ระบบการจัดการศึกษาที่สร้างการพัฒนาความคิด โดยพระราชธรรมนิเทศ ระแบบ ฐิตญาโน


มะม่วงข้างนอกสุก ข้างในสุก = คนที่ความรู้ดี ความประพฤติก็ดี

ขอบคุณภาพจากwww.tlcthai.com สืบค้นเมื่อ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖

 

 

บันทึกจากเวทีการอบรมอาจารย์ผู้สอนวิชา "ความจริงของชีวิต"  ปี พ.ศ. ๒๕๔๒
ตอนที่ 2 มะม่วงดิบ: มะม่วงสุก โดยพระราชธรรมนิเทศ ระแบบ ฐิตญาโน

ระบบการจัดการศึกษาที่สร้างการพัฒนาความคิด

"ปัญหาเป็นอันมาก ที่เรารู้แต่แก้ไม่ได้ เหมือนโรคร้ายที่รักษาแล้วโรคอื่นแทรก ทำให้ต้องตาย เราเลยต้องปล่อยโรคเดียวที่เป็นอยู่
ยื้ออยู่"

ความคิดต้องมีระบบ คิดแล้วต้องมีปัญญาแก้ไขได้
ท่ายยกตัวอย่างว่าความรู้ ต้องคู่ความดี
เปรียบความรู้เป็นมะม่วงดิบ   ความดีเป็นมะม่วงสุก
ท่านจำแนกไว้  4 แบบ
1.มะม่วงข้างนอกดิบ     ข้างในดิบ        =   คนที่ความรู้ไม่ดี           ความประพฤติก็ไม่ดี
2.มะม่วงข้างนอกดิบ     ข้างในสุก        =   คนที่ความรู้ไม่ดี      แต่    ความประพฤติดี
3.มะม่วงข้างนอกสุก     ข้างในดิบ        =   คนที่ความรู้ดี         แต่    ความประพฤติไม่ดี
(ท่านว่าใครเจอมะม่วงชนิดนี้ เมื่อได้กินแล้วอยากจะคายทิ้ง ขว้างไปให้ไกลๆ)
4.มะม่วงข้างนอกสุก    ข้างในสุก         =  คนที่ความรู้ดี  ความประพฤติก็ดี

"การสอนเป็นศิลปะ" เป็นไหวพริบ เป็นเรื่องเฉพาะตัวคน ลางเนื้อชอบลางยา
ศาสตร์กับศิลป์เป็นของคู่กัน เป็นอุปกรณ์เสริมที่จะสร้างมนุษย์ขึ้นด้วยตนเอง
"คนถ้าไม่รู้ประวัติศาสตร์ ก็ไม่มีแผนที่เดิน"
สังคมเกิดความเชื่อในการสูญเสีย 2 กระแส
1.พื้นฐานความเชื่อในเรื่องของกรรม
2.พื้นฐานความเชื่อในสังสารวัฏ
ศาสนาพุทธ มีปัญญากับศรัทธาที่ใช้ควบคู่กัน

"พระอรหันต์ทั้งหลายไม่เคยขัดแย้งกับพระพุทธเจ้า
ถ้ามีคนไปบอกเราว่า ให้ขึ้นไปบนตึกใบหยกแล้วจะเห็นพระปฐมเจดีย์
ถ้าเราอยากจะพิสูจน์ความเชื่อ เราต้องขึ้นไปดู  เป็นการใช้ปัญญา
ถ้าเราศรัทธาคนพูด เราเชื่อ โดยที่เราไม่ต้องขึ้นไปดู"
สิ่งที่เราทำคือสิ่งที่เราได้!
สิ่งที่เราทำคือสิ่งที่ติดตามเราไป
ท่านสอนให้ใช้มงคลชีวิตเพื่อพัฒนาตนเอง เริ่มจากข้อที่ ๑
มาตาปิตุอุปัฐฐานัง  การบำรุงเลี้ยงดูบิดามารดา
 ขอเสริมหลักคิดจากท่านรองเลขาธิการสภาสถาบันราชภัฏ ผศ.ดร.โกสินทร์ รังสยาพันธ์
ท่านกล่าวว่า
"วิชาเฉพาะด้านต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสอน วิชาพื้นฐาน General Education ต้องให้นักปราชญ์สอน"
ผศ.ดร.โกสินทร์ว่า คำกล่าวนี้ ท่านพระธรรมปิฎก(ประยุทธ ประยุตโต) เป็นผู้นิยาม
"กว่าจะรู้ว่าชีวิตของเราเป็นอย่างไร ชีวิตเราก็ล่วงไปแล้วครึ่งชีวิต!"
ต้องทำตัวให้อ่อนน้อม เป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่แม้แต่ไฟก็ยังดับได้ด้วยน้ำ!"

บันทึกนี้มีอายุเท่าลูกสาวคนโตของผู้เขียน ขณะที่ผู้เขียนเข้ารับการอบรมนั้น ตั้งครรภ์ได้ ๖ เดือน
คณะกรรมการที่จัดการประชุมได้นำพาผู้เข้ารับการอบรมไหว้พระโดยรอบเกาะอยุธยา เป็นบุญกุศลมาก
นึกถึงครั้งใดยังอิ่มใจมาจนบัดนี้

และเพียรพยายามถ่ายทอดลูกศิษย์ให้เป็นมะม่วงที่สุกทั้งข้างในและข้างนอก
ส่วนตัวเองก็ควรจะสุกทั้งข้างในข้างนอกด้วย(มีบ้างที่ยังห่ามๆในบางเรื่อง!)

หมายเลขบันทึก: 549331เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2013 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2013 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

   ขอบคุณ ความรู้ใหม่ๆ ในเรื่องนี้ค่ะ ..... 

-สวัสดีครับ

-มะม่วง..ให้ข้อคิด..ได้ีดีทีเดียวครับ..

-1.มะม่วงข้างนอกดิบ     ข้างในดิบ        =   คนที่ความรู้ไม่ดี           ความประพฤติก็ไม่ดี

2.มะม่วงข้างนอกดิบ     ข้างในสุก        =   คนที่ความรู้ไม่ดี      แต่    ความประพฤติดี
3.มะม่วงข้างนอกสุก     ข้างในดิบ        =   คนที่ความรู้ดี         แต่    ความประพฤติไม่ดี
(ท่านว่าใครเจอมะม่วงชนิดนี้ เมื่อได้กินแล้วอยากจะคายทิ้ง ขว้างไปให้ไกลๆ)
4.มะม่วงข้างนอกสุก    ข้างในสุก         =  คนที่ความรู้ดี  ความประพฤติก็ดี

เคยอ่านพบครูบาอาจารย์เคยสอนไว้คล้ายๆมะม่วงว่า คนเราเกิดมามี 4 ประเภทหรือคน4เหล่า

1.มามืดไปมืด

2.มามืดไปสว่าง

3.มาสว่างไปมืด

4.มาสว่างไปสว่าง

ชอบวรรคนี้ครับ ขออนุญาตนำไปเป็นวรรคทองในโอกาสต่อไปครับ

"กว่าจะรู้ว่าชีวิตของเราเป็นอย่างไร ชีวิตเราก็ล่วงไปแล้วครึ่งชีวิต!"
ต้องทำตัวให้อ่อนน้อม เป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่แม้แต่ไฟก็ยังดับได้ด้วยน้ำ!"

ขอบคุณครับ

ขออนุญาตนำเอาพระสูตรชื่อว่า “อัมพสูตร” มาเสริมในที่นี้ด้วยนะครับอาจารย์  เผื่อจะรู้รายละเอียดจากแหล่งที่มาไปพร้อม ๆ กันด้วยครับ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. วลาหกวรรค   ๕. อัมพสูตร  ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนมะม่วง

[๑๐๕] ภิกษุทั้งหลาย มะม่วง ๔ ชนิดนี้
มะม่วง ๔ ชนิด๑ อะไรบ้าง คือ
๑. มะม่วงดิบแต่ผิวสุก ๒. มะม่วงสุกแต่ผิวดิบ
๓. มะม่วงดิบและผิวดิบ ๔. มะม่วงสุกและผิวสุก
ภิกษุทั้งหลาย มะม่วง ๔ ชนิดนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วง ๔ จำพวกนี้
มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก
๒. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกแต่ผิวดิบ
๓. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ
๔. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก


บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส แต่เขา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทาบุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก


บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกแต่ผิวดิบ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส แต่เขา
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทาบุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวดิบ เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนมะม่วงสุกแต่ผิวดิบ


บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส และเขา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทาบุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ

บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส และเขา
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทาบุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วง ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

 

อัมพสูตรที่ ๕ จบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท