โครงการสังเคราะห์การท่องเที่ยวโดยชุมชนแม่ฮ่องสอน กับ “หัวใจการถอดบทเรียน”


"การถอดบทเรียนไม่ใช่เค้นเอาแต่ผลงานจากคณะทำงาน แต่เป็นการช่วยให้คณะทำงานเติบโต..."- - -เท็ด จี

ทางทีมวิจัยเรากำลังเริ่มเคลื่อน กระบวนการสังเคราะห์งาน ...การท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่แม่ฮ่องสอน

ผมเองรับผิดชอบในการวางแผนการดำเนินการ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย เพื่อ “การสังเคราะห์” ที่จะสร้างประโยชน์ทั้งทีมนักวิจัยและกลุ่มเป้าหมายที่เราได้กำหนดไว้ กระบวนการสังเคราะห์ในครั้งนี้ จึงประกอบไปด้วย “หัวใจของการถอดบทเรียน ๕ ประการ” คือ

ความเป็นท้องถิ่น (Localness)

การถอดบทเรียนต้องเป็นกระบวนการที่คนในท้องถิ่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน เป็นผู้ดำเนินการ ในโครงการวิจัยสังเคราะห์การท่องเที่ยวโดยชุมชน เราประกอบไปด้วย นักวิจัยหลักและนักวิจัยชาวบ้านที่เป็นหมู่บ้านเป้าหมาย

ความเป็นทีม (Team Practice)

ด้วยความหลากหลายในโครงการวิจัยฯ เรามีทีมศึกษา วิจัยครั้งนี้ รวม ๑๐ ท่าน เรียกได้ว่าเป็นทีมใหญ่พอสมควรที่จะร่วมด้วยช่วยกัน ตามบทบาทหน้าที่ การถอดบทเรียนเป็นกิจกรรมของทีม ดังนั้นผู้หนึ่งผู้ใดจะถอดบทเรียนเพียงลำพังไม่ได้ หรือแกนนำจะเป็นผู้กำหนดทิศทางการถอดบทเรียนเพียงผู้เดียวไม่ได้ ทีมต้องพ้อง เห็นคุณค่า และดำเนินการถอดบทเรียนร่วมกัน

มุ่งอนาคตที่ดีกว่า (Forward Focus)

เรามีจุดมุ่งหมาย ที่จะพัฒนางานท่องเที่ยวโดยชุมชนที่แม่ฮ่องสอนให้ดียิ่งๆขึ้นไป โดยใช้ประสบการณ์ องค์ความรู้ที่แม่ฮ่องสอนได้พัฒนากันมานาน การถอดบทเรียนมุ่งหวังให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้นการถอดบทเรียนจึงเป็นกระบวนการค้นหาแนวทางไปสู่อนาคตที่พึงปรารถนา โดยใช้กระบวนการทบทวนตัวเอง และระบุบทเรียนจากอดีตที่ผ่านมา ไปใช้เป็นฐานในการวางแผนการดำเนินการที่มีคุณภาพต่อไป

การสกัดความรู้(Punctuation)

การทำงานวิจัยครั้งนี้มีเป้าหมายที่ชัดเจน ในการนำเอาองค์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อแม่ฮ่องสอนอย่างแท้จริง กระบวนการจึงต้องทำไปและสกัดความรู้ที่ได้จากการทำงานไปด้วย โดยความรู้นั้นคือ ช่องทาง หรือเงื่อนไขทั้งภายใน และภายนอกองค์กรที่จะทำให้โอกาสในการทำงานในอนาคตมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ(Iteration)

การถอดบทเรียนเป็นกระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน ดังนั้นการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองจะเกิดขึ้นจากการถอดบทเรียนเพียงครั้งเดียวไม่ได้ แต่ต้องเกิดจากการฝึกฝนและปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจนกลายเป็นกิจวัตร

เรามีเวทีที่พบพูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอ...เพื่อติดตามงานด้วย และรับทราบปัญหาข้อขัดข้อง ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเนื้อหาที่ทีมวิจัยไดค้น – คว้า มาจากเนื้องานที่เกิดขึ้นแล้ว

ก่อนหน้านี้รู้สึกเครียดบ้างในการที่ต้องเริ่มคิดงาน คิดกระบวนการ แต่วันนี้ผมไม่หนักใจเลยกับงานชิ้นใหม่ชิ้นนี้ เปลี่ยนเป็นสุขใจที่คนทำงาน(ทีมวิจัย)กระตือรือร้น และมีความสุขมากขึ้นเมื่อพวกเราได้พบเจอกันบ่อยๆ

หมายเลขบันทึก: 41879เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2006 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • มาสนับสนุนคนทำความดีของชาติครับ
  • งานถ้าทำด้วยความสุขใจจะมีความสุขครับผม

ขอบคุณ อ.ดร.ขจิตครับ

 สำหรับกำลังใจที่มีให้กันตลอดเวลา...ขอมอบกลับไปยังอาจารย์

เช่นกันครับ

ปล.  ผมเลิกดื่มน้ำใบบัวบกแล้วครับ 

ยอดเยี่ยมค่ะ คุณจตุพร...เป็นกำลังใจให้ค่ะ

เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่งแล้วล่ะค่ะ ความตั้งใจจริงที่ดีก็เป็นทุนที่เหลือเฟือแล้ว จะคอยติดตามความคืบหน้านะคะ 

เป็นกำลังใจให้เสมอครับอาจารย์จตุพร เวลาเราคิดสิ่งใหม่ ๆ หรือทำอะไรใหม่ ๆ ได้ก็จะมีกำลังใจเพิ่มเสมอครับ

Well-done my friend!

Heart of Inspiration in doing research makes a great impact on your community.

Cheering for your successful research outcomes krab!  

ขอบคุณกำลังใจเต็มๆจากทั้ง

พี่โอ๋ - อโณ/ อาจารย์ปภังกร /เพื่อนของผม Ajarn Pop

 

พี่โอ๋ ครับ 

แค่มีใจร่วมกัน งานก็สำเร็จไปกว่าครึ่งแล้วครับ จะพยายามเขียนบันทึกเกี่ยวกับความคืบหน้าเรื่อยๆเพื่อการแลกเปลี่ยนครับ

อาจารย์ปภังกร

 หากอาจารย์มีเวลา อาจารย์ลองไปบ้าน ชุมชนแถบนั้น (ที่อุบล) ผมสนใจเรื่อง ทุงผะเหวต ครับน่าสนใจมาก เหมือนที่ผมเคยเขียนไว้ ที่ "ตำหุก เฮ็ดทุง" คราไปเยี่ยมเมืองอุบล  ขออาจารย์สานต่อหน่อยครับ

อาจารย์ Pop

วิทยานิพนธ์ใกล้เสร็จแล้วซิครับ...กลับมาเมืองไทยเมื่อไหร่ มาพักผ่อนที่ "ปาย" นะครับ

ขอบคุณมากครับ สำหรับกำลังใจ

จะแนะนำให้ผู้ที่สนใจงานท่องเที่ยวโดยชุมชนมาอ่านครับ
จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

ขอบคุณครับ พี่ยอดดอย

แต่เอ...ช่วงหลังๆ รู้สึกBlog ท่านพี่เงียบเหงาจัง!!!...

รออ่านเรื่องใหม่ๆอยู่ครับ

ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับอาจารย์จตุพร ถ้ามีโอกาสจะเข้าไปเยี่ยมแน่ ๆ ครับ ถ้าจะสานต่ออย่างไรก็จะต้องกลับมาขอคำชี้แนะจากอาจารย์จตุพรอย่างแน่นอนครับ

อาจารย์ปภังกรครับ

หากเข้าไปเยี่ยมแล้ว เกิดไอเดียอย่างไร จงขายไอเดียนั้นกับชาวบ้านด้วยนะครับ

ที่ ม.อุบล มีเครือข่าย ของ สกว.อยู่ด้วยนะครับ

อาจมีงานพัฒนา วิจัย ดีๆที่สร้างสรรค์ปัญญารากหญ้าได้ครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท