ทางเลือกและทางรอด ???


ไม่แปลกเลยที่ว่าทำไมงานวิจัยของนักวิชาการส่วนใหญ่ถึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ในระดับรากหญ้า เพราะสื่อความหมายยากนั่นเอง

     เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาได้ไปร่วมฟัง "นักวิจัยชาวบ้าน" ซึ่งปราชณ์ชาวบ้านภาคอีสานมีงานวิจัยแบบไทบ้าน ที่เรียบง่าย เข้าใจง่าย และที่สำคัญปฎิบัติได้จริง ซึ่งจะสังเกตเห็นได้จาก การนำเสนอที่สามารถอธิบายแบบง่ายๆ อย่างเช่น พ่อ ชาลี  มะระแสง ปราชณ์ชาวบ้านจังหวัดอำนาจเจริญ อธิบายด้วยรูปภาพเพียง 3 ใบ ก็ทำให้ทั้งนักวิชาการและนักวิชาเกินอย่างชาวบ้านที่มาฟังรวมทั้งชาวบูรณาการอย่างพวกเรา เข้าใจถึงจุดประสงค์ที่พ่อชาลีจะสื่องานวิจัยของท่านออกมาให้พวกเราฟัง และที่น่าคิดก็คือ เมื่อผู้วิจัยได้ทำอย่างจริงจังมองปัญหาของตัวเองออก และมองหาจุดบอดของตนเองได้ ผู้นั้นก็จะสามารถแก้ปัญหาของตนเองได้อย่างถูกต้อง  และวันนั้นก็มีนักวิชาการมานำเนสองานวิจัยเหมือนกัน แต่ใช้คำที่ฟังยาก อธิบายยาก ทำให้เข้าใจ ยากตามมา  ไม่แปลกเลยที่ว่าทำไมงานวิจัยของนักวิชาการส่วนใหญ่ถึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ในระดับรากหญ้า เพราะสื่อความหมายยากนั่นเอง

      และอีกอย่างหนึ่งในการทำวิจัยไทบ้าน กับงานวิจัยของนักวิชาการ งบประมาณที่ใช้ในการทำงานวิจัยนั้น มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิง ซึ่งงานวิจัยไทบ้านใช้งบประมาณ 30,000 บาท ส่วนงานวิจัยของนักวิชาการ 200,000 บาท

      ท่านผู้รู้ทั้งหลายช่วยอธิบายเหตุการณ์เหล่านี้ด้วยว่ามันเกิดอะไรขึ้น......

       

หมายเลขบันทึก: 41870เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2006 19:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วิจัยชาวบ้านนั้นไม่มุ่งเน้นที่ตัวเงิน แต่นักวิจัยวิชาการนั้นเน้นเงินมากกว่า จึงมองได้อีกอย่างที่คิดว่าเงินเป็นตัวปัญหา พอสรุปได้หรือเปล่าไม่แน่ใจเหมือนกันครับ การแก้ปัญหานั้นอยากให้ตัดเงินออกจากกระบวนการแก้ปัญหาจะได้ผลมากที่สุด แต่คงทำได้ยาก เพราะทุกหนแห่งล้วนเต็มไปด้วยเงินกันหมดแล้ว อาจถอยหลังได้ยาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท