เขียนหนังสือขาย - ประสบการณ์ & ข้อมูลน่ารู้


แต่ละสำนักพิมพ์มี 'แนวเนื้อหา' และ 'การตลาด' ของตนเอง และอาจจะมีค่าตอบแทนแตกต่างกัน

 

 

 

มีใครอยากเขียนหนังสือเพื่อเผยแพร่บ้างครับ?

 

คิดว่าคงจะมีหลายคนอยู่เหมือนกัน เพราะใน GotoKnow นี่ เขียนกันเก่งๆ ทั้งนั้นเลย
และจริงๆ แล้วอาจจะมี 'มืออาชีพ' อยู่หลายคนด้วยซ้ำ


อย่างไรก็ดี เนื่องจากผมยังไม่พบบันทึกแนวนี้

จึงอยากจะเล่าประสบการณ์ (ดีมั่ง แสบมั่ง)

ที่เคยเจอมาค่อนข้างหลากหลายอยู่บ้างให้เป็นข้อมูลเบื้องต้น

(7 สำนักพิมพ์ กว่า 20 เล่ม [ดูตัวอย่างในเว็บพอร์ทัล])


 


   

หนังสือตัวอย่างที่ผมร่วมงานกับ สนพ. สารคดี

เล่มซ้ายขายดีหน่อย เพียง 3 เดือน พิมพ์ซ้ำ เล่มกลางขายปานกลาง พิมพ์ซ้ำครั้งที่ 3 ใน 2 ปี (& กำลังปรับปรุงใหม่)

ส่วนเล่มขวา ขายมา 2 ปีแล้วยังไม่หมดเลยครับ...ฮือ...ฮือ)


ทั้งนี้ ผมขอให้ข้อมูลในแง่ การเขียนส่งต้นฉบับให้กับสำนักพิมพ์ ซึ่งมีขั้นตอนหลักๆ อย่างนี้ครับ

  1. การจัดเตรียมต้นฉบับ
  2. การส่งให้สำนักพิมพ์พิจารณา
  3. การปรับปรุงต้นฉบับ (หากสำนักพิมพ์ตอบรับ)
  4. การจัดอาร์ตเวิร์ต / การตรวจอาร์ตเวิร์ค
  5. การรับค่าตอบแทน
  6. การตลาด / การประชาสัมพันธ์

 

 

ส่วนใครที่สนใจการเขียนนิยาย โปรดอ่าน

 คำแนะนำเกี่ยวกับการส่งต้นฉบับ (นิยาย) ให้ สนพ. ของคุณ k-jira ได้ครับ 

 

 


รายละเอียดที่สำคัญ

มีดังต่อไปนี้

 แอ่น..แอน..แอ๊น!

  •  การเตรียมต้นฉบับ
    •  เตรียมในรูป MS Word พร้อมภาพประกอบ
    • อาจส่งผ่าน E-mail ก็ได้ แต่แนะนำให้ส่งด้วย CD เพราะเป็นที่เป็นทาง เก็บแยกโฟลเดอร์ได้ และควรทำ backup สำหรับตัวเราเองได้ด้วย (1-2 ชุด)
    • นอกจาก CD แล้ว ควรส่งฉบับพิมพ์ (ซึ่งมีเลขหน้ากำกับ) ตามไปด้วย จะได้คุยกับสำนักพิมพ์รู้เรื่อง
    • ต้นฉบับ : ไม่ต้องกังวลเรื่องการจัดหน้าให้ดูดีมาก เนื่องจากจะถูกจัดใหม่ในการจัดอาร์ตเวิร์ค (artwork) อยู่ดี
    • ภาพประกอบ : หากเป็นไฟล์ ควรมีความละเอียดอย่างต่ำ 300 x 300 สำหรับภาพสี

 

  •  การส่งให้ สนพ. พิจารณา
    • จะส่งให้ สนพ. ไหน ต้องรู้ "แนว" ของ สนพ. นั้น เช่น สนพ. สารคดี เป็นแนวท่องเที่ยว / วิทยาศาสตร์/ฯลฯ สนพ. มติชน/ศิลปวัฒนธรรม เป็นแนวประวัติศาสตร์/การเมือง/ฯลฯ -> ดูง่ายๆ จากหนังสือที่มาจาก สนพ. นั้นๆ ครับ
    • เมื่อติดต่อไป สนพ. จะขอดูต้นฉบับ ซึ่งกรอบเวลาในการพิจารณาจะต่างกันไป (หากเรื่อง hot ก็อาจจะดูเร็วหน่อย แต่ปกติอาจเป็นหลักเดือน) 
    • เป็นธรรมเนียมที่ว่า หากเราส่งต้นฉบับที่หนึ่งแล้ว ไม่ควรส่งที่อื่นในเวลาเดียวกัน ยกเว้น ส่งไปแล้วเงียบไปนานมาก ในที่นี้เรามีสิทธิ์ที่จะส่งไปที่อื่น แต่หากที่ใดรับ ก็ต้องรีบแจ้งที่อื่นเพื่อไม่ให้เขาเสียเวลาพิจารณา

 

  • การปรับปรุงต้นฉบับ
    • หาก สนพ. รับงาน ก็จะมีกองบรรณาธิการอ่านอย่างละเอียด เพื่อตรวจสอบว่าต้องการข้อมูลอะไรเพิ่มเติม เช่น อาจจะขอภาพประกอบ เขียนขยายความ ขอให้เขียนคำนำ หรือขอคำแนะนำให้คนมาเขียนคำนิยมให้ ฯลฯ
    • หนังสือแต่ละเล่ม จำเป็นต้องมีบรรณาธิการมืออาชีพที่คอยดูแลทั้งเนื้อหา รูปแบบ และอื่นๆ ทั้งนี้เพราะว่า...
    • การเขียนหนังสือ ต่างจากการโพสต์ข้อความลงในอินเทอร์เน็ต เพระหากพิมพ์ผิดแล้ว ก็ผิดเลย แก้ไขไม่ได้ จนกว่า....จะได้พิมพ์ใหม่ (ใครเคยมีประสบการณ์พิมพ์ผิดตรงนี้จะรู้ว่า คำที่พิมพ์ผิดมันกระโดดออกมาทักทายเราได้ทุกครั้งที่เปิดหน้านั้น!)
    • ในทางปฏิบัติ อาจมีคนพิสูจน์อักษร ซึ่งสำนักพิมพ์บางแห่งเรียกว่า "คุณนายละเอียด" เธอหรือเขาคนนี้เป็นนักจับผิดชั้นยอด ตั้งแต่ตัวสะกด รูปประโยค ไปจนถึงวรรคตอน (ระดับครึ่งตัวอักษร) 

 

  • การจัดอาร์ตเวิร์ค / การตรวจอาร์ตเวิร์ค
    • เป็นหน้าที่ของ สนพ. แต่เราจะมีสิทธิ์ตรวจแก้อย่างน้อย 1 ครั้งก่อนพิมพ์จริง
    • หากจะแก้อะไรให้แก้ไขในขั้นตอนนี้ เพราะหลุดแล้วหลุดเลย
    • ให้ระวังข้อความสำคัญๆ เช่น ชื่อบท ตำแหน่งของภาพประกอบ ความคมชัดของภาพประกอบ ฯล

 

  • การรับค่าตอบแทน

    • เป็นความสุขอีกอย่างหนึ่งของคนเขียนหนังสือ ;-) 

  

  • แต่ละ สนพ. จะมีวิธีการแตกต่างกันไป แต่หลักๆ มีอย่างน้อย 4 แบบ (ขอไม่เอ่ยนามว่าแต่ละที่คือ สนพ. อะไร 
    • จ่าย 10% x ราคาปก x จำนวนเล่มที่พิมพ์ เช่น หนังสือเล่มละ 120 บาท พิมพ์ 3,000 เล่ม ก็จะได้ 10% x 120 x 3,000 = 36,000 บาท โดยจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเลย! (จ่ายภาษีเต็มที่ครับ ไม่มีซุก!)
    • จ่าย 10% x ราคาปก x จำนวนเล่มที่ขายได้จริง เช่น ตัวอย่างเดิม พิมพ์ 3,000 เล่ม แต่ขายจริงได้แค่ 1,000 เล่ม ก็ได้แค่ 10% x 120 x 1000 = 12,000 บาท (ยังไม่หักภาษี)
    • จ่ายเหมาสำหรับการพิมพ์ "รอบแรก" เช่น ในการพิมพ์ 5 ครั้งแรก (ไม่ว่าจะกี่เล่ม) หากพิมพ์ครั้งที่ 6 ถึงจะจ่ายเพิ่ม....(โหดเหมือนกันแฮะ)
    • ไม่จ่ายเป็นเงิน...แต่ให้เป็นหนังสือมาแทน ในกรณีของหนังสือแนวศาสนาของ สนพ. บางแห่ง (ผมเองเคยเขียนหนังสือแนวรับมือภัยธรรมชาติเล่มหนึ่ง และขอเป็นหนังสือตอบแทน ปรากฏว่า สนพ. ก็ Ok ครับ - คือ เท่ากับขายให้ผมในราคาต้นทุนนั่นเอง....ดีเหมือนกัน...เอาไปแจก)
  • หากหนังสือของคุณมีบรรณาธิการรับเชิญ (ไม่ใช่คนของสำนักพิมพ์) คุณอาจจะโดนหักค่าบรรณาธิการ เช่น คุณได้ 7% ส่วนบรรณาธิการได้ 3% เป็นต้น (ฮือ...ฮือ....ได้นิดเดียว แถมยังโดนแบ่งเค้กอีก แต่มองแง่ดีก็คือ บรรณาธิการจะช่วยให้หนังสือของคุณดีขึ้น)
  • ส่วนใหญ่ใช้โอนเงินเข้าบัญชี ที่จ่ายเป็นเช็คก็มีเหมือนกัน
  • ข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณ ใบไม้ย้อนแสง ในข้อคิดเห็นที่ 30

                     - บางสำนักพิมพ์จะจ่ายค่าแรงโดยคิดจากจำนวนบทความในหนังสือ
                     - บางแห่งคิดรวมทั้งค่าถ่ายภาพและค่าเขียน
                     - บางแห่งจะระบุว่า ค่าเขียนเท่าไร ค่าถ่ายรูปเท่าไรต่อหนึ่งบทความ
                     - บางแห่งจะจ้างช่างภาพต่างหาก แล้วจ่ายค่าเขียนบทความอย่างเดียว
                     - บางครั้งจะเป็นการเสนอผลงาน หรือรับจ้างบางองค์กรเขียน แล้วจึงไปติดต่อสำนักพิมพ์อีกทอด

 

  • การตลาด / การประชาสัมพันธ์
    • คุณทนง โชติสรยุทธ์ ผู้ก่อตั้งและ Managing Director ของ SE-ED เคยให้สัมภาษณ์ว่า "หนังสือดีไม่มีใครเห็นเนี่ย มันไม่มีความหมาย ... ท่านเขียนมาดีแล้ว มันถูกซ่อนอยู่ที่ไหน เสียเวลา เสียแรงงาน ฉะนั้นเหนื่อยเพิ่มขึ้นอีกนิดหนึ่ง ก็คือทำการวางแผนในเชิงของการตลาด...อย่าไปรังเกียจคำว่า การตลาด เพราะการตลาดคือการทำให้หนังสือดีๆ ของเราถูกเผยแพร่ออกไปได้กว้างขวางที่สุด"
    • เรื่องสายส่งนี่ก็สำคัญ สายส่งบางบริษัทอาจขอส่วนแบ่งจากราคาปกถึง 30-40% เช่น หากหนังสือราคา 100 บาท คุณก็โดนหักไปแล้ว 40 บาท (นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หนังสือที่ขายในงานสัปดาห์หนังสือลดได้หลายสิบเปอร์เซ็นต์ เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนีครับ) 
    • หากคุณ "ดัง" อยู่แล้ว ก็ยังต้องใช้การตลาดช่วย (ดูโฆษณาหนังสือของหม่ำ ของคุณหมอพรทิพย์ ฯลฯ นั่นไง)
    • แต่หากคุณไม่ดัง สนพ. ก็จะใช้วิธีการที่เหมาะสม เช่น ลงโฆษณาในสื่อ เปิดตัวหนังสือ หรือ จับคุณไปช่วยขายในงานสัปดาห์หนังสือ เป็นอาทิ  
    • หากหนังสือลงร้านแล้ว ให้รอดูไป 3 เดือน หากหนังสือขายได้ ก็แล้วไป แต่หากขายไม่ได้ หนังสือคุณอาจจะถูกลดความสำคัญลง เช่น จากหันปกหน้าออก -> หันด้านข้างออก -> เอาไปไว้ในที่ที่คนไม่เห็น -> (แย่สุด) กระเด็นออกจากร้าน (ฮือ...ฮือ)

 

หนังสือ 'แฟนพันธุ์แท้ไอน์สไตน์' จัดพิมพ์โดย SE-ED

ขายดีติดอันดับ 12 ของ SE-ED อยู่ 1 สัปดาห์ ตามกระแสไอน์สไตน์ในปี 2005

ปัจจุบัน นำมาจัดทำใหม่ในชื่อ

 

สัมพัทธภาพ : สุดยอดมรดกทางความคิดของไอน์สไตน์

โดย สนพ.สารคดี

           


 

ผมขอข้อมูลไว้ให้เท่านี้ก่อน โดยละรายละเอียดจำนวนหนึ่งเอาไว้

หากเพื่อนๆ ชาว GotoKnow ท่านใดมีข้อสงสัยก็สอบถามมาได้ตลอดเวลาครับ

(ถามได้ แต่จะตอบได้หรือไม่อีกเรื่องหนึ่ง....ฮา) 


ภาคผนวก : บันทึกข้อมูลการทำงานกับ สนพ. ต่างๆ

  • หนังสือวิชาการ (แนวตำรา) :
  • สำนักพิมพ์ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น หรือ สสท.) : 2 เล่ม
  • ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เขียน/แปล/เป็นบรรณาธิการ) : 5 เล่ม
  • หนังสือแนววิทยาศาสตร์อ่านสนุก (Popular Science)
  • สนพ. สารดคี : 9 เล่ม (เขียนเอง 6 เล่ม, เขียนร่วม 2 เล่ม แปลร่วมกับคนอื่น 1 เล่ม)
  • สนพ. สสท. 2 เล่ม
  • บ. ซีเอ็ด ยูเคชั่น จก. (มหาชน) 1 เล่ม
  • สนพ. มูลนิธิเด็ก 1 เล่ม (แปล)
  • สนพ. ร่วมด้วยช่วยกัน 1 เล่ม
  • หนังสืออ่านประกอบสำหรับคุณครู
  • สนพ. สารคดี 2 เล่ม
  • สนพ. สสท. 1 เล่ม
  • มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ 1 เล่ม

 


ดูตัวอย่างหนังสือที่ผมเขียนจากเว็บของร้าน SE-ED

 


หมายเลขบันทึก: 80689เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2007 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (85)

 

ขอบคุณค่ะอาจารย์ ข้อมูลของอาจารย์ครอบคลุมมากเลยค่ะ ^_^

สำหรับ k-jira ขออนุญาตแจม เฉพาะเรื่องการส่งต้นฉบับนิยาย นะคะ ซึ่งได้เขียนไว้ที่บันทึกนี้ คำแนะนำเกี่ยวกับการส่งต้นฉบับ (นิยาย) ให้ สนพ. แล้วค่ะ

ขอบคุณค่ะ ^__^

อาจารย์คะ  เป็นประโยชน์มากๆเลยค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์มากนะคะ

กำลังจะตามไปอ่านบันทึกของคุณ k-jira ด้วยค่ะ :)

ปล.แอบตามมารออ่านบันทึก "คำฟังผิด"จากอาจารย์ด้วยค่ะ 

 

ขอบคุณพี่ชิว และ คุณ k-jira มากค่ะ ขออนุญาตแนะนำทั้งสองบันทึกให้สมาชิกได้ทราบโดยทั่วกันนะค่ะ

ได้ความรู้เพิ่มเยอะเลยครับ แต่ผมเขียนคงไม่มีใครซื้อ 55555 อ่านเองมันส์กว่าครับ

ขอบคุณครับ
  ได้ความรู้มาก  เขียนทิ้งๆขว้างๆไว้มากมาย ไม่แน่อาจมีวันหนึ่งก็ได้ ที่เขียนให้เขาพิมพ์ แล้วก็อ่านเองก็ยอม

ขอบคุณทุกท่านที่สนใจครับ

เชื่อว่าเดี๋ยวจะมีอีกหลายท่านให้ข้อมูลเพิ่มเติมมา อย่างในกรณีการเขียนนิยายของคุณ k-jira นี่ก็อ่านสนุกดี และน่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้นักเขียนเรื่องสั้น/นิยายอีกหลายท่านนะครับ :-)

สวัสดีท่านดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

ขอขอบคุณในรายละเอียด ข้อคิดครับ แต่เรื่องมีอยู่ว่าถ้าหากทางสำนักพิมพ์ฯไม่รับเรื่อง แต่เอาเรื่องเราไปประยุกต์ใช้ หรือมีกลอุบายอื่นๆจะต้องทำอย่างไรครับ(แหมยังไม่ได้เขียนเลย..คิดไปโน่น)

ปล.เคยคิดอยากเขียน(พูดในใจ)แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร

                 ไม่ค่อยแข็งแรงด้านไอทีครับ

 

สวัสดีครับ

        ผมคิดว่า 'แรงบันดาลใจ' ของการเขียนหนังสือ ก็คือ เรารู้สึกว่าเรามี 'อะไรบางอย่าง' ที่อยากบอกให้คนอื่นได้รับรู้

        อะไรบางอย่างที่ว่านี้อาจจะเป็นเรื่องเล็กๆ หรือเรื่องสำคัญยิ่งยวดก็ได้ แต่เป็นเรื่องที่เราเชื่อมั่นว่า น่าสนใจ เพราะมีข้อมูลใหม่ มีมุมมองแตกต่างจากที่รับรู้กัน

        เรื่องไอทีอาจจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ครับ

        เพื่อนๆ ชาว GotoKnow ท่านอื่นคิดว่าอย่างไรครับ :-)

 (ถามผ่าน 'สอบถาม ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ)
คุณฮิกส์แมน เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 20:52 (177279)
ขอบคุณครับ อาจารย์ ผมกำลังศึกษาหาวิธีการเขียนหนังสือส่งให้สำนักพิมพ์ตีพิมพ์ จำหน่ายพอดี เพราะตอนนี้ ไส้แห้งอย่างแรง พอดี
พอมีวุฒิ หน่อย เลยอยากเขียนหนังสือสักเรื่อง เลี้ยงปากท้อง ข้อมูลของพี่มีประโยชน์มากเลยครับ
.............................................................................
 สวัสดีครับ คุณฮิกส์แมน

          ด้วยความยินดีครับ ว่าแต่หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรหรือครับ (จะได้ช่วยคิดสำนักพิมพ์ให้)

ขอบคุณทั้งสหายชิวและคุณ k-jira ครับ ครอบคลุมแต่ไม่คลุมเครือ 

ตอนนี้ของขึ้น กำลังร่ำ ๆ คิดจะเขียนนิยายอยู่ ได้คำแนะนำดี ๆ มาอย่างนี้ ชอบ ชอบ

แต่กลัวน้องฟ้าจะไม่ปล่อยให้มีเวลาได้ง่าย ๆ อย่างที่คิดน่ะสิ ฮือม์...

อ่า...อีกไม่นานคงจะได้อ่านนิยายฝีมือ ดร.แป๋ง แล้ว

จอง 1 เล่ม พร้อมลายเซ็นครับ ;-)

ส่วนน้องฟ้านี่ ก็ใช้วิธีมือซ้ายเลี้ยงลูก มือขวาขยับเมาส์ครับ (ตอนผมเขียนหนังสือเล่มแรก ก็เขียนไป เลี้ยงไปเหมือนกันนะ...จะบอกให้ :-P)

เจริญพร ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

อาตมาเคยเขียนหนังสือเล่มเล็กๆ หลายเล่ม พิมพ์เผยแพร่ในงานบุญตามวาระ ...

มีผู้แนะนำว่าให้ลองเสนอสำนักพิมพ์ แต่รีรอมาตลอด อยากขอคำแนะนำในการเสนอสำนักพิมพ์เพิ่มเติม...

เจริญพร

กราบนมัสการ หลวงพี่พระมหาชัยวุธ

        ผมได้รวบรวม รายชื่อสำนักพิมพ์ที่จัดทำหนังสือแนวศาสนา ปรัชญาและจิตวิญญาณ และได้โทรไปสอบถามข้อมูลเบื้องต้นจาบางแห่งแล้ว พบว่าขั้นตอนเป็นดังนี้ครับ

  • เลือก สนพ. ที่คาดว่าน่าจะสนใจผลงานของเราก่อน โดย

                 - ดูตัวอย่างหนังสือที่สำนักพิมพ์ดังกล่าวเคยจัดทำมาก่อนว่าน่าจะตรงกับแนวเนื้อหาที่เราต้องการนำเสนอไหม

                 - ดูการตลาดของ สนพ. นั้นจากการวางจำหน่ายในร้านหนังสือชั้นนำ (เช่น SE-ED, ร้านนายอินทร์, ร้าน B2S) หรือการกระจายเข้าสู่กลุ่มเป้าหมาย (เช่น ระบบการขายตรงเข้าสู่สถาบันหรือองค์กรต่างๆ) รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ ด้วยครับ

  • ติดต่อ สนพ. เพื่อสอบถามผู้ที่มีหน้าที่พิจารณาเบื้องต้น (ผู้ประสานงาน) แจ้งความประสงค์ของเรา และขอข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการพิจารณาหนังสือ (สำคัญ - ขอทราบกรอบเวลาในการตัดสินใจ หากช้ากว่ากำหนด อาจต้องคอยติดตามเป็นระยะ แต่หากช้ามากๆ ก็อาจพิจารณาส่ง สนพ. อื่น)

  • ต้องตกลงกับ สนพ. ให้ชัดเจนว่าการจัดทำหนังสือเป็นการว่างจ้างให้พิมพ์ (เสียค่าใช้จ่าย) หรือ เสนอให้สำนักพิมพ์จัดพิมพ์เผยแพร่ให้ (ได้ค่าตอบแทน แต่อาจเป็นหนังสือ หรืออื่นๆ ตามแต่การตกลง)

  • จัดเตรียมต้นฉบับเพื่อส่งให้สำนักพิมพ์ (สนพ.) พิจารณา) หากเคยทำเป็นหนังสือแล้ว และพอมีเหลือ ก็ส่งหนังสือไปให้ได้ หากยังไม่มี ให้จัดพิมพ์ส่งไป (พร้อมสารบัญ) ในขั้นตอนแรกนี้ ยังไม่ต้องให้ไฟล์ข้อมูลไปครับ

จึงกราบเรียนมาด้วยความเคารพ

บัญชา ธนบุญสมบัติ

  • ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลครับ

 

พี่ชิวค่ะ แวะมาบอกว่า ได้แนะนำบันทึกนี้ให้แก่สมาชิก GotoKnow แล้วนะค่ะ

Blog to Book: แนวทางการพิมพ์หนังสือกับสำนักพิมพ์

ขอบคุณมากค่ะ :)

ตามมาอ่านครับ...

ขอบคุณนะครับ...

ขอยืนยันข้อมูลของ ดร. ครับ เพราะที่สถาบันที่ผมทำงานอยู่ก็ให้อัตราแบบแรกคือ 10% ไม่มีหัก แต่ใจดีหน่อยคือจ่ายให้ทันทีที่หนังสือวางจำหน่าย ส่วนขายได้หรือไม่เป็นความเสี่ยงของผู้ผลิต ดังนั้นนักเขียนจึงต้องผ่านการคัดสรรเข้มงวดนิดนึง ยกตัวอย่างทางสถาบันมีวารสารราย 2 เดือน ดังนั้นอาจจะขอให้ลองส่งมาเป็นบทความ 3-4 หน้า ดูก่อน ถ้าผ่านการพิจารณาได้ลงพิมพ์ซัก 3-4 ครั้งก็ถือว่าใช้ได้ ทางกองบรรณาธิการจะดูเรื่องสำนวน ความถูกต้อง และที่สำคัญต้องแก้ภาษาให้เยอะหรือไม่ ถ้าต้องแก้ไขน้อยมากก็ถือว่าใช้ได้ เราก็จะให้ผู้เขียนส่งโครงร่างเนื้อหามาพิจารณาก่อน อันนี้กรณีที่ไม่มีต้นฉบับสำเร็จมานะครับ แต่กรณีที่มีต้นฉบับสำเร็จมาก็ง่ายพิจารณาแล้วพอใจ ก็เซ็นสัญญากันเลย แต่สำหรับสถาบันจะมุ่งเน้นหนังสือแนวการจัดการ (Management) หรือการพัฒนาตนเอง (Self Development) เท่านั้นครับ

สวัสดีทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมนะครับ :-)

        ขอบคุณ อาจารย์จำลักษณ์ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติด้วยครับ

        ใครมีต้นฉบับแนวการจัดการ หรือการพัฒนาตนเอง อย่างที่อาจารย์จำลักษณ์บอกไว้ และสนใจก็ลองติดต่อไปได้เลย (เอ!...ใช้เส้นอาจารย์จำลักษณ์ได้อ้ะเปล่าครับ...แหะ..แหะ)

        เรื่องค่าตอบแทนนี่ บางที่ก็ให้ถึง 12% (ในครั้งแรก) + ค่าพิมพ์ต้นฉบับเอง หน้าละ 20 บาท/1 หน้า A4 ก็มีนะครับ แต่ถ้าพิมพ์ครั้งต่อๆ ไปก็เหลือแค่  10% ครับ

ผมเห็นด้วยที่จะต้องจ่ายให้บรรณาธิการด้วย ของผมๆ ยินดีครับ เพราะเขาช่วยเราได้มากจริงๆ แต่ สนพ.ควรให้เราได้เห็นชอบกับคนที่เขาหามาก่อน เพราะเราเป็นคนจ่ายค่าจ้าง

ผมว่าข้อเขียนนี้คือตัวอย่างที่ดีที่สุดอันหนึ่งของการเขียนบล็อกประเภทที่ทำ tacit knowledge ออกมาเป็น explicit knowledge  ผมให้ 5 ดาวเลยครับ

êêêêê

ขอบคุณอาจารย์สุรเชษฐมากครับสำหรับกำลังใจที่ให้มา

ทำให้ผม (คิดว่า) เข้าใจคำว่า tacit knowledge ขึ้นอีกนิดหนึ่งด้วย เพราะตอนเขียนบันทึกนี่ก็ลุยไปเลย ไม่ได้มีอะไรอ้างอิงทั้งนั้น แล้วค่อยๆ มาเติมรายละเอียดที่นึกได้อีกที

เรียน อ. ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ค่ะ ..ดิฉันได้พบกับท่านอ.หมอ ปารมี จากพยาธิ มอ...เราได้คุยกันและท่านพุดถึงการที่เขียนบันทึกสนุกๆแล้วรวมเอามาตีพิมพ์ได้...น่าสนใจค่ะพอดีดิฉันมาอ่านพบรายละเอียดในบันทึกของท่านยิ่งน่าสนใจใหญ่เลย...ขอบพระคุณค่ะ...และเรียนถามเพิ่มเติมอีกเรื่องค่ะ ...อาจารย์ใส่รูปในไฟล์อัลบั้มได้ยังไงคะ ดิฉันใส่แล้ว...พอบันทึกเขาให้ใส่คำหลักทั้งๆที่ใส่คำหลักไปแล้ว...เลยเอาลงไฟล์อัลบั้มไม่ได้...ดิฉันจะถามใน"คำถามใหม่"ของอาจารย์....ก็ติดที่...คำหลัก....ที่พิมพ์แล้วไม่ยอมรับข้อมูลเช่นกันค่ะ...ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ คุณกฤษณา

        ได้บันทึกตอบไว้ใน blog ของคุณกฤษณาแล้วนะครับ

ให้ข้อมูลเพิ่มนิดหนึ่งครับ .....ผมเคยสัมภาษณ์ท่านอาจารย์ปรีชา ช้างขวัญยืน เมื่อปีสองปีมาแล้ว ค่าต้นฉบับที่ สำนักพิมพ์จุฬาฯ จ่ายอยู่ที่ 15% ครับ พูดได้ว่า มากกว่าสำนักพิมพ์ไหนแล้วครบ .....ส่วนที่ฐานการพิมพ์จะให้ที่ 10% ครับ โดยงวดแรกจะจ่ายหลังจากหนังสือพิมพ์ออกวางแผงแล้ว วันเวลาผมไม่แน่ใจว่า 15 วันหรือเปล่า (โทรถามที่สำนักพิมพ์ได้)แต่ถ้ามีพิมพ์ครั้งที่สองเกิดขึ้นจะจ่ายอีกภายใน 45 วัน (โดยประมาณ) เพราะต้องรอสายส่งเช็คยอดด้วย .....สำหรับที่ฐานการพิมพ์นั้น เขาจะเน้นทุกแนวครับ ผมให้ข้อมูลเท่านี้ก่อนนะครับ *********
อีกนิด ...ผมสนใจประเด็น "การจัดการความรู้ในภาคการศึกษา" ใครสนใจเขียนเป็นบทความหรือพ็อกเก็ตบุ๊ก ติดต่อผมได้ที่อีเมล [email protected] นะครับ ....ผมมีโครงการจะวางขายครับ ....ข้อตกลงหรืออื่น ๆ เมลคุยกันได้ครับ ปล. เคยติดต่อ อาจารย์หลายท่านแล้ว (ถามมามากกว่า 10 คนในบล็อก KM นี้แหละ) ไม่รับเขียนครับ แม้ว่าจะเป็นบทความก็ตาม (หาคนเขียนยากจริง ๆ)

สวัสดีครับ คุณวรสิทธ

         ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับ การจ่ายค่าต้นฉบับของ สนพ. จุฬาฯ ขอเพิ่มให้อีกนิดว่า สนพ. จุฬาฯ มีสายส่งของตนเองด้วยครับ

         เรื่องการเขียน

                    "การจัดการความรู้ในภาคการศึกษา"

นี่ ท่านใดสนใจก็ติดต่อคุณวรสิทธได้เลยนะครับที่

                              [email protected]

        ส่วนผมถ้านึกถึงใครที่พอจะสนใจด้านนี้ ก็จะลองสอบถามให้ครับ :-)

 

แล้วโอกาสที่เราจะพิมพ์เองขายเองโดยไม่พึ่งสำนักพิมพ์ มันจะมีโอกาสไหมครับ

สวัสดีครับ คุณ hope

มีหลายท่านที่พิมพ์เอง ขายเองครับ แต่ในกรณีนี้ต้องหาคนทำ artwork หาโรงพิมพ์ และหาคนทำการตลาดให้ (สายส่ง)ครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์บัญชา

  • ใบไม้ย้อนแสงขออนุญาตให้ข้อมูลเพิ่มเติมนะคะ
  • จากประสบการณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ของตัวเองนั้น บางสำนักพิมพ์จะจ่ายค่าแรงโดยคิดจากจำนวนบทความในหนังสือค่ะ บางแห่งคิดรวมทั้งค่าถ่ายภาพและค่าเขียน บางแห่งจะระบุว่า ค่าเขียนเท่าไร ค่าถ่ายรูปเท่าไรต่อหนึ่งบทความ และบางแห่งจะจ้างช่างภาพต่างหาก แล้วจ่ายค่าเขียนบทความอย่างเดียวค่ะ
  • และในบางครั้งจะเป็นการเสนอผลงานหรือรับจ้างบางองค์กรเขียน แล้วจึงไปติดต่อสำนักพิมพ์อีกทอดค่ะ

สวัสดีครับ คุณ ใบไม้ย้อนแสง

       ขอบคุณมากเลยครับที่แวะมาเยี่ยมเยียม แถมฝากข้อมูลอันมีค่าไว้ด้วย

       ผมขออนุญาตนำไปผนวกไว้ในบันทึกด้วยเลยนะครับ ^__^

สวัสดีค่ะ มีข้อมูลเกี่ยวกับอาการของคนป่วยเป็นโรคไบโพลา(อารมณ์แปรปรวน)ที่คนจำนวนมากเป็นแต่มักไม่รู้ตัว ไม่ทราบว่าเนื้อหาอ่อนไปที่จะส่งเป็นต้นฉบับมั้ยคะ?

สวัสดีครับ คุณพา

        ในกรณีที่จะตีพิมพ์หนังสือผ่านสำนักพิมพ์ (สนพ.) ก็ต้องส่งให้ทาง บรรณาธิการ สนพ. เป็นผู้ตัดสินใจครับ อย่างในกรณีนี้ ผมนึกถึง สนพ. หมอชาวบ้าน เป็นต้น

        สำหรับสำนักพิมพ์อื่น ลองแวะตามร้านหนังสือดูหนังสือแนวการแพทย์-สุขภาพ แล้วดูว่าเขาพิมพ์หนังสือที่มีเนื้อหาในลักษณะที่ต้องการจะนำเสนอหรือไม่ครับ

        ขอให้โชคดีครับ ^__^

ดิฉันมีความสนใจอยากแปลหนังสือไม่ทราบว่าควรเริ่มอย่างไรและติดต่อสำนักพิมพ์เพื่อขอแปลได้อย่างไรคะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ คุณ blueworld

       แต่ละสำนักพิมพ์จะผลิตและทำการตลาดหนังสือในแนวที่ตนเองถนัดครับ เช่น

  • NANMEE จับหนังสือที่เน้นเด็กและเยาวชน หนังสือวิทยาศาสตร์ การศึกษา ฯลฯ หากเป็นหนังสือแปล ก็จะเป็นแนวนี้ เช่น วรรณกรรมเยาวชน หนังสือวิทยาศาสตร์ที่แปลจากหนังสือต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ ภาษาเกาหลี ฯลฯ)
  • มติชน & ค่ายศิลปวัฒนธรรม จับหนังสือแนวการเมือง ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
  • เครือ NATION จับหนังสือแนวบริหารจัดการ เศรษฐกิจ การเงิน ฯลฯ 

       ดังนั้นในเบื้องต้น

       1) ต้องดูว่าหนังสือที่อยากจะแปลออกมานั้นจัดอยู่ในกลุ่มใด เป็นหนังสือแนวสารคดี วรรณกรรม สื่อการเรียนการสอน ปกิณกะ ฯลฯ

       2) จากนั้น ลองสอบถามไปที่กองบรรณาธิการของสำนักพิมพ์ที่จัดพิมพ์หนังสือในแนวนั้นครับ 
       หากยังไม่ทราบว่าสำนักพิมพ์ใด วิธีการที่ง่ายที่สุดคือ เข้าไปในร้านหนังสืออย่าง SE-ED, B2S, ร้านนายอินทร์ แล้วตรงเข้าไปที่หมวดหนังสือดังกล่าว และจดออกมาว่า สำนักพิพม์ใดบ้าง (เรื่องที่อยู่ของสำนักพิมพ์อาจดูได้จากในหนังสือที่เห็น หรือค้นจากเว็บ)
        ในขั้นนี้ หากมีโอกาสได้ไปที่สำนักพิมพ์ ก็จะได้พูดคุยสอบถามเขาในรายละเอียดได้

       3) หากมีผลงานแปล หรืองานเขียนมาก่อนแล้ว ก็สามารถใช้อ้างอิงได้ เพื่อให้ทางสำนักพิมพ์ได้เห็นผลงานและมีความมั่นใจว่างานแปลที่ได้จะมีคุณภาพครับ
      

       4) ลองคุยกับหลายๆ สำนักพิมพ์นะครับ เพราะโอกาสไม่ง่ายนัก ที่เสนอไปปุ๊บ เขาจะรับปั๊บ และขอเงื่อนไขในการพิจารณาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเวลา เช่น เขาจะตอบกลับว่า รับ/ไม่รับ ภายในเวลานานเท่าใด (ไม่งั้นเรารอแย่เลย...)

       ขอให้โชคดีครับ ^__^

  • ธุค่ะ..

เคยฝัน(คาดหวัง/คิดหวัง)มาตั้งแต่เด็กๆ ว่า..อยากจะมีหนังสือของตัวเองสักเล่มหนึ่งค่ะ   ^^ 

สวัสดีครับ น้องต้อม เนปาลี

       ดีจังครับ เขียนในเรื่องที่เราอยากจะเล่าให้คนอื่นฟังครับ โดยเฉพาะเรื่องที่มุมมองแปลกใหม่ที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง

สวัสดีครับ

ขออนุญาตเล่าเพิ่มเติมเรื่องการเตรียมตัวนะครับ

สำหรับหนังสือแปล

1. ก่อนจะแปล (บางท่านอาจแปลไปแล้ว) ค้นก่อน ว่ามีคนแปลเรื่องนี้มาบ้างแล้วหรือไม่ ถ้ามีคนแปลไว้แล้ว ควรหาอ่าน เพื่ออะไรคงไม่ต้องบอก

2. ถ้าเป็นไปได้ ตรวจสอบว่าใครถือลิขสิทธิ์ในประเทศไทย (ถ้ามีคนติดต่อลิขสิทธิ์แล้ว เราหมดสิทธิ์เลยครับ เขาอาจซื้อลิขสิทธิ์มา แต่ยังไม่ได้แปลก็ได้) ปัจจุบันการทำหนังสือแปล โดยเฉพาะหนังสือดังๆ ค่อนข้างยากครับ เพราะสำนักพิมพ์จะติดต่อลิขสิทธิ์ และมีนักแปลอยู่แล้ว (บางสำนักพิมพ์ให้คนแปลจ่ายค่าลิขสิทธิ์เอง หรืออาจเสนอให้ติดต่อลิขสิทธิ์ด้วย ถ้าสนพ ไม่สันทัดเรื่องหนังสือแปล แต่ต้องการพิมพ์)

3. แปลเป็นตัวอย่างสักบทสองบท หรือสามบท (ถ้าไม่อยากเสี่ยงแปลทั้งเล่ม แล้วไม่ได้พิมพ์) ทำสรุปให้เรียบร้อย หรือเตรียมข้อความจูงใจสำหรับเขียนปกหลังด้วยก็ได้ และควรแปลคำนำของหนังสือเสมอ

4. บางสนพ. อาจไม่คุ้นเคยกับหนังสือที่เราเสนอ เขาอาจถามถึงกลุ่มเป้าหมายของหนังสือเรา ควรจะเตรียมคำตอบเอาไว้ จำไว้เสมอว่า เรากำลังเสนอให้เขา "ลงทุน" เป็นหลักแสน

5. บางสำนักพิมพ์สังกัด "เงียบสูญ" ถามแล้วถามเล่า ก็ผัดผ่อนเรื่อยไป รับหรือไม่รับก็ไม่บอกสักที อย่างนี้บอกยกเลิกไปได้เลยครับ ;)

สวัสดีครับ อ.หมู

        แจ๋วไปเลยครับ พี่ว่านำไปเขียนเป็นอีกบันทึกหนึ่งเลยดีไหม แล้วเชื่อมโยงทั้ง 3 บันทึกเข้าด้วยกัน

       - การตีพิมพ์หนังสือแปล (ของอาจารย์)
       - การตีพิมพ์นิยาย (คุณ k-jira)
       - การตีพิมพ์หนังสือทั่วๆ ไป (บ้นทึกนี้)

อยากเขียนแนวลูกทุ่ง หรือเกี่ยวกับวิถึชีวิตชาวบ้าน

คล้ายทุ่งแสงตะวันครับ

แต่ไม่รุ้จะเริ่มอย่างไร?

เราควรเริ่มอย่างเป็นกระบวนการอย่างไรครับ

อยากเขียนครับ

สวัสดีครับ

        ไม่ทราบว่าจะเขียนเป็นบทความ หรือเขียนเป็นหนังสือครับ ถ้าเป็นบทความลงตามนิตยสารก่อน ก็จะง่ายกว่า

สวัสดีครับ อาจารย์ บัญชา

     อยากขอคำแนะนำเพิ่มเติมครับ คือ ผมอยากจะเขียนเป็นหนังสือเตรียมสอบ เสริมประสบการณ์ อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง ลิขสิทธิ์ การอ้างอิง (ข้อความ/โจทย์ จาก หนังสืออื่น หรือ textbooks) และแนะนำสำนักพิมพ์ด้วยครับ

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ คุณ Metallurgist

        ในกรณีของหนังสือตำรา

        หากเป็นหนังสือแปลทั้งเล่ม : ให้ สนพ. ที่คาดว่าจะจัดพิมพ์เป็นผู้ขอลิขสิทธิ์จะดีกว่าครับ

        หากเป็นหนังสือเขียนเอง : พยายามใช้ภาพของตนเองให้มากที่สุด ถ้าเป็นแผนภาพ อาจให้ สนพ. จัดทำให้ แต่ถ้าเป็นภาพถ่ายที่มาจากแหล่งอื่น เช่น หนังสือ หรือ Internet ถ้าไม่มากจนเกินไป ก็ใส่ที่มาไว้ได้ครับ (แต่ต้องระวังเหมือนกันว่า ถ้าเจ้าของเขาหวง และย้ำไว้ว่าห้ามใช้ ก็ไม่ควรใช้ครับ)

        เรื่องสำนักพิมพ์นี่ ลองสังเกตจากตำราแนวเดียวกันที่มีอยู่ในท้องตลาดครับ ผมเองเคยทำตำรากับเฉพาะ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

        ยังไงช่วงวันทำงาน โทรไปหาผมที่ สวทช. ได้ที่ (02) 564-6500 ต่อ 4406 ครับ 

  • เป็นบุญของครูวรางค์ภรณ์ที่ได้อ่านเจอบันทึกนี้
  • กำลังมีปัญหาในเรื่องการทำหนังสือยู่พอดีเลยค่ะ
  • ขออนุญาตนำบันทึกนี้เข้าแพลนเน็ตของครูวรางค์ภรณ์เลยนะคะ
  • อยากทำรวมเรื่องสั้นสัก 1 ชุด
  • ตอนทำเล่มต้นฉบับ จะทำอย่างไรดีคะ
  • ช่วยแนะนำหน่อยนะคะ
  • อยากทำด้วยตัวเอง
  • พิมพ์ลงเอสี่ไว้ครบหมดแล้ว ตอนนี้ใช้ทดลองเป็นหนังสือส่งเสริมการอ่านให้นักเรียนอยู่
  • แต่อยากมีรวมเรื่องสั้นเป็นของตัวเอง
  • มีปัญหาเรื่องการจัดรูปเล่ม คิดว่าจะใช้ประมาณครึ่งหนึ่งของเอสี่
  • กรุณาครูวรางค์ภรณ์หน่อยนะคะ
  • ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

ขอบคุณมากครับ อาจารย์

           ที่ตั้งใจไว้ก็คงจะเป็นหนังสือเขียนเองครับ ตอนนี้ก็มีที่พิมพ์ไว้ไม่กี่บทครับ

            รบกวนถามเพิ่มครับ ถ้าโจทย์แบบฝึกหัดที่คิดไว้ว่าจะใส่ล่ะครับ ถ้านำมาจาก textbook แล้วแปลเป็นภาษาไทย โดยอ้างอิงชื่อผู้แต่งจาก textbook ไว้ที่ต้นโจทย์จะได้ไหมครับ หรือจะต้องขออนุญาติจากผู้แต่งครับ (เพราะเห็นจากหนังสือที่เป็นลักษณะสรุปย่อ พร้อมกับมีโจทย์แบบฝึกหัดลักษณะที่ว่าครับ)

          ตัวผมตอนนี้เป็นนิสิตปริญญาโทสาขาวิศวกรรมโลหการครับ กำลัง(น่าจะ)จบในอีก 1 เทอมครับจะมีปัญหาเวลาที่นำเข้าไปให้สำนักพิมพ์พิจรณาในแง่ของความน่าเชื่อถือของผู้แต่งไหมครับ

         ส่วนเรื่องสำนักพิมพ์จะลองไปสำรวจดูตามแผงหนังสือแล้วรวบวมข้อมูลดูครับ

         ต้องขอขอบคุณอาจรย์อีกครั้งหนึงครับ แล้วถ้ายังไงอาจจะรบกวนปรึกษาอีกครับ

 

ปล ความจริงตั้งใจว่าเรียนจบแล้วจะไปสมัครงานที่ MTEC ไม่รู้ว่าจะมีตำแหน่งผู้ช่วยนักวิจัยว่างๆไหมครับ ^_^

สวัสดีครับ คุณครู วรางค์ภรณ์ เนื่องจากอวน

        เรื่องทำหนังสือ Pocket Book นี่ ถ้าให้ทาง สนพ. ช่วยจัดทำให้ ก็ไม่ต้องกังวลกับ layout (รูปแบบการจัดวางข้อความและภาพในหนังสือ) ครับ เพราะเจ้าหน้าที่ฝ่ายศิลป์จะเป็นผู้ทำให้

        ทั้งนี้ผู้เขียนส่งไฟล์เป็น MS Word หรือไฟล์ในฟอร์แมตอื่นๆ ที่สำนักพิมพ์สามารถอ่านได้ พร้อมภาพประกอบ

        ถ้าผมตอบยังไม่ตรงประเด็น ก็สอบถามมาได้โดยตรงที่

            buncht (at) mtec.or.th โดยแทนตัว (at) ด้วย @ นะครับ

        หรือจะโทรมาที่ทำงานได้ที่ (02) 564-6500 ต่อ 4406 ครับ

       

สวัดสีครับ คุณ Metallurgist

        ปกติแล้วโจทย์ทางโลหะวิทยา (metallurgy) นี่ไม่ได้แหวกแนวอะไรนัก เพราะเป็นเรื่องทางวิชาการ ถ้าแปลมา ก็ให้ credit ต้นฉบับไว้ใน เอกสารอ้างอิง ก็น่าจะเพียงพอครับ

        เรื่องความน่าเชื่อถือนี่ คงจะไม่ใช่ปัญหานัก เพราะน้องจบด้านวิศวกรรมโลหการ หรือโลหะวิทยามาตั้งแต่ ป.ตรี ใช่หรือเปล่าครับ แต่ที่สำนักพิมพ์อาจจะสนใจมากหน่อย ก็คือ เนื้อหาของหนังสือว่าจะมีตลาดหรือไม่ครับ

        เรื่องตำแหน่งที่ MTEC สามารถสอบถามได้จากฝ่ายบุคคล เพื่อดูว่ามีตำแหน่งว่างไหม หรือถ้ารู้จักคนใน MTEC ที่อยู่ตรงกลุ่มวิศวกรรมโลหะ (มีหลายกลุ่ม ก็ถามจากคนในก่อนเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นได้ครับ)

Y_Y คงเป็นเพราะผมเขียนไม่ละเอียดเองอ่ะครับ

       ความตั้งใจของผมคือ หนังสือในระดับ ม.ปลายก่อน ครับ ถ้าประสบความสำเร็จก็จะได้ลองเขียนดูอ่ะครับ

 

ขอบคุณสำหรับคำตอบของอาจารย์ครับ

สวัสดีครับ

      ได้เลยครับ ถ้ามีคำถามอะไรก็เขียนมาถามได้ตลอดนะครับ

  • ตามมาซื้อหนังสือสามเล่มครับพี่ชิว
  • อิอิๆๆ
  •    
  • ขอบคุณมากครับที่ตอบละเอียดมากๆๆ
  • คงต้องขอข้อมูลเพิ่มครับ

อ.แอ๊ด

       ด้วยความยินดีครับ มีอะไรสงสัย ก็ e-mail ถามมาได้เลยครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์บัญชา

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆ ทั้งจากอาจารย์และพี่ๆที่เข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นค่ะ

เป็นประโยชน์มาก ดิฉันตั้งใจจะทำหนังสือแนววิชาการ โดยจะพิมพ์และขายเอง

แต่ไม่มีความรู้เรื่องการตลาดเลย ไม่ทราบว่าต้องเริ่มต้นติดต่อขายกับใคร ที่ไหน

ประชาสัมพันธ์โฆษณาอย่างไร

รบกวนอาจารย์ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์ madame

        เรื่องพิมพ์เองนี่ อาจคุยกับโรงพิมพ์ดูครับว่าเขาจะช่วยจัด artwork ให้ได้ไหม ถ้าไม่ได้ ก็ต้องจ้างพวกรับงานอิสระ (freelance) มาจัดให้ แล้วส่งโรงพิมพ์

        ส่วนเรื่องวางขายนี่ อาจลองคุยกับ "สายส่ง" ดูครับ อาจารย์อาจจะลองเปิดหนังสือในแนวเดียวกับที่อาจารย์คิดจะเขียนดู แล้วดูตรงที่ "จัดจำหน่ายโดย" ลองติดต่อไปนะครับ

        ปกติ "สายส่ง" จะคิดค่าจัดส่งและวางตลาดประมาณ 40% ของราคาปกของหนังสือครับ

ขอบคุณค่ะ

ตั้งใจว่าจะจ้าง freelance ทำ artwork และ พิมพ์หนังสือให้เลย

แต่ถ้าต้องการจำหน่ายเอง โดยไม่ผ่านสายส่งหรือร้านขายใหญ่

จะทำได้ไหมคะ

รบกวนอีกครั้งค่ะ

madame

สวัสดีครับ อาจารย์ madame

        ผมเองยังไม่เคยมีประสบการณ์ไปวางขายด้วยตนเองครับ จึงตอบได้ไม่ถนัด

        แต่ถ้าอาจารย์มีร้านจำหน่ายเป้าหมายในใจอยู่แล้ว (เช่น ศูนย์หนังสือตามมหาวิทยาลัย) ก็อาจติดต่อไปได้โดยตรง

        เท่าที่อาจารย์บอกผมมา เป็นหนังสือวิชาการ ผมคิดว่าถ้าลองคุยกับศูนย์หนังสือจุฬาฯ ก่อนก็อาจจะได้ข้อมูลช่วยในการตัดสินใจได้นะครับ

ขอคำแนะนำค่ะ

กำลังอยากเขียนหนังสือ แนวท่องเที่ยวตามรอยภาพยนต์ คือจะเป็นงานเขียนถึงการ์ตูนเรื่องหนึ่ง โดยพาเดินทางท่องเที่ยวไปตามสถานที่ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการ์ตูน แล้วโยงเหตุการณ์ต่างๆ ในเรื่องเข้ากับเหตุการณ์และสถานที่จริง ซึ่งในความจริงแล้วตัวละครในเรื่องถูกสร้างขึ้นจากชีวิตจริงของคนคนหนึ่งนะคะ แต่ไม่ทราบว่าหนังสือแนวนี้ ควรติดต่อสำนักพิมพ์ใหนดีนะค่ะ

สวัสดีครับ

        ฟังคร่าวๆ แค่นี้ยังนึกไม่ออกเลยครับว่าตรงกับแนวของ สนพ. ไหน

        วิธีการหนึ่งก็คือ ลองไปที่ร้านหนังสือขนาดใหญ่หน่อย แล้วหาหนังสือในแนวนี้ดูว่า มี สนพ. ไหนจัดพิมพ์บ้างครับ

        ตอนนี้ผมนึกถึง สนพ. มติชน ที่อาจจะเข้าข่ายครับ (สนพ.นี้เคยทำหนังสือ การ์ตูนที่รัก ออกมา)

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ อยากขอคำแนะนำอีกนิดนึงค่ะ ว่าแนวคิดของตัวเอง หนังสือที่ออกมา

ยากเกินไปมั้ยคะ สำหรับคนอ่าน เพราะตัวเองชอบและหลงไหลตัวการ์ตูนในเรื่อง แล้วเกิดอยากเดินตามรอยตัวการ์ตูนในเรื่องขึ้นมา ก็เลยมีความคิดอยากเอามาเขียนเป็นหนังสือ แล้วส่วนตัวก็ยังเป็นเขียนมือใหม่ด้วยนะคะ

ขออนุญาติขอความรู้คะ ในช่วงการเตรียมต้นฉบับ ถ้า เราคิดว่า ในหนังสือเราจะมี เรื่องยอ่ย ทั้งหมด 10เรื่อง เราจำเป็นต้องเขียนให้หมดทั้งสิบเรื่อง เลยหรือว่า เขียน เป็น ตัว อย่างซัก ห้าเรื่อง แล้วส่งให้ สนพ พิจรณา ก่อนได้หรือเปล่าคะ

สวัสดีครับ คุณกิ๊ก

         ผมคิดว่าขึ้นกับวิธีการนำเสนอครับ ถ้าโดนใจ บก. เขาก็ตีพิมพ์ให้ 

         แต่สมัยนี้บางทีอาจนำงาน (บางส่วน) ขึ้น Internet ก่อน ถ้าติดตลาดแล้วก็นำไปตีพิมพ์ก็มีครับ

สวัสดีครับ คุณ Yung

        ถ้าพอรู้จักกับ บก. หรือคนที่ตัดสินใจใน สนพ. แล้ว ก็สามารถทำอย่างที่ว่ามาได้ครับ คือ ส่งตัวอย่างให้ดูก่อน

        แต่ถ้าไม่รู้จักกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการส่งงานให้พิจารณาครั้งแรกนี่ ผมว่ายังไงเขาก็คงต้องการพิจารณางานทั้งหมด เพื่อให้มั่นใจว่าน่าลงทุนด้วยครับ

สวัสดีครับพี่บัญชา

ผมสนใจเขียนเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ที่สะท้อนออกมาในแนวการลงทุนในตลาดหุ้น

เน้นจิตวิทยา เน้นด้านอารมณ์ ออกแล้วคติสอนใจ

ควรจะเข้าสนพ ไหนดีครับ ผมคิดว่าSE-EDเหมาะไหมครับ เพราะผมไม่รู้ สนพที่อื่นแล้ว แบบว่า มือใหม่ครับ

แล้วผมต้องเริ่มตรงจุดไหนครับ

ลืมบอกไปนิด ผมได้เผยแพร่ผลงานผ่านทางwebboardไว้แล้ว และมีผู้ติดตามพอสมควรและcheerให้รวมเล่ม ผมเลยไม่รู้ว่าต้องเริ่มจากตรงไหนครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ

       แนะนำให้ทำต้นฉบับเป็น hardcopy ส่งไปให้ สนพ. พิจารณาครับ

สวัสดีค่ะพี่บัญชา

เมื่อหลายปีที่ผ่านมา heart ได้ค้นหาตนเอง

จนวันหนึ่งเลยตัดสินใจที่จะเขียนหยนังสือ

เพราะวันเเละเวลาผ่านเขามาทำให้ทกๆอ่างเปลี่ยนออกไปจากเดิม

heartชอเรียนเเนวทางธุรกิจ เพราะการที่ได้เขียนเเนวนี้ heart รู้สึกมีความสุขกับมัน

ขอบคุณค่ะ

มาหาข้อมูลค่ะ

ขอบคุณที่ชี้นำนะคะ

สวัสดีครับ คุณ Heart

        อะจึ่ย....ดองไว้จนลืม ขออภัยคร้าบ :(

        ยินดีด้วยครับที่ค้นพบความถนัดของตนเอง มีชื่อหนังสือที่เขียนไหมครับ

สวัดสีครับ คุณณัฐรดา

      สนพ. ที่อยู่ในเครือเดียวกับสารคดี และทำหนังสือเด็ก คือ สนพ.ปลาตะเพียน ครับ

คุณบัญชา เขียนหนังสือเป็นเล่มๆอย่างนี้ ใช้เวลานานมั้ยคะ

สวัสดีครับ

       หนังสือที่ผมเขียนส่วนใหญ่ จะเคยนำลงนิตยสาร (เช่น สารคดี หรือ UpDATE) หรือหน้งสือพิมพ์ (กรุงเทพธุรกิ) มาก่อนแล้วครับ สมมติว่าแต่ละตอนยาว 5-6 หน้า A4 หนังสือมีประมาณ 15 ตอน ลงตอนละเดือน ก็ใช้เวลาราวปีกว่าๆ

       ส่วนระยะเวลาการจัดทำหนังสือขึ้นกับสำนักพิมพ์ ที่เร็วที่สุดเท่าที่เคยมีประสบการณ์คือ หนึ่งเดือนครึ่ง ที่ช้าหน่อยเป็นปีก็มีครับ

ผมกำลังจะเขียนหนังสือ ส่งสำนักพิมพ์แห่งหนึ่งครับ

ผมใฝ่ฝันครับ คุณบัญชา มีหลักการอะไรที่พอจะให้ผม ดูเปนแนวทางบ้างมั้ยครับ

(ผมขอเป็นลูกศิษย์ได้มั้ยครับ) รบกวน คุณบัญชา ส่งเข้าเมล์พร้อมเบอร์คุณบัญชา ได้มั้ยครับ

ผมอยากมีผลงานเขียนเปนของตัวเองครับ

ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

สวัสดีครับ คุณเทพ

          ส่ง e-mail มาคุยได้ที่ buncha2509 (at) gmail.com [แทน (at) ด้วย ๑ นะครับ]

สวัสดีค่ะคุณบัญชา

ดิฉันก็มีความใฝ่ฝันอยากจะเขียนหนังสือเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเช่นกันค่ะ หนังสือแนวที่ดิฉันเขียน คือ เรื่องเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยี นาโนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งดิฉันได้ศึกษาทางด้านนี้มาโดยตรง

รบกวนคุณบัญชาช่วยชี้แนะด้วยค่ะ ว่าดิฉันควรจะเขียนส่งสำนักพิมพ์ไหนดี ตอนแรกอาจจะเริ่มเป็นบทความก่อน จะไม่ลงลึกไปในรายละเอียดมาก เพราะอยากให้คนทุกวัย ทุกระดับการศึกษาเข้าใจได้ง่ายค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีครับ ดร.จูน

           ไม่ทราบว่าเป็นอาจารย์ หรือทำงานอยู่ที่ไหนครับ ผมอยู่ที่ MTEC/สวทช. ครับ ยังไง อีเมลมาที่ buncht (at) mtec.or.th หรือ buncha2509 (at) gmail.com หรือจะโทรมาคุยที่ 081-42-42-010 ก็ได้ครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์บัญชา

ขอบคุณมากค่ะ ดิฉัันได้ส่งอีเมลแนะนำตัวไปให้อาจารย์แล้วทั้งสองอีเมลค่ะ

ด้วยความเคารพ

ดร.จูน (ปภาวี ธำรงศิลป์)

สวัสดีค่ะคุณบัญชา

ผมจะเขียนเรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นอยู่ชนบทอีสาน จะส่งต้นฉบับร้านไหนครับ

ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

อาจารย์คะ หนูจะเขียนหนังสือเกี่ยวกับการท่องเที่ยว แล้วหนูจะทำ 3 ภาษา น่ะค่ะ คือ ภาษาจีน อังกฤษ และญี่ปุ่น ความฝันหนูอยากให้มีนักท่องเที่ยวในประเทศไทยเราเยอะๆค่ะ หนูเหนเศรษฐกิจไทยเกี่ยวกับการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาเยอะหนูเลยอยากจะทำหนังสือแนะนำและนำเที่ยว ซึ่งหนูจะเขียนอย่างละเอียด มากๆค่ะ อาจารย์คะ หนูน่ะไม่รู้ว่าจะส่งสำนักพิมพ์ไหน ฝากอาจารย์แนะนำหน่อยนะคะ จาก สุกัญญา หรือ ซินเธีย

ขอบพระคุณมากๆครับ

ขอบคุณคะ เป็นบทความที่มีประโยชน์มาก ทางการแพทย์ เท่าที่ทราบมีสำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน จะลองไปสืบค้นดูคะ

วัสดีครับ เพ่ๆๆ คือ ผมอยากทำหนังสือออกวางขายตามแผงหนังสือต่างๆต้องทำอย่างไรบ้างครับช่วยแน่นำผมหน่อย แล้วต้องใช้งบประมาณเท่าไรครับ ยังไงเพ่ๆช่วยตอบผมด้วยนะครับ [email protected]


สวัสดีค่ะ

      ขอบคุณากนะคะสำหรับข้อมูลมีประโยชน์มาก และอยากรบกวนสอบถามหน่อยค่ะ พอดีกำลังเขียนตำราเชิงวิชาการที่จะวางขาย เนื้อหาในหนังสือมีการใช้รูปประกอบที่เผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต รวมถึงโลโก้ของสถาบันทางด้านการวิจัยต่างๆเพื่อเป็นการให้ผู้อ่านได้ทราบแหล่งข้อมูลหากสนใจศึกษาเพิ่ม ลักษณะนี้จะต้องขออนุญาตไปยังหน่วยงานที่เราได้นำโลโก้มาประกอบในหนังสือหรือไม่คะ

 

 

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ขอบคุณครับ

(พูดมานานละ ขอเชียนบ้าง....มือใหม่หัดเขียนครับ)

ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูลดีๆ ที่มีประโยชน์

ผมมีเรื่องอยากปรึกษาท่านอ. และผู้รู้ท่านอื่นนะครับ

ตอนนี้ผมกำลังเขียนหนังสือ เป็นเล่มแรกในชีวิต เป็นคู่มือการสอบครูผู้ช่วยวิชาเอกพลศึกษา ผมควรส่งสำนักพิมพ์ไหนดีครับที่เหมะสม แล้วมีขั้นตอนไงบ้างครับ

เขียนเอง ลงทุนเอง ขายเอง ได้เต็ม ๆ ไม่ได้เหรอ ไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องใช้ สำนักพิมพ์

แล้ว ร้านหนังสือเขาไม่รับเหรอถ้าทำเอง จ้างพิมพ์เอง

  1. ฝากเนื้อฝากตัวด้วยได้มั้ยค่ะกำลังเริ่มทำหนังสือสักเล่ม ขอพิสูจน์พรสวรรค์ตัวเองว่าสามารถนำมาใช้เลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้ไหม มีคนที่ต้องดูแลเยอะเลยอยู่เฉยๆไม่ได้แล้วค่ะ ?ฝากตัวเป็นศิษย์ด้วยนะคะ

พอดีอยากจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับแนวไม่แน่ใจว่าจะเป็นแนวไหน แฟนตาซีรึป่าว คือจากประสบการณ์จริงของตัวเอง เกี่ยวกับพลังจิต จิตวิญญาณที่แฝงอยู่อีกจิตหนึ่ง คนที่ใช้ชีวิตไปพร้อม และไม่พร้อมของอีกมิติ จักรวาล ประตูมิติ ที่เชื่อมกับจักระ ปราณ และธาตุ การรับรู้ของจิตที่สามารถสื่อสารได้กับบางสิ่งที่มนุษย์ทั่วไปทำไม่ได้ เป็นคนหลายบุคลิกในคนๆเดียวกัน อยากเขียนให้คนอ่านได้รับรู้ว่าโลกเรามีโลกคู่ขนาน มิติ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นไปแล้วในมิติอื่น และยังไม่เกิด จักรวาล จิตที่สัมพันธ์กันตัวเลขและเวลา บางคนจิตเกิดจากดาวดวงอื่นมายังโลก(อาจจะดูหลุดโลก ไม่ก็มีการรับรู้แปลกๆ) >>เป็นคนชอบเขียนตั้งแต่เด็กๆและสามารถ มองในสิ่งที่บางครั้งคิดว่าคนทั่วไปอาจจะมองไม่เห็น มองเห็นอากาศ มองเห็นคลื่น จนกระทั่งรับรู้ได้ว่า จิตวิญญาณตัวเองเชื่อมกับหลายที่ ไม่รู้จะเริ่มเขียนยังไง ไม่รู้จะเริ่มจากอะไร อาจจะเหมือนเป็นเรื่องบ้าๆบอๆแต่มันคือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับตัวเอง เป็นปัจจัตตัง ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท