ดอกไม้


ปาริสุทธิ์ ในทองหลาง
เขียนเมื่อ

แบบบันทึกรายวิชา 102321 การออกแบบและจัดการชั้นเรียน

1.สิ่งที่ได้รับจาการเรียนวิชานี้

-ได้รู้ว่าการจัดการชั้นเรียนที่ดีนั้น ต้องคำนึงถึงประโยชน์ต่อตัวผู้เรียนเป็นหลัก ให้ผู้เรียนได้รับความรู้มากที่สุด จากตัวของผู้เรียนเอง โดยที่ครูนั้นมีหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกเท่านั้น แต่ใช่ว่าครูไม่สำคัญ เพราะหากเปรียบว่าครูเป็น โค้ช แล้วนั้น ครูย่อมสำคัญที่จะพาผู้เรียนซึ่งเป็นเหมือนลูกทีมของตนให้ประสบความสำเร็จนั่นเอง

2.แง่คิด/ความรู้สึก/ความประทับใจที่มีต่อการเรียน และ/หรือผู้สอนในรายวิชา

-ครูผู้สอน สอนโดยที่ไม่ให้ผู้เรียนกดดัน เปิดโอกาสให้ได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เกิดการทำงานเป็นทีม ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติตามการจัดการเรียนรู้วิธีต่างๆ เพื่อดูว่า ถ้าจบออกไปเป็นครู เมื่อสอนตามวิธีนั้นๆ ผู้เรียนของตนจะเกิดความรู้สึกหรือเกิดความรู้อย่างไร ซึ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมากต่อนักศึกษาวิชาชีพครูอย่างดิฉัน

3.สิ่งที่ต้องปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดีขึ้น (ตนเอง)

-การกล้าแสดงออกที่มากกว่านี้ การเรียงร้อยถ้อยคำในการพูดให้เหมาะกับโอกาสหรือบริบทต่างๆ พัฒนาในเรื่องของการวางตัวให้เหมาะสมกับการเป็นครู


8
2
อภิญญาภรณ์ การถาง
เขียนเมื่อ

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

การศึกษาต้องเปลี่ยนจากเน้นการสอน(ของครู) มาเป็นเน้นการเรียน(ของนักเรียน) ครูเปลี่ยนจากการบอกเนื้อหาสาระ มาเป็นทำหน้าที่สร้างแรง บันดาลใจ สร้างความท้าทาย ความสนุกในการเรียนให้แก่ศิษย์ เพื่อให้ได้เรียนรู้ฝึกฝนทักษะเพื่อการดำรงชีพในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) แล้วครูชวนศิษย์ร่วมกันทบทวน ไตร่ตรอง (reflection หรือ AAR) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้หรือทักษะที่ลึกและเชื่อมโยงรวมทั้งโยงประสบการณ์ตรงเข้ากับทฤษฎีที่มีคนเผยแพร่ไว้แล้วในการใช้เทคโนโลยีที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดการเรียนรู้เชิงทฤษฎีจากการปฏิบัติ ไม่ใช่จากการฟังและท่องบ่น หัวใจของการเปลี่ยนแปลงคือ เปลี่ยนจากเรียนรู้จากฟังครูสอน (Learning by Attending Lecture/Teaching) มาเป็นการเรียนรู้จากการลงมือทำ(Learning by Doing) มองจากมุมหนึ่ง

การวัดผลและการประเมินผล ต้องมีความสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จะต้องประเมินตามสภาพจริง โดยใช้การประเมินหลายวิธี ได้แก่ การสังเกตพฤติกรรม การเรียนและการร่วมกิจกรรม การใช้แฟ้มสะสมผลงาน การทดสอบ การสัมภาษณ์ ควบคู่ไปกับการเรียนการสอน

อ้างอิง วิจารณ์ พานิช. (2555). ครูในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2559.

สืบค้นจาก เว็บไซต์ : www.sk1edu.go.th/dta/8939การศึกษาในทศวรรษที่%2021....

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/618562

18
5
Tawandin
เขียนเมื่อ

๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๙

ร้อยดวงใจ

ถวายความอาลัยในหลวง

ท่ามสายฝนเย็นฉ่ำนานนับชั่วโมง ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และนั่งสมาธิ ๙ นาที หนาวสั่นกันทีเดียว

ถึงเวลาจุดเทียน ฝนค่อยๆซาลง เหลือปรอยๆ เทียนก็ไม่ดับ

ประทับใจ "แสงเทียนในสายฝน" ไม่มีวันลืม แต่ไม่ได้บันทึกภาพเก็บเลย

และภาพปิดงานคือ เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ช่วยกันเก็บขยะ ยิ่งน่าประทับใจที่สุด

(ภาพจากเพจFb ชาวโคราช ร้อยดวงใจ ถวายความอาลัยในหลวง)

5
0
ภาวนา รัตนศาลาแสง
เขียนเมื่อ

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 จะมีความยืดหยุ่น สร้างสรรค์ และท้าทาย โดยความรู้จะไม่จำกัดอยู่แต่ภายในห้องเรียน ในอดีตนักเรียนใช้เวลาในการเรียนรายวิชาต่างๆเพื่อรับเกรดและเพื่อให้จบการศึกษา แต่ในปัจจุบันนั้นแตกต่างกันออกไปเพราะในปัจจุบันการเรียนการสอนจะช่วยให้นักเรียนได้เตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตในโลกที่เป็นจริง เน้นการศึกษาตลอดชีวิตด้วยวิธีการสอนที่ยืดหยุ่นมีการกระตุ้นและจูงใจผู้เรียน

ครูในศตวรรษที่ 21 คือ ครูที่สามารถจัดการเรียนรู้ด้วยระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับแหล่งการเรียนรู้ได้ทั่วโลกผ่านทางอินเทอร์เนต สามารถผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ สามารถจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสอนได้หลากหลาย ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ครูมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะฝึกให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีในการสืบค้าข้อมูลในการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติได้จริงเพราะการที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติเองจะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

นักเรียนในศตวรรษที่ 21 ควรเป็นผู้ที่มีนิสัยใฝ่เรียนใฝ่รู้ พยายามแสวงหาความรู้ ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศได้ มีทักษะในการใช้ภาษาต่างประเทศ สามารถเล่นกีฬาและดนตรีได้อย่างน้อย 1 ชนิด พร้อมเผชิญปัญหาและสามารถเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

การวัดผลประเมินผลในศตวรรษที่ 21 เป็นการวัดผลแบบ Constructivist assessment ซึ่งมักเรียกว่า การวัดผลเชิงประจักษ์ ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ โดยการเรียนการสอนและการวัดผลจะเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน การประเมนผลจะไม่เป็นเพียงแต่การทดสอบเท่านั้นแต่ยังมีการสังเกตนักเรียน ดูการทำงานของนักเรียนและมุมมองของนักเรียนด้วย ตัวอย่างการประเมิน เช่น การอภิปรายปากเปล่า แผนภูมิความคิด การลงมือทำ

การประเมินผลในศตวรรษที่ 21

1. สร้างความสมดุลในการประเมินผล

2. การนำผลการประเมินมาพัฒนา

3. การใช้เทคโนโลยีในการวัดผล

4. การประเมินตามสภาพจริง



20
4
Ilham Hayeechebu
เขียนเมื่อ

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

ในศตวรรษที่ 21 เป็นการเรียนรู้ที่กำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน คือ ครูต้องไม่สอนแต่ต้องออกแบบการเรียนรู้และอำนายความสะดวก ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือปฏิบัติหรือลงมือกระทำด้วยตนเองแล้วการเรียนก็จะเกิดขึ้นจากภายในใจและสมองซึ่งจะทำให้เด็กจำได้ดีกว่าการนั่งท่องจำเพราะเด็กได้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งในอดีตนักเรียนไปโรงเรียนเพื่อใช้เวลาในการเรียนวิชาต่างๆเพื่อต้องการเกรดและเพื่อให้ได้จบการศึกษาแต่ในปัจจุบันจะแตกต่างกันมาก เพราะการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 เป็นการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตในโลกที่เป็นจริง เน้นการศึกษาตลอดชีวิตด้วยวิธีการสอนที่มีความยืดหยุ่น มีการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้เรียนเป็นคนเจ้าคิดเจ้าปัญญาที่ยังแสวงหาการเรียนรู้แม้จะจบการศึกษาแล้วก็ตาม และภาพของห้องเรียนจะขยายกลายเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้นมีสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศในห้องเรียนที่ดีและน่าอยู่ นักเรียนจะเป็นผู้ชี้นำตนเองได้มีการทำงานที่เป็นกลุ่มและอิสระได้ โดยหลักสูตรและการสอนจะมีลักษณะท้าทายสำหรับผู้เรียนทุกคนและจะคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งหลักสูตรที่ใช้จะเป็นหลักสูตรแบบยึดโครงงานและการบูรณาการ การสอนทักษะและเนื้อหาจะไม่เป็นจุดหมายปลายทางแต่นักเรียนจะต้องมีการเรียนรู้ผ่านการวิจัยและปฏิบัติในโครงงาน ซึ่งการประเมินจะเป็นการประเมินที่ผู้ถกประเมินมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองด้วย

ดังนั้น การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 จะต้องเปลี่ยนแปลงทัศนะจากกระบวนทัศนะแบบดั้งเดิมไปสู่กระบวนการใหม่ที่ให้โลกของนักเรียนและโลกความเป็นจริงเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้



อ้างอิง: http://lripsm.wixsite.com/21st/about_us.


23
8
พัชธิดา รักษาอินทร์
เขียนเมื่อ
29
7
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท