อนุทินล่าสุด


โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานแบบนี้จึงจะเป็นหลักฐานที่ชัดเจนจริงๆว่าในผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลที่ต้องให้เลือดนั้น การได้รับเลือดไม่ว่าจะเป็นเลือดที่อายุการเก็บน้อยหรือมาก (อาจจะได้รับบริจาคใหม่ๆหรือเก็บมาแล้ว 35 วันเป็นต้น) ไม่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตแต่อย่างใด อ่านได้จาก Effect of Short-Term vs. Long-Term Blood Storage on Mortality after Transfusion. N Engl J Med. Published online October 24, 2016. DOI: 10.1056/NEJMoa1609014.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

ต่อด้วยการศึกษาที่ระบุว่า แอลกอฮอล์และบุหรี่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตเร็วขึ้นในคนเป็นมะเร็งหลายชนิดเลย อ่านได้จาก U.S. Burden of Cancer by Race and Ethnicity According to Disability-Adjusted Life Years. Am J Prev Med. Published online October 18, 2016.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

มีข้อมูลเพิ่มเติมมาทำให้เราไม่อยากอ้วนเพิ่มขึ้นอีกว่า มีมะเร็งที่มีความสัมพันธ์กับความอ้วน คือ ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก กระเพาะอาหาร ตับ ถุงน้ำดี ตับอ่อน และไต ไปๆมาๆก็คือแทบจะทั้งตัวอยู่แล้ว อ่านได้จาก Body fatness and cancer -- viewpoint of the IARC Working Group. N Engl J Med. 2016;375:794-798. http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMsr1606602.

สรุปว่าดรรชนีมวลกายแบบปกติเอาไว้ปลอดภัยจากมะเร็งที่สุด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

บทบรรยายของ Dr. Arthur Caplan ซึ่งให้ความเห็นถึงการใช้คำว่า สมองตาย หรือ brain death ว่าเป็นคำที่สร้างความเข้าใจผิดให้ญาติผู้ป่วย ควรอธิบายให้ชัดเจนไปเลยว่าเป็นการเสียชีวิต ซึ่งจะมีสองแบบคือ สมองไม่ทำงานหรือหัวใจไม่ทำงาน ทั้งสองแบบนี้คือเสียชีวิต ซึ่งต่างจากโคม่าที่อาจจะกลับมาได้อยู่ เป็นประเด็นละเอียดอ่อนที่น่าสนใจจริงๆค่ะ อ่านหรือฟังได้จาก MedScape หัวข้อ Calling It Like It Is: 'Brain Death' Is Death



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้เป็นความมหัศจรรย์ของเทคโนโลยีในการช่วยเหลือคุณแม่ที่มีโรคของพันธุกรรมที่ผิดปกติในไมโตคอนเดรียที่สามารถส่งผ่านไปถึงลูก และยังเป็นโรคี่ไม่มีทางรักษา กรณีนี้คือเคยมีลูกมาสองคนแล้วเสียชีวิตเพราะได้รับถ่ายทอดโรคนี้ไป ในการตั้งครรภ์ครั้งนี้ เทคโนโลยีในการเอานิวเคลียสของคุณแม่ท่านนี้ไปใส่ในไข่ของผู้หญิงอีกคนเพื่อผสมกับสเปอร์มของคุณพ่อ ก่อนจะเอาไข่ที่ผสมแล้วมาใส่กลับที่คุณแม่ ปัจจุบันหนูน้อยคนนี้อายุ 3 เดือนและจากการตรวจดูในเซลล์ต่างๆพบว่ามีความผิดปกติในไมโตคอนเดรียที่น้อยมากๆจนถือว่าน่าจะไม่มีโรคเหมือนพี่ๆที่เสียไป เป็นเรื่องที่น่ามหัศจรรย์จริงๆ น่าทึ่งในผู้ที่หาหนทางนี้และทำจนสำเร็จ อ่านได้จาก First live birth using human oocytes reconstituted by spindle nuclear transfer for mitochondrial DNA mutation causing Leigh syndrome. Fertility and Sterility , Volume 106 , Issue 3 , e375 - e376. DOI: http://dx.doi.org/10.1016/j.fertnstert.2016.08.004



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

บทสัมภาษณ์คุณหมอ Aseem Malhotra โดยคุณ Tricia Ward เกี่ยวกับสารคดี เรื่อง The Big Fat Fix ซึ่งจะเผยแพร่เร็วๆนี้น่าสนใจมาก เพราะบอกที่มาของการทำสารคดีเรื่องนี้ เพื่อให้เรามีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับไขมันและความอ้วน รวมทั้งเรื่องของอาหารกับโรควิถีชีวิตต่างๆที่เราเผชิญกันอยู่ทุกวันนี้ อ่านสนุกน่าติดตาม มุมมองและวิธีคิด รวมทั้งวิธีการต่างๆที่คุณหมอท่านนี้พยายามทำเพื่อให้ความรู้แก่สังคม อ่านได้จาก MedScape เรื่อง 'Big Fat Fix' Film Challenges Mediterranean Diet. ที่ http://www.medscape.com/viewarticle/869636



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

โรคที่คนไม่เคยเป็นหรือไม่เคยรู้จักคนที่เป็นจะไม่เข้าใจความทรมานอย่างโรคเก๊าต์นี่ก็เป็นที่สนใจที่จะหาแนวทางการดูแลรักษาที่เป็นมาตรฐานกันอยู่ รายงานนี้ให้แนวทางการดูแลรักษาโรคเก๊าต์แบบมีเป้าหมาย คือรักษาระดับกรดยูริกในเลือดให้อยู่ในระดับที่ถือกันว่าปลอดภัย โดยต้องมีการให้ความรู้ผู้ป่วยด้วย ไม่ต้องรอจนมีอาการทรมานแล้วค่อยมาดูแลแก้ไข ทั้งแพทย์และผู้ป่วยน่าจะอ่านไว้เป็นแนวทางเหมือนกันนะคะ อ่านได้จาก Treat-to-target (T2T) recommendations for gout. Ann Rheum Dis. Published online September 22, 2016. doi:10.1136/annrheumdis-2016-209467.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

มีการศึกษาที่พบว่า การกินปลาและอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้าสามไม่ได้ลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งอาจจะขัดกับที่มักจะแนะนำกัน ก็ถือเป็นข้อมูลอีกด้านหนึ่ง เอาไว้เปรียบเทียบกันได้ อ่านได้จาก Fish consumption, omega-3 fatty acids, and risk of cardiovascular disease. Am J Prev Med 2016; DOI:10.1016/j.amepre.2016.07.020.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้ยืนยันหลักฐานว่าอาหารกลุ่มที่มีโพลีฟีนอลสูงๆอย่างเช่น ผลไม้ตระกูลเบอรี่ทั้งหลายและ dark chocolate ช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มผู้ที่มีความดันโลหิตสูงได้อย่างมีนัยสำคัญอ่านได้จาก Beneficial effect of a polyphenol-rich diet on cardiovascular risk: a randomised control trial. Heart 2016;102:1371-1379 doi:10.1136/heartjnl-2015-309218.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้ก็มาจากการทบทวนการศึกษาต่างๆและยังบอกไม่ได้ว่าเกี่ยวข้องกันแบบไหน เป็นสาเหตุได้หรือไม่อย่างไร เพราะเขาพบว่ากลุ่มคนที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดีนั้น สัมพันธ์กับโอกาสเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ ขนาดวิเคราะห์โดยตัดปัจจัยร่วมอื่นๆออกไปแล้วด้วย ก็เป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ด้วยนะคะ อ่านได้จาก Gallstones and Risk of Coronary Heart Disease. Prospective Analysis of 270,000 Men and Women From 3 US Cohorts and Meta-Analysis. Arterioscler Thromb Vasc Biol 2016. Published online before print August 18, 2016, doi: 10.1161/ATVBAHA.116.307507.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการตัดสินใจได้ เพราะปัจจุบันมีหลายองค์กรแนะนำให้มีการตรวจคัดกรองระดับไขมันในเด็กและวัยรุ่น แต่รายงานนี้ทบทวนการศึกษาต่างๆมาเสนอความเห็นว่า ยังมีหลักฐานไม่เพียงพอว่าการตรวจคัดกรองระดับไขมันในเด็กและวัยรุ่นมีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ คุ้มกับการที่จะทำเป็นสากลโดยทั่วไป ก็คงต้องเป็นการตัดสินใจเฉพาะตัวไปก่อนนะคะแบบนี้ อ่านได้จาก Screening for Lipid Disorders in Children and Adolescents: US Preventive Services Task Force Recommendation Statement. JAMA. 2016 Aug 9;316(6):625-33. doi: 10.1001/jama.2016.9852.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้น่าจะมีประโยชน์ที่ทำให้มีการศึกษาเฉพาะเจาะจงมากขึ้นต่อไปได้ เพราะเขาพบว่าการไอจากกลุ่มอาการต่างๆนั้นมีเอกลักษณ์และตัวกระตุ้นต่างกัน ซึ่งจะนำไปสู่การหาวิธีตรวจและดูแลรักษา ป้องกันให้ตรงกับกลุ่มโรคได้ในอนาคต อ่านได้จาก Neurophenotypes in airway diseases. Insights from translational cough studies. Am J Respir Crit Care Med. 2016;193:1364-1372. Doi: 10.1164/rccm.201508-1602OC.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

สองรายงานนี้อาจจะทำให้แปลกใจได้ เพราะเขาวิเคราะห์แล้วพบว่า การอ้วนลงพุงและความแข็งแรงของร่างกายไม่ได้สัมพันธ์กับการเกิดภาวะก่อนเบาหวาน แต่ยังไงๆก็คงไม่ใช่เรื่องที่จะรอจนเป็นเบาหวานแล้วค่อยมาจัดการแหละนะคะ อ่านรายละเอียดได้จาก Prevalence of prediabetes and abdominal obesity among healthy-weight adults: 18-year trend. Ann Fam Med. 2016;14:304-310. doi: 10.1370/afm.1946. และ Twenty year fitness trends in young adults and incidence of prediabetes and diabetes: the CARDIA study. Diabetologia. 2016;59:1659-1665. doi: 10.1007/s00125-016-3969-5.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้บอกว่าอาจจะเร็วไปที่จะสรุป แต่ก็เป็นข้อควรคำนึง เพราะเขาพบว่าในผู้หญิงสูงอายุที่ได้รับอาหารเสริมแคลเซียมและมีประวัติของอาการ stroke อาจจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่ออาการความจำเสื่อม (dementia) มีข้อมูลแล้วก็อาจจะต้องคอยติดตามดู อ่านได้จาก Calcium supplementation and risk of dementia in women with cerebrovascular disease. Neurology. Published online August 17, 2016. doi: http://dx.doi.org/10.1212/WNL.0000000000003111.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้พบว่าอัตราความรุนแรงของโรคเมตาบอลิกส์ในช่วงที่เปลี่ยนสภาวะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนจะมากกว่าช่วงหลังจากที่หมดไปแล้ว และขึ้นกับเชื้อชาติด้วย โดยในคนผิวขาวจะรุนแรงน้อยกว่าคนผิวดำ ซึ่งจะเป็นประโยขน์ในแง่ของการหาวิธีปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในช่วงที่เหมาะสมต่อไปได้ อ่านได้จาก Progression of metabolic syndrome severity during the menopausal transition. J Am Heart Assoc published August 3, 2016. DOI:10.1161/JAHA.116.003609.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

หวังว่าคุณหมอเด็กบ้านเราจะเก่งกว่ากลุ่มที่เขาสำรวจในการศึกษานี้นะคะ เพราะเขาพบว่าในกุมารแพทย์กลุ่มที่เขาสำรวจนั้นมีความตระหนักในการสั่งยาในเด็กอ้วนน้อยกว่าที่ควร คือสั่งยาโดยไม่ได้คำนึงถึงหลักการคิดในกรณีเด็กอ้วนซึ่งจะมีขอบเขตของน้ำหนักที่ต้องประเมินด้วย จึงพบได้ทั้งแบบสั่งยาต่ำกว่าขนาดที่สมควรและเกินกว่าที่สมควร อ่านได้จาก Prescribing in obese children: how good are paediatricians? Arch Dis Child 2016. doi:10.1136/archdischild-2016-310603.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้ทำที่สวีเดน แต่น่าจะใกล้เคียงกับอีกหลายๆที่ทั่วโลก เขาพบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้านั้น มีอัตราที่ได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษาไม่ถึงครึ่ง อาจจะเป็นสิ่งที่คนไม่ค่อยตระหนัก และเขายังพบว่า ในกลุ่มผู้มีการศึกษาจะได้รับการรักษามากกว่ากลุ่มที่ด้อยการศึกษาอีกด้วย บ้านเราไม่รู้มีการศึกษาดูแลเรื่องนี้บ้างหรือไม่นะคะ อ่านได้จาก Depression and Depression Treatment in a Population-Based Study of Individuals Over 60 Years Old Without Dementia. Am J Geriatr Psychiatry. 2016;24:615-623. DOI: http://dx.doi.org/10.1016/j.jagp.2016.03.009.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษาแบบที่ชวนให้คำนึงถึงความคิดความรู้สึกของผู้ป่วยมีมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นงานนี้ที่ใช้วิธีสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในผู้ป่วยสูงอายุ ได้ข้อมูลมาว่า ผู้ป่วยเหล่านี้เห็นว่ามีสภาวะหลายๆอย่างที่แย่พอๆกับการเสียชีวิต เช่น การใส่สายให้อาหาร ความจำเสื่อม การต้องมีคนดูแลตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง สภาวะโรคที่ทำให้กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะไม่ได้และการใส่เครื่องช่วยหายใจ ดังนั้นการดูแลรักษาอาจจะต้องคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย นอกจากรักษาอาการเจ็บป่วยเท่านั้น อ่านได้จาก States Worse Than Death Among Hospitalized Patients With Serious Illnesses. JAMA Intern Med. Published online August 01, 2016. doi:10.1001/jamainternmed.2016.4362.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้แสดงให้เห็นว่าเบาหวานสัมพันธ์กับโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ไม่ใช่เฉพาะจากโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจเท่านั้น แต่ยังเป็นจากมะเร็งและโรคร้ายแรงอื่นๆด้วย อ่านได้จาก Risk of Cause-Specific Death in Individuals With Diabetes: A Competing Risks Analysis. Diabetes Care. Published online August 4, 2016. doi:http://dx.doi.org/10.2337/dc16-0614.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้แสดงให้เห็นว่า หลายประเทศในยุโรปมีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งมากกว่าโรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนั้นยังมีสถิติเกี่ยวกับอัตราเสียชีวิตในแบบต่างๆให้ดูอีกหลากหลายมาก น่าสนใจดีค่ะ อ่านได้จาก Cardiovascular disease in Europe: epidemiological update 2016. Eur Heart J. First published online: 14 August 2016. DOI: http://dx.doi.org/10.1093/eurheartj/ehw334.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้ทบทวนการรักษาเบาหวานชนิดที่ 2 แบบเข้มข้นว่ามีความสัมพันธ์กับอันตรายจากภาวะน้ำตาลต่ำ ซึ่งก็สำคัญและควรชั่งน้ำหนักให้ดีๆในการรักษาสมดุลระหว่างภาวะน้ำตาลสูงไปกับต่ำไปในคนไข้ หากไปควบคุมแบบเข้มข้นตามหลักการไปหมด ดังนั้นเขาจึงแนะนำให้ระวังให้ดี โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ว่าไปแล้วควรดูแลเป็นรายบุคคลจริงๆ ทำตามเกณฑ์อย่างเดียวไม่ได้ อ่านได้จาก Intensive treatment and severe hypoglycemia among adults with type 2 diabetes. JAMA Intern Med. 2016;176(7):969-978. doi:10.1001/jamainternmed.2016.2275.



ความเห็น (1)

เรื่องนี้อยู่ในความสนใจมากค่ะ..จะติดตามรายละเอียดต่อไปค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้รวบรวมข้อมูลการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างซึ่งเป็นปัญหาหลักชองความทุพพลภาพ พบว่ายาแก้ปวดแทบทุกกลุ่มมีส่วนช่วยน้อยมาก ต้องรักษาร่วมกันหลายๆวิธี เขาแนะนำให้แพทย์ให้ข้อมูลคนไข้ด้วยเพื่อจะได้ไม่คาดหวังมากว่ายาจะช่วยได้ นอกจากนั้นยาแก้ปวดกลุ่มที่มีฝื่นเป็นส่วนประกอบที่เรามักจะคิดว่าน่าจะช่วยได้ ก็ยังไม่ได้มากนัก แต่ต้องระวังผลข้างเคียงที่อันตรายกว่าไปด้วย อ่านรายละเอียดได้จาก Efficacy, tolerability, and dose-dependent effects of opioid analgesics for low back pain: a systematic review and meta-analysis. JAMA Intern Med. 2016;176(7):958-968. doi:10.1001/jamainternmed.2016.1251.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้ พบว่าการบริโภคเนื้อแดง เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อโรคไต ซึ่งนำไปสู่อาการไตวาย และการบริโภคด้วยโปรตีนจาก ไก่ ปลา ไข่หรือพืชจะลดความเสี่ยงนี้ได้ น่าสนใจมากนะคะ อ่านได้จาก Red Meat Intake and Risk of ESRD. J Am Soc Nephrol Published online before print July 14, 2016, doi: 10.1681/ASN.2016030248.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การทำอะไรที่ไม่เป็นธรรมชาติดูจะทำให้ร่างกายไม่ปลอดภัยนะคะ การศึกษานี้พบว่าการสวนล้างช่องคลอดมีความสัมพันธ์กับโอกาสเกิดมะเร็งรังไข่ ก็ยิ่งสนับสนุนผลการศึกษาอื่นๆที่พบว่าการทำแบบนี้เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อจากยีสต์ ช่องคลอดอักเสบ ท้องนอกมดลูก เรียกว่าการไปทำความสะอาดเกินกว่าธรรมชาติมีแต่ผลเสียนะคะ อ่านได้จาก Douching, Talc Use, and Risk of Ovarian Cancer. Epidemiology. 2016 Jun 20. DOI: 10.1097/EDE.0000000000000528.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้พบว่าผู้สูงวัยที่อยู่ในที่มีแสงสว่างมากในตอนเย็นและที่ไม่ค่อยมีแสงสว่างในตอนเช้ามีแนวโน้มจะน้ำหนักขึ้น และการอยู่ในที่มีแสงสว่างในรูปแบบตรงข้ามกับแบบนี้จะมีแนวโน้มที่จะน้ำหนักลด นั่นคือลักษณะของการเจอแสงมีผลต่อการเพิ่มลดน้ำหนักด้วยโดยไม่ขึ้นกับปัจจัยอื่นๆ อ่านได้จาก Ambient Light Exposure and Changes in Obesity Parameters: A Longitudinal Study of the HEIJO-KYO Cohort. J Clin Endocrinol Metab 2016. DOI: http://dx.doi.org/10.1210/jc.2015-4123



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท