หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน : (ชุมชนได้อะไร) ...อีกหนึ่งเสียงสะท้อนของชาวบ้าน


มีความมั่นใจในการพลิกฟื้นองค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสมาชิกในกลุ่ม ตลอดจนก่อเกิดประโยชน์ต่อการบูรณาการเข้าสู่การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย


(1)


การบริการวิชาการแก่สังคมภายใต้ชื่อ “หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน" ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นภาพสะท้อนหนึ่งที่สื่อให้เห็นถึงบทบาทและสถานะของ “มหาวิทยาลัย" ที่มีต่อการ “รับใช้สังคม"

ปี 2555 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวทั้งสิ้น 65 โครงการครอบคลุมพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์และสกลนคร

การดำเนินงานในภาพรวมมุ่งเน้นการ “เรียนรู้คู่บริการ" เป็นที่ตั้ง อันหมายถึงการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย (อาจารย์และนิสิต) กับชุมชน (ชาวบ้านและภาคส่วน) เสมือนการบูรณาการระหว่าง “ภูมิปัญญาท้องถิ่น" กับ “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ดีๆ นั่นเอง

ในทางมหาวิทยาลัยนั้น งานบริการวิชาการแก่สังคมภายใต้ชื่อหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน เป็นกระบวนการของการนำพาองค์ความรู้ที่เกิดจากการวิจัยและการเรียนการสอนไปถ่ายทอดสู่ท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐานหลักของการปฏิบัติการ ซึ่งในทางปฏิบัติการนั้น ไม่เน้นการถ่ายทอดแต่เพียงฝ่ายเดียว หากแต่มุ่งเน้นการเรียนรู้องค์ความรู้ที่มีอยู่ในชุมชนเป็นหัวใจหลักด้วยเช่นกัน

แน่นอนว่าในการประเมินผลนั้นย่อมประกอบด้วยสองประเด็นหลัก นั่นก็คือ

(1) เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์ใดกับนิสิตและอาจาร ย์

(2) ชุมชนได้อะไร หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์ใดในชุมชนบ้าง –

กรณีดังกล่าวนั้น คณะทำงานเคยได้จัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระหว่างเส้นทางการดำเนินงาน หรือ “ระยะกลางน้ำ" มาแล้วครั้งหนึ่ง ด้วยการเชิญผู้แทนจากชุมชนที่เกี่ยวข้องมาร่วมสะท้อนผลการเรียนรู้ ทั้งในมิติเฉพาะชุมชนและในมิติของการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนต่างๆ ซึ่งช่วยให้เห็นภาพดอกผลของการเรียนรู้ที่น่ายินดีอย่างยิ่งยวด

และเมื่อเวลาผ่านพ้นไปจนถึงระยะสุดท้าย หรือ “ระยะปลายน้ำ" ก็มีการถอดบทเรียนเชิงลึกต่อชุมชนโดยตรง เพื่อตอบโจทย์ประเด็นว่า “ชุมชนได้อะไร หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์ใดในชุมชนบ้าง"





(2)


กรณีดังกล่าวเช่นนี้ ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับคุณพ่อ “สมพร ดรพลก้อม" แกนนำชุมชนที่ร่วมขับเคลื่อนโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดแก่สหกรณ์ประมงผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอำเภอโกสุมพิสัย จำกัด ของสาขา วท.บ.ประมง ซึ่งเดิมสังกัดคณะสัตวแพทย์และสัตวศาสตร์ แต่ปัจจุบันโยกย้ายมาสังกัดคณะเทคโนโลยี

คุณพ่อสมพร ดรพลก้อม เคยเล่าให้ผมฟังบ่อยครั้งว่า

"...ดีใจเป็นอย่างมากกับการได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน เพราะทำให้ได้รับองค์ความรู้ใหม่ๆ หลายเรื่อง

...มีความมั่นใจในการพลิกฟื้นองค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสมาชิกในกลุ่ม
ตลอดจนก่อเกิดประโยชน์ต่อการบูรณาการเข้าสู่การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย

...กิจกรรมของมหาวิทยาลัย ช่วยกระตุ้นให้สมาชิกในสหกรณ์และชาวบ้านในหมู่บ้านได้หันกลับมาทบทวนระบบการบริหารองค์กร (สหกรณ์ประมงฯ) มีการสำรวจทุนทางสังคมของตนเอง ...ตระหนักถึงการรวมกลุ่มเพื่อพึ่งพากันและกันเหมือนวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชน..."

นอกจากนี้คุณพ่อสมพร ยังบอกเล่าให้ผมฟังอีกหลายเรื่อง เช่น พอได้เข้าร่วมโครงการนี้ ก็มีความมั่นใจในการที่จะฉีดฮอร์โมนกระตุ้นการตกไข่ของปลา ค้นพบแนวทางในการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดอื่นๆ (ปลาเทโพ,ปลาสวาย) เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการจำหน่ายและสร้างรายได้ให้กับชุมชน รวมถึงการลดต้นทุนเรื่องอาหารปลา และการตระหนักถึงแนวทางการพัฒนาระบบการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดผ่านระบบและกลไกการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยและ สกว.(ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น) อันเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านผ่านการวิจัย หรือการเป็น “นักวิจัยไทบ้าน" นั่นเอง





(3)


และนี่คือส่วนหนึ่งของเสียงสะท้อนจากชุมชนผ่านการสัมภาษณ์และการเปิดพื้นที่ให้ชาวบ้านได้พูดคุยโสเหล่กันในประเด็นที่ว่า “ชุมชนได้อะไร หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์ใดในชุมชนบ้าง" ซึ่งทุกถ้อยคำเป็นคำพูดของคุณพ่อสมพร ดรพลก้อมและทีมงานที่ได้โสเหล่กันโดยที่ผมไม่ได้ตัดแต่งใดๆ อาทิ


<span style="color: #cc3333;"><span style="font-size: 26px"><b>ชุมชนได้เรียนรู้อะไร</b></span></span>

· การผลิตอาหารปลาวัยอ่อนด้วยต้นทุนที่ต่ำ

· การดูแลระบบน้ำที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลา

· การเรียนรู้สภาวะที่ทำให้เกิดโรคปลา

· การผสมพันธุ์ปลาสวายโดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ในปริมาณที่เหมาะสม


<b><span style="color: #cc3333;"><span style="font-size: 26px">ชุมชนได้ค้นพบความรู้อะไร</span></span></b>

· การผสมฮอร์โมนใช้เอง โดยไม่จำเป็นต้องซื้อสำเร็จรูปจากพ่อค้าที่จำหน่ายในราคาสูง

· การเพาะพันธุ์ปลาที่แปลกใหม่ ซึ่งเป็นพันธุ์ปลาที่มีราคาดีกว่าพันธุ์ปลาที่ชาวบ้านเคยเพาะอยู่เป็นประจำ

· การผสมทีมพันธุ์ปลาโดยการรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อ ซึ่งแต่ก่อนชุมชนเคยชินกับการเพาะพันธุ์ปลาเรียนแบบธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่


<b><span style="color: #cc3333;"><span style="font-size: 26px">ชุมชนเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีอย่างไร</span></span></b>

· มีความสามัคคีรักใคร่ปรองดองกันมากขึ้น

· มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือกันมากขึ้น เช่น ถ่ายทอดประสบการณ์ส่วนตัวอย่างไม่ปิดบัง ใช้ทรัพยากรในชุมชนร่วมกันเพื่อเป็นฐานการเรียนรู้ (บ่อเลี้ยงปลา)

· มีความสนใจในการทำกิจกรรมร่วมกันมากขึ้น


<b><span style="font-size: 26px"></span><span style="color: #cc3333;"><span style="font-size: 26px">ข้อเสนอแนะที่มีต่อมหาวิทยาลัย</span></span></b>

· อยากได้หัวใจของมหาวิทยาลัยไว้ที่ชุมชน






(4)


ปัจจุบันโครงการดังกล่าว ได้รับการพัฒนาโจทย์เป็นงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นโดยให้ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของการทำวิจัย รวมถึงชาวบ้านกลุ่มอื่นๆ ในชุมชนบ้านยางน้อยเริ่มตื่นตัวที่จะร่วมเรียนรู้และแบ่งปันร่วมกับมหาวิทยาลัย เป็นต้นว่า การเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นบ้าน ทั้งเพื่อการบริโภค การสร้างรายได้ ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการร่วมคิดร่วมออกแบบ หรือพัฒนาโจทย์ร่วมกันระหว่างชาวบ้านกับมหาวิทยาลัย

เหนือสิ่งอื่นใด ประเด็นการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นบ้านนั้น น่าจะถือเป็นภาพสะท้อนหนึ่งที่สื่อให้เห็นถึงภาวะความตื่นตัวของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการขับเคลื่อนงานบริการวิชาการแก่สังคมภายใต้ชื่อ “หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน" ของมหาวิทยาลัยมหาสารคามด้วยเหมือนกัน ส่วนจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวนั้น ยังคงต้องใช้เวลาอีกมากโขในการขับเคลื่อนและพิสูจน์ร่วมกัน ทั้งโดยชุมชน มหาวิทยาลัย หรือแม้แต่ภาคีอันเป็นภาคส่วนอื่นๆ จากภาครัฐและเอกชนที่ยังต้องหนุนเสริม หรือเป็นเจ้าของภารกิจนี้ร่วมกัน...


....

หมายเหตุ

โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดแก่สหกรณ์ประมงผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอำเภอโกสุมพิสัย จำกัด (บ้านยางน้อย ต.ยางน้อย อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม) ประกอบด้วยกิจกรรมหลักคือ

1.ฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องโรคปลาน้ำจืด การวินิจฉัยและป้องกันรักษา

2.ฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการผลิตอาหารต้นทุนต่ำ

3.ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะพันธ์ปลาน้ำจืด

4.อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการตรวจและปรับปรุงคุณภาพน้ำเบื้องต้นเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ


หมายเลขบันทึก: 532094เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2013 02:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2015 15:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ได้เรียนรู้และได้ค้นพบด้วยตัวเอง

Happy BA ค่ะ

เป็นอีกหนึ่งการเรียนรู้สู่การปฏิบัติร่วมกันของเยาวชนและชุมชน ที่สมควรได้รับการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องค่ะ

เป็นการขับเคลื่อนการทำงานจากมหาวิทยาลัย ไปทำงานร่วมกับชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ

ขอชื่นชมการทำงานครับ

เรียนท่านอาจารย์

  • คุณยายชอบอ่านบันทึกของอาจารย์มากค่ะ  ได้บรรยากาศบ้านเราดีแท้

สวัสดีค่ะท่าน   อ. แผ่นดิน

เป็นหลักสูตร  หนึ่งชุมชนที่ดีมากค่ะ

-สวัสดีครับ..

-ตามมาร่วมเรียนรู้่ 1 หลักสูตร 1 ชุมชน

-วันนี้มีเรื่องราวของ"มหาวิทยาลับบ้านนอก" มาฝากครับ..


วิจัยไทบ้าน  ผสานคู่เคียง  วิจัยวิชาการ

ขอบคุณค่ะ

น่าสนใจสำหรับงานของมหาวิทยาลัยและชุมชน สร้างผู้นำ ก่อเกิดการเรียนรู้ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

ชอบครับ นักวิจัยไทบ้าน...

ค้นพบคำตอบอยู่ที่ชุมชนท้องถิ่นนะครับ  คุณแผ่นดิน

ชื่นชมเป็นอีก  1 กระบวนการที่การศึกษาและชุมชนมาใกล้กันและมาช่วยกันมากขึ้นครับ....

มาส่งกำลังใจค่ะ น้องชายคนดี

สุขสันต์วันปีใหม่ไทยครับท่านแผ่นดิน

เป็นกำลังใจให้กับทุกท่านที่ตั้งใจทำกิจกรรมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท