G2K เฮฮาศาสตร์ vs Chaordic Organization


เฮฮาศาสตร์ที่ไปดงหลวงต้องอ่านและเตรียมตอบโจทย์ ฝากเรื่องนี้ให้สมาชิก G2K ช่วยกันคิดและให้คำตอบในเรื่องนี้ครับ

           วันก่อนอ่านหนังสือ “ บริหารงานวิจัยไม่ยาก ( มาก ) อย่างที่คิด ” ของ อาจารย์ วิบูลย์ วัฒนาธร  กับ อาจารย์ เสมอ ถาน้อย  อ่านถึงบทที่ 7   IRDA กับการเป็น Chaordic Organization  ทำให้ต้องไปค้นเรื่อง สกว. กับความเป็นองค์กรเคออร์ดิค ที่ อ. หมอวิจารณ์เขียนไว้หลายปีก่อน
           จากนั้นก็ค้นต่อ  ไปเจอบทความจากหนังสือ  THE CHAORDIC ORGANIZATION: OUT OF CONTROL AND INTO ORDER
World Business Academy Perspectives - Vol. 9, No. 1 1995
ที่ Dee W. Hock  เขียนเอาไว้
           Dee W. Hock  เล่าถึงการที่ VISA USA and VISA International   ต้องกำหนดตัวเองเป็น Chaordic Organization,   อ.หมอวิจารณ์ก็เขียนเรื่องของ สกว. กับความเป็นองค์กรเคออร์ดิค  ส่วน อ.เสมอ  ถาน้อย ก็เล่าเอาไว้ในหนังสือว่า IRDA จะนำรูปแบบ Chaordic Organization  มาทดลองใช้กับการบริหารงาานใน IRDA
           คงไม่อธิบายเรื่อง Chaordic Organization โดยละเอียดนะครับ  แต่มีความรู้สึกว่า  G2K  และเฮฮาศาสตร์ก็เป็นองค์กรหรือชุมชนที่เป็น Chaordic  
           โจทย์ก็มีอยู่ว่า  ใช่หรือไม่ใช่  ถ้าไม่ใช่ก็จบ  แต่ก็ต้องไปหาว่า  คุณเป็นใคร?   ตามคำถามยอดฮิตที่ชอบมากๆของเล่าฮูแสวง
 ถ้าใช่  ก็ต้องเอากระจกไปส่องดูทั้ง 6 องค์ประกอบคือ
               1. Purpose  ความมุ่งมั่นขององค์กร
               2. Core principles  หลักปฏิบัติของคนในองค์กร
               3. Participants  ภาคีหรือผู้มีส่วนร่วม
               4. Organization concepts  หลักการจัดระบบการทำงาน 
               5. Constitution  ข้อตกลงของสมาชิกในองค์กร
               6. Practice  การนำไปสู่การปฏิบัติ

           ต้องดูว่าองค์ประกอบทั้ง 6  ครบถ้วนหรือไม่  องค์ประกอบตัวไหนไม่ชัดเจน  ไม่สมบูรณ์  ถ้าไม่ครบ  ไม่ชัดเจนก็คงจะเดินต่อไปลำบาก  ต้องนั่งคุยกันจนตกผลึก  เข้าใจตรงกันระดับหนึ่ง  จึงจะเดินต่อไปได้ราบรื่น
           ทุกคนก็ควรจะทำความเข้าใจกับ Chaordic Organization  เพราะจะทำให้การพูดคุยกันสามารถหาข้อยุติ  หรือสามารถสรุปได้เร็วขี้น  ในกรณีศึกษา  การนั่งคุยกันจนตกผลึก  บางครั้งใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปี
           ยกตัวอย่างแค่เรื่องเดียว  เรื่อง Complex adaptive system ( CAS )   ซึ่งจะต้องมีหลายศูนย์และกระจายอำนาจ  จัดรูปแบบของตัวเองและปรับตัวได้  ยึดหลักการ  มีความมุ่งมั่นในภารกิจ  ความหลากหลาย ยิ่งสมาชิกมีความแตกต่างมากยิ่งทำให้ระบบแข็งแรง   Chaordic Organization  เชื่อในระบบซับซ้อนที่มีความแตกต่างหลากหลาย  แต่จะนำสิ่งนี้มาสร้างความสำเร็จให้องค์กร
           ถ้าไม่เข้าใจตรงนี้ก็จะนำเอาระบบสั่งการ ( Control ) มาใช้  จะกำหนดกฏเกณฑ์ต่างๆขึ้นมา  เพื่อให้เกิดความเหมือนโดยคิดว่าจะเป็นแนวทางสู่ความสำเร็จ  ทำให้สูญเสียความคิดริเริ่มที่แตกต่างหลากหลายอันจะนำไปสู่การคิดค้นวิธีการหรือแนวทางใหม่ๆ ( Innovations ) เพื่อใช้แก้ปัญหา  ซึ่งความคิดดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าในมนุษยชาติ  แถมมีต้นทุนที่ต่ำที่สุดด้วย
           เฮฮาศาสตร์ที่ไปดงหลวงอ่านแล้วทำการบ้านไปด้วย  คงต้องฝากเรื่องนี้ให้สมาชิก G2K  ช่วยกันคิดและให้คำตอบในเรื่องนี้ด้วยครับ
           เขียนแล้วเครียดเล็กน้อย  ขอ อิอิอิอิ  ให้หายเครียดหน่อย 
 

คำสำคัญ (Tags): #เฮฮาศาสตร์
หมายเลขบันทึก: 141232เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2007 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สวัสดีค่ะ

เขียนไวจังค่ะ เพิ่งคุยกันเมื่อกลางวันเอง ราณียังอ่านได้บทแรกอยู่เลย  ต้องเรียนรู้อีกมากค่ะ  ขอบคุณมากนะค่ะที่print มาให้อ่านค่ะ ขอบคุณจริง ๆค่ะ  

  • เยี่ยม ๆๆๆๆ เลยค่ะ คุณหมอผู้ปราดเปรื่อง
  • มารับรอง  ครับผ้ม
  • ตามมาเรียนรู้ค่ะ
  • ช่วงนี้ยังวุ่นกับการตรวจข้อสอบค่ะ
  • อาจจะห่างหายจากวงการไปบ้าง

โธ่ๆๆ เราเพิ่งเป็นหน่ออ่อน  ยังตั้งหลักได้ไม่มั่นคงเล๊ย บินไปคุยกับเครือข่ายยังไม่ครบ

จำเป็นต้องมาแบบน้ำหนัก ฮือๆๆ หรือ อิอิ ๆๆดี

  • สวัสดีค่ะคุณหมอคนชอบวิ่ง
  • ไม่ได้แวะมาเสียนาน ...หวังว่าคุณหมอคงสบายดีนะคะ แล้วจะหอบความคิดที่ที่ฝากไว้ไปบอกกับ อ. JJ และอ.แป๋วค่ะ

 

P
1. Ranee อ่านเสร็จเล่าให้ฟังมั่งนะครับ
P
3. อ.ลูกหว้า  จริงๆจะไปให้ อ.ลูกหว้าบรรยายเรื่องนี้ให้ฟังนะครับ  อิอิ  นอนดูดโอเลี้ยงฟัง  ไม่ต้องอ่านเอง  อิอิ
P
ซุปญี่ปุ่นหมดรึยังครับ  อิอิ
วิชาวางแผนของอาจารย์พิชชานี่ดีมากๆเลยครับ  อิอิ

เสียดายมาก ๆ ที่ได้มีโอกาสที่จะได้ไปดงหลวงแต่ก็ต้องเสียโอกาสเพราะติดภารกิจที่ได้กำหนดไว้ก่อนแล้วแต่ก็หวังว่าพี่ ๆ เพื่อน ๆ ที่ได้ไปคงนำอะไรดี  กลับมาฝากแน่นอน...เสียดายมาก ๆ เพราะแค่อ่านบทความที่คุณหมอนักวิ่งเขียนก็ได้ความรู้เยอะมากแล้ว ถ้าได้ไปคงต้องฉลาดเพิ่มขึ้นแน่นอน.......ไว้โอกาสหน้าคงได้พบกันที่ มหกรรม NKM 4 แน่นอนที่สุด

  • จะเที่ยวเผื่อ  กินเผื่อ  คุยเผื่อ  กอดเผื่อ  อิอิ

อ่านแล้ว งงๆ

ถ้าเราอ่าของคนอื่นคิด  เอาของคนอื่นมา  เราจะ งงๆ  ในช่วงแรกๆ

จนกว่า จะเอาไปทำ   ผิด ๆ ถูกๆ   จะหายงง และ สร้าง ทฤษฏีส่วนตัวได้เอง

หลัก Chaos ก็คือ หลักธรรม นั่นเอง  ผมว่านะ  เข้าข้างธรรมะ อยู่เรื่อยเลย ผมเนี่ย 

 

Highly Recomment ให้อ่านของ Margaret J. Wheatley ครับ . . . แล้วนำมาทดลองทำเหมือนกับที่ท่าน "คนไร้กรอบ" แนะนำไว้ . . . ขอให้โชคดีครับ

สวัสดีค่ะ

คุณหมอเป็นคนมีpassion..พลังใจมากนะคะ

ชื่นชมค่ะ

เครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งมีลักษณะที่ยุ่งเหยิงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีเกิดมีดับ มีสำเร็จเปรี้ยงปร้าง มีล้มเหลวไม่เป็นท่า ใครนึกจะทำอะไรก็ทำ ไม่ต้องขออนุญาตใคร แต่ทุกท่านที่อ่านความเห็นอันนี้ก็ยังเวียนว่ายอยู่ในอินเทอร์เน็ตครับ มากบ้างน้อยบ้าง

เครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดควบคุม (นอกจากอำนาจแบบด้อยพัฒนาซึ่งพยายามและล้มเหลวตลอดมา) แต่ยังสามารถทำงานร่วมกัน เป็นความเป็นระเบียบเพื่อความยุ่งเหยิง มีข้อเสนอใหม่ๆ มีเว็บไซต์ใหม่ มีบริการใหม่ๆเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ ทั้งดีและไม่ดี ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเลือกเอาเอง ตามวุฒิภาวะของตน

ผมคิดว่าที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างนี้ เพราะมีเป้าหมายที่ชัด (direction/purpose/principle) ว่าเป็น "เครื่องมือสื่อสาร" ชนิดหนึ่ง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่ได้วางตัวเองไว้ว่าเป็นที่หมาย (destination) ซึ่งมักจะมีคำว่า "ต้อง" มากำกับอยู่

อินเทอร์เน็ตเป็น complex adaptive system โดยธรรมชาติ มีลักษณะ chaodic แต่ไม่เป็น organization ในลักษณะที่ว่ามีองค์กรมาควบคุมจัดการ

P
  • ขอบคุณมากครับที่ช่วยชี้แนะ
  • อาจเป็นชุมชนหรือองค์กรก็ได้นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท