อนุทินล่าสุด


โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

เรื่องนี้ก็เป็นที่น่าเป็นห่วง หากเราไม่ดูแลตัวเองเรื่องอาหารการกินก็จะยิ่งลดปัญหานี้ได้ยาก เป็นรายงานว่า โดยสถิติของโลกในปัจจุบันมีอัตราผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังสูงถึง 10% เลยทีเดียว อ่านได้จาก New global report highlights silent epidemic of kidney disease and neglect of treatment and prevention in all countries. จาก International Society of Nephrology website.



ความเห็น (1)

ถึงกับมีวันไตโลกนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

เรื่องนี้อ่านแล้วอยากบอกต่อ เป็นรายงานจากศัลยแพทย์ด้านกระดูกสันหลังที่พบว่า มีเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาเกี่ยวเนื่องมาจากท่าทางการใช้โทรศัพท์มือถือ น่าสนใจที่ได้รู้ว่า การที่เราก้มหัวเพื่อจะมองโทรศัพท์มือถือนั้น มีผลต่อการรับน้ำหนักของกระดูกสันหลัง คือในระดับเงยหน้าตรงปกติ น้ำหนักหัวจะอยู่ที่ 10-12 ปอนด์ แต่พอเราก้มคอ 15 องศาน้ำหนักจะเป็น 27 ปอนด์ ในขณะที่หากเราก้มถึง 60 องศาแรงกดต่อกระดูกสันหลังจะมากถึง 60 ปอนด์ทีเดียว คิดดูว่าถ้าอยู่แบบนี้ไปนานๆติดต่อกัน กระดูกสันหลังเราจะไม่แย่ได้อย่างไร น่าสนใจมากนะคะอ่านรายละเอียดได้จาก Text neck”: an epidemic of the modern era of cell phones? Spine J. Available online 20 March 2017. http://doi.org/10.1016/j.spinee.2017.03.009



ความเห็น (2)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้ทำให้เราต้องระวังเรื่องน้ำหนักกันให้ดี เพราะเขาพบว่า ถ้าน้ำหนักเกิน แม้จะมีตัวชี้วัดอื่นทางเมตาบอลิกส์ดี คือ ค่าไขมันดี HDL-c ไม่ต่ำ ความดันโลหิต ระดับน้ำตาล ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ไม่สูง ก็ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดมากกว่าคนที่น้ำหนักปกติ ในผู้ชายจะชัดกว่าในผู้หญิง อ่านได้จาก Metabolically healthy obesity and ischemic heart disease: a 10-year follow-up of the Inter99 study. J Clin Endocrinol Metab jc.2016-3346. DOI: https://doi.org/10.1210/jc.2016-3346.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้เป็นของอเมริกา ซึ่งของเราก็คงเชื่อตามเขาได้ เขาสรุปจากข้อมูลที่มีอยู่พบว่าการตรวจภายใน (pelvic examination) ในหญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ๋และไม่มีอาการใดๆนั้น ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอจะประเมินประโยชน์และโทษ พูดง่ายๆก็คือไม่ควรตรวจโดยไม่จำเป็นนั่นเอง ดังนั้นคนไข้กับแพทย์ก็ต้องคุยกันเองว่าจะตรวจดีหรือไม่ อันนี้ไม่ได้หมายถึงการตรวจ PAP smear หรือการตรวจเพื่อหาการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ทั้งหลายนะคะ อ่านได้จาก Screening for Gynecologic Conditions With Pelvic Examination: US Preventive Services Task Force Recommendation Statement. JAMA. 2017;317(9):947-953. doi:10.1001/jama.2017.0807.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

บทความนี้น่าสนใจมาก เพราะเน้นย้ำว่า มะเร็งที่ป้องกันได้นั้นมีมากกว่าครึ่งของมะเร็งทั้งหลาย มีข้อมูลที่ยืนยันจากการศึกษามากมายที่ใช้ทรัพยากรในการศึกษาเพื่อให้ได้ผลยืนยัน แต่ปัญหาคือเรายังให้ความรู้และหามาตรการให้ความรู้ในการป้องกันนี้ออกสู่สังคมในวงกว้างยังไม่ดีพอ ทำให้การป้องกันที่ควรทำยังไม่มากพอ อ่านได้จาก Realizing the Potential of Cancer Prevention — The Role of Implementation Science. N Engl J Med 2017; 376:986-990March 9, 2017DOI: 10.1056/NEJMsb1609101.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้น่าตกใจอยูสักหน่อย เขาพบว่าอัตราคนอ้วนนั้นเพิ่มขึ้น แต่อัตราผู้ที่พยายามจะลดน้ำหนักนั้นมีน้อย สงสัยต้องสร้างแรงจูงใจที่ดีและช่วยด้วยมาตรการเชิงระบบจะดีกว่า อ่านได้จาก Change in Percentages of Adults With Overweight or Obesity Trying to Lose Weight, 1988-2014. JAMA. 2017;317(9):971-973. doi:10.1001/jama.2016.20036.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

ข้อมูลจากรายงานนี้ช่วยยืนยันว่าอาหารจากถั่วเหลืองไม่ได้มีผลเสียกับผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม แถมอาจจะให้ประโยชน์ด้วยซ้ำ ซึ่งอาจจะแตกต่างจากความเชื่อเดิมๆ อ่านได้จาก Dietary isoflavone intake and all-cause mortality in breast cancer survivors: The Breast Cancer Family Registry. Cancer. Published online March 6, 2017. DOI: 10.1002/cncr.30615.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้ก็ช่วยย้ำชัดถึงความสำคัญของอาหาร เพราะเขาพบว่าการกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ คือมีโซเดียมสูง ขาดพวกถั่ว ธัญพืช กินเนื้อที่ผ่านขั้นตอนการผลิต อาหารที่ขาดโอเมก้าสาม ขาดผักผลไม้ ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ทำให้เกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิกและเสียชีวิต ในสัดส่วนที่สูงทีเดียว อ่านได้จาก Association Between Dietary Factors and Mortality From Heart Disease, Stroke, and Type 2 Diabetes in the United States. JAMA. 2017;317(9):912-924. doi:10.1001/jama.2017.0947.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้เป็นข้อมูลจากการติดตามยาวนานมากกว่า 20 ปีในผู้หญิงดัทช์หกหมื่นกว่าคน ที่ทำให้รู้ว่าอาหารกลุ่มเมดิเตอเรเนียนที่กินโปรตีนจากพืช ธัญพืช ปลาหนักกว่า กินเนื้อแดง ข้าวขาวและขนมหวาน พบว่าโอกาสเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมลดลงถึง 40% อ่านได้จาก Mediterranean diet adherence and risk of postmenopausal breast cancer: results of a cohort study and meta-analysis. Int J Cancer. Published online March 5, 2017. DOI: 10.1002/ijc.30654.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ทำให้ได้แนวทางในการช่วยดูแลผู้ป่วย รายงานนี้เป็นตัวอย่างในการทำเช่นนั้นจากผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก เขาพัฒนาเป็นเครื่องมือที่สามารถตรวจสอบออนไลน์ได้ที่ www.promiserisktools.com จากข้อมูลที่รวบรวม เครื่องมือนี้ช่วยให้ประเมินได้ว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจที่เข้มข้นขึ้นหรือไม่ อันนี้น่าสนใจมากเพราะเป็นข้อมูลที่ผู้ป่วยได้ใช้ในการปรึกษาแพทย์ได้ด้วย อ่านได้จาก Identification of Patients With Stable Chest Pain Deriving Minimal Value From Noninvasive Testing: The PROMISE Minimal-Risk Tool, A Secondary Analysis of a Randomized Clinical Trial. JAMA Cardiol. Published online February 15, 2017. doi:10.1001/jamacardio.2016.5501.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้ยืนยันว่าการออกกำลังที่ทำให้หนักขึ้น หมายความว่า เคยออกกำลังกายอยู่เท่าไหร่แล้วพยายามเพิ่มขึ้นให้ถึงระดับที่ร่างกายทนได้แต่เหนื่อยขึ้นนั้น ช่วยให้อายุยืนขึ้นทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย อ่านได้จาก Change in Maximal Exercise Capacity Is Associated With Survival in Men and Women. Mayo Clin Proc. Published online: February 06, 2017. DOI: http://dx.doi.org/10.1016/j.mayocp.2016.12.016.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

เทคนิคในการช่วยจำด้วยคำย่อนี่ใช้ได้กับหลายๆเรื่องจริงๆ อันนี้เป็นของหมอผิวหนังที่ลงตีพิมพ์เร็วๆนี้ สำหรับเอาไว้คัดแยกลักษณะที่ถูกแมงมุมกัด ชอบที่เขาเข้าใจใช้คำย่อที่เรียกว่า mnenomic ที่สื่อสารและตรงกับความหมายเลย นั่นคือ NOT RECLUSE เพื่อเอาไว้สื่อว่าถ้าดูแล้วมีลักษณะนี้จะไม่ใช่แผลที่เกิดจากแมงมุม recluse กัด ซึ่งแผลที่ผิวหนังนั้นใช้แยกโรคด้วยลักษณะที่เห็นนั่นเอง อ่านรายละเอียดได้จาก NOT RECLUSE—A Mnemonic Device to Avoid False Diagnoses of Brown Recluse Spider Bites. JAMA Dermatol. Published online February 15, 2017. doi:10.1001/jamadermatol.2016.5665.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้จากแพทย์ออสเตรเลีย แต่น่าจะคล้ายคลึงกันหมดทุกที่ เขาพบว่าแพทย์มีแนวโน้มที่จะประเมินโทษของการทำการทดสอบและการรักษาต่างๆต่ำกว่าเป็นจริง และประเมินประโยชน์ของการทำมากกว่าที่เป็นจริง หมายความว่าการสั่งการรักษา หรือตรวจต่างๆนั้น อาจจะมีโทษมากกว่าเป็นประโยชน์ต่อคนไข้ ถ้ามีการศึกษาแบบนี้ออกมาก็จะช่วยให้แพทย์ตระหนักถึงเกณฑ์ต่างๆในการสั่งตรวจให้ครบถ้วนก่อนจะสั่งเพื่อให้โทษและประโยชน์มีสัดส่วนที่สมควรนะคะ อ่านได้จาก Clinicians’ Expectations of the Benefits and Harms of Treatments, Screening, and Tests: A Systematic Review. JAMA Intern Med. Published online January 9, 2017. doi:10.1001/jamainternmed.2016.8254.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

บทความจากคุณหมอ George Lundberg ที่ MedScape ชื่อ Healthy Holiday Eating for All, Ho, Ho, Ho! เป็นเรื่องที่เหมาะกับเทศกาลปีใหม่ เพราะท่านเตือนเรื่องของการฉลองเทศกาลด้วยการกิน ดื่ม ว่าเป็นเรื่องที่เราเองเท่านั้นที่จะควบคุมดูแลตัวเองได้ มีรายละเอียดที่น่าสนใจหลายเรื่องทีเดียวค่ะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

เรื่องน่าอายแบบนี้ คนที่ทำก็คงหมดความน่าเชื่อถือไปทันทีไม่ว่าจะเคยมีผลงานมามากขนาดไหน หากประพฤติเช่นนี้ได้ก็ไม่สมควรแก่การนับถืออีกเลย จดหมายเปิดผนึกถึงผู้ที่คัดลอกบทความไปเป็นของตัวเองฉบับนี้ น่าจะช่วยเตือนสติผู้ที่คิดจะทำได้บ้าง เป็นจดหมายจากผู้วิจัยที่ส่งงานตีพิมพ์ในวารสารที่มีชื่อเสียงอย่าง Annals of Internal Medicine ว่าผลงานที่ส่งตีพิมพ์แล้วไม่ได้รับการพิจารณาลงพิมพ์ มีผู้เอาไปตีพิมพ์ในวารสารอื่นในสองสามเดือนให้หลัง เนื้อความเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยเขียน แต่ชื่อผู้วิจัยทั้งหมดและสถานที่เปลี่ยน เมื่อสืบสวนก็ปรากฎว่าผู้ที่เอาไปตีพิมพ์คือผู้ที่ทำหน้าที่ทบทวนงานตีพิมพ์ว่าเชื่อถือได้และมีคุณภาพพอจะตีพิมพ์หรือไม่ (reviewer) แต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกซึ่งมีผลงานตีพิมพ์มากว่า 50 เรื่อง ซึ่งเขาก็ยอมรับและขอถอนงานวิจัยที่ตีพิมม์นั้นออก แต่ไม่มีการลงโทษหรือรับผิดชอบอื่นๆใดจากต้นสังกัด เจ้าของเรื่องก็เลยเขียนเป็นจดหมายเปิดผนึกนี้ขึ้นมา เพื่อเตือนสติผู้ที่จะทำในอนาคต และแจ้งบรรณาธิการวารสารนี้ด้วย เพราะเขาบอกว่าบางสถาบันอาจไม่ถือเป็นเรื่องใหญ่ แต่ในวงการควรจะถือเป็นอย่างยิ่งและไม่ควรให้นักวิจัยคนนี้เป็น reviewer อีก อ่านได้จาก Dear Plagiarist: A Letter to a Peer Reviewer Who Stole and Published Our Manuscript as His Own. Ann Intern Med. 2016. DOI: 10.7326/M16-2551.



ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้ช่วยยืนยันว่า การใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพเอาชนะได้แม้แต่พันธุกรรมไม่ดีที่เราอาจจะมีติดตัวมา จากการวิเคราะห์โอกาสเสี่ยงในช่วงสิบปี พบว่าในผู้ที่มีพันธุกรรมเสี่ยงซึ่งใช้ชีวิตแบบไม่รักษาสุขภาพ มีโอกาสเสี่ยงต่อหัวใจวาย 10% ในขณะที่มีพันธุกรรมเสี่ยงเหมือนกันแต่ใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ โอกาสเสี่ยงนี้ลดลงครึ่งหนึ่งทีเดียว แานได้จาก Genetic risk, adherence to a healthy lifestyle, and coronary disease. N Engl J Med 2016; 375:2349-2358. DOI: 10.1056/NEJMoa1605086.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานมีประโยชน์และควรช่วยกันเผยแพร่ให้คนไข้รับรู้เพื่อดูแลตัวเองไปด้วย เพราะคนไข้ที่ต้องใช้ยาละลายลิ่มเลือดวาร์ฟารินนั้นมีไม่น้อย เขาพบว่าสำหรับผู้ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจหรือมีภาวะไตบกพร่องปานกลางหากเริ่มใช้ยานี้จะมีโอกาสพัฒนาไปถึงภาวะไตเสื่อมรุนแรงได้ภายในเวลาเพียงหนึ่งเดือน ต้องคอยติดตามดูอย่างใกล้ชิดเพื่อจะได้ปรับขนาดยาหรือปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาได้ทันท่วงที อ่านได้จาก Incidence of severe renal dysfunction among individuals taking warfarin and implications for non–vitamin K oral anticoagulants. Am Heart J 2016; DOI:10.1016/j.ahj.2016.08.017.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้รวบรวมวิเคราะห์การศึกษาจากหลายประเทศพบว่าการกินอาหารที่มีแมกนีเซียมลดอัตราเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองรวมทั้งเบาหวานชนิดที่สองได้ อาหารที่มีแมกนีเซียมสูงก็เช่น ธัญพืช ผักใบเขียวและถั่วต่างๆ อ่านรายละเอียดได้จาก Dietary magnesium intake and the risk of cardiovascular disease, type 2 diabetes, and all-cause mortality: a dose-response meta-analysis of prospective cohort studies. BMC Med 2016; 14:210. DOI: 10.1186/s12916-016-0742-z.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานการวิเคราะห์การศึกษาหลายๆการศึกษาเรื่องนี้พบว่าการกินไข่ประมาณวันละฟองสัมพันธ์กับการลดอัตราเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ถึง 12% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่กินน้อยกว่านี้ แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการกินไข่กับโรคหลอดเลือดหัวใจ ถึงแม้ผู้รายงานจะระบุว่าหลักฐานแบบนี้เป็นข้อมูลที่ชัดเจน แต่ก็ควรมีการศึกษากลไกด้วยว่าเป็นเพราะอะไร แต่ยังไงก็เป็นหลักฐานที่ช่วยให้เรากินไข่ได้สบายใจขึ้นนะคะ อ่านรายละเอียดการวิเคราะห์ได้จาก Meta-analysis of Egg Consumption and Risk of Coronary Heart Disease and Stroke. J Am Coll Nutr. 2016;35:704-716.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

จัดการเป็นระบบนี่เห็นผลชัดจริงๆ รายงานนี้แสดงให้เห็นว่า คนอเมริกันมีแนวโน้มของระดับไขมันลดลงอย่างมาก โดยไม่ได้สัมพันธ์กับการใช้ยาลดไขมัน เขาประเมินกันว่าน่าจะเป็นเพราะนโยบายการกำหนดไม่ให้มีการใช้กรดไขมันทรานส์ในอาหาร อ่านได้จาก Trends in total cholesterol, triglycerides, and low-density lipoprotein in US adults, 1999-2014. JAMA Card 2016; DOI:10.1001/jamacardio.2016.4396.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

เรื่องนี้สมควรขยายให้เป็นที่รู้กันทั่วๆ เพราะรายงานนี้เป็นประจักษ์พยานที่ดีมาก สำหรับประโยชน์ของการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ซึ่งทำอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้คนสามารถปฏิบัติตามได้ดีขึ้นและเห็นผลชัดเจนกว่าเพียงแค่แนะนำให้ทำเฉยๆ โดยรายงานนี้ประเมินโครงการที่มีเกณฑ์หลักๆคือให้รักษาน้ำหนักให้คงที่และออกกำลังกายในระดับปานกลางถึงเข้มข้น สัปดาห์ละ 150 นาที ซึ่งผลของ 10 ปีผ่านไปลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานได้เกินครึ่ง ทำให้นักวิจัยแนะนำว่า แพทย์ปฐมภูมิน่าจะจัดให้คนไข้เข้าร่วมกับโปรแกรมการออกกำลังกายในลักษณะนี้ เราจะได้ไม่ต้องมาตามรักษากันในภายหลัง อ่านได้จาก Activity and Sedentary Time 10 Years After a Successful Lifestyle Intervention: The Diabetes Prevention Program. Am J Prev Med. Published online November 21, 2016. DOI: http://dx.doi.org/10.1016/j.amepre.2016.10.007



ความเห็น (2)

จากการที่ได้เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจัง เห็นด้วยอย่างยิ่งกับเรื่องนี้ค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

อยากให้บ้านเรามีแนวโน้มแบบเขาบ้างจัง ของอเมริกาช่วง 2010 และ 2014 เขาพบว่าอัตราการเสียชีวิตจากโรคที่ป้องกันปัจจัยเสี่ยงได้อย่างโรคเกี่ยวกับหัวใจ หลอดเลือดสมองตีบและมะเร็งลดลง แต่พวกโรคจากการล้มและยาเกินขนาดเพิ่มขึ้น อ่านได้จาก Potentially Preventable Deaths Among the Five Leading Causes of Death — United States, 2010 and 2014. MMWR Morb Mortal Wkly Rep 2016;65:1245–1255. DOI: http://dx.doi.org/10.15585/mmwr.mm6545a1.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้พบว่าการตรวจ HbA1c เพื่อช่วยในการค้นหาผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานอาจจะช่วยให้สามารถช่วยลดปัญหาแทรกซ้อนที่จะเกิดตามมาได้มาก อ่านได้จาก Comparative prognostic performance of definitions of prediabetes: a prospective cohort analysis of the Atherosclerosis Risk in Communities (ARIC) study. Lancet Diabetes Endocrinol. Published online November 15 2016. DOI: http://dx.doi.org/10.1016/S2213-8587(16)30321-7.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้ทำให้เห็นว่า ถ้ามีมาตรการช่วยควบคุมเรื่องอาหารก็จะช่วยให้ประชากรลดความดันโลหิตลงได้ เพราะเขาพบว่าทั่วโลกมีอุบัติการณ์ของคนที่เป็นความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจากปี 1975 ซึ่งเมื่อแยกกลุ่มประเทศก็จะเห็นว่า ประเทศกลุ่มร่ำรวยที่เคยมีคนเป็นโรคนี้มากกลับมีแนวโน้มลดลง แต่ประเทศกลุ่มกำลังพัฒนาทั้งหลายเป็นไปในทางเพิ่มขึ้น รวมทั้งแถวบ้านเราด้วย หน่วยงานภาครัฐคงต้องมีนโยบายจริงจังกับผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปแบบประเทศกลุ่มที่เขาทำได้ จึงจะเป็นผลนะคะ อ่านได้จาก Worldwide trends in blood pressure from 1975 to 2015: a pooled analysis of 1479 population-based measurement studies with 19·1 million participants. Lancet. Published online November 15, 2016. DOI: http://dx.doi.org/10.1016/S0140-6736(16)31919-5.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

บทความนี้ของ MedScape น่าสนใจมาก บ้านเราก็น่าจะถือเป็นปัญหาใหญ่และตามรอยวิธีควบคุมอย่างเป็นระบบของเขาได้บ้าง ชื่อเรื่องก็น่าสนใจ เพราะเขาบอกว่า น้ำตาลก็คือบุหรี่แบบใหม่ ควรจะจัดการแบบนั้นเลย คือรังเกียจและควบคุมบุหรี่อย่างไร น้ำตาลก็ควรจะโดนเหมือนกัน เป็นคอนเซ็ปที่น่าสนใจมาก อ่านได้จาก Sugar Is the New Tobacco, so Let's Treat It That Way.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท