สำคัญที่แรงบันดาลใจ..


บันทึกอันน่าสนใจยิ่งนี้ของคุณลำดวน กระตุกความคิดเรื่อง ภาษาอังกฤษกับวิชาชีพ เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 

"..เราลงทุนมากอยู่นะคะกับการส่งเสริมการสอนภาษาอังกฤษ แต่ไม่สำเร็จผลดังต้องการ เพราะ...เรายังไม่ค้นพบวิธีสอนภาษาอังกฤษที่ดีพอ.."
.
ข้าพเจ้าเอง ก็มีประสบการณ์ตรงจาก การโดนปฎิเสธจากแหล่งฝึกอบรมหนึ่งในต่างประเทศ
ด้วยเหตุผล "English proficiency" ดังในบันทึกนี้..
ตอนนั้นรู้สึกเหมือนโดนหมัด เมาไปพักหนึ่ง..แต่เพราะเหตุการณ์นั้น จึงเป็นแรงบันดาลใจสำคัญ 
ให้อยากพัฒนารุ่นน้อง ไปพร้อมๆ กับพัฒนาตนเอง
..สิ่งใดๆ ที่เกิดขึ้น นั้นดีเสมอ..
.
เร็วๆ นี้มีผู้เล่าถึง ความสำเร็จในการฝึกพูดภาษาอังกฤษของน้องสาว
โดยที่ น้องสาวเธอ ไม่ได้จบนานาชาติ หรือ ไปเรียนเมืองนอกเป็นปีๆ แต่อย่างไร
ข้าพเจ้าจึงถามเคล็ดลับ
"ตอนเด็กๆ น้องคนนี้ชอบดารานักร้อง บอยแบนด์หนึ่ง อย่างคลั่งไคล้..
น้องถึงขนาดอัดเทปสัมภาษณ์ มาเปิดพูดเลียนสำเนียงให้เหมือนกับดารารูปหล่อคนนั้น
วันดีคืนดี มีคนต่างชาติมาบ้าน คุยกับเธอ
"เขาถึงกับถามว่าเคยอยู่เมืองนอกมาก่อนหรือเปล่า.."
น้องจึงยิ่งมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษมากขึ้น
จึงสมัครไป "work and travel" เป็นเวลา 3 เดือน..
เจอเหตุการณ์ นายจ้าง เข้าใจผิดเรื่องบัญชี ตอนนั้นน้องต้องสวมหัวใจเสือพูดยืนยันความบริสุทธิใจ
พอกลับมา ทุกคนในบ้าน ยิ่งตะลึงในความสามารถพูดภาษาอังกฤษแบบน้ำไหลไฟดับ 
...
เรื่องนี้ ให้แง่คิดบางประการต่อข้าพเจ้า 
ความสำเร็จในการฝึกภาษาต่างประเทศ หรืออาจรวมถึงทักษะใหม่ๆ
.
เริ่มต้น ด้วยแรงบันดาลใจ
ต่อยอด ด้วยแรงบวก 
ย้ำด้วย สถานการณ์ที่ท้าทาย
.
ข้าพเจ้าฝันกลางวันต่อไป 
ถึงหนึ่งในความตั้งใจ จะยกระดับทักษะภาษาอังกฤษแพทย์ประจำบ้าน
ที่จริงแล้ว หน่วยงานข้าพเจ้าโชคดีมีอาจารย์แพทย์ชาวอเมริกัน เป็นทรัพยากรบุคคลอันมีค่า
ท่านผู้นี้ ได้ช่วยการเรียนการสอน medical english แต่ที่ผ่านมามีท่านทำคนเดียว
น่าจะมีการเสริมทีม ทำกระบวนวิชาให้ชัดเจนและยั่งยืน "ฝังในระบบ" ยิ่งขึ้น
จากการสังเกตของข้าพเจ้า..โจทย์เพื่อพัฒนาคือ
1. จะใช้อะไรเป็นแรงบันดาลใจ  สำหรับแพทย์ประจำบ้าน ที่โดยมากจบแล้วไปทำงาน โรงพยาบาลชุมชน
- การเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน อาจเป็นเรื่องฟังดูไกลตัว  สำหรับเขาหรือไม่?
2. จะมีอะไรเป็นแรงบวก ที่ตรงใจแพทย์ประจำบ้านเหล่านี้
-  การพูดชื่นชมให้กำลังใจ เป็นแรงบวกหนึ่ง แต่สักพัก เขาจะเกิด "tolerant" ต่อคำชมนั้นหรือไม่?
- สิ่งใดจะเป็นแรงบวกที่ตื่นเต้น ท้าทาย ได้อย่างไม่รู้จบ
3.ทำอย่างไรให้มีความท้าทายในระดับพอดีๆ
- การเรียนตามสมัครใจ โดยไม่มีการวัดผลจริงจัง มีข้อดีและข้อเสีย
 ข้อดีคือ ไม่เพิ่มความเครียดให้กับแพทย์ประจำบ้าน ซึ่งมีภาระงานทางคลินิกอยู่แล้ว ข้อเสียคือ ไม่มีตัวบอกความก้าวหน้า และ ผลลัพท์ที่สามารถนำมาปรับปรุงวิธีการสอน
- วิธีการสอน communication skill ด้วยบทบาทสมมติ ในชาติตะวันตกเป็นที่นิยมมาก แต่เมื่อนำมาลองฝึกให้กับนักศึกษาในบ้านเรา ข้าพเจ้าสังเกต ข้อแตกต่างบางประการคือ
-  ผู้ออกไปแสดงบทบาทสมมติโดยความสมัครใจหายาก
- การ feedback จากผู้สังเกตการณ์มีน้อย..และถ้ามี มักเป็นเชิงชื่นชม แต่เห็นความยากลำบากที่จะบอกข้อควรปรับปรุง
และข้อ 4.สิ่งที่หนักใจไม่น้อยคือ..ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าควรจะเริ่มเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างไร ในงานที่มีผู้ทำก่อนอยู่แล้ว  โดยไม่ให้อาจารย์ที่ท่านสอนอยู่ มีความรู้สึกว่าโดนแทรกแซง
.
คำตอบ เท่าที่ข้าพเจ้าคิดและค้นคว้าจากบทความนี้ คือ
1. สิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจของแต่ละคน  
 -> ค้นหา  "value ของภาษาอังกฤษ" ของแต่ละคน
จากการนำเสนอในชั่วโมงแรก ให้หัวข้อ "เล่าความฝัน ความหวัง เป้าหมายชีวิต ของตนเอง"
2. อะไรเป็นแรงบวก
-> สร้างทัศนคติ "ภาษาอังกฤษ = ความสุขที่จะได้เปิดโลกทัศน์ไม่มีพรมแดน"..
ในชั่วโมง มีกิจกรรมที่สร้างความบันเทิงด้วย เช่น การดูคลิปข่าว/หนัง/เพลงภาษาอังกฤษสั้นๆ แล้วจับใจความนำมาอภิปราย
3. ความท้าทายในระดับพอดีๆ
->  มีตัวอย่างให้ดู แล้วจับคู่ฝึกในห้องแยก ไม่มีการตัดสินโดยผู้อื่น แต่ให้พิจารณาตนเอง หากต้องการหาข้อปรับปรุง สามารถขอให้มีผู้สังเกตการณ์ได้
->  แต่มีการสอบปฎิบัติเพื่อวัดผลจริงจัง ในทักษะที่สำคัญต่อวิชาชีพ   คือ การใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกับผู้ป่วย ในสถานการณ์บางอย่างที่ท้าทาย กว่าการใช้ในชีวิตประจำวัน หรือการตรวจผู้ป่วยนอกธรรมดา
เช่น  การแจ้งข่าวร้าย , การหารือถึงเป้าหมายการรักษาร่วมกัน, การบอกความจริงถึงการรักษาที่ผิดพลาด เป็นต้น
ดังที่เอกสารอ้างอิง กล่าว
"New paradigm of Medical English.. is taught from the perspective of medicine and health care first and foremost while reinforcing vocabulary acquisition, grammar and structure secondly. The focus is safety-to-practice.."
.
ส่วน ข้อ 4...(มองหาตัวช่วยอยู่คะ :-)
.
อย่างไรก็ตาม ครูแพทย์ มิได้รับการฝึกฝนให้เป็น ครูภาษาอังกฤษ
ข้าพเจ้ารู้สึกตนเองมีข้อจำกัดอยู่ไม่น้อย
หากท่านใดมีข้อเสนอแนะ ยินดีเป็นอย่างยิ่งคะ  จะเป็นประโยชน์ ต่อการเขียนในแผนงานต่อไป  
.
.
If you think you will never speak english well
because  you are Thai..watch this video..
 

หมายเลขบันทึก: 468262เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2011 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (41)

ไม่ได้แวะ ไม่ได้ผ่าน ไม่ได้อ่าน

งานอาจารย์ ป.เพราะยุ่งจัง

งานทำแผนยุทธ์ทันต์เขต 12 ต้องไปฟัง

ระดมพลังสมองภาคประชาชน คนเคือข่าย"

การเรียนภาษาอังกฤษของคนไทย ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ

ในทัศนะขอแสดงความคิดเห็น เนื่องจาก เหตุ ๓ ประการคือ

1.การเรียนที่ผิดธรรมชาติ คือเรียนแบบท่องจำคำศัพท์ ประโยคมากกว่าเรียนแบบวิถีชีวิต คือไม่ได้มุ่งเน้นในการฝึกฝน ค่อยเป็นค่อยไป

2.กระบวนการเรียนก็ เรียนย้อนกลับหัว-หาง คือ นำส่วนของไวยากรณ์ขึ้นมาเรียนก่อนพูด เขียน

3.บริบทก็ไม่ค่อยจะเอื้ออำนวย คือ เรียนไปไม่ได้ใช้ทักษะในการสื่อสาร เพราะสังคมไทยเรียนภาษาอังกฤษเป็นเหมือนภาษาต่างชาติ ไม่ใช่เป็นภาษาที่สอง

แนวทางแก้คือ...

ต้องเรียนภาษาพูดก่อน ค่อยเรียนไวยากรณ์ และสร้างบริบทสังคมไทยให้มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง

มาให้กำลังใจคนเก่งภาษาด้วยคนค่ะ

พี่เองนั่นไม่กระดิกเลย

ไม่ชอบเอามากๆทีเดียว

แค่งูๆปลาๆเองค่ะ

แต่นโยบายนี่แหละค่ะสำคัญ

สอนคนให้รู้ภาษาอังกฤษ

ต้องพยายามกันต่อไปค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • "....ความสำเร็จในการฝึกภาษาต่างประเทศ หรืออาจรวมถึงทักษะใหม่ๆ
    .
    เริ่มต้น ด้วยแรงบันดาลใจ
    ต่อยอด ด้วยแรงบวก 
    ย้ำด้วย สถานการณ์ที่ท้าทาย
  • ขออนุญาตนำบันทึกนี้ไปบอกต่อกับครูภาษาอังกฤษนะคะ
  • พร้อมข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์จากท่านมหาศรีบรรดร
  • ขอบพระคุณมากค่ะ

แรงบันดาลใจนี่เป็นสิ่งมหัสจรรย์นะคะมันมีพลังมากมายสำหรับคนที่สามารถนำมันไปใช้ได้

บทบาทสมมติ หรือ สถานการณ์จำลอง เป็นเทคนิคการสอนที่มีมานานแสนนาน เขาว่ากันว่า อาจจะเหมาะกับบางเนื้อหา แต่อาจจะไม่เหมาะกับบางเนื้อหา ... แต่สำหรับภาษาที่สองของคนไทย กับความรู้สึกปิดใจตั้งแต่เริ่มต้น กับการไม่ค่อยกล้าแสดงออก (ในทางที่ถูก) อาจจะทำให้เทคนิคการสอนนี้ไม่ใคร่จะได้ผลมากนัก

ห้ามนำวัฒนธรรมฝรั่งมาใช้กับคนไทย เพราะไกลตัวเกินไปสำหรับการทำความเข้าใจ เช่น ตลกฝรั่ง ฝรั่งฟังแล้วหัวเราะก๊าก ๆ แต่คนไทยฟังแล้วถามว่า ตลกตรงไหนเนี่ย ไม่เห็นจะตลกเลย ;)...

เป็นความคิดเห็นส่วนตั๊ว ส่วนตัวของคนอ่อนภาษาทุกภาษาอย่างผมครับ ;)...

ขอบคุณคะ แม้งานยุ่งยังมีน้ำใจมาฝากดอกไม้ พร้อมข่าวคราว :-)

นมัสการคะ ขอบคุณท่านที่แสดงความทัศนะ ซึ่งเห็นด้วยทั้งสามประการคะ 
เมื่อพิจารณาจากการรู้ภาษาไทยของเรา เด็กเกิดมาก็เริ่มจาก พูดสื่อสารกับพ่อแม่ก่อนสองสามปีกว่าจะได้เรียน ก.กา
ส่วนการเขียนนั้น ไวยากรณ์ แม้เป็นสิ่งสำคัญ แต่การเขียนมีหลายระดับ ตั้งแต่เขียนให้พอสื่อสารได้ ไปจนถึงระดับหนังสือราชการ..สำหรับผู้เริ่มต้น จะให้เขียนถูกเป๊ะแบบหนังสือราชการก็จะหมดกำลังใจเสียก่อน แล้วเกิดทัศนคติเป็นเรื่องยาก.. 

ข้อสุดท้าย เรื่องบริบท..น่าสนใจมากคะ "..สังคมไทยเรียนภาษาอังกฤษเป็นเหมือนภาษาต่างชาติ ไม่ใช่เป็นภาษาที่สอง.." เข้าใจว่าท่านหมายถึง เราเรียนไว้เพื่อไปใช้ต่างประเทศ  เนื่องจากในประเทศไม่มีที่ใช้
ต่างจากอินเดีย ที่โรงเรียน สถานที่ราชการ ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง 
การสร้างบริบทให้เป็นภาษาที่สอง..เท่าที่เห็นคือหลักสูตรนานาชาติที่มีบ้างแต่ก็เก็บค่าเล่าเรียนแพงกว่าปกติ..เป็นเรื่องต้องระดมสมองกันต่อไปคะ

( อย่างไรก็ตาม ท่านทำให้คิดว่า ในชั่วโมง อาจมีวิธีทำให้ในชั่วโมงทุกคน "พยายาม" พูดภาษาอังกฤษ ด้วยการปรับ 5 บาท ทุกครั้งที่เผลอพูดไทย..มีกติกาว่า หากคิดไม่ออกจริงๆ  ให้เขียนคำนั้นในกระดาน)

 

สวัสดีครับ

ให้กำลังใจนะครับ ผมว่า แพทย์ มีโอกาสในการสื่อสารภาษาอังกฤษมากที่สุด เพราะศัพท์แพทย์เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการอ่านนะครับ เวทีที่ให้พูดมีน้อยใช่ไหมครับอาจารย์ ?

ถึงแม้ภาษาอังกฤษโดยรวมของประเทศเรา ไม่เก่งเท่าอาเซียน (เป็นเพราะเราไม่เคยเป็นเมืองขึ้นใครหรือเปล่า ?)

แต่สำหรับผมภาษาไทยสำคัญมาก โดยเฉพาะภาษาถิ่นที่กำลังจะหายไป

และภาษาอังกฤษ...คนไทยก็น่าให้ความสำคัญ เพราะเป็นภาษาสากล และหนังสือภาษาอังกฤษหลายเล่มที่ดีรอให้คนไทยอ่านอยู่ครับ

การพูดอังกฤษได้ คงต้องกล้ามากขึ้น....การยิ้มและภาษามือคนไทยไม่เป็นรองใครครับ

ผมเชียร์ที่แพทย์จะพูดภาษาอังกฤษได้เก่ง ๆ (รวมถึงภาษาพระด้วยครับ)

เพราะผมสังเกตว่า เวลานี้ ฝรั่งจะได้ภรรยาคนไทย และป่วยด้วยโรคหลอดเลือด และใช้บริการภาครัฐมากขึ้น

โรคภัยบางโรค...การให้การรักษาอาจได้ผลเพียง 20 % แต่การสื่อสารให้คนไข้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาจให้ผมเพิ่มขึ้นถึง 100 %

เชียร์ครับ...ส่วนผมภาษาอังกฤษและภาษาไทย คงต้องเรียนรู้อีกมากมายครับอาจารย์

I have thought about '2nd language environment'.

- Children can learn 2 or more languages in their environment -- and learn well

- When people are in another language environment -- they learn (from necessity?)

- How often and how much time in a 2nd language environment (to learn the language)?

-- From children case examples: 3-4 continuous hours ==5 days a week==

-- Full and total exposure sessions work very well

- Language is "sound" (vocal, not written words, not grammar but voice manipulation)

- Language is to understand the sounds, and to make sounds to tell others

- Grammar is 'patterns': we use patterns or constructs like we use 'slang'

How do we create this environment?

- to exclude interferences, distractions and 'drift away' (losing focus)

- to fill the environment with 2nd language sounds and use pictures, drawings, tags/labels, ONLY as "clues" (visual "aids" are TOOLS to help us to hear better, to understand the meaning of SOUNDS better -- not to draw scenes away from SOUNDS).

- Audio tools are available on videos, the Internet, in persons, ... to verify the 'correct sounds'.

Good luck ;-)

แต่นโยบายนี่แหละค่ะสำคัญ

สอนคนให้รู้ภาษาอังกฤษ

..

ขอบคุณคะคุณครู
ทำให้นึกถึงที่เคยเจอครูสอนภาษาอังกฤษชาวมาเลเซียคนหนึ่ง
บ่นให้ฟังว่า เมื่อ 50 ปีก่อนตอนแกเด็กๆ ซึ่งยังเป็น Malaya ในเครือจักรภพนั้น
ทุกคนพูดเขียนภาษาอังกฤษได้คล่องดีมาก
ตกมาปัจจุบัน เมื่อรัฐบาลเลิกนโยบายบังคับเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง
ภาษาอังกฤษ จึงจำกัดอยู่แต่ในคนมีการศึกษาสูง
..

เป็นเรื่องน่าคิดคะ

 

ขอบคุณสำหรับบทความคะ

บทความแรก : สะดุดใจตรง "..เด็กในชนบท คิดว่าภาษาอังกฤษเป็นเรื่องไกลตัว ไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยว และพ่อแม่ไม่รู้ภาษาอังกฤษ.." 
เด็กเหล่านี้แม้เกิดในชนบท แต่ความสามารถที่พัฒนาไปสู่สากล  ถูกสะกัดไว้ด้วย "โอกาส" ในการรู้ภาษาอังกฤษอย่างน่าเสียดาย
เช่นเดียวกับ นักศึกษาแพทย์และแพทย์ประจำบ้าน ที่จบไปทำงานใช้ทุนในชนบท
..ยุคนี้โชคดี มีเทคโนโลยีสารสนเทศมากมาย ขอให้มี "แรงจูงใจ แรงบวก และสถานการณ์ท้าทาย"  เพื่อพัฒนาตนเอง

บทความที่สอง : สนใจ Action research การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในบริบทคะ
..คิดไปถึง โครงการค่ายภาษาอังกฤษสำหรับแพทย์ประจำบ้าน..เห็นทีกลับไปต้องขอเบอร์ติดต่ออาจารย์มาเป็นวิทยากรแล้วคะ :-) 

* ในข้อ 4 ของน้องหมอ ป.ที่ต้องการเข้าไปช่วยต่อยอดทักษะทางภาษาอังกฤษโดยไม่ให้เกิดความขัดแย้งกับผู้ที่มีหน้าที่ดำเนินการอยู่แล้วนั้น พี่ใหญ่มีความเห็น ดังนี้ค่ะ

+ ค้นหาส่วนที่จะสามารถเติมเต็มได้อีก เพื่อนำเสนอการสนับสนุนในทางบวก

+ มีวิธีการประเมินผลร่วมกันจากทุกฝ่ายที่่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยกันสู่การพัฒนาที่ตรงจุดต่อไปค่ะ

* การเรียนรู้และถ่ายทอดทักษะทางภาษา เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่ควรเริ่มจาก ศรัทธา ความเพียรในการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ และขยายผลไปในวงกว้างอย่างที่น้องหมอ ป.กำลังทำอยู่ ขอให้กำลังใจค่ะ

ยินดีและขอบคุณ ท่าน ศน.ลำดวนคะ ที่จุดประกายเรื่องนี้

หวังว่าจะมีผู้ขยายผล ต่อไปเรื่อยๆ เพื่อการเข้าสู่อาเซียนแบบไม่เสียเปรียบของคนไทยคะ

แรงบันดาลใจ เป็นสิ่งมีพลังคะ

ขณะเดียวกัน สิ่งที่ขัดขวางไม่ให้เรานำพลังนี้มาใช้ได้อย่างเต็มที่

ก็คือ "Noise" กระแสความเชื่อ ความเห็น ที่ไม่มีข้อพิสูจน์

ซึ่งมาลดทอนความเชื่อมั่นเราเอง
..

เช่น ความเชื่อ ถ้าไม่ได้เกิดเมืองนอก ไม่ได้ไปอยู่เมืองนอกแต่เด็ก จะพูดภาษาอังกฤษไม่ดี..แล้ว ทำไม่คนกรุงเทพแต่กำเนิด มาอยู่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ตอนอายุ 30 -40 แล้วพูดได้..ทาง neuroscience ก็พบว่า เซลล์สมองคนเรายังมีการสร้างใหม่อยู่เรื่อยๆ
.

จึงเชื่อคะ เราเรียนรู้ได้..ไม่มีสาย

".....และข้อ 4.สิ่งที่หนักใจไม่น้อยคือ..ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าควรจะเริ่มเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างไร ในงานที่มีผู้ทำก่อนอยู่แล้ว โดยไม่ให้อาจารย์ที่ท่านสอนอยู่ มีความรู้สึกว่าโดนแทรกแซง....."

สวัสดีครับท่านอาจารย์ ผมคิดว่าในข้อที่ ๔ นี่เป็น Key ที่สำคัญอย่างยิ่งในการสร้างแรงจูงใจคนเลยทีเดียวครับ ผมชอบในสิ่งที่อาจารย์บอกว่า "โดยไม่ให้อาจารย์ที่ท่านสอนอยู่ มีความรู้สึกว่าโดนแทรกแซง" เพราะผมเชื่อว่าคนทุกคนนั้นมีศักยภาพที่พร้อมใช้ในการทำงานให้สำเร็จด้วยตัวของเขาเอง หากเขาไม่ถูกแทรกแซงการทำงานของเขา ดังนั้นผมคิดว่าเราอาจนำหลักการของ "โค้ช" นักกีฬามาใช้ได้นะครับ เพราะโค้ช คือ "ตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง" นักกีฬาทุกคนเขามีความเก่ง มีทักษะ มีพรสวรรค์อยู่แล้วในตัว เขาสามารถเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนตัวเขาเอง เพื่อมุ่งสู่สิ่งที่ดีที่สุดได้ แต่พวกเขาก็จำเป็นต้องมีโค้ช ที่ดีคอยเร่งพวกเขาให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้วย

สิ่งที่โค้ชมืออาชีพเขาทำกันเท่าที่ผมพอทราบมาบ้างก็คือ "การลดความรู้สึกกลัวที่อยู่ภายในจิตใจของผู้ที่ได้รับการโค้ช" ความกลัวเป็นพื้นฐานของมนุษย์ และจะทำให้คนเราเกิดทัศนคติที่เป็นลบ เวลาที่เรามีทัศนคติที่เป็นลบ มันก็จะบั่นทอนบางสิ่งบางอย่างที่ตัวเรามีอยู่ และยิ่งหากทัศนคติที่เป็นลบนานเกินไป สิ่งที่มีอยู่ก็จะถูกบั่นทอนไปเรื่อยๆจนกระทั่งไม่เหลืออะไรอีก ดังนั้นสิ่งที่สำคัญในการโค้ช ก็คือ การปรับเปลี่ยนความคิดของผู้ที่ได้รับการโค้ชจากลบมาเป็นบวกให้ได้ และด้วยสิ่งนี้จะทำให้การโค้ชมีคุณค่าขึ้นมาทันทีครับผม

อาจารย์ที่ท่านสอนอยู่ ท่านคือ"นักกีฬา" แต่ท่านอาจารย์ ป.เป็น "โค้ช" นะครับ

ขอเป็นกำลังใจให้ท่านอาจารย์ครับผม

Roleplay หรือ บทบาทสมมติ กับความรู้สึกปิดใจตั้งแต่เริ่มต้น กับการไม่ค่อยกล้าแสดงออก (ในทางที่ถูก) 

..

อาจารย์ชี้ประเด็นน่าสนใจมากคะ ดูเหมือนมีสองทางคือ

1. ปลูกฝังค่านิยมเด็กไทย generation  ต่อไป ให้กล้าแสดงออกในทางที่ดี ด้วยการ positive feedback 

2. สำหรับ generation ที่ยังมีค่านิยม "เงียบดีกว่าโดนวิจารณ์" (อาจรวมตัวเองด้วย) คงต้องประยุกต์ให้เข้ากับนิสัยไทยๆ..ด้วยการให้พิจารณาตนเอง เว้นแต่สมัครใจให้คนที่ไว้ใจช่วยดูให้คะ

ภาษากับวัฒนธรรม แยกกันไม่ออก คงต้องเรียนรุ้ไปพร้อมๆ กัน..เวลาตลกฝรั่ง ก็ใช้วิธี หัวเราะตามเขาเอาคะ อิๆๆ

 

ความเห็นของคุณหมออดิเรก เห็นด้วยกับความสำคัญของทั้งภาษาอังกฤษ ไทย และถิ่น

คนของเรา ควรพูดได้ชัดเจนทั้งสามอย่าง ไม่เสียอย่างใดอย่างหนึ่งไป
(ยอมรับว่าเศร้าใจ หากใครบอกว่าจบ รร.นานาชาติ แล้วพูดไทยไม่ชัดนะคะ)
เพราะการพูดภาษาบ้านเดียวกัน คือ สื่อสัมพันธ์ทางใจที่ใกล้ชิดคะ..แม่นบ่ :-)

...

ขอบคุณที่ให้พยากรณ์น่าสนใจคะ
" ฝรั่งจะได้ภรรยาคนไทย และป่วยด้วยโรคหลอดเลือด และใช้บริการภาครัฐมากขึ้น"
นั่นหมายถึง แพทย์ พยาบาล คงต้องเปิดใจรับรู้ mind set ของคนตะวันตก
เช่น เขาจะค้นคว้าข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้เยอะมาก แต่ต้องการหมอ หรือ พยาบาล
ช่วยนำประสบการณ์ มาช่วยเขาตัดสินใจ (มิใช่เพิ่มปริมาณข้อมูลที่เขามีเยอะอยู่แล้ว)
และ เขาต้องการดูแลตัวเอง โดยมีหมอพยาบาลเป็นที่ปรึกษา (มิใช่ผู้ปกครอง)
...

อันนี้เห็นด้วย 100% คะ
โรคภัยบางโรค...การให้การรักษาอาจได้ผลเพียง 20 % แต่การสื่อสารให้คนไข้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาจให้ผลเพิ่มขึ้นถึง 100 %

Thank you for the concepts of "2nd language environment" ,as I summary might be

1. It need sufficient exposure of  "understandable sound"
..This make me think what an english pronounciation trainer here said 
" Native usually understand poor grammar though they feel skeptical  but
hardly tolerate poor pitch" .. From my feeling, an effective way to learn this may be chatting to native speakers 'friend' ( who I percept they like to talk with me).
  It also very interesting to know how often and how many hours per week would be optimal for adult learner.

2.The input should be "Scene and Sound"  coming together like real life conversation, video.
..My experience supported this concept. First time I prepared listening skill for an english exam I solely listened audio file -> it did not work. Afterthat I changed to view news clip and noticed somewhat more effective.

These are really useful for me to figure out how to create such environment in our workplace that the 2nd language is "Kummunang"(คำเมือง) :-D.

 

ขอบคุณคะพี่ใหญ่ ที่ถ่ายทอดประสบการณ์ ความเห็น อันเป็นประโยชน์เสมอ 

+ค้นหาส่วนที่จะสามารถเติมเต็มได้อีก เพื่อนำเสนอการสนับสนุนในทางบวก -> คิดถึงการ เพิ่มชั่วโมงขึ้นมา เพื่อสนับสนุนทบทวนสิ่งที่ อาจารย์ท่านนั้นสอน เช่น ถ้าที่อาจารย์สอนเป็นบทสนทนาประจำวัน..อีกชั่วโมงหนึ่ง เป็น การเรียนบทสนทนา ในบริบทเวชปฎิบัติที่ท้าทาย หมิ่นเหม่ต่อการฟ้องร้อง.

+ มีวิธีการประเมินผลร่วมกันจากทุกฝ่ายที่่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยกันสู่การพัฒนาที่ตรงจุดต่อไปค่ะ -> คิดถึงการประเมินผล โดยรวมเป็นส่วนหนึ่งของการสอบปฎิบัติ..พยายามมองในแง่ดีคะว่า เริ่มต้นจาก down-top คงทำให้ระบบ top-down ราชวิทยาลัยเข้าใจได้

 

ขอบคุณที่ช่วยคิดข้อ 4 คะ..ชอบที่อาจารย์เปรียบเทียบ  "โค้ช" กับ "นักกีฬา" คะ
เมื่อมีความเชื่อว่า ทุกคนเขามีความเก่ง ที่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเขาเองในทางที่ดียิ่งๆ ขึ้นได้..แต่ต้องการสนับสนุน เพื่อ "การลดความรู้สึกกลัว ซึ่งเป็นตัวจำกัดการพัฒนา"

เคยได้เห็นผู้ให้นิยาม Coach ไว้อย่างน่าประทับใจคะว่า "unlocking a person's potential to maximise their own performance"

ทำให้สนใจไปดูเจอคลิปใน youtube.
ดูเหมือน ก้าวแรก "Meet" คือ ต่อเมื่อมีแรงบันดาลใจจะพัฒนา คนเราจึงมองหาโค้ช

 

Hi Dr Patama

Just to add a little more 'bread crumbs' to '2nd language environment' idea.

I studied the Buddha Teaching (in parts from the Tipitaka) and formulated a 'view' of 'learning by senses'. In short I say this: "we learn better if we use our senses", the more senses we use, the better we learn. In other words 'we learn from our environment, the more interactions with our environment, the more we learn'.

More about this learning by senses are in (my Learners web)

6. A sense to connect, match, think and know

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/385770

7. We want more Common Senses.

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/386528

So, in my view, a 2nd language environment can be useful, if we can create one to enclose our learners and to maintain 'right' interactions for 'some' time.

One reason that Thai students who go overseas to study English but fail to learn English is this:

though they move themselves into a 2nd language environment, they create and maintain 'own language sub-environment within the 2nd language environment and only interact only within the sub-environment.

Those 2nd language students would save money and time by staying and learning a 2nd language in Thailand. It's common sense!

กำลังประสบปัญหาอยู่ค่ะ เราว่าเราฝึกมาแล้ว เจอของจริง จับคำท้าย ๆ ยังไม่ค่อยทันเลยค่ะ

นอนก่อนแล้วค่ะ ค่อยมาอ่านและไต่ถามบ้างว่า จะทำไง ให้ฟัง พูด เป็นธรรมชาติได้ 

ขอบคุณค่ะ บันทึกดี ๆ ปิดท้ายดึกคืนนี้ ที่นี่ลั้นดั่น

แรงบันดาลใจ มหัศจรรย์ของมนุษย์ มีความหมายในตัวเอง มากมายพลัง

  • สารสนเทศในบันทึกนี้และความเห็นของสมาชิก มีคุณค่ามากค่ะ อาจารย์หมอป. ขออนญาตใช้อ้างอิงในบทความและบันทึกต่อไปด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
  • ตอนนี้กำลังพัฒนาการเรียนเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 28 สาขาวิชา มรภ.อุบลฯ โดยใช้สารสนเทศจากงานวิจัยและพัฒนา (R&D) ปี 2545-2551 และสารสนเทศจากบันทึก "แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ : เกาให้ถูกที่คัน" ที่  http://www.gotoknow.org/blogs/posts/457133 ค่ะ
  • การพัฒนาดังกล่าว เริ่มจากการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษค่ะ และมีกรอบแนวคิดการพัฒนาดังภาพข้างล่างค่ะ
  • จะเขียนรายละเอียดกิจกรรมดังกล่าวในบันทึก Blog "Learntoknow" ปลายเดือนนี้ค่ะ
  • ลงภาพผิดพลาด เปลี่ยนเป็นภาพนี้นะคะ

Thank you for a revisiting and a new vocabularty ( bread crambs = more digestable).

Though it is a bit take more time to read and write in English for me, I think it's a nice gradually learning :-)

I totally agree with this " the more interactions with our environment, the more we learn" -  I felt the steep learning occured when I tried to make friend with a lady sitting beside me in our office.
Meanwhile I have some empathy with Thai students who creat own sub environment -- not all native english speaker like having conversation with foreigne people. Eventhough people who speak quite clear, it still take years to get in with different culture.

..This make me realized lauguage need both interaction and getting culture recognition.  

ขอบคุณพี่หมอเล็กที่แวะมาทักทายจาก London คะ
.. ฟัง และ พูด อย่างเป็นธรรมชาติ
ทั้งสองอย่างนี้สำคัญพอๆ กันเลยคะ
เคยคิดว่า ตัวเองมีทักษะการฟังดีกว่าพูด (ดูจากคะแนน TOEFL)
แต่จริงๆ แล้ว การฟัง ยากกว่า พูดเสียอีก
มีผู้กล่าวไว้ว่า การฟังที่ดี คือ ฟังทั้ง
- เนื้อหา (content)
- อารมณ์ (emotion)
และ ตัวตน (identity) ของผู้พูด
..เราพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง ไม่มีใครว่าอะไรนัก
แต่ถ้าเรา ไม่ฟัง หรือ ฟังแล้วจับใจความไม่ถูก บางครั้งเกิดปัญหาได้คะ
ตอนมาใหม่ๆ มีคนหนึ่ง เขาถามตอนนำเสนองาน เราฟังไม่ค่อยเข้าใจแล้วตอบออกไป
ปรากฎว่าไม่ตรงคำถาม..เห็นได้ชัดเลยคะว่าเขาไม่พอใจ
ตอนหลังๆ มาถ้าไม่แน่ใจก็ Pardon..ไปก่อนเลยคะ :-) 

 

ขอบคุณคะ
ยังคิดไม่ออกเลยคะ ว่า จะมีชีวิตอยู่แบบไม่มีแรงบันดาลใจ ได้อย่างไร..
เพียงแต่ อาจปรับเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงของชีวิต 

เหมือนที่ได้เห็นแรงบันดาลใจ การทำเพื่อครอบครัว จากคุณเพชร คะ

ขอบคุณอาจารย์ที่ได้ทำโครงการพัฒนาการเรียนเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาอย่างจริงจัง..ชื่นชมด้วยใจจริงว่าจะเป็นคุณูปการณ์ต่อประเทศเราต่อไปคะ

..

ภาพที่อาจารย์นำมาให้ดู
ทำให้เห็นว่า หากเราสร้างวัฎจักรนี้
และนำคนของเราเข้าสู่วัฎจักรนี้ได้สักจุดหนึ่ง 
ก็จะเกิดการพัฒนาภาษาต่อเนื่องไม่สิ้นสุด
จากมุมมองตัวเอง คิดว่า "จุดวัดใจ" สำคัญคือ
" confidence" คะ
หากมั่นใจในภาษาอังกฤษของตนเอง แล้ว
สารสนเทศที่ก้าวหน้าในปัจจุบัน ก็น่าจะสนองเปราะอื่นๆได้

ไม่ว่าจะเป็นการทำอะไร การค้นหาแรงบันดาลใจเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆเลยค่ะ

การฝึกฝนภาษาอังกฤษที่มาทำตอนโตแล้วก็ยากไปแบบหนึ่งนะคะ เพราะส่วนใหญ่คนไทยมักกลัวภาษาอังกฤษ กลัวที่ต้องแสดงออก ที่ต้องแสดงความเห็น

อย่างไรก็ตามภาษาเป็นการฝึกทักษะ เมื่อชอบ มีโอกาสฝึก มีโอกาสใช้ก็ค่อยๆชำนาญ ไม่เหมือนเลข หากไม่มีหัวทางนี้ฝึกไปก็ไม่ถึงไหน นี่พูดถึงตัวเองเลยค่ะ สมัยเรียนเตรียม (ศิลปฝรั่งเศส)เคยได้คะแนนสอบเลขแบบน่าเกลียดมากๆคือ ไม่ถึงสิบจากคะแนนร้อย แต่เป็นคนชอบภาษา ภาษาอังกฤษได้คะแนนดีมากๆเข้าขั้นโดดเด่น

คนข้างกายพี่เป็นคนภาษาอังกฤษแย่มาก แต่ภาษาไทยของเขาเวลาพูดถึงเรื่องงานวัฒนธรรมที่เขาทำ ที่เขาเชื่อ เขาพูดได้ดี ประทับใจคนฟังเสมอเพราะเขา passionate กับสิ่งที่ทำ เมื่อเขาต้องพูดอธิบายให้ฝรั่งเข้าใจแนวทางของเขา เขาก็ใช้ภาษาแบบแตกๆหักๆ ทว่าฝรั่งก็ฟังเข้าใจและประทับใจ ฟังไม่เลิก ถามไม่เลิกเหมือนกัน พี่จึงคิดว่า การพัฒนาทักษะในการสื่อสารเบื้องตนในภาษาไทยเมื่อจะบอกเล่าในสิ่งที่ตนทำ ในสิ่งที่สำคัญต่อชีวิตของตนเอง หากทำได้ การสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ หรือจะภาษาม้งก็ไม่น่ามีปัญหามาก

อาจารย์พูดถึง วิชาจุดอ่อน..ที่จำได้แม่นยำของตนเอง คือ วิชาคำร้องคะ
ไม่ว่าจะทำอย่างไร ก็ ขึ้นเสียงโด เร มี..ไม่ได้ น่าจะเรียกว่าแย่ที่สุดในชั้น.. 

ได้ข้อคิดสำคัญว่า ไม่ว่าจะก้าวสู่สากลเพียงไร
ก็ควรมีเอกลักษณ์ของตนเอง เรียนรู้ตัวเราเองให้แตกฉาน
เมื่อนั้น สิ่งที่เราพูดก็มีเสน่ห์ มีความน่าสนใจในตัวเอง..ควรค่าแก่การพยายามฟังคะ

 

ขอบคุณทั้งน้องปัทมาและผู้อื่นที่มาร่วมให้ความคิดเห็น มีประโยชน์มาก ๆ เลยค่ะ

สำหรับพี่เอง การฟังเป็นสิ่งที่ ยากเกินความคาดหมายเอาไว้เยอะ เนื่องเพราะเตรียมตัวมายังไม่มาก คิดว่าคงพอไหว ตอนนี้กลับกลายเป็นปัญหาสำคัญลำดับที่หนึ่ง เครียดเลยค่ะ ตั้งใจฟัง เกร็งมากไป ก็ยังตกหล่น คนพูดเห็นคนฟังเกร็ง(ดูเหมือน)พูดด้วยอาการเกร็งไปด้วย และเราเองก็เป็นฝ่าย งง จนได้ทุกที

ทำไงดี นึกไปนึกมาเอาแบบธรรมชาติของเรา(ประสบการณ์ส่วนตัว) พกกระดาษโน้ตเล็ก ๆ เขียนคำที่เรา ฟังไม่ทันถามซ้ำอีกครั้ง หรือถ้าเป็นงานชิ้น ๆ ก็มีวาดสัญญลักษณ์บ้าง ขีดเส้นโยงแบบmind map ย่อ ๆ ผสมการเขียนเป็นคำบ้าง ส่งให้อาจารย์เราดูทวนอีกที ว่าครบถ้วนหรือเปล่า(ซึ่งมักไม่ครบ :P) แล้วก็หายใจลึก ๆ ลดการเกร็งกล้ามเนื้อแห่งความเครียดทั้งหลาย ไหล่ คอ หน้า ตั้งสติและพยายามลดความตระหนก ดีขึ้นมาหน่อย

คงต้องฝึกอีกมาก ๆ

 

โครงการฝึกแพทย์ประจำบ้านเห็นชอบด้วยมาก ๆ ค่ะ โลกเรามีการสื่อสารกันมากขึ้น ผู้คนเคลื่อนย้าย เลื่อนไหล ฝึกไว้ใช้ในไทยก็น่าจำเป็น มีคนไข้ชาวต่างชาติ สื่อสารได้ถูกต้องครบถ้วน หรือเอาไว้ไปเสนอผลงาน ให้ดูเป็นธรรมชาติ

วลีต่าง ๆ คำสร้อย เรามักไม่มี(ตัวเอง) ทำให้มาคิดย้อนหลังว่า คนฟังเราพูดน่าจะจับได้ว่า เขียนสคริปต์มา ฮา

กฎหมื่นชั่วโมง ๆ ๆ ๆ

กำลังทำใจและท่องคำนี้ไว้ แล้วจะมาเยี่ยมอ่านเอาแง่มุมมากหลายอีกค่ะ

 

เทคนิคพี่หมอเล็ก แสดงถึงความเป็นคนสนใจเอาใจใส่ สิ่งที่เขาพูด
ถ้าตัวเองเป็น อาจารย์คนนั้นจะประทับใจในความพยายามคะ
...
ต้องพกกระดาษเล็กๆ ไว้เขียนคำที่เขาพูดแล้วเรางง
หรือเราพูดแล้วเขาไม่รู้เรื่องเหมือนกันคะ
คนไทยเรารู้ศัพท์มากจากการอ่าน แต่ปัญหาคือไม่รู้ว่ามันออกเสียงยังไงจริงๆ
ตอนพูดกับฟัง คำง่ายๆ อย่าง trail (รถราง - ออกเสียง  ที่ถูกออก เทรเลอะ..) พูดตั้งหลายรอบกว่าจะเข้าใจกันคะ

แรงนับดาลใจเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางจริงๆ ค่ะ

ตอนดิฉันเป็นเด็ก การเรียนแล้วรู้เรื่องนี่เป็นแรงบันดาลใจให้เราตั้งใจเรียนให้รู้มากยิ่งๆ ขึ้น

พอทำงานใหม่ๆ ดิฉันรู้ว่า การมีตัวแบบที่ดีทำให้เรามุ่งมั่นที่จะเดินตาม  และตัวระบบที่เอื้อให้งานเดินได้ก็เป็นแรงช่วยอีกทาง

ดิฉันเพิ่งเจอหนังสือ "บนเส้นทางชีวิต" (2532) ของอ.หมอประเวศ ทั้งชุด ตอนขนของหนีน้ำ  อ่านเพลิดเพลินมาก รวดเดียวจบเล่ม อ.ประเวศเล่าว่า มีแรงบันดาลใจที่จะเป็นแพทย์โลหิตวิทยาจากคำปรามาสของอาจารย์ สุภา ณ นคร  บางทีแรงบันดาลใจก็มาจากอีกทางได้เหมือนกันนะคะ 

และจากการอ่านหนังสือชีวะประวัติบุคคลที่เป็นตัวแบบหลายๆ ท่าน จุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตเริ่มที่ "แรงบันดาลใจ" จริงๆ

"การเรียนแล้วรู้เรื่องนี่เป็นแรงบันดาลใจให้เราตั้งใจเรียนให้รู้มากยิ่งๆ ขึ้น"
นำไปใช้ได้เลยคะ
สังเกตถ้าผู้เรียนมีความสุข ก็เป็นสัญญาณที่ดี
... 
ขอบคุณที่แนะนำหนังสือของท่าน อ.ประเวศคะ
เท่าที่จำได้
ท่านอาจารย์เป็นแพทย์โลหิตวิทยาที่สร้างผลงานวิจัย thalasemia เป็นคุณูปการต่อประเทศอย่างมาก

  • ขอขยายผลจากพี่หนุ่ยนะครับ
  • มีหนังสือเล่มนี้ "บนเส้นทางชีวิต" (2532) ของอ.หมอประเวศ
  • พบว่าคุณหมอท่านหนึ่งบอกว่า เหรียญทองบอกผิดได้อย่างไร
  • เป็นเหตุผลให้คุณหมออยากเป็นโลหิตแพทย์ครับ
  • ประเด็นที่ผมชอบภาษาอังกฤษคือ มีแรงจูงใจอยากพูด อยากเขียนได้ อยากคุยกับชาวต่างประเทศรู้เรื่องและอยากเป็นครูภาษาอังกฤษที่เก่ง(ตอนนี้ยังไม่เก่งเลย)
  • เลยชอบเขียนไปลงหนังสือพิมพ์ Bangkok post อีกเล่มคือหนังสือ Nation Junior สมัยแรกๆ
  • ได้รางวัลจากการเขียนกลอนหรือเรื่องเป็นตุ๊กตาทำให้ชอบภาษาอังกฤษมาเรื่อยๆ
  • Large_poeminnj1
  • Large_essayinnj2
  • ดีใจที่หาเอกสารชุดนี้พบ เก่ามากๆแล้ว แต่งภาพเข้าไปยิ่งเก่าใหญ่เลย 555
  • มาเชียนร์คุณหมอเขียนเรื่องนี้ต่อนะครับ

รบกวนคุณหมอลบอันแรกให้ด้วยครับ แบบว่ามีไว 555

ขอบคุณค่ะอาจารย์ขจิต วันนี้ gotoknow มีอาการแปลกๆ บางประการทำให้ลบความเห็นไม่ได้ค่ะ ไม่เป็นไรนะคะ ได้อ่านจดหมายเหตุ :) เห็นอารมณ์ขันตามแบบฉบับอาจารย์เลยคะ ... ตอนนี้ พยายามทำ Idea ให้ไปสู่ I do โดยเขียนร่างแผนไว้ในรูป google doc -ทุกท่านที่เห็นลิงค์ด้านล่างนี้เข้าไปแจมได้ค่ะ Medical English project (google doc editable)

เข้าไปดูเรื่องนี้แล้วครับ กิจกรรม English for medical professional ถ้าเป็นภาษาอังกฤษที่ใช้ในชีวิตประจำวันของแพทย์น่าสนใจมาก ชวนดร.วิรัตน์เลยดีไหมครับ อาจาารย์ไปอยู่เชียงใหม่แล้ว เย้ๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท