การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษา


ชื่อเรื่อง  การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ รายวิชาสุขศึกษา

  เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 

ผู้วิจัย   นางวรัญญา  วิศรุตเวศม์

หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล1โยธินนุกูล  เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม  จังหวัดนครราชสีมา

ปีที่พิมพ์  2555

บทคัดย่อ

  การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์

มัลติมีเดีย รายวิชาสุขศึกษา  เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด  80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลไม่ต่ำกว่า 0.50  2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสุขศึกษา เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย รายวิชาสุขศึกษา  เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล1โยธินนุกูล   ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้  ประกอบด้วย  1) บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย รายวิชาสุขศึกษา  เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 6 ชุด  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสุขศึกษา เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

1.  ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย รายวิชาสุขศึกษา เรื่อง

การเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.44/82.00 เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่า สูงกว่าเกณฑ์ E1/E2 ที่กำหนด และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.63 เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ 0.50  ปรากฏว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังจากเรียนรู้โดยใช้บทเรียน

คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย รายวิชาสุขศึกษา  เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 84.51 เมื่อเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80  ปรากฏว่าสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด

3.  ความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย

รายวิชาสุขศึกษา  เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  นักเรียน  มีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะบรรยากาศ  ในการเรียนรู้ที่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา


หมายเลขบันทึก: 533404เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2013 13:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 เมษายน 2013 13:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท