คำแนะนำเกี่ยวกับการส่งต้นฉบับ (นิยาย) ให้ สนพ.


 

 จากบันทึกเรื่อง " การเขียนหนังสือขาย : ประสบการณ์ & ข้อมูลน่ารู้ " ของท่านอาจารย์ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ  และท่านอาจารย์ก็ได้ชักชวนให้ k-jira เขียนเล่าเรื่องของตนเอง เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำหนังสือบ้าง  พอได้ request มาก็รู้สึกปลื้มใจเป็นเกียรติอย่างยิ่ง รีบมาค้นบทความเดิมที่ตนองเคยเขียนไว้ ก็พบว่ามีเรื่องเกี่ยวกับการ "เตรียมต้นฉบับเพื่อส่งให้สำนักพิมพ์" คิดว่าคงมีประโยชน์แก่ผู้สนใจอยู่บ้าง จึงขออนุญาตเอามาลงเผยแพร่ไว้ใน G2K นี้ด้วยนะคะ

 

 

ก่อนอื่นก็ต้องขอออกตัวก่อนนะคะ ว่าไม่ได้มีประสบการณ์มากมายอะไรนักหรอก แค่มีผลงานนิยายตีพิมพ์เผยแพร่ 4-5 เรื่องเท่านั้นเอง แต่คิดว่าคงมีเพื่อนๆพี่น้องสมาชิกใน G2K อีกหลายคน ที่สนใจเกี่ยวกับการเขียนนิยาย และยังไม่เคยส่งต้นฉบับให้ สนพ.พิจารณา บางคนก็อาจยังลังเล ไม่รู้จะส่งอย่างไรดี คล้ายๆกับตนเอง ที่เมื่อก่อนก็เพราะเหตุผลที่ว่า "ไม่รู้เขาส่งกันยังไง" ก็เลยไม่เคยส่งกับเขาสักที

จึงขอเอาประสบการณ์เล็กๆน้อยๆที่พอจะประมวลมาได้ ซึ่งขอจำเพาะหัวเรื่องไว้เกี่ยวกับ "นิยาย" อย่างเดียวก่อน คิดว่าคงพอมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย แก่นักเขียนมือใหม่ที่ยังไม่เคยส่งต้นฉบับทั้งหลาย ลองเอาไปปฏิบัติดูนะคะ  และสำหรับสมาชิกท่านอื่นๆที่มีประสบการณ์เรื่องนี้มาแล้ว หากท่านใดมีคำแนะนำเพิ่มเติม อยากจะเข้ามาเสริม ในสิ่งที่ k-jira ได้เขียนไว้ไม่ครบไม่สมบูรณ์ ก็ขอเชิญเข้ามาแจมได้เลยนะคะ  และถ้าหากมีอะไรเพิ่มเติมที่นึกออกในภายหลัง ไว้จะมาเขียนเพิ่มเติมในส่วน comment ต่อไปก็แล้วกันค่ะ ^_^

เริ่มกันเลยนะ........

 

 

การที่เราจะส่งนิยายสักเรื่องให้ บ.ก. ของ สนพ. ที่ไหนสักแห่ง สำหรับนักเขียนมือใหม่ ขอแนะนำเลยว่า เราควรจะเขียนนิยายเรื่องนั้น ให้จบเสียก่อน  เพราะว่าคงมีน้อย  สนพ. มากที่กล้าพิมพ์นิยายของนักเขียนมือใหม่ ที่ยังเขียนไม่จบ บางเรื่องเขาอาจจะสนใจ แต่ถึงอย่างไร ก็ต้องรอให้นิยายเรื่องนั้นเขียนจนจบก่อน จึงสามารถตีพิมพ์ได้

 

แล้วทีนี้เมื่อเรามีนิยายที่เขียนจบแล้วเราจะทำอย่างไรดี

ปัจจุบัน.. เทคโนโลยีก้าวหน้า แทนที่จะพิมพ์ส่งเป็นปึกกระดาษทางไปรษณีย์เหมือนเมื่อก่อน  มาเดี๋ยวนี้ทันสมัยขึ้น หลาย สนพ.รับไฟล์ทาง e-mail  โดยการพิมพ์ใส่โปรแกรมเวิร์ด  (MSword) แล้ว zip file ส่งแนบไปกับ e-mail  แต่อย่างไรก็ตาม มันก็อาจจะเกิดปัญหาหลายอย่างที่เราอาจจะไม่คาดคิดได้

เช่น  กองบรรณาธิการ (บ.ก.) ไม่สามารถะเปิดไฟล์ได้ หรือ เปิดแล้วฟอนต์อ่านไม่ออก หรือ นิยายที่ส่งไปพิมพ์ผิดเยอะแยะ ซึ่งประการหลัง พอหนังสือพิมพ์ออกมาแล้ว    คนอ่านจะเจอว่าหนังสือพิมพ์ผิดมาก  อาจจะไปโทษฝ่ายพิสูจน์อักษร แต่ขอบอกว่า..หากเจ้าของนิยายตรวจเช็คนิยายของตนเองก่อนส่งดีๆ โอกาสที่จะพิมพ์ผิดพลาดก็จะลดลงค่ะ

 

 

มีแนวการปฏิบัติดังนี้ค่ะ

1. การนำนิยายนั้นมาเซฟลงเป็นไฟล์เวิร์ด  ทำโดย

        1.1    ให้ใช้ฟอนต์ที่เป็นภาษาไทย (มักมีต่อท้ายข้างหลังว่า UPC เช่น cordiaUPC , AngsanaUPC เป็นต้น)  และขอให้ใช้ฟอนต์เพียงแค่ชนิดเดียวพอ อย่าใช้หลายชนิดในไฟล์เดียวกัน   ทั้งนี้เพราะ ฟอนต์อื่นอาจจะมีปัญหาไม่สามารถเปิดได้ แล้วเมื่อเราส่งไปให้ บ.ก.เปิดออกมา อาจจะเจอเป็นตัวอักษรที่เป็นกล่องสี่เหลี่ยม หรือภาษาต่างดาว พอเข้าไปปรับฟอนต์ใหม่ มันอาจจะทำให้ที่เราพิมพ์ไปเกิดการเพี้ยน ออกมาผิดเยอะแยะก็เป็นได้

         1.2  ขอให้อ่านทบทวนเนื้อหาทั้งหมด อย่างน้อย 1-2 เที่ยวก่อนที่จะส่ง  ตรวจดูทั้งการสะกดคำ การเว้นวรรค ตลอดจนการย่อหน้าต่างๆให้เรียบร้อย  อย่าไปวางใจว่า เดี๋ยวทาง สนพ.เขาก็จัดแต่งตรงนี้ให้เราเอง  ขอบอกว่า.. เขา (อาจจะ)ไม่ทำให้หรอกนะคะ

          1.3  ให้ตกแต่งตัวอักษรแค่พอๆดี เช่น ย่อหน้าแรกก่อนขึ้นฉากใหม่ อาจจะใช้ตัวหนา หรือ บางข้อความอาจจะใช้ตัวเอียง ไม่ต้องแต่งให้มาก  แค่ให้ดูเด่นตาแค่บางจุดก็พอ   การขึ้นย่อหน้าใหม่ขอให้ใช้การกด enter  1 ครั้งก็พอ  (ไม่ใช่   shift-enter  )   ให้ใช้การกด tab เพื่อทำย่อหน้า อย่าใช้การกด spacebar เพื่อเลื่อนตัวอักษร

         1.4  เมื่อรวบรวมลงไฟล์เรียบร้อย ก็ zip file นั้นไว้เพื่อพร้อมส่ง

 

2. การพิมพ์คำแนะนำนิยายและเรื่องย่อของนิยายเรื่องนั้น  อย่าเขียนลงใน mail เพราะว่ามันจะอ่านได้ยาก แต่ให้พิมพ์ลง MSword อีกไฟล์ ขนาดความยาวประมาณ 1-2 หน้า   บ.ก. มักจะอ่านตรงนี้เป็นอันดับแรก  ถ้าหากเขียนแนะนำเรื่องได้น่าสนใจ เขียนเรื่องย่อที่ทำให้ บ.ก.อ่านปั๊บ ก็รู้ว่านิยายเรื่องนี้พล็อตเป็นอย่างไร มีจุดเด่นของเรื่องอยู่ตรงไหน ก็จะทำให้เกิดความสนใจที่จะเปิดอ่านเนื้อเรื่องจริงๆทั้งหมดที่เราส่งให้ไป

แล้วอยากจะขอเตือนว่า  การเขียนคำแนะนำเรื่อง ขอให้เขียนให้น่าสนใจก็พอ ระวัง..อย่าเผลอเขียนถึงขั้นน่าหมั่นไส้  เช่นเขียนเชิงการโปรโมทว่าเยี่ยมอย่างนั้นอย่างนี้ ดีไม่ดี  คนอ่านอาจจะเกิดอคติ ก่อนที่จะไปอ่านเนื้อเรื่องเสียเลยก็ได้  และการเขียนเรื่องย่อ ก็จะทำให้ บ.ก. มองเราออกว่าเรามีความสามารถในการคิดและเขียนแค่ไหน

การเขียนเรื่องย่อ ขอให้เขียนให้กระชับ ครอบคลุม และน่าสนใจ  ให้เหมือนกับเรากำลังเล่าสรุปเรื่องนั้น ให้เพื่อนอีกคนฟัง  ไม่จำเป็นต้องเล่าละเอียดทั้งหมดก็ได้  แต่เล่าแบบให้คนฟัง ..ฟังแล้วจับเค้าได้ รู้ว่าพระเอกนางเอกเป็นใคร เนื้อเรื่องโดยคร่าวๆเป็นอย่างไร แล้วมันจะจบลงแบบไหนและเกิดความสนใจ จนอยากเข้าไปตามอ่านรายละเอียดของเรื่อง .. นั่นแหล่ะ คือการเขียนเรื่องย่อที่ดี

 

3.  เขียนเมล์แนะนำตัวเองสักเล็กน้อย ว่าเราเป็นใคร ชื่ออะไร ใช้นามปากกาว่าอะไร  อยากจะส่งนิยายเรื่อง ... มาให้ บ.ก. พิจารณา แล้วก็ให้ที่ติดต่อไว้สำหรับ ทาง บ.ก.ติดต่อกลับหากเขาสนใจเรื่องนั้นๆ โดยอาจจะให้เป็น e-mail และเบอร์โทรศัพท์ไว้

 

4. ขั้นตอนสุดท้าย.. คือส่งเมล์พร้อมแนบไฟล์ทั้ง 2 ไฟล์ไป (ไฟล์แนะนำนิยาย+เรื่องย่อ  และไฟล์นิยายที่ zip ไว้)  โดยอาจจะแจ้งไว้ในเมล์สักหน่อย ว่าเราได้แนบไฟล์อะไรไปให้บ้าง

 

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ.. ไม่ยากใช่ไหม

ขอเป็นกำลังใจ และรอคอยผลงานของนักเขียนทุกท่าน บนแผงหนังสือนะคะ

 

หมายเหตุ ::~ สำหรับรายละเอียดอื่นๆเพิ่มเติม จะมาทะยอยเขียนแนะนำเพิ่มให้ในส่วนของความคิดเห็นข้างล่าง ขอเชิญผู้อ่าน เลื่อนสกอล์บาร์ลงไปอ่านข้างล่างนะตะ และหากท่านใดมีประเด็นอยากจะถาม หรืออยากจะเพิ่มเติมสิ่งใด (จะเป็นบทความหรือทำ link โยงไป) ก็ขอเชิญโพสต์ไว้ในบันทึกนี้ได้เลยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

 

^_______________^

หมายเลขบันทึก: 80740เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2007 19:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

คำแนะนำนี่ เป็นประโยชน์สำหรับหลาย ๆ ท่านที่อยากเป็นนักเขียน จะได้นำไปใช้ในการนำเสนอผลงานได้นะค่ะ

ขอบคุณพี่จูนมากค่ะ 

สวัสดีค่ะน้องมะปราง

ขอบคุณมากค่ะ ^__^

สวัสดีครับ คุณ k-jira

         ข้อมูลและคำแนะนำยอดเยี่ยมมากครับ ชื่นชมสุดๆ สมกับเป็นคนรักการเขียนครับ :-)

         ผมคิดว่ามีเนื้อหาใน GotoKnow หลายเรื่องที่น่าจะ "ขายได้" เพราะเป็นประโยชน์ น่าสนใจ

         ที่สำคัญก็คือ ผมเชื่อมั่นลึกๆ ว่า เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ใน GotoKnow นี่มีทั้งคุณภาพและประสบการณ์ชีวิตอันควรค่าแก่การเผยแพร่อย่างยิ่ง  

         ดังนั้น การเผยแพร่จึงไม่น่าจะจำกัดอยู่แค่การเขียนผ่าน Net เท่านั้น แต่ถ้าเป็นรูปแบบอื่นๆ ได้ด้วยก็จะดีมาก และหนังสือก็คือ สื่อคลาสสิค สื่อหนึ่งในบรรดาสื่อทั้งมวล...ใช่ไหมครับ?

         ในส่วนของนิยาย เรื่องสั้น หรือวรรณกรรมประเภทอื่นๆ (เช่น ร้อยกรอง) หากมีเพื่อนชาว GotoKnow คนไหนเกิดแรงบันดาลใจ นำไปตีพิมพ์สำเร็จ ก็ต้องนับว่าเป็นกุศลที่เกิดจากบทความของคุณ k-jira...มารอลุ้นกันดีกว่าครับ

         ขอขอบคุณอีกครั้งครับ สำหรับสาระอันเป็นประโยชน์นี้  :-)

 

ขอบคุณค่ะอาจารย์

ก็หวังว่าบทความนี้ จะพอมีประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อยแก่ผู้สนใจนะคะ

จะว่าไปก็พอรู้จักกับ บ.ก. อยู่บ้าง หากท่านใดเขียนจบไว้ แต่ยังเขินๆไม่กล้าส่ง ก็บอกได้นะคะ เผื่อจะได้แนะนำให้ (แต่จะได้ตีพิมพ์หรือไม่ นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ ^^ )

แต่ถ้าหายังไม่มั่นใจ อยากจะลองตลาดผู้อ่านอ่อน แนะนำให้นำเรื่องของท่าน ไปโพสต์ให้ผู้อ่าน ลองอ่านกันพลางๆ ในเวบนิยายออนไลน์ ถ้าเรื่องของท่าน ได้รับความนิยมตรงนั้น ไม่เพียงจะมีฐานผู้อ่านอยู่ระดับหนึ่งขึ้นมาแล้ว ก็จะมีโอกาสสู่ สนพ. ได้เร็วขึ้นด้วย

^_________^

(เพิ่มเติม)  เกี่ยวกับการส่งเรื่องย่อให้ สนพ.

มีน้องคนหนึ่งเคยถามไว้ว่า "หากจะเขียนเรื่องย่อแนบไปกับต้นฉบับนิยายเพื่อให้สนพ.พิจารณานี่ต้องเขียนประมาณไหนคะ..."

 

คุณปิ่นลดา นักเขียนนิยายและสารคดีผู้เคยมีผลงานลงใน "สกุลไทย" และเจ้าของผลงาน "อรุณรุ่งที่มัสยิปานา" ได้เคยแนะนำไว้ว่า

เรื่องๆหนึ่งนี่ ถ้าเป็นไปได้ ควรย่อให้เหลือแค่ ๑ หน้าเท่านั้น เพราะถ้ามันยาวกว่านี้ อ่านแล้วน่าเบื่อจริงมั้ยคะ

สิ่งที่ตนเองมักทำเวลาย่อเรื่อง

  1. ธีมของเรื่อง แก่นของเรื่อง เป็นไปได้ใส่ไว้ในย่อหน้าแรกเพื่อเรียกความสนใจเป็นวิธีการที่ดีอย่างหนึ่ง
  2. เล่าเรื่องด้วยสายตาของบุคคลที่สาม อันนี้คือเล่าเรื่องเหมือนเราเป็นคนอ่านเรื่องนี้ ให้คิดไว้ว่า เมื่อ บก.อ่านจะได้เข้าใจได้ง่ายๆ
  3. พยายามจำกัดไว้ที่หนึ่งหน้า ถ้าไม่ได้ไม่ต้องซีเรียส แต่อย่าให้ยาวมากนัก

 

คุณการบูร สุขวิไล ของสนพ.พิมพ์คำ-สถาพร ปริ้นเซส ก็เคยแนะนำไว้ว่า

สำหรับผมคิดว่า แค่ 1 หน้ากระดาษ ก็เพียงพอแล้วครับ และชอบเรื่องย่อ ที่นักเขียน เขียนขึ้นสดๆ โดยไม่มีการเปิดต้นฉบับดูด้วย เพราะเราจะจับอารมณ์งานและสิ่งต่างๆ ได้มาก 

แต่ตอนเป็นบ.ก.นิตยสารกุลสตรี ประทับใจเรื่องย่อของนักเขียนท่านหนึ่งที่ส่งมา ก็คือ ทำมา 2 ชุด...ชุดแรก 1 หน้าสรุปภาพรวมของเรืองมาให้ และอีกชุดทำมาให้ 7 หน้าโดยดึงสถานการณ์ของแต่ละฉากมาไล่เรียงกันเลย

และผมก็เลือกนวนิยายเรื่องนั้นมาตีพิมพ์ในนิตยสาร........ครับ

(ปล.ของบ.ก.ท่านอื่นๆ ผมไม่รู้นะครับ คิดว่าแต่ละคนน่าจะมีทริคที่แตกต่างกัน)

 

ขอขอบคุณ k-jira ...

  • ขอขอบคุณสำหรับบันทึกทรงคุณค่า... สาธุ สาธุ สาธุ

คุณ k-jira ค่ะ ขออนุญาตแนะนำบันทึกนี้ให้แก่สมาชิก GotoKnow นะค่ะ

Blog to Book: แนวทางการพิมพ์หนังสือกับสำนักพิมพ์

ขอบคุณมากค่ะ :)

ตั้งใจจะพิมพ์อยู่เหมือนกัน  อ่านแล้วเกิดลังเล  ว่าแต่ว่าจะเขียนให้จบก่อนแล้วค่อยว่ากันใหม่ครับ 

 

สวัสดีค่ะ คุณหมอ วัลลภ พรเรืองวงศ์ และคุณ คนชอบวิ่ง     ขอบคุณที่แวะมาค่ะ ^_^

สวัสดีค่ะ อาจารย์  จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ ด้วยความยินดีค่ะ  ขอบคุณที่แนะนำบันทึกนี้ให้ค่ะ

^__^

สวัสดีค่ะ ปัทเข้ามาตามบันทึกที่อาจารย์จันทวรรณแนะนำไว้ค่ะ ^_^
โดยส่วนตัวแล้ว ไม่เคยลองเขียนค่ะ แต่ชอบอ่านมากกว่าค่ะ แต่ก็ได้รับความรู้มากทีเดียวค่ะสำหรับบันทึกนี้ เผื่อวันนึงจะเบื่อที่จะอ่านของคนอื่นแล้ว แล้วกลับมาเขียนของตัวเองจะได้นำเอาบทความนี้มาใช้น่ะ ขอบคุณมากค่ะ

เข้ามาขอบคุณอีกทีด้วยค่ะ    แอบแวะมาอ่านสองสามหนแล้ว   ชอบ....   มีคำถามด้วย  แต่จดใส่กระดาษแล้ววาง  หันมาอีกทีหายไปแว้ว..ว.. 

คุณ k-jira เขียนขั้นตอนได้ละเอียดดีมากๆเลยค่ะ ชอบการบอกธีมของเรื่องในย่อหน้าแรกจังเลย  (เพื่อนที่เป็น บก. บอกว่าชอบมากๆ)  

แปลกใจอยู่บ้างที่ว่า บางที่อาจไม่ได้ช่วยดูภาษาให้เราอย่างละเอียดปราณีต  และเห็นจริงตามนั้นด้วยค่ะ  รู้สึกเสียใจเพราะเป็นการลดทอนคุณค่างานเขียนที่ผู้เขียนบรรจงสร้าง   

ที่จริงงานพิสูจน์อักษรเป็นงานที่แสดงถึงความรับผิดชอบสูงสุดของผู้ผลิต  แต่ขณะเดียวกันก็เป็นงานปิดทองหลังพระด้วย  ถ้าไม่มีอะไรผิดเลย ก็อาจไม่มีใครนึกถึง  แต่ถ้าผิดเข้าตัวนึง...เพื่อนก็ถามหา..  

ถามว่าปล่อยให้ผิดมาได้ยังไฮ....   :)

สวัสดีค่ะน้อง k-jira

  • เป็นบันทึกที่ดีมากๆ..
  • ครูอ้อยจะศึกษา..และจะพยายาม...

ขอบคุณค่ะ

อยากรู้ว่าการส่งต้นฉบับไปทาง e-mail อ่ะค่ะ แค่ส่งๆเฉยๆ หรือต้องมีการพบปะนอกสถานที่ด้วยคะ

ขอบคุณนะคะ สำหรับคำแนะนำดีๆข้างต้น

 

ค่ะเป็นนักเรียน+นักเขียนมือใหม่อยากถามว่า

การเขียนนิยายนี้มันมักจะมีคำนำเราต้องเขียนตรงไหนอ่ะค่ะ

1. คำนำ(มะรุพิมตรงไหน)

2. เนื้อย่อ

3. เนื้อหา

ไม่ได้เข้ามาตอบนานนนนน..เลย

สวัสดีค่ะ คุณ minisock  คุณ ดอกไม้ทะเล  และพี่ สิริพร กุ่ยกระโทก

 

ตอบ คุณ ชินกาล

  • การส่งต้นฉบับ ให้ส่งทาง e-mail ได้ค่ะ หรือถ้าให้แน่นอน ก็ให้เข้าไปในเวบของ สนพ. นั้นๆ (ส่วนใหญ่จะมีกัน) แล้วอ่านดูรายละเอียด กฏกติกาในการส่ง ซึ่งแต่ละ สนพ. ก็อาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป เนื่องจากในช่วงหลัง มีกรณีละเมิดลิขสิทธิ์กันมาก ทาง สนพ. เลยเข้มงวดตรงนี้ขึ้น จึงอาจจะมีข้อตกลงที่ว่า หากนิยายที่ส่งมามีการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้เขียน (ที่ส่งนิยายเรื่องนั้นมา) ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นด้วยน่ะค่ะ

 

ตอบ คุณ นักเขียนมือใหม่

  • ในการส่งต้นฉบับไปครั้งแรก ก็เขียนแนะนำตัวนักเขียน กับสรุปเรื่องย่อ ส่งแนบไปกับต้นฉบับเท่านั้นพอค่ะ
  • ส่วนพวกคำนำ ถ้าหากว่าทาง สนพ. ตกลงรับพิมพ์เรื่องนั้นๆ จะแจ้งมาที่นักเขียน บาง สนพ. อาจจะให้นักเขียน เขียนคำนำส่งไปให้ (ส่วนใหญ่ประมาณไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4) ค่ะ
  • แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น บาง สนพ. ก็ไม่ต้องเขียนส่งคำนำอะไรค่ะ 

 

สวัสดีคะขออนุญาตนำบล็อกเข้าแพลนเน็ตนะค่ะ ขอบคุณคะ

ตอบ อาจารย์  P MOO  

  • ด้วยความยินดีค่ะอาจารย์
  • ขอบคุณมาก

^__^

เป็นความรู้ที่นำไปปฏิบัติได้โดยตรงแลยครับ

เอ!!!!! แต่ทำอย่างไรดี ถึงจะได้ที่อยู่และเบอร์อีเมล์ของสำนักพิมพ์

อิอิอิอิอิ

ดีคะหัดเขียนมือใหม่คะ

พอดีอยากเขียนเกี่ยวกับชีวิตจริงนะคะ

จะรับใหมคะ

เป็นเกี่ยวกับเพื่อนนะคะ

ช่วยสอนการเขียนให้หน่อยได้ไหมคะ

ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร

นะคะ

จับจัยความการเริ่มไม่ถูกนะ

คะ

อยากเป็นนักเขียนนิยายอยากส่งต้นฉบับผิดไหมถ้าอายุยังน้อย

เขียนนิยายด้วยใจรักจะฝึกฝนฝีมือไปเรื่อย....

อยากถามว่าการเป็นนักเขียนควรมีอายุตั้งแต่เท่าไหร่ค่ะ

แล้วถ้ากุ้งยังไม่ถึง18จะมีโอกาสมั๊ยค่ะ

กุ้งไม่มีการศึกษามากมายเรียนจบแค่ม.3ฐานะทางบ้านไม่ดีจึงได้แค่นี้

แต่ชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็ก....

แต่ก่อนกุ้งมีความสามารถในการวาดรูปเคยไปแข่งอยู่หลายครั้ง

แต่กุ้งคิดว่าการวาดรูปทำให้กุ้งได้ระบายอารมณ์เป็นบางครั้งเท่านั้น

กุ้งคิดว่ากุ้งไม่มีความสุขเลย....

ตลอดจนกุ้งพึ่งค้นพบตัวเองว่ากุ้งรักการเขียนนิยายมาก

กุ้งต้องมาทำงานเป็นเพียงพนักงานตัดขี้ด้ายทั้งที่กุ้งอยากเรียนหนังสือมากกว่า

แต่ก็ต้องทำเพื่อนความฝันของตัวเอง....

สวัสดีคะ ชื่อติ๊กนะคะ

ตอนนี้ได้ฝึกเขียนนิยายเรื่องหนึ่งอยากจะให้เพื่อนๆช่วยอ่านช่วยวิจารณ์น่ะคะ

จะโพสตรงไหนได้บ้างคะ ช่วยอ่านแล้ววิจารณ์ให้หน่อยนะคะ

ขอบคุณคะ ^________________^

บทนำ

อุ่นไอรัก มุทิตาหญิงสาวคนหนึ่งที่ไม่เคยสมหวังกับความรัก จนทำให้เธอกลายเป็นคนที่ไม่เคยคิดจะรักใคร ไม่เคยคิดที่จะเปิดใจและเลือกที่จะเดินทางมาเป็นครูอาสาที่นี่จงประสงค์ก็คือเพื่อหลบหนี้ภาพในอตีดที่แสนจะเจ็บปวดนั้น กับ เขาพาณิชย์ ครูหนุ่มที่เห็นมองเห็นความรักเป็นสิ่งที่สวยงาม ชายหนุ่มจะทำให้หัวใจของหญิงสาวกลับมาเบิกบาน และเปิดรับความรักที่สวยงามนั้นได้หรือไม่

บทที่ 1

...... ครูดอย.....

พาณิชย์ กิจจารักษ์ ชายหนุ่มไฟแรงพึ่งจบครูมาหมาดๆ วันนี้เขาเลือกที่จะมาเป็นครูอาสาที่นี้ จริงๆแล้วมีหลายต่อหลายที่ ที่มาติดต่อเขาแต่เขากลับไม่สนใจก็ส่วนใหญ่จะอยู่ในกรุงเทพเสียมากกว่า เขาไม่ต้องการอยู่ที่นั่น เขาต้องการหนีออกมาจากเมืองที่มีแต่ความวุ่นวาย หนีเสียงจอแจของรถยนต์เสียงเครื่องจักรกลที่ดังอื้ออึงอยู่ทุกวี่วัน แม่เขาเองก็ไม่อยากให้เขามาสักเท่าไหร่หรอก คงเป็นห่วงเขานั้นล่ะ แต่ก็ไม่สามารกรั้งเขาไว้ได้ก้ได้แต่ทำใจยอมให้มาอย่าเลี่ยงไม่ได้ เสียงรถจอดพร้อมกับฝุ่นที่ลอยคละคลุ้งไปทั่วบริเวณแสดงให้เห็นว่าที่นี่ความเจริญยังคงเข้ามาไม่ถึงแต่ก็ยังดีที่ยังคงมีเสาไฟให้เห็นอยู่บ้างถึงมันจะแลห่างๆกันก็เถอะต้องขอบคุณการไฟฟ้าที่ยังอุตส่าห์ดั้นด้นมาถึงที่นี้ได้ พานิชย์ชายหนุ่มวัย 25 ปี ร่างสูงโปร่ง ใบหน้าได้รูป คิ้วดก ตาค่อนข้างตี่แสดงถึงความขี้เล่นขณะเดียวกันในตาคู่นั้นก็แฝงไปด้วยความอ่อนโยนและอบอุ่นจมูก ปาก เข้ารูปรับกับใบหน้า ผิวพรรณดูสะอาดตาบ่งบอกให้รู้ว่าเป็นคนกรุงเทพได้อย่างชัดเจนก้าวลงมาจากรถพร้อมกระเป๋าใบเขื่อง จัดการปัดผมตัวเองที่ตอนนี้กลายเป็นสีฝุ่นไปซะแล้ว ชายหนุ่มยืนรอพร้อมกับยกแขนดูเวลาจากนาฬิกาข้อมือ”ใกล้จะบ่ายสามโมงแล้วสินะ”ชายหนุ่มพูดกับตัวเองเขาได้รับเอกสารจากทางผู้ใหญ่บ้านว่าบ่ายสามโมงเย็นจะมารับเขาที่นี้ ยืนรอได้สักพักผู้ใหญ่ก็เดินทางมาถึงเป็นชายวัยกลางคนรูปร่างออกจะท้วมนิดๆผิวพรรณบงบอกว่าเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ดูภูมิฐาน“สวัสดีครับคุณครูพานิยช์ใช่มั้ยครับ””ครับใช่ครับ ลุงผู้ใหญ่ใช่มั้ยครับ”ชายหนุ่มตอบพร้อมกับยกมือไหว้ นั้นก็ทำให้ผู้ใหญ่รีบรับไหว้เขาทันทีเช่นกัน “รอนานมั้ยครู พอดีผมมัวแต่ดูเด็กๆอยุ่น่ะกำลังจัดห้องพักให้ครูอยู่” ผู้ใหญ่บ้านพูดพร้อมยิ้มใจดี “ไม่นานเท่าไหร่หรอกครับ”ชายหนุ่มยิ้มตอบ ยืนสนทนากันได้สักพักหนึ่งผู้ใหญ่บ้านก็ตบไหล่ชายหนุ่มเบาๆสื่อให้รู้ตัวว่าเราคงต้องเดินทางกันต่อเส้นทางเบื้องหน้าเป็นเหมือนเนินเขาชายหนุ่มมองเห็นเสาธงชาติไทยปลิวไหวตามสายลมที่พัดลิบๆ นั้นสินะโรงเรียนที่เขากำลังจะเดินทางไป ชายหนุ่มคิดพร้อมกับพยักหน้ารับผู้ใหญ่บ้านเป็นเชิงรับรู้ แล้ว 2 หนุ่มต่างวัยก็พากันเดินออกไปจากตรงนั้น ตลอดการเดินทางชายหนุ่มได้สัมผัสถึงอากาศที่แสนจะบริสุทธิ์ เสียงนกพากันร้องก้องป่าคล้ายว่าร้องต้อนรับเขาอย่างไรอย่างนั้นกระแตตัวน้อยวิ่งไล่กันสนุกสนานโดยไม่กลัวการมาเยือนของคนแปลกหน้า ดอกหญ้าข้างทางดอกเล็กพากันออกดอกอวดสีสันอันสวยงาม ต้นไม้หลากชนิดพลิ้วไหวไปตามลมด้วยในช่วงเวลานี่เริ่มเข้าฤดูหนาวแล้ว“เราคงต้องรีบไปนะครับครูเพราะเด็กๆกำลังรอครูอยู่เห็นว่าตื่นเต้นกันใหญ่ที่รู้ว่าจะมีครูคนใหม่มาคงเตรียมอะไรไว้ให้หลายๆอย่าง”ผู้ใหญ่เริ่มบทสนทนาหลังจากเงียบไปนานเพียงแค่ได้ยินคำว่าเด็กๆเท่านั้นมันก็ทำให้ชายหนุ่มหัวใจพองโตขึ้นมาทันที ^_______________^ ช่วยวิจารณ์หน่อยนะคะตอนนี้เขียนใกล้จะจบแล้วคะ

ขอโทดนะคะ ตรงบทนำติ๊กลืมเปลี่ยนพอดีพิมผิดอ่าคะ จงประสงค์คือ จุดประสงค์ เพื่อหลบหนี้ เป็นหลบหนีนะคะ ต้องขออภัยไว้น่ะที่ที่ด้วยคะ

หวัดดึครับทุกท่าน ผมก็เป็นอีกคนที่มีความฝันอยู่บนตัวอักษร แต่ภาระหน้าที่และโอกาสน้อยจนทำให้ผมจบแค่ ป.6

แต่ผมก็แสวงหาความรู้สะสมมาตลอดจนกล้าคิดกล้าเขียน ขาดเพียงความมั่นใจเท่านั้นเอง

วันนี้ได้เข้าชมบทความของคุณ k jira ช่วยให้ผมได้รับรู้กลเม็ดเพิ่มเติมอีกเป็นโข

ผมคิดถ้อยคำขึ้นมาเพื่ออาจจะเป็นแรงขับดันให้บรรดาผู้มีฝันทั้งหลายได้กล้าที่จะสานฝันนั้นครับ

"หากเราไม่กล้าที่จะก้าว เราก็ไม่มีวันถึงเส้นชัยที่หมายตา"

"แม้ฝันนั้นมันจะยากลำบากเต็มไปด้วยขวากหนาม แม้วันนี้จะยังไม่ถึงฝั่งฝันแต่ผมก็ภูมิที่ได้เริ่มต้นก้าวแรก"

"ความฝันจะกลายเป็นความหวัง หากมีพลังใจและความพยายาม"

ผมเองก็เขียนจบไปหลายเรื่อง ส่งเข้าโรงพิมพ์ไปแล้วกว่าสามเดือน จนป่านนี้คือความเงียบที่ผมได้คำตอบ

เข้าใจว่าอาจจะขาดประสบการณ์ และความเข้าใจในวิธีส่งมากกว่าเลยมีความเงียบมาแทน

ถ้ามีเว็บไหนบ้างรับโพสนิยายช่วยบอกทีนะครับจะเป็นพระคุณอย่างสูง

ขอบคุณมาล่วงหน้าครับ

หนูชอบมากมากคี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท