คงพอจะเดากันได้ใช่ไหมค่ะว่าประชาชนกลุ่มใดที่มีโอกาสใช้เว็บไซต์และบริการออนไลน์ของภาครัฐน้อยมาก คำตอบก็คงเป็น กลุ่มคนรายได้น้อย กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้พิการค่ะ
ดิฉันคิดว่าประเทศเรามีความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอยู่พอประมาณทีเดียวค่ะ หากภาครัฐต้องการจะกระตุ้นการเป็น e-government ก็ควรจะให้ความสำคัญมาที่เรื่องนี้ให้มากนะคะ
คำถามคือ ทำอย่างไรที่จะกระตุ้นให้ผู้ใช้เหล่านี้ได้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างทั่วถึงและได้ใช้บริการออนไลน์ของภาครัฐ
ดิฉันขอเสนอว่า
1. สรอ. ควรทำการศึกษาวิจัยอย่างเข้มข้นเพื่อค้นหาปัญหาจากประชาชนในเรื่อง e-government ค่ะ เช่น
2. การศึกษาวิจัยนี้ทำได้ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ เช่น การจัดตั้งเว็บไซต์กลางเพื่อสื่อสารสองทางกับประชาชนในเรื่อง e-government สร้างความตระหนักและกระตุ้นให้ใช้บริการต่างๆ ค่ะ
3. ทำเว็บไซต์ที่ให้บริการออนไลน์ให้สามารถเข้าถึงและใช้งานได้อย่างแท้จริง รวมทั้งกลุ่มคนรายได้น้อย กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้พิการก็สามารถใช้ได้ด้วยค่ะ
4. ภาครัฐควรสนับสนุนให้เกิดการอบรมการใช้อินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ในกลุ่มคนรายได้น้อย กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้พิการ อย่างจริงจัง ไม่ต้องทำอย่างเป็นทางการก็ได้ค่ะ สำคัญที่ต้องรู้จักสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ค่ะ ทำผ่านศูนย์เรียนรู้ ICT ชุมชนก็น่าจะได้นะคะ
5. ประเด็นสุดท้ายจะเป็นไปได้หรือไม่ดิฉันก็ไม่แน่ใจนะคะ แต่อยากเสนอว่า ควรให้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตฟรีแก่ กลุ่มคนรายได้น้อย กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้พิการ ค่ะ เพื่อที่จะเพิ่มโอกาสให้เขาได้เข้าถึงบริการออนไลน์ของรัฐได้สะดวกยิ่งขึ้นค่ะ อย่าเพิ่งไปคิดในแง่ลบกันก่อนค่ะ
ให้เขาได้ไหมค่ะ?
รบกวนขอความเห็นจากทุกท่านด้วยนะคะ
ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณรูปจาก สสค. นะคะ
http://gallery.qlf.or.th/photo/view/337
เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ
ที่ทำงานก็ให้บริการประชาชนฟรีค่ะ
นักศึกษาก็เรียนฟรีค่ะ
..... เห็นด้วยค่ะ .... กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้พิการ ......
ขอบคุณนะคะ
-สวัสดีครับอาจารย์
-ตามมาสนับสนุนแนวคิดและ"ให้ผ่าน/เห็นด้วย"ครับ
-เก็บ"ลูกกล้วยเต่า"มาฝากอาจารย์ครับ..
สวัสดีครับ อาจารย์
ขอสนับสนุนครับ
สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดร.จันทวรรณ
เรียน อาจารย์ ด้วยความเคารพ นะคะ /// หลายประเด็น มีข้อสังเกตุ ข้อสนับสนุน และข้อเสนอแนะ โดยรวมนะคะ....
1. สนับสนุน การทำวิจัย อย่างเข้มข้น แบบที่อาจารย์ ว่าค่ะ โดยเฉพาะ "การวิจัยเชิงสำรวจ" เกี่ยวกับ ประเด็น ต่าง ๆ อาทิ "พฤติกรรม" และ "ความต้องการ" การใช้ชีวิตของ กลุ่มคนรายได้น้อย และ กลุ่มผู้สูงอายุ แล้วนำมา กาข้อค้นพบ เพื่อเชื่อมโยงกับ การเข้าถึงระบบ Internet ออนไลน์ เพื่ออะไร.....ต้องการหรือไม่....อย่างไร....
2. "การศึกษาวิจัย...ทางออนไลน์" เป็นการวิจัยเชิงสำรววจ อาจต้องให้ความสำคัญกับ การพิจารณา "กลุ่มประชากร" / "กลุ่มตัวอย่าง" และ ระเบียบวิธีวิจัย อันจะนำมาซึ่ง "ความน่าเชื่อถือ" ของข้อมูล นำมาซึ่ง ความลึกซึ้ง มีคุณค่า เป็น ฐานข้อมูล ประกอบการตัดสินใจสำหรับเรื่อง ต่าง ๆ...ว่า จะ Say Yes/ Say No/Ok....อย่างไร
3. ในอีกประมาณไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า อนาคตภาพ ของ "ผู้สูงอายุ" จะมีคุณลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไป มาก มาก มาก
( เพราะ กลุ่มสถิติ สัมโนประชากร...พวกเรา ๆ ที่ขีด ๆ เขียนๆ กันอยู่นี่แหละ จะเป็นผู้สูงอานุ ) แต่เป็นการเปลี่ยนแปลง ที่วิวัฒน์ ขึ้น....
มีกลายประเด็น ที่น่า นั่งคิด ชวน คุย น่าทำ นะคะ อาจารย์.....
ด้วยความเคารพค่ะ
เห็นด้วยค่ะท่าน
เห็นด้วยครับ
ให้เขาเถอะ
ให้ได้ค่ะ แต่คงจะยากที่จะให้เขาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องยอมรับความจริงว่าเรายังมีข้อจำกัดเรื่องการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
คุณภาพสัญญานของเรา(เอกชนทำ)ยังมีปัญหาเยอะขนาดนี้ จะขยายการใช้งานต้องทำให้ดีกว่านี้เยอะ
ข้อสุดท้ายของอาจารย์ก็เป็นแนวคิดที่ดี แต่ต้องมองไปที่ผู้ใช้ก่อนว่าจะได้ "ใช้ประโยชน์" เต็มมูลค่าของหรือไม่ ในยุคที่เงินทุกเม็ดของประเทศถูกเอาไปละลายแม่น้ำจนหมดแล้ว
รัฐมนตรีศธ.ออกมายอมรับเองนะคะว่า แทบเล็ตนักเรียนใช้ไม่คุ้มค่า และมีส่วนทำให้เด็กติดเกม แต่ก็ไม่เลิก ไม่แก้ไข แต่จะให้เป็นคูปองไปซื้อเอง..