Gotoknow กับอาจารย์กลับใจ


ภาคนโยบายที่ช่วยให้เกิด Flipped classroom ในมหาวิทยาลัย คือพิจารณา 'กลับ' วิธีคิดภาระงานอาจารย์ จาก lecture : ฝึกปฎิบัติ เป็น 1 : 3 แทน 3:1 อย่างทุกวันนี้

ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ข้าพเจ้าเริ่มใช้ google calendar ในการจัดระเบียบตารางตนเอง

แล้วก็พบ ความทับซ้อนที่ต้องแก้ปัญหาแต่เนิ่นๆ มิฉะนั้น จะกลายเป็นภาระเพื่อนร่วมงาน


..หลายครั้ง ข้าพเจ้าวุ่นวายกับสิ่งอื่นมากไป
หรือเพราะตั้งความหวังแล้วผิดหวัง จึงทำให้ 'เอาใจออกห่าง' หน้าที่งานสอน...

.
เมื่อกลับมาเอาใจใส่อีกครั้ง จึงเกิดโจทย์ผุดขึ้น
'ทำอย่างไรให้อาจารย์เอง มีเวลาพัฒนาตนเอง และพัฒนางานรับใช้สังคม
โดยไม่กระทบการเรียนการสอนนักศึกษา'
ข้าพเจ้าตั้งโจทย์เพิ่มขึ้นอีกว่า
'ทำอย่างไรให้ แม้มีเหตุที่นักศึกษาไม่เจอตัวอาจารย์เลย
นักศึกษาก็สามารถเรียนรู้จากกิจกรรมที่จัดไว้ได้'
.
แนวคิดหนึ่งที่น่าสนใจ คือ 'Flipped class' ที่ อ.จันทวรรณ บันทึกไว้ที่นี่คะ

อีกหนึ่งแรงบันดาลใจ ได้มาจากบทความอาจารย์หมอวิจารณ์ ชุดมีโรงเรียนไปทำไม 
"เปลี่ยนเป้าหมายของการเรียน จากเป้าหมายที่แคบ คือวิชาตามที่หลักสูตร (ที่คับแคบและล้าสมัย) กำหนด 
มาเป็นชีวิตจริงที่มีความไม่ชัดเจน และเชื่อมโยงกว้างขวาง"

ข้าพเจ้าลองผิดลองถูกจนได้ดอกไม้และก้อนอิฐ ดังในบันทึกนี้
และได้รับความกรุณาจาก อ.จัน ช่วยโค้ชเพิ่มเติม

...
จึงพยายามปรับให้เข้ากับบริบทโรงเรียนแพทย์อีกครั้ง
เรียนแบบ 'ไม่มีหลักสูตรตายตัว' 'ไม่มี standardized patient'
มีเพียงแนวทางให้เรียนรู้จากความเป็นจริงที่เห็นจากผู้ป่วย
กับการใช้ระบบ E-learning 

สำหรับแพทย์ประจำบ้าน ได้เรียนรู้ด้วยการร่วมเป็น 'ผู้สอน' และประเมินนักศึกษา
แพทย์ประจำบ้าน จึงมีบทบาทเป็น 'เพื่อนร่วมงานรุ่นน้อง' มิใช่ 'ผู้ติดตาม'
ขณะเดียวกัน ก็รอแรงสนับสนุนจากภาคนโยบายที่ส่งเสริมให้เกิด Flipped classroom ในมหาวิทยาลัย 
คือพิจารณา 'กลับ' วิธีคิดภาระงานอาจารย์ จาก lecture : ฝึกปฎิบัติ  เป็น 1:3  แทน 3 :1 อย่างทุกวันนี้


...
ผลลัพท์เป็นอย่างไร จะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบันทึกนี้คะ

###
ท้ายนี้ จึงขอขอบคุณ Gotoknow
ที่ทำให้อาจารย์คนหนึ่งได้ 'กลับใจ' คะ :)

-----------------------------------------------------------------------------------------

Update 25 เมษายน 2556 :
ผลจากการใช้อ่านและทำ quiz มาก่อน ข้าพเจ้าบอกทำมาเถิดไม่เก็บคะแนนจริงจัง
สามารถแบ่งพฤติกรรมนักศึกษา เป็น 3 ประเภท จาก 18 คน
1. 4 คน  เอาใจใส่ดีเยี่ยม อ่านและทำ quiz เมื่อทำครั้งแรกผิด ก็ทำครั้งที่สอง 
2. ส่วนใหญ่ของห้อง เอาใจใส่พอควร อ่านนิดๆ หน่อยๆ แล้วทำ quiz มาได้แค่ไหนแค่นั้น
3. 1 คนที่บอกลืม ไม่ทำมา
จึงนำ quiz ทั้งหมดมาอภิปราย
เท่าที่สังเกต นักศึกษาสามารถตอบ fact หรืออะไรที่ท่องเป็นข้อๆ (เช่น Kuber Rose reaction) ได้ดี
แต่ไม่ยอมตอบ 'ความเห็น'
และน่าสนใจ เมื่อถามถึงเนื้อหา MPD ตอนปีพรีคลินิก นักศึกษาเงียบ
...
ขอนิยาม นศพ. ของข้าพเจ้าตอนนี้ว่า

 "Teach more know less - Smart but scare"

หมายเลขบันทึก: 533410เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2013 14:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2013 11:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (33)

ขอบคุณ อ. หมอ ป. ที่นำวิธีคิดดีๆในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาแบ่งปันครับ

อยากกลับใจบ้าง แต่เด็ก ๆ ยังเล็กมากค่ะ

บทบาทของครูยังต้อง.....เยอะ.......กับการเรียนรู้ของเด็กอยู่ค่ะ

แหม นึกว่ากลับใจเรื่องอะไรเสียอีกค่ะ อ.หมอ ป. :) ชื่นชมและให้กำลังใจในการสร้างนักศึกษาแพทย์ของไทยในศตวรรษที่ 21 ค่ะ


ยินดีด้วยนะครับ คุณหมอบางเวลา อาจารย์แพทย์ประจำ ;)...

ทักษะชีวิต การเรียนการสอนศตวรรตที่21 รรกลับทาง คนเรียนกลับความคิด 

ประสบการณ์ชีวิตการเรียนรู้

ขอบคุณค่ะ ดีใจแทนนักศึกษาแพทย์ซะแล้วซิค่ะ

และที่สำคัญต่อไปประเทศไทยของเราจะมีแพทย์ตามแนวคิดของบันทึกนี้

ขอบคุณแทนผู้ป่วยทุกท่านเลยค่ะ..และคงต้องหัดทำปฏิทินส่วนตัวบ้างแล้วค่ะ

ขอบคุณมากค่ะที่นำมาแบ่งปันวิธีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดในสิ่งที่ดีกว่าค่ะ

อ่านแล้วได้ประโยชน์มากครับ

เห็นด้วยค่ะ  สัดส่วนลงมือทำเยอะขึ้นก็น่าสนุกขึ้น

"ผลลัพธ์"  ดีมีชัยไปกว่าครึ่งที่ได้ลงมือทำแล้ว

ตามมาเชียร์เลยครับ กำลังทำใน classstaart อยู่ครับ

ตกใจเหมือนกันว่า กลับใจอะไีร 555

ดีจังค่ะ...เป็นแนวคิดที่ดี..ควรมีการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง...


'ทำอย่างไรให้อาจารย์เอง มีเวลาพัฒนาตนเอง และพัฒนางานรับใช้สังคม
โดยไม่กระทบการเรียนการสอนนักศึกษา'

แล้วจะทำอย่างไรดี พยาบาลจึงจะมีเวลาพัฒนาตนเองและพัฒนางานอื่นๆ พร้อมกันไป โดยไม่กระทบงานประจำมากนัก

เป็นประเด็นที่น่าคิดสำหรับพยาบาลเหมือนกันคะ


ตามมาให้กำลังใจคุณหมอด้วยคนนะค่ะ

"เคยคุยกับหมอเยอรมันที่จบแผนกเภสัชศาตร์"เขาเล่าว่า..ตลอดเวลาเรียน..เขาไม่เคยเห็นหน้าProf.  เลย..เจ้าค่ะ..." ยายธี

มาส่งกำลังใจให้คุณหมอ ป. คนเก่ง ได้มีวิธีการจัดการพัฒนาการเรียนการสอนและให้ความรู้กับนักศึกษาตามที่ตั้งใจค่ะ ..........และมีความสุขมากๆ นะคะ 



ขอบคุณคะ ช่วงนี้มีสมาชิกเขียนเรื่องวิธีแลกเปลี่ยนเรียนรู้น่าสนใจหลายบันทึก กำลังติดตามหลายท่านเช่นกันคะ

เรียนรู้ไปด้วยคนนะครับอาจารย์หมอ....ขอบคุณครับ


ขอบคุณคะ ครูอิง
เข้าใจคำว่า ..เยอะ..ของคุณครูคะ :)


ขอบคุณคะ 
จากการสอนวันนี้ จุดประกายเรื่อง 'การวัด attitude' อย่าง objective ได้
เหมือนกับที่เคยมีผู้ทดลอง 'Marshmallow test' 


เป็นอาจารย์แค่บ่อยๆ ก็พอคะ
ไม่ชอบการเป็นคนยืนหน้าห้องเรียนเลย
แค่ชั่วโมงเดียวก็รู้สึกเหน็ดเหนื่อยมาก
ต่างจากสอนข้างเตียง และสอนที่ OPD ลื่นไหลสบายใจกว่ามากนักคะ


ขอบคุณคะลุงวอญ่า
'โรงเรียนกลับทาง คนเรียนกลับความคิด'
อย่างหลังน่าสนใจคะ
ลองอย่างนี้ได้ไหมคะ
ครูบอกไม่รู้บ้างก็ได้ เพื่อการเรียนด้วยความกลัว(ตอบผิด)
เนื้อหาพยายามย่อให้ไม่เกิน 3-5 ข้อ ดีกว่าท่วมท้นจนไม่มีอะไรติดมือ


ได้กำลังใจจากความเห็นนี้มากมายคะ :)
อีกเครื่องมือหนึ่งที่ชอบคือ google drive คะ
โดยเฉพาะหากเป็นตารางเวร ตารางเรียน หรือเอกสารร่างที่แก้บ่อยๆ
แต่ก่อนส่งกันไปส่งกันมาทางอีเมล์ จะงงว่าฉบับไหนเป็นฉบับไหน
เก็บไว้แบบนี้ มีฉบับเดียว ใครแก้เมื่อไหร่ตอนไหนก็มีบันทึกไว้คะ


ยินดีกับครูตูมอีกครั้งคะ เดี๋ยวจะนัดกับคุณอักขณิชไปมอบดอกไม้นะคะ

 ขอบคุณคะ ท่าน ดร.อุทัย


ขอบคุณคะพี่อ้อ สังเกตความเปลี่ยนแปลงในเด็ก gen Y แล้ว
เขาไม่ชอบงานกระดาษเอาเสียเลย (จึงไม่ต้องน้อยใจหากเขาไม่อ่านเอกสารคำสอน จนกว่าพรุ่งนี้จะสอบ)
ดูเหมือนสิ่งเดียวที่เรียกร้องความสนใจได้คือ เจอของจริง ลงมือทำ ทดลอง คะ


ขอบคุณคะอาจารย์ สนใจ classstart เช่นกัน แต่ทาง ม.ช. จัดระบบนักศึกษาผูกกับ KC moodle
จึงใช้กับระบบนี้ไปโดยปริยายคะ

แวะมารับความรู้ที่เป็นประโยชน์ค่ะอาจารย์ ป.


ขอบคุณที่ให้กำลังใจคะพี่ใหญ่
จะค่อยๆ เรียนรู้และปรับแก้คะ

ทำอย่างไรดี พยาบาลจึงจะมีเวลาพัฒนาตนเองและพัฒนางานอื่นๆ พร้อมกันไป โดยไม่กระทบงานประจำมากนัก
...

ชื่นชมในการคิดต่อยอดคะ
เป็นโจทย์ที่น่าคิดจริงๆ เพราะสังเกต พยาบาลมีภาระงานประจำปริมาณมาก
ทั้งงานผู้ป่วยและงานเอกสารเกี่ยวกับคุณภาพโรงพยาบาล ฯลฯ
ตอนนี้ที่ลองร่วมมือกับฝ่ายการพยาบาล คือการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาช่วยลดความซ้ำซ้อนการลงและรายงานข้อมูลคะ ได้ผลอย่างไรจะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายหลังคะ

เชื่อมั่น พี่กระติกทำได้



ขอบคุณคะยายธี คนเยอรมันน่าจะมีความรับผิดชอบในตัวเอง (Self-determination) สูงมากคะ
สำหรับเด็กไทยเรา ยังต้องการปรึกษากับอาจารย์อยู่ แต่การปรึกษามีสองแบบคะคือ
1. ปรึกษาเพื่อให้รู้ว่าจะพัฒนาตัวเองได้อย่างไร
2. ปรึกษาเพื่อให้รู้ว่าอาจารย์ต้องการให้ทำแบบไหน
น่าเสียดายที่ส่วนใหญ่ การปรึกษาเป็นไปในแบบที่ 2 มากกว่าคะ


มาชื่นชมกระบวนการเรียนรู้่ระหว่างครูและลูกศิษย์ทางแพทยศาสตร์ศึกษาครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท