้วยทีมงานที่มีความสุข” โดยขายความสะดวกซื้อผ่านรูปแบบสินค้า และบริการ เน้น Location+Time 24 hr+Speed ปัจจุบันมี 7,634 สาขา ส่วนใหญ่ประมาณ 50% อยู่ในกรุงเทพฯ มีลูกค้าเฉลี่ยทั่วประเทศ 8 ล้านคนต่อวัน

    นวัตกรรมในบริบทของ ซีพี ออลล์ คือการเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ หรือการปรับปรุงจากสิ่งเดิม นำความรู้ ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ไปพัฒนาให้เกิดคุณค่าต่อลูกค้า องค์กร และสังคม ใน 4 ด้านคือ Process Innovation, Product Innovation, Service Innovation and Business Innovation ซึ่ง ศ.ดร.จิระ ให้ความเห็นว่าควรเพิ่ม Social Innovation อีกด้วย เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

    “White Ocean Strategy กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ.”

    หลักการสำคัญของ White Ocean พูดเรื่องยุคของการเปลี่ยนแปลง แนวคิดการปกครองแบบทุนนิยม เน้นวัตถุนิยม การบริโภค ประชานิยม เป็นระบบที่ทำให้ล่มจม ไปไม่รอด มนุษย์บริหารจัดการไม่ได้ เพราะไม่ใช่สิ่งของ You Can’t manage people, You can only lead people สิ่งที่สังคมไทยกำลังแสวงหาคือ ผู้นำที่มีความจริงใจ และมีความยุติธรรม

    สมองของคนเรามี 2 ซีก ซีกซ้าย เน้นหลักการ เหตุผล ความคิด วิเคราะห์ ส่วนสมองซีกขวา เน้นความคิดสร้างสรรค์ คุณธรรม จริยธรรม

    “Knowledge is power but love is a miracle” ความรักคือปาฏิหาริย์ เป็นยุคที่เราใช้ความรัก (สมองซีกขวา) เรียกว่าความรัก ความศรัทธา ทุกอย่างเป็นไปได้ ในสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ปล่อยให้ความไม่ดีของคนอื่นทำลายศรัทธาและความดีของตัวเราเอง

    องค์กรสีขาว เป็นองค์กรที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสังคม สร้างความสมดุลระหว่างคุณค่าและต้นทุน จัดสรรผลประโยชน์ให้กับองค์กรอย่างยั่งยืน อยู่ร่วมกับชุมชน และสังคมได้อย่างเป็นสุข การวัดความสำเร็จขององค์กรวัดด้วย ผลกำไร ความสุข และความยั่งยืน ซึ่งองค์กร High Trust จะมีการทำงานที่รวดเร็ว ต้นทุนต่ำ และการบริหารในปัจจุบันต้องให้เกิดความสมดุลของ 4P คือ People, Planet, Profit and Passion และตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม ความเป็นจริง และความเป็นเนื้อแท้ (Integrity) คิดและเชื่อมั่นในเรื่องเดียวกัน ซึ่งต้องมีแนวคิด ISR ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ ต้องเริ่มจากตัวเอง และมี Bench Mark เป็นผู้สร้างบรรทัดฐานใหม่ในองค์การ เป็นผู้สร้างในสิ่งที่คนอื่นไม่ได้ทำ

    คำคมที่คุณดนัยได้ฝากไว้ คือ “ใจผมเป็นสุข...ทุกครั้งที่มันเต้นเพื่อคนอื่น”

    “ธรรมะสำหรับผู้บริหาร : จิตอิสระกับจิตประภัสสร”

    ได้รับฟังแนวทางการปฏิบัติธรรม และฝึกสมาธิโดยการใช้อุบายการดื่มน้ำเย็น ที่กำหนดจิตไปตามน้ำเย็นที่ผ่านจากปาก ลำคอ เข้าไปในร่างกาย จนถึงท้อง และกำหนดจิตไปที่ท้องให้จดจำความรู้สึกเย็นที่ท้องไว้ เพื่อให้เกิดสมาธิ เมื่อเกิดแล้วจะเกิดปัญญา สามารถนำไปประยุกต์ใช้บริหารจิตสำหรับผู้บริหาร โดยต้องฝึกฝนให้เป็นประจำ จนเกิดความเคยชิน

    การเรียนรู้ในวันที่ 21 มีนาคม 2557

    “เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.”

    เมื่อเศรษฐกิจของประเทศหรือกลุ่มประเทศที่สำคัญ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา จีน กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป มีการขยายตัวหรือเกิดปัญหาขึ้น การรวมตัวของประชาคมอาเซียน ที่ก่อให้เกิดการค้าเสรีในด้านสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงาน สถานการณ์ของพลังงานโลกในปี 2557 ที่มีความต้องการน้ำมันเพิ่มขึ้น โดยสหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้ผลิตรายใหญ่แทนกลุ่มประเทศโอเปค และการใช้พลังงานในแถบเอเชีย ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลต่าง ๆ การเกิดโครงการใหญ่ๆ และการเมือง จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นต้องศึกษาและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดย IEA ประเมินว่าไทยมีความเสี่ยงความมั่นคงด้านพลังงาน เพระต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานจากการนำเข้ากว่าร้อยละ 90 ของความต้องการภายในประเทศ ไม่ว่าการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง หรือก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการนำเข้าพลังงานไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน

    กฟผ. เป็นองค์กรใหญ่ ต้องปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ควบคู่กับการเตรียมพร้อมรองรับการปฏิรูปพลังงาน เช่น เป็นศูนย์กลางด้านโครงข่ายพลังงานในอาเซียน การขยายการลงทุนไปสู่กลุ่มประชาคมอาเซียน พัฒนาบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้ในต่างประเทศ พร้อมรองรับการเปิดเสรีด้านระบบส่งและจำหน่ายในอนาคต ตลอดจนการสร้างภาพลักษณ์ของ กฟผ. ให้เป็นองค์กรที่คำนึงถึงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

    “Mind Mapping”

    เป็นการใช้หลักธรรมชาติของมนุษย์ จินตนาการ เชื่อมโยง พัฒนาสมองให้มีการคิดอย่างเป็นระบบ ทำให้เกิดการลำดับภาพ จินตนาการ ให้สมองเชื่อมโยงความสัมพันธ์ จากจุดเริ่มต้นขยายต่อไปจนถึงจุดสุดท้าย ทำให้จดจำข้อมูลต่าง ๆ ได้เป็นปริมาณมาก โดยมี 2 รูปแบบ คือ การคิดแบบเชิงลึก เชื่อมโยงเรียงลำดับข้อมูลลึกขึ้นไปเรื่อยๆ หรือ การคิดแบบเชิงกว้าง เมื่อเข้าใจหลักการคิดและการทำงานของสมองแล้วจะช่วยลำดับความสำคัญของงาน มีประโยชน์ในการมอบหมายงาน การสอนงาน การมองได้อย่างครอบคลุมในทุกด้านภายในแผ่นภาพเดียว สามารถวางแผน การแก้ไขปัญหา หรือคิดพัฒนานวัตกรรมใหม่

    บทความเรื่อง Schooling Business

    สิ่งที่ได้จากการอ่าน

      - การสร้างให้ทีมงานเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและรู้จักการสอนงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และต้องมีการปรับตัวตามสถานะการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมด้วย พร้อมปลูกฝังให้สร้างวัฒนธรรมองค์กร และรักองค์กร

      - สถานการณ์การแข่งขันทางธุรกิจเป็นแรงผลักดันที่สำคัญให้ผู้นำ และผู้บริหารขององค์กรต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะสำหรับการบริหารธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

      - องค์กรต้องปรับตัวตลอดเวลา และมีความยืดหยุ่นได้ สำหรับการหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ และการให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ องค์กรต้องรู้จักใช้ระบบInformation Technology ให้เกิดประโยชน์กับองค์กรมากที่สุด

      - การทำธุรกิจนั้นลูกค้ามีความสำคัญมากต่อผลการดำเนินงานขององค์กร และการเติบโตขององค์กรในอนาคต ผู้บริหารขององค์กรต้องตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ตรงใจ ตรงประเด็น 

      - การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลาทำให้กระบวนการเรียนรู้ต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้

    เกี่ยวข้องอะไรกับหลักสูตร EADP รุ่นที่ 10

    • การฝึกอบรม ให้ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อให้องค์กรอยู่รอดโดยการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    • การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการสร้างผู้นำ ให้กับองค์กรเพื่อให้นำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย สร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
    • การบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการบริหารองค์กรในปัจจุบัน ความสามารถในการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น การหาแนวทางและมาตรการใหม่ๆ เพื่อเพิ่มสามารถทางการแข่งขันให้กับองค์กร
    • นายสมบูรณ์ ดำรงสุสกุล EADP#10 Group 4

    บทความเรื่อง Schooling Business

    สิ่งที่ได้จากการอ่าน

      - การสร้างให้ทีมงานเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและรู้จักการสอนงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และต้องมีการปรับตัวตามสถานะการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมด้วย พร้อมปลูกฝังให้สร้างวัฒนธรรมองค์กร และรักองค์กร

      - สถานการณ์การแข่งขันทางธุรกิจเป็นแรงผลักดันที่สำคัญให้ผู้นำ และผู้บริหารขององค์กรต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะสำหรับการบริหารธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

      - องค์กรต้องปรับตัวตลอดเวลา และมีความยืดหยุ่นได้ สำหรับการหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ และการให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ องค์กรต้องรู้จักใช้ระบบInformation Technology ให้เกิดประโยชน์กับองค์กรมากที่สุด

      - การทำธุรกิจนั้นลูกค้ามีความสำคัญมากต่อผลการดำเนินงานขององค์กร และการเติบโตขององค์กรในอนาคต ผู้บริหารขององค์กรต้องตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ตรงใจ ตรงประเด็น 

      - การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลาทำให้กระบวนการเรียนรู้ต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้

    เกี่ยวข้องอะไรกับหลักสูตร EADP รุ่นที่ 10

    • การฝึกอบรม ทำ ให้ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อให้องค์กรอยู่รอดโดยการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    • การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการสร้างผู้นำ ให้กับองค์กรเพื่อให้นำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย สร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
    • การบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการบริหารองค์กรในปัจจุบัน ความสามารถในการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น การหาแนวทางและมาตรการใหม่ๆ เพื่อเพิ่มสามารถทางการแข่งขันให้กับองค์กร
    • นายสมบูรณ์ ดำรงสุสกุล EADP#10 Group 4

    สรุปการเรียนรู้วันที่ 18 มีนาคม 2557

    (ช่วงเช้า)ณ มูลนิธิชัยพัฒนา

    เรื่อง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

    ในหลวงทรงรับสั่งเมื่อปี 41 โดยให้ดูสาเหตุตั้งแต่ปี 39 และวิกฤตต้มยำกุ้งปี 40 โดยไม่ยึดติดกับคำว่าเศรษฐกิจ แต่ให้ยึดคำว่า “พอเพียง” การบริโภคที่เกินพอดีของโลก 70% เกินความต้องการในการใช้ทรัพยากรมีครบทุกด้าน แต่ขาดด้านการบริหารจัดการ และการรักษาความพอดีไม่ต้องถึงกับสุดกู่ ยืดหยุ่นโดยปรับไม่ให้ตึงและหย่อนจนเกินไป

    การพัฒนาที่ยั่งยืน คือการพัฒนาที่มความสมดุลระหว่าง เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทุกมิติ) เพื่อความอยู่ดีมีสุข โดยไม่เน้น Cost benefit แต่เน้น Cost effectiveness

    การพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ทางสายกลาง คือ พอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เงินที่มีอยู่ไม่สำคัญเท่ากับเงินที่ใช้ไป (ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร มีเหตุมีผลหรือไม่) อีกทั้งความต้องการในแต่ละยุคแต่ละวัยไม่เหมือนกันต้องพิจารณาตามเหตุตามผลในแต่ละช่วงเวลา

    เพียงพอ- แสดงว่ายังขาดอยู่ จัดหาให้เพียงพอกับความต้องการตามเหตุตามผล

    พอเพียง- ใช้เกินความต้องการ ฟุ่มเฟือย ให้ปรับให้สมดุล พอดี หรือปรับ Demand ตาม Supply

    (ช่วงบ่าย)

    ผู้นำ วัฒนธรรมองกรค์ การบริหารการเปลี่ยนแปลงโดย ศ.ดร.จีระ, อ.ประกาย, ดร.ศิริลักษณ์, อ.ทำนอง

    Focus on “Social Innovation” ตามข้อเสนอของกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่

    -Energy Tax กฟผ.ได้รับประโยชน์ตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่

    -การเจาะลึกและติดตามความต่อเนื่องของชุมชน เนื่องจาก กฟผ.เปลี่ยนแปลงโยกย้ายบุคคลบ่อย

    -การเข้าหาชุมชนมีหลายหน่วยงาน (Silo) ต้องทะลาย Silo ก่อน

    -การสร้าง กฟผ.ให้เป็นบ้านเดียวกับชุมชน

    -โครงการ One manager : One community

    -การทำงานร่วมกับชุมชน ต้องใช้ชุมชนเป็นตัวตั้ง

    -ปรับยุทธศาสตร์การสื่อสารโดยเน้นที่กลุ่มเยาวชน

    Performance = คน + องค์กร โดยทุกคนต้องรู้จักที่มาขององค์กรของตนเอง เช่น กฟผ., กฟน., กฟภ. มีจุดเริ่มต้นแตกต่างกันอย่างไร ทำไมวัฒนธรรมองค์กรจึงต่างกัน?

    อุปสรรคที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลง คือ Mindset และทัศนคติ

    วัฒนธรรมองค์กร ที่ไม่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ ความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใสและที่เปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่ ความต้องการของชุมชน ลูกค้า เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิด Boundary หรือ Silo ส่วนใหญ่มาจากหัวหน้าสายงาน เช่น การกำหนดกติกา และเงื่อนไขของหน่วยงานเอง กำหนดวิสัยทัศน์เองโดยไม่ยึดวิสัยทัศน์หลักขององค์กร

    การเปลี่ยนแปลงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือเปลี่ยนเองโดยเริ่มที่ตนเอง กับมีคนสั่งให้เปลี่ยน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างไม่ดีเสมอไปแต่ให้แย่น้อยลง หากสามารถบริหารจัดการได้การเปลี่ยนแปลงก็จะไม่เป็นไปตามยถากรรม.

    การทะลาย Silo ใน กฟผ. เพื่อให้มีแนวคิดและการบริหารงานไปในทิศทางเดียวกัน

    กฟผ. มีวัฒนธรรมองค์กร ที่เป็นจุดแข็ง 3 ข้อ

    รักองค์การ- มีเป้าหมายเดียวกัน

    มุ่งงานเลิศ- รับผิดชอบงานเต็มที่และทำให้ดีที่สุด

    เทอดคุณธรรม – มีธรรมาภิบาล

    จุดอ่อน / อุปสรรค ก็มีเช่นกัน ได้แก่

    -วัฒนธรรมแบ่งย่อยตามวิชาชีพ หรือสายงาน

    -ความแตกต่างระหว่างรุ่น

    -ขาดการบูรณาการ การสื่อสารซ้ำซ้อน สนใจเฉพาะเรื่องของตนเอง

    แนวทางการทำให้งานสำเร็จ

    -ต้องสร้างการรับรู้ / บูรณาการงานร่วมกัน โดยมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน

    -ถ่ายทอด / ปลูกฝังวัฒนธรรมเดิมที่ดี และสร้างวัฒนธรรมใหม่ร่วมกัน

    -ปรับให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

    การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจุดแข็งของ กฟผ. คือ

    -มีการปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

    -มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามสายงานในงานวันคุณภาพ กฟผ.ประจำปี

    -มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่มาต่อยอดเสมอ

    จุดอ่อน / อุปสรรค ได้แก่

    -บางสายงานยังมีการปรับตัวช้า มีวิสัยทัศน์ย่อยจนลืมวิสัยทัศน์หลัก

    -ต้องใช้เวลาในการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น

    -ผู้บริหารบางท่านยังติดค่านิยมและวัฒนธรรมเดิม

    แนวทางที่ต้องการให้เกิดความสำเร็จ

    -แทรกวัฒนธรรมเข้าไปในทุก Silo ในทิศทาง เป้าหมายและมุมมองเดียวกัน และมีวิสัยทัศน์เดียวกันทั้งองค์กร

    -การสื่อสารชัดเจน ทั้งเนื้อหาและช่วงเวลา เนื่องจากมนุษย์ชอบรู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ และไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้

    -การส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ

    ช่วงสุดท้าย อ.กิติ   แนะนำแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย (ต่อ)

    บทความเรื่อง Schooling Business

    สิ่งที่ได้จากการอ่าน

    -  การสร้างให้ทีมงานเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและรู้จักการสอนงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และต้องมีการปรับตัวตามสถานะการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมด้วย พร้อมปลูกฝังให้สร้างวัฒนธรรมองค์กร และรักองค์กร

    -  สถานการณ์การแข่งขันทางธุรกิจเป็นแรงผลักดันที่สำคัญให้ผู้นำ และผู้บริหารขององค์กรต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะสำหรับการบริหารธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

    -  องค์กรต้องปรับตัวตลอดเวลา และมีความยืดหยุ่นได้ สำหรับการหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ และการให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  องค์กรต้องรู้จักใช้ระบบInformation Technology ให้เกิดประโยชน์กับองค์กรมากที่สุด

    -  การทำธุรกิจนั้นลูกค้ามีความสำคัญมากต่อผลการดำเนินงานขององค์กร และการเติบโตขององค์กรในอนาคต  ผู้บริหารขององค์กรต้องตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ตรงใจ ตรงประเด็น

    -  การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลาทำให้กระบวนการเรียนรู้ต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้

    เกี่ยวข้องอะไรกับหลักสูตร EADP รุ่นที่ 10

    • การฝึกอบรม ทำให้ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อให้องค์กรอยู่รอดโดยการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    • การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการสร้างผู้นำ ให้กับองค์กรเพื่อให้นำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย สร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
    • การบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการบริหารองค์กรในปัจจุบัน ความสามารถในการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น การหาแนวทางและมาตรการใหม่ๆ เพื่อเพิ่มสามารถทางการแข่งขันให้กับองค์กร
    • นายสมบูรณ์ ดำรงสุสกุล EADP#10 Group 4

    บทความเรื่อง Schooling Business

    สิ่งที่ได้จากการอ่าน

    - การสร้างให้ทีมงานเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและรู้จักการสอนงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และต้องมีการปรับตัวตามสถานะการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมด้วย พร้อมปลูกฝังให้สร้างวัฒนธรรมองค์กร และรักองค์กร

    -  สถานการณ์การแข่งขันทางธุรกิจเป็นแรงผลักดันที่สำคัญให้ผู้นำ และผู้บริหารขององค์กรต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะสำหรับการบริหารธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

    -  องค์กรต้องปรับตัวตลอดเวลา และมีความยืดหยุ่นได้ สำหรับการหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ และการให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  องค์กรต้องรู้จักใช้ระบบInformation Technology ให้เกิดประโยชน์กับองค์กรมากที่สุด

    -  การทำธุรกิจนั้นลูกค้ามีความสำคัญมากต่อผลการดำเนินงานขององค์กร และการเติบโตขององค์กรในอนาคต  ผู้บริหารขององค์กรต้องตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ตรงใจ ตรงประเด็น

    - การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลาทำให้กระบวนการเรียนรู้ต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้

    เกี่ยวข้องอะไรกับหลักสูตร EADP รุ่นที่ 10

    • การฝึกอบรม ทำให้ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อให้องค์กรอยู่รอดโดยการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    • การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการสร้างผู้นำ ให้กับองค์กรเพื่อให้นำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย สร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
    • การบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการบริหารองค์กรในปัจจุบัน ความสามารถในการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น การหาแนวทางและมาตรการใหม่ๆ เพื่อเพิ่มสามารถทางการแข่งขันให้กับองค์กร
    • นายสมบูรณ์ ดำรงสุสกุล EADP#10 Group 4

    บทความเรื่อง Schooling Business

    สิ่งที่ได้จากการอ่าน

    -  การสร้างให้ทีมงานเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและรู้จักการสอนงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และต้องมีการปรับตัวตามสถานะการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมด้วย พร้อมปลูกฝังให้สร้างวัฒนธรรมองค์กร และรักองค์กร

    -  สถานการณ์การแข่งขันทางธุรกิจเป็นแรงผลักดันที่สำคัญให้ผู้นำ และผู้บริหารขององค์กรต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะสำหรับการบริหารธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

    -  องค์กรต้องปรับตัวตลอดเวลา และมีความยืดหยุ่นได้ สำหรับการหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ และการให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  องค์กรต้องรู้จักใช้ระบบInformation Technology ให้เกิดประโยชน์กับองค์กรมากที่สุด

    -  การทำธุรกิจนั้นลูกค้ามีความสำคัญมากต่อผลการดำเนินงานขององค์กร และการเติบโตขององค์กรในอนาคต  ผู้บริหารขององค์กรต้องตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ตรงใจ ตรงประเด็น

    - การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลาทำให้กระบวนการเรียนรู้ต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้

    เกี่ยวข้องอะไรกับหลักสูตร EADP รุ่นที่ 10

    • การฝึกอบรม ทำให้ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อให้องค์กรอยู่รอดโดยการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    • การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการสร้างผู้นำ ให้กับองค์กรเพื่อให้นำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย สร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
    • การบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการบริหารองค์กรในปัจจุบัน ความสามารถในการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น การหาแนวทางและมาตรการใหม่ๆ เพื่อเพิ่มสามารถทางการแข่งขันให้กับองค์กร
    • นายสมบูรณ์ ดำรงสุสกุล EADP#10 Group 4

    นายสมบูรณ์ ดำรงสุสกุล EADP#10 Group 4

    บทความเรื่อง Schooling Business

    สิ่งที่ได้จากการอ่าน

    - การสร้างให้ทีมงานเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและรู้จักการสอนงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และต้องมีการปรับตัวตามสถานะการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมด้วย พร้อมปลูกฝังให้สร้างวัฒนธรรมองค์กร และรักองค์กร

    - สถานการณ์การแข่งขันทางธุรกิจเป็นแรงผลักดันที่สำคัญให้ผู้นำ และผู้บริหารขององค์กรต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะสำหรับการบริหารธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

    - องค์กรต้องปรับตัวตลอดเวลา และมีความยืดหยุ่นได้ สำหรับการหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ และการให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ องค์กรต้องรู้จักใช้ระบบInformation Technology ให้เกิดประโยชน์กับองค์กรมากที่สุด

    - การทำธุรกิจนั้นลูกค้ามีความสำคัญมากต่อผลการดำเนินงานขององค์กร และการเติบโตขององค์กรในอนาคต ผู้บริหารขององค์กรต้องตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ตรงใจ ตรงประเด็น

    - การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลาทำให้กระบวนการเรียนรู้ต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้

    เกี่ยวข้องอะไรกับหลักสูตร EADP รุ่นที่ 10

    • การฝึกอบรม ทำให้ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อให้องค์กรอยู่รอดโดยการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    • การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการสร้างผู้นำ ให้กับองค์กรเพื่อให้นำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย สร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

    การบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการบริหารองค์กรในปัจจุบัน ความสามารถในการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น การหาแนวทางและมาตรการใหม่ๆ เพื่อเพิ่มสามารถทางการแข่งขันให้กับองค์กร

    การบ้านคุณสมบูรณ์ ดำรงสุสกุล

    EADP#10 Group 4

    บทความเรื่อง Schooling Business

    สิ่งที่ได้จากการอ่าน

    - การสร้างให้ทีมงานเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและรู้จักการสอนงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และต้องมีการปรับตัวตามสถานะการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมด้วย พร้อมปลูกฝังให้สร้างวัฒนธรรมองค์กร และรักองค์กร

    - สถานการณ์การแข่งขันทางธุรกิจเป็นแรงผลักดันที่สำคัญให้ผู้นำ และผู้บริหารขององค์กรต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะสำหรับการบริหารธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

    - องค์กรต้องปรับตัวตลอดเวลา และมีความยืดหยุ่นได้ สำหรับการหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ และการให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ องค์กรต้องรู้จักใช้ระบบInformation Technology ให้เกิดประโยชน์กับองค์กรมากที่สุด

    - การทำธุรกิจนั้นลูกค้ามีความสำคัญมากต่อผลการดำเนินงานขององค์กร และการเติบโตขององค์กรในอนาคต ผู้บริหารขององค์กรต้องตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ตรงใจ ตรงประเด็น

    - การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลาทำให้กระบวนการเรียนรู้ต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้

    เกี่ยวข้องอะไรกับหลักสูตร EADP รุ่นที่ 10

    • การฝึกอบรม ทำให้ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อให้องค์กรอยู่รอดโดยการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    • การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการสร้างผู้นำ ให้กับองค์กรเพื่อให้นำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย สร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

    การบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการบริหารองค์กรในปัจจุบัน ความสามารถในการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น การหาแนวทางและมาตรการใหม่ๆ เพื่อเพิ่มสามารถทางการแข่งขันให้กับองค์กร

    การบ้านจากคุณดำรงค์

    ช่วงที่ ๓ การอบรมวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๗ ช่วงเช้า

    หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

    สิ่งที่ได้รับจากการฟังการบรรยาย

    • ๑.มนุษย์ต้องเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงยั่งยืนของชีวิต
    • ๒.เศรษฐกิจพอเพียง ความพอเพียงทางด้านจิตใจ ด้านสังคม ด้านเทคโนโลยี ด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง
    • ๓.พลิกใจ พลิกความคิด พลิกใจให้พอเพียง เพื่อความสุขที่ยั่งยืน
    • ๔.แนวคิดตามพระราชดำรัส เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

    ช่วงบ่าย ผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร การบริหารการเปลี่ยนแปลง

    สิ่งที่ได้รับจากการฟังการบรรยาย

    • ๑.ผู้นำการเปลี่ยนแปลง จะต้องรู้จักการบริหารความเปลี่ยนแปลงโดยการ เปลี่ยนแปลงแนวคิด วิธีการ (Paradigm)และการสร้างเครือข่าย
    • ๒.วิธีการสร้างการเปลี่ยนแปลงคือแนวทางการให้คนทำงานตาม Competency (Knowledge Skill) การสร้างวัฒนธรรมองค์กรร่วม
    • ๓.Performance เกิดขึ้นได้โดย Competency + Motivation

    วันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๗ ช่วงเช้า กรณีศึกษาของบริษัทบ้านปูจำกัด (มหาชน) กับการก้าวสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค คุณสมยศ รุจิรวัฒน์

    • ๑.Global Trend need for Sustainability or Community Development :
    • Competitiveness Localization and License to Operate
    • ๒.แนวทางการทำ CSR : Do by Heart เนื่องมาจากมีผลกระทบอย่างสูงกับชุมชนและสังคมเพิ่มการตรวจสอบและปฏิบัติตามกฏหมาย การสร้างเครือข่ายระหว่างองค์กรต่างๆ รวมทั้งสื่อสารมวลชน
    • Co-operate share Values
    • ๓.เพื่อให้เกิดการยอมรับและอนุญาตให้ดำเนินการต่อไปได้ License to Operate
    • ช่วงบ่าย TQM/SEPA : ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.
    • ๑.คุณปิติ ปตท. : การปฏิบัติตามแนวทางของAspiration คือ ทำองค์กรให้เติบโต Big ,อยู่อย่างยั่งยืน Long และมีประสิทธิภาพ Strong
    • ๒.คุณสัญญา: แนวทางการพัฒนาให้เป็นเลิศ ผู้บริหารเป็นผู้นำและให้คำปรึกษา
    • ๓.คุณโชติรส กฟผ. : แนวทางของ EGAT Ways ,มุ่งสู่องค์กรสมรรถนะสูง HPO
    • ปลอดภัย ประหยัด ประสิทธิภาพ
    • บทบาทของผู้บริหาร : TQM คือหลักการผู้บริหารผลักดันเพื่อให้เกิดผลงาน ผลลัพท์ที่คาดหวัง ทั้งในระดับองค์กรและระดับบุคคล

    ช่วงเย็น การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามของการเมือง รศ.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร

    • ๑.การไม่เข้าใจบทบาทในสิทธิของตนเองและผู้อื่น ระบบอุปถัมภ์เป็นตัวทำลาย คนมีความรู้เอาเปรียบและไม่มีเหตุผล
    • ๒.ประชาชน ขาดความรู้ ขาดโอกาส ความเสอภาคทางการศึกษา และการไม่ได้รับความเป็นธรรม
    • อาจารย์ธรรมรักษ์การพิศิษฏ์
    • การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปลี่ยนจากวัฒนธรรมการใช้อำนาจสู่การใช้วัฒนธรรมความรู้ แต่ขาดผู้นำในการเปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนแปลงวิธีคิด เนื่องจากการพัฒนามนุษย์ ต้องใช้เวลานาน Leadership at all level เลิกการคิดแบบแยกส่วน ให้คิดแบบเชื่อมโยง

    วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๗ ช่วงเช้า ศึกษาดูงาน บมจ.ซีพี ออลล์ นวัตกรรมของบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด(มหาชน)

    • โครงการความร่วมมือขับเคลื่อนนวัตกรรมสำหรับประเทศ

    ช่วงบ่าย White Ocean Strategyกับการสร้างศรัทธาของ กฟผ. คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

    • Knowledge is power but love is miracle.
    • Imagination is more than important than knowledge.
    • แนวทางการดำเนินการ
    • ๑.Where are we. เพื่อแสดงความมุ่งมั่น
    • ๒.Where we want to go. หรือ Purpose of life ตั้งเป้าหมายระยะยาว มองภาพใหญ่
    • ๓.How to do.
    • ๔.The World of abundance and Sharing ยึดหลักการของโลกอันอุดมสมบูรณ์และแบ่งปัน What a wonderful world.
    • ๕.เป็นองค์กรที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม ความเป็นจริง และความเป็นเนื้อแท้
    • อยู่เพื่อตนเอง อยู่แค่สิ้นลม อยู่เพื่อสังคม อยู่ได้ตลอดไป

    วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๗ ช่วงเช้า เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย ประชาคาอาเซียน ACE

    • รศ.ดร.สมชาย ภัคภาสน์วิวัฒน์

    ผลกระทบในแง่การบริหาร การบริหารความเสี่ยง การปรับปรุงประสิทธิภาพ สายโซ่แห่งคุณค่า Value Chain Value System และ นวัตกรรม Innovation (Process Innovation , Product Innovation , Service Innovation)

    อาจารย์มนูญวรรณ ทิศทางพลังงานโลกและพลังงานไทย ๒๕๕๗

    ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

    ช่วงบ่าย Mind Mapping สำหรับผู้บริหารและการวางแผนงานวิจัยและโครงการเชิงนวัตกรรม

    การบ้าน Dogfight กลุ่ม 1

    สงครามจ้าวเวหา

    บทนำ

    เมื่อตอนที่ สตีฟ จ็อบส์ ก้าวล้ำโลกเมื่อเริ่มต้นปี 2007 และได้กล่าวว่าเขากำลังประดิษฐ์โทรศัพท์มือถือขึ้นใหม่อีกครั้ง ความคาดหวังที่มีต่อโทรศัพท์มือถือดังกล่าวอยู่ที่จะระดับเล็กน้อยนั้นก็คืออย่างมากที่สุดแล้ว จ็อบส์ ยังไม่ได้เลิกธุรกิจดนตรี iPod และiTune แต่จะเริ่มอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถืออีกหรือ? ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ ผู้ให้บริการการสื่อสารไร้สายซึ่งเป็นผู้ควบคุมตลาดได้กีดกันผู้พัฒนาโทรศัพท์มือถือมาเป็นระยะเวลาหลายปีแล้ว และ iPhoneซึ่งมีรูปลักษณ์ที่ดูดี ก็ดูเหมือนว่าจะไม่เข้ากับธุรกิจโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากมีราคาแพงกว่าโทรศัพท์ส่วนมากที่วางขายอยู่ในตลาด และมีข้อโต้แย้งว่ามีความสามารถน้อยกว่า ทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการ/เครือข่ายข้อมูลที่ช้ากว่า และผู้ใช้ต้องพิมพ์ด้วยแป้นพิมพ์เสมือนจริงแทนแป้นพิมพ์จริงๆ นักวิจารณ์บางคนกล่าวว่า iPhoneตายตั้งแต่เกิด

    อาจจะมีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นหาก จ็อบส์ ขาย iPhoneได้น้อยมากตั้งแต่ในช่วงนั้น จริงๆแล้วเป็นการก้าวกระโดดของ iPhone มิได้เป็นเพียงโทรศัพท์แต่เป็นกระแสของคอมพิวเตอร์กระเป๋าพกพาซึ่งสามารถใช้โทรศัพท์ได้ ด้วยระบบสัมผัสหน้าจอ จึงสามารถทำได้หลายสิ่งซึ่งโทรศัพท์มือถืออื่นๆไม่สามารถทำได้ซึ่งผู้ใช้มองข้ามจุดอ่อนเหล่านี้ไป ผู้บริโภคคุ้นเคยกับแป้นพิมพ์เสมือนจริง และ Apple ได้พัฒนาให้ดีขึ้นและดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ลดราคาลงในเท่ากับโทรศัพท์มือถือของผู้ผลิตรายอื่น อัพเกรดระบบปฏิบัติการ/การจัดส่งข้อมูลที่ช้าอยู่ให้มีความสามารถทางการแข่งขันด้านเทคโนโลยี พัฒนาระบบหน้าจอด้วย resolution ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน ซื้อบริษัทออกแบบ chip เพื่อให้มั่นใจว่า iPhoneจะเป็นเครื่องมือที่รวดเร็วที่สุดในตลาด เปิดตัวซอฟต์แวร์ของiPhoneที่สมบูรณ์แล้วเวอร์ชั่นใหม่ทุกๆปี และออกแบบโฆษณาทางโทรทัศน์เชิงสัญญาลักษณ์เพื่อให้จดจำ ดังเช่นที่เคยทำมาแล้วกับไอโพด ซึ่งทำให้ผู้บริโภคมีความรู้สึกพิเศษที่จะได้เป็นเจ้าของโทรศัพท์สักเครื่องหนึ่ง

    ความบ้าคลั่งที่มีต่อ iPhone ทำให้ Apple และ จ๊อบส์ ทรงอิทธิพลและอยู่ในสถานะที่เหนือกว่าบริษัทการสื่อสารแบบไร้สาย และเริ่มต้นที่จะบอกให้บริษัทเหล่านั้นว่าต้องทำอะไร สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้น คือ วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีซึ่งปัจจุบันเข้าถึงประชากรทุกมุม iPhoneได้กลายเป็นหนึ่งในผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือที่ได้รับความนิยมที่สุดตลอดกาล ขายได้มากกว่า 135 ล้านเครื่องในปี 2012 เพียงปีเดียว ได้กลายเป็นแบบอย่างสำหรับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่สามารถสร้างผลกำไรได้อย่างมหาศาลแบบอย่างใหม่ ซึ่งก็คือ แอพพลิเคชั่นของโทรศัพท์ที่สามารถสร้างรายได้รวมมากกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ นับจาก 5 ปีที่ผ่านมาจากปี 2008 iPhoneได้กลายเป็นแหล่งของการคิดทบทวนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องการที่มนุษย์มีปฏิบัติสัมพันธ์กับเครื่องจักรด้วยปลายนิ้วแทนที่จะเป็นปุ่มหรือเม้าส์ แม้ว่า iPhoneและสายพันธ์ผลิตภัณฑ์ได้แก่ iPod และiPad ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวิถีที่โลกคิดเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือได้ แต่ได้เปลี่ยนแปลงวิถีที่โลกคิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรกในช่วงชีวิตนี้ นับแต่มีการสร้างเครื่อง Macintosh ในปี 1984

    ตั้งแต่ปี 2010 เมื่อ จ็อบส์ ออกจำหน่าย iPhoneต่อจาก iPad เกิดคำถามขึ้นมากมาย ใครเป็นคนบอกว่าคอมพิวเตอร์ต้องอยู่บนโต๊ะทำงานหรือบนหน้าตักเท่านั้น ทำไมถึงไม่เป็นหน้าจอสัมผัสที่ใส่กระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋าถือใส่สตางค์ได้ หรือเป็นบางสิ่งบางอย่างที่วางไว้รอบๆบ้านได้ จริงๆแล้ว ถ้าเปรียบเทียบกับยอดขายiPadกับยอดขายคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือแล็ปท็อป Apple ปัจจุบันกลายเป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายใหญ่ที่สุดในโลก จำหน่ายiPadรายไตรมาสได้มากกว่า Dell หรือ HP ยอดขายรวมของiPhoneiPad และiPodของ Apple เกินกว่า 200 ล้านเครื่องต่อปี ซึ่งเป็นจำนวนที่เท่ากับทีวีของผู้ผลิตทุกรายขายได้รวมกันทุกๆปี และเป็น 4 เท่าของยอดขายรถยนต์ทั่วโลก ทั้งหมดดังกล่าวได้ทำให้ Apple กลายเป็นบริษัทมหาอำนาจใหญ่เกินกว่าความมุ่งหวังมหาศาลของจ๊อบส์ Apple เมื่อครั้งหนึ่งที่เคยเกือบจะล้มละลายในปี 1997 ได้กลายเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีผลกำไรและมูลค่ามากที่สุดในปัจจุบัน

    ถึงกระนั้นก็ตาม Apple ก็ยังมีรูปแบบพฤติกรรมเหมือนบริษัทที่อยู่ภายใต้การชะลอตัวทั้งๆที่ประสบความสำเร็จทุกด้าน จากช่วงเวลาหลังจากปี 2007 Google ได้เปิดเผยระบบปฏิบัติการ Android และวางแผนจะควบคุมโลกของโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์การสื่อสารอื่นๆ Google ไม่ได้เพียงแต่แค่พยายามจะแข่งขันกับiPhoneเท่านั้น แต่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันกับiPhoneด้วย ระบบปฏิบัติการ Android ยึดครองตลาดได้ในปี 2010 และได้รับความนิยมตั้งแต่นั้นมา ต่อข้อสงสัยของ Apple มีโทรศัพท์แบบ smartphone ทำงานบนซอฟต์แวร์ Android มากกว่าiPhoneiPad และiPodซึ่งทำงานบนซอฟต์แวร์ของApple ซึ่งรู้จักกันในนาม iOS ในปี 2012 มีการอภิปรายว่าiPhoneยังเป็นที่ได้รับความนิยมสูงสุดหรือไม่ ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2012 ผลสำรวจบางแห่งกล่าวว่า Sumsung จำหน่าย Galaxy บนระบบปฏิบัติการ Android ได้มากกว่า Apple จำหน่าย iPhone

    Apple ยุติข้อสงสัย“ใครคือ smartphoneที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเมื่อสิ้นปี 2012 ด้วยการเปิดตัวiPhone5 แต่ความแตกต่างระหว่างระบบปฏิบัติการทั้ง 2 แบบ กำลังลดลงทุกทีในปัจจุบัน ทั้งสองระบบมีความแตกต่างกันทางเชิงโครงสร้าง Apple ผลิตทุกตารางนิ้วของiPhone ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ (แม้ว่าอุปกรณ์จะประกอบที่จีนก็ตาม) Google พัฒนาแค่ซอฟต์แวร์สำหรับโทรศัพท์แบบAndroid โดยอนุญาตให้ผู้ผลิตโทรศัพท์สื่อสาร เช่น Sumsung ผลิตฮาร์ดแวร์ได้ แต่ระบบปฏิบัติทั้ง 2 แบบมีข้ดีข้อเสียเท่าๆกัน ระบบปฏิบัติการ Apple ใช้งานได้ง่ายกว่า แต่มีผลิตภัณฑ์แค่ 3 ชนิด ได้แก่ iPhoneiPad และiPod ระบบปฏิบัติการ Android มีทางเลือกของโทรศัพท์มือถือที่มากกว่ามาก และบ่อยครั้งมีรูปลักษณ์ล่าสุดที่ก้าวล้ำกว่าiPhoneแต่ก็ยังขาดความพิถีพิถันด้าน Interface ซึ่ง Apple มี ระบบปฏิบัติการทั้ง 2 ชนิดยังคงมีการใช้งานอยู่ท่ามกลางบริษัทการสื่อสารทั่วโลกอย่างเท่าเทียมกัน มีวางจำหน่ายในสถานที่เดียวกันได้ ยกเว้นร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์Apple

    การมองว่าการครองตลาดของ Apple กำลังถูกท้าทายอย่างเร็วและกว้างขวางขึ้นเป็นความเจ็บปวด เฉพาะตัวของ จ๊อบส์และเป็นแบบเดียวกันกับผู้บริหารอื่นๆของApple รู้สึก จ๊อบส์ เคยคิดและผู้บริหารอื่นๆของ Apple ยังคงคิดว่า Google และชุมชน Android โกงความสำเร็จนี้ไป คิดว่าผู้บริหาร Google ขโมยซอฟต์แวร์ของApple เพื่อนำไปสร้างระบบปฏิบัติการ Android และผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือบนระบบปฏิบัติการ Android รายใหญ่ที่สุดซึ่งก็คือSumsung ได้ลอกเลียนการออกแบบของApple เพื่อสร้างความสำเร็จมหาศาลของ Galaxy พวกเขารู้สึกถูกหักหลัง Apple และ Google ไม่ใช่แค่พันธมิตรทางธุรกิจเมื่อมีการเปิดตัวiPhoneต้นปี 2007 แต่พวกเขาเป็นพันธมิตรทางจิตวิญญาณเฉกเช่น หยิน-หยางแห่งวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี เป็นพันธมิตรที่มีความใกล้ชิดที่สุดแห่งหนึ่งของธุรกิจของอเมริกา Apple พัฒนาอุปกรณ์ที่ยอดเยี่ยม Google พัฒนาซอฟต์แวร์ที่ยิ่งใหญ่ ผู้ก่อตั้ง Google เคยเรียกจ็อบส์ว่า “พี่เลี้ยงคนสอนงาน” ผู้บริหารซึ่งต่อมาเป็น CEO ของ Google นาย Eric Schmidt เคยนั่งเป็นคณะกรรมการบริหารของ Apple และทั้งสองมีศัตรูเดียวกันคือ Microsoft ทั้งคู่ได้วางแผนร่วมกันและอยู่กินอย่างรุ่งเรืองด้วยกันมาเป็นเวลานาน

    หลังจากนั้น เช่นเดียวที่เกิดกับชีวิตสมรส ความสัมพันธ์เริ่มตึงเครียด มีการเก็บงำความลับ ทำลายซึ่งคำสัญญา และเข้าสู่การทะเลาะวิวาท เมื่อจ๊อบส์เสียชีวิตในเดือนตุลาคม 2011 มีความคาดหวังว่าสงครามล้างแค้นจะลดลงเหลือแค่การหักหลังส่วนตัวและค่อยเงียบไปเอง Tim Cook ซึ่งเป็น CEO คนใหม่Apple ของจะไม่สนใจต่อการต่อสู้และค้นหาหนทางใหม่ๆอื่นเพื่อยุติปัญหานี้ Apple เริ่มที่ลดความก้าวร้าวและความรังเกียจที่มีต่อGoogle ตั้งแต่นั้นมา แต่ก็ยังคงมีคดีความต่อชุมชน Android จำนวนมากอย่างน้อยใน 7 ประเทศที่ยังค้างอยู่ ส่วนมากเป็นคดีความส่วนใหญ่เป็นคดีระหว่าง Sumsung และ Motorola ( เป็นเจ้าของโดยGoogle) ฤดูร้อนปี 2012 Apple ใช้วิธีการที่ไม่คุ้นเคยมาก่อนในการต่อสู้คดีกับSumsung ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ของโทรศัพท์แบบAndroid โดยให้การต่อหน้าลูกขุนที่ San Jose และชนะคดีไปด้วยเงิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ถึงแม้ว่าคดีกำลังอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ในเดือนกันยาย 2012 Apple หยุดจำหน่าย iPhone ที่มีการโหลด Google Map ไว้ในเครื่อง และใช้แอพพลิเคชั่นของตัวเอง ทั้งๆที่ผู้บริโภคจำนวนมากบ่นว่าเป็นแอพพลิเคชั่นที่ไม่ได้เรื่อง เชื่อว่า Apple กำลังพัฒนาเพื่อให้บริการวีดีโอเพื่อแข่งกับ Youtube ซึ่ง Google เป็นเจ้าของ

    แม้ว่าApple ได้เริ่มต้นทดแทนเทคโนโลยีการค้นหาข้อมูลใน iPhone ด้วยเทคโนโลยีจากศัตรูเก่า Microsoft ในตอนนี้เมื่อคุณใช้ Siri ซึ่งเป็นระบบการสั่งงานด้วยเสียงบน iPhone ซอฟต์แวร์ใหม่ล่าสุดของ Apple จะไม่ใช้ Google Search อีกต่อไป แต่ใช้ Bing ซึ่งเป็น search engine ของ Microsoft ซึ่งคลานตามGoogle เพื่อหาส่วนแบ่งการตลาดมาเป็นระยะเวลานานกว่าทศวรรษ จริงๆแล้ว ในการใช้ Siri เพื่อใช้การค้นหาGoogle Search จะต้องสั่งให้ Siri ค้นหา Google Search ก่อนทุกครั้ง แต่Google ยังคงเป็นของsearch engine default ภายใน iPhone web browser อยู่ แต่สำหรับผู้ที่มีความจำยาวๆ ความคิดที่ว่า Apple จะทิ้งเทคโนโลยี Google เพื่อมาใช้ Microsoftซึ่งเป็นศัตรูที่สร้างความขมขื่นให้แก่ทั้งสองบริษัทมาเป็นเวลานาน จึงเป็นพัฒนาการที่มึนงงมาก

    ท่าทีต่อสาธารณะของ Google ในการต่อสู้กับ Apple คือ ใคร เราหรือ? เราแค่เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโลก แต่ด้วยวิธีการเชยๆที่Google ใช้ในการต่อสู้นี้กลับหนักหน่วง ได้ท้าทายต่อการเรียกร้องของ Apple ที่ให้ลบซอฟต์แวร์จากโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการ Android หรือไม่ก็ต้องเป็นคดีความสิทธิบัตรกันGoogle ใช้แท็คติกที่ทำให้จ๊อบส์ดูเป็นคนทรราชวิปลาส และGoogle ซื้อ Motorola ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ ด้วยเงิน 12.5 พันล้านในปี 2012 ซึ่งเป็นการซื้อบริษัทที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา เพื่อวัตถุประสงค์เดียวคือต้องการซื้อสิทธิบัตรของMotorola และเป็นการง่ายกว่าที่จะสู้ต่อฝ่ายตรงข้ามที่ชอบเป็นคดีความเช่น Apple อย่างถ้าเป็นเจ้าของบริษัทที่สร้างโทรศัพท์มือถือที่ทันสมัยและมีสิทธิบัตรเป็นของตนเอง ซึ่งก็เป็นความจริง แต่การอ้างเช่นนั้นได้ซ่อนเหตุผลที่ทรงพลังอื่นๆไว้ภายใต้ การซื้อบริษัทหมายถึง Google จะสามารถสร้างโทรศัพท์มือถือได้ตลอดเพื่อแข่งขันไม่ว่าApple จะชนะคดีกับผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือและ Tablet รายอื่นๆ การซื้อบริษัททำให้Google กำไรในความท้าทายใหม่ที่จะเกิดขึ้น

    ท้ายที่สุด Google ตอนนี้พบว่าตัวเอง กำลังดำเนินการบางสิ่งที่ทุกคนส่วนใหญ่คิดว่าจะไม่เคยทำ ได้แก่ การสร้างผู้บริโภคอิเล็กทรอนิกส์ของตัวเองจากจุดเริ่มต้นเพื่อแข่งขันกับอุปกรณ์ของ Apple ในห้องนั่งเล่น Apple มีอุปกรณ์ทุกชิ้นซึ่งไม่เพียงดึงดูดผู้ใช้บนโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการAndroidเท่านั้น แต่สามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้ทุกที่ที่ไปทั้งในและนอกบ้าน

    ***

    ปกติแล้ว เรื่องราวของทั้งสองบริษัทและผู้บริหารของบริษัทที่ทรงอิทธิพลทำให้เกิดบทความในนิตยสารใหญ่และนิตยสารเล็กๆน้อยจำนวนมากได้ บริษัท X จู่โจมบริษัท Y บริษัท Y ตอบโต้ บริษัทหนึ่งชนะ บริษัทหนึ่งแพ้ แต่เรื่องราวในครั้งนี้ใหญ่กว่าเรื่องราวเหล่านั้นมาก ยากที่จะจินตนาการวัตถุแห่งวิวัฒนาการได้มากกว่าวัตถุซึ่งทั้งสองบริษัทเริ่มต่อสู้กันได้แก่สมาร์ทโฟน สมาร์ทโฟนโดยพื้นฐานแล้วได้เปลี่ยนวิธีการที่มนุษย์ได้รับและสร้างข้อมูลและสิ่งนั้นกำลังเปลี่ยนแปลงโลกในวิธีขนาดใหญ่มากเกือบจะเกินกว่าจะจินตนาการได้

    ลองพิจารณาผลกระทบของบุคคลจากหนังสือ ข่าวสาร โทรศัพท์ วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง กล้องงถ่ายภาพ กล้องวีดีโอ เข็มทิศ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเล่นวีดีโอ และเครื่องเล่นดีวีดี คอมพิวเตอร์แบบ โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นวีดีโอเกม และ สมาร์ทโฟน คืออุปกรณ์เดียวที่รวมทุกสิ่งที่กล่าวมาแล้วนำใส่ในกระเป๋าเสื้อได้ กำลังเปลี่ยนรากฐานวิธีการเรียนรู้ในโรงเรียน วิธีการที่แพทย์ตรวจรักษาคนไข้ วิธีการเดินทางและการสำรวจ และวิธีการเข้าถึงความบันเทิงและสื่อต่างๆด้วยวิธีการใหม่ ฟังดูเหมือนเป็นสิ่งที่จ๊อบส์มักจะกล่าวตอนท้ายเมื่อปล่อยสินค้าที่มีชื่อเสียงออกมาจำหน่าย สิ่งนี้ไม่ได้กล่าวเกินจริงเลย

    สิ่งนี้ไม่ได้มีความหมายว่าเรื่องของ Apple และ Google เป็นแค่เรื่องพื้นๆระหว่างบริษัทที่ร่ำรวย 2 แห่ง แต่ได้รับคำจำกัดความว่าเป็นสงครามแห่งยุค มีจุดเปลี่ยนเช่นเดียวกับเวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการประดิษฐ์ขึ้น เมื่อ Internet Browser กำเนิดขึ้น เมื่อ Google ประดิษฐ์ web search ขึ้นมาอีกครั้ง และเมื่อ Facebook สร้าง Social network ในการตรวจสอบเทคโนโลยี สื่อ และเชื่อมต่อการสื่อสาร นี้ เพื่อที่ 2 บริษัทที่ทรงอำนาจที่สุดในโลก ต้องการที่จะควบคุมพื้นที่ใหม่ๆจึงได้เปิดศึกขึ้น

    แน่นอน อย่างที่มี่วันจบสิ้น ศึกครั้งนี้ได้ทำให้ผู้อ่านนึกถึงการต้อสู้ระหว่างนายทุนใน Silicon Valley เช่น Apple กับ Microsoft ในทศวรรษ 1980 หรือ Microsoft กับ Netscape ในทศวรรษ 1990 แต่ ผลได้ผลเสียจะเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันนี้ ในทศวรรษ 19980 ตลาดคอมพิวเตอร์ PC เพิ่งเริ่มต้นขึ้น ทั้ง Apple และ Microsoft ต่างเป็นบริษัทใหม่ด้วยกันทั้งคู่ ในทศวรรษ 1990 ประชาชนมองเห็นศักยภาพของอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะเมื่อพัฒนาเป็นอุปกรณ์ใส่กระเป๋าเสื้อได้ แต่การพัฒนาความเร็วในการส่งข้อมูลของระบบไร้สายทำได้ช้าและแพง ปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือจำนวน 1.8 พันล้านเครื่องที่ขายอยู่ทั่วโลกทุกปี และในอีก 5 ถึง 10 ปี ส่วนมากจะเป็นสมาร์ทโฟน ไม่มีใครทราบว่าตลาดของ Tablet จะใหญ่ขนาดเท่าใด แต่ Tablet จะเริ่มกลายเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สำคัญสำหรับประชาชนในการอ่านหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร ไม่ใช่แค่รับชมโทรทัศน์ หรือเล่นวีดีโอเกมส์ ในทางตรงกันข้าม ผลได้ผลเสียในศึกครั้งนี้ มีจำนวนสูงมากกว่าที่ประมาณไว้ในช่วงต้นๆ

    เป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับหลายๆปีที่กำลังจะมาถึงนี้ สิ่งที่เราส่วนมากให้ความใส่ใจก็คือ ข้อมูล ข่าวสาร ความบันเทิง การสื่อสารซึ่งจะผ่านมาไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการของ Apple หรือ Google อันใดอันหนึ่ง สงสัยหรือไม่ สิ่งนี้กำลังเกิดขึ้นแล้ว เราได้ใช้เวลาจำนวนมากในการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเท่ากับที่เราใช้ดูโทรทัศน์ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้นๆโดยผ่านสมาร์ทโฟน ลองคิดถึงเวลาที่ใช้ไปในการโทรศัพท์และ Tablet ในทุกวันนี้ ไม่ใช่แค่การตอบอีเมล์ อ่านข่าว การเขียนข้อความ (ทวีต) เล่นเฟซบุ๊ค ดูวีดีโอ เล่นเกมส์ หรือค้นหาเว็บไซต์ และรวมเวลาที่เราใช้โดยสารลิฟต์ เข้าคิว ใช้ในห้องน้ำด้วย และถามคำถามนี้กับตัวเราเอง ใครควบคุมสิ่งที่ดูอยู่ในโทรทัศน์ คำตอบคือบริษัทเคเบิ้ล ใครควบคุมสิ่งที่เห็นอยู่ในสมาร์ทโฟน สุดท้ายก็จะได้คำตอบ คือ Apple และ Google

    ผู้เขียนจำได้ว่าตอนที่เป็นบรรณาธิการผู้ร่วมเขียนบทความในนิตยสาร Wired ได้เริ่มนึกถึงการปฏิวัติโทรศัพท์มือถือขึ้นมา ในเวลานั้นโทรศัพท์มือถือที่ขายได้สูงสุดทั่วโลก ได้แก่ Nokia RIM (ผู้ผลิตBlackBerry) Sony Ericson และ Motorola ซึ่งต่อมาไอโฟนก็ได้มีการเปิดตัว ดูเหมือนว่าจะจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ว่า Apple และGoogle จะจบลงด้วยการต่อสู้ ไม่กี่คนเท่านั้นที่เห็นด้วยกับผู้เขียน เพื่อนบรรณาธิการคนหนึ่งกล่าวว่า ความคิดนี้ออกจะผิดปกติไปสักหน่อย Apple และGoogle จะแข่งขันกันได้อย่างไร เมื่อทั้งสองบริษัทมีธุรกิจที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในทางเทคนิคแล้วใช่ Apple ทำเงินจากการขายโทรศัพท์มือถือที่สร้างขึ้น Google ทำเงินได้จากการโฆษณาออนไลน์ แต่สิ่งที่เพื่อนบรรณาธิการและคนอื่นละเลยไปก็คือทั้งสองบริษัทมีเป้าหมายเดียวคือ สิ้นสุดลงที่ความยิ่งใหญ่กว่าเดิม ทั้งสองบริษัทเริ่มมองตัวเองเป็นเครื่องยนต์จัดจำหน่ายสินค้าประเภท “Content” ชนิดใหม่ เป็นเครือข่ายโทรทัศน์แห่งศตวรรษที่ 21 ทั้งสองบริษัทไม่ได้สร้าง “Content” เหมือนที่โทรทัศน์สร้างในทุกวันนี้ แต่เป็นการควบคุมผู้ชมขนาดมหาศาลทั้งโลกและงบดุลแสดงฐานะของกิจการขนาดมหึมาซึ่งจะช่วยให้ทั้งสองบริษัทสร้างผลกระทบขนาดใหญ่ต่อสิ่งที่ทำขึ้นและผู้ชมที่มองเห็น

    สิ่งนี้อาจจะดูเหมือนไม่เป็นไปตามมายาคติที่สร้างขึ้น เป็นการยากที่จะอธิบายผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีที่ Apple และ Google ได้สร้างคนบ้า (Mad Men) ขึ้นมา แต่ผู้ผลิตภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ต้องใส่ใจในสิ่งสำคัญสองสิ่ง โครงการนั้นจะมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่? และผู้ชมจะมีจำนวนเท่าใด? ไม่มีบริษัททั้งสองแห่งใดที่เข้าถึงผู้ชมได้มากเท่ากับ Apple และGoogle มีบริษัทเพียงไม่กี่แห่งที่จะมีเงินมากกว่า ทั้งสองบริษัทรวมกันเฉพาะเงินสดมีจำนวนถึง 200 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อกลางปี 2013 แต่นั่นก็ไม่เพียงพอต่อการซื้อหรือให้ความสนับสนุนทางการเงินต่อ “Content” จำนวนไม่จำกัดสำหรับผู้ชม จริงๆแล้วเพียงพอต่อการซื้อบริษัทส่วนมากใน Hollywood ด้วยซ้ำไป บริษัทนายทุน ได้แก่ New Corp Time Warner Viacom และ CBS เมื่อนำมารวมกันจะมีค่าประมาณนั้น แม้ว่าประชาชนส่วนมากจะไม่คิดว่า Apple และ Google เป็นยักษ์ด้านความบันเทิง Apple โดยผ่านไอจูนมีส่วนแบ่งจำนวนประมาณ 25% ของเพลงทั้งหมดที่มีการซื้อขาย และ 6 ถึง 10 % ของตลาดหนังแผ่น ในขณะที่ Googleกำลังลงทุนหลายล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสร้างรายการฉายใน Youtube ซึ่งได้กลายเป็นช่องวีดีโอจุดหมายของผู้บริโภคกว่าหลายพันล้านคนทั่วโลกแล้ว

    ทั้งนี้ ไม่ได้เสนอแนะว่าจะไม่มีพื้นที่ขนาดมหึมาสำหรับบริษัทเก่าและใหม่ในการสร้างธุรกิจที่สร้างรายได้ของตัวเองในโลกใหม่นี้ ในต้นปี 2013 Netflix สามารถหาสมาชิก จำนวน 30 ล้านคน ได้มากเท่ากับช่อง HBO เมื่อสองปีที่แล้ว Netflix เป็นเพียงบริษัทที่อาจจะทำไม่ได้ บริษัทสร้างภาพยนตร์ได้ขึ้นราคา Content ไปจนถึงระดับที่ไม่สามารถจะจ่ายได้ เมื่อภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ภาพยนตร์ล้มเหลว ผู้ชมก็จะผละจากไป ดังนั้น Netflix ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีตั้งอยู่ที่ Los Gatos และไม่ใช่บริษัทภาพยนตร์ใน Hollywood เริ่มออกเงินเพื่อจัดทำรายการของตนเองขึ้นมา รายการแรกที่นำออกฉาย คือ ซีรีย์ชุด House of Cards ซึ่งมีดารา Kevin Spacey ได้รับความนิยมอย่างถล่มทลาย Amazon และ Microsoft กำลังสร้างโรงถ่ายทำเพื่อทำธุรกิจนี้เช่นกัน ในขณะที่ Facebook ซึ่งมีสมาชิกมากกว่า 1 พันล้านคนซึ่งเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เป็นจุดที่ผู้สร้างหนังจาก Hollywood นิยมมองหาวิธีการใช้ประโยชน์จากผู้ชมทั่วโลกขนาดใหญ่นี้ให้เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสนับสนุนทางการเงินและการจัดจำหน่ายผลงานของลูกค้า

    ทั้งๆที่ Facebook Amazon Netflix และ Microsoft มีพลังในปัจจุบัน แต่บริษัทเหล่านั้น ก็ยังต้องใช้สองบริษัทนี้ Apple และGoogle เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ชมซึ่งใช้สมาร์ทโฟน และ Tablet ในการรับชมข่าว ความบันเทิง และการสื่อสาร สิ่งนี้หมายถึงว่า การต่อสู้ระหว่าง Apple และ Google ไม่ใช่แค่เรื่องราวในอนาคตของ Silicon Valley cแต่เป็นอนาคตของสื่อและการสื่อสารใน New York และ Hollywood ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อเงินรายได้จำนวนหลายๆพันล้านเหรียญสหรัฐ และภายในระยะเวลาอย่างน้อยอีก 2 ปีข้างหน้า หรืออาจจะ 5 ปี ทั้งสองบริษัท พร้อมพันธมิตร และสาวก ก็จะรู้สึกหน่ายเต็มทน

    ***

    หลายครั้งที่อะไรที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ก็คืออะไรที่มหาเศรษฐีด้านสื่อ การสื่อสาร และซอฟต์แวร์ พยายามที่จะทำนายให้ได้ในช่วงชีวิตนี้ ผลงานของ Silicon Valley ใน New York และ Hollywood กำลังหล่อหลอมรวมกันสิ่งนี้เป็นการเข้าใกล้ตลกร้ายในการดำเนินธุรกิจเท่าๆกับใครสักคนเคยได้รับมา ระยะเวลาในช่วงสองทศวรรษ1980 และ 1990 เป็นแถวขบวนที่ผู้บริหารด้านสื่อซึ่งได้รับการยกย่องได้กำหนดเทคโนโลยีที่ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถประกอบเข้าด้วยกันเพื่อนำมาสร้างตำแหน่งให้ตัวเองในโลกใหม่ที่พวกเขามองว่ากำลังจะมาถึง บริษัทใช้เงินหลายๆพันล้านเหรียญสหรัฐในการซื้อบริษัทอื่นเพื่อสร้างมูลค่าให้บริษัทตัวเองมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่เมื่อเวลานั้นผ่านไปแล้ว นวัตกรรมเหล่าต่างแย่ลง การควบรวมบริษัทถึงคราวหายนะ เช่น การซื้อ AOL ของ Time Warner ในปี 2001 จนถึงปี 2005 การควบรวมบริษัทเป็นความคิดที่ไม่รับการยกย่องและมีเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่กล้าออกมาบอกตรง ๆ

    ที่ไหนหรือที่คนรวยมากๆและฉลาดมากๆเหล่านี้ไปผิดทิศ? พวกเขาเหล่านั้นมีเครื่องมือผิดอันในหัวสมอง นักธุรกิจที่ร่ำรวยและทรงอิทธิพลด้านการสื่อสารและสื่อได้ทำนายว่าการหล่อหลอมรวมกันของบริษัทต่างๆจะเกิดขึ้นบนคอมพิวเตอร์แบบ PC ด้วย อุปกรณ์ที่สนับสนุนการทำงานของรายการโทรทัศน์ เช่น กล่องแปลงสัญญาณ (set-top box) ซึ่งในท้ายที่สุดจะควบคุมคอมพิวเตอร์ PC ด้วย นักธุรกิจที่ร่ำรวยและทรงอิทธิพลด้านซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่อย่าง Microsoft และ Bill Gates ได้ทำนายว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ PC จะมาแทนเครื่องรับโทรทัศน์ จริงๆแล้วโทรศัพท์สมาร์ทโฟน และ Tablet แบบจอสัมผัสกำลังผลักดันการเปลี่ยนแปลงนั้นซึ่งอุปกรณ์สองประเภทซึ่งยังไม่ได้รับการประดิษฐ์จนเมื่อเร็วๆนี้ ปัญหาที่เครื่องรับโทรทัศน์ก็คือเป็นอุปกรณ์ที่แย่มากในการทำงานหลายๆอย่าง ปัญหาของเครื่องคอมพิวเตอร์ PC คือ เป็นอุปกรณ์ที่ไม่ใช่เพื่อการบันเทิง สมาร์ทโฟน และ Tablet ซึ่งสามารถพกพาได้และใช้งานได้ง่ายกลายเป็นส่วนประสมที่สมบูรณ์แบบที่สุดของอุปกรณ์ทั้งสองชนิด เราไม่เคยดึงคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คออกมาเพื่อเล่นเกมส์หรือชมภาพยนตร์เมื่อเข้าคิวหรือนั่งอยู่บนหลังรถแท็กซี่ แต่เราทำอย่างนั้นกับสมาร์ทโฟนและ Tablet ตลอดเวลา เรายอมรับที่จะแลกขนาดของหน้าจอเพื่อให้พกพาได้ เพราะว่าไม่เหมือนกับอุปกรณ์ขนาดพกพาที่ผ่านมาในอดีต ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องการสิ่งอื่นอีกเลย หน้าจอของอุปกรณ์มีขนาดเล็กแต่คมชัดกว่าความคมชัดของโทรทัศน์ส่วนใหญ่ แบตเตอรี่อยู่ได้ทั้งวัน เปิดเครื่องได้ทันที เชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สายซึ่งมีความเร็วพอเพียงกับการเล่นและชม Streaming Movie และมีความสามารถเพียงพอต่อการทำงานของแอพพลิเคชั่นเช่นเดียวกับอุปกรณ์อื่นๆได้อีกด้วย

    ***

    เมื่อจบหนังสือเล่มนี้ ไม่เพียงแต่ผู้อ่านจะได้รับความคิดดีๆที่ว่าใครที่จะเป็นผู้ชนะในการต่อสู้ระหว่าง Apple หรือ Google แต่ผู้อ่านจะเกิดความนับถือในสิ่งซึ่งแต่ละฝ่ายต้องก้าวผ่านมาได้เพื่อให้อยู่ในเกมส์ซึ่งผู้อ่านอาจจะรู้สึกไม่ดีลึกๆต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หนึ่งอย่างซึ่งผู้เขียนไม่ได้นึกถึงเลยเมื่อเขียนหนังสือเล่มนี้คือความลำบากในการรับรู้และสร้างผลิตภัณฑ์ซึ่งจ๊อบส์ชอบที่ดึงออกมาจากกระเป๋าเสื้อในบางครั้งบางคราว ไม่ว่าผู้อ่านจะเป็นวิศวกรของ Apple หรือวิศวกรของ Google หรือวิศวกรอื่นๆ ก็ตาม การสร้างผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงโลกนี้ไม่ใช่งาน แต่เป็นการท้าทายเพื่อเอาชนะ ซึ่งเหลือให้ผู้เข้าร่วมไม่ใช่เพียงแค่ความเหนื่อยล้าจากการทำงาน แต่ยังรวมถึงการหมดสิ้นทั้งแรงกายแรงใจ หรือแม้แต่ความเจ็บช้ำที่ไม่รู้ลืมในท้ายที่สุด สิ่งที่เป็นจุดขายของจ๊อบส์ก็คือการเป็นผู้นำและผู้มีชื่อเสียงซึ่งประสบความสำเร็จในการซ่อนตัวจากสายตาสาธารณะ เขาได้สร้างนวัตกรรมที่ดูง่ายๆ แต่ตอนนี้เขาได้จากไปแล้ว และในขณะที่ผู้อ่านจะได้เห็นจากหน้ากระดาษต่อๆไป จะมีวิศวกรจำนวนมากทำงานที่บริษัททั้งสองแห่งซึ่งต้องการโลกที่เหลืออยู่นี้ ได้รับรู้ว่าสิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลกที่แท้จริงนี้มีหน้าตาเป็นอย่างไร ก่อนที่จะมีสมาร์ทโฟน และ Tablet ซึ่งตอนนี้พวกเราซื้อและยอมรับกัน มีเสียงตะโกน กรีดร้อง การแทงข้างหลัง ความเสียสละความหวาดระแวง และความกลัวว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อโครงการปกปิดเหล่านั้นเข้ามาอยู่ในมือของผู้บริโภค พวกเขาต้องการให้ผู้อ่านได้เข้าใจสิ่งที่เป็นโครงการของ iPhone และ Android มีหน้าตาเป็นอย่างไรตั้งแต่เริ่มต้น และนั่นคือจุดที่หนังสือเล่มนี้เริ่มต้นขึ้น

    การบ้าน Dogfight กลุ่ม 1

    บทที่ 1

    ภารกิจพระจันทร์

    ระยะทาง 55 ไมล์ จาก Campbell ถึง San Francisco ซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง การเดินทางใช้ เส้นทาง Junipero Serra Freeway ซึ่งเป็นไฮเวย์ที่กว้างขวางและว่างโล่งมากๆ ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันออกของเทือกเขา Santa Cruz เป็นหนึ่งใน 280 แห่งที่เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นที่ที่ดีที่สุดใน Silicon Valley ที่เศรษฐีใหม่ทดสอบความแรงของรถเฟอร์รารี่ และเป็นสถานที่ที่แย่ที่สุดของการรับโทรศัพท์มือถือ ถึงกระนั้นก็ตามสำหรับ Andy Grignon ซึ่งนั่งอยู่ในรถพอร์ชคาร์เรร่าแล้ว เป็นที่ที่เหมาะมากสำหรับอยู่คนเดียวพร้อมกับความคิดของตอนเช้าของวันที่ 8 มกราคม 2007

    นี่ไม่ใช่เส้นทางไปทำงานของ Grignon เขาเป็นวิศวกรอาวุโสของ Apple ใน Cupertino เมืองที่อยู่ทางตะวันตกของ Campbell ปกติตอนเช้าเขาจะขับรถเป็นระยะทาง 7 ไมล์ ใช้เวลา 15 นาที แต่วันนี้ต่างออกไป เขาต้องไปรับชมเจ้านายของเขา Steve Jobs สร้างประวัติศาสตร์ที่ศูนย์การแสดงสินค้า Macworld ใน San Francisco สาวก Apple ได้ขอร้องมาเป็นเวลาหลายปีแล้วให้ Jobs เอา iPhone เข้าไปใน iPods เพื่อที่พวกเขาจะได้ไม่ต้องหิ้วทั้งสองอย่างในกระเป๋า Jobs กำลังเติมเต็มความปรารถนานั้น Grignon และเพื่อนร่วมงานบางคนจะต้องนอนค้างในโรงแรมใกล้ ๆ และเวลา 10.00 น.ของวันต่อมา พวกเขาและคนอื่น ๆ ในโลกจะได้ดู Jobs เปิดตัว iPhone เครื่องแรก

    การได้รับเชิญให้เป็นคนหนึ่งในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของ Jobs นับเป็นเกียรติอย่างยิ่ง

    ทำให้คุณกลายเป็นผู้มีส่วนร่วม มีพนักงานของ Apple เพียง2-3 โหลรวมผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับเชิญ ที่เหลือถูกสำรองไว้สำหรับคณะกรรมการบริหารของบริษัท Apple , CEO ของคู่ค้า เช่น Eric Schmidt ของ Google และ Stan Sigman จาก AT&T และผู้สื่อข่าวจากทั่วโลก Grignon ได้รับเชิญเพราะเขาเป็นวิศวกรอาวุโส ในส่วนของคลื่นวิทยุใน iPhone งานนี้เป็นงานใหญ่ โทรศัพท์มือถือทำอะไรที่มีประโยชน์กับเราได้มากมายนับไม่ถ้วนในทุกวันนี้ แต่พื้นฐานของมันคือเป็นวิทยุ 2 ทาง Grignon มีหน้าที่ดูแลชิ้นส่วนที่ทำให้โทรศัพท์กลายเป็นโทรศัพท์ ถ้าโทรศัพท์ไม่สามารถโทรออกได้ เชื่อมต่อกับชุด Bluetooth ไม่ได้ หรือติดต่อ Wi-Fi ไม่ได้ Grignon จะมีคำตอบให้ การเป็นวิศวกรของ iPhone รุ่นแรก เขาได้อุทิศเวลา 2 ปีครึ่งของชีวิต บ่อยครั้งที่ต้องทำงานอาทิตย์ละ 7 วันเพื่อทำ Project นี้ และมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่จะทำได้มากกว่าที่เขาทำ

    แต่การที่ Grignon ขับรถขึ้นไปทางเหนือ เขาไม่ได้รู้สึกตื่นเต้น แต่เขารู้สึกกลัว การแสดงผลิตภัณฑ์บนเวทีส่วนมากใน Silicon Valley เป็นการเตี๋ยมกันไว้ล่างหน้า เขาคิดต่อไปว่า ทำไมปล่อยให้การเชื่อมต่อ กับ Internet หรือเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือแย่ๆ มาทำลายการนำเสนอดีๆด้วย การนำเสนอของ Jobs เป็นการถ่ายทอดสดซึ่งเป็นหนึ่งอย่างที่ทำให้การนำเสนอของเขาเป็นที่น่าประทับใจ แต่สำหรับผู้ที่อยู่เบื้องหลัง อย่างตัว Grignon แล้ว งานไม่กี่ส่วนก็ทำให้เกิดความเครียดเพิ่มขึ้นมาก Grignon จำไม่ได้แล้วว่าครั้งล่าสุดที่ Jobs นำเสนอผลิตภัณฑ์เกิดข้อบกพร่องอะไรบ้าง แต่ส่วนที่ทำให้ Steve Jobs เป็นตำนานว่า คือการนำเสนอของSteve Jobs แทบจะไม่มีข้อบกพร่องเกิดขึ้นเลย แต่ Grignon พบว่ายากที่จะระลึกถึงครั้งสุดท้ายที่ Jobs ไม่เคยเตรียมตัวและต้องมานำเสนองานเลย

    Grignon เป็นส่วนหนึ่งของทีมการเตรียมการออกผลิตภัณฑ์ iPhone ที่ Apple และต่อมาออกนำเสนอที่ศูนย์แสดงสินค้า Moscone Center ใน San Francisco แต่เขาแทบจะไม่เคยได้เห็น Jobs เตรียมตัวก่อนการนำเสนองานอย่างยิ่งใหญ่ภายในเวลา 90 นาทีโดยที่ไม่มีข้อผิดพลาดเลย Jobs ฝึกซ้อมเป็นเวลา 5 วัน จนกระทั่งในวันสุดท้ายของการฝึกซ้อมการใช้โทรศัพท์ iPhone ก็พบว่าสายโทรศัพท์หลุด การเชื่อมต่อ Internet ไม่ได้ การเกิดอาการเครื่องค้าง หรือ ต้องปิดเครื่อง

    ตอนแรกมันก็ดูว่าการซ้อมก็สบาย ๆ เช่น เหมือนการซื้อของเงินเชื่อGrignon กล่าว “ใช่! ผมออกไปเที่ยวกับ Jobs” ก็เหมือนกับทุกสิ่งที่อยู่รอบตัว Jobs การเตรียมการเป็นความลับเหมือนกับสหรัฐโจมตี อัฟกานิสถาน ด้วยจรวด missile ทั้งสองคือผู้ซึ่งมีความรู้สึกจริงๆว่าพวกเขาเป็นศูนย์กลางของจักรวาล จากวันพฤหัสบดีจนจบสัปดาห์ต่อมา Apple ก็เดินทางไปถึง Moscone ได้อย่างสมบูรณ์ หลังเวทีถูกสร้างเป็นห้อง Lab อิเล็กทรอนิคส์ ขนาด 8 x 8 ฟุต เพื่อใช้เป็นบ้านและสถานที่ทดสอบ iPhone ถัดจากนั้นไป สร้างเป็น ห้องพักผ่อนที่มีโซฟาสำหรับ Jobs มีการรักษาความปลอดภัยโดยใช้พนักงานรักษาความปลอดภัยกว่า 12 คน ตลอด 24 ชั่วโมง เฝ้าหน้าห้องและประตูทั่วทั้งอาคาร ไม่มีใครสามารถเข้า-ออกโดยไม่ผ่านการตรวจสอบ บัตรประจำตัวอิเล็กทรอนิคส์ โดยนำมาเปรียบเทียบกับบัญชีรายชื่อที่Jobs อนุมัติส่วนตัว ด้านในมีจุดตรวจสอบแขกอีกครั้งเพื่อความมั่นใจ ในหอประชุมที่ Jobs ใช้ฝึกซ้อมถูกปิดไม่ให้คนเข้ายกเว้นกลุ่มผู้บริหารเพียงไม่กี่คน Jobs ฝังใจกับการรั่วไหลโดยผู้รับเหมาที่ Apple จ้างมาจัดการงานเปิดตัว จากเจ้าหน้าที่ประจำบูทและสาธิต เจ้าหน้าที่ดูแลระบบแสงและเสียง พวกเขาต้องพักค้างในอาคารคืนก่อนการนำเสนอของเขา จนกว่าจะมีคนมาบอกว่าให้ไปได้

    Grignon บอกว่า มันเป็นภาวะที่น่าอึดอัดที่เกิดขึ้นไดเร็วมากจริง แทบจะไม่เคยเห็นเขากลายเป็นพวกอยู่ไม่สุข แต่ก็เกิดขึ้น แต่ส่วนใหญ่เขาจะมองที่คุณและพูดตรง ๆ ด้วยน้ำเสียงดังและดุดัน เช่น คุณจะทำให้บริษัทของผมพังหรือ หรือ ถ้ามันล้มเหลวก็เป็นเพราะคุณ เขาเป็นคนเครียดมาก และคุณจะรู้สึกตัวเล็กลงเหลือนิ้วเดียว (เมื่อโกรธและตำหนิคุณ) Grignon บอกว่าคุณจะต้องหมั่นถามตัวเองเสมอด้วย คำถาม 2 ข้อระหว่างการฟังบรรยาย “คราวนี้เราทำพังหรือเปล่าเนี่ย” และ “พังเป็นครั้งที่เท่าไหร่แล้วหรือเป็นครั้งแรก ” เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญมากจริง ๆ ครั้งที่เท่าไหร่แล้วที่ทำให้เขาผิดหวัง แต่ต่อจากนั้น เขาอาจจะค้นหาสาเหตุ แต่ถ้าเป็นครั้งแรก มันเพิ่มความไม่แน่นอนใหม่ ๆ เข้าไปในโปรแกรม Grignon ก็เหมือนคนอื่น ๆ ที่อยู่ในการฝึกซ้อม รู้ว่าถ้าเกิดความผิดพลาดในระหว่างงานนำเสนอจริง Jobs จะไม่โทษตัวเองในปัญหาที่เกิดขึ้น เขาจะไล่บี้เอากับคนทำงานอย่าง Grignon เขาบอกว่า “ มันรู้สึกเหมือนกับว่าเราต้องทำการสาธิตเป็นร้อย ๆ ครั้งและแต่ละครั้งก็มีแต่ข้อผิดพลาดขึ้น”“รู้สึกไม่ดีเลย”

    ***

    iPhone ทำงานได้ไม่ดี เพราะยังพัฒนาไม่เสร็จ Jobs ต้องการอวดเครื่องต้นแบบ เขาไม่แค่ต้องการให้สาธารณรู้เรื่องนี้ แต่สิ่งที่ต้องทำก่อนที่จะนำ iPhone ออกจำหน่ายยังมีมหาศาล สายการผลิตยังไม่ได้ตั้งขึ้น มี เพียง iPhone ไม่กี่ร้อยเครื่องที่มีอยู่จริง ทั้งหมดก็มีคุณภาพแตกต่างกัน บางเครื่องจะมองเห็นช่องระหว่างหน้าจอกับขอบพลาสติกได้ชัดเจน เครื่องอื่นมีรอยถลอกที่หน้าจอ ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุที่ว่าไม่มีใครได้รับอนุญาตให้สัมผัส iPhone หลังจากที่ Jobs ได้เปิดตัว ทั้งๆที่มีรอบสื่อมวลชนและจัดแสดงในศูนย์การประชุมไปเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่กังวลคือแม้จะเป็นเครื่องต้นแบบที่ดีที่สุด ก็ยังไม่ใกล้เคียงกับรายละเอียด Grignon กล่าว iPhone ดูดีเมื่อมองจากระยะไกลและจากการสาธิตของ Jobs แต่ถ้าคุณได้ถือมันในมือ คุณจะหัวเราะพร้อมพูดว่า “ว้าว! มันดูเหมือนยังไม่เสร็จจริง ๆ”

    Software ของโทรศัพท์ยิ่งเลวร้ายกว่าเครื่องโทรศัพท์ วัสดุขนาดใหญ่ถูกใช่เมื่อสี่เดือนที่ผ่านมาในการค้นหาว่าทำไมหน่วยประมวลผลของ iPhone และ cell วิทยุไม่มีความเชื่อถือในการสื่อสาร ปัญหาใหญ่นี้เหมือนกับรถยนต์ที่บางครั้งเครื่องยนต์ไม่ตอบสนองกับอัตราเร่ง หรือบางครั้งล้อไม่ตอบสนองกับห้ามล้อ “เกือบทำให้แผน iPhone หยุดชะงัก”Grignon กล่าว “ไม่เคยเห็นปัญหาซับซ้อนเท่านี้มาก่อนเลย” เป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ใช่ปัญหาสำหรับผู้ผลิตโทรศัพท์ แต่ของ Apple หมกมุ่นกลัว Samsung ซึ่งเป็นผู้ผลิตหน่วยประมวลผลของโทรศัพท์ และ Infineon ผู้ทำ cell วิทยุในโทรศัพท์จะรู้ความลับจากการทำงานร่วมกัน จนกระทั่ง Apple พิจารณาแล้ว จึงให้ทีมวิศวกรจากแต่ละบริษัทบินมาช่วยแก้ไขปัญหาที่ CupertinoJobs ไม่เคยจนมุมแบบนี้มาก่อน เขาได้ชื่อว่าเป็นเจ้านายของเจ้านาย ดูเหมือนเขาจะรู้เสมอว่ามันยากแค่ไหนที่จะผลักดันทีมของเขาเพื่อให้สร้างสิ่งที่เป็นไปไมได้ แต่เขาจะมีแผนสำรองเสมอ แผน B ซึ่งเขาสามารถทำเมื่องานนั้นหมดเวลา หกเดือนก่อนเขานำระบบปฏิบัติการใหม่ของ Apple ออกแสดง ที่ Leopard แต่นั้นหลังจากให้การเปิดตัวงานสุดท้าย

    แต่ Jobs ไม่มีทางเลือก แต่ต้องนำ iPhone ออกแสดง เขาจะเป็นผู้กล่าวเปิดงานในทุก ๆ งานที่ Macworld ตั้งแต่เขากลับมาเป็น CEO ของ Apple ใน 1997 และเพราะเขามีการนำเสนอต่อสาธารณชนเพียงปีละ 1 - 2 ครั้ง เขาได้สร้างเงื่อนไขให้สาวกของ Apple รอคอยสิ่งที่ยิ่งใหญ่จาก Apple เขาเปิดตัวiTunes ที่นี่ เปิดตัว iMac ที่ดูเหมือนโคมไฟตั้งโต๊ะแฟนซี , เว็บเบราเซอร์ Safari , Mac mini และ iPod Shuffle

    ไม่ใช่แค่บริษัทของเขาเท่านั้นที่ Jobs ต้องกังวลว่าจะความผิดหวังในเวลานี้ AT&T ก็คาดหวังให้ Jobs เปิดตัว iPhone ที่ Macworld ด้วย เพื่อแลกเปลี่ยนกับการเป็นผู้ให้บริการการสื่อสารแต่เพียงผู้เดียวของ iPhone ในสหรัฐ AT&T ให้ Jobs ควบคุมทั้งหมดของ iPhone ตั้งแต่การออกแบบ การผลิต และการตลาด ซึ่งไม่เคยมีการทำแบบนี้มาก่อน ถ้า Jobs ไม่สามารถออกผลิตภัณฑ์ได้ทันเวลา AT&T ก็จะยกเลิกข้อตกลง มันไม่ยากเลยที่จะอธิบายว่าผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า iPhone ที่ไม่สามารถโทรออกได้จะขายได้ไม่ดี เมื่อหลายวันก่อน Jobs บินไป Las Vegas เพื่อมอบ iPhone ที่ใช้สาธิตที่มีจำนวนจำกัดให้แก่ผู้บริหารระดับสูงด้านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ AT&T แต่พวกเขาคาดหวังว่าจะได้เห็นการแสดงแบบเต็ม ๆ ที่ Macworld

    ในที่สุด iPhone ก็เป็นของใหม่ที่ดีจริงชนิดเดียวที่ Apple กำลังทำขึ้น iPhone เป็นโครงการที่ต้องร่วมแรงร่วมใจกันทุกคนของ Apple ซึ่งในเวลานี้ที่ไม่มีแผนสำรอง เป็น Grignon กล่าว“โทรทัศน์ Apple หรือ iPhone”และ “ถ้าเขาไปที่ Macworld พร้อม Apple TV (ผลิตภัณฑ์จากการทดลอง) โลกจะพูดว่า “ มันคืออะไรเนี่ย? ”

    ***

    ปัญหาชัดเจนของ iPhone คือ สามารถเล่นในส่วนของเพลงและวิดีโอได้ แต่ไม่สามารถเล่นคลิปทั้งหมดโดยไม่ชนปะทะกัน ทำงานได้ดีถ้าคุณส่ง อีเมล์ ตามด้วยท่องเว็บ แต่ถ้าคุณทำกลับกัน กลับทำไม่ได้ ช่วงเวลาของการลองผิดลองถูกได้ช่วยให้ทีม iPhone พัฒนาสิ่งที่วิศวกรเรียกว่า “เส้นทางทองคำ”ซึ่งเป็นเซ็ตของภารกิจพิเศษปฏิบัติการตามวิธีและลำดับเฉพาะ ทำให้โทรศัพท์ดูราวกับว่ามีการทำงาน

    แต่แม้แต่ Jobs ก็อยู่บน “เส้นทางทองคำ”นี้ ต้องทำงานกันทุกนาที่เพื่อทำให้ iPhone ทำงานได้ ในวันเปิดตัวซอฟท์แวร์ที่ใช้ในการทำงาน ตัวรับ-ส่งวิทยุของ Grignon ยังมีไวรัสอยู่ เช่นเดียวกับซอฟท์แวร์จะจัดการหน่วยความจำของ iPhone และไม่มีใครรู้ว่าชิ้นส่วนอีเลกทรอนิกที่ Jobs ต้องเพิ่มเข้าไปในเครื่องสาธิตจะทำให้ปัญหาเลวร้ายขึ้นหรือไม่

    Jobs ต้องการให้เครื่องโทรศัพท์สาธิตที่จะใช้บนเวทีมีหน้าจอสะท้อนไปบนจอขนาดยักษ์ที่อยู่ด้านหลังเขา เพื่อโชว์ตัวอุปกรณ์บนจอยักษ์ บริษัทส่วนใหญ่ใช้กล้องวิดีโอที่เชื่อมต่อกับเครื่องฉายภาพไปที่ตัวอุปกรณ์ นั่นเป็นสิ่งที่ Jobs รับไม่ได้ ผู้ชมจะเห็นนิ้วของเขาบนหน้าจอ iPhone ซึ่งจะแย่งความสนใจไปจากการนำเสนอของเขา เขาจึงจะให้ทีมวิศวกรของ Apple ใช้เวลาเป็นสัปดาห์ปรับแผงวงจรที่พิเศษที่ติดมากับสายเคเบิลด้านหลังเครื่อง iPhone ที่เขาจะใช้บนเวทีแทน จากนั้นสายวิดีโอจะเชื่อมต่อไปที่เครื่องฉายภาพเพื่อแสดงภาพของ iPhone บนจอ ตัวอย่างเช่น เมื่อ Jobs แตะไปที่ icon app ปฏิทิน นิ้วของเขาจะไม่ปรากฏ แต่ภาพจอยักษ์จะมีการตอบสนอง ผลที่ได้มันวิเศษมาก ผู้ชมรู้สึกราวกับว่าพวกเขากำลังถือ iPhone อยู่ในมือของตัวเอง แต่การทำการติดตั้งที่ไม่มีที่ตินี้ ได้สร้างปัญหาใหญ่อย่างอื่นของ iPhone ที่ดูเหมือนยากที่จะปรับแก้ไขในช่วงเวลานั้น “ มันแค่เอาอะไรที่ไม่ค่อยน่าดูมาปะติดเข้าด้วยกันแล้วตัดต่อให้คุณจินตนาการได้” Grignon กล่าว

    ซอฟท์แวร์ของระบบคลื่นวิทยุ Wi-Fi ของ iPhone ก็ไม่เสถียรซึ่ง Grignon และทีมของเขา ในที่สุดได้ต้องทำการเชื่อมต่อสายอากาศแบบลวดตัวนำไปยังเครื่องโทรศัพท์สาธิตและลากสายยาวเอาไปหลังเวทีตามแนวสายติดตั้งเครื่องฉาย เครื่อง iPhone ยังเชื่อมต่อแบบไร้สายเข้ากับเครือข่าย แต่สัญญาณไปได้ไม่ไกล แม้ว่า Grignon กับทีมงานก็จำเป็นต้องมั่นใจว่าไม่มีใครในที่ประชุมใช้ความถี่ช่วงเดียวกันกับที่พวกเขากำลังใช้ “ แม้จะปกปิด ID ของสถานีฐาน (ดังนั้น ไม่โชว์สัญญาณ Wi-Fi เมื่อตัวคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คค้นหาสัญญาณ) มีผู้ชมที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ 500 คน อาจจะค้นพบว่าจะเจาะเข้าสู่สัญญาณได้อย่างไร Grignon บอกการแก้ไข ทำได้ง่ายมากที่จะปรับแก้ AirPort ซอฟท์แวร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คคิดว่ากำลังใช้งานที่ญี่ปุ่นแทนที่จะเป็นในสหรัฐ ความถี่ของสัญญาณ Wi-Fi ที่ใช้ในญี่ปุ่นไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในสหรัฐ

    พวกเขาแทบจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยเพื่อให้โทรศัพท์ที่ Jobs วางแผนจะโทรจากเวทีนั้นโทรออกได้ สิ่งที่ Grignon และทีมงานทั้งหมดสามารถทำได้ คือ ต้องมั่นใจว่าสัญญาณจะดีและสวดภาวนา พวกเขาขอให้ AT&T มาติดตั้งมีเสาอากาศโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเคลื่อนย้ายได้ เนื่องจากสัญญาณตอบรับจะชัดเจนแข็งแรง จากนั้น ด้วยความสนับสนุนของ Jobs AT&T จึงได้มาตั้งโปรแกรมหน้าจอแสดงให้แสดงความแรงของสัญญาณเต็ม 5 ขีดตลอดเวลาโดยไม่เกี่ยวข้องกับสัญญาณแท้จริง โอกาสที่คลื่นวิทยุจะชนกันในระหว่าง 2-3 นาที่ที่ Jobs ใช้โทรออกมีน้อย แต่โอกาสที่สัญญาณจะชนกันที่จุดบางจุดระหว่าง 90 นาทีของการนำเสนอมีสูง “ถ้ามีสัญญาณวิทยุชนกันและ restart เครื่องใหม่อย่างที่เราสงสัยว่าอาจเกิดขึ้น เราไม่ต้องการให้ผู้ชมเห็นแบบนั้น ดังนั้น จึงต้องกำหนดตัวแสดงความแรงของสัญญาณที่ 5 ขีดตลอดเวลา” Grignon บอก

    ไม่มี kluges เหล่านี้ที่เป็นปัญหาใหญ่ที่สุดของ iPhone 10 หน่วยความจำหายมักหาย และต้อง restart เครื่องใหม่ถ้าสั่งให้เครื่องโทรศัพท์ทำมากไปในช่วงเวลาเดียวกัน Jobs มีเครื่องโทรศัพท์สาธิตบนเวทีหลายเครื่องซึ่งเขาต้องจัดการปัญหานี้ ถ้าเครื่องโทรศัพท์ใดมีหน่วยความจำเหลือน้อย เขาจะเปลี่ยนไปเครื่องอื่นในขณะที่เครื่องแรกกำลัง restart แต่Jobs วางแผนต้องใช้เครื่องโทรศัพท์สาธิตเท่าไร Grignon กังวลว่าจะมีโอกาสที่จะเกิดความล้มเหลวได้มากเกินไป ถ้าหายนะไม่เกิดขึ้นกับเครื่องโทรศัพท์สาธิต 1 ใน 12 เครื่องนั้นไม่ได้รับการแก้ไข แน่นอนจะต้องเกิดขึ้นตอนปิดฉากการสาธิตที่ เมื่อ Jobs วางแผนที่จะโชว์คุณสมบัติที่สุดยอดของ iPhone ทำงานที่เวลาเดียวกันบนเครื่องเดียวกัน เขาเล่นเพลง โทรออก พักสายและรับโทรอีกเบอร์หนึ่ง ค้นหาและส่งรูปทาง Email ไปที่ผู้โทรเข้าคนที่สอง ค้นหาบางอย่างจาก Internet สำหรับผู้โทรเข้าสายแรก และกลับมาฟังเพลงต่อ “ผมและทีมงานกังวลใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ โทรศัพท์พวกมีหน่วยความจำแค่ 120 เมกกะไบท์ เนื่องจากยังไม่เสร็จสมบูรณ์ application ทั้งหมดจึงยังมีขนาดใหญ่และเทอะทะ” Grignon กล่าว

    ความคิดที่ว่าจะได้มีช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาชีพอาจจะพัง ทำให้ท้องไส้ของ Grignon ปั่นป่วน Grignon ในวัย 40 ดูเหมือนคนที่เขาอยากดื่มเหล้าด้วย และเขาก็เป็นแบงนั้น เมื่อเขาย้ายจาก Campbell ไป Half Moon Bay ในปี 2010 เขาค้นเคยกับคนชงเหล้าที่โรงแรม Ritz-Carlton อย่างรวดเร็ว เขามีกระทั่งตู้แช่ไวน์ที่ทำงาน แต่เบื้องหลังภายนอกที่ชอบสังคมคือสติปัญญาเฉียบคมและเป็นพวกชอบการแข่งขันขั้นพิเศษ ครั้งหนึ่งเมื่อตอนที่พยายามลงให้ถึงต้นตอของไวรัสในซอฟต์แวร์ของผู้รับเหมาย่อยของ iPhone เขาเปิดแอร์อุณหภูมิต่ำมากในประชุม เพื่อให้ผู้รับเหมาหนาวสั่น เมื่อการทำอย่างนั้น ยังไม่ทำให้ผู้รับเหมาช่วงทำงานได้เร็วพอ เขาก็ยิ่งพยายามใช้วิธีการที่ดุเดือดมากขึ้น เขากล่าวหาว่าผู้รับเหมาช่วงจะเล่นแง่และขว้าง laptop ของเขาใส่กำแพง

    ภายในปี 2007 เขาใช้เวลาทำงาน 15 ปี ที่ Apple หรือบริษัทพันธมิตร ขณะที่เรียนที่ มหาวิทยาลัย Iowa ในปี 1993 เขากับเพื่อน Jeremy Wyld ที่ตอนนี้เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Quake Labs กับ Grignon ได้ปรับโปรแกรม Newton MessagePad ให้เชื่อมต่อกับ Internet แบบไร้สาย มันได้รับเสียงตอบรับที่ดี และทำให้เขาทั้งคู่ได้งานที่ Apple ทันทีที่เรียนจบ ที่จริง Wyld ทำงานใน Newton Team ส่วน Grignon ทำอยู่ที่ R&D lab ที่มีชื่อเสียงของ Apple ของ Advanced Technology Group เกี่ยวกับเทคโนโลยีการประชุมผ่านวิดีโอ (video conferencing technology) แม้ทีม Newton จะไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างผลิตภัณฑ์ หลายคนยังคิดว่ามันเป็นคอมพิวเตอร์มือถือที่สำคัญเครื่องแรก ในปี 2000 Grignon พบทางของเขาที่ไป Pixo บริษัทที่แยกตัวออกมาจาก Apple ที่สร้างระบบปฏิบัติการสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์เล็ก ๆ อื่น เมื่อพบวิธีใช้ซอฟท์แวร์ของ Pixo ใน iPodเครื่องแรกในปี 2002 Grignon กลับมาอยู่ที่ Apple อีกครั้ง

    จากนั้น ต้องขอบคุณการทำงานของเขาที่ Pixo เขากลายเป็นคนที่มีชื่อเสียงด้านความเชี่ยวชาญในงานด้านอื่นอีก 2 ด้านนอกเหนือจากเป็นผู้สร้างเทคโนโลยีการประชุมผ่านวิดีโอ ได้แก่ เครื่องส่งสัญญาณวิทยุคอมพิวเตอร์ (ที่เรียกว่าไร้สายตอนนี้) และงานเกี่ยวกับซอฟท์แวร์ที่ใช้ในอุปกรณ์มือถือเล็ก ๆ อย่างโทรศัพท์เคลื่อนที่ Grignon ทำงานที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากวิศวกรซอฟท์แวร์อื่นๆ ใน Valley ส่วนมากไม่ค่อยนึกถึงว่า ชุดคำสั่งที่ใช้กินพื้นที่ในฮาร์ดไดร์ฟมากเกินไปหรือเกินกว่าความสามารถของชิป ฮาร์ดแวร์บนคอมพิวเตอร์ desktop และ laptop มีศักยภาพทั้งคู่ ได้แก่ ปรับแก้ไขได้และราคาถูก หน่วยความจำ ฮาร์ดไดรฟ์ หรือแม้แต่หน่วยประมวลผลสามารถ upgrade ได้ในราคาไม่แพง และคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเชื่อมต่อกับสายเคเบิลหรือแบตเตอร์รี่ขนาดใหญ่ ในโลกซอฟท์แวร์ของ Grignon ฮาร์ดแวร์แก้ไขได้ ชุดคำสั่งที่ใหญ่เกินไปไม่สามารถทำงานได้ ในขณะที่ แบตเตอร์รี่ขนาดเล็กจิ๋ว ซึ่งอาจจะให้พลังงานกับ laptop เพียง 2-3 นาที ต้องการพลังมากพอสำหรับใช้ทั้งวัน เมื่อ Jobs ตัดสินใจที่จะสร้าง iPhone เมื่อปลายปี 2004 Grignon จึงมีทักษะที่ครบถ้วนที่จะเป็นหนึ่งวิศวกรของโครงการนี้

    ตอนนี้ ในปี 2007 เขาหมดแรงแล้ว น้ำหนักเพิ่มขึ้น 50 ปอนด์ ชีวิตสมรสก็ตึงเครียด เป็นสองปีที่เหี้ยมโหด Apple ไม่เคยสร้างโทรศัพท์มาก่อน และทีมสร้าง iPhone ก็ค้นพบว่ากระบวนการสร้างโทรศัพท์ไม่เหมือนกันการสร้างคอมพิวเตอร์หรือ iPod เลย “มันน่าดราม่ามาก” Grignon บอก “มันเจาะเข้าไปในหัวทุกคนว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ชิ้นต่อไปที่มาจาก Apple ดังนั้นคุณต้องเอาคนที่ชาญฉลาดที่มีอีโก้เข้ามาอยู่ในภาวะที่กดดัน เวลาที่จำกัด และเครื่องมือบ้า ๆ นี้ก็จะเริ่มเกิดขึ้น”

    * * *

    iPhone ไม่ได้เริ่มต้นขึ้นเสมือน “สิ่งที่ใหญ่ชิ้นต่อไปของ Apple” Jobs ต้องได้รับการพูดคุยในการสร้างโทรศัพท์ ซึ่งเป็นหัวข้อสนทนาวงซึ่งเกือบในทันทีที่เปิดตัว iPod ในปี 2001 กระบวนการให้เหตุผลเชิงมโนทัศน์ชัดเจน คือ ทำไมผู้บริโภคต้องแบกอุปกรณ์ 2-3 อันเพื่อการรับ-ส่ง email รับสาย-โทรออกแบบโทรศัพท์และฟังเพลง ในเมื่อสามารถแบกแค่ชิ้นเดียวได้

    แต่ทุกๆครั้งที่ Jobs และผู้บริหารระดับสูงตรวจสอบความคิดในรายละเอียด ดูเหมือนว่าจะเป็นภารกิจฆ่าตัวตายชัดๆ ชิปโทรศัพท์ และ band width ทำงานช้าเกินไปสำหรับใครที่ต้องการท่อง internet และ ดาวน์โหลดเพลงหรือวิดีโอผ่านการเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือ Email เป็นฟังก์ชั่นที่ดีที่เพิ่มเข้าไปในโทรศัพท์ แต่ Apple ไม่สามารถให้ทั้งหมดที่ใส่เข้าไปในเครื่องโทรศัพท์การสร้างเครื่องเล่นเพลงอย่างที่ iPod ทำได้ มีการทำวิจัยเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของ BlackBerry ที่เข้าครองตลาดได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม Apple พิจารณาที่จะซื้อ Motorola ในปี 2003 แต่ผู้บริหารระดับสูงสรุปอย่างรวดเร็วว่าการซื้อธุรกิจเป็นสิ่งที่ใหญ่เกินไปสำหรับบริษัทตอนนั้น

    สิ่งที่เลวร้ายที่สุด ถ้า Apple ต้องการทำและขายโทรศัพท์ในสหรัฐ จะต้องส่งสัญญาณและติดต่อผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายในสหรัฐ หลังจากนั้น ติดต่อผู้ผลิตโทรศัพท์ เช่น Motorola ที่ซึ่งให้บริการเทคโนโลยีขั้นสูงในสหรัฐ ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือพึ่งพาเงินที่ใช้ในการทำตลาดของผู้ให้บริการเครือข่ายเพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคเข้าร้านจำหน่าย ขึ้นการตลาดของผู้ให้บริการที่ให้ผู้บริโภคเข้าร้านจำหน่าย และจากนั้น ก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการเครือข่ายจะทำให้ราคาค่าโทรศัพท์ซื้อหาได้โดยช่วยอุดหนุนราคาขายเครื่องโทรศัพท์ สิ่งนั้นทำให้ผู้ผลิตเครื่อง โทรศัพท์ไม่มีอำนาจที่จะต้านทานการแทรกแซงของผู้ให้บริการว่าโทรศัพท์แต่ละเครื่องจะผลิตอย่างไร บางครั้ง ผู้ผลิตเครื่องโทรศัพท์ก็จะต่อสู้กับการควบคุมนี้ของผู้ให้บริการเครือข่ายและจะพบเสมอว่ามีแรงผลักกลับในทำนองเดียวกันกลับมาจากผู้ให้บริการ “คุณสามารถสร้างโทรศัพท์ตามแนวทางของคุณ แต่เราไม่อาจอุดหนุนหรือทำการตลาดให้ หรือยอมให้อยู่บนเครือข่ายของเราได้” ผู้ผลิตจะยอมแพ้ต่อการเผชิญหน้ากับการขู่นี้

    โดยส่วนตัว Jobs จะป้องกันตัวด้วยวิธีการนี้ในการทำธุรกิจและไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจ “เราไม่ใช่นักขายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ใน Fortune 500 บริษัท และมีบริษัทแค่ 500 แห่ง มี CIO 500 คน ซึ่งเป็นช่องที่คุณต้องผ่านไปให้ได้เพื่อให้ได้ถึงธุรกิจนั้นๆ “ในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีอยู่ 5 บริษัท เราไม่แม้แต่จะอยากที่จะติดต่อกับบริษัท 500 แห่ง เราอยากฉายโฆษณาสำหรับหลายล้านคนและทำให้ทุกคนตัดสินใจได้เองคุณสามารถคิดดูว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้างกับ 5 บริษัท เขากล่าวระหว่างการสัมภาษณ์บนเวทีที่ศูนย์ประชุม All Things D conference ในเดือนพฤษภาคม 2003 แปลได้ว่า ผมไม่อยากจ่ายหลายร้อยล้านเหรียญเพื่อให้คนเพียงกลุ่มเดียวมาบอกผมว่าจะสร้างและขายโทรศัพท์อย่างไร

    นั่นฟังดูโหดมากและก็เป็นหลักเกณฑ์ ในปี 2003 iPod ก็กลายเป็นสินค้าที่สำคัญที่สุดของ Apple นับตั้งแต่มี Macintosh เข้าใจผิด ผู้ทำโทรศัพท์เคลื่อนที่เอา application สำหรับการฟังเพลงใส่เข้าไปในโทรศัพท์และบริษัทต่าง ๆ เช่น Amazon Walmart และ Yahoo เริ่มขายการดาวน์โหลดเพลง ผู้บริหารระดับสูง เช่น Tony Fadell นายใหญ่ของ iPod กังวลว่าถ้าผู้บริโภคเลิกใช้ iPod ทันทีและหันไปใช้ โทรศัพท์ที่ฟังเพลงได้ ธุรกิจของ Apple ที่เพิ่งรอดจากการล้มละลายมาได้แค่ 5 ปี อาจจะถูกบดละเอียด “เราไม่ได้มีของยอดนิยมในมือจริง ๆ (มีแค่ iPod) กระทั่งปลายปี 2003 ต้นปี 2004 ดังนั้น เรากำลังจะบอกว่าบางทีเราใช่ผู้ควบคุมตลาด ช่องทางการค้าปลีกเป็นทางที่จะขยายธุรกิจของ iPod ได้อย่างเหมาะสม Fadell กล่าว

    ยากที่จะจินตนาการเวลาที่ iPod ไม่ได้เป็นสินค้าเชิงสัญลักษณ์ การจำหน่ายได้มากกว่าปี 50 ล้านเครื่องต่อปี แต่ในอดีตนั้น Apple ที่ขายได้เพียง 1.3 ล้านเครื่องใน 2 ปี และยังมีปัญหาการหาผู้ค้าปลีก เช่น Best Buy ในการจัดจำหน่าย “ดังนั้น เราคิดว่าจะทำอย่างไรเราจะอยู่เหนือสิ่งกวนใจนี้ได้ ทำอย่างไรเราถึงจะแน่ใจได้ว่า อย่างน้อยเรายังแข่งขันได้เพื่อให้คนที่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเข้าถึงเพลงจาก iTunes ได้ เพราะถ้าเราเสีย iTunes ไป เท่ากับเราสูญเสียสูตรสำเร็จทั้งหมด” Fadell กล่าว

    ต่อหน้าสาธารณะ Jobs ยังบ่นว่าผู้ให้บริการการสื่อสารในศูนย์ประชุม D conference ในปี 2004 Stewart Alsop,Jr. ผู้ร่วมทุนและอดีตนักหนังสือพิมพ์ขอร้องJobs อย่างจริงจังให้สร้าง smartphone ที่พัฒนาจากเครื่อง Treo ที่ได้รับความนิยม “ มีทางไหนไหมที่คุณจะเอาชนะความรู้สึกของคุณเกี่ยวกับผู้ให้บริการการสื่อสารได้” Alsop ถาม และชักจูงให้ Jobs รู้จัก Ivan Seidenberg CEO ของ Verizon ซึ่งเป็นผู้ชมได้ติดต่อกัน ไม่ได้แค่เหตุบังเอิญ Jobs กล่าว “เราได้ไปเยี่ยมผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือและแม้แต่พูดคุยกับบุคลากรของ Treo เขาบอกเรื่องราวน่ากลัวให้ฟัง” แต่ส่วนตัวแล้ว Jobs คิดหนักเกี่ยวกับเนื้อหาอุปกรณ์ของ Alsop

    * * *

    คำตอบแรกของ Jobs ที่จะเพิ่มการแข่งขันต้องไม่ใช่ iPhone แต่เป็นอย่างอื่นที่ดูเจียมเนื้อเจียมตัวกว่ามาก –เป็นโทรศัพท์ฟังเพลงที่เรียกว่า Rokr ที่จะสร้างร่วมกันกับหุ้นส่วนอย่าง Motorola และ Cingular ซึ่งเป็นผู้ให้บริการไร้สายรายใหญ่ที่จะควบรวมกิจการกลายเป็น AT&T การทำข้อตกลงเกิดขึ้นตอนต้นปี 2004 ซึ่งดูเหมือนเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในโลกนี้สำหรับ Apple โดยยินยอมให้ Motorola สามารถนำซอฟท์แวร์ของ iTunes ไปใส่ไว้ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ Razr ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากของ Motorola และ Motorola ก็จัดการส่วนที่เหลือ Apple ได้ค่าธรรมเนียมการอนุญาตให้ใช้ซอฟท์แวร์จาก Motorola และ Jobs จะไม่ต้องติดต่อกับผู้ให้บริการไร้สาย iTunes ช่วยให้ Motorola ขายโทรศัพท์ได้มากขึ้น ทำให้ Cingular มีผู้ใช้บริการไร้สายมากขึ้น และส่งเสริมให้ Apple แข่งขันกับโทรศัพท์ฟังเพลงได้ที่เกรงกลัวได้ “เราคิดว่าถ้าผู้บริโภคเลือกโทรศัพท์ที่เล่นเพลงได้แทน iPod อย่างน้อยเขาก็ยังใช้ iTunes” Fadell กล่าว

    Rokr ทำให้เกิดเรื่องน่าอับอายขึ้นแทน เมื่อ Jobs เปิดตัวเกือบจะสิบแปดเดือนต่อมา ในเดือนกันยายน 2005 Rokr ไม่สามารถดาวน์โหลดเพลงทางอากาศได้ซึ่งเป็นจุดขายหลักของโทรศัพท์ ด้วยขนาดที่ใหญ่และเทอะทะ ไม่มีอะไรที่เหมือน Razr ที่มันเงาที่ Motorola สร้างขึ้นจนได้รับชื่อเสียง และถูกกำหนดให้จำกัดการบรรจุเพลงก็ได้เป็นร้อยๆเพลง

    ความตึงเครียดระหว่างหุ้นส่วน โดยเฉพาะ Apple กับ Motorola ชัดเจนขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่ Jobs ได้สาธิตอุปกรณ์บนเวทีที่ Moscone Center ใน San Francisco Jobs ปล่อย iPod nano เครื่องแรกในเวลาเดีดยวกันนั้น และเมื่อมีผู้สื่อข่าวคนหนึ่งถาม Ed Zander CEO ของ Motorola 2-3 สัปดาห์หลังจากนั้นว่ารู้สึกอย่างไรกับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์อื่นของ Jobs หรือไม่ คำตอบของเขารวบรัด “ช่างหัวเจ้า nano เถอะ ” ไม่ช้า นิตยสาร Wired ลงเรื่องความล้มเหลว บนหน้าปกใต้หัวข้อ คุณเรียก นี่คือโทรศัพท์แห่งอนาคต ?

    Jobs ประสบความสำเร็จในคง Rokr ไว้บน Motorola แต่ความล้มเหลวส่วนใหญ่เกิดจากความผิดพลาดของ Apple จริงอยู่ Motorola ผลิตโทรศัพท์ที่หน้าตาขี้เหร่ และยังผลิตต่อเนื่องซึ่งจะขายไม่ค่อยได้ในอีก 4 ปีข้างหน้า จนกระทั่ง Zander ลาออกไป แต่ปัญหาที่แท้จริงของโครงการ Rokr ก็คือ เหตุผลในการทำข้อตกลงของ Jobs เกือบจะระเหยไปทันทีเมื่อมีการลงนาม Fadell กล่าว ข้อตกลงถูกออกแบบเหมือนเป็นการซ้อมเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อบริษัทที่พยายามสร้างโทรศัพท์ที่ฟังเพลงได้โดยไม่ต้องตกลงกับผู้ให้บริการการสื่อสาร ในแต่ละเดือนที่ผ่านไปของปี 2004 เริ่มชัดเจนขึ้นว่าสิ่งสุดท้ายที่ Apple ต้องทำกับ iTunes และ iPod คือ การเล่นบทป้องกันตัว ไม่จำเป็นต้องให้ Rokr ช่วยจัดจำหน่าย iTunes ให้กว้างขึ้น แค่แขวนมันไว้ แค่นี้ iPod ก็ขายได้อย่างกับจรวดพุ่งออกจากฐาน ในฤดูร้อนปี 2003 Apple สามารถขาย iPod ได้ 300,000 เครื่องต่อไตรมาส ต้นปี 2004 ขายได้เพียง 800,000 เครื่องต่อไตรมาส แต่ฤดูร้อนของปี 2004 ยอดขายระเบิด ขายได้ถึง 2 ล้านเครื่องในไตรมาสสิ้นสุดเดือนกันยายน 2004 และอีก 4.5 ล้านเครื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี 2004 ในเวลานี้ ต้นแบบเครื่องโทรศัพท์มือถือ Rokr ที่ขี้เหร่นี้ ได้ปรากฏตัวขึ้นในฤดูใบไม้ร่วงปี 2004 ผู้บริหารระดับสูงของ Apple หลายคนมองเห็นอย่างชัดเจนว่า กำลังเดินมาผิดทาง และเมื่อใกล้สิ้นปี Jobs ทิ้งโครงการนี้ แต่ยังผลักดันทีม iTunes ทำซอฟท์แวร์ที่จะเข้ากับ Rokr ได้ต่อไป แต่เขาเริ่มรับฟังอย่างใส่ใจต่อความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงที่คิดว่าโครงการ Rokr โง่เขลามาตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว

    มันไม่ใช่แค่ความสำเร็จของ iPod ในปี 2004 ที่ทำให้ Apple ลดความกระตือรือร้นกับ Rokr ในช่วงปลายปี การสร้างโทรศัพท์ของตัวเองดูเหมือนจะไม่ใช่ความคิดที่แย่อีกต่อไป ในเวลานั้น ดูเหมือนว่าในไม่ช้าบ้านเรือนและโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนมากกำลังจะมี Wi-Fi ใช้ซึ่งมี bandwidth สูง ที่น่าเชื่อถือด้วยระบบ DSL หรือการเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ล และมี bandwidth สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่นอกบ้านที่มีความเร็วเพียงพอที่จะเล่นวิดีโอหรือใช้ internet browser ได้เต็มฟังก์ชั่นในไม่ช้า ชิปประมวลผลในโทรศัพท์ท้ายที่สุดก็จะมีความเร็วพอที่ใช้กับซอฟท์แวร์โทรศัพท์ดีๆ ที่สำคัญที่สุด คือ การทำธุรกิจกับผู้ให้บริการสื่อสาร เริ่มที่จะเป็นภาระน้อยลง ภายในฤดูใบไม้ร่วงปี 2004 Sprint เริ่มขายส่ง Bandwidth ไร้สาย นั่นหมายถึงว่าโดยการซื้อหรือการขายซ้ำ Spint bandwidth , Apple สามารถมีผู้ให้บริการการสื่อสารไร้สายด้วยตัวเอง เรียกว่า MVNO ย่อมาจาก mobile virtual network operator “ผู้ดำเนินการเครือข่ายเสมือนโทรศัพท์เคลื่อนที่” ตอนนี้ Apple สามารถสร้างโทรศัพท์และกล้าจะตกลงกับผู้ให้บริการสื่อสารทั้งหมด Disney ซึ่งเป็นคณะกรรมการบริหารชุดเดียวของJobs ได้หารือกับ Sprint เฉพาะข้อตกลงที่จะให้บริการสื่อสารไร้สายเรียบร้อยแล้ว Jobs กำลังตั้งถามคำถามมากมายว่าเมื่อไหร่ Apple ควรจะมีการสื่อสารไร้สายสักรายหนึ่ง

    ***

    ผู้บริหารระดับสูงของ Cingular ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ Rokr เช่น Jim Ryan มองดูความสนใจของ Jobs ที่มีต่อ MVNO เมื่อ Sprint มีการเติบโตขึ้น พวกเขากังวลว่า ถ้า Apple กลายเป็นผู้ให้บริการสื่อสารไร้สาย จะตัดราคาเพื่อชนะผู้บริโภคและขยี้ผลกำไรในอุตสาหกรรมนี้อย่างที่ผู้ให้บริการสื่อสารรายอื่นตัดราคาเพื่อให้แข่งขั้นได้ ดังนั้น เมื่อพวกเขาเข้าถึงตัว Jobs และทีมงาน พวกเขาได้เกลี้ยกล่อมอย่างสุภาพ ให้เลิกข้อตกลงนั้นซะ และหันมาทำข้อตกลงกับพวกเขาแทน พวกเขาบอกว่า ถ้า Jobs เห็นด้วยกับข้อตกลงพิเศษกับ Cingular พวกเขายินดีที่จะโยนข้อบังคับที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ผลิต และให้ Jobs ควบคุมความต้องการในการสร้างอุปกรณ์ที่ปฏิวัติใหม่

    Ryan ผู้ไม่เคยพูดในที่สาธารณะเกี่ยวกับวันนั้นจนถึงตอนนี้ กล่าวว่า ประสบการณ์มีค่าและผลต่อทักษะการเจรจาต่อรองของเขา เขาได้รับการรวบรวมข้อตกลงของผู้ให้บริการสื่อสารที่ซับซ้อนสำหรับทศวรรษอันใกล้และเป็นที่รู้จักกันในอุตสาหกรรมว่าเป็นนักคิดคนแรกๆเกี่ยวกับอนาคตของระบบไร้สาย เขาทำให้ธุรกิจข้อมูลไร้สายของ Cingular เติบโตจากที่เกือบไม่มีอะไรเลยจนมีรายได้ 4 พันล้านเหรียญใน 3 ปี แต่ Apple และ Jobs มีประสบการณ์เพียงเล็กน้อยในการเจรจาต่อรองกับผู้ให้บริการสื่อสาร จึงเป็นการยากมากสำหรับ Ryan ที่จะพยากรณ์ว่าพวกเขาจะมีการตอบสนองกับข้อเสนอที่หลากหลายของเขาอย่างไร “ Jobs เกลียดที่ต้องทำข้อตกลงกับพวกเราตั้งแต่ต้นแล้ว เกลียดมัน ” Ryan กล่าว “ เขากำลังคิดว่าเขาไม่ต้องการให้ผู้ให้บริการสื่อสารทุกที่เข้าใกล้ brand ของเขา สิ่งที่เขาคิดไม่ตกคือความจริงที่ว่าเขาจะไม่รู้ว่าจะจำหน่ายบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างไร ” ตลอดปี 2004 ช่วงเวลาเป็นชั่วโมงๆ ที่เขาและทีมประชุมกับผู้บริหารระดับสูงของ Apple ใน Cupertino Ryan หมั่นเตือน Jobs และผู้บริหารระดับสูงคนอื่น ๆของ Apple ว่า ถ้า Apple เป็นผู้ให้บริการสื่อสารด้วยตัวเอง จะติดอยู่ในความยุ่งยากในการใช้สินทรัพย์ ซึ่งก็คือเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ การตกลงร่วมมือกับ Cingular จะป้องกันApple จากความยุ่งยากทั้งหมดนี้ “ฟังดูตลก มันเป็นหนึ่งในจุดขายใหญ่ของเรากับพวกเขา ” Ryan บอก “ ทุกครั้งที่สายหลุด คุณจะโทษผู้ให้บริการ ทุกครั้งที่มีบางอย่างดี ๆ เกิดขึ้น คุณจะขอบคุณ Apple ”

    Cingular ไม่ได้เพียงแค่แสดงบทป้องกัน ผู้บริหารระดับสูงอย่าง Ryan คิดว่า การเป็นพันธมิตรกับผู้ประดิษฐ์ของ iPod ที่จะแปลงวิธีคิดของผู้บริโภคที่คิดเกี่ยวกับบริษัทของพวกเขา ความสำเร็จอย่างถล่มทลายของ Apple จาก iPod ในปี 2004 และ 2005 ขายได้ 8.2 ล้านเครื่องในปี 2004 และอีก 32 ล้านเครื่องในปี 2005 ส่งผลให้สถานะของ Jobs เป็นเหมือนไอคอนทางธุรกิจและวัฒนธรรม สูงจนหาคู่เทียบได้ยาก มันเหมือนฝนตกอย่างหนักลงมาที่ผู้บริโภครายใหม่จะเข้ามาใช้ Cingular ถ้ามันเป็นผู้ให้บริการสำหรับโทรศัพท์ที่ดังเช่นการปฏิวัติแบบที่ iPod ได้ทำให้พวกเขาน้ำลายไหล

    ผู้บริหารระดับสูงของ Cingular อีกคนหนึ่งที่จัดทำข้อตกลงแต่ไม่ต้องการให้เอ่ยชื่อตอนที่ผู้เขียนทำงานให้กับนิตยสาร Wired ในปี 2008 Jobs เป็นคนที่จ๋ง และเท่ มีการศึกษาในวิทยาลัยซึ่งถามว่า “อะไรคือสิ่งที่ขาดไปแล้วจะมีชีวิตอยู่ไม่ได้ สำหรับยี่สิบปีก่อน คือ เบียร์ สำหรับตอนนี้มันคือ iPod หลายสิ่งทำนองนี้ทำให้พูดว่าคนเหล่านี้ต้องมีบางอย่างซึ่งอาจจะช่วยให้เรามีพลังมากขึ้นเพื่อทำให้ข้อตกลงนี้เกิดขึ้น

    ในขณะที่ Cingular วิ่งเต้นโน้มน้าว Jobs จากภายนอก ผู้บริหารระดับสูงของ Apple กลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่ง เช่น Mike Bell และ Steve Sakoman ก็ผลักดันให้ Jobs ลงนามในการสร้างโทรศัพท์จากภายใน “ เราใช้เวลาช่วงนี้ทั้งหมดไปกับการใส่คุณลักษณะของ iPod เข้าไปในโทรศัพท์ Motorola ผมทำผิดหรือ” กล่าวโดย Bell ผู้ซึ่งตอนนี้เป็นผู้หัวหน้าทีมอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ของ Intel เขาบอก Jobs ว่าโทรศัพท์มือถือด้วยตัวมันเองหมิ่นเหม่ต่อการกลายเป็นอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญที่สุดของผู้บริโภค ตลอดกาล ไม่มีใครสร้างโทรศัพท์มือถือได้เก่งที่สุด และด้วยเหตุนั้น “ ถ้าเรา (Apple) เพียงนำประสบการณ์ของผู้ใช้ iPod และอุปกรณ์อื่นๆมาใช้ทำ เราจะมีตลาดของเราเอง”

    Bell เป็นผู้บริหารระดับสูงที่สมบูรณ์แบบคนหนึ่งในการสร้างอุปกรณ์นี้ ทำงานที่ Apple มา 15 ปี และเคยช่วยสร้างผลิตภัณฑ์หลายอย่าง เช่น iMac ที่ช่วยให้ Apple ไม่ต้องล้มละลายเมื่อปี 1997 ที่สำคัญที่สุด เพราะเขาไม่ใช่แค่ทำในแผนกที่ทำซอฟท์แวร์ของ Mac แต่เขารับผิดชอบกลุ่มทำซอฟท์แวร์ที่ใช้ในอุปกรณ์ Apple AirPort Wi-Fi เขา07’รู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมไร้สายมากกว่าผู้บริหารอาวุโสคนอื่น ๆ ภายใน Apple เขาไม่ได้อ้างเครดิตการเป็นบิดาแห่ง iPhone ซึ่งในท้ายที่สุด เขาไม่ได้ดำเนินการหรือทำโครงการนี้ Fadell เป็นผู้ดำเนินการ ก่อนที่ Scott Forstall จะรับช่วงเอาไปทำต่อ แต่ทุกวันนี้ส่วนใหญ่จะบอกว่า Bell เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่สำคัญ

    “ ผมถกเถียงกับ Steve อยู่ 2-3 เดือน และสุดท้ายก็ส่ง email ถึงเขาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2004 ” Bell กล่าว “ ผมพูดว่า Steve ผมรู้ว่าคุณไม่ต้องการทำโทรศัพท์ แต่ถึงตอนนี้ทำไมเราถึงไม่ควรทำมัน(ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ Jony Ive) มีการออกแบบที่ cool จริง ๆ สำหรับ iPod ในอนาคตอย่างที่ไม่มีใครเคยเห็น เราควรเลือกมาสักอัน ใส่ซอฟท์แวร์ของ Apple ลงไปและทำโทรศัพท์ที่เป็นของเราเองออกมาแทนที่จะเอาของ ๆ เราใส่ในโทรศัพท์ของคนอื่น ขาโทรกลับมา1ชั่วโมงหลังจากนั้น และเราก็คุยกันราว 2 ชั่วโมง และสุดท้ายเขาก็บอกว่า ‘ตกลง ผมคิดว่าเราควรเดินหน้าทำมัน’ ดังนั้น Steve และผมและ Jony (Ive) และ Sakoman มากินกลางวันด้วยกัน 2-3 วันให้หลัง และเริ่มต้นโรงการ iPhone”

    มันไม่ใช่เพียงดื้อด้านของ Bell และการออกแบบของ Ive ที่โน้มน้าวใจ Jobs Sakoman ที่มาร่วมมื้อกลางวัน ได้เริ่มทำงานด้านวิศวกรรมเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการสร้างโทรศัพท์บางอย่างมาแล้ว เขาเคยอยู่ที่ Palm จนถึงปี 2003 ที่ซึ่งเหนือสิ่งอื่นใด เขาได้ช่วยสร้างซอฟท์แวร์ที่ใช้ในสมาร์ทโฟน Treo ในฐานะรองประธานด้านเทคโนโลยีซอฟท์แวร์ที่ Apple เขากลายเป็นผู้บริหารที่คุ้นเคยกับซอฟท์แวร์ใน iPod มากที่สุด ถ้า Apple กำลังจะทำสมาร์ทโฟนสักเครื่อง iPod เป็นจุดเริ่มต้นที่เหมาะ นั่นคือสิ่งที่ผู้บริโภคคาดหวังให้ Apple ทำในเวลานั้น Sakoman มาเพื่อร่วมมื้อเที่ยงด้วยกันนั้น เขาและทีมคิดหาหนทางที่จะเอา ชิป Wi-Fi ใส่เข้าไปใน iPod และเชื่อมต่อมันกับ Internet ได้เรียบร้อยแล้ว

    พวกเขาเริ่มทำงานกับซอฟท์แวร์ตัวใหม่สำหรับเครื่องเล่นเพลง ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นหนึ่งของ Linux ซึ่งสามารถจัดการกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการเป็นโทรศัพท์และ Internet browser Linux ซอฟท์แวร์ไม่มีลิขสิทธิ์ที่มีชื่อเสียงทำขึ้นโดย Linus Torevalds ในช่วงทศวรรษ 1990 ไม่ได้เข้ามาแทนที่ Microsoft Windows อย่างที่หลายผู้รู้ทำนาย แต่แล้วกลายเป็นซอฟท์แวร์ทางเลือกสำหรับอุปกรณ์อีเลกทรอนิกส์ที่ซับซ้อนและทรงพลังน้อย Sakoman สรุปให้ Jobs ฟังถึงความก้าวหน้าของทีม และต่อมาในบ่ายวันนั้นเขาบอกทีมว่า “ คุณควรเริ่มคิดให้ออกตอนนี้เพราะโครงการโทรศัพท์นี้กำลังก้าวไปข้างหน้า”

    Bell บอกว่า เหตุผลหนึ่งที่เขาจำการประชุมครั้งนี้ได้เพราะไม่มีใครที่มีวิธีการกินแบบที่ Jobs ทำวันนั้นคุณรู้ว่าคุณจำบางสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างไรเพราะว่าพวกเขาไม่ธรรมดา เมื่อเราประชุมกันด้านนอกที่โรงอาหารของ Apple และเมื่อ Steve เดินออกมา ในถาดของเขามีชามแก้วที่เต็มไปด้วยอโวคาโดหั่นหนึ่ง ไม่ใช่หนึ่งหรือสองชิ้น แต่เหมือนจะเป็นสิบห้าชิ้นที่ราดด้วยน้ำสลัด ผมจำได้ว่านั่งอยู่ที่นั่นกับ Jony และ Sakoman และนั่งมอง Steve กัดอโวคาโด ผมเดาจากการอ่านหนังสือชีวประวัติ (ของ Jobs) โดย Walter Issaacson ว่าเป็นอาหารชนิดหนึ่งของอาหารบำบัดรักษาโรคมะเร็ง แต่ในตอนนั้นผมไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น”

    * * *

    ข้อตกลงครั้งสุดท้ายระหว่าง Apple และ AT & T ซึ่งได้ Cingular มาในปี 2006 ต้องใช้เวลากว่าหนึ่งปีที่จะทำออกมาได้ แต่มันจะพิสูจน์ได้ง่ายเมื่อเทียบกับสิ่งที่ Apple ประสบเพียงเพื่อสร้างอุปกรณ์ ผู้บริหารระดับสูงและวิศวกรหลายคนที่ขึ้นสูงจากความสำเร็จจาก iPod สันนิษฐานว่าคงจะเป็นเช่นเดียวกับการสร้าง Macintoshขนาดเล็ก แต่ Apple ได้ออกแบบและสร้างขึ้นไม่ใช่แค่ iPhone อย่างเดียว แต่อุปกรณ์ 3 อย่างที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงใน 2 ปี ผู้บริหารระดับสูงคนในโครงการนี้คิดว่าApple จะพัฒนาต้นแบบที่ทำงานได้เต็มที 6 เครื่อง เป็นแค่อุปกรณ์ซึ่งท้ายที่สุดก็จะนำออกขาย แต่ละเครื่องต้นแบบ มีชุดฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และมีการออกแบบเป็นของตัวเอง หลายคนในทีมหมดแรง พวกเขาออกจากบริษัทไปในช่วงสั้นหลังจากที่โทรศัพท์เครื่องแรกจะวางจำหน่ายในร้าน "มันเป็นเหมือนการเหยีบดวงจันทร์ครั้งแรก " กล่าวโดย Fadell ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้บริหารระดับสูงที่สำคัญในโครงการและเป็นผู้ที่ทิ้ง Apple เพื่อไปเพื่อเริ่มต้นบริษัทของตัวเอง NEST ในปี 2010 "ผมคุ้นเคยกับความไม่รู้ระดับหนึ่งในโครงการ แต่มีสิ่งใหม่ ๆมากมายที่นี่ทำให้ลังเล”

    Jobs ต้องการให้ iPhone ทำงานบน version ที่ปรับปรุงแล้วของ OS X ซึ่งเป็นซอฟแวร์ที่มาพร้อมกับ Mac ทุกเครื่อง แต่ไม่มีใครได้เคยใส่โปรแกรมขนาดใหญ่เช่น OS X บนชิปโทรศัพท์มาก่อน ซอฟต์แวร์จะต้องมีขนาดสิบเท่าและแม้ว่าจะไม่มีชิปโทรศัพท์ที่ถูกทำในปี 2005 จะสามารถทำงานได้เร็วพอและมีแบตเตอรี่ที่นานพอ ชิปที่ทำงานบนแล็ปท็อปของ Apple ไม่เคยได้รับการพิจารณาเพราะทำให้เกิดความร้อนมากเกินไปและจะทำให้แบตเตอรี่โทรศัพท์แห้งในไม่กี่นาที ชุดคำสั่งจำนวนมากจะต้องถูกถอดออกไปหรือเขียนใหม่และ จนกระทั่งปี 2006 วิศวกรจะมีการจำลอง chip speed และ Battery drain เพราะชิปจริงยังไม่มีใช้ “ตอนแรกเราก็ทำงานบน Gumstix boards [Circuit boards ราคาถูกที่มือสมัครเล่นซื้อ]” Nitin Ganatra หนึ่งในวิศวกรซอฟต์แวร์ยุคแรกกล่าว. เราเริ่มต้นด้วย Mac address book บัญชีรายชื่อ เพื่อดูว่าสามารถทำให้มันเลื่อน [บนหน้าจอ] ระหว่างสามสิบถึงหกสิบ frame ต่อ 1 วินาที เราเพียงต้องการที่จะคิดให้ออกว่ามีวิธีไหนบ้างที่จะทำได้ [OS X บนชิปโทรศัพท์] ไม่ว่าเราจะอยู่ในสนามถูกหรือไม่ เราต้องการที่จะรู้ว่าถ้าเราจะสามารถใส่ bits ที่เร็วพอที่จะรับกับรูปลักษณ์ และความรู้สึกของ iPhone ถ้าเราไม่สามารถทำให้มันทำงานบน Gumstix board ได้ เรารู้ว่าเราอาจจะมีปัญหา

    ไม่มีใครได้เคยใส่หน้าจอสัมผัสในสินค้าสำหรับการบริโภคสำคัญๆมาก่อน. เทคโนโลยีหน้าจอสัมผัส ซึ่งจะสร้าง "สัมผัส" เมื่อนิ้วมือหรือสิ่งนำไฟฟ้าอื่นๆทำให้เกิดความสมบูรณ์แก่วงจรไฟฟ้าบนอุปกรณ์ มีมาตั้งแต่ปี 1960 แล้ว โดยนิยมใช้กับปุ่มลิฟท์ในอาคารสำนักงานและหน้าจอตู้เอทีเอ็ม และการวิจัยใน multitouch technology ได้ทำมาตั้งแต่ทศวรรษ 1980. Trackpads บน Labtops น่าจะเป็นการใช้งานที่ซับซ้อนที่สุดของเทคโนโลยีนี้เนื่องจากสามารถจดจำความแตกต่างระหว่างการป้อนเข้าโดยใช้หนึ่งและสองนิ้วได้ แต่เป็นที่รู้จักกันดีเมื่อมีการสร้างหน้าจอสัมผัสที่ Apple ได้นำมาใส่ไว้บน iPhone และผลิตในปริมาณที่ท้าทายให้คนไม่กี่คนและความกล้าที่จะมีไว้ในขั้นตอนต่อไป ฝังเทคโนโลยีที่มองไม่เห็นลงในชิ้นส่วนกระจกเพื่อให้ฉลาดพอที่จะแสดงแป้นพิมพ์เสมือนจริงกับการแก้ไขคำผิดอัตโนมัติ และทำให้มันซับซ้อนมากพอที่จะเชื่อถือได้ว่าจัดการเนื้อหาเช่นภาพหรือ web page บนหน้าจอ จึงทำให้มีราคาให้แพงมหาศาลในการผลิตต้นแบบเพื่อใช้งาน สายการผลิตเพียงไม่กี่แห่งที่มีประสบการณ์ในการผลิตหน้าจอมัลติทัช มี touchscreen ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่หลายปีที่ผ่านมา พวกนี้เป็นอุปกรณ์หน้าจอสัมผัสแบบใช้แรงกด ที่ผู้ใช้จะกดปุ่มบนหน้าจอด้วยนิ้วหรือปากกา PalmPilot และสินค้าต่อๆมา เช่น Palm Treo เป็นเครื่องใช้ที่มีชื่อเสียงมากในการใช้เทคโนโลยีนี้ แม้ว่าหน้าจอ iPhone แบบมัลติทัช จะใช้งานง่าย แต่ก็ยังไม่ชัดเจนทั้งหมดสำหรับทีมผู้บริหารระดับสูงของ Apple ที่ว่าคุณลักษณะที่ใส่ลงไป เช่น แป้นพิมพ์บนหน้าจอ และการแตะและขยายเข้าออก เป็นการยกระดับที่ผู้บริโภคต้องการ

    ช่วงต้นของปี 2003 วิศวกรของ Apple ไม่กี่คน, ผู้ซึ่งได้ทำงานวิชาการที่ล้ำหน้าด้วยการเชื่อมต่อด้วยการสัมผัส ได้คิดหาวิธีที่จะใส่ multitouch technology ลงใน Tablet ได้ แต่โครงการนี้ก็ถูกเก็บไว้เฉยๆ "เรื่องก็คือว่า Steve ต้องการอุปกรณ์ที่เขาสามารถใช้ในการอ่านอีเมล์ในขณะเข้าห้องน้ำ นั่นคือขอบเขตของคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ " JoshStrickon ซึ่งเป็นหนึ่งในวิศวกรยุคต้นที่สุดของโครงการกล่าว "แต่คุณไม่สามารถสร้างอุปกรณ์ที่แบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานเพียงพอที่จะนำออกนอกบ้านและคุณไม่สามารถจะมี Chip ที่มีความจุกราฟิกเพียงพอที่จะใช้ประโยชน์ได้ เราใช้เวลามากในการพยายามที่จะคิดออกว่าจะทำอย่างไร. "ก่อนเข้าร่วมกับ Apple ในปี 2003. Strickon เคยเป็นนักเรียนที่ MIT เป็นเวลากว่า 10 ปี โดยได้รับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกในสาขางานวิศวกรรม. เขาเป็นผู้สนับสนุนใหญ่ของเทคโนโลยีหน้าจอสัมผัส วิทยานิพนธ์ปริญญาโทของเขาคือการสร้างอุปกรณ์ multitouch แต่เขาบอกว่าไม่มีการลงฉันทามติในการพัฒนาสิ่งที่ต้องทำกับเครื่องต้นแบบโทรศัพท์ที่ Apple ที่เขาและเพื่อน ๆ วิศวกรได้พัฒนาขึ้น เขาได้ออกจาก บริษัทในปี 2004 โดยกำลังคิดว่าจะไม่มีการทำอะไรกับ multitouch

    Tim Bucher หนึ่งในผู้บริหารระดับสูงของ Apple ในเวลานั้นและผู้สนับสนุน multitouch ของ บริษัทที่ใหญ่ที่สุด กล่าวว่าส่วนหนึ่งของปัญหาก็คือต้นแบบที่พวกเขากำลังสร้างใช้ซอฟต์แวร์ OS X ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับเมาส์ไม่ใช่นิ้วมือ "เรากำลังใช้หน้าจอสิบหรือสิบสองนิ้วกับเครื่องที่เหมือน Mini Mac . และจากนั้นคุณจะออกเครื่องสาธิตซึ่งจะสามารถแสดงรูปแบบ multitouch ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างหนึ่งของเครื่องสาธิต คือ การใช้แอ็พพลิเคชั่นแป้นพิมพ์ที่จะปรากฏขึ้นมาจากด้านล่าง และจบด้วยการจัดส่ง iPhone ออกจำหน่ายใน 2 ปีต่อมา แต่มันก็ไม่ได้สวยมาก มันคือเส้นลวด, หมากฝรั่งและ bailing wire ทิ้งให้จินตนาการมากเกินไป " Bucher ผู้ที่ไม่เคยพูดในที่สาธารณามาก่อนเกี่ยวกับงานของเขาที่ Apple หวังว่าจะผลักดันให้ความพยายามที่จะก้าวไปข้างหน้า แต่เขาแพ้การเมืองภายในกับผู้บริหารระดับสูงคนอื่น ๆ และออกจาก Apple ไปในต้นปี 2005

    จะมีสักกี่คนที่จะมีความคิดว่าเทคโนโลยี touchscreen จะเป็นศูนย์กลางของโทรศัพท์รูปแบบใหม่ จนกระทั่ง Jobs เริ่มต้นผลักดันความคิดนี้ออกมากลางปี 2005 " Jobs กล่าวว่า ‘Tony มาทางนี้ นี่คือสิ่งที่เรากำลังจะทำขึ้น คิดว่าไง? คิดว่าเราสามารถทำโทรศัพท์ให้ออกนอกจากสิ่งนี้ได้หรือไม่? "Fadell กล่าวว่า "เราจึงนั่งอยู่ที่นั่นและเล่นกับเครื่องโทรศัพท์สาธิตสักพักหนึ่ง (เขากำลังโชว์ให้ดู) มีขนาดใหญ่โตมาก เต็มห้องไปหมดมี Projector ติดตั้งอยู่บนเพดานและจะฉายภาพหน้าจอ Mac บนพื้นผิวที่มีขนาดอาจจะเป็นสามหรือสี่ตารางฟุต แล้วคุณสามารถสัมผัสหน้าจอ Mac และเคลื่อนย้ายสิ่งต่างๆไปรอบๆและวาดลงบนนั้นได้. ผมรู้เรื่องนี้ [ต้นแบบหน้าจอสัมผัส] แต่ผมไม่ทราบเกี่ยวกับรายละเอียดเพราะเป็น Mac [Fadell บริหาร iPod] ดังนั้นเราทุกคนจึงนั่งลงและอภิปรายกันเคร่งเครียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ เกี่ยวกับอะไรที่ต้องทำ "

    Fadell มีข้อสงสัยจริงจังไม่ว่าจะเป็น เช่น ต้นแบบที่มีขนาดใหญ่ จะสามารถหดเล็กลงได้มากๆหรือไม่ แต่เขาก็รู้ดีว่าที่จะะตอบไม่กับ Steve JobsFadellเป็นหนึ่งในซูเปอร์สตาร์ของ Apple และเขาก็ไม่ได้มีความกล้าเกี่ยวกับปัญหาทางเทคโนโลยีที่ยุ่งยาก เขาเข้าทำงานกับ Apple ในปี 2001 ในฐานะที่ปรึกษาเพื่อช่วยสร้าง iPod ตัวแรก. ภายในปี 2005 ด้วยยอดขาย iPod ที่ขยายตัว เขาได้กลายเป็นผู้บริหารระดับสูงอายุ 36 ของสายการผลิตเดียวที่ได้รับการกล่าวขวัญว่าสำคัญที่สุดของบริษัท

    "ผมเข้าใจว่าจะสามารถพัฒนาได้อย่างไร " Fadell กล่าว "สิ่งหนึ่งก็คือต้องคิด และอีกสิ่งหนึ่งคือหาห้องที่เต็มไปอุปกรณ์พิเศษและทำให้มีขนาดเท่าโทรศัพท์เป็นล้านเครื่องด้วยต้นทุนการผลิตที่มีประสิทธิภาพและทำงานอย่างเชื่อถือได้." รายการสิ่งที่ต้องทำแค่คิดก็หมดแรงแล้ว "ต้องไปหาผู้ขายจอ LCD [บริษัท ที่ทำหน้าจอที่ใช้ในจอคอมพิวเตอร์และทีวี] ซึ่งรู้วิธีการฝังเทคโนโลยีนี้ลงในแผ่นกระจกใสได้ จะต้องไปหาตอนที่กำลังผลิต จ่ายชดเชยให้ และการสอบเทียบอุปกรณ์การทำงานเพื่อให้เกิดความละเอียด pixel electronics ไว้ [ในจอLCD ] เพื่อระวังไม่ให้เกิดสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ทุกประเภทบนหน้าจอสัมผัส [ซึ่งติดตั้งอยู่ด้านบนอุปกรณ์] ทั้งหมดของโครงการโครงการเพียงเพื่อสร้างอุปกรณ์หน้าจอสัมผัส ได้ทดลอง 2 หรือ 3 วิธีในการสร้างหน้าจอสัมผัสจริง จนกระทั่งสามารถได้หนึ่งวิธีก็มากพอที่จะทำงานได้แล้ว"

    ในขณะที่นวัตกรรมและลำบาก การลดขนาดของ OS X และสร้างหน้าจอ multitouch อย่างน้อยที่สุดอยู่ที่ความชำนาญที่ Apple มีในฐานะบริษัท ไม่มีใครเลยที่จะถูกใส่สมองให้ออกแบบ OS X ใหม่ Appleรู้จักผู้ผลิต LCD เพราะใส่ LCD ลงในทุกแล็ปท็อปคอมพิวเตอร์และ iPod ในทางตรงข้าม ลักษณะพิเศษทางกายภาพของโทรศัพท์มือถือก็คือเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด แต่เป็นความแปลกประหลาดเมื่อนำมาใช้กับเครื่อง โทรศัพท์ ทำให้คนที่กำลังสร้าง iPhone จนเข้าสู่ปี 2006 ก็ยังแทบไม่รู้อะไรเลย

    เพื่อให้แน่ใจว่าเสาอากาศเล็ก ๆ ของ iPhone สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ Apple ใช้หลายเงินล้านในการซื้อและการประกอบห้องทดสอบหุ่นยนต์ที่มีอุปกรณ์พิเศษ เพื่อให้แน่ใจว่า iPhone ไม่ได้ก่อให้เกิดรังสีมากเกินไป, Apple สร้างหุ่นจำลองศรีษะมนุษย์ – เต็มไปด้วยสารเพื่อจำลองความหนาแน่นของสมอง และวัดผลกระทบ ในทำนายการทำงานของ iPhone บนเครือข่าย, วิศวกร Apple ซื้อเครื่องจำลองความถี่วิทยุขนาดเซิร์ฟเวอร์ราคาหลายล้านดอลลาร์ต่อเครื่องเกือบ 12 เครื่อง ผู้บริหารระดับสูงคนหนึ่งเชื่อว่า Apple ใช้มากกว่า $ 150 ล้านเหรียญในการสร้าง iPhone เครื่องแรก

    * * *

    เครื่อง iPhone ต้นแบบแรกไม่ได้คาดหวังอะไร Jobs หวังว่าเขาจะสามารถพัฒนา iPhone แบบหน้าจอสัมผัสที่ทำงานบน OS X แต่ในปี 2005 เขาคิดไม่ออกว่าจะใช้เวลานานแค่ไหนในการทำ ดังนั้น iPhone เครื่องแรกของ Apple จึงดูเหมือนเป็นตัวตลกที่เลื่อนไปมาได้ Jobs ได้นำขึ้นมาอวดเมื่อแนะนำ iPhone จริง เป็น iPod แบบมีหน้าปัดหมุนแบบเก่า. เครื่องต้นแบบ iPod ใช้วิทยุโทรศัพท์ซึ่งใช้เป็นตัวหมุนเลขหมาย มันเพิ่มขึ้นมาจากงานของ SteveSakoman ที่ได้มอบให้ Jobs ทำโครงการโทรศัพท์ในตอนแรก Grignon กล่าวว่า "มันเป็นวิธีที่ง่ายที่จะเข้าถึงตลาด แต่มันก็ไม่ได้เยี่ยมเหมือนอุปกรณ์ที่เรามีในวันนี้" เขาทำงานให้กับ Sakoman ในเวลานั้น และเป็นหนึ่งในรายชื่อบนสิทธิบัตรการหมุนเลขหมายแบบล้อคลิก

    เครื่อง iPhone ต้นแบบลำดับที่สองในต้นปี 2006 เป็นอะไรที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่ Jobs ในท้ายที่สุดได้เปิดตัวออกมา มีหน้าจอสัมผัสและ OS X, ทำจากอลูมิเนียมขัดเงา. Jobs และ Ive ภาคภูมิใจที่สุด เนื่องจากสองคนไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาฟิสิกส์เกี่ยวกับคลื่นวิทยุ พวกเขาจึงไม่ได้ตระหนักว่าพวกเขาชิ้นส่วนที่สวยงาม คลื่นวิทยุไม่ได้เดินทางผ่านผนังโลหะได้ดี "ผมและ Ruben Caballero [ผู้เชี่ยวชาญเสาอากาศของ Apple] ต้องไปที่ประชุมคณะกรรมการบริหารและอธิบายให้ Steve และ Ive ว่าคุณไม่สามารถใส่คลื่นวิทยุผ่านโลหะ " Phil Kearney ซึ่งเป็นหนึ่งในรองกรรมการผู้จัดการของ Bell ที่ซึ่งลาออกไปปี 2008 กล่าวไว้ "และไม่ได้อธิบายได้ง่าย นักออกแบบส่วนมากเป็นนักเป็นศิลปิน. ชั้นเรียนวิทยาศาสตร์สุดท้ายที่พวกเขาผ่านมาเมื่อตอนเรียนเกรด 8. แต่พวกเขาทรงอำนาจมากที่ Apple พวกเขาจึงถามว่า ‘ ทำไมเราไม่ทำรอยต่อเล็กๆให้คลื่นวิทยุผ่าน? ’ และคุณจะต้องอธิบายพวกเขาว่าทำไมคุณถึงไม่สามารถทำได้ "

    Jon Rubinstein ผู้บริหารด้านฮาร์ดแวร์สูงสุดของ Apple และที่รู้จักกันมากในฐานะ Podfather .ในการขับเคลื่อนการสร้างสรรค์และการพัฒนา iPod, กล่าวว่า มีการอภิปรายกันมากนานแล้วเกี่ยวกับว่าโทรศัพท์จะมีขนาดใหญ่เท่าใด " จริงๆแล้ว จะทำสองขนาด iPhone ปกติ และ iPhone มินิ เหมือนกับ iPod. อันหนึ่งสามารถเป็นสมาร์ทโฟนและอีกอันหนึ่งสามารถเป็นโทรศัพท์ธรรมดา แต่เราไม่เคยได้รับการส่งเสริมให้สร้างโทรศัพท์ขนาดเล็ก และเพื่อที่จะทำอย่างใดอย่างหนึ่งของโครงการนี้ คุณจำเป็นต้องใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    ทั้งหมดนี้ทำให้โครงการ iPhone ดูซับซ้อนที่ว่า เพื่อบางครั้งมันจะใช้ข่มขู่บริษัททั้งหมดว่าถ้าไม่มีอุปกรณ์นี้ก็ออกจากสนามไป วิศวกรระดับสูงมากมายในบริษัทถูกดึงเข้าร่วมโครงการ ถูกบังคับให้ชะลอเวลาของโครงการอื่น ๆ iPhoneเป็นกระสุนที่ด้านหรือรอดมาได้จากภาคพื้นดินทั้งหมด Apple จะมีไม่มีสินค้าขนาดใหญ่อื่น ๆ พร้อมที่จะเปิดตัวมาเป็นเวลานานแล้ว แย่กว่านั้นคือวิศวกรระดับชั้นนำที่ผิดหวังจากความล้มเหลวได้ลาออกจาก Apple เพื่อไปทำงานอื่น ๆ ตามคำให้การเป้นพยานในปี 2012ของScott Forstall หนึ่งในผู้บริหารระดับสูงของ Apple ในโครงการนี้ และเป็นหัวหน้าของซอฟต์แวร์ iOS ของ Apple จนถึงเดือนตุลาคม 2012 ให้การในคดีสิทธิบัตรระหว่าง Apple และ Sumsung

    แม้ประสบการณ์การออกแบบหน้าจอ iPod ของ Apple จะไม่ได้ช่วยบริษัทออกแบบหน้าจอ iPhone หลังการโต้แย้งกันมานาน Jobs ตัดสินใจว่าหน้าจอ iPhone จะต้องทำจาก Plexiglas แข็ง เขาและผู้บริหารระดับสูงคิดว่าหน้าจอที่เป็นแก้วจะแตกเมื่อทำตก จนกระทั่ง Jobs ได้เห็นว่ามีรอยขีดข่วนบ้างบนเครื่องต้นแบบพลาสติกที่เขาลืมเอาไปใส่ไว้ในกระเป๋าร่วมกับกุญแจของเขา " Jobs พูดกับผู้บริหารคนหนึ่งที่เป็นพยานได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น ไปดูที่นี่ เกิดอะไรกับหน้าจอหรือไม่ " "และเจ้าคนนั้นที่ใช้ต้นแบบ[ผู้บริหารระดับกลาง] และบอกว่า 'Steve , เรามีกระจกต้นแบบ แต่ก็ไม่ผ่านการทดสอบเมื่อตกที่หนึ่งเมตรหนึ่งร้อยครั้งแตกทั้งร้อย และ blah blahblah .... " Jobs บอกให้หยุด และกล่าวว่า "ผมแค่อยากจะรู้ว่าถ้าคุณจะทำได้ไหม "

    เหตุผลที่ดีในการที่ผู้บริหารได้โต้เถียงกับ Jobs นี่เป็นเดือนกันยายน 2006 iPhone จะเปิดตัวในสี่เดือน และ Jobs ต้องการที่จะทบทวนเกี่ยวกับองค์ประกอบที่โดดเด่นที่สุดของโทรศัพท์

    ผ่านทางเพื่อนของเขา John Seely Brown , Jobs ได้พบกับ Wendell Weeks ,CEO ของ glassmaker Corning ใน ตอนเหนือของรัฐนิวยอร์ก เชิญเขาไป Cupertino และบอกว่า เขาต้องการแก้วที่แข็งที่สุดที่เคยทำมาสำหรับหน้าจอของ iPhone. Weeks บอกเขาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสำหรับห้องควบคุมเครื่องบินขับไล่ ในปี 1960 แต่ Weeks กล่าวว่ากระทรวงกลาโหมไม่เคยหยุดการใช้วัสดุที่รู้จักกันว่า Gorilla glass , ดังนั้นจึงไม่เคยพบในตลาด เขากล่าวว่า Corning ได้หยุดผลิตมานานหลายทศวรรษแล้ว. Jobs ต้องการให้ Weeks เริ่มการผลิตในทันที หว่านล้อมให้ Weeks ว่าเขาจะทำให้ Jobs ได้รับกระจกตามที่ต้องการใน 6 เดือน Weeks บอก WalterIsaacson ผู้เขียนชีวประวัติของ Jobs ว่าเขายังคงประหลาดใจในสิ่งที่ Jobs เชื่อมั่นว่าเขาจะทำได้ Corning ใช้โรงงานในHarrodsburgKentucky ซึ่งรับทำหน้าจอ LCD และเปลี่ยนแปลงโรงงาน เพื่อให้ Jobs ได้กระจกที่ต้องการตรงเวลา "เราผลิตแก้วที่ไม่เคยทำมาก่อน เราให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่ดีที่สุดของเราสร้างและเราทำได้ " Weeks กล่าว

    "ผมยังจำนิตยสาร PC ที่ได้ทำการทดสอบความทนทานของหน้าจอทันทีที่โทรศัพท์ออกมาในเดือนกรกฎาคมปี 2007" Bob Borchers หัวหน้าด้านการตลาด iPhone ของApple กล่าว "พวกเขาใส่มันไว้ในถุงใส่เหรียญและเขย่าถุงขึ้น. ใส่กุญแจในกระเป๋าและเขย่า. ทิ้งลงบนพรมหลายครั้ง เดินออกไปที่ถนนและทิ้งลงบนพื้นคอนกรีตสามครั้ง ก็ยังรอดมาทั้งหมด เราทุกคนหัวเราะมองหน้ากันและกัน และกล่าวว่า "ถูกต้อง , ตอนนี้เรารู้แล้ว."

    * * *

    ความหลงใหลที่ชัดที่สุดของ Jobs คือความลับที่มีอยู่ในพื้นที่ทั่วทุกแห่งในศูนย์ปฏิบัติการ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ใครไม่ได้ทำงานโครงการสร้างโทรศัพท์ iPhone จะเข้าไปไม่ได้ แต่ละตึกจะแบ่งออกเป็นครึ่งๆ มีทางเดินตรงกลางเป็นพื้นที่ส่วนกลางใช้ร่วมกัน หลังจากผ่านไป1ช่วงวันหยุดจึงจะสามารถเปิดประตูออกมาที่ทางเดินได้เมื่อเสร็จจากโครงการสร้างiPhone แล้ว พนักงานเคยชินกับการใช้พื้นที่แต่ตอนนี้ถูกจำกัดการใช้พื้นที่ Grignon กล่าว “Steve รักอุปกรณ์นี้” เขาตั้งส่วนงานใหม่นี้ขึ้นมา แต่ขอโทษทีที่คุรไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของส่วนงานนี้ได้ ทุกคนรู้ดีว่าใครเป็นดาวเด่นในบริษัทนี้ เมื่อคุณรู้เขาก็จะมีความหมายว่า แม้จะหมดแรงจากการทำงานแปดชั่วโมงต่อสัปดาห์ วิศวกรและนักออกแบบ 2-3ร้อยคนที่ทำงานในโครงการนี้ จะไม่สามารถพูดคุยเกี่ยวกับโครงการกับคนอื่นๆ ถ้า Apple พบว่านำไปบอกเพื่อนในบาร์หรือแม้แต่คู่สมรส ถูกไล่ออกได้. ก่อนที่ผู้จัดการจะขอให้คุณเข้าร่วมโครงการ, คุณจะต้องลงนามในข้อตกลงที่จะไม่เปิดเผยที่สำนักงาน แล้วหลังจากที่บอกว่าโครงการคืออะไร จะต้องลงนามในเอกสารที่ยืนยันว่าคุณได้ลงนามจริงกับ NDA และจะไม่บอกใคร "เราแขวนป้ายที่ประตูหน้าของอาคาร iPhone ที่เรียกว่า FIGHT CLUB เพราะกฎข้อแรกของ FIGHT CLUB คือคุณจะไม่พูดเกี่ยวกับ FIGHT CLUB." Forstall อธิบายให้การในศาลว่า " Steve ไม่ต้องการที่จะจ้างคนนอก Apple มาทำงานเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ แต่เขากล่าวว่า สามารถจะจ้างคนในบริษัทที่ต้องการได้ " Forstall กล่าวว่า " ดังนั้นผมจะรับสมัครพนักงานในที่ทำงาน ให้เขานั่งลงและบอกพวกเขา 'คุณเป็นซุปเปอร์สตาร์ที่ Apple อะไรก็ตามที่คุณกำลังทำอยู่ตอนนี้ คุณจะทำได้ด้วยดี แต่มีโครงการอื่นที่ต้องการให้คุณพิจารณา ผมไม่สามารถบอกคุณได้ว่าคืออะไร ทั้งหมดที่ผมสามารถบอกได้ก็คือว่าคุณอาจจะไม่มีคืนหรือวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ไม่สามารถรู้ได้ และที่คุณจะต้องทำงานหนักขึ้นกว่าที่คุณเคยทำงานมาทั้งชีวิต "

    หนึ่งในวิศวกรยุคแรกของ iPhone กล่าวว่า "ส่วนที่ชอบมากของผมคือสิ่งที่ผู้ขายทั้งหมดกล่าวว่าวันรุ่งขึ้นหลังจากการเปิดตัว." บริษัทใหญ่เช่น Marvell Electronics ซึ่งทำ Wi-Fi radio chip และ CSR , ที่ทำ Bluetooth radio chip ไม่ได้รู้ว่า สิ่งนั้นกำลังจะไปอยู่ในโทรศัพท์เครื่องใหม่ พวกเขาคิดว่าจะอยู่ใน iPod ใหม่ " วิศวกรคนนั้นกล่าวว่า แท้จริงแล้วเรามีแผนงานปลอมและการออกแบบอุตสาหกรรมปลอม" Grignon กล่าวว่า Apple ได้ไปไกลกว่าที่พนักงานของบริษัทอื่นจะเลียนแบบเมื่อพวกเขาออกเดินทาง วิศวกรคนหนึ่งกล่าว. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Cingular (และต่อมา AT & T) ในเท็กซัส "ทั้งหมดทั้งปวงเป็นอะไรที่คุณไม่ต้องการให้พนักงานต้อนรับหรือใครก็ตามเกิดเดินไปเห็นเข้า [pre-printed Apple] บัตรผ่านเข้าออกวางเกลื่อนอยู่"

    ในทางตรงข้าม Jobs ต้องการวิศวกรระดับสูงในโครงการ iPhone เพียงไม่กี่คนที่จะใช้ iPhone ต้นแบบเป็นโทรศัพท์ต้นแบบถาวรของพวกเขา "ไม่ได้พก iPhone และ Treo'" Grignon กล่าว "เป็น ' การพกพา iPhone และอยู่ร่วมกับมัน เพราะนั่นคือวิธีที่เราพบข้อบกพร่อง ถ้าคุณไม่สามารถโทรออกได้เนื่องจากมีข้อบกพร่อง คุณจะมีแรงจูงใจพิเศษเริ่มต้นตะโกนให้แก้ไข. แต่เป็นช่วงเวลาที่น่าอึดอัดในสถานที่ที่คุณอยู่ เช่น ในสโมสรหรือสนามบิน, คุณสามารถมองเห็นผู้ใช้ iPhone หนึ่งไมล์ห่างออกไปเพราะพวกเขากำลังค่อมตัวพร้อมแขนกอดโทรศัพท์เพื่อทำบางสิ่งที่ลึกลับ กำลังซี๊ดโคเคน หรือใช้ iPhone? "

    ความหลงใหลที่ชัดที่สุดของ Jobs คือความลับที่มีอยู่ในพื้นที่ทั่วทุกแห่งในศูนย์ปฏิบัติการ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ใครไม่ได้ทำงานโครงการสร้างโทรศัพท์ iPhone จะเข้าไปไม่ได้ แต่ละตึกจะแบ่งออกเป็นครึ่งๆ มีทางเดินตรงกลางเป็นพื้นที่ส่วนกลางใช้ร่วมกัน หลังจากผ่านไป1ช่วงวันหยุดจึงจะสามารถเปิดประตูออกมาที่ทางเดินได้เมื่อเสร็จจากโครงการสร้าง iPhone แล้ว พนักงานเคยชินกับการใช้พื้นที่แต่ตอนนี้ถูกจำกัดการใช้พื้นที่ Grignon กล่าว “Steve รักอุปกรณ์นี้” เขาตั้งส่วนงานใหม่นี้ขึ้นมา แต่ขอโทษทีที่คุณไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของส่วนงานนี้ได้ ทุกคนรู้ดีว่าใครเป็นดาวเด่นในบริษัทนี้ จะเริ่มมีคนมาจับตามองและให้ย้ายออกจากแผนกเดิมทั้งที่กำลังไปได้สวย และให้มาทำงานในห้องทำงานขนาดใหญ่หลังประตูกระจกซึ่งจะเข้าไปไม่ได้ เราจะรู้สึกแย่มาก

    แม้ว่าคนที่อยู่ภายในโครงการ iPhone จะไม่สามารถพูดคุยกับคนอื่น, วิศวกรที่ออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ของ iPhone ไม่ได้รับอนุญาตให้ดูซอฟแวร์ที่มันจะทำงาน เมื่อพวกเขาจำเป็นต้องใช้ซอฟแวร์ในการทดสอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, พวกเขาจะได้รับ Proxy code , ไม่ใช่สิ่งที่แท้จริง. หากคุณกำลังทำงานอยู่บนซอฟต์แวร์, คุณจะต้องใช้ตัวจำลองเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์

    แม้แต่คนที่อยู่ในโครงการสร้างiPhone ก็ไม่สามารถพูดคุยกับคนอื่นได้ วิศวกรออกแบบชิ้นส่วนอีเลกทรอนิกส์ของ iPhone ก้ไมได้รับอนุญาตให้ดุการทำงานของซอฟต์แวร์ เมื่อมีการใช้ซอฟต์แวร์ทอสอบชิ้นส่วนอีเลกทรอนิกส์ จะมีการให้Proxy Codeปลอม ถ้าทำงานเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ ต้องใช้เครื่อง stimulator เพื่อทดสอบการทำงานของฮาร์ดแวร์

    คนที่อยู่นอกวงของ Jobs จะไม่มีใครได้รับอนุญาตให้เข้าไปที่ปีกที่อยู่ชั้นแรกของอาคาร 2 ของJony Ive หัวหน้านักออกแบบ การรักษาความปลอดภัยโดยรอบของต้นแบบของ Ive เป็นไปอย่างแน่นหนา ที่พนักงานเชื่อว่าเครื่องอ่านบัตรผ่านเข้าออกจะส่งสัญญาญเรียกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ถ้าพยายามที่จะใช้บัตรผ่านที่ไม่ได้รับอนุญาต. " แปลกมาก เพราะมันไม่เหมือนกับว่าคุณจะสามารถหลีกเลี่ยงเมื่อเดินไปตามนั้น เพราะผ่านจากนั้นก็เป็นล็อบบี้ทันทีหลังประตูโลหะขนาดใหญ่. ทุกครั้งทุกคราวเมื่อคุณมองเข้าไปข้างในและพยายามมองหาก็พยายามได้แค่นั้น วิศวกรซึ่งเพิ่งจบจากมหาวิทยาลัยและทำงานในโครงการ iPhone เป็นงานแรกกล่าวไว้ Forstall กล่าวว่าระหว่างขึ้นให้การว่า ห้องปฏิบัติการบางแห่งต้องใช้บัตรผ่าน 4 ใบ

    4 เดือนก่อนวันเปิดตัวเป็นวันที่ฉุกละหุกมาก Grignon กล่าว อุปกรณ์ดึงข้อมูลที่ทางเดินชำรุดพังเสมอๆ ที่ ออกมาเป็นประจำในห้องโถง. วิศวกรทำการตรวจสอบ Coding ทั้งคืน หยุดพัก แล้วกลับมาตรวจใหม่หลังจากงีบหลับเสร็จ KimVorath หัวหน้าทีมงานของ Forstall ปิดประตูสำนักงานของเธออย่างแรงเพื่อว่ามือจับประตูงอและห้องล็อคจากภายใน เพื่อนร่วมงานใช้เวลามากกว่าหนึ่งชั่วโมงบางคนถึงกับบ้าไปแล้วเมื่อนำแผ่นอลูมินั่มมางัดประตูเพื่อให้เธอออกมาจากห้อง "เราทุกคนยืนดูอยู่ที่นั่น" Grignon กล่าว "มันเป็นเรื่องตลก เมื่อคุณย้อนเวลากลับไปและตระหนักว่ามันบ้ามาก”

    * * *

    ท่ามกลางความทึ่งของ Grignon และผู้ชมคนอื่น ๆ ที่มาชมการสาธิต iPhone ของ Jobs ที่ไร้ที่ติเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2007 Jobs เริ่มต้นการสาธิตโดย "วันนี้เป็นวันที่ผมรอมาเป็นเวลา2ปีครึ่ง." จากนั้นเขาก็อวดผู้ชมถึงเรื่องมากมายเกี่ยวกับสาเหตุที่ผู้บริโภคเกลียดโทรศัพท์เคลื่อนที่ และนั่นได้ถูกแก้ไขปัญหาหมดไปแล้วอย่างแน่นอน เสมือนกับว่าทุกคนในกลุ่มกำลังคาดหวังให้ Jobs ประกาศถึงโทรศัพท์ แต่พวกเขายังคงหวั่นๆอยู่

    Jobs ใช้ iPhone เล่นเพลงและดูคลิปภาพยนตร์ที่บนหน้าจอที่สวยงามของโทรศัพท์. เขาโทรออกเพื่อแสดงว่าได้ประดิษฐ์สมุดรายชื่อและการทำงานด้วยเสียงขึ้นใหม่ เขาส่งอีเมล์และข้อความ, แสดงว่ามันง่ายเพียงไหนในการพิมพ์บนแป้นพิมพ์หน้าจอสัมผัสของโทรศัพท์. เขาเลื่อนผ่านกลุ่มของภาพถ่าย แสดงให้เห็นว่าพิมพ์บนแป้นพิมพ์ได้ง่ายๆเพียงใด ใช้ปลายนิ้วขยายหรือลดขนาดภาพใหญ่ เขาได้เข้าเว็บไซต์ของ Amazon และนิวยอร์กไทม์เพื่อแสดงให้เห็นว่า Internet brower ของ iPhone ดีพอๆกับในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเขาเขาค้นหาร้าน Starbucks ด้วยใช้ Google Maps และโทรออกจากบนเวทีเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะขาดการติดต่อด้วย iPhone

    ในตอนท้าย Grignon ไม่ใช่แค่มีความสุข เขาเมา เขาซื้อเหล้า Scotch เพื่อทำให้รู้สึกสงบเขา "และเราที่อยู่ในแถวที่ห้าหรืออะไรสักอย่างหนึ่ง ได้แก่วิศวกร ผู้จัดการ พวกเราทั้งหมด ดื่มเหล้าหลังจบการสาธิตแต่ละช่วง ประมาณ 5หรือ 6 คนของพวกเราซึ่งรับผิดชอบการสาธิตแต่ละช่วงหลังจากการสาธิตก็ไปดื่มเหล้า ทุกอย่างไปได้ดีหมดก่อนช่วงปิดฉากจะมาถึง จึงดื่มรวดเดียวเลย เป็นการสาธิตที่ดีที่สุดที่เราเคยเห็น และที่เหลือของวันเป็นการสาธิตแย่ๆของจากทีมงาน iPhone เราใช้เวลาส่วนที่เหลือทั้งหมดของวัน ดื่มเหล้ากันในเมือง ยุ่งจริงแต่ก็ยอดเยี่ยมมาก

    การบ้านคุณอัจฉรี

    การอ่านหนังสือ The Renaissance Society ของ Rolf Jensen

    สรุปประเด็นหลักและประโยชน์

    บทที่ 1 โลกวัตถุนิยม

    เป็นการเสนอภาพความมั่งคั่งของประชากรโลก โดยดูจาก GDP ซึ่งเป็นตัววัดบอกกำลังซื้อและบ่งชี้เศรษฐกิจ มีการแบ่งกลุ่มเป็นประเทศมีความร่ำรวย ปานกลาง และยากจน ตามค่า GDP

    มีการมองภาพไปข้างหน้าในปี 2040 เราจะมีฐานะเป็นอย่างไรในอนาคต โดยพิจารณาประเด็นเรื่องโลกที่สะอาด ใช้พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ รวมเข้ากับเรื่อง GDP เศรษฐกิจโลกจะปรับเปลี่ยนรูปแบบอย่างมาก ช่องว่างทางเศรษฐกิจ ระหว่างตะวันออกและตะวันตกจะหายไป จะมีความร่ำรวยเกือบเท่ากัน ไม่มีความจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายการผลิตสินค้าจากยุโรปมาจีนอีกแล้ว เนื่องจากค่าจ้างแรงงานอยู่ในระดับเดียวกัน

    จะมีการเติบโตเกิดขึ้นในเมือง เครื่องจักรเข้ามาทำงานแทนคนในฟาร์ม งานใหม่เกิดขึ้นในเมือง คนจึงเข้าเมืองเพื่อทำงานหาเงิน ดังนั้นในเมือง GDP ต่อคนจะสูงกว่าชนบท คนจะเคลื่อนย้ายไปยังที่ที่มีเงิน และการศึกษาสูง ๆ มีอยู่ในเมือง รูปแบบการใช้ชีวิตใหม่ ตื่นตัวและเร่งเร้า เหมาะสำหรับการเปลี่ยนแปลง และมีความคิดสร้างสรรค์ เมืองมีสภาพแวดล้อมที่ไม่อยู่นิ่ง เมืองจะเต็มไปด้วยปัญหาการจราจรแออัด อาคารสูง แท้จริงแล้วธุรกิจใหญ่ ๆ ตั้งอยู่ตามชานเมือง เมืองไม่ได้เป็นชนชั้นสร้างสรรค์ เราทุกคนสามารถเป็นนักสร้างสรรค์ได้

    ความคิดใหม่เหมือนการตกแต่งด้วยเศษผ้า มันไม่ได้ดูเหมือนมากในช่วงเริ่มต้น ชนชั้นกลางในประเทศที่มีเศรษฐกิจเกิดใหม่เป็นหนึ่งในพวกวัตถุนิยม จะไปจับจ่าย จะครองเศรษฐกิจโลกและการเมือง คนชั้นกลางย้ายไปอยู่ชานเมือง ต้องการบ้านสำหรับครอบครัว

    เส้นทางการสื่อสารในประเทศที่ทันสมัยถูกคุกคาม หลายประเทศเข้าไปควบคุมการสื่อสารของพลเมืองและบริษัทบนอินเตอร์เน็ต

    บทที่ 2 บทนี้พูดถึงสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ เป็นเรื่องของอารมณ์

    มนุษย์แบ่งเป็น 2 ประเภท

    • 1.อวดความมั่งคั่งและความสำเร็จ ประเภทวัตถุนิยม
    • 2.อวดคุณค่า ประเภทจิตนิยม

    สินค้าที่มีขายในตลาดมี 2 อย่าง คือ

    • 1.ตลาดเชิงวัตถุ
    • 2.ตลาดเชิงอารมณ์ ความรู้สึก

    จะต้องให้ความตระหนักว่าอารมณ์ ความรู้สึกลูกค้าเป็นอย่างไร เพื่อป้องกันความล้มเหลว

    วิธีวัดความสุขได้ง่าย คือ การถาม มีระดับความเป็นอยู่ 3 อย่าง คือ สุขสบาย , ดิ้นรน , ยากลำบาก

    ในแง่ธุรกิจ “ ทำอย่างไรสินค้าของเราจึงจะเพิ่มความสุขให้ลูกค้า ”

    ประเด็นสำคัญที่สุด สินค้าของคุณมีความเย้ายวนอารมณ์ให้ลูกค้าซื้อได้มากแค่ไหน

    ยุคนี้เป็นยุคของการไขว่คว้า ไล่ล่าความสุข

    บทที่ 3 ความสัมพันธ์ในการผลิตและบริโภค

    ในอดีตมนุษย์จะบริโภคสิ่งที่ตัวเองผลิตขึ้นมา มีอัตราการบริโภคประมาณร้อยละ 50% ไปกับอาหารและเครื่องดื่ม ปัจจุบันลดเหลือประมาณ 15% เราดำเนินชีวิตในสังคมที่บริโภคตามใจตัวเอง ตอบสนองกับอารมณ์ ไม่ใช่ความหิว ในอดีตมนุษย์จะตอบเพียงแค่ชื่อเมื่อถูกถาม ปัจจุบันเราจะตอบว่าทำอะไรอยู่เพื่อดำรงชีวิต และในอนาคตจะตอบไลฟ์สไตล์ของตัวเอง การซื้อสินค้าใช้เหตุผล 50% จากความเหมาะสม และอีก 50% มาจากการแสดงตัวตนของผู้ใช้

    เมื่อใดก็ตามที่คนได้ก้าวถึงความต้องการลำดับสุดท้ายของมาร์ชสโลว์ จะเกิดแรงขับเคลื่อนที่จะทำในสิ่งที่ตนเองรัก โดยไม่นึกถึงผลกำไร

    คนได้เปลี่ยนการจับจ่ายสินค้าซื้อขายทางอินเตอร์เน็ต ทำให้ร้านค้าต่างทยอยปิดตัวลง สำหรับร้านค้าที่มีจะกลายเป็นสถานบันเทิงไปในร้าน เช่น ร้านหนังสือที่มีคาเฟ่

    การพัฒนาอุตสาหกรรมเริ่มต้นจากอังกฤษและสก๊อตแลนด์ โรงงานได้ถูกสร้างขึ้นที่นั่น ถัดมามีการพัฒนาการผลิตแบบประกอบขึ้นที่สหรัฐ การพัฒนาขั้นที่ 3 เกิดจาก 4 สาเหตุ คือ

    1.อินเตอร์เน็ต ทำให้ผู้ผลิตขนาดเล็กสามารถร่วมงานกันได้ด้วยตัวเอง

    2.โปรแกรมออกแบบ 3D ทำให้ออกแบบสินค้า แล้วเอาไปสอบถามหาค่าใช้จ่ายจากผู้รับจ้างผลิต

    ได้

    3.เครื่องพิมพ์ 3D ในอีกไม่กี่ปี ทุกบ้านสามารถมีไว้ 1 เครื่อง สามารถออกแบบสิ่งที่ต้องการได้

    4.นาโนเทคโนโลยี มันเป็นเทคโนโลยีใหม่เกี่ยวกับวัสดุในระดับโมเลกุล

    คนที่ต้องการบางสิ่งที่แสดงลักษณะตัวเอง และสามารถผลิตได้ด้วยอุปกรณ์ข้างต้น มันเป็น

    ตัวกระตุ้น ให้เราอยากซื้อเครื่องพิมพ์ 3D

    การบริหารจัดการแฟนคลับหรือศาสตร์การสร้างและบริหารกลุ่มของแฟนคลับของบริษัทหรือสินค้า มันเป็นสิ่งที่จำเป็น ยากที่จะใช้โฆษณาชวนเชื่อ ทางเดียว คือ สร้างความสัมพันธ์ตัวต่อตัว เช่น บริษัทแอปเปิ้ล

    บทที่ 4 เราจะเรียนรู้อย่างไร

    ในบทนี้เรียนรู้ ข้อจำกัดของความรู้ การตระหนักว่า บางครั้ง คนเราก็ได้เรียนรู้อะไรมากขึ้นเมื่อเราทำผิดพลาด

    เราควรแสวงหาหลักการ วิธีการ ตัวอย่างใหม่ ๆ ที่สามารถรับมือกับสิ่งที่ไม่รู้ สิ่งที่ไม่แน่นอน อย่ามองว่าอนาคต คือ สิ่งที่เกิดต่อเนื่องจากปัจจุบัน

    ในสายเทคโนโลยีและการสื่อสาร เรียกข้อผิดพลาดว่า “bugs” แต่เมื่อกำจัดแมลงออกจากระบบนิเวศน์ คุณจะสังเกตได้ว่า คุณได้สูญเสีย ดอกไม้ ต้นไม้ นก และสัตว์อื่น ๆ ที่ใหญ่กว่าไปด้วย

    Kathryn Schulz บอกว่า เราควรอยู่กับข้อผิดพลาด ปรับทัศนคติที่เป็นบวกกับค่า ERROR เหล่านี้ อย่ามองว่า ความผิดพลาดเป็นเรื่องน่าอาย แต่การทำผิด มีบางอย่างที่ถูกสร้างขึ้น

    ผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตหลายคน เริ่มต้นจากความผิดพลาด

    มนุษย์มีความเชื่อว่าความรู้มาจาก 3 แหล่ง

    1.ผู้มีอำนาจ

    2.ประสบการณ์

    3.การเปิดเผยความจริงทางศาสนา

    แต่ผู้เขียนมองว่าโลกปัจจุบัน ถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับ การรับรู้ของคน

    มนุษย์ประมวลผลข้อมูลและตัดสินใจ โดยอ้างอิงจากประสบการณ์ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จ

    หรือล้มเหลว ความทรงจำเป็นสิ่งสำคัญ ทุกประสบการณ์จะทิ้งร่องรอยแห่งความทรงจำไว้

    โรงเรียนเป็นสถาบันสำคัญของสังคม โรงเรียนควรให้พื้นที่กับเด็กในการเป็นตัวของตัวเอง ที่แตกต่างจากคนอื่น เรียนในสิ่งที่อยากเรียนแตกต่างจากคนอื่น นักเรียนควรเข้าใจวิธีการและจัดการการเรียนรู้ของตัวเอง และเข้าถึงข้อมูล มีทักษะการวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ข้อมูลได้

    การเลือกใช้ชุมชน แหล่งความรู้แบบเปิด (Open-Source) ที่มีกลุ่มคนมาช่วยกันให้ความเห็นที่หลากหลาย แต่ก็ต้องระวังสิ่งที่เป็นเท็จจะกลายเป็นจริง หรือเรื่องจริงจะทำให้กลายเป็นเท็จได้

    ทุกวันนี้ชีวิตเราเข้าสู่การมี e-bag แล้ว มือถือทำหน้าที่หลายอย่าง เราสามารถติดต่อใคร เวลาไหน ที่ไหนก็ได้ คุณมีเพื่อนมาก แต่ปฏิสัมพันธ์น้อยลง

    การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ 2 ทาง

    1.เมื่อเราเปลี่ยนแปลงระบบความคิด ( Mindset)

    2.เมื่อเราพบและปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เป็นการเปิดโลกทัศน์

    ผลการตอบรับทางอารมณ์ที่เราได้รับจากบุคคลอื่น ไม่ว่าจะบวกหรือลบ ก็มีส่วนสำคัญเข้ามามี

    อิทธิพลกับชีวิตของเรา

    มีวิธีการพัฒนาให้สามารถเก็บข้อมูลประมวลผลให้เร็วขึ้น มีการเสนอ 2 วิธี

    1.ใช้ยา (Drug) ยังมีการถกเถียงกันอยู่ กินยาก็เหมือนกับการออกกำลังกาย กินอาหารตาม

    โภชนาการและนอนหลับเพื่อสุขภาพ

    2.การหาวิธีการใหม่หรือที่ดีกว่า ในการประมวลข้อมูล อาจเป็นทักษะการเป็นผู้นำการสื่อสาร

    การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การจัดการเวลา และการจัดการกับความเครียด

    ผู้เขียนมองสมองเป็นอินเตอร์เน็ต เป็นเครือข่าย ระบบประสาทที่เชื่อมโยงกัน การทำงานของสมองจะขึ้นอยู่กับว่าส่วนต่าง ๆ มีการเชื่อมโยงกันดีแค่ไหน

    บทที่ 5 ความคิดเกี่ยวกับระบบ

    บทนี้จะทำให้มองเห็นภาพใหญ่ ให้มองโลกคล้ายกับระบบของหลายระบบ ที่ทุกระบบกระทบต่อกันและกัน ประเมินผลการกระทำของมนุษย์ว่ามีผลกระทบกับโลกอย่างไร พบเรื่องสังคมที่ใหญ่ ระบบเศรษฐกิจใหม่ และค้นพบตลาดใหม่

    ระบบของระบบองค์สากล หน่วยงานยุทธศาสตร์ทางทหาร องค์กรข้ามชาติต่างคุ้นเคยกับคำเหล่านี้ คำเหล่านี้เข้ามาสู่แนวคิดหลัก จากเหตุผล 2 ประการ

    1.วิกฤตการเงิน ทำให้เราตระหนักถึงความเชื่อมโยงของโลกใบนี้และเกิดภาพที่ชัดเจน สำหรับ

    ถึงความไม่พร้อมของเราที่จะจัดการกับความเสี่ยงในเรื่องนี้

    2.การใช้ Internet และเชื่อมต่อข้อมูลกว่าล้านข้อมูล ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ที่มีทั้งระบบ

    ตรวจสอบ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ทรงพลังและรวดเร็ว ประมวลผลที่มีความซับซ้อน

    มีการเรียกระบบเหล่านี้ว่า ระบบที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน แต่ละระบบ มีความเป็นเอกเทศ เรามีการเปลี่ยนวิธีคิดที่สนับสนุนโดยการเปลี่ยนในคุณค่า ทัศนคติ และการมองภาพรวม

    สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวทุกวันนี้ บางสิ่งอยู่ใกล้ตัวกลับรู้สึกแปลก ไม่รู้จัก และสิ่งที่อยู่ห่างไกล กลับรู้สึกเหมือนใกล้ชิดเป็นเพื่อนบ้าน โลกใบนี้ ถูกกำหนดใหม่ด้วยข้อมูลข่าวสาร

    นวัตกรรมเป็นสิ่งที่มีราคา ใช้เวลาและยากที่จะสำเร็จได้โดยง่าย ต้องมีวิธีการเพื่อบรรลุผล โดยไม่กระทบกับลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โดยนวัตกรรมมีทั้งเวลาและสถานที่

    บริการแบบฟรีเข้าสู่ชีวิตเราทีละเล็กละน้อย เช่น ที่พักโรงแรม ร้านอาหาร เราเลือกสถานที่ที่มี WIFI ฟรี และใช้โทรศัพท์ผ่านโปรแกรม LINE ฟรี มีนวนิยายตรรกะ 4 แบบที่เป็นที่รู้จัก

    1.Direct Cross – Subsidies เป็นรูปแบบส่งเสริมการขาย ชิ้นแรกฟรี จ่ายชิ้นที่ 2

    2.Three – party Market ผู้ผลิตให้บริการฟรี ผู้โฆษณาจ่ายเงินให้ผู้ผลิต

    3.Freemium พื้นฐานของการให้บริการ คือ ฟรี แต่มีเพิ่มในกรณีที่จะทำอะไรมากกว่านั้น เช่น

    มีเพลงฟรี 100 เพลง , แต่รับสมาชิกฟังเพลงบนสมาร์ทโฟนจ่ายเพิ่ม

    4.Nonmonetary Market เป็นการแบ่งปันและมีส่วนในการให้ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น ใน

    Wikipedia

    เกิดเหตุการณ์ เกิดเหตุช๊อค ในดรรชนีตลาดหุ้นดาวน์โจน เมื่อพฤษภาคม ทำให้มีการพัฒนาชุดโปรแกรมคำสั่ง โดยนักคณิตศาสตร์ที่สามารถตรวจจับ Spot Trends ซึ่งพบโอกาสดีในเสี้ยววินาที การค้าแบบนี้ เรียกว่า การค้าแบบ Black – box เป็นการค้าแบบชุดคำสั่ง จะตัดสินใจทันเวลา ราคา และจำนวนหุ้นที่สั่งซื้อขาย บริษัทจะได้ประโยชน์จากเวลาที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย มันกระทบระบบเศรษฐกิจของเราและหุ่นยนต์ (I,Robot) ใกล้เข้ามาแล้ว

    บทที่ 6 วิกฤตความเป็นผู้นำ

    วิกฤตความภักดี จริงใจ มาจากเดิม CEO จะได้รับความภักดีจากลูกน้องและพนักงานในบริษัท เมื่อลูกจ้างในบริษัทมีการศึกษาและความรู้มากขึ้น ความภักดีของลูกจ้างต่อ CEO ก็น้อยลง CEO และบอร์ดต้องฟังพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มากขึ้น ความจริงใจก็กระจายออกไป

    องค์กรมีการกระจายอำนาจอยู่ 2 แบบ คือ ให้ผู้บริหารระดับสูง และการกระจายอำนาจที่เป็นองค์กรที่ Flat ช่วยกระตุ้นให้เกิดพลังงาน และ Innovation มีหลายหัวช่วยกันคิด ในสภาพแวดล้อมธุรกิจที่เปลี่ยนไป ให้พนักงานได้ร่วมตัดสินใจ เพราะเขาทำงานจริง รู้จริง และทำให้พนักงานรู้สึกมีแรงจูงใจ แผนผังโครงสร้างองค์กรใหม่ ให้ลูกค้าอยู่ด้านบนสุด ตามด้วยคนติดต่อกับลูกค้า ซึ่งมีข้อมูลมากที่สุดและ CEO อยู่ล่างสุด

    การสร้างมูลค่าให้กับตัวพนักงาน บริษัท มีเครื่องมือที่สร้างความกระตือรือร้นของพนักงาน เช่น มอบหมายงานที่ท้าทาย หรือ ให้ค่าตอบแทนที่สูง หากมากไป จะทำให้พนักงานไม่เห็นคุณค่า และหวังให้มีการขึ้นเงินอีก และองค์กรต้องมีอะไรที่วัดและควบคุมได้ว่า พนักงานคนใด ใครทำงานได้ดีกว่า ไม่ใช่วัดแค่ชั่วโมงที่นั่งทำงาน จะทำให้พนักงานไม่มีแรงบันดาลใจ

    CEO ควรใช้ศาสตร์และศิลป์ในการทำงาน ดังนั้นจะต้องมีความสามารถในการเล่าเรื่อง พูดชักจูง ให้กำลังใจ มีหลักดังนี้

    1.เชื่อในสิ่งที่พูด

    2.ต้องมีความท้าทาย และปัญหาให้ข้ามผ่าน

    3.เล่าเรื่องที่เป็นรูปธรรม ให้ความจริงใจ

    บริษัทเหมือนโรงละคร ผู้ชม คือ คนเขียนบท พนักงานคือ นักแสดง

    การลงทุนในต่างประเทศ มีความจำเป็นในการขยายตลาด มีหลายบริษัทที่ประสบความสำเร็จ เช่น

    รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ แต่การเข้าถึงวัฒนธรรมยังคงเป็นปัญหาใหญ่ วัฒนธรรมองค์กรในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน กระแสการนิยมสินค้าของประเทศตัวเอง ลูกค้ามีความต้องการหลากหลาย

    บริษัทเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้นโครงการ CSR ของบริษัทต้องชัด อยากจะให้สื่อนำเสนออะไรเกี่ยวกับบริษัท บอกไปเลย พนักงานชอบนโยบายที่โปร่งใส เพราะพนักงานเป็นคนหนึ่งในสังคม และถ้าบริษัทเป็นส่วนหนึ่งของสังคมก็ต้องดูแลพนักงานด้วย

    ผู้นำในอุดมคติต้องมีความเป็นคน แสดงความมีน้ำใจ เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ตัดสินใจได้ มีวิสัยทัศน์ ดูกระแสเงินสดได้ พาองค์กรให้ปรับตัวไปกับอนาคต สื่อสารกับพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า ทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้อง ต้องมีชีวิตครอบครัวที่ดี มีเวลาที่ไปทำอะไรที่อยากทำ

    สรุปประเด็นเพื่อรองรับ กฟผ. 3 หัวข้อ ดังนี้

    1.The Extended Now

    เนื่องจากโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงจำเป็นต้องศึกษาอนาคต โดยมองจากปัจจุบัน สำหรับ กฟผ. มองว่าขณะนี้มีสัดส่วนตลาดกำลังผลิตประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ในอนาคต การคาดการณ์GDP ที่บอกกำลังซื้อ การบริโภคเติบโตขึ้น ปีละ 3-5 เปอร์เซ็นต์ กฟผ.จึงวางแผนสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ โดยระยะแรก จะสร้างที่บริเวณโรงไฟฟ้าเดิม อย่างไรก็ตามกฟผ.ต้องปรับแผนการดำเนินการให้สอดคล้องกับแผน PDP ฉบับใหม่ ที่มุ่งเน้นการใช้พลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก เพิ่มเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ ในระยะ 10 ปี โดยกฟผ.จะปรับเปลี่ยนนโยบายด้านพลังงานทดแทน จากบทบาท ผู้ผลิต มาเป็นผู้คิดค้น และสร้างต้นแบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทน

    2.The Flat Society

    สังคมแบนราบ แนวโน้มระยะยาว คนจะไม่เชื่อในระบบการสั่งการหรือการรวมอำนาจ กรณีอุตสาหกรรมไฟฟ้า ในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ซึ่งเป็นกลุ่มพลังงานหมุนเวียน เนื่องจาก ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีเชื้อเพลิงที่เป็นชีวมวลกระจายอยู่ทั่วประเทศ เป็นวัสดุเหลือใช้ในชุมชน และมีราคาถูก ความเป็นไปได้ที่ของการพัฒนาผลิตพลังงานใช้ในชุมชน และบางส่วนเหลือขายเข้าระบบของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทิศทางของ กฟภ. และ กฟผ. ในบทบาทของผู้ให้บริการด้านระบบส่ง ระบบจำหน่ายแก่แหล่งพลังงานชุมชนที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ เป็นบทบาทที่ต้องพัฒนาต่อไป ด้วยโมเดลพลังงานชุมชนขนาดเล็กเหล่านี้ สามารถทดแทนโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในรูปแบบเดิมๆได้ ความจำเป็นแหล่งผลิตขนาดใหญ่ลดลง ขณะเดียวกัน สาบส่งและระบบไฟฟ้าก็จะลดความแออัด ลดความจำเป็นในการขยายระบบส่งได้

    3.Measure Happiness not GDP

    เป็นโลกที่ไม่ใช่วัตถุ (Nonmaterial World) แต่เป็นจิตนิยม หาให้ได้ว่า อะไรเป็นคุณค่าในสินค้าของกิจการ ทำอย่างไร สินค้าของเราจึงจะเพิ่มความสุขให้ลูกค้า กรณี กฟผ.มุ่งการผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย ให้มีไฟฟ้าใช้ให้เพียงพอ และมีความมั่นคง โดยหาแหล่งพลังงานที่ใช้ในการผลิตให้มีต้นทุนต่ำ ส่งเสริมและสร้างคุณค่าให้กับสังคม โดยมุ่งเป็นองค์กร Green สร้างนวัตกรรมเชิงสังคมให้เกิดขึ้น และส่งเสริมมการประหยัดพลังงาน

    ประเด็นเพิ่มเติมที่ หนังสือ Renaissance ไม่ได้กล่าวไว้ คือ Networking capital หรือทุนทางเครือข่าย กับชุมชน ผู้มีส่วนได้เสียในระยะยาว ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันและจะยิ่งมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ไม่ได้กล่าวถึงเรื่อง Social Innovation นวัตกรรมเพื่อสังคม ก็เป็นสิ่งที่จะสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาจากสังคมและชุมชนได้

    ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานไม่ประสบความสำเร็จ ในกฟผ.

    ด้าน CSR

    -ไม่มีหน่วยงาน CSR โดยเฉพาะ เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชน

    -การดำเนินงานด้าน CSR ไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากมีการโยกย้ายผู้ปฏิบัติงานทั้งในระดับผู้บังคับบัญชาที่กำหนดนโยบาย

    และผู้ลงพื้นที่ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการทำCSR ในพื้นที่นั้นๆ

    -บางครั้ง มีแนวความคิด CSR ที่ดี แต่ติดด้านระบบ แบบไซโล

    - ชาวบ้านมองเป็นละชนชั้น มีช่องว่างกับชาวบ้าน

    ด้าน Value Creation & Value Diversity

    - กฟผ. ทำในเชิง Value added ได้ โดยดำเนินการตามภาระหน้าที่ ในด้านการผลิตไฟฟ้า ระบบส่ง การมีส่วนร่วมในชุมชนและสังคม แต่ยังขาด Value Creation ในอดีตที่ผ่านมา กฟผ. ทำงานได้ดี แต่ในอนาคตต้องมีการขยายกำลังการผลิตเพื่อให้มีผลประกอบการที่ดี โดยพนักงานต้องมีความสุขด้วย

    - กฟผ. ยังไม่สามารถสร้างบรรยากาศของความคิดสร้างสรรค์ เพื่อก่อให้เกิดความคิดนอกกรอบหรือ คร่อมกรอบ กฟผ ยัง ไม่Openness เปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียได้หมด เนื่องจากเป็นองค์กรของรัฐที่ถูกควบคุมให้ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐเสียมากกว่า อย่างไรก็ตาม กฟผ.ควรทำ Value creation ด้านกระบวนการ เช่น CSR เพื่อสังคมและประเทศชาติ ให้ไปสู่องค์กรที่Green ตามเจตนารมณ์ของคณะกรรมการ กฟผ.

    -กฟผ. เป็นองค์กรใหญ่ที่อุ้ยอ้าย อยู่ภายใต้กฎระเบียบของรัฐ ทำให้ไม่คล่องตัวในการบริหารงาน มีลักษณะไซโล จึงไม่สามารถก่อให้เกิด Value Diversity ในส่วนของผลิตภัณฑ์หลักได้ อย่างไรก็ตาม

    กฟผ.อาจส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เขื่อนและบริเวณโรงไฟฟ้าต่างๆ ให้เกิดเป็นรูปธรรมเชิงธุรกิจ สำหรับพลังงานทดแทน เนื่องจากมีปัญหาการแหล่งก่อสร้างโรงไฟฟ้า ดังนั้น กฟผ.จึงปรับกลยุทธ์ไปสู่การพัฒนาต้นแบบโรงไฟฟ้า ขายนวัตกรรมให้ IPP SPP แทนการสร้างโรงไฟฟ้าแข่งกับเอกชน หรือ กฟผ.อาจลงทุน ในบริษัทในเครือ หรือร่วมทุนกับเอกชนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า  

    การบ้านคุณอัจฉรี

    ขออนุญาตส่งงานรวบยอดเลยนคะ

    กรณีศึกษา Microsoft จากอดีต ถึง ปัจจุบัน กับภาวะผู้นำ ของ CEO

    1 Bill Gate

    ผู้นำยุคบุกเบิก เริ่มกอตั้งและพัฒนาอยู่สม่ำเสมอไปสู่จุดที่ตนพอใจและเป็นการท้าทายตนเอง มีควา มมานะอดทนไม่ย่อท้อเพื่อความสำเร็จขององค์กร ต้องฝ่าฟันอุปสรรคให้ได้ สิ่งที่เป็นลักษณะหลักคือเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จมองหากลยุทธ์ใหม่อยู่เสมอ

    2. Steve Ballmer

    ผู้นำยุคที่อยู่ตัว เข้าที่แล้วไม่ได้มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ เน้นความมีมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อน รับฟังความคิดเห็นจากพนักงาน เน้นการสื่อสารที่เป็นปัญหาในองค์กรมาโดยตลอด

    3. Satya Nadella

    ผู้นำยุคใหม่ทีจะสร้างนวัตกรรมทางด้านซอฟแวร์ใหม่ หลังจากทำงานกับไมโครซอฟมากว่ายี่สิบปี เป็นผู้นำที่สร้าง Trust ให้กับบริษัท เป็นคนที่มีนิสัยอ่อนน้อม เข้าได้กับทุกคน ปรัชญการทำงานคือ กระตือรือร้นและกระหายที่จะเรียนรู้

    การประยุกต์ใช้กับกฟผ.

    กฟผ.ผ่านยุคของผู้นำ มาหลายยุค เช่นเดียวกัน ตั้งแต่ยุคบุกเบิก ยุคที่ทรงตัว ยุคที่ต้องปรับตัวให้ทันเปลี่ยนแปลงไปสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง โดยผู้ว้าการคนปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงของการสร้าง Trust ให้ กฟผ. ทั้งด้านความมั่นคงของการผลิตไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า การจัดหาพลังงานทดแทน ความรับผิดชอบต่อสังคม การให้ความสำคัญของคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ โดยมองอนาคตขององค์กร กำหนดทิศทางทำธุรกิจรับงานภายนอก ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจในเครือมากขึ้นเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งขององค์กรในอีกทางหนึ่ง

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

    กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

    ธรรมชาติบำบัด ปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง

    นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ได้บรรยายลักษณะและเกณฑ์วัด ดัชนีมวลกาย ปัญหาของความอ้วน และอันตรายของความอ้วน การลดน้ำหนักด้วยวิธีธรรมชาติ กินเนื้อ กินผัก ออกกำลังกายให้มาก แล้วพูดถึงตัวช่วยในการลดไขมัน และลดน้ำหนัก การป้องกันโรค หวัด ภูมิแพ้ หอบหืด และควรมีตู้สมุนไพรประจำบ้าน ซึ่งเรื่องนี้ทราบดีอยู่แล้ว

    พญ. ลลิตา ธีระสิริ อธิบายเรื่อง วารีบำบัดแห่งน้ำ ว่ามีหลายวิธีที่นิยม มีทีมาจากต่างประเทศ และภูมิปัญยาของคนไทย ในการนำประโยชน์จากสมุนไพรมาใช้ รักษาโรคต่างๆ และส่งเสริมสุขภาพ

    ได้มีการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพ ได้แก่ Mat Exercises , Hydro aerobics , ซาวน่า , อบสมุนไพร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ประโชน์ คือสดชื่น ได้เรียนรู้ที่จะนำไปดำเนินการต่อไป

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคเช้า ที่เขื่อนศรีนครินทร์

    Networking Capital

    หัวข้อนี้เป็นการให้ความสำคัญของทุนทางด้านเครือข่าย จึงมีวิทยากรหลากหลายอาชีพที่คัดสรรมาแล้วโดยเฉพาะ

    1. ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ได้อธิบายถึงมุมมองภาพใหญ่ด้านยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการของจังหวัดกาญจนบุรี และโครงการที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน / พลังงาน /การบริหารจัดการภัยพิบัติ และภัยธรรมชาติ การเตรียมพร้อมสู่อาเซียน

    อ.จีระ อยากให้มองภาพกว้าง การเมือง เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้ง Logistic

    1. คุณสหัสนัย แนะนำกฟผ. เรื่อง CSR การมีส่วนร่วมกับชุมชน ผสานโครงการกับการท่องเที่ยว การสร้างแพทีพัก การเข้าถึงแหล่งเงินทุน SME bank ไม่ให้กู้เงินเพราะบอกว่าแพเป็นสังหาริมทรัพย์ อ.จีระ ให้ความเห็นว่า กฟผ. มีไอเดียดี แต่ติดที่ระบบ
    2. คุณประณต ให้ประเด็นที่พลังงานจังหวัดเกี่ยวข้องกับ กฟผ. และอยากให้กฟผ.ไปหาชุมชนล่วงหน้า 3 ปี เพื่อหาข้อมูลแผนชุมชนเชื่อมโยงกับการประหยัดพลังงาน

    อ. จีระฝากให้ทีมงานไปติดตามผล / ข้อเสนอแนะจากการสัมนา เสนอให้ กฟผ.ทำวิจัยต่อเนื่อง เรื่องกองทุนพัฒนาไฟฟ้า นำไปใช้ได้อย่างไร

    1. คุณยุทธการ เอ็นจีโอ ระดับพรีเมี่ยม แนะนำว่ากฟผ. ต้องเข้าใจ บทบาทของการไฟฟ้า ภาพพจน์ นอกจากนี้ ขอเสนอแนวคิดให้มี เครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตขนาดเล็ก โซลาเซล เป็นต้น

    อ.จีระ : Turn action to execution เอาชนะอุปสรรค

    1. คุณคเชนทร์ ตัวแทนภาคธุรกิจ อยู่ SCG paper แนวคิดสร้างทุนทางเครือข่าย เน้นการลงทุนระยะยาว ซึ่งต้องใช้เวลนานมาก ให้คนยอมรับ เชื่อมั่นศรัทธา ปฏิบัติกับชุมชนต้องสมดุล อุดมการณ์ คือ ต้องเชื่อมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม ทรัพยากรมีจำกัดต้องใช้อย่างคุ้มค่า นโยบาย One manager One Community “ เอาชุมชน เป็นตัวตั้ง “

    อ.จีระ : ขอให้ทำในเชิง Value added และ Value Creation ให้ได้

    การสร้างทรัพยากรมนุษย์ต้องอาศัยปรัชญาและความเชื่อ แต่ Fact ของ กฟผ.คือ

    HR Department เป็นไซโล Function งานดี Non Hrมีผลประกอบการดี แต่อนาคต ต้องมี

    ผลประกอบการและความสุข ดังนั้น HR Function ต้องเปลี่ยน Role ต้องให้ StakeHolder อื่นๆ มา

    Co-creation

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคบ่าย

    HR for non HR และการปรับใช้กับ งาน CSR ของกฟผ.

    อ.จีระได้ให้ข้อคิดว่า ทรัพยากรสำคัญที่สุดในปัจจุบันไม่ใช่เงิน สิ่งของ หรือเครื่องจักร แต่เป็นคน ที่ต้องพัฒนาไม่มีวันหยุด เป็นการพัฒนาระยะยาวทั้งชีวิต

    การมองภาพทรัพยากรมนุษย์ จาก Macro สู่ Micro ถ้าไม่มีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงเท่ากับว่าเราได้ตาย และเราต้องเปลี่ยนแปลง ก่อนจะถูกบังคับให้เปลี่ยน

    มีการเปรียบเทียบ Old HR กับ New HR สรุปว่า HR สมัยใหม่ จะต้องมีการกำหนดStrategic , Change Management และต้องทำให้เกิด Respect & Dignity และเป็น Strategic Partnership ในด้านของคุณค่าจะต้องเป็น Value added ก่อให้เกิดความกระหายที่จะเรียนรู้

    พื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    1.Human Capital ทุนมนุษย์

    2.Intellectual ทุนทางปัญญา

    3.Ethical ทุนทางจริยธรรม

    ทฤษฎีทุนใหม่ 5 k’s เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    -Creative Capital

    -Knowledge Capital

    -Innovation

    -Emotional

    -Cultural

    ทฤษฎี HRDS เพื่อสร้างทุนแห่งความสุข การทำงานร่วมกับบุคคลอื่น และการบริหารทุนมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล โดยแบ่งเป็นทุนที่มองเห็นและมองไม่เห็น ผู้นำจะต้องเริ่มให้มี Aware และExecution คือการลงทุนให้สำเร็จ CEO + HR + Non HR ที่มีบทบาทร่วมมี Visionไปด้วยกัน เจาะไซโลแต่ละสายงาน กำหนดนโยบายองค์กร ดำเนินการด้าน HR สำหรับ Non HR จะต้องดูแลทรัพยากรบุคคลากรตัวเอง โดยให้มี Diversity และ Networking

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคเช้า

    อ.จิตสุมาลย์ อมาตยกุล การนำเสนออย่างทรงพลังและประทับใจ

    มีการทำกิจกรรมหลายกิจกรรมที่เหมาะสมกับเวลา เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และให้ เทคนิค Presentation ให้รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า พร้อมเสมอและมีศิลปะในการพูด

    สิ่งที่ได้รับ คือ ความสนุกควบคู่กับความรู้ เทคนิคการนำเสนอ ต้องฝึกภาษากายให้มากๆ เน้นน้ำเสียงที่เชิญชวนสำหรับผู้ฟัง ให้เกิด Brand sense และเข้าสู่ Champion Zone ซึ่งเป็นเลิศด้านเนื้อหา และผู้นำเสนอ

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคบ่าย

    นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน ( Social Innovation กับการทำงานของ กฟผ.

    ดร. จีระเดช เป็นผู้ดำเนินรายการ

    หัวข้อนี้ฟังสนุก ได้ฟัง เรื่องราวด้าน CSR ของกฟผ. จาก ชคส. ประสบการณืจากครูบาสุทธินันท์ ทำอย่างไรให้ชุมชนเข้มแข็ง อยากรู้ ใฝ่รู้ คุณสุทธิเดชได้เล่าเรื่องราวนวัตกรรมเชิงสังคมของ กฟภ.ว่า เป็นเรื่องใหม่ เป็นเรื่องสร้างสรรค์ และต้องสร้างองค์ความรู้ตลอดจนคำวิพากษ์ของผู้เข้าอบรมในเรื่อง CSR ที่ดำเนินการแล้วของ กฟผ. จำเป็นต้องมีความต่อเนื่องและหาพันธมิตรร่วมมือกับ กฟภ.ที่ดูเหมือนจะใกล้ชิดชุมชนมากกว่า

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคเย็น

    อ. กิตติ ชยางคกุล ได้มาแนะนำ เกี่ยวกับหัวข้อโครงการวิจัยในแต่ละกลุ่ม เพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย

    - การชี้ชัดปัญหาและการจัดทำปัญหาการวิจัย โดยหัวข้อที่จะทำเป็นปัญหาที่สามารถเห็นผลได้ ภายใน 1-3 ปี และมีความเป็นไปได้ที่จะแก้ปัญหานั้น หรือเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา

    สิ่งที่ได้จากอาจารย์คือ ความเอาใจใส่ พยายามที่จะตั้งคำถามเค้นปัญหา ออกมา เพื่อให้มีการทำวิจัยในเรื่องที่เหมาะสม อาจารย์น่ารักมาก

    อ.พิชญ์ภูรี แนะนำ การเขียน Paper และ การ Presentation

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคเช้า

    กิจกรรมดูงาน ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม จ. กาญจนบุรี

    ผู้นำศูนย์ได้เล่าเรื่องการแนะแนวการสิกรรม ให้กับชุมชนเห็นประโยชน์ของการพึ่งพาตนเอง เป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนที่ต้องปฏิรูปประเทศ เพราะทุกคนเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม นอกจากนี้ยังได้บรรยายสรรพคุณของพืชผักธรรมชาติ เช่น ฟักข้าวที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารหลายรูปแบบได้

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคบ่าย

    กิจกรรมดูงาน ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร และพลังงานทางเลือก จ. กาญจนบุรี

    คุณยุทธการ ได้บรรยายประสบการณ์ การวิจัยพลังงานทางเลือกประเภทต่างๆ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม แก๊สชีวมวลเป็นต้น ได้ดูตัวอย่างการประดิษฐ์เตาแก๊สที่ใช้เศษใบไม้เป็นเชื้อเพลิง อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือเทคนิคในการชักชวนให้ชาวบ้านนำไปใช้ ต้องตอบคำถามชาวบ้านให้ได้ว่าเกิดประโยชน์อย่างไร

    การบ้านคุณพิสณห์ จันทร์ศรี

    ศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิชัยพัฒนา

    บรรยาย “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

    โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

    วันที่ 18 มีนาคม 2557

    • -เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง อย่าใช้คำว่าเศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง ทุกอย่างต้องพอเพียงทั้ง สังคมและการเมือง
    • -Cosmic Calendar (10 ล้านปี) เพื่อให้เห็นความเคลื่อนไหวที่ชัดเจน เห็นว่าโลกนี้มีวิวัฒนาการตลอดเวลา
    • -ปัญหาของโลกเกิดจากการบริโภคที่เกินพอดี
    • -ในปัจจุบันระบบเดียวที่ครองโลกอยู่ในขณะนี้ คือการบริโภคนิยมหรือทุน
    • -ประเทศไทยมีทุกอย่างแต่ขาดระบบบริหารจัดการที่ดี
    • -ปัจจุบันในโลกคนอดตายอยู่ 5 ล้านคน ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอาหารสมบูรณ์ แต่ขาดการบริหารจัดการที่ดี ในอนาคตอาจทำให้ขาดแคลนอาหารได้
    • -ประเทศที่พัฒนาแล้วบริโภคมาก ยิ่งคนรวยมากยิ่งบริโภคมาก ถ้าหากทุกคนบริโภคแบบคนอเมริกันหรือยุโรปต้องมีโลกถึง 3 ใบ เพื่อหาทรัพยากรต่างๆ ให้พอต่อความต้องการ การบริโภคทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยทำให้ดรรชนีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติของโลกลดลง
    • -KPM (Knowledge, Power, Money) (จากอดีตถึงปัจจุบัน) เน้น GDP / ระบบทุนนิยม / การแข่งขัน การแก่งแย่ง / การใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย (ภัยพิบัติ มลภาวะ ปัญหาสังคม)
    • -ในระดับโลกจึงมีอีกกระแสหนึ่งเข้ามาช่วยในการพัฒนา เรียกว่าระบบ GCK (Goodness ,Culture, Knowledge) (อนาคต) เน้น GNH / เศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง / เน้นการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นและทรัพยากรฯ / ส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล
    • -เศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง คือการใช้ทรัพยากรรอบตัวให้ถูกต้อง
    • -ธรรมาภิบาล เป็นเรื่องสำคัญผู้ปกครองต้องมีคุณธรรมและความดี ถ้าผู้นำไม่ดี จะทำให้ระบบไม่ดีไปด้วย
    • -การพัฒนาที่มีความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
    • -ความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ต้องไม่เน้น Cost Benefit ไม่เน้นกำไรว่าคุ้ม หรือไม่คุ้ม ต้องใช้ Cost effectiveness ที่ไม่คำนึงถึงจำนวนเงิน แต่คำนึงว่าการใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

    เศรษฐกิจพอเพียง

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงไว้ 3 เรื่อง หลัก ๆ คือ

    • 1.พอประมาณ คือตรวจสอบดูทุนเราก่อนว่าทุนมีแค่ไหนอย่างไร อย่าทำอะไรที่เกินทุน และให้ดูทุนทางกายภาพด้วย
    • 2.มีเหตุมีผล เช่น การใช้เงินให้ใช้เหตุผลเป็นเครื่องนำทาง
    • 3.มีภูมิคุ้มกัน 

    การบ้านคุณพิสณห์ จันทร์ศรี

    หัวข้อ ผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง

    อาจารย์ประกาย ชลหาญ

    ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

    วันที่ 18 มีนาคม 2557

    สร้างการเรียนรู้ บทบาทผู้นำให้เข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรในภาพรวมและของหน่วยงาน โดยนำการวิเคราะห์มาเรียนรู้เกี่ยวกับจุดแข็งและจุดอ่อน แต่สิ่งที่คาดหวังก็มาจาก PERFOKMANCE ซึ่งวิเคราะห์ได้ 2 ส่วน

    • 1.COMPETENCY ประกอบด้วย องค์ความรู้ (KNOWLEDGE) และทักษะประสบการณ์
    • 2.แรงจูงใจ (MOTIVATION) ผลสำเร็จและความคาดหวังที่จะสำเร็จจะต้องมีแรงผลักดันจากผู้นำ พอสรุปได้ว่าผู้นำต้องเก่งใน 3 เรื่อง คือ การเปลี่ยนแปลง / PARADIGM / สร้างเครือข่าย

    การเปลี่ยนแปลงจะมาจาก 2 สาเหตุ

    • 1.การเปลี่ยนแปลงที่เริ่มจากตัวเอง
    • 2.การเปลี่ยนแปลงที่มีผู้อื่น KNOW ME หมายถึง รู้จักผู้ร่วมงาน / บริหารผู้ร่วมงาน (FOCUS ME) / แสดงความรัก ความใส่ใจผู้ร่วมงาน (CARE) / สร้างแรงบันดาลใจ (SNSPIRE ME)

    คน องค์กร ประสบการณ์สู่ความเป็นเลิศ

    วัฒนธรรมองค์กรกับการเปลี่ยนแปลงเป็น Organization Value ถ้าขับเคลื่อนให้เห็นในทิศทาง หัวข้อต้อง Relevance ฉลาด และ Execute โลกต้องผสมกันระหว่างสังคมข้างนอก และสังคมข้างใน

    สิ่งที่จะพูด คือการพูดแบบเปิดใจ และต้องการเปลี่ยน Mindset เพราะอุปสรรคที่สำคัญที่สุดของการเปลี่ยนแปลงคือ Mindset ต้องทำ Mindset ให้เปิดใจพร้อมที่จะ Shift คือ Paradigm Shift ให้เปลี่ยนตัวเองก่อนที่จะเปลี่ยนคนอื่น Jack Weltch บอกว่า ต้องเปลี่ยนก่อนจะถูกบังคับให้เปลี่ยน เพราะสิ่งแวดล้อมจะบังคับให้ตัวคุณเปลี่ยนตลอดเวลา ไหน ๆ สิ่งแวดล้อมจะบังคับให้เปลี่ยนทำไมไม่เปลี่ยนเอง

    “Change Before you force to change otherwise is too late”

    การบ้านคุณพิสณห์ จันทร์ศรี

    หัวข้อ ผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง

    อาจารย์ประกาย ชลหาญ

    ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

    วันที่ 18 มีนาคม 2557

    สร้างการเรียนรู้ บทบาทผู้นำให้เข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรในภาพรวมและของหน่วยงาน โดยนำการวิเคราะห์มาเรียนรู้เกี่ยวกับจุดแข็งและจุดอ่อน แต่สิ่งที่คาดหวังก็มาจาก PERFOKMANCE ซึ่งวิเคราะห์ได้ 2 ส่วน

    • 1.COMPETENCY ประกอบด้วย องค์ความรู้ (KNOWLEDGE) และทักษะประสบการณ์
    • 2.แรงจูงใจ (MOTIVATION) ผลสำเร็จและความคาดหวังที่จะสำเร็จจะต้องมีแรงผลักดันจากผู้นำ พอสรุปได้ว่าผู้นำต้องเก่งใน 3 เรื่อง คือ การเปลี่ยนแปลง / PARADIGM / สร้างเครือข่าย

    การเปลี่ยนแปลงจะมาจาก 2 สาเหตุ

    • 1.การเปลี่ยนแปลงที่เริ่มจากตัวเอง
    • 2.การเปลี่ยนแปลงที่มีผู้อื่น KNOW ME หมายถึง รู้จักผู้ร่วมงาน / บริหารผู้ร่วมงาน (FOCUS ME) / แสดงความรัก ความใส่ใจผู้ร่วมงาน (CARE) / สร้างแรงบันดาลใจ (SNSPIRE ME)

    คน องค์กร ประสบการณ์สู่ความเป็นเลิศ

    วัฒนธรรมองค์กรกับการเปลี่ยนแปลงเป็น Organization Value ถ้าขับเคลื่อนให้เห็นในทิศทาง หัวข้อต้อง Relevance ฉลาด และ Execute โลกต้องผสมกันระหว่างสังคมข้างนอก และสังคมข้างใน

    สิ่งที่จะพูด คือการพูดแบบเปิดใจ และต้องการเปลี่ยน Mindset เพราะอุปสรรคที่สำคัญที่สุดของการเปลี่ยนแปลงคือ Mindset ต้องทำ Mindset ให้เปิดใจพร้อมที่จะ Shift คือ Paradigm Shift ให้เปลี่ยนตัวเองก่อนที่จะเปลี่ยนคนอื่น Jack Weltch บอกว่า ต้องเปลี่ยนก่อนจะถูกบังคับให้เปลี่ยน เพราะสิ่งแวดล้อมจะบังคับให้ตัวคุณเปลี่ยนตลอดเวลา ไหน ๆ สิ่งแวดล้อมจะบังคับให้เปลี่ยนทำไมไม่เปลี่ยนเอง

    “Change Before you force to change otherwise is too late”

    การบ้านคุณพิสณห์ จันทร์ศรี

    หัวข้อTQM/SEPA: ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

    คุณโชติรส เสวกวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญระดับ 12การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

    อาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยากุล

    คุณปิติ ศรีสุขสมบัติ ผู้จัดการฝ่ายบริหารคุณภาพองค์กร ปตท.

    วันที่ 19 มีนาคม 2557

    Aspiration ของ ปตท. Big ใหญ่ระดับโลก / Long ยั่งยืน / Strong เข้มแข็ง

    ค่านิยมปตท. SPIRIT คือคนเก่งและคนดี

    การสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนของ ปตท. ใช้หลักสามเหลี่ยมแห่งความยั่งยืน HPO / CG / CSR

    ผู้บริหารต้องชี้นำ สื่อสารเป้าหมายกระตุ้นพนักงานทำให้ยั่งยืนโดยปฏิบัติจนเป็นชีวิตประจำวัน ผู้บริหาร ปตท.จะ พูดคุยกับพนักงานทุกระดับเสมอ รวมทั้งเน้น Assess Acquire และ Apply ทุกคนที่ไปดูงานต้องนำความรู้กลับมาแบ่งปัน

    ปตท. เน้น BCM (Business Continually Management) ทำงานต่อได้แม้เกิดวิกฤติ

    Key factors ส่งเสริมความเป็นเลิศของ ปตท.

    • 1.Continuous Improvement
    • 2.Excellent Leadership
    • 3.Open mind

    EGAT WAY เป็นการ Integrated ทุกเครื่องมือที่ กฟผ. มี

    การมี TQM ผลลัพธ์ที่คาดหวังคือเป็น HPO หรือ EGAT WAY ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มี 2 อย่าง คือ ความสำเร็จ และ ความสุข

    การเป็น EGAT WAY ต้องปรับ ระบบบริหารจัดการ และ บุคลากร

    แนวคิดของกระทรวงการคลัง คือ ผลลัพธ์ที่ดีต้องมาจากกระบวนการที่ดี และดีกว่าคู่แข่ง

    ปัญหาที่พบ เกี่ยวกับ SEPA ของ กฟผ.

    • 1.ความเป็น EGAT Silo นำไปสู่ปัญหาการ Integration ของกระบวนการ
    • 2.Work Process ความเป็น Engineering Based มีกระบวนการแข็งแรงแบบ Inside Out มากกว่า Outside In
    • 3.แม้กระทรวงการคลังไม่วัดแต่ก็ต้องนำผลลัพธ์เสนอ สคร. เพื่อยืนยัน

    การบ้านคุณพิสณห์ จันทร์ศรี

    หัวข้อการบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามทางการเมือง

    รศ.ดร.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร

    อ.ธรรมรักษ์ การพิศิษฏ์

    วันที่ 19 มีนาคม 2557

    การเมืองไทยในอดีตที่ผ่านมานำรูปแบบจากต่างประเทศ ทำให้ไม่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย รวมทั้งขาดการบริหารจัดการที่ดี การเมืองจึงอ่อนแอ มีการเลือกตั้งและปฏิวัติรัฐประหารบ่อย วันนี้มนักการเมืองขาดคุณธรรมและจริยธรรม

    ระบบประชาธิปไตยถือเป็นระบบที่เลวน้อยที่สุด การเมืองไทยมีข้อเสียเพราะยึดในระบบอุปถัมภ์มากเกินไปจนทำลายแทบทุกระบบในสังคม ตั้งแต่ระบบการศึกษาระบบ เศรษฐกิจ ระบบราชการ หลากปล่อยต่อไปจะทำลายทั้งประเทศ

    ด้านพลังงานต้องมีการปฏิรูปต่อเนื่อง โดยเรื่อง Energy Security เป็นปัญหามากเพราะ 70% นำเข้าจากต่างประเทศ

    กฟผ.ต้องวิเคราะห์ว่า การปฏิรูปพลังงานให้ก้าวหน้าจะทำอย่างไร

    • 1.กฟผ. มีปัญหาทั้งเดิมและใหม่ แก้โดยเข้าร่วมจัดทำแผนกำหนดพลังงานของประเทศ กฟผ. ต้องมีสติ ไม่กลัว เตรียมรับ
    • 2.จุดแข็ง ไม่ทุจริต ต้องพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้ว และพัฒนาใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพให้มีประสิทธิผล
    • 3.ต้องให้ความรู้ ความเข้าใจแก่สังคมให้มากและต่อเนื่อง
    • 4.จุดอ่อน มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เข้าไม่ถึงประชาชน NGO เข้าถึงมากกว่า EGAT สู้ NGO ไม่ได้
    • 5.ผลกระทบทางการเมืองเป็นเรื่อง นโยบาย การเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชนจะช่วยถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายการเมือง
    • 6.Lobbyist ไม่มีความจำเป็น ตัวเราเองสำคัญกว่า
    • 7.ต้องวางแผนกรณีเศรษฐกิจแย่ กฟผ.จะมียุทธวิธีเตรียมรับ ปรับแผน ตัดแผนอย่างไร เช่น ดูเงินสด แผนการลงทุนในอนาคต ดูว่าโครงการอะไรได้ทุนคืนเร็ว
    • 8.ต้องมี Vision บริหารการจัดการระยะสั้น
    • 9.ผู้บริหารต้องเป็น Leader เพราะยามวิกฤติ Leadership สำคัญมาก

    การบ้านคุณพิสณห์ จันทร์ศรี

    หัวข้อกรณีศึกษาของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กับการก้าวสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

    คุณสมยศ รุจิรวัฒน์

    รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)

    วันที่ 19 มีนาคม 2557

    บ้านปูเกิดปี 1983 เป็นแบบเหมืองเล็ก ในเวลา 6 ปี สามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ในปี 1989 ได้สัญญาขนดินและถ่านให้กฟผ.ถือเป็นทักษะพื้นฐานในการพัฒนาไปประเทศอื่นๆ เข้าไปอินโดนีเซียนีเซียปี 1998 ปี 2001 ซื้อกิจการในอินโดนีเซีย การเข้าอินโดนีเซียทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมาก

    ธุรกิจที่ดีๆมักมีผู้เข้ามาแข่ง New Entrants เข้ามา External factor เข้ามาตลอดเวลา ต้องเน้น synergy และ rationalize costการไปลงทุนต่างประเทศ ในอนาคตจะถูกบังคับให้นำ partner ท้องถิ่นมาร่วมมากขึ้น

    การพัฒนาของบ้านปูมี 5 ขั้น

    • 1.เริ่มต้น เริ่มจากเหมืองลิกไนต์เล็กๆ แรกสุดที่ลำพูน
    • 2.เจริญเติบโต ก็เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ทำให้องค์กรโปร่งใสมากขึ้น
    • 3.Crisis ช่วงต้มยำกุ้มีการกู้เงินไปลงทุน โรงไฟฟ้าโคโค่ กู้เป็นดอลล่าร์ทำให้มีหนี้เพิ่มขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยน ต้องขายโรงไฟฟ้าโคโค่ส่วนหนึ่งเพื่อเอาเงินมาใช้หนี้ ตอนนี้ขายหมดแล้ว และมาเริ่มคิดว่า เวลากระจายธุรกิจออกไป มาก ผู้บริหารจะมีเวลาน้อยลงที่จะสนใจธุรกิจกำไรมาก การทำธุรกิจให้ดี ต้องเป็นธุรกิจที่คุ้นเคย
    • 4.Becoming a Regional and Local Coal-based Energy Player
    • 5.Consolidation and preparation of New Era of Growth

    CSR คือการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในการทำธุรกิจต้องมองสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย ต้องสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศที่ไปลงทุนด้วย ต้องให้ความสนใจ public concern คนมีมาตรฐานความเป็นอยู่เปลี่ยนไป มีความคาดหวังมากขึ้น ต้องดูแลชุมชนเมื่อเราทำเหมือง ต้องมีกิจกรรมลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันการเงินเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น มีการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม ถ้าต่ำกว่ามาตรฐานธนาคารไม่ออกเงินกู้ให้

    Banpu Sustainable Development Framework

    • 1.License to operate ให้ความสำคัญความปลอดภัย สุขภาพและสิ่งแวดล้อม พัฒนาชุมชน
    • 2.Localization มีความโปร่งใสและจริยธรรมธุรกิจ
    • 3.Competitiveness

    Operation Excellence ต้องมี Best Practice มี Value Stream Management ฝ่ายสนับสนุนต้องเข้าใจ workflow ให้ดี ส่งเสริม Cross-functional work มากขึ้น ต้องสร้าง output เยอะ input น้อย cost ต่ำ

    Key driver ของCompetitiveness

    • 1.เทคโนโลยี
    • 2.Integrated Mine Planning
    • 3.Project Management
    • 4.Asset Management
    • 5.Optimization
    • 6.Reporting and Dashboard System ใช้ Enterprise Reporting System
    • 7.Synergy Focus

    ในด้านการบริหารคน เริ่มจากปรัชญาบ้านปูประกอบด้วย

    • 1.Behavior
    • 2.สร้างวัฒนธรรม
    • 3.Brand Image นำผลสุดท้ายมาเป็นตัวตั้งออกมาเป็นBanpu Spirit ประกอบด้วย Innovation / Integrity /สร้าง Care “Asian Face of Energy / Synergy

    ผู้นำต้องสามารถขับเคลื่อนกระบวนการเหล่านี้ให้เข้มแข็ง

    • 1.Recruitment
    • 2.Right Pay จ่ายให้ competitive กับตลาด
    • 3.Performance Management & Reward
    • 4.Career Management
    • 5.Leadership capability & development
    • 6.Organization development สร้างบรรยากาศ cross functional team, effective community, Change management และ Banpu Spirit Enhancement

    ด้านสิ่งแวดล้อม

    • 1.อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต ปรับเปลี่ยนแหล่งเชื้อเพลิง ลดการใช้ทรัพยากร ปลูกป่าหลังการทำเหมือง โดยเลือกพรรณไม้ที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี
    • 2.จัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น Green Mining Practice in ITM อนุรักษ์พรรณไม้หายาก

    ด้านการสร้างความเข้มแข็งในชุมชน โดยการนำรัฐบาล ชุมชน บริษัทมาสร้างเป็นกรรมการ CCC (Community Consultative Committee)

    Banpu CSR ได้แก่

    • 1.Power Green Project
    • 2.Banpu Champions for Changes (Social Enterprise)
    • 3.Embedded employees awareness on CSR
    • 4.Banpu education for sustainability 

    การบ้านคุณพิสณห์ จันทร์ศรี

    หัวข้อ White Ocean Strategy กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ.

    คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

    วันที่ 20 มีนาคม 2557

    หลักการสำคัญของ White Ocean พูดเรื่องยุคของการเปลี่ยนแปลง

    มนุษย์บริหารจัดการไม่ได้ แต่สามารถชี้นำได้ เนื่องจากมนุษย์ไม่ใช่สิ่งของ “You can’t manage people, You can only lead people”

    สมองมนุษย์มี 2 ซีก ซีกซ้าย ทำหน้าที่ คิดคำนวณ วิเคราะห์ เหตุผล ตัดสินใจ ซีกขวา ทำหน้าที่ จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ “Knowledge is power but love is a miracle” ความรักคือปฏิหารย์ เป็นยุคที่เราใช้ความรัก(สมองซีกขวา) เรียกว่าความรัก ความศรัทธาทุกอย่างเป็นไปได้ อย่าปล่อยให้ความไม่ดีของคนอื่นทำลายศรัทธาและความดีของตัวเราเอง

    White Ocean Keyword คือทุกคนเป็นผู้ชนะร่วมกันได้ Everyone is the winner เป็นการจับมือร่วมกันได้ เช่น Facebook สร้างความสมดุลระหว่างคุณค่าและต้นทุน สร้างผลประโยชน์ยั่งยืนขององค์กร

    ผลลัพธ์ที่ชัดเจนของ White Ocean คือ

    • 1.กำไร บริษัทที่มีธรรมาภิบาล กำไรสูงกว่าทุกปี
    • 2.ความสุข องค์กรสีขาว เป็นองค์กร ที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสังคม
    • 3.ยั่งยืน ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตการณ์อะไรขึ้นมา

    องค์กร High Trust มี Skill ของการทำงานที่รวดเร็ว ต้นทุนต่ำ ในทางตรงข้ามกัน ถ้าเป็นองค์กรที่ไม่ไว้วางใจ การทำงานจะช้าต้นทุนสูง บางกรณีต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะ

    หลักการ White Ocean 7 ข้อ

    • 1.Where are we?
    • 2.Where do we want to go?
    • 3.หาจุดสมดุลของ 4 P’s (People / Planet / Profit / Passion)
    • 4.แบ่งปัน The world of Abundance
    • 5.Everyone is the winner
    • 6.ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ต้องเริ่มจากตนเอง
    • 7.Bench Marking เป็นผู้สร้างบรรทัดฐานใหม่ขึ้นทำในสิ่งที่ถูกต้องที่คนอื่นไม่ทำ

    สิ่งที่ประทับใจ คือคำพูดของคุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย .“ใจผมเป็นสุข…ทุกครั้งที่มันเต้นเพื่อคนอื่น” และสิ่งที่ฝากไว้คือ อยากให้คนไทยมีน้ำใจ มีจิตอาสา

    การบ้านคุณพิสณห์ จันทร์ศรี

    หัวข้อนวัตกรรมของบริษัท ซีพีออล

    ดร.ศุภกิจ เศวตกิติธรรม

    วันที่ 20 มีนาคม 2557

    7-11 เกิดที่สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าของLicense ในไทยเปิดสาขาแรกที่ถนนพัฒน์พงษ์

    KEY ก็คือ ความสะดวกในการซื้อ ผ่านรูปแบบสินค้าและบริการ โดยปัจจุบันมีจำนวน 7,634 สาขา 50% อยู่ใน กทม. มีจำนวนลูกค้า 8ล้านคนต่อวัน

    ตัวอย่าง Innovation ของร้านสะดวกซื้อ เช่น

    • 1.เครื่องสแกนสินค้าแบบอุโมงค์ สแกนราคาสินค้าโดยเข็นรถเข็นสินค่าผ่านอุโมงค์ไม่ต้องหยิบทีละชิ้น
    • 2.ระบบ Order Online โทรสั่งขับรถไปรับ
    • 3.Mobile Application แสดงแผนที่บอกที่ตั้งร้าน
    • 4.Club Card แทนเงินสด
    • 5.ในประเทศเกาหลี ทำป้ายแสดงภาพสินค้าและQR Code Display ในSubway ใช้ Smart Phone Scan สิ้นค้า แล้วสั่งซื้อOnline ส่งถึงบ้าน เป็นOnline Sell เป็น Visual Store
    • 6.Gain Vending Machine ใช้ Robot Machine 7.ขายบนรถแท๊กซี่
    • 7.Drive True
    • 8.Microsoft Future Vision on Retailing Order

    ความหมายของคำว่า นวัตกรรม คือสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม แบ่งเป็น

    • 1.Process Innovation
    • 2.Product Innovation
    • 3.Service Innovation
    • 4.Business Model Innovation

    ทั้งนี้ Innovation มี 2 แบบคือ Closed Innovation คือ Copy มาพัฒนา กับ Opened Innovation มี Concept และ Focus on Combine 

    การบ้านคุณพิสณห์ จันทร์ศรี

    หัวข้อ เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC. และผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

    ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

    ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

    อ.มนูญ ศิริวรรณ

    วันที่ 21 มีนาคม 2557

    - โลกส่งสัญญาณเริ่มฟื้นตัว อันประกอบด้วย เศรษฐกิจของอเมริกา, สหภาพยุโรป, ญี่ปุ่น ส่วนประเทศจีนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานานแม้ อัตราการขยายตัวจะเริ่มลดลง แต่จุดแข็งของจีนคือ รู้ตัวและมีเงินสำรองสูง

    - เอเชีย , เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงข่ายเส้นทางที่มีการเชื่อมโยงทำให้มีการเปลื่ยนแปลงทางเศรฐกิจ

    • 1.ราคาที่ดินสูงขึ้น
    • 2.ระบบขนส่งเปลี่ยนไป
    • 3.บริษัทเอกชนไทยเริ่มออกไปลงทุนในภูมิภาค

    - สถานการณ์พลังงานโลก

    • 1.ปัจจัยด้านเศรษฐกิจแม้ปรับตัวแต่ไม่ส่งผลความต้องการน้ำมันเพิ่มขึ้น
    • 2.กลุ่มนอกโอเปคผลิตน้ำมันดิบเพิ่มมากขึ้น
    • 3.สหรัฐอเมริกากลายเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่
    • 4.การดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินจะลดความเข้มข้นลง

    - ทิศทางพลังงานไทย

    • 1.ราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลง
    • 2.ราคาก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มสูงขึ้น
    • 3.ค่าไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
    • 4.ถ่านหินราคาลดลงเพราะมีการใช้ก๊าซและพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น

    หัวข้อ MIND MAPPING สำหรับผู้บริหารและการวางแผนงานวิจัยและโครงการเชิงนวัตกรรม

    อ.ดำเกิง ไรวา

    วันที่ 21 มีนาคม 2557

    - MIND MAP ถือเป็นเทคนิคการบันทึกที่ต้องเชื่อมโยง คิดกว้าง คิดลึกและเกี่ยวเนื่อง

    - สิ่งที่ได้จากการทำ MIND MAP

    • 1.มองเห็นภาพเชื่อมโยงได้ทั้งหมด
    • 2.ใช้เวลาน้อยในการเรียนรู้
    • 3.ช่วยการสื่อสาร / เรียนรู้ได้ตรงกัน
    • 4.ลดขั้นตอนและเพิ่มประสิทธิภาพเนื้อหา
    • 5.ขยายผลไปสู่การวางแผน / บริหารความเสี่ยง

    การบ้านจากกลุ่ม 1

    การอ่านหนังสือ The Renaissance Society ของ Rolf Jensen

    สรุปประเด็นหลักและประโยชน์

    บทที่ 1 โลกวัตถุนิยม

    เป็นการเสนอภาพความมั่งคั่งของประชากรโลก โดยดูจาก GDP ซึ่งเป็นตัววัดบอกกำลังซื้อและบ่งชี้เศรษฐกิจ มีการแบ่งกลุ่มเป็นประเทศมีความร่ำรวย ปานกลาง และยากจน ตามค่า GDP

    มีการมองภาพไปข้างหน้าในปี 2040 เราจะมีฐานะเป็นอย่างไรในอนาคต โดยพิจารณาประเด็นเรื่องโลกที่สะอาด ใช้พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ รวมเข้ากับเรื่อง GDP เศรษฐกิจโลกจะปรับเปลี่ยนรูปแบบอย่างมาก ช่องว่างทางเศรษฐกิจ ระหว่างตะวันออกและตะวันตกจะหายไป จะมีความร่ำรวยเกือบเท่ากัน ไม่มีความจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายการผลิตสินค้าจากยุโรปมาจีนอีกแล้ว เนื่องจากค่าจ้างแรงงานอยู่ในระดับเดียวกัน

    จะมีการเติบโตเกิดขึ้นในเมือง เครื่องจักรเข้ามาทำงานแทนคนในฟาร์ม งานใหม่เกิดขึ้นในเมือง คนจึงเข้าเมืองเพื่อทำงานหาเงิน ดังนั้นในเมือง GDP ต่อคนจะสูงกว่าชนบท คนจะเคลื่อนย้ายไปยังที่ที่มีเงิน และการศึกษาสูง ๆ มีอยู่ในเมือง รูปแบบการใช้ชีวิตใหม่ ตื่นตัวและเร่งเร้า เหมาะสำหรับการเปลี่ยนแปลง และมีความคิดสร้างสรรค์ เมืองมีสภาพแวดล้อมที่ไม่อยู่นิ่ง เมืองจะเต็มไปด้วยปัญหาการจราจรแออัด อาคารสูง แท้จริงแล้วธุรกิจใหญ่ ๆ ตั้งอยู่ตามชานเมือง เมืองไม่ได้เป็นชนชั้นสร้างสรรค์ เราทุกคนสามารถเป็นนักสร้างสรรค์ได้

    ความคิดใหม่เหมือนการตกแต่งด้วยเศษผ้า มันไม่ได้ดูเหมือนมากในช่วงเริ่มต้น ชนชั้นกลางในประเทศที่มีเศรษฐกิจเกิดใหม่เป็นหนึ่งในพวกวัตถุนิยม จะไปจับจ่าย จะครองเศรษฐกิจโลกและการเมือง คนชั้นกลางย้ายไปอยู่ชานเมือง ต้องการบ้านสำหรับครอบครัว

    เส้นทางการสื่อสารในประเทศที่ทันสมัยถูกคุกคาม หลายประเทศเข้าไปควบคุมการสื่อสารของพลเมืองและบริษัทบนอินเตอร์เน็ต

    บทที่ 2 บทนี้พูดถึงสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ เป็นเรื่องของอารมณ์

    มนุษย์แบ่งเป็น 2 ประเภท

    • 1.อวดความมั่งคั่งและความสำเร็จ ประเภทวัตถุนิยม
    • 2.อวดคุณค่า ประเภทจิตนิยม

    สินค้าที่มีขายในตลาดมี 2 อย่าง คือ

    • 1.ตลาดเชิงวัตถุ
    • 2.ตลาดเชิงอารมณ์ ความรู้สึก

    จะต้องให้ความตระหนักว่าอารมณ์ ความรู้สึกลูกค้าเป็นอย่างไร เพื่อป้องกันความล้มเหลว

    วิธีวัดความสุขได้ง่าย คือ การถาม มีระดับความเป็นอยู่ 3 อย่าง คือ สุขสบาย , ดิ้นรน , ยากลำบาก

    ในแง่ธุรกิจ “ ทำอย่างไรสินค้าของเราจึงจะเพิ่มความสุขให้ลูกค้า ”

    ประเด็นสำคัญที่สุด สินค้าของคุณมีความเย้ายวนอารมณ์ให้ลูกค้าซื้อได้มากแค่ไหน

    ยุคนี้เป็นยุคของการไขว่คว้า ไล่ล่าความสุข

    บทที่ 3 ความสัมพันธ์ในการผลิตและบริโภค

    ในอดีตมนุษย์จะบริโภคสิ่งที่ตัวเองผลิตขึ้นมา มีอัตราการบริโภคประมาณร้อยละ 50% ไปกับอาหารและเครื่องดื่ม ปัจจุบันลดเหลือประมาณ 15% เราดำเนินชีวิตในสังคมที่บริโภคตามใจตัวเอง ตอบสนองกับอารมณ์ ไม่ใช่ความหิว ในอดีตมนุษย์จะตอบเพียงแค่ชื่อเมื่อถูกถาม ปัจจุบันเราจะตอบว่าทำอะไรอยู่เพื่อดำรงชีวิต และในอนาคตจะตอบไลฟ์สไตล์ของตัวเอง การซื้อสินค้าใช้เหตุผล 50% จากความเหมาะสม และอีก 50% มาจากการแสดงตัวตนของผู้ใช้

    เมื่อใดก็ตามที่คนได้ก้าวถึงความต้องการลำดับสุดท้ายของมาร์ชสโลว์ จะเกิดแรงขับเคลื่อนที่จะทำในสิ่งที่ตนเองรัก โดยไม่นึกถึงผลกำไร

    คนได้เปลี่ยนการจับจ่ายสินค้าซื้อขายทางอินเตอร์เน็ต ทำให้ร้านค้าต่างทยอยปิดตัวลง สำหรับร้านค้าที่มีจะกลายเป็นสถานบันเทิงไปในร้าน เช่น ร้านหนังสือที่มีคาเฟ่

    การพัฒนาอุตสาหกรรมเริ่มต้นจากอังกฤษและสก๊อตแลนด์ โรงงานได้ถูกสร้างขึ้นที่นั่น ถัดมามีการพัฒนาการผลิตแบบประกอบขึ้นที่สหรัฐ การพัฒนาขั้นที่ 3 เกิดจาก 4 สาเหตุ คือ

    1.อินเตอร์เน็ต ทำให้ผู้ผลิตขนาดเล็กสามารถร่วมงานกันได้ด้วยตัวเอง

    2.โปรแกรมออกแบบ 3D ทำให้ออกแบบสินค้า แล้วเอาไปสอบถามหาค่าใช้จ่ายจากผู้รับจ้างผลิต

    ได้

    3.เครื่องพิมพ์ 3D ในอีกไม่กี่ปี ทุกบ้านสามารถมีไว้ 1 เครื่อง สามารถออกแบบสิ่งที่ต้องการได้

    4.นาโนเทคโนโลยี มันเป็นเทคโนโลยีใหม่เกี่ยวกับวัสดุในระดับโมเลกุล

    คนที่ต้องการบางสิ่งที่แสดงลักษณะตัวเอง และสามารถผลิตได้ด้วยอุปกรณ์ข้างต้น มันเป็น

    ตัวกระตุ้น ให้เราอยากซื้อเครื่องพิมพ์ 3D

    การบริหารจัดการแฟนคลับหรือศาสตร์การสร้างและบริหารกลุ่มของแฟนคลับของบริษัทหรือสินค้า มันเป็นสิ่งที่จำเป็น ยากที่จะใช้โฆษณาชวนเชื่อ ทางเดียว คือ สร้างความสัมพันธ์ตัวต่อตัว เช่น บริษัทแอปเปิ้ล

    บทที่ 4 เราจะเรียนรู้อย่างไร

    ในบทนี้เรียนรู้ ข้อจำกัดของความรู้ การตระหนักว่า บางครั้ง คนเราก็ได้เรียนรู้อะไรมากขึ้นเมื่อเราทำผิดพลาด

    เราควรแสวงหาหลักการ วิธีการ ตัวอย่างใหม่ ๆ ที่สามารถรับมือกับสิ่งที่ไม่รู้ สิ่งที่ไม่แน่นอน อย่ามองว่าอนาคต คือ สิ่งที่เกิดต่อเนื่องจากปัจจุบัน

    ในสายเทคโนโลยีและการสื่อสาร เรียกข้อผิดพลาดว่า “bugs” แต่เมื่อกำจัดแมลงออกจากระบบนิเวศน์ คุณจะสังเกตได้ว่า คุณได้สูญเสีย ดอกไม้ ต้นไม้ นก และสัตว์อื่น ๆ ที่ใหญ่กว่าไปด้วย

    Kathryn Schulz บอกว่า เราควรอยู่กับข้อผิดพลาด ปรับทัศนคติที่เป็นบวกกับค่า ERROR เหล่านี้ อย่ามองว่า ความผิดพลาดเป็นเรื่องน่าอาย แต่การทำผิด มีบางอย่างที่ถูกสร้างขึ้น

    ผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตหลายคน เริ่มต้นจากความผิดพลาด

    มนุษย์มีความเชื่อว่าความรู้มาจาก 3 แหล่ง

    1.ผู้มีอำนาจ

    2.ประสบการณ์

    3.การเปิดเผยความจริงทางศาสนา

    แต่ผู้เขียนมองว่าโลกปัจจุบัน ถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับ การรับรู้ของคน

    มนุษย์ประมวลผลข้อมูลและตัดสินใจ โดยอ้างอิงจากประสบการณ์ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จ

    หรือล้มเหลว ความทรงจำเป็นสิ่งสำคัญ ทุกประสบการณ์จะทิ้งร่องรอยแห่งความทรงจำไว้

    โรงเรียนเป็นสถาบันสำคัญของสังคม โรงเรียนควรให้พื้นที่กับเด็กในการเป็นตัวของตัวเอง ที่แตกต่างจากคนอื่น เรียนในสิ่งที่อยากเรียนแตกต่างจากคนอื่น นักเรียนควรเข้าใจวิธีการและจัดการการเรียนรู้ของตัวเอง และเข้าถึงข้อมูล มีทักษะการวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ข้อมูลได้

    การเลือกใช้ชุมชน แหล่งความรู้แบบเปิด (Open-Source) ที่มีกลุ่มคนมาช่วยกันให้ความเห็นที่หลากหลาย แต่ก็ต้องระวังสิ่งที่เป็นเท็จจะกลายเป็นจริง หรือเรื่องจริงจะทำให้กลายเป็นเท็จได้

    ทุกวันนี้ชีวิตเราเข้าสู่การมี e-bag แล้ว มือถือทำหน้าที่หลายอย่าง เราสามารถติดต่อใคร เวลาไหน ที่ไหนก็ได้ คุณมีเพื่อนมาก แต่ปฏิสัมพันธ์น้อยลง

    การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ 2 ทาง

    1.เมื่อเราเปลี่ยนแปลงระบบความคิด ( Mindset)

    2.เมื่อเราพบและปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เป็นการเปิดโลกทัศน์

    ผลการตอบรับทางอารมณ์ที่เราได้รับจากบุคคลอื่น ไม่ว่าจะบวกหรือลบ ก็มีส่วนสำคัญเข้ามามี

    อิทธิพลกับชีวิตของเรา

    มีวิธีการพัฒนาให้สามารถเก็บข้อมูลประมวลผลให้เร็วขึ้น มีการเสนอ 2 วิธี

    1.ใช้ยา (Drug) ยังมีการถกเถียงกันอยู่ กินยาก็เหมือนกับการออกกำลังกาย กินอาหารตาม

    โภชนาการและนอนหลับเพื่อสุขภาพ

    2.การหาวิธีการใหม่หรือที่ดีกว่า ในการประมวลข้อมูล อาจเป็นทักษะการเป็นผู้นำการสื่อสาร

    การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การจัดการเวลา และการจัดการกับความเครียด

    ผู้เขียนมองสมองเป็นอินเตอร์เน็ต เป็นเครือข่าย ระบบประสาทที่เชื่อมโยงกัน การทำงานของสมองจะขึ้นอยู่กับว่าส่วนต่าง ๆ มีการเชื่อมโยงกันดีแค่ไหน

    บทที่ 5 ความคิดเกี่ยวกับระบบ

    บทนี้จะทำให้มองเห็นภาพใหญ่ ให้มองโลกคล้ายกับระบบของหลายระบบ ที่ทุกระบบกระทบต่อกันและกัน ประเมินผลการกระทำของมนุษย์ว่ามีผลกระทบกับโลกอย่างไร พบเรื่องสังคมที่ใหญ่ ระบบเศรษฐกิจใหม่ และค้นพบตลาดใหม่

    ระบบของระบบองค์สากล หน่วยงานยุทธศาสตร์ทางทหาร องค์กรข้ามชาติต่างคุ้นเคยกับคำเหล่านี้ คำเหล่านี้เข้ามาสู่แนวคิดหลัก จากเหตุผล 2 ประการ

    1.วิกฤตการเงิน ทำให้เราตระหนักถึงความเชื่อมโยงของโลกใบนี้และเกิดภาพที่ชัดเจน สำหรับ

    ถึงความไม่พร้อมของเราที่จะจัดการกับความเสี่ยงในเรื่องนี้

    2.การใช้ Internet และเชื่อมต่อข้อมูลกว่าล้านข้อมูล ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ที่มีทั้งระบบ

    ตรวจสอบ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ทรงพลังและรวดเร็ว ประมวลผลที่มีความซับซ้อน

    มีการเรียกระบบเหล่านี้ว่า ระบบที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน แต่ละระบบ มีความเป็นเอกเทศ เรามีการเปลี่ยนวิธีคิดที่สนับสนุนโดยการเปลี่ยนในคุณค่า ทัศนคติ และการมองภาพรวม

    สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวทุกวันนี้ บางสิ่งอยู่ใกล้ตัวกลับรู้สึกแปลก ไม่รู้จัก และสิ่งที่อยู่ห่างไกล กลับรู้สึกเหมือนใกล้ชิดเป็นเพื่อนบ้าน โลกใบนี้ ถูกกำหนดใหม่ด้วยข้อมูลข่าวสาร

    นวัตกรรมเป็นสิ่งที่มีราคา ใช้เวลาและยากที่จะสำเร็จได้โดยง่าย ต้องมีวิธีการเพื่อบรรลุผล โดยไม่กระทบกับลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โดยนวัตกรรมมีทั้งเวลาและสถานที่

    บริการแบบฟรีเข้าสู่ชีวิตเราทีละเล็กละน้อย เช่น ที่พักโรงแรม ร้านอาหาร เราเลือกสถานที่ที่มี WIFI ฟรี และใช้โทรศัพท์ผ่านโปรแกรม LINE ฟรี มีนวนิยายตรรกะ 4 แบบที่เป็นที่รู้จัก

    1.Direct Cross – Subsidies เป็นรูปแบบส่งเสริมการขาย ชิ้นแรกฟรี จ่ายชิ้นที่ 2

    2.Three – party Market ผู้ผลิตให้บริการฟรี ผู้โฆษณาจ่ายเงินให้ผู้ผลิต

    3.Freemium พื้นฐานของการให้บริการ คือ ฟรี แต่มีเพิ่มในกรณีที่จะทำอะไรมากกว่านั้น เช่น

    มีเพลงฟรี 100 เพลง , แต่รับสมาชิกฟังเพลงบนสมาร์ทโฟนจ่ายเพิ่ม

    4.Nonmonetary Market เป็นการแบ่งปันและมีส่วนในการให้ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น ใน

    Wikipedia

    เกิดเหตุการณ์ เกิดเหตุช๊อค ในดรรชนีตลาดหุ้นดาวน์โจน เมื่อพฤษภาคม ทำให้มีการพัฒนาชุดโปรแกรมคำสั่ง โดยนักคณิตศาสตร์ที่สามารถตรวจจับ Spot Trends ซึ่งพบโอกาสดีในเสี้ยววินาที การค้าแบบนี้ เรียกว่า การค้าแบบ Black – box เป็นการค้าแบบชุดคำสั่ง จะตัดสินใจทันเวลา ราคา และจำนวนหุ้นที่สั่งซื้อขาย บริษัทจะได้ประโยชน์จากเวลาที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย มันกระทบระบบเศรษฐกิจของเราและหุ่นยนต์ (I,Robot) ใกล้เข้ามาแล้ว

    บทที่ 6 วิกฤตความเป็นผู้นำ

    วิกฤตความภักดี จริงใจ มาจากเดิม CEO จะได้รับความภักดีจากลูกน้องและพนักงานในบริษัท เมื่อลูกจ้างในบริษัทมีการศึกษาและความรู้มากขึ้น ความภักดีของลูกจ้างต่อ CEO ก็น้อยลง CEO และบอร์ดต้องฟังพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มากขึ้น ความจริงใจก็กระจายออกไป

    องค์กรมีการกระจายอำนาจอยู่ 2 แบบ คือ ให้ผู้บริหารระดับสูง และการกระจายอำนาจที่เป็นองค์กรที่ Flat ช่วยกระตุ้นให้เกิดพลังงาน และ Innovation มีหลายหัวช่วยกันคิด ในสภาพแวดล้อมธุรกิจที่เปลี่ยนไป ให้พนักงานได้ร่วมตัดสินใจ เพราะเขาทำงานจริง รู้จริง และทำให้พนักงานรู้สึกมีแรงจูงใจ แผนผังโครงสร้างองค์กรใหม่ ให้ลูกค้าอยู่ด้านบนสุด ตามด้วยคนติดต่อกับลูกค้า ซึ่งมีข้อมูลมากที่สุดและ CEO อยู่ล่างสุด

    การสร้างมูลค่าให้กับตัวพนักงาน บริษัท มีเครื่องมือที่สร้างความกระตือรือร้นของพนักงาน เช่น มอบหมายงานที่ท้าทาย หรือ ให้ค่าตอบแทนที่สูง หากมากไป จะทำให้พนักงานไม่เห็นคุณค่า และหวังให้มีการขึ้นเงินอีก และองค์กรต้องมีอะไรที่วัดและควบคุมได้ว่า พนักงานคนใด ใครทำงานได้ดีกว่า ไม่ใช่วัดแค่ชั่วโมงที่นั่งทำงาน จะทำให้พนักงานไม่มีแรงบันดาลใจ

    CEO ควรใช้ศาสตร์และศิลป์ในการทำงาน ดังนั้นจะต้องมีความสามารถในการเล่าเรื่อง พูดชักจูง ให้กำลังใจ มีหลักดังนี้

    1.เชื่อในสิ่งที่พูด

    2.ต้องมีความท้าทาย และปัญหาให้ข้ามผ่าน

    3.เล่าเรื่องที่เป็นรูปธรรม ให้ความจริงใจ

    บริษัทเหมือนโรงละคร ผู้ชม คือ คนเขียนบท พนักงานคือ นักแสดง

    การลงทุนในต่างประเทศ มีความจำเป็นในการขยายตลาด มีหลายบริษัทที่ประสบความสำเร็จ เช่น

    รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ แต่การเข้าถึงวัฒนธรรมยังคงเป็นปัญหาใหญ่ วัฒนธรรมองค์กรในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน กระแสการนิยมสินค้าของประเทศตัวเอง ลูกค้ามีความต้องการหลากหลาย

    บริษัทเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้นโครงการ CSR ของบริษัทต้องชัด อยากจะให้สื่อนำเสนออะไรเกี่ยวกับบริษัท บอกไปเลย พนักงานชอบนโยบายที่โปร่งใส เพราะพนักงานเป็นคนหนึ่งในสังคม และถ้าบริษัทเป็นส่วนหนึ่งของสังคมก็ต้องดูแลพนักงานด้วย

    ผู้นำในอุดมคติต้องมีความเป็นคน แสดงความมีน้ำใจ เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ตัดสินใจได้ มีวิสัยทัศน์ ดูกระแสเงินสดได้ พาองค์กรให้ปรับตัวไปกับอนาคต สื่อสารกับพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า ทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้อง ต้องมีชีวิตครอบครัวที่ดี มีเวลาที่ไปทำอะไรที่อยากทำ

    สรุปประเด็นเพื่อรองรับ กฟผ. 3 หัวข้อ ดังนี้

    1.The Extended Now

    เนื่องจากโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงจำเป็นต้องศึกษาอนาคต โดยมองจากปัจจุบัน สำหรับ กฟผ. มองว่าขณะนี้มีสัดส่วนตลาดกำลังผลิตประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ในอนาคต การคาดการณ์GDP ที่บอกกำลังซื้อ การบริโภคเติบโตขึ้น ปีละ 3-5 เปอร์เซ็นต์ กฟผ.จึงวางแผนสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ โดยระยะแรก จะสร้างที่บริเวณโรงไฟฟ้าเดิม อย่างไรก็ตามกฟผ.ต้องปรับแผนการดำเนินการให้สอดคล้องกับแผน PDP ฉบับใหม่ ที่มุ่งเน้นการใช้พลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก เพิ่มเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ ในระยะ 10 ปี โดยกฟผ.จะปรับเปลี่ยนนโยบายด้านพลังงานทดแทน จากบทบาท ผู้ผลิต มาเป็นผู้คิดค้น และสร้างต้นแบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทน

    2.The Flat Society

    สังคมแบนราบ แนวโน้มระยะยาว คนจะไม่เชื่อในระบบการสั่งการหรือการรวมอำนาจ กรณีอุตสาหกรรมไฟฟ้า ในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ซึ่งเป็นกลุ่มพลังงานหมุนเวียน เนื่องจาก ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีเชื้อเพลิงที่เป็นชีวมวลกระจายอยู่ทั่วประเทศ เป็นวัสดุเหลือใช้ในชุมชน และมีราคาถูก ความเป็นไปได้ที่ของการพัฒนาผลิตพลังงานใช้ในชุมชน และบางส่วนเหลือขายเข้าระบบของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทิศทางของ กฟภ. และ กฟผ. ในบทบาทของผู้ให้บริการด้านระบบส่ง ระบบจำหน่ายแก่แหล่งพลังงานชุมชนที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ เป็นบทบาทที่ต้องพัฒนาต่อไป ด้วยโมเดลพลังงานชุมชนขนาดเล็กเหล่านี้ สามารถทดแทนโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในรูปแบบเดิมๆได้ ความจำเป็นแหล่งผลิตขนาดใหญ่ลดลง ขณะเดียวกัน สาบส่งและระบบไฟฟ้าก็จะลดความแออัด ลดความจำเป็นในการขยายระบบส่งได้

    3.Measure Happiness not GDP

    เป็นโลกที่ไม่ใช่วัตถุ (Nonmaterial World) แต่เป็นจิตนิยม หาให้ได้ว่า อะไรเป็นคุณค่าในสินค้าของกิจการ ทำอย่างไร สินค้าของเราจึงจะเพิ่มความสุขให้ลูกค้า กรณี กฟผ.มุ่งการผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย ให้มีไฟฟ้าใช้ให้เพียงพอ และมีความมั่นคง โดยหาแหล่งพลังงานที่ใช้ในการผลิตให้มีต้นทุนต่ำ ส่งเสริมและสร้างคุณค่าให้กับสังคม โดยมุ่งเป็นองค์กร Green สร้างนวัตกรรมเชิงสังคมให้เกิดขึ้น และส่งเสริมมการประหยัดพลังงาน

    ประเด็นเพิ่มเติมที่ หนังสือ Renaissance ไม่ได้กล่าวไว้ คือ Networking capital หรือทุนทางเครือข่าย กับชุมชน ผู้มีส่วนได้เสียในระยะยาว ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันและจะยิ่งมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ไม่ได้กล่าวถึงเรื่อง Social Innovation นวัตกรรมเพื่อสังคม ก็เป็นสิ่งที่จะสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาจากสังคมและชุมชนได้

    ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานไม่ประสบความสำเร็จ ในกฟผ.

    ด้าน CSR

    -ไม่มีหน่วยงาน CSR โดยเฉพาะ เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชน

    -การดำเนินงานด้าน CSR ไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากมีการโยกย้ายผู้ปฏิบัติงานทั้งในระดับผู้บังคับบัญชาที่กำหนดนโยบาย

    และผู้ลงพื้นที่ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการทำCSR ในพื้นที่นั้นๆ

    -บางครั้ง มีแนวความคิด CSR ที่ดี แต่ติดด้านระบบ แบบไซโล

    - ชาวบ้านมองเป็นละชนชั้น มีช่องว่างกับชาวบ้าน

    ด้าน Value Creation & Value Diversity

    - กฟผ. ทำในเชิง Value added ได้ โดยดำเนินการตามภาระหน้าที่ ในด้านการผลิตไฟฟ้า ระบบส่ง การมีส่วนร่วมในชุมชนและสังคม แต่ยังขาด Value Creation ในอดีตที่ผ่านมา กฟผ. ทำงานได้ดี แต่ในอนาคตต้องมีการขยายกำลังการผลิตเพื่อให้มีผลประกอบการที่ดี โดยพนักงานต้องมีความสุขด้วย

    - กฟผ. ยังไม่สามารถสร้างบรรยากาศของความคิดสร้างสรรค์ เพื่อก่อให้เกิดความคิดนอกกรอบหรือ คร่อมกรอบ กฟผ ยัง ไม่Openness เปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียได้หมด เนื่องจากเป็นองค์กรของรัฐที่ถูกควบคุมให้ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐเสียมากกว่า อย่างไรก็ตาม กฟผ.ควรทำ Value creation ด้านกระบวนการ เช่น CSR เพื่อสังคมและประเทศชาติ ให้ไปสู่องค์กรที่Green ตามเจตนารมณ์ของคณะกรรมการ กฟผ.

    -กฟผ. เป็นองค์กรใหญ่ที่อุ้ยอ้าย อยู่ภายใต้กฎระเบียบของรัฐ ทำให้ไม่คล่องตัวในการบริหารงาน มีลักษณะไซโล จึงไม่สามารถก่อให้เกิด Value Diversity ในส่วนของผลิตภัณฑ์หลักได้ อย่างไรก็ตาม

    กฟผ.อาจส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เขื่อนและบริเวณโรงไฟฟ้าต่างๆ ให้เกิดเป็นรูปธรรมเชิงธุรกิจ สำหรับพลังงานทดแทน เนื่องจากมีปัญหาการแหล่งก่อสร้างโรงไฟฟ้า ดังนั้น กฟผ.จึงปรับกลยุทธ์ไปสู่การพัฒนาต้นแบบโรงไฟฟ้า ขายนวัตกรรมให้ IPP SPP แทนการสร้างโรงไฟฟ้าแข่งกับเอกชน หรือ กฟผ.อาจลงทุน ในบริษัทในเครือ หรือร่วมทุนกับเอกชนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า  

    การบ้านจากคุณอัจฉรี เด่นสิริมงคล

    ขออนุญาตส่งงานรวบยอดเลยนคะ

    กรณีศึกษา Microsoft จากอดีต ถึง ปัจจุบัน กับภาวะผู้นำ ของ CEO

    1 Bill Gate

    ผู้นำยุคบุกเบิก เริ่มกอตั้งและพัฒนาอยู่สม่ำเสมอไปสู่จุดที่ตนพอใจและเป็นการท้าทายตนเอง มีควา มมานะอดทนไม่ย่อท้อเพื่อความสำเร็จขององค์กร ต้องฝ่าฟันอุปสรรคให้ได้ สิ่งที่เป็นลักษณะหลักคือเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จมองหากลยุทธ์ใหม่อยู่เสมอ

    2. Steve Ballmer

    ผู้นำยุคที่อยู่ตัว เข้าที่แล้วไม่ได้มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ เน้นความมีมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อน รับฟังความคิดเห็นจากพนักงาน เน้นการสื่อสารที่เป็นปัญหาในองค์กรมาโดยตลอด

    3. Satya Nadella

    ผู้นำยุคใหม่ทีจะสร้างนวัตกรรมทางด้านซอฟแวร์ใหม่ หลังจากทำงานกับไมโครซอฟมากว่ายี่สิบปี เป็นผู้นำที่สร้าง Trust ให้กับบริษัท เป็นคนที่มีนิสัยอ่อนน้อม เข้าได้กับทุกคน ปรัชญการทำงานคือ กระตือรือร้นและกระหายที่จะเรียนรู้

    การประยุกต์ใช้กับกฟผ.

    กฟผ.ผ่านยุคของผู้นำ มาหลายยุค เช่นเดียวกัน ตั้งแต่ยุคบุกเบิก ยุคที่ทรงตัว ยุคที่ต้องปรับตัวให้ทันเปลี่ยนแปลงไปสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง โดยผู้ว้าการคนปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงของการสร้าง Trust ให้ กฟผ. ทั้งด้านความมั่นคงของการผลิตไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า การจัดหาพลังงานทดแทน ความรับผิดชอบต่อสังคม การให้ความสำคัญของคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ โดยมองอนาคตขององค์กร กำหนดทิศทางทำธุรกิจรับงานภายนอก ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจในเครือมากขึ้นเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งขององค์กรในอีกทางหนึ่ง

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

    กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

    ธรรมชาติบำบัด ปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง

    นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ได้บรรยายลักษณะและเกณฑ์วัด ดัชนีมวลกาย ปัญหาของความอ้วน และอันตรายของความอ้วน การลดน้ำหนักด้วยวิธีธรรมชาติ กินเนื้อ กินผัก ออกกำลังกายให้มาก แล้วพูดถึงตัวช่วยในการลดไขมัน และลดน้ำหนัก การป้องกันโรค หวัด ภูมิแพ้ หอบหืด และควรมีตู้สมุนไพรประจำบ้าน ซึ่งเรื่องนี้ทราบดีอยู่แล้ว

    พญ. ลลิตา ธีระสิริ อธิบายเรื่อง วารีบำบัดแห่งน้ำ ว่ามีหลายวิธีที่นิยม มีทีมาจากต่างประเทศ และภูมิปัญยาของคนไทย ในการนำประโยชน์จากสมุนไพรมาใช้ รักษาโรคต่างๆ และส่งเสริมสุขภาพ

    ได้มีการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพ ได้แก่ Mat Exercises , Hydro aerobics , ซาวน่า , อบสมุนไพร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ประโชน์ คือสดชื่น ได้เรียนรู้ที่จะนำไปดำเนินการต่อไป

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคเช้า ที่เขื่อนศรีนครินทร์

    Networking Capital

    หัวข้อนี้เป็นการให้ความสำคัญของทุนทางด้านเครือข่าย จึงมีวิทยากรหลากหลายอาชีพที่คัดสรรมาแล้วโดยเฉพาะ

    1. ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ได้อธิบายถึงมุมมองภาพใหญ่ด้านยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการของจังหวัดกาญจนบุรี และโครงการที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน / พลังงาน /การบริหารจัดการภัยพิบัติ และภัยธรรมชาติ การเตรียมพร้อมสู่อาเซียน

    อ.จีระ อยากให้มองภาพกว้าง การเมือง เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้ง Logistic

    1. คุณสหัสนัย แนะนำกฟผ. เรื่อง CSR การมีส่วนร่วมกับชุมชน ผสานโครงการกับการท่องเที่ยว การสร้างแพทีพัก การเข้าถึงแหล่งเงินทุน SME bank ไม่ให้กู้เงินเพราะบอกว่าแพเป็นสังหาริมทรัพย์ อ.จีระ ให้ความเห็นว่า กฟผ. มีไอเดียดี แต่ติดที่ระบบ
    2. คุณประณต ให้ประเด็นที่พลังงานจังหวัดเกี่ยวข้องกับ กฟผ. และอยากให้กฟผ.ไปหาชุมชนล่วงหน้า 3 ปี เพื่อหาข้อมูลแผนชุมชนเชื่อมโยงกับการประหยัดพลังงาน

    อ. จีระฝากให้ทีมงานไปติดตามผล / ข้อเสนอแนะจากการสัมนา เสนอให้ กฟผ.ทำวิจัยต่อเนื่อง เรื่องกองทุนพัฒนาไฟฟ้า นำไปใช้ได้อย่างไร

    1. คุณยุทธการ เอ็นจีโอ ระดับพรีเมี่ยม แนะนำว่ากฟผ. ต้องเข้าใจ บทบาทของการไฟฟ้า ภาพพจน์ นอกจากนี้ ขอเสนอแนวคิดให้มี เครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตขนาดเล็ก โซลาเซล เป็นต้น

    อ.จีระ : Turn action to execution เอาชนะอุปสรรค

    1. คุณคเชนทร์ ตัวแทนภาคธุรกิจ อยู่ SCG paper แนวคิดสร้างทุนทางเครือข่าย เน้นการลงทุนระยะยาว ซึ่งต้องใช้เวลนานมาก ให้คนยอมรับ เชื่อมั่นศรัทธา ปฏิบัติกับชุมชนต้องสมดุล อุดมการณ์ คือ ต้องเชื่อมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม ทรัพยากรมีจำกัดต้องใช้อย่างคุ้มค่า นโยบาย One manager One Community “ เอาชุมชน เป็นตัวตั้ง “

    อ.จีระ : ขอให้ทำในเชิง Value added และ Value Creation ให้ได้

    การสร้างทรัพยากรมนุษย์ต้องอาศัยปรัชญาและความเชื่อ แต่ Fact ของ กฟผ.คือ

    HR Department เป็นไซโล Function งานดี Non Hrมีผลประกอบการดี แต่อนาคต ต้องมี

    ผลประกอบการและความสุข ดังนั้น HR Function ต้องเปลี่ยน Role ต้องให้ StakeHolder อื่นๆ มา

    Co-creation

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคบ่าย

    HR for non HR และการปรับใช้กับ งาน CSR ของกฟผ.

    อ.จีระได้ให้ข้อคิดว่า ทรัพยากรสำคัญที่สุดในปัจจุบันไม่ใช่เงิน สิ่งของ หรือเครื่องจักร แต่เป็นคน ที่ต้องพัฒนาไม่มีวันหยุด เป็นการพัฒนาระยะยาวทั้งชีวิต

    การมองภาพทรัพยากรมนุษย์ จาก Macro สู่ Micro ถ้าไม่มีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงเท่ากับว่าเราได้ตาย และเราต้องเปลี่ยนแปลง ก่อนจะถูกบังคับให้เปลี่ยน

    มีการเปรียบเทียบ Old HR กับ New HR สรุปว่า HR สมัยใหม่ จะต้องมีการกำหนดStrategic , Change Management และต้องทำให้เกิด Respect & Dignity และเป็น Strategic Partnership ในด้านของคุณค่าจะต้องเป็น Value added ก่อให้เกิดความกระหายที่จะเรียนรู้

    พื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    1.Human Capital ทุนมนุษย์

    2.Intellectual ทุนทางปัญญา

    3.Ethical ทุนทางจริยธรรม

    ทฤษฎีทุนใหม่ 5 k’s เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    -Creative Capital

    -Knowledge Capital

    -Innovation

    -Emotional

    -Cultural

    ทฤษฎี HRDS เพื่อสร้างทุนแห่งความสุข การทำงานร่วมกับบุคคลอื่น และการบริหารทุนมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล โดยแบ่งเป็นทุนที่มองเห็นและมองไม่เห็น ผู้นำจะต้องเริ่มให้มี Aware และExecution คือการลงทุนให้สำเร็จ CEO + HR + Non HR ที่มีบทบาทร่วมมี Visionไปด้วยกัน เจาะไซโลแต่ละสายงาน กำหนดนโยบายองค์กร ดำเนินการด้าน HR สำหรับ Non HR จะต้องดูแลทรัพยากรบุคคลากรตัวเอง โดยให้มี Diversity และ Networking

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคเช้า

    อ.จิตสุมาลย์ อมาตยกุล การนำเสนออย่างทรงพลังและประทับใจ

    มีการทำกิจกรรมหลายกิจกรรมที่เหมาะสมกับเวลา เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และให้ เทคนิค Presentation ให้รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า พร้อมเสมอและมีศิลปะในการพูด

    สิ่งที่ได้รับ คือ ความสนุกควบคู่กับความรู้ เทคนิคการนำเสนอ ต้องฝึกภาษากายให้มากๆ เน้นน้ำเสียงที่เชิญชวนสำหรับผู้ฟัง ให้เกิด Brand sense และเข้าสู่ Champion Zone ซึ่งเป็นเลิศด้านเนื้อหา และผู้นำเสนอ

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคบ่าย

    นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน ( Social Innovation กับการทำงานของ กฟผ.

    ดร. จีระเดช เป็นผู้ดำเนินรายการ

    หัวข้อนี้ฟังสนุก ได้ฟัง เรื่องราวด้าน CSR ของกฟผ. จาก ชคส. ประสบการณืจากครูบาสุทธินันท์ ทำอย่างไรให้ชุมชนเข้มแข็ง อยากรู้ ใฝ่รู้ คุณสุทธิเดชได้เล่าเรื่องราวนวัตกรรมเชิงสังคมของ กฟภ.ว่า เป็นเรื่องใหม่ เป็นเรื่องสร้างสรรค์ และต้องสร้างองค์ความรู้ตลอดจนคำวิพากษ์ของผู้เข้าอบรมในเรื่อง CSR ที่ดำเนินการแล้วของ กฟผ. จำเป็นต้องมีความต่อเนื่องและหาพันธมิตรร่วมมือกับ กฟภ.ที่ดูเหมือนจะใกล้ชิดชุมชนมากกว่า

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคเย็น

    อ. กิตติ ชยางคกุล ได้มาแนะนำ เกี่ยวกับหัวข้อโครงการวิจัยในแต่ละกลุ่ม เพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย

    - การชี้ชัดปัญหาและการจัดทำปัญหาการวิจัย โดยหัวข้อที่จะทำเป็นปัญหาที่สามารถเห็นผลได้ ภายใน 1-3 ปี และมีความเป็นไปได้ที่จะแก้ปัญหานั้น หรือเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา

    สิ่งที่ได้จากอาจารย์คือ ความเอาใจใส่ พยายามที่จะตั้งคำถามเค้นปัญหา ออกมา เพื่อให้มีการทำวิจัยในเรื่องที่เหมาะสม อาจารย์น่ารักมาก

    อ.พิชญ์ภูรี แนะนำ การเขียน Paper และ การ Presentation

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคเช้า

    กิจกรรมดูงาน ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม จ. กาญจนบุรี

    ผู้นำศูนย์ได้เล่าเรื่องการแนะแนวการสิกรรม ให้กับชุมชนเห็นประโยชน์ของการพึ่งพาตนเอง เป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนที่ต้องปฏิรูปประเทศ เพราะทุกคนเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม นอกจากนี้ยังได้บรรยายสรรพคุณของพืชผักธรรมชาติ เช่น ฟักข้าวที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารหลายรูปแบบได้

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคบ่าย

    กิจกรรมดูงาน ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร และพลังงานทางเลือก จ. กาญจนบุรี

    คุณยุทธการ ได้บรรยายประสบการณ์ การวิจัยพลังงานทางเลือกประเภทต่างๆ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม แก๊สชีวมวลเป็นต้น ได้ดูตัวอย่างการประดิษฐ์เตาแก๊สที่ใช้เศษใบไม้เป็นเชื้อเพลิง อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือเทคนิคในการชักชวนให้ชาวบ้านนำไปใช้ ต้องตอบคำถามชาวบ้านให้ได้ว่าเกิดประโยชน์อย่างไร

    ชื่อหัวข้อ:

    หลักการและเหตุผล :

    การพัฒนาการสื่อสารภายในของ EGAT GROUP จะช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ

    การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานผลิตไฟฟ้าที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมากว่า 40 ปี กฟผ. ยังคงเป็นหน่วยงานแรกและหน่วยงานเดียวที่ผลิตไฟฟ้าให้ประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่ กฟผ. จำเป็นต้องตระหนักรู้ คือ ปริมาณความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศในทุกวันนี้นั้น มีความต้องการใช้เพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา แต่ในขณะเดียวกันส่วนแบ่งของกำลังผลิตที่ กฟผ. ได้รับจากการกำหนดนโยบายทางด้านพลังงานไฟฟ้าของรัฐบาลกลับน้อยลงๆ ทุกๆที กฟผ. มีบริษัทลูกที่กระจายออกไป เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป ตามแต่ละประเภทของบริษัทลูกเหล่านั้น แต่การที่ หน่วยงานแม่ได้จัดตั้ง บริษัทลูกจำนวนหนึ่ง ออกไปประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งรวมเรียกว่า EGAT GROUP อาจทำให้มีการแข่งขันกันเอง ระหว่างบริษัทแม่กับบริษัทลูก หรือแม้กระทั่งการแข่งขันระหว่างบริษัทลูกด้วยกันเอง

    สภาพการณ์ดังกล่าว ทำให้หน่วยงานที่มาจากแหล่งเดียวกันจะต้องมาแข่งขันกันเองในตลาดด้านพลังงาน และมีหลายครั้งที่ทั้งบริษัทแม่ บริษัทลูก ต่างก็พ่ายแพ้ให้แก่บริษัทอื่น ในตลาดธุรกิจพลังงาน ต้องทำให้ทั้ง กฟผ. และบริษัทลูกสูญเสียสัดส่วนในตลาดพลังงาน ในการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย ทำให้ทั้งสองฝั่งสูญเสียทรัพยากร (Resource) ในการเข้าตลาดแข่งขันกันเอง และสูญเสียให้กับผู้อื่น อันเนื่องมาจากการขาดระบบการสื่อสาร การประสานงานระหว่างกันและกัน ความขัดแย้งของผลประโยชน์ (Conflict of interest) ระหว่างกันและกัน รวมทั้งขาดการบริหารผลประโยชน์ทั้งของผู้ถือหุ้นและบริษัทแม่ที่จะทำให้เติบโตไปด้วยกัน

    การที่จะทำให้ กฟผ. สามารถยืนหยัดอยู่ในวงการพลังงานและ ยังคงมีสัดส่วนในการผลิตไฟฟ้าให้ประเทศไทยได้เกินกว่า 50 % จำเป็นต้องสร้างพลังร่วม (Synergy) ระหว่าง กฟผ. และบริษัทลูก เพื่อให้มีการดำเนินการร่วมกันในการวางแผน อนาคตร่วมกัน เส้นทางที่จะเติบโตไปพร้อมๆกัน ทั้งของ กฟผ. และบริษัทลูกทั้งหมด ซึ่ง กฟผ. จะสามารถบริหารการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วิธีการที่ กฟผ. และบริษัทลูก จะเข้ามาร่วมมือกันได้ จำเป็นต้องมีระบบการสื่อสาร

    ขอบเขต :

    วัตถุประสงค์:

    ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง:

    เหตุจูงใจ :

    ภายในองค์การ ที่เอื้อให้มีความเข้าใจตรงกัน ทำงานร่วมกัน เพื่อมุ่งหวัง ผลสำเร็จในรูปเดียวกัน แต่กระบวนการจะพาไปสู่จุดมุ่งหมายผลสำเร็จเดียวกันนั้น จำเป็นต้องมี

    การศึกษา วางรูปแบบ และกระบวนการที่จะทำให้ทั้ง กฟผ. และบริษัทลูก สามารถเจริญเติบโตไปด้วยกันโดยไม่มีอุปสรรคในความแตกต่างที่มีอยู่ เช่น บริษัทลูกจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ในขณะที่ กฟผ. มีกระทรวงการคลัง รัฐบาล และประชาชน เป็น Stakeholders ซึ่ง จะเห็นว่า จุดมุ่งหมายของ กลุ่มนี้เป็นไปในทางตรงกันข้าม

    กลุ่ม 6 จึงมีความคิดที่จะศึกษาวิเคราะห์กระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างระบบการสื่อสารภายใน ของ EGAT GROUP เพื่อตอบสนองต่อการร่วมกันดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าให้ได้ในสัดส่วนที่เหมาะสม และเพื่อให้การสื่อสารระหว่างกันและกันเป็นไปอย่างโปร่งใส และสร้างความเข้าใจที่ตรงกันสามารถนำพาทั้ง EGAT GROUP ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งขึ้นต่อไปได้

    ดังนั้น เพื่อตอบสนอง ต่อความต้องการ การใช้พลังงานไฟฟ้าในอนาคตที่จะเพิ่มมากขึ้น และความมั่นคงของพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย กระบวนการสื่อสาร ภายใน EGAT GROUP จะเข้ามาเป็นส่วนสร้างให้เกิด ความเข้าใจที่ตรงกัน และสามารถร่วมเดินทางไปสู่จุดหมายเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และลดช่องว่างระหว่างกันได้เป็นอย่างดี

    ผู้บริหารระดับสูงของ กฟผ. และ EGAT Group

    เพื่อตอบสนองการร่วมกัน ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าและให้เกิดการสื่อสารระหว่าง EGAT Group

    • -ทฤษฏีการสื่อสาร
    • -นโยบายของ กฟผ.
    • -เพื่อความอยู่รอดของ กฟผ. ในอนาคต
    • -เพื่อการใช้ทรัพยากรร่วมกันทาง EGAT Group

    วิธีวิจัย :

    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ:

    • -Literature Review
    • -สัมภาษณ์ / แบบสอบถาม

    ได้ช่องทางการสื่อสารใน EGAT Group

    การบ้านคุณศุภนนาฏ ล้ำเลิศ

    ชื่อหัวข้อ:

    หลักการและเหตุผล :

    การพัฒนาการสื่อสารภายในของ EGAT GROUP จะช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ

    การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานผลิตไฟฟ้าที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมากว่า 40 ปี กฟผ. ยังคงเป็นหน่วยงานแรกและหน่วยงานเดียวที่ผลิตไฟฟ้าให้ประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่ กฟผ. จำเป็นต้องตระหนักรู้ คือ ปริมาณความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศในทุกวันนี้นั้น มีความต้องการใช้เพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา แต่ในขณะเดียวกันส่วนแบ่งของกำลังผลิตที่ กฟผ. ได้รับจากการกำหนดนโยบายทางด้านพลังงานไฟฟ้าของรัฐบาลกลับน้อยลงๆ ทุกๆที กฟผ. มีบริษัทลูกที่กระจายออกไป เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป ตามแต่ละประเภทของบริษัทลูกเหล่านั้น แต่การที่ หน่วยงานแม่ได้จัดตั้ง บริษัทลูกจำนวนหนึ่ง ออกไปประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งรวมเรียกว่า EGAT GROUP อาจทำให้มีการแข่งขันกันเอง ระหว่างบริษัทแม่กับบริษัทลูก หรือแม้กระทั่งการแข่งขันระหว่างบริษัทลูกด้วยกันเอง

    สภาพการณ์ดังกล่าว ทำให้หน่วยงานที่มาจากแหล่งเดียวกันจะต้องมาแข่งขันกันเองในตลาดด้านพลังงาน และมีหลายครั้งที่ทั้งบริษัทแม่ บริษัทลูก ต่างก็พ่ายแพ้ให้แก่บริษัทอื่น ในตลาดธุรกิจพลังงาน ต้องทำให้ทั้ง กฟผ. และบริษัทลูกสูญเสียสัดส่วนในตลาดพลังงาน ในการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย ทำให้ทั้งสองฝั่งสูญเสียทรัพยากร (Resource) ในการเข้าตลาดแข่งขันกันเอง และสูญเสียให้กับผู้อื่น อันเนื่องมาจากการขาดระบบการสื่อสาร การประสานงานระหว่างกันและกัน ความขัดแย้งของผลประโยชน์ (Conflict of interest) ระหว่างกันและกัน รวมทั้งขาดการบริหารผลประโยชน์ทั้งของผู้ถือหุ้นและบริษัทแม่ที่จะทำให้เติบโตไปด้วยกัน

    การที่จะทำให้ กฟผ. สามารถยืนหยัดอยู่ในวงการพลังงานและ ยังคงมีสัดส่วนในการผลิตไฟฟ้าให้ประเทศไทยได้เกินกว่า 50 % จำเป็นต้องสร้างพลังร่วม (Synergy) ระหว่าง กฟผ. และบริษัทลูก เพื่อให้มีการดำเนินการร่วมกันในการวางแผน อนาคตร่วมกัน เส้นทางที่จะเติบโตไปพร้อมๆกัน ทั้งของ กฟผ. และบริษัทลูกทั้งหมด ซึ่ง กฟผ. จะสามารถบริหารการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วิธีการที่ กฟผ. และบริษัทลูก จะเข้ามาร่วมมือกันได้ จำเป็นต้องมีระบบการสื่อสาร

    ขอบเขต :

    วัตถุประสงค์:

    ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง:

    เหตุจูงใจ :

    ภายในองค์การ ที่เอื้อให้มีความเข้าใจตรงกัน ทำงานร่วมกัน เพื่อมุ่งหวัง ผลสำเร็จในรูปเดียวกัน แต่กระบวนการจะพาไปสู่จุดมุ่งหมายผลสำเร็จเดียวกันนั้น จำเป็นต้องมี

    การศึกษา วางรูปแบบ และกระบวนการที่จะทำให้ทั้ง กฟผ. และบริษัทลูก สามารถเจริญเติบโตไปด้วยกันโดยไม่มีอุปสรรคในความแตกต่างที่มีอยู่ เช่น บริษัทลูกจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ในขณะที่ กฟผ. มีกระทรวงการคลัง รัฐบาล และประชาชน เป็น Stakeholders ซึ่ง จะเห็นว่า จุดมุ่งหมายของ กลุ่มนี้เป็นไปในทางตรงกันข้าม

    กลุ่ม 6 จึงมีความคิดที่จะศึกษาวิเคราะห์กระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างระบบการสื่อสารภายใน ของ EGAT GROUP เพื่อตอบสนองต่อการร่วมกันดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าให้ได้ในสัดส่วนที่เหมาะสม และเพื่อให้การสื่อสารระหว่างกันและกันเป็นไปอย่างโปร่งใส และสร้างความเข้าใจที่ตรงกันสามารถนำพาทั้ง EGAT GROUP ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งขึ้นต่อไปได้

    ดังนั้น เพื่อตอบสนอง ต่อความต้องการ การใช้พลังงานไฟฟ้าในอนาคตที่จะเพิ่มมากขึ้น และความมั่นคงของพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย กระบวนการสื่อสาร ภายใน EGAT GROUP จะเข้ามาเป็นส่วนสร้างให้เกิด ความเข้าใจที่ตรงกัน และสามารถร่วมเดินทางไปสู่จุดหมายเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และลดช่องว่างระหว่างกันได้เป็นอย่างดี

    ผู้บริหารระดับสูงของ กฟผ. และ EGAT Group

    เพื่อตอบสนองการร่วมกัน ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าและให้เกิดการสื่อสารระหว่าง EGAT Group

    • -ทฤษฏีการสื่อสาร
    • -นโยบายของ กฟผ.
    • -เพื่อความอยู่รอดของ กฟผ. ในอนาคต
    • -เพื่อการใช้ทรัพยากรร่วมกันทาง EGAT Group

    วิธีวิจัย :

    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ:

    • -Literature Review
    • -สัมภาษณ์ / แบบสอบถาม

    ได้ช่องทางการสื่อสารใน EGAT Group

    การบ้าน Dogfight จากกลุ่ม 6

    บทที่ 8

    APPLE ฟ้อง Samsung แต่ไม่ฟ้อง google แม้ว่า google จะเป็นคนทำ android เนื่องจากความเป็นไปได้ที่ apple จะชนะ google มีน้อย เพราะ google ไม่ได้ขาย android แต่ผลิตและให้ฟรีๆ ดังนั้น apple เลยเลือกที่จะฟ้อง Samsung ผู้ผลิตโทรศัพท์และแท็บเล็ต android รายใหญ่ เป็นคู่แข่งตนสำคัญของ apple apple เลยฟ้อง Samsung ไป 3 คดี ในทุกประเทศที่สามารถฟ้องได้

    Jobs เจ้าของ apple ไม่อยู่ดูขั้นตอนการฟ้องร้องนี้แล้ว แต่ apple ก็ตั้งใจกับเรื่องนี้มาก เพราะ Jonbs เคยพูดว่า apple ต้องเสียเงินจำนวนมาก และพนักงานก็ต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจในการคิดค้น ผลิต iphone และแท็บเล็ต แล้ว Samsung ก็มาลอกทุกอย่างไปอย่างตั้งใจ เป็นการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของ apple มาทำให้ยอดขาย apple ลดลง และ Samsung ก็มีกำไรถึง 2 พันล้านดอลลาร์

    เรื่องกฎหมายบางเรื่องยังเป็นความลับ แต่ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายว่าคนเราไม่ควรลอกงานของใครโดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาต และเนื่องจากทั้ง apple และ Samsung เป็นบริษัทใหญ่ทั้งคู่ จึงมีเงินจ้างทนายจำนวนมาก ในห้องที่ศาลแต่ละฝ่ายมีทนายประมาณ 12 คน และมีนักกฎหมายจำนวนมากอยู่เบื้องหลังคอยสนับสนุนข้อมูล และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องก็เยอะมากเช่นกัน

    การโต้เถียงเป็นไปอย่างดุเดือด โดยที่ผู้พิพากษา (Lucy Koh) จะลงโทษ Quinn ผู้ซึ่งเป็นทนายของฝั่ง Samsung เพราะเค้าต้องการจะสื่อว่า apple ก็ลอกmodel ของ sony มาในการผลิต iphone ดังนั้นก็ไม่เห็นจะเป็นไรเลยถ้า Samsung จะลอก apple มาอีกที แต่ผู้พิพากษาไม่สนใจประเด็นนี้ เนื่องจากถูกนำเสนอช้าไป แต่ Quinn ก็ไม่ยอม

    เรื่องไม่จบแค่นี้ Samsung มองว่าในเมื่อผู้พิพากษาไม่สนใจ แต่ยังไงทั้งโลกต้องได้รับรู้ Samsung ก็เลยแถลงข่าวเรื่องนี้ Apple ว่าว่า Samsung ทำให้เสียรูปคดี ซึ่งผู้พิพากษาก็ได้เตือนว่าทุกการให้ข้อมูลต้องเกิดต่อหน้าศาลเท่านั้น ห้ามทำไรแบบนี้

    ในด้าน Apple Appleให้ผู้บริหารระดับสูง 3 คน มาให้การต่อศาล ได้แก่ Christopher Stringer (ด้านออกแบบผลิตภัณฑ์) Phil Schiller (ด้านการตลาด) Scott Forstall (ด้าน software)

    Christopher Stringer ก็พูดแนวว่าเค้ากับทีมประมาณ 15 คน ต้องใช้วิธีต่างๆ นานา ในการคิดค้นผลิตภัณฑ์Phil Schiller พูดเกี่ยวกับองค์กร ความเชื่อมโยง และก็วิธีที่ใช้ในการออกผลิตภัณฑ์ ในปี 2008 apple เสียเงินจำนวน 97.5 ล้านดอลลาร์ในการโฆษณา iphone ในอเมริกา ซึ่งน้อยกว่างบโฆษณา ipad ในอเมริกา ที่ในปี 2010 apple ต้องจ่ายถึง 149.5 ล้านดอลลาร์

    Scott Forstall พูดถึงการคัดเลือกคนเข้าทีมของเค้า และลูกน้องเค้าต้องเครียดมาแค่ไหนในการทำให้ผลิตภัณฑ์ เสร็จทันเวลา มี software มากมายที่คิดโดย apple เช่น slide เพื่อปลดล็อค ซูมโดยการเอามือไปขยายที่หน้าจอ

    ทั้ง 3 คนพูดไปในแนวเดียวกันคือรู้สึกช็อค โกรธ ไม่พอใจ เมื่อเห็นโทรศัพท์และแท็บเล็ต android ของ Samsung

    Phil Schiller กลัวลูกค้าสับสน

    Christopher Stringer มาแนวไม่พอใจ กว่าจะคิด กว่าจะทำได้ ต้องทุ่มเทมาก เราต้องการสร้างอะไรที่เป็นของเราเอง

    ด้าน Quinn และทนายคนอื่นๆของ Samsung พยายามทำให้ศาลมองว่าเรื่องนี้ไม่เห็นมีไรเลย จะมาหาว่า Samsung ลอก apple ไม่ได้ เพราะไม่มีสิทธิบัตรที่เชื่อถือได้ เพราะทุกอย่างเห็นชัดเจน เช่น apple ไม่สามารถจดสิทธิบัตรว่าโทรศัพท์เป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่มีลำโพงด้านบน มีไมค์ด้านล่าง ทีม Samsung พยายามชี้ให้เห็นว่าแม้โทรศัพท์ของ Samsung จะคล้าย apple คือ เป็นหน้าจอสัมผัส มีรูปทรงคล้ายๆกันsamsung ยังทำให้เห็นอีกว่า apple ไม่ได้คิดค้นหน้าจอสัมผัสขึ้นมา

    Samsung ทำให้เห็นว่าเมื่อเปิดขึ้นมา หน้าจอก็ไม่เหมือนกัน ปุ่มกดอยู่คนละตำแหน่งของหน้าจอ icon ก็วางคนละแบบ เป็นต้น

    คดีนี้เป็นคดีที่คนให้ความสนใจ เนื่องจากโจทก์คือ apple ฟ้องเพื่อปกป้อง iphone และ ipad และการฟ้องร้องก็ไม่ใช่สไตล์ของ apple ปกติแล้วบริษัทไหนๆ ก็ไม่อยากให้มีเรื่องเป็นคดีความ เพราะเรื่องมันจะดัง มีคนมาตรวจสอบมากมาย ปัจจัยก็คุมยาก ไม่รู้ว่าผู้พิพากษาจะคิดยังไง การแถลงข่าว ซึ่งทำให้ภาพลักษณ์องค์กรออกมาไม่ดี และเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงสำหรับองค์กรด้วย ในการจ้างทีมกฎหมาย เรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญามีเพียง 3% เท่านั้นที่เป็นคดีขึ้นศาลจริงจัง

    Samsumg คิดว่าตัวองมีเหตุผล ทำให้คำให้การของตัวเองดีพอ แต่ผู้พิพากษาไม่คิดเช่นนั้น 3 อาทิตย์หลังขึ้นศาลคณะผู้พิพากษาที่มี 9 คน ต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างละเอียด มีคำตัดสินออกมา 109 หน้า สุดท้ายก็ตัดสินให้ Samsung ต้องจ่ายเงินให้ apple ให้กับทุกข้อกล่าวหาที่ apple ยกขึ้นมา เป็นเงินมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์

    ด้าน apple บอกว่าสิทธิบัตรเป็นพื้นฐานที่สนับสนุนสภาพเศรษฐกิจของอเมริกาให้เป็นประเทศที่มี innovation สิทธิบัตรกว่าจะได้มันยาก ต้องทุ่มเทคิดค้น เพราะฉะนั้นคดีนี้ตัดสินไม่ยาก เมื่อ apple ชนะคดี Tim Cook CEO คนใหม่ก็กล่าวกับพนักงานว่า วันนี้เป็นวันสำคัญของ apple และเป็นวันสำคัญของผู้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ทุกคน apple ตัดสินใจอยู่นานกว่าจะฟ้องร้องภายหลังที่ได้ขอให้ Samsung เลิกลอกเลียนแบบ การฟ้องร้องมีค่ามากกว่าสิทธิบัตรและเงิน แต่หมายถึงคุณค่าของความเป็นต้นแบบ และคุณค่าของการคิดนวัตกรรม เราเป็นหนี้ผู้พิพากษาที่ต้องเสียเวลามานั่งฟังเรื่องของเรา จากการขึ้นศาลกับ Samsung ทำให้ได้รู้ว่า Samsung ลอกเลียนแบบของเราไปเยอะมาก มากกว่าที่เคยรู้ เค้าภูมิใจกับทุกงานที่ลูกน้องทุกคนทำ วันนี้เห็นผลแล้ว

    สิ่งที่ Tim Cook พูดเป็นวาทกรรมที่ดีมาก Steve Jobs เพิ่งตายไป คำพูดนั้นเหมือนทำให้ Tim Cook ดูดี พอสื่อเอาไปเผยแพร่ก็กลายเป็นการประชาสัมพันธ์ที่ดีมากให้ apple พอคำตัดสินออก ราคาหุ้นของ Samsung ลง 6% ในขณะที่ราคาหุ้น apple ขึ้นประมาณ 6% ก่อนเปิดตัว iphone 5 ราคาหุ้น apple ก็ขึ้นสูงสุดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทำให้ apple มีมูลค่าบริษัท 656 พันล้านดอลลาร์ ใหญ่สุดในอเมริกาที่เคยมีมา

    สิ่งสำคัญภายใต้การฟ้องร้องครั้งนี้คือ apple ต้องการชนะ คิดกลยุทธ์ทุกอย่างเพื่อให้ชนะ เพราะหวังว่าเมื่อชนะ จะช่วยชะลอ market share ของ samsung ที่ใกล้จะเท่า apple แล้ว

    Apple ปกติจ้างคนแผนกกฎหมายน้อยมาก พอมีเรื่องนี้ก็เลยต้องไปจ้างบริษัทกฎหมายช่วยทำถึง 4 บริษัท เสียเงินประมาณ 200 ล้านดอลลาร์ต่อปี ภายในปี 2012 apple มีประมาณ 50 คดี ที่ฟ้อง Samsung ใน 10 ประเทศ

    ขณะที่ apple กำลังสร้างภาพว่าเป็นความเสี่ยงมากที่ต้องต่อสู้กับ Samsung ในชั้นศาล และต่อหน้าสาธารณะ ความจริงแล้วไม่ได้เสี่ยงเลย สำหรับบริษัท apple ที่มีเงินในธนาคาร 100,000,000,000 ล้านดอลลาร์ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางก็ไม่เยอะ เมื่อเทียบระยะทางของ apple กับ Samsung มาศาล เพราะ Samsung อยู่อีกประเทศเลย การฟ้องร้องนี้เป็นการส่งสัญญาณไปหาคู่แข่งที่จะมาแย่งส่วนบ่างตลาดไป

    จริงๆมันก็ดูไม่ดีที่ใช้วิธีนี้ในการทำลายคู่ต่อสู้ แต่คุณก็จะทำธุรกิจไม่ประสบผลสำเร็จถ้าไม่มีทนายมาช่วยปกป้อง idea ของคุณ คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญามีมากมาย อยู่ในศาลทีเป็นปีๆ ไม่จำเป็นว่าคนชนะคือคนที่คิดค้นที่แท้จริง แต่คือคนที่มีกำลังเงินมากพอที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับศาลที่เกิดขึ้น ยกเว้นกรณีสิทธิบัตรยา แต่เป็นจริงมากในอุตสาหกรรม software ที่สิทธิบัตรใบเดียวไม่สามารถป้องกันกันลอกเลียบแบบได้ทั้งหมด เนื่องจากธุรกิจ software จะมีส่วนที่บริษัทภูมิใจว่าคิดค้นขึ้นมา แต่ก็ต้องอาศัยเทคโนโลยีก่อนหน้า ที่คนอื่นคิดมาอีกที

    Steve Jobs พยายามปกป้องไม่ให้คนมาลอก idea ของ Macintosh ตั้งแต่ช่วง 1980s เพราะเค้ามีแนวคิดว่าสิทธิบัตรไม่ได้มีเพื่อหาเงินจากมันหรือเพื่อขาย แต่มีเพื่อปกป้องนวัตกรรมและการลงทุนในนวัตกรรมของบริษัท

    Steve Jobs ให้ความสำคัญกับสิทธิบัตรมาก และจะใช้มันเป็นอาวุธภายหลัง เค้าบอกในที่ประชุมว่าเค้าจะจดสิทธิบัตรทุกอย่างที่ทำ

    ดังนั้น วิศวกรของ apple ก็ต้องเข้าร่วมการประชุมเปิดเผยการคิดค้นทุกเดือน ร่วมกับนักกฎหมาย ซึ่งไม่ว่าจะพูดไรไป นักกฎหมายก็บอกว่าทุกอย่าง ทุกขั้นตอน จดสิทธิบัตรได้หมดเลย

    Steve Jobs ให้จดสิทธิบัตรทุกอย่าง เนื่องจากเค้ากำลังจะขายโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่แข่งขัน และคู่แข่ง เช่น Nokia Motorola ก็มีเงินทั้งนั้น และเพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทเหล่านี้ฟ้อง apple แล้วทำให้การโตของยอดขายลดลง

    Steve Jobs ไม่ได้เป็นคนคิดทุกอย่างใหม่ทั้งหมด เค้าคิดเองบางอย่าง รวมกับของที่มีคนคิดแล้ว แล้วเอามาใส่ใน iphone และเพิ่มนวัตกรรมเข้าไป ซึ่ง Jobs อยากให้นวัตกรรมได้รับการปกป้อง

    Jobs เป็นนักการตลาดที่เก่งมาก เค้าไม่ต้องคิดต้นไรใหม่มาก แค่บอกให้สาธารณะ คู่แข่ง รับรู้ว่าเค้ามีเงิน และพร้อมที่จะต่อสู้ในศาลเกี่ยวกับเรื่องสิทธิบัตร เหล่านี้เป็นกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ

    คำตัดสินคดี apple Samsung เป็นที่พูดถึงในวงกว้างว่า apple หาประโยชน์จากการชนะครั้งนี้ ให้ธุรกิจตัวเองไปได้ดี มีนักวิชาการกล่าวว่าสังคมที่สนับสนุน innovation แบบอเมริกา จะไม่สามารถไปได้ไกลในระยะยาว ถ้ามีการฟ้องร้องแบบนี้ ธุรกิจ software พัฒนาอย่างรวดเร็ว ซับซ้อน ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ไม่สามารถอ่าน วิเคราะห์ เข้าใจภาพรวมของธุรกิจ software และ สิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องได้ทั้งหมด

    การจดสิทธิบัตรในอเมริกาเพิ่มขึ้น ปี 2000 มียื่นขอจด 315,000 รายการ ปี 2010 มียื่นขอจด 520,000 รายการ และปี 2012 มี 577,000 รายการ หน่วยงานที่เกี่ยวกับการรับจดสิทธิบัตรมีเจ้าหน้าที่ไม่พอ และเมื่อมีคดี apple Samsung ก็เลยทำให้ระยะเวลารอคอยว่าที่ยื่นมาสามารถจดสิทธิบัตรได้มั้ย เพิ่มขึ้นจาก 25 เดือนในปี2000 เป็น 32.4 เดือน ในปี 2012 และมีเรื่องที่ค้างอยู่ 158,000 เรื่องในปี 2000 และได้เพิ่มเป็น 600,000 เรื่องในปี 2012

    นอกจากนี้หลักเกณฑ์การจดสิทธิบัตรของธุรกิจ software ก็ง่ายกว่ายามาก การที่ยาจะจดสิทธิบัตรได้คือต้องมีการคิดค้นโมเลกุลใหม่ขึ้นมา แต่สำหรับ software แค่เขียนโปรแกรมมาต่างกัน แต่ได้ผลเหมือนกัน ก็จดได้แล้ว เช่น amazon ไปจดเรื่อง 1 click คือซิ้อสินค้าได้ในคลิ๊กเดียว แปลว่าถ้า web ไหนอยากทำ 1 click ก็ต้องจ่ายตังค์ให้ amazon

    เรื่องสิทธิบัตรเป็นคดีมามากมาย ตั้งแต่อดีตกาล เช่น Alexander Graham Bell เคยสู้กับ Elisha Gray ว่าใครจะถูกเรียกว่าเป็นคนคิดค้นโทรศัพท์ บางกรณีอีกคนได้เป็นเจ้าของลิขสิทธ์เพียงเพราะยื่นขอจดทะเบียนก่อน

    กรณีบริษัท Singer ก็ต่อสู้เรื่องการจดสิทธิบัตรจักรเย็บผ้า ความจริงแล้ว Singer ไม่ใช่คนแรกๆที่จด เป็นคนหลังๆด้วยซ้ำ แต่เพราะมีเงินในการสู้คดี

    จากกรณี Singer ที่เปนคดีเรื่องสิทธิบัตรจักรเย็บผ้ากับหลายๆๆ คน ทำให้เกิดเป็น Sewing Machine Combination Group ที่อนุญาตให้สมาชิกสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีพื้นฐานในการผลิตจักรเย็บผ้า แลค่อยทำ licenses เพิ่มจากสิ่งที่ตัวเองต่อยอดได้ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมจักรเย็บผ้า

    จริงๆแล้วเรื่องคดีจักรเย็บผ้ากับคดีของ apple ก็คล้ายๆกัน เพียงแต่มีคนบางกลุ่มชอบอ้างว่า software ซับซ้อนกว่าเยอะ เพราะผู้พิพากษาจะมักจะมีความลำบากในการเข้าใจธรรมชาติของ software บางทีเองนักกฎหมายก็สงสัยว่าให้เค้ามาตัดสินเรื่องสิทธิบัตรยา ทั้งๆที่เค้าไม่มีความรู้ในเรื่องยาก การวิจัยยา อะไรเลย มันเป็นไปได้หรอที่จะเค้าตัดสิน

    ปัจจุบันเป็นที่ถกเถียงกันเรื่องการจดสิทธิบัตร software เนื่องจากในอดีตไม่อนุญาตให้จดสิทธิบัตร software เพราะมองว่า software เป็นแค่คำสั่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดเลขได้ แต่พอตั้งแต่ปี 1981 ที่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการทำธุรกิจ และบริษัททำ software ก็เกิดขึ้นมากมาย ก็อนุญาตให้จดสิทธิบัตร software ได้ เพราะมองว่า software ไม่ใช่แค่คำสั่งทางคณิตศาสตร์ แต่รวมถึงเป็นขั้นตอนเฉพาะในการช่วยทำธุรกิจนั้น

    ใช้สิทธิบัตรปกป้อง software ได้ผลกว่าการจดลิขสิทธ์เพียงเล็กน้อย แต่ปัญหาใหญ่คือระบบสืบค้น สิทธิบัตรยังไม่สามารถสืบค้นแบบละเอียดได้ จึงทำให้ไม่สามารถสืบค้นงานสิทธิบัตรที่มีความใกล้เคียงได้ จะค้นได้แต่ที่เหมือนกันจริงๆ

    ก่อนที่ apple จะคิด iphone เคยมีบริษัทชื่อ Neonode ได้สิทธิบัตรเรื่องการใช้เครื่องมือโดยเลื่อนนิ้วผ่านบนหน้าจอ ซึ่งต่อมา apple ก็ได้สิทธิบัตร เรื่อง slide to unlock กรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่สามารถตรวจได้ว่าเคยให้สิทธิบัตรแบบนี้ไปแล้ว เนื่องจาก 2 บริษัท ใช้คำอธิบายต่างกันเล็กน้อย เลยค้นไม่เจอ แม้ว่าสิทธิบัตรของ apple จะถูกท้าทายในยุโรป แต่ในอเมริกา apple ก็เป็นคนแรกที่คิดสิ่งนี้ขึ้นมา

    อาจารย์ที่ Standford ชื่อ Mark Lemley บอกว่านอกจากจะเป็นความผิดของกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว ปัญกานี้ยังเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องยังมอง software แบบในอดีต 

    ภูริวรรณ ซุ่ยรักษา

    สรุปและเปรียบเทียบ

    1. สรุปบทความ Well-paid young Seattle techie prefers giving to riches
    2. เปรียบเทียบบทความข้างต้นกับระบบทุนนิยมสามานย์
    1. สรุปบทความ Well-paid young Seattle techie prefers giving to riches

      บทความข้างต้นเป็นการบรรยายถึงแนวคิดของนายเจสเซ่น ฮัทชินสัน กิวเลี่ยนวิศวกรคอมพิวเตอร์ในทีมรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของ บริษัท Google อายุเพียง 27 ปี ซึ่งมีมุมมองในการใช้จ่ายรายได้ของเขาแตกต่างจากบุคคลทั่วไปที่อยู่ในวัยเดียวกับเขา ซึ่งบุคคลส่วนใหญ่มุ่งใช้จ่ายเพื่อความสะดวกสบาย ความมั่นคง และความมั่งคั่งของตนเอง ไม่ได้มองถึงสังคมรอบข้าง แต่นายเจสเซ่นมีแนวคิดที่แตกต่างออกไป โดยเขาให้ความสำคัญการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ลดความแตกต่างของสังคมรอบตัว มุ่งสร้างสังคมที่น่าอยู่

      นายเจสเซ่น มีรายได้มากกว่า 100,000 เหรียญสหรัฐต่อปี แต่เขาใช้เงินดังกล่าวเพื่อสังคมกว่าร้อยละ 40 ต่อปี โดยการบริจาคใน 3 ส่วนคือ เพื่อสังคมระดับท้องถิ่น ระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยผ่านกองทุน Social Justice Fund Northwest กองทุน Grassroots International และกองทุนที่ได้รับการแนะนำจากเพื่อนหรือครอบครัว สำหรับรายจ่ายส่วนตัวของเขา เขาจะใช้เงินเพียง 36,000 เหรียญสหรัฐหลังจากหักภาษีและเงินเก็บส่วนตัว ซึ่งเขายังคงรักษาระดับรายจ่ายนี้แม้ว่าเงินเดือนจะเพิ่มขึ้นมาเท่าไหร่ก็ตาม และเมื่อมองที่ชีวิตส่วนตัวของเขาพบว่าเขายังคงใช้จ่ายเพื่อความสะดวกสบาย เช่นการออกไปทานข้าวนอกบ้าน การสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงาน หรือซื้อของขวัญให้เพื่อนๆ

      หนังสือที่มีอิทธิพลต่อความคิดของเขาคือ "Spirit Level" หนังสือที่รวบรวมหลักฐานที่แสดงว่าในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำมากที่สุด และสำหรับมุมมองในการดำเนินชีวิตของเขาคือการลดความแตกต่างทางสังคมเนื่องจากเขามองว่าการที่เขาได้รับเงินเดือนที่สูง ส่วนหนึ่งมาจากการที่เขาเป็นคนผิวขาว หรือการบริจาคเพื่อสังคมจะทำให้สังคมมีความน่าอยู่มากขึ้นซึ่งคุมค่ากว่าการนำเงินไปซื้อระบบความปลอดภัยในชีวิต

      นอกจากการดำเนินวิถีชีวิตแบบพอเพียงแล้ว เขายังมีผลงานที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง คือโปรแกรมในโทรศัพท์มือถือ ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการบริจาคเงินโดยผู้บริจาคสามารถทำได้ง่ายเพียงกดปุ่ม และเงินดังกล่าวสามารถเข้าถึงองค์กรที่มีความเดือดร้อนอย่างแท้จริงได้สะดวกยิ่งขึ้น

    2. เปรียบเทียบบทความข้างต้นกับระบบทุนนิยมสามานย์

      ก่อนการเปรียบเทียบบทความข้างต้นกับระบบทุนนิยมสามานย์ ขอกล่าวถึงระบบทุนนิยมสามานย์ ดังนี้

    • “ทุนนิยม” หมายถึงระบบสังคมและเศรษฐกิจ ที่ปัจจัยในการผลิตส่วนใหญ่เป็นของเอกชนซึ่งมุ่งแสวงหากำไรโดยใช้ตลาดเสรีเป็นตัวชี้นำเรื่องการลงทุน การผลิต การจำหน่าย พร้อมทั้งการตั้งราคาสินค้าและบริการ บุคคลและนิติบุคคลมีสิทธิและอิสระที่จะขายที่ดิน แรงงาน สินค้าและบริการโดยผ่านการใช้เงิน
    • แนวคิดเรื่องทุนนิยมมีวิวัฒนาการต่อมาเป็นระบบที่เรียกกันว่า “เศรษฐกิจแบบผสม” ในปัจจุบัน นั่นคือ สังคมต่างๆ นำส่วนประกอบของระบบเศรษฐกิจหลายระบบมาผสมกันตามที่เห็นว่ามันเหมาะสมกับสังคมของตน โดยเฉพาะการให้รัฐมีบทบาทในการเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิตและจำหน่ายสินค้าและบริการอันเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบสังคมนิยม ฉะนั้นทุกประเทศจึงมักมีรัฐวิสาหกิจ ส่วนจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปรัชญาของแต่ละประเทศ ระบบทุนนิยมพัฒนาไปตามแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์อยู่เรื่อยๆ โดยนักเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญที่กล่าวถึงแนวคิดนี้คือ อดัม สมิธ ผู้รวมแนวคิดของเขาไว้ในหนังสือชื่อ The Wealth of Nations ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2319 โดยแนวคิดของเขาวางอยู่บนฐานของความเชื่อมั่นในการมีประสิทธิภาพของการแบ่งงานกันทำของระบบตลาดเสรีที่นายทุนมีบทบาทสำคัญ ฉะนั้นรัฐควรจะมีบทบาทน้อยที่สุด
    • เหตุใดจึงเกิดทุนนิยมสามานย์ จริงๆ แล้วอดัม สมิทได้มีความกังวลในส่วนของการนำทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์ของเขามาใช้ โดยก่อนที่เขาจะเขียนหนังสือเรื่อง The Wealth of Nations เขาได้เขียนหนังสือชื่อ The Theory of Moral Sentiments ขึ้น หนังสือเล่มนี้เป็นกรอบแนวคิดด้านจริยธรรมซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อการทำงานของระบบทุนนิยม โดยอดัม สมิธ วิตกกังวลเรื่องการบูชาเงิน การผูกขาดและการฮั้วกัน เพราะมันจะสร้างความเลวร้ายให้ระบบทุนนิยม และ เขามีความกตัญญูและความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ มีความซื่อตรงและดำเนินชีวิตตามหลักของความพอประมาณซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นฐานของแนวเศรษฐกิจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
    • จะเห็นได้ว่าทุนนิยมสามานย์นั้นมาจากพื้นฐานของผู้บริหารประเทศที่ขาดจริยธรรมในการทำงาน นำจุดอ่อนของประชาชนระดับรากหญ้าของประเทศมาเป็นข้ออ้างในการออกนโยบายทางการเงินที่ขาดวินัย และไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียง
    • ข้อเปรียบเทียบระหว่างการดำเนินชีวิตของนายเจสเซ่น และระบบทุนนิยมสามานย์
    ข้อ นายเจสเซ่น ระบบทุนนิยมสามานย์
    1. การใช้จ่ายเงินที่ได้รับอย่างพอเพียง โดยยังได้รับความสะดวกสบาย ตามพื้นฐานของบุคคลควรได้รับ โดยนายเจสเซ่นใช้จ่ายเพียง 36,000 เหรียญสหรัฐ แม้ว่าเขาจะมีรายได้เพิ่มขึ้นเท่าใดก็ตาม การใช้จ่ายเงินของประชาชนตามความต้องการของฝ่ายรัฐโดยไม่ได้พิจารณาถึงความสามารถและภาระที่เกิดขึ้น โดยจะเห็นได้จากการกู้เงินมาดำเนินโครงการต่างๆ โดยไม่มองศักยภาพของประเทศ และภาระหนี้ที่จะเกิดขึ้น
    2. การใช้จ่ายเงินเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม เพื่อให้เกิดสังคมที่น่าอยู่ อบอุ่น และปลอดภัย การพัฒนาประเทศแบบรวยกระจุกจนกระจาย ขาดความเท่าเทียมกันในสังคม สร้างช่องว่าที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มคน เห็นได้จากประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะชาวไร่ชาวนา ยังคงยากจนเช่นเคย แต่มีคนกลุ่มหนึ่งเฉพาะที่ประสานผลประโยชนกับนักการเมือง
    3. การสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันจากผู้มีรายได้สูงสู่ผู้ด้อยโอกาส เช่นการออกโปรแกรมที่สร้างโอกาสให้ผู้บริจาคเงินเข้าถึงผู้ด้อยโอกาสที่แท้จริงได้โดยสะดวก การใช้จ่ายเงินงบประมาณเพื่อสร้างความอยากได้อยากมีของประชาชนในระดับรากหญ้า ซึ่งเป็นการปลุกเร้าประชาชนอย่างรุนแรงเพื่อสร้างความอยาก โดยเฉพาะกับเยาวชน และชนชั้นระดับรากหญ้าที่อ่อนแอให้ตกเป็นเหยื่อวัฒนธรรมการบริโภคที่เกินจำเป็นการสร้างสังคมแห่งการแข่งขัน ให้ประชาชนให้ความสำคัญกับรายได้มากกว่าการเก็บเงินหรือการใช้จ่ายเพื่อสังคม เช่นโครงการค่าแรง 300 บาท เป็นการเพิ่มรายได้ให้ประชาชนรู้สึกว่ามีเงินมากขึ้นแต่ไม่สร้างสมดุลในด้านรายจ่าย และสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน
    ชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์

    Learning Log

    Author’s Name :ชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์

    Log Date : 30/04/57

    Topic :ศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการองค์กร การพัฒนาทุนมนุษย์และพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ (บ.กีฟฟารีน)
    โดย น.ท.นพ.จักรพงศ์ ไพบูลย์ รองประธานกรรมการ

    พญ.ใจทิพย์ ไพบูลย์ รองประธานกรรมการ

    17 มีนาคม 2539 บริษัทกิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัดได้ก่อตั้งขึ้นจากความมุ่งมั่นของคณะแพทย์และเภสัชกรที่ร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อคุณภาพชีวิตของคนไทยผ่านการรับรองที่ถูกต้องตามหลักวิชาการด้วยปณิธานยึดมั่นในความจริงใจและความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคอันเต็มเปี่ยมผ่านบทพิสูจน์แห่งความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมดังนี้...

    ๐มียอดธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องจากปีแรก 360 ล้านบาทจนถึงปัจจุบันมีผลประกอบการรวมกัน57,000 ล้านบาทนับเป็นบริษัทผู้ประกอบการธุรกิจเครือข่ายของคนไทยที่มียอดจำหน่ายสูงสุด และเป็นบริษัทคนไทยหนึ่งเดียวในโลก ที่ติดอันดับที่ 77 ใน Top 100 ของสมาพันธ์การขายตรงโลก (WFDSA)

    ๐มีสมาชิกนักธุรกิจและผู้บริโภครวมกันกว่า6,800,000 รหัสโดยมีระบบการคุ้มครองลิขสิทธิ์เครือข่าย ไม่ต้องต่ออายุสมาชิกภาพตลอดชีพ และไม่มีการตัดใครออกจากเครือข่ายที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบจรรยาบรรณของบริษัท

    ๐ปัจจุบันมีพนักงานรวมกว่า 1,800 คนทั้งในส่วนสำนักงาน โรงงานและศูนย์ธุรกิจกว่า 113 แห่งทั่วประเทศ

    ๐มีทรัพย์สินโดยรวมมูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาทในรูปเงินฝากธนาคาร อาคาร ที่ดิน ศูนย์ธุรกิจและโรงงานผลิตเป็นของตนเอง

    ๐ ให้ผลตอบแทนคืนกลับสู่นักธุรกิจกิฟฟารีนสูงที่สุดในประเทศไทย จากยอดจำหน่ายรวมถึงปัจจุบันกว่า57,000,000,000 บาทโดยมอบรายได้แก่นักธุรกิจกิฟฟารีนไปแล้วกว่า26,800,000,000 บาท

    ๐ได้รับการจดทะเบียนบริษัทขายตรงอย่างถูกต้องตามกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)

    ๐ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมการขายตรงไทย (TDSA) ซึ่งสังกัดสมาพันธ์การขายตรงโลก (WFDSA)

    ๐ขยายตลาดสู่ต่างประเทศอย่างเต็มรูปแบบ โดยให้ใบอนุญาตแก่ผู้สนใจลงทุนชาวต่างประเทศ (Giffarine Business Licence) เช่น สหภาพพม่า มาเลเซีย ราชอาณาจักรกัมพูชาและอื่นๆ ในอนาคต

    ๐มีนโยบายเชิงรุกด้านการตลาดต่างประเทศ โดยส่งออกสินค้าไปยังกว่า 38 ประเทศทั่วโลกเช่น เกาหลี ออสเตรเลีย เยอรมนี สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น เป็นต้น

    ปัจจุบันบริษัทได้ออกสินค้าแบรนด์ใหม่ Prattena เป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติกลุ่มสปา จำหน่ายในต่างประเทศ นอกจากนั้นยังรับผลิตสินค้าแบบ ODM (Original Design Manufacturer) ให้กับธุรกิจในต่างประเทศ รายแรกจากประเทศรัสเซีย ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 200 ผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้สิ้นค้าทุกชิ้นพิมพ์ Made in Thailand

    โอกาสที่ได้เยี่ยมชมโรงงานและห้องแล็บนี้ ได้รับเกียรติจากรองประธานกรรมการ น.ท.นพ.จักรพงศ์ ไพบูลย์ และ พญ.ใจทิพย์ ไพบูลย์ นำชมและบรรยายสรุปพร้อมตอบข้อซักถามแก่คณะของเรา ทำให้ทราบถึงแนวนโยบายและหลักการในการดำเนินธุรกิจของบริษัท รวมทั้งการบริหารงานภายในโรงงาน ยิ่งทำให้รู้สึกชื่นชม และมั่นใจในสินค้าและบริการของกีฟฟารีน ด้วยกลุ่มผู้บริหาร (เจ้าของกิจการ) ใช้ปรัชญาแนวพุทธศาสนาในการทำธุรกิจ นี่คงเป็นปัจจัยที่ทำให้องค์กรเติบโตอย่างมั่นคง กลุ่มของเรามีข้อสังเกตว่า การดำเนินธุรกิจของกีฟฟารีนนี้ เป็นการดำเนินธุรกิจแบบ White Ocean อย่างแท้จริง เป็นการคิดดีทำดีจากข้างใน หวังให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความสุข ทั้งพนักงาน สมาชิก ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ และคู่ธุรกิจ

    ณรงค์ศักดิ์ เขียวรำภา

    วันที่ 19 มีนาคม 2557

    กรณีศึกษาของบริษัทบ้านปู จำกัด (คุณสมยศ รุจิรวัฒน์)

    ปัจจุบันบริษัทบ้านปูมีธุรกิจการลงทุนในประเทศต่างๆ 7 แห่งได้แก่ อินโดนีเซีย จีน ออสเตรเลีย ลาว มองโกลเลีย และ สิงคโปร์ มีพนักงาน 6,424 คน

    Key Success Factors : Ban Pu SD Frame

    • 1.Localization : Good Governance, Business Ethics, Compliance, Good Corporate Citizen
    • 2.License to Operate : Health & Safety, Environment, Community, Development
    • 3.Competitiveness : People Development, Operational Excellence, Technology

    งานความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

    • 1.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    • 2.การจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อม
    • 3.การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
    • 4.การส่งเสริมให้เกิดกลไกอย่างต่อเนื่อง

    ประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้

    • การ Diversify ธุรกิจควรจะเลือกธุรกิจที่เป็น Core-business หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
    • Value Creation โครงการนำถ่านหินจากแหล่งต่างๆมา Blend เพื่อให้ได้ถ่านที่มีคุณสมบัติตามที่ตลาดต้องการ
    • การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน 3 ระยะ คือก่อนทำเหมือง ระหว่างทำเหมืองและระยะสิ้นสุดการทำเหมือง

    Panel Dicussion TQM/SEPA: ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

    คุณปิติ ศรีสุขสมบัติ ผู้จัดการฝ่ายบริหารคุณภาพองค์กร ปตท.

    • ปตท.ทำ Pilot Project ที่ระยองจนได้ TQA และนำความรู้มาใช้กับท่อก๊าซจนทำให้ได้ TQA 2แห่ง
    • วิสัยทัศน์ “บริษัทพลังงานไทยข้ามชาติชั้นนำ” สร้างสมดุลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยใช้สามเหลี่ยมแห่งความยั่งยืนประกอบด้วย การพัฒนาอย่างสมดุล ด้านสังคม เศรษฐศาสตร์ และ สิ่งแวดล้อม โดยใช้ Coorperate Governance,High Performance Organization และ CSR กลยุทธ์สำคัญที่ทำให้บรรลุเป้หมายคือ Action plan
    • Leader’s Action : ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้ชี้นำ สื่อสาร กระตุ้นผู้ปฏิบัติงานให้ไปสุ่ความสำเร็จ และพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • KPI Monitoring: ปตท. มีระบบประเมินผลการปฏิบัติงานรายสัปดาห์ รายเดือน รายไตรมาศ รายครึ่งปี และรายปี
    • ปตท. สปิริต คือ คนเก่งและคนดี เน้นเรื่อง BCM (Business Continuality Management) แม้เกิดภาวะวิกฤติ ธุรกิจก็สามารถเดินติอได้
    • Key Success Factor ได้แก่ Continuous Improvement, Excellent Leadership และ Open Mind
    • อาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยากุล
    • TQM คือ การบริหารองค์กรให้เป็น High Performance Organization (HPO) ส่วน SEPA และ TQA เป็นแค่รางวัล จุกมุ่งหมายของ HPO ต้องมองเห็นผลงาน กฟผ. กำลังทำ EGAT Way เพื่อนำไปใช้ให้เป็น HPO
    • HPO คือองค์กรมีความสำเร็จและ Performance โดยจะต้องบริหารเหตุและติดตามผล และต้องเป็นไปตามที่ผู้มีส่วนได้เสียอยากได้ด้วย องคืกร HPO ต้องมีทั้งความสำเร็จและความสุขด้วย
    • -EGAT Way ต้องให้ความสำเร็จและความสุขไปด้วยกัน เป็นทั้งของหน่วยงานลั ผู้มีส่วนได้เสีย ความสุขมาจากบุคลากรและระบบบริหารจัดการ

    คุณโชติรส เสวกวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญ ระดับ 12 กฟผ.

    • ระบบ SEPA เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงผลการดำเนินงานเป็นภาคบังคับ ใช้แทนระบบ PA เดิม เฉพาะส่วนที่เป็นคุณภาพการบริหาร ส่วนที่เป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน คิดสัดส่วน KPI : SEPA 65% : 35% โดยน้ำหนักของ SEPA จะเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละ 5 %
    • การให้คะแนน SEPA แบ่งออกเป็น 7 หมวด หมวดที่ 1-6 600 คะแนน ส่วนหมวดที่7 ผลลัพธ์ 400 คะแนน ในช่วงแรกคิดคะแนนเฉพาะ หมวดที่1-6 ก่อน ในส่วนของผลลัพธ์จะทะยอยปรับสัดส่วนจาก KPI มาเป็นหมวด7 ผลลัพธ์ที่ดีต้องมาจากกระบวนการที่ดี
    • SEPA เน้นความต้องการของลูกค้า บุตคลากรต้องมี Customer centric
    • อุปสรรคของ SEPA คือ การแบ่งไซโลของหน่วยงานมองเฉพาะส่วนรับผิดชอบของตัวเอง ไม่ได้มองภาพรวมละความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น
    • กฟผ. ได้ตั้งคณะทำงานจากทุกสายรอง ผวก. เพื่อที่จะร่วมกับบูรณาการนำกรอบนโยบายลงไปสู่การปฏิบัติ

    Panel Discussion การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามของการเมือง

    บทสัมภาษณ์คุณสุวิทย์ คุณกิตติ

    • การเมืองปัจจุบันเปลี่ยนแปลงมาก มีคนออกมาต่อต้านรัฐบาล กล่าวหาว่าทุจริต รวมถึงกลุ่มนักวิชาการ แพทย์ ให้การสนับสนุนจนเกิด Political dead lock การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นไม่เร็วก็ช้าขึ้นกับความรับผิดชอบของนักการเมือง
    • ความเสื่อมโทรมทางคุณธรรม (Moral Hazard) คนไทยยอมรับการทุจริต
    • ความมั่นคงทางพลังงานของไทยมีปัญหา เนื่องจากนำเข้าพลังงานถึง 70 % กฟผ.มีปัญหากับ
    • โครงการเดิมและโครงการใหม่ และต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาพลังงาน
    • กฟผ. เป็นองค์กรที่เข้มแข็งเป็น Professional การทุจริตแทบไม่มี เชื่อถือได้
    • กฟผ. ไม่ต้องสร้างรั้ว แต่ให้ชุมชนที่อยู่รอบโรงไฟฟ้าเป็นรั้วแทน
    • การลอบบี้ ไม่มีความจำเป็น ควรชี้แจงให้เข้าใจด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม คนใกล้ต้องได้รับประโยชน์มากกว่าคนอยู่ไกลโรงไฟฟ้า

    รศ.ดร.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร

    • ประชาธิปไตยเริ่มต้นตั้งแต่เกิดจนตาย
    • ระบบอุปถัมป์ทำลายสังคมและเป็นต้นเหตุให้นักการเมืองทุจริต
    • ขณะนี้ประเทศไทยไม่เข้าใจประชาธิปไตยโดยเนื้อหา โดนนักการเมืองบิดเบือนและมอมเมา
    • ผมเคยเสนอให้เก็บภาษีทรัพย์สิน แต่เขากลัวจะกระทบคนรวย 20 %
    • ประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์เพราะ ปัญหาการศึกษา แก้ไขโดยการส่งเสริมอาชีพครู โดยการขึ้นเงินเดือนครู
    • การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยมี 3 ส่วน 1. นักการเมืองให้อำนาจ เราจึงมีอำนาจตามกฎหมายรองรับ 2. ข้าราชการต้องรับใช้ประชาชน แต่โดนนักการเมืองปั่นหัวให้โกง 3. ภาคประชาชนยังไม่สามารถรวมพลังตรวจสอบนักการเมืองและประชาชนได้
    • สิ่งที่ กฟผ. ควรทำได้แก่ คืน1. กำไรให้สังคมโดยการสร้างหมู่บ้านแห่งความสุข 2. สร้างคุณภาพชีวิตให้คนมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ไม่ต้องไปโรงพยาบาล 3. ให้ประชาชนเป็นเพื่อน ไม่เอาเปรียบเขา

    อ.ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

    • ประชาธิปไตยแบบใหม่ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม
    • วิกฤติการเมืองทำให้เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนข้อมูล ระบบ Social Media วิทยุชุมชน
    • วิธีคิดต้องคิดแบบบูรณาการ
    • กฟผ. ต้องมีสติ กรณีที่เกิดเลวร้ายที่สุด เศรษฐกิจแย่ จะมียุทธศาสตร์อย่างไร
    • แผนการลงทุนในอนาคต คิดในแง่ Cash Flow อย่าคิด Cost Benefit
    • มีวิสัยทัศน์ในการวางตำแหน่งอย่างไร
    • ต้องบริหารจัดการในระยะสั้น รู้ข้อมูลในพื้นที่ ทำงานเป็นทีม เป็นเครือข่าย ขวัญกำลังใจ

    บทสัมภาษณ์อ.จรัส สุวรรณมาลา

    • ควรปฏิรูประบบเลือกตั้ง ให้มีตัวแทนแต่ละภาคส่วนมาเป็น ส.ส.
    • การปฏิรูปเป็นการกระจายอำนาจไปในแต่ละพื้นที่ และให้คนในพื้นที่บริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่ การทุจริตจะลดน้อยลง
    • -ระบบนโยบายสาธารณะ ควรทำให้ประชาชนเข้มแข็ง
    • -ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากๆ

    บทความเรื่อง Well-paid young Seattle techie prefers giving to riches จาก the Seattle Times, publishedMarch 12, 2014 by Jerry Large

    Jessan Hutchison-Quillian ในวัยเพียง 27 ปี กับความสำเร็จในการทำงานกับบริษัท Google  นับว่าเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่ไม่เพียงแต่การเรียนรู้ที่จะอยู่ในระบบทุนนิยม แต่เขายังเรียนรู้ที่จะอยู่และเกื้อกูลสังคมรอบข้างด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียงด้วย นั่นคือ การรู้จักคำว่า พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ที่จะไม่ยอมให้ระบอบทุนิยมสามานย์เข้าครอบงำ

    เขามีหลักการ และ ปรัชญาชีวิตของตนว่า "

    “No amount of money can buy you health or security. It’s better to make a community with people who can help you in hard times”

    ดังนั้น เงินและความร่ำรวย จึงมิใช่คำตอบสุดท้ายของความสุในชีวิต เขาจึงแบ่งปันและเกื้อกูลโอกาสแก่สังคมและเด็กที่ขาดโอกาส ด้วยการบริจาคเงินจำนวนมากเกือบครึ่งหนึ่งของที่หามาได้ ด้วยความหวังที่จะสร้างให้เกิดมิติใหม่แก่สังคมที่เอื้อเฟื้เผื่อแผ่ต่อกัน เพื่อสิ่งที่ดีกว่าในอนาคต เพราะเราจะไม่มีวันแห่งความสุขที่แท้จริงยั่งยืนได้ ตราบใดที่สังคมรอบข้างเรายังจมอยู่ในความทุกข์

    ณรงค์ศักดิ์ เขียวรำภา

    20 มีนาคม 2557

    นวัตกรรมของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) โดย คุณไพรวัลย์ ไทยนิยม

    • การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯมุ่งความสะดวกผ่านรูปแบบสินค้าและบริการ มุ่งสร้างนวัตกรรม
    • นวัตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่เกิดจากความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ Process Innovation, Product Innovation, Service Innovation และ Business Model Innovation
    • Innovation แบ่งเป็น 2 แบบ คือ Closed Innovation = Copy มาพัฒนา ละ Opened Innovation มี concept และ Focus on combine ซึ่งผู้บริหารมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างนวัตกรรมขององค์กร บริษัท ซีพี ออลล์

    ช่วงบ่าย White Ocean Strategy กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ. โดย คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

    • ประเทศสิงคโปร์มองว่าประเทศไทยไม่ใช่คู่แข่งเนื่องจากเห็นว่าประเทศไทยไม่ค่อยเน้นและให้ความสำคัญในเรื่องให้การศึกษากับประชาชน
    • กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว (White Ocean Strategy) คือ พื้นฐานสำคัญที่จะทำให้การประยุกต์ใช้กลยุทธ์การตลาดมีความมั่นคง แข็งแกร่ง และยั่งยืน
    • Key Word ของ White Ocean คือ ทุกคนเป็นผู้ชนะร่วมกันได้ (Everyone is the winner) เป็นการจับมือร่วมกัน เช่น Facebook สร้างความสมดุลระหว่างคุณค่ากับต้นทุน สร้างผลประโยชน์ที่ยั่งยืนขององค์กร
    • หลักการ White Ocean 7 ข้อ ได้แก่

    1.Where are we? การทำแผนประเมินตนเอง เป็นไปเพื่อผลเชิงบวกต่อสังคมโดยรวม

    2.What do we want to go? ให้มองภาพใหญ่ระดับมหภาค

    3.หาจุดสมดุลของ 4 P’s (People, Planet, Profit และ Passion)

    4.แบ่งปัน The World of Abundance

    5.Everyone is the winner. ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมและความจริง

    6.แนวคิด ISR ถ้าจะเปลี่ยนแปลงโลกนี้ต้องเริ่มจากตนเองก่อน

    7.BenchMarking เป็นผู้สร้างบรรทัดฐานใหม่ขึ้นในองค์กร

    ณรงค์ศักดิ์ เขียวรำภา

    วันที่ 19 มีนาคม 2557

    กรณีศึกษาของบริษัทบ้านปู จำกัด (คุณสมยศ รุจิรวัฒน์)

    ปัจจุบันบริษัทบ้านปูมีธุรกิจการลงทุนในประเทศต่างๆ 7 แห่งได้แก่ อินโดนีเซีย จีน ออสเตรเลีย ลาว มองโกลเลีย และ สิงคโปร์ มีพนักงาน 6,424 คน

    Key Success Factors : Ban Pu SD Frame

    • 1.Localization : Good Governance, Business Ethics, Compliance, Good Corporate Citizen
    • 2.License to Operate : Health & Safety, Environment, Community, Development
    • 3.Competitiveness : People Development, Operational Excellence, Technology

    งานความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

    • 1.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    • 2.การจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อม
    • 3.การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
    • 4.การส่งเสริมให้เกิดกลไกอย่างต่อเนื่อง

    ประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้

    • การ Diversify ธุรกิจควรจะเลือกธุรกิจที่เป็น Core-business หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
    • Value Creation โครงการนำถ่านหินจากแหล่งต่างๆมา Blend เพื่อให้ได้ถ่านที่มีคุณสมบัติตามที่ตลาดต้องการ
    • การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน 3 ระยะ คือก่อนทำเหมือง ระหว่างทำเหมืองและระยะสิ้นสุดการทำเหมือง

    Panel Dicussion TQM/SEPA: ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

    คุณปิติ ศรีสุขสมบัติ ผู้จัดการฝ่ายบริหารคุณภาพองค์กร ปตท.

    • ปตท.ทำ Pilot Project ที่ระยองจนได้ TQA และนำความรู้มาใช้กับท่อก๊าซจนทำให้ได้ TQA 2แห่ง
    • วิสัยทัศน์ “บริษัทพลังงานไทยข้ามชาติชั้นนำ” สร้างสมดุลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยใช้สามเหลี่ยมแห่งความยั่งยืนประกอบด้วย การพัฒนาอย่างสมดุล ด้านสังคม เศรษฐศาสตร์ และ สิ่งแวดล้อม โดยใช้ Coorperate Governance,High Performance Organization และ CSR กลยุทธ์สำคัญที่ทำให้บรรลุเป้หมายคือ Action plan
    • Leader’s Action : ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้ชี้นำ สื่อสาร กระตุ้นผู้ปฏิบัติงานให้ไปสุ่ความสำเร็จ และพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • KPI Monitoring: ปตท. มีระบบประเมินผลการปฏิบัติงานรายสัปดาห์ รายเดือน รายไตรมาศ รายครึ่งปี และรายปี
    • ปตท. สปิริต คือ คนเก่งและคนดี เน้นเรื่อง BCM (Business Continuality Management) แม้เกิดภาวะวิกฤติ ธุรกิจก็สามารถเดินติอได้
    • Key Success Factor ได้แก่ Continuous Improvement, Excellent Leadership และ Open Mind
    • อาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยากุล
    • TQM คือ การบริหารองค์กรให้เป็น High Performance Organization (HPO) ส่วน SEPA และ TQA เป็นแค่รางวัล จุกมุ่งหมายของ HPO ต้องมองเห็นผลงาน กฟผ. กำลังทำ EGAT Way เพื่อนำไปใช้ให้เป็น HPO
    • HPO คือองค์กรมีความสำเร็จและ Performance โดยจะต้องบริหารเหตุและติดตามผล และต้องเป็นไปตามที่ผู้มีส่วนได้เสียอยากได้ด้วย องคืกร HPO ต้องมีทั้งความสำเร็จและความสุขด้วย
    • -EGAT Way ต้องให้ความสำเร็จและความสุขไปด้วยกัน เป็นทั้งของหน่วยงานลั ผู้มีส่วนได้เสีย ความสุขมาจากบุคลากรและระบบบริหารจัดการ

    คุณโชติรส เสวกวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญ ระดับ 12 กฟผ.

    • ระบบ SEPA เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงผลการดำเนินงานเป็นภาคบังคับ ใช้แทนระบบ PA เดิม เฉพาะส่วนที่เป็นคุณภาพการบริหาร ส่วนที่เป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน คิดสัดส่วน KPI : SEPA 65% : 35% โดยน้ำหนักของ SEPA จะเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละ 5 %
    • การให้คะแนน SEPA แบ่งออกเป็น 7 หมวด หมวดที่ 1-6 600 คะแนน ส่วนหมวดที่7 ผลลัพธ์ 400 คะแนน ในช่วงแรกคิดคะแนนเฉพาะ หมวดที่1-6 ก่อน ในส่วนของผลลัพธ์จะทะยอยปรับสัดส่วนจาก KPI มาเป็นหมวด7 ผลลัพธ์ที่ดีต้องมาจากกระบวนการที่ดี
    • SEPA เน้นความต้องการของลูกค้า บุตคลากรต้องมี Customer centric
    • อุปสรรคของ SEPA คือ การแบ่งไซโลของหน่วยงานมองเฉพาะส่วนรับผิดชอบของตัวเอง ไม่ได้มองภาพรวมละความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น
    • กฟผ. ได้ตั้งคณะทำงานจากทุกสายรอง ผวก. เพื่อที่จะร่วมกับบูรณาการนำกรอบนโยบายลงไปสู่การปฏิบัติ

    Panel Discussion การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามของการเมือง

    บทสัมภาษณ์คุณสุวิทย์ คุณกิตติ

    • การเมืองปัจจุบันเปลี่ยนแปลงมาก มีคนออกมาต่อต้านรัฐบาล กล่าวหาว่าทุจริต รวมถึงกลุ่มนักวิชาการ แพทย์ ให้การสนับสนุนจนเกิด Political dead lock การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นไม่เร็วก็ช้าขึ้นกับความรับผิดชอบของนักการเมือง
    • ความเสื่อมโทรมทางคุณธรรม (Moral Hazard) คนไทยยอมรับการทุจริต
    • ความมั่นคงทางพลังงานของไทยมีปัญหา เนื่องจากนำเข้าพลังงานถึง 70 % กฟผ.มีปัญหากับ
    • โครงการเดิมและโครงการใหม่ และต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาพลังงาน
    • กฟผ. เป็นองค์กรที่เข้มแข็งเป็น Professional การทุจริตแทบไม่มี เชื่อถือได้
    • กฟผ. ไม่ต้องสร้างรั้ว แต่ให้ชุมชนที่อยู่รอบโรงไฟฟ้าเป็นรั้วแทน
    • การลอบบี้ ไม่มีความจำเป็น ควรชี้แจงให้เข้าใจด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม คนใกล้ต้องได้รับประโยชน์มากกว่าคนอยู่ไกลโรงไฟฟ้า

    รศ.ดร.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร

    • ประชาธิปไตยเริ่มต้นตั้งแต่เกิดจนตาย
    • ระบบอุปถัมป์ทำลายสังคมและเป็นต้นเหตุให้นักการเมืองทุจริต
    • ขณะนี้ประเทศไทยไม่เข้าใจประชาธิปไตยโดยเนื้อหา โดนนักการเมืองบิดเบือนและมอมเมา
    • ผมเคยเสนอให้เก็บภาษีทรัพย์สิน แต่เขากลัวจะกระทบคนรวย 20 %
    • ประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์เพราะ ปัญหาการศึกษา แก้ไขโดยการส่งเสริมอาชีพครู โดยการขึ้นเงินเดือนครู
    • การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยมี 3 ส่วน 1. นักการเมืองให้อำนาจ เราจึงมีอำนาจตามกฎหมายรองรับ 2. ข้าราชการต้องรับใช้ประชาชน แต่โดนนักการเมืองปั่นหัวให้โกง 3. ภาคประชาชนยังไม่สามารถรวมพลังตรวจสอบนักการเมืองและประชาชนได้
    • สิ่งที่ กฟผ. ควรทำได้แก่ คืน1. กำไรให้สังคมโดยการสร้างหมู่บ้านแห่งความสุข 2. สร้างคุณภาพชีวิตให้คนมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ไม่ต้องไปโรงพยาบาล 3. ให้ประชาชนเป็นเพื่อน ไม่เอาเปรียบเขา

    อ.ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

    • ประชาธิปไตยแบบใหม่ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม
    • วิกฤติการเมืองทำให้เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนข้อมูล ระบบ Social Media วิทยุชุมชน
    • วิธีคิดต้องคิดแบบบูรณาการ
    • กฟผ. ต้องมีสติ กรณีที่เกิดเลวร้ายที่สุด เศรษฐกิจแย่ จะมียุทธศาสตร์อย่างไร
    • แผนการลงทุนในอนาคต คิดในแง่ Cash Flow อย่าคิด Cost Benefit
    • มีวิสัยทัศน์ในการวางตำแหน่งอย่างไร
    • ต้องบริหารจัดการในระยะสั้น รู้ข้อมูลในพื้นที่ ทำงานเป็นทีม เป็นเครือข่าย ขวัญกำลังใจ

    บทสัมภาษณ์อ.จรัส สุวรรณมาลา

    • ควรปฏิรูประบบเลือกตั้ง ให้มีตัวแทนแต่ละภาคส่วนมาเป็น ส.ส.
    • การปฏิรูปเป็นการกระจายอำนาจไปในแต่ละพื้นที่ และให้คนในพื้นที่บริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่ การทุจริตจะลดน้อยลง
    • -ระบบนโยบายสาธารณะ ควรทำให้ประชาชนเข้มแข็ง
    • -ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากๆ
    ณรงค์ศักดิ์ เขียวรำภา

    วันที่ 21 มีนาคม 2557

    เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC

    สถานภาพเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ

    • สหรัฐเศรษฐกิจขยายตัว 3 %
    • EU ขยายตัว 1 % ผ่านพ้นวิกฤต Recession ไปแล้ว ระบบเศรษฐกิจของยุโรปมีการรวมตัวที่แน่นแฟ้น เช่น Banking Union, Single Rescue Fund และ European Stabilize
    • ญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัว ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น การยกเว้น VISA เข้าประเทศ
    • การขึ้นภาษี Sale Tax
    • จีน มีสภาพเศรษฐกิจน่าเป็นห่วง มีประชากร 1200 ล้านคน ค่า GDP 10 % ต่อเนื่องกันหลายปี
    • ไทย ขยายตัวเฉลี่ย 3 % ส่งออก 5-6 % เป็นผลมาจาก AFTA ดอกเบี้ยลดในปีนี้เพราะการเมือง และจะเพิ่มขึ้นในปีหน้า อัตราแลกเปลี่ยน เริ่มอ่อนลง

    สถานการณ์พลังงานโลกปี 2557

    • ความต้องการน้ำมันดิบของโลกขยายตัว 1.4 % หรือ 1.3 mb/d สู่ระดับ 92.5 mb/d
    • กลุ่มนอกโอเปคผลิตน้ำมันเพิ่ม 1.7 mb/d สู่ระดับ 56.4 mb/d
    • สหรัฐจะเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในกลุ่มนอกกลุ่มโอเปค
    • ปัจจัยเสี่ยงเรื่องน้ำมันลดลงเนื่องจากความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างอิหร่านกับชาติตะวันตก
    • โอเปคคงเพดานการผลิตที่ 30 mb/d
    • จะมีแรงกดดันทำให้ราคาน้ำมันดิบลงไปต่ำกว่า 100 $/bbl

    ทิศทางพลังงานไทยปี 2557

    • ราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลง
    • ราคาก๊าซธรรมชาติจะมีแนวโน้มสูงขึ้น
    • ค่าไฟฟ้า (เอฟที) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
    • ถ่านหินราคาลดลงเพราะผู้ใช้รายใหญ่หันไปใช้ก๊าซและพลังงานหมุนเวียน

    ภาพรวมสถานการณ์พลังงานไทยและแนวโน้มในอนาคต

    • ไออีเอเห็นว่าประเทศไทยมีจุดเสี่ยงความมั่นคงด้านพลังงานสูงที่สุดในอาเซียน
    • ต้องพึ่งพาพลังงานจากภายนอกประเทศมากขึ้น
    • น้ำมันเพิ่มขึ้นจาก 85 % เป็น 100 % ในปี 2578
    • ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นจาก 25 % เป็น 90 % ในปี 2578
    • LNG เพิ่มขึ้นจาก 3 เป็น 23 ล้านตัน ในปี 2573
    • ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 3 % เป็น 21 % ในปี 2573 (พม่าเพิ่มจาก 1500 MWเป็น 10,000 MW
    • ผลกระทบการปรับตัวของ กฟผ.
    • ปรับองค์กรให้เป็นองค์กรชั้นนำระดับภูมิภาคเพื่อรองรับการแข่งขันและโอกาสทางธุรกิจ
    • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ ASEAN GRID
    • การพัฒนาพลังงานเพื่อความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมที่ดี (Green Energy)
    • แสวงหาลู่ทางในการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน และใช้ประโยชน์จากความเป็นผู้นำด้านพลังงานไฟฟ้าและการซ่อมบำรุง

    Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร

    Mind Map คือเครื่องมือในการจดบันทึกที่ใช้สมองสองซีกอย่างเต็มที่ คิดโดยชาวอังกฤษชื่อ Tony Buzan เมื่อปี 2517 และเผยแพร่ไปทั่วโลก สามารถใช้ได้ทั้งกับการเรียนและการทำงาน

    ประโยชน์ของ Mind Map

    • ใช้วางแผนงาน
    • นำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
    • ช่วยพัฒนาความจำ
    • พัฒนาการประชุม
    • เพิ่มประสิทธิภาพงาน
    • ร่าง Outline งานที่ยืดหยุ่น

    กฎของ Mind Map

    • แก่นแกน : เริ่มจากกลางหน้าควรเป็นภาพหรือสัญลักษณ์และไม่ล้อมกรอบ
    • กิ่งแก้ว : ประเด็นสำคัญ กระจายออกรอบทิศทาง เส้นกิ่งแก้วให้วาดโค้งเรียวลง เช่น กิ่งไม้ เชื่อมโยงติดกับกับแกเนแกน
    • กิ่งก้อย : ประเด็นรอง ใช้สีเดียวกับกิ่งแก้ว เขียนเป็นเส้นโค้งไหลลื่น
    • คำ : ให้ใช้คำสั้นๆ ตัวบรรจง อ่านได้ชัดเจน ต้องมีเส้นรองรับข้างใต้เสมอ
    • เส้น : ยาวกว่าภาพ เส้นบนกิ่งแก้วเดียวกัน ต้องเชื่อมต่อกัน และเป็นสีเดียวกัน เขียนเป็นเส้นโค้งไหลลื่น
    ณรงค์ศักดิ์ เขียวรำภา

    สรุปบทความ Well-paid young Seattle techie prefer giving to riches

    Jessan Hutchison-Quillian เป็นวิศวกรหนุ่มผู้ที่ทุ่มเทเวลาและมักจะบริจาคเงินเพื่อต่อสู้กับความยากจนและความไม่เสมอภาคของรายได้ เขาจบจากมหาวิทยาวอชิงตันเมื่ออายุ 19 ปี เข้าทำงานที่บริษัท Google ในปี 2007 เขากำลังจะพลิกกระแสของสังคมในโลกทุนนิยมเขาต้องการให้สังคมมีความยุติธรรมและเอื้อเฟื้อเผื่อแผร่กันมากขึ้น แม้ว่าในวัยเด็ก พ่อแม่ของเขาจะแยกทางกันและไม่ได้สอนให้เขาคิดหรือมีมุมมองต่อสังคมในอนาคต แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป เขามีความคิดที่อยากจะช่วยเหลือสังคมให้ดีขึ้น โดยให้ความช่วยเหลือผู้ขาดแคลน เขาบริจาคเงินมากกว่า 100,000 ดอลล่าร์ และเพิ่มขึ้นจนถึง 40 % ในปัจจุบัน เขาคิดว่าการช่วยเหลือของเขาเป็นการซ่อมแซมส่วนที่เสียหายของโลก โดยเฉพาะความไม่เสมอภาคทางด้านอำนาจและทรัพยากร สิ่งที่มีส่วนทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการให้ ได้แก่ 1.ครอบครัวมีความพอเพียงไม่มีความต้องการด้านวัตถุนิยม 2. เขามีความคิดว่าเขามีทุกอย่างพร้อมแล้ว ทั้งความรักและความสุขสบาย 3. เขารู้ว่าเด็กๆไม่ได้มีโชคดีทุกคนเสมอไปเงินไม่สามารถจะซื้อสุขภาพและความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตได้ สิ่งที่ดีกว่าคือการสร้างชุมชนที่มีคนที่สามารถช่วยเหลือคุณในช่วงที่มีปัญหา เขาไม่ได้มุ่งหวังให้ทุกคนทำตามอย่างทั้งหมด แต่เขาเชื่อว่าคนอเมริกันส่วนใหญ่ต้องการสิ่งที่ดีกว่า การสะสมด้านวัตถุโดยไม่มีจุดมุ่งหมายในมือข้างหนึ่ง ในขณะที่อีกข้างหนึ่งมีแต่ความไม่เสมอภาคเกิดขึ้น หลักการดำเนินชีวิตโดยหลักการให้ของ Jessan Hutchison-Quillian เป็นต้นแบบของการเอื้อเฟื้อเผื่อแผร่และความยุติธรรมในสังคมที่จะช่วยปลุกจิตสำนึกให้เกิดความคิดที่แตกต่างถึงผลสำเร็จที่จะเกิดขึ้นต่อสังคม เป็นแนวคิดที่ดีที่จะช่วยเหลือสังคมเพื่อลดปัญหาความยากจน ลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน เกิดความเสมอภาค อันจะช่วยให้สังคมมีความสุข และมีความยั่งยืน ซึ่งตรงกันข้ามกับ หลักทุนนิยมสามานย์ ที่มุ่งเน้นการแสวงหากำไรและผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง ผู้ที่มีอำนาจหรือมีอิทธิพลมักใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกต้องหาผลประโยชน์ในระบบทุนนิยม ก่อให้เกิดปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น คนรวยเฉพาะคนเพียงกลุ่มเดียว คนส่วนใหญ่ในสังคมยากจนมากขึ้น เกิดความไม่เสมอภาค และนำไปสู่ความปัญหาความขัดแย้งซึ่งทำให้สังคมไม่มีความสงบสุข

    วันที่ 18 มีนาคม 2557

    ศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิชัยพัฒนา หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

    • ปัญหาของโลกเกิดจากการบริโภคที่เกินพอดี ในปี 2518 เป็นจุดสมดุลของการบริโภคของโลก และในปี 2550 การบริโภคทรัพยากรของโลกจะสูงเกินไป 1.5 เท่า และมีผลทำให้ดัชนีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติลดลง 30 % ประเทศที่พัฒนาแล้วบริโภคมากคาดว่าในปี 2573 และ2593 การบริโภคจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 และ 2.8 เท่าของโลก หรือหมายถึงต้องมีโลก 2-3 ใบ จึงจะพอ
    • การพัฒนาในอดีต-ปัจจุบัน KMP (Knowledge, Power, Money) เป็นการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ (GDP) ระบบทุนนิยม การแข่งขันและการใช้ทรัพยาอย่างฟุ่มเฟือย ส่งผลให้เกิดมลภาวะ ภัยพิบัติ และปัญหาสังคม ส่วนการพัฒนาในอนาคตควรจะเป็นแบบ GCK ( Goodness, Culture, Knowledge ซึ่งเน้นเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง การอนุรักษ์ทรัพยากรและวัฒนธรรมท้องถิ่น และหลักธรรมาภิบาล
    • การพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักอยู่ 3 ประการคือ พอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี บนเงื่อนไขความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) และเงื่อนไขคุณธรรม (ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน และกำหนดความพอดี 6 ประการ ได้แก่ ด้านจิตใจ ด้านสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเมือง
    • เศรษฐกิจพอเพียงควรมีความพอดี 6 ประการ ด้านจิตใจ ด้านสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเมือง
    • การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการพัฒนาที่มีความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ไม่เน้น Cost Benefit แต่เน้น Cost effectiveness (ไม่คำนึงถึงตัวเงินแต่คำนึงถึงการใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ)
    • ปัญหาต่างๆของประเทศขาดผู้นำ (Leadership) ในการแก้ไข และขาดการบริหารจัดการ

    ผู้นำ-วัฒนธรรมองค์กร-การบริหารการเปลี่ยนแปลง

    วัฒนธรรมองค์กร คืออะไรที่องค์กรมองและปฏิบัติตาม เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น หรือค่านิยมที่ได้พัฒนา เช่น วัฒนธรรมองค์กรของ กฟผ. กฟภ. และกฟน. ซึ่งไม่เหมือนกัน วัฒนธรรมองค์กรกับการเปลี่ยนแปลงจะเป็น Organization Value ถ้ามีการขับเคลื่อนให้เห็นในทิศทาง ต้อง Relevance และ Execute

    อ.ประกาย ชลหาญ

    - การบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องเปิดใจและเปลี่ยน Mindset พร้อมที่จะเปลี่ยนตัวเองก่อนที่จะเปลี่ยนผู้อื่น Jack Weltch กล่าวว่า “ Change Before you force to change otherwise is too late” เพราะสิ่งแวดล้อมจะบังคับให้คุณเปลี่ยนอยู่ดี

    - Performance มาจาก 2 ส่วน คือ Competency และ Motivation

    • Competency (สมรรถนะ/ความสามารถ) ประกอบด้วย Knowledge (ความรู้) และ Skill (ทักษะ ประสบการณ์) สร้างคนอย่างไรให้คนมีความสามารถ
    • Motivation คือ แรงจูงใจ ถ้ามีคนเก่งแล้วไม่สามารถจูงใจให้เขาทำงานได้ เขาก็จะไม่ทำงาน ทำอย่างไรให้เกิด Motivation (ต้องเข้าใจลูกน้อง/Promotion)

    ดร. ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

    Adaptive Challenge (ความท้าทายในการปรับตัว)

    • -ผู้บริหารต้องปลูกฝังพฤติกรรมการปรับตัวให้กับคนของตัวเอง
    • -การที่จะอยู่ได้ต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

    การสร้างภาวะผู้นำในตัวเอง

    ใช้หลัก KFCI

    K: Know me = ทำความรู้จักกับลูกน้อง F: Focus me = บริหารลูกน้องตามลักษณะ

    C: Care about me = ดูแลลูกน้อง I : Inspire= สร้างแรงบันดาลใจ

    Coaching การสอนงานและให้คำปรึกษา พูดคุยกับลูกน้อง

    การสร้าง Learning ต้องสร้างสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้

    การเปลี่ยน Mindset ต้องตอบคำถามตัวเองว่า ความหมายของวัฒนธรรมองค์กร “รักองค์กร มุ่งงานเลิศ เทิดคุณธรรม ทำไมสำคัญต่อ กฟผ. ถ้าสำคัญเราอยากเห็นพฤติกรรมอะไร มีผลต่อ Stake Holder อย่างไร

    อ.ประกาย

    ข้อคิดเห็นต่อวัฒนธรรมองค์กรและการเปลี่ยนแปลง กฟผ.

    - กฟผ.มีโครงสร้างที่มีจำนวนฝ่ายมากเกินไป ต้องพิจารณาปรับโครงสร้างและสื่อสารให้เข้าใจ

    - Cross Saling อธิบายให้ฝ่ายต่างๆเข้าใจว่าหน่วยงานทำอะไร

    - เน้นเรื่องวิธีการ ต้องมี Process + Procedure ให้เป็นขั้นตอนเดียวกัน

    - เปิดรั้วทำตัวให้กลมกลืนกับชุมชน

    กิจกรรมกลุ่ม: นำเสนอผลการเก็บข้อมูลงานวิจัยและแนะนำแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล

    (อ.กิตติ ชยางคกุล)

    หัวข้อวิจัยของกลุ่ม : การสำรวจทัศนคติของคน กฟผ. ต่อการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่

    ประเด็นปัญหา : ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ในแต่ละสายงานมีทัศนคติต่อการสร้างโรงไฟฟ้าที่แตกต่างกัน

    ความเป็นไซโลของแต่ละสายงานอาจทำให้ผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้ความเข้าใจ

    สถานการณ์พลังงานและความจำเป็นในการพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่ และภารกิจของ กฟผ.

    ข้อคิดเห็น : ให้พิจารณากำหนดกรอบการศึกษาให้ชัดเจน ว่าจะศึกษาภาพรวมของโรงไฟฟ้าใหม่

    ทุกประเภทหรือจะแยกเฉพาะโรงไฟฟ้าประเภทใดประเภทหนึ่ง เพื่อให้สอดคล้องกับ

    ประเด็นปัญหามากที่สุด

    สรุปการเรียนรู้วันที่ 19 มีนาคม 2557

    (ช่วงเช้า)

    กรณีศึกษาของบริษัทบ้านปู กับการก้าวสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค  โดยคุณสมยศ รุจิรวัฒน์

    พัฒนาการของบริษัทบ้านปู แบ่งเป็น 5 ระยะด้วยกัน ได้แก่

    1.ระยะเริ่มต้น

    2.ระยะเติบโต และขยายกิจการไปสู่ธุจกิจพลังงาน

    3.ระยะวิกฤตด้านการเงิน

    4.ระยะปัจจุบัน

    5.การเติบโตในภาคหน้า

    การเริ่มต้นธุรกิจอยู่ที่วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น อีกทั้งการนำองค์กรสู่ตลาดหลักทรัพย์

    -ทำให้องค์กรโปร่งใส

    -มีประสิทธิภาพมากขึ้น

    -สามารถเพิ่มทุน/ระดมทุนได้

    -เพิ่มศักยภาพของคนได้อย่างต่อเนื่อง

    ช่วงวิกฤตของธุรกิจ จำเป็นต้อง Diversity ธุรกิจบางรายการออกไป รวมถึงการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในช่วงวิกฤต

    การ Focus ในธุรกิจตนเอง และ Trend ของธุรกิจในอนาคต ต้องพิจารณาหลาย ๆ ปัจจัย

    สิ่งที่ธุรกิจต้องมองหรือจัดการให้ Stakeholder พอใจ ได้แก่ กำไร ชุมชน สิ่งแวดล้อม หากเป็นต่างประเทศต้องมองที่ประโยชน์ของประเทศนั้น ๆ ที่จะได้รับด้วย

    ความคาดหวังของธุรกิจในต่างประเทศ

    -ต้องการทำเอง

    -เปิดให้ผู้ลงทุน (กรณีทำไม่ได้) เนื่องจาก

    มี Limitation มากขึ้น

    มีการควบคุม ภาษี

    มี Portion เพิ่มขึ้น ทำให้ Cost สูงขึ้น

    มี Public concern มากขึ้น

    มีการ Audit ในด้านต่าง ๆ

    เกี่ยวข้องกับนักข่าว, NGO, การพัฒนาท้องถิ่น

    ดังนั้น คนที่ใส่เข้าไปดูแลโครงการต้องใช่ และต้องมี Sense

    (ช่วงบ่าย)

    TQM/SEPA : ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ. โดยคุณโชติรส เสวกวัฒนา  อ.สัญญา เศรษพิทยากุลและคุณปิติ ศรีสุขสมบัติ

    การบริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศของ ปตท.TQA : ได้ทั้งระบบ และ Performance

    PTT Group Vision “บริษัทพลังงานไทยข้ามชาติชั้นนำ”

    ปตท. เน้นที่การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งต้องมีทั้ง HPO, CG และ CSR

    (Sustainable Growth Long Strong Top Quartile Performance)

    พัฒนาการด้านการจัดการคุณภาพของ ปตท. ใช้แนวทางของ SPIRIT  / Spirit : Performance : Innovation : Responsibility : Integrity &Ethics : Trust & Respect

    ปรัชญา/วิธีการบริหารของ EGAT/EGAT Way มาจากการนำ TQM และ SEPA มาบูรณาการจนเกิดผลงานและนำองค์กรไปสู่องค์กรสมรรถนะสูง หรือ Stakeholder พอใจ เกิดเป็นความสำเร็จและความสุขในการทำงานไม่ใช่สุขจาก Happy Workplace  สำหรับ EGAT มีความสุขเมื่องานสำเร็จ

    SEPA ใช้ประเมินผลรัฐวิสาหกิจ ดังนั้นความเป็น SILO ใน EGAT จึงเป็นปัญหาในกระบวนการจัดทำ SEPA ที่ทำให้มองไม่เห็นองค์กรในภาพรวม 

    Business View ของ EGAT จะดูทั้ง 2 ด้าน คือด้าน Demand และ Supply

    (ช่วงสุดท้าย)

    การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามของการเมืองโดย รศ.ดร.อัษฎางค์ ปาณิกบุตรอ.ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์และศ.ดร.จีระ

    ดู Clip ของคุณสุวิทย์คุณกิตติ

    ผลกระทบจากการเมืองระดับชาติ ระดับประเทศ ระดับชุมชน

    การเมืองในอนาคต และการเป็น Partners กับการเมือง รวมถึงประโยชน์ที่จะได้รับ การศึกษาสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน พันธมิตรภายใน-ภายนอกองค์กร และวิธีการดำเนินการต่าง ๆ เช่น Lobbyist, Networking เป็นต้น

    Virtual democracy ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม หรือวิธีคิดแบบรวมศูนย์ ต้องเรียนรู้ร่วมกัน คิดแบบบูรณาการ เชื่อมโยงกันทั้งหมด

    การวางตำแหน่ง (Vision) กรณี Worth case ต้องบริหารจัดการแบบเข้มข้นในระยะสั้น ลดการมองระยะยาว โดยขวัญ กำลังใจของผู้นำสำคัญที่สุด รวมทั้งความเป็น Leadership ของผู้นำ

    การวิเคราะห์การเมืองกรณีที่มีผลกระทบต่อ กฟผ. ทั้ง Worth case และ Best

    สรุปการเรียนรู้วันที่ 20 มีนาคม 2557

    (ช่วงเช้า)ณ ตึก ซีพี ออลล์

    นวัตกรรมของ ซีพี ออลล์ “Service Innovation”โดยคุณไพรวัลย์ ไทยนิยม

    Nin  นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม (New + Value Creation)

    CP All  นวัตกรรม คือ การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่หรือการปรับปรุงจากสิ่งเดิม ที่เกิดจากการนำความรู้และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาให้เกิดคุณค่าต่อลูกค้า องค์กร และสังคม

    ซึ่งนวัตกรรมมีหลายส่วนด้วยกัน ได้แก่

    Process Innovation

    Product Innovation

    Service Innovation

    Business Innovation

    Social Innovation

    โดยพิจารณาจาก ปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ส่งผลกระทบต่อการผลิต/งานล่าช้า มีผลกระทบต่อต้นทุน สิ่งแวดล้อมและชุมชน และมีการพูดถึงกันบ่อย ๆ

     

    (ช่วงบ่าย)

    White Ocean Strategy กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ.โดย อ.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

    ก่อนอื่นต้องพิจารณาก่อนว่า

    -Where are we.

    -Where do we want to go.

    -Where to get there.

    Freedom of choice : มนุษย์มีสิทธิ์เลือกที่จะทำ (ดี – เลว, บวก – ลบ)

    Knowledge is power ; Love is miracle

    สมองซีกขวาเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ ศิลป จิตวิญญาน นามธรรม

    สมองซีกซ้ายเกี่ยวข้องหรือถูกแทนด้วย Technology ซึ่งในอนาคตมักไม่ค่อยได้ใช้

    กลยุทธ์น่านน้ำสีแดง  เน้นแข่งขัน ทำกำไร

    กลยุทธ์น่านน้ำสีน้ำเงิน  Technology

    กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว  Win-Win Together เป็นองค์กรแห่งความสุข มีความคิดสร้างสรรค์ สร้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคมและความยั่งยืน.

    ความรับผิดชอบต่อสังคมต้องเริ่มจากตนเอง : Individual Social Responsibility (ISR)

    (ช่วงสุดท้าย)

    กิจกรรมธรรมะสำหรับผู้บริหาร : จิตอิสระกับจิตประภัสสรโดยพระพิศาลศาสนกิจ (หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล)

    เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการฝึกสมาธิและเฝ้าดูจิต โดยการดื่มน้ำเย็น...

     

    สรุปการเรียนรู้วันที่ 21 มีนาคม 2557

    (ช่วงเช้า)

    “กลยุทธ์ในการปรับตัวของธุรกิจ”

    เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

    โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์อ.ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูลอ.มนูญ ศิริวรรณ

    เศรษฐกิจไทยในภาวะวิกฤตทางการเมือง ยังเติบโตได้ 2.5 – 3 เนื่องจากการส่งออกยังพอไปได้.

    การเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค เช่น จีน เวียตนาม กัมพูชา และลาว รวมทั้งเศรษฐกิจของอเมริกาที่เริ่มฟื้นตัว.

    ทิศทางพลังงานของโลกและพลังงานไทยปี 2557  มีปัจจัยเกี่ยวข้องที่ต้องพิจารณาหลายด้าน

    -ราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลง

    -ราคาก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มสูงขึ้น

    -ค่าไฟฟ้า (Ft) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

    -ถ่านหินราคาลดลงเพราะผู้ใช้รายใหญ่หันไปใช้ก๊าซและพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น

    ภาพรวมสถานการณ์พลังงานไทยและแนวโน้มในอนาคต

    -ประเทศไทยมีจุดเสี่ยงความมั่นคงพลังงานสูงสุดในอาเซียน

    -มีความเสี่ยงสูงจากการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ เนื่องจากสถานการณ์ต้องการไฟฟ้าแต่ไม่ต้องการโรงไฟฟ้า Nimby (Not in my back yard)

    ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

    -ปรับองค์กรรองรับการแข่งขันและโอกาสทางธุรกิจ

    -พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

    -ตอบสนองโจทย์ด้านพลังงาน

    -แสวงหาลู่ทางการลงทุนด้านพลังงาน

    -ใช้ประโยชน์จากการเป็นผู้นำด้านพลังงาน

    -พัฒนาบุคลากรให้สู่ระดับสากล

    -เตรียมพร้อมรองรับการปฏิรูปพลังงานและการเปิดเสรี

    (ช่วงบ่าย)

    Mind Mapping สำหรับผู้บริหารและการวางแผนงานวิจัยและโครงการเชิงนวัตกรรมโดย อ.ดำเกิง ไรวา

    การจัดการความคิดและความจำที่เป็นระบบ (Mind map) โดยการใช้  Paper, Lines, Words, Images, Colours, Structure รวมถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่ต่าง ๆ เพื่อเป็นการช่วยจำ ตั้งเป้าให้เป็นไปได้ทั้งเป้าหมายส่วนตัวและเป้าหมายงาน และใช้วางแผนอาชีพที่ใช้ได้จริง

    ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นเมื่อ สบายสุด ๆ หรือย่ำแย่สุด ๆ

    เทคนิคการสร้าง Connection คือ อย่าชื่นชม/โฆษณาตนเอง แต่ให้คนอื่นเป็นผู้พูดหรือชื่นชมอย่างสนุกสนาน

    -Profit building

    -Profile building

    -Idea sharing เพื่อให้เกิดเรียนรู้ข้ามอุตสาหกรรม

    Mind map จำนำไปสู่ Mental of blue print.

    สุขาวดี ศิริจันทร์เพ็ญ

    วันที่ 18 มีนาคม 2557 ศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิชัยพัฒนา

    บรรยาย “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

    โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุลเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินรายการโดย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้เปิดประเด็น การเรียนรู้ในวันนี้ว่า เป็นการเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เน้นการทำงานอย่างต่อเนื่อง ที่ต้องมี แนวคิด( Mindset) มองไปในอนาคตว่าจะมีความท้ายทาย (Challenge) อะไรรออยู่ข้าหน้าบ้าง

    ดร.สุเมธ ตันติเวชกุลได้ให้หลักคิดไว้ดังนี้

    -เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องสำคัญ อย่าใช้เศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง ผู้คนในสังคม การเมือง ต้องพอเพียงด้วยแต่ละฝ่ายไม่ควรก้าวล่วง หรือทำสิ่งที่เกินพอดี

    -ควรศึกษาบทเรียนในอดีตของไทย ว่าเกิดเหตุอะไรบ้างเพราะอะไร แล้วศึกษาสิ่งนั้น มาเป็นบทเรียนในปัจจุบัน เช่น ปี 2539 ปี 2540 เกิดวิกฤติการต้มยำกุ้ง (Bubble Economic) ผู้ประกอบการล้มละลายจำนวนมาก เหตุเกิดเพราะเราเปิดเสรีทางการเงิน โดยไม่มีพื้นฐานรองรับ ไม่มีกฏระเบียบควบคุมการลงทุน ทำให้มีการใช้จ่ายเกินพอดี จนทำให้ IMF เข้ามาควบคุม

    -ปี 2504 - 2518 เป็นช่วง World Bio Capacity ปี 2518 พบว่าจำนวนของทรัพยากรกับคนสมดุลย์กัน แต่หลังจากปี 2518 พบว่าการบริโภคมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปี 2550 พบว่าเราใช้เกินไป 1.5 เท่าของโลก และคาดว่าเมื่อถึงปี 2573 - 2593 เราจะบริโภคไปถึง 2-2.8 เท่าของโลก

    -มันเกิดจากกการบริโภคที่เกินพอดี บริโภคอย่างฟุ่มเฟือยอาจกล่าวได้ว่าเราใช้ทรัพยากรให้เป็นประโยชน์แค่ 30% อีก 70% ไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์เราไม่แคร์บ้าน แคร์โลก ใช้ทรัพยากรเกินขีดจำกัด เป็นการรังแกธรรมชาติ ดัชนีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติของโลกลดลง 30% ในปี 2550 ทำให้ดิน น้ำ ลม ไฟ เกิดวิกฤติ เนื่องจากธรรมชาติไม่สมดุลย์ เรียกว่า สภาวะโลกแตก ซึ่งถ้าเราย่ออายุโลกจาก 4600 ล้านปี มาให้เท่ากับ 365 วัน จะพบว่าเกิด Mass Extinctionหรือ โลกแตกมาแล้ว 5 ครั้ง เราไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้ ถึงแม้จะมีเทคโนโลยี่ขนาดไหนก็ตาม

    -ประระเทศไทยมีทุกอย่างครบหมด แต่ข้อเสียคือไม่มีระบบบริหารจัดการที่ดีความพอเพียงจะรักษาความพอดี

    -พระเจ้าอยู่ทรงตรัสว่า เราต้องอยู่กับธรรมชาติให้ได้ อยู่อย่างไร อยู่อย่างพอดีพอเพียง มนุษย์ต้องเปลี่ยนวิธีคิด เพื่อนำไปสู่ความมั่นคงยั่งยืนของชีวิต

    -มนุษย์ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนของชีวิตโลกในอนาคตจึงต้องพัฒนาใน 3 เรื่อง คือ Goodness, Culture, Knowledge โดยเน้นที่ความสุขของคน Gross National Happiness,ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง, อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น (วัฒนธรรม และจิตวิญญาณ), อนุรักษ์ทรัพยากรฯ, ส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล ให้เกิดความน่าเชื่อถือ ไว้วางใจได้

    -หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทางสายกลาง (พอประมาณ, มีเหตุผ, และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี) โดยต้องใช้เงื่อนไขความรู้ (ความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) และเงื่อนไขคุณธรรม (ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน สติปัญญา แบ่งปัน) เพื่อนำไปสู่ เพื่อนำไปสู่ “ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สมดุล มั่นคง ยั่งยืน

    -เศรษฐกิจพอเพียง กำหนดความพอดี 6 ประการ คือ

    1.ความพอดีด้านจิตใจ (เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้, มีจิตสำนึกที่ดี, มองโลกอย่างสร้างสรรค์, เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่, ประนีประนอม, ยึดประโชน์สุข)

    2.ความพอดีด้านสังคม(ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน, รู้รักสามัคคี, เชื่อมโยงเครือข่าย, สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว และชุมชน, คำนึงถึงประโยชย์ส่วนรวม)

    3.ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาด และรอบคอบ, ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด, ระวังไม่ให้กิจกรรมกระทบสิ่งแวดล้อม ขยะ น้ำเน่าเสีย, รักษา ฟื้นฟู พัฒนา ทรัพยากร ดิน น้ำ ลม ไฟ)

    4.ความพอดีด้านเทคโนโลยี(รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ และสภาพแวดล้อม, พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้าน, ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก)

    5.ความพอดีด้านเศรษฐกิจ (ลดรายจ่าย, พออยู่ พอกิน พอใช้, ไม่ใช้จ่ายเกินตัว เกินฐานะที่หาได้, หารายได้เพิ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป, เลี่ยงการก่อหนี้โดยไม่มีผลตอบแทนที่คุ้มค่า, บริหารความเสี่ยงอย่างเข้มงวด)

    6.ความพอดีด้านการเมือง (ยึดหลักการของระบบประชาธิปไตย, กฏ กติกา ที่สอดคล้องกับสังคม, ความขัดแย้งต้องอยู่ในกรอบของระเบียบวินัย, เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ระบบประชาธิปไตย แก่คนทุกกลุ่ม,อยู่บนฐานธรรมาภิบาล)

    -จะทำอย่างไร เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง…….ต้องพลิกใจ พลิกความคิด

    “พลิกอ่อนแอ เป็นแข้มแข็ง, พลิกจากไม่มี เป็นมี, พลิกรู้จักแต่ใช้ เป็นรู้จักเก็บ, พลิกแตกแยก เป็นพลัง,

    พลิกคิดถึงแต่ตัวเอง เป็นแบ่งปัน, พลิกแห้งแล้ง เป็นชุ่มชื้น, พลิกปัญหา เป็นทางออก, พลิกทุกข์ เป็นสุข, พลิกใจให้เพียงพอ เพื่อความสุขที่ยั่งยืน...”

    - เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี ไม่ควรคิดแค่ Cost Benefit แต่ให้มองถึง Cost Effective ด้วย พระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า ขาดทุนคือกำไร ต้องยอมลงทุนเพื่อรักษาสภาพแวดล้อม จะใช้ให้น้อยอย่างไร เพื่อที่ขจัดสิ่งที่ไม่ดี นั่นคือความยั่งยืน (Management forSustainability)

    - เราต้องใช้ความรู้ เพื่อรักษาธรรมมาภิบาล (Good governance) และวัฒนธรรม (Culture) ธรรมมาภิบาลเป็นจิตสำนึกของผู้นำ และคนในองค์กร เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และความน่าเชื่อถือ ผู้ปกครองต้องมีคุณธรรม และความดี แล้วระบบที่ดีจะตามมา ถ้าผู้นำไม่ดี จะทำให้ระบบไม่ดีไปด้วย การที่ต้องสร้างกฏระเบียบมาควบคุม อย่างมากมาย นั่นกำลังแสดงว่า ธรรมมาภิบาล อยู่ในภาวะวิกฤติ

    - เศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง คือการใช้ทรัพยากรรอบตัวอย่างถูกต้อง การจะนำเข้าสิ่งใดจากต่างประเทศ ต้องศึกษาข้อดีข้อเสีย และดูว่าเราได้บริหารจัดการภายในอย่างครบถ้วนหรือยัง

    - การอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น ต้นอัมพวา ทำไมชื่อต้นอัมพวา คนไม่รู้ แต่พูดแล้วทำไมคนอยากรู้ การนำเรือไปดูหิ่งห้อยโดยใช้เรือพายต่อจากเรือหางยาว

    - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงไว้ 3 เรื่อง หลัก ๆ คือ

    1. พอประมาณ คือดูทุนเราก่อนว่าทุนเรามีแค่ไหนอย่างไร อย่าทำอะไรที่เกินทุนของเรา และให้ดูทางทุนทางกายภาพด้วย เช่น ความแข็งแรงยังมีอยู่หรือไม่ คือต้องประเมินก่อน ต้องประเมินตนเอง เราทำแล้วผลพวงเป็นอย่างไรบ้าง จุดแข็ง จุดอ่อนเป็นอย่างไร ต้องทำ Self Assessment ก่อน แต่ถ้าใช้กับ กฟผ. ต้องทำ Corporate Assessment ก่อน สรุปคือทุกอย่างต้อง Assessment หมด และที่สำคัญคือ Human Resource ไม่ใช่แค่กำลังคนเท่านั้น แต่การพัฒนาคนต้องพัฒนาทุกมิติ คือมีคุณธรรม และมีวิสัยทัศน์

    2. มีเหตุมีผล เช่นการ ใช้เงิน ให้ใช้เหตุผลเป็นเครื่องนำทาง อย่าทำตามอารมณ์ ต้องรู้จักใช้เหตุผลให้ได้ การสร้างเหตุผลได้ คือต้องมีสติ ตัวอย่างเช่นงบประมาณ 2.2 ล้านบาท ต้องมีเหตุผลในการใช้เงินว่าไปทำอะไร มีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ประเมินจากปริมาณมาดูที่คุณภาพ (Quality) ขึ้นอยู่กับเวลาและโอกาส หรือเรียกว่า กาลเทศะ ตัวอย่างเช่นการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เมื่อปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะทำอย่างไร จะทำไปแบบนี้หรือไม่ หรือจะไปปรมาณู วควรต้องคิดใหม่หรือไม่ พอเพียงหรือเพียงพอ ที่ผ่านมา กฟผ.ใช้เพียงพอเป็นตัวนำตลอด ใช้ Demand เป็นตัวตั้ง แล้วสร้าง Supply สนอง Demand ให้ได้ อยากให้ลองคิดกลับคือ ให้ใช้ Supply เป็นตัวตั้ง แล้วตาม้วย Demand เป็น Project Supply ว่า กฟผ.จะสามารถผลิตไฟฟ้าอย่างยั่งยืน โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการถ่วงดุลย์ เมือผลิตได้ตามกำลังจำกัด ก็ต้องลองปรับ Demand ให้ตาม Supply ที่มีอยู่ได้หรือไม่ เช่น อุณหภูมิห้องปรับอากาศไม่ต้องเย็นมาก ช่วยกันประหยัดได้หรือไม่ เรื่องน้ำ มีวิกฤติจุดไหน แล้วเราสนใจจะแก้ไขอย่างไร นิวเคลียร์จะเอาหรือไม่

    3. มีภูมิคุ้มกัน ตัวอย่างที่ปรับใช้ กฟผ. เช่น เมื่อวันหนึ่งพลังงานไม่มี จะเอาอะไรทดแทน จะประหยัดได้อย่างไร ประเทศไทยรวยมากหรือถึงต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ อะไรที่เป็น Spirit ต้องบริหารให้ดี ตัวอย่างเช่น บริษัทใหญ่ในประเทศไทยที่ใช้คำว่าเครือ เช่น เครือซี.พี. มีบริษัทลูกประมาณ 200 บริษัท เครือซีเมนต์ไทยก็มีหลายบริษัท ตอนวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2539, 2540 บริษัทล้ม ก็กลับไปใช้แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือประเมินว่า จริงๆ แล้ว บริษัทเราเก่งอะไรกันแน่ และมีความจำเป็นหรือไม่ที่ควรจะมีถึง 200 บริษัท จึงนำมาสู่แนวคิดว่า จะเก็บแต่ Core Business ไว้ ที่เหลือขายทิ้งหมด ตัวอย่างปูนซีเมนต์ไทย สามารถใช้แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้วทำให้ผลการดำเนินงาน (Performance) ดีกว่าแต่ก่อน หนี้ที่เคยมีถึงห้าหมื่นแปดพันล้านบาท สามารถหายไปได้ เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้สอนให้จน แต่สอนให้รวยอย่างไรให้ยั่งยืน คือไม่จำเป็นต้องใหญ่ แต่ทำอย่างไรให้ยั่งยืน ต้องมุ่งไปสู่สมดุลย์ มั่นคง และยั่งยืนให้ได้

    สุขาวดี ศิริจันทร์เพ็ญ

    วันที่ 18 มีนาคม 2557 ศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิชัยพัฒนา

    บรรยาย “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

    โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุลเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินรายการโดย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้เปิดประเด็น การเรียนรู้ในวันนี้ว่า เป็นการเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เน้นการทำงานอย่างต่อเนื่อง ที่ต้องมี แนวคิด( Mindset) มองไปในอนาคตว่าจะมีความท้ายทาย (Challenge) อะไรรออยู่ข้าหน้าบ้าง

    ดร.สุเมธ ตันติเวชกุลได้ให้หลักคิดไว้ดังนี้

    • เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องสำคัญ อย่าใช้เศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง ผู้คนในสังคม การเมือง ต้องพอเพียงด้วยแต่ละฝ่ายไม่ควรก้าวล่วง หรือทำสิ่งที่เกินพอดี
    • ควรศึกษาบทเรียนในอดีตของไทย ว่าเกิดเหตุอะไรบ้างเพราะอะไร แล้วศึกษาสิ่งนั้น มาเป็นบทเรียนในปัจจุบัน เช่น ปี 2539 ปี 2540 เกิดวิกฤติการต้มยำกุ้ง (Bubble Economic) ผู้ประกอบการล้มละลายจำนวนมาก เหตุเกิดเพราะเราเปิดเสรีทางการเงิน โดยไม่มีพื้นฐานรองรับ ไม่มีกฏระเบียบควบคุมการลงทุน ทำให้มีการใช้จ่ายเกินพอดี จนทำให้ IMF เข้ามาควบคุม
    • ปี 2504 - 2518 เป็นช่วง World Bio Capacity ปี 2518 พบว่าจำนวนของทรัพยากรกับคนสมดุลย์กัน แต่หลังจากปี 2518 พบว่าการบริโภคมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปี 2550 พบว่าเราใช้เกินไป 1.5 เท่าของโลก และคาดว่าเมื่อถึงปี 2573 - 2593 เราจะบริโภคไปถึง 2-2.8 เท่าของโลก
    • มันเกิดจากกการบริโภคที่เกินพอดี บริโภคอย่างฟุ่มเฟือยอาจกล่าวได้ว่าเราใช้ทรัพยากรให้เป็นประโยชน์แค่ 30% อีก 70% ไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์เราไม่แคร์บ้าน แคร์โลก ใช้ทรัพยากรเกินขีดจำกัด เป็นการรังแกธรรมชาติ ดัชนีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติของโลกลดลง 30% ในปี 2550 ทำให้ดิน น้ำ ลม ไฟ เกิดวิกฤติ เนื่องจากธรรมชาติไม่สมดุลย์ เรียกว่า สภาวะโลกแตก ซึ่งถ้าเราย่ออายุโลกจาก 4600 ล้านปี มาให้เท่ากับ 365 วัน จะพบว่าเกิด Mass Extinctionหรือ โลกแตกมาแล้ว 5 ครั้ง เราไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้ ถึงแม้จะมีเทคโนโลยี่ขนาดไหนก็ตาม
    • ประระเทศไทยมีทุกอย่างครบหมด แต่ข้อเสียคือไม่มีระบบบริหารจัดการที่ดีความพอเพียงจะรักษาความพอดี
    • พระเจ้าอยู่ทรงตรัสว่า เราต้องอยู่กับธรรมชาติให้ได้ อยู่อย่างไร อยู่อย่างพอดีพอเพียง มนุษย์ต้องเปลี่ยนวิธีคิด เพื่อนำไปสู่ความมั่นคงยั่งยืนของชีวิต
    • มนุษย์ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนของชีวิตโลกในอนาคตจึงต้องพัฒนาใน 3 เรื่อง คือ Goodness, Culture, Knowledge โดยเน้นที่ความสุขของคน Gross National Happiness,ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง, อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น (วัฒนธรรม และจิตวิญญาณ), อนุรักษ์ทรัพยากรฯ, ส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล ให้เกิดความน่าเชื่อถือ ไว้วางใจได้
    • หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทางสายกลาง (พอประมาณ, มีเหตุผ, และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี) โดยต้องใช้เงื่อนไขความรู้ (ความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) และเงื่อนไขคุณธรรม (ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน สติปัญญา แบ่งปัน) เพื่อนำไปสู่ เพื่อนำไปสู่ “ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สมดุล มั่นคง ยั่งยืน
    • เศรษฐกิจพอเพียง กำหนดความพอดี 6 ประการ คือ

    1.ความพอดีด้านจิตใจ (เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้, มีจิตสำนึกที่ดี, มองโลกอย่างสร้างสรรค์, เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่, ประนีประนอม, ยึดประโชน์สุข)

    2.ความพอดีด้านสังคม(ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน, รู้รักสามัคคี, เชื่อมโยงเครือข่าย, สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว และชุมชน, คำนึงถึงประโยชย์ส่วนรวม)

    3.ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาด และรอบคอบ, ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด, ระวังไม่ให้กิจกรรมกระทบสิ่งแวดล้อม ขยะ น้ำเน่าเสีย, รักษา ฟื้นฟู พัฒนา ทรัพยากร ดิน น้ำ ลม ไฟ)

    4.ความพอดีด้านเทคโนโลยี(รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ และสภาพแวดล้อม, พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้าน, ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก)

    5.ความพอดีด้านเศรษฐกิจ (ลดรายจ่าย, พออยู่ พอกิน พอใช้, ไม่ใช้จ่ายเกินตัว เกินฐานะที่หาได้, หารายได้เพิ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป, เลี่ยงการก่อหนี้โดยไม่มีผลตอบแทนที่คุ้มค่า, บริหารความเสี่ยงอย่างเข้มงวด)

    6.ความพอดีด้านการเมือง (ยึดหลักการของระบบประชาธิปไตย, กฏ กติกา ที่สอดคล้องกับสังคม, ความขัดแย้งต้องอยู่ในกรอบของระเบียบวินัย, เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ระบบประชาธิปไตย แก่คนทุกกลุ่ม,อยู่บนฐานธรรมาภิบาล)

    • จะทำอย่างไร เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง…….ต้องพลิกใจ พลิกความคิด

    “พลิกอ่อนแอ เป็นแข้มแข็ง, พลิกจากไม่มี เป็นมี, พลิกรู้จักแต่ใช้ เป็นรู้จักเก็บ, พลิกแตกแยก เป็นพลัง,

    พลิกคิดถึงแต่ตัวเอง เป็นแบ่งปัน, พลิกแห้งแล้ง เป็นชุ่มชื้น, พลิกปัญหา เป็นทางออก, พลิกทุกข์ เป็นสุข, พลิกใจให้เพียงพอ เพื่อความสุขที่ยั่งยืน...”

    - เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี ไม่ควรคิดแค่ Cost Benefit แต่ให้มองถึง Cost Effective ด้วย พระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า ขาดทุนคือกำไร ต้องยอมลงทุนเพื่อรักษาสภาพแวดล้อม จะใช้ให้น้อยอย่างไร เพื่อที่ขจัดสิ่งที่ไม่ดี นั่นคือความยั่งยืน (Management forSustainability)

    - เราต้องใช้ความรู้ เพื่อรักษาธรรมมาภิบาล (Good governance) และวัฒนธรรม (Culture) ธรรมมาภิบาลเป็นจิตสำนึกของผู้นำ และคนในองค์กร เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และความน่าเชื่อถือ ผู้ปกครองต้องมีคุณธรรม และความดี แล้วระบบที่ดีจะตามมา ถ้าผู้นำไม่ดี จะทำให้ระบบไม่ดีไปด้วย การที่ต้องสร้างกฏระเบียบมาควบคุม อย่างมากมาย นั่นกำลังแสดงว่า ธรรมมาภิบาล อยู่ในภาวะวิกฤติ

    - เศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง คือการใช้ทรัพยากรรอบตัวอย่างถูกต้อง การจะนำเข้าสิ่งใดจากต่างประเทศ ต้องศึกษาข้อดีข้อเสีย และดูว่าเราได้บริหารจัดการภายในอย่างครบถ้วนหรือยัง

    - การอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น ต้นอัมพวา ทำไมชื่อต้นอัมพวา คนไม่รู้ แต่พูดแล้วทำไมคนอยากรู้ การนำเรือไปดูหิ่งห้อยโดยใช้เรือพายต่อจากเรือหางยาว

    - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงไว้ 3 เรื่อง หลัก ๆ คือ

    1. พอประมาณ คือดูทุนเราก่อนว่าทุนเรามีแค่ไหนอย่างไร อย่าทำอะไรที่เกินทุนของเรา และให้ดูทางทุนทางกายภาพด้วย เช่น ความแข็งแรงยังมีอยู่หรือไม่ คือต้องประเมินก่อน ต้องประเมินตนเอง เราทำแล้วผลพวงเป็นอย่างไรบ้าง จุดแข็ง จุดอ่อนเป็นอย่างไร ต้องทำ Self Assessment ก่อน แต่ถ้าใช้กับ กฟผ. ต้องทำ Corporate Assessment ก่อน สรุปคือทุกอย่างต้อง Assessment หมด และที่สำคัญคือ Human Resource ไม่ใช่แค่กำลังคนเท่านั้น แต่การพัฒนาคนต้องพัฒนาทุกมิติ คือมีคุณธรรม และมีวิสัยทัศน์

    2. มีเหตุมีผล เช่นการ ใช้เงิน ให้ใช้เหตุผลเป็นเครื่องนำทาง อย่าทำตามอารมณ์ ต้องรู้จักใช้เหตุผลให้ได้ การสร้างเหตุผลได้ คือต้องมีสติ ตัวอย่างเช่นงบประมาณ 2.2 ล้านบาท ต้องมีเหตุผลในการใช้เงินว่าไปทำอะไร มีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ประเมินจากปริมาณมาดูที่คุณภาพ (Quality) ขึ้นอยู่กับเวลาและโอกาส หรือเรียกว่า กาลเทศะ ตัวอย่างเช่นการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เมื่อปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะทำอย่างไร จะทำไปแบบนี้หรือไม่ หรือจะไปปรมาณู วควรต้องคิดใหม่หรือไม่ พอเพียงหรือเพียงพอ ที่ผ่านมา กฟผ.ใช้เพียงพอเป็นตัวนำตลอด ใช้ Demand เป็นตัวตั้ง แล้วสร้าง Supply สนอง Demand ให้ได้ อยากให้ลองคิดกลับคือ ให้ใช้ Supply เป็นตัวตั้ง แล้วตาม้วย Demand เป็น Project Supply ว่า กฟผ.จะสามารถผลิตไฟฟ้าอย่างยั่งยืน โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการถ่วงดุลย์ เมือผลิตได้ตามกำลังจำกัด ก็ต้องลองปรับ Demand ให้ตาม Supply ที่มีอยู่ได้หรือไม่ เช่น อุณหภูมิห้องปรับอากาศไม่ต้องเย็นมาก ช่วยกันประหยัดได้หรือไม่ เรื่องน้ำ มีวิกฤติจุดไหน แล้วเราสนใจจะแก้ไขอย่างไร นิวเคลียร์จะเอาหรือไม่

    3. มีภูมิคุ้มกัน ตัวอย่างที่ปรับใช้ กฟผ. เช่น เมื่อวันหนึ่งพลังงานไม่มี จะเอาอะไรทดแทน จะประหยัดได้อย่างไร ประเทศไทยรวยมากหรือถึงต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ อะไรที่เป็น Spirit ต้องบริหารให้ดี

    ตัวอย่างเช่น บริษัทใหญ่ในประเทศไทยที่ใช้คำว่าเครือ เช่น เครือซี.พี. มีบริษัทลูกประมาณ 200 บริษัท เครือซีเมนต์ไทยก็มีหลายบริษัท ตอนวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2539, 2540 บริษัทล้ม ก็กลับไปใช้แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือประเมินว่า จริงๆ แล้ว บริษัทเราเก่งอะไรกันแน่ และมีความจำเป็นหรือไม่ที่ควรจะมีถึง 200 บริษัท จึงนำมาสู่แนวคิดว่า จะเก็บแต่ Core Business ไว้ ที่เหลือขายทิ้งหมด ตัวอย่างปูนซีเมนต์ไทย สามารถใช้แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้วทำให้ผลการดำเนินงาน (Performance) ดีกว่าแต่ก่อน หนี้ที่เคยมีถึงห้าหมื่นแปดพันล้านบาท สามารถหายไปได้ เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้สอนให้จน แต่สอนให้รวยอย่างไรให้ยั่งยืน คือไม่จำเป็นต้องใหญ่ แต่ทำอย่างไรให้ยั่งยืน ต้องมุ่งไปสู่สมดุลย์ มั่นคง และยั่งยืนให้ได้

    สุขาวดี ศิริจันทร์เพ็ญ

    วันที่ 18 มีนาคม 2557 Learning Forum & Workshop หัวข้อ ผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร การบริหารการเปลี่ยนแปลง (ณ ห้อง 278 อาคาร ท.100)

    โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์อาจารย์ประกาย ชลหาญดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ดำเนินรายการโดย อาจารย์ทำนอง ดาศรี

    • -ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้เปิดประเด็นว่า วัฒนธรรมมีระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ระดับองค์กร เราจะ Focus ไปที่ Social Innovation เป็นหลัก แนวคิดที่ได้จากการเรียนรู้เรื่อง Social Innovation กับ กฟผ. การเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง ปรับกระบวนทัศน์ซึ่งมาจากผู้เชี่ยวชาญของ กฟผ. ว่าต้องการผู้นำประเภท Satya Nadella หรือ Nelson Mandela เพื่อเข้ามาจัดการกับสิ่งแวดล้อม และความเข้าใจของชุมชน การพัฒนาวิถีชุมชน ต้องทำให้ชุมขนอยากรู้ อยากเรียน อยากลอง ให้ศึกษาว่ามีอะไรบ้างที่เป็นจุดอ่อน และเป็นจุดแข็ง ที่จะขับเคลื่อน กรณีศึกษาไปสู่ความสำเร็จ ทั้ง 7 Case คือ
    • 1.การใช้เงินจากกองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า เป็นการใช้ที่ไม่ตรงจุด ไม่ตรงประเด็น สิ่งที่ กฟผ. ต้องทำก่อนคือการวิจัยเพื่อให้รู้สถานการณ์จริง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชน
    • 2.เจาะลึกและติดตามความต่อเนื่องของชุมชน มีการวางแผนการดำเนินงานให้ขัดเจนขึ้น และเน้นความต่อเนื่อง
    • 3.การเข้าหาชุมชนที่มีหลาย Silo ควรให้แต่ละ Silo คิดเหมือนกัน ชุมชนจะได้ไปด้วยกัน
    • 4.ต้องสร้าง กฟผ. เป็นบ้านเดียวกับชุมชน ไม่ใช่บ้านรั้วสูง เพื่อสร้างทัศนคติใหม่ให้ทุกคนรู้สึกว่าเป็นคนระดับเดียวกัน
    • 5.แนวคิดเรื่อง 1 Manager/1 Community น่าจะดูแลชุมชนได้ดี กฟผ. อาจทำเป็น 1 เขื่อน หรือ 1 หัวหน้ากอง ต่อ 1 Community เป็นต้น
    • 6.การทำงานร่วมกับชุมชน ต้องเอาชุมชนเป็นตัวตั้ง กฟผ. ควรลงลึกเรื่องการบริหารจัดการชุมชน
    • 7.ปรับยุทธศาสตร์การสื่อสารทำความเข้าใจกับชุมชน โดยเน้นกลุ่มหลักที่เยาวชนเพื่อแสวงความร่วมมือในอนาคต
    • -การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศประกอบด้วย
    • 1.คน (เป็นตัวของตัวเอง, หลากหลาย, ทุนมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย ทักษะ ประสบการณ์ ความรู้อาจรวมถึง
    • คุณสมบัติว่าด้วย บุคลิกภาพ รูปลักษณ์ ภายนอก ชื่อเสียง และความน่าเชื่อถือ เช่น ความสามารถ พฤติกรรม ความพยายาม และเวลา, ความสุขและความพอใจในการทำงานหรือ passion, เป้าหมายในการทำงาน, มีพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ - 8 K’s ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทาง IT ทุนทางความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และ ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ - 5 K’s เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ ได้แก่ ทุนแห่งการสร้างสรรค์ ทุนทางความรู้ ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางอารมณ์ ทุนทางวัฒนธรรม)
    • 2.องค์กร (นโยบายของรัฐ, วิสัยทัศน์ขององค์กร, สร้าง Competency เพิ่ม, มีกฏระเบียบ, วัฒนธรรมองค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้หรือ learning culture, เป็นองค์กรทีท Lean & meanคือประหยัด เรียบง่าย ลดรายจ่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ และอยู่อย่างมีความหมาย มีคุณธรรม หรือความดีงามเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ไม่ หลักลอย โลเล เหลวไหล, มีแรงจูงใจ, มีคุณธรรม จริยธรรม, มี Core value, การทำงานร่วมกัน, รางวัลที่ได้รับ)
    • 3.ผลประกอบการณ์/ความเป็นเลิศ (พนักงานมีความสุข, ลูกค้าพอใจ, ROI ต่อทรัพย์สินสูง, Productivity เพิ่ม, มีคุณภาพดี, ยั่งยืน สมดุลย์ทั้งชีวิตและงาน, มี CSR, มีจิตสาธารณะ)
    • -วัฒนธรรมองค์กร คืออะไร ? วัฒนธรรมองค์กร เป็นอะไรที่สังคมมองและปฏิบัติตาม วัฒนธรรมคือ Intangible หรือสิ่งที่มองไม่เห็น กฟผ. กฟภ. กฟน. วัฒนธรรมองค์กรก็ไม่เหมือนกัน กฟผ. ขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรี กฟภ. กฟน.อยู่กับกระทรวงมหาดไทย ดังนั้น ก่อนที่จะเสนอแนะวัฒนธรรมองค์กรนั้น ตัวเราเองจะเป็นคนที่รู้มากที่สุด ต้องทำให้หลุดจากกะลาครอบ ต้องหันมองตัวเอง
    • -คน องค์กร ประสบการณ์สู่ความเป็นเลิศสิ่งสำคัญคือต้องรู้จุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง กฟผ.ทำหน้าที่อะไร กฟภ.ทำหน้าที่อะไร บทบาทไม่เหมือนกัน
    • -ถ้าพูดถึง สมรรถนะ (Individual Capability) หรือศักยภาพ เช่น ไปเล่นแบดมินตันได้เหรียญทอง แต่ถ้าไปสร้างเป็นค่านิยมต่างๆ ก็จะตกเป็นเหยื่อของความสำเร็จ (Victim of Success) หรือเป็นเหยื่อของมาตรฐานสูง (Victim of High standard)
    • -วัฒนธรรมองค์กรกับการเปลี่ยนแปลงเป็น Organization Value ถ้าขับเคลื่อนให้เห็นในทิศทาง หัวข้อต้องตรงประเด็น (Relevance) และปฏิบัติได้ (Execute) ต้องผสมกันระหว่างสังคมข้างนอก และสังคมข้างใน
    • -อาจารย์ประกาย ชลหาญได้ให้ข้อคิดเรื่องการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงคือ การพูดแบบเปิดใจ และต้องเปลี่ยนความคิด (Mindset) เพราะอุปสรรคที่สำคัญที่สุดของการเปลี่ยนแปลงคือ Mindset ต้องเปิดใจพร้อมที่จะเปลี่ยนแนวคิด/วิธีคิด (Paradigm Shift) ให้เปลี่ยนตัวเองก่อนที่จะเปลี่ยนคนอื่น เช่นที่ Jack Weltch บอกว่า “Change Before you force to change otherwise is too late” ต้องเปลี่ยนก่อนจะถูกบังคับให้เปลี่ยน เพราะสิ่งแวดล้อมจะบังคับให้ตัวคุณเปลี่ยนตลอดเวลา
    • -วัฒนธรรมองค์กร: ค่านิยมองค์กร เชื่อว่า กฟผ. มีพัฒนาการ เรื่อง วัฒนธรรมองค์กรมามาก ทั้งข้อดีและไม่ดี กฟผ. มีอะไรที่ดีมากในหลายๆ อย่าง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ Performance หรือ Execution เพราะถ้าไม่มีผลงานให้กับองค์กร คุณจะละอายที่จะอยู่ในองค์กร ดังนั้นสิ่งที่คุณคาดหวังต่อหัวหน้าและลูกน้องก็คือ Performance
    • -Performance มาจากอะไรเช่น ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ความต้องการที่จะทำ แรงจูงใจ ความรับผิดชอบ Role Model
    • -Performance ถ้าวิเคราะห์ให้ดี ในองค์กร จะมาจาก 2 ส่วนคือ

    1. Competency ประกอบด้วย Knowledge หรือความรู้ แต่มี Knowledge อย่างเดียวทำงานไม่ได้ ต้องสร้าง Skill หรือทักษะ เพื่อให้มีประสบการณ์

    2. Motivation แรงจูงใจ ถ้ามีคนเก่ง แต่ไม่สามารถจูงใจให้คนทำงานได้ เขาก็ไม่ทำงานให้อยู่ดี เช่นบางครั้งไม่สบาย หรือไม่อยากทำงานเป็นต้น ดังนั้น HR อย่าคิดอะไรที่ไม่ Motivate คนทำงาน ต้องศึกษาให้ได้ว่าคนทำงานชอบอะไรกันแน่ ตัวอย่าง Sale บางคนได้ Commission จากการขาย แต่บางคนไม่อยากได้ Commission จากการขาย ประเด็นคือเวลามอง Motivation ต้องเข้าใจลูกน้องของท่านเหมือนเข้าใจลูกค้า

    • oผู้นำต้องเก่ง 3 เรื่องคือ 1.การเปลี่ยนแปลง, 2.Paradigm แนวคิด, 3. Networking สร้างคนให้มี Relationship หรือ Connection เพื่อเสริมให้งานดีขึ้น และต้องเก่งเรื่องคน เรื่องงาน เรื่องของความไม่ถนัด ไม่เชี่ยวชาญ
    • oปัญหาในการทำงาน: ก่อนที่จะสรุปว่าปัญหามันคืออะไร ต้องทำแบบหมอ คือ ต้องถามคำถามมากมาย เพื่อที่จะวิเคราะห์ว่าลูกน้องเป็นอะไร อย่าสรุปเอาเอง หัวหน้าต้องรู้จักวิเคราะห์ โดยการถาม คือต้องให้เวลากับคน เรามักจะมีข้อบกพร่องในการบริหารองค์กร เช่น ผมงานยุ่งมากจนไม่มีเวลาให้ลูกน้อง เพราะอาจเสียลูกน้องที่เก่งไป เพราะไม่ได้ให้เวลากับเขา เป็นเรื่องที่สำคัญมาก

    วัฒนธรรมองค์กร หรือค่านิยมองค์กร เกิดจากอะไร

    • oวัฒนธรรมองค์กร หมายถึง แบบแผนความคิด และการปฏิบัติตนของคนในสังคมหนึ่งๆ ซึ่งแตกต่างจากอีกสังคมหนึ่ง ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ประสบการณ์ในอดีต ไปจนถึงการหล่อหลอมจากผู้นำทางความคิดในสังคมนั้นๆ
    • oวัฒนธรรม เป็น “นามธรรม” แต่มีความสำคัญในการกำหนดวิธีคิด วิธีปฏิบัติ ของคนในสังคมได้นั้ น ต้องช่วยกัน “สร้าง” เพื่อให้วัฒนธรรมนั้นพาองค์กรและคนในองค์กรไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์ สามารถพลิกฟื้นธุรกิจที่กำลังอ่อนแอให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างมั่นคงได้เพราะการออกแบบวัฒนธรรมองค์กรที่ดี
    • oเมื่อสภาพการแข่งขันเปลี่ยนแปลงไป พฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนไป ก็ต้องปรับวัฒนธรรมองค์กรเพื่อส่งเสริมกระบวนการทางธุรกิจ ให้ตอบโจทย์สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป คือการกำหนดค่านิยมองค์กร (core value) เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ค่านิยมของ กฟผ. (F I R M – C) กำหนดไว้ ดังนี้
    • oF- Fairnessตั้งมั่นในความเป็นธรรม
    • oI - Integrityยึดมั่นในคุณธรรม
    • oR - Responsibility &Accountabilityสำนึกในความรับผิดชอบและหน้าที่
    • oM - Mutual Respect เคารพในคุณค่าของคน
    • oC - Commitment to Continuous Improvement and Teamwork & Accountabilityมุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทำงานเป็นทีม
    • oหากองค์กรไม่ยอมปรับวิธีคิดวิธีปฏิบัติ ให้สอดคล้อง สภาพแวดล้อม องค์กรนั่จะตกอยู่ในอันตราย อาจล่มสลายได้เพราะไม่ยอมปรับวัฒนธรรมองค์กรให้เข้ากับยุคสมัย ถ้าให้ดีที่สุดคือเปลี่ยนนำไปก้าวหนึ่งเสมอ
    • oวัฒนธรรมองค์กร มี 2 แบบ คือ
    • oAbsolute Valueวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เปลี่ยน เช่น ความซื่อสัตย์ สุจริต
    • oIntensive Value วัฒนธรรมองค์กรที่เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ ตาม พฤติกรรมของลูกค้า พฤติกรรมของชุมชน เทคโนโลยี่ผู้นำต้องบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลง และผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ให้ทุกคนมองเห็นประโยชน์ของการเปลี่ย อย่าปล่อยให้เกิดขึ้นโดยไม่มีระบบรองรับ สามารถตอบได้ว่าเปลี่ยนแล้วได้อะไร เปลี่ยนแล้วอาจแย่กว่าเดิมก็ได้ แต่ถ้าไม่เปลี่ยนก็จะแย่ยิ่งขึ้นกว่าเดิม
    • oผู้นำต้องสร้างความแข็งแรงทางวัฒนธรรม ปรับตัวอย่างท้าทาย ใส่ความคิดเพื่อสร้างแนวร่วม และกระตุ้นพฤติกรรมให้เป็นความต้องการของทีมผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมายเดียวกัน สิ่งที่จะต้องเปลี่ยแปลง มีดังนี้
    • oStructure System Process มีจุดบกพร่องตรงไหน ต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร
    • oคนและการเมืองในองค์กร (Politic in the Workplace) คือ เล่นพรรค เล่นพวก โปรโมทพวกเดียวกัน จะปรับเปลี่ยนอย่างไร
    • oเทคโนโลยี เราจะใช้อย่างไรในการบริหารงานและบริหารคน
    • oKFCI คือ 4 สิ่ง ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อใช้สร้างบรรยากาศ การปลูกฝังความรู้สึกรักและผูกพันกับองค์กร (engagement) พฤติกรรมแบบไหนที่เป็นที่ต้องการ ถ้าทำได้ จะเกิดผลตามมา เช่นเ เมื่อพนักงานได้ Promotion องค์กรส่งการ์ดแสดงความยินดีไปที่บ้านเพื่อให้ครอบครัวได้รับรู้และแบ่งปันความสำเร็จด้วยก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ

    1. Know me หมายถึง หัวหน้าต้องรู้จักลูกน้อง ว่าชีวิตเขาเป็นแบบไหน ต้องการอะไร

    2. Focus me เมื่อหัวหน้ารู้จักลูกน้อง ก็ต้องบริหารให้เข้ากับสไตล์ของลูกน้อง แต่ละคนไม่เหมือนกัน (Motivational fit)

    3. Care about me ให้ความรักความเมตตา แสดงความห่วงใย

    สุขาวดี ศิริจันทร์เพ็ญ

    วันที่ 19 มีนาคม 2557 Learning Forum หัวข้อ กรณีศึกษา บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กับการก้าวสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

    โดย คุณสมยศ รุจิรวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)

    ณ ห้อง 278 อาคาร ท.100

    • บ้านปูก่อตั้งเมื่อปี 1983 เป็นแบบเหมืองเล็ก ได้สัญญาขนดินและถ่านให้ กฟผ. ถือเป็นทักษะพื้นฐานในการพัฒนาไปประเทศอื่นๆเพียงแค่ 6 ปี ก็มี performance สูงขึ้นทำให้เข้าตลาดหลักทรัพย์ปี 1989
    • การพัฒนาของบ้านปูมี 5 ขั้น

    1. เริ่มต้น เริ่มจากเหมืองลิกไนต์เล็กๆ แรกสุดที่ลำพูน ต้องเชิญอาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้บริหารกฟผ.ไปช่วย ต่อมาทำที่ลำปาง ตอนนั้นไทยยังไม่คุ้นเคยกับถ่านหิน จีนขยายตัวทำให้ความต้องการน้ำมันมากขึ้นแต่ supply ขาด ทำให้เข้าไปในธุรกิจถ่านหิน

    2. เจริญเติบโต ก็เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ทำให้องค์กรโปร่งใสมากขึ้น ต้องทำให้บริษัทมีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพมากขึ้น ต้องค้นหา Best Practices เรื่อยๆเริ่มมีความมั่นใจ ไปประมูลสัญญากฟผ.ขนดินและถ่าน เข้าไปในอินโดนีเซียนีเซีย มีพัฒนาการตั้งแต่ปี 1991 ทำให้ทราบแหล่งถ่านหินใหญ่ๆ เราซื้อหุ้นในเหมืองออสเตรเลีย เริ่มคุณเคยวิธีการทำงาน วัฒนธรรม กฎกติกา ทำให้มีพื้นฐานและเริ่มสะสมประสบการณ์ แล้วเข้าไปสู่ธุรกิจไฟฟ้า เราทำโรงไฟฟ้าเอง มีโรงไฟฟ้าโคโค่ อยู่ในมาบตาพุด นำทักษะการขุด ขนส่ง ไปร่วมทุนบริษัท MRD เชี่ยวชาญดินขาวไปขายธุรกิจยา

    3. Crisis ช่วงต้มยำกุ้ง เราต้องกู้เงินไปลงทุน โรงไฟฟ้าโคโค่ และธุรกิจที่ส่งเสริมกฟผ. กู้เป็นดอลล่าร์ทำให้มีหนี้ ต้องขายโรงไฟฟ้าโคโค่ส่วนหนึ่งเพื่อเอาเงินมา แล้วในที่สุดก็ขาย 100% เศรษฐกิจดีขึ้น มีเงินเหลือจึงไปถือหุ้นในราชบุรี 10% ตอนนี้ขายหมดแล้ว เราเริ่มคิดว่า เวลากระจายธุรกิจออกไป การ diversify มาก ผู้บริหารจะมีเวลาน้อยลงที่จะสนใจธุรกิจกำไรมาก การทำธุรกิจให้ดี ต้องเป็นธุรกิจที่คุ้นเคยและทำซ้ำๆ ก็จะโต

    4. Becoming a Regional and Local Coal-based Energy Player

    ระบุว่าอะไรเป็นธุรกิจหลัก ขายธุรกิจรองเอาเงินมาใช้กับธุรกิจหลัก (Coal Champion Plus) เริ่มเข้าไปในอินโดนีเซียนีเซีย ที่อินโดนีเซีย ปัจจุบัน 30 ล้าน มีเหมืองใต้ดินที่จีน เรามีการขายเหมืองไปบ้างแล้ว การถือหุ้นต่ำกว่า 50% ต้องเปลี่ยนวิธีบริหาร ต้องควบคุม operation ต้อง manage partnership ซึ่งสำคัญมาก ที่อินโดนีเซียนีเซีย Facility สายพาน 12 กิโลเมตร ระบบสายพานเป็น closed จึงไม่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม ใส่เงินใน portเพิ่มกำลังผลิตจาก 10 ล้าน เป็น 20 ล้าน ขยายหน้าท่าให้รับเรือได้มากขึ้น ให้เรือ 95,000 ตันเข้ามาได้

    5. consolidation and preparation of New Era of Growth

    Key driver ของCompetitiveness

    1. เทคโนโลยี

    2. Integrated Mine Planning ทุกขั้นตอนทำเหมืองต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐ เพื่อที่จะได้รับใบอนุญาตและขยายธุรกิจได้ ต้องมีแผน 5 ปีก่อน

    3. Project Management ธุรกิจพลังงานถ้าโครงการล่าช้า มีผลกระทบต่อการผลิตมาก ต้องมีทักษะการบริหารโครงการ

    4. Asset Management ทำให้เกิดมาตรฐานการผลิต

    5. Optimization แต่ละธุรกิจมีข้อจำกัดให้เลือกการบริหาร นำผู้เชี่ยวชาญออสเตรเลียมาดูผังเหมืองและปรับ sequence การทำเหมืองอะไรดีที่สุด มีคำถามมากมายในห่วงโซ่การผลิต

    6. Reporting and Dashboard System ใช้ Enterprise Reporting System

    7. Synergy Focus แต่ก่อนต้องทำเหมืองก่อน แล้วจึงไปหาลูกค้า แต่ตอนนี้จะใช้วิธีหาตลาดพรีเมี่ยม ดูช่องว่างแล้วพัฒนาหรือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ต้องค้นหาความต้องการของลูกค้า แล้วพัฒนาหรือผสมผสานสินค้าให้ตรงตามความต้องการ สามารถผสมข้ามเหมือง ข้ามประเทศได้

    ในด้านการบริหารคน บ้านปูจะดูจาก Behavior ต้องการคนแบบไหน ในอนาคต ถ้าไปตลาดต่างประเทศมากขึ้น ต้องได้คนที่มีความยืดหยุ่นสูง เดินทางได้ ปรับตัวเปลี่ยนแปลง มีความคิดสร้างสรรค์

    สุขาวดี ศิริจันทร์เพ็ญ

    วันที่ 20 มีนาคม 2557 Learning Forum หัวข้อ White Ocean Strategy กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ.

    โดย คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บจก. ดีซี คอนซัลแทนส์แอนด์มาร์เก็ตติ้งคอมมูนิเคชั่นส์

    ณ หอประชุมพุทธคยา (อาคารอัมรินทร์พลาซ่า ชันที่ 22)

    White Ocean เป็นหนังสือที่เขียนเมื่อปี 2550 เน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม

    • ความสุขของคนไทย มากขึ้นหรือลดลงเนื่องจากปัญหาด้านการเมือง และจริยธรรม หากอยากจะเห็นคนไทยในอดีต ให้มองคนที่ประเทศภูฏาน ที่เน้นเรื่อง GNH (Gross National Happiness) ซึ่งต่างกับ GDP ที่ทุกอย่างวัดเป็นตัวเลขหมดเลย แต่ไม่มองว่าสังคม หรือครอบครัวแตกแยกหรือไม่
    • การปกครองแบบสังคม ล่มสลาย เนื่องจากทำให้ศักยภาพมนุษย์ลดลงกลายเป็นทุนนิยม บริโภคนิยม และที่พบแทบทุกประเทศคือ ประชานิยม ตัวอย่างเช่น การปลูกข้าว ต้นทุนสูงสุด ผลผลิตต่ำสุด แต่จะให้รายได้สูงสุด เป็นหลักการที่เป็นไปไม่ได้ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ถือเป็นมิจฉามาร์เก็ตติ้ง หรือกิเลสมาร์เก็ตติ้ง เกิดความล่มจมตามมา เพราะมองในระยะสั้น
    • จากวิสัยทัศน์ของกฟผ.

    1. เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล

    2. เป็นองค์กรที่มีการบริหารที่มีประสิทธิภาพสูง

    3. เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพการดำเนินงานเป็นเลิศ

    4. เป็นองค์กรที่สังคมไว้วางใจและเป็นความภาคภูมิใจของชาติ

    5. เป็นองค์กรที่มีฐานะทางการเงินมั่นคงเพียงพอต่อการขยายงาน

    กลยุทธ์น่านน้ำสีแดง กลยุทธ์น่านน้ำสีน้ำเงิน กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว
    แข่งขันในตลาดเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบัน เน้นมองหาและสร้างตลาดใหม่ที่ยังไม่มีการแข่งขัน ทำให้พื้นที่ตลาดเป็นประเด็นที่ไม่สำคัญ
    เน้นการเอาชนะคู่แข่ง ทำให้การแข่งขันไร้ความสำคัญ ทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์   และเป็นผู้ชนะร่วมกัน
    จับความต้องการที่มีอยู่ในปัจจุบัน สร้างและจับความต้องการใหม่ จับความต้องการทั้งเก่าและใหม่
    ต้องเลือกระหว่างคุณค่าหรือต้นทุน ทำลายข้อจำกัดที่ต้องเลือกระหว่างคุณค่าหรือต้นทุน สร้างคามสมดุลย์ระหว่างคุณค่าและต้นทุน
    ผสานระบบทั้งหมดของบริษัทในการเลือกใช้กลยุทธ์อย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างหรือกลยุทธ์ความเป็นผู้นำทางด้านต้นทุน ผสานระบบทั้งหมดของบริษัทเพื่อทั้งใช้กลยุทธ์และการสร้างความแตกต่าง   และกลยุทธ์ความเป็นผู้นำทางด้านต้นทุนไปพร้อมๆ กัน ผสานระบบทั้งหมดของบริษัทเพื่อผลประโยชน์ให้กับสังคมโดยรวม   โดยสร้างผลกำไรอย่างพอเหมาะ และสร้างความยั่งยืนให้กับบริษัท

    • White Ocean….มี Key word คือ ทุกคนเป็นผู้ชนะร่วมกันได้ (Everyone is the winner) เป็นการจับมือร่วมกันได้ เช่น Facebook มีการสร้างความสมดุลย์ระหว่างคุณค่าและต้นทุน สร้างผลประโยชน์ยั่งยืนขององค์กร มีผู้ใช้ 1,200 ล้านคนทั่วโลก (นิยมเป็นอันดับที่ 2 ของโลก) ที่เราชอบเล่น เพราะเราชอบกดไลด์ และแชร์ นั่นคือ คนที่สร้าง Facebook เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์คือ การแบ่งปัน
    • เราวัดความสำเร็จขององค์กรด้วยอะไรบ้าง…..กำไร, การเติบโต, ความสุข, ความยั่งยืน

    - ผลลัพธ์ที่ชัดเจนของ White Ocean คือ

    1. กำไร บริษัทที่มีธรรมาภิบาล กำไรสูงกว่าทุกปี

    2. ความสุข องค์กรสีขาว เป็นองค์กรที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสังคม

    3. ยั่งยืน ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตการณ์อะไรขึ้นมา

    - ด้วยเป็นองค์กร High Trust มีความน่าเชื่อถือสูง มีทักษะของการทำงานรวดเร็ว ต้นทุนน้อย ในทางตรงกันข้ามถ้าเป็นองค์กรที่ไม่น่าไว้วางใจ การทำงานจะช้า ต้นทุนสูง บางกรณีต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะ เราทำงานด้วยความตั้งใจ และทุ่มเท จะเกิด Trust

    การบริหารองค์กรแบบ White Ocean

    1. การทำแผนองค์กร Where are we?

    องค์กรสีขาวเกิดมาเพื่อทำประโยชน์ให้กับสังคม เป็นลักษณะ Social Enterprise เช่น วิริยะประกันภัย ประสบความสำเร็จจากธนบุรีประกอบรถยนต์ สร้างเมืองโบราณ ช้างสามเศียร และตั้งวิริยะประกันภัยในลำดับต่อมา ด้วยแต่ก่อนไม่มี พ.ร.บ.คุ้มครองบุคคลที่ 3 เพราะเสี่ยงขาดทุน ทีมวิริยะได้ทำการประเมิน พบว่าหากทำโครงการนี้ วิริยะจะขาดทุน ปีละประมาณ 200 – 400 ล้านบาท ใน 2 ปีแรก แต่วิริยะเป็นองค์กรสีขาว จึงคิดต่าง ก็ได้ลงทุนทำโครงการนี้ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ วิริยะประกันภัย กลายเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยลักษณะขององค์กรสีขาวไม่แข็งเหมือนองค์กรอื่น แม้เบี้ยประกันแพงกว่า แต่ลูกค้าก็ซื้อ เพราะลูกค้าไว้ใจ และเป็นเพียงบริษัทเดียวที่ไม่มี Back up โดยองค์กรอื่นๆ

    Steve Jobs ก็เป็นตัวอย่างขององค์กรสีขาว เป็นคนที่หาหัวใจตนเองเจอ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดในโลกนี้ ถ้าเราหาหัวใจตนเองเจอ คนนั้นประสบความสำเร็จ ต้นทุนน้อยกว่าทุกคนแน่นอน คนเราไม่ต้องรู้มาก แต่ขอให้รู้ลึก รู้จริง เป็นคนธรรมดาที่อเมริกายกธงครึ่งเสาเมื่อเขาตายแล้ว

    Bill Gates เขาฝันเห็นคอมพิวเตอร์ในทุกบ้าน คำว่า Windows มาจากตอนที่เขามองเห็นหน้าต่าง ขณะนั่งทำงานในโรงรถของพ่อ ฝันว่าโลกจะเชื่อมโยงและต่อถึงกันได้ สิ่งที่ฝันเป็นการให้โอกาสกับคนจำนวนมาก ผลลัพท์คือ เขารวยมหาศาล ไม่รู้ว่าจะเอาเงินไปทำอะไร ก็เลยนำไปตั้งมูลนิธิฯ เขียนพินัยกรรมยกให้สาธารณะ 99 % ของทั้งหมด

    • เราต้องหาจุดสมดุลย์ของ 4 P’s คือ

    1.People คนในองค์กร การทำงานอะไรก็ตามเราจะทำสิ่งที่ดีที่สุดโดยนึกถึงคนอื่น เรียกว่ากัลยาณมิตร

    2.Planet การรณรงค์ลดการใช้พลังงาน หรือใช้พลังงานอย่างประหยัดช่วยโลกได้

    3.Profit กำไรไม่ใช่ให้องค์กรเท่านั้นแต่ต้องคืนกลับสังคมด้วย

    4.Passion คือความมุ่งมั่น ความศรัทธา อุดมการณ์ที่มั่นคง เช่น

    • MK สุกี้ S&P ไม่ขายเหล้าบุหรี่ในร้านของเขา ไม่จำเป็นต้องทำตามกิเลสของสังคมตลอดเวลา เราสวนกระแสได้ คือ Passion
    • Tata group เขียนว่าสิ่งใดก็ตามได้จากสังคม 1 ส่วนทเขาจะตอบแทนสังคมหลายเท่าทวีคูณ เป็นที่มาของ Social Innovation คือเป็นผู้ให้ด้วยหัวใจที่เบิกบาน
    • เป้าหมายขององค์กร,,, Where do you want to go? เป็น Purpose of life มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง ไปอย่างไร

    5.ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม ความเป็นจริง และความเป็นเนื้อแท้ (Integrity) คิดและเชื่อในเรื่องเดียวกันมีตัวอย่างที่เด็ก ในโครงการ The Ambassador ให้ความคิดเห็นไว้ ดังนี้

    • คำคมของเด็กภาคใต้: ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงประเทศไทย เพราะประเทศไทยดีที่สุดอยู่แล้ว เปลี่ยนนิสัยคนไทยดีกว่า
    • คำคมของเด็กภาคเหนือ: ที่ประเทศไทยเป็นแบบนี้ เพราะคนดีหายหัว คนชั่วเลยขึ้นมา
    • เด็กตาบอด: ครอบครัวเขายากจน แถมยังตาบอด ไม่อยากให้สังคมยอมรับในค่านิยมของสังคม ที่ยกย่องคนรวยมากกว่าคนดี
    • การต่อต้านคอรัปชั่นในประเทศไทยต้องเริ่มจากเด็ก

    6.แนวคิด ISR ถ้าเราต้องการเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ ต้องเริ่มจากตัวเอง

    ระดับของการมีส่วนร่วมความรับผิดชอบต่อสังคม

    • 1.Individual…Social Reponsibility ความรับผิดชอบต่อสังคมระดับบุคค ต้องสร้างให้คนในสังคมมีความรับผิดชอบในสังคม
    • 2.Chidren…Social Reponsibility ความรับผิดชอบต่อสังคมของเด็กและเยาวชน
    • 3.Corporate/Citizen…Social Reponsibility ความรับผิดชอบต่อสังคมระดับองค์กร และพลเมือง
    • 4.City…Social Reponsibility ความรับผิดชอบต่อสังคมระดับจังหวัด
    • 5.Country …Social Reponsibility ความรับผิดชอบต่อสังคมระดับประเทศ

    - ถ้าระดับ Individual…Social Reponsibilityมีพลังมากๆ จะขับเคลื่อนสังคมเป็นผู้สร้างบรรทัดฐาน(Benchmark) ใหม่ในองค์การ เป็นผู้สร้างในสิ่งที่คนอื่นไม่ได้ทำ

    • การสร้างคนแบบ Gen A คือActive Mind และ Active Age
    • คุณลักษณะคนไทยในศตวรรษที่ 21 อยากเห็นคนไทยมีจิตอาสา มีน้ำใจ มีการยิ้ม ทำให้เกิดความน่าอยู่ แล้วสิ่งอื่นจะตามมา

    กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ที่ยึดมั่นความดีงามเป็นหัวใจสำคัญ ในการขับเคลื่อนธุรกิจ และเป็นเกราะสำคัญ ที่จะทำให้องค์กรก้าวข้ามอุปสรรคปัญหาไปได้

    สุขาวดี สิริจันทร์เพ็ญ

    วันที่ 20 มีนาคม 2557 ช่วงเช้า ศึกษาดูงาน ณ บมจ. ซีพี ออลล์

    • -USA เป็นเจ้าของ License 7-11 โดย บมจ. ซีพี ออลล์ นำมาเปิดในไทยในปี 2531 สาขาแรกพัฒนพงษ์ ประกอบด้วยกลุ่มบริษัทเพื่อการผลิต (ปัจจุบ้นไม่มีสาขานี้แล้ว)
    • -กระจายสินค้า และบริการอื่น ๆ ปัจจุบันมีพนักงานรวมกว่า 100,000 คน เน้นความสะดวกซื้อ ผ่านรูปแบบสินค้าและบริการ สินค้าและบริการ จึงเป็นเพียงตัวเรียกลูกค้า สิ่งที่ร้าน 7-11 ขายจริงๆ คือ ความสะดวกซื้อ ผ่านรูปแบบของสินค้าและบริการที่หลากหลาย เน้น Location / 24 Hours & Speed มีลูกค้าเข้าร้าน 7-11 เฉลี่ยทั่วประเทศ 8 ล้านคนต่อวัน ใน 7,634 สาขา
    • -ปรัชญาของบริษัท“เราปรารถนารอยยิ้มของลูกค้า ด้วยทีมงานที่มีความสุข”
    • -นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม = New + Value Creation สำหรับการดำเนินธุรกิจของ ซีพีออลล์ มุ่งสร้างนวัตกรรมไปสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับ การลดเวลาในการทำงาน, ONLINE, เปิดมุมมอง Innovation at store
    • -ศ.ดร.จีระ อยากเห็น Innovation ทางสังคมด้วย เช่น เป็นเพื่อนกับสังคม ทำ Survey ซึ่งต้องคิดถึงความยั่งยืน…สิ่งที่ต้องการ คือ Learn Share Care สังคม
    • -นวัตกรรมในบริบทของ บมจ. ซีพี ออลล์ คือการเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ หรือการปรับปรุงจากสิ่งเดิม ที่เกิดจากนำความรู้ และความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาให้เกิดคุณค่าต่อลูกค้า องค์กรและสังคม แบ่งเป็น

    1.Process Innovation. การสร้างสรรค์กระบวนการใหม่

    2.Product Innovation. การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่

    3.Service Innovation. การสร้างสรรค์บริการรูปแบบใหม่

    4.Business model Innovation. การสร้างสรรค์ธุรกิจรูปแบบใหม่

    นวัตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่เกิดจากคามรู้และความคิด สร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ในส่วนของ นวัตกรรมของซีพี คือ การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ หรือ การปรับปรุงจากสิ่งเดิม ที่เกิดจากการนำความรู้และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาให้เกิดคุณค่าต่อลูกค้า องค์กร และสังคม โดยมีนวัตกรรม 2 รูปแบบ คือ Closed Innovation คือ Copy มาพัฒนา กับ Opened Innovation มี Concept และ Focus on Combine ซึ่งผู้บริหารถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างนวัตกรรมขององค์กร

    วันศุกร์ที่ 21มีนาคม พ.ศ. 2557 (เช้า)

    เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ

    โดย: รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์, ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล, อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

    -จากมาตรการของสหรัฐในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปัจจุบันเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น ภาพรวมปีนี้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ในขณะที่ประเทศจีนก็เริ่มมีปัญหาอันเนื่องมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เร็วเกินไป มีการลงทุนสร้างอสังหาริมทรัพย์มากจนเกินความต้องการ ( Over Investment) แต่โอกาสในภูมิภาคเอเชียก็ยังมีจากโครงการคมนาคมที่เชื่อมถึงกัน ทำให้โอกาสในงานด้านต่างมีมากขึ้น การใช้พลังงานในเอเชีย ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอย่าง OECD มีอัตราเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ราคา LPG ในภาคครัวเรือนจะต้องปรับขึ้น โดยตรึงราคาภาคขนส่งไว้

    เศรษฐกิจ USA ขยายตัวมีสัญญาณฟื้นตัวมา 2-3 ปีแล้ว= เพิ่งฟื้นจากห้อง ICU

    เศรษฐกิจสหภาพยุโรป กำลังจะฟื้นตัว

    เศรษฐกิจญี่ปุ่น ฟื้นตัวแต่ขยายตัวเพียงเล็กน้อย

    เศรษฐกิจจีน จะต้องผ่าตัดใหญ่ น่าเป็นห่วงเนื่องจากขยายตัวต่อเนื่องมายาวนาน เศรษฐกิจเคยโต 10% แต่ปีนี้ขยายตัวเพียง7.5% การเร่งขยายการก่อสร้างอาจไม่ใช่ภาพที่แท้จริง ดังนั้นใน 4-5 ปีข้างหน้า จึงต้องจับตาจีนเป็นพิเศษ เพราะถ้าจีนเป็นอะไรไปจะกระทบกับไทยและเศรษฐกิจโลกอย่างมาก การที่อาเซียนเปิดโฉมใหม่ ทำให้เอเซียนยึดติดกัน เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเปิดโอกาสทางด้านธุรกิจอย่างมากมาย

    เศรษฐกิจไทย ภาพรวมปีนี้เศรษฐกิจขยายตัว 2.5-3% มีการใช้จ่ายภาครัฐน้อยมาก เนื่องจากประสบปัญหาทางการเมือง ต้องรอรัฐบาลใหม่ สถานการณ์พลังงานไทย และแนวโน้มในอนาคต

    1.ไออีเอ เห็นว่า ไทยเป็นประเทศที่มีจุดเสี่ยงความมั่นคงทางด้านพลังงานสูงสุดในอาเซียน ต้องพึ่งพาพลังงานจากภายนอกประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ อีก 22 ปีข้างหน้า ไทยจะใช้พลังงานเพิ่มขึ้น ถึง 80% และต้องนำเข้าทั้งก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น

    2.นำเข้าก๊าซธรรมชาติเพิ่มจาก 25% ในปัจจุบันเป็น90% ในปีพ.ศ.2578

    3.นำเข้าไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มจาก 3%เป็น21% ในปีพ.ศ.2573

    - ผลกระทบ และการปรับตัวของ กฟผ.

    1.ต้องปรับองค์กรเพื่อการแข่งขัน และหาโอกาสทางธุรกิจที่จะเข้ามาในอนาคต

    2.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายด้านพลังงานในอนาคต

    3.ตอบสนองโจทย์ด้านพลังงานเพื่อความยั่งยืน และสิ่งแวดล้อมที่ดี

    4.แสวงหาลู่ทางการลงทุนด้านพลังงานในประเทศเพื่อนบ้านโดยใช้ประโยชน์จากข้อตกลง AEC

    5.ใช้ประโยชน์จากความเป็นผู้นำ และผู้ชำนาญการด้านพลังงานไฟฟ้าให้บริการด้านเทคโนโลยี และการซ่อมบำรุงกับประเทศในกลุ่ม CLMV พัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการเรียนรู้ และทำงานในระดับสากล

    6.เตรียมพร้อมรองรับการปฏิรูปพลังงานโดยเฉพาะการเปิดเสรีด้านระบบสายส่ง และจำหน่าย

    วันศุกร์ที่ 21มีนาคม พ.ศ. 2557 (บ่าย)

    Mind mapping สำหรับผู้บริหาร

    โดย: อาจารย์ดำเกิง ไรวา

    -Mind mapping เป็นการใช้จินตนาการ และการเชื่อมโยงที่ต้องคิดกว้าง คิดลึก และเกี่ยวข้องกัน คือการสรุปรวมความคิดในการทำให้เรื่องต่างๆเชื่อมโยงถึงกัน ทั้งคิดเชิงลึก คิดต่อเนื่อง (Radial Thinking) กับคิดกว้าง แบบ Free Flow กับแบบ Structure ทำให้สามารถเห็นภาพรวม ความเชื่อมโยงทั้งหมด ใช้เวลาน้อย เห็นได้ครอบคลุมทุกด้าน นำไปสู่การวาง

    -หลักของ Mind Mapping ให้มองจากจุดเริ่มต้นตรงกลางเป็นหัวข้อหลัก แล้วดูความเกี่ยวข้องกับหัวข้อหลักแยกเป็นเรื่องต่างๆ โดยใช้เส้นโค้งหนาแยกเป็นแต่ละสี บนเส้นเขียน Key Word สั้นๆ หรือรูปภาพ โดยเรื่องที่มีเนื้อหายาวควรอยู่ด้านขวาของกระดาษ เอียง 45องศา จากนั้นพิจารณาหัวข้อย่อยที่เกี่ยวเนื่องในเรื่องต่างๆ ขยายต่อไปเรื่อยๆโดยใช้เส้นเล็กบาง

    -การเขียน Mind mapping ทำให้เห็น Blue Print ต้องทำให้น่าสนใจ และจดจำได้ง่าย โดยใช้คำที่สั้น หรือรูปภาพ แยกสีที่แตกต่างกันในแต่ละเรื่อง เพราะสมองคนเราจะจำเป็นภาพได้ดีกว่าอักษร

    -ประโยชน์ของ Mind Mapping

    1.ช่วยลำดับความสำคัญของงาน

    2.ช่วยในการสั่งงาน

    3.ช่วยในการสอนงาน

    4.ช่วยให้ทำงานแทนกันได้

    5.เพิ่มประสิทธิภาพของการอบรม

    6.เป็น Outline of Presentation

    - การเรียนรู้ Mind mapping เป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้บริหารมี ข้อมูลครบถ้วนในกระดาษแผ่นเดียว จดจำได้ง่าย สะดวกในการพกพาไปใช้งาน และประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ นอกจากนี้ยังนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อีกด้วย

    ชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์

    Learning Log

    Author’s Name :ชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์

    Log Date :11/06/57

    Topic :กฟผ. กับความสุขของคนไทย
    โดย ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล

    โอกาสที่ได้พบและการฟังบรรยายของ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล เป็นช่วงเวลาดีๆครั้งหนึ่ง ไม่ใช่ว่าเห่อดาราหรือคนดัง แต่การได้ฟังความคิดเห็นของ”บัณฑิต” ผู้เป็นนักคิด นักเขียน (และเป็นนักอ่านด้วย) เป็นโอกาสดีๆที่ไม่ใช่จะมีบ่อยๆ

    พอจะทราบอยู่บ้างว่าท่านเป็นคนสุพรรณ วันนี้ได้รู้ว่าเป็นคนสามชุก แต่ไม่ได้อยู่ฝั่งตลาดสามชุก อยู่อีกฝั่งคลองไม่มีไฟฟ้าใช้(ในยุคนั้น) และวันนี้ยังได้ทราบถึงสาเหตุที่ท่านลาออกจากตำแหน่งรอง ผอ.ITV (รับผิดชอบฝ่ายข่าว) ที่มีเงินเดือนหลักแสน เมื่อปี 2543 ทั้งที่พึ่งทำหน้าที่เพียง 2 เดือน ก็ด้วยเหตุที่ นายนิวัฒน์ บุญทรง(ชื่อในตอนนั้น) ประธานบอร์ด ITV ซึ่งก็มีความสนิทสนมกัน(ตอนนี้ไม่แล้ว) ขอให้ท่านทำทุกวิถีทางให้ ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกให้ได้ ให้คุณสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นผู้ว่า กทม.ให้ได้ ซึ่งช่วงนั้นแข่งขันกับนายสมัคร สุนทรเวช รวมทั้งต้องช่วยลดสัมปทาน ITV ให้ได้ ท่านจึงตัดสินใจลาออกไม่ร่วมงานด้วย

    สำหรับกรณีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รวมทั้ง กฟผ.ด้วยนั้น ท่านเปรียบกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในรัสเซียว่า หากไม่แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ก็จะเป็นแหล่งรายได้ให้เหล่านักการเมืองเข้ามาตอดเล็กตอดน้อยไปตลอดไม่สิ้นสุด แต่การแปรรูปนั้น คือการที่นักการเมืองเอาทั้งหมดในคราวเดียว(เช่นการแปรรูป ปตท.) สำหรับ กฟผ.นั้น ท่านว่า ต้องอยู่อย่างนี้แหละ เป็นของประเทศชาติ เป็นของประชาชน รวมทั้งได้แสดงทัศนะถึงกรณีที่มีโรงไฟฟ้าเอกชน IPP ว่าไม่ใช่เรื่องจำเป็น ควรให้เป็นภาระหน้าที่ของ กฟผ. เพราะพลังงานไฟฟ้าเป็นเรื่องความมั่นคง ทั้งทางด้านพลังงาน และความมั่นคงของประเทศ

    ชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์

    Learning Log

    Author’s Name :ชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์

    Log Date :12/06/57

    Topic :การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
    โดย อาจารย์ธรรมรักษ์ การพิศิษฏ์

    คุณสุทธิเดช สุทธิสมภ์

    ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    โลกปัจจุบันเปลี่ยนไว เร็ว รุนแรง องค์กรต้องสามารถปรับตัว และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้เกิดในองค์กรให้ได้ สร้างความรู้ใหม่ๆ ต้องสร้างความรู้ให้เกิดในองค์กร การทำเช่นนั้นได้ต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ต้องมี Learning Culture วัฒนธรรมการเรียนรู้ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ เมื่อทุกคนในองค์กร Trust ผู้นำ(เชื่อมั่น ไว้วางใจ)

    ทั้งนี้ต้องรู้จักคิดนอกกรอบ ไม่มองอะไรเป็นส่วนๆ เห็นต้นไม้ แต่ไม่เห็นป่า นั่นคือ ต้องมีความคิดเชิงระบบ System Thinking (TheFifth Discipline: The Art&Practice of The Learning Organization [Peter M. Senge])

    องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นองค์กรที่มีชีวิต ต้องการมนุษย์ จึงจะมีชีวิต ฉะนั้นต้องให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ (Empowerment) ต้องสร้างพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ ให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนทั้งที่เป็นทางการ ไม่เป็นทางการ สิ่งสำคัญคือต้องมี Facilitator (คุณอำนวย) ถ้างานต้องใช้ทีม ต้องปฏิบัติ ต้องสร้างความเป็นเจ้าของ (Ownership)

    อาจารย์ทิ้งท้าย “ความรู้มีไว้ใช้ ใช้ให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร”

    ชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์

    Learning Log

    Author’s Name :ชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์

    Log Date :13/06/57

    Topic :ภาพลักษณ์องค์กร
    โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุญเกียรติ

    ภาพลักษณ์องค์กรที่ดี ในสถานการณ์ต่างๆ

    Good Time          ภาวะผู้นำ Leadership ต้องมี Follower

    Normal Time       FAN, Loyalty มีผู้ภักดี

    BAD Time           Trust ต้องการความไว้วางใจ

    ภาพลักษณ์ เกิดได้ 2 ทาง

    Experiences      VS      Expectation

    เป็นผลจากอดีต              ภาพลักษณ์จากโปรโมชั่น ทำให้มีความคาดหวัง

     

    TRUSTED=Cradit x Reliability x Intimacy

    Self Interest
     

    FAN / Stakes Holders

    1. General Public    สังคม
    2. Government        นโยบาย, ค้ำประกัน
    3. MEDIA                แว่นขยาย ทั้ง Telescope และ Microscope
    4. Finance
    5. NGO
    6. PEERS               เพื่อน, รัฐวิสาหกิจอื่น
    7. INTERNAL         สหภาพแรงงาน

    ตัวแทนภาพลักษณ์5ประการ

    1. NAME        EGAT,SCG
    2. LOGO        ตราสัญลักษณ์ ที่ดีนอกจากสื่อความหมายต้องดูง่ายด้วย
    3. MASCOT   สัตว์นำโชค ลองนึกถึง ผู้พันแซนเดอร์ มังกรบาบิก้อน
    4. SLOGAN   คำขวัญ ไม่ควรยาวเกิน ดีต้องจดจำง่าย
    5. IMAGE

    ถ้าโปรโมทตัวแทนทั้ง 5 นี้ จะได้ Expectation ความคาดหวังสูง

    ขบวนการมี 5 ขั้นตอน

    1. AWARENESS   รับรู้ว่ามีอยู่ (โม้นิดหน่อยได้)
    2. Interesting         ต้องน่าสนใจ
    3. DESIRE            อยากรู้จัก
    4. ACTION
    5. Satisfaction       พอใจ / ประทับใจ
    อดิศักดิ์ กิจเจริญธนารักษ์

    วันอังคารที่ 18 มีนาคม 2557

    หัวข้อ “White Ocean Strategy” กับการสร้างศรัทธาของ กฟผ.

    โดย คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย บจก. ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์

    ปัจจุบันนี้เราอยู่ในยุคของวัตถุนิยม เน้นความต้องการสิ่งของและปัจจัยต่างๆเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตัวเราเอง ทำให้เกิดการแข่งขันและแก่งแย่ง สามารถทำให้เกิดความเสื่อมถอยในสังคมมนุษย์ได้ ทำให้เกิดการคิดค้นกลยุทธ์น่านน้ำสีขาว(WHITE OCEAN STRATEGY)ขึ้น คือ พื้นฐานสำคัญที่จะทำให้การประยุกต์ใช้กลยุทธ์การตลาดสีใดก็ตามมีความมั่นคง แข็งแกร่ง และยั่งยืน

    WHITE OCEAN : EVERYONE IS A WINNER (COOPERATION) องค์กรสีขาว ความมั่นคง แข็งแกร่ง และยั่งยืนประกอบด้วย

    1.WHERE ARE WE

    2.WHERE DO WE WANT TO GO

    3.HOW TO GET THERE

    4.WORLD OF ADVANTAGE AND SHARING

    5.INTEGRITY

    6.INDIVIDUAL SOCIAL RESPONSIBILITY

    7.BENCHMARK

    ทุกคนเป็นผู้ชนะร่วมกัน Everyone is the Winner สร้างความสมดุลย์ระหว่างคุณค่าและต้นทุน สร้างผลประโยชน์ยั่งยืนขององค์กร ผลลัพธ์ที่ชัดเจนของ White Ocean คือ

    1. บริษัทมีธรรมาภิบาล เป็นที่นับน่าถือตาและเป็นแบบอย่างขององค์กรอื่น

    2. องค์กรสีขาว เป็นองค์กรที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสังคม

    3.เกิดความสมดุลระหว่างคุณค่าและต้นทุน

    4.สร้างผลประโยชน์ยั่งยืนขององค์กร องค์กรสามารถยืนระยะได้อย่างมั่นคง

    วันพุธที่ 19 มีนาคม 2557 ช่วงเช้า

    หัวข้อ กรณีศึกษาของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กับการก้าวสู่ธุรกิจพลังงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

    โดย ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)

    ได้เรียนรู้ถึงประวัติของบ้านปูตั้งแต่เริ่มก่อตั้งองค์กร การวางพื้นฐาน การฝ่าวิกฤตต้มยำกุ้ง การเติบโตและขยายกิจการขององค์กร มีแนวทางวิธีการดำเนินธุรกิจพลังงานอย่างไร มี Strategies ในการทำธุรกิจอย่างไร

    กิจการหลักของบ้านปูคือธุรกิจถ่านหินและธุรกิจแร่อื่นๆ (เช่น เหมืองดินขาว) หลังจากดำเนินธุรกิตถ่านหินมาพอควร ก็เริ่มมองธุรกิจที่ต่อเนื่อง โดยการไปทำธุรกิจผลิตไฟฟ้าแห่งแรกคือ บริษัทCOCO ผลิตไฟฟ้าแบบ Cogeneration และมองหาขยายธุรกิจในต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ลาว ในช่วงวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งบ้านปูได้รับผลกระทบมากเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ส่งผลต่อหนึ้สินที่เพิ่มขึ้นและกระแสเงินหมุนเวียนของบริษัท นำไปสู่การตัดสินใจขายหุ้นบริษัท COCO หลังจากเศรษฐกิจเริ่มคลี่คลายก็จึงเริ่มลงทุนในหุ้นโรงไฟฟ้าราชบุรีโดยเข้าไปเป็นหุ้นส่วนใหญ่ การขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งบริษัทฯ ได้กำหนดเป็น BANPU SD FRAME WORK ประกอบด้วย

    1. COMPETITIVENESS

    - PEOPLE DEVELOPMENT

    - OPERATIONAL EXCELLENCE

    - TECHNOLOGY

    2. LOCALIZATION

    - GOOD GOVERNANCE

    - BUSINESS ETHICS

    - COMPLIANCE

    - GOOD CORPORATE CITIZEN

    3. LICENSE TO OPERATE

    - HEALTH & SAFATY

    - ENVIRONMENT

    - COMMUNITY DEVELOPMENT

    วันพุธที่ 19 มีนาคม 2557 ช่วงบ่าย

    หัวข้อ TQM/SEPA: ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

    โดย คุณสืบพงษ์ บูรณศิรินทร์

    ผู้ช่วยผู้ว่าการทรัพยกรบุคคล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

    อาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยากุล

    บริษัท ปตท.จำกัดได้วางเป้าหมายที่จะเป็นองค์กรระดับโลกและมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน อยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ การพัฒนาด้านเศรษฐกิจต้องควบคู่ไปกับด้านสังคมและต้องร่วมกับด้านการเมืองด้วย

    ปตท.ทำ Pilot project จนได้ TQA(Thailand Quality Award) นำความรู้ตรงนี้ไปใช้กับท่อก๊าซจนได้ TQA แห่งที่2ปตท.เน้นสามเหลี่ยมแห่งความยั่งยืนประกอบด้วย

    -Coorperate Governance

    -High Performance Organization

    -CSR

    TQM คือ การบริหารองค์กรให้เป็น High Performance Organization (HPO) เป็นองค์กรที่มีคุณภาพสูง TQMเป็นเครื่องมือที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ทุกองค์กรเพราะอยู่ภายใต้กฎและกติกาเดียวกัน กฟผ. กำลังทำ EGAT Way เพื่อนำไปใช้ให้เป็นHPOเป็นแนวทางของ EGAT ที่มีลักษณะเฉพาะและมีแนวทางเป็นของตนเอง EGAT Wayต้องให้ความสำเร็จและความสุขไปด้วยกัน เป็นทั้งของหน่วยงานและผู้มีส่วนได้เสีย

    SEPA ประยุกต์มาจากTQA ประกอบด้วย 7 หมวด หมวด1ถึง6 เกี่ยวกับกระบวนการ ส่วนหมวด 7 เป็นผลลัพธ์ โดยกระบวนการที่ดีย่อมส่งผลลัพธ์ที่ดี

    วันพุธที่ 19 มีนาคม 2557 ช่วงบ่าย

    หัวข้อ การบริหารความเสี่ยงจากการคุกคามของการเมือง

    โดย ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ

    ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

    ดำเนินรายการโดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    การเจริญเติบโตของประเทศไทยในระยะเวลาที่ผ่านมาได้รับผลกระทบมาจากการเมืองโดยตลอด กล่าวได้ว่าถ้าการเมืองดีเศรษฐกิจก็จะดี ถ้าการเมืองแย่เศรษฐกิจก็จะแย่ กฟผ.เป็นองค์กรที่ผ่านยุคการเมืองมาหลายสมัยไม่ว่าจะเป็นยุคที่การเมืองดีหรือว่าการเมืองแย่ เช่น ยุคที่เกือบจะต้องปฎิรูปกฟผ. การจะผ่านพ้นความเสี่ยงที่เกิดจากการเมืองได้คือเป็นองค์กรที่เป็น HPO และ Good Governance

    ข้อเสนอแนะที่ได้จากการฟังวิทยากร

    -อย่ามองการเมืองว่าคุกคามอย่างเดียวให้มองเป็น Partner

    -มีพันธมิตรภายใน เช่น สหภาพแรงงาน และภายนอก เช่น Ngo,ชาวบ้านใกล้เคียง

    -ติดตามสถานการณ์การเมืองตลอดเวลา พร้อมเตรียมรับมือให้ทันท่วงที

    -มีการสร้าง Network มากขึ้น จัดอบรม วปอ. โดย กฟผ. เป็นเจ้าภาพ เชิญคนอื่นมาร่วมด้วย

    วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม 2557 ช่วงเช้า

    ทัศนศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิชัยพัฒนา

    ได้เดินทางไปดูงาน ณ มูลนิธิชัยพัฒนาที่พระราม8 โดยมุ่งเน้นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปัญหาของโลกปัจจุบันนี้เกิดจากการบริโภคที่เกินพอดี มีการพัฒนามาก ก็จะบริโภคมาก และบริโภคอย่างฟุ่มเฟือย ซึ่งเราสามารถแบ่งโลกได้เป็น2ซีกคือ

    1. ทุนนิยม วัดการเติบโตของGDP ,มีการแข่งขันด้านเศรษฐกิจและสังคม,ฟุ่มเฟือย

    2.สังคมอุดมปัญญา วัดGross National Happiness(GNP),เศรษฐกิจพอเพียง,อนุรักษ์วัฒนธรรม,อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม,ส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล

    ซึ่งแบบที่ 2 นั้นจะเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นการสร้างความสุขให้สังคมนั้นได้มากกว่า ซึ่งแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่ การสร้างสมดุลเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มุ่งความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ไม่เน้นCost Benefitแต่ใช้แนวคิด Cost Effectiveness

    หลักเศรฐกิจพอเพียง เป็นปรัญาที่เดินสายกลาง มี 3 หลักใหญ่

    -พอประมาณ

    -มีเหตุผล

    -มีภูมิคุม้กันในตัวที่ดี

    กำหนดความพอดี 6 ประการ เพื่อพลิกใจให้พอเพียงเพื่อความสุขที่ยั่งยืน

    -ด้านจิตใจ

    - ด้านสังคม

    - ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    - ด้านเทคโนโลยี

    - ด้านเศรษฐกิจ

    -ด้านการเมือง

    วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2557 ช่วงเช้า

    หัวข้อ เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AECกับ ผลกระทบและการปรับตัวของกฟผ.

    โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

    คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

    ไทยมีความเสี่ยงเรื่องความมั่นคงทางพลังงานสูงที่สุดในอาเซียนเพราะต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าและแก๊สธรรมชาติและประเทศมีความต้องการสูงขึ้นทุกๆวันเนื่องจากไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มได้อีก ดังนั้น กฟผ. ต้องเร่งปรับตัวอย่างมาก ควบคู่ไปกับการปฏิรูปพลังงาน ซึ่งอาจมีการเปิดเสรีด้านระบบส่งและจำหน่ายในอนาคตเมื่อเกิด AECในอนาคต

    ผลกระทบของ AEC

    -การปรับนโยบายการแข่งขัน

    -การปรับนโยบายภาษี

    -สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ

    ผลกระทบต่อระบบสถาบันการเงิน

    ในแง่คู่แข่ง

    -คู่แข่งรายใหม่

    -คู่แข่งคนละประเภทแต่แย่งลูกค้าของเรา

    -ไม่มีศัตรูถาวรและมิตรแท้

    ในแง่ลูกค้า

    - Red Ocean กลยุทธ์น่านน้ำสีแดง

    1.Customeris king

    2.Existing Product, Maximize Profit , Minimum Cost

    3.Process Innovation

    4.Market Share เพิ่มการตลาด

    - Blue Oceanหลัก High Rich High Return

    1. technology is a king,Product of Service Innovation

    2. New market

    3. Opportunity Shareทำลายข้อจำกัดเดิม

    วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2557 ช่วงบ่าย

    หัวข้อ Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร และการวางแผนงานวิจัยและโครงการเชิงนวัตกรรม

    โดย อาจารย์ดำเกิง ไรวา

    ได้เรียนรู้ถึงระบบ Mind Mapping ซึ่งเครื่องมือในการจดบันทึกที่ใช้สมองสองซีกอย่างเต็มที่ สมองของคนเรานั้นมีการจดจำแบบรูปภาพได้ดีกว่าตัวหนังสือ ทำให้การเขียน Mind Mapping ส่งผลให้เราสามารถจดจำรายละเอียดงานได้มากกว่า รวมทั้งเกิดการคิดอย่างเป็นระบบอีกด้วย

    ข้อบังคับในการเขียน Mind Mapping

    1.เลือกหัวข้อหรือประเด็นปัญหาที่ต้องการเขียนแผนภูมิความคิด

    2.เริ่มต้นการเขียนจากตรงกลางหน้ากระดาษ โดยไม่ต้องใส่กรอบให้ข้อความหรือ ขีดขอบเขต เพราะจะเป็นการกรอบความคิด ทำให้ไม่ลื่นไหล

    3.ใช้ปากกาสีปากตัด หลายๆ ขนาด หลายๆ สี รวมทั้งปากกาเน้นคำ

    4.เลือกคำหรือ เลือกหัวข้อเรียงลำดับ เป็นการจัดลำดับความคิดเห็น หรือ ลำดับควาสำคัญของคำ

    5.แตกแขนงย่อยๆ ลงไป ตามลำดับสำหรับเนื้อหาที่สัมพันธ์กัน

    6.ใช้รูปภาพให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ แทนคำหรือข้อความ

    การบ้านพิเศษ 6 บทความเรื่อง Well-paid young Seattle techie prefers giving to riches จาก the Seattle Times, published March 12, 2014 by Jerry Large

    - ปัจจุบันกระแสบริโภคนิยม และทุนนิยม รุนแรง และเป็นไปทั่วโลก โดยเฉพาะซีกโลกตะวันตก

    - แต่ Jessan Hutchison-Quillian เขากำลังจะพลิกกระแสของสังคมในโลกทุนนิยม เขาต้องการให้สังคมมีความยุติธรรม และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันมากขึ้น

    - Jessan Hutchison-Quillian เป็นคนรุ่นใหม่ เป็นวิศวกรหนุ่ม จบจากมหาวิทยาวอชิงตันเมื่ออายุ 19 ปี เข้าทำงานที่บริษัท Google ในปี 2007 เขาประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย มีรายได้มาก และเพิ่มขึ้นทุกปี มีความพร้อม และโอกาสที่จะดำเนินชีวิตตามกระแสนิยมดังกล่าวได้อย่างสุขสบาย แต่เลือกใช้ชีวิตในทางตรงกันข้าม ให้ความสำคัญกับความพอเพียง ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น และแบ่งปันรายได้ส่วนที่เหลือไปบริจาคช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาส เพื่อลดความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมกันของคนในสังคม มุ่งหวังที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทางที่ดีขึ้น เขาเห็นว่าเงินไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดของชีวิต สุขภาพและความปลอดภัย ต่างหากที่สำคัญ จึงตระหนักได้ว่าความสุข เป้าหมาย ความสำเร็จที่แท้จริง ของคนเรา ไม่ใช่การมีทรัพย์สิน เงินทอง ความร่ำรวย สะดวกสบายเสมอไป แท้จริงแล้วเป็นความสุขจากการให้ การได้ช่วยเหลือผู้อื่น

    - เขาช่วยเหลือผู้ขาดแคลน บริจาคเงินมากกว่า 100,000 ดอลล่าร์ และเพิ่มขึ้นจนถึง 40 % ในปัจจุบัน เขาคิดว่าการช่วยเหลือของเขาเป็นการซ่อมแซมส่วนที่เสียหายของโลก โดยเฉพาะความไม่เสมอภาคทางด้านอำนาจและทรัพยากร เหตุผลที่ทำให้เกิดแนวคิดนี้ประกอบด้วย

    1.ครอบครัวมีความพอเพียงไม่มีความต้องการด้านวัตถุนิยมแล้ว

    2. เขาคิดว่าเขามีทุกอย่างพร้อมแล้ว ทั้งความรักและความสุขสบาย

    3. เขารู้ว่าเด็กๆ ไม่ได้มีโชคดีทุกคนเสมอไป เงินไม่สามารถจะซื้อสุขภาพ และความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตได้ การสร้างชุมชนที่มีคนที่สามารถช่วยเหลือกันได้ในช่วงที่มีปัญหา น่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่า

    - เขาไม่ได้หวังให้ทุกคนทำตามอย่างทั้งหมด แต่เขาเชื่อว่าคนอเมริกันส่วนใหญ่ต้องการสิ่งที่ดีกว่าการสะสมด้านวัตถุ

    - Jessan Hutchison-Quillian เป็นต้นแบบของการเอื้อเฟื้อเผื่อแผร่ และความยุติธรรมในสังคมที่จะช่วยปลุกจิตสำนึกให้เกิดความคิดที่แตกต่างถึงผลสำเร็จที่จะเกิดขึ้นต่อสังคม เป็นแนวคิดที่ดีที่จะช่วยเหลือสังคมเพื่อลดปัญหาความยากจน ลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน เกิดความเสมอภาค จะช่วยให้สังคมมีความสุข และมีความยั่งยืน

    - เมื่อเปรียบเทียบแนวทางการดำเนินชีวิตของ Jessan Hutchison-Quillian กับระบบทุนนิยมสามานย์แล้ว ช่างตรงกันข้ามกันโดยสิ้นเชิง ทั้งปรัชญาการดำเนินชีวิต และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม หลักทุนนิยมสามานย์ ที่มุ่งเน้นการแสวงหากำไรและผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง ผู้ที่มีอำนาจหรือมีอิทธิพล มักใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกต้องหาผลประโยชน์ในระบบทุนนิยม ก่อให้เกิดปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น รวยเฉพาะคนเพียงกลุ่มเดียว คนส่วนใหญ่ในสังคมยากจน เกิดความไม่เสมอภาค และนำไปสู่ความปัญหาความขัดแย้งซึ่งทำให้สังคมไม่มีความสงบสุข

    - ปรัชญาการดำเนินชีวิตของเขา เทียบได้ว่าเป็นแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง พอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน เอื้ออาทร มีคุณธรรม ในขณะที่ทุนนิยมสามานย์เป็นแนวทางที่คนที่มีความแข็งแกร่ง มีความพร้อมด้าน ทุน อำนาจ อิทธิพล ใช้สิ่งที่ตนเหนือกว่า แสวงหาผลประโยชน์ หากำไรให้แก่ตนเอง และพวกพ้อง โดยการเอารัดเอาเปรียบสังคม รวมทั้ง คนที่อ่อนแอ และด้อยกว่า ไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ใช้วิธีการที่ผิดกฎหมายและศีลธรรม ทุจริต คอร์รัปชั่น เล่นพรรคเล่นพวก ฯลฯ ไม่รู้จักอิ่มพอ ยิ่งได้มากก็ยิ่งอยากได้เพิ่มขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด

    - จากแนวทางการดำเนินชีวิตของเขา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดี สังคมเข้มแข็งขึ้น ลดช่องว่างในสังคม มีคนดีมากขึ้น รู้จักความพอเพียง แบ่งปัน รักใคร่เอื้ออาทรกัน อยากทำสิ่งดีให้แก่สังคม เป็นสังคมที่น่าอยู่และสงบสุข ในขณะที่ทุนนิยมสามานย์ทำให้สังคมอ่อนแอ เอารัดเอาเปรียบ ไม่ซื่อสัตย์ คนรวยก็รวยมาก คนจนก็ยิ่งจนลง มีการทำผิดกฎหมายสูงมาก ไม่มีความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน คุณภาพของคนแย่ลง สังคมถดถอยไม่พัฒนา

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท