เก็บ"ลูกกล้วยเต่า"


หลังจากจัดทำเวทีประชาคมเกษตรกรหมู่ที่ 8 บ้านปลักมะหว้า ตำบลพรานกระต่าย แล้ว ก็ไปเก็บภาพ"ลูกกล้วยเต่า"ไว้เมื่อวันศุกร์ที่ 20 กันยายน ที่ผ่านมา มาถึงวันนี้มีเวลาสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ"กล้วยเต่า"จึงขอนำมาบันทึกไว้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนและร่วมอนุรักษ์ผัก/ผลไม้พื้นบ้านไว้เป็นข้อมูลให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป...บันทึกไป..ก็รำลึกถึงความหลังครั้งยังเป็น"ละอ่อน"ไป.....มีความสุขจริง ๆ คร้าบ!!!!!

                            -ยามบ่าย ๆ แบบนี้มาชวนทุกท่านไปช่วยกันเก็บ"ลูำกกล้วยเต่า"กันซักหน่อยครับ.....ช่วงนี้มิตรรัก G2K จะได้ติดตามบันทึกเกี่ยวกับ"ผัก/ผลไม้พื้นบ้าน"บ่อยหน่อยคงไม่ว่ากันนะครับ....เป็นเพราะว่าช่วงนี้ผมมีภารกิจในการออกพื้นที่เพื่อทำการประชุมเกษตรกรเพื่อเร่งดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล...และเมื่อมีโอกาสได้ออกพื้นที่ในหมู่บ้านต่าง ๆ ผมจึงได้เจอกัีบ"ผัก/ผลไม้พื้นบ้าน"ที่น่าสนใจพร้อมกับไม่ให้พลาดโอกาสดี ๆ ในการเก็บภาพพร้อมกับข้อมูลเกี่ยวกับ"ผัก/ผลไม้พื้นบ้าน"มาบันทึกไว้ให้ได้ติดตามพร้อมๆ กับร่วมรำลึกถึงความหลังครั้งผมยังเป็น"ละอ่อน" 5555 และวันนี้ผมขอนำเสนอเรื่องราวของ"ลูกกล้่วยเต่า"....พร้อมแล้ว..ตามผมมาเก็บ"ลูกกล้วยเต่า"ได้แล้วคร้าบ!!!

1.เมื่อศุกร์(20/09/56)หลังจากทำการจัดเวทีประชาคมเกษตรกรผู้ขึ้นทะเบียนพืชเศรษฐกิจหลัก"ข้าว,มันสำปะหลัง"หรือ"เกษตรกรที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ"จำนำข้าว/มันสำปะหลัง"ของรัฐบาลในหมู่ 8 บ้านปลักมะหว้า ตำบลพรานกระต่ายเสร็จเรียบร้อยแล้วผมได้ขอให้"ผู้ช่วยหมู่ 8"นำทางไปเก็บ"ลูกกล้วยเต่า"ในป่าท้ายหมู่บ้านครับ เพราะว่าช่วงนี้"ลูกกล้วยเต่า"กำลังออกลูกและสุกแล้ว..หากปล่อยเวลาไปให้นานกว่านี้เกรงว่าจะไม่ได้ภาพของ"ลูกกล้วยเต่า"มาให้มิตรรัก G2K ได้ติดตามกัน ฮ่า  ๆ ๆ 

2.เมื่อถึงบริเวณป่าที่"ต้นกล้วยเต่า"ขึ้นแล้ว ผมกับผู้ช่วยได้ลองหา"ลูกกล้วยเต่า"ดู ขอบอกก่อนนะครับว่า"กล้่วยเต่า"ที่เห็นอยู่นี้บ้านผมจะเรียกว่า"ลูกตับเต่า"ซึ่งเมื่อสามปีก่อน "พี่สาวกอหญ้า"ได้เขียนบันทึกเรื่องนี้ไว้ตามบันทึกนี้ครับ เก็บ"ตับเต่าสด ๆมาฝากค่ะ...

3.สำหรับข้อมูลที่ผมได้มาเขาบอกเอาไว้ว่า"ลูกกล้วยเต่า"มีชื่อเรียกอื่น ๆว่า"กล้วยครก,กล้วยตับเต่า,ไข่เต่า,ตับเต่า,ตับเต่าน้อย"เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 40 เซนติเมตร ลำต้นสีน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบเป็นรูปรี ผลเมื่อดิบมีสีเขียว หากแก่จัดและสุกจะมีสีเหลือง"ครับ..ข้อมูลตามลิ้งค์นี้ครับ กล้วยเต่า อ้อ..ต้นกล้วยเต่า มีสรรพคุณทางยาด้วยนะครับ...น่าสนใจจริง ๆ 

4.ในช่วงนี้จะมี"ลุกกล้วยเต่า"วางขายในตลาดสดพรานกระต่าย ในราคาจานละ 10 บาท ซึ่งจะมีมากในระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน ของทุกปีครัีบ....สำหรับรสชาติของ"กล้วยเต่า"ก็จะออกหวาน ๆ การกินก็จะกินเฉพาะเนื้อส่วนเม็ดของกล้วยเต่าก็จะแข็ง ๆ ไม่สารถกินได้ครับ..เพราะฉะนั้นใครที่ยังไม่เคยกินก็อาจจะไม่ค่อยคุ้นลิ้นซักเท่าไหร่..แต่สำหรับผมแล้ว....มันอร่อยและเป็นผลไม้ป่าที่สุดยอดเลยล่ะครัีบ...สมัยผมเป็น"ละอ่อน"ผมกับพี่ชายจะไปเก็บ"ลูกกล้วยเต่า"กันในป่าใกล้ ๆบ้าน ซึ่งมีอยู่มากมาย แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีแล้วล่ะครับ เพราะว่าส่วนหนึ่งพื้นที่ป่าถูกปรับพื้นที่ไปปลูกพืชเศรษฐกิจหลักที่"รัฐบาลมีโครงการรับจำนำ"ไปเกือบหมด..ส่วนเจ้า"กล้วยเต่า"ผมคาดว่าอีกไม่นานคงจะไม่ีมีให้คนรุ่นใหม่ ๆ ได้ลิ้มรสเป็นแน่แท้ทีเดียวเชียว...เอาเป็นว่าบันทึกนี้ขอเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์"กล้วยเต่า"และเป็นข้อมูลให้กับคนรุ่นหลังได้ศึกษาก็แล้วกันนะครับ...คิดแล้วก็น่าใจหายจริง ๆครับ...

5.สุดท้ายนี้..ก็ขอฝาก"ผลไม้่ป่า"ในนามว่า"กล้วยเต่า"ไว้ในบันทึกนี้และบนพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แห่งนี้ด้วยนะครับ....แล้วท่านผู้อ่านล่ะครับ....รู้จักและเคยกิน"กล้วยเต่า"หรือเปล่า???

สำหรับวันนี้..ต้องขอขอบคุณ"ผู้ช่วยหมู่ 8"พร้อมกับน้องชาย ที่ได้กรุณานำทางผมไปเก็บภาพพร้อมกับบอกเล่าข้อมูลเกี่ยวกับกล้วยเต่าให้ผมได้รับรู้...เรื่องที่"ผู้ช่วย"ถามผมว่า"จะถ่ายรูปต้นกล้วยเต่า"ไปทำอะไร???บันทึกนี้คงจะเป็นคำตอบให้กับ"ผู้ช่วย"ได้รู้และร่วมภูมิใจไปกับผมที่ได้เป็นส่วนหนึ่งการ"อนุรักษ์ผักพื้นบ้าน"ในนามว่า"กล้วยเต่า"หรือ"ขี้เต๋า"ของคนพรานกระต่ายนั่นเองคร้าบ!!!!!

สวัสดีครับ...

                                                                        เพชรน้ำหนึ่ง

                                                                        26/09/2556

หมายเลขบันทึก: 549353เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2013 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2013 16:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

เยี่ยมค่ะ

แต่แถวบ้านไม่มีค่ะ

ขอบคุณมากค่ะที่นำพื้นบ้านที่แปลกๆมาฝาก

ได้รู้เรื่องราวดีๆอีกเรื่องค่ะ

พึ่งรู้จักที่บันทึกนี้ อยากลองชิมที่บอกว่า ผลไม้ป่าสุดยอด แสดงว่ากล้วยเต่านี้อร่อยไม่ธรรมดาแน่ๆ ขอบคุณมากนะคะ นำมาฝากได้รู้จักสมุนไพรที่ชมแล้วอยากชิม ไปตลาดคงได้มองหาดูเชียงใหม่จะเรียกกล้วยเต่าหรือเปล่านะ

ที่บ้่านมี ตอนแก่ลูกสีเหลือง เป็นไม้พุ่มเล็ก อยู่บนพื้นครับ

แต่ที่บ้านผม เรียกว่า ไข่เต่า

เอาไว้ว่างๆ รบกวนบันทึกคำสำคัญว่า ปลูกผักกินได้ นะครับ

พยายามนึกว่า เคยเห็นหรือเปล่าครับ

เคยจำได้ตอนเด็กเคยกินด้วย แต่เรียกว่ากล้วยมูสัง(มูสังคือตัวชะมดครับ)เดี๋ยวนี้ไม่เห็นมีแล้ว เคยคิดว่าถ้าเจอกล้วยมูสังจะเอามาปลูกไว้

รสชาติ คงอร่อยมากเลยนะครับ คุณเพชร

เพิ่งเคยเห็นนะครับ และก็อยากลองหามากินบ้าง

 

ขอบคุณมากนะครับ

ตามหาอยู่นานกว่าจะเจอะ..."ลูกกล้วยเต่า" ชื่อแปลกดีนะคะ...เพิ่งเห็นและได้ยินชื่อเป็นครั้งแรก...ขอบคุณค่ะคุณเพชร...

บ้านครูหยินเรียกว่ากล้วยมูสัง(ตัวชะมด)

สงสัยว่าจะเป้นอาหารของตัวชะมด เป็นต้นไม้ที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธ์

ดอกสีแดงสวยมาก ผลอกเปรี้ยว ๆ

  • ชื่อเรียกของทางกำแพงเพชรนี่ ทำให้เข้าใจผิด อยู่เรื่อยเลยค่ะ "คุณเพชรน้ำหนึ่ง" อย่าง "แมงแก๋วลาว" นี่ เห็นชื่อก็คิดว่าเป็นแมลงชนิดหนึ่ง ที่แท้กลายเป็น "มันแกว" ..."กล้วยเต่า" เข้าใจว่าเป็น "กล้วย" ชนิดหนึ่ง กลับเป็นพืชคนละตระกูลไปเสียนี่
  • ด้วยรูปร่างหน้าตาของผลคล้ายกัน แต่ชื่อเรียกต่างจากไม้ป่าที่อาจารย์แม่ไอดินฯ เคยเก็บกินตอนไปเก็บเห็ดกับแม่ จำได้ว่า เมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีที่ผ่านมา แม่พาเรียกว่า "บักลกคก" ก็เลยสืบค้นข้อมูลได้ภาพจากแหล่งต่างๆ และความรู้เกี่ยวกับผลไม้ป่าชนิดนี้ มาดังนี้นะคะ
  • หนังสือพิมพ์คมชัดลึกออนไลน์ วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2556 หน้าเกษตร-วิทยาศาสตร์-ไอที : ข่าวทั่วไป เรื่อง ไม้ดีมีประโยชน์ : 'ก้นครก' รากเป็นยาโดย...นายสวีสอง ได้ให้ข้อมูลว่า "ต้น 'ก้นครก' จะพบมากแถวภาคอีสาน ชาวบ้านแถวนั้นเรียก "บักก้นครก" ชอบขึ้นตามแนวคันนา ชายป่าละเมาะ ป่าโปร่ง เด็กๆ แถวนั้นจะรู้จักคุ้นเคย เพราะพวกเขาชอบที่จะหาผลมากินเล่นกัน เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กทรงเตี้ย ในวงศ์ ANNONACEAE สูง 25-60 เซนติเมตร กิ่งก้านมีขนสีน้ำตาลคลุม รากมีสรรพคุณทางยาเพราะให้รสเย็น แก้ตัวร้อน ดับพิษไข้ทั้งปวง ดับพิษตานซาง แก้วัณโรค หรือต้มน้ำดื่มแก้ปวดท้อง ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปไข่แกมขอบขนาน ยาว 5-10 เซนติเมตร กว้าง 2-4 เซนติเมตร ดอก เป็นดอกเดี่ยว ขนาดเล็กสีเหลืองอมเขียว ออกตามซอกใบ ผล เป็นผลกลุ่ม ทรงกลมยาว สีเหลือง มีขนละเอียดสีเหลืองอ่อน กินได้ผลดิบรสฝาด หากสุกงอมจะหวาน เมล็ดมีสีดำ ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด เติบโตในทุกพื้นที่ ที่มีความชื้นปานกลาง แสงแดดเต็มวัน 
  • ขอบคุณมากนะคะ ที่ช่วยฟื้นความทรงจำของอาจารย์แม่ที่เก็บฝังไว้กว่าห้าสิบปีมาแล้ว "บักก้นครก หรือบักลกคก" เป็นผลไม้ป่าของทางอีสานที่แทบจะไม่มีคนเขียนถึง ผลไม้ป่าอีสาน ๒๐ ชนิดที่คุณอักขณิชเขียนแนะนำใน GotoKnow เมื่อสองปีที่ผ่านมา ก็ไม่มีชนิดนี้ค่ะ บันทึกนี้ของคุณเพชรน้ำหนึ่ง จึงเป็นแรงบันดาลใจให้อาจารย์แม่ไอดินฯ สร้างโฟลเดอร์ "ผลไม้ป่าอีสาน" เป็นแหล่งเรียนรู้อีกโฟลเดอร์หนึ่งของ "ฟาร์มไอดิน-กลิ่นไม้" ค่ะ 

ขอบคุณมากครับสำหรับผลไม้ป่าที่นำมาให้รู้จัก...อืม...ผมไม่แน่ใจว่าสมัยเด็ก ๆ เคยเห็นหรือเปล่า...:)

ขอบคุณค่ะ เป็นผลไม้ป่าที่น่าสนใจมาก...

สวัสดีค่ะ

- ในชีวิต  ไม่รู้จัก  และ ไม่เคยเห็น "ลูกกล้วยเต่า" มาก่อนเลยค่ะ

- ขอบคุณ  ที่ทำให้มีความรู้ มากขึ้นนะคะ

สวัสดีจ้ะคุณเพชร แถว ๆ บ้านคุณเพชรมีพืชพรรณไม้ป่าที่มีคุณค่าหายากหลายชนิด

น่าจะมีพื้นที่สักแห่งนำพืชเหล่านี้ไปปลูกรวมอนุรักษ์เอาไว้ก่อนที่จะสูญพันธุ์ไปกับกาลเวลา

นะจ๊ะ  กลุ่มยุวเกษตรของคุณเพชรน่าจะช่วยกันได้นะ  ขอบคุณสำหรับบันทึกที่ดี ๆ จ้ะ

-สวัีสดีครับคุณ Bonnie

-ยินดีที่ได้แบ่งปันเืรื่องราวเกี่ยวกับผักพื้นบ้านและผักแปลก ๆให้ได้ติดตามและรู้ีจักครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจครับ..

 

-สวัสดีครับพี่กานดา

-รสชาติออกหวาน ๆ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวครับ

-ไม่แน่ใจว่าที่เชียงใหม่จะเีรียก"กล้วยเต่า"ว่าอะไร??

-คิดว่าทางเชียงใหม่ก็น่าจะมีเหมือนกันครับ

-แต่เขาจะเก็บมาขายหรือเปล่านี่ก็คงต้องลองหาดูครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมชมบันทึกนี้ครับ..

 

-สวัสดีครับอาจารย์ขจิต

-ที่บ้านอาจารย์มีอีกแล้ว ฮ่า ๆ 

-เข้าไปเพิ่มคำสำคัญแล้วครับ"ปลูกผักกินได้"

-ขอบคุณที่ีมาเยี่ยมและให้กำลังใจครับ..

-สวัสดีครับท่าน พ.แจ่มจำรัส

-ลองนึก ๆ ดูนะครับ เผื่อนึกออกและได้รำลึกถึงความหลังครับ

-ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับท่าน เครื่องหมาย?คำถามเดี่ยว

-ลูกมูสัง...ขอบคุณสำหรับชื่อทางใต้ครับ..

-ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนครับ...

 

 

-สวัสดีครับคุณแสงแห่งความดี

-ยินดีที่ได้แบ่งปันและบอกเล่าถึง"ลูกกล้วยเ่ต่า"ผลไม้ป่าครับ..

-หากมีโอกาสลองหาดูนะครับ..เผื่อโชคดีจะได้ชิม"ลูกกล้วยเต่า"

-ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับ ดร.พจนา

-ก่อนอื่นต้องขอบคุณ ดร.ก่อนนะครับที่ตามหา"ลูกกล้วยเ่ต่า"จนเจอ ฮ่า ๆ 

-เป็นผลไม้ป่าที่ออกมากในช่วงนี้่ครับ

-ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับครูหยิน...

-ลูกมูสัง..เป็นชื่อทางใต้ของ"กล้วยเต่า"

-แต่ข้อมูลที่ครูบอกว่า"รสออกเปรี้ยว"ผมว่ามันขัดแย้งกันอยู่ครับ

-กล้วยเต่าจะออกหวาน ๆ มีกลิ่นเฉพาะตัว..

-เดี๋ยวต้องหาข้อมูล"ลูกมูสัง"แล้วล่ะครับ..

-ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับอาจารย์แม่ไอดิน

-บันทึกนี้ทำให้อาจารย์แม่มีแรงบันดาลใจในการสร้่างโฟลเดอร์"ผลไม้ป่าอีสาน"ด้วย...ยินดีและขอบคุณที่ให้เกียรติครับ...

-"บักลกคก"ชื่อทางอีสาน...และงานนี้อาจารย์แม่ไอดินได้รำลึกถึงความหลังที่ฝังลึกมานานซะด้วย ฮ่า ๆ ห้าสิบกว่าปี...ได้ยิ้มอีกครั้งในบันทึกนี้..เช่นเดียวกับผมครับ..

-หากมีโอกาสจะพยายามหาผัก/ผลไม้พื้นบ้านมาแบ่งปันและร่วมอนุรักษ์และเป็นแหล่งข้อมูลให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจในบันทึกนี้ครับ...

 

-สวัสดีครับคุณจัตุเศรษฐธรรม

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและลองนึก ๆ ดูนะครับว่าเคยเห็นและเคยลิ้มรส"ลูกกล้วยเต่า"หรือเปล่า..

-ยินดีที่ได้ร่วมแบ่งปันเรื่องนี้ครับ..

 

-สวัสดีครับป้าใหญ่..

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและร่วมอนุรักษ์ผลไม้ป่าครับ

 

-สวัสดีครับคุณ joy

-บันทึกนี้ทำให้หลายท่านได้รู้จัก"ลูกกล้วยเต่า"

-รู้สึกยินดีและได้รับกำลังใจในการแบ่งปันเรื่องราวของผักพื้นบ้านครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจในบันทึกนี้ครับ..

 

-สวัสดีัึครับครูมะัเ้ดื่อ..

-เป็นแนวคิดที่น่าสนใจครับ

-ปัจจุบันนี้ผัก/ผลไม้ป่า เริ่มลดลงเพราะว่าพื้นที่ถูกแผ้วถางไปปลูกพืชเศรษฐกิจ

-เดี๋ยวต้องหาโอกาสนำไปเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ผักพื้นบ้านครับ

-ขอบคุณครับครู...

ยังไม่เคยกินผลไม้ชนิดนี้เลย

เอ!  หรือว่าเคยกิน แต่จำไม่ได้ ก็ไม่รู้นะครับ  555

-สวัสดีครับ..

-คงต้องนึกนานหน่อยนะครับท่าน 5555

-ลองหาดูนะครับ..บางทีที่บ้านแม่ตาดอาจจะมี"ลูกกล้วยเต่า"

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมชมบันทึกนี้ครับ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท